SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 4
ในช่วงระยะเวลา 3– 4 ปี ที่ผ่านมานี้ ธุรกิจร้านกาแฟ มีอัตราการเติบโตรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด 
สาเหตุหลัก ๆ อาจสืบเนื่องมาจากธุรกิจร้านกาแฟรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ สภาพดังกล่าวสร้าง 
ความคึกคักและตื่นตัวให้กับวงการธุรกิจกาแฟเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน กระแสความนิยมการดื่มกาแฟของคนไทย 
ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมคนไทยนิยมดื่มกาแฟสำาเร็จรูปกันเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน คนไทยได้หันมานิยมเข้าร้าน 
กาแฟสดคั่วบด ที่มีการตกแต่งร้านให้หรูหราทันสมัย สะดวกสบาย มีบรรยากาศที่รื่นรมย์สำาหรับการดื่มกาแฟมากขึ้น 
ทั้งนี้จากผลการสำารวจพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนไทยในปี พ.ศ. 2543 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า คน 
ไทยยังมีอัตราการดื่มกาแฟต่อคนตำ่ามาก เฉลี่ย 200 แก้ว/คน/ปี เมื่อเทียบกับคนในแถบเอเชีย เช่น ชาวญี่ปุ่น ดื่มกาแฟ 
เฉลี่ย 500 แก้ว/คน/ปี ในขณะที่ชาวอเมริกาดื่มกาแฟเฉลี่ย 700 แก้ว/คน/ปี ดังนั้น การดื่มกาแฟของคนไทยในอนาคต 
จึงยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เหตุนี้ทำา ให้นักลงทุนจำานวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุน 
ใน ธุรกิจร้านกาแฟ สภาพการแข่งขันในตลาดโดยรวมจึงดูเหมือนจะรุนแรง แต่เนื่องจากร้านกาแฟส่วน 
ใหญ่ที่มีในปัจจุบัน มักเน้นการขายสินค้าและบริการเสริมอื่นๆ เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แซนด์วิช บางแห่งมีบริการ 
อินเตอร์เน็ตให้กับลูกค้าด้วย เมื่อแต่ละร้านมีจุดขายที่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แตกต่างกันไป ประกอบกับคอกาแฟ 
ในตลาดยังมีหลายกลุ่ม การแข่งขันในตลาดจึง ยังไม่รุนแรง หรือชัดเจนเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตาม การแข่งขันใน 
อนาคตมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ ก่อนเริ่มทำาธุรกิจผู้ประกอบการควรเลือกทำาเลที่ตั้งให้เหมาะสม โดยศึกษาว่าบริเวณ 
ทำาเลที่เลือกนั้น กลุ่มลูกค้ามีพฤติกรรมชอบดื่มกาแฟมากน้อยแค่ไหน และในละแวกนั้นมีคู่แข่งไหม จุดไหนที่ทำาให้ผู้ 
บริโภคเลือกดื่มกาแฟของร้าน หรืออะไรที่ทำาให้ธุรกิจแตกต่างไปจากร้านอื่นๆ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการเข้ามา 
ลงทุน ควรสร้างความแตกต่างไปจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาด ทั้งรูปแบบการตกแต่งร้านกาแฟและรสชาติของ 
สินค้า สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเปิดธุรกิจร้านกาแฟ 
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายธุรกิจหลักและธุรกิจรอง 
กลุ่มเป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น) 
ร้านกาแฟในปัจจุบัน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก ๆ ได้แก่ นักธุรกิจ นักศึกษา คนทำางาน และนักท่องเที่ยว 
ธุรกิจหลักและธุรกิจเสริม 
ร้านกาแฟบางร้าน จะมุ่งไปที่การขายกาแฟเป็นหลัก หรือบางร้านกาแฟบางแห่งก็มีชื่อเสียงในเรื่องขนม 
ของว่าง เช่นเค้ก คุกกี้ ไอศกรีม สลัด แซนด์วิช ที่นำามาขายเป็นธุรกิจเสริมร่วมกับกาแฟ ฉะนั้น ผู้ประกอบ 
การที่สนใจหรือตัดสินใจในการลงทุนร้านกาแฟ จึงอาจหาสินค้าเสริมเข้ามาขายร่วมกับกาแฟ เพื่อดึงกลุ่ม 
ลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น 
ส่วนผสมทางการตลาด 4p 
· ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ มักให้ความสำาคัญกับรสชาติ ความหอม และบรรยากาศของการดื่มกาแฟ 
· ผู้ประกอบการร้านกาแฟจึงต้องให้ความสำาคัญกับด้านต่างๆ ดังนี้ 
ด้านผลิตภัณฑ์ 
กาแฟสดแตกต่างจากกาแฟสำาเร็จรูป ในเรื่องของรสชาติที่กลมกล่อม และกลิ่นหอมเย้ายวนชวนให้น่า 
ดื่มมากกว่า คอกาแฟส่วนใหญ่มีรสนิยมการดื่มกาแฟที่ต่างกัน บางคนชอบดื่มกาแฟที่มีรสชาติเข้มข้น บางคนชอบดื่ม 
กาแฟที่ออกรสเปรี้ยวเล็กน้อย ดังนั้น ในด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ลงทุนควรใส่ใจเรื่องดังต่อไปนี้ 
ผลิตจะต้องคิดค้นพัฒนาสูตรเครื่องดื่มกาแฟให้มีหลากหลายรสชาติและกลิ่นหอม ตรงตามความต้องการของ 
ผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดปลอดภัย สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคได้ ในภาวะที่ผู้ 
บริโภคมีทางเลือกหลากหลาย สิ่งสำาคัญที่จะทำาให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายใหม่ติดตลาดหรือได้รับการตอบรับ 
ที่ดีจากผู้บริโภค คือการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม โดดเด่น และแตกต่างไปจากสินค้าที่มีในตลาด เพื่อ 
สร้าง บรรยากาศของการดื่มกาแฟให้ได้รสชาติยิ่งขึ้น
สถานที่สำาหรับประกอบธุรกิจร้านกาแฟมีความสำาคัญมาก นอกจากการเลือกทำาเลที่ดี การสัญจรสะดวก มีที่ 
จอดรถ แล้วภายในบริเวณร้านจะต้องจัดแต่งให้สวยงาม ทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการบริโภคกาแฟของคนไทย 
เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากอดีตร้านกาแฟมักเป็นร้านขนาดเล็กหรือรถเข็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มา 
ในปัจจุบันคนไทยหันมานิยมดื่มกาแฟสดคั่วบดในร้านกาแฟที่มีบรรยายกาศและการตกแต่งร้านที่ทันสมัย หรือที่เรียก 
กันว่าร้านกาแฟ พรีเมี่ยม (Premium) รูปแบบของร้านกาแฟในปัจจุบัน จึงถูกจัดตกแต่งให้ดูทันสมัย มีความโดดเด่น 
ในเรื่องความสะอาด สะดวกสบายและบรรยากาศผ่อนคลาย เหมาะจะเข้าไปนั่งพักนั่งคุย ทั้งนี้เพราะลูกค้ากลุ่มเป้า 
หมายของร้านกาแฟส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ นักศึกษา วัยรุ่นและนักท่องเที่ยว รูปแบบการจัดแต่งร้านกาแฟพรีเมี่ยม 
จะคล้ายกับร้านฟาสท์ฟู้ดทั่วไปคือเน้นการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในร้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
การจัดวางอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภายในร้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อง่ายต่อการใช้สอย หาก 
พื้นที่ภายในร้านค่อนข้างจำากัดผู้ลงทุนอาจทำาชั้นวางของรอบด้านเพื่อเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ นอกจากนี้ผู้ 
ลงทุนยังต้องจัดการฝึกอบรมพนักงานให้มีระเบียบจนเป็นนิสัย ไม่เช่นนั้นแล้ว การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยที่ดีก็จะกลับมา 
ยุ่งเหยิงอีกครั้ง 
การลดขั้นตอนต่างๆ ของหน้าร้านให้สั้นที่สุด ทั้งด้านการผลิต การรับคำาสั่งซื้อจากลูกค้าและการชำาระเงิน 
การลดขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำางานแก่พนักงานแล้ว ยังทำาให้ลูกค้าได้ 
รับการบริการที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น 
ช่องทางการจัดจำาหน่าย 
ร้านกาแฟสดส่วนใหญ่จะมีช่องทางการจัดจำาหน่ายที่มุ่งไปตามย่านธุรกิจแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ต่างๆ 
ดังนี้ 
· ห้างสรรพสินค้า 
· ซุปเปอร์มาร์ เก็ตใหญ่ ๆ 
· ใกล้สถาบันการศึกษา 
· ใกล้โรงภาพยนต์ 
· ปั๊มนำ้ามัน 
ราคา 
เครื่องดื่มกาแฟตามร้านกาแฟสดทั่วไป มีระดับราคาตั้งแต่ 20 บาท ไปจนถึง 100 กว่าบาท ส่วนใหญ่การตั้ง 
ราคาพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบที่นำามาใช้ในการผลิต กาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 100 –120 
บาท สูงกว่าพันธุ์โรบัสตาประมาณ 3–4 เท่า ส่วนราคาของกาแฟคั่วเสร็จจะสูงกว่ากาแฟดิบมาก มีตั้งแต่ราคา 300 
-400 บาท ไปจนถึง 700 บาทขึ้นไป กาแฟจึงมีคุณภาพ รสชาติ และกลิ่นหอมที่แตกต่างกันไป สำาหรับกาแฟที่นำาเข้า 
จากต่างประเทศราคาจะสูงขึ้นไปอีก สาเหตุหลักเพราะผู้นำาเข้าต้องเสียภาษีสูงถึง 95 % 
ดังนั้นราคาเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นจึงแตกต่างกันไปตามต้นทุนวัตถุดิบที่นำามาใช้บวกกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการ 
ดำาเนินงานโดยการกำาหนดราคา ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับคุณภาพและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 
การส่งเสริมการขาย 
ธุรกิจร้านกาแฟอาจใช้วิธีการส่งเสริมการขายมีดังต่อไปนี้ 
· ส่วนใหญ่ธุรกิจร้านกาแฟจะเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และแผ่นพับ หรือ Direct Mail เพราะสื่อ 
เหล่านี้นำาเสนอให้เห็นภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดีชื่อสินค้าและตราสินค้า เพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้ 
เร็วด้วยต้นทุนที่ตำ่า ขณะที่การส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์นั้นน้อยมาก 
เนื่องจากใช้ต้นทุนสูง
· การประชาสัมพันธ์ที่ดีอีกวิธีคือ การสร้างมาตรฐานของร้านให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จนนำาไปบอก 
กล่าวกันแบบปากต่อปาก วิธีนี้ได้ผลดีมากสำาหรับธุรกิจร้านกาแฟ 
ผู้ประกอบการอาจส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดโปรโมชั่นแลกซื้อของที่ระลึก หรือในช่วง 
เทศกาลสำาคัญๆ ก็อาจจะนำากาแฟบางรายการมาลดราคา เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาดื่มกาแฟกันมากขึ้น หรือผู้ ประกอบ 
การอาจจัดกิจกรรมร่วมสนุกเพื่อดึงผู้บริโภคเข้าร้านบ่อยครั้งมากขึ้น 
การบริหาร 
ร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่จะต้องพัฒนาสินค้าและรักษามาตรฐานการบริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นธุรกิจร้านกาแฟ 
จึงต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดีทั้งในด้านบุคลากร ระบบการขายและการบริการ ระบบคลังสินค้า การตลาดที่มี 
ประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นแล้ว ย่อมส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นตามไปด้วย ผู้ประกอบการที่ประสบความสำาเร็จใน 
ธุรกิจนี้ ส่วนใหญ่จะนำาเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ IT เข้ามาใช้ควบคุมดูแลส่วนงานต่างๆ ด้วย 
การตลาด 
ข้อมูลทั้งหมดที่ ได้จากระบบสนับสนุน จะถูกนำามาใช้ในการวางแผนการตลาด การจัดทำาแผนส่งเสริมการ 
ขายต่างๆ เพื่อรักษาลูกค้าไว้ สำาหรับร้านกาแฟขนาดเล็ก ที่ไม่ได้นำาระบบ IT เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการร้าน ก็ 
สามารถนำาเอาหลักการบริหารดังกล่าวไปปรับใช้ เพียงแต่ผู้ลงทุนจะต้องคอยควบคุมตรวจสอบให้รัดกุม การบริหาร 
จัดการจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 
นอกจากการบริหารงานในส่วนต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจนี้ยังต้องให้ความสำาคัญกับการบริหาร 
บุคลากร ทั้งเรื่องการฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องกาแฟแก่พนักงาน กระทั่งพนักงานสามารถตอบคำาถาม 
ของลูกค้าและให้การบริการที่ดีแก่ลูกค้าได้ รวมไปถึงการให้สวัสดิการ การให้ผลตอบแทนที่ยุติธรรมต่อพนักงาน และ 
การให้โอกาสพนักงานทุกคนปฏิบัติงานอย่างเท่าเทียมกัน 
การลงทุน 
ธุรกิจร้านกาแฟมีลักษณะการลงทุนใน 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้ 
ร้าน (Stand - Alone) เป็นอาคารอิสระหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ประมาณ 50 ต.ร.ม. ขึ้นไป ร้าน Stand - 
Alone อาจตั้งอยู่ตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำานักงาน หรือพลาซ่าใหญ่ ๆ 
คอร์เนอร์ (Corner/Kiosk) ร้านกาแฟขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ต.ร.ม.ขึ้นไป ลักษณะเป็นมุม 
กาแฟภายในอาคาร ศูนย์การค้า หรือพลาซ่า ร้านกาแฟประเภทนี้อาจจัดให้มีที่นั่ง จำานวนเล็กน้อย 
รถเข็น (Cart) ร้านกาแฟขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ต.ร.ม. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หาทำาเลที่ 
ตั้งได้ง่าย ทำาให้เข้าถึงตลาดได้ทุกระดับ เงินลงทุนและต้นทุนค่าใช้จ่ายของ การทำาร้านกาแฟจะแตกต่างไปตามขนาด 
และรูปแบบของการลงทุนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนี้ 
โครงสร้างการลงทุน 
ร้านกาแฟในรูปแบบ Stand Alone จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 800,000 ถึง 1,500,000 บาท ซึ่ง 
โครงสร้างต้นทุนของร้านกาแฟรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียงกันคือ 
1. ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 90% ได้แก่ 
· ค่าก่อสร้างออกแบบและตกแต่งสถานที่ 
· ค่าวางระบบต่าง ๆ (ไฟฟ้า นำ้าประปา โทรศัพท์ระบบเก็บเงิน) 
· ค่าอุปกรณ์
2. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 10% ได้แก่ 
· ค่าวัตถุดิบสินค้า 
· ค่าบรรจุภัณฑ์ 
· ค่าจ้างพนักงาน 
· ค่าเช่าพื้นที่ 
· ค่านำ้า ค่าไฟ 
· ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 
*** โครงสร้างการลงทุนข้างต้น ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 4ราย ช่วงเดือนกรกฎาคม 2545 
การลงทุนดังกล่าวเป็น เพียงตัวอย่างให้ผู้ประกอบการที่สนใจได้เห็น 
รูปแบบการลงทุนของร้านกาแฟแบบ 
วิสัยทัศน์ 
" ที่สุดของผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ หนึ่งเดียวในใจลูกค้า " 
ภารกิจ 
1. ให้ความสำาคัญต่อการคิดค้นและวิจัย เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ความรู้ความ 
ชำานาญในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจกาแฟ และให้ความสนใจในการรักษามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ 
คงที่และดีอยู่เสมอ 
2. เราจะยืนหยัดในความเป็นผู้นำา โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟสู่ตลาดโลก โดยการมุ่งมั่นใช้ทรัพยากรที่มี 
อยู่อย่างคุ้มค่าสูงสุดตามความต้องการของผู้บริโภค 
3. เราจะให้ความสนใจในการทำา ธุรกิจด้านอาหารและ เครื่องดื่ม ผ่านช่อง 
ทางการจัดจำาหน่ายอย่างเหมาะสม 
4. เราจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องทางด้านการจัดการและการบริหารทรัพยากรบุคคลตลอดจน การบริหารและ 
จัดการอย่างเป็นระบบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร

Más contenido relacionado

Destacado

Destacado (8)

Anjitha mohan
Anjitha mohanAnjitha mohan
Anjitha mohan
 
Protection for data and signal lines in intrinsically safe circuits
Protection for data and signal lines in intrinsically safe circuitsProtection for data and signal lines in intrinsically safe circuits
Protection for data and signal lines in intrinsically safe circuits
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
 
A Faustian Pact with neoliberalism? Maccarrone&Erne(IIPPE2014)
A Faustian Pact with neoliberalism? Maccarrone&Erne(IIPPE2014)A Faustian Pact with neoliberalism? Maccarrone&Erne(IIPPE2014)
A Faustian Pact with neoliberalism? Maccarrone&Erne(IIPPE2014)
 
ESP D1 Series - Enhanced mains power protectors
ESP D1 Series - Enhanced mains power protectorsESP D1 Series - Enhanced mains power protectors
ESP D1 Series - Enhanced mains power protectors
 
The revolutionary invention of the wheel
The revolutionary invention of the wheelThe revolutionary invention of the wheel
The revolutionary invention of the wheel
 
Integrated Digital Marketing Assessment - Lay's #DoUsAFlavor
Integrated Digital Marketing Assessment - Lay's #DoUsAFlavorIntegrated Digital Marketing Assessment - Lay's #DoUsAFlavor
Integrated Digital Marketing Assessment - Lay's #DoUsAFlavor
 
Visualizing solid shapes!!!
Visualizing solid shapes!!!Visualizing solid shapes!!!
Visualizing solid shapes!!!
 

รายงาน

  • 1. ในช่วงระยะเวลา 3– 4 ปี ที่ผ่านมานี้ ธุรกิจร้านกาแฟ มีอัตราการเติบโตรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลัก ๆ อาจสืบเนื่องมาจากธุรกิจร้านกาแฟรายใหญ่จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ สภาพดังกล่าวสร้าง ความคึกคักและตื่นตัวให้กับวงการธุรกิจกาแฟเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกัน กระแสความนิยมการดื่มกาแฟของคนไทย ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมคนไทยนิยมดื่มกาแฟสำาเร็จรูปกันเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบัน คนไทยได้หันมานิยมเข้าร้าน กาแฟสดคั่วบด ที่มีการตกแต่งร้านให้หรูหราทันสมัย สะดวกสบาย มีบรรยากาศที่รื่นรมย์สำาหรับการดื่มกาแฟมากขึ้น ทั้งนี้จากผลการสำารวจพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนไทยในปี พ.ศ. 2543 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า คน ไทยยังมีอัตราการดื่มกาแฟต่อคนตำ่ามาก เฉลี่ย 200 แก้ว/คน/ปี เมื่อเทียบกับคนในแถบเอเชีย เช่น ชาวญี่ปุ่น ดื่มกาแฟ เฉลี่ย 500 แก้ว/คน/ปี ในขณะที่ชาวอเมริกาดื่มกาแฟเฉลี่ย 700 แก้ว/คน/ปี ดังนั้น การดื่มกาแฟของคนไทยในอนาคต จึงยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เหตุนี้ทำา ให้นักลงทุนจำานวนมากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุน ใน ธุรกิจร้านกาแฟ สภาพการแข่งขันในตลาดโดยรวมจึงดูเหมือนจะรุนแรง แต่เนื่องจากร้านกาแฟส่วน ใหญ่ที่มีในปัจจุบัน มักเน้นการขายสินค้าและบริการเสริมอื่นๆ เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แซนด์วิช บางแห่งมีบริการ อินเตอร์เน็ตให้กับลูกค้าด้วย เมื่อแต่ละร้านมีจุดขายที่เป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค แตกต่างกันไป ประกอบกับคอกาแฟ ในตลาดยังมีหลายกลุ่ม การแข่งขันในตลาดจึง ยังไม่รุนแรง หรือชัดเจนเท่าใดนัก แต่อย่างไรก็ตาม การแข่งขันใน อนาคตมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ ก่อนเริ่มทำาธุรกิจผู้ประกอบการควรเลือกทำาเลที่ตั้งให้เหมาะสม โดยศึกษาว่าบริเวณ ทำาเลที่เลือกนั้น กลุ่มลูกค้ามีพฤติกรรมชอบดื่มกาแฟมากน้อยแค่ไหน และในละแวกนั้นมีคู่แข่งไหม จุดไหนที่ทำาให้ผู้ บริโภคเลือกดื่มกาแฟของร้าน หรืออะไรที่ทำาให้ธุรกิจแตกต่างไปจากร้านอื่นๆ ผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการเข้ามา ลงทุน ควรสร้างความแตกต่างไปจากผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาด ทั้งรูปแบบการตกแต่งร้านกาแฟและรสชาติของ สินค้า สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเปิดธุรกิจร้านกาแฟ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายธุรกิจหลักและธุรกิจรอง กลุ่มเป้าหมาย (ตัวอย่างเช่น) ร้านกาแฟในปัจจุบัน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก ๆ ได้แก่ นักธุรกิจ นักศึกษา คนทำางาน และนักท่องเที่ยว ธุรกิจหลักและธุรกิจเสริม ร้านกาแฟบางร้าน จะมุ่งไปที่การขายกาแฟเป็นหลัก หรือบางร้านกาแฟบางแห่งก็มีชื่อเสียงในเรื่องขนม ของว่าง เช่นเค้ก คุกกี้ ไอศกรีม สลัด แซนด์วิช ที่นำามาขายเป็นธุรกิจเสริมร่วมกับกาแฟ ฉะนั้น ผู้ประกอบ การที่สนใจหรือตัดสินใจในการลงทุนร้านกาแฟ จึงอาจหาสินค้าเสริมเข้ามาขายร่วมกับกาแฟ เพื่อดึงกลุ่ม ลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนผสมทางการตลาด 4p · ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มกาแฟ มักให้ความสำาคัญกับรสชาติ ความหอม และบรรยากาศของการดื่มกาแฟ · ผู้ประกอบการร้านกาแฟจึงต้องให้ความสำาคัญกับด้านต่างๆ ดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ กาแฟสดแตกต่างจากกาแฟสำาเร็จรูป ในเรื่องของรสชาติที่กลมกล่อม และกลิ่นหอมเย้ายวนชวนให้น่า ดื่มมากกว่า คอกาแฟส่วนใหญ่มีรสนิยมการดื่มกาแฟที่ต่างกัน บางคนชอบดื่มกาแฟที่มีรสชาติเข้มข้น บางคนชอบดื่ม กาแฟที่ออกรสเปรี้ยวเล็กน้อย ดังนั้น ในด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ลงทุนควรใส่ใจเรื่องดังต่อไปนี้ ผลิตจะต้องคิดค้นพัฒนาสูตรเครื่องดื่มกาแฟให้มีหลากหลายรสชาติและกลิ่นหอม ตรงตามความต้องการของ ผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต้องผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาดปลอดภัย สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคได้ ในภาวะที่ผู้ บริโภคมีทางเลือกหลากหลาย สิ่งสำาคัญที่จะทำาให้ผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการรายใหม่ติดตลาดหรือได้รับการตอบรับ ที่ดีจากผู้บริโภค คือการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม โดดเด่น และแตกต่างไปจากสินค้าที่มีในตลาด เพื่อ สร้าง บรรยากาศของการดื่มกาแฟให้ได้รสชาติยิ่งขึ้น
  • 2. สถานที่สำาหรับประกอบธุรกิจร้านกาแฟมีความสำาคัญมาก นอกจากการเลือกทำาเลที่ดี การสัญจรสะดวก มีที่ จอดรถ แล้วภายในบริเวณร้านจะต้องจัดแต่งให้สวยงาม ทั้งนี้ เนื่องจากรูปแบบการบริโภคกาแฟของคนไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากอดีตร้านกาแฟมักเป็นร้านขนาดเล็กหรือรถเข็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มา ในปัจจุบันคนไทยหันมานิยมดื่มกาแฟสดคั่วบดในร้านกาแฟที่มีบรรยายกาศและการตกแต่งร้านที่ทันสมัย หรือที่เรียก กันว่าร้านกาแฟ พรีเมี่ยม (Premium) รูปแบบของร้านกาแฟในปัจจุบัน จึงถูกจัดตกแต่งให้ดูทันสมัย มีความโดดเด่น ในเรื่องความสะอาด สะดวกสบายและบรรยากาศผ่อนคลาย เหมาะจะเข้าไปนั่งพักนั่งคุย ทั้งนี้เพราะลูกค้ากลุ่มเป้า หมายของร้านกาแฟส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ นักศึกษา วัยรุ่นและนักท่องเที่ยว รูปแบบการจัดแต่งร้านกาแฟพรีเมี่ยม จะคล้ายกับร้านฟาสท์ฟู้ดทั่วไปคือเน้นการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในร้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดวางอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ภายในร้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อง่ายต่อการใช้สอย หาก พื้นที่ภายในร้านค่อนข้างจำากัดผู้ลงทุนอาจทำาชั้นวางของรอบด้านเพื่อเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ นอกจากนี้ผู้ ลงทุนยังต้องจัดการฝึกอบรมพนักงานให้มีระเบียบจนเป็นนิสัย ไม่เช่นนั้นแล้ว การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยที่ดีก็จะกลับมา ยุ่งเหยิงอีกครั้ง การลดขั้นตอนต่างๆ ของหน้าร้านให้สั้นที่สุด ทั้งด้านการผลิต การรับคำาสั่งซื้อจากลูกค้าและการชำาระเงิน การลดขั้นตอนนี้นอกจากจะเป็นการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำางานแก่พนักงานแล้ว ยังทำาให้ลูกค้าได้ รับการบริการที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ช่องทางการจัดจำาหน่าย ร้านกาแฟสดส่วนใหญ่จะมีช่องทางการจัดจำาหน่ายที่มุ่งไปตามย่านธุรกิจแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ต่างๆ ดังนี้ · ห้างสรรพสินค้า · ซุปเปอร์มาร์ เก็ตใหญ่ ๆ · ใกล้สถาบันการศึกษา · ใกล้โรงภาพยนต์ · ปั๊มนำ้ามัน ราคา เครื่องดื่มกาแฟตามร้านกาแฟสดทั่วไป มีระดับราคาตั้งแต่ 20 บาท ไปจนถึง 100 กว่าบาท ส่วนใหญ่การตั้ง ราคาพิจารณาจากต้นทุนวัตถุดิบที่นำามาใช้ในการผลิต กาแฟพันธุ์อาราบิก้าจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 100 –120 บาท สูงกว่าพันธุ์โรบัสตาประมาณ 3–4 เท่า ส่วนราคาของกาแฟคั่วเสร็จจะสูงกว่ากาแฟดิบมาก มีตั้งแต่ราคา 300 -400 บาท ไปจนถึง 700 บาทขึ้นไป กาแฟจึงมีคุณภาพ รสชาติ และกลิ่นหอมที่แตกต่างกันไป สำาหรับกาแฟที่นำาเข้า จากต่างประเทศราคาจะสูงขึ้นไปอีก สาเหตุหลักเพราะผู้นำาเข้าต้องเสียภาษีสูงถึง 95 % ดังนั้นราคาเครื่องดื่มที่ผลิตขึ้นจึงแตกต่างกันไปตามต้นทุนวัตถุดิบที่นำามาใช้บวกกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการ ดำาเนินงานโดยการกำาหนดราคา ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับคุณภาพและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การส่งเสริมการขาย ธุรกิจร้านกาแฟอาจใช้วิธีการส่งเสริมการขายมีดังต่อไปนี้ · ส่วนใหญ่ธุรกิจร้านกาแฟจะเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์และแผ่นพับ หรือ Direct Mail เพราะสื่อ เหล่านี้นำาเสนอให้เห็นภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดีชื่อสินค้าและตราสินค้า เพื่อให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้ เร็วด้วยต้นทุนที่ตำ่า ขณะที่การส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์นั้นน้อยมาก เนื่องจากใช้ต้นทุนสูง
  • 3. · การประชาสัมพันธ์ที่ดีอีกวิธีคือ การสร้างมาตรฐานของร้านให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค จนนำาไปบอก กล่าวกันแบบปากต่อปาก วิธีนี้ได้ผลดีมากสำาหรับธุรกิจร้านกาแฟ ผู้ประกอบการอาจส่งเสริมการขายด้วยรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดโปรโมชั่นแลกซื้อของที่ระลึก หรือในช่วง เทศกาลสำาคัญๆ ก็อาจจะนำากาแฟบางรายการมาลดราคา เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาดื่มกาแฟกันมากขึ้น หรือผู้ ประกอบ การอาจจัดกิจกรรมร่วมสนุกเพื่อดึงผู้บริโภคเข้าร้านบ่อยครั้งมากขึ้น การบริหาร ร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่จะต้องพัฒนาสินค้าและรักษามาตรฐานการบริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นธุรกิจร้านกาแฟ จึงต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดีทั้งในด้านบุคลากร ระบบการขายและการบริการ ระบบคลังสินค้า การตลาดที่มี ประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นแล้ว ย่อมส่งผลให้ต้นทุนของธุรกิจสูงขึ้นตามไปด้วย ผู้ประกอบการที่ประสบความสำาเร็จใน ธุรกิจนี้ ส่วนใหญ่จะนำาเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ IT เข้ามาใช้ควบคุมดูแลส่วนงานต่างๆ ด้วย การตลาด ข้อมูลทั้งหมดที่ ได้จากระบบสนับสนุน จะถูกนำามาใช้ในการวางแผนการตลาด การจัดทำาแผนส่งเสริมการ ขายต่างๆ เพื่อรักษาลูกค้าไว้ สำาหรับร้านกาแฟขนาดเล็ก ที่ไม่ได้นำาระบบ IT เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการร้าน ก็ สามารถนำาเอาหลักการบริหารดังกล่าวไปปรับใช้ เพียงแต่ผู้ลงทุนจะต้องคอยควบคุมตรวจสอบให้รัดกุม การบริหาร จัดการจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากการบริหารงานในส่วนต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจนี้ยังต้องให้ความสำาคัญกับการบริหาร บุคลากร ทั้งเรื่องการฝึกอบรม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องกาแฟแก่พนักงาน กระทั่งพนักงานสามารถตอบคำาถาม ของลูกค้าและให้การบริการที่ดีแก่ลูกค้าได้ รวมไปถึงการให้สวัสดิการ การให้ผลตอบแทนที่ยุติธรรมต่อพนักงาน และ การให้โอกาสพนักงานทุกคนปฏิบัติงานอย่างเท่าเทียมกัน การลงทุน ธุรกิจร้านกาแฟมีลักษณะการลงทุนใน 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้ ร้าน (Stand - Alone) เป็นอาคารอิสระหรือห้องเช่าที่มีพื้นที่ประมาณ 50 ต.ร.ม. ขึ้นไป ร้าน Stand - Alone อาจตั้งอยู่ตามย่านชุมชน ห้างสรรพสินค้า อาคารสำานักงาน หรือพลาซ่าใหญ่ ๆ คอร์เนอร์ (Corner/Kiosk) ร้านกาแฟขนาดกลาง ใช้พื้นที่ประมาณ 6 ต.ร.ม.ขึ้นไป ลักษณะเป็นมุม กาแฟภายในอาคาร ศูนย์การค้า หรือพลาซ่า ร้านกาแฟประเภทนี้อาจจัดให้มีที่นั่ง จำานวนเล็กน้อย รถเข็น (Cart) ร้านกาแฟขนาดเล็ก ใช้พื้นที่ประมาณ 3 ต.ร.ม. สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก หาทำาเลที่ ตั้งได้ง่าย ทำาให้เข้าถึงตลาดได้ทุกระดับ เงินลงทุนและต้นทุนค่าใช้จ่ายของ การทำาร้านกาแฟจะแตกต่างไปตามขนาด และรูปแบบของการลงทุนดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนี้ โครงสร้างการลงทุน ร้านกาแฟในรูปแบบ Stand Alone จะใช้เงินลงทุนเริ่มแรกประมาณ 800,000 ถึง 1,500,000 บาท ซึ่ง โครงสร้างต้นทุนของร้านกาแฟรูปแบบนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียงกันคือ 1. ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ประมาณ 90% ได้แก่ · ค่าก่อสร้างออกแบบและตกแต่งสถานที่ · ค่าวางระบบต่าง ๆ (ไฟฟ้า นำ้าประปา โทรศัพท์ระบบเก็บเงิน) · ค่าอุปกรณ์
  • 4. 2. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเริ่มต้นประมาณ 10% ได้แก่ · ค่าวัตถุดิบสินค้า · ค่าบรรจุภัณฑ์ · ค่าจ้างพนักงาน · ค่าเช่าพื้นที่ · ค่านำ้า ค่าไฟ · ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร *** โครงสร้างการลงทุนข้างต้น ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ 4ราย ช่วงเดือนกรกฎาคม 2545 การลงทุนดังกล่าวเป็น เพียงตัวอย่างให้ผู้ประกอบการที่สนใจได้เห็น รูปแบบการลงทุนของร้านกาแฟแบบ วิสัยทัศน์ " ที่สุดของผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟ หนึ่งเดียวในใจลูกค้า " ภารกิจ 1. ให้ความสำาคัญต่อการคิดค้นและวิจัย เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆที่ลูกค้าต้องการ โดยใช้ความรู้ความ ชำานาญในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจกาแฟ และให้ความสนใจในการรักษามาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ คงที่และดีอยู่เสมอ 2. เราจะยืนหยัดในความเป็นผู้นำา โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟสู่ตลาดโลก โดยการมุ่งมั่นใช้ทรัพยากรที่มี อยู่อย่างคุ้มค่าสูงสุดตามความต้องการของผู้บริโภค 3. เราจะให้ความสนใจในการทำา ธุรกิจด้านอาหารและ เครื่องดื่ม ผ่านช่อง ทางการจัดจำาหน่ายอย่างเหมาะสม 4. เราจะพัฒนาอย่างต่อเนื่องทางด้านการจัดการและการบริหารทรัพยากรบุคคลตลอดจน การบริหารและ จัดการอย่างเป็นระบบเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร