SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
ความรู้เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว
	แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง ทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติได้เป็นจำนวนมาก แต่ละปีจะมีปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกอยู่เสมอ อันเป็นเครื่องเตือนว่า แผ่นดินยังไม่หยุดการเคลื่อนตัว และเนื่องจากที่ตั้งของประเทศไทย อยู่บนพื้นที่ที่ระบุว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ บนโลก เราจึงควรจะมีความรู้ สำหรับการป้องกันภัย ที่เกิดจากแผ่นดินไหวพอสมควร ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะได้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น เข้าทำนองที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" นั่นเอง
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และวิธีการเพื่อความปลอดภัย เช่น การปิดวาล์ว ก๊าซหุงต้ม ท่อน้ำประปา สะพานไฟ การใช้เครื่องมือดับเพลิง ฯลฯ  จัดเตรียมสิ่งต่อไปนี้ไว้ใกล้ตัว เช่น วิทยุ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม อาหารแห้ง ชุดปฐมพยาบาล  ให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวทุกคน เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย เมื่ออยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว  วางแผนนัดแนะล่วงหน้า ว่าถ้าต้องพลัดหลงแยกจากกัน ทุกคนในครอบครัวจะกลับมาพบกันที่ใด  ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากไว้ในที่สูง และควรผูกยึดเครื่องใช้ เครื่องเรือน ครุภัณฑ์สำนักงาน กับพื้นหรือฝาผนังให้แน่นหนา  ให้สมาชิกทุกคนในบ้านทราบหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่ที่ควรจะติดต่อในกรณีฉุกเฉิน เช่นหน่วยดับเพลิงเทศบาล สถานีตำรวจดับเพลิง ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน เป็นต้น
การสังเกตธรรมชาติก่อนเกิดแผ่นดินไหว พฤติกรรมของสัตว์ ได้แก่ การตื่นกลัว วิ่งวุ่น นกร้องผิดปกติในเวลากลางคืน การเคลื่อนย้ายของแมลงชนิดต่าง ๆ  ระดับน้ำ สังเกตได้จากระดับน้ำที่เปลี่ยนอย่างกะทันหันในบ่อน้ำต่าง ๆ
ขณะเกิดแผ่นดินไหว ถ้าอยู่ในอาคารสูง ให้ออกห่างจากหน้าต่าง และฉากกั้นห้องซึ่งอาจล้มลงได้ และให้หลบเข้าใต้โต๊ะที่อยู่ใกล้เสา หรือผนังห้อง  ถ้าอยู่ในอาคาร ให้อยู่กับที่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งของที่อาจจะร่วงหล่นลงมาได้ ควรอยู่ในส่วนของอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง และออกห่างจากหน้าต่างกระจก ระเบียง หาที่กำบังและยึดให้มั่น และหลังจากการสั่นสะเทือนยุติลง ให้รีบออกจากอาคารทันที  อย่าใช้ลิฟต์  ถ้าอยู่ภายนอกอาคาร ให้ออกห่างจากตัวอาคาร กำแพง เสาไฟฟ้า สะพาน ต้นไม้ ฯลฯ  ในที่ชุมชนหรือห้างสรรพสินค้า อย่าเบียดแย่งกันออก ควรออกห่างจากชั้นวางของ หรือสิ่งที่อาจจะตกหล่นได้  ถ้าอยู่ในรถ ให้จอดในที่โล่งจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง ระวังเสาไฟฟ้าล้มหรือถนนทรุด รวมถึงสะพานลอยพัง และคอยฟังข่าวเตือนภัย  ในท้องถนน ให้หาที่กำบังจากเศษวัสดุที่อาจจะร่วงหล่นลงมาได้
หลังเกิดแผ่นดินไหว ปิดสวิตซ์ไฟฟ้า วาล์วก๊าซหุงต้ม ประปา และห้ามจุดไม้ขีดไฟ จนกว่าจะได้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซ หรือน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว  สำรวจผู้ได้รับบาดเจ็บ จัดการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสาหัส ยกเว้นกรณีต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย  ตรวจการชำรุดของท่อน้ำทุกประเภท ทั้งท่อประปา ท่อน้ำโสโครก และสายไฟฟ้า  หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ เว้นแต่กรณีจำเป็นจริง ๆ เช่น มีผู้บาดเจ็บ หรือเกิดไฟไหม้ ฯลฯ เพราะผู้อื่นอาจมีความจำเป็นต้องส่งข่าวสารที่สำคัญกว่า  สำรวจความเสียหายของบ้าน/อาคาร เพื่อความปลอดภัย ก่อนจะเข้าไปภายในบ้าน/อาคาร  อพยพออกจากอาคารที่ได้รับความเสียหาย และเตรียมพร้อมรับการเกิดแผ่นดินไหวระลอกต่อไป  ประหยัดอาหาร น้ำดื่มน้ำใช้ และเตรียมสะสมไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน  ติดตามข่าว สถานการณ์ การเตือนภัย และคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย  หลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานในถนน และเข้าใกล้อาคารที่ได้รับความเสียหาย ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  อย่าตื่นตระหนก และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่จะทำได้
	“แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลย์ของเปลือกโลกให้คงที่ สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว 	2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault) ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรง และใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง
สรุป 	เขตรอยเลื่อนที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหว และมีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนในเขตตะวันตกของประเทศไทย-ตะวันออกของประเทศพม่า ซึ่งได้แก่ เขตรอยเลื่อนสะแกง เขตรอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนทั้งสองนี้มีแนวแยกต่อเนื่องมาทางตะวันตกของประเทศไทย ไล่จากทางตอนบนลงมาตอนล่าง อันได้แก่ เขตรอยเลื่อนเมย-วังเจ้า เขตรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และเขตรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ตามลำดับ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย มีเขตรอยเลื่อนแม่ทา, เขตรอยเลื่อนแพร่-เถิน รอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ และรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ (น้ำปาด) เป็นต้น แนวทางและโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวในย่านประเทศไทย และประเทศโดยรอบข้างเคียง ศึกษาได้จากการแบ่งขอบเขตแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว (Seismic Source Zone) ซึ่งปริญญา นุตาลัย และคณะ (1985) เป็นผู้ทำการวิจัยและศึกษาไว้โดยสามารถแบ่งเขตต่าง ๆ ในบริเวณประเทศไทย และประเทศไทยใกล้เคียง ออกได้ 12 เขต ทั้งนี้อาศัยสภาพลักษณะทางเทคโทนิก (tectonic setting) และโครงสร้างทางเทคโทนิก (tectonic structure) ประกอบกับประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่บันทึกได้เป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะอาศัยแผนที่ธรณีวิทยา แผ่นดินไหว (seismotectonic map) ที่สร้างขึ้นจากข้อมูล เหล่านั้นด้วย

More Related Content

Viewers also liked

แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัยแบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัยAdisorn Tanprasert
 
โครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหวโครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหวthanaporn2118
 
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยBangkok, Thailand
 
ตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัย
ตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัยตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัย
ตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัยSahatchai
 
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยtechno UCH
 
สื่อการสอนอาชีวอนามัย
สื่อการสอนอาชีวอนามัยสื่อการสอนอาชีวอนามัย
สื่อการสอนอาชีวอนามัยTui Ka
 
โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014Jiraporn Promsit
 
ความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างาน
ความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างานความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างาน
ความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างานSuradet Sriangkoon
 

Viewers also liked (9)

แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัยแบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
 
สาธารณภัย
สาธารณภัยสาธารณภัย
สาธารณภัย
 
โครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหวโครงงานแผ่นดินไหว
โครงงานแผ่นดินไหว
 
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
 
ตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัย
ตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัยตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัย
ตัวจริง !!! สุขภาพและความปลอดภัย
 
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัยอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
 
สื่อการสอนอาชีวอนามัย
สื่อการสอนอาชีวอนามัยสื่อการสอนอาชีวอนามัย
สื่อการสอนอาชีวอนามัย
 
โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014
 
ความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างาน
ความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างานความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างาน
ความเสี่ยงขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ปฏิบัติหน้างาน
 

ความรู้เกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว

  • 2. แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรง ทำความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษยชาติได้เป็นจำนวนมาก แต่ละปีจะมีปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ของโลกอยู่เสมอ อันเป็นเครื่องเตือนว่า แผ่นดินยังไม่หยุดการเคลื่อนตัว และเนื่องจากที่ตั้งของประเทศไทย อยู่บนพื้นที่ที่ระบุว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ บนโลก เราจึงควรจะมีความรู้ สำหรับการป้องกันภัย ที่เกิดจากแผ่นดินไหวพอสมควร ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะได้มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น เข้าทำนองที่ว่า "กันไว้ดีกว่าแก้ แย่แล้วแก้ไม่ทัน" นั่นเอง
  • 3. ก่อนเกิดแผ่นดินไหว ให้สมาชิกในครอบครัวมีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และวิธีการเพื่อความปลอดภัย เช่น การปิดวาล์ว ก๊าซหุงต้ม ท่อน้ำประปา สะพานไฟ การใช้เครื่องมือดับเพลิง ฯลฯ จัดเตรียมสิ่งต่อไปนี้ไว้ใกล้ตัว เช่น วิทยุ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย อุปกรณ์ดับเพลิง น้ำดื่ม อาหารแห้ง ชุดปฐมพยาบาล ให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวทุกคน เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัย เมื่ออยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว วางแผนนัดแนะล่วงหน้า ว่าถ้าต้องพลัดหลงแยกจากกัน ทุกคนในครอบครัวจะกลับมาพบกันที่ใด ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากไว้ในที่สูง และควรผูกยึดเครื่องใช้ เครื่องเรือน ครุภัณฑ์สำนักงาน กับพื้นหรือฝาผนังให้แน่นหนา ให้สมาชิกทุกคนในบ้านทราบหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่ที่ควรจะติดต่อในกรณีฉุกเฉิน เช่นหน่วยดับเพลิงเทศบาล สถานีตำรวจดับเพลิง ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเทศบาล หรือโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้บ้าน เป็นต้น
  • 4. การสังเกตธรรมชาติก่อนเกิดแผ่นดินไหว พฤติกรรมของสัตว์ ได้แก่ การตื่นกลัว วิ่งวุ่น นกร้องผิดปกติในเวลากลางคืน การเคลื่อนย้ายของแมลงชนิดต่าง ๆ ระดับน้ำ สังเกตได้จากระดับน้ำที่เปลี่ยนอย่างกะทันหันในบ่อน้ำต่าง ๆ
  • 5. ขณะเกิดแผ่นดินไหว ถ้าอยู่ในอาคารสูง ให้ออกห่างจากหน้าต่าง และฉากกั้นห้องซึ่งอาจล้มลงได้ และให้หลบเข้าใต้โต๊ะที่อยู่ใกล้เสา หรือผนังห้อง ถ้าอยู่ในอาคาร ให้อยู่กับที่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งของที่อาจจะร่วงหล่นลงมาได้ ควรอยู่ในส่วนของอาคารที่มีโครงสร้างแข็งแรง และออกห่างจากหน้าต่างกระจก ระเบียง หาที่กำบังและยึดให้มั่น และหลังจากการสั่นสะเทือนยุติลง ให้รีบออกจากอาคารทันที อย่าใช้ลิฟต์ ถ้าอยู่ภายนอกอาคาร ให้ออกห่างจากตัวอาคาร กำแพง เสาไฟฟ้า สะพาน ต้นไม้ ฯลฯ ในที่ชุมชนหรือห้างสรรพสินค้า อย่าเบียดแย่งกันออก ควรออกห่างจากชั้นวางของ หรือสิ่งที่อาจจะตกหล่นได้ ถ้าอยู่ในรถ ให้จอดในที่โล่งจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง ระวังเสาไฟฟ้าล้มหรือถนนทรุด รวมถึงสะพานลอยพัง และคอยฟังข่าวเตือนภัย ในท้องถนน ให้หาที่กำบังจากเศษวัสดุที่อาจจะร่วงหล่นลงมาได้
  • 6.
  • 7. หลังเกิดแผ่นดินไหว ปิดสวิตซ์ไฟฟ้า วาล์วก๊าซหุงต้ม ประปา และห้ามจุดไม้ขีดไฟ จนกว่าจะได้ตรวจสอบการรั่วของก๊าซ หรือน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว สำรวจผู้ได้รับบาดเจ็บ จัดการปฐมพยาบาลเบื้องต้น หากมีผู้ได้รับบาดเจ็บ ห้ามเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บสาหัส ยกเว้นกรณีต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย ตรวจการชำรุดของท่อน้ำทุกประเภท ทั้งท่อประปา ท่อน้ำโสโครก และสายไฟฟ้า หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ เว้นแต่กรณีจำเป็นจริง ๆ เช่น มีผู้บาดเจ็บ หรือเกิดไฟไหม้ ฯลฯ เพราะผู้อื่นอาจมีความจำเป็นต้องส่งข่าวสารที่สำคัญกว่า สำรวจความเสียหายของบ้าน/อาคาร เพื่อความปลอดภัย ก่อนจะเข้าไปภายในบ้าน/อาคาร อพยพออกจากอาคารที่ได้รับความเสียหาย และเตรียมพร้อมรับการเกิดแผ่นดินไหวระลอกต่อไป ประหยัดอาหาร น้ำดื่มน้ำใช้ และเตรียมสะสมไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ติดตามข่าว สถานการณ์ การเตือนภัย และคำแนะนำต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานในถนน และเข้าใกล้อาคารที่ได้รับความเสียหาย ยกเว้นกรณีฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อย่าตื่นตระหนก และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเท่าที่จะทำได้
  • 8. “แผ่นดินไหว” เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลย์ของเปลือกโลกให้คงที่ สาเหตุ ของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด ชนิดที่หนึ่ง เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น ชนิดที่สองเป็นแผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ
  • 9. 1. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลัน และเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว 2. ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault) ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่า แผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรง และใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้นจากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง
  • 10. สรุป เขตรอยเลื่อนที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดแผ่นดินไหว และมีผลกระทบต่อประเทศไทย ได้แก่ รอยเลื่อนในเขตตะวันตกของประเทศไทย-ตะวันออกของประเทศพม่า ซึ่งได้แก่ เขตรอยเลื่อนสะแกง เขตรอยเลื่อนพานหลวง รอยเลื่อนทั้งสองนี้มีแนวแยกต่อเนื่องมาทางตะวันตกของประเทศไทย ไล่จากทางตอนบนลงมาตอนล่าง อันได้แก่ เขตรอยเลื่อนเมย-วังเจ้า เขตรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และเขตรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ตามลำดับ ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย มีเขตรอยเลื่อนแม่ทา, เขตรอยเลื่อนแพร่-เถิน รอยเลื่อนแม่จัน ซึ่งยังคงมีการเคลื่อนไหวอยู่ และรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ (น้ำปาด) เป็นต้น แนวทางและโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวในย่านประเทศไทย และประเทศโดยรอบข้างเคียง ศึกษาได้จากการแบ่งขอบเขตแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว (Seismic Source Zone) ซึ่งปริญญา นุตาลัย และคณะ (1985) เป็นผู้ทำการวิจัยและศึกษาไว้โดยสามารถแบ่งเขตต่าง ๆ ในบริเวณประเทศไทย และประเทศไทยใกล้เคียง ออกได้ 12 เขต ทั้งนี้อาศัยสภาพลักษณะทางเทคโทนิก (tectonic setting) และโครงสร้างทางเทคโทนิก (tectonic structure) ประกอบกับประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่บันทึกได้เป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะอาศัยแผนที่ธรณีวิทยา แผ่นดินไหว (seismotectonic map) ที่สร้างขึ้นจากข้อมูล เหล่านั้นด้วย