SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 90
Descargar para leer sin conexión
ชื่อหนังสือ :	 คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
รวบรวมโดย :	 นายแพทย์ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม
	 นางดลินพร สนธิรักษ์
	 นางจันทนงค์ อินทร์สุข
จัดทำ�โดย :	 ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
	 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พิมพ์ครั้งที่ 1 : 	 กันยายน 2554
จำ�นวนที่พิมพ์ :	 500 เล่ม
พิมพ์ที่ :	 บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ห้ามลอกเลียนแบบส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ก
คำ�นำ�
	 คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน สำ�หรับอาสาสมัคร
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจาก
พระราชดำ�ริ นำ�ร่องการพัฒนาระบบเครือข่ายรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
ในชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฉบับนี้ เป็นเนื้อหาวิชาที่เกิดขึ้นจาก
ประสบการณ์จริง จากการอบรมอาสาสมัครในโครงการฯ การถ่ายทอดองค์ความ
รู้และการรวบรวมเนื้อหาความรู้ที่วิทยากรได้ถ่ายทอดให้กับอาสาสมัครในการ
ฝึกอบรมการอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่
โครงการวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริจังหวัดชลบุรี
	 การจัดทำ�คู่มือเล่มนี้ ประสบความสำ�เร็จได้จากความร่วมมือของหลายๆ
ฝ่าย เริ่มต้นจากวิทยากรถ่ายทอดความรู้ของศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร
เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี และเครือข่าย
การดูแลผู้สูงอายุ สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลวัดญาณสังวรราม โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำ�บลห้วยใหญ่ชลบุรี จนได้เนื้อหาสมบูรณ์
ครบถ้วนเป็นประโยชน์ ในการนำ�คู่มือเล่มนี้ไปปฏิบัติและใช้ให้เป็นประโยชน์แก่
ผู้สูงอายุและคนในชุมชนต่อไป
	 ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
	 กรมการแพทย์ จังหวัดชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
ขอขอบคุณท่านวิทยากรศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
กรมการแพทย์ จังหวัดชลบุรี
นายแพทย์ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม นายแพทย์ชำ�นาญการพิเศษ
แพทย์หญิงรักษินา มีเสถียร แพทย์ปฏิบัติการ
นางดลินพร สนธิรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
นางจันทนงค์ อินทร์สุข พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
นางสาวกัลยาพร นันทชัย นักจิตวิทยาคลินิกชำ�นาญการ
นางอมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
นายสุพิชชพงศ์ ธนาเกีรติภิญโญ นักกายภาพบำ�บัดชำ�นาญการ
นางสาวศศิภา จินาจิ้น นักกายภาพบำ�บัดชำ�นาญการ
นางสาววาสนา มากผาสุข พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
นางกัลยา ปรีดีคณิต พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
นางสุวลี บุญชักนำ� พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านข
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ค
สารบัญ
หน้า
อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน	 1
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม	 3
จิตวิทยาการสื่อสารในผู้สูงอายุ	 6
การประเมินญาณชีพผู้สูงอายุ	 8
การดูแลอวัยวะสืบพันธ์ผู้สูงอายุ	 18
การดูแลในผู้สูงอายุเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง	 24
การป้องกันแผลกดทับ	 30
การออกกำ�ลังกายในผู้สูงอายุ	 33
การดูแลผิวหนัง การดูแลปากและฟันในผู้สูงอายุ	 42
การประคบเย็น/การประคบร้อน	 55
การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ	 59
การให้อาหารทางสายยาง	 61
อาหารเพื่อสุขภาพสำ�หรับผู้สูงอายุ	 65
การป้อนอาหาร การป้องกันการสำ�ลัก	 73
การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน	 75
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 1
อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ควรมีลักษณะดังนี้
	 1.	 เป็นคนในชุมชน พร้อมเสียสละ
	 2.	 มีบุคลิกภาพที่เอื้ออาทร
	 3.	 มีคุณธรรม และมีจิตใจโอบอ้อมอารี
	 4.	 มีประสบการณ์ในการทำ�งานกับผู้สูงอายุ
	 5.	 สามารถปรับตัวได้ดี
	 6.	 มีทักษะความรู้ในการดูแลผูสูงอายุ
	 7.	 ป็นที่ปรึกษาและสามารถให้คำ�แนะนำ�แก่ผู้สูงอายุได้
	 8.	 มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเรียนรู้
	 9.	 ตรงต่อเวลา
	 10.	 มีการบริหารเวลาที่ดี มีเวลาว่าง
บทบาทอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ
	 1.	 บทบาทของอาสาสมัครในที่นี้ จะต้องเป็นแกนนำ�ที่สามารถออกไป
เยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้านได้สามารถให้คำ�แนะนำ�ให้ความรู้ทางด้านสุขภาพทั้งกายและ
ใจแก่ผู้สูงอายุ
	 2.	 เป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านตามความ
ต้องการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความช่วยเหลือทางด้านสังคม
และเป็นกำ�ลังใจแก่ผู้สูงอายุ
	 3.	 เป็นแกนนำ�ในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการ
สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแนะนำ�วิธีการทำ�กายภาพบำ�บัด
ให้กับสมาชิกครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน2
	 4.	 สามารถให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและเป็นตัวแทน
ในการประสานงานร่วมมือกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลชุมชน
	 5.	 เป็นผู้คอยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น
รับประทานอาหารที่มีประโยขน์ ออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม และทำ�จิตใจให้แจ่มใส
เป็นต้น
	 6.	 ช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเท่าที่มีความรู้อย่างถูกต้อง
หากไม่แน่ใจต้องปรึกษาหรือแจ้งให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 3
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม
และปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อย
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
	 วัยผู้สูงอายุพัฒนาการของชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงที่ดำ�เนินไปสู่ความ
เสื่อมของร่างกาย และจิตใจ พบว่าโครงสร้างของร่างกายจะค่อยๆ ร่วงโรย เซลล์
ต่างๆ เริ่มหย่อนสมรรถภาพ การปรับตัวในวัยนี้จะแสดงออกในด้านความล่าช้าใน
กิจกรรมทุกด้านของชีวิต เช่น ความคิดอ่าน ความจำ� การรับรู้ทางประสาทสัมผัส
และการเคลื่อนไหว สมรรถภาพในการทำ�งานของร่างกายในด้านความต้านทาน
ต่อความเจ็บป่วยก็ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
ความหมายของผู้สูงอายุและความชราภาพ
	 ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (องค์การสหประชาชาติ)
บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป (พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546)
ความหมายผู้สูงอายุภาคภาษาไทย จะใช้อายุเป็นหลักในการเรียก (60+ ปี)
คำ�ว่า คนชรา จะใช้ลักษณะทางกายภาพเป็นหลักในการเรียก ส่วนคำ�ว่า อาวุโส
จะใช้สถานภาพทางราชการ แก่กว่าเก่ากว่า เป็นหลักในการเรียก (ในทางศาสนา
ภิกษุผู้ใหญ่ เรียก ภิกษุผู้น้อยว่า อาวุโส ภิกษุผู้น้อยเรียกภิกษุผู้ใหญ่ว่า ภันเต)
องค์การอนามัยโลกได้แบ่งเกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ดังนี้
ผู้สูงอายุ (Elderly) มีอายุระหว่าง 60 - 74 ปี คนชรา (Old) มีอายุระหว่าง
75 - 90 ปี คนชรามาก(Very Old) มีอายุ 90 ปีขึ้นไป
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน4
การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลง
ของระบบต่างๆ ดังนี้
	 หัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดจำ�นวนลง มีเนื้อเยื่อพังผืดเพิ่มมากขึ้น
มีไขมันสะสมและหินปูนมาเกาะ ทำ�ให้การปิดเปิดของลิ้นหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ
ระบบภูมิคุ้มกันระบบการทำ�งานต่อสู้กับเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในร่างกายลดลง ระบบ
ประสาท นํ้าหนักของสมองลดลง เซลล์ประสาทลดจำ�นวนลง ทำ�ให้ขนาดของ
สมองเหี่ยวลง ช่องว่างระหว่างกลีบสมองถ่างกว้างออก ต่อมรับรสที่ลิ้นลด ทำ�ให้
ความสามารถในการรับรสด้อยประสิทธิภาพลง การมองเห็น มีการเปลี่ยนแปลง
ที่เปลือกตาบนจะตกลงเล็กน้อยเลนส์จะขุ่นขึ้นจากการสะสมโปรตีนที่เสื่อมสภาพ
การได้ยิน มีการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นใน ทำ�ให้สูญเสียความสามารถในการได้ยิน
เสียงความถี่สูงไป การทรงตัว เส้นประสาทที่รับผิดชอบอยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่
รับผิดชอบการได้ยิน ผู้สูงอายุมีอาการวิงเวียนศีรษะรู้สึกว่าบ้านหมุน โดยเฉพาะ
เวลาเปลี่ยนท่าทางและทิศทางของศีรษะรวดเร็ว สติปัญญา ผู้สูงอายุจะสูญเสีย
ความจำ�ระยะสั้น ขณะที่ความจำ�ระยะยาวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว
จะจำ�ได้ดีกว่า การนอน มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ ทำ�ให้
ระยะเวลาที่อยู่ในระดับหลับสนิทสั้นลงทำ�ให้ตื่นกลางดึกได้บ่อยๆ ระบบประสาท
อัตโนมัติ จะลดประสิทธิภาพลง มีผลต่ออาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเช่น
อาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่งเร็วๆ จากความดันโลหิตที่ลดลง ระบบการ
หายใจ กระดูกสันหลังที่เป็นแกนหลักของทรวงอกบางลง ระดับออกซิเจนใน
เลือดแดงจึงลดตํ่าลง ระบบทางเดินปัสสาวะ ไต นํ้าหนักไตจะลดลง สูญเสียส่วน
ที่ทำ�ให้หน้าที่กรองของเสีย ทำ�ให้การกำ�จัดยาออกจากร่างกายลดลง กระเพาะ
ปัสสาวะ จะมีความจุลดลง จำ�นวนปัสสาวะค้างเพิ่มมากขึ้นหลังการถ่ายปัสสาวะ
ทำ�ให้ต้องปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย ต่อมลูกหมากจะหนาตัว
ขึ้นจนอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะได้ ทำ�ให้ผู้สูงอายุชายปัสสาวะบ่อย และต้องเบ่ง
ปัสสาวะมากเป็นเวลานาน ทำ�ให้มีไส้เลื่อนหรือริดสีดวงทวารตามมา ระบบทาง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 5
เดินอาหาร ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปากบางลง นํ้าย่อยจากกระเพาะอาหาร
ลดลง นํ้าหนักของตับจะลดลง เซลล์ตับลดจำ�นวนลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียน
ผ่านตับจึงลดลง ผิวหนัง ความยืดหยุ่นลดลง ปริมาณไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังก็
ลดลง ทำ�ให้ผิวหนังเป็นรอยเหี่ยวย่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันในผิวหนังจะทำ�งาน
ลดลง ระบบโครงร่างกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ มีการฝ่อของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ
อ่อนกำ�ลังทำ�ให้สูญเสียความแข็งแรงว่องไว และการทรงตัว ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุ
ระหว่างการเคลื่อนไหวได้ง่าย ระบบสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศชาย การสร้าง
ฮอร์โมนเพศชายจะมีฮอร์โมนเทสโตสเตอร์โรนน้อยลงฮอร์โมนเอสเตอร์เจนมากขึ้น
จะมีเนื้อเยื่อคลอลาเจนมาแทนที่ทำ�ให้ต่อมลูกหมากขยยาโตขึ้น ความสามารถ
ในการแข็งตัวขององคชาติลดลง ทำ�ให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศลดลง
ระบบสืบพันธ์เพศหญิง อวัยวะสืบพันธ์ภายนอกเหี่ยวย่น ช่องคลอดบางลงและ
ความยืดหยุ่นลดลง นํ้าหลั่งต่างๆ จากช่องคลอดลดลง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน6
จิตวิทยาการสื่อสารในผู้สูงอายุ
	 ความหมาย: กระบวนการส่งข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความนึกคิด
หรืออารมณ์ จากคนหนึ่ง คนหนึ่ง ถ้าไม่เกิดความเข้าใจร่วมกันถือได้ว่าไม่มี
การสื่อสาร
วิธีสื่อสารกับผู้สูงอายุ
	 	เคารพ สุภาพ และเข้าใจ
	 	ฟังในสิ่งที่ผู้สูงอายุพูดและสะท้อนกลับในสิ่งที่ได้ยิน
	 	หลีกเลี่ยงการสรุปเอาเอง
	 	ลดอคติต่อการสูงอายุ
	 	นั่งตรงข้ามกับผู้ป่วยในระดับสายตา
	 	ประเมินการได้ยินของผู้สูงอายุ
	 	อย่าลืมฟันปลอมและแว่นสายตา
	 	พูดให้ชัดเจนและระดับเสียงพอสมควร
ช่องทางการสื่อสาร
	 	สื่อสารด้วยพูด
	 	สื่อสารแบบไม่ใช้คำ�พูด
	 	สื่อสารด้วยสื่อต่างๆ เช่น ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร
วิธีการสื่อสาร/สร้างกำ�ลังใจสำ�หรับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า
	 	ผู้ดูแลต้องใจเย็น
	 	เข้าใจว่าอาการที่ผู้สูงอายุเป็นคืออาการป่วย
	 	สื่อสารด้วยคำ�พูดที่อ่อนโยนและใช้นํ้าเสียงที่นุ่มนวล
	 	พยายามพูดคุยและชักชวนผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมทางสังคม
	 	ระมัดระวังสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการทำ�ร้ายตนเอง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 7
วิธีการสื่อสาร/สร้างกำ�ลังใจ กับผู้สูงอายุสมองเสื่อม
	 	ผู้ดูแลต้องใจเย็น
	 	เข้าใจว่าอาการที่ผู้สูงอายุเป็นคืออาการป่วย
	 	สื่อสารด้วยคำ�พูดที่อ่อนโยนและใช้นํ้าเสียงที่นุ่มนวล
	 	พยายามจัดกิจกรรมที่ผู้สูงอายุเคยได้
	 	ระมัดระวังสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อผู้สูงอายุ
	 	ใช้คำ�พูดที่สั้น ง่าย ไม่ซํ้าซ้อน
	 	ผู้ดูแลต้องดูแลตนเอง
	 	ผลัดเปลี่ยนกันดูแลผู้สูงอายุ(อย่าให้เป็นภาระคนใดคนหนึ่ง)
วิธีการสื่อสารสำ�หรับผู้สูงอายุสำ�หรับคนในครอบครัว
	  	บอกความต้องการอย่างตรงไปตรงมาด้วยอารมณ์แจ่มใสสุขุมเยือกเย็น
	  	ไม่จู้จี้ขี้บ่นหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวเกินไป
	  	เปิดโอกาสให้ลูกหลานแก้ปัญหาด้วยตนเอง ?
	  	เรียกร้องความช่วยเหลือด้านต่างๆ มากเกินไป ?
	  	ทวงบุญคุณ ?
	  	เปรียบเทียบกับลูกครอบครัวอื่น ? ควบคุมบังคับ ?
	  	คาดหวังมากเกินไป
	  	เมื่อทำ�ผิดผู้สูงอายุสามารถขอโทษลูกหลานหรือบุคคลในครอบครัวได้
	 	 รับฟังให้คำ�ปรึกษาและถ่ายทอดประสบการณ์
วิธีสื่อสารผู้สูงอายุ ของผู้สูงอายุด้วยกันเอง
	 	กลุ่มต่างวัยและกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน
	 	ก็มีทั้งการติดต่อสื่อสารทางเดียว คือ การติดตามข่าวสารข้อมูล
เพื่อจะได้รู้สึกว่าทันสมัย และการติดต่อสื่อสารทั้งสองทาง คือได้มีโอกาสพบปะ
พูดคุยในโอกาสต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำ�กิจกรรม
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน8
การประเมินสัญญาณชีพผู้สูงอายุ
	 การวัดสัญญาณชีพ การวัดอุณหภูมิของร่างกาย วัดทางรักแร้ ทางปาก
ผู้สูงอายุ 96.8 องศาฟาเรนไฮท์ 37.0 องศาเซลเซียส
อุปกรณ์		 ปรอทวัดไข้ ปลอกกันเปื้อน (disposable)
วิธีการปฏิบัติ 	 ในที่นี้ขอกล่าวถึงวิธีการวัดอุณหภูมิของผู้ใหญ่
	 1. 	เตรียมอุปกรณ์และตรวจความพร้อมของอุปกรณ์
	 2. 	ตรวจสอบชื่อผู้ป่วย
	 3. 	นำ�ปลอกหุ้มหุ้มปรอทให้จนถึงโคนปรอท
	 4. 	เมื่อพร้อมที่จะวัด ให้ดึงปลอกแข็งด้านนอกออก
	 5. 	นำ�ปรอทแนบไปที่รักแร้ ให้ผู้ป่วยหนีบปรอทไว้จนกว่าจะได้ยิน
สัญญาณของปรอทเตือนว่าเสร็จสิ้น
	 6. 	บวกค่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าได้ด้วยจำ�นวน 0.5 องศาเซลเซียส
	 7. 	ปิดเครื่อง และลอกปลอกหุ้มทิ้งไป
การแปลผล
	 ในผู้สูงอายุการที่มีไข้นั้นค่าอุณหภูมิที่ได้อาจตํ่ากว่า37.5องศาเซลเซียสให้
ดูอาการควบคู่ไปด้วยเช่นปวดศีรษะมีพยาธิสภาพอื่นๆร่วมด้วยไข้ตํ่าๆไม่ควรเกิน
37.5 องศาเซลเซียส/ไข้ปานกลาง 37.6-38.0 องศาเซลเซียส ไข้สูง > 38.0 ขึ้นไป
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 9
การจับชีพจร
	 อัตราการเต้นของชีพจรปกติในแต่ละช่วงอายุ
ตำ�แหน่งของหลอดเลือดแดงที่ใช้คลำ�ชีพจร
อายุ อัตราการเต้น (ครั้ง/นาที)
วัยผู้ใหญ่ 75
อุปกรณ์ 	 นาฬิกาที่มีเข็มเป็นวินาที
วิธีปฏิบัติ 	
	 1. 	ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าสุขสบาย
	 2. 	ใช้ปลายนิ้วชี้ กลาง และนาง วางตรงตำ�แหน่งของหลอดเลือดแดง
เรเดียลหรือตำ�แหน่งหลอดเลือดแดงอื่นๆ ที่จะวัด
	 3. 	กดพอประมาณเพื่อวัดความรู้สึกของการขยายหรือหดตัวของหลอด
เลือดได้
	 4. 	นับอัตราการเต้นของชีพจรใน 1 นาที ขณะจับชีพจรให้สังเกตช่วง
ห่างของชีพจรว่าสมํ่าเสมอหรือไม่ เบา หรือแรง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน10
การจับอัตราการหายใจ
อัตราการหายใจปกติในแต่ละช่วงอายุ
อายุ อัตราการหายใจ (ครั้ง/นาที)
วัยผู้ใหญ่ 16 - 20
ผู้สูงอายุ 14 - 16
อุปกรณ์ 	 นาฬิกาที่มีเข็มเป็นวินาที
วิธีปฏิบัติ 	
	 1. 	ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าสุขสบาย
	 2. 	วางมือในลักษณะการจับชีพจร เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากผู้ป่วย
	 3. 	นับการหายใจ โดยดูการขยายตัวของกระดูกซี่โครง และกระบังลม
บริเวณหน้าอก
	 4. 	ขณะที่มีการหดและขยายตัวให้นับเป็นการหายใจ 1 ครั้ง นับเต็ม
1 นาที
	 5. 	สังเกตอาการหายใจที่ผิดปกติ
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 11
การวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก(WHO)ถือว่า
ความดันโลหิต > 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อตรวจ
ร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่ ถ้าตรวจพบความ
ดันโลหิตสูง แต่ถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำ�เป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็
จำ�เป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)*
ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำ�อะไร
ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซํ้าใน 2 ปี
ความดันโลหิตสูงขั้นต้น
Prehypertension
130 - 139 85 - 89 ตรวจซํ้าภายใน 1 ปี
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage
1 (mild)
140 - 159 90 - 99 ให้ตรวจวัดความดัน
อีกใน 2 เดือน
ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2
(moderate)
>160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน
ตารางที่ 1 แสดงแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน12
วิธีการวัดความดันโลหิต
ภาพที่ 1 แสดงภาพเครื่องวัดความดันโลหิต และหูฟัง (Stethoscope)
	 วิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง คือ วัดในขณะผู้ป่วยนอนหงายหรือนั่ง
เมื่อผู้ป่วยหายเหนื่อยหรืออารมณ์ไม่คงที่ ควรนั่งพักก่อน 15 นาที พันแถบผ้าให้
ขอบล่างอยู่เหนือข้อพับศอก 1 นิ้วฟุต และแขนอยู่ระดับหัวใจ ให้เริ่มวัดโดยการ
คลำ�ก่อน โดยเพิ่มระดับปรอทขึ้นไปเร็วๆ แล้วค่อยๆ ลดความดันลง เมื่อเริ่มคลำ�
ชีพจรได้ นั่นคือค่าความดันตัวบน (systolic pressure) โดยประมาณแล้วปล่อย
ลมออกเริ่มวัดใหม่เพิ่มความดันปรอทขึ้นสูงกว่าค่าที่คลำ�ได้ประมาณ30มิลลิเมตร
ปรอท ใช้หูฟัง ฟังบริเวณเส้นเลือดที่ข้อพับแขน แล้วค่อยๆ ลดความดันลงช้าๆ ใน
อัตรา 2 - 3 มิลลิเมตรปรอท/วินาที ค่าที่เริ่มได้ยินเสียงตุบคือค่าความดันตัวบน
(systolic pressure) และจุดที่ได้ยินเสียงสุดท้าย (หรืออาจใช้จุดที่ได้ยินเสียงเริ่ม
เปลี่ยน)คือค่าความดันตัวล่าง(diastolicpressure)ถ้าวัดได้ระดับความดันสูงกว่า
140/90 มิลลิเมตรปรอท ควรให้ผู้ป่วยนั่งพักประมาณ 15 นาทีแล้ววัดซํ้า
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 13
การประเมินกิจวัตรประจำ�วันสำ�หรับผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์	เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
	 1. 	ทราบแนวทางและรูปแบบการประเมินกิจวัตรประจำ�วันสำ�หรับ
ผู้สูงอายุ
	 2. 	ประเมินกิจวัตรประจำ�วันสำ�หรับผู้สูงอายุได้
ความหมาย
	 กิจวัตรประจำ�วัน หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลกระทำ�เป็นประจำ�ใน
แต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ซึ่งทุกคนต้องเรียนรู้การทำ�กิจวัตรประจำ�วัน
ต่างๆ เหล่านี้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและไม่เป็นภาระของผู้อื่น
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน14
การประเมินความสามารถในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน
	 1.	 การทดสอบสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ
	 การออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอทำ�ให้สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุมี
ความฟิตในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ความฟิตของระบบหัวใจ ความฟิตของกล้ามเนื้อ
และความฟิตของอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายผู้สูงอายุจะมีสมรรถภาพทางกายอยู่
ในระดับใดนั้น มีวิธีการทดสอบที่ทำ�ได้ง่ายๆ ผู้สูงอายุสามารถที่จะทำ�เองได้ ทั้งนี้
การทดสอบแต่ละครั้ง ผู้สูงอายุควรเก็บข้อมูลของตนเองไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับ
การทดสอบครั้งต่อๆ ไป เมื่อกลับไปออกกำ�ลังกายเพิ่มขึ้นหรือทำ�อย่างสมํ่าเสมอ
มากขึ้น สมรรถภาพทางกายดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำ�วันได้
ดีขึ้น เช่น การเดิน การยืน การขึ้นลงบันได การยกของ การก้มเงย เป็นต้น
วิธีการทดสอบ การทดสอบมี 8 รายการดังต่อไปนี้ คือ
	 1. 	การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความ
แข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนขา ซึ่งจำ�เป็นสำ�หรับการทำ�กิจกรรมหลายอย่าง เช่น เดินขึ้น
บันได, เดิน และลุกออกจากเก้าอี้ ออกจากเรือหรือรถ รวมถึงลดความเสี่ยงจาก
การหกล้ม การประเมิน : จำ�นวนครั้งของการลุกขึ้นยืนตรงจากเก้าอี้ ภายใน 30
วินาที โดยมือทั้งสองข้างประสานกันไว้ที่หน้าอก เกณฑ์เสี่ยง : ลุกขึ้นยืนตรงโดย
ไม่มีคนช่วยได้น้อยกว่า 8 ครั้ง ในเพศหญิงและเพศชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
	 2. 	งอแขนพับศอก จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อ
ส่วนแขน ซึ่งจำ�เป็นสำ�หรับการทำ�งานบ้าน การเป็นแม่บ้าน และกิจกรรมอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการยก, แบก และถือหิ้ว การประเมิน : จำ�นวนครั้งของการยก
นํ้าหนัก โดยงอแขนพับศอกอย่างสมบูรณ์ ภายใน 30 วินาที สำ�หรับผู้หญิงให้
มือถือนํ้าหนัก 5 ปอนด์ หรือ 2.27 กิโลกรัม และผู้ชายถือนํ้าหนัก 8 ปอนด์ หรือ
3.63 กิโลกรัม เกณฑ์เสี่ยง : งอแขนพับข้อศอกได้น้อยกว่า 11 ครั้ง ในเพศหญิง
และเพศชายถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 15
	 3. 	เดิน6นาทีจุดประสงค์:เพื่อประเมินความอดทนหรือพลังแอโรบิก
ของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญมากต่อความสามารถในการเดินให้ได้ระยะทาง
การขึ้นบันได การจับจ่ายซื้อของ และการเดินชมทัศนียภาพเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
การประเมิน : จำ�นวนระยะทางเป็นหลาหรือเมตรที่เดินได้ภายใน6นาทีโดยเดิน
รอบระยะทาง 50 หลา หรือ 45.7 เมตร (5 หลา เท่ากับ 4.57 เมตร) เกณฑ์เสี่ยง :
เดินได้ระยะทางน้อยกว่า 350 หลา หรือ 319.9 เมตร ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
	 4. 	เดินยํ่าเท้า 2 นาที จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอดทน หรือ
พลังแอโรบิกของร่างกาย นอกเหนือจากการเดิน 6 นาที ที่จะใช้เมื่อมีพื้นที่จำ�กัด
หรือสภาพอาการไม่เอื้ออำ�นวย การประเมิน : จำ�นวนครั้งที่ยกเข่าขึ้นลงอย่าง
สมบูรณ์ใน 2 นาที โดยยกเข่าให้สูงถึงจุดกึ่งกลางระหว่างลูกสะบ้า กับขอบบน
สุดของกระดูกสะโพก จำ�นวนครั้งนับจากเข่าขวาที่ยกสูงขึ้นถึงจุดที่กำ�หนดยกขึ้น
เกณฑ์เสี่ยง : ยํ่าเท้ายกเข่าได้จำ�นวนน้อยกว่า 65 ครั้ง ทั้งในเพศหญิงและเพศ
ชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
	 5. 	นั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้า จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความ
อ่อนตัวของร่างกายส่วนล่าง ซึ่งสำ�คัญมากต่อการมีท่วงท่าที่ดี แบบแผนการเดิน
ที่ปกติและการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การลุกเข้าออกจากห้องนํ้า จากเรือหรือรถ
การประเมิน : นั่งเก้าอี้ค่อนไปด้านหน้า ขาเหยียด ค่อยๆ ก้มเหยียดมือไปแตะ
ปลายเท้า แล้ววัดระยะห่างจากปลายนิ้วมือถึงปลายนิ้วเท้า ถ้าระยะห่างจาก
ปลายนิ้วมือไม่ถึงนิ้วเท้า ค่าที่ได้จะเป็นลบ ถ้าปลายนิ้วมือยืนเลยปลายนิ้วเท้าค่าที่
ได้จะเป็นบวก เกณฑ์เสี่ยง : สำ�หรับเพศชายระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือถึง
ปลายนิ้วเท้าเท่ากับหรือมากกว่า 4 นิ้ว (- 4 นิ้ว ขึ้นไป) และในเพศหญิงระยะห่าง
ระหว่างปลายนิ้วมือ ถึงปลายนิ้วเท้าเท่ากับหรือมากกว่า 2 นิ้ว (- 2 นิ้ว ขึ้นไป)
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน16
	 6. 	เอื้อมแขนแตะมือทางด้านหลัง จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความ
อ่อนตัวของร่างกายส่วนบน โดยเฉพาะหัวไหล่ ซึ่งสำ�คัญมากต่อการทำ�กิจกรรม
เช่น การหวีผม,การสวมเสื้อทางศีรษะรวมทั้งการคาดเข็มขัดนิรภัยการประเมิน :
ยื่นแขนข้างหนึ่งเหนือศีรษะแล้วงอแขนข้ามบ่าไปด้านหลัง งอแขนอีกข้างหนึ่งขึ้น
จากด้านล่างไขว้ไปทางหลังแล้วเอื้อมขึ้นไปหาปลายมืออีกข้างหนึ่งที่กลางหลังเพื่อ
ให้ปลายมือทั้งสองข้างชนกันหรือเกยกัน วัดระยะห่างจากปลายมือทั้งสองข้าง
หากปลายมือทั้งสองข้างยังไม่ชนกัน ระยะห่างที่ได้จะเป็นค่าติดลบ หากปลาย
มือทั้งสองข้างชิดหรือเกยกัน ระยะเกยกันที่ได้จะมีค่าเป็นบวก เกณฑ์เสี่ยง :
สำ�หรับเพศชายระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือทั้งสองข้างเท่ากับหรือมากกว่า4นิ้ว
(- 4 นิ้ว ขึ้นไป) และในเพศหญิงระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือทั้งสองข้างเท่ากับ
หรือมากกว่า 2 นิ้ว (- 2 นิ้ว ขึ้นไป) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
เอื้อมแขนแตะมือทางด้านหลัง (Back Sctatch)
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 17
	 7. 	ลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 16 ฟุต จุดประสงค์ : เพื่อประเมิน
ความคล่องแคล่ว และการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวซึ่งสำ�คัญต่อการทำ�กิจกรรมที่
ต้องการความรวดเร็ว เช่น การรีบลงจากรถโดยสาร การรีบเข้าไปในครัว การรีบ
ไปห้องนํ้า รวมถึงการรีบไปรับโทรศัพท์ การประเมิน : วัดระยะเวลาที่ใช้ในการ
ลุกขึ้นจากเก้าอี้ แล้วเดินต่ออีก 8 ฟุต หรือ 2.44 เมตร แล้วเลี้ยวกลับมานั่งเก้าอี้
ตามเดิม รวมระยะทาง 16 ฟุต เกณฑ์เสี่ยง : ทั้งเพศชายและเพศหญิงหากใช้ระยะ
เวลาเดินมากกว่า 9 วินาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
	 8. 	ส่วนสูง นํ้าหนัก และรอบเอว จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอ้วน
ความเสี่ยง หรือโอกาสต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน
ซึ่งสำ�คัญต่อสุขภาพ การประเมิน : วัดส่วนสูง (เซนติเมตร) และชั่งนํ้าหนัก
(กิโลกรัม) (โดยถอดรองเท้า) พร้อมทั้งวัดรอบเอวบริเวณส่วนที่คอดที่สุดระหว่าง
สะดือกับลิ้นปี่ วัดตอนช่วงหายใจออก โดยให้สายวัดแนบลำ�ตัวพอดีอย่าดึงสายวัด
จนแน่น นำ�ตัวเลขที่ได้จากการวัดส่วนสูง ทำ�ให้เป็นเมตร จากนั้นนำ�ไปหาร
นํ้าหนักที่ชั่งได้ 2 ครั้ง ดังสูตร
ดัชนีมวลกาย = นํ้าหนัก (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร)
	 เกณฑ์เสี่ยง : ทั้งเพศชายและเพศหญิง ถ้ามีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือ
มากกว่า25กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่ามีนํ้าหนักเกินและความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแล้ว
และหากมีรอบเอวมากกว่า 102 ซ.ม. (40 นิ้ว) สำ�หรับเพศชาย และมากกว่า 88
ซ.ม. (35 นิ้ว) สำ�หรับเพศหญิงถือว่ามีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามสำ�หรับคนเอเชีย
แล้วค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถือว่านํ้าหนัก
เกินและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแล้วดังนั้นจึงไม่ควรอยู่ในความประมาท จงหมั่นออก
กำ�ลังกายและบริโภคอาหารให้เหมาะสมอย่างสมํ่าเสมอ
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน18
การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
	 การทำ�ความสะอาดควรทำ�อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง และหลังจากถ่าย
อุจจาระ และปัสสาวะทุกครั้ง ผู้ป่วยที่สามารถทำ�ความสะอาดด้วยตนเองได้ ผู้
ดูแลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำ�เองแต่ถ้าหากผู้ป่วยทำ�เองไม่ได้ผู้ดูแลต้องเป็นผู้ทำ�ให้
ผู้สูงอายุในการดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เพื่อป้องกันการ
ติดเชื้อ
เครื่องใช้การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
	 1. 	ตะกร้าสี่เหลี่ยม 1 ใบ สำ�หรับใส่เครื่องใช้
	 2. 	เหยือกนํ้าขนาด 500 ซีซี บรรจุนํ้าสะอาด พร้อมขันนํ้า และนํ้าสบู่
หรือนํ้ายา
	 3 	 อับใส่สำ�ลีแห้ง
	 4. 	ถุงมือ 1 คู่ หรือปากคีบ 1 อัน
	 5. 	ภาชนะใส่กระดาษชำ�ระ เช่น กระโถน หรือถุงกระดาษ
	 6. 	ผ้าคลุม ผ้ายางรองก้น
	 7. 	หม้อนอนชนิดแบน
วิธีการดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
	 1. 	นำ�ของใช้ไปที่โต๊ะข้างเตียง บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำ�ความสะอาด
อวัยวะสืบพันธุ์ให้
	 2. 	ปิดประตู หรือกั้นม่าน และปิดตา เพื่อป้องกันการเปิดเผยผู้ป่วย
	 3. 	ปูผ้ายางรองบริเวณสะโพก
	 4. 	จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายชันเข่า ให้ปลายเท้าและขาแยกออก
จากกัน การแยกขา
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 19
	 5. 	ห่มผ้าที่ตัวผู้ป่วย ผู้หญิงดึงผ้าถุงขึ้นไปที่เอว ผู้ชายดึงกางเกงลงล่าง
คลุมผ้าที่บริเวณขาให้มิดชิด ปิดผ้าบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการ
เปิดเผยส่วนของร่างกายให้ผู้ป่วยยกก้นขึ้น หรือช่วยผู้ป่วยยกก้นขึ้น แล้วสอดหม้อ
นอนที่ใต้ก้น และให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
	 6. 	หยิบกระโถนหรือถุงกระดาษมาวางที่เตียงใกล้หม้อนอน เพื่อทิ้งสำ�ลี
ที่ใช้แล้วให้สะดวกคีบสำ�ลี 6 - 8 ก้อนจากอับสำ�ลีลงในขันนํ้าสบู่หรือนํ้ายา
การทำ�ความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ดังนี้
	 ก. 	เพศหญิง
		 1. 	เปิดผ้าที่คลุมระหว่างขาขึ้น
		 2. 	ใส่ถุงมือ เพื่อป้องกันไม่ให้มือสัมผัสกับนํ้าคัดหลั่งซึ่งอาจมีเชื้อ
โรคปนเปื้อนอยู่
		 3. 	เทนํ้าราดไปที่ขาหนีบเล็กน้อยอย่างเบามือและให้อวัยวะสืบพันธุ์
ภายนอกเปียก
		 4. 	ใช้ปากคีบคีบสำ�ลีชุบนํ้าสบู่หรือนํ้ายาบิดพอหมาดเช็ดบริเวณดัง
ต่อไปนี้
		 5. 	สำ�ลีก้อนที่ 1 เช็ดบริเวณหัวเหน่าจากซ้ายไปขวาแล้วทิ้งสำ�ลีลง
ในถุงกระดาษสำ�ลีก้อนที่ 2, 3 เช็ดแคมใหญ่ด้านไกลตัวก่อน 1 ก้อน และใกล้ตัว
1 ก้อน โดยเช็ดจากด้านบนลงด้านล่าง
		 6. 	การเช็ดดังนี้ จะช่วยป้องกันมิให้เชื้อโรคจากทวารหนัก เข้าสู่
บริเวณปากช่องคลอด และรูเปิดของท่อปัสสาวะ
		 7. 	สำ�ลีก้อนที่ 4, 5 เช็ดแคมเล็กด้านไกลตัว และใกล้ตัวบริเวณละ
1 ก้อน จากด้านบนลงล่าง สำ�ลีก้อนที่ 6 เช็ดตรงกลางจนถึงทวารหนัก
		 8. 	สำ�ลีทุกก้อนเมื่อเช็ดเสร็จให้ทิ้งลงในถุงกระดาษ
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน20
	 ข. 	เพศชาย
		 1. 	เปิดมุมผ้าที่คลุมระหว่างขาขึ้น
		 2. 	ใส่ถุงมือ เพื่อป้องกันไม่ให้มือไปสัมผัสกับนํ้าคัดหลั่ง เป็นการ
ป้องกันเชื้อโรคติดต่อมายังผู้ดูแล เทนํ้าราดลงไปที่ขาหนีบเล็กน้อยอย่างเบามือ
ต่อไปราดนํ้าให้ทั่วอวัยวะสืบพันธุ์
		 3. 	ใช้มือซ้ายข้างที่ไม่ถนัดจับองคชาติตั้งขึ้นมือขวารูดหนังหุ้มปลาย
ให้เปิดออกหยิบสำ�ลีชุบนํ้าสบู่หรือนํ้ายาในขันบิดหมาดๆทำ�ความสะอาดรูเปิดท่อ
ปัสสาวะโดยเช็ดจากรูเปิดวนรอบองคชาติไปทางเดียวจนถึงโคนองคชาติ(เป็นการ
เช็ดจากบริเวณที่มีการเปื้อนน้อย ไปหาส่วนที่เปื้อนหรือสกปรกมาก เพื่อป้องกัน
เชื้อโรคเข้าสู่รูท่อปัสสาวะ) จากนั้นทิ้งสำ�ลีลงในถุงกระดาษทำ�ซํ้าจนสะอาด
		 4. 	ใช้สำ�ลีแห้งซับส่วนปลายให้แห้ง แล้วดึงหนังหุ้มปลายองคชาติ
กลับมาปิดเหมือนเดิม
		 5.	 คีบสำ�ลีบิดหมาดๆ เช็ดทำ�ความสะอาดบริเวณลูกอัณฑะแล้ว
เช็ดผิวหนังข้างใต้ลูกอัณฑะจนถึงทวารหนักให้สะอาด (ถ้าสกปรกมากเช่น เปื้อน
อุจจาระต้องใช้สำ�ลีชุบนํ้าเช็ดอุจจาระออกให้หมดก่อน แล้วจึงจะใช้สำ�ลีชุบนํ้าสบู่
ทำ�ความสะอาด)
		 6.	 ซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งด้วยกระดาษชำ�ระด้าน
บนลงล่าง เพื่อให้รู้สึกสบาย ไม่รำ�คาญจากความเปียกชื้น และลดการระคายเคือง
		 7. 	เลื่อนหม้อนอนออกให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทำ�ความสะอาดบริเวณ
ทวารหนักและแก้มก้นทั้งสองข้างแล้วใช้กระดาษชำ�ระซับให้แห้ง
		 8. 	จัดท่าให้นอนหงายเอาผ้าปิดตาออก นุ่งกางเกงให้เรียบร้อยแล้ว
จัดให้นอนในท่าที่สบาย
		 9. 	นำ�ของเครื่องใช้ไปทำ�ความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 21
การเลือกใช้อุปกรณ์ในการดูแลการขับถ่าย
	 ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มักพบว่ามีปัญหาการควบคุมการขับถ่าย คือ
มีภาวะกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ ผ้าอ้อมกางเกง “DIAPER” โดยทั่วไปผ้าอ้อม
มี 2 ชนิด คือ ผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้งหรือผ้าอ้อมสำ�เร็จ กับผ้าอ้อมชนิดทำ�ด้วยผ้า
การเลือกใช้ตามความสะดวก สภาพร่างกาย ราคา การใช้ในสถานที่ต่างๆ
	 1. 	ผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้ง หรือผ้าอ้อมสำ�เร็จ
		 1.1 	ด้านในทำ�ด้วยวัสดุใยสังเคราะห์มีสารเคมีเป็นตัวดูดซับความชื้น
ซึมซับนํ้าได้ดี ทำ�ให้รู้สึกแห้งสบาย แผ่นนอกมักทำ�ด้วยพลาสติกเพื่อกันปัสสาวะ
รั่วซึมออกมา
		 1.2 	มีขนาดต่างๆ กัน เลือกใช้ตามขนาดตัวผู้ป่วย คือ ขนาดเล็ก
(Size S) ขนาดกลาง (Size M) ขนาดใหญ่ (Size L) ขนาดใหญ่พิเศษ (Size XL)
		 1.3	บางบริษัท/ยี่ห้อ มีการแบ่งตามความสามารถในการรองรับ
ปัสสาวะ เช่น ผ้าอ้อมแบบเทป หรือแผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ด หรือแผ่นรองซับ
ลักษณะคล้ายผ้าอนามัย แต่เป็นคนละชนิดมีลักษณะใหญ่และหนากว่า (ไม่ควร
นำ�ผ้าอนามัยมาใช้รองรับปัสสาวะเล็ดเพราะจะทำ�ให้เกิดหมักหมมเชื้อแบคทีเรีย
มีกลิ่นคล้ายกลิ่นสาบ) สามารถรองรับปัสสาวะได้ปริมาณ 70 - 120 CC. มักใช้คู่
กับกางเกงในหรือรองในผ้าอ้อมกางเกง เมื่อเปื้อนสามารถดึงออกแล้วเปลี่ยนใหม่
เป็นการประหยัด เพราะมีราคาถูกกว่าผ้าอ้อมกางเกงสำ�เร็จ ผ้าอ้อมแบบกางเกง
สำ�เร็จสามารถรองรับปัสสาวะได้ประมาณ 450 CC. หรือ 600 CC. เป็นต้น
		 1.4 	ข้อเสียของผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้ง มักระบายอากาศไม่ค่อยดี
มักทำ�ให้เกิดผื่นแพ้ผ้าอ้อมได้ง่ายพบที่บริเวณซอกขาหนีบที่สัมผัสกับผ้าอ้อม
ลักษณะผื่นพบผื่นสีแดงจัดขอบเขตชัดเจนสาเหตุของผื่นผ้าอ้อมเกิดจากที่สัมผัส
แช่อยู่กับปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไป
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน22
ข้อแนะนำ�	
	 	ล้างทำ�ความสะอาดบริเวณนั้นด้วยนํ้าสะอาดแล้วซับให้แห้งทันที
ทาครีมหรือวาสลีน บางๆ
	 	เปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยขึ้น ทุก 2 - 3 ชั่วโมง หรือทุกครั้งที่ปัสสาวะ
และอุจจาระ
	 	เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในการซึมซับดี
วิธีการใช้ผ้าอ้อมแบบเทปกาว
	
	 1.	 จับผู้ป่วยนอนตะแคง แล้วสอด
ผ้าอ้อมเข้าด้านข้างและพลิกตัวผู้ป่วยกลับ
	
	 2.	 ดึงผ้าอ้อมขึ้นมาด้านหน้าโดยให้
คลุมปิดอวัยวะเพศ
	 3.	 ดึงขอบเอวของผ้าอ้อมผ้าอ้อม
ด้านหลัง (ล่าง) ขึ้นมาทับขอบเอว ด้านบน ติด
เทปให้กระชับกับตัวผู้ป่วย
	 4. 	จัดขอบขาด้านข้างให้ตั้งขึ้น เพื่อ
ป้องกันการรั่วซึม
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 23
วิธีการใส่กางเกงซึมซับ
	 1. 	จัดให้ผู้สูงอายุนั่ง แล้วสวมกางเกง
ผ้าอ้อมเข้าที่ขา
	 2. 	โน้มให้ผู้สูงอายุยืนขึ้นพร้อมช่วย
ดึงผ้าอ้อมขึ้นที่ต้นขา
	 3. 	ให้ผู้สูงอายุได้ช่วยตัวเองโดยใช้มือ
ดึงผ้าอ้อมขึ้นทีละข้าง
เพื่อฝึกการขยับเขยื้อนร่างกาย
	 4. 	จัดกางเกงซึมซับให้กระชับกับโดย
ผู้ช่วยเหลือ	
ผ้าอ้อมชนิดทำ�ด้วยผ้า
	 	มักทำ�ด้วยเส้นใยธรรมชาติ ทำ�จากผ้าฝ้าย เหมาะสำ�หรับผิวแพ้ง่าย
สามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าอ้อม พลาสติก ใช้แล้วสามารถซักแล้วนำ�มาใช้
ได้อีก บางครั้งใช้ร่วมกับแผ่นรองซึมซับชนิดใช้แล้วทิ้ง
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน24
การดูแลในผู้สูงอายุเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง
โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
	 ความดันโลหิตสูง
	 ความดันเกิน 140/90 ขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำ�ลังกาย การ
นอนหลับ เป็นโรคประจำ�ตัว ไม่มีอาการ หากเกิน 180/110 ถือว่า อันตรายมาก
ให้รีบไปพบแพทย์ สัมพันธ์กับรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก
และการขาดการออกกำ�ลังกาย ทำ�ให้เกิด อัมพาต/อัมพฤกษ์ ไตวาย หัวใจโต/
หัวใจล้มเหลว/กล้ามเนื้อหัวใจตาย ตามัว/ตาบอด
	 ระดับความรุนแรง
	 	ระดับที่ 1 : 140 - 159/90 - 99 มม.ปรอท
	 	ระดับที่ 2 : 160 - 179/100 - 109 มม.ปรอท
	 	ระดับที่ 3 : มากกว่า 180/110 มม.ปรอท
	 ควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซํ้า 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความ
ดันโลหิตสูงจริงๆ
อาการ:ปวดศีรษะเวียนศีรษะเหนื่อยง่ายนอนไม่หลับส่วนมากไม่มีอาการ
	 ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจาก
	 	หัวใจวายถึง 60 - 75 %
	 	เส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20 - 30 %
	 	ไตวายเรื้อรัง 5 - 10 %
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 25
ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีความดันโลหิตสูง
	 1.	 ออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอ 30 นาที/ 3 - 5 ครั้ง/สัปดาห์
	 2.	 ลดเค็มหยุดบุหรี่และสุราไม่เครียดลดนํ้าหนักทานยาและพบแพทย์
สมํ่าเสมอ
เบาหวาน ร่างกายผลิตฮอร์โมน “อินซูลิน” จากตับอ่อนไม่เพียงพอ
	 ทำ�ให้นํ้าตาลในเลือดสูงผิดปกติ
	 แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
	 เบาหวานชนิดที่ 1 	- 	มีภูมิต้านทานของร่างกายทำ�ลายเซลล์ที่สร้าง
อินซูลินต้องฉีดอินซูลินไปตลอดชีวิต
	 เบาหวานชนิดที่ 2 	- 	สัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ นํ้าหนักตัวมาก การขาด
การออกกำ�ลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น ยังสร้างอินซูลินได้บ้าง
อาการ
	 	ปัสสาวะมากและบ่อย นํ้าหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
	 	หิวนํ้าบ่อย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อบ่อย สายตาพร่า แผลหายช้า
	 	โรคแทรกซ้อน ตามัว ไตวาย อัมพฤกษ์/อัมพาต หลอดเลือดหัวใจตีบ
แผลเรื้อรังจาก เบาหวาน
ข้อควรปฏิบัติสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวาน
	 1.	 ควบคุมอาหารสมํ่าเสมอ ออกกำ�ลังกาย
	 2.	 ใช้ยาสมํ่าเสมอตามที่แพทย์แนะนำ�
	 3.	 ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และวิธีปฏิบัติตัว
	 4.	 พบแพทย์สมํ่าเสมอ เพื่อวัดผลการควบคุมนํ้าตาล ตรวจหา
โรคแทรกซ้อน ตรวจนํ้าตาลในเลือด
	 5. 	พกนํ้าตาล ลูกกวาดติดตัวเสมอใช้ทันที เมื่อมีอาการน่าสงสัยว่า
นํ้าตาลตํ่า หมั่นตรวจเท้าทุกวัน
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน26
	 ไขมันในเลือดสูง สาเหตุ : กรรมพันธุ์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
อายุที่มากขึ้น การขาดการออกกำ�ลังกาย การสูบบุหรี่ และ การดื่มสุรา แบ่งเป็น
	 	คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol)
	 	ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)
	 	คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)
	 	คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
การปฎิบัติตัว
	 	ลดอาหารคอเลสเตอรอลสูง : ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง
หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่
	 	ลดอาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง : แป้ง นํ้าตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน
ผลไม้รสหวานจัด
	 	ใช้นํ้ามันพืช จากถั่วเหลือง มะกอก
	 ห้าม นํ้ามันปาล์ม/มะพร้าว/หมู
	 	หยุดบุหรี่ ออกกำ�ลังกาย หยุดดื่มสุราทานผักมากๆ เพิ่มใยอาหาร
ไปช่วยลดการดูดซึมไขมัน
	 หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองตีบ 80%/แตก 20% ทำ�ให้เกิด
อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต
	 ปัจจัยเสี่ยง
 - ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้
		 1. 	ความดันโลหิตสูง
		 2. 	โรคเบาหวาน
		 3. 	โรคหัวใจ
		 4. 	ภาวะไขมันในเลือดสูง
		 5. 	ความอ้วน
		 6. 	การสูบบุหรี่
	 ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อายุ เชื้อชาติ
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 27
อาการ แขนขาชาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งทันที พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือ
ฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด เดินเซ เวียนศีรษะทันทีทันใด ตามองเห็นภาพซ้อน หรือ
มืดมัวข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
การป้องกัน ออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอ ควบคุมนํ้าหนักให้เหมาะสม
งดสูบบุหรี่ ตรวจสุขภาพประจำ�ปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาและพบแพทย์
อย่างสมํ่าเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาดผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว
จะมีโอกาสเป็นซํ้าได้สูงกว่าคนปกติ
	 หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ/กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด/
กล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบหรือตันซึ่งเป็น
ผลจากภาวะไขมันสะสม ที่ผนังด้านใน ของเส้นเลือด
อาการของโรค
	 	เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย หรือ ขึ้นไป
ตามคอ กรามซ้าย อาการเป็นมากขึ้นเวลา ออกแรง นั่งพักจะดีขึ้น กระสับกระส่าย
เหงื่อออกตัวเย็นเสียชีวิตปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันเหมือนโรคหลอดเลือดสมอง
หากเกิดโรคแล้วต้องทานยาไปตลอดชีวิต
	 	มีการออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิกเพื่อฟื้นฟูหัวใจหลังเกิดอาการ
	 	ไปพบแพทย์ตามนัด
	 สมองเสื่อม มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กัน แบบ
ค่อยเป็นค่อยไปแต่เกิดขึ้นอย่างถาวรอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง
ที่พบได้บ่อยที่สุด
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน28
รักษาไม่ได้
	 	เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ : อัลไซเมอร์ สมองขาดเลือดไปเลี้ยง :
โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และการสูบบุหรี่
รักษาได้
	 	เนื้องอกในสมอง โรคติดเชื้อในสมอง การขาดสารอาหารโดยเฉพาะ
วิตามินบี อุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือการได้รับยาบางอย่าง เช่นการใช้ยากล่อมประสาท
เป็นประจำ�
อาการ
	 	ความจำ�เสื่อม โดยเฉพาะความจำ�ระยะสั้น
	 	ปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง พูดซํ้าๆ ซากๆ เรียกชื่อคน
หรือสิ่งของเพี้ยนไป ลำ�บากในการหาคำ�พูดที่ถูกต้อง ทำ�ให้ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ
	 	ปัญหาในการลำ�ดับทิศทางและเวลา ทำ�ให้เกิดการหลงทาง หรือ
กลับบ้านตัวเองไม่ถูก
	 	สติปัญญาด้อยลง การคิดเรื่องยากๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อย
ได้ มีการตัดสินใจผิดพลาด
	 	วางของผิดที่ผิดทาง
	 	อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้
เดี๋ยวก็สงบนิ่ง
	 	บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้า หรืออาจ
จะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็ก ในรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจไม่สามารถช่วย
เหลือตนเองได้ จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 29
แนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อม
	 1.	 รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่
	 2.	 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด
	 3.	 ระวังการใช้สารที่อาจเกิดอันตรายต่อสมอง เช่น เครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ ยาโดยไม่จำ�เป็น
	 4.	 ระวังปัจจัยเสียงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่
ที่มีควันบุหรี่
	 5.	 การฝึกสมอง พยายามทำ�กิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสมํ่าเสมอ
	 6.	 ออกกำ�ลังกายให้สมํ่าเสมอ
	 7. 	ตรวจสุขภาพประจำ�ปี
	 8. 	ระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ
	 9. 	หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งสามารถทำ�ได้หลายวิธี เช่น การเดินทางไป
พักผ่อนการฝึกสมาธิ เป็นต้น
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน30
การป้องกันและการดูแลแผลกดทับในผู้สูงอายุ
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับแบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ
	 1.	 ปัจจัยภายใน ได้แก่ สภาพของผู้ป่วยเอง อายุที่สูงขึ้น ชั้นไขมันใต้
ผิวหนังบางลง โรคประจำ�ตัว สภาวะโภชนาการที่แย่ลง การจำ�กัดการเคลื่อนไหว
และการควบคุมการขับถ่ายที่ลดลง
	 2. 	ปัจจัยภายนอก ได้แก่ แรงกด แรงเลื่อนไถล แรงเสียดทาน และ
ความเปียกชื้น ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัย ที่เกิดขึ้นร่วมกันปัจจัยภาย ในทำ�ให้เกิด
แผลกดทับขึ้น
	 การป้องกัน จากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมา ทำ�ให้เราสามารถหา
แนวทางการป้องกันแผลกดทับ ได้ดังนี้ การลดแรงกด เป็นปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึ่ง
ในการลดการเกิดแผลกดทับ คือ การจัดท่าผู้ป่วย การเลือกใช้อุปกรณ์ลดแรงกด
การจัดท่าผู้ป่วยการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยเป็นหลักเบื้องต้นในการป้องกันแผลกดทับ
	 1. 	พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง และควรมีการบันทึกไว้
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดแผลกดทับสูงสามารถพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยได้บ่อย
กว่าทุก 2 ชั่วโมง หากพบว่าที่ผิวหนังมีรอยแดงเกิดขึ้นนอกจากนี้การพลิกตะแคง
ตัวยังขึ้นกับชนิด ของที่นอนด้วย
	 2. 	ในการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ควรตะแคงตัวให้สะโพกเอียงทำ�มุม
30 องศากับที่นอน เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดโดยตรงกัน ในการจัดท่านอนหงายควร
มีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า และระหว่างตาตุ่ม 2 ข้างเพื่อป้องกันการกดทับ
เฉพาะที่
	 3. 	ป้องกันการเกิดแผลกดทับบริเวณส้นเท้าโดยการใช้หมอนรองบริเวณ
น่อง หรือขาส่วนล่างให้ส้นเท้าลอยพ้นพื้นที่นอนไม่ให้ถูกกด
คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 31
	 4. 	ในการจัดท่านอนศีรษะสูง ไม่ควรสูงเกิน 30 องศา เพื่อป้องกันการ
เกิดการเลื่อนไถล และการกดทับ แต่ถ้าจำ�เป็นต้องนอนศีรษะสูง เพื่อให้อาหาร
ทางสายยาง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา ภายหลังจากให้อาหารแล้วประมาณ
30 นาที - 1 ชั่วโมง
	 5. 	การยกตัวผู้ป่วย ควรใช้ผ้ายกตัว ไม่ควรใช้วิธีลาก
	 6. 	ในการนั่งรถเข็น ควรสวมรองเท้า/รองเท้าหุ้มส้นทุกครั้ง และสายรัด
กันเท้าตก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะเข็นรถได้
	 7. 	ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรอยู่ในท่านั่งได้ไม่เกิน ครั้งละ
1 ชั่วโมง
การดูแลผิวหนัง
	 มีเป้าหมายเพื่อควบคุมและปรับปรุงเนื้อเยื่อที่ถูกกดให้มีความแข็งแรง
ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ
	 1. 	การทำ�ความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ผิวหนังแห้ง หลีกเลี่ยงการใช้
นํ้าอุ่นในการทำ�ความสะอาดร่างกาย และสบู่ควรเลือกทำ�ความสะอาดร่างกาย
วันละครั้ง หรือตามความเหมาะสม
	 2. 	สำ�หรับผู้ป่วยที่ผิวแห้ง ควรเพิ่มการทาโลชั่นโดยทา 3 - 4 ครั้งต่อวัน
ถ้าเป็นครีมทา 2 - 3 ครั้งต่อวัน
	 3. 	ในรายที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำ�ความสะอาดทุกครั้งที่มีการ
ขับถ่าย และซับให้แห้ง ในการทำ�ความสะอาดควรเช็ดอย่างเบามือ และซับให้แห้ง
ด้วยผ้าที่อ่อนนุ่ม หลังจากนั้นทาวาสลีนหรือโลชั่นทุกครั้ง เพื่อปกป้องผิวหนังใน
ส่วนนั้นเป็นแผลจากความเปียกชื้น
	 4. 	ควรหาสาเหตุของการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้และแก้ไข เช่นการฝึก
การขับถ่ายปัสสาวะ และการฝึกขับถ่ายอุจจาระ เป็นต้น
	 5. 	การยกตัวผู้ป่วยควรใช้ผ้ายกตัว ไม่ควรใช้วิธีลาก
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาNontaporn Pilawut
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติSambushi Kritsada
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ pueniiz
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3ทศพล พรหมภักดี
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
การวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อ
การวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อการวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อ
การวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อCAPD AngThong
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลUtai Sukviwatsirikul
 
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศsomdetpittayakom school
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูUtai Sukviwatsirikul
 
Ppt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใสPpt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใสPrachaya Sriswang
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ โปรตอน บรรณารักษ์
 
ความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDO
ความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDOความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDO
ความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDODr.Suradet Chawadet
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชKanti Bkk
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตsivapong klongpanich
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลSutthiluck Kaewboonrurn
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 

La actualidad más candente (20)

แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาแผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
แผ่นพับสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
 
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติการวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
การวินิจฉัยชุมชน อ.สมเกียรติ
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ม.1 ม.3
 
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
การวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อ
การวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อการวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อ
การวางแผนจำหน่ายและการส่งต่อ
 
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแลคู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
คู่มือความรู้และการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมสำหรับญาติและผู้ดูแล
 
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ปกนวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
 
Ppt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใสPpt. คุณแม่วัยใส
Ppt. คุณแม่วัยใส
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
คู่มือมาตรฐานคลินิกผู้สูงอายุคุณภาพ
 
ความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDO
ความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDOความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDO
ความเสี่ยงด้านสุขภาพตามกลุ่มวัย WECANDO
 
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวชเรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
เรื่องที่ 1 การประเมินทางจิตเวช
 
คู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสตคู่มือให้บริการ รพสต
คู่มือให้บริการ รพสต
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
กฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาลกฏหมายกับพยาบาล
กฏหมายกับพยาบาล
 
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนคู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
คู่มือดำเนินงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน
 

Similar a คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน

สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิตTongsamut vorasan
 
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณคู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณUtai Sukviwatsirikul
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7ss
 
บทสวดมนต์ข้ามปี 2555
บทสวดมนต์ข้ามปี 2555บทสวดมนต์ข้ามปี 2555
บทสวดมนต์ข้ามปี 2555Chawalit Jit
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาpentanino
 
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
 สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติกUtai Sukviwatsirikul
 
Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4taem
 
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29Ming Gub Yang
 
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีคู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีUtai Sukviwatsirikul
 
พื้นฐานชีวิต 41.pptx
พื้นฐานชีวิต 41.pptxพื้นฐานชีวิต 41.pptx
พื้นฐานชีวิต 41.pptxSunnyStrong
 
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์Kiat Chaloemkiat
 
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...Vorawut Wongumpornpinit
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยDMS Library
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยguestd1493f
 
Case study โรคลม
Case study โรคลมCase study โรคลม
Case study โรคลมtacrm
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsThira Woratanarat
 

Similar a คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน (20)

สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
 
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณคู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว7
 
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
บทสวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นดี ชีวิตดี ในปีใหม่
 
บทสวดมนต์ข้ามปี 2555
บทสวดมนต์ข้ามปี 2555บทสวดมนต์ข้ามปี 2555
บทสวดมนต์ข้ามปี 2555
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
 
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
 สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
สุขภาพดีด้วยโปรไบโอติก
 
Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4Thai Emergency Medicine Journal 4
Thai Emergency Medicine Journal 4
 
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
ศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ระหว่างวันที่ 27 29
 
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปีคู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
คู่มือเด็กเล็ก 0 3 ปี
 
April wellnesmag
April wellnesmagApril wellnesmag
April wellnesmag
 
พื้นฐานชีวิต 41.pptx
พื้นฐานชีวิต 41.pptxพื้นฐานชีวิต 41.pptx
พื้นฐานชีวิต 41.pptx
 
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
การประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
 
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
หนังสือ ข้อมูลสมุนไพรจีน (เมชฌ สอดส่องกฤษ พ.ศ. 2558) สำนักงานส่งเสริมบริหารงา...
 
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
Saengdhamma Vol.36 No. 428 December 2010
 
สังคมศึกษาศาสนพิธี
สังคมศึกษาศาสนพิธีสังคมศึกษาศาสนพิธี
สังคมศึกษาศาสนพิธี
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
 
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัยพัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
พัฒนาระบบดูแลผู้สูงวัย
 
Case study โรคลม
Case study โรคลมCase study โรคลม
Case study โรคลม
 
Foods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problemsFoods and common musculokeletal problems
Foods and common musculokeletal problems
 

Más de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Más de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน

  • 1.
  • 2.
  • 3. ชื่อหนังสือ : คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน รวบรวมโดย : นายแพทย์ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม นางดลินพร สนธิรักษ์ นางจันทนงค์ อินทร์สุข จัดทำ�โดย : ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2554 จำ�นวนที่พิมพ์ : 500 เล่ม พิมพ์ที่ : บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ห้ามลอกเลียนแบบส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
  • 4. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ก คำ�นำ� คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน สำ�หรับอาสาสมัคร โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจาก พระราชดำ�ริ นำ�ร่องการพัฒนาระบบเครือข่ายรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฉบับนี้ เป็นเนื้อหาวิชาที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์จริง จากการอบรมอาสาสมัครในโครงการฯ การถ่ายทอดองค์ความ รู้และการรวบรวมเนื้อหาความรู้ที่วิทยากรได้ถ่ายทอดให้กับอาสาสมัครในการ ฝึกอบรมการอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ โครงการวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหารอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริจังหวัดชลบุรี การจัดทำ�คู่มือเล่มนี้ ประสบความสำ�เร็จได้จากความร่วมมือของหลายๆ ฝ่าย เริ่มต้นจากวิทยากรถ่ายทอดความรู้ของศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี และเครือข่าย การดูแลผู้สูงอายุ สาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลวัดญาณสังวรราม โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำ�บลห้วยใหญ่ชลบุรี จนได้เนื้อหาสมบูรณ์ ครบถ้วนเป็นประโยชน์ ในการนำ�คู่มือเล่มนี้ไปปฏิบัติและใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้สูงอายุและคนในชุมชนต่อไป ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ จังหวัดชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข
  • 5. ขอขอบคุณท่านวิทยากรศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ จังหวัดชลบุรี นายแพทย์ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม นายแพทย์ชำ�นาญการพิเศษ แพทย์หญิงรักษินา มีเสถียร แพทย์ปฏิบัติการ นางดลินพร สนธิรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ นางจันทนงค์ อินทร์สุข พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ นางสาวกัลยาพร นันทชัย นักจิตวิทยาคลินิกชำ�นาญการ นางอมรรัตน์ สัทธาธรรมรักษ์ พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ นายสุพิชชพงศ์ ธนาเกีรติภิญโญ นักกายภาพบำ�บัดชำ�นาญการ นางสาวศศิภา จินาจิ้น นักกายภาพบำ�บัดชำ�นาญการ นางสาววาสนา มากผาสุข พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ นางกัลยา ปรีดีคณิต พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ นางสุวลี บุญชักนำ� พยาบาลวิชาชีพชำ�นาญการ คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านข
  • 6. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ค สารบัญ หน้า อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 1 การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม 3 จิตวิทยาการสื่อสารในผู้สูงอายุ 6 การประเมินญาณชีพผู้สูงอายุ 8 การดูแลอวัยวะสืบพันธ์ผู้สูงอายุ 18 การดูแลในผู้สูงอายุเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง 24 การป้องกันแผลกดทับ 30 การออกกำ�ลังกายในผู้สูงอายุ 33 การดูแลผิวหนัง การดูแลปากและฟันในผู้สูงอายุ 42 การประคบเย็น/การประคบร้อน 55 การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ 59 การให้อาหารทางสายยาง 61 อาหารเพื่อสุขภาพสำ�หรับผู้สูงอายุ 65 การป้อนอาหาร การป้องกันการสำ�ลัก 73 การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 75
  • 7.
  • 8. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 1 อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน อาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ควรมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นคนในชุมชน พร้อมเสียสละ 2. มีบุคลิกภาพที่เอื้ออาทร 3. มีคุณธรรม และมีจิตใจโอบอ้อมอารี 4. มีประสบการณ์ในการทำ�งานกับผู้สูงอายุ 5. สามารถปรับตัวได้ดี 6. มีทักษะความรู้ในการดูแลผูสูงอายุ 7. ป็นที่ปรึกษาและสามารถให้คำ�แนะนำ�แก่ผู้สูงอายุได้ 8. มีความกระตือรือร้นและพร้อมที่จะเรียนรู้ 9. ตรงต่อเวลา 10. มีการบริหารเวลาที่ดี มีเวลาว่าง บทบาทอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1. บทบาทของอาสาสมัครในที่นี้ จะต้องเป็นแกนนำ�ที่สามารถออกไป เยี่ยมผู้สูงอายุที่บ้านได้สามารถให้คำ�แนะนำ�ให้ความรู้ทางด้านสุขภาพทั้งกายและ ใจแก่ผู้สูงอายุ 2. เป็นผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุในทุกๆ ด้านตามความ ต้องการของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความช่วยเหลือทางด้านสังคม และเป็นกำ�ลังใจแก่ผู้สูงอายุ 3. เป็นแกนนำ�ในการถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านการ สร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุแนะนำ�วิธีการทำ�กายภาพบำ�บัด ให้กับสมาชิกครอบครัว ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ
  • 9. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน2 4. สามารถให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุและเป็นตัวแทน ในการประสานงานร่วมมือกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และโรงพยาบาลชุมชน 5. เป็นผู้คอยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุปฏิบัติตัว เพื่อให้มีสุขภาพดี เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยขน์ ออกกำ�ลังกายที่เหมาะสม และทำ�จิตใจให้แจ่มใส เป็นต้น 6. ช่วยเหลือดูแลด้านสุขภาพของผู้สูงอายุเท่าที่มีความรู้อย่างถูกต้อง หากไม่แน่ใจต้องปรึกษาหรือแจ้งให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล
  • 10. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 3 การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม และปัญหาทางสุขภาพที่พบบ่อย แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ วัยผู้สูงอายุพัฒนาการของชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงที่ดำ�เนินไปสู่ความ เสื่อมของร่างกาย และจิตใจ พบว่าโครงสร้างของร่างกายจะค่อยๆ ร่วงโรย เซลล์ ต่างๆ เริ่มหย่อนสมรรถภาพ การปรับตัวในวัยนี้จะแสดงออกในด้านความล่าช้าใน กิจกรรมทุกด้านของชีวิต เช่น ความคิดอ่าน ความจำ� การรับรู้ทางประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว สมรรถภาพในการทำ�งานของร่างกายในด้านความต้านทาน ต่อความเจ็บป่วยก็ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน ความหมายของผู้สูงอายุและความชราภาพ ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (องค์การสหประชาชาติ) บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป (พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546) ความหมายผู้สูงอายุภาคภาษาไทย จะใช้อายุเป็นหลักในการเรียก (60+ ปี) คำ�ว่า คนชรา จะใช้ลักษณะทางกายภาพเป็นหลักในการเรียก ส่วนคำ�ว่า อาวุโส จะใช้สถานภาพทางราชการ แก่กว่าเก่ากว่า เป็นหลักในการเรียก (ในทางศาสนา ภิกษุผู้ใหญ่ เรียก ภิกษุผู้น้อยว่า อาวุโส ภิกษุผู้น้อยเรียกภิกษุผู้ใหญ่ว่า ภันเต) องค์การอนามัยโลกได้แบ่งเกณฑ์อายุตามสภาพของการมีอายุเพิ่มขึ้น ดังนี้ ผู้สูงอายุ (Elderly) มีอายุระหว่าง 60 - 74 ปี คนชรา (Old) มีอายุระหว่าง 75 - 90 ปี คนชรามาก(Very Old) มีอายุ 90 ปีขึ้นไป
  • 11. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน4 การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ของระบบต่างๆ ดังนี้ หัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจลดจำ�นวนลง มีเนื้อเยื่อพังผืดเพิ่มมากขึ้น มีไขมันสะสมและหินปูนมาเกาะ ทำ�ให้การปิดเปิดของลิ้นหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ ระบบภูมิคุ้มกันระบบการทำ�งานต่อสู้กับเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในร่างกายลดลง ระบบ ประสาท นํ้าหนักของสมองลดลง เซลล์ประสาทลดจำ�นวนลง ทำ�ให้ขนาดของ สมองเหี่ยวลง ช่องว่างระหว่างกลีบสมองถ่างกว้างออก ต่อมรับรสที่ลิ้นลด ทำ�ให้ ความสามารถในการรับรสด้อยประสิทธิภาพลง การมองเห็น มีการเปลี่ยนแปลง ที่เปลือกตาบนจะตกลงเล็กน้อยเลนส์จะขุ่นขึ้นจากการสะสมโปรตีนที่เสื่อมสภาพ การได้ยิน มีการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นใน ทำ�ให้สูญเสียความสามารถในการได้ยิน เสียงความถี่สูงไป การทรงตัว เส้นประสาทที่รับผิดชอบอยู่ใกล้เคียงกับส่วนที่ รับผิดชอบการได้ยิน ผู้สูงอายุมีอาการวิงเวียนศีรษะรู้สึกว่าบ้านหมุน โดยเฉพาะ เวลาเปลี่ยนท่าทางและทิศทางของศีรษะรวดเร็ว สติปัญญา ผู้สูงอายุจะสูญเสีย ความจำ�ระยะสั้น ขณะที่ความจำ�ระยะยาวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนานมาแล้ว จะจำ�ได้ดีกว่า การนอน มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะหลับ ทำ�ให้ ระยะเวลาที่อยู่ในระดับหลับสนิทสั้นลงทำ�ให้ตื่นกลางดึกได้บ่อยๆ ระบบประสาท อัตโนมัติ จะลดประสิทธิภาพลง มีผลต่ออาการผิดปกติที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเช่น อาการหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืนหรือนั่งเร็วๆ จากความดันโลหิตที่ลดลง ระบบการ หายใจ กระดูกสันหลังที่เป็นแกนหลักของทรวงอกบางลง ระดับออกซิเจนใน เลือดแดงจึงลดตํ่าลง ระบบทางเดินปัสสาวะ ไต นํ้าหนักไตจะลดลง สูญเสียส่วน ที่ทำ�ให้หน้าที่กรองของเสีย ทำ�ให้การกำ�จัดยาออกจากร่างกายลดลง กระเพาะ ปัสสาวะ จะมีความจุลดลง จำ�นวนปัสสาวะค้างเพิ่มมากขึ้นหลังการถ่ายปัสสาวะ ทำ�ให้ต้องปัสสาวะบ่อยและอาจมีปัสสาวะราดได้บ่อย ต่อมลูกหมากจะหนาตัว ขึ้นจนอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะได้ ทำ�ให้ผู้สูงอายุชายปัสสาวะบ่อย และต้องเบ่ง ปัสสาวะมากเป็นเวลานาน ทำ�ให้มีไส้เลื่อนหรือริดสีดวงทวารตามมา ระบบทาง
  • 12. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 5 เดินอาหาร ช่องปากและฟัน เยื่อบุช่องปากบางลง นํ้าย่อยจากกระเพาะอาหาร ลดลง นํ้าหนักของตับจะลดลง เซลล์ตับลดจำ�นวนลง ปริมาณเลือดที่ไหลเวียน ผ่านตับจึงลดลง ผิวหนัง ความยืดหยุ่นลดลง ปริมาณไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังก็ ลดลง ทำ�ให้ผิวหนังเป็นรอยเหี่ยวย่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันในผิวหนังจะทำ�งาน ลดลง ระบบโครงร่างกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ มีการฝ่อของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ อ่อนกำ�ลังทำ�ให้สูญเสียความแข็งแรงว่องไว และการทรงตัว ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุ ระหว่างการเคลื่อนไหวได้ง่าย ระบบสืบพันธุ์ ระบบสืบพันธุ์เพศชาย การสร้าง ฮอร์โมนเพศชายจะมีฮอร์โมนเทสโตสเตอร์โรนน้อยลงฮอร์โมนเอสเตอร์เจนมากขึ้น จะมีเนื้อเยื่อคลอลาเจนมาแทนที่ทำ�ให้ต่อมลูกหมากขยยาโตขึ้น ความสามารถ ในการแข็งตัวขององคชาติลดลง ทำ�ให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศลดลง ระบบสืบพันธ์เพศหญิง อวัยวะสืบพันธ์ภายนอกเหี่ยวย่น ช่องคลอดบางลงและ ความยืดหยุ่นลดลง นํ้าหลั่งต่างๆ จากช่องคลอดลดลง
  • 13. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน6 จิตวิทยาการสื่อสารในผู้สูงอายุ ความหมาย: กระบวนการส่งข่าว ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น ความนึกคิด หรืออารมณ์ จากคนหนึ่ง คนหนึ่ง ถ้าไม่เกิดความเข้าใจร่วมกันถือได้ว่าไม่มี การสื่อสาร วิธีสื่อสารกับผู้สูงอายุ  เคารพ สุภาพ และเข้าใจ  ฟังในสิ่งที่ผู้สูงอายุพูดและสะท้อนกลับในสิ่งที่ได้ยิน  หลีกเลี่ยงการสรุปเอาเอง  ลดอคติต่อการสูงอายุ  นั่งตรงข้ามกับผู้ป่วยในระดับสายตา  ประเมินการได้ยินของผู้สูงอายุ  อย่าลืมฟันปลอมและแว่นสายตา  พูดให้ชัดเจนและระดับเสียงพอสมควร ช่องทางการสื่อสาร  สื่อสารด้วยพูด  สื่อสารแบบไม่ใช้คำ�พูด  สื่อสารด้วยสื่อต่างๆ เช่น ข้อมูลที่เป็นลายลักษณ์อักษร วิธีการสื่อสาร/สร้างกำ�ลังใจสำ�หรับผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า  ผู้ดูแลต้องใจเย็น  เข้าใจว่าอาการที่ผู้สูงอายุเป็นคืออาการป่วย  สื่อสารด้วยคำ�พูดที่อ่อนโยนและใช้นํ้าเสียงที่นุ่มนวล  พยายามพูดคุยและชักชวนผู้สูงอายุให้มีกิจกรรมทางสังคม  ระมัดระวังสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการทำ�ร้ายตนเอง
  • 14. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 7 วิธีการสื่อสาร/สร้างกำ�ลังใจ กับผู้สูงอายุสมองเสื่อม  ผู้ดูแลต้องใจเย็น  เข้าใจว่าอาการที่ผู้สูงอายุเป็นคืออาการป่วย  สื่อสารด้วยคำ�พูดที่อ่อนโยนและใช้นํ้าเสียงที่นุ่มนวล  พยายามจัดกิจกรรมที่ผู้สูงอายุเคยได้  ระมัดระวังสิ่งแวดล้อมที่เสี่ยงต่อผู้สูงอายุ  ใช้คำ�พูดที่สั้น ง่าย ไม่ซํ้าซ้อน  ผู้ดูแลต้องดูแลตนเอง  ผลัดเปลี่ยนกันดูแลผู้สูงอายุ(อย่าให้เป็นภาระคนใดคนหนึ่ง) วิธีการสื่อสารสำ�หรับผู้สูงอายุสำ�หรับคนในครอบครัว  บอกความต้องการอย่างตรงไปตรงมาด้วยอารมณ์แจ่มใสสุขุมเยือกเย็น  ไม่จู้จี้ขี้บ่นหรือเข้าไปยุ่งเกี่ยวเกินไป  เปิดโอกาสให้ลูกหลานแก้ปัญหาด้วยตนเอง ?  เรียกร้องความช่วยเหลือด้านต่างๆ มากเกินไป ?  ทวงบุญคุณ ?  เปรียบเทียบกับลูกครอบครัวอื่น ? ควบคุมบังคับ ?  คาดหวังมากเกินไป  เมื่อทำ�ผิดผู้สูงอายุสามารถขอโทษลูกหลานหรือบุคคลในครอบครัวได้  รับฟังให้คำ�ปรึกษาและถ่ายทอดประสบการณ์ วิธีสื่อสารผู้สูงอายุ ของผู้สูงอายุด้วยกันเอง  กลุ่มต่างวัยและกลุ่มผู้สูงอายุด้วยกัน  ก็มีทั้งการติดต่อสื่อสารทางเดียว คือ การติดตามข่าวสารข้อมูล เพื่อจะได้รู้สึกว่าทันสมัย และการติดต่อสื่อสารทั้งสองทาง คือได้มีโอกาสพบปะ พูดคุยในโอกาสต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุทำ�กิจกรรม
  • 15. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน8 การประเมินสัญญาณชีพผู้สูงอายุ การวัดสัญญาณชีพ การวัดอุณหภูมิของร่างกาย วัดทางรักแร้ ทางปาก ผู้สูงอายุ 96.8 องศาฟาเรนไฮท์ 37.0 องศาเซลเซียส อุปกรณ์ ปรอทวัดไข้ ปลอกกันเปื้อน (disposable) วิธีการปฏิบัติ ในที่นี้ขอกล่าวถึงวิธีการวัดอุณหภูมิของผู้ใหญ่ 1. เตรียมอุปกรณ์และตรวจความพร้อมของอุปกรณ์ 2. ตรวจสอบชื่อผู้ป่วย 3. นำ�ปลอกหุ้มหุ้มปรอทให้จนถึงโคนปรอท 4. เมื่อพร้อมที่จะวัด ให้ดึงปลอกแข็งด้านนอกออก 5. นำ�ปรอทแนบไปที่รักแร้ ให้ผู้ป่วยหนีบปรอทไว้จนกว่าจะได้ยิน สัญญาณของปรอทเตือนว่าเสร็จสิ้น 6. บวกค่าของอุณหภูมิที่อ่านค่าได้ด้วยจำ�นวน 0.5 องศาเซลเซียส 7. ปิดเครื่อง และลอกปลอกหุ้มทิ้งไป การแปลผล ในผู้สูงอายุการที่มีไข้นั้นค่าอุณหภูมิที่ได้อาจตํ่ากว่า37.5องศาเซลเซียสให้ ดูอาการควบคู่ไปด้วยเช่นปวดศีรษะมีพยาธิสภาพอื่นๆร่วมด้วยไข้ตํ่าๆไม่ควรเกิน 37.5 องศาเซลเซียส/ไข้ปานกลาง 37.6-38.0 องศาเซลเซียส ไข้สูง > 38.0 ขึ้นไป
  • 16. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 9 การจับชีพจร อัตราการเต้นของชีพจรปกติในแต่ละช่วงอายุ ตำ�แหน่งของหลอดเลือดแดงที่ใช้คลำ�ชีพจร อายุ อัตราการเต้น (ครั้ง/นาที) วัยผู้ใหญ่ 75 อุปกรณ์ นาฬิกาที่มีเข็มเป็นวินาที วิธีปฏิบัติ 1. ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าสุขสบาย 2. ใช้ปลายนิ้วชี้ กลาง และนาง วางตรงตำ�แหน่งของหลอดเลือดแดง เรเดียลหรือตำ�แหน่งหลอดเลือดแดงอื่นๆ ที่จะวัด 3. กดพอประมาณเพื่อวัดความรู้สึกของการขยายหรือหดตัวของหลอด เลือดได้ 4. นับอัตราการเต้นของชีพจรใน 1 นาที ขณะจับชีพจรให้สังเกตช่วง ห่างของชีพจรว่าสมํ่าเสมอหรือไม่ เบา หรือแรง
  • 17. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน10 การจับอัตราการหายใจ อัตราการหายใจปกติในแต่ละช่วงอายุ อายุ อัตราการหายใจ (ครั้ง/นาที) วัยผู้ใหญ่ 16 - 20 ผู้สูงอายุ 14 - 16 อุปกรณ์ นาฬิกาที่มีเข็มเป็นวินาที วิธีปฏิบัติ 1. ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าสุขสบาย 2. วางมือในลักษณะการจับชีพจร เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากผู้ป่วย 3. นับการหายใจ โดยดูการขยายตัวของกระดูกซี่โครง และกระบังลม บริเวณหน้าอก 4. ขณะที่มีการหดและขยายตัวให้นับเป็นการหายใจ 1 ครั้ง นับเต็ม 1 นาที 5. สังเกตอาการหายใจที่ผิดปกติ
  • 18. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 11 การวัดความดันโลหิตตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก(WHO)ถือว่า ความดันโลหิต > 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นโรคความดันโลหิตสูง เมื่อตรวจ ร่างกายแล้วว่าความดันโลหิตสูงต้องรับประทานยาทันทีหรือไม่ ถ้าตรวจพบความ ดันโลหิตสูง แต่ถ้าไม่สูงมากอาจจะไม่จำ�เป็นต้องรับประทานยา แต่หากสูงมากก็ จำ�เป็นต้องรับประทานยา ตารางข้างล่างจะเป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วย ความดันโลหิตที่วัดได้ (mm Hg)* ความรุนแรงของความดันโลหิต Systolic Diastolic จะต้องทำ�อะไร ความดันโลหิตที่ต้องการ น้อยกว่า 120 น้อยกว่า 80 ให้ตรวจซํ้าใน 2 ปี ความดันโลหิตสูงขั้นต้น Prehypertension 130 - 139 85 - 89 ตรวจซํ้าภายใน 1 ปี ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงระดับ 1 Stage 1 (mild) 140 - 159 90 - 99 ให้ตรวจวัดความดัน อีกใน 2 เดือน ความดันโลหิตสูงระดับ 2 Stage 2 (moderate) >160 >100 ให้พบแพทย์ใน 1 เดือน ตารางที่ 1 แสดงแนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • 19. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน12 วิธีการวัดความดันโลหิต ภาพที่ 1 แสดงภาพเครื่องวัดความดันโลหิต และหูฟัง (Stethoscope) วิธีการวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง คือ วัดในขณะผู้ป่วยนอนหงายหรือนั่ง เมื่อผู้ป่วยหายเหนื่อยหรืออารมณ์ไม่คงที่ ควรนั่งพักก่อน 15 นาที พันแถบผ้าให้ ขอบล่างอยู่เหนือข้อพับศอก 1 นิ้วฟุต และแขนอยู่ระดับหัวใจ ให้เริ่มวัดโดยการ คลำ�ก่อน โดยเพิ่มระดับปรอทขึ้นไปเร็วๆ แล้วค่อยๆ ลดความดันลง เมื่อเริ่มคลำ� ชีพจรได้ นั่นคือค่าความดันตัวบน (systolic pressure) โดยประมาณแล้วปล่อย ลมออกเริ่มวัดใหม่เพิ่มความดันปรอทขึ้นสูงกว่าค่าที่คลำ�ได้ประมาณ30มิลลิเมตร ปรอท ใช้หูฟัง ฟังบริเวณเส้นเลือดที่ข้อพับแขน แล้วค่อยๆ ลดความดันลงช้าๆ ใน อัตรา 2 - 3 มิลลิเมตรปรอท/วินาที ค่าที่เริ่มได้ยินเสียงตุบคือค่าความดันตัวบน (systolic pressure) และจุดที่ได้ยินเสียงสุดท้าย (หรืออาจใช้จุดที่ได้ยินเสียงเริ่ม เปลี่ยน)คือค่าความดันตัวล่าง(diastolicpressure)ถ้าวัดได้ระดับความดันสูงกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท ควรให้ผู้ป่วยนั่งพักประมาณ 15 นาทีแล้ววัดซํ้า
  • 20. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 13 การประเมินกิจวัตรประจำ�วันสำ�หรับผู้สูงอายุ วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม 1. ทราบแนวทางและรูปแบบการประเมินกิจวัตรประจำ�วันสำ�หรับ ผู้สูงอายุ 2. ประเมินกิจวัตรประจำ�วันสำ�หรับผู้สูงอายุได้ ความหมาย กิจวัตรประจำ�วัน หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลกระทำ�เป็นประจำ�ใน แต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ซึ่งทุกคนต้องเรียนรู้การทำ�กิจวัตรประจำ�วัน ต่างๆ เหล่านี้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและไม่เป็นภาระของผู้อื่น
  • 21. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน14 การประเมินความสามารถในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน 1. การทดสอบสมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ การออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอทำ�ให้สมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุมี ความฟิตในหลายๆ ด้าน ได้แก่ ความฟิตของระบบหัวใจ ความฟิตของกล้ามเนื้อ และความฟิตของอวัยวะส่วนต่างๆในร่างกายผู้สูงอายุจะมีสมรรถภาพทางกายอยู่ ในระดับใดนั้น มีวิธีการทดสอบที่ทำ�ได้ง่ายๆ ผู้สูงอายุสามารถที่จะทำ�เองได้ ทั้งนี้ การทดสอบแต่ละครั้ง ผู้สูงอายุควรเก็บข้อมูลของตนเองไว้ เพื่อเปรียบเทียบกับ การทดสอบครั้งต่อๆ ไป เมื่อกลับไปออกกำ�ลังกายเพิ่มขึ้นหรือทำ�อย่างสมํ่าเสมอ มากขึ้น สมรรถภาพทางกายดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ปฏิบัติภารกิจในชีวิตประจำ�วันได้ ดีขึ้น เช่น การเดิน การยืน การขึ้นลงบันได การยกของ การก้มเงย เป็นต้น วิธีการทดสอบ การทดสอบมี 8 รายการดังต่อไปนี้ คือ 1. การลุกขึ้นยืนจากเก้าอี้ 30 วินาที จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความ แข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนขา ซึ่งจำ�เป็นสำ�หรับการทำ�กิจกรรมหลายอย่าง เช่น เดินขึ้น บันได, เดิน และลุกออกจากเก้าอี้ ออกจากเรือหรือรถ รวมถึงลดความเสี่ยงจาก การหกล้ม การประเมิน : จำ�นวนครั้งของการลุกขึ้นยืนตรงจากเก้าอี้ ภายใน 30 วินาที โดยมือทั้งสองข้างประสานกันไว้ที่หน้าอก เกณฑ์เสี่ยง : ลุกขึ้นยืนตรงโดย ไม่มีคนช่วยได้น้อยกว่า 8 ครั้ง ในเพศหญิงและเพศชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 2. งอแขนพับศอก จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ส่วนแขน ซึ่งจำ�เป็นสำ�หรับการทำ�งานบ้าน การเป็นแม่บ้าน และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยก, แบก และถือหิ้ว การประเมิน : จำ�นวนครั้งของการยก นํ้าหนัก โดยงอแขนพับศอกอย่างสมบูรณ์ ภายใน 30 วินาที สำ�หรับผู้หญิงให้ มือถือนํ้าหนัก 5 ปอนด์ หรือ 2.27 กิโลกรัม และผู้ชายถือนํ้าหนัก 8 ปอนด์ หรือ 3.63 กิโลกรัม เกณฑ์เสี่ยง : งอแขนพับข้อศอกได้น้อยกว่า 11 ครั้ง ในเพศหญิง และเพศชายถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
  • 22. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 15 3. เดิน6นาทีจุดประสงค์:เพื่อประเมินความอดทนหรือพลังแอโรบิก ของร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญมากต่อความสามารถในการเดินให้ได้ระยะทาง การขึ้นบันได การจับจ่ายซื้อของ และการเดินชมทัศนียภาพเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ การประเมิน : จำ�นวนระยะทางเป็นหลาหรือเมตรที่เดินได้ภายใน6นาทีโดยเดิน รอบระยะทาง 50 หลา หรือ 45.7 เมตร (5 หลา เท่ากับ 4.57 เมตร) เกณฑ์เสี่ยง : เดินได้ระยะทางน้อยกว่า 350 หลา หรือ 319.9 เมตร ทั้งในเพศหญิง และเพศชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 4. เดินยํ่าเท้า 2 นาที จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอดทน หรือ พลังแอโรบิกของร่างกาย นอกเหนือจากการเดิน 6 นาที ที่จะใช้เมื่อมีพื้นที่จำ�กัด หรือสภาพอาการไม่เอื้ออำ�นวย การประเมิน : จำ�นวนครั้งที่ยกเข่าขึ้นลงอย่าง สมบูรณ์ใน 2 นาที โดยยกเข่าให้สูงถึงจุดกึ่งกลางระหว่างลูกสะบ้า กับขอบบน สุดของกระดูกสะโพก จำ�นวนครั้งนับจากเข่าขวาที่ยกสูงขึ้นถึงจุดที่กำ�หนดยกขึ้น เกณฑ์เสี่ยง : ยํ่าเท้ายกเข่าได้จำ�นวนน้อยกว่า 65 ครั้ง ทั้งในเพศหญิงและเพศ ชาย ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 5. นั่งเก้าอี้ยื่นแขนแตะปลายเท้า จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความ อ่อนตัวของร่างกายส่วนล่าง ซึ่งสำ�คัญมากต่อการมีท่วงท่าที่ดี แบบแผนการเดิน ที่ปกติและการเคลื่อนไหวต่างๆ เช่น การลุกเข้าออกจากห้องนํ้า จากเรือหรือรถ การประเมิน : นั่งเก้าอี้ค่อนไปด้านหน้า ขาเหยียด ค่อยๆ ก้มเหยียดมือไปแตะ ปลายเท้า แล้ววัดระยะห่างจากปลายนิ้วมือถึงปลายนิ้วเท้า ถ้าระยะห่างจาก ปลายนิ้วมือไม่ถึงนิ้วเท้า ค่าที่ได้จะเป็นลบ ถ้าปลายนิ้วมือยืนเลยปลายนิ้วเท้าค่าที่ ได้จะเป็นบวก เกณฑ์เสี่ยง : สำ�หรับเพศชายระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือถึง ปลายนิ้วเท้าเท่ากับหรือมากกว่า 4 นิ้ว (- 4 นิ้ว ขึ้นไป) และในเพศหญิงระยะห่าง ระหว่างปลายนิ้วมือ ถึงปลายนิ้วเท้าเท่ากับหรือมากกว่า 2 นิ้ว (- 2 นิ้ว ขึ้นไป) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง
  • 23. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน16 6. เอื้อมแขนแตะมือทางด้านหลัง จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความ อ่อนตัวของร่างกายส่วนบน โดยเฉพาะหัวไหล่ ซึ่งสำ�คัญมากต่อการทำ�กิจกรรม เช่น การหวีผม,การสวมเสื้อทางศีรษะรวมทั้งการคาดเข็มขัดนิรภัยการประเมิน : ยื่นแขนข้างหนึ่งเหนือศีรษะแล้วงอแขนข้ามบ่าไปด้านหลัง งอแขนอีกข้างหนึ่งขึ้น จากด้านล่างไขว้ไปทางหลังแล้วเอื้อมขึ้นไปหาปลายมืออีกข้างหนึ่งที่กลางหลังเพื่อ ให้ปลายมือทั้งสองข้างชนกันหรือเกยกัน วัดระยะห่างจากปลายมือทั้งสองข้าง หากปลายมือทั้งสองข้างยังไม่ชนกัน ระยะห่างที่ได้จะเป็นค่าติดลบ หากปลาย มือทั้งสองข้างชิดหรือเกยกัน ระยะเกยกันที่ได้จะมีค่าเป็นบวก เกณฑ์เสี่ยง : สำ�หรับเพศชายระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือทั้งสองข้างเท่ากับหรือมากกว่า4นิ้ว (- 4 นิ้ว ขึ้นไป) และในเพศหญิงระยะห่างระหว่างปลายนิ้วมือทั้งสองข้างเท่ากับ หรือมากกว่า 2 นิ้ว (- 2 นิ้ว ขึ้นไป) ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง เอื้อมแขนแตะมือทางด้านหลัง (Back Sctatch)
  • 24. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 17 7. ลุกเดินจากเก้าอี้ไปและกลับ 16 ฟุต จุดประสงค์ : เพื่อประเมิน ความคล่องแคล่ว และการทรงตัวขณะเคลื่อนไหวซึ่งสำ�คัญต่อการทำ�กิจกรรมที่ ต้องการความรวดเร็ว เช่น การรีบลงจากรถโดยสาร การรีบเข้าไปในครัว การรีบ ไปห้องนํ้า รวมถึงการรีบไปรับโทรศัพท์ การประเมิน : วัดระยะเวลาที่ใช้ในการ ลุกขึ้นจากเก้าอี้ แล้วเดินต่ออีก 8 ฟุต หรือ 2.44 เมตร แล้วเลี้ยวกลับมานั่งเก้าอี้ ตามเดิม รวมระยะทาง 16 ฟุต เกณฑ์เสี่ยง : ทั้งเพศชายและเพศหญิงหากใช้ระยะ เวลาเดินมากกว่า 9 วินาที ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 8. ส่วนสูง นํ้าหนัก และรอบเอว จุดประสงค์ : เพื่อประเมินความอ้วน ความเสี่ยง หรือโอกาสต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน ซึ่งสำ�คัญต่อสุขภาพ การประเมิน : วัดส่วนสูง (เซนติเมตร) และชั่งนํ้าหนัก (กิโลกรัม) (โดยถอดรองเท้า) พร้อมทั้งวัดรอบเอวบริเวณส่วนที่คอดที่สุดระหว่าง สะดือกับลิ้นปี่ วัดตอนช่วงหายใจออก โดยให้สายวัดแนบลำ�ตัวพอดีอย่าดึงสายวัด จนแน่น นำ�ตัวเลขที่ได้จากการวัดส่วนสูง ทำ�ให้เป็นเมตร จากนั้นนำ�ไปหาร นํ้าหนักที่ชั่งได้ 2 ครั้ง ดังสูตร ดัชนีมวลกาย = นํ้าหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง (เมตร) เกณฑ์เสี่ยง : ทั้งเพศชายและเพศหญิง ถ้ามีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือ มากกว่า25กิโลกรัมต่อตารางเมตรถือว่ามีนํ้าหนักเกินและความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแล้ว และหากมีรอบเอวมากกว่า 102 ซ.ม. (40 นิ้ว) สำ�หรับเพศชาย และมากกว่า 88 ซ.ม. (35 นิ้ว) สำ�หรับเพศหญิงถือว่ามีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามสำ�หรับคนเอเชีย แล้วค่าดัชนีมวลกายเท่ากับหรือมากกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ถือว่านํ้าหนัก เกินและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นแล้วดังนั้นจึงไม่ควรอยู่ในความประมาท จงหมั่นออก กำ�ลังกายและบริโภคอาหารให้เหมาะสมอย่างสมํ่าเสมอ
  • 25. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน18 การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก การทำ�ความสะอาดควรทำ�อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง และหลังจากถ่าย อุจจาระ และปัสสาวะทุกครั้ง ผู้ป่วยที่สามารถทำ�ความสะอาดด้วยตนเองได้ ผู้ ดูแลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำ�เองแต่ถ้าหากผู้ป่วยทำ�เองไม่ได้ผู้ดูแลต้องเป็นผู้ทำ�ให้ ผู้สูงอายุในการดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก เพื่อป้องกันการ ติดเชื้อ เครื่องใช้การดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก 1. ตะกร้าสี่เหลี่ยม 1 ใบ สำ�หรับใส่เครื่องใช้ 2. เหยือกนํ้าขนาด 500 ซีซี บรรจุนํ้าสะอาด พร้อมขันนํ้า และนํ้าสบู่ หรือนํ้ายา 3 อับใส่สำ�ลีแห้ง 4. ถุงมือ 1 คู่ หรือปากคีบ 1 อัน 5. ภาชนะใส่กระดาษชำ�ระ เช่น กระโถน หรือถุงกระดาษ 6. ผ้าคลุม ผ้ายางรองก้น 7. หม้อนอนชนิดแบน วิธีการดูแลอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก 1. นำ�ของใช้ไปที่โต๊ะข้างเตียง บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำ�ความสะอาด อวัยวะสืบพันธุ์ให้ 2. ปิดประตู หรือกั้นม่าน และปิดตา เพื่อป้องกันการเปิดเผยผู้ป่วย 3. ปูผ้ายางรองบริเวณสะโพก 4. จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนหงายชันเข่า ให้ปลายเท้าและขาแยกออก จากกัน การแยกขา
  • 26. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 19 5. ห่มผ้าที่ตัวผู้ป่วย ผู้หญิงดึงผ้าถุงขึ้นไปที่เอว ผู้ชายดึงกางเกงลงล่าง คลุมผ้าที่บริเวณขาให้มิดชิด ปิดผ้าบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ไว้ก่อน เพื่อป้องกันการ เปิดเผยส่วนของร่างกายให้ผู้ป่วยยกก้นขึ้น หรือช่วยผู้ป่วยยกก้นขึ้น แล้วสอดหม้อ นอนที่ใต้ก้น และให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย 6. หยิบกระโถนหรือถุงกระดาษมาวางที่เตียงใกล้หม้อนอน เพื่อทิ้งสำ�ลี ที่ใช้แล้วให้สะดวกคีบสำ�ลี 6 - 8 ก้อนจากอับสำ�ลีลงในขันนํ้าสบู่หรือนํ้ายา การทำ�ความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ดังนี้ ก. เพศหญิง 1. เปิดผ้าที่คลุมระหว่างขาขึ้น 2. ใส่ถุงมือ เพื่อป้องกันไม่ให้มือสัมผัสกับนํ้าคัดหลั่งซึ่งอาจมีเชื้อ โรคปนเปื้อนอยู่ 3. เทนํ้าราดไปที่ขาหนีบเล็กน้อยอย่างเบามือและให้อวัยวะสืบพันธุ์ ภายนอกเปียก 4. ใช้ปากคีบคีบสำ�ลีชุบนํ้าสบู่หรือนํ้ายาบิดพอหมาดเช็ดบริเวณดัง ต่อไปนี้ 5. สำ�ลีก้อนที่ 1 เช็ดบริเวณหัวเหน่าจากซ้ายไปขวาแล้วทิ้งสำ�ลีลง ในถุงกระดาษสำ�ลีก้อนที่ 2, 3 เช็ดแคมใหญ่ด้านไกลตัวก่อน 1 ก้อน และใกล้ตัว 1 ก้อน โดยเช็ดจากด้านบนลงด้านล่าง 6. การเช็ดดังนี้ จะช่วยป้องกันมิให้เชื้อโรคจากทวารหนัก เข้าสู่ บริเวณปากช่องคลอด และรูเปิดของท่อปัสสาวะ 7. สำ�ลีก้อนที่ 4, 5 เช็ดแคมเล็กด้านไกลตัว และใกล้ตัวบริเวณละ 1 ก้อน จากด้านบนลงล่าง สำ�ลีก้อนที่ 6 เช็ดตรงกลางจนถึงทวารหนัก 8. สำ�ลีทุกก้อนเมื่อเช็ดเสร็จให้ทิ้งลงในถุงกระดาษ
  • 27. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน20 ข. เพศชาย 1. เปิดมุมผ้าที่คลุมระหว่างขาขึ้น 2. ใส่ถุงมือ เพื่อป้องกันไม่ให้มือไปสัมผัสกับนํ้าคัดหลั่ง เป็นการ ป้องกันเชื้อโรคติดต่อมายังผู้ดูแล เทนํ้าราดลงไปที่ขาหนีบเล็กน้อยอย่างเบามือ ต่อไปราดนํ้าให้ทั่วอวัยวะสืบพันธุ์ 3. ใช้มือซ้ายข้างที่ไม่ถนัดจับองคชาติตั้งขึ้นมือขวารูดหนังหุ้มปลาย ให้เปิดออกหยิบสำ�ลีชุบนํ้าสบู่หรือนํ้ายาในขันบิดหมาดๆทำ�ความสะอาดรูเปิดท่อ ปัสสาวะโดยเช็ดจากรูเปิดวนรอบองคชาติไปทางเดียวจนถึงโคนองคชาติ(เป็นการ เช็ดจากบริเวณที่มีการเปื้อนน้อย ไปหาส่วนที่เปื้อนหรือสกปรกมาก เพื่อป้องกัน เชื้อโรคเข้าสู่รูท่อปัสสาวะ) จากนั้นทิ้งสำ�ลีลงในถุงกระดาษทำ�ซํ้าจนสะอาด 4. ใช้สำ�ลีแห้งซับส่วนปลายให้แห้ง แล้วดึงหนังหุ้มปลายองคชาติ กลับมาปิดเหมือนเดิม 5. คีบสำ�ลีบิดหมาดๆ เช็ดทำ�ความสะอาดบริเวณลูกอัณฑะแล้ว เช็ดผิวหนังข้างใต้ลูกอัณฑะจนถึงทวารหนักให้สะอาด (ถ้าสกปรกมากเช่น เปื้อน อุจจาระต้องใช้สำ�ลีชุบนํ้าเช็ดอุจจาระออกให้หมดก่อน แล้วจึงจะใช้สำ�ลีชุบนํ้าสบู่ ทำ�ความสะอาด) 6. ซับบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งด้วยกระดาษชำ�ระด้าน บนลงล่าง เพื่อให้รู้สึกสบาย ไม่รำ�คาญจากความเปียกชื้น และลดการระคายเคือง 7. เลื่อนหม้อนอนออกให้ผู้ป่วยนอนตะแคงทำ�ความสะอาดบริเวณ ทวารหนักและแก้มก้นทั้งสองข้างแล้วใช้กระดาษชำ�ระซับให้แห้ง 8. จัดท่าให้นอนหงายเอาผ้าปิดตาออก นุ่งกางเกงให้เรียบร้อยแล้ว จัดให้นอนในท่าที่สบาย 9. นำ�ของเครื่องใช้ไปทำ�ความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
  • 28. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 21 การเลือกใช้อุปกรณ์ในการดูแลการขับถ่าย ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มักพบว่ามีปัญหาการควบคุมการขับถ่าย คือ มีภาวะกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ ผ้าอ้อมกางเกง “DIAPER” โดยทั่วไปผ้าอ้อม มี 2 ชนิด คือ ผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้งหรือผ้าอ้อมสำ�เร็จ กับผ้าอ้อมชนิดทำ�ด้วยผ้า การเลือกใช้ตามความสะดวก สภาพร่างกาย ราคา การใช้ในสถานที่ต่างๆ 1. ผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้ง หรือผ้าอ้อมสำ�เร็จ 1.1 ด้านในทำ�ด้วยวัสดุใยสังเคราะห์มีสารเคมีเป็นตัวดูดซับความชื้น ซึมซับนํ้าได้ดี ทำ�ให้รู้สึกแห้งสบาย แผ่นนอกมักทำ�ด้วยพลาสติกเพื่อกันปัสสาวะ รั่วซึมออกมา 1.2 มีขนาดต่างๆ กัน เลือกใช้ตามขนาดตัวผู้ป่วย คือ ขนาดเล็ก (Size S) ขนาดกลาง (Size M) ขนาดใหญ่ (Size L) ขนาดใหญ่พิเศษ (Size XL) 1.3 บางบริษัท/ยี่ห้อ มีการแบ่งตามความสามารถในการรองรับ ปัสสาวะ เช่น ผ้าอ้อมแบบเทป หรือแผ่นซึมซับปัสสาวะเล็ด หรือแผ่นรองซับ ลักษณะคล้ายผ้าอนามัย แต่เป็นคนละชนิดมีลักษณะใหญ่และหนากว่า (ไม่ควร นำ�ผ้าอนามัยมาใช้รองรับปัสสาวะเล็ดเพราะจะทำ�ให้เกิดหมักหมมเชื้อแบคทีเรีย มีกลิ่นคล้ายกลิ่นสาบ) สามารถรองรับปัสสาวะได้ปริมาณ 70 - 120 CC. มักใช้คู่ กับกางเกงในหรือรองในผ้าอ้อมกางเกง เมื่อเปื้อนสามารถดึงออกแล้วเปลี่ยนใหม่ เป็นการประหยัด เพราะมีราคาถูกกว่าผ้าอ้อมกางเกงสำ�เร็จ ผ้าอ้อมแบบกางเกง สำ�เร็จสามารถรองรับปัสสาวะได้ประมาณ 450 CC. หรือ 600 CC. เป็นต้น 1.4 ข้อเสียของผ้าอ้อมชนิดใช้แล้วทิ้ง มักระบายอากาศไม่ค่อยดี มักทำ�ให้เกิดผื่นแพ้ผ้าอ้อมได้ง่ายพบที่บริเวณซอกขาหนีบที่สัมผัสกับผ้าอ้อม ลักษณะผื่นพบผื่นสีแดงจัดขอบเขตชัดเจนสาเหตุของผื่นผ้าอ้อมเกิดจากที่สัมผัส แช่อยู่กับปัสสาวะ อุจจาระนานเกินไป
  • 29. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน22 ข้อแนะนำ�  ล้างทำ�ความสะอาดบริเวณนั้นด้วยนํ้าสะอาดแล้วซับให้แห้งทันที ทาครีมหรือวาสลีน บางๆ  เปลี่ยนผ้าอ้อมให้บ่อยขึ้น ทุก 2 - 3 ชั่วโมง หรือทุกครั้งที่ปัสสาวะ และอุจจาระ  เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในการซึมซับดี วิธีการใช้ผ้าอ้อมแบบเทปกาว 1. จับผู้ป่วยนอนตะแคง แล้วสอด ผ้าอ้อมเข้าด้านข้างและพลิกตัวผู้ป่วยกลับ 2. ดึงผ้าอ้อมขึ้นมาด้านหน้าโดยให้ คลุมปิดอวัยวะเพศ 3. ดึงขอบเอวของผ้าอ้อมผ้าอ้อม ด้านหลัง (ล่าง) ขึ้นมาทับขอบเอว ด้านบน ติด เทปให้กระชับกับตัวผู้ป่วย 4. จัดขอบขาด้านข้างให้ตั้งขึ้น เพื่อ ป้องกันการรั่วซึม
  • 30. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 23 วิธีการใส่กางเกงซึมซับ 1. จัดให้ผู้สูงอายุนั่ง แล้วสวมกางเกง ผ้าอ้อมเข้าที่ขา 2. โน้มให้ผู้สูงอายุยืนขึ้นพร้อมช่วย ดึงผ้าอ้อมขึ้นที่ต้นขา 3. ให้ผู้สูงอายุได้ช่วยตัวเองโดยใช้มือ ดึงผ้าอ้อมขึ้นทีละข้าง เพื่อฝึกการขยับเขยื้อนร่างกาย 4. จัดกางเกงซึมซับให้กระชับกับโดย ผู้ช่วยเหลือ ผ้าอ้อมชนิดทำ�ด้วยผ้า  มักทำ�ด้วยเส้นใยธรรมชาติ ทำ�จากผ้าฝ้าย เหมาะสำ�หรับผิวแพ้ง่าย สามารถระบายอากาศได้ดีกว่าผ้าอ้อม พลาสติก ใช้แล้วสามารถซักแล้วนำ�มาใช้ ได้อีก บางครั้งใช้ร่วมกับแผ่นรองซึมซับชนิดใช้แล้วทิ้ง
  • 31. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน24 การดูแลในผู้สูงอายุเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ ความดันโลหิตสูง ความดันเกิน 140/90 ขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำ�ลังกาย การ นอนหลับ เป็นโรคประจำ�ตัว ไม่มีอาการ หากเกิน 180/110 ถือว่า อันตรายมาก ให้รีบไปพบแพทย์ สัมพันธ์กับรับประทานอาหารเค็ม อ้วน กรรมพันธุ์ อายุมาก และการขาดการออกกำ�ลังกาย ทำ�ให้เกิด อัมพาต/อัมพฤกษ์ ไตวาย หัวใจโต/ หัวใจล้มเหลว/กล้ามเนื้อหัวใจตาย ตามัว/ตาบอด ระดับความรุนแรง  ระดับที่ 1 : 140 - 159/90 - 99 มม.ปรอท  ระดับที่ 2 : 160 - 179/100 - 109 มม.ปรอท  ระดับที่ 3 : มากกว่า 180/110 มม.ปรอท ควรจะวัดขณะนอนพัก ควรวัดซํ้า 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นความ ดันโลหิตสูงจริงๆ อาการ:ปวดศีรษะเวียนศีรษะเหนื่อยง่ายนอนไม่หลับส่วนมากไม่มีอาการ ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตจาก  หัวใจวายถึง 60 - 75 %  เส้นเลือดในสมองอุดตัดหรือแตก 20 - 30 %  ไตวายเรื้อรัง 5 - 10 %
  • 32. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 25 ข้อควรปฏิบัติเมื่อมีความดันโลหิตสูง 1. ออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอ 30 นาที/ 3 - 5 ครั้ง/สัปดาห์ 2. ลดเค็มหยุดบุหรี่และสุราไม่เครียดลดนํ้าหนักทานยาและพบแพทย์ สมํ่าเสมอ เบาหวาน ร่างกายผลิตฮอร์โมน “อินซูลิน” จากตับอ่อนไม่เพียงพอ ทำ�ให้นํ้าตาลในเลือดสูงผิดปกติ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ เบาหวานชนิดที่ 1 - มีภูมิต้านทานของร่างกายทำ�ลายเซลล์ที่สร้าง อินซูลินต้องฉีดอินซูลินไปตลอดชีวิต เบาหวานชนิดที่ 2 - สัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ นํ้าหนักตัวมาก การขาด การออกกำ�ลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น ยังสร้างอินซูลินได้บ้าง อาการ  ปัสสาวะมากและบ่อย นํ้าหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ  หิวนํ้าบ่อย เหนื่อยง่าย ติดเชื้อบ่อย สายตาพร่า แผลหายช้า  โรคแทรกซ้อน ตามัว ไตวาย อัมพฤกษ์/อัมพาต หลอดเลือดหัวใจตีบ แผลเรื้อรังจาก เบาหวาน ข้อควรปฏิบัติสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวาน 1. ควบคุมอาหารสมํ่าเสมอ ออกกำ�ลังกาย 2. ใช้ยาสมํ่าเสมอตามที่แพทย์แนะนำ� 3. ศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และวิธีปฏิบัติตัว 4. พบแพทย์สมํ่าเสมอ เพื่อวัดผลการควบคุมนํ้าตาล ตรวจหา โรคแทรกซ้อน ตรวจนํ้าตาลในเลือด 5. พกนํ้าตาล ลูกกวาดติดตัวเสมอใช้ทันที เมื่อมีอาการน่าสงสัยว่า นํ้าตาลตํ่า หมั่นตรวจเท้าทุกวัน
  • 33. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน26 ไขมันในเลือดสูง สาเหตุ : กรรมพันธุ์ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อายุที่มากขึ้น การขาดการออกกำ�ลังกาย การสูบบุหรี่ และ การดื่มสุรา แบ่งเป็น  คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol)  ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)  คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL)  คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) การปฎิบัติตัว  ลดอาหารคอเลสเตอรอลสูง : ไขมันสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่  ลดอาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง : แป้ง นํ้าตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด  ใช้นํ้ามันพืช จากถั่วเหลือง มะกอก ห้าม นํ้ามันปาล์ม/มะพร้าว/หมู  หยุดบุหรี่ ออกกำ�ลังกาย หยุดดื่มสุราทานผักมากๆ เพิ่มใยอาหาร ไปช่วยลดการดูดซึมไขมัน หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองตีบ 80%/แตก 20% ทำ�ให้เกิด อัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต ปัจจัยเสี่ยง
 - ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้ 1. ความดันโลหิตสูง 2. โรคเบาหวาน 3. โรคหัวใจ 4. ภาวะไขมันในเลือดสูง 5. ความอ้วน 6. การสูบบุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อายุ เชื้อชาติ
  • 34. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 27 อาการ แขนขาชาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งทันที พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือ ฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด เดินเซ เวียนศีรษะทันทีทันใด ตามองเห็นภาพซ้อน หรือ มืดมัวข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด การป้องกัน ออกกำ�ลังกายสมํ่าเสมอ ควบคุมนํ้าหนักให้เหมาะสม งดสูบบุหรี่ ตรวจสุขภาพประจำ�ปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงในกรณีมีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว ต้องรักษาและพบแพทย์ อย่างสมํ่าเสมอ ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาดผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีโอกาสเป็นซํ้าได้สูงกว่าคนปกติ หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ/กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด/ กล้ามเนื้อหัวใจตาย เกิดจากภาวะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีการตีบหรือตันซึ่งเป็น ผลจากภาวะไขมันสะสม ที่ผนังด้านใน ของเส้นเลือด อาการของโรค  เจ็บแน่นหน้าอกตรงกลางร้าวไปไหล่ซ้ายและแขนซ้าย หรือ ขึ้นไป ตามคอ กรามซ้าย อาการเป็นมากขึ้นเวลา ออกแรง นั่งพักจะดีขึ้น กระสับกระส่าย เหงื่อออกตัวเย็นเสียชีวิตปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันเหมือนโรคหลอดเลือดสมอง หากเกิดโรคแล้วต้องทานยาไปตลอดชีวิต  มีการออกกำ�ลังกายแบบแอโรบิกเพื่อฟื้นฟูหัวใจหลังเกิดอาการ  ไปพบแพทย์ตามนัด สมองเสื่อม มีการสูญเสียหน้าที่ของสมองหลายด้านพร้อมๆ กัน แบบ ค่อยเป็นค่อยไปแต่เกิดขึ้นอย่างถาวรอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมประเภทหนึ่ง ที่พบได้บ่อยที่สุด
  • 35. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน28 รักษาไม่ได้  เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ : อัลไซเมอร์ สมองขาดเลือดไปเลี้ยง : โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และการสูบบุหรี่ รักษาได้  เนื้องอกในสมอง โรคติดเชื้อในสมอง การขาดสารอาหารโดยเฉพาะ วิตามินบี อุบัติเหตุที่ศีรษะ หรือการได้รับยาบางอย่าง เช่นการใช้ยากล่อมประสาท เป็นประจำ� อาการ  ความจำ�เสื่อม โดยเฉพาะความจำ�ระยะสั้น  ปัญหาในการใช้ภาษา เช่น พูดไม่รู้เรื่อง พูดซํ้าๆ ซากๆ เรียกชื่อคน หรือสิ่งของเพี้ยนไป ลำ�บากในการหาคำ�พูดที่ถูกต้อง ทำ�ให้ผู้อื่นฟังไม่เข้าใจ  ปัญหาในการลำ�ดับทิศทางและเวลา ทำ�ให้เกิดการหลงทาง หรือ กลับบ้านตัวเองไม่ถูก  สติปัญญาด้อยลง การคิดเรื่องยากๆ หรือคิดแก้ปัญหาอะไรไม่ค่อย ได้ มีการตัดสินใจผิดพลาด  วางของผิดที่ผิดทาง  อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายและรวดเร็ว เช่น เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวก็สงบนิ่ง  บุคลิกเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ซึมเศร้า หรืออาจ จะมีบุคลิกที่กลับไปเป็นเด็ก ในรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจไม่สามารถช่วย เหลือตนเองได้ จึงต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา
  • 36. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 29 แนวทางการป้องกันภาวะสมองเสื่อม 1. รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ 2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด 3. ระวังการใช้สารที่อาจเกิดอันตรายต่อสมอง เช่น เครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ ยาโดยไม่จำ�เป็น 4. ระวังปัจจัยเสียงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ ที่มีควันบุหรี่ 5. การฝึกสมอง พยายามทำ�กิจกรรมที่ได้ใช้สมองอย่างสมํ่าเสมอ 6. ออกกำ�ลังกายให้สมํ่าเสมอ 7. ตรวจสุขภาพประจำ�ปี 8. ระมัดระวังอุบัติเหตุต่างๆ โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ศีรษะ 9. หลีกเลี่ยงความเครียด ซึ่งสามารถทำ�ได้หลายวิธี เช่น การเดินทางไป พักผ่อนการฝึกสมาธิ เป็นต้น
  • 37. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน30 การป้องกันและการดูแลแผลกดทับในผู้สูงอายุ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับแบ่งเป็น 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ สภาพของผู้ป่วยเอง อายุที่สูงขึ้น ชั้นไขมันใต้ ผิวหนังบางลง โรคประจำ�ตัว สภาวะโภชนาการที่แย่ลง การจำ�กัดการเคลื่อนไหว และการควบคุมการขับถ่ายที่ลดลง 2. ปัจจัยภายนอก ได้แก่ แรงกด แรงเลื่อนไถล แรงเสียดทาน และ ความเปียกชื้น ซึ่งเหล่านี้เป็นปัจจัย ที่เกิดขึ้นร่วมกันปัจจัยภาย ในทำ�ให้เกิด แผลกดทับขึ้น การป้องกัน จากสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวมา ทำ�ให้เราสามารถหา แนวทางการป้องกันแผลกดทับ ได้ดังนี้ การลดแรงกด เป็นปัจจัยสำ�คัญปัจจัยหนึ่ง ในการลดการเกิดแผลกดทับ คือ การจัดท่าผู้ป่วย การเลือกใช้อุปกรณ์ลดแรงกด การจัดท่าผู้ป่วยการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยเป็นหลักเบื้องต้นในการป้องกันแผลกดทับ 1. พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง และควรมีการบันทึกไว้ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดแผลกดทับสูงสามารถพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยได้บ่อย กว่าทุก 2 ชั่วโมง หากพบว่าที่ผิวหนังมีรอยแดงเกิดขึ้นนอกจากนี้การพลิกตะแคง ตัวยังขึ้นกับชนิด ของที่นอนด้วย 2. ในการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ควรตะแคงตัวให้สะโพกเอียงทำ�มุม 30 องศากับที่นอน เพื่อหลีกเลี่ยงแรงกดโดยตรงกัน ในการจัดท่านอนหงายควร มีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า และระหว่างตาตุ่ม 2 ข้างเพื่อป้องกันการกดทับ เฉพาะที่ 3. ป้องกันการเกิดแผลกดทับบริเวณส้นเท้าโดยการใช้หมอนรองบริเวณ น่อง หรือขาส่วนล่างให้ส้นเท้าลอยพ้นพื้นที่นอนไม่ให้ถูกกด
  • 38. คู่มือการดำ�เนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน 31 4. ในการจัดท่านอนศีรษะสูง ไม่ควรสูงเกิน 30 องศา เพื่อป้องกันการ เกิดการเลื่อนไถล และการกดทับ แต่ถ้าจำ�เป็นต้องนอนศีรษะสูง เพื่อให้อาหาร ทางสายยาง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา ภายหลังจากให้อาหารแล้วประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง 5. การยกตัวผู้ป่วย ควรใช้ผ้ายกตัว ไม่ควรใช้วิธีลาก 6. ในการนั่งรถเข็น ควรสวมรองเท้า/รองเท้าหุ้มส้นทุกครั้ง และสายรัด กันเท้าตก เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นขณะเข็นรถได้ 7. ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ควรอยู่ในท่านั่งได้ไม่เกิน ครั้งละ 1 ชั่วโมง การดูแลผิวหนัง มีเป้าหมายเพื่อควบคุมและปรับปรุงเนื้อเยื่อที่ถูกกดให้มีความแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บ 1. การทำ�ความสะอาดร่างกายผู้ป่วยที่ผิวหนังแห้ง หลีกเลี่ยงการใช้ นํ้าอุ่นในการทำ�ความสะอาดร่างกาย และสบู่ควรเลือกทำ�ความสะอาดร่างกาย วันละครั้ง หรือตามความเหมาะสม 2. สำ�หรับผู้ป่วยที่ผิวแห้ง ควรเพิ่มการทาโลชั่นโดยทา 3 - 4 ครั้งต่อวัน ถ้าเป็นครีมทา 2 - 3 ครั้งต่อวัน 3. ในรายที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำ�ความสะอาดทุกครั้งที่มีการ ขับถ่าย และซับให้แห้ง ในการทำ�ความสะอาดควรเช็ดอย่างเบามือ และซับให้แห้ง ด้วยผ้าที่อ่อนนุ่ม หลังจากนั้นทาวาสลีนหรือโลชั่นทุกครั้ง เพื่อปกป้องผิวหนังใน ส่วนนั้นเป็นแผลจากความเปียกชื้น 4. ควรหาสาเหตุของการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้และแก้ไข เช่นการฝึก การขับถ่ายปัสสาวะ และการฝึกขับถ่ายอุจจาระ เป็นต้น 5. การยกตัวผู้ป่วยควรใช้ผ้ายกตัว ไม่ควรใช้วิธีลาก