SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 68
Descargar para leer sin conexión
แผนงานวิจัยหลัก
การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำ�หน่ายผู้สูงอายุ
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
Research for developing of discharge planning model
for elderly patient by multidisciplinary team of
The Supreme Patriarch Center on Aging
งานวิจัยย่อย เรื่อง
รูปแบบการวางแผนจำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ
Discharge planning model for elderly patient
with Cerebrovascular disease by multidisciplinary team
คำ�นำ�
	 โรคหลอดเลือดสมอง หรือ โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยเป็น
อันดับต้น ๆ ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เมื่อเกิดโรคแล้วจะก่อให้เกิดอาการ
ทางระบบประสาท ซึ่งผู้ป่วยต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างนาน โดยการรักษา
ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือการฟื้นฟูสมรรถภาพนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความพิการ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ทำ�ให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพ ประกอบ
ด้วย การทำ�กายภาพบำ�บัด เพื่อฝึกให้ผู้ป่วยสามารถทรงตัวนั่ง ยืน เดิน ส่งเสริม
ให้แขนหรือมือใช้งานได้มากขึ้น จนกระทั่งสามารถประกอบกิจวัตรประจำ�วัน เช่น
ใส่เสื้อผ้า ล้างหน้าแปรงฟันเข้าห้องนํ้าได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย
อาจต้องใช้กายอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ตามศักยภาพของ
ผู้ป่วยเข้าสู่สังคมได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
	 การจัดทำ�คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูฉบับผู้ป่วย
และผู้ดูแลฉบับนี้จัดทำ�เพื่อใช้ประกอบโครงการวิจัยเรื่อง รูปแบบการวางแผน
จำ�หน่ายผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ โดยใช้แนวทาง
เวชปฏิบัติในเรื่องโรคหลอดเลือดสมองสำ�หรับประชาชนของสถาบันประสาท
วิทยา, คู่มืออัมพาตครึ่งซีกฉบับผู้สูงอายุของศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร
เพื่อผู้สูงอายุ รวมทั้งการดูแลจิตใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของสำ�นักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นแนวทางจัดทำ�คู่มือครั้งนี้
	 คณะผู้จัดทำ�โครงการวิจัยฯขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและ
ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ที่กรุณาให้คำ�ชี้แนะและทบทวนความถูกต้องทางวิชาการ
ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างสูงในการดำ�เนินโครงการวิจัยและจัดทำ�คู่มือในครั้งนี้
	 คณะผู้จัดทำ�โครงการวิจัยฯ
	 มีนาคม 2554
กคู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
สารบัญ
หน้า
การเกิดอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง	 1
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง	 1
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน	 3
การสื่อสารกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง	 5
การดูแลกิจวัตรประจำ�วัน	 6
การดูแลในการรับประทานอาหาร	 11
การแต่งตัว			 13
การดูแลสุขภาพช่องปาก	 24
การให้อาหารทางสายยาง	 25
การส่งเสริมความสามารถการเคลื่อนไหวของแขน มือ และขา	 28
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย	 40
การดูแลการนอน 		 44
การป้องกันแผลกดทับ	 48
การดูแลจิตใจผู้ป่วย	 51
การปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม	 54
บรรณานุกรม		 61
ข คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
1คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การเกิดอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง
	 เส้นเลือดในสมองแตก ตีบ หรือตัน  สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง สมอง
ตาย หรือไม่สามารถทำ�หน้าที่ได้ตามปกติ  อวัยวะที่สมองส่วนดังกล่าวควบคุม
หยุดทำ�งาน หรือสูญเสียสมรรถภาพ  เกิดอาการอ่อนแรง หรือการรับความรู้สึก
ผิดปกติ  ทำ�ให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
	 	อ่อนแรงแบบถาวร ไม่มีการฟื้นตัว แต่อาจมีอาการเกร็งร่วมด้วย
(อัมพาต)
	  อ่อนแรงชั่วคราว มีการฟื้นตัวบางส่วน (อัมพฤกษ์)
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง
	 1.	 ความดันโลหิตสูง ทำ�ให้หลอดเลือดเสื่อม เนื่องจากแรงดันเลือดที่
ออกมาจากหัวใจมีแรงดันสูงขึ้น ทำ�ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมเร็ว ขาดความยืดหยุ่น
และแตกเปราะง่าย พบว่ากว่าร้อยละ 35 - 73 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
มีภาวะความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
	 2.	 เบาหวาน เป็นปัจจัยสำ�คัญรองมาจากภาวะความดันโลหิตสูง
	 3.	 ความอ้วน ผู้ที่มีนํ้าหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นเบาหวาน และความ
ดันโลหิตสูง หรืออาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง
	 4. 	ไขมันในเลือดสูง ทำ�ให้ผนังเส้นเลือดแดงไม่ยืดหยุ่น เกิดการตีบตัน
ง่าย เลือดจึงไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อย ถ้าเกิดกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง
สมอง จะทำ�ให้สมองขาดเลือด และเป็นอัมพาตในที่สุด
	 5.	 การสูบบุหรี่และดื่มสุรา การดื่มสุราจะทำ�ให้หลอดเลือดเปราะ หรือ
เลือดออกง่าย เช่นเดียวกับผู้ที่สูบบุหรี่และจะพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่มีอัตราการเกิด
โรคหลอดเลือดสมองมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
2 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 6.	 ความเข้มข้นของเลือด ถ้ามีฮีโมโกลบินสูงกว่าปกติ ก็มีโอกาสทำ�ให้
เลือดหนืดรวมตัวเป็นลิ่มเลือดไปอุดตันทำ�ให้สมองขาดเลือด
	 7.	 โรคหัวใจ ได้แก่ โรคหัวใจวาย โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ
	 8.	 ยาต่าง ๆ ได้แก่ สตรีที่รับประทานยาคุมกำ�เนิดร่วมกับเป็นความดัน
โลหิตสูง
	 9.	 อายุที่มากขึ้น มีความสัมพันธ์ต่อการเสื่อมของหลอดเลือด
	 10.	การดำ�เนินชีวิต บุคคลที่ดำ�เนินชีวิตด้วยความเครียด ไม่รู้จักผ่อน
คลาย ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงทำ�ให้เจ็บป่วยง่าย กล้ามเนื้อ ข้อต่าง ๆ ของ
ร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดก็พลอยเสื่อมเร็วขึ้นด้วย
3คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน
บทบาทหน้าที่ของญาติ/ผู้ดูแลและครอบครัว
	 	 กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำ�กิจวัตรประจำ�วันด้วยตัวเองให้มากที่สุด เท่าที่
ผู้ป่วยสามารถทำ�ได้ เช่น แปรงฟัน อาบนํ้า แต่งตัว หวีผม รับประทานอาหารด้วย
ตนเอง การลุกนั่ง การขับถ่าย โดยญาติอาจคอยช่วยเหลือเป็นกรณีไป การกระตุ้น
ให้ผู้ป่วยทำ�กิจวัตรประจำ�วันด้วยตนเองจะทำ�ให้ผู้ป่วยฟื้นได้เร็วขึ้น ญาติ / ผู้ดูแล
ควรให้กำ�ลังใจ และส่งเสริมผู้ป่วยให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
	 	 กระตุ้นผู้ป่วยไม่ให้ลืมร่างกายข้างที่อ่อนแรง โดย จัดวางอุปกรณ์
เครื่องใช้ไว้ข้างที่อ่อนแรง การพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยไม่ลืม ยื่นสิ่งของให้ หรือการ
ป้อนข้าวควรเข้าข้างที่อ่อนแรง
	 	 กระตุ้นการรับรู้ บุคคล วันเวลา สถานที่ และสังคม โดยจัดให้มี
นาฬิกา ปฏิทิน รูปภาพ โทรทัศน์ ให้ผู้ป่วยดู ให้ญาติ หรือผู้ดูแลช่วยบอกถาม
พูดคุย หรือให้ผู้ป่วยพูดคุยกับลูกหลาน ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ หรือผู้คุ้นเคย
	 	 ครอบครัวให้ความรัก ความใส่ใจเข้าใจปัญหาของผู้ป่วย กระตุ้น
ให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมต่างๆ ในครอบครัวเท่าที่ทำ�ได้อย่างสมํ่าเสมอ ไม่ปล่อยให้
ผู้ป่วยนอนอยู่แต่บนเตียง เช่น พาผู้ป่วยไปเดินเล่น ออกกำ�ลังกาย ออกนอกบ้าน
ไปสถานที่ต่างๆ บางรายอาจต้องให้มีส่วนร่วมรับรู้ในกิจการงาน ตลอดจนสังคม
สมาคม ที่เคยทำ�มาก่อนบ้างตามความเหมาะสม
	 	 ผู้ป่วยอาจมีความต้องการทางเพศเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งผู้ดูแลโดย
เฉพาะสามีหรือภรรยา ควรทำ�ความเข้าใจและปลอบโยนเป็นกำ�ลังใจให้ผู้ป่วย
	 	 ควรมีการหมุนเวียนผู้ดูแลกรณีผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองไม่ได้เนื่องจาก
ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นเวลานาน
4 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 	 มาพบแพทย์ตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ถูกต้องและ
ครบถ้วน หากมีอาการผิดปกติให้มาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น แขน-ขาอ่อนแรง
หรือชามากขึ้นง่วงซึมสับสนมากขึ้นพูดไม่ได้ไม่เข้าใจคำ�พูดมากขึ้นมีไข้ติดต่อกัน
เกิน 3 วัน ปัสสาวะบ่อยกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็น เป็นต้น
	 	 กรณีที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ให้ติดต่อสถานบริการ
ใกล้บ้าน เช่น โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือศูนย์บริการสาธารณสุขตามสิทธิ
การรักษาของผู้ป่วย
	 	 หากมีปัญหาในการดูแลผู้ป่วยควรปรึกษาทีมสุขภาพ
5คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การสื่อสารกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
	 ผู้ป่วยอาจมีปัญหาการสื่อสาร เช่น ฟังคำ�พูดไม่เข้าใจ พูดไม่ชัด พูดไม่ได้
ทำ�ให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานใจ หงุดหงิด ท้อแท้ ญาติควรทำ�ความเข้าใจปัญหาของ
ผู้ป่วย มีความใจเย็นและอดทนที่จะช่วยเหลือ อาจให้ผู้ป่วยใช้วิธีสื่อสารอื่น ๆ
ทดแทน เช่น การเขียน การอ่าน การชี้รูปภาพ สัญลักษณ์ที่สื่อความต้องการ หรือ
ความหมายแทนคำ�พูด
วิธีสื่อสารกับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
	 	 หันหน้าเข้าหาผู้ป่วยเมื่อต้องการจะพูดด้วย อย่าทำ�กิจกรรมอื่น
ร่วมด้วย เช่น เปิดวิทยุ โทรทัศน์ พร้อม ๆ กัน
	 	 พยายามพูดกับผู้ป่วยด้วยคำ�ง่าย ๆ และพูดช้า ๆ ชัด ๆ กระตุ้นให้
ผู้ป่วยตอบ เช่น “ใช่” “ไม่ใช่”
	 	 ถ้าจำ�เป็นให้ใช้ท่าทาง หรือภาษามือช่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ
	 	 เวลาตอบคำ�ถามต้องให้เวลากับผู้ป่วยเพียงพอ อย่าพูดแทนผู้ป่วย
	 	 กระตุ้นให้ผู้ป่วยร่วมวงสนทนาถ้าพอจะทำ�ได้
	 	 พูดกับผู้ป่วยธรรมดา ๆ ใช้นํ้าเสียงปกติ ไม่ตะโกน ไม่ใช้คำ�พูดที่ทำ�ให้
ผู้ป่วยมีปมด้อย
	 	 การกระตุ้นและชมเชยในภาวะที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความ
มั่นใจมากยิ่งขึ้น
	 	 การสัมผัสผู้ป่วย การยอมรับผู้ป่วยอย่างสงบ สุภาพ การเข้าใจผู้ป่วย
และความอดทนจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเชื่อมั่นและผ่อนคลาย
6 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การดูแลกิจวัตรประจำ�วัน
	 กิจวัตรประจำ�วัน หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่บุคคลกระทำ�เป็นประจำ�
ในแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ซึ่งผู้ป่วยที่อ่อนแรงครึ่งซีกต้องเรียนรู้
การทำ�กิจวัตรประจำ�วันต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและ
ไม่เป็นภาระของผู้อื่น
การดูแลความสะอาดร่างกาย
การเช็ดตัวในรายที่ผู้ป่วยไม่สามารถอาบนํ้าได้
	 1. ปิดพัดลมและเครื่องปรับอากาศขณะเช็ดตัว
	 2. นำ�กะละมังและเครื่องใช้ต่าง ๆ มาวางที่โต๊ะข้างเตียงผู้ป่วย
7คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	เลื่อนตัวผู้ป่วยให้ชิดริมเตียงข้างที่ผู้ดูแลยืนอยู่ หนุนหมอน หรือไข
เตียงให้ศีรษะสูงจากพื้นเตียงประมาณ 1 ฟุต คลุมผ้าเช็ดตัวที่หน้าอก ให้ผู้ป่วย
ทำ�ความสะอาดปากและฟัน แต่ถ้าผู้ป่วยทำ�เองไม่ได้ ให้ทำ�ความสะอาดปากและ
ฟันให้
	 4. 	ถอดเสื้อผ้าผู้ป่วยออก ใช้ผ้าเช็ดตัวปิดแทน เปิดเฉพาะส่วนที่จะเช็ด
เท่านั้น
	 5. 	ใช้ผ้าชุบนํ้าบิดพอหมาด เช็ดให้ทั่วใบหน้า หู จมูก คอ และใช้ผ้าอีก
ผืนชุบนํ้าพอหมาด ฟอกสบู่ เช็ดให้ทั่วและเช็ดด้วยนํ้าจนสะอาดและซับให้แห้ง
8 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 6.	 เช็ดช่วง อก และหน้าท้องด้วยวิธีเดียวกันจนสะอาด ซับให้แห้งแล้ว
เปลี่ยนนํ้า
	 7.	 เช็ดแขนด้านที่อยู่ไกลตัวก่อน ด้วยสบู่ และเช็ดด้วยนํ้าจนสะอาด ซับ
ให้แห้ง
	 8.	 ย้ายมาเช็ดแขนข้างที่อยู่ใกล้ตัวด้วยวิธีเดียวกัน เสร็จแล้วแช่มือใน
กะละมัง ฟอกและล้างมือให้สะอาด ซับให้แห้ง แล้วเปลี่ยนนํ้า
	 9. 	เช็ดขาด้านที่อยู่ไกลตัวก่อนแล้วจึงเช็ดข้างที่อยู่ใกล้ตัวด้วยวิธีเดียวกัน
เสร็จแล้วแช่เท้าในกะละมัง ฟอกและล้างเท้าให้สะอาดซับให้แห้งแล้วเปลี่ยนนํ้า
9คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 10.	ผู้ดูแลเดินกลับไปด้านตรงข้าม พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยโดยหันหน้า
เข้าหาผู้ดูแล ใช้ผ้าเช็ดตัวปูแนบหลังผู้ป่วยจนถึงคอ เพื่อป้องกันการเปียกนํ้า เช็ด
หลังจนถึงคอด้วยนํ้าสบู่เช็ดตามด้วยนํ้าสะอาด ซับให้แห้ง เสร็จแล้ว ทาแป้ง และ
ควรนวดหลังให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยการไหลเวียนเลือดและป้องกันการเกิดแผลกดทับ
	 11.	ให้ผู้ป่วยนอนหงายและทาแป้งใส่เสื้อและกางเกงหวีผมให้เรียบร้อย
	 12.	จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าที่สบาย
	 13.	นำ�เครื่องใช้ไปทำ�ความสะอาดและผึ่งแดดให้แห้ง
	 14.	ถ้าเล็บมือ เล็บเท้ายาว ควรตัดเล็บหลังจากเช็ดตัวเสร็จแล้ว
	 หมายเหตุ ควรให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะก่อนเช็ดตัวหรืออาบนํ้า
เพื่อความสะดวกและจะได้ไม่ต้องเสียเวลาหลายครั้ง
10 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การอาบนํ้ากรณีผู้ป่วยสามารถอาบนํ้าได้เองแต่ต้องช่วยบางส่วน
	 ผู้ป่วยที่อ่อนแรงครึ่งซีกมักมีปัญหาด้านสุขอนามัย ซึ่งอาจเกิดจากอาการ
อ่อนแรงหรือความผิดปกติทางการรับรู้เช่นการอาบนํ้าถูตัวไม่ถึงเนื่องจากมือข้าง
เดียวทำ� หรือจับแปรงสีฟันไม่ถนัดทำ�ให้เกิดปัญหาในช่องปากได้ ฉะนั้นผู้ป่วยควร
ได้รับการดูแล ตักเตือนเสมอ สำ�หรับอุปกรณ์ช่วยในการทำ�ความสะอาดร่างกาย
ก็มีการดัดแปลงเป็นพิเศษ เช่น
	 1.	 ฟองนํ้าถูตัวที่มีด้ามยาว
	 2.	 แปรงสีฟันเสริมด้ามและเพื่อความสะดวกปลอดภัยควรใช้ผ้าเทปพัน
	 3.	 ผ้าขนหนูแบบห่วงทั้ง 2 ข้าง
	 4.	 แผ่นรองกันลื่นในอ่างอาบนํ้า หรือใต้ฝักบัว
	 5.	 เก้าอี้นั่งอาบนํ้า
11คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การดูแลในการรับประทานอาหาร
	 	 จัดอาหารให้เหมาะสมกับโรค ตามแต่โรคประจำ�ตัวของผู้ป่วยแต่ละ
ราย เช่น เบาหวาน ไขมันสูงในเลือด ความดันโลหิตสูง
	 	 จัดเวลาให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อนก่อนรับประทานอาหาร ลดสิ่ง
กระตุ้นขณะรับประทานเช่นไม่ดูทีวีเพราะจะทำ�ให้ความสนใจในการรับประทาน
อาหารลดลง จัดวางอาหารให้อยู่ในลานสายตาที่ผู้ป่วยมองเห็นได้ ให้เวลาในการ
รับประทานไม่ควรเร่งผู้ป่วย
	 	 จัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง หรือนอนศีรษะสูง ก้มตัวไปข้างหน้าเล็ก
น้อย ขณะรับประทานอาหารที่มีลักษณะเป็นเส้น ชิ้นยาวใหญ่ ควรตัดหรือหั่นให้
ชิ้นเล็ก ควรดูแลรักษาความสะอาดปากฟัน ผู้ป่วยที่มีปัญหากลืนลำ�บาก สำ�ลัก
ควรเลือกอาหารที่กลืนง่ายที่สุดโดยให้เริ่มอาหารบด หรือ ปั่นข้น เช่น มันบด
สังขยา ต่อมารองให้อาหารอ่อนข้น เช่น โจ๊ก ข้าวสวยนิ่ม ๆ จนสามารถกลืนได้ดี
จึงให้อาหารธรรมดา เช่น ข้าวสวย ผักต้ม ผลไม้สุก จนสามารถรับประทานที่เป็น
นํ้า ได้ เช่น นํ้า นม นํ้าผลไม้
12 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 หลังรับประทานอาหารให้ผู้ป่วยดื่มนํ้าตามทุกครั้ง อาจใช้หลอดดูด หรือ
ใช้ช้อนป้อนให้ดื่มทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง แปรงฟัน บ้วนปาก ล้างเศษอาหารที่เหลือ
ค้างในกระพุ้งแก้มด้านที่อ่อนแรงออกให้หมดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
การจัดท่านั่งขณะรับประทานอาหาร
	 กรณีผู้ป่วยรับประทานอาหารได้เองผู้ป่วยต้องมีอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
ในการหยิบจับ และรับประทานอาหารได้โดยสะดวก ต้องมีการจัดท่าที่เหมาะสม
เพื่อความปลอดภัยป้องกันการสำ�ลักที่พบบ่อย
	 	 ท่านั่ง…จัดที่นั่งพื้นเรียบไม่ยืดหยุ่นเท้าวางราบบนพื้น มือวางบนโต๊ะ
ลำ�ตัวอยู่ในท่าสมดุล เท้าวางพื้น เข่างอ 90 องศา ลำ�ตัวโน้มไปด้านหน้าเล็กน้อย
ก้มหน้าเล็กน้อย
	 	 ท่านอน…สะโพกและเข่างอเล็กน้อย ก้มตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย
13คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การแต่งตัว
การสวมเสื้อติดกระดุมด้านหน้า
	 1. 	จัดวางเสื้อให้อยู่บนตัก โดยให้ด้านในวางขึ้น ส่วนคอเสื้อให้อยู่ไกล
จากตัวผู้ป่วย (ดังรูป)
	 2. 	ใช้มือด้านแข็งแรงจับด้านอ่อนแรง (แขนขวา) จับสอดเข้าไปในเสื้อ
ด้านขวา ดึงเสื้อขึ้น
14 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	มือที่แข็งแรงดึงเสื้อขึ้นไปจนถึงไหล่ จัดเสื้อส่วนที่เหลือพาดไป
ด้านหลัง แล้วยื่นแขนไปด้านหลังเพื่อสอดแขนเข้าไปในเสื้อ
การถอดเสื้อติดกระดุมด้านหน้า
	 1. 	ใช้มือแข็งแรงจับบริเวณไหล่ด้านอ่อนแรง แล้วถอดเสื้อออกจากไหล่
ถึงข้อศอก (ดังรูป)
15คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 2. 	ใช้มือแข็งแรง (ด้านซ้าย) จับตรงกลางของขอบเสื้อด้านซ้าย ดึงเสื้อ
ให้หลุดจากไหล่ของผู้ป่วย
	 3. 	จากนั้นยกแขนข้างแข็งแรงให้แขนเสื้อหลุดออกจากตัวผู้ป่วย และใช้
มือดึงเสื้อออกจากแขนของผู้ป่วย ตามลำ�ดับ
16 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การสวมกางเกง
	 1.	 ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งห้อยเท้าข้างเตียงจัดกางเกงให้อยู่ในลักษณะพร้อม
ที่จะสวมและใช้มือแข็งแรงยกขาด้านอ่อนแรงวางทับขาด้านแข็งแรงจับขากางเกง
ด้านขวาให้เท้าขวาสวมเข้าในกางเกง (ดังรูป) จากนั้นใช้มือด้านแข็งแรงดึงกางเกง
ขึ้นจัดเท้าด้านแข็งแรงสวมเข้าที่ขากางเกงด้านซ้ายใช้มือดึงขอบกางเกงขึ้นสูงที่สุด
เท่าที่จะทำ�ได้
	 2. 	กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถยืนได้ ให้ผู้ป่วยนอนหงายลงบนเตียงแล้ว ให้
งอเข่า สะโพกด้านแข็งแรง และใช้เท้ายันตัวขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อสะโพกยกขึ้นให้
ใช้มือข้างแข็งแรงดึงกางเกงให้เรียบร้อย ติดตะขอและกระดุมด้านหน้า
17คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	กรณีที่ผู้ป่วยสามารถยืนได้ ให้ผู้ป่วยลุกขึ้นยืนและพิงไปที่เตียง และ
ใช้มือข้างแข็งแรงดึงกางเกงขึ้น จัดกางเกงให้เรียบร้อย
18 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การถอดกางเกง
	 1.	 กรณีผู้ป่วยสามารถทรงตัวได้ดี สามารถถอดกางเกงได้ในท่ายืน
อาจแนะนำ�ให้ผู้ป่วยยืนพิงเตียง และใช้มือด้านแข็งแรงถอดกางเกง
	 2. 	กรณีผู้ป่วยทรงตัวได้ไม่ดีแนะนำ�ว่าควรอยู่ในท่านั่งห้อยเท้าข้างเตียง
ใช้มือด้านแข็งแรงดันกางเกงออกจากขาด้านซ้าย โดยวางขาด้านอ่อนแรงทับขา
แข็งแรงและใช้มือดึงกางเกงออกจากเท้าด้านอ่อนแรง (ดังรูป) หรือให้ผู้ป่วยนอน
หงายบนเตียง ถอดตะขอ ซิป กระดุม (หากมี) โดยงอเข่า งอสะโพก และเท้าด้าน
แข็งแรงบนที่นอน ยันตัวขึ้น แล้วใช้มือด้านแข็งแรงดึงกางเกงออก
19คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การสวมถุงเท้า
	 1.	 เตรียมถุงเท้าให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะสวมใส่ใช้มือข้างแข็งแรงยกขา
ด้านอ่อนแรงทับขาแข็งแรง (ดังรูป) ซึ่งจะง่ายต่อการใช้มือข้างแข็งแรงสวมถุงเท้า
และดึงถุงเท้าขึ้น
20 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 2.	 ยกขาด้านแข็งแรงขึ้นข้ามขาอีกด้านใช้มือข้างแข็งแรงสวมถุงเท้าและ
ดึงถุงเท้าขึ้น
การถอดถุงเท้า
	 1.	 ใช้มือข้างแข็งแรงยกขาด้านอ่อนแรงทับขาแข็งแรง (ดังรูป) จากนั้น
ถอดถุงเท้าออก
21คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 2. 	ยกขาด้านแข็งแรงขึ้นข้ามขาอีกด้าน และถอดถุงเท้าออก
การสวมรองเท้า
	 1. 	ใช้มือแข็งแรงยกเท้าอ่อนแรงวางบนรองเท้า (หากรองเท้ามีเชือกผูก
ควรปล่อยเชือกให้หลวมมากที่สุด) เพื่อง่ายต่อการสวม และพยายามดันเท้าให้
เข้าไปในรองเท้ามากที่สุด
22 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 2. 	สวมรองเท้าด้านแข็งแรง โดยวางรองเท้าที่พื้น และดันเท้าที่ดีเข้าใน
รองเท้า
	 หมายเหตุหากผู้ป่วยดันเท้าเข้าไม่หมดควรใช้ช้อนรองเท้ารองบริเวณส้น
เท้า เพื่อให้เท้าเข้าในรองเท้า หรือ ใช้มือด้านแข็งแรงกดลงบนเข่าที่อ่อนแรง แรง
กดจะทำ�ให้ส้นเท้าสวมเข้าในรองเท้าได้ และหากผู้ป่วยมีนิ้วเท้างอ ควรใช้รองเท้า
ที่เปิดหัวตลอด จะช่วยให้สวมสะดวก
23คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การสวมเสื้อชั้นในสตรี
	 1. 	วางเสื้อชั้นในรอบเอว โดยหมุนด้านหลังให้อยู่ด้านหน้าของผู้ป่วย
และติดตะขอ
	 2. 	หมุนเสื้อชั้นในให้ด้านหน้าของเสื้ออยู่ด้านหน้าของผู้ป่วย ใช้มือข้าง
แข็งแรงดึงสายเสื้อในขึ้น จนถึงแขนด้านบน
24 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	ใช้แขนแข็งแรงสอดเข้าสายเสื้อ และดึงสายเสื้อขึ้นจนถึงไหล่ และจัด
แขนเสื้อด้านอ่อนแรงให้ถึงไหล่ ดึงเสื้อชั้นในให้อยู่ในลักษณะที่ดี
การดูแลสุขภาพช่องปาก
กลุ่มที่ 1	กรณีผู้ป่วยไม่มีความพิการทางร่างกาย สื่อสารได้
	 ผู้ป่วยสามารถแปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟูลออไรด์อย่าง
น้อยวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับการใช้ไหมขัดฟันแปรงซอกฟัน
กลุ่มที่ 2	กรณีผู้ป่วยมีความพิการทางร่างกายบางส่วน มีความลำ�บากในการ	
	 ใช้มือ สามารถสื่อสารได้
	 เพิ่มขนาดด้ามแปรงให้ใหญ่ขึ้น โดยวิธีหุ้มด้ามแปรงด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น
ฟองนํ้าลูกบอลพลาสติกหลอดด้ายด้ามมือรถจักรยานยนต์เป็นต้นเพื่อคนพิการ
ที่มีมือแข็งเกร็ง สามารถจัดยึดด้ามแปรงได้ถนัดขึ้น
	 	 ดัดด้ามแปรงให้โค้งงอ เพื่อยึดจับให้ถนัดมือ
	 	 ใช้แผ่นยางขนาดใหญ่ ช่วยรัดยึดด้ามแปรงให้ติดแน่นกับมือ
25คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 และผู้ดูแลช่วยแปรงฟันให้อยู่ข้างหลัง ใช้แขนข้างหนึ่งหนีบศีรษะไว้และ
อีกข้างหนึ่งถือแปรงเข้าปาก จะสามารถแปรงได้ทั่วทุกซี่
	 กรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาการกลืน การบ้วนนํ้า ผู้ดูแลจะต้องใช้ผ้าก๊อซซุบนํ้า
สะอาดกวาดในช่องปากบริเวณช่องข้างกระพุ้งแก้มใต้ลิ้น และเพดานปากซํ้า
ผู้ดูแลช่วยแปรงฟัน ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถแปรงฟันด้วยตัวเอง
การให้อาหารทางสายยาง หมายถึง การให้อาหารเหลวผ่านทางสาย
อาหารเข้าสู่กระเพาะอาหารโดยตรง
	 วิธีการให้อาหาร
	 1.	 จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูงหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน เพื่อป้องกันการไหล
ย้อนกลับของอาหารเข้าหลอดลม
	 2. 	ใส่ผ้ากันเปื้อนให้ผู้ป่วย
26 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	ล้างมือให้สะอาด
	 4. 	เช็ดปลายสายด้วยสำ�ลีชุบนํ้าต้มสุก
	 5. 	ตรวจสอบตำ�แหน่งสายและอาหารที่ค้างในกระเพาะอาหาร โดยต่อ
ปลายสายเข้ากับกระบอกให้อาหาร ทดสอบดูว่าสายอยู่ในกระเพาะอาหาร หรือมี
อาหารเหลือค้างหรือไม่ดูดเอาอาหารที่ค้างเก่าในกระเพาะอาหารออกถ้ามากกว่า
100 ซีซี ให้ดันกลับเข้าไปช้า ๆ และเลื่อนเวลาให้อาหารออกไป หรืออาจต้องงด
อาหารมื้อนั้น แต่ถ้ามีอาหารไม่เกิน 70 ซีซี ให้ดันกลับ ช้า ๆ และให้อาหารต่อได้
	 6.	 การให้อาหาร ยา และนํ้า ต่อปลายสายเข้ากับกระบอกให้อาหาร เท
อาหารเหลวลงช้าๆ ยกกระบอกอาหารสูงจากตัวผู้ป่วยประมาณ 50 ซีซี คอยเติม
อาหารเรื่อยๆ เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร เตรียมยาหลังอาหาร
ให้พร้อมโดยบดให้ละเอียด ให้ยาหลังอาหารและให้นํ้าตามประมาณ 50 ซีซี เพื่อ
เป็นการล้างสายให้สะอาด หลังให้อาหารเสร็จยกสายยางให้สูงขึ้นเพื่อไม่ให้อาหาร
ไหลย้อนออกมาคาสาย ใช้จุกปิดสาย เช็ดสาย ให้สะอาด ปิดด้วยก๊อซ
27คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 7. 	หลังให้อาหาร ปิดจุกสายให้อาหารให้แน่น ปิดด้วยก๊อซ จัดให้ผู้ป่วย
อยู่ในท่าหัวสูง นาน 30 - 60 นาที
	 8. 	เก็บข้าวของเครื่องใช้ ล้างทำ�ความสะอาด
		 เวลาที่เหมาะสมในการให้อาหารทางสายยางได้แก่เวลา06.00น.,
10.00 น., 14.00 น., 18.00 น., และ 22.00 น.
	 หมายเหตุ สามารถให้นํ้าระหว่างมื้ออาหารได้
ข้อควรระวังในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
จากการให้อาหารทางสายยาง
	 	 ญาติ/ผู้ดูแลจะต้องได้รับการฝึกทำ�อาหารเหลวและวิธีการให้อาหาร
จนชำ�นาญจากบุคลากรทางการแพทย์
	 	 ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังให้อาหารทุกครั้ง
	 	 การใส่สายยางให้อาหารต้องกระทำ�โดยผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์และ
พยาบาลเท่านั้น
	 	 ต้องทดสอบตำ�แหน่งของสายยางทุกครั้งเพื่อป้องกันการสำ�ลักลงปอด
28 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 	 ขณะให้อาหารถ้าผู้ป่วยไอหรือสำ�ลักให้หยุดทันที ถ้าหยุดไอให้ลอง
ให้ต่อ ถ้ายังไออยู่ให้หยุดให้อาหารและปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
	 	 หากสังเกตเห็นว่าสายยางเลื่อนจากตำ�แหน่งเดิมไม่เกิน 2 นิ้ว ให้ดัน
สายอาหารกลับเข้าตำ�แหน่งเดิมและทดสอบดูว่าสายอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่
	 	 หากสังเกตเห็นว่าสายยางเลื่อนจากตำ�แหน่งเดิมมากกว่า 2 นิ้ว ให้
ปรึกษาแพทย์ที่คลินิก หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ห้ามให้อาหารโดยเด็ดขาด
ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวของแขน มือและขา
	 1. 	กิจกรรมที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการลงนํ้าหนักที่แขนข้างที่เป็นอัมพาต
โดยจัดให้ผู้ป่วยนั่งท้าวแขนและเอี้ยวตัว เพื่อ
		 	 กระตุ้นการรับความรู้สึกของข้อต่อ
		 	 กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวไหล่
		 	 ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้องอข้อศอก ข้อมือ และนิ้วมือ
29คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 2. 	กิจกรรมที่ใช้การประสานกันทำ� เพื่อ
		 	 ส่งเสริมให้ร่างกายด้านอัมพาตได้รับรู้การเคลื่อนไหว
		 	 กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวที่มีจุดมุ่งหมาย
	 ข้อควรระวัง
		 	 เนื่องจากในระยะนี้แขนไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ กล้ามเนื้ออยู่
ในสภาพอ่อนแรง ไม่ควรดึงหรือจับแขนข้างที่เป็นอัมพาตเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง
และมากเกินไป เพราะอาจจะทำ�ให้เกิดการเคลื่อนหลุดของข้อไหล่ได้
30 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	กิจกรรมลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อยับยั้งรูปแบบการเคลื่อนไหว
ที่ผิดปกติและส่งเสริมการเคลื่อนไหวที่ปกติ
		 	 จัดท่าให้เหมาะสม เช่น การนั่งท้าวแขน เป็นต้น
		 	 หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่มีผลกระตุ้นให้เกิดภาวะหดเกร็งมากขึ้น เช่น
การจับยืดกล้ามเนื้อ อย่างรวดเร็ว การให้ผู้ป่วยออกแรงต้านมาก ๆ เป็นต้น
		 	 ให้กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหวช้า ๆ และเป็นจังหวะ
สมํ่าเสมอ
		 	 หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การหยิบจับสิ่งของ
ที่มีขนาดเล็ก ๆ
		 	 การยับยั้งรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น การใช้สองมือ
ประสานกันทำ�กิจกรรม หรือจับสิ่งของต่าง ๆ
31คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 4. 	กิจกรรมฝึกให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวแขนและมือ
ให้สามารถกลับมาใช้งานได้มากที่สุด ได้แก่
		 	 การใช้ผ้าเช็ดโต๊ะ
		 	 ฝึกให้ผู้ป่วยนำ�มือไปแตะอวัยวะต่างๆ ของตนเอง เช่น ใช้แขน
ด้านที่เป็นอัมพาตไปแตะหู จมูก หน้าผาก หัว หรือเสยผม เป็นต้น
		 	 ฝึกกระตุ้นให้ผู้ป่วยเอื้อมมือไปหยิบแก้วนํ้ามาดื่ม หรือใช้
ช้อนตักข้าว
		 	 ฝึกให้ผู้ป่วยกรอกนํ้าใส่แก้วสลับไปมา
		 	 ฝึกกระตุ้นให้ผู้ป่วยพยายามใช้มือข้างอัมพาตช่วย ในการทำ�
กิจวัตรประจำ�วัน เช่น การติดกระดุมเสื้อ ใช้ช้อนตักอาหาร การผูกเชือกรองเท้า
หยิบเม็ดยา เป็นต้น
		 ในการฝึกระยะแรกอาจต้องคอยแนะนำ�และช่วยเหลือและหลังจาก
นั้นพยายามให้ผู้ป่วยทำ�เองให้มากที่สุด
32 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 5. 	การบริหารการเคลื่อนไหวของข้อ
		 	การเคลื่อนไหวข้อให้ผู้ป่วยควรทำ�ช้าๆ
		 	 ควรทำ�การเคลื่อนไหวให้สุดองศาของการเคลื่อนไหวที่ปกติ
		 	 ในแต่ละท่าทำ�ซํ้าๆท่าละ 10-20 ครั้ง วันละ 2 รอบ
		 	 ไม่ควรทำ�การเคลื่อนไหวหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
หรือในขณะผู้ป่วยมีไข้
		 	 ขณะทำ�การเคลื่อนไหวข้อ ถ้าผู้ป่วยปวด หรือ พบปัญหาอย่าง
อื่นตามมา ควรหยุดและปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำ�บัด
33คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การเหยียดนิ้วและงอนิ้ว
การงอและเหยียดนิ้วหัวแม่มือ
34 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การบริหารส่วนของแขน
การยกแขนขึ้นและลง
35คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การกางแขนออกและหุบแขนเข้า
การหมุนข้อไหล่ออกและเข้า
การงอข้อศอกเข้าและออก
36 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การกระดกข้อมือขึ้นและลง
	 	 เพิ่มความยาวของด้ามแปรงด้วยไม้ หรือไม้ตะเกียบ หรือด้าม
พลาสติก เพื่อคนพิการที่ข้อศอกงอพับไม่ปกติ สามารถนำ�แปรงเข้าปาก และแปรง
ฟันให้ตัวเองได้
	 	 อาจเลือกใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถแปรงฟันได้
สะดวกและช่วยให้ฟันสะอาดยิ่งขึ้นด้วยตนเอง
ตัวอย่างแปรงสีฟันสำ�หรับผู้ป่วยพิการ
37คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
ผู้ดูแลช่วยจับมือ และศีรษะผู้ป่วย
กลุ่มที่ 3	กรณีผู้ป่วยมีความพิการ มีปัญหาการกลืนและการสื่อสาร ช่วยเหลือ	
	 ตนเองไม่ได้
	 ในผู้ป่วยบางคนที่ไม่สามารถแปรงฟันด้วยตัวเองได้ จำ�เป็นต้องมีผู้ช่วย
แปรงให้ วิธีช่วยผู้ป่วยแปรงฟันนั้น ขึ้นอยู่กับสภาวะของความพิการขนาดรูปร่าง
อารมณ์ ความยินยอมพร้อมใจ และสถานที่ที่ใช้แปรงฟัน อาจปฏิบัติได้โดยในคน
ที่ศีรษะไม่ยอมหยุดนิ่ง ควรให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้
การบริหารส่วนของขา
	
การงอข้อสะโพกและข้อเข่า
38 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การหมุนข้อสะโพกเข้าและออก
การกางขาออกและเข้า
39คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การกระดกข้อเท้าขึ้น
การหมุนข้อเท้าเข้าและออก
40 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอ่อนแรงครึ่งซีก
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปนั่งในรถเข็น
	 1. 	ผู้ป่วยลุกขึ้นนั่งห้อยขาลงข้างเตียง รถเข็นตั้งอยู่ทางด้านที่ปกติของ
ผู้ป่วยโดยทำ�มุมประมาณ 45 องศา และล้อกล้อรถเข็นไว้
41คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 2. 	ผู้ป่วยโน้มตัวลุกขึ้นยืนด้วยความระมัดระวัง
	 3. 	เมื่อยืนได้มั่นคงดีแล้ว ใช้มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนของรถเข็น
(ที่อยู่ไกลตัว) ก้าวขาข้างที่ปกติไปหารถเข็น พร้อมกับการหันตัวและก้มตัวนั่งลง
ในรถเข็น
42 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากรถเข็นไปเตียง
	 1.	 ผู้ป่วยนั่งในรถเข็นที่ตั้งทำ�มุมประมาณ 45 องศากับเตียง โดยให้ด้าน
ที่ปกติของผู้ป่วยเข้าหาเตียง ล้อกล้อรถเข็น และวางเท้าทั้งสองข้างลงบนพื้น
	 2. 	มือข้างที่ปกติจับที่วางแขนแล้วโน้มตัวลุกขึ้นยืนด้วยความระมัดระวัง
43คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 3. 	ย้ายมือจากที่วางแขนไปยังที่นอน แล้วก้าวขาข้างที่ปกติไปด้านหน้า
เล็กน้อย
	 4.	 หันลำ�ตัวและย้ายตัวก้มลงไปนั่งบนเตียง
44 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การดูแลการนอน
	 ผู้ป่วยหลายคนมีวงจรการนอนหลับที่เปลี่ยนไปจากคนปกติ เช่น นอน
กลางวัน แต่ไม่ค่อยนอนตอนกลางคืนหรือนอนหลับเป็นช่วง ๆ ต่างจากคนปกติ
ญาติควรจัดสิ่งแวดล้อม ให้สงบเงียบในตอนกลางคืน และควรจัดกิจกรรม เช่น
เช้าฝึกเดินออกกำ�ลังกาย หรือออกกำ�ลังกายวิธีอื่น ๆ อ่านหนังสือ ติดตามข่าวสาร
ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ พูดคุยหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยสนใจ ในช่วงเวลากลางวัน
	 ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาการบวม แขน ขา มือ เท้า ซึ่งพบบ่อยในข้างที่อ่อนแรง
สามารถแก้ไขเบื้องต้นได้ โดยจัดท่านอนหนุนรองข้างที่บวมให้สูงด้วยการใช้วัสดุ
อ่อนนุ่ม เช่น ผ้าห่ม หมอนข้าง กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
45คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การจัดท่านอน
การจัดท่านอนหงาย
	 หมอนไม่ควรให้สูงมาก
	 ศีรษะและลำ�ตัวอยู่ในแนวตรง
	 แขนเหยียดสบายวางข้างลำ�ตัว
	 ข้อมือตรงจะควํ่าหรือหงายข้อมือก็ได้
	 ขาเหยียดตรงมีผ้าขนหนูรองใต้เข่า ให้ข้อเข่างอเล็กน้อย
	 ปลายเท้าควรใช้ผ้าขนหนูเล็กๆ รองด้านล่างของข้อเท้า เพื่อให้เท้าตั้งตรง
ป้องกันแผลกดทับที่ตาตุ่ม
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่ปกติ
	 	 ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
	 	 แขนของผู้ป่วยข้างที่อ่อนแรงควรมีหมอนรองใต้แขน ยื่นแขนไปข้างหน้า
	 	 ข้อศอกเหยียด มือควํ่าบนหมอน
	 	 ข้อมือตรงนิ้วมือเหยียดออก
	 	 สะโพกและเข่าข้างที่อ่อนแรงมีหมอนรองตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้า
และข้อเข่างอประมาณ 30 องศา
46 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การจัดท่านอนตะแคงทับข้างที่อ่อนแรง
	 	 ศีรษะโน้มไปทางด้านหน้าเล็กน้อย
	 	 สะโพกและเข่าข้างดี มีหมอนรองใต้ตั้งแต่สะโพกถึงปลายเท้า
	 	 แขนข้างที่อ่อนแรงยื่นมาข้างหน้า ข้อศอกตรงหงายมือ
	 	 ขาข้างที่อ่อนแรง เหยียดขา เข่างอเล็กน้อย ข้อเท้าอยู่ในท่าที่ปกติ
การเดิน
	 1.	 ใช้มือข้างที่ปกติจับไม้เท้า
	 2.	 ยกไม้เท้าไปข้างหน้าก่อน
	 3.	 ก้าวเท้าข้างที่อ่อนแรงก่อน
	 4.	 ก้าวเท้าข้างที่ปกติตามมา
47คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การขึ้น-ลงบันได
	 1.	 ก้าวขาข้างที่ปกติขึ้นก่อน	 2. ก้าวขาข้างที่อ่อนแรงลงก่อน
48 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การดูแลผู้ป่วยและการป้องกันแผลกดทับ
	 แผลกดทับเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว
ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง ผิวหนังถูกกดทับเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้
เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับได้อย่างสะดวก ส่งผลให้
ผิวหนังมีลักษณะเป็นรอยแดงและมีการแตกทำ�ลายของผิวหนัง ถ้าไม่ได้รับการ
ป้องกันดูแลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกก็จะส่งผลให้เกิดแผลกดทับตามมาได้
การจัดท่านอน
	 	 ควรเปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ส่วนใดส่วนหนึ่งไม่
รับแรงกดนานเกินไป ถ้าเปลี่ยนท่านอนแล้วรอยแดงบริเวณผิวหนังไม่หายภายใน
30 นาที อาจจะพิจารณาให้เปลี่ยนท่านอนได้บ่อยขึ้น โดยมีการหมุนเวียนเปลี่ยน
ท่านอน เช่น นอนหงาย นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา สลับกันไป
	 	 การนอนตะแคง ควรจัดให้นอนตะแคง กึ่งหงาย ใช้หมอนยาวรับ
ตลอดแนวลำ�ตัว รวมทั้งบริเวณข้อเข่า ข้อเท้า ควรทำ�ให้สะโพก ทำ�มุม 30 องศา
และใช้หมอนรองตามปุ่มกระดูก และใบหู
	 	 การนอนหงาย ควรมีหมอนสอดคั่นระหว่างหัวเข่า ตาตุ่มทั้ง 2 ข้าง
ขา 2 ข้าง และรองใต้น่องและขาเพื่อให้เท้าลอยพ้นพื้นไม่กดที่นอน
	 	 การจัดท่านอนศีรษะสูงไม่เกิน 30 องศา แต่ถ้าจำ�เป็นศีรษะสูงเพื่อ
ให้อาหาร หลังจากให้อาหาร 30 นาที - 1 ชั่วโมง ควรลดระดับลงเหลือ 30 องศา
	 	 กรณีที่นั่งรถเข็น ควรให้มีเบาะรองก้น และกระตุ้นให้เปลี่ยนถ่ายนํ้า
หนักตัว หรือยกก้นลอยพ้นพื้นที่นั่งทุก 30 นาที
49คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด
	 	 อุปกรณ์ลดแรงกดอยู่กับที่ เช่น ที่นอนที่ทำ�จาก เจล โฟม ลม นํ้า
หมอน เป็นต้น
	 	 อุปกรณ์ลดแรงกดสลับไปมา เช่น ที่นอนลม ไฟฟ้า
การดูแลผิวหนัง
	 	 ผู้ป่วยที่มีผิวหนังแห้งควรหลีกเลี่ยงการใช้นํ้าอุ่นหลังทำ�ความสะอาด
ร่างกายควรทาโลชั่น 3 - 4 ครั้ง / วัน เพื่อป้องกันผิวหนังแตกแห้ง
	 	 ผู้ป่วยที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ควรทำ�ความสะอาดทุกครั้ง ที่มีการ
ขับถ่าย และซับให้แห้งอย่างเบามือ
	 	 ทาวาสลีน หรือ Zinc paste ให้หนาบริเวณผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก
แก้มก้นทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันผิวหนังเปียกชื้น
	 	 ส่งเสริมการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยการออกกำ�ลังกาย
	 	 ระวังอุบัติเหตุที่เกิดกับผิวหนัง เช่น การกระแทก ของมีคม เป็นต้น
	 	 จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ให้ผิวหนังอับชื้น
	 	 หลีกเลี่ยงการนวดปุ่มกระดูกโดยเฉพาะที่มีรอยแดง จะทำ�ให้การ
ไหลเวียนลดลง
	 	 หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนประคบบริเวณผิวหนังที่มีความรู้สึกน้อย
หรืออ่อนแรง
	 	 ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดแห้ง และเรียบตึงเสมอ เพื่อลดความเปียก
ชื้นและลดแรงเสียดทาน
	 	 จัดเสื้อผ้าให้เรียบ หลีกเลี่ยงการนอนทับตะเข็บเสื้อ และปมผูกต่างๆ
เพื่อลดแรงกดบริเวณผิวหนัง
	 	ไม่นวดหรือใช้ความร้อนประคบ หรือใช้สบู่กับผิวหนังที่มีรอยแดง
50 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
	 	 ไม่ใช้ห่วงยางเป่าลมรองบริเวณปุ่มกระดูกเพราะจะทำ�ให้เลือดไป
เลี้ยงได้ไม่ดีทำ�ให้เกิดแผลได้และไม่ควรใช้ถุงมือใส่นํ้ารองบริเวณปุ่มกระดูกเพราะ
อาจแพ้ยางได้
การเคลื่อนย้าย
	 	 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรใช้แรงยกไม่ควรใช้วิธีลาก ไม่ควรเคลื่อน
ย้ายตามลำ�พังถ้าผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
	 	 ขณะเคลื่อนย้ายโดยการใช้รถเข็นควรสวมรองเท้าหุ้มส้นทุกครั้งและ
รัดสายรัดกันเท้าตกเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุขณะเคลื่อนย้าย
	 	 ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ไม่ควรอยู่ในท่านั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง
ภาวะโภชนาการ
	 	 ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อยหรือรับประทานอาหารไม่ได้เลย
ควรพิจารณาใส่สายยางให้อาหาร
	 	 ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีนเพื่อส่งเสริมการหายของแผลเช่นนม
ไข่ เนื้อสัตว์
	 	 วิตามินเอ ได้แก่ นม ไข่ ผักคะน้า ผักใบเขียว เป็นต้น ช่วยให้แผล
หายเร็วขึ้น
	 	 สังกะสี เช่น หอยแมลงภู่ เมล็ดทานตะวัน ช่วยในการสังเคราะห์
โปรตีน สร้างคอลลาเจน
	 	 วิตามินซี เช่น ส้ม ผัก ผลไม้สด มีผลต่อการหายของแผล ช่วยเพิ่ม
ภูมิคุ้มกัน และป้องกันการทำ�ลายเนื้อเยื่อ
51คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การดูแลจิตใจผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
	 โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ไม่มีอาการ
เตือนล่วงหน้าชัดเจน เมื่อเกิดอาการของโรคผู้ป่วยจะตกใจ วิตกกังวลกับการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งความสามารถในการควบคุมอวัยวะต่างๆ ผิดไปจากเดิม
บางรายสูญเสียการควบคุมร่างกายบางส่วน บางรายเกิดขึ้นทั้งตัว บางรายมี
อาการเปลี่ยนแปลงด้านกระบวนการคิด การรับรู้ผิดไปจากเดิม การรับรู้และการ
แสดงออกทางอารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงไป
52 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
รูปแบบปฏิกิริยาทาง จิตใจที่มักเกิดขึ้น
	 1.	 ความวิตกกังวลและความกลัว มักพบในระยะแรกของโรค สังเกตได้
จากสีหน้าท่าทางกังวล ลังเล ถามซํ้าๆ กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
	 2.	 อารมณ์เศร้า เมื่อมีความวิตกกังวลและความกลัวเกิดขึ้นเป็นระยะ
เวลานาน แยกตัว ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เบื่อ ผิดหวัง ซึมเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง อยาก
ตาย หมดหวังที่จะกลับไปเหมือนเดิม รู้สึกเป็นภาระกับครอบครัว
	 3.	 พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง มักพบพฤติกรรมต่อต้านในผู้สูงอายุ ปฏิเสธ
การดูแลจากผู้อื่นบางรายมีพฤติกรรมแบบเด็กๆขี้อ้อนบางรายก้าวร้าวหงุดหงิดง่าย
โกรธง่าย อาจพบพฤติกรรมหลีกเลี่ยง ไม่กล้าทำ�งาน ไม่กล้าออกจากบ้าน
ไม่ยอมรับการเจ็บป่วย ไม่ไปพบแพทย์ตามนัด ไม่ยอมรักษา
	 4.	 ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน
บุคลิกภาพและความสามารถในการปรับตัว นอกจากนี้ ลักษณะและความรุนแรง
ของโรค ก็เป็นปัจจัยสำ�คัญต่อการรับรู้ และเข้าใจอาการที่เกิดขึ้นเช่นกัน บางคน
อาจเกิดการสูญเสียระบบการควบคุมต่างๆสูญเสียความคิดและการปรับตัวทำ�ให้
ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ได้ การรับรู้ผิดพลาด เกิดอาการหูแว่ว
ภาพหลอน หวาดระแวง ทำ�ให้ไม่ร่วมมือต่อการรักษา
53คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การช่วยเหลือทางจิตใจผู้ป่วย (สำ�หรับครอบครัวและญาติ)
	 1.	 สอบถามถึงอาการป่วย อาการทางอารมณ์ เพื่อเตรียมตัว และสร้าง
ความเข้าใจต่อพฤติกรรมหรือภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนไปของผู้ป่วย
	 2.	 ทำ�ความเข้าใจและให้อภัยผู้ป่วยที่มีความคิดพฤติกรรมและอารมณ์
ที่เปลี่ยนไป ครอบครัว ญาติต้องให้อภัยและให้กำ�ลังใจผู้ป่วย
	 3.	 หมั่นแสดงออกทางคำ�พูด สีหน้า สายตา และการสัมผัสต่อผู้ป่วยว่า
ครอบครัวยังรักและเป็นกำ�ลังใจให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ
	 4.	 ช่วยเหลือและให้กำ�ลังใจผู้ป่วยในการฝึกออกกำ�ลังกาย และส่งเสริม
ให้ผู้ป่วยทำ�กิจกรรมที่สามารถทำ�ได้
	 5.	 กรณีผู้ป่วยต้องรักษาใน โรงพยาบาล ญาติควรไปเยี่ยมสมํ่าเสมอ
เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าไม่ได้ถูกทอดทิ้งจากครอบครัว
	 6.	 จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย สบายใจ
	 7.	 จัดสิ่งแวดล้อมเพื่ออำ�นวยความสะดวกต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน
วางเครื่องใช้ในบ้านให้ผู้ป่วยเดินหรือเคลื่อนไหวสะดวก สามารถหยิบจับสิ่งของได้
สะดวก ให้ผู้ป่วยทำ�ได้เองบ้าง
	 8.	 ผู้ป่วยสูงอายุที่ต่อต้านและปฏิเสธการดูแลจากญาติ ให้ญาติส่งเสริม
ให้ผู้ป่วยทำ�กิจกรรมที่ชอบบ่อยๆ ให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกว่า ทำ�อะไรได้เองหลาย
อย่าง และลดท่าทีต่อต้านเมื่อครอบครัวและญาติเข้ามาช่วยเหลือในบางอย่าง
	 9.	 ชมเชยทั้งคำ�พูด สีหน้า สายตา และการสัมผัส เมื่อผู้ป่วยสามารถ
ทำ�งานบางอย่างได้ และหลีกเลี่ยงการตำ�หนิ
54 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
การปรับสภาพบ้านและสิ่งแวดล้อม
	 บ้านหรือสภาพแวดล้อม ที่พักอาศัยที่เคยอยู่อาจไม่เหมาะสมต่อการ
ดำ�รงชีวิตใหม่ภายหลังออกจากโรงพยาบาล เช่น บางคนสามารถเดินได้แต่ขึ้นลง
บันไดไม่ได้ หรือบางคนอาจเดินไม่ได้ ต้องใช้รถเข็น แต่ประตูบ้านแคบ ไม่กว้างพอ
สำ�หรับรถเข็น เป็นต้น ผู้ที่ประสบปัญหาคงต้องดัดแปลงบ้านและสภาพแวดล้อม
ไม่มากก็น้อยตามแต่กำ�ลังที่มีและความจำ�เป็น
ทางลาดเอียง
	 1.	 เป็นทางเรียบและกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร
	 2.	 กรณีที่ความยาวทางลาดน้อยกว่า 3 เมตร ควรมีความลาดเอียง
1 : 12 หรือ ถ้าเกิน 6 เมตรขึ้นไป ต้องใช้ความลาดเอียง 1 : 20 พร้อมชานพัก
ยาว 1.50 เมตร
	 3.	 ความยาวทางลาดที่ยาวเกิน 1.80 เมตร ควรจะมีราวข้างเพื่อป้องกัน
การลื่นไถล
	 4.	 ขอบทางลาดควรยกเป็นสันสูงอย่างน้อย 2 นิ้ว เพื่อป้องกันการ
ตกขอบ
55คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
แสดงทางลาดที่เหมาะสมกับสภาพของการใช้รถเข็น
แสดงการปรับทางต่างระดับ สำ�หรับรถเข็น
56 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
ประตู - หน้าต่าง
	 1.	 ความกว้างของประตูกว้างตั้งแต่ 0.85 - 0.90 เมตร เพื่อรถเข็นจะ
เข้า - ออกได้ง่าย
	 2.	 ไม่ควรมีธรณีประตู แต่ถ้ามีธรณีประตูความสูงเกิน 1/2 นิ้ว ให้ปรับ
เปลี่ยนเป็นทางลาดเอียง
	 3.	 ถ้าประตูแคบเพียงเล็กน้อยแนะนำ�ให้เปลี่ยนบานพับเป็นบานพับซ้อน
	 4.	 ควรเว้นระยะว่างข้างประตูประมาณ 0.45 เมตร เพื่อความสะดวก
สำ�หรับผู้ใช้รถเข็นในการเปิดปิดประตูโดยไม่ถูกกระแทก
	 5.	 ส่วนมือจับและลูกบิดประตูควรสะดวกในการใช้และอยู่ในระยะ
เหมาะสม แนะนำ�ให้ใช้แบบก้านมือจับ ไม่ควรใช้ลูกบิดกลมเพราะจะลื่นและต้อง
ออกแรงเปิดมาก
	 6.	 ลักษณะการเปิดประตูควรเป็นลักษณะการดึงออก หรือเป็นแบบ
ประตูเลื่อน หากเกิดอุบัติเหตุในห้องผู้อื่นจะสามารถเข้าไปช่วยได้ง่าย
	 7.	 บานประตูควรมีช่องให้มองเห็นได้ทั้ง2ด้านจะช่วยป้องกันอันตราย
ไม่ให้เปิดมากระแทกผู้อื่นได้
	 8.	 การติดตั้งหน้าต่างควรอยู่ในระดับสูงไม่เกิน0.60เมตรจากระดับพื้น
เพื่อไม่ให้บังสายตา และสะดวกในการเปิดปิดหน้าต่างขณะนั่งรถเข็น
57คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
แสดงการปรับประตูให้เป็นบานพับซ้อน เพื่อขยายความกว้างของประตู
แสดงลักษณะการเปิดประตูโดยการดึงออก
58 คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
ห้องนํ้า
	 1.	 ประตูห้องนํ้ากว้างประมาณ 0.85 - 0.90 เมตร และไม่มีธรณีประตู
	 2.	 ความสูงของโถส้วม ประมาณ 16 - 19 นิ้ว เพื่อให้ผู้ป่วยที่ใช้รนเข็น
เคลื่อนย้ายตัวได้สะดวก และถ้าเตี้ยเกินไปจะทำ�ให้ลุกขึ้นลำ�บาก
	 3.	 ถ้าเป็นโถส้วมชนิดนั่งยอง ควรดัดแปลงโดยใช้เก้าอี้พลาสติกมี
พนักพิง เจาะรูตรงกลางให้มีขนาดกว้างพอประมาณวางครอบโถส้วม
	 4.	 ควรมีราวจับรอบๆ โดยราวควรสูงจากพื้นประมาณ 85 เซนติเมตร
	 5.	 ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ
	 6.	 พื้นห้องนํ้าควรแห้งอยู่เสมอ
แสดงความกว้างของห้องนํ้าและความสูงของอ่างล้างมือ
59คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
ฉบับผู้ป่วยและผู้ดูแล
แสดงการติดตั้งราวจับรอบๆ โถส้วม
แสดงการดัดแปลงของส้วมนั่งยอง
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ pueniiz
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...Utai Sukviwatsirikul
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังCAPD AngThong
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด Utai Sukviwatsirikul
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจWan Ngamwongwan
 
Food for CKD
Food for CKDFood for CKD
Food for CKDPha C
 
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555Utai Sukviwatsirikul
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)Weerawan Ueng-aram
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgtechno UCH
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการUtai Sukviwatsirikul
 

La actualidad más candente (20)

วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
 
Ppt. stroke1
Ppt. stroke1Ppt. stroke1
Ppt. stroke1
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction, AMI หรือ Acute c...
 
Ppt.stroke
Ppt.strokePpt.stroke
Ppt.stroke
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
 
โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
 
Stroke
StrokeStroke
Stroke
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
การให้ยาฉีด
การให้ยาฉีดการให้ยาฉีด
การให้ยาฉีด
 
Ppt.DLP
Ppt.DLPPpt.DLP
Ppt.DLP
 
Food for CKD
Food for CKDFood for CKD
Food for CKD
 
อาหาร Dm
อาหาร Dmอาหาร Dm
อาหาร Dm
 
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
แนวทางเวชปฏิบัติการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2555
 
คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)คู่มือ ICD (Chest drain)
คู่มือ ICD (Chest drain)
 
Ppt.dm
Ppt.dmPpt.dm
Ppt.dm
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekg
 
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการคู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
คู่มือการดูแลผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง แบบบูรณาการ
 

Similar a คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู

ความทุกข์
ความทุกข์ความทุกข์
ความทุกข์kawpod
 
การซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยการซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยOzone Thanasak
 
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2Kobchai Khamboonruang
 
สุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุสุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
ดูแลด้วยศรัทธา Edit รัชฎาพร 16 ก.พ. 54
ดูแลด้วยศรัทธา Edit  รัชฎาพร 16 ก.พ. 54ดูแลด้วยศรัทธา Edit  รัชฎาพร 16 ก.พ. 54
ดูแลด้วยศรัทธา Edit รัชฎาพร 16 ก.พ. 54Watcharapong Rintara
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาsongsri
 
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิตนำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิตGob Chantaramanee
 
สูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรง
สูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรงสูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรง
สูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรงjitisak poonsrisawat, M.D.
 
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric CarePolyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Carekridauakridathikarn
 
โรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรม
โรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรมโรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรม
โรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรมfainaja
 
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยMickey Toon Luffy
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1Thanom Sak
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1Thanom Sak
 

Similar a คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู (20)

ความทุกข์
ความทุกข์ความทุกข์
ความทุกข์
 
Clu11
Clu11Clu11
Clu11
 
Clu11
Clu11Clu11
Clu11
 
การซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยการซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วย
 
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
พัฒนาการของพฤติกรรมมนุษย์ Present2
 
Osdop swat
Osdop  swatOsdop  swat
Osdop swat
 
สุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุสุขภาพผู้สูงอายุ
สุขภาพผู้สูงอายุ
 
ดูแลด้วยศรัทธา Edit รัชฎาพร 16 ก.พ. 54
ดูแลด้วยศรัทธา Edit  รัชฎาพร 16 ก.พ. 54ดูแลด้วยศรัทธา Edit  รัชฎาพร 16 ก.พ. 54
ดูแลด้วยศรัทธา Edit รัชฎาพร 16 ก.พ. 54
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
Ltc ln2
Ltc ln2Ltc ln2
Ltc ln2
 
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิตนำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
นำเสนอการดำเนินงาน Dhs ประเด็นสุขภาพ odop สุขภาพจิต
 
สูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรง
สูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรงสูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรง
สูงวัย ภูมิใจ ใจสุข จัดการทุกข์ และแข็งแรง
 
Example osce
Example osceExample osce
Example osce
 
แผนไทยและสมุนไพร....
แผนไทยและสมุนไพร....แผนไทยและสมุนไพร....
แผนไทยและสมุนไพร....
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric CarePolyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
Polyphamacy in elderly Suratthani Geriatric Care
 
โรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรม
โรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรมโรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรม
โรคเพรเดอร์ วิลลี่ ซินโดรม
 
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทยสถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
สถานการณ์ด้านสุขภาพจิตของประเทศไทย
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
 
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์กองทุนหลักประกันสุขภา1
 

Más de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 

Más de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 

คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู