SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 44
Descargar para leer sin conexión
แนวทางเวชปฏิบัติ
กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
   Myofascial Pain Syndrome
         Fibromyalgia

                    จัดทำโดย




    สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย




                  ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552

               ISBN 978-974-300-906-8
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ




                          ชื่อหนังสือ
                แนวทางเวชปฏิบัติ
    กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
        Myofascial Pain Syndrome 
              Fibromyalgia

                                
                          จัดทำโดย




    สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย

                        พิมพ์ครั้งที่ 1
                     กรกฎาคม พ.ศ. 2552
                              
                    จำนวนพิมพ์ 5,000 เล่ม
                             
                   ISBN 978-974-300-906-8
                              พิมพ์ที่ 
     บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
       65/16 ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
แนวทางการรักษานี้ เป็นเครื่องมือส่งเสริมคุณภาพของการบริการด้านสุขภาพ
ที่เหมาะสมกับทรัพยากร และเงื่อนไขของสังคมไทย โดยหวังผลในการสร้างเสริม
          และแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
                                          
    ข้อแนะนำต่างๆ ในแนวทางเวชปฏิบัตินี้ไม่ใช่ข้อบังคับของการปฏิบัติ
                                          
                   ผู้ใช้สามารถปฏิบัติแตกต่างไปจากข้อแนะนำนี้ได้
       ขึ้นอยู่กับกรณีหรือสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป หรือมีเหตุผลที่สมควร
            โดยใช้วิจารณญาณ และการตัดสินใจที่เป็นที่ยอมรับในสังคม
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

                                               คำนำ
         ปวดเรือรังเป็นปัญหาสุขภาพทีพบบ่อย อุบตการณ์ในอเมริกาและยุโรปพบว่าอยูระหว่าง 15 - 20%
               ้                   ่          ัิ                                  ่
ของประชากรและกลุ่มที่พบบ่อยคือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (myofascial
pain syndrome) และกลุมอาการปวดกล้ามเนือและเยือพังผืดไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) ซึงเป็นปัญหาใหญ่
                       ่               ้      ่                                      ่
ของวงการแพทย์ 
          โดยนิยามของ “อาการปวดเรื้อรัง” หมายถึงอาการปวดที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่าง
สม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เนื่องจากความชุกและความยากของการวินิจฉัยและผลการรักษาที่
ยังจำกัดในประสิทธิผล อาการปวดเรื้อรังจึงเป็นเรื่องท้าทายและได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ 
        
การขาดแนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline: CPG) โดยเฉพาะแนวทางเวชปฏิบัติที่สอดคล้อง
และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของประเทศไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความขัดแย้งของ

ผู้ให้การรักษา สิ่งที่ตามมาคือการสูญเสียผลประโยชน์ของผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมการศึกษาเรื่อง
ความปวดแห่งประเทศไทย ซึงเป็นองค์กรในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
                            ่
มีหน้าทีหลักในการส่งเสริมด้านวิชาการ การวิจย และให้บริการด้านความปวดจึงได้จดทำแนวทางเวชปฏิบติ
        ่                                  ั                                   ั                ั
ในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบบ่อยและยังไม่มีการจัดทำในประเทศไทยมาก่อน
                                                                                                   
2 เรื่องคือ 1. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (myofascial pain syndrome: MPS) 

ที่มีปัญหาในเวชปฏิบัติทั่วไปจากความหลากหลายในรูปแบบการรักษา (practice variation) และ 2. กลุ่ม
อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia: FMS) ที่มีปัญหาในเวชปฏิบัติทั่วไป
 
จากความหลากหลายในอาการ (clinical variation) และปัญหาด้านทัศนคติ (attitude) ของสังคมต่อผู้ป่วย
และผู้ป่วยต่อโรค 
                                                                                                        
          การจั ด ทำแนวทางเวชปฏิ บ ั ต ิ โ ดยสมาคมการศึ ก ษาเรื ่ อ งความปวดแห่ ง ประเทศไทยครั ้ ง นี ้ 

มุ่งประเด็นของ “อาการปวดเรื้อรัง” ซึ่งมักจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นอุบัติการณ์
และความแตกต่างในเรื่อง ความเหมาะสมของการรักษา เนื่องจากปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรม
และสังคมตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้น
สำหรับผู้ที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (general practitioner) ในการดูแลผู้ป่วย
เหล่านี้โดยเน้นความเป็นไปได้จริงตามศักยภาพโดยรวมของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะนำ
ประโยชน์สูงสุดมาสู่ผู้ป่วย



        	                      (รศ. นพ. ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช)
        	 ประธานคณะผู้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
รายนามคณะผู้จัดทำ
	 1.	 รศ. นพ. ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช	 นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวด	           ประธาน
			                                     แห่งประเทศไทย
	 2.	 รศ. นพ. ก้องเกียรติ กูณฑ์กนทรากร	คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์	
                                ั                                             กรรมการ
	 3.	 รศ. ดร. ภญ. จุฑามณี สุทธิสีสังข์	 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล	      กรรมการ
	 4.	 นพ. ประสิทธิ์ ลักษณสมบูรณ์	 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล	                 กรรมการ
	 5.	 นพ. ธวัช บูรถาวรสม	               กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ	            กรรมการ
			                                     การแพทย์ทางเลือก
	 6.	 รศ. พญ. พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน	คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล	              กรรมการ
	 7.	 ผศ. นพ. วิษณุ กัมทรทิพย์	         ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู	      กรรมการ
			                                     แห่งประเทศไทย 
	 8.	 รศ. นพ. สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ	 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล	              กรรมการ
	 9.	 รศ. พญ. สุดสบาย จุลกทัพพะ 	 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล	                 กรรมการ
	10.	 นพ. สุรจิต สุนทรธรรม	             ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย	   กรรมการ
	11.	 พญ. เอมวลี อารมย์ดี	              คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล	           กรรมการ 
				                                                                          และเลขานุการ 
	12.	 ภก. พงศธร มีสวัสดิ์สม	            คณะเภสัชศาสตร์ 	                      กรรมการ
			                                     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ	           และผู้ช่วยเลขานุการ
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

                                        สารบัญ
                                                                                        หน้า
คำนำ				                                                                                    
รายนามคณะผู้จัดทำ	                                                                          
ข้อแนะนำการใช้ CPG	                                                                         
วิธีการสืบค้นข้อมูล		
บทนำ				                                                                                    
บทที่ 1 กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (Myofascial Pain Syndrome)	   1
	      1.1	 อุบัติการณ์	                                                                  1
	      1.2	 ลักษณะทางคลินิก	                                                              1
	      1.3	 พยาธิกำเนิด	                                                                  1	
1.4	 การวินิจฉัย		                                                                        2
	      1.5	 การประเมินปัญหา	                                                              3
	      1.6	 การวินิจฉัยแยกโรค	                                                            4
	      1.7	 การรักษา	                                                                     4
		 1.7.1	 การรักษา primary MPS	                                                           4
		 1.7.2	 การรักษา secondary MPS	                                                         7
		 1.7.3	 การรักษา MPS ที่มี co-morbid	                                                  10
		 1.7.4	 ข้อควรคำนึงในการรักษา chronic MPS	                                             10
	      1.8	 เกณฑ์การส่งต่อ	                                                              13
บทที่ 2 อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)	                  15
	      2.1	 อุบัติการณ์	                                                                 15
	      2.2	 พยาธิกำเนิด	                                                                 15
	      2.3	 การวินิจฉัย	                                                                 16
	      2.4	 การวินิจฉัยแยกโรค	                                                           18
	      2.5	 การประเมิน FMS	                                                              19
	      2.6	 การรักษา	                                                                    20
		 2.6.1	 การรักษาด้วยยา	                                                                21
		 2.6.2	 การรักษาโดยไม่ใช่ยา	                                                           25
	      2.7	 การประเมินผลการรักษา	                                                        27
	      2.8	 การพยากรณ์โรค	                                                               27
	      2.9	 เกณฑ์การส่งต่อ	                                                              28
ภาคผนวก แบบประเมินผลกระทบของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ฉบับภาษาไทย (Thai-FIQ)	                   32
ข้อแนะนำการใช้ CPG
           CPG เปรียบเสมือนคู่มือที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง การใช้
CPG เหมือนกับการใช้แผนที่เมื่อหลงทางหรือติดขัด ณ จุดใดก็เปิดดูรายละเอียดและศึกษาข้อมูล ณ 
           
จุดนั้น ซึ่งอาจเป็นตารางหรือรายละเอียดในภาคผนวกท้ายเล่ม

น้ำหนักคำแนะนำ (Strength of Recommendation)
น้ำหนัก ++ 	           หมายถึง ความมั่นใจของคำแนะนำให้ทำอยู่ในระดับสูงเพราะมาตรการดังกล่าว
                       มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยและคุ้มค่า (cost effective) “ควรทำ”
น้ำหนัก + 	            หมายถึง ความมันใจของคำแนะนำให้ทำอยูในระดับปานกลางเนืองจากมาตรการ
                                       ่                     ่                ่
                       ดังกล่าวอาจมีประโยชน์ตอผูปวยและอาจคุมค่าในภาวะจำเพาะ “น่าทำ”
                                             ่ ้ ่         ้
น้ำหนัก +/- 	          หมายถึ ง ความมั ่ น ใจยั ง ไม่ เ พี ย งพอในการให้ ค ำแนะนำเนื ่ อ งจากมาตรการ
   
                       ดังกล่าวยังมีหลักฐานไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้านว่าอาจมีหรืออาจ
                       ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและอาจไม่คุ้มค่าแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
                       ดังนั้นการตัดสินใจกระทำขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ “อาจทำหรือไม่ทำ”
น้ำหนัก - 	            หมายถึ ง ความมั ่ น ใจของคำแนะนำห้ า มทำอยู ่ ใ นระดั บ ปานกลางเนื ่ อ งจาก
                       มาตรการดังกล่าวไม่มประโยชน์ตอผูปวยและไม่คมค่า หากไม่จำเป็น “ไม่นาทำ” 
                                            ี      ่ ้ ่        ุ้                      ่
น้ำหนัก - -	           หมายถึ ง ความมั ่ น ใจของคำแนะนำห้ า มทำอยู ่ ใ นระดั บ สู ง เพราะมาตรการ

                                                                                                
                       ดังกล่าว อาจเกิดโทษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย “ไม่ควรทำ” 

คุณภาพของหลักฐานทางวิชาการ (Classification of References) 
Level of evidence A	หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ randomized, controlled
                    clinical trials หรือหลักฐานที่ได้จาก randomized, controlled clinical trials ที่ดำเนิน
                    การอย่างเหมาะสม
Level of evidence B	หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ controlled clinical study หรือ
                    หลักฐานที่ได้จาก controlled clinical study (เช่น nonrandomized, controlled trial,
                    cohort study, case-control study, cross sectional study) ที่ดำเนินการอย่าง
      
                    เหมาะสม หรือหลักฐานที่ได้จากการวิจัยทางคลินิกที่ใช้รูปแบบการวิจัยอื่น และ
                    ผลการวิจัยพบประโยชน์หรือโทษจากการปฏิบัติรักษาที่เด่นชัดมาก หรือเรื่อง 
           
                    ดังกล่าวไม่มีผลงานวิจัยประเภท randomized, controlled clinical trials แต่ได้นำเอา
                    หลักฐานที่ได้จาก randomized, controlled clinical trials ในประชากรกลุ่มอื่นหรือ
                    เรื่องอื่นที่คล้ายคลึงกันมาใช้เป็นหลักฐาน หรือหลักฐานที่ได้จาก systematic
                    review ของ randomized, controlled clinical trials หรือ randomized, controlled
                    clinical trials ที่ดำเนินการไม่เหมาะสม
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ




Level of evidence C	หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ descriptive study หรือ
      
                    หลักฐานที่ได้จาก descriptive study ซึ่งหมายถึงรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายหรือ
    
                    มากกว่า หรือหลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ controlled clinical study
                    หรือ controlled clinical study ที่ดำเนินการไม่เหมาะสมหรือหลักฐานที่ได้จาก
                    controlled clinical trials ในประชากรกลุ่มอื่นหรือเรื่องอื่นที่คล้ายคลึงกัน
Level of evidence D	หมายถึ ง หลั ก ฐานที ่ ไ ด้ จ ากความเห็ น หรื อ ฉั น ทามติ (consensus) ของคณะ

                                                                                                 
                    ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากไม่มีหลักฐานจากผลงานวิจัยทางคลินิก หรือผลงานวิจัย
                    ทางคลินิกที่มีอยู่ ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์และ สถานภาพของ
                    การประกอบวิชาชีพ ในประเทศไทยหรือมีเพียงหลักฐานทางห้องปฏิบัติการ
หมายเหตุ :	Level of evidence (สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ปีท่ี 18 ฉบับที่ 6 พ.ย. - ธ.ค. 

                                                                                                   
	          พ.ศ. 2544)
วิธีการสืบค้นข้อมูล
         คณะผู้นิพนธ์/ผู้จัดทำแนวทางการรักษาภาวะปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ทำการ
สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Medline, Cochrane library, EMBASE และแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น งานวิจัยที่ได้
รับการนำเสนอในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 ถึงเดือนมกราคม 2009 โดยใช้คำสำคัญดังต่อไปนี้
musculoskeletal pain, epidemiology, assessment, treatment, diagnosis, guideline, rehabilitation,
complementary medicine, alternative medicine, acupuncture, myofascial pain syndrome, fibromyalgia 
        ในส่วนของบรรณานุกรม จะระบุเฉพาะ key articles เท่านั้น
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ




                                            บทนำ
           “อาการปวด” ตามนิยามของ International Association for the Study of Pain (IASP 1979) 

                                                                                              
หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายทางกายหรือจิตใจอันเนื่องมาจากมีหรือแนวโน้มที่จะมีการบาดเจ็บของ
เนื้อเยื่อ หรือแม้เป็นเพียงความรู้สึกที่ราวกับว่ามีการบาดเจ็บ
          ในเวชปฏิบัติ “อาการปวด” เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยโดยทำหน้าที่เป็นสัญญาณเตือนภัยที่มี
ความไวสูง เพื่อบอกให้ทราบว่ามีความผิดปกติหรืออันตรายเกิดขึ้น ความสำคัญข้อนี้ทำให้อาการปวด
    
ถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ห้า (The Fifth Vital Sign) เพราะ “อาการปวด” มีความเกี่ยวข้องกับแพทย์และ
บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา เพียงแต่อาจแตกต่างกันในบทบาทหน้าที่ การรวบรวมองค์ความรู้ในการ
รักษาความปวดได้รับความสนใจมากในขณะนี้ ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของชมรมและสมาคมการ
ศึกษาเรื่องความปวดอย่างต่อเนื่องทั้งระดับท้องถิ่น และระดับสากล หลายประเทศมีหลักสูตรเฉพาะสาขา
ด้านการรักษาอาการปวด (pain medicine) นำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ๆ มากมาย แต่ที่ยังเป็นปัญหาหลัก
ขณะนี้คือ “อาการปวดเรื้อรัง” เนื่องจากความยากของการวินิจฉัย และผลการรักษาที่ยังจำกัดใน
ประสิทธิผล ดังข้อความที่ใช้ในการรณรงค์เพื่อต่อสู้กับอาการปวดว่า “มีน้อยคนที่ตายจากความปวด
หลายคนตายพร้อมกับอาการปวด แต่ที่พบได้มากกว่าคือ ที่ต้องอยู่กับความปวด”
         ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง (อาการปวดที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็น
เวลานานกว่า 3 เดือน) ข้อสำคัญที่สุด คือต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติแต่เดิมที่มักเข้าใจว่าปวดเรื้อรังเป็น
                                                                                                  

เพียงแค่อาการหรือปัญหาทางจิตแต่จัดเป็นโรคโดยตัวของมันเอง (A Disease in Itself) ดังกรณีของ
myofascial pain syndrome และ fibromyalgia อันจะนำมาซึ่งทัศนคติใหม่ของการรักษาที่สอดคล้องกับ
ความเป็นจริงของแต่ละสังคมโดยเน้นความเหมาะสมและกลมกลืนกับวิถีชิวิตจริง และอาจจำเป็นต้องมี
การดัดแปลงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based) ตามความเหมาะสมโดยผู้ให้และผู้ได้รับการ
รักษาใช้แนวคิดในการรักษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
กลุมอาการปวดกล้ามเนือและเยือพังผืดมัยโอฟาสเชียล 		
	
   ่                ้      ่
         (Myofascial Pain Syndrome)
                                             ่                                                   1
         Myofascial pain syndrome (MPS) หมายถึงกลุ่มอาการปวดร้าว (referred pain) และ/หรืออาการ
ของระบบประสาทอิสระ (autonomic symptoms) อันเนื่องมาจาก myofascial trigger point(s) (TrP) ของ
กล้ามเนื้อ หรือเยื่อผังผืด(1) โดยจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งบริเวณใด (regional pain) ของร่างกาย(2) ถ้าอาการ
ต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เรียกว่า chronic MPS(3)

1.1 อุบัติการณ์
         MPS เป็นสาเหตุของปัญหาปวดเรื้อรังที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ มักเกิดร่วมกับภาวะอื่นได้ 

อุบัติการณ์มีความแตกต่างกันในแต่ละการสำรวจ บางรายงานกล่าวว่าพบได้ถึง 21% ของผู้ป่วย
ออร์โธปิดิกส์ทั่วไป และ 30% ในคลินิกเวชปฏิบัติทั่วไป(4)

1.2 ลักษณะทางคลินิก
         อาการเด่นคือ 
       1.	 ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึงของร่างกาย (regional pain) ความรุนแรงมีได้ตงแต่ปวดเล็กน้อย
                                        ่                                       ้ั
เพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก TrP ของกล้ามเนื้อแต่ละมัดจะมีลักษณะแบบแผน

การปวดร้าวทีเ่ ฉพาะตัว(5) ซึงมีความสำคัญในการช่วยค้นหาว่าอาการปวดเกิดจาก TrP ของกล้ามเนือมัดใด
                            ่                                                           ้
         2.	 อาการของระบบประสาทอิสระซึ่งพบร่วมได้บ่อยเช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ หนา หรืออาการ
แสดง เช่น ซีด ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว ส่วน TrP บริเวณคออาจมีอาการมึนงง 

หูอื้อ ตาพร่าได้(6)
       การตรวจร่างกายคือการสัมผัสด้วยมือ โดยการกดคลำกล้ามเนื้อต้องพบ TrP ที่ก่ออาการ อันมี
คุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการคือ
         1.	 เป็นจุดที่มีความไวสูง (hyperirritable spot) ไวต่ออาการปวดกว่าบริเวณใกล้เคียง 
        2.	 เป็นจุดทีสามารถกระตุนให้อาการต่างๆ แสดงออกชัดเจน (reproducible symptoms) ด้วยแรงกด
                     ่          ้
หรือการแทงด้วยปลายเข็ม
         3.	 TrP แต่ละจุดมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 มม. แต่มักจะเกิดร่วมกัน
เป็นกลุม (cluster) ในกรณีท่ี TrP อยูในกล้ามเนือทีไม่ลกเวลาคลำจะรูสกได้ถงความเป็นแถบตึง (taut band)
       ่                           ่          ้ ่ ึ             ้ึ ึ
หรือคล้ายก้อน (nodule)

1.3 พยาธิกำเนิด 
       กลไกที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางในกรณีของ chronic MPS คือ

การผสมกันระหว่างความผิดปกติของ peripheral nociception กับ central sensitization(7) เรียงลำดับเหตุการณ์ดงนี้ 
                                                                                                       ั
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
         •	 ภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานเกินกำลังจาก physical และ/หรือ psychosocial overload จนถึงจุดที่มี
motor endplate dysfunction ทำให้บกพร่องของพลังงาน เป็นที่มาของการอธิบายภาวะอาการล้าง่ายของ
กล้ามเนื้อมัดที่มี TrP ทำให้เกิด
         •	 Muscle contraction knot เป็น self-sustained contraction ที่ตรงตำแหน่งของ TrP จึงสามารถ
คลำได้เป็นลำหรือก้อน และทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการคั่งค้างของ waste
products ที่ก่ออาการปวดหลายชนิด แต่ไม่พบ inflammatory-process cell ที่ชัดเจน
         •	 Autonomic nervous disturbance จากการกระตุนของสารคังค้างดังกล่าวเป็นทีมาของ autonomic
                                                         ้         ่               ่
symptoms ต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ และตามมาด้วย
         •	 Central sensitization ซึ่งจะทำให้ TrP มีความไวต่อการกระตุ้นมากขึ้น

1.4 การวินิจฉัย 
       ตั้งอยู่บนพื้นฐานการวินิจฉัยทางคลินิกจากประวัติและตรวจร่างกายเป็นสำคัญ คือ ประวัติของ
อาการปวดและ/หรืออาการประสาทอิสระบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ร่วมกับตรวจร่างกายที่กล้ามเนื้อโดยการ
คลำหรือกดด้วยนิ้วมือ จะต้องพบ TrP ที่สามารถแสดงอาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยให้ประวัติได้ชัดเจน (8) 

ถ้าอาการต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เรียกว่า chronic
MPS
        MPS พบได้ทั้ง acute และ chronic forms ทั้ง primary และ secondary forms โดย
         1.	 Acute MPS มักจะมีประวัตินำมาของ sudden overload เช่น sprain, strain, หรือ injury 

ส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเองตามลำดับจนหาย หรือถ้าไม่หายการรักษาเฉพาะที่ที่ตำแหน่งของ TrP
(TrP eradication) ด้วยวิธีต่างๆ มักจะได้ผลดีต่างกับกรณีของ
        2.	 Chronic MPS ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีปัจจัยเกื้อหนุนให้เรื้อรัง (perpetuating factors: PF)
        ปัจจัยต่างๆ ในที่นี้หมายถึงภาวะไม่ใช่โรค ในกรณีนี้เรียกว่า secondary MPS 
        PF แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่(9) ที่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปควรทราบคือ
          1.	 Physical PF ที่พบบ่อย ได้แก่ poor physical conditions, poor posture, repetitive microtrauma
ที่คาบเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อมัดหรือกลุ่มนั้นอย่างซ้ำๆ จนเกิดภาวะ overload บ่อยครั้งคือ
กิจวัตรหรืองานที่ทำประจำซึ่งผู้ป่วยและแพทย์มักจะนึกไม่ถึง หลายรายจึงให้ประวัติว่าอาการเกิดขึ้นเอง
โดยไม่ได้ไปทำอะไรผิดปกติ ด้วยเหตุนี้การกลับมาของ TrP หลังจากการทำ TrP eradication จึงเป็นเรื่องที่
ไม่ได้เกินความคาดหมาย
          2.	 Psychological PF ที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะวิตกกังวล/เครียด (anxiety/stress), ท้อแท้/ซึมเศร้า
(despair/depress)
        3.	 Systemic PF ที่พบบ่อยได้แก่ 
        	 •	 ภาวะ low normal vitamin B 1, 6, 12, folic acid และ vitamin C อาการที่พบบ่อยคือ
เพลีย ชาปลายมือปลายเท้าเป็นครั้งคราว
        	 •	 ภาวะ borderline hypothyroid อาการที่พบบ่อยคือ อ่อนล้า เฉื่อยชา หนาวง่าย ท้องผูก
Chronic MPS อาจเกิดร่วมกับโรคอื่น (co-morbid) ที่พบบ่อย ได้แก่ osteoarthritis และ
fibromyalgia
            การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ(9) 
      เพื่อวินิจฉัย MPS การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการไม่มีความจำเป็นเพราะที่ตำแหน่ง TrP จะไม่
พบความผิดปกติที่ชัดเจนใดๆ จากการตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่ทราบได้จากการซักประวัติ
และตรวจร่างกาย
        การตรวจค้นอาจมีความจำเป็นในกรณีที่สงสัยโรคอื่นหรือโรคร่วม (co-morbid) ต่างๆ ที่การตรวจ
ค้นทางห้องปฏิบัติการช่วยในการวินิจฉัย เช่น รังสีวินิจฉัยในกรณี osteoarthritis
ตารางที่ 1.1 สรุปน้ำหนักคำแนะนำในการวินิจฉัย chronic MPS 
    
                                                                                  น้ำหนักคำแนะนำ
    ประวัติ
                                                                                   
    	     •	 อาการปวดและ/หรืออาการประสาทอิสระบริเวณใดบริเวณหนึ่งนานกว่า 3 เดือน
              ++
    	     •	 ประวัติอาการปวดของโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่ให้อาการปวดบริเวณเดียวกันนี้ได้
           ++
    การตรวจร่างกาย
                                                                            
    	    •	 ตรวจร่างกายที่กล้ามเนื้อโดยการคลำหรือกดด้วยนิ้วมือต้องพบ TrP ที่สามารถแสดง        ++ 
            อาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยให้ประวัติได้ชัดเจน
    การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ
                                                               
    	    •	 ทำเมื่อมีข้อบ่งชี้เพื่อแยกโรคหรือยืนยัน co-morbid
                                 +

1.5 การประเมินปัญหา 
       การประเมินที่เหมาะสมทำให้ทราบถึงภาพรวมขนาดของปัญหา แนวทางการรักษา ตลอดจน
แนวโน้มของการพยากรณ์โรค การประเมินปัญหา MPS จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก โดยพื้นฐาน
ควรประกอบด้วย 3 สิ่งคือ
        1.	 อาการปวด (pain severity) โดยประเมินเชิงปริมาณ (quantitative) มาตรวัดที่แนะนำคือ
numerical rating (NRS) โดยใช้ 11 - point Likert scale (0 = ไม่ปวดเลย, 10 = ปวดมากที่สุด)

	              ไม่ปวดเลย	           ปวดเล็กน้อย	          ปวดปานกลาง	                 ปวดมาก
	                  0	                  1 - 3	                4 - 6	                    7 - 10

            2.	 PF ประเมินจากประวัตอาการและการตรวจร่างกายทัง physical, psychological, และ systemic PF
                                   ิ                       ้
          3.	 ในกรณีเรื้อรังควรมองหา co-morbid ที่อาจเกิดร่วมโดยเฉพาะที่มีอาการใกล้เคียงกับ MPS
เช่น inflammatory joint disease (เช่น osteoarthritis), radiculopathy, fibromyalgia
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
1.6 การวินิจฉัยแยกโรค(10, 11)
       MPS เป็นกลุ่มอาการที่นอกจากเลียบแบบโรคอื่นได้และยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ได้ หลักการที่
นำมาพิจารณาวินิจฉัยแยกโรคจึงต้องคำนึงถึงสี่ประเด็นหลักที่สำคัญเสมอ คือ
          1.	 MPS เป็นกลุ่มอาการปวดที่สามารถเกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย การวินิจฉัยแยกโรคจึงต้อง
แยกจากโรคต่างๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอาการปวดในบริเวณนั้นๆ เช่น TrP ที่กล้ามเนื้อบ่า คอ และศีรษะ
ก่อให้เกิดอาการปวดหัวจึงต้องวินิจฉัยแยกโรคกับ tension headache หรือ migraine ส่วน TrP ที่กล้ามเนื้อ
หน้าอกด้านซ้ายทำให้เจ็บหน้าอกจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวินิจฉัยแยกโรคกับภาวะ angina pectoris
         2.	 บริเวณที่มีอาการปวดอาจแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับ TrP ของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ถ้าเป็นบริเวณ
แคบและใกล้ ตำแหน่งของข้อต่อต้องแยกโรคกับภาวะ osteoarthritis, bursitis หรือ tendinitis ถ้ามีอาการ
เป็นบริเวณกว้าง ต้องแยกกับภาวะ neuralgia หรือ peripheral neuropathy
        3.	 ในกรณีที่ TrP กระจายหลายบริเวณต้องแยกกับ widespread pain เช่น fibromyalgia
        4.	 Chronic MPS อาจเกิดร่วมกับ co-morbid ที่มีอาการคล้ายคลึงกันได้บ่อย เช่น osteoarthritis 
ตารางที่ 1.2 สรุปน้ำหนักคำแนะนำในการประเมินปัญหา chronic MPS

                                                                                       น้ำหนักคำแนะนำ
Pain Severity
                                                                                  
  	 ปวดมาก ปวดปานกลาง ปวดเล็กน้อย ไม่ปวดเลย
                                                   +
Perpetuating Factor
                                                                           
	     •	 Physical (poor physical conditions, poor posture)
                                   ++
	     •	 Psychological (stress, depressed, coper)
                                            ++
	     •	 Systemic (เพลีย เย็นๆ ชาๆ ปลายมือปลายเท้า เฉื่อยชา หนาวง่าย ท้องผูก)
                ++
Co-morbid
                                                                                    +

1.7 การรักษา
         ในการรักษาผู้ป่วย chronic MPS ควรใช้แนวทางตามแผนภูมิที่ 1 (หน้า 9) ร่วมกับข้อมูลจาก
ตารางที่ 1.2 - 1.5 ประกอบ
        Chronic MPS เป็นภาวะที่มีการรักษาหลากหลายรูปแบบที่สุดภาวะหนึ่งจากการขาดความเข้าใจ
ในลักษณะของโรคและความสับสนในการวินิจฉัยแยกโรค เพื่อความชัดเจนจึงมีความจำเป็นเบื้องต้นที่จะ
ต้องจำแนกให้ได้ว่าเป็น primary MPS, secondary MPS (TrP เกิดขึ้นจากการชักนำของ PF) หรือ chronic
MPS ที่มี co-morbid (อาจมีมากกว่าหนึ่ง primary diseases) เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกกรรมวิธีรักษาที่
เหมาะสมกล่าวคือ
        1.7.1	 การรักษา primary MPS 
        หมายถึง MPS ที่เป็นสาเหตุอาการปวดของผู้ป่วยโดยไม่มี PF ซึ่งพบได้น้อย ส่วนใหญ่สาเหตุที่
ทำให้เกิดอาการเรื้อรังมาจากการมองข้ามในการวินิจฉัย ถ้าวินิจฉัยถูกต้อง การรักษาที่ TrP หรือ TrP
eradication ทุกวิธี ได้ผลดีและไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้าน evidence-based ของแต่ละวิธี(4)
การรักษาที่เหมาะสมควรจะพิจารณากรรมวิธีที่ผู้ป่วยพึงพอใจและไม่มีข้อห้ามเป็นอันดับแรกๆ ส่วนการ
รักษาระยะยาวเพือป้องกันการเกิดซ้ำจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสามารถนำไปปฏิบตได้เอง เข้าถึงได้งาย
                 ่                                                           ั ิ            ่
สอดคล้องกับวิถีชีวิตและคุ้มค่า
        เทคนิคการทำ TrP eradication ที่ได้รับความนิยมได้แก่ (ตารางที่ 1.3 ประกอบ) 
        •	 การยืดกล้ามเนื้อที่มี TrP (stretching)
         ยืดกล้ามเนื้อช้าๆ จนถึงจุดที่ตึงหรือเริ่มมีอาการปวดเล็กน้อย และค้างไว้ระยะเวลาหนึ่ง (prolong
stretching) ข้อดีคือปลอดภัย สะดวก และสามารถทำได้เอง ถือเป็นมาตรฐานการรักษาพื้นฐานที่จะต้อง
ทำในทุกราย(4) โดยทั่วไปควรยืดกล้ามเนื้อค้างไว้นาน 20 - 30 วินาที ขณะยืดควรอยู่ในภาวะผ่อนคลาย
และจัดท่าทางให้มั่นคง ทำชุดละ 5 - 10 ครั้ง และแนะนำให้ทำอย่างน้อยวันละ 2 ชุด (เป็นเวลา 2 สัปดาห์
นับเป็น 1 course) 
        •	 การนวด (massage)(4)
         นิยมนวดแบบกดจุด (acupressure) ส่วนการนวดแผนไทยจะครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ผลพลอยได้ ที่เป็นจุดเด่นคือ deep relaxation นวดไทยมีสองแบบคือ นวดไทยอายุรเวทซึ่งเน้นการกดจุด
อย่างเดียว และนวดไทยแผนวัดโพธิ์ที่มีการยืดดัดร่วมด้วย ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา TrP 

ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงในรายที่มีภาวะ mechanical instability การนวดควรทำติดต่อกัน 

6 - 12 ครั้ง (ถือเป็น 1 course)
        •	 การทำกายภาพบำบัด (physical therapy)(10)
         เป็นการรักษาที่มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ช่วยรักษา TrP เช่น การประคบร้อน การนวด การยืด
กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่จะทำมากกว่าหนึ่งอย่าง (การทำกายภาพบำบัด 2 สัปดาห์ถือเป็น 1 course)
        •	 การฝังเข็ม (acupuncture)(12)
         ปลายเข็มจะทำให้ TrP คลายตัวด้วยกลไก mechanical disruption และพบว่าจุดฝังเข็มมีความ
สัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำแหน่งของ TrP ที่พบบ่อยถึง 71% (ฝังเข็ม 10 ครั้ง คือ 1 course)
        •	 การแทงเข็มที่ TrP (dry needling)(4)
        เป็นอีกทางเลือกที่ใช้แทนการฝังเข็มได้
        •	 การฉีดยาที่ TrP (trigger point injection)(4, 10)
         เชื่อว่าผลของการรักษา TrP ที่สำคัญมาจากการแทงเข็ม โดยที่สารหรือยาที่ใช้เป็นเพียงตัวเสริม
สารที่นิยมใช้คือ ยาชาเฉพาะที่ ควรเลือกใช้ชนิดที่มีผล myotoxic น้อยและความเข้มข้นอยู่ในระดับที่

ระงับการทำงานของ sensory fiber โดยไม่ยับยั้งการทำงานของ motor fiber เช่น 0.5% bupivacaine หรือ
1% lidocaine ยาชาที่ใช้ต้องไม่มีส่วนผสมของ adrenaline ที่จะทำให้มีการหดตัวของเส้นเลือดบริเวณ
TrP ปริมาณยาที่ใช้เฉลี่ย 0.5 - 2 มล. ต่อจุด ขึ้นอยู่กับขนาดของกล้ามเนื้อ แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณสูงสุด

ในแต่ละครั้งที่ทำการรักษาหลายจุดเพื่อความปลอดภัย
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

        •	 Botulinum Toxin injection(4)
          มีข้อบ่งชี้ในกรณีของ refractory TrP หรือ TrP ที่ตอบสนองต่อการทำ TrP eradication แต่ผลที่ได้
อยู่เพียงเวลาอันสั้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเพราะยาราคาแพงจึงสมควรอยู่ในดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ
        •	 ยา (drugs)(10)
       จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ายาตัวใดสามารถทำให้ TrP คลายตัวจนหายไปได้ แต่ยาก็มี
ความจำเป็นในกรณีต่างๆ ดังนี้
        1.	 ลดอาการปวดซึ่งเป็นการรักษาตามอาการ 
          ในกรณีที่ปวดน้อยถึงปานกลางนิยมใช้ยาแก้ปวดธรรมดา เช่น acetaminophen ส่วนใหญ่ใช้ใน
ช่วงแรกของการทำ TrP eradication ซึ่งบางวิธีอาจมีอาการปวดหลังทำการรักษาได้ เช่น trigger point
injection การฝังเข็ม และควรหลีกเลี่ยง aspirin เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ bleeding ของการทำ TrP
eradication หลายวิธี
         ในกรณีที่ปวดปานกลางถึงรุนแรงอาจพิจารณาให้ยากลุ่ม tramadol และควรหลีกเลี่ยงการใช้
ติดต่อเป็นเวลานาน
        ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxants) ที่พบว่าแพทย์นิยมสั่งให้ผู้ป่วยยังไม่มีหลักฐานสนับสนุน
ว่าสามารถทำให้ TrP สลายหรือคลายตัวได้ อีกทั้งอาจทำให้ภาวะ overload ที่ TrP มากขึ้นจากการที่ยา

ไปมีผลที่กล้ามเนื้อปกติ (normal muscle) รอบๆ ให้คลายตัว ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกถึงอาการที่มากขึ้นได้
สำหรับรายที่ใช้แล้วอาการดีขึ้นมักจะเป็นในกรณีของ TrP ที่กล้ามเนื้อรอบๆ หรือใกล้เคียงมีการเกร็ง
(muscle spasm) หรือความตึงตัว (muscle tension) ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ไม่น้อย ยาจะมีผล
ในการคลายและลดอาการของกล้ามเนื้อรอบๆ TrP แต่จะไม่สามารถทำให้ TrP คลายหรือหายไปได้ 
        NSAIDs ก็เป็นอีกกลุ่มของยาที่ถูกใช้บ่อยในกรณี MPS แต่ผลที่ได้มักจะน้อยกว่าที่คาดหวัง 

เนื่องมาจากที่ตำแหน่งของ TrP นั้นไม่พบ inflammatory-mediated cells ที่ชัดเจน แต่ยากลุ่มนี้อาจ 

มีประโยชน์ในกรณีที่มี inflammatory joint diseases เป็น co-morbid
         Steroids เป็นอีกกลุ่มยาที่นิยมนำมาใช้ในการฉีดที่ตำแหน่ง TrP โดยเชื่อว่าได้ผลดีกว่าการใช้

ยาชาเฉพาะที่ในการลดอาการปวดและแก้ไขภาวะ fibrosis ที่ตำแหน่ง TrP แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน

จึงไม่แนะนำเนื่องจากผลที่ได้ไม่คุ้มค่าต่อการเสี่ยงกับ local และ systemic side effects ของ steroid
       2.	 ใช้รักษา PF บางอย่างเช่น vitamin, antidepressants และอาจใช้ anxiolytics เช่น clonazepam
ในระยะสั้นตามความจำเป็น
        3.	 ใช้รักษา co-morbid ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ osteoarthritis และ neuropathic pain 
       การรักษาแต่ละวิธจะมีจดเด่นและจุดด้อยรวมทังข้อควรระวังและข้อห้ามทีอาจมีความแตกต่างกัน
                       ี      ุ                 ้                       ่
การรักษาในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมากและซับซ้อนอาจจำเป็นต้องมีการผสมผสาน (mix and match)
ของการรักษามากกว่าหนึ่งอย่างเพื่อความเหมาะสม
ถ้าผลการรักษาด้วย TrP eradication 2 - 3 ชุด (courses) แล้วไม่ได้ผลดี มักจะเป็น secondary MPS 

ที่มีภาวะหรือปัจจัยชักนำ (PF) ซ่อนเร้นอยู่ ควรทำการค้นหาและถ้าพบก็ให้รักษาแบบ secondary MPS
หรือถ้ามี co-morbid เป็นตัวกระตุ้น ต้องรักษา co-morbid ร่วมกัน
         1.7.2	 การรักษา secondary MPS 
          Secondary MPS หมายถึง MPS อันเนื่องมาจากการชักนำของ PF การรักษาที่ TrP หรือ TrP
eradication เป็นเพียงการรักษาตามอาการและมักจะได้ผลชั่วคราวเป็นเหมือนเกมรับ การรักษาเพื่อหวังผล
ระยะยาวที่เป็นเหมือนเกมรุกจะต้องมุ่งประเด็นที่การค้นหาและทำการแก้ไข PF ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
และอาจพบได้มากกว่าหนึ่งอย่างในผู้ป่วยบางราย
         การแก้ไข PF
         1.	 Physical PF(4) ปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วยที่ทำให้ TrP อยู่ในสภาพที่ overload จนเกิดอาการ
ได้บ่อย มักจะมีความคล้ายหรือใกล้เคียงกันในเกือบทุกรายคือ 
         	 •	 ท่าทางที่ไม่อยู่ในสมดุล (poor posture) แก้ไขโดยจัดสมดุลให้ร่างกายอยู่ในลักษณะที่

เสียเปรียบเชิงกลน้อยสุดโดยใบหู หัวไหล่ ปมกระดูก Trochanter อยู่ในแนวเส้นดิ่งเดียวกันในท่านั่ง และ
อยู่ในแนวเส้นเดียวกับจุดกลางด้านข้างข้อเข่าในท่ายืน (good posture) ในทางปฏิบัติมีได้หลายวิธีเช่น 

การปรับท่าทาง การดัดแปลง อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีผลต่อท่าทางให้เหมาะสม ปรับสมดุลร่างกายด้วยโยคะ
ส่วนที่เหมาะสมและนิยมในรายสูงอายุ อาจเป็นรำไม้พลองหรือรำมวยจีน การแก้ไขท่าทางนอกจากมีผล
ในการรักษายังเป็นการเสริมบุคลิกภาพไปในตัว
          	 •	 สมรรถภาพร่างกายไม่สมบูรณ์เพียงพอ (poor physical conditions) แก้ไขโดยการออก
กำลังสม่ำเสมอ นอกจากเป็นการรักษาแล้วยังเสริมภาพลักษณ์ได้อย่างดี ข้อควรระวังคือ อาการปวดอาจ
กำเริบขึ้นซึ่งมักเกิดจากออกกำลังมากเกินความสามารถของร่างกาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องออกกำลังอย่าง
ค่อยเป็นค่อยไปและคำนึงถึงสมรรถภาพของตนเองให้ดี




 ภาพที่ 1.1 : ท่านั่งที่ได้สมดุลร่างกาย จากการ	   ภาพที่ 1.2 : ท่ายืนที่เหมาะสม (รูปขวามือสุด) จากการฝึกตนเอง
 	            ปรับอุปกรณ์
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
          2.	 Psychological PF ที่สำคัญคือความวิตกกังวลจนอาจถึงท้อแท้ซึมเศร้าจากความเรื้อรังของ
อาการที่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน(13) บ่อยครั้งที่หลายรายถูกเข้าใจว่าแกล้งหรือไม่ได้ปวดจริง อีกทั้ง

ถูกคิดว่าอาการทางจิตใจเป็นสาเหตุหลักเนื่องจากอาการมักจะกำเริบหรือรุนแรง ช่วงที่งานมากงานเร่ง

ซึ่งเป็นช่วงที่ปัจจัยกระตุ้นทางกายมาคู่กัน การวินิจฉัยที่เหมาะสมก็เพียงพอให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้นมาก 

การอธิบายให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ให้ความเข้าใจตลอดจนแนะนำแนวทางรักษา ให้กำลังใจและ

ให้ ความมั่นใจมีประโยชน์อย่ างมาก สำหรับ รายที่มีอาการรุนแรงอาจพิจารณาให้ anxiolytic หรือ
antidepressant(14) ในช่วงเริ่มการรักษาหรือช่วงที่มีปัจจัยเหล่านี้เข้ามาเกื้อหนุนอาการเป็นครั้งคราว
        3.	 Systemic PF(10) เป็นเรื่องที่ต้องนึกถึง โดยสอบถามหรือสังเกตจากอาการที่ผู้ป่วยบอกเล่า 

ที่พบบ่อยคือ
         •	 อาการอ่อนเพลียชาปลายมือปลายเท้าเป็นครั้งคราวให้นึกถึงภาวะ low normal level water
soluble vitamins ให้ทำการเสริม vitamin B1, 6, 12 และ folic acid ตลอดจน vitamin C ขนาดที่แนะนำคือ
ขนาดน้อย เช่น B1 10 mg, B6 10 mg, B12 500 µg, folic acid 1 mg, และ C 500 mg ซึ่งทั้งหมดสามารถ

พบได้ในวิตามินรวมบางขนาน การให้เกินขนาดดังกล่าวที่ไม่มากจนเกินไปจะไม่ก่อปัญหาเนื่องจากเป็น
water soluble vitamins ปริมาณที่เกินความต้องการร่างกายสามารถขับออกได้ หลังการเสริมอาการมักจะ
ดีขึ้นภายใน 1 - 2 เดือน
      •	 สำหรับรายทีมอาการอ่อนล้า เฉือยชา หนาวง่าย ท้องผูก ให้นกถึงภาวะ borderline hypothyroid
                     ่ ี             ่                         ึ
ควรทำการยืนยันโดยส่งตรวจระดับฮอร์โมนก่อนถ้าจะมีการเสริม และควรให้ในปริมาณเล็กน้อย
Dx. Chronic MPS
                เริ่มต้น 
                                  Hx: Regional pain and/or ANS  3 months




                                                       ▲
                                                                      PE: TrP identification
                                                                                     ▲



                                                            ไม่มี PF
       ประเมินปัญหา
           มี comorbid
                                                                             Chronic MPS
                            MPS + Co-morbid




                                                                                                               ▲
                                ▲
                                           (ตารางที่ 1.2)
                                 ▲
                                   
                             Primary MPS
                                                                                    
                                                                                                                       Co-treatment
                                                                                     ▲
   มี PF
                                                                                Secondary




                                                                          ▲
                                                                                  MPS
                                                                                     ▲
                                ▲
                                
                         TrP Eradication
                                        แก้ไข PF
                       (ตารางที่ 1.3, 1.4)
                   ▲
               (ตารางที่ 1.5)
         ▲
                      • Stretching

                      • Massage

                                                        แก้ไข PF ไม่ได้
                           แก้ไข PF ได้
                                                 ▲




                      • Dry needling

                      • Acupuncture

                      • TrP injection

                                                                                     ▲
                                 ▲

                      • Physical therapy
                                 ดีขึ้นบางส่วน
 หรือไม่ดีขึ้น
   อาการดี
ขึ้นมาก

                      • Drugs
                                          (ไม่ประเมินผลก่อน 3 เดือน)
 (ไม่ประเมินผลก่อน 3 เดือน)
                                                                                                                        ▲
                                ▲
                                                                                                                   จบสิ้นการรักษา
                          ประเมินผล

อาการดีขึ้นมาก
       หลังจากให้การรักษา

     ▲
               ไปแล้ว 2 - 3 courses
จบสิ้นการรักษา

  หรือทำ TrP
                        อาการไม่ดีขึ้น

  eradication

                                ▲
                                      หรือแย่ลง 
 เป็นครั้งคราว
                         ประเมินหา PF

                     อีกครั้งเพราะอาจเป็น

       พบ PF
                        secondary MPS

                                     ไม่พบ PF
                                                              ▲
                                                           
                                                  ส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
                                                                                ▲
                                            ▲




                  แผนภูมิที่ 1 : ขั้นตอนวิธีการวินิจฉัย การรักษา การประเมินผล และการติดตามผู้ป่วย MPS
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
         1.7.3	 การรักษา MPS ที่มี co-morbid
        ถ้าเป็นกรณี MPS ที่มี co-morbid จะต้องทำการรักษาร่วมกัน สำหรับวิธีรักษา TrP ที่เลือกใช้ควรมี
ผลดีต่อ co-morbidities และหลีกเลี่ยงวิธีที่มีผลเสียต่อ co-morbidities 
         Co-morbid ที่พบบ่อย(4) ได้แก่
         •	 Joint disorders: osteoarthritis
         •	 Localized soft tissue disorders: bursitis, tendinitis, epicondylitis
         •	 Neurologic disorders: radiculopathy, entrapment neuropathy
         •	 Inflammatory disorders: polymyositis, rheumatoid arthritis
         •	 Discogenic disorders
         •	 Visceral referred pain: gastrointestinal, cardiac, pulmonary, renal
         •	 Fibromyalgia
         1.7.4	 ข้อควรคำนึงในการรักษา chronic MPS 
         ในภาคทฤษฎีหัวใจของการรักษา chronic MPS คือการค้นหาและทำการแก้ไข PF ซึ่งเป็นการ
รักษาที่ได้ผลระยะยาว แต่ทางภาคปฏิบัติอาจจำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรักษาแบบคู่ขนาน
กล่าวคือ ร่วมกับการทำ TrP eradication ที่ในกรณีนี้มักจะได้ผลชั่วคราว แต่ก็มีความจำเป็นในบางรายเพื่อ
เป็นการลดอาการต่างๆ ก่อนที่การแก้ไข PF จะเห็นผล ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือถ้าแก้ไข
PF ไม่สำเร็จ การทำ TrP eradication เป็นครั้งคราวอย่างต่อเนื่องก็ต้องนำมาพิจารณาโดยดูผลรวมจากการ
เข้าถึงการรักษา ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และความคุ้มค่า
ตารางที่ 1.3	 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษา MPS ที่ Trigger Point (TrP eradication) ด้วยกรรมวิธี 

	             ต่างๆ 
     วิธีการ
                    จุดเด่น
                         ข้อควรระวัง
                คุณภาพของ     น้ำหนัก

                                                                                                หลักฐาน
   คำแนะนำ
TrP eradication (modern way)
Stretching
         มีความสะดวกสามารถปฏิบัติเอง        ยืดช้าๆ จนถึงจุดที่ตึงหรือ
                B
          ++
                    ได้ เป็นการรักษาพื้นฐานที่ต้องทำ   เจ็บเล็กน้อยค้างไว้ 20 - 30 วินาที
                    ในทุกราย
Massage
            ผ่อนคลายลดเครียด 
                 เหมือนข้อควรระวังการนวดทั่วไป
             C
          +
TrP Injection with เห็นผลเร็ว
                         แพ้ยาชาเฉพาะที่
                           C
          +
local anesthetic ผลที่ได้ยืนยันสาเหตุของอาการว่า       บางตำแหน่งที่ทำการฉีดอาจเกิด
agent
              มาจากตำแหน่งที่ฉีดยา               ผลแทรกซ้อนจากการแทงเข็ม
                    (therapeutic block effect)
Dry Needling
       กรรมวิธีเรียบง่าย
                 บางตำแหน่งที่อาจเกิดผล                     C
          +
                                                       แทรกซ้อนจากการแทงเข็ม
Physical Therapy
 เข้าถึงง่าย
                         ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์หรือวิธีการที่ใช้
       C
          +



10
ตารางที่ 1.3	 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษา MPS ที่ Trigger Point (TrP eradication) ด้วยกรรมวิธี 

	             ต่างๆ (ต่อ)
     วิธีการ
                   จุดเด่น
                        ข้อควรระวัง
             คุณภาพของ       น้ำหนัก

                                                                                           หลักฐาน
     คำแนะนำ
TrP eradication (alternative way)
Thai Traditional      ครอบคลุมพื้นที่กว้าง
            เช่นเดียวกับการนวดทั่วไป
             C
             +
Massage
              ผ่อนคลายลดเครียด
                      เข้าถึงง่ายสำหรับประเทศไทย
Acupuncture
          โอกาสที่จะรักษาถูกจุดมีถึง 71% 
 บางตำแหน่งที่อาจเกิดผล                C
             +
                                                       แทรกซ้อน จากการแทงเข็ม
Yoga, QiGong,         นำมาปฏิบัติเองได้
               เช่นเดียวกับข้อห้ามในการ
             C
             +
TeiChi
               ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย
         ออกกำลังทั่วไป
                      เพิ่มความแข็งแรง
                ในกรณีโยคะควรหลีกเลี่ยงถ้ามี
                      ลดความเครียด
                    ปัญหาของ unstable joint

ตารางที่ 1.4 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษาอาการปวดของ MPS ด้วยยา 
  ชนิด/กลุ่มยา
          ขนาดยา
                  ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง
             คุณภาพของ       น้ำหนัก

                                                                                           หลักฐาน
     คำแนะนำ
Acetaminophen
    ไม่เกิน 4,000 มก./วัน
 ผู้ป่วยที่มีโรคตับ
                                  D
         +/- ใช้ลด
                                         การใช้ร่วมกับยาสูตรผสมแก้ปวด หรือยาชนิด                        อาการปวด

                                         อื่นที่มี paracetamol เป็นส่วนผสม
                             ที่ไม่รุนแรง
Muscle relaxants
 ไม่เกินขนาดยาสูงสุด ง่วงนอน
                                               D
              +,-
                  ที่แนะนำของยา
         ระวังอาการข้างเคียง anticholinergic เช่น 
                   (+ ถ้ามี muscle
                  แต่ละตัว
              ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก 
                                spasm หรือ
                                         ปัสสาวะลำบาก ง่วงซึม หัวใจเต้นเร็ว
                          muscle tension
                                         ระวังการใช้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสมองเสื่อม 
                     ร่วมด้วย)
                                         ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่ต้องระวังอาการ
                                         ข้างเคียง
NSAIDs
           ไม่เกินขนาดยาสูงสุด GI ulcer บวมน้ำ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น                  D
                +,-
                  ที่แนะนำของยา
         ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต หรือใช้ยา                         (++ ถ้ามี
                  แต่ละตัว
              ต้านการแข็งตัวของเลือด 
                                       inflammatory
                                                                                                        joint disease
                                                                                                      เป็น co-morbid)
Tramadol
          50 - 400 มก./วัน
       คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก วิงเวียน ใจสั่น 
        D
                +/- 
                                           ง่วงซึม ทำให้ชักได้ง่ายขึ้น 
                               (+ใช้ลดอาการ
                                           ลดขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต
                                        ช่วงที่ปวด
                                           ไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานาน
                                        รุนแรง)
Antidepressants
 ดูในบทที่ 2 ตารางที่      น้ำหนักตัวเพิ่ม อาการข้างเคียง                    D
              +/-
เช่น TCAs, SSRIs, 2.5
                     anticholinergic เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า                    (++ ถ้ามี
SNRIs
                                     ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ง่วงซึม หัวใจเต้นเร็ว
                    depress 

                                           ระวังการใช้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสมองเสื่อม 
                    เป็น PF)
                                           ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่ต้องระวังอาการ
                                           ข้างเคียง anticholinergic
                                                                                                                  11
แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ตารางที่ 1.4 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษาอาการปวดของ MPS ด้วยยา (ต่อ)
  ชนิด/กลุ่มยา
            ขนาดยา
                    ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง
           คุณภาพของ       น้ำหนัก

                                                                                             หลักฐาน
     คำแนะนำ
Anxiolytic drugs
 
                            ง่วงนอน ควรให้ขนาดต่ำ ระวังการติดยา 
            D
             -
เช่น clonazepam
                               และ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
                              (++ ถ้ามี stress
                                                                                                           เป็น PF)
Anticonvulsants
     
                         ง่วงนอน และบวมน้ำ (เมื่อใช้ในขนาดสูง) 
         D
              -
เช่น gabapentin,                               ต้องลดขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไต
pregabalin
                                    บกพร่อง เพราะยาขับออกทางไตในรูปเดิม
Steroids
            
                                             -
                          D
              -

ตารางที่ 1.5 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษาหรือแก้ไข PF
       PF
                อาการที่เป็นข้อสังเกต
                        การแก้ไข
          คุณภาพของ น้ำหนัก

                                                                                             หลักฐาน
 คำแนะนำ
Mechanical PF
 
                                         
                                       
        
Poor posture 
    ตำแหน่งที่พบบ่อยคือปวดบริเวณ           ปรับสมดุลท่าทาง
                       C
    ++ (ถ้ามี)
                  คอ ศีรษะ และ/หรือหลัง (postural
                  muscle)
Poor physical     สมรรถภาพร่างกายไม่สมบูรณ์              ออกกำลังสม่ำเสมอแบบ Aerobic           C
          ++ (ถ้ามี)
condition
        เพียงพอ อ่อนเพลีย เมื่อยล้าง่าย
       exercise
Psychological PF
 
                                      
                                      
               
Stress 
             วิตก กังวล นอนไม่หลับ
              Psychological support
                D
          ++ (ถ้ามี)
                                                         ส่งเสริมกิจกรรมที่มีผลลด
                                                         ความเครียด เช่น ฝึกสมาธิ,
                                                         Traditional Massage, Yoga
                                                         Anxiolytic drug ขนาดต่ำจะช่วยลด
                                                         อาการวิตก กังวล นอนไม่หลับ
Depression
          เบื่อ ท้อแท้ ซึม เศร้า หดหู่ 
      Psychological Support
                D
          ++ (ถ้ามี)
                     นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก
             Antidepressant ในขนาดต่ำ
Systemic PF
         
                                   
                                      
              
Nutritional (low     อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย 
             เสริมวิตามิน B1, 6, 12, 
             D
          ++ (ถ้ามี)
normal level water   ชาๆ ตามมือเท้า
                     folic acid, C
soluble vitamin)
Hormonal             เชื่องช้า อ่อนเพลีย หนาวง่าย 
      เสริม thyroid hormone หลังจาก         D
          ++ (ถ้ามี)
(borderline          ท้องผูก
                            ตรวจระดับ thyroid hormone
hypothyroid)




12
1.8 เกณฑ์การส่งต่อ
           ด้วยศักยภาพของโรงพยาบาลชุมชนแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปสามารถรักษา chronic MPS ได้ ถ้ามี
การรักษาแบบคู่ขนานคือการแก้ไข PF และทำ TrP eradication เป็นครั้งคราว มีส่วนน้อยที่ต้องพิจารณา

ส่งต่อเมื่อ
           1.	 แพทย์ไม่สามารถบอกสาเหตุของอาการปวดหรือให้การวินิจฉัยได้
           2.	 เมื่อแพทย์ปฏิบัติตามแนวทางที่แนะนำแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน แล้วพบว่า
	              2.1	 ผู้ป่วยยังมีอาการปวดอย่างรุนแรงจนมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการดำเนินกิจวัตร
                     ประจำวัน
	              2.2	 ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะปวดเรื้อรังได้
	              2.3	 มีปญหาทางจิตเวช มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล มีบคลิกภาพเปลียนไป เฉือยชา ตกใจง่าย
                         ั                                        ุ          ่       ่
	              2.4	 มีประวัติการรักษาอาการปวดที่แผนกฉุกเฉิน หรือแผนกผู้ป่วยในบ่อยครั้ง
	              2.5	 มีพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดมากกว่าปกติ หรือมีประวัติติดสารเสพติด ดื่มสุราเรื้อรัง 

                     สูบบุหรี่จัด 
	              2.6	 ผู้ป่วยเปลี่ยนสถานพยาบาลหรือแพทย์ผู้ให้การรักษาบ่อย 
	              2.7	 ผู้ป่วยไม่ร่วมมือหรือไม่มีแรงจูงใจในการรักษา




                                                                                               13
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia
Myofascialpain fibromyalgia

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก principle-of-pediatic-care-2014
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก  principle-of-pediatic-care-2014 หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก  principle-of-pediatic-care-2014
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก principle-of-pediatic-care-2014 Utai Sukviwatsirikul
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆDashodragon KaoKaen
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
การใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็กการใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็กOzone Thanasak
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิคู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิUtai Sukviwatsirikul
 
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557Utai Sukviwatsirikul
 
Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesAphisit Aunbusdumberdor
 
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx pop Jaturong
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นSutthiluck Kaewboonrurn
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Utai Sukviwatsirikul
 

La actualidad más candente (20)

การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก principle-of-pediatic-care-2014
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก  principle-of-pediatic-care-2014 หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก  principle-of-pediatic-care-2014
หลักการเภสัชกรรมบําบัดในเด็ก principle-of-pediatic-care-2014
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
การใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็กการใช้ยาในเด็ก
การใช้ยาในเด็ก
 
Naranjo
NaranjoNaranjo
Naranjo
 
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลาสรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
สรุปยาหยอดตา ประภัสสร ผาติกุลศิลา
 
Drug
DrugDrug
Drug
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
แนวทางการดูแลผู้ป่วยสติปัญญาบกพร่อง ออทิสติก สมาธิสั้น และภาวะบกพร่องทางการเร...
 
หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4หลักการใช้ยา ปี4
หลักการใช้ยา ปี4
 
คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิคู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
คู่มือสำหรับเภสัชกรในการดำเนินงานเภสัชกรรมในหน่วยบริการปฐมภูมิ
 
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
แนวเวชปฏิบัติเพื่อการวินิจฉัยและการดูแลรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 2557
 
Pain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nursesPain management nursing for student nurses
Pain management nursing for student nurses
 
CPG for Psoriasis 2010
CPG for Psoriasis 2010CPG for Psoriasis 2010
CPG for Psoriasis 2010
 
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
หลักพยาธิบ.5การอักเสบ pptx
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้น
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
Cross hypersensivity to NSIADs, Allergic and pseudoallergic reactions.
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
 
Ppt. med error.2
Ppt. med error.2Ppt. med error.2
Ppt. med error.2
 

Destacado

09 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 59
09 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 5909 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 59
09 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 59Utai Sukviwatsirikul
 
[Mlp2013 1] migraine
[Mlp2013 1] migraine[Mlp2013 1] migraine
[Mlp2013 1] migraineJoey Live
 
การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacist
การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacistการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacist
การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacistUtai Sukviwatsirikul
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 

Destacado (6)

09 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 59
09 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 5909 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 59
09 arincare tutorial เพิ่มคนไข้ ในapp 29 9 59
 
Cpg fibromyalgia
Cpg fibromyalgiaCpg fibromyalgia
Cpg fibromyalgia
 
[Mlp2013 1] migraine
[Mlp2013 1] migraine[Mlp2013 1] migraine
[Mlp2013 1] migraine
 
Cpn corporate report q1 2016
Cpn corporate report q1 2016Cpn corporate report q1 2016
Cpn corporate report q1 2016
 
การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacist
การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacistการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacist
การจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม for community pharmacist
 
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุอาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
อาการที่สําคัญในผู้สูงอายุ
 

Similar a Myofascialpain fibromyalgia

Cpg osteoarthritis of knee 2554
Cpg osteoarthritis of knee 2554Cpg osteoarthritis of knee 2554
Cpg osteoarthritis of knee 2554Utai Sukviwatsirikul
 
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554Utai Sukviwatsirikul
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Utai Sukviwatsirikul
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว Utai Sukviwatsirikul
 
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้Press Trade
 
หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55sivapong klongpanich
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานVorawut Wongumpornpinit
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project ssuser6a3b56
 
แบบตอบคำถาม Dis 2
แบบตอบคำถาม Dis 2แบบตอบคำถาม Dis 2
แบบตอบคำถาม Dis 2Techin Pha-In
 
TAEM10:Pain management
TAEM10:Pain managementTAEM10:Pain management
TAEM10:Pain managementtaem
 
Clinical Practice Guidelines for epilepsy
Clinical Practice Guidelines for epilepsyClinical Practice Guidelines for epilepsy
Clinical Practice Guidelines for epilepsyUtai Sukviwatsirikul
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 

Similar a Myofascialpain fibromyalgia (20)

Chronic muskeletal-2552 p1
Chronic muskeletal-2552 p1Chronic muskeletal-2552 p1
Chronic muskeletal-2552 p1
 
Epilepsy
EpilepsyEpilepsy
Epilepsy
 
Cpg osteoarthritis of knee 2554
Cpg osteoarthritis of knee 2554Cpg osteoarthritis of knee 2554
Cpg osteoarthritis of knee 2554
 
Cpg osteoarthritis
Cpg osteoarthritisCpg osteoarthritis
Cpg osteoarthritis
 
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
Cpg osteoarthritis or osteoarthrosis 2554
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy
 
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
Guideline for the Treatment of Osteoarthritis of Knee)
 
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
แนวทางการดำเนินงาน คลีนิกหมอครอบครัว
 
Sle guideline
Sle guidelineSle guideline
Sle guideline
 
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
 
หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55หลักสูตร Mini MM in Health 55
หลักสูตร Mini MM in Health 55
 
07
0707
07
 
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสานแนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตด้วยการแพทย์ผสมผสาน
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
แบบตอบคำถาม Dis 2
แบบตอบคำถาม Dis 2แบบตอบคำถาม Dis 2
แบบตอบคำถาม Dis 2
 
Chronic muskeletal-2552 p2
Chronic muskeletal-2552 p2Chronic muskeletal-2552 p2
Chronic muskeletal-2552 p2
 
TAEM10:Pain management
TAEM10:Pain managementTAEM10:Pain management
TAEM10:Pain management
 
Clinical Practice Guidelines for epilepsy
Clinical Practice Guidelines for epilepsyClinical Practice Guidelines for epilepsy
Clinical Practice Guidelines for epilepsy
 
155344bayer329
155344bayer329155344bayer329
155344bayer329
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 

Más de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

Más de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

Myofascialpain fibromyalgia

  • 1. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ Myofascial Pain Syndrome Fibromyalgia จัดทำโดย สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2552 ISBN 978-974-300-906-8
  • 2. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ชื่อหนังสือ แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ Myofascial Pain Syndrome Fibromyalgia จัดทำโดย สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 จำนวนพิมพ์ 5,000 เล่ม ISBN 978-974-300-906-8 พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 65/16 ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
  • 3. แนวทางการรักษานี้ เป็นเครื่องมือส่งเสริมคุณภาพของการบริการด้านสุขภาพ ที่เหมาะสมกับทรัพยากร และเงื่อนไขของสังคมไทย โดยหวังผลในการสร้างเสริม และแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนไทยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ข้อแนะนำต่างๆ ในแนวทางเวชปฏิบัตินี้ไม่ใช่ข้อบังคับของการปฏิบัติ ผู้ใช้สามารถปฏิบัติแตกต่างไปจากข้อแนะนำนี้ได้ ขึ้นอยู่กับกรณีหรือสถานการณ์ที่แตกต่างออกไป หรือมีเหตุผลที่สมควร โดยใช้วิจารณญาณ และการตัดสินใจที่เป็นที่ยอมรับในสังคม
  • 4. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ คำนำ ปวดเรือรังเป็นปัญหาสุขภาพทีพบบ่อย อุบตการณ์ในอเมริกาและยุโรปพบว่าอยูระหว่าง 15 - 20% ้ ่ ัิ ่ ของประชากรและกลุ่มที่พบบ่อยคือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (myofascial pain syndrome) และกลุมอาการปวดกล้ามเนือและเยือพังผืดไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) ซึงเป็นปัญหาใหญ่ ่ ้ ่ ่ ของวงการแพทย์ โดยนิยามของ “อาการปวดเรื้อรัง” หมายถึงอาการปวดที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่าง สม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เนื่องจากความชุกและความยากของการวินิจฉัยและผลการรักษาที่ ยังจำกัดในประสิทธิผล อาการปวดเรื้อรังจึงเป็นเรื่องท้าทายและได้รับความสนใจอย่างมากในขณะนี้ การขาดแนวทางเวชปฏิบัติ (clinical practice guideline: CPG) โดยเฉพาะแนวทางเวชปฏิบัติที่สอดคล้อง และเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของประเทศไทยเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความขัดแย้งของ ผู้ให้การรักษา สิ่งที่ตามมาคือการสูญเสียผลประโยชน์ของผู้ป่วย ด้วยเหตุนี้ทางสมาคมการศึกษาเรื่อง ความปวดแห่งประเทศไทย ซึงเป็นองค์กรในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ่ มีหน้าทีหลักในการส่งเสริมด้านวิชาการ การวิจย และให้บริการด้านความปวดจึงได้จดทำแนวทางเวชปฏิบติ ่ ั ั ั ในกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบบ่อยและยังไม่มีการจัดทำในประเทศไทยมาก่อน 2 เรื่องคือ 1. กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (myofascial pain syndrome: MPS) ที่มีปัญหาในเวชปฏิบัติทั่วไปจากความหลากหลายในรูปแบบการรักษา (practice variation) และ 2. กลุ่ม อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia: FMS) ที่มีปัญหาในเวชปฏิบัติทั่วไป จากความหลากหลายในอาการ (clinical variation) และปัญหาด้านทัศนคติ (attitude) ของสังคมต่อผู้ป่วย และผู้ป่วยต่อโรค การจั ด ทำแนวทางเวชปฏิ บ ั ต ิ โ ดยสมาคมการศึ ก ษาเรื ่ อ งความปวดแห่ ง ประเทศไทยครั ้ ง นี ้ มุ่งประเด็นของ “อาการปวดเรื้อรัง” ซึ่งมักจะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นอุบัติการณ์ และความแตกต่างในเรื่อง ความเหมาะสมของการรักษา เนื่องจากปัจจัยความแตกต่างทางวัฒนธรรม และสังคมตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้น สำหรับผู้ที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (general practitioner) ในการดูแลผู้ป่วย เหล่านี้โดยเน้นความเป็นไปได้จริงตามศักยภาพโดยรวมของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย อันจะนำ ประโยชน์สูงสุดมาสู่ผู้ป่วย (รศ. นพ. ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช) ประธานคณะผู้จัดทำแนวทางเวชปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • 5. รายนามคณะผู้จัดทำ 1. รศ. นพ. ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช นายกสมาคมการศึกษาเรื่องความปวด ประธาน แห่งประเทศไทย 2. รศ. นพ. ก้องเกียรติ กูณฑ์กนทรากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ั กรรมการ 3. รศ. ดร. ภญ. จุฑามณี สุทธิสีสังข์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรรมการ 4. นพ. ประสิทธิ์ ลักษณสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรรมการ 5. นพ. ธวัช บูรถาวรสม กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ กรรมการ การแพทย์ทางเลือก 6. รศ. พญ. พงศ์ภารดี เจาฑะเกษตริน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรรมการ 7. ผศ. นพ. วิษณุ กัมทรทิพย์ ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู กรรมการ แห่งประเทศไทย 8. รศ. นพ. สุรินทร์ ธนพิพัฒนศิริ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรรมการ 9. รศ. พญ. สุดสบาย จุลกทัพพะ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรรมการ 10. นพ. สุรจิต สุนทรธรรม ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กรรมการ 11. พญ. เอมวลี อารมย์ดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กรรมการ และเลขานุการ 12. ภก. พงศธร มีสวัสดิ์สม คณะเภสัชศาสตร์ กรรมการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และผู้ช่วยเลขานุการ
  • 6. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ สารบัญ หน้า คำนำ รายนามคณะผู้จัดทำ ข้อแนะนำการใช้ CPG วิธีการสืบค้นข้อมูล บทนำ บทที่ 1 กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดมัยโอฟาสเชี่ยล (Myofascial Pain Syndrome) 1 1.1 อุบัติการณ์ 1 1.2 ลักษณะทางคลินิก 1 1.3 พยาธิกำเนิด 1 1.4 การวินิจฉัย 2 1.5 การประเมินปัญหา 3 1.6 การวินิจฉัยแยกโรค 4 1.7 การรักษา 4 1.7.1 การรักษา primary MPS 4 1.7.2 การรักษา secondary MPS 7 1.7.3 การรักษา MPS ที่มี co-morbid 10 1.7.4 ข้อควรคำนึงในการรักษา chronic MPS 10 1.8 เกณฑ์การส่งต่อ 13 บทที่ 2 อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) 15 2.1 อุบัติการณ์ 15 2.2 พยาธิกำเนิด 15 2.3 การวินิจฉัย 16 2.4 การวินิจฉัยแยกโรค 18 2.5 การประเมิน FMS 19 2.6 การรักษา 20 2.6.1 การรักษาด้วยยา 21 2.6.2 การรักษาโดยไม่ใช่ยา 25 2.7 การประเมินผลการรักษา 27 2.8 การพยากรณ์โรค 27 2.9 เกณฑ์การส่งต่อ 28 ภาคผนวก แบบประเมินผลกระทบของโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ฉบับภาษาไทย (Thai-FIQ) 32
  • 7. ข้อแนะนำการใช้ CPG CPG เปรียบเสมือนคู่มือที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้อง การใช้ CPG เหมือนกับการใช้แผนที่เมื่อหลงทางหรือติดขัด ณ จุดใดก็เปิดดูรายละเอียดและศึกษาข้อมูล ณ จุดนั้น ซึ่งอาจเป็นตารางหรือรายละเอียดในภาคผนวกท้ายเล่ม น้ำหนักคำแนะนำ (Strength of Recommendation) น้ำหนัก ++ หมายถึง ความมั่นใจของคำแนะนำให้ทำอยู่ในระดับสูงเพราะมาตรการดังกล่าว มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ป่วยและคุ้มค่า (cost effective) “ควรทำ” น้ำหนัก + หมายถึง ความมันใจของคำแนะนำให้ทำอยูในระดับปานกลางเนืองจากมาตรการ ่ ่ ่ ดังกล่าวอาจมีประโยชน์ตอผูปวยและอาจคุมค่าในภาวะจำเพาะ “น่าทำ” ่ ้ ่ ้ น้ำหนัก +/- หมายถึ ง ความมั ่ น ใจยั ง ไม่ เ พี ย งพอในการให้ ค ำแนะนำเนื ่ อ งจากมาตรการ ดังกล่าวยังมีหลักฐานไม่เพียงพอในการสนับสนุนหรือคัดค้านว่าอาจมีหรืออาจ ไม่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยและอาจไม่คุ้มค่าแต่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจกระทำขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ “อาจทำหรือไม่ทำ” น้ำหนัก - หมายถึ ง ความมั ่ น ใจของคำแนะนำห้ า มทำอยู ่ ใ นระดั บ ปานกลางเนื ่ อ งจาก มาตรการดังกล่าวไม่มประโยชน์ตอผูปวยและไม่คมค่า หากไม่จำเป็น “ไม่นาทำ” ี ่ ้ ่ ุ้ ่ น้ำหนัก - - หมายถึ ง ความมั ่ น ใจของคำแนะนำห้ า มทำอยู ่ ใ นระดั บ สู ง เพราะมาตรการ ดังกล่าว อาจเกิดโทษหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย “ไม่ควรทำ” คุณภาพของหลักฐานทางวิชาการ (Classification of References) Level of evidence A หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ randomized, controlled clinical trials หรือหลักฐานที่ได้จาก randomized, controlled clinical trials ที่ดำเนิน การอย่างเหมาะสม Level of evidence B หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ controlled clinical study หรือ หลักฐานที่ได้จาก controlled clinical study (เช่น nonrandomized, controlled trial, cohort study, case-control study, cross sectional study) ที่ดำเนินการอย่าง เหมาะสม หรือหลักฐานที่ได้จากการวิจัยทางคลินิกที่ใช้รูปแบบการวิจัยอื่น และ ผลการวิจัยพบประโยชน์หรือโทษจากการปฏิบัติรักษาที่เด่นชัดมาก หรือเรื่อง ดังกล่าวไม่มีผลงานวิจัยประเภท randomized, controlled clinical trials แต่ได้นำเอา หลักฐานที่ได้จาก randomized, controlled clinical trials ในประชากรกลุ่มอื่นหรือ เรื่องอื่นที่คล้ายคลึงกันมาใช้เป็นหลักฐาน หรือหลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ randomized, controlled clinical trials หรือ randomized, controlled clinical trials ที่ดำเนินการไม่เหมาะสม
  • 8. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ Level of evidence C หมายถึง หลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ descriptive study หรือ หลักฐานที่ได้จาก descriptive study ซึ่งหมายถึงรายงานผู้ป่วยหนึ่งรายหรือ มากกว่า หรือหลักฐานที่ได้จาก systematic review ของ controlled clinical study หรือ controlled clinical study ที่ดำเนินการไม่เหมาะสมหรือหลักฐานที่ได้จาก controlled clinical trials ในประชากรกลุ่มอื่นหรือเรื่องอื่นที่คล้ายคลึงกัน Level of evidence D หมายถึ ง หลั ก ฐานที ่ ไ ด้ จ ากความเห็ น หรื อ ฉั น ทามติ (consensus) ของคณะ ผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากไม่มีหลักฐานจากผลงานวิจัยทางคลินิก หรือผลงานวิจัย ทางคลินิกที่มีอยู่ ไม่สอดคล้องหรือเหมาะสมกับสถานการณ์และ สถานภาพของ การประกอบวิชาชีพ ในประเทศไทยหรือมีเพียงหลักฐานทางห้องปฏิบัติการ หมายเหตุ : Level of evidence (สารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ปีท่ี 18 ฉบับที่ 6 พ.ย. - ธ.ค. พ.ศ. 2544)
  • 9. วิธีการสืบค้นข้อมูล คณะผู้นิพนธ์/ผู้จัดทำแนวทางการรักษาภาวะปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้ทำการ สืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล Medline, Cochrane library, EMBASE และแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น งานวิจัยที่ได้ รับการนำเสนอในระดับนานาชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 ถึงเดือนมกราคม 2009 โดยใช้คำสำคัญดังต่อไปนี้ musculoskeletal pain, epidemiology, assessment, treatment, diagnosis, guideline, rehabilitation, complementary medicine, alternative medicine, acupuncture, myofascial pain syndrome, fibromyalgia ในส่วนของบรรณานุกรม จะระบุเฉพาะ key articles เท่านั้น
  • 10. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ บทนำ “อาการปวด” ตามนิยามของ International Association for the Study of Pain (IASP 1979) หมายถึง ความรู้สึกไม่สบายทางกายหรือจิตใจอันเนื่องมาจากมีหรือแนวโน้มที่จะมีการบาดเจ็บของ เนื้อเยื่อ หรือแม้เป็นเพียงความรู้สึกที่ราวกับว่ามีการบาดเจ็บ ในเวชปฏิบัติ “อาการปวด” เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยโดยทำหน้าที่เป็นสัญญาณเตือนภัยที่มี ความไวสูง เพื่อบอกให้ทราบว่ามีความผิดปกติหรืออันตรายเกิดขึ้น ความสำคัญข้อนี้ทำให้อาการปวด ถูกจัดเป็นสัญญาณชีพที่ห้า (The Fifth Vital Sign) เพราะ “อาการปวด” มีความเกี่ยวข้องกับแพทย์และ บุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา เพียงแต่อาจแตกต่างกันในบทบาทหน้าที่ การรวบรวมองค์ความรู้ในการ รักษาความปวดได้รับความสนใจมากในขณะนี้ ดังจะเห็นได้จากการเพิ่มขึ้นของชมรมและสมาคมการ ศึกษาเรื่องความปวดอย่างต่อเนื่องทั้งระดับท้องถิ่น และระดับสากล หลายประเทศมีหลักสูตรเฉพาะสาขา ด้านการรักษาอาการปวด (pain medicine) นำมาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ๆ มากมาย แต่ที่ยังเป็นปัญหาหลัก ขณะนี้คือ “อาการปวดเรื้อรัง” เนื่องจากความยากของการวินิจฉัย และผลการรักษาที่ยังจำกัดใน ประสิทธิผล ดังข้อความที่ใช้ในการรณรงค์เพื่อต่อสู้กับอาการปวดว่า “มีน้อยคนที่ตายจากความปวด หลายคนตายพร้อมกับอาการปวด แต่ที่พบได้มากกว่าคือ ที่ต้องอยู่กับความปวด” ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง (อาการปวดที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็น เวลานานกว่า 3 เดือน) ข้อสำคัญที่สุด คือต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติแต่เดิมที่มักเข้าใจว่าปวดเรื้อรังเป็น เพียงแค่อาการหรือปัญหาทางจิตแต่จัดเป็นโรคโดยตัวของมันเอง (A Disease in Itself) ดังกรณีของ myofascial pain syndrome และ fibromyalgia อันจะนำมาซึ่งทัศนคติใหม่ของการรักษาที่สอดคล้องกับ ความเป็นจริงของแต่ละสังคมโดยเน้นความเหมาะสมและกลมกลืนกับวิถีชิวิตจริง และอาจจำเป็นต้องมี การดัดแปลงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based) ตามความเหมาะสมโดยผู้ให้และผู้ได้รับการ รักษาใช้แนวคิดในการรักษาเป็นไปในแนวทางเดียวกัน
  • 11. กลุมอาการปวดกล้ามเนือและเยือพังผืดมัยโอฟาสเชียล ่ ้ ่ (Myofascial Pain Syndrome) ่ 1 Myofascial pain syndrome (MPS) หมายถึงกลุ่มอาการปวดร้าว (referred pain) และ/หรืออาการ ของระบบประสาทอิสระ (autonomic symptoms) อันเนื่องมาจาก myofascial trigger point(s) (TrP) ของ กล้ามเนื้อ หรือเยื่อผังผืด(1) โดยจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งบริเวณใด (regional pain) ของร่างกาย(2) ถ้าอาการ ต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เรียกว่า chronic MPS(3) 1.1 อุบัติการณ์ MPS เป็นสาเหตุของปัญหาปวดเรื้อรังที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ มักเกิดร่วมกับภาวะอื่นได้ อุบัติการณ์มีความแตกต่างกันในแต่ละการสำรวจ บางรายงานกล่าวว่าพบได้ถึง 21% ของผู้ป่วย ออร์โธปิดิกส์ทั่วไป และ 30% ในคลินิกเวชปฏิบัติทั่วไป(4) 1.2 ลักษณะทางคลินิก อาการเด่นคือ 1. ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึงของร่างกาย (regional pain) ความรุนแรงมีได้ตงแต่ปวดเล็กน้อย ่ ้ั เพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก TrP ของกล้ามเนื้อแต่ละมัดจะมีลักษณะแบบแผน การปวดร้าวทีเ่ ฉพาะตัว(5) ซึงมีความสำคัญในการช่วยค้นหาว่าอาการปวดเกิดจาก TrP ของกล้ามเนือมัดใด ่ ้ 2. อาการของระบบประสาทอิสระซึ่งพบร่วมได้บ่อยเช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ หนา หรืออาการ แสดง เช่น ซีด ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว ส่วน TrP บริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่าได้(6) การตรวจร่างกายคือการสัมผัสด้วยมือ โดยการกดคลำกล้ามเนื้อต้องพบ TrP ที่ก่ออาการ อันมี คุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญ 3 ประการคือ 1. เป็นจุดที่มีความไวสูง (hyperirritable spot) ไวต่ออาการปวดกว่าบริเวณใกล้เคียง 2. เป็นจุดทีสามารถกระตุนให้อาการต่างๆ แสดงออกชัดเจน (reproducible symptoms) ด้วยแรงกด ่ ้ หรือการแทงด้วยปลายเข็ม 3. TrP แต่ละจุดมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 - 3 มม. แต่มักจะเกิดร่วมกัน เป็นกลุม (cluster) ในกรณีท่ี TrP อยูในกล้ามเนือทีไม่ลกเวลาคลำจะรูสกได้ถงความเป็นแถบตึง (taut band) ่ ่ ้ ่ ึ ้ึ ึ หรือคล้ายก้อน (nodule) 1.3 พยาธิกำเนิด กลไกที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางในกรณีของ chronic MPS คือ การผสมกันระหว่างความผิดปกติของ peripheral nociception กับ central sensitization(7) เรียงลำดับเหตุการณ์ดงนี้ ั
  • 12. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ • ภาวะที่กล้ามเนื้อทำงานเกินกำลังจาก physical และ/หรือ psychosocial overload จนถึงจุดที่มี motor endplate dysfunction ทำให้บกพร่องของพลังงาน เป็นที่มาของการอธิบายภาวะอาการล้าง่ายของ กล้ามเนื้อมัดที่มี TrP ทำให้เกิด • Muscle contraction knot เป็น self-sustained contraction ที่ตรงตำแหน่งของ TrP จึงสามารถ คลำได้เป็นลำหรือก้อน และทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวน้อยลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีการคั่งค้างของ waste products ที่ก่ออาการปวดหลายชนิด แต่ไม่พบ inflammatory-process cell ที่ชัดเจน • Autonomic nervous disturbance จากการกระตุนของสารคังค้างดังกล่าวเป็นทีมาของ autonomic ้ ่ ่ symptoms ต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ และตามมาด้วย • Central sensitization ซึ่งจะทำให้ TrP มีความไวต่อการกระตุ้นมากขึ้น 1.4 การวินิจฉัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานการวินิจฉัยทางคลินิกจากประวัติและตรวจร่างกายเป็นสำคัญ คือ ประวัติของ อาการปวดและ/หรืออาการประสาทอิสระบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ร่วมกับตรวจร่างกายที่กล้ามเนื้อโดยการ คลำหรือกดด้วยนิ้วมือ จะต้องพบ TrP ที่สามารถแสดงอาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยให้ประวัติได้ชัดเจน (8) ถ้าอาการต่างๆ ดำเนินอย่างต่อเนื่องหรือเกิดซ้ำอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลามากกว่า 3 เดือน เรียกว่า chronic MPS MPS พบได้ทั้ง acute และ chronic forms ทั้ง primary และ secondary forms โดย 1. Acute MPS มักจะมีประวัตินำมาของ sudden overload เช่น sprain, strain, หรือ injury ส่วนใหญ่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเองตามลำดับจนหาย หรือถ้าไม่หายการรักษาเฉพาะที่ที่ตำแหน่งของ TrP (TrP eradication) ด้วยวิธีต่างๆ มักจะได้ผลดีต่างกับกรณีของ 2. Chronic MPS ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มีปัจจัยเกื้อหนุนให้เรื้อรัง (perpetuating factors: PF) ปัจจัยต่างๆ ในที่นี้หมายถึงภาวะไม่ใช่โรค ในกรณีนี้เรียกว่า secondary MPS PF แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่(9) ที่แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปควรทราบคือ 1. Physical PF ที่พบบ่อย ได้แก่ poor physical conditions, poor posture, repetitive microtrauma ที่คาบเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อมัดหรือกลุ่มนั้นอย่างซ้ำๆ จนเกิดภาวะ overload บ่อยครั้งคือ กิจวัตรหรืองานที่ทำประจำซึ่งผู้ป่วยและแพทย์มักจะนึกไม่ถึง หลายรายจึงให้ประวัติว่าอาการเกิดขึ้นเอง โดยไม่ได้ไปทำอะไรผิดปกติ ด้วยเหตุนี้การกลับมาของ TrP หลังจากการทำ TrP eradication จึงเป็นเรื่องที่ ไม่ได้เกินความคาดหมาย 2. Psychological PF ที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะวิตกกังวล/เครียด (anxiety/stress), ท้อแท้/ซึมเศร้า (despair/depress) 3. Systemic PF ที่พบบ่อยได้แก่ • ภาวะ low normal vitamin B 1, 6, 12, folic acid และ vitamin C อาการที่พบบ่อยคือ เพลีย ชาปลายมือปลายเท้าเป็นครั้งคราว • ภาวะ borderline hypothyroid อาการที่พบบ่อยคือ อ่อนล้า เฉื่อยชา หนาวง่าย ท้องผูก
  • 13. Chronic MPS อาจเกิดร่วมกับโรคอื่น (co-morbid) ที่พบบ่อย ได้แก่ osteoarthritis และ fibromyalgia การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ(9) เพื่อวินิจฉัย MPS การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการไม่มีความจำเป็นเพราะที่ตำแหน่ง TrP จะไม่ พบความผิดปกติที่ชัดเจนใดๆ จากการตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่ทราบได้จากการซักประวัติ และตรวจร่างกาย การตรวจค้นอาจมีความจำเป็นในกรณีที่สงสัยโรคอื่นหรือโรคร่วม (co-morbid) ต่างๆ ที่การตรวจ ค้นทางห้องปฏิบัติการช่วยในการวินิจฉัย เช่น รังสีวินิจฉัยในกรณี osteoarthritis ตารางที่ 1.1 สรุปน้ำหนักคำแนะนำในการวินิจฉัย chronic MPS น้ำหนักคำแนะนำ ประวัติ • อาการปวดและ/หรืออาการประสาทอิสระบริเวณใดบริเวณหนึ่งนานกว่า 3 เดือน ++ • ประวัติอาการปวดของโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่ให้อาการปวดบริเวณเดียวกันนี้ได้ ++ การตรวจร่างกาย • ตรวจร่างกายที่กล้ามเนื้อโดยการคลำหรือกดด้วยนิ้วมือต้องพบ TrP ที่สามารถแสดง ++ อาการต่างๆ ที่ผู้ป่วยให้ประวัติได้ชัดเจน การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ • ทำเมื่อมีข้อบ่งชี้เพื่อแยกโรคหรือยืนยัน co-morbid + 1.5 การประเมินปัญหา การประเมินที่เหมาะสมทำให้ทราบถึงภาพรวมขนาดของปัญหา แนวทางการรักษา ตลอดจน แนวโน้มของการพยากรณ์โรค การประเมินปัญหา MPS จึงเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก โดยพื้นฐาน ควรประกอบด้วย 3 สิ่งคือ 1. อาการปวด (pain severity) โดยประเมินเชิงปริมาณ (quantitative) มาตรวัดที่แนะนำคือ numerical rating (NRS) โดยใช้ 11 - point Likert scale (0 = ไม่ปวดเลย, 10 = ปวดมากที่สุด) ไม่ปวดเลย ปวดเล็กน้อย ปวดปานกลาง ปวดมาก 0 1 - 3 4 - 6 7 - 10 2. PF ประเมินจากประวัตอาการและการตรวจร่างกายทัง physical, psychological, และ systemic PF ิ ้ 3. ในกรณีเรื้อรังควรมองหา co-morbid ที่อาจเกิดร่วมโดยเฉพาะที่มีอาการใกล้เคียงกับ MPS เช่น inflammatory joint disease (เช่น osteoarthritis), radiculopathy, fibromyalgia
  • 14. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1.6 การวินิจฉัยแยกโรค(10, 11) MPS เป็นกลุ่มอาการที่นอกจากเลียบแบบโรคอื่นได้และยังอาจเกิดร่วมกับโรคอื่นๆ ได้ หลักการที่ นำมาพิจารณาวินิจฉัยแยกโรคจึงต้องคำนึงถึงสี่ประเด็นหลักที่สำคัญเสมอ คือ 1. MPS เป็นกลุ่มอาการปวดที่สามารถเกิดได้ทุกบริเวณของร่างกาย การวินิจฉัยแยกโรคจึงต้อง แยกจากโรคต่างๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอาการปวดในบริเวณนั้นๆ เช่น TrP ที่กล้ามเนื้อบ่า คอ และศีรษะ ก่อให้เกิดอาการปวดหัวจึงต้องวินิจฉัยแยกโรคกับ tension headache หรือ migraine ส่วน TrP ที่กล้ามเนื้อ หน้าอกด้านซ้ายทำให้เจ็บหน้าอกจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวินิจฉัยแยกโรคกับภาวะ angina pectoris 2. บริเวณที่มีอาการปวดอาจแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับ TrP ของกล้ามเนื้อแต่ละมัด ถ้าเป็นบริเวณ แคบและใกล้ ตำแหน่งของข้อต่อต้องแยกโรคกับภาวะ osteoarthritis, bursitis หรือ tendinitis ถ้ามีอาการ เป็นบริเวณกว้าง ต้องแยกกับภาวะ neuralgia หรือ peripheral neuropathy 3. ในกรณีที่ TrP กระจายหลายบริเวณต้องแยกกับ widespread pain เช่น fibromyalgia 4. Chronic MPS อาจเกิดร่วมกับ co-morbid ที่มีอาการคล้ายคลึงกันได้บ่อย เช่น osteoarthritis ตารางที่ 1.2 สรุปน้ำหนักคำแนะนำในการประเมินปัญหา chronic MPS น้ำหนักคำแนะนำ Pain Severity ปวดมาก ปวดปานกลาง ปวดเล็กน้อย ไม่ปวดเลย + Perpetuating Factor • Physical (poor physical conditions, poor posture) ++ • Psychological (stress, depressed, coper) ++ • Systemic (เพลีย เย็นๆ ชาๆ ปลายมือปลายเท้า เฉื่อยชา หนาวง่าย ท้องผูก) ++ Co-morbid + 1.7 การรักษา ในการรักษาผู้ป่วย chronic MPS ควรใช้แนวทางตามแผนภูมิที่ 1 (หน้า 9) ร่วมกับข้อมูลจาก ตารางที่ 1.2 - 1.5 ประกอบ Chronic MPS เป็นภาวะที่มีการรักษาหลากหลายรูปแบบที่สุดภาวะหนึ่งจากการขาดความเข้าใจ ในลักษณะของโรคและความสับสนในการวินิจฉัยแยกโรค เพื่อความชัดเจนจึงมีความจำเป็นเบื้องต้นที่จะ ต้องจำแนกให้ได้ว่าเป็น primary MPS, secondary MPS (TrP เกิดขึ้นจากการชักนำของ PF) หรือ chronic MPS ที่มี co-morbid (อาจมีมากกว่าหนึ่ง primary diseases) เพื่อเป็นแนวทางในการเลือกกรรมวิธีรักษาที่ เหมาะสมกล่าวคือ 1.7.1 การรักษา primary MPS หมายถึง MPS ที่เป็นสาเหตุอาการปวดของผู้ป่วยโดยไม่มี PF ซึ่งพบได้น้อย ส่วนใหญ่สาเหตุที่ ทำให้เกิดอาการเรื้อรังมาจากการมองข้ามในการวินิจฉัย ถ้าวินิจฉัยถูกต้อง การรักษาที่ TrP หรือ TrP
  • 15. eradication ทุกวิธี ได้ผลดีและไม่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในด้าน evidence-based ของแต่ละวิธี(4) การรักษาที่เหมาะสมควรจะพิจารณากรรมวิธีที่ผู้ป่วยพึงพอใจและไม่มีข้อห้ามเป็นอันดับแรกๆ ส่วนการ รักษาระยะยาวเพือป้องกันการเกิดซ้ำจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสามารถนำไปปฏิบตได้เอง เข้าถึงได้งาย ่ ั ิ ่ สอดคล้องกับวิถีชีวิตและคุ้มค่า เทคนิคการทำ TrP eradication ที่ได้รับความนิยมได้แก่ (ตารางที่ 1.3 ประกอบ) • การยืดกล้ามเนื้อที่มี TrP (stretching) ยืดกล้ามเนื้อช้าๆ จนถึงจุดที่ตึงหรือเริ่มมีอาการปวดเล็กน้อย และค้างไว้ระยะเวลาหนึ่ง (prolong stretching) ข้อดีคือปลอดภัย สะดวก และสามารถทำได้เอง ถือเป็นมาตรฐานการรักษาพื้นฐานที่จะต้อง ทำในทุกราย(4) โดยทั่วไปควรยืดกล้ามเนื้อค้างไว้นาน 20 - 30 วินาที ขณะยืดควรอยู่ในภาวะผ่อนคลาย และจัดท่าทางให้มั่นคง ทำชุดละ 5 - 10 ครั้ง และแนะนำให้ทำอย่างน้อยวันละ 2 ชุด (เป็นเวลา 2 สัปดาห์ นับเป็น 1 course) • การนวด (massage)(4) นิยมนวดแบบกดจุด (acupressure) ส่วนการนวดแผนไทยจะครอบคลุมพื้นที่ได้เป็นอย่างดี ผลพลอยได้ ที่เป็นจุดเด่นคือ deep relaxation นวดไทยมีสองแบบคือ นวดไทยอายุรเวทซึ่งเน้นการกดจุด อย่างเดียว และนวดไทยแผนวัดโพธิ์ที่มีการยืดดัดร่วมด้วย ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา TrP ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องระวังหรือหลีกเลี่ยงในรายที่มีภาวะ mechanical instability การนวดควรทำติดต่อกัน 6 - 12 ครั้ง (ถือเป็น 1 course) • การทำกายภาพบำบัด (physical therapy)(10) เป็นการรักษาที่มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ช่วยรักษา TrP เช่น การประคบร้อน การนวด การยืด กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่จะทำมากกว่าหนึ่งอย่าง (การทำกายภาพบำบัด 2 สัปดาห์ถือเป็น 1 course) • การฝังเข็ม (acupuncture)(12) ปลายเข็มจะทำให้ TrP คลายตัวด้วยกลไก mechanical disruption และพบว่าจุดฝังเข็มมีความ สัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำแหน่งของ TrP ที่พบบ่อยถึง 71% (ฝังเข็ม 10 ครั้ง คือ 1 course) • การแทงเข็มที่ TrP (dry needling)(4) เป็นอีกทางเลือกที่ใช้แทนการฝังเข็มได้ • การฉีดยาที่ TrP (trigger point injection)(4, 10) เชื่อว่าผลของการรักษา TrP ที่สำคัญมาจากการแทงเข็ม โดยที่สารหรือยาที่ใช้เป็นเพียงตัวเสริม สารที่นิยมใช้คือ ยาชาเฉพาะที่ ควรเลือกใช้ชนิดที่มีผล myotoxic น้อยและความเข้มข้นอยู่ในระดับที่ ระงับการทำงานของ sensory fiber โดยไม่ยับยั้งการทำงานของ motor fiber เช่น 0.5% bupivacaine หรือ 1% lidocaine ยาชาที่ใช้ต้องไม่มีส่วนผสมของ adrenaline ที่จะทำให้มีการหดตัวของเส้นเลือดบริเวณ TrP ปริมาณยาที่ใช้เฉลี่ย 0.5 - 2 มล. ต่อจุด ขึ้นอยู่กับขนาดของกล้ามเนื้อ แต่ต้องคำนึงถึงปริมาณสูงสุด ในแต่ละครั้งที่ทำการรักษาหลายจุดเพื่อความปลอดภัย
  • 16. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ • Botulinum Toxin injection(4) มีข้อบ่งชี้ในกรณีของ refractory TrP หรือ TrP ที่ตอบสนองต่อการทำ TrP eradication แต่ผลที่ได้ อยู่เพียงเวลาอันสั้น ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงเพราะยาราคาแพงจึงสมควรอยู่ในดุลยพินิจของผู้เชี่ยวชาญ • ยา (drugs)(10) จนถึงปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่ายาตัวใดสามารถทำให้ TrP คลายตัวจนหายไปได้ แต่ยาก็มี ความจำเป็นในกรณีต่างๆ ดังนี้ 1. ลดอาการปวดซึ่งเป็นการรักษาตามอาการ ในกรณีที่ปวดน้อยถึงปานกลางนิยมใช้ยาแก้ปวดธรรมดา เช่น acetaminophen ส่วนใหญ่ใช้ใน ช่วงแรกของการทำ TrP eradication ซึ่งบางวิธีอาจมีอาการปวดหลังทำการรักษาได้ เช่น trigger point injection การฝังเข็ม และควรหลีกเลี่ยง aspirin เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะ bleeding ของการทำ TrP eradication หลายวิธี ในกรณีที่ปวดปานกลางถึงรุนแรงอาจพิจารณาให้ยากลุ่ม tramadol และควรหลีกเลี่ยงการใช้ ติดต่อเป็นเวลานาน ยาคลายกล้ามเนื้อ (muscle relaxants) ที่พบว่าแพทย์นิยมสั่งให้ผู้ป่วยยังไม่มีหลักฐานสนับสนุน ว่าสามารถทำให้ TrP สลายหรือคลายตัวได้ อีกทั้งอาจทำให้ภาวะ overload ที่ TrP มากขึ้นจากการที่ยา ไปมีผลที่กล้ามเนื้อปกติ (normal muscle) รอบๆ ให้คลายตัว ผู้ป่วยบางรายจะรู้สึกถึงอาการที่มากขึ้นได้ สำหรับรายที่ใช้แล้วอาการดีขึ้นมักจะเป็นในกรณีของ TrP ที่กล้ามเนื้อรอบๆ หรือใกล้เคียงมีการเกร็ง (muscle spasm) หรือความตึงตัว (muscle tension) ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่พบได้ไม่น้อย ยาจะมีผล ในการคลายและลดอาการของกล้ามเนื้อรอบๆ TrP แต่จะไม่สามารถทำให้ TrP คลายหรือหายไปได้ NSAIDs ก็เป็นอีกกลุ่มของยาที่ถูกใช้บ่อยในกรณี MPS แต่ผลที่ได้มักจะน้อยกว่าที่คาดหวัง เนื่องมาจากที่ตำแหน่งของ TrP นั้นไม่พบ inflammatory-mediated cells ที่ชัดเจน แต่ยากลุ่มนี้อาจ มีประโยชน์ในกรณีที่มี inflammatory joint diseases เป็น co-morbid Steroids เป็นอีกกลุ่มยาที่นิยมนำมาใช้ในการฉีดที่ตำแหน่ง TrP โดยเชื่อว่าได้ผลดีกว่าการใช้ ยาชาเฉพาะที่ในการลดอาการปวดและแก้ไขภาวะ fibrosis ที่ตำแหน่ง TrP แต่ไม่มีหลักฐานสนับสนุน จึงไม่แนะนำเนื่องจากผลที่ได้ไม่คุ้มค่าต่อการเสี่ยงกับ local และ systemic side effects ของ steroid 2. ใช้รักษา PF บางอย่างเช่น vitamin, antidepressants และอาจใช้ anxiolytics เช่น clonazepam ในระยะสั้นตามความจำเป็น 3. ใช้รักษา co-morbid ตัวอย่างที่พบบ่อยคือ osteoarthritis และ neuropathic pain การรักษาแต่ละวิธจะมีจดเด่นและจุดด้อยรวมทังข้อควรระวังและข้อห้ามทีอาจมีความแตกต่างกัน ี ุ ้ ่ การรักษาในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการมากและซับซ้อนอาจจำเป็นต้องมีการผสมผสาน (mix and match) ของการรักษามากกว่าหนึ่งอย่างเพื่อความเหมาะสม
  • 17. ถ้าผลการรักษาด้วย TrP eradication 2 - 3 ชุด (courses) แล้วไม่ได้ผลดี มักจะเป็น secondary MPS ที่มีภาวะหรือปัจจัยชักนำ (PF) ซ่อนเร้นอยู่ ควรทำการค้นหาและถ้าพบก็ให้รักษาแบบ secondary MPS หรือถ้ามี co-morbid เป็นตัวกระตุ้น ต้องรักษา co-morbid ร่วมกัน 1.7.2 การรักษา secondary MPS Secondary MPS หมายถึง MPS อันเนื่องมาจากการชักนำของ PF การรักษาที่ TrP หรือ TrP eradication เป็นเพียงการรักษาตามอาการและมักจะได้ผลชั่วคราวเป็นเหมือนเกมรับ การรักษาเพื่อหวังผล ระยะยาวที่เป็นเหมือนเกมรุกจะต้องมุ่งประเด็นที่การค้นหาและทำการแก้ไข PF ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม และอาจพบได้มากกว่าหนึ่งอย่างในผู้ป่วยบางราย การแก้ไข PF 1. Physical PF(4) ปัจจัยทางร่างกายของผู้ป่วยที่ทำให้ TrP อยู่ในสภาพที่ overload จนเกิดอาการ ได้บ่อย มักจะมีความคล้ายหรือใกล้เคียงกันในเกือบทุกรายคือ • ท่าทางที่ไม่อยู่ในสมดุล (poor posture) แก้ไขโดยจัดสมดุลให้ร่างกายอยู่ในลักษณะที่ เสียเปรียบเชิงกลน้อยสุดโดยใบหู หัวไหล่ ปมกระดูก Trochanter อยู่ในแนวเส้นดิ่งเดียวกันในท่านั่ง และ อยู่ในแนวเส้นเดียวกับจุดกลางด้านข้างข้อเข่าในท่ายืน (good posture) ในทางปฏิบัติมีได้หลายวิธีเช่น การปรับท่าทาง การดัดแปลง อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีผลต่อท่าทางให้เหมาะสม ปรับสมดุลร่างกายด้วยโยคะ ส่วนที่เหมาะสมและนิยมในรายสูงอายุ อาจเป็นรำไม้พลองหรือรำมวยจีน การแก้ไขท่าทางนอกจากมีผล ในการรักษายังเป็นการเสริมบุคลิกภาพไปในตัว • สมรรถภาพร่างกายไม่สมบูรณ์เพียงพอ (poor physical conditions) แก้ไขโดยการออก กำลังสม่ำเสมอ นอกจากเป็นการรักษาแล้วยังเสริมภาพลักษณ์ได้อย่างดี ข้อควรระวังคือ อาการปวดอาจ กำเริบขึ้นซึ่งมักเกิดจากออกกำลังมากเกินความสามารถของร่างกาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องออกกำลังอย่าง ค่อยเป็นค่อยไปและคำนึงถึงสมรรถภาพของตนเองให้ดี ภาพที่ 1.1 : ท่านั่งที่ได้สมดุลร่างกาย จากการ ภาพที่ 1.2 : ท่ายืนที่เหมาะสม (รูปขวามือสุด) จากการฝึกตนเอง ปรับอุปกรณ์
  • 18. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 2. Psychological PF ที่สำคัญคือความวิตกกังวลจนอาจถึงท้อแท้ซึมเศร้าจากความเรื้อรังของ อาการที่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน(13) บ่อยครั้งที่หลายรายถูกเข้าใจว่าแกล้งหรือไม่ได้ปวดจริง อีกทั้ง ถูกคิดว่าอาการทางจิตใจเป็นสาเหตุหลักเนื่องจากอาการมักจะกำเริบหรือรุนแรง ช่วงที่งานมากงานเร่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ปัจจัยกระตุ้นทางกายมาคู่กัน การวินิจฉัยที่เหมาะสมก็เพียงพอให้ผู้ป่วยสบายใจขึ้นมาก การอธิบายให้ข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ให้ความเข้าใจตลอดจนแนะนำแนวทางรักษา ให้กำลังใจและ ให้ ความมั่นใจมีประโยชน์อย่ างมาก สำหรับ รายที่มีอาการรุนแรงอาจพิจารณาให้ anxiolytic หรือ antidepressant(14) ในช่วงเริ่มการรักษาหรือช่วงที่มีปัจจัยเหล่านี้เข้ามาเกื้อหนุนอาการเป็นครั้งคราว 3. Systemic PF(10) เป็นเรื่องที่ต้องนึกถึง โดยสอบถามหรือสังเกตจากอาการที่ผู้ป่วยบอกเล่า ที่พบบ่อยคือ • อาการอ่อนเพลียชาปลายมือปลายเท้าเป็นครั้งคราวให้นึกถึงภาวะ low normal level water soluble vitamins ให้ทำการเสริม vitamin B1, 6, 12 และ folic acid ตลอดจน vitamin C ขนาดที่แนะนำคือ ขนาดน้อย เช่น B1 10 mg, B6 10 mg, B12 500 µg, folic acid 1 mg, และ C 500 mg ซึ่งทั้งหมดสามารถ พบได้ในวิตามินรวมบางขนาน การให้เกินขนาดดังกล่าวที่ไม่มากจนเกินไปจะไม่ก่อปัญหาเนื่องจากเป็น water soluble vitamins ปริมาณที่เกินความต้องการร่างกายสามารถขับออกได้ หลังการเสริมอาการมักจะ ดีขึ้นภายใน 1 - 2 เดือน • สำหรับรายทีมอาการอ่อนล้า เฉือยชา หนาวง่าย ท้องผูก ให้นกถึงภาวะ borderline hypothyroid ่ ี ่ ึ ควรทำการยืนยันโดยส่งตรวจระดับฮอร์โมนก่อนถ้าจะมีการเสริม และควรให้ในปริมาณเล็กน้อย
  • 19. Dx. Chronic MPS เริ่มต้น Hx: Regional pain and/or ANS 3 months ▲ PE: TrP identification ▲ ไม่มี PF ประเมินปัญหา มี comorbid Chronic MPS MPS + Co-morbid ▲ ▲ (ตารางที่ 1.2) ▲ Primary MPS Co-treatment ▲ มี PF Secondary ▲ MPS ▲ ▲ TrP Eradication แก้ไข PF (ตารางที่ 1.3, 1.4) ▲ (ตารางที่ 1.5) ▲ • Stretching • Massage แก้ไข PF ไม่ได้ แก้ไข PF ได้ ▲ • Dry needling • Acupuncture • TrP injection ▲ ▲ • Physical therapy ดีขึ้นบางส่วน หรือไม่ดีขึ้น อาการดี ขึ้นมาก • Drugs (ไม่ประเมินผลก่อน 3 เดือน) (ไม่ประเมินผลก่อน 3 เดือน) ▲ ▲ จบสิ้นการรักษา ประเมินผล อาการดีขึ้นมาก หลังจากให้การรักษา ▲ ไปแล้ว 2 - 3 courses จบสิ้นการรักษา หรือทำ TrP อาการไม่ดีขึ้น eradication ▲ หรือแย่ลง เป็นครั้งคราว ประเมินหา PF อีกครั้งเพราะอาจเป็น พบ PF secondary MPS ไม่พบ PF ▲ ส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ▲ ▲ แผนภูมิที่ 1 : ขั้นตอนวิธีการวินิจฉัย การรักษา การประเมินผล และการติดตามผู้ป่วย MPS
  • 20. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1.7.3 การรักษา MPS ที่มี co-morbid ถ้าเป็นกรณี MPS ที่มี co-morbid จะต้องทำการรักษาร่วมกัน สำหรับวิธีรักษา TrP ที่เลือกใช้ควรมี ผลดีต่อ co-morbidities และหลีกเลี่ยงวิธีที่มีผลเสียต่อ co-morbidities Co-morbid ที่พบบ่อย(4) ได้แก่ • Joint disorders: osteoarthritis • Localized soft tissue disorders: bursitis, tendinitis, epicondylitis • Neurologic disorders: radiculopathy, entrapment neuropathy • Inflammatory disorders: polymyositis, rheumatoid arthritis • Discogenic disorders • Visceral referred pain: gastrointestinal, cardiac, pulmonary, renal • Fibromyalgia 1.7.4 ข้อควรคำนึงในการรักษา chronic MPS ในภาคทฤษฎีหัวใจของการรักษา chronic MPS คือการค้นหาและทำการแก้ไข PF ซึ่งเป็นการ รักษาที่ได้ผลระยะยาว แต่ทางภาคปฏิบัติอาจจำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรักษาแบบคู่ขนาน กล่าวคือ ร่วมกับการทำ TrP eradication ที่ในกรณีนี้มักจะได้ผลชั่วคราว แต่ก็มีความจำเป็นในบางรายเพื่อ เป็นการลดอาการต่างๆ ก่อนที่การแก้ไข PF จะเห็นผล ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ หรือถ้าแก้ไข PF ไม่สำเร็จ การทำ TrP eradication เป็นครั้งคราวอย่างต่อเนื่องก็ต้องนำมาพิจารณาโดยดูผลรวมจากการ เข้าถึงการรักษา ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และความคุ้มค่า ตารางที่ 1.3 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษา MPS ที่ Trigger Point (TrP eradication) ด้วยกรรมวิธี ต่างๆ วิธีการ จุดเด่น ข้อควรระวัง คุณภาพของ น้ำหนัก หลักฐาน คำแนะนำ TrP eradication (modern way) Stretching มีความสะดวกสามารถปฏิบัติเอง ยืดช้าๆ จนถึงจุดที่ตึงหรือ B ++ ได้ เป็นการรักษาพื้นฐานที่ต้องทำ เจ็บเล็กน้อยค้างไว้ 20 - 30 วินาที ในทุกราย Massage ผ่อนคลายลดเครียด เหมือนข้อควรระวังการนวดทั่วไป C + TrP Injection with เห็นผลเร็ว แพ้ยาชาเฉพาะที่ C + local anesthetic ผลที่ได้ยืนยันสาเหตุของอาการว่า บางตำแหน่งที่ทำการฉีดอาจเกิด agent มาจากตำแหน่งที่ฉีดยา ผลแทรกซ้อนจากการแทงเข็ม (therapeutic block effect) Dry Needling กรรมวิธีเรียบง่าย บางตำแหน่งที่อาจเกิดผล C + แทรกซ้อนจากการแทงเข็ม Physical Therapy เข้าถึงง่าย ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์หรือวิธีการที่ใช้ C + 10
  • 21. ตารางที่ 1.3 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษา MPS ที่ Trigger Point (TrP eradication) ด้วยกรรมวิธี ต่างๆ (ต่อ) วิธีการ จุดเด่น ข้อควรระวัง คุณภาพของ น้ำหนัก หลักฐาน คำแนะนำ TrP eradication (alternative way) Thai Traditional ครอบคลุมพื้นที่กว้าง เช่นเดียวกับการนวดทั่วไป C + Massage ผ่อนคลายลดเครียด เข้าถึงง่ายสำหรับประเทศไทย Acupuncture โอกาสที่จะรักษาถูกจุดมีถึง 71% บางตำแหน่งที่อาจเกิดผล C + แทรกซ้อน จากการแทงเข็ม Yoga, QiGong, นำมาปฏิบัติเองได้ เช่นเดียวกับข้อห้ามในการ C + TeiChi ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ออกกำลังทั่วไป เพิ่มความแข็งแรง ในกรณีโยคะควรหลีกเลี่ยงถ้ามี ลดความเครียด ปัญหาของ unstable joint ตารางที่ 1.4 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษาอาการปวดของ MPS ด้วยยา ชนิด/กลุ่มยา ขนาดยา ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง คุณภาพของ น้ำหนัก หลักฐาน คำแนะนำ Acetaminophen ไม่เกิน 4,000 มก./วัน ผู้ป่วยที่มีโรคตับ D +/- ใช้ลด การใช้ร่วมกับยาสูตรผสมแก้ปวด หรือยาชนิด อาการปวด อื่นที่มี paracetamol เป็นส่วนผสม ที่ไม่รุนแรง Muscle relaxants ไม่เกินขนาดยาสูงสุด ง่วงนอน D +,- ที่แนะนำของยา ระวังอาการข้างเคียง anticholinergic เช่น (+ ถ้ามี muscle แต่ละตัว ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ท้องผูก spasm หรือ ปัสสาวะลำบาก ง่วงซึม หัวใจเต้นเร็ว muscle tension ระวังการใช้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสมองเสื่อม ร่วมด้วย) ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่ต้องระวังอาการ ข้างเคียง NSAIDs ไม่เกินขนาดยาสูงสุด GI ulcer บวมน้ำ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น D +,- ที่แนะนำของยา ระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต หรือใช้ยา (++ ถ้ามี แต่ละตัว ต้านการแข็งตัวของเลือด inflammatory joint disease เป็น co-morbid) Tramadol 50 - 400 มก./วัน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก วิงเวียน ใจสั่น D +/- ง่วงซึม ทำให้ชักได้ง่ายขึ้น (+ใช้ลดอาการ ลดขนาดยาในผู้ป่วยโรคไต ช่วงที่ปวด ไม่ควรใช้เป็นระยะเวลานาน รุนแรง) Antidepressants ดูในบทที่ 2 ตารางที่ น้ำหนักตัวเพิ่ม อาการข้างเคียง D +/- เช่น TCAs, SSRIs, 2.5 anticholinergic เช่น ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า (++ ถ้ามี SNRIs ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก ง่วงซึม หัวใจเต้นเร็ว depress ระวังการใช้ในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสมองเสื่อม เป็น PF) ผู้ป่วยโรคหัวใจ และผู้ป่วยที่ต้องระวังอาการ ข้างเคียง anticholinergic 11
  • 22. แนวทางเวชปฏิบัติ กลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ตารางที่ 1.4 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษาอาการปวดของ MPS ด้วยยา (ต่อ) ชนิด/กลุ่มยา ขนาดยา ผลข้างเคียงและข้อควรระวัง คุณภาพของ น้ำหนัก หลักฐาน คำแนะนำ Anxiolytic drugs ง่วงนอน ควรให้ขนาดต่ำ ระวังการติดยา D - เช่น clonazepam และ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (++ ถ้ามี stress เป็น PF) Anticonvulsants ง่วงนอน และบวมน้ำ (เมื่อใช้ในขนาดสูง) D - เช่น gabapentin, ต้องลดขนาดยาในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไต pregabalin บกพร่อง เพราะยาขับออกทางไตในรูปเดิม Steroids - D - ตารางที่ 1.5 สรุปน้ำหนักคำแนะนำของการรักษาหรือแก้ไข PF PF อาการที่เป็นข้อสังเกต การแก้ไข คุณภาพของ น้ำหนัก หลักฐาน คำแนะนำ Mechanical PF Poor posture ตำแหน่งที่พบบ่อยคือปวดบริเวณ ปรับสมดุลท่าทาง C ++ (ถ้ามี) คอ ศีรษะ และ/หรือหลัง (postural muscle) Poor physical สมรรถภาพร่างกายไม่สมบูรณ์ ออกกำลังสม่ำเสมอแบบ Aerobic C ++ (ถ้ามี) condition เพียงพอ อ่อนเพลีย เมื่อยล้าง่าย exercise Psychological PF Stress วิตก กังวล นอนไม่หลับ Psychological support D ++ (ถ้ามี) ส่งเสริมกิจกรรมที่มีผลลด ความเครียด เช่น ฝึกสมาธิ, Traditional Massage, Yoga Anxiolytic drug ขนาดต่ำจะช่วยลด อาการวิตก กังวล นอนไม่หลับ Depression เบื่อ ท้อแท้ ซึม เศร้า หดหู่ Psychological Support D ++ (ถ้ามี) นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก Antidepressant ในขนาดต่ำ Systemic PF Nutritional (low อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เสริมวิตามิน B1, 6, 12, D ++ (ถ้ามี) normal level water ชาๆ ตามมือเท้า folic acid, C soluble vitamin) Hormonal เชื่องช้า อ่อนเพลีย หนาวง่าย เสริม thyroid hormone หลังจาก D ++ (ถ้ามี) (borderline ท้องผูก ตรวจระดับ thyroid hormone hypothyroid) 12
  • 23. 1.8 เกณฑ์การส่งต่อ ด้วยศักยภาพของโรงพยาบาลชุมชนแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปสามารถรักษา chronic MPS ได้ ถ้ามี การรักษาแบบคู่ขนานคือการแก้ไข PF และทำ TrP eradication เป็นครั้งคราว มีส่วนน้อยที่ต้องพิจารณา ส่งต่อเมื่อ 1. แพทย์ไม่สามารถบอกสาเหตุของอาการปวดหรือให้การวินิจฉัยได้ 2. เมื่อแพทย์ปฏิบัติตามแนวทางที่แนะนำแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน แล้วพบว่า 2.1 ผู้ป่วยยังมีอาการปวดอย่างรุนแรงจนมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และการดำเนินกิจวัตร ประจำวัน 2.2 ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะปวดเรื้อรังได้ 2.3 มีปญหาทางจิตเวช มีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล มีบคลิกภาพเปลียนไป เฉือยชา ตกใจง่าย ั ุ ่ ่ 2.4 มีประวัติการรักษาอาการปวดที่แผนกฉุกเฉิน หรือแผนกผู้ป่วยในบ่อยครั้ง 2.5 มีพฤติกรรมการใช้ยาแก้ปวดมากกว่าปกติ หรือมีประวัติติดสารเสพติด ดื่มสุราเรื้อรัง สูบบุหรี่จัด 2.6 ผู้ป่วยเปลี่ยนสถานพยาบาลหรือแพทย์ผู้ให้การรักษาบ่อย 2.7 ผู้ป่วยไม่ร่วมมือหรือไม่มีแรงจูงใจในการรักษา 13