SlideShare a Scribd company logo
1 of 24
Download to read offline
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 1




            เอกสารประกอบการสอน
               เรื่อง พันธุศาสตร์




                     รวบรวมโดย
                  นางอังสนา แสนเยีย
                     ตาแหน่งครู
                                                                                    B y ครูแป๋ว




               โรงเรียนหนองซนพิทยาคม
      สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
                                                                                    ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 2


                                              คาชี้แจง
          คู่มือเอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยาเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนเข้าใจขอบเขตของเนื้อหา
สาระที่สื่อประกอบการสอนเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้สื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็น
การส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนของผู้เรียน กระตุ้นความสนใจ ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับศัพท์ทาง
วิชาการที่ควรทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้ที่ได้รับโดยการอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้การ
จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเอกสารในเล่มนี้ มีหัวข้อดังต่อไปนี้
          1. ประวัติของเมนเดล และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
          2. ความน่าจะเป็น และกฎแห่งการแยก
          3. กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
          4. Complete dominant, Incomplete dominant และ Codominant
          5. Test cross, Reciprocal cross และ Backcross
          6. Sex influence gene และ Sex limited gene
          7. Sex linked gene
          8. มัลติเปิล แอลลีล (Multiple alleles)
          9. หมู่เลือด ABO (ABO Blood group)
          10. พอลิยีน (Polygenes)
          11. ลิงค์เกจ (Linkage)
          12. พันธุประวัติ (Pedigree)


                                                                                   อังสนา แสนเยีย
                                                                                      ผูเรียบเรียง
                                                                                        ้


                                                                                                         B y ครูแป๋ว
                                                                                                         ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 3


1.ความน่าจะเป็นและกฏแห่งการแยก

          ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพันธุศาสตร์มากขึ้นโดยผ่านทางสื่อ
สิ่งพิมพ์ต่างๆตลอดจนโลกออนไลน์ เช่น ความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ การพัฒนาของ
เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรและทางการแพทย์เป็น
อย่างมาก การศึกษาสื่อประกอบการสอนในหัวข้อเรื่องความน่าจะเป็นและกฎแห่งการแยกจะเป็นพื้นฐานที่
สาคัญในการทาความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เพราะจะทาให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการของ
การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ดียิ่งขึ้น
 1.1พันธุศาสตร์ (Genetics)
          พันธุศาสตร์ คือ ศาสตร์ หรือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากชั่วรุ่น
หนึ่งไปยังอีกชั่วรุ่นหนึ่ง รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของสารพันธุกรรมในระดับโมเลกุล และ
ศึกษาการแปรผันทางพันธุกรรมในประชากรที่จะเชื่อมโยงไปสู่การเกิดวิวัฒนาการ
1.2 พันธุกรรม (Heredity)
          พันธุกรรม คือ การถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษมายังลูกหลาน เช่น ลักษณะของสีดอกไม้ ลักษณะ
รูปร่างของเมล็ดถั่ว ลักษณะสีผิวของโค ลักษณะของหงอนไก่ เป็นต้น

1.3 เกรเกอร์ โจฮัน เมนเดล (Gregor Johann Mendel)

           เกรเกอร์ โจฮัน เมนเดล (รูปที่ 1) เป็นชาวออสเตรีย มีชีวิตอยู่ในช่วง
ระหว่าง ปี ค.ศ. 1822ถึง1884 เมนเดลเกิดในครอบครัวเกษตรกรซึ่งมีฐานะปาน
กลาง และเมื่อบิดาถึงแก่กรรมครอบครัวก็เริ่มมีความเป็นอยู่ที่ยากลาบากมากขึ้น
เมนเดลจึงตัดสินใจบวชและได้รับอนุญาตให้ไปเรียนหนังสือ ณ มหาวิทยาลัยเวียนนา
ในสาขาวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และธรรมชาติวิทยาเพื่อจะได้กลับมาเป็นครูสอน
หนังสือที่โบสถ์ ในขณะที่เป็นครูสอนหนังสืออยู่นั้นเมนเดลซึ่งมีพื้นฐานการปลูกพืชเป็นอย่างดีเพราะเกิดและ
เติบโตในครอบครัวเกษตรกรได้ปลูกพืชหลายชนิดภายในโบสถ์ เมนเดลได้สังเกตเห็นลักษณะต่าง ๆ ของพันธุ์
ไม้ที่ปลูกทาให้เกิดความสนใจในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้เริ่มทาการทดลองจากการ
ผสมพันธุ์ถั่ว garden pea (Pisum sativum L.) (รูปที่ 2) โดยผสมพันธุ์ถั่วระหว่างต้นที่มีลักษณะที่แตกต่าง
กันแล้วดูลักษณะของลูกผสมที่เกิดขึ้นในชั่วรุ่นต่อ ๆ มาซึ่งเมนเดลได้ค้นพบความสัมพันธ์บางลักษณะของ
ลูกผสมที่เกิดขึ้น และรวบรวมเป็นรายงานผลการศึกษา พร้อมทั้งได้
          การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่เมนเดลศึกษาไว้เป็นที่ยอมรับกันในที่สุด จนเป็นที่มา
ของการยอมรับยกย่องให้เมนเดลเป็น “บิดาของพันธุศาสตร์”
                                                                                                           B y ครูแป๋ว




ผลการศึกษาของเมนเดล มีองค์ประกอบสาคัญหลายประการที่ทาให้ประสบผลสาเร็จ ได้แก่
          1. ต้นถั่วที่เมนเดลเลือกนามาใช้ในการศึกษานั้นเป็นพืชฤดูเดียว (annual plant)
ซึ่งเจริญเติบโตเร็ว และมีช่วงชีวิตสั้น
          2. เป็นพืชผสมตัวเอง (self-fertilization) ซึ่งทาให้ต้นถั่วในธรรมชาติเป็นสายพันธุ์แท้
          3. เป็นพืชที่มีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันจานวนมาก
                                                                                                           ชีววิทยาน่ารู้




          4. เป็นพืชที่มีจานวนโครโมโซม 2 ชุด (diploid)


Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 4


         พันธุกรรมของลักษณะถั่วที่เมนเดลได้รายงานเอาไว้มีอยู่ด้วยกัน 7 ลักษณะ คือ สีของดอก ตาแหน่ง
ของดอก สีเมล็ด รูปร่างเมล็ด รูปร่างของฝัก สีของฝัก และลักษณะความสูงของต้น
         นอกจากนี้ เมนเดลยังได้ทดลองผสมพันธุ์ถั่วในแบบเดียวกันกับลักษณะอื่น ๆ อีก 6 ลักษณะ ได้แก่ สี
ดอก ตาแหน่งของดอก สีเมล็ด รูปร่างเมล็ด รูปร่างของฝัก และสีของฝัก เมื่อพิจารณาอัตราส่วน พบว่าแต่ละ
ลักษณะที่ผสมพันธุ์กันในลูกรุ่น F2 ที่ได้ล้วนแต่มีอัตราส่วน ที่ใกล้เคียงกันทั้งหมด นั่นคือ ลักษณะเด่นต่อ
ลักษณะด้อย เป็น 3 : 1 โดยประมาณในทุกลักษณะ (ตารางที่ 1) การผสมพันธุ์พิจารณาเพียงลักษณะเดียว
แบบนี้เรียกว่า monohybrid cross




                       ที่มา http://faculty.uca.edu/johnc/mendel1440.htm

         ในการอธิบายรูปแบบของการถ่ายทอดยีน เมนเดลใช้สัญลักษณ์อักษรตัวพิมพ์ใหญ่แทนยีนเด่น
(dominant) และอักษรตัวพิมพ์เล็กแทนยีนด้อย (recessive) ปัจจุบันนิยมใช้ตัวอักษรย่อของคาจากลักษณะ
ด้อยเช่น ต้นสูง ใช้ตัว D และต้นเตี้ย ใช้ตัว d ซึ่งมาจากคาว่า dwarf ซึ่งในทางพันธุศาสตร์ เรียกรูปแบบของ
ยีนที่แตกต่างกัน ณ ตาแหน่งใดตาแหน่งหนึ่งบนโครโมโซมว่าแอลลีล (allele) เช่น allele D หรือ allele d
                                                                                                          B y ครูแป๋ว




เป็นต้น องค์ประกอบทางพันธุกรรมที่ประกอบด้วยคู่ของแอลลีล เรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) และผลที่
เกิดขึ้นจากการแสดงออกของยีน เรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) เช่น ลักษณะความสูงของต้นถั่วและ
ลักษณะรูปร่างของเมล็ดเป็นต้น
         จีโนไทป์รุ่นพ่อแม่ (parent, P) ที่เป็นต้นสูง DD เรียกว่าเป็น homozygous dominant
         จีโนไทป์รุ่นพ่อแม่(parent, P) ที่เป็นต้นเตี้ย dd ว่า homozygous recessive
                                                                                                          ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 5


          ลูก F1 ที่เป็น Dd เรียกว่า heterozygous เช่น การผสมพันธุ์ถั่วต้นสูงกับถั่วต้นเตี้ย ถั่วต้นสูงที่
มีจีโนไทป์ เป็น DD จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส (meiosis) ได้แบบเดียวคือ D ส่วนถั่ว
ต้นเตี้ยที่มี จีโนไทป์ เป็น dd ก็จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้แบบเดียวเช่นกันคือ d และเมื่อเซลล์สืบพันธุ์จากต้นสูง
และต้นเตี้ยปฏิสนธิกันแล้วจะได้ลูก F1 เป็นต้นสูงทั้งหมดโดยจะมีจีโนไทป์ เป็น Dd เมื่อให้ลูก F1 ผสมตัวเองลูก
F1 จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ 2 แบบ คือ D และ d ซึ่งจะแยกออกจากกันไปเข้าสู่เซลล์สืบพันธุ์คนละเซลล์ ซึ่งต่อมา
ภายหลังทราบว่าการแยกออกจากกันนั้นเกิดขึ้นในกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีการแบ่งเซลล์แบบ
meiosis เมื่อเซลล์สืบพันธุ์มารวมกันทาให้ได้ลูก F2 เป็นต้นสูงและต้นเตี้ยในอัตราส่วน 3 : 1 ในขณะที่
อัตราส่วนจีโนไทป์ เท่ากับ 1 : 2 : 1




1.4 กฎแห่งการแยก (Law of Segregation )
        การผสมพันธุ์ระหว่างถั่วต้นสูงและถั่วต้นเตี้ยนี้ เป็นการผสมแบบ monohybrid cross ซึ่งหมายถึง
การผสมพันธุ์ที่พิจารณาเพียงลักษณะเดียวการเกิดลูก F2 ในอัตราส่วน 3 : 1 แสดงว่ายีนอยู่กันเป็นคู่จะต้อง
แยกออกจากกันไปอยู่คนละเซลล์สืบพันธุ์ สมมติฐานดังกล่าวจึงเกิดเป็นกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมข้อที่
หนึ่งของเมนเดลที่รู้จักกันคือ กฎแห่งการแยก (Law of Segregation )ที่มีใจความว่า ยีนที่อยู่กันเป็นคู่จะ
แยกออกจากกันไปเข้าสู่คนละเซลล์สืบพันธุ์

1.5 ความน่าจะเป็น (Probability)
           ความน่าจะเป็น หมายถึง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจากเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด
กฎของความน่าจะเป็นสามารถนามาใช้อธิบายหรือหาความน่าจะเป็นของการเกิดลูกแบบต่าง ๆ จากคู่ผสม
พันธุ์ ซึ่งกฎของความน่าจะเป็นที่นามาใช้มี 2 ข้อ คือ

     1.5.1 ข้อที่ 1 กฎการบวก (Addition Law)
                                                                                                                B y ครูแป๋ว




กฎการบวก คือ ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์หนึ่งหรืออีกเหตุการณ์หนึ่งเท่ากับผลบวกของความ
น่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เมื่อเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นอิสระต่อกัน และความน่าจะเป็นของทุกเหตุการณ์
รวมกันมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ
             ตัวอย่าง เช่น การโยนเหรียญ 1 เหรียญ มีโอกาสในการเกิดขึ้นได้เพียง 2 เหตุการณ์ คือ เหรียญ
ออกหัว หรือ ออกก้อย ดังนั้นความน่าจะเป็นที่เหรียญออกหัวเท่ากับ ½ หรือออกก้อยเท่ากับ ½ โดยที่
                                                                                                                ชีววิทยาน่ารู้




เหตุการณ์ทั้งสองอย่างนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้

Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 6



                            โอกาสที่จะเกิดหัว หรือ ก้อย = 1/2 + 1/2 = 1


       1.5.2 ข้อที่ 2 กฎการคูณ (Multiplication Law)
             กฎการคูณ คือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์หลายเหตุการณ์พร้อม ๆ กันมีค่าเท่ากับ ผลคูณของ
แต่ละเหตุการณ์ เมื่อแต่ละเหตุการณ์เป็นอิสระต่อกัน จะสังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่มักมีคาว่า “และ” ในคาถาม
ตัวอย่างเช่น เมื่อทดลองโยนเหรียญ 1 เหรียญ
                                    โอกาสที่เหรียญจะออกหัว = 1/2
                                    โอกาสที่เหรียญจะออกก้อย = 1/2
ดังนั้น เมื่อทดลองโยนเหรียญ 1 เหรียญ จานวน 2 ครั้ง
โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกหัว และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกหัว = 1/2 × 1/2 = 1/4
โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกหัว และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกก้อย = 1/2 × 1/2 = 1/4
โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกก้อย และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกหัว = 1/2 × 1/2 = 1/4
โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกก้อย และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกก้อย = 1/2 × 1/2 = 1/4

        สมมุติว่าโยนเหรียญที่ด้านหนึ่งของเหรียญเป็น D ที่ควบคุมลักษณะต้นสูง ในขณะที่เหรียญอีกด้าน
เป็น d ที่ควบคุมลักษณะต้นเตี้ยจะได้อัตราส่วนของลูก F2 เท่ากับ 1/4 DD : 2/4 Dd : 1/4 dd (ที่มาของ
ตัวเลขอัตราส่วน 1/4 DD และ 1/4 dd มาจากกฏการคูณ ในขณะที่ตัวเลข 2/4 Dd มาจากกฎ
การคูณและกฎการบวก) จาก genotype ของลูก F2 จะแสดง phenotype เป็น ต้นสูง : ต้นเตี้ย ในอัตราส่วน
3 : 1 โดยที่เป็นการใช้กฎการบวกของ 1/4 DD + 2/4 Dd เท่ากับ 3/4 D - เส้นขีดหลัง D นั้นในความหมาย
ทางพันธุศาสตร์หมายความว่า ณ ตาแหน่งนั้นเป็นได้ทั้ง เด่นและด้อย หรือ D หรือ d จึงเป็นที่มาของ
อัตราส่วน phenotype ต้นสูง : ต้นเตี้ย = 3 : 1 หรือ 3/4 D- : 1/4 dd นั่นเอง

         กฎข้อที่ 1 ของเมนเดลหรือกฎแห่งการแยกนั้นสอดคล้องกับ
กระบวน การแยกตัวของโครโมโซมในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
(meiosis) ซึ่งการแบ่งเซลล์จากเซลล์ตั้งต้นซึ่งมีจานวนโครโมโซม 2
ชุด (2n) ได้เซลล์ลูกที่มีโครโมโซมเพียง 1 ชุด (n) หรือ haploid cell
โดยประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ meiosis I และ meiosis II
                                                                                                        B y ครูแป๋ว
                                                                                                        ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 7


ชื่อ....................................................................................ชั้น...........................เลขที.่ .....................

                                                                         แบบฝึกหัด
      1. เหตุผลหรือองค์ประกอบที่สาคัญที่ทาให้การศึกษาของเมนเดลที่เกี่ยวกับการถ่าย ทอดลักษณะทาง
         พันธุกรรมของต้นถั่วประสบความสาเร็จ คืออะไร
         ................................................................................................................................................................
         ................................................................................................................................... .............................
         ................................................................................................................................................................
         ....................................................................................................................... .........................................
      2. ความสัมพันธ์ระหว่างกฎข้อที่ 1 ของเมนเดลและการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเป็นอย่างไร
         ................................................................................................................................................................
         ............................................................................................................................................... .................
         ................................................................................................................................................................
         ....................................................................................................................... .........................................

      3. โอกาสที่จะเป็นไปได้ทั้งหมดที่ครอบครัวหนึ่งจะมีลูกสามคน เป็นลูกชาย 2 คน ลูกหญิง 1 คน
         ................................................................................................................................................................
         ....................................................................................................................................... .........................
         ................................................................................................................................................................
         ....................................................................................................................... .........................................
      4. ในการผสมพันธุ์พืชระหว่างพืชที่มีลักษณะ dominant ลูกที่ได้มีลักษณะเป็นด้อย จงหาว่าพืชที่เป็น
         dominant จะมี genotype เป็นแบบใด
         ................................................................................................................................................................
         ................................................................................................................................................................
         ................................................................................................................................................................
         ....................................................................................................................... .........................................
                                                                                                                                                                             B y ครูแป๋ว
                                                                                                                                                                             ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 8


2. กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ
         2.1 การผสมพันธุ์ที่พิจารณาพร้อมกันสองลักษณะ หรือ dihybrid cross เช่น การผสมพันธุ์
ระหว่างต้นถั่วที่มีเมล็ดกลมและสีเหลือง กับ ต้นถั่วที่มีเมล็ดย่นและสีเขียว
         สมมุติว่าถั่วต้นพ่อแม่พันธุ์ ที่ฝ่ายหนึ่งมีเมล็ดกลมสีเหลือง มี genotype RRYY และอีกฝ่ายหนึ่งมีเมล็ด
ย่นสีเขียว มี genotype rryy ซึ่งในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของถั่วต้น ที่มี genotype RRYY จะสามารถสร้าง
เซลล์สืบพันธุ์ ได้เป็น RY เพียงรูปแบบเดียว ในขณะที่ถั่วต้นที่มี genotype rryy ก็จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ได้
เป็น ry เพียงแบบเดียว เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้ลูก F1 จะมี genotype เป็น heterozygous ของยีน 2 ตาแหน่ง
คือ RrYy เรียกว่า ลูกผสมสองลักษณะ หรือdihybrid ที่มีลักษณะเมล็ดกลมสีเหลืองทั้งหมด (รูปที่ 2 ข) และ
หลังจากนั้นเมื่อปล่อยให้ลูกรุ่น F1 ผสมตัวเองลูก F1 จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 4 แบบ คือ RY : Ry : rY : ry ใน
สัดส่วนเท่า ๆ กัน คือ 1 : 1 : 1 : 1 genotype และ phenotype ของ F2 สามารถหาได้โดยการสร้างตาราง
Punnett square ดังนี้




          จะเห็นได้ว่า เซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหนึ่งในทุกแบบมีโอกาสที่จะปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ของอีกฝ่าย
หนึ่งได้ทุกแบบและเมื่อรวมจานวนลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันสรุปรวมเป็นอัตราส่วน phenotype เท่ากับ
เมล็ดกลมสีเหลือง : เมล็ดกลมสีเขียว : เมล็ดย่นสีเหลือง : เมล็ดย่นสีเขียว เท่ากับ 9 : 3 : 3 : 1จากตารางจีโน
ไทป์มี 9 ชนิด (16 Combinations) คือ 1 RRYY : 2 RRYy : 2RrYY : 4 RrYy : 2 Rryy :
2 rrYy : 1 rrYY : 1 RRyy

                             สูตรกหาจีโนไทป์ = 3n (n = จานวนคู่ของ Heterozygous Gene)
                                                                                                               B y ครูแป๋ว




                        สูตรการหาฟีโนไทป์ = 2n (n = จานวนคู่ของ Heterozygous Gene)

ตัวอย่าง เช่น AABbccDdEeFF มี Heterozygous Gene อยู่ 3 ยีน
                        สูตรกหาจีโนไทป์ = 3n = 33 = 27 ชนิด
                                                                                                               ชีววิทยาน่ารู้




                           สูตรกหาฟีโนไทป์ = 2n = 23 = 8 ชนิด

Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 9



Back Cross คือ การผสมโดยนารุ่น F1 กลับไปผสมกับพ่อหรือแม่
Test Cross คือ การผสมโดยนาต้นที่ไม่ทราบจีโนไทป์ไปผสมกับตัวทดสอบที่เป็นลักษณะด้อยพันธุ์แท้
โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ
       1. ถ้าลูกที่ได้เป็นลักษณะเด่นเพียงลักษณะเดียว แสดงว่าพันธุ์ที่สงสัยเป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้
       2. ถ้าลูกที่ได้มีทั้งลักษณะเด่นและลักษณะด้อยในอัตราส่วน 1 : 1 แสดงว่าพันธุ์ที่สงสัยเป็นพันธุ์ทาง
( Heterozygote)

2.2 ระบบของการแสดงลักษณะเด่น
        1. การถ่ายทอดลักษณะเด่นอย่างสมบูรณ์ (Complete Dominance) คือ แอลลีลเด่นสามารถข่ม
แอลลีลด้อยได้อย่างสมบูรณ์ เช่นในทุกลักษณะที่เมนเดลได้ศึกษา
        2. การถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominance) คือ การที่แอลลีลเด่นข่ม
แอลลีลด้อยได้แต่ไม่สมบูรณ์ ทาให้ฟีโนไทป์ใน Heterozygote ที่แสดงออกมาอยู่ในระหว่างลักษณะของทั้ง
แบบแอลลีลเด่นและแอลลีลด้อยผสมกัน เช่น สีของดอกลิ้นมังกรและดอกบานเย็น เมื่อผสมดอกสีแดงพันธุ์แท้
กับดอกสีขาวพันธุ์แท้จะได้ดอกสีชมพู
        3. การถ่ายทอดลักษณะเด่นร่วมกัน (Codominance) คือ การที่แอลลีลแต่ละแอลลีลไม่สามารถข่ม
กันและกันได้เลยทาให้ฟีโนไทป์ใน Heterozygote เป็นของทั้งแอลลีลเด่นและด้อย (ไม่ได้อยู่กึ่งกลาง) เช่น
ระบบหมู่เลือด ABO สีขนของวัวแบบน้าตาลปนแดง
        4. มัลติเพิลแอลลีล (Multiple Alleles) คือ ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่มีมากกว่า 2 แอลลีลขึ้นไป
เช่น ระบบหมู่เลือด ABO ที่มีทั้งแอลลีล IA, IB, i
ตัวอย่าง เมื่อผสมต้นบานเย็นสีแดงและสีขาวที่เป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่ ได้ดอกสีชมพูจงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์และ
จีโนไทป์ที่ได้ในการผสมระหว่างต้นดอกสีชมพู

2.3 โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม
           โครโมโซมเพศของมนุษย์ มี 2 แบบ คือ โครโมโซม X ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y ยีนบน
โครโมโซมเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมลักษณะทางเพศและลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพศด้วย เช่น โรคตาบอดสี ,
โรคฮีโมฟีเลีย โรคภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส – 6 – ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส ซึ่งล้วนแต่ถูกควบคุมโดยยีนบน
โครโมโซม X ทั้งสิ้น (X – linked gene)

         ยีน                         จีโนไทป์                           ฟีไนโทป์
                                       h h
         โรคฮีโมฟีเลีย               X X                                โรคฮีโมฟีเลีย
                                       H H H h
                                     X X ,X X                           ปกติ
                                                                                                          B y ครูแป๋ว




                                       c c
         ตาบอดสี                     XX                                 ตาบอดสี
                                       c c c c
                                     X X ,X X                           ปกติ
                                       g g
         ภาวะพร่องเอนไซม์            XX                                 โรคภาวะพร่อง G – 6 – PD
                                       G G G g
         G – 6 - PD                  XX,X X                             ปกติ
      จะเห็นได้ว่าความผิดปกติที่เกิดจากยีนด้อยบนโครโมโซม X จะเกิดในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง
                                                                                                          ชีววิทยาน่ารู้




จึงอาจกล่าวได้ว่า ถ้าแม่เป็นโรคดังกล่าวนี้ลูกชายทุกคนจะเป็นโรคนี้ด้วย แม้พ่อจะปกติก็ตาม

Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 10


      สาหรับยีนที่อยู่บนโครโมโซม Y (Y-linked gene) นั้นมีอยู่น้อย เช่น ยีนควบคุมการมีขนยาวที่ใบหู
จะพบเฉพาะในเพศชายเท่านั้น
      พอลิยีน (polygene) หรือมัลติเปิลยีน (multiple gene) หมายถึง ลักษณะทางพันธุกรรมบาง
ลักษณะถูกควบคุมโดยยีนมากกว่า 2 อัลลีล โดยยีนเหล่านี้อาจอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน หรือไม่ก็ได้
ตัวอย่างเช่น ยีนควบคุมความสูง น้าหนัก สีผิว ความฉลาด เป็นต้น

2.4ความสัมพันธ์ระหว่างกฎข้อที่ 2 ของเมนเดลและการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
          จากการศึกษาเรื่องกฎข้อที่ 2 ของเมนเดลนี้ ถ้าเรามองในแง่มุมทางชีววิทยาเช่นเดียวกับกฎข้อที่ 1
ของเมนเดลจะเห็นว่า กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระนี้ สอดคล้องกับกระบวนการแบ่งไมโอซิส ด้วยเช่นกัน
คือ ในระยะ anaphase I โครโมโซมคู่เหมือนที่แยกออกจากกัน จะสามารถเข้าสู่ขั้วเซลล์โดยสุ่ม ขึ้นกับ
centromere จะหันไปทางขั้วใด ยกตัวอย่างเช่น โครโมโซมคู่ที่ 1 แท่งสีเหลือง ที่มียีน A อยู่นั้น อาจแยกไป
กับ โครโมโซมคู่ที่ 2 แท่งสีเหลือง ที่มียีน B หรืออาจแยกไปด้วยกันกับโครโมโซมแท่งสีเขียว ที่มียีน b อยู่ เป็น
ต้น ดังนั้น จึงมีโอกาสได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 แบบ คือ AB ab Ab และ aB ในสัดส่วนเท่า ๆ กัน คือ 1 : 1 : 1 : 1

2.5 การหาชนิดและอัตราส่วนของเซลล์สืบพันธุ์
        เมื่อนักเรียนได้เข้าใจกฏเกณฑ์การถ่ายทอดทางพันธุกรรมตามกฎของเมนเดลแล้ว จากหลักการนี้
สามารถนามาดัดแปลงใช้กับการหาผลลัพธ์ของการผสมพันธุ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น ในกรณีที่มียีน 3 คู่
สมมติว่าเป็น AABbCc การหาเซลล์สืบพันธุ์ก็จะใช้หลักการเดียวกันโดยการทา branching คือ ยีนคู่ AA จะ
แยกออกได้รูปแบบเดียวคือ A ซึ่งจะไปรวมกลุ่มได้ทั้ง B และ b เช่นเดียวกับ คู่ A และ B ก็จะสามารถไป
รวมกลุ่มได้ทั้ง C และ c เพราะฉะนั้น AABbCc สร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 4 แบบ คือ ABC ABc AbC Abc ใน
สัดส่วนเท่า ๆ กัน




                                                                                                              B y ครูแป๋ว
                                                                                                              ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 11


      ชื่อ......................................................................................................ชั้น...........เลขที.่ ...........
                                                                            แบบฝึกหัด
1. สรุปกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของเมนเดล ทั้ง 2 ข้อ คือ
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
2. จากการผสมพันธุ์พืชคู่หนึ่ง ได้ลูก F1 ที่มี genotype AaBbCc อยากทราบว่าเมื่อให้ลูก F1 ผสมตัวเอง ลูก
F2 ที่มี genotype AABbCc จะมีอัตราส่วนเท่าไร
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................ ..............
.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                                  B y ครูแป๋ว




.............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
................................................................................................................................ ..............................................
..............................................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                                  ชีววิทยาน่ารู้




.............................................................................................................................................................................


Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 12


3. มัลติเปิลอัลลีน (Multiple allene)
    3.1 ความหมายของแอลลีล (allele)
         แอลลีล คือรูปแบบของยีนที่ตาแหน่งใดตาแหน่งหนึ่งบนโครโมโซม ซึ่งมักมี 2 รูปแบบ คือ แอลลีลเด่น
(dominant allele) เขียนสัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และแอลลีลด้อย (recessive
allele) เขียนสัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก
         องค์ประกอบทางพันธุกรรมที่ประกอบด้วยคู่ของแอลลีล เรียกว่าจีโนไทป์ (genotype) ส่วนลักษณะ
ที่ปรากฏ เรียกว่าฟีโนไทป์ (phenotype) เช่น ลักษณะสีของดอกถั่ว


       ตัวอย่าง จีโนไทป์ และฟีโนไทป์ในมนุษย์ เช่น ลักษณะติ่งหูมียีนควบคุม
1 ตาแหน่ง ถ้ากาหนดให้แอลลีล E ควบคุมลักษณะมีติ่งหู และเป็นแอลลีลเด่น
ส่วนแอลลีล e ควบคุมลักษณะไม่มีติ่งหูและเป็นแอลลีลด้อย คนที่มีจีโนไทป์ EE
และ Ee แสดงลักษณะมีติ่งหู ขณะที่คนที่มีจีโนไทป์ ee แสดงลักษณะไม่มีติ่งหู




   3.2 มัลติเปิลแอลลีล (multiple alleles) ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ยกตัวอย่างมาเป็นลักษณะที่ควบคุม
ด้วยยีน 1 ตาแหน่งที่มีรูปแบบหรือแอลลีล 2 รูปแบบ คือแอลลีลเด่นและแอลลีลด้อย แต่ยังมีลักษณะอื่นอีก
มากมายในพืช สัตว์ และมนุษย์ที่ยีนตาแหน่งหนึ่งมีแอลลีลมากกว่า 2 รูปแบบ เรียกแอลลีลแบบนี้ว่า มัลติเปิล
แอลลีล ซึ่งหมายถึง ยีน 1 ตาแหน่งที่มีแอลลีลได้มากกว่า 2 แอลลีล

3.3 ลักษณะหมู่เลือด ABO ของมนุษย์ ระบบหมู่เลือด ABO ของมนุษย์ เป็นระบบที่ใช้ในการจัดจาแนกหมู่
เลือดของมนุษย์ ซึ่งมี 4 หมู่เลือดคือ A B AB และ O
 ลักษณะหมู่เลือด             ABO ของมนุษย์มียีนควบคุมการแสดงออกเพียง 1 ตาแหน่งประกอบด้วย 3 แอลลีล
คือ I I และ i ดังนั้นหมู่เลือด ABO ของมนุษย์จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของลักษณะที่มียีนควบคุมเป็นแบบมัลติเปิล
    A B


แอลลีล
 โดยที่แอลลีล          IA ควบคุมการสร้าง
แอนติเจน A และแอลลีล I ควบคุมการสร้าง
                         B


แอนติเจน B ส่วนแอลลีล i ไม่สามารถสร้าง
แอนติเจนใด ๆ ได้ ทั้งนี้ ระดับการข่มของแอล
ลีลทั้งสาม คือแอลลีล I และ แอลลีล I แสดง
                                                                                                          B y ครูแป๋ว




                     A             B


การข่มสมบูรณ์ (complete dominance) ต่อแอลลีล i ในขณะที่ แอลลีล I และแอลลีล I แสดงการข่ม
                                                                      A             B


ร่วมกัน (codominance)
                                                                                                          ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 13


                                                                              แบบฝึกหัด
1. แอลลีล คือ
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
2. มัลติเปิลแอลลีล คือ.........................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................... ........................................
...........................................................................................................................................................................

3. จงยกตัวอย่างลักษณะพันธุกรรมพร้อมทั้งบอกแอลลีลที่ควบคุมลักษณะเหล่านั้นด้วย
                                      ลักษณะ                                                                                            แอลลีล
1..................................................................                             ...................................................................
                                                                                                ...................................................................
                                                                                                ...................................................................
2...................................................................                            ....................................................................
                                                                                                ....................................................................
                                                                                                ....................................................................

4. จงเขียนจีโนไทป์ของลักษณะหมู่เลือด ABO ของมนุษย์
               ฟีโนไทป์                                   จีโนไทป์
              หมู่เลือด A                        …………………………………………………………
              หมู่เลือด B                        …………………………………………………………
             หมู่เลือด AB                        …………………………………………………………
              หมู่เลือด O                        …………………………………………………………

5. หญิงคนหนึ่งมีหมู่เลือด B แต่งงานกับชายที่มีหมู่เลือด A ได้ลูกชายคนแรกมีหมู่เลือด O
5.1 จงเขียนจีโนไทป์ของพ่อ แม่ และลูก
5.2 จงหาโอกาสที่ครอบครัวนี้จะมีลูกคนถัดไปมีหมู่เลือด A เป็นเท่าใด หมู่เลือด B เป็นเท่าใด หมู่เลือด O เป็น
เท่าใด และหมู่เลือด AB เป็นเท่าใด
...........................................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                                  B y ครูแป๋ว




..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                                  ชีววิทยาน่ารู้




...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................

Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 14


6. หากพ่อและแม่มีจีไทป์ของลักษณะหมู่เลือด ABO ดังต่อไปนี้ จงหาว่าลูกจะมีหมู่เลือดใดได้บ้าง และมี
อัตราส่วนของหมู่เลือดต่าง ๆ เป็นเท่าใด
           6.1 I I x I I
                  AA        B B


           6.2 I i x ii
                  A


         6.3 I I x I i
                 AB     A


...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................... ...........
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................... ...............................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................

7. แม่และลูกมีหมู่เลือด O เหมือนกัน แต่พ่อไม่เคยตรวจหมู่เลือดมาก่อน สามารถบอกได้หรือไม่ว่าพ่อน่าจะมี
หมู่เลือดใดได้บ้าง
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
............................................................................................................................ ..................................................
...........................................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................ ..................
..............................................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                                  B y ครูแป๋ว




..............................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                                  ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 15


4.โรคทางพันธุกรรมในมนุษย์

     4.1 เพดดิกรี (pedigree) หมายถึง แผนผังแสดงการถ่ายทอดลักษณะเป็นประวัติครอบครัว โดยใช้
สัญลักษณ์ในการเขียน                  พ่อ แม่



                                                                        รุ่นลูก

                                                                                  รุ่นหลาน




                สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนเพดดิกรี

                             ชาย

                             หญิง

                           ชายที่แสดงลักษณะที่ศึกษา

                           หญิงที่แสดงลักษณะที่ศึกษา

                            ชายหญิงที่แต่งงานกัน


                            การแต่งงานมีลูก 3 คน



      - การถ่ายทอดลักษณะควบคุมโดยยีนเด่น เช่น การมีลักยิ้ม การมีนิ้วเกิน โรคท้าวแสนปมคนแคระ
                                                                                                     B y ครูแป๋ว




      - การถ่ายทอดลักษณะควบคุมโดยยีนด้อย เช่น ผิวเผือก โรคธาลัสซีเมีย
- การถ่ายทอดลักษณะควบคุมโดยโครโมโซมเพศ บนโครโมโซม               x เช่น ตาบอดสี ภาวะพร่อง
เอนไซม์กลูโคส -6- ฟอสเฟตดี ไฮโดรจีเนส (    G-6-PD) โรคธาลัสซีเมีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบ
                                                                                                     ชีววิทยาน่ารู้




4.2 โรคทางพันธุกรรมที่ควรศึกษา


Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 16


         1. กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่
21 เกินมา 1 แท่ง
              อาการที่ปรากฏ คือ ใบหน้ากลม ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น หนังตาบนมีรอยพับค่อนข้างใหญ่ ช่องปาก
แคบ ลิ้นใหญ่ ทาให้ลิ้นจุกปาก และพูดลาบาก พูดไม่ชัดเจน มีอาการปัญญาอ่อน และหัวใจพิการแต่กาเนิด
         2. กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ซินโดรม (Turner syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการขาด
หายไปของโครโมโซมเพศ 1 แท่ง (44 + xo) = 45 พบเฉพาะในเพศหญิง
          อาการที่ปรากฏ คือ เป็นสาวช้า หน้าอกเล็ก รังไข่ฝ่อ ไม่มีประจาเดือน เป็นหมัน บริเวณคอจะมี
พังผืดกางเป็นปีก ใบหูมีรูปร่างผิดปกติ หูมีขนาดใหญ่ และอยู่ต่า
         3. ตาบอดสี (Colour bindess) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
เนื่องจากมียีนตาบอดสี ซึ่งมียีนด้อยอยู่บนโครโมโซม x
          อาการที่ปรากฏ คือ จะมองสีบางสีไม่ถูกต้อง เพราะเซลล์รับแสงสีบางสีทางานไม่ได้
         4. ฮีโมฟีเลีย (Haemo philia) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
เนื่องจากมียีนของโรคฮีโมฟีเลีย ซึ่งเป็นยีนด้อยอยู่บนโครโมโซม x
          อาการที่ปรากฏ คือ เลือดไม่แข็งตัว คนที่เป็นโรคนี้จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผล เพราะ
เลือดจะไหลไม่หยุด จนอาจเสียชีวิตได้
         5. ธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรม ควบคุมโดยยีนด้อย ผู้ป่วยมีการสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ด
เลือดแดงน้อย
          อาการที่ปรากฏ คือ อาการซีด ตาเหลือง ตับและม้ามโต ดั้งจมูกยุบ กะโหลกศีรษะหนา
โหนกแก้มสูง คางและกระดูกขากรรไกรกว้าง ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะง่าย ผิวหนังดาคล้า ร่างกาย
เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และติดเชื้อง่าย




                                                                                                      B y ครูแป๋ว
                                                                                                      ชีววิทยาน่ารู้




4.3 การแปรผันทางพันธุกรรมและมิวเทชัน

Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 17


         การแปรผันทางพันธุกรรมที่พบในสิ่งมีชีวิตมีมากมาย โดยเฉพาะในหมู่พ่อแม่พี่น้องเดียวกัน
มีรูปร่างหน้าตาแตกต่าง และจะมีความแตกต่างมากขึ้น เมื่อไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกัน เรียกว่า การแปรผันทาง
พันธุกรรม มี 2 แบบ คือ
              1. การแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous variation) เป็นการแปรผันที่ทาให้เกิด
ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น คนมีลักยิ้มกับคนไม่มีลักยิ้ม คนห่อลิ้นได้กับคนห่อลิ้นไม่ได้
             2. การแปรผันแบบต่อเนื่อง (Continuous variation) เป็นการแปรผันที่ทาให้เกิด
ลักษณะที่แตกต่างกันทีละน้อย เช่น ความสูง สีผิว

4.4 ความผิดปกติทางพันธุกรรม
      การกลาย (mutation) หรือการผ่าเหล่า
               การกลาย (mutation) หรือการผ่าเหล่า คือ การเปลี่ยนแปลงยีนทาให้มีคุณสมบัติแตกต่างไป
จากเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดโดยใช้รังสีหรือสารเคมี และเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์
ของสิ่งมีชีวิต ลักษณะบางลักษณะที่เกิดจากการกลายอาจช่วยให้สิ่งมีชีวิตดารงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ในบาง
สภาพอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดโรคได้ เนื่องจากยีนที่เปลี่ยนแปลงไปจะสร้างโปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไปมีผล
ทาให้ลักษณะบางอย่างของร่างกายผิดปกติไป การกลายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
               1. การกลายของเซลล์ร่างกาย (somatic mutation) ไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน
เช่น การเกิดมะเร็งผิวหนัง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผิวหนังถูกแสงแดดจัดสะสมเป็นเวลานาน รังสี
อัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะทาลายยีนของเซลล์ผิวหนัง ทาให้อัตราการสร้างเซลล์ผิวหนังทดแทนบริเวณนั้น
เพิ่มขึ้นในลักษณะที่ควบคุมไม่ได้ จึงเกิดเป็นตุ่มเนื้อที่มีการขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง
(skin censer) ในกระบวนการแบ่งเซลล์ก็อาจทาให้เกิดการกลายได้ เนื่องจากการไขว้กันของโครโมโซม ซึ่ง
เรียกว่า การไขว้เปลี่ยน (crossing-over) การไขว้เปลี่ยนจะทาให้ยีนที่อยู่บนโครโมโซมสลับตาแหน่งกัน ซึ่งทา
ให้เกิดการกลายได้
               2. การกลายของเซลล์สืบพันธุ์ (sexmutation) สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งเกิดกับ
ยีนในเซลล์สืบพันธุ์ผิดปกติ จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ยังเป็นสาเหตุทาให้เกิดการกลายของ
สิ่งมีชีวิตต่างๆ (รวมถึงตัวของมนุษย์เอง) ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เช่น รังสีต่างๆ (รังสีเอ็กซ์ รังสี
อัลตราไวโอเลต รังสีแกมมา) สารเคมีบางชนิด (สารเคมีในอาหาร สารกันบูด สารเคมีกาจัดศัตรูพืช)
           การกลายล้วนมีผลกระทบต่อการดารงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น กรณีที่มีผลรุนแรงอาจ
                                                                                                            B y ครูแป๋ว




ทาให้ไม่มีบุตร คลอดก่อนกาหนด ตั้งครรภ์แล้วแท้ง แต่ถ้าได้รับผลกระทบเล็กน้อยก็อาจทาให้มีความผิดปกติ
เล็กน้อยซึ่งสามารถแก้ไขได้ ถึงอย่างไรก็ตามการกลายก็ใช่ว่ามีแต่ผลเสียเพียงอย่างเดียว บางอย่างบางเรื่องก็มี
ผลดีต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน เช่น ความสามารถในการต้านทานโรคต่างๆ การที่ได้รับสิ่งก่อการกลาย เช่น รังสี
หรือสารเคมีต่างๆ ความร้อนอาจทาให้เกิดความผิดปกติได้
                                                                                                            ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 18


                           ชิ้นงาน/ภาระงานที่ 1.1 เรื่อง พันธุกรรม

คาชี้แจง ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง พันธุกรรม    ตามหัวข้อที่กาหนด แล้วจัดทาเป็นรายงาน
       และจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน

ขั้นตอนการปฏิบัติ
         1.            ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
     2. ให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง พันธุกรรม ตามหัวข้อที่กาหนดต่อไปนี้
                         กระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม
                         การแปรผันทางพันธุกรรม
                         การเกิดมิวเทชัน
     3. นาข้อมูลมาจัดทาเป็นรูปเล่มรายงาน
                 4. ออกนาเสนอผลงาน โดยอธิบายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามา
     5. นาข้อมูลที่ได้มาจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน

การประเมินผลงาน
 พิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้
               1. การอธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารทางพันธุกรรม
     2. การอธิบายการแปรผันทางพันธุกรรม
               3. การอธิบายการเกิดมิวเทชัน
               4. รูปเล่มรายงานและการนาเสนอ




                                                   ใ
                                                                                                        B y ครูแป๋ว
                                                                                                        ชีววิทยาน่ารู้




                                           บงานที่ 3.1

Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 19


                                                         ใบงาน เรื่อง เพดดิกรี
คาชี้แจง ให้นักเรียนฝึกเขียนเพดดิกรีแสดงการถ่ายทอดการมีลักยิ้ม ซึ่งเป็นลักษณะเด่น โดยกาหนด
 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียน คือ
                               ชาย                                            ชายมีลักยิ้ม
                                หญิง                                          หญิงมีลักยิ้ม

              “ฟิล์มมีลักยิ้ม แต่งงานกับแพนเค้กซึ่งไม่มีลักยิ้ม เมื่อลูกชายคนแรกมีลักยิ้มเหมือนพ่อ ลูกคนรอง
เป็นหญิงไม่มีลักยิ้ม ลูกคนเล็กก็เป็นหญิงอีก มีลักยิ้มเหมือนพี่ชาย”
              “ลูกสาวทั้งคู่แต่งงานมีหลานให้พ่อแม่ชมเชย ลูกสาวคนแรกมีลูกชาย 2 คน ต่างก็ไม่มีลักยิ้ม
ส่วนลูกสาวคนเล็กของฟิล์มและแพนเค้กมีลูกสาว 1 คน มีลักยิ้ม ”




คำถำม
       1. การบรรยายด้วยข้อความกับการเขียนเพดดิกรี แสดงแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะทาง
พันธุกรรม
          ได้ชัดเจนแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
          ........................................................................................................................................................
          ........................................................................................................................................................
          ........................................................................................................................................................
       2. หากนักเรียนเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จะตัดสินใจมีบุตรหรือไม่
          ........................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                     B y ครูแป๋ว




          ........................................................................................................................................................
                                                                                                                                                                     ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 20


                                           ใบงาน เรื่อง โรคทางพันธุกรรมในมนุษย์
คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนอธิบายหัวข้อที่กาหนดให้ลงในกรอบของแผนภูมิ

                                           การมีลักยิ้ม
                                                                          ..................................

            โรค.........................                  ……………......


โรค.........................
                                                ยีนเด่น                        ยีนด้อย




                                                          โรคทางพันธุกรรม



                  โครโมโซมคู่ ......... เกิน                              โครโมโซมคู่ ......... ขาดหายไป



           กลุ่มอาการ........................                                กลุ่มอาการ............................................



     …………………………………………                                                     …………………………………………
     …………………………………………                                                     …………………………………………
     …………………………………………                                                     …………………………………………
                                                                                                                                      B y ครูแป๋ว




     …………………………………………                                                     …………………………………………
     …………………………………………                                                     …………………………………………
     …………………………………………                                                     …………………………………………
                                                                                                                                      ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 21


                          ใบงาน เรื่อง การแปรผันทางพันธุกรรมและมิวเทชัน
คาชี้แจง ตอนที่ 1 ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิดให้สมบูรณ์
                                                                                              สาเหตุ ..................................................
  สาเหตุ ........................................
  ....................................................
  ....................................................   โรค.........................    การแบ่งเซลล์



                                                                    เซลล์ร่างกาย




                                                                  มิวเทชัน



                                                                เซลล์สืบพันธุ์

                                 จากธรรมชาติ                                                         จากมนุษย์กระทา



                                                                                        .........................      .........................

ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
1. การแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง หมายถึง …………………………………………...…………..........................…………….
                                                                                                                                                          B y ครูแป๋ว




     ……………………………………………………………………...........................................………………………………………
2. การแปรผันแบบต่อเนื่อง หมายถึง ......................................................................................…………………….
     ……………………………………………………………………………...........................................………………………………
                                                                                                                                                          ชีววิทยาน่ารู้




Biologynsp.wordpress.com
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์
เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์

More Related Content

What's hot

ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด Thitaree Samphao
 
บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอ
บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอบทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอ
บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอYaovaree Nornakhum
 
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพสำเร็จ นางสีคุณ
 
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซม
บทที่  16  ยีนและโครโมโซมบทที่  16  ยีนและโครโมโซม
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซมPinutchaya Nakchumroon
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมJariya Jaiyot
 
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมบทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมPinutchaya Nakchumroon
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1dnavaroj
 
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์Phattarawan Wai
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfssuser2feafc1
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้าdnavaroj
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากkanyamadcharoen
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพSirintip Arunmuang
 
แนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยา
แนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยาแนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยา
แนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยาNadeeya Benlateh
 
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพyangclang22
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)dnavaroj
 
การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)
การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)
การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)Thitaree Samphao
 
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าWorrachet Boonyong
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์Phattarawan Wai
 

What's hot (20)

ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอ
บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอบทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอ
บทที่ 6 เทคโนโลยีดีเอ็นเอ
 
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
16แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
 
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซม
บทที่  16  ยีนและโครโมโซมบทที่  16  ยีนและโครโมโซม
บทที่ 16 ยีนและโครโมโซม
 
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
แบบทดสอบ เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมบทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
บทที่ 15 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ 2 ชั้น ม.1 ชุดที่ 1
 
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
แบบทดสอบย่อย เรื่องกล้องจุลทรรศน์
 
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdfแบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
แบบทดสอบตามตัวชี้วัด ม.1.doc.pdf
 
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้าแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน  หน่วย พลังงานไฟฟ้า
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธฺื๋ทางการเรียน หน่วย พลังงานไฟฟ้า
 
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของรากเล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
เล่มที่ 2 โครงสร้างของราก
 
14แบบทดสอบสารพันธุกรรม
14แบบทดสอบสารพันธุกรรม14แบบทดสอบสารพันธุกรรม
14แบบทดสอบสารพันธุกรรม
 
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบก่อนเรียนความหลากหลายทางชีวภาพ
 
แนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยา
แนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยาแนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยา
แนวข้อสอบสอวน.ชีววิทยา
 
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพแบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
แบบทดสอบความหลากหลายทางชีวภาพ
 
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
แบบทดสอบกลางภาคเรียน วิทย์ 5 (ออกตามตัวชี้วัด)
 
การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)
การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)
การหายใจแสง พืช C4 พืช cam (t)
 
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ใบงานเรื่อง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
 
3แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 3)
3แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 3)3แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 3)
3แบบทดสอบระบบนิเวศ (ตอนที่ 3)
 

Viewers also liked

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)Wichai Likitponrak
 
ใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมSuntharee Yodkham
 
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59Wan Ngamwongwan
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมdnavaroj
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 

Viewers also liked (6)

วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน(ชีววิทยา)
 
ใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ใบความรู้เรื่องพันธุกรรมและการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
 
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรมแบบทดสอบ บทที่  6  การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
แบบทดสอบ บทที่ 6 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธูกรรม
 
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มดโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง เปลือกไข่ไล่มด
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 

Similar to เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์

เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการเอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการBiobiome
 
บท1พันธุกรรมเพิ่ม
บท1พันธุกรรมเพิ่มบท1พันธุกรรมเพิ่ม
บท1พันธุกรรมเพิ่มWichai Likitponrak
 
ชุดการเรียน
ชุดการเรียนชุดการเรียน
ชุดการเรียนKay Pakham
 
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาแผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาtassanee chaicharoen
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนPew Juthiporn
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...Kobwit Piriyawat
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012tassanee chaicharoen
 
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโตนราพร ผิวขำ
 
ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)
ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)
ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
นิว.Pdf
นิว.Pdfนิว.Pdf
นิว.PdfAwantee
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาtassanee chaicharoen
 
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศแผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศJiraporn
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาtassanee chaicharoen
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 SlidejanjaoKanjanjao
 

Similar to เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์ (20)

เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการเอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
เอกสารประกอบการสอน เรื่องวิวัฒนาการ
 
บท1พันธุกรรมเพิ่ม
บท1พันธุกรรมเพิ่มบท1พันธุกรรมเพิ่ม
บท1พันธุกรรมเพิ่ม
 
ชุดการเรียน
ชุดการเรียนชุดการเรียน
ชุดการเรียน
 
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาแผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
แผนการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
 
บทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโนบทที่2 ส่งเทคโน
บทที่2 ส่งเทคโน
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสถานะของสาร รายการครูมืออาชีพ ตอนครูหัดบิน ครูกอบว...
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา2012
 
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
01 เมล็ดพืชและการเจริญเติบโต
 
ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)
ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)
ชีววิทยาม. 5 เทอม 1 การบูรณาการภาษาอังกฤษ ไฟล์ 2 (มีทั้งหมด 4 ไฟล์คะ)
 
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
หน่วยการเรียนรู้ระบบย่อยอาหารและการสลายอาหารระดับเซลล์.3
 
นิว.Pdf
นิว.Pdfนิว.Pdf
นิว.Pdf
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศศึกษา
 
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศแผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
แผนการจัดการเรียนรู้ระบบนิเวศ
 
Aaa
AaaAaa
Aaa
 
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
 
03chap1
03chap103chap1
03chap1
 
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เพศพัฒนา
 
20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao20080901 Slidejanjao
20080901 Slidejanjao
 
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
06 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ บทนำ
 
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
08 การให้เหตุผลและตรรกศาสตร์ ตอนที่2_ประพจน์และกาสมมูล
 

More from Biobiome

หน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้นหน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้นBiobiome
 
หน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของรากหน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของรากBiobiome
 
หน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบหน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบBiobiome
 
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากBiobiome
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบBiobiome
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบBiobiome
 
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตBiobiome
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำBiobiome
 
สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์Biobiome
 
ขนมไทย
ขนมไทยขนมไทย
ขนมไทยBiobiome
 
Biodiversity
BiodiversityBiodiversity
BiodiversityBiobiome
 
Science m6
Science m6Science m6
Science m6Biobiome
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์Biobiome
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์Biobiome
 

More from Biobiome (20)

หน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้นหน้าที่พิเศษของลำต้น
หน้าที่พิเศษของลำต้น
 
หน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของรากหน้าที่พิเศษของราก
หน้าที่พิเศษของราก
 
หน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบหน้าที่พิเศษของใบ
หน้าที่พิเศษของใบ
 
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของรากเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
เนื้อเยื่อชั้นต่างๆ ของราก
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบ
 
โครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบโครงสร้างภายในของใบ
โครงสร้างภายในของใบ
 
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์สารสังเคราะห์
สารสังเคราะห์
 
ขนมไทย
ขนมไทยขนมไทย
ขนมไทย
 
Biodiversity
BiodiversityBiodiversity
Biodiversity
 
Pisa
PisaPisa
Pisa
 
Onet 05
Onet 05Onet 05
Onet 05
 
Science m6
Science m6Science m6
Science m6
 
Science50
Science50Science50
Science50
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์
 
05 e
05 e05 e
05 e
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์
 
Science50
Science50Science50
Science50
 
Pat2 52-1
Pat2 52-1Pat2 52-1
Pat2 52-1
 

เอกสารประกอบการสอน พันธุศาสตร์

  • 1. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 1 เอกสารประกอบการสอน เรื่อง พันธุศาสตร์ รวบรวมโดย นางอังสนา แสนเยีย ตาแหน่งครู B y ครูแป๋ว โรงเรียนหนองซนพิทยาคม สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 2. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 2 คาชี้แจง คู่มือเอกสารประกอบการสอนวิชาชีววิทยาเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้สอนเข้าใจขอบเขตของเนื้อหา สาระที่สื่อประกอบการสอนเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการใช้สื่อประกอบการสอนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็น การส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนของผู้เรียน กระตุ้นความสนใจ ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับศัพท์ทาง วิชาการที่ควรทราบ และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้บูรณาการความรู้ที่ได้รับโดยการอภิปรายร่วมกัน เพื่อให้การ จัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเอกสารในเล่มนี้ มีหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. ประวัติของเมนเดล และศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม 2. ความน่าจะเป็น และกฎแห่งการแยก 3. กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ 4. Complete dominant, Incomplete dominant และ Codominant 5. Test cross, Reciprocal cross และ Backcross 6. Sex influence gene และ Sex limited gene 7. Sex linked gene 8. มัลติเปิล แอลลีล (Multiple alleles) 9. หมู่เลือด ABO (ABO Blood group) 10. พอลิยีน (Polygenes) 11. ลิงค์เกจ (Linkage) 12. พันธุประวัติ (Pedigree) อังสนา แสนเยีย ผูเรียบเรียง ้ B y ครูแป๋ว ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 3. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 3 1.ความน่าจะเป็นและกฏแห่งการแยก ในสถานการณ์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่ามีการกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพันธุศาสตร์มากขึ้นโดยผ่านทางสื่อ สิ่งพิมพ์ต่างๆตลอดจนโลกออนไลน์ เช่น ความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์ การพัฒนาของ เทคโนโลยีการดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้ก่อให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรและทางการแพทย์เป็น อย่างมาก การศึกษาสื่อประกอบการสอนในหัวข้อเรื่องความน่าจะเป็นและกฎแห่งการแยกจะเป็นพื้นฐานที่ สาคัญในการทาความเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เพราะจะทาให้ผู้เรียนเข้าใจกระบวนการของ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ดียิ่งขึ้น 1.1พันธุศาสตร์ (Genetics) พันธุศาสตร์ คือ ศาสตร์ หรือวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากชั่วรุ่น หนึ่งไปยังอีกชั่วรุ่นหนึ่ง รวมทั้งการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของสารพันธุกรรมในระดับโมเลกุล และ ศึกษาการแปรผันทางพันธุกรรมในประชากรที่จะเชื่อมโยงไปสู่การเกิดวิวัฒนาการ 1.2 พันธุกรรม (Heredity) พันธุกรรม คือ การถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษมายังลูกหลาน เช่น ลักษณะของสีดอกไม้ ลักษณะ รูปร่างของเมล็ดถั่ว ลักษณะสีผิวของโค ลักษณะของหงอนไก่ เป็นต้น 1.3 เกรเกอร์ โจฮัน เมนเดล (Gregor Johann Mendel) เกรเกอร์ โจฮัน เมนเดล (รูปที่ 1) เป็นชาวออสเตรีย มีชีวิตอยู่ในช่วง ระหว่าง ปี ค.ศ. 1822ถึง1884 เมนเดลเกิดในครอบครัวเกษตรกรซึ่งมีฐานะปาน กลาง และเมื่อบิดาถึงแก่กรรมครอบครัวก็เริ่มมีความเป็นอยู่ที่ยากลาบากมากขึ้น เมนเดลจึงตัดสินใจบวชและได้รับอนุญาตให้ไปเรียนหนังสือ ณ มหาวิทยาลัยเวียนนา ในสาขาวิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และธรรมชาติวิทยาเพื่อจะได้กลับมาเป็นครูสอน หนังสือที่โบสถ์ ในขณะที่เป็นครูสอนหนังสืออยู่นั้นเมนเดลซึ่งมีพื้นฐานการปลูกพืชเป็นอย่างดีเพราะเกิดและ เติบโตในครอบครัวเกษตรกรได้ปลูกพืชหลายชนิดภายในโบสถ์ เมนเดลได้สังเกตเห็นลักษณะต่าง ๆ ของพันธุ์ ไม้ที่ปลูกทาให้เกิดความสนใจในการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้เริ่มทาการทดลองจากการ ผสมพันธุ์ถั่ว garden pea (Pisum sativum L.) (รูปที่ 2) โดยผสมพันธุ์ถั่วระหว่างต้นที่มีลักษณะที่แตกต่าง กันแล้วดูลักษณะของลูกผสมที่เกิดขึ้นในชั่วรุ่นต่อ ๆ มาซึ่งเมนเดลได้ค้นพบความสัมพันธ์บางลักษณะของ ลูกผสมที่เกิดขึ้น และรวบรวมเป็นรายงานผลการศึกษา พร้อมทั้งได้ การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่เมนเดลศึกษาไว้เป็นที่ยอมรับกันในที่สุด จนเป็นที่มา ของการยอมรับยกย่องให้เมนเดลเป็น “บิดาของพันธุศาสตร์” B y ครูแป๋ว ผลการศึกษาของเมนเดล มีองค์ประกอบสาคัญหลายประการที่ทาให้ประสบผลสาเร็จ ได้แก่ 1. ต้นถั่วที่เมนเดลเลือกนามาใช้ในการศึกษานั้นเป็นพืชฤดูเดียว (annual plant) ซึ่งเจริญเติบโตเร็ว และมีช่วงชีวิตสั้น 2. เป็นพืชผสมตัวเอง (self-fertilization) ซึ่งทาให้ต้นถั่วในธรรมชาติเป็นสายพันธุ์แท้ 3. เป็นพืชที่มีสายพันธุ์ที่แตกต่างกันจานวนมาก ชีววิทยาน่ารู้ 4. เป็นพืชที่มีจานวนโครโมโซม 2 ชุด (diploid) Biologynsp.wordpress.com
  • 4. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 4 พันธุกรรมของลักษณะถั่วที่เมนเดลได้รายงานเอาไว้มีอยู่ด้วยกัน 7 ลักษณะ คือ สีของดอก ตาแหน่ง ของดอก สีเมล็ด รูปร่างเมล็ด รูปร่างของฝัก สีของฝัก และลักษณะความสูงของต้น นอกจากนี้ เมนเดลยังได้ทดลองผสมพันธุ์ถั่วในแบบเดียวกันกับลักษณะอื่น ๆ อีก 6 ลักษณะ ได้แก่ สี ดอก ตาแหน่งของดอก สีเมล็ด รูปร่างเมล็ด รูปร่างของฝัก และสีของฝัก เมื่อพิจารณาอัตราส่วน พบว่าแต่ละ ลักษณะที่ผสมพันธุ์กันในลูกรุ่น F2 ที่ได้ล้วนแต่มีอัตราส่วน ที่ใกล้เคียงกันทั้งหมด นั่นคือ ลักษณะเด่นต่อ ลักษณะด้อย เป็น 3 : 1 โดยประมาณในทุกลักษณะ (ตารางที่ 1) การผสมพันธุ์พิจารณาเพียงลักษณะเดียว แบบนี้เรียกว่า monohybrid cross ที่มา http://faculty.uca.edu/johnc/mendel1440.htm ในการอธิบายรูปแบบของการถ่ายทอดยีน เมนเดลใช้สัญลักษณ์อักษรตัวพิมพ์ใหญ่แทนยีนเด่น (dominant) และอักษรตัวพิมพ์เล็กแทนยีนด้อย (recessive) ปัจจุบันนิยมใช้ตัวอักษรย่อของคาจากลักษณะ ด้อยเช่น ต้นสูง ใช้ตัว D และต้นเตี้ย ใช้ตัว d ซึ่งมาจากคาว่า dwarf ซึ่งในทางพันธุศาสตร์ เรียกรูปแบบของ ยีนที่แตกต่างกัน ณ ตาแหน่งใดตาแหน่งหนึ่งบนโครโมโซมว่าแอลลีล (allele) เช่น allele D หรือ allele d B y ครูแป๋ว เป็นต้น องค์ประกอบทางพันธุกรรมที่ประกอบด้วยคู่ของแอลลีล เรียกว่า จีโนไทป์ (genotype) และผลที่ เกิดขึ้นจากการแสดงออกของยีน เรียกว่า ฟีโนไทป์ (phenotype) เช่น ลักษณะความสูงของต้นถั่วและ ลักษณะรูปร่างของเมล็ดเป็นต้น  จีโนไทป์รุ่นพ่อแม่ (parent, P) ที่เป็นต้นสูง DD เรียกว่าเป็น homozygous dominant  จีโนไทป์รุ่นพ่อแม่(parent, P) ที่เป็นต้นเตี้ย dd ว่า homozygous recessive ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 5. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 5  ลูก F1 ที่เป็น Dd เรียกว่า heterozygous เช่น การผสมพันธุ์ถั่วต้นสูงกับถั่วต้นเตี้ย ถั่วต้นสูงที่ มีจีโนไทป์ เป็น DD จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส (meiosis) ได้แบบเดียวคือ D ส่วนถั่ว ต้นเตี้ยที่มี จีโนไทป์ เป็น dd ก็จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้แบบเดียวเช่นกันคือ d และเมื่อเซลล์สืบพันธุ์จากต้นสูง และต้นเตี้ยปฏิสนธิกันแล้วจะได้ลูก F1 เป็นต้นสูงทั้งหมดโดยจะมีจีโนไทป์ เป็น Dd เมื่อให้ลูก F1 ผสมตัวเองลูก F1 จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ 2 แบบ คือ D และ d ซึ่งจะแยกออกจากกันไปเข้าสู่เซลล์สืบพันธุ์คนละเซลล์ ซึ่งต่อมา ภายหลังทราบว่าการแยกออกจากกันนั้นเกิดขึ้นในกระบวนการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีการแบ่งเซลล์แบบ meiosis เมื่อเซลล์สืบพันธุ์มารวมกันทาให้ได้ลูก F2 เป็นต้นสูงและต้นเตี้ยในอัตราส่วน 3 : 1 ในขณะที่ อัตราส่วนจีโนไทป์ เท่ากับ 1 : 2 : 1 1.4 กฎแห่งการแยก (Law of Segregation ) การผสมพันธุ์ระหว่างถั่วต้นสูงและถั่วต้นเตี้ยนี้ เป็นการผสมแบบ monohybrid cross ซึ่งหมายถึง การผสมพันธุ์ที่พิจารณาเพียงลักษณะเดียวการเกิดลูก F2 ในอัตราส่วน 3 : 1 แสดงว่ายีนอยู่กันเป็นคู่จะต้อง แยกออกจากกันไปอยู่คนละเซลล์สืบพันธุ์ สมมติฐานดังกล่าวจึงเกิดเป็นกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมข้อที่ หนึ่งของเมนเดลที่รู้จักกันคือ กฎแห่งการแยก (Law of Segregation )ที่มีใจความว่า ยีนที่อยู่กันเป็นคู่จะ แยกออกจากกันไปเข้าสู่คนละเซลล์สืบพันธุ์ 1.5 ความน่าจะเป็น (Probability) ความน่าจะเป็น หมายถึง โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจากเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด กฎของความน่าจะเป็นสามารถนามาใช้อธิบายหรือหาความน่าจะเป็นของการเกิดลูกแบบต่าง ๆ จากคู่ผสม พันธุ์ ซึ่งกฎของความน่าจะเป็นที่นามาใช้มี 2 ข้อ คือ 1.5.1 ข้อที่ 1 กฎการบวก (Addition Law) B y ครูแป๋ว กฎการบวก คือ ความน่าจะเป็นของการเกิดเหตุการณ์หนึ่งหรืออีกเหตุการณ์หนึ่งเท่ากับผลบวกของความ น่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์เมื่อเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นอิสระต่อกัน และความน่าจะเป็นของทุกเหตุการณ์ รวมกันมีค่าเท่ากับ 1 เสมอ ตัวอย่าง เช่น การโยนเหรียญ 1 เหรียญ มีโอกาสในการเกิดขึ้นได้เพียง 2 เหตุการณ์ คือ เหรียญ ออกหัว หรือ ออกก้อย ดังนั้นความน่าจะเป็นที่เหรียญออกหัวเท่ากับ ½ หรือออกก้อยเท่ากับ ½ โดยที่ ชีววิทยาน่ารู้ เหตุการณ์ทั้งสองอย่างนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ Biologynsp.wordpress.com
  • 6. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 6 โอกาสที่จะเกิดหัว หรือ ก้อย = 1/2 + 1/2 = 1 1.5.2 ข้อที่ 2 กฎการคูณ (Multiplication Law) กฎการคูณ คือความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์หลายเหตุการณ์พร้อม ๆ กันมีค่าเท่ากับ ผลคูณของ แต่ละเหตุการณ์ เมื่อแต่ละเหตุการณ์เป็นอิสระต่อกัน จะสังเกตเห็นว่าส่วนใหญ่มักมีคาว่า “และ” ในคาถาม ตัวอย่างเช่น เมื่อทดลองโยนเหรียญ 1 เหรียญ โอกาสที่เหรียญจะออกหัว = 1/2 โอกาสที่เหรียญจะออกก้อย = 1/2 ดังนั้น เมื่อทดลองโยนเหรียญ 1 เหรียญ จานวน 2 ครั้ง โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกหัว และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกหัว = 1/2 × 1/2 = 1/4 โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกหัว และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกก้อย = 1/2 × 1/2 = 1/4 โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกก้อย และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกหัว = 1/2 × 1/2 = 1/4 โอกาสที่ครั้งที่ 1 เหรียญออกก้อย และ ครั้งที่ 2 เหรียญออกก้อย = 1/2 × 1/2 = 1/4 สมมุติว่าโยนเหรียญที่ด้านหนึ่งของเหรียญเป็น D ที่ควบคุมลักษณะต้นสูง ในขณะที่เหรียญอีกด้าน เป็น d ที่ควบคุมลักษณะต้นเตี้ยจะได้อัตราส่วนของลูก F2 เท่ากับ 1/4 DD : 2/4 Dd : 1/4 dd (ที่มาของ ตัวเลขอัตราส่วน 1/4 DD และ 1/4 dd มาจากกฏการคูณ ในขณะที่ตัวเลข 2/4 Dd มาจากกฎ การคูณและกฎการบวก) จาก genotype ของลูก F2 จะแสดง phenotype เป็น ต้นสูง : ต้นเตี้ย ในอัตราส่วน 3 : 1 โดยที่เป็นการใช้กฎการบวกของ 1/4 DD + 2/4 Dd เท่ากับ 3/4 D - เส้นขีดหลัง D นั้นในความหมาย ทางพันธุศาสตร์หมายความว่า ณ ตาแหน่งนั้นเป็นได้ทั้ง เด่นและด้อย หรือ D หรือ d จึงเป็นที่มาของ อัตราส่วน phenotype ต้นสูง : ต้นเตี้ย = 3 : 1 หรือ 3/4 D- : 1/4 dd นั่นเอง กฎข้อที่ 1 ของเมนเดลหรือกฎแห่งการแยกนั้นสอดคล้องกับ กระบวน การแยกตัวของโครโมโซมในการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) ซึ่งการแบ่งเซลล์จากเซลล์ตั้งต้นซึ่งมีจานวนโครโมโซม 2 ชุด (2n) ได้เซลล์ลูกที่มีโครโมโซมเพียง 1 ชุด (n) หรือ haploid cell โดยประกอบด้วย 2 ระยะ ได้แก่ meiosis I และ meiosis II B y ครูแป๋ว ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 7. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 7 ชื่อ....................................................................................ชั้น...........................เลขที.่ ..................... แบบฝึกหัด 1. เหตุผลหรือองค์ประกอบที่สาคัญที่ทาให้การศึกษาของเมนเดลที่เกี่ยวกับการถ่าย ทอดลักษณะทาง พันธุกรรมของต้นถั่วประสบความสาเร็จ คืออะไร ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................... ............................. ................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................... ......................................... 2. ความสัมพันธ์ระหว่างกฎข้อที่ 1 ของเมนเดลและการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเป็นอย่างไร ................................................................................................................................................................ ............................................................................................................................................... ................. ................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................... ......................................... 3. โอกาสที่จะเป็นไปได้ทั้งหมดที่ครอบครัวหนึ่งจะมีลูกสามคน เป็นลูกชาย 2 คน ลูกหญิง 1 คน ................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................................... ......................... ................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................... ......................................... 4. ในการผสมพันธุ์พืชระหว่างพืชที่มีลักษณะ dominant ลูกที่ได้มีลักษณะเป็นด้อย จงหาว่าพืชที่เป็น dominant จะมี genotype เป็นแบบใด ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ....................................................................................................................... ......................................... B y ครูแป๋ว ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 8. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 8 2. กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระ 2.1 การผสมพันธุ์ที่พิจารณาพร้อมกันสองลักษณะ หรือ dihybrid cross เช่น การผสมพันธุ์ ระหว่างต้นถั่วที่มีเมล็ดกลมและสีเหลือง กับ ต้นถั่วที่มีเมล็ดย่นและสีเขียว สมมุติว่าถั่วต้นพ่อแม่พันธุ์ ที่ฝ่ายหนึ่งมีเมล็ดกลมสีเหลือง มี genotype RRYY และอีกฝ่ายหนึ่งมีเมล็ด ย่นสีเขียว มี genotype rryy ซึ่งในการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของถั่วต้น ที่มี genotype RRYY จะสามารถสร้าง เซลล์สืบพันธุ์ ได้เป็น RY เพียงรูปแบบเดียว ในขณะที่ถั่วต้นที่มี genotype rryy ก็จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ได้ เป็น ry เพียงแบบเดียว เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้ลูก F1 จะมี genotype เป็น heterozygous ของยีน 2 ตาแหน่ง คือ RrYy เรียกว่า ลูกผสมสองลักษณะ หรือdihybrid ที่มีลักษณะเมล็ดกลมสีเหลืองทั้งหมด (รูปที่ 2 ข) และ หลังจากนั้นเมื่อปล่อยให้ลูกรุ่น F1 ผสมตัวเองลูก F1 จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 4 แบบ คือ RY : Ry : rY : ry ใน สัดส่วนเท่า ๆ กัน คือ 1 : 1 : 1 : 1 genotype และ phenotype ของ F2 สามารถหาได้โดยการสร้างตาราง Punnett square ดังนี้ จะเห็นได้ว่า เซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหนึ่งในทุกแบบมีโอกาสที่จะปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ของอีกฝ่าย หนึ่งได้ทุกแบบและเมื่อรวมจานวนลักษณะที่แสดงออกเหมือนกันสรุปรวมเป็นอัตราส่วน phenotype เท่ากับ เมล็ดกลมสีเหลือง : เมล็ดกลมสีเขียว : เมล็ดย่นสีเหลือง : เมล็ดย่นสีเขียว เท่ากับ 9 : 3 : 3 : 1จากตารางจีโน ไทป์มี 9 ชนิด (16 Combinations) คือ 1 RRYY : 2 RRYy : 2RrYY : 4 RrYy : 2 Rryy : 2 rrYy : 1 rrYY : 1 RRyy สูตรกหาจีโนไทป์ = 3n (n = จานวนคู่ของ Heterozygous Gene) B y ครูแป๋ว สูตรการหาฟีโนไทป์ = 2n (n = จานวนคู่ของ Heterozygous Gene) ตัวอย่าง เช่น AABbccDdEeFF มี Heterozygous Gene อยู่ 3 ยีน สูตรกหาจีโนไทป์ = 3n = 33 = 27 ชนิด ชีววิทยาน่ารู้ สูตรกหาฟีโนไทป์ = 2n = 23 = 8 ชนิด Biologynsp.wordpress.com
  • 9. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 9 Back Cross คือ การผสมโดยนารุ่น F1 กลับไปผสมกับพ่อหรือแม่ Test Cross คือ การผสมโดยนาต้นที่ไม่ทราบจีโนไทป์ไปผสมกับตัวทดสอบที่เป็นลักษณะด้อยพันธุ์แท้ โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1. ถ้าลูกที่ได้เป็นลักษณะเด่นเพียงลักษณะเดียว แสดงว่าพันธุ์ที่สงสัยเป็นลักษณะเด่นพันธุ์แท้ 2. ถ้าลูกที่ได้มีทั้งลักษณะเด่นและลักษณะด้อยในอัตราส่วน 1 : 1 แสดงว่าพันธุ์ที่สงสัยเป็นพันธุ์ทาง ( Heterozygote) 2.2 ระบบของการแสดงลักษณะเด่น 1. การถ่ายทอดลักษณะเด่นอย่างสมบูรณ์ (Complete Dominance) คือ แอลลีลเด่นสามารถข่ม แอลลีลด้อยได้อย่างสมบูรณ์ เช่นในทุกลักษณะที่เมนเดลได้ศึกษา 2. การถ่ายทอดลักษณะเด่นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete Dominance) คือ การที่แอลลีลเด่นข่ม แอลลีลด้อยได้แต่ไม่สมบูรณ์ ทาให้ฟีโนไทป์ใน Heterozygote ที่แสดงออกมาอยู่ในระหว่างลักษณะของทั้ง แบบแอลลีลเด่นและแอลลีลด้อยผสมกัน เช่น สีของดอกลิ้นมังกรและดอกบานเย็น เมื่อผสมดอกสีแดงพันธุ์แท้ กับดอกสีขาวพันธุ์แท้จะได้ดอกสีชมพู 3. การถ่ายทอดลักษณะเด่นร่วมกัน (Codominance) คือ การที่แอลลีลแต่ละแอลลีลไม่สามารถข่ม กันและกันได้เลยทาให้ฟีโนไทป์ใน Heterozygote เป็นของทั้งแอลลีลเด่นและด้อย (ไม่ได้อยู่กึ่งกลาง) เช่น ระบบหมู่เลือด ABO สีขนของวัวแบบน้าตาลปนแดง 4. มัลติเพิลแอลลีล (Multiple Alleles) คือ ลักษณะที่ถูกควบคุมด้วยยีนที่มีมากกว่า 2 แอลลีลขึ้นไป เช่น ระบบหมู่เลือด ABO ที่มีทั้งแอลลีล IA, IB, i ตัวอย่าง เมื่อผสมต้นบานเย็นสีแดงและสีขาวที่เป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่ ได้ดอกสีชมพูจงหาอัตราส่วนของฟีโนไทป์และ จีโนไทป์ที่ได้ในการผสมระหว่างต้นดอกสีชมพู 2.3 โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม โครโมโซมเพศของมนุษย์ มี 2 แบบ คือ โครโมโซม X ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าโครโมโซม Y ยีนบน โครโมโซมเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมลักษณะทางเพศและลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเพศด้วย เช่น โรคตาบอดสี , โรคฮีโมฟีเลีย โรคภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส – 6 – ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนส ซึ่งล้วนแต่ถูกควบคุมโดยยีนบน โครโมโซม X ทั้งสิ้น (X – linked gene) ยีน จีโนไทป์ ฟีไนโทป์ h h โรคฮีโมฟีเลีย X X โรคฮีโมฟีเลีย H H H h X X ,X X ปกติ B y ครูแป๋ว c c ตาบอดสี XX ตาบอดสี c c c c X X ,X X ปกติ g g ภาวะพร่องเอนไซม์ XX โรคภาวะพร่อง G – 6 – PD G G G g G – 6 - PD XX,X X ปกติ  จะเห็นได้ว่าความผิดปกติที่เกิดจากยีนด้อยบนโครโมโซม X จะเกิดในเพศชายได้มากกว่าเพศหญิง ชีววิทยาน่ารู้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ถ้าแม่เป็นโรคดังกล่าวนี้ลูกชายทุกคนจะเป็นโรคนี้ด้วย แม้พ่อจะปกติก็ตาม Biologynsp.wordpress.com
  • 10. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 10  สาหรับยีนที่อยู่บนโครโมโซม Y (Y-linked gene) นั้นมีอยู่น้อย เช่น ยีนควบคุมการมีขนยาวที่ใบหู จะพบเฉพาะในเพศชายเท่านั้น  พอลิยีน (polygene) หรือมัลติเปิลยีน (multiple gene) หมายถึง ลักษณะทางพันธุกรรมบาง ลักษณะถูกควบคุมโดยยีนมากกว่า 2 อัลลีล โดยยีนเหล่านี้อาจอยู่บนโครโมโซมเดียวกัน หรือไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ยีนควบคุมความสูง น้าหนัก สีผิว ความฉลาด เป็นต้น 2.4ความสัมพันธ์ระหว่างกฎข้อที่ 2 ของเมนเดลและการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส จากการศึกษาเรื่องกฎข้อที่ 2 ของเมนเดลนี้ ถ้าเรามองในแง่มุมทางชีววิทยาเช่นเดียวกับกฎข้อที่ 1 ของเมนเดลจะเห็นว่า กฎแห่งการรวมกลุ่มอย่างอิสระนี้ สอดคล้องกับกระบวนการแบ่งไมโอซิส ด้วยเช่นกัน คือ ในระยะ anaphase I โครโมโซมคู่เหมือนที่แยกออกจากกัน จะสามารถเข้าสู่ขั้วเซลล์โดยสุ่ม ขึ้นกับ centromere จะหันไปทางขั้วใด ยกตัวอย่างเช่น โครโมโซมคู่ที่ 1 แท่งสีเหลือง ที่มียีน A อยู่นั้น อาจแยกไป กับ โครโมโซมคู่ที่ 2 แท่งสีเหลือง ที่มียีน B หรืออาจแยกไปด้วยกันกับโครโมโซมแท่งสีเขียว ที่มียีน b อยู่ เป็น ต้น ดังนั้น จึงมีโอกาสได้เซลล์สืบพันธุ์ 4 แบบ คือ AB ab Ab และ aB ในสัดส่วนเท่า ๆ กัน คือ 1 : 1 : 1 : 1 2.5 การหาชนิดและอัตราส่วนของเซลล์สืบพันธุ์ เมื่อนักเรียนได้เข้าใจกฏเกณฑ์การถ่ายทอดทางพันธุกรรมตามกฎของเมนเดลแล้ว จากหลักการนี้ สามารถนามาดัดแปลงใช้กับการหาผลลัพธ์ของการผสมพันธุ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ เช่น ในกรณีที่มียีน 3 คู่ สมมติว่าเป็น AABbCc การหาเซลล์สืบพันธุ์ก็จะใช้หลักการเดียวกันโดยการทา branching คือ ยีนคู่ AA จะ แยกออกได้รูปแบบเดียวคือ A ซึ่งจะไปรวมกลุ่มได้ทั้ง B และ b เช่นเดียวกับ คู่ A และ B ก็จะสามารถไป รวมกลุ่มได้ทั้ง C และ c เพราะฉะนั้น AABbCc สร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ 4 แบบ คือ ABC ABc AbC Abc ใน สัดส่วนเท่า ๆ กัน B y ครูแป๋ว ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 11. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 11 ชื่อ......................................................................................................ชั้น...........เลขที.่ ........... แบบฝึกหัด 1. สรุปกฎการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของเมนเดล ทั้ง 2 ข้อ คือ ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. 2. จากการผสมพันธุ์พืชคู่หนึ่ง ได้ลูก F1 ที่มี genotype AaBbCc อยากทราบว่าเมื่อให้ลูก F1 ผสมตัวเอง ลูก F2 ที่มี genotype AABbCc จะมีอัตราส่วนเท่าไร ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................ .............. ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. B y ครูแป๋ว ............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ................................................................................................................................ .............................................. .............................................................................................................................................................................. ชีววิทยาน่ารู้ ............................................................................................................................................................................. Biologynsp.wordpress.com
  • 12. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 12 3. มัลติเปิลอัลลีน (Multiple allene) 3.1 ความหมายของแอลลีล (allele) แอลลีล คือรูปแบบของยีนที่ตาแหน่งใดตาแหน่งหนึ่งบนโครโมโซม ซึ่งมักมี 2 รูปแบบ คือ แอลลีลเด่น (dominant allele) เขียนสัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ และแอลลีลด้อย (recessive allele) เขียนสัญลักษณ์เป็นอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก องค์ประกอบทางพันธุกรรมที่ประกอบด้วยคู่ของแอลลีล เรียกว่าจีโนไทป์ (genotype) ส่วนลักษณะ ที่ปรากฏ เรียกว่าฟีโนไทป์ (phenotype) เช่น ลักษณะสีของดอกถั่ว ตัวอย่าง จีโนไทป์ และฟีโนไทป์ในมนุษย์ เช่น ลักษณะติ่งหูมียีนควบคุม 1 ตาแหน่ง ถ้ากาหนดให้แอลลีล E ควบคุมลักษณะมีติ่งหู และเป็นแอลลีลเด่น ส่วนแอลลีล e ควบคุมลักษณะไม่มีติ่งหูและเป็นแอลลีลด้อย คนที่มีจีโนไทป์ EE และ Ee แสดงลักษณะมีติ่งหู ขณะที่คนที่มีจีโนไทป์ ee แสดงลักษณะไม่มีติ่งหู 3.2 มัลติเปิลแอลลีล (multiple alleles) ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ยกตัวอย่างมาเป็นลักษณะที่ควบคุม ด้วยยีน 1 ตาแหน่งที่มีรูปแบบหรือแอลลีล 2 รูปแบบ คือแอลลีลเด่นและแอลลีลด้อย แต่ยังมีลักษณะอื่นอีก มากมายในพืช สัตว์ และมนุษย์ที่ยีนตาแหน่งหนึ่งมีแอลลีลมากกว่า 2 รูปแบบ เรียกแอลลีลแบบนี้ว่า มัลติเปิล แอลลีล ซึ่งหมายถึง ยีน 1 ตาแหน่งที่มีแอลลีลได้มากกว่า 2 แอลลีล 3.3 ลักษณะหมู่เลือด ABO ของมนุษย์ ระบบหมู่เลือด ABO ของมนุษย์ เป็นระบบที่ใช้ในการจัดจาแนกหมู่ เลือดของมนุษย์ ซึ่งมี 4 หมู่เลือดคือ A B AB และ O ลักษณะหมู่เลือด ABO ของมนุษย์มียีนควบคุมการแสดงออกเพียง 1 ตาแหน่งประกอบด้วย 3 แอลลีล คือ I I และ i ดังนั้นหมู่เลือด ABO ของมนุษย์จึงเป็นตัวอย่างหนึ่งของลักษณะที่มียีนควบคุมเป็นแบบมัลติเปิล A B แอลลีล โดยที่แอลลีล IA ควบคุมการสร้าง แอนติเจน A และแอลลีล I ควบคุมการสร้าง B แอนติเจน B ส่วนแอลลีล i ไม่สามารถสร้าง แอนติเจนใด ๆ ได้ ทั้งนี้ ระดับการข่มของแอล ลีลทั้งสาม คือแอลลีล I และ แอลลีล I แสดง B y ครูแป๋ว A B การข่มสมบูรณ์ (complete dominance) ต่อแอลลีล i ในขณะที่ แอลลีล I และแอลลีล I แสดงการข่ม A B ร่วมกัน (codominance) ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 13. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 13 แบบฝึกหัด 1. แอลลีล คือ ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. 2. มัลติเปิลแอลลีล คือ......................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. ...................................................................................................................................... ........................................ ........................................................................................................................................................................... 3. จงยกตัวอย่างลักษณะพันธุกรรมพร้อมทั้งบอกแอลลีลที่ควบคุมลักษณะเหล่านั้นด้วย ลักษณะ แอลลีล 1.................................................................. ................................................................... ................................................................... ................................................................... 2................................................................... .................................................................... .................................................................... .................................................................... 4. จงเขียนจีโนไทป์ของลักษณะหมู่เลือด ABO ของมนุษย์ ฟีโนไทป์ จีโนไทป์ หมู่เลือด A ………………………………………………………… หมู่เลือด B ………………………………………………………… หมู่เลือด AB ………………………………………………………… หมู่เลือด O ………………………………………………………… 5. หญิงคนหนึ่งมีหมู่เลือด B แต่งงานกับชายที่มีหมู่เลือด A ได้ลูกชายคนแรกมีหมู่เลือด O 5.1 จงเขียนจีโนไทป์ของพ่อ แม่ และลูก 5.2 จงหาโอกาสที่ครอบครัวนี้จะมีลูกคนถัดไปมีหมู่เลือด A เป็นเท่าใด หมู่เลือด B เป็นเท่าใด หมู่เลือด O เป็น เท่าใด และหมู่เลือด AB เป็นเท่าใด ........................................................................................................................................................................... B y ครูแป๋ว .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ชีววิทยาน่ารู้ ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. Biologynsp.wordpress.com
  • 14. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 14 6. หากพ่อและแม่มีจีไทป์ของลักษณะหมู่เลือด ABO ดังต่อไปนี้ จงหาว่าลูกจะมีหมู่เลือดใดได้บ้าง และมี อัตราส่วนของหมู่เลือดต่าง ๆ เป็นเท่าใด 6.1 I I x I I AA B B 6.2 I i x ii A 6.3 I I x I i AB A ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................... ........... ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................... ............................... .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. 7. แม่และลูกมีหมู่เลือด O เหมือนกัน แต่พ่อไม่เคยตรวจหมู่เลือดมาก่อน สามารถบอกได้หรือไม่ว่าพ่อน่าจะมี หมู่เลือดใดได้บ้าง ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................ .................................................. ........................................................................................................................................................................... ............................................................................................................................................................ .................. .............................................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... B y ครูแป๋ว .............................................................................................................................................................................. ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... .............................................................................................................................................................................. ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 15. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 15 4.โรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ 4.1 เพดดิกรี (pedigree) หมายถึง แผนผังแสดงการถ่ายทอดลักษณะเป็นประวัติครอบครัว โดยใช้ สัญลักษณ์ในการเขียน พ่อ แม่ รุ่นลูก รุ่นหลาน สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนเพดดิกรี  ชาย  หญิง  ชายที่แสดงลักษณะที่ศึกษา  หญิงที่แสดงลักษณะที่ศึกษา  ชายหญิงที่แต่งงานกัน  การแต่งงานมีลูก 3 คน - การถ่ายทอดลักษณะควบคุมโดยยีนเด่น เช่น การมีลักยิ้ม การมีนิ้วเกิน โรคท้าวแสนปมคนแคระ B y ครูแป๋ว - การถ่ายทอดลักษณะควบคุมโดยยีนด้อย เช่น ผิวเผือก โรคธาลัสซีเมีย - การถ่ายทอดลักษณะควบคุมโดยโครโมโซมเพศ บนโครโมโซม x เช่น ตาบอดสี ภาวะพร่อง เอนไซม์กลูโคส -6- ฟอสเฟตดี ไฮโดรจีเนส ( G-6-PD) โรคธาลัสซีเมีย กล้ามเนื้อแขนขาลีบ ชีววิทยาน่ารู้ 4.2 โรคทางพันธุกรรมที่ควรศึกษา Biologynsp.wordpress.com
  • 16. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 16 1. กลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง อาการที่ปรากฏ คือ ใบหน้ากลม ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น หนังตาบนมีรอยพับค่อนข้างใหญ่ ช่องปาก แคบ ลิ้นใหญ่ ทาให้ลิ้นจุกปาก และพูดลาบาก พูดไม่ชัดเจน มีอาการปัญญาอ่อน และหัวใจพิการแต่กาเนิด 2. กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ซินโดรม (Turner syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากการขาด หายไปของโครโมโซมเพศ 1 แท่ง (44 + xo) = 45 พบเฉพาะในเพศหญิง อาการที่ปรากฏ คือ เป็นสาวช้า หน้าอกเล็ก รังไข่ฝ่อ ไม่มีประจาเดือน เป็นหมัน บริเวณคอจะมี พังผืดกางเป็นปีก ใบหูมีรูปร่างผิดปกติ หูมีขนาดใหญ่ และอยู่ต่า 3. ตาบอดสี (Colour bindess) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากมียีนตาบอดสี ซึ่งมียีนด้อยอยู่บนโครโมโซม x อาการที่ปรากฏ คือ จะมองสีบางสีไม่ถูกต้อง เพราะเซลล์รับแสงสีบางสีทางานไม่ได้ 4. ฮีโมฟีเลีย (Haemo philia) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากมียีนของโรคฮีโมฟีเลีย ซึ่งเป็นยีนด้อยอยู่บนโครโมโซม x อาการที่ปรากฏ คือ เลือดไม่แข็งตัว คนที่เป็นโรคนี้จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผล เพราะ เลือดจะไหลไม่หยุด จนอาจเสียชีวิตได้ 5. ธาลัสซีเมีย เป็นโรคทางพันธุกรรม ควบคุมโดยยีนด้อย ผู้ป่วยมีการสร้างฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ด เลือดแดงน้อย อาการที่ปรากฏ คือ อาการซีด ตาเหลือง ตับและม้ามโต ดั้งจมูกยุบ กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มสูง คางและกระดูกขากรรไกรกว้าง ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะง่าย ผิวหนังดาคล้า ร่างกาย เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ และติดเชื้อง่าย B y ครูแป๋ว ชีววิทยาน่ารู้ 4.3 การแปรผันทางพันธุกรรมและมิวเทชัน Biologynsp.wordpress.com
  • 17. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 17 การแปรผันทางพันธุกรรมที่พบในสิ่งมีชีวิตมีมากมาย โดยเฉพาะในหมู่พ่อแม่พี่น้องเดียวกัน มีรูปร่างหน้าตาแตกต่าง และจะมีความแตกต่างมากขึ้น เมื่อไม่ได้เป็นญาติพี่น้องกัน เรียกว่า การแปรผันทาง พันธุกรรม มี 2 แบบ คือ 1. การแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (Discontinuous variation) เป็นการแปรผันที่ทาให้เกิด ลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น คนมีลักยิ้มกับคนไม่มีลักยิ้ม คนห่อลิ้นได้กับคนห่อลิ้นไม่ได้ 2. การแปรผันแบบต่อเนื่อง (Continuous variation) เป็นการแปรผันที่ทาให้เกิด ลักษณะที่แตกต่างกันทีละน้อย เช่น ความสูง สีผิว 4.4 ความผิดปกติทางพันธุกรรม การกลาย (mutation) หรือการผ่าเหล่า การกลาย (mutation) หรือการผ่าเหล่า คือ การเปลี่ยนแปลงยีนทาให้มีคุณสมบัติแตกต่างไป จากเดิม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือเกิดโดยใช้รังสีหรือสารเคมี และเกิดขึ้นได้กับทุกเซลล์ ของสิ่งมีชีวิต ลักษณะบางลักษณะที่เกิดจากการกลายอาจช่วยให้สิ่งมีชีวิตดารงอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น ในบาง สภาพอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดโรคได้ เนื่องจากยีนที่เปลี่ยนแปลงไปจะสร้างโปรตีนที่เปลี่ยนแปลงไปมีผล ทาให้ลักษณะบางอย่างของร่างกายผิดปกติไป การกลายแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. การกลายของเซลล์ร่างกาย (somatic mutation) ไม่สามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกหลาน เช่น การเกิดมะเร็งผิวหนัง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากผิวหนังถูกแสงแดดจัดสะสมเป็นเวลานาน รังสี อัลตราไวโอเลตในแสงแดดจะทาลายยีนของเซลล์ผิวหนัง ทาให้อัตราการสร้างเซลล์ผิวหนังทดแทนบริเวณนั้น เพิ่มขึ้นในลักษณะที่ควบคุมไม่ได้ จึงเกิดเป็นตุ่มเนื้อที่มีการขยายขนาดขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นมะเร็งผิวหนัง (skin censer) ในกระบวนการแบ่งเซลล์ก็อาจทาให้เกิดการกลายได้ เนื่องจากการไขว้กันของโครโมโซม ซึ่ง เรียกว่า การไขว้เปลี่ยน (crossing-over) การไขว้เปลี่ยนจะทาให้ยีนที่อยู่บนโครโมโซมสลับตาแหน่งกัน ซึ่งทา ให้เกิดการกลายได้ 2. การกลายของเซลล์สืบพันธุ์ (sexmutation) สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ ซึ่งเกิดกับ ยีนในเซลล์สืบพันธุ์ผิดปกติ จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ยังเป็นสาเหตุทาให้เกิดการกลายของ สิ่งมีชีวิตต่างๆ (รวมถึงตัวของมนุษย์เอง) ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม เช่น รังสีต่างๆ (รังสีเอ็กซ์ รังสี อัลตราไวโอเลต รังสีแกมมา) สารเคมีบางชนิด (สารเคมีในอาหาร สารกันบูด สารเคมีกาจัดศัตรูพืช) การกลายล้วนมีผลกระทบต่อการดารงชีวิตของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น กรณีที่มีผลรุนแรงอาจ B y ครูแป๋ว ทาให้ไม่มีบุตร คลอดก่อนกาหนด ตั้งครรภ์แล้วแท้ง แต่ถ้าได้รับผลกระทบเล็กน้อยก็อาจทาให้มีความผิดปกติ เล็กน้อยซึ่งสามารถแก้ไขได้ ถึงอย่างไรก็ตามการกลายก็ใช่ว่ามีแต่ผลเสียเพียงอย่างเดียว บางอย่างบางเรื่องก็มี ผลดีต่อมนุษย์ด้วยเช่นกัน เช่น ความสามารถในการต้านทานโรคต่างๆ การที่ได้รับสิ่งก่อการกลาย เช่น รังสี หรือสารเคมีต่างๆ ความร้อนอาจทาให้เกิดความผิดปกติได้ ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 18. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 18 ชิ้นงาน/ภาระงานที่ 1.1 เรื่อง พันธุกรรม คาชี้แจง ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง พันธุกรรม ตามหัวข้อที่กาหนด แล้วจัดทาเป็นรายงาน และจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน ขั้นตอนการปฏิบัติ 1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน 2. ให้แต่ละกลุ่มค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ เรื่อง พันธุกรรม ตามหัวข้อที่กาหนดต่อไปนี้  กระบวนการถ่ายทอดสารพันธุกรรม  การแปรผันทางพันธุกรรม  การเกิดมิวเทชัน 3. นาข้อมูลมาจัดทาเป็นรูปเล่มรายงาน 4. ออกนาเสนอผลงาน โดยอธิบายถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามา 5. นาข้อมูลที่ได้มาจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน การประเมินผลงาน พิจารณาตามเกณฑ์ ดังนี้ 1. การอธิบายกระบวนการถ่ายทอดสารทางพันธุกรรม 2. การอธิบายการแปรผันทางพันธุกรรม 3. การอธิบายการเกิดมิวเทชัน 4. รูปเล่มรายงานและการนาเสนอ ใ B y ครูแป๋ว ชีววิทยาน่ารู้ บงานที่ 3.1 Biologynsp.wordpress.com
  • 19. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 19 ใบงาน เรื่อง เพดดิกรี คาชี้แจง ให้นักเรียนฝึกเขียนเพดดิกรีแสดงการถ่ายทอดการมีลักยิ้ม ซึ่งเป็นลักษณะเด่น โดยกาหนด สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียน คือ ชาย ชายมีลักยิ้ม หญิง หญิงมีลักยิ้ม “ฟิล์มมีลักยิ้ม แต่งงานกับแพนเค้กซึ่งไม่มีลักยิ้ม เมื่อลูกชายคนแรกมีลักยิ้มเหมือนพ่อ ลูกคนรอง เป็นหญิงไม่มีลักยิ้ม ลูกคนเล็กก็เป็นหญิงอีก มีลักยิ้มเหมือนพี่ชาย” “ลูกสาวทั้งคู่แต่งงานมีหลานให้พ่อแม่ชมเชย ลูกสาวคนแรกมีลูกชาย 2 คน ต่างก็ไม่มีลักยิ้ม ส่วนลูกสาวคนเล็กของฟิล์มและแพนเค้กมีลูกสาว 1 คน มีลักยิ้ม ” คำถำม 1. การบรรยายด้วยข้อความกับการเขียนเพดดิกรี แสดงแบบแผนการถ่ายทอดลักษณะทาง พันธุกรรม ได้ชัดเจนแตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................ 2. หากนักเรียนเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม จะตัดสินใจมีบุตรหรือไม่ ........................................................................................................................................................ B y ครูแป๋ว ........................................................................................................................................................ ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 20. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 20 ใบงาน เรื่อง โรคทางพันธุกรรมในมนุษย์ คาชี้แจง ให้นักเรียนเขียนอธิบายหัวข้อที่กาหนดให้ลงในกรอบของแผนภูมิ การมีลักยิ้ม .................................. โรค......................... ……………...... โรค......................... ยีนเด่น ยีนด้อย โรคทางพันธุกรรม โครโมโซมคู่ ......... เกิน โครโมโซมคู่ ......... ขาดหายไป กลุ่มอาการ........................ กลุ่มอาการ............................................ ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… B y ครูแป๋ว ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ………………………………………… ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com
  • 21. เอกสารประกอบการสอน เรียบเรียงโดยคุณครูอังสนา แสนเยีย 21 ใบงาน เรื่อง การแปรผันทางพันธุกรรมและมิวเทชัน คาชี้แจง ตอนที่ 1 ให้นักเรียนเขียนแผนผังความคิดให้สมบูรณ์ สาเหตุ .................................................. สาเหตุ ........................................ .................................................... .................................................... โรค......................... การแบ่งเซลล์ เซลล์ร่างกาย มิวเทชัน เซลล์สืบพันธุ์ จากธรรมชาติ จากมนุษย์กระทา ......................... ......................... ตอนที่ 2 ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้ 1. การแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง หมายถึง …………………………………………...…………..........................……………. B y ครูแป๋ว ……………………………………………………………………...........................................……………………………………… 2. การแปรผันแบบต่อเนื่อง หมายถึง ......................................................................................……………………. ……………………………………………………………………………...........................................……………………………… ชีววิทยาน่ารู้ Biologynsp.wordpress.com