SlideShare a Scribd company logo
1 of 50
Download to read offline
ชื่อหนังสือ :	 คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
รวบรวมโดย :	 นายแพทย์ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม
	 นางดลินพร สนธิรักษ์
	 นางจันทนงค์ อินทร์สุข
จัดทำ�โดย :	 ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
	 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
พิมพ์ครั้งที่ 1 : 	 กันยายน 2554
จำ�นวนที่พิมพ์ :	 1,000 เล่ม
พิมพ์ที่ :	 บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด
สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ
ห้ามลอกเลียนแบบส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
คำ�แนะนำ�
การใช้คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุ
	 1. 	คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุนี้ใช้ในการบันทึกข้อมูลสุขภาพ
ประจำ�ตัวท่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลบำ�บัดรักษาตัวท่านเอง โปรดเก็บไว้
อย่าให้หาย
	 2. 	โปรดอ่านคำ�แนะนำ�ต่างๆ ทางด้านสุขภาพและโรคที่พบบ่อยใน
ผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง
	 3. 	นำ�สมุดเล่มนี้ไปด้วยทุกครั้งเมื่อไปรับการตรวจรักษาณหน่วยบริการ
สุขภาพ และโปรดมอบคู่มือนี้ให้แพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขบันทึกการตรวจ
รักษาทุกครั้ง
	 4.	 ท่านสามารถบันทึกปัญหาสุขภาพของตัวท่านเองได้
	 5. 	หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้คู่มือนี้กรุณาสอบถาม
รายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการสุขภาพ
กรณีฉุกเฉิน :
ผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินชื่อ..........................................นามสกุล......................................
ที่อยู่..........................................................................................................................
ที่ทำ�งาน...................................................................................................................
โทรศัพท์..................................................มือถือ.......................................................
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
ก
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
ข
คำ�นำ�
	 สมุดบันทึกสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นหลายครั้งซึ่งได้รับ
การตอบรับเป็นอย่างดี ครั้งนี้ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
กรมการแพทย์ จังหวัดชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำ�เนินโครงการพัฒนา
พื้นที่บริเวณรอบวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ
นำ�ร่องการพัฒนาระบบเครือข่ายรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชนตาม
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงดำ�เนินการรวบรวมจัดทำ�คู่มือนอกจากจะเป็นคู่มือที่
ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเอง แพทย์และบุคลากรสาธารณสุข
บันทึกข้อมูลการตรวจรักษาต่างๆ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อสามารถ
ติดตามการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจให้การรักษา
ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังมีข้อมูลด้านสุขภาพคำ�แนะนำ�ต่างๆรวมทั้ง
“9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” และ “เคล็ดลับผู้สูงวัยหัวใจเด็ก” ไว้ให้
ผู้สูงอายุได้ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเองให้มีสุขภาพที่ดี
ทั้งร่างกาย จิตใจ ดำ�รงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
	 คณะผู้จัดทำ�ได้ทำ�การเรียบเรียงจากเอกสารวิชาการและจัดทำ�ขึ้นเป็น
คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่จะนำ�ไปใช้ให้
ได้มากที่สุด จึงขอขอบคุณผู้นิพนธ์บทความทางด้านผู้สูงอายุที่คณะผู้จัดได้นำ�มา
ประกอบลงในคู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุเล่มนี้
						 (นายศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม)
			 ผู้อำ�นวยการศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
วัตถุประสงค์
คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุเล่มนี้ ได้จัดทำ�ขึ้น
	 1.	 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเองและจัดเก็บไว้
ประจำ�ตัว นำ�สมุดเล่มนี้ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และเมื่อไปรับการ
ตรวจรักษาจากหน่วยบริการสุขภาพทุกแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน
	 2.	 เพื่อให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ
ต่างๆ ผลการตรวจรักษาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่ในอดีตจนถึง
ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ช่วยในการตัดสินใจให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้สูงอายุเองและผู้สูงอายุจะได้ทราบข้อมูลด้านสุขภาพของตน
ตลอดจนการรักษาของแพทย์ด้วย
	 3.	 เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีความรู้เกี่ยวกับ
โรคต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และแนวทางในการปฏิบัติตน การส่งเสริมสุขภาพ
เช่น อาหาร การออกกำ�ลังกายการควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะ
ที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ ในอันที่จะชะลอความชรา ชะลอความเสื่อม ช่วยเหลือ
ตนเองได้ และส่งเสริมศักยภาพในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีให้สามารถดูแลช่วยเหลือ
ผู้อื่น ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน คือ
		 1) 	ประวัติส่วนตัวและประวัติทางสุขภาพ
		 2) 	ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและบันทึกการรักษา
		 3) 	ภาคผนวก:ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและแนวทาง
การดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
	 คณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุนี้ จะเป็น
ประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขผู้ทำ�การตรวจ
รักษาผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง คงไว้ซึ่งการมี
สุขภาพดี ในกรณีเจ็บป่วยสามารถควบคุมโรคแทรกซ้อนได้ อันจะเป็นการเพิ่ม
คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
	 ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
ค
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
ง
สารบัญ
หน้า
คำ�นำ�				 ข
วัตถุประสงค์		 ค
ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ 	 1
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 	 3
ผลการตรวจพิเศษต่างๆ 	 7
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล 	 8
สำ�หรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ 	 10
คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้สูงอายุ 	 12
ภาคผนวก		 14
แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ 	 14
	 ข้อที่ 1 	อาบนํ้าทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง	 14
	 ข้อที่ 2 	กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ 	 14
	 ข้อที่ 3 	ออกกำ�ลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที 	 14
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา	 17
	 ข้อเข่าเสื่อม 	 17
	 ความดันโลหิตสูง 	 19
	 โรคหลอดเลือดสมอง 	 22
	 ภาวะไขมันในเลือดสูง 	 24
	 โรคเบาหวาน 	 26	
	 ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 	 31
	 นอนไม่หลับทำ�อย่างไร 	 33
	 โรคสมองเสื่อม 	 34
	 โรคซึมเศร้า 	 37
เอกสารอ้างอิง 	 39
กำ�หนดนัดเพื่อสุขภาพครั้งต่อไป 	 40
เคล็ดลับผู้สูงวัยหัวใจเด็ก 	 41
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
1
ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ
1. 	ชื่อ..................................................นามสกุล....................................................
2. 	อายุ.................ปี วัน เดือน ปีเกิด....................................................................
3. 	นํ้าหนัก...................ก.ก.ส่วนสูง....................ซ.ม.หมู่เลือด..................................
4.	 ที่อยู่บ้านเลขที่........................หมู่ที่................ตรอก/ซอย................................
	 ถนน...................................................ตำ�บล....................................................
	 อำ�เภอ.........................................จังหวัด............................................................
	 รหัสไปรษณีย์.......................โทรศัพท์.............................................................
5. 	อาชีพ.................................................................................................................
6.	 ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต..............................................................................
7. 	ประวัติการผ่าตัด.............................................................................................
8. 	โรคประจำ�ตัวหรือโรคที่ป่วยบ่อยๆ..................................................................
9. 	ยาที่รับประทานประจำ�...................................................................................
10.	ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร...........................................................................
11.	ปัญหาสุขภาพในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
			 หัวใจ 	 มี 	 ไม่มี
			 เบาหวาน 	 มี 	 ไม่มี
			 ความดันโลหิตสูง 	 มี 	 ไม่มี
			 หอบหืด/ถุงลมโป่งพอง 	 มี 	 ไม่มี
		 มะเร็ง 	 มี 	 ไม่มี
		 สมองเสื่อม 	 มี 	 ไม่มี
		 ข้อเสื่อม 	 มี 	 ไม่มี
		 ปัญหาด้านการมองเห็น 	 มี 	 ไม่มี
		 ปัญหาด้านการได้ยิน 	 มี 	 ไม่มีี
	 โรคอื่นๆ (โปรดระบุ).......................................................................................
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
2
12.	การสูบบุหรี่/ยาเส้น
		 ไม่สูบ 	 สูบบ้าง 		 สูบประจำ�
		 เคยสูบ ระบุ.................กี่ปี
13.	การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์ยาดองเหล้า)
		 ไม่ดื่ม 	 ดื่มบ้าง 		 ดื่มประจำ�
		 เคยดื่ม เลิก.................ปี
14.	การออกกำ�ลังกาย
		 ไม่ออกกำ�ลังกาย 	 ออกกำ�ลังกาย
	 ระบุ (หน้าข้อที่ท่านปฏิบัติ)
		 .................วิ่ง .................ไทเก็ก
		 .................เดิน .................เต้นแอโรบิก
		 .................บริหารร่างกาย
		 .................เล่นกีฬา อาทิ เทนนิส/ว่ายนํ้า/เปตอง เป็นต้น
		 .................อื่นๆ ........................................................................
15.	ความถี่ในการออกกำ�ลังกาย
		 น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์
		 มากกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน/สัปดาห์
		 ไม่สมํ่าเสมอ
16.	จำ�นวนเวลาในการออกกำ�ลังกาย
		 น้อยกว่า 30 นาที
		 มากกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที
17.	จำ�นวนฟันที่ใช้งานได้ (รวมฟันปลอม)
		 น้อยกว่า 20 ซี่
		 20 ซี่หรือมากกว่า 20 ซี่
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
3
1/………2/………3/………4/………5/………6/………7/………8/………9/………10/………11/………12/………
CBCการตรวจนับเม็ดเลือด
-Hbความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงญ.12-16gm/dL
ช.14-18gm/dL
-Hctอัตราความเข้มข้นของเลือดญ.37-48%
ช.42-52%
-Wbcจำ�นวนเม็ดเลือดขาว5,000-10,000cell/cu.mm
BloodChemistryการตรวจสารเคมีในเลือด
-FBSนํ้าตาลในเลือด70-110mg/dL
-BUNการทำ�งานของไต8-25mg/dL
-Crการทำ�งานของไต0.5-1.5mg/dL
-Uricacidกรดยูริคในเลือด3.6-7.7mg/dL
-Cholesterolไขมันโคเลสเตอรอล150-200mg/dL
-Triglycerideไขมันไตรกลีเซอไรด์30-170mg/dL
-HDLไขมันเอชดีแอล(ไขมันชนิดดี)35-55mg/dL
-LDLไขมันแอลดีแอล(ไขมันชนิดเลว)0-150mg/dL
-Albuminโปรตีน3.2-4.5mg/dL
-Globulinโปรตีน2.3-3.5mg/dL
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
4
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ต่อ)
1/………2/………3/………4/………5/………6/………7/………8/………9/………10/………11/………12/………
-Alkphosphataseตับและกระดูก39-117u/L
-SGOTเอนไซม์ตับ0-40u/L
-SGPTเอนไซม์ตับ0-37u/L
อื่นๆ
Immunologyภูมิคุ้มกันในเลือด
-HBsAgไวรัสตับอักเสบชนิดบีNeg
-HBsAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos
-HBcAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos
-CEAตรวจหามะเร็งลำ�ไส้0-5ng/ML
-Alphafetoproteinตรวจหามะเร็งตับ0-15ng/ML
UAการตรวจปัสสาวะ
Stoolการตรวจอุจจาระ
อื่นๆ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
5
13/………14/………15/………16/………17/………18/………19/………20/……21/……22/………23/………24/………
CBCการตรวจนับเม็ดเลือด
-Hbความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงญ.12-16gm/dL
ช.14-18gm/dL
-Hctอัตราความเข้มข้นของเลือดญ.37-48%
ช.42-52%
-Wbcจำ�นวนเม็ดเลือดขาว5,000-10,000cell/cu.mm
BloodChemistryการตรวจสารเคมีในเลือด
-FBSนํ้าตาลในเลือด70-110mg/dL
-BUNการทำ�งานของไต8-25mg/dL
-Crการทำ�งานของไต0.5-1.5mg/dL
-Uricacidกรดยูริคในเลือด3.6-7.7mg/dL
-Cholesterolไขมันโคเลสเตอรอล150-200mg/dL
-Triglycerideไขมันไตรกลีเซอไรด์30-170mg/dL
-HDLไขมันเอชดีแอล(ไขมันชนิดดี)35-55mg/dL
-LDLไขมันแอลดีแอล(ไขมันชนิดเลว)0-150mg/dL
-Albuminโปรตีน3.2-4.5mg/dL
-Globulinโปรตีน2.3-3.5mg/dL
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ต่อ)
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
6
13/………14/………15/………16/………17/………18/………19/………20/……21/……22/………23/………24/………
-Alkphosphataseตับและกระดูก39-117u/L
-SGOTเอนไซม์ตับ0-40u/L
-SGPTเอนไซม์ตับ0-37u/L
อื่นๆ
Immunologyภูมิคุ้มกันในเลือด
-HBsAgไวรัสตับอักเสบชนิดบีNeg
-HBsAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos
-HBcAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos
-CEAตรวจหามะเร็งลำ�ไส้0-5ng/ML
-Alphafetoproteinตรวจหามะเร็งตับ0-15ng/ML
UAการตรวจปัสสาวะ
Stoolการตรวจอุจจาระ
อื่นๆ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ต่อ)
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
7
ผลการตรวจพิเศษต่างๆ
ว.ด.ป.
ว.ด.ป.คลื่นไฟฟ้า
หัวใจ(EKG)
การตรวจคลื่นสะท้อนเสียง
(Ultrasound)
เอ็กซเรย์(x-ray)อื่นๆ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
8
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล
ว.ด.ป.
ที่ตรวจ
นํ้าหนัก(ก.ก.)
ส่วนสูง(ซ.ม.)
*ค่าดัชนี
มวลกาย
ก.ก./ม.2
ความดันโลหิต
อุณหภูมิอัตราชีพจร
การหายใจ
อาการที่ตรวจพบ
การ
วินิจฉัย
การรักษาที่ให้
ลงชื่อ
ผู้ตรวจ
ชื่อสถานพยาบาล
ที่ตรวจ
*ดัชนีมวลกาย=	นํ้าหนักตัว(กิโลกรัม)	ค่าระหว่าง18.5-24.9	ก.ก./ม.2
	แสดงว่า	นํ้าหนักปกติ	หมายเหตุ:	-	ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย
	ส่วนสูง(เมตร)2
	ค่าน้อยกว่า18.5	ก.ก./ม.2
	แสดงว่า	ผอม		-	เรื้อรัง
		ค่าระหว่าง25-29.9	ก.ก./ม.2
	แสดงว่า	นํ้าหนักเกิน		-	เฉียบพลัน
		ค่าตั้งแต่30	ก.ก./ม.2
ขึ้นไปแสดงว่าโรคอ้วน
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
9
บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล(ต่อ)
ว.ด.ป.
ที่ตรวจ
นํ้าหนัก(ก.ก.)
ส่วนสูง(ซ.ม.)
*ค่าดัชนี
มวลกาย
ก.ก./ม.2
ความดันโลหิต
อุณหภูมิอัตราชีพจร
การหายใจ
อาการที่ตรวจพบ
การ
วินิจฉัย
การรักษาที่ให้
ลงชื่อ
ผู้ตรวจ
ชื่อสถานพยาบาล
ที่ตรวจ
*ดัชนีมวลกาย=	นํ้าหนักตัว(กิโลกรัม)	ค่าระหว่าง18.5-24.9	ก.ก./ม.2
	แสดงว่า	นํ้าหนักปกติ	หมายเหตุ:	-	ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย
	ส่วนสูง(เมตร)2
	ค่าน้อยกว่า18.5	ก.ก./ม.2
	แสดงว่า	ผอม		-	เรื้อรัง
		ค่าระหว่าง25-29.9	ก.ก./ม.2
	แสดงว่า	นํ้าหนักเกิน		-	เฉียบพลัน
		ค่าตั้งแต่30	ก.ก./ม.2
ขึ้นไปแสดงว่าโรคอ้วน
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
10
สำ�หรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ
หรืออาการเปลี่ยนแปลง
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
11
สำ�หรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ
หรืออาการเปลี่ยนแปลง
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
12
คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้สูงอายุ
อาการที่ควรรีบพาไปพบแพทย์
	 1.	 ตัวร้อนจัด ไข้สูง/หนาวสั่น ไข้หลายวันติดต่อกัน ปวดมึนท้ายทอย
ปวดหัว ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ชักกระตุก หมดสติ
	 2. 	ไอเรื้อรัง มีเสมหะเขียวข้น หรือปนเลือด หายใจหอบ
	 3. 	บวมตามตัว แขนขา หน้าตา คลำ�ได้ก้อนนูนส่วนใดส่วนหนึ่งของ
ร่างกาย
	 4. 	อาเจียนรุนแรงหรือติดต่อกัน มีเลือดปนหรือเป็นสีดำ� ถ่ายอุจจาระ
เหลวติดต่อกันหลายครั้งหรือเป็นนํ้า มีมูกเลือดปน หรือเป็นสีดำ�
	 5. 	มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ
	 6. 	ปัสสาวะขัดหรือกระปริดกะปรอย หรือเป็นสีเลือด สีนํ้าล้างเนื้อหรือ
สีชาเข้ม
	 7. 	เจ็บหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด ปวดร้าวไปที่แขนซ้ายหรือต้นคอ
แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้
	 8. 	ปวดกระบอกตา เจ็บระคายเคืองตา ตามัว เห็นภาพซ้อน
	 9. 	หูอื้อ ปวดในหู มีนํ้าหนวก มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู
	 10.	 กลืนอาหารลำ�บาก เหงือกบวม
	 11.	 กล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก ปวดบวมแดงร้อน
บริเวณข้อต่อ
	 12.	 ซึม พูดน้อยลง เบื่ออาหาร ร้องไห้ง่าย บ่นอยากตาย เบื่อชีวิต
	 13.	 ท่าทางหวาดระแวง กลัวคนทำ�ร้าย ไม่ไว้ใจใคร ระแวงคู่สมรสนอกใจ
พูดคนเดียว
	 14.	 หลงลืมง่าย จำ�คนคุ้นหน้าไม่ได้ สับสนเรื่องเวลาและสถานที่
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
13
ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ติดตามอาการดูหากมีอาการมากขึ้นหรือนานเกิน 7 วัน
ให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
	 1. 	ตัวร้อนรุมๆ ปวดหัว
	 2. 	มีนํ้ามูกใส ไอแห้ง
	 3. 	ผื่นคัน กลาก เกลื้อน หิด
	 4. 	ปวดท้อง แน่นอึดอัด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องผูก
	 5. 	ตกขาวมีอาการคัน หรือมีกลิ่นเหม็น
	 6. 	ปัสสาวะสีชาแก่ หรือขุ่นมีตะกอน
	 7. 	เหนื่อยง่าย เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า
	 8. 	มีแผลที่มุมปาก มีฝ้าขาว หรือมีแผลเรื้อรังในช่องปาก เจ็บคอ
	 9. 	ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีแผลฟกชํ้า
	 10. 	นอนไม่หลับ กังวลง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม อารมณ์เสียง่าย ปวดศีรษะ
บ่อยๆ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
14
ภาคผนวก
แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ
	 การมีสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ชีวิตดำ�รงอยู่ได้อย่างมีความสุข
สามารถประกอบกิจการหรือภารกิจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพที่
ดี จึงเป็นสิ่งสำ�คัญที่บุคคลทุกเพศทุกวัยปรารถนา คนเราจึงต้องใส่ใจต่อการปฏิบัติ
ตนเองให้บรรลุถึงการมีสุขภาพดี ซึ่งสำ�หรับผู้สูงอายุ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพ
ตนเอง 9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ
	 “9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” หมายถึงกิจกรรมที่ควรปฏิบัติเป็น
ประจำ�อย่างสมํ่าเสมอ ไม่ละเลยจนขาดความต่อเนื่องควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เยาว์วัย
เพื่อให้มีสุขภาพดีและมีอายุที่ยืนยาวอย่างแข็งแรง กิจกรรม 9 อย่าง ประกอบด้วย
ข้อที่ 1 อาบนํ้าทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
	 อาบนํ้าอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
เช้าและก่อนนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึกและเหงือกเป็นแผลหลีกเลี่ยงลูกอม
ตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่
	 ควรคำ�นึงถึงลักษณะอาหารให้เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และควรลดปริมาณ
อาหารในแต่ละมื้อลงแต่เพิ่มจำ�นวนมื้ออาหารให้มากขึ้นและควรหลีกเลี่ยงอาหาร
จำ�พวก สุรา เบียร์ เครื่องดื่มชูกำ�ลัง ชา กาแฟ นํ้าอัดลม นํ้าหวาน อาหารรสเค็ม
และหวานจัด
ข้อที่ 3 ออกกำ�ลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที
	 การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมและสมํ่าเสมอในทางการแพทย์ถือเป็นสิ่ง
สำ�คัญในการสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดีการออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพเป็นการออก
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
15
กำ�ลังกายที่เพิ่มขึ้นจากการทำ�กิจวัตรประจำ�วัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมบูรณ์
แข็งแรงของร่างกาย ดังนั้นควรออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอคือ อย่างน้อยสัปดาห์
ละ 3 ครั้ง โดยออกต่อเนื่องครั้งละ 20 - 30 นาที และต้องมีการอุ่นเครื่องก่อนการ
ออกกำ�ลังกายทุกครั้งประมาณ 5 - 10 นาที ออกกำ�ลังกายประมาณ15 - 20 นาที
และมีระยะเวลาเพื่อการผ่อนคลายประมาณ 5 - 10 นาที แล้วจึงยุติการ
ออกกำ�ลังกาย ซึ่งสามารถเลือกชนิดของการออกกำ�ลังกายตามความชอบและ
ความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่งช้าๆ การบริหารท่าต่างๆ
การรำ�มวยจีน โยคะ เป็นต้น
ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายในผู้สูงอายุ
	 1. 	ช่วยชะลอความชรา
	 2. 	การทรงตัวและการทำ�งานของอวัยวะต่างๆ มีการประสานกันดีขึ้น
ทำ�ให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ไม่หกล้ม
	 3. 	ลดนํ้าหนักตัว ควบคุมไม่ให้อ้วน รูปร่างดีขึ้น
	 4. 	ลดความเครียดและอาการซึมเศร้า ทำ�ให้จิตใจแจ่มใส
	 5. 	ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจ ทำ�งานดีขึ้น ลดความเสี่ยง
ต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
	 6. 	ลดความดันเลือด
	 7. 	ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำ�ลังกาย
	 1. 	เริ่มต้นอย่างช้าๆ และหยุดทำ�ทันที ถ้าท่านรู้สึกมีอาการเจ็บปวดหรือ
ผิดปกติ
	 2. 	หลังจากที่ฝึกอย่างเต็มที่แล้วไม่ควรหยุดแบบทันที ควรฝึกอย่างช้าๆ
แล้วค่อยหยุด
	 3. 	ฝึกในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
16
	 4. 	ชุดออกกำ�ลังกายควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่รุ่มร่าม สามารถระบาย
ความร้อนได้ดี ไม่ทิ้งชายผ้าที่จะก่อให้เกิดการหกล้มได้ง่าย
อาการผิดปกติขณะออกกำ�ลังกาย
	 หากท่านมีอาการแสดงอาการใดอาการหนึ่งให้หยุดแล้วปรึกษาแพทย์
ดังนี้
	 1. 	หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วไม่สมํ่าเสมอ
	 2. 	เจ็บที่บริเวณหัวใจ ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่
	 3. 	หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อย
	 4. 	วิงเวียนศีรษะ ควบคุมลำ�ตัวหรือแขนขาไม่ได้
	 5. 	เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
	 6. 	รู้สึกหวั่นไหวอย่างทันที โดยหาสาเหตุไม่ได้
	 7. 	มีอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตบริเวณหน้าแขนขาอย่างกะทันหัน
	 8. 	มีอาการพูดไม่ชัด หรือพูดตะกุกตะกัก
	 9. 	มีอาการตามัว
	 10. 	หัวใจเต้นแรงแม้จะหยุดพักประมาณ 10 วินาทีแล้วก็ตาม
ข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายโดยทั่วไป
	 1. 	ควรออกกำ�ลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา
	 2. 	ควรออกกำ�ลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 5 วัน
	 3. 	ควรออกกำ�ลังกายอย่างน้อยครั้งละ 20 - 60 นาที
	 4. 	ควรออกกำ�ลังกายที่มีการพัฒนาความเหนื่อยเพิ่มขึ้นเท่าที่ร่างกาย
จะรับได้
	 5. 	ก่อนและหลังการออกกำ�ลังกายทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกายและผ่อน
คลายร่างกายโดยการเดินหรือทำ�ท่ากายบริหารอย่างน้อยครั้งละ 5 - 10 นาที
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
17
โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา
ข้อเข่าเสื่อม
	
	 โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสึกกร่อนของ
กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้กับข้อกระดูกหลายส่วน
ของร่างกาย แต่ตำ�แหน่งที่พบมากที่สุดคือข้อเข่า พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของโรค
ข้อเสื่อม ถือเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบชนิดหนึ่ง พบได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดย
เฉพาะในผู้สูงอายุพบมากกว่าร้อยละ 80 - 90
ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดข้อเสื่อม
	 1. 	อายุ มักพบในอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบมากในผู้สูงอายุ
	 2. 	นํ้าหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น
	 3. 	อุบัติเหตุ หรือการใช้ข้อไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ
นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น
	 4. 	การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน ที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อในข้อ
เข่า การฉีดยาหรือสารเคมีเข้าในข้อเข่า
อาการของโรคข้อเสื่อม
	 1. 	เริ่มจากปวดข้อเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อมาก
หากเป็นมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา อาจจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
ร่วมด้วย
	 2. 	ข้อฝืด ยึดตึง ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด เช่นในช่วงตื่นนอน
ตอนเช้า เมื่อเคลื่อนไหว
	 3. 	มีเสียงดังในข้อเข่า ขณะที่มีการเคลื่อนไหว
	 4. 	ข้อเข่าบวม มีนํ้าในข้อ อาจมีการโป่งนูนของข้อ
	 5. 	ข้อเข่าคด ผิดรูป หรือเข่าโก่ง
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
18
วิธีการรักษาทั่วไป
	 การรักษามุ่งเน้นเพื่อการลดปวดหรือการอักเสบ ในขณะเดียวกันจะ
พยายามทำ�ให้ข้อเคลื่อนไหวเป็นไปตามปกติ ซึ่งมีแนวทางการรักษาทั่วๆ ไปดังนี้
	 1. 	ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง
	 2. 	บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ
	 3. 	ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด
	 4. 	ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำ�ต่อข้อ
	 5. 	หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่นนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ
นั่งยองๆ
	 6. 	ลดนํ้าหนักในรายที่อ้วนมาก เพราะเมื่อเดินจะมีนํ้าหนักผ่านลง
ที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของนํ้าหนักตัว นอกจากนี้ มีการรักษาทาง
กายภาพบำ�บัดด้วยความร้อนและความเย็น การรักษาโดยการผ่าตัดและการใช้
ยาซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า
	 ท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ งอเข่าทั้งสองข้าง เท้าวางราบกับพื้น ค่อยๆ ยกขาขึ้น
จนเข่าเหยียดตรงเกร็งค้างไว้นับ 1 - 10 งอเข่าลงช้าๆ ให้เท้าวางกับพื้นเหมือนเดิม
ทำ� 10 - 20 ครั้ง สลับขาซ้าย - ขวา
	 ท่านอน นอนหงาย ใช้หมอนเล็กๆ หนุนใต้เข่าทั้งสองข้างเหยียดเข่าให้
ตรง แล้วยกขึ้นตรงๆ ให้ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุตเกร็งไว้นาน 5 - 10 วินาที
แล้วลดลง สลับเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง ทำ�ข้างละ
10 - 15 ครั้ง วันละ 2 เวลา
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
19
ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร
	 ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว
มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือค่าความดันโลหิตขณะ
หัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ
	 ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุพบมากถึงร้อยละ95แต่มีปัจจัยที่เชื่อว่าเป็น
สาเหตุได้แก่ความอ้วนภาวะไขมันในเลือดสูงการสูบบุหรี่การขาดการออกกำ�ลังกาย
นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนสาเหตุ
อื่นๆ ที่พบ เช่น โรคไต โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท สารเคมี หรือยาบางชนิด
อาการ
	 หากเป็นไม่รุนแรง อาการจะไม่เด่นชัด อาจมีอาการเวียนศีรษะ
หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน
คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมากๆ จะมีเลือดกำ�เดาไหล หอบ
นอนราบไม่ได้ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมด้วย
การรักษา
	 1. 	การรักษาโดยไม่ใช้ยาโดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการรับประทาน
อาหารการออกกำ�ลังกายเป็นประจำ�การงดสูบบุหรี่ลดแอลกอฮอล์ตลอดจนการ
ฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด
	 2. 	การรักษาทางยาโดยแพทย์และไม่แนะนำ�ให้หยุดยาเองเป็นอันขาด
เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
20
การป้องกัน
	 1. 	ควบคุมนํ้าหนักไม่ให้อ้วน
	 2. 	งดสูบบุหรี่
	 3. 	จำ�กัดเกลือไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา
	 4. 	ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
	 5. 	ลดการดื่มแอลกอฮอล์
	 6. 	รับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่น ถั่ว ส้ม นํ้าเต้าหู้ ในรายที่
ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ
	 7. 	รับประทานผัก ผลไม้ เช่น ผักบร็อกโคลี กล้วย องุ่น เป็นต้น
	 8. 	รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นมขาดไขมัน
	 9. 	หลีกเลี่ยงภาวะเครียด ฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย
	 10. 	หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสมํ่าเสมอ
	 11. 	คอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นต้น
ควรรีบปรึกษาแพทย์
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง
	 1. 	ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำ�วัน
		  	ควบคุมนํ้าหนักร่างกายให้พอดี คนที่มีนํ้าหนักตัวมากควร
พยายามลดนํ้าหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธีควบคุมอาหาร และ
หมั่นออกกำ�ลังกาย
		 	หมั่นออกกำ�ลังกาย การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมสำ�หรับ
ผู้สูงอายุ เช่น การเดินเร็วก้าวยาวๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ควรเริ่มต้น
ทีละน้อยก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะทำ�ให้หัวใจและปอดทำ�งานดีขึ้น ช่วยการ
สูบฉีดโลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกาย
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
21
		 	ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือหรือนํ้าปลาน้อยที่สุด
รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดยการรับประทานผัก ผลไม้
ให้มาก ดื่มนํ้าให้พอเพียง
	 2. 	ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่จะส่งเสริมให้เกิด
โรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้น และยังทำ�ให้ดื้อต่อยาที่
รักษา
	 3. 	ควรงดเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำ�ให้ความดันขึ้น
และทำ�ให้ดื้อต่อยาที่รักษา
	 4. 	หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำ�ให้หงุดหงิดโมโหตื่นเต้นและนอนหลับพักผ่อน
ให้เพียงพอ
	 5. 	ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลตํ่า มีเส้นใยอาหารสูง
จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 10
	 6. 	รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสมํ่าเสมอควรไปพบแพทย์ตามนัด
ทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง
	 7. 	หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ� อาจเป็นเดือนละ 1 - 2 ครั้ง
ควรบันทึกลงคู่มือไว้ด้วย
	 8. 	สำ�หรับผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้ม กล้วย
เป็นประจำ�ถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
22
โรคหลอดเลือดสมอง
	 เป็นอาการผิดปกติของสมองอย่างฉับพลันและเป็นอยู่นานเกิน24ชั่วโมง
มีสาเหตุจาก
	 1. 	หลอดเลือดในสมองตีบตันการตีบอย่างช้าๆของเส้นเลือดสมองเกิด
จากมีแคลเซียมมาเกาะหรือเกิดมีตะกอนไขมันมาเกาะทำ�ให้รูของหลอดเลือดแคบ
ลงและทำ�ให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
	 2. 	หลอดเลือดในสมองมีก้อนอุดตัน เนื่องจากมีลิ่มเลือดเล็กๆ ที่เกิดขึ้น
ในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมองหลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือด
ที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจ
ขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
	 3. 	หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง ผู้ที่มีเส้นเลือด
สมองเปราะและมีความดันโลหิตสูงเมื่อใดที่มีความดันโลหิตสูงขึ้นทันทีทันใดอาจ
จะทำ�ให้หลอดเลือดในสมองแตกได้
	 นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดง ที่เป็น
มาแต่กำ�เนิด เช่น หลอดเลือดแดงโป่งพองโดยกำ�เนิด หลอดเลือดฝอยผิดปกติแต่
กำ�เนิด หรือมีการอักเสบของเส้นเลือด มักจะแตกและทำ�ให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อ
ผู้ป่วยอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน และ โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการ
แข็งตัวของเลือด เช่น ตับแข็งโรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็น
สาเหตุหนึ่งของเลือดออกในสมองได้
การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
	 1. 	งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า
	 2. 	หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสมํ่าเสมอเนื่องจากความดันโลหิตสูง
จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึงร้อยละ 80
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
23
	 3. 	ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด ผลวิจัยพบว่าผู้ที่นิยมรับประทาน
อาหารที่มีรสเค็มจัด จะพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต
อันดับต้นๆ
	 4. 	บริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลและไขมันตํ่า อาหารที่มีเส้นใยสูง
	 5. 	รักษานํ้าหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ
	 6. 	ควรออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ
	 7. 	ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันใน
เลือดสูง ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรค
ที่สามารถป้องกัน ควบคุมได้ด้วย
	 การปฏิบัติตัว มิให้หลอดเลือดในสมองเสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร โรคนี้
เมื่อเป็นแล้วจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับธรรมชาติของโรคและผู้ป่วยเป็น
สำ�คัญ และต้องตระหนักว่าผู้ป่วยจะมีเพียงความผิดปกติทางกายเท่านั้น ส่วนทาง
ด้านสติปัญญามักจะเป็นปกติ ญาติจึงต้องคอยให้กำ�ลังใจและเสริมสร้างคุณค่า
ของผู้ป่วยอยู่เสมอ
	 ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองควรปรับพฤติกรรมการดำ�รงชีวิต ให้เป็น
แบบที่ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะทำ�ให้ฟื้นตัวได้ดีขึ้น และยังช่วย
ป้องกันไม่ให้เกิดโรคซํ้าอีก
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
24
ภาวะไขมันในเลือดสูง
	 ไขมันในเลือด เป็นส่วนประกอบที่จำ�เป็นในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด
และผนังเซลล์ของร่างกาย ที่สำ�คัญมี 2 ชนิด คือ
	 1.	 ไขมันโคเลสเตอรอล ปกติระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควร
เกิน 200 มก./ดล. ไขมันโคเลสเตอรอล มีหลายชนิด ที่สำ�คัญมี 2 ชนิด คือ
		 1.1 	แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี ระดับค่าปกติ
ไม่ควรเกิน 130 มก./ดล.
		 1.2 	เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ดี ทำ�หน้าที่ช่วยนำ�
ไขมันโคเลสเตอรอลส่วนเกินในเลือดและบางส่วนที่เกาะตามผนังหลอดเลือดกลับ
สู่ตับ ระดับค่าปกติไม่ควรตํ่ากว่า 40 มก./ดล.
	 2. 	ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ระดับค่าปกติไม่ควรเกิน 150 มก./ดล.
สาเหตุ
	 1. 	การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ� การสูบบุหรี่ และการขาด
การออกกำ�ลังกาย
	 2. 	พันธุกรรม ประมาณ 20% ของผู้มีโคเลสเตอรอลสูง ญาติ พี่น้องมี
โอกาสเป็นโรคนี้
	 3. 	ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำ�งานน้อยกว่าปกติ โรคตับ
โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง และความเครียด ซึ่งโรคเหล่านี้ ทำ�ให้การเผาผลาญสาร
ไขมันผิดปกติไป เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
อาการ
	 ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง จะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
25
วิธีป้องกันและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง
	 1. 	ตรวจไขมันในเลือดตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์
	 2.	 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดย
		  	จำ�กัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง
ปลาหมึก หอยนางรม
		 	ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
นมพร่องไขมัน ไข่ควรรับประทานไม่เกินสัปดาห์ละ 2 - 3 ฟอง
		 	ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีส่วน ประกอบ
ของกะทิ และอาหารประเภทย่าง นึ่ง หรืออบ
		 	ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน พบได้ในอาหารเนื้อสัตว์
รวมทั้งนํ้ามันมะพร้าว นํ้ามันปาล์ม เนย และใช้นํ้ามันพืช ในการปรุงอาหาร
โดยใช้ประมาณ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน
	 3. 	ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น
ผลไม้สดและผักต่างๆ และถั่วต่างๆ
	 4. 	ควรออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ จะช่วยเพิ่มระดับไขมัน เอช ดี
แอล ด้วย
	 5. 	งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
	 6. 	หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
26
โรคเบาหวาน
	 โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนทำ�ให้ไม่
สามารถหลั่งอินซูลินได้ตามปกติ หรือเนื้อเยื่อของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน
ลดลง หรือจากทั้งสองสาเหตุร่วมกัน เป็นผลทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นและ
ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆตามมา
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน
	 1. 	นํ้าหนักเกิน ความอ้วน และขาดการเคลื่อนไหวออกกำ�ลังกายที่
เพียงพอ
	 2. 	กรรมพันธุ์มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีบิดามารดาเป็นเบาหวานลูกมีโอกาส
เป็นเบาหวาน 6 - 10 เท่า ของคนที่บิดามารดาไม่เป็นเบาหวาน
	 3. 	ความเครียดเรื้อรัง ทำ�ให้อินสุลินทำ�หน้าที่ในการนำ�นํ้าตาลเข้า
เนื้อเยื่อได้ไม่เต็มที่
	 4. 	อื่นๆ เช่น จากเชื้อโรคหรือยาบางอย่าง (รวมทั้งเหล้าด้วย) ไปทำ�ลาย
ตับอ่อน ทำ�ให้สร้างอินสุลินไม่ได้ จึงเกิดโรคเบาหวาน
	 อาการของโรคเบาหวาน สังเกตได้จากการปัสสาวะบ่อย มี ปริมาณมาก
กระหายนํ้าและดื่มนํ้ามากกว่าปกติ หิวบ่อย กินจุแต่นํ้าหนัก ลด อ่อนเพลีย ชา
ปลายมือปลายเท้า คันตามตัว ผิวหนัง และบริเวณ อวัยวะสืบพันธ์ เป็นแผลแล้ว
หายยาก บางรายตรวจพบโดยบังเอิญโดยไม่มีอาการ
ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
	 วิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจเลือด มี 3 วิธีดังนี้
	 1. 	ตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดเมื่ออดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมงมากกว่า
หรือเท่ากับ 126 มก./ดล.
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
27
	 2. 	ระดับนํ้าตาลในเลือดเมื่อเวลาใดก็ได้มากกว่าหรือเท่ากับ200มก./ดล.
ร่วมกับมีอาการปัสสาวะมาก ดื่มนํ้ามาก นํ้าหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
	 3. ระดับนํ้าตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง หลังการดื่มนํ้าตาลกลูโคสพบว่า
มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล.
แนวทางปฏิบัติสำ�หรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง
	 1. 	มีวิถีชีวิตที่มีกิจกรรมทางกายที่ออกกำ�ลังกายแรงปานกลางอย่างน้อย
30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์
	 2. 	บริโภคอาหารตามข้อปฏิบัติการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสำ�หรับ
ผู้เสี่ยงต่อเบาหวาน เน้นผัก อาหารไขมันตํ่า และธัญพืชเพิ่มขึ้น
	 3. 	การรักษานํ้าหนักตัวให้เหมาะสม ไม่ให้อ้วนเกินไป
	 4. 	ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ งดแอลกอฮอล์
	 5. 	ให้ติดตามตรวจระดับความดันโลหิตอย่างสมํ่าเสมออย่างน้อยปีละ
2 ครั้ง
	 6. 	ผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปี ควรตรวจวัดระดับนํ้าตาลในเลือดหลังการอด
อาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงทุก 3 ปี
อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไม่ดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน
	 1. 	โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่
		 	ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงมาก จะมีอาการปัสสาวะออกมาก
กระหายนํ้ามาก บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หอบ ซึม อาจถึงขั้นหมดสติ
		 	ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่ามาก จะมีอาการใจสั่น หน้ามืดตาลาย
เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ง่วงนอน ปวดศีรษะ สับสน อาจหมดสติหรือชัก
	 2. 	โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง ได้แก่
		 	หลอดเลือดหัวใจตีบ ตันหรืออุดตัน
		 	หลอดเลือดสมองตีบ ตัน ทำ�ให้เป็นอัมพาต
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
28
		  	ตาพร่า มัว ตาบอดจากต้อกระจก และเส้นเลือดในตาอุดตัน
เลือดออกในลูกตา จอตาหลุดลอก
		 	ไตอักเสบไตเสื่อมทำ�ให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนปัสสาวะลดลง
และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากไตวาย
		 	ประสาทอักเสบ ทำ�ให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้าปัสสาวะ
ลำ�บาก ท้องผูกสลับท้องเดิน
		 	พบร่วมกับความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 38.4 นอกจากนี้ ในผู้ที่
เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย ที่พบบ่อยคือ เป็นแผลหรือฝี ซึ่ง
ลุกลามเร็ว เช่น ฝีฝักบัว แผลที่เท้า วัณโรค และไตอักเสบ แต่ถ้าสามารถป้องกัน
ได้โดยการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ดี จะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นน้อยและไม่
รุนแรง
การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน
	 1. 	ควบคุมอาหารอย่าปล่อยให้อ้วนไม่รับประทานของหวานงดสูบบุหรี่
ดื่มสุราและของเค็ม ควรรับประทานอาหารไขมันตํ่า อาหารที่มีเส้นใยสูง
	 2. 	ออกกำ�ลังกายพอควรและต่อเนื่อง โดยการทำ�กายบริหารเดิน ปั่น
จักรยาน วิ่ง รำ�มวยจีน ว่ายนํ้า เต้นรำ� เล่นกอล์ฟ เล่นเทนนิสเล่นแบตมินตัน
เป็นต้น
	 3. 	พักผ่อนให้เพียงพอ ทำ�จิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล
	 4. 	พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดย
เคร่งครัด และสมํ่าเสมอ
	 5. 	หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจเกิด
ปฏิกิริยากับยาลดนํ้าตาลในเลือดและอาจเกิดภาวะนํ้าตาลตํ่าได้
	 6. 	ควรติดตามรับการตรวจร่างกายเป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
	 7. 	ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเมื่อมีบาดแผลจะทำ�ให้แผล
หายช้า โดยปฏิบัติดังนี้
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
29
		 	ตรวจสภาพเท้าทุกวันว่ามีเล็บขบ แผลพุพอง แผลชํ้า รอยถลอก
ที่ใดบ้าง
		 	ทำ�ความสะอาดเท้าด้วยนํ้าอุ่นและเช็ดให้แห้งทุกวัน ควรเปลี่ยน
ถุงเท้า หรือถุงน่องทุกวัน
		 	ควรตัดเล็บเท้าด้วยความระมัดระวัง
		  	หลีกเลี่ยงไม่ให้เท้าสัมผัสกับความร้อน
		 	ไม่ใช้ของมีคมแคะ แกะ เกาบริเวณเท้า
		 	ไม่เดินเท้าเปล่า
	 	 	บริหารเท้าทุกวันอย่างน้อยวันละ15นาทีเพื่อให้การหมุนเวียน
ของเลือดไปที่เท้าดีขึ้น
	 8. 	มีลูกอมติดตัวไว้ เพื่อป้องกันการหมดสติจากนํ้าตาลในเลือดตํ่าเกิน
ไปหลังรับประทานยาเบาหวาน
	 9. 	ถ้ามีแผลแล้วหายช้าหรือมีความผิดปกติใดๆควรปรึกษาแพทย์ทันที
คำ�แนะนำ�เรื่องการรับประทานอาหารสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวาน
		  	หลีกเลี่ยงนํ้าอัดลม นํ้าหวาน หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
ทุกชนิด
		  	ลดอาหารประเภทไขมัน นํ้าตาล ของหวานทุกชนิดให้เหลือน้อย
ที่สุด
		  	เลือกรับประทานอาหารที่มีใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือถั่วฝักยาว
ถั่วแขก ผักทุกชนิด หรือเม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย ควร
รับประทานอาหารที่มีกากใยให้มากทุกวันและทุกมื้อใยอาหารทำ�ให้นํ้าตาลในเลือด
โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ลดลงและยังสามารถลดนํ้าหนักตัวได้ด้วย ใยอาหาร
จะมีมากในผักและผลไม้ ข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว แป้ง ถั่วชนิดต่างๆ
		  	รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่ารับประทานจุกจิกและ
ไม่ตรงเวลา ถ้าอดอาหารมื้อใดไป อาจเกิดนํ้าตาลในเลือดตํ่าเกินไปได้
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
30
		  	รับประทานอาหารในปริมาณที่สมํ่าเสมอและคงที่ ไม่ควร
รับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือด
ควบคุมได้ยาก
		  	ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ควรจะลด
อาหารเค็ม
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
31
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
	 ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถควบคุม
การกลั้นปัสสาวะ กลุ่มผู้สูงอายุจะมีปัญหามากกว่าอายุน้อยและเป็นหนึ่งในโรค
ของผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย โดยในคนอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีภาวะปัสสาวะเล็ดได้ถึง
ร้อยละ 15 - 35 และพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า
ชนิดของปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะราด
	 แบ่งตามสาเหตุได้ดังนี้
	 1. 	เกิดขณะออกแรงเบ่ง ไอ จาม หรือหัวเราะ เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูด
ไม่แข็งแรง
	 2. 	กระเพาะปัสสาวะไวเกินไป เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบ
ตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ ทำ�ให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน รวมทั้ง
ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ ปัสสาวะรดที่นอน จนรบกวนการนอน
หลับ)
	 3. 	เกิดจากมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะมากเกินความจุของ
กระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะจึงล้นไหลออกมาเป็นหยดตลอดเวลามักเกิดจากการ
อุดกั้นทางเดินปัสสาวะหรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติเช่นในผู้สูงอายุ
ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต เบาหวาน
	 4. 	สาเหตุอื่นๆ เช่น ความผิดปกติทางจิตใจ การติดเชื้อในกระเพาะ
ปัสสาวะ หรือการได้รับยาบางชนิด เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยจากอาการปัสสาวะ
เล็ดราดเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถให้การวินิจฉัยถึงสาเหตุที่แท้จริงได้จะต้อง
อาศัยการตรวจร่างกายเพิ่มเติม รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อช่วย
ในการวินิจฉัยและบอกแนวทางการรักษา
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
32
การรักษา
	 มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของปัสสาวะเล็ด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้
วินิจฉัย แนะนำ�วิธีที่เหมาะสมในการรักษา ซึ่งมีคร่าวๆ ดังนี้
	 1. 	การรักษาเชิงพฤติกรรม เป็นวิธีการรักษาที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย
และไม่มีผลข้างเคียง ทำ�ได้โดย
		 1.1	 การฝึกปัสสาวะ โดยการพยายามกลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกอยาก
จะถ่ายปัสสาวะ ให้พยายามยืดเวลาออกไปอีก 10 - 15 นาทีเมื่อทำ�ได้ 2 สัปดาห์
แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาออกไปอีก จะทำ�ให้สามารถกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น วิธีนี้ใช้ได้
ผลดีในผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะไวเกิน และกล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง
		 1.2 	การฝึกขมิบกล้ามเนื้อเชิงกราน โดยทำ�การขมิบก้นและ
ช่องคลอดช้าๆ ครั้งละ 10 วินาที วันละ 30 - 80 ครั้ง วิธีนี้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มี
กล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง
		 1.3 	การควบคุมนํ้าหนัก เนื่องจากความอ้วนจะเพิ่มความดันใน
ช่องท้อง
		 1.4	 ควรควบคุมปริมาณนํ้าดื่มในแต่ละวันไม่ให้มากเกินไป
		 1.5	 ควรงดดื่มสุรา และชา กาแฟ
	 2. 	การรักษาโดยยาและการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดการบีบตัว
ของกระเพาะปัสสาวะ ตามความเหมาะสม และให้การผ่าตัดรักษาในรายที่มี
ข้อบ่งชี้ เช่น ต่อมลูกหมากโตที่ใช้ยารักษาไม่ได้ผลกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน
รุนแรง เป็นต้น
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
33
นอนไม่หลับทำ�อย่างไร
	 เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อเข้านอนแล้วใช้เวลานานกว่า
จะหลับ นอนหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน มีอาการอ่อนล้าในตอนกลางวัน
สาเหตุที่ทำ�ให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ
	  	มีปัญหาสุขภาพทางร่างกาย
	 	 มีปัญหาด้านจิตใจ น้อยใจ หดหู่ กังวล ตื่นเต้น
	  	รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้คัดจมูก ยาขยายหลอดลมฯลฯ
	 	 การดื่มสุรา ดื่มชา กาแฟ นํ้าอัดลม
สุขบัญญัติสำ�หรับการนอน
	 	 ฝึกนิสัยการเข้านอนให้สมํ่าเสมอ
	 	 ทำ�กิจกรรมอย่างมีระบบ วางแผนล่วงหน้า
	 	 ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอไม่ควรออกกำ�ลังกายหลังเวลา19.00น.
หรือก่อนนอน
	 	 จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอน ให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวน
แสงสว่างพอเหมาะ อุณหภูมิที่รู้สึกสบาย เป็นต้น
	 	 ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน
	 	 ไม่ควรดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลัง 16.00 น.
	 	 ดื่มนมอุ่นๆ หรือนํ้าเต้าหู้ก่อนนอน จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
	 	 ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อนนอน
	 	 ทำ�กิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน
การปฏิบัติที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
	 	 ปฏิบัติตามสุขบัญญัติการนอนดังกล่าวข้างต้น
	 	 มีกิจกรรมทางร่างกายเวลากลางวันและก่อนเข้านอนที่เหมาะสม
	 	 มีระเบียบการเข้านอนและการลุกจากที่นอน
	 	 หลีกเลี่ยงการงีบหลับช่วงกลางวันหรือบ่ายๆ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
34
โรคสมองเสื่อม
	 ปกติผู้สูงอายุ จะมีอาการลืมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเป็นการลืมตามวัยเช่น
ลืมของว่าวางไว้ที่ไหน ถ้าหากลืมจนผิดปกติ เช่น เก็บกุญแจไว้ในตู้เย็น หรือหา
ทางกลับบ้านตนเองไม่ได้ ก็อาจเป็นภาวะสมองเสื่อมได้เรามารู้จักภาวะสมอง
เสื่อมกันเถอะภาวะสมองเสื่อม เกิดจากความเสื่อมถอยในการทำ�งานของสมอง
โดยรวม มีผลทำ�ให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำ�วัน และเกิด
การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและพฤติกรรมอย่างชัดเจน
อาการชี้นำ�ที่ญาติพึงสงสัยว่าผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อม
	 1. 	สูญเสียความจำ�สิ่งใหม่ๆ แต่ความจำ�สิ่งเก่าๆ จำ�ได้เหมือนเดิม
จะถามบ่อยๆ ซํ้าๆ
	 2. 	การรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆไม่ได้จำ�เหตุการณ์ปัจจุบันหรือสิ่งต่างๆ
ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น การรับประทานอาหารแล้วบอกว่ายังไม่ได้รับประทาน
จำ�คำ�พูดระหว่างสนทนาไม่ได้ จะถามซํ้าๆ
	 3. 	การตัดสินใจแก้ไขปัญหาบกพร่อง เช่น ยืนดูอ่างนํ้าล้นเฉยๆไม่รู้จะ
ทำ�อย่างไร
	 4. 	การประกอบกิจกรรมต่างๆ บกพร่อง เช่น เคยเปิดโทรทัศน์และ
เปลี่ยนช่องได้เอง แต่ทำ�ไม่ได้
	 5. 	การทำ�กิจวัตรประจำ�วันบกพร่องเช่นใส่เสื้อผ้าหรือติดกระดุมไม่ได้
ญาติต้องคอยทำ�ให้ กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่
	 6. 	พฤติกรรมแปลกและมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น กลายเป็นคน
เฉยเมย เฉื่อยชา หรือโมโหฉุนเฉียวง่าย เดินไปมาไร้จุดหมายบางรายนอนไม่หลับ
หรือนอนทั้งวัน
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ
35
	 7. 	หลงทาง เมื่อเดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูกซึ่งอาการ
เหล่านี้อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นรวดเร็วและมีอาการมากขึ้น
เรื่อยๆ ตามลำ�ดับก็ได้
	 ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม คือ กรรมพันธ์ อายุที่มากขึ้นโดย
เฉลี่ยพบในคนอายุ 65 ปีขึ้นไป และร้อยละ 20 - 25 พบในคนอายุ 85 ปีขึ้นไป
ส่วนใหญ่พบในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
โรคหลอดเลือดหัวใจ และในคนที่มีประวัติอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคสมองเสื่อม
	 ทำ�ได้โดยการซักประวัติ อาการและอาการแสดง จะทำ�ให้ทราบว่าผู้ป่วย
อยู่ในระยะใดของโรค สามารถแบ่งออกตามลำ�ดับดังนี้
	 ระยะที่ 1 หลงลืม ระยะนี้มีระยะเวลาของโรค 1 - 3 ปี ผู้ป่วยจะบอก
ว่าหลงลืมบ่อย เช่น หลงทางบ่อยๆ ลืมนัดหมาย ลืมเรื่องปัจจุบันบุคลิกเปลี่ยนไป
เช่น เป็นคนเรียบเฉย ไม่มีอารมณ์ขัน หากเป็นมากจะเข้าสู่ระยะที่ 2
	 ระยะที่ 2 สับสน มีระยะเวลาของโรค 3 - 10 ปี ความจำ�ลดลงอย่างมาก
สูญเสียความสามารถในการพูดหรือใช้ภาษาไม่สามารถหาเหตุผลและแก้ปัญหาได้
การรับรู้เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ลดลงอาจมีอาการซึมเศร้า สับสน ตื่นเต้น
กระสับกระส่าย
	 ระยะที่ 3 สมองเสื่อม ระยะนี้จะสั้น 1 - 2 ปี บางรายอาจอยู่ได้นานกว่า
10 ปี จะมีอาการผอมลง รับประทานอาหารลำ�บากไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ มีปัญหาการเคลื่อนไหว ข้อติดแข็ง อาจถึงแก่กรรม
ด้วยโรคปอดบวม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ
คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ

More Related Content

What's hot

แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100
แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100
แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100ทับทิม เจริญตา
 
แบบทดสอบสูตรคูณP3 6
แบบทดสอบสูตรคูณP3 6แบบทดสอบสูตรคูณP3 6
แบบทดสอบสูตรคูณP3 6Khunnawang Khunnawang
 
P5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่อง
P5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่องP5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่อง
P5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่องKhunnawang Khunnawang
 
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2Kansinee Kosirojhiran
 
โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3
โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3
โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3Kansinee Kosirojhiran
 
หน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.doc
หน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.docหน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.doc
หน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.docamppbbird
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศthnaporn999
 
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพWinthai Booloo
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)pueniiz
 
รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์Kobwit Piriyawat
 
ใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียด
ใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียดใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียด
ใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียดtassanee chaicharoen
 
แบบทดสอบ บทที่ 1
แบบทดสอบ บทที่ 1แบบทดสอบ บทที่ 1
แบบทดสอบ บทที่ 1Jariya Jaiyot
 
แบบฝึกหัด ตัวการันต์
แบบฝึกหัด ตัวการันต์แบบฝึกหัด ตัวการันต์
แบบฝึกหัด ตัวการันต์Kansinee Kosirojhiran
 

What's hot (20)

แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100
แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100
แบบฝึกการแยกโจทย์ปัญหาบวกลบ100
 
การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1
 
แบบทดสอบสูตรคูณP3 6
แบบทดสอบสูตรคูณP3 6แบบทดสอบสูตรคูณP3 6
แบบทดสอบสูตรคูณP3 6
 
โจทย์ปัญหาระคนป.4 6(2)
โจทย์ปัญหาระคนป.4 6(2)โจทย์ปัญหาระคนป.4 6(2)
โจทย์ปัญหาระคนป.4 6(2)
 
P5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่อง
P5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่องP5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่อง
P5 แบบทดสอบคิดคำนวณคล่อง
 
การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1
 
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2
การวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ การหาร ป.2
 
ป.1
ป.1ป.1
ป.1
 
โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3
โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3
โจทย์ปัญหาการคูณ ป.3
 
หน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.doc
หน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.docหน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.doc
หน่วยที่ 4-การบวก ลบ คูณ หารระคน ป.2.doc
 
โจทย์ปัญหาซ้อน ป. 4
โจทย์ปัญหาซ้อน ป. 4โจทย์ปัญหาซ้อน ป. 4
โจทย์ปัญหาซ้อน ป. 4
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
 
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
 
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ (1)
 
รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
รูปแบบการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา ปรับปรุง 2555 ครูกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1การบวกเลข ป.1
การบวกเลข ป.1
 
ใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียด
ใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียดใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียด
ใบงานเรื่องอารมณ์และความเครียด
 
แบบทดสอบ บทที่ 1
แบบทดสอบ บทที่ 1แบบทดสอบ บทที่ 1
แบบทดสอบ บทที่ 1
 
Ppt.dlp
Ppt.dlpPpt.dlp
Ppt.dlp
 
แบบฝึกหัด ตัวการันต์
แบบฝึกหัด ตัวการันต์แบบฝึกหัด ตัวการันต์
แบบฝึกหัด ตัวการันต์
 

Viewers also liked

คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุDMS Library
 
Project pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyanProject pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyandnavaroj
 
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ yim2009
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนthotsaporn_c
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านusanee31
 
การซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยการซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยOzone Thanasak
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sssDr.Suradet Chawadet
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุSirinoot Jantharangkul
 
การสูงอายุ
การสูงอายุการสูงอายุ
การสูงอายุJit Khasana
 
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุThanai Punyakalamba
 
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านคู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุDashodragon KaoKaen
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)Chuchai Sornchumni
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfMaytinee Beudam
 

Viewers also liked (15)

คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
 
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือสุขภาพผู้สูงอายุ
 
Project pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyanProject pohpanpunya somdejyan
Project pohpanpunya somdejyan
 
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
แบบสอบถามผลกระทบของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียนแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านนักเรียน
 
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้านแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน
 
การซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วยการซักประวัติการเจ็บป่วย
การซักประวัติการเจ็บป่วย
 
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sssบันทึกการเยี่ยมบ้าน  ตามแนวทาง  In  home  sss
บันทึกการเยี่ยมบ้าน ตามแนวทาง In home sss
 
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุการใช้ยาในผู้สูงอายุ
การใช้ยาในผู้สูงอายุ
 
การสูงอายุ
การสูงอายุการสูงอายุ
การสูงอายุ
 
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุคู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
คู่มือการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
 
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้านคู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน
 
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุแนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
แนวทางการบริโภคอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
 
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
 
การพยาบาลDhf
การพยาบาลDhfการพยาบาลDhf
การพยาบาลDhf
 

Similar to คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ

ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
หนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไตหนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไตCAPD AngThong
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิตTongsamut vorasan
 
ไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืมไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืมUtai Sukviwatsirikul
 
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)Wan Ngamwongwan
 

Similar to คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ (7)

ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
หนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไตหนังสือความรู้เรื่องโรคไต
หนังสือความรู้เรื่องโรคไต
 
Diabetes
DiabetesDiabetes
Diabetes
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
 
ไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืมไม่ล้มไม่ลืม
ไม่ล้มไม่ลืม
 
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
 

More from Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ Utai Sukviwatsirikul
 

More from Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ การบริหารคน ของคุณ รวิศ  หาญอุตสาหะ
การบริหารคน ของคุณ รวิศ หาญอุตสาหะ
 

คู่มือการดูแลผู้สูงอายุโครงการพัฒนารอบวัดญาณ

  • 1.
  • 2.
  • 3. ชื่อหนังสือ : คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ รวบรวมโดย : นายแพทย์ศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม นางดลินพร สนธิรักษ์ นางจันทนงค์ อินทร์สุข จัดทำ�โดย : ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พิมพ์ครั้งที่ 1 : กันยายน 2554 จำ�นวนที่พิมพ์ : 1,000 เล่ม พิมพ์ที่ : บริษัท บียอนด์ พับลิสชิ่ง จำ�กัด สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ห้ามลอกเลียนแบบส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
  • 4. คำ�แนะนำ� การใช้คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุ 1. คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุนี้ใช้ในการบันทึกข้อมูลสุขภาพ ประจำ�ตัวท่าน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลบำ�บัดรักษาตัวท่านเอง โปรดเก็บไว้ อย่าให้หาย 2. โปรดอ่านคำ�แนะนำ�ต่างๆ ทางด้านสุขภาพและโรคที่พบบ่อยใน ผู้สูงอายุ เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเอง 3. นำ�สมุดเล่มนี้ไปด้วยทุกครั้งเมื่อไปรับการตรวจรักษาณหน่วยบริการ สุขภาพ และโปรดมอบคู่มือนี้ให้แพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขบันทึกการตรวจ รักษาทุกครั้ง 4. ท่านสามารถบันทึกปัญหาสุขภาพของตัวท่านเองได้ 5. หากท่านมีข้อสงสัยหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้คู่มือนี้กรุณาสอบถาม รายละเอียดจากเจ้าหน้าที่ของหน่วยบริการสุขภาพ กรณีฉุกเฉิน : ผู้รับแจ้งเหตุฉุกเฉินชื่อ..........................................นามสกุล...................................... ที่อยู่.......................................................................................................................... ที่ทำ�งาน................................................................................................................... โทรศัพท์..................................................มือถือ....................................................... คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ ก
  • 5. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ ข คำ�นำ� สมุดบันทึกสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุได้ถูกจัดพิมพ์ขึ้นหลายครั้งซึ่งได้รับ การตอบรับเป็นอย่างดี ครั้งนี้ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ จังหวัดชลบุรี กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำ�เนินโครงการพัฒนา พื้นที่บริเวณรอบวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ นำ�ร่องการพัฒนาระบบเครือข่ายรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ในชุมชนตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงดำ�เนินการรวบรวมจัดทำ�คู่มือนอกจากจะเป็นคู่มือที่ ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเอง แพทย์และบุคลากรสาธารณสุข บันทึกข้อมูลการตรวจรักษาต่างๆ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อสามารถ ติดตามการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยประกอบการตัดสินใจให้การรักษา ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังมีข้อมูลด้านสุขภาพคำ�แนะนำ�ต่างๆรวมทั้ง “9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” และ “เคล็ดลับผู้สูงวัยหัวใจเด็ก” ไว้ให้ ผู้สูงอายุได้ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเองให้มีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ ดำ�รงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี คณะผู้จัดทำ�ได้ทำ�การเรียบเรียงจากเอกสารวิชาการและจัดทำ�ขึ้นเป็น คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สูงอายุที่จะนำ�ไปใช้ให้ ได้มากที่สุด จึงขอขอบคุณผู้นิพนธ์บทความทางด้านผู้สูงอายุที่คณะผู้จัดได้นำ�มา ประกอบลงในคู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุเล่มนี้ (นายศักดิ์ชัย ถิรวิทยาคม) ผู้อำ�นวยการศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
  • 6. วัตถุประสงค์ คู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุเล่มนี้ ได้จัดทำ�ขึ้น 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ใช้บันทึกปัญหาสุขภาพของตนเองและจัดเก็บไว้ ประจำ�ตัว นำ�สมุดเล่มนี้ติดตัวไปด้วยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน และเมื่อไปรับการ ตรวจรักษาจากหน่วยบริการสุขภาพทุกแห่ง ทั้งของรัฐบาลและเอกชน 2. เพื่อให้แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขบันทึกข้อมูลด้านสุขภาพ ต่างๆ ผลการตรวจรักษาและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการตั้งแต่ในอดีตจนถึง ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง ช่วยในการตัดสินใจให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ต่อตัวผู้สูงอายุเองและผู้สูงอายุจะได้ทราบข้อมูลด้านสุขภาพของตน ตลอดจนการรักษาของแพทย์ด้วย 3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้เรื่องสุขภาพของผู้สูงอายุให้มีความรู้เกี่ยวกับ โรคต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และแนวทางในการปฏิบัติตน การส่งเสริมสุขภาพ เช่น อาหาร การออกกำ�ลังกายการควบคุมป้องกันโรค เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะ ที่ดีทั้งทางร่างกาย จิตใจ ในอันที่จะชะลอความชรา ชะลอความเสื่อม ช่วยเหลือ ตนเองได้ และส่งเสริมศักยภาพในผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีให้สามารถดูแลช่วยเหลือ ผู้อื่น ซึ่งแบ่งเนื้อหาเป็น 3 ส่วน คือ 1) ประวัติส่วนตัวและประวัติทางสุขภาพ 2) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและบันทึกการรักษา 3) ภาคผนวก:ความรู้เกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและแนวทาง การดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ คณะผู้จัดทำ�หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือสุขภาพประจำ�ตัวผู้สูงอายุนี้ จะเป็น ประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้สูงอายุเองและแพทย์หรือบุคลากรสาธารณสุขผู้ทำ�การตรวจ รักษาผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง คงไว้ซึ่งการมี สุขภาพดี ในกรณีเจ็บป่วยสามารถควบคุมโรคแทรกซ้อนได้ อันจะเป็นการเพิ่ม คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ศูนย์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ ค
  • 7. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ ง สารบัญ หน้า คำ�นำ� ข วัตถุประสงค์ ค ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ 1 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 3 ผลการตรวจพิเศษต่างๆ 7 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล 8 สำ�หรับผู้สูงอายุและครอบครัวบันทึกปัญหาสุขภาพ 10 คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้สูงอายุ 12 ภาคผนวก 14 แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ 14 ข้อที่ 1 อาบนํ้าทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 14 ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ 14 ข้อที่ 3 ออกกำ�ลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที 14 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา 17 ข้อเข่าเสื่อม 17 ความดันโลหิตสูง 19 โรคหลอดเลือดสมอง 22 ภาวะไขมันในเลือดสูง 24 โรคเบาหวาน 26 ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ 31 นอนไม่หลับทำ�อย่างไร 33 โรคสมองเสื่อม 34 โรคซึมเศร้า 37 เอกสารอ้างอิง 39 กำ�หนดนัดเพื่อสุขภาพครั้งต่อไป 40 เคล็ดลับผู้สูงวัยหัวใจเด็ก 41
  • 8. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 1 ประวัติส่วนตัวและประวัติสุขภาพ 1. ชื่อ..................................................นามสกุล.................................................... 2. อายุ.................ปี วัน เดือน ปีเกิด.................................................................... 3. นํ้าหนัก...................ก.ก.ส่วนสูง....................ซ.ม.หมู่เลือด.................................. 4. ที่อยู่บ้านเลขที่........................หมู่ที่................ตรอก/ซอย................................ ถนน...................................................ตำ�บล.................................................... อำ�เภอ.........................................จังหวัด............................................................ รหัสไปรษณีย์.......................โทรศัพท์............................................................. 5. อาชีพ................................................................................................................. 6. ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต.............................................................................. 7. ประวัติการผ่าตัด............................................................................................. 8. โรคประจำ�ตัวหรือโรคที่ป่วยบ่อยๆ.................................................................. 9. ยาที่รับประทานประจำ�................................................................................... 10. ประวัติการแพ้ยาหรืออาหาร........................................................................... 11. ปัญหาสุขภาพในปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) หัวใจ มี ไม่มี เบาหวาน มี ไม่มี ความดันโลหิตสูง มี ไม่มี หอบหืด/ถุงลมโป่งพอง มี ไม่มี มะเร็ง มี ไม่มี สมองเสื่อม มี ไม่มี ข้อเสื่อม มี ไม่มี ปัญหาด้านการมองเห็น มี ไม่มี ปัญหาด้านการได้ยิน มี ไม่มีี โรคอื่นๆ (โปรดระบุ).......................................................................................
  • 9. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 2 12. การสูบบุหรี่/ยาเส้น ไม่สูบ สูบบ้าง สูบประจำ� เคยสูบ ระบุ.................กี่ปี 13. การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ (เช่น สุรา เบียร์ยาดองเหล้า) ไม่ดื่ม ดื่มบ้าง ดื่มประจำ� เคยดื่ม เลิก.................ปี 14. การออกกำ�ลังกาย ไม่ออกกำ�ลังกาย ออกกำ�ลังกาย ระบุ (หน้าข้อที่ท่านปฏิบัติ) .................วิ่ง .................ไทเก็ก .................เดิน .................เต้นแอโรบิก .................บริหารร่างกาย .................เล่นกีฬา อาทิ เทนนิส/ว่ายนํ้า/เปตอง เป็นต้น .................อื่นๆ ........................................................................ 15. ความถี่ในการออกกำ�ลังกาย น้อยกว่า 3 วัน/สัปดาห์ มากกว่าหรือเท่ากับ 3 วัน/สัปดาห์ ไม่สมํ่าเสมอ 16. จำ�นวนเวลาในการออกกำ�ลังกาย น้อยกว่า 30 นาที มากกว่าหรือเท่ากับ 30 นาที 17. จำ�นวนฟันที่ใช้งานได้ (รวมฟันปลอม) น้อยกว่า 20 ซี่ 20 ซี่หรือมากกว่า 20 ซี่
  • 10. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 3 1/………2/………3/………4/………5/………6/………7/………8/………9/………10/………11/………12/……… CBCการตรวจนับเม็ดเลือด -Hbความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงญ.12-16gm/dL ช.14-18gm/dL -Hctอัตราความเข้มข้นของเลือดญ.37-48% ช.42-52% -Wbcจำ�นวนเม็ดเลือดขาว5,000-10,000cell/cu.mm BloodChemistryการตรวจสารเคมีในเลือด -FBSนํ้าตาลในเลือด70-110mg/dL -BUNการทำ�งานของไต8-25mg/dL -Crการทำ�งานของไต0.5-1.5mg/dL -Uricacidกรดยูริคในเลือด3.6-7.7mg/dL -Cholesterolไขมันโคเลสเตอรอล150-200mg/dL -Triglycerideไขมันไตรกลีเซอไรด์30-170mg/dL -HDLไขมันเอชดีแอล(ไขมันชนิดดี)35-55mg/dL -LDLไขมันแอลดีแอล(ไขมันชนิดเลว)0-150mg/dL -Albuminโปรตีน3.2-4.5mg/dL -Globulinโปรตีน2.3-3.5mg/dL ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • 11. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 4 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ต่อ) 1/………2/………3/………4/………5/………6/………7/………8/………9/………10/………11/………12/……… -Alkphosphataseตับและกระดูก39-117u/L -SGOTเอนไซม์ตับ0-40u/L -SGPTเอนไซม์ตับ0-37u/L อื่นๆ Immunologyภูมิคุ้มกันในเลือด -HBsAgไวรัสตับอักเสบชนิดบีNeg -HBsAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos -HBcAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos -CEAตรวจหามะเร็งลำ�ไส้0-5ng/ML -Alphafetoproteinตรวจหามะเร็งตับ0-15ng/ML UAการตรวจปัสสาวะ Stoolการตรวจอุจจาระ อื่นๆ
  • 12. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 5 13/………14/………15/………16/………17/………18/………19/………20/……21/……22/………23/………24/……… CBCการตรวจนับเม็ดเลือด -Hbความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงญ.12-16gm/dL ช.14-18gm/dL -Hctอัตราความเข้มข้นของเลือดญ.37-48% ช.42-52% -Wbcจำ�นวนเม็ดเลือดขาว5,000-10,000cell/cu.mm BloodChemistryการตรวจสารเคมีในเลือด -FBSนํ้าตาลในเลือด70-110mg/dL -BUNการทำ�งานของไต8-25mg/dL -Crการทำ�งานของไต0.5-1.5mg/dL -Uricacidกรดยูริคในเลือด3.6-7.7mg/dL -Cholesterolไขมันโคเลสเตอรอล150-200mg/dL -Triglycerideไขมันไตรกลีเซอไรด์30-170mg/dL -HDLไขมันเอชดีแอล(ไขมันชนิดดี)35-55mg/dL -LDLไขมันแอลดีแอล(ไขมันชนิดเลว)0-150mg/dL -Albuminโปรตีน3.2-4.5mg/dL -Globulinโปรตีน2.3-3.5mg/dL ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ต่อ)
  • 13. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 6 13/………14/………15/………16/………17/………18/………19/………20/……21/……22/………23/………24/……… -Alkphosphataseตับและกระดูก39-117u/L -SGOTเอนไซม์ตับ0-40u/L -SGPTเอนไซม์ตับ0-37u/L อื่นๆ Immunologyภูมิคุ้มกันในเลือด -HBsAgไวรัสตับอักเสบชนิดบีNeg -HBsAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos -HBcAbภูมิป้องกันไวรัสตับอักเสบชนิดบีNegorPos -CEAตรวจหามะเร็งลำ�ไส้0-5ng/ML -Alphafetoproteinตรวจหามะเร็งตับ0-15ng/ML UAการตรวจปัสสาวะ Stoolการตรวจอุจจาระ อื่นๆ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ(ต่อ)
  • 15. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 8 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล ว.ด.ป. ที่ตรวจ นํ้าหนัก(ก.ก.) ส่วนสูง(ซ.ม.) *ค่าดัชนี มวลกาย ก.ก./ม.2 ความดันโลหิต อุณหภูมิอัตราชีพจร การหายใจ อาการที่ตรวจพบ การ วินิจฉัย การรักษาที่ให้ ลงชื่อ ผู้ตรวจ ชื่อสถานพยาบาล ที่ตรวจ *ดัชนีมวลกาย= นํ้าหนักตัว(กิโลกรัม) ค่าระหว่าง18.5-24.9 ก.ก./ม.2 แสดงว่า นํ้าหนักปกติ หมายเหตุ: - ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย ส่วนสูง(เมตร)2 ค่าน้อยกว่า18.5 ก.ก./ม.2 แสดงว่า ผอม - เรื้อรัง ค่าระหว่าง25-29.9 ก.ก./ม.2 แสดงว่า นํ้าหนักเกิน - เฉียบพลัน ค่าตั้งแต่30 ก.ก./ม.2 ขึ้นไปแสดงว่าโรคอ้วน
  • 16. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 9 บันทึกการตรวจและรักษาพยาบาล(ต่อ) ว.ด.ป. ที่ตรวจ นํ้าหนัก(ก.ก.) ส่วนสูง(ซ.ม.) *ค่าดัชนี มวลกาย ก.ก./ม.2 ความดันโลหิต อุณหภูมิอัตราชีพจร การหายใจ อาการที่ตรวจพบ การ วินิจฉัย การรักษาที่ให้ ลงชื่อ ผู้ตรวจ ชื่อสถานพยาบาล ที่ตรวจ *ดัชนีมวลกาย= นํ้าหนักตัว(กิโลกรัม) ค่าระหว่าง18.5-24.9 ก.ก./ม.2 แสดงว่า นํ้าหนักปกติ หมายเหตุ: - ระบุแยกปัญหาการวินิจฉัย ส่วนสูง(เมตร)2 ค่าน้อยกว่า18.5 ก.ก./ม.2 แสดงว่า ผอม - เรื้อรัง ค่าระหว่าง25-29.9 ก.ก./ม.2 แสดงว่า นํ้าหนักเกิน - เฉียบพลัน ค่าตั้งแต่30 ก.ก./ม.2 ขึ้นไปแสดงว่าโรคอ้วน
  • 19. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 12 คำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้สูงอายุ อาการที่ควรรีบพาไปพบแพทย์ 1. ตัวร้อนจัด ไข้สูง/หนาวสั่น ไข้หลายวันติดต่อกัน ปวดมึนท้ายทอย ปวดหัว ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ชักกระตุก หมดสติ 2. ไอเรื้อรัง มีเสมหะเขียวข้น หรือปนเลือด หายใจหอบ 3. บวมตามตัว แขนขา หน้าตา คลำ�ได้ก้อนนูนส่วนใดส่วนหนึ่งของ ร่างกาย 4. อาเจียนรุนแรงหรือติดต่อกัน มีเลือดปนหรือเป็นสีดำ� ถ่ายอุจจาระ เหลวติดต่อกันหลายครั้งหรือเป็นนํ้า มีมูกเลือดปน หรือเป็นสีดำ� 5. มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศ 6. ปัสสาวะขัดหรือกระปริดกะปรอย หรือเป็นสีเลือด สีนํ้าล้างเนื้อหรือ สีชาเข้ม 7. เจ็บหน้าอกเหมือนถูกบีบรัด ปวดร้าวไปที่แขนซ้ายหรือต้นคอ แน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ 8. ปวดกระบอกตา เจ็บระคายเคืองตา ตามัว เห็นภาพซ้อน 9. หูอื้อ ปวดในหู มีนํ้าหนวก มีสิ่งแปลกปลอมเข้าหู 10. กลืนอาหารลำ�บาก เหงือกบวม 11. กล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง กล้ามเนื้อกระตุก ปวดบวมแดงร้อน บริเวณข้อต่อ 12. ซึม พูดน้อยลง เบื่ออาหาร ร้องไห้ง่าย บ่นอยากตาย เบื่อชีวิต 13. ท่าทางหวาดระแวง กลัวคนทำ�ร้าย ไม่ไว้ใจใคร ระแวงคู่สมรสนอกใจ พูดคนเดียว 14. หลงลืมง่าย จำ�คนคุ้นหน้าไม่ได้ สับสนเรื่องเวลาและสถานที่
  • 20. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 13 ถ้ามีอาการเหล่านี้ให้ติดตามอาการดูหากมีอาการมากขึ้นหรือนานเกิน 7 วัน ให้ไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 1. ตัวร้อนรุมๆ ปวดหัว 2. มีนํ้ามูกใส ไอแห้ง 3. ผื่นคัน กลาก เกลื้อน หิด 4. ปวดท้อง แน่นอึดอัด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องผูก 5. ตกขาวมีอาการคัน หรือมีกลิ่นเหม็น 6. ปัสสาวะสีชาแก่ หรือขุ่นมีตะกอน 7. เหนื่อยง่าย เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า 8. มีแผลที่มุมปาก มีฝ้าขาว หรือมีแผลเรื้อรังในช่องปาก เจ็บคอ 9. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีแผลฟกชํ้า 10. นอนไม่หลับ กังวลง่าย หายใจไม่เต็มอิ่ม อารมณ์เสียง่าย ปวดศีรษะ บ่อยๆ
  • 21. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 14 ภาคผนวก แนวทางการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ การมีสุขภาพที่ดีเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ชีวิตดำ�รงอยู่ได้อย่างมีความสุข สามารถประกอบกิจการหรือภารกิจหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมีสุขภาพที่ ดี จึงเป็นสิ่งสำ�คัญที่บุคคลทุกเพศทุกวัยปรารถนา คนเราจึงต้องใส่ใจต่อการปฏิบัติ ตนเองให้บรรลุถึงการมีสุขภาพดี ซึ่งสำ�หรับผู้สูงอายุ มีแนวทางในการดูแลสุขภาพ ตนเอง 9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ “9 ประการ เพื่อชีวีสดใสวัยสูงอายุ” หมายถึงกิจกรรมที่ควรปฏิบัติเป็น ประจำ�อย่างสมํ่าเสมอ ไม่ละเลยจนขาดความต่อเนื่องควรเริ่มปฏิบัติตั้งแต่เยาว์วัย เพื่อให้มีสุขภาพดีและมีอายุที่ยืนยาวอย่างแข็งแรง กิจกรรม 9 อย่าง ประกอบด้วย ข้อที่ 1 อาบนํ้าทุกวัน แปรงฟันสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง อาบนํ้าอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันสึกและเหงือกเป็นแผลหลีกเลี่ยงลูกอม ตรวจสุขภาพในช่องปากอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ข้อที่ 2 กินอาหารสุกสะอาด วันละ 3 มื้อ ให้ถือ 5 หมู่ ควรคำ�นึงถึงลักษณะอาหารให้เคี้ยวง่าย ย่อยง่าย และควรลดปริมาณ อาหารในแต่ละมื้อลงแต่เพิ่มจำ�นวนมื้ออาหารให้มากขึ้นและควรหลีกเลี่ยงอาหาร จำ�พวก สุรา เบียร์ เครื่องดื่มชูกำ�ลัง ชา กาแฟ นํ้าอัดลม นํ้าหวาน อาหารรสเค็ม และหวานจัด ข้อที่ 3 ออกกำ�ลังกายสามครั้งต่ออาทิตย์ ครั้งละนิดไม่เกิน 30 นาที การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมและสมํ่าเสมอในทางการแพทย์ถือเป็นสิ่ง สำ�คัญในการสร้างเสริมให้มีสุขภาพที่ดีการออกกำ�ลังกายเพื่อสุขภาพเป็นการออก
  • 22. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 15 กำ�ลังกายที่เพิ่มขึ้นจากการทำ�กิจวัตรประจำ�วัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดความสมบูรณ์ แข็งแรงของร่างกาย ดังนั้นควรออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอคือ อย่างน้อยสัปดาห์ ละ 3 ครั้ง โดยออกต่อเนื่องครั้งละ 20 - 30 นาที และต้องมีการอุ่นเครื่องก่อนการ ออกกำ�ลังกายทุกครั้งประมาณ 5 - 10 นาที ออกกำ�ลังกายประมาณ15 - 20 นาที และมีระยะเวลาเพื่อการผ่อนคลายประมาณ 5 - 10 นาที แล้วจึงยุติการ ออกกำ�ลังกาย ซึ่งสามารถเลือกชนิดของการออกกำ�ลังกายตามความชอบและ ความเหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่งช้าๆ การบริหารท่าต่างๆ การรำ�มวยจีน โยคะ เป็นต้น ประโยชน์ของการออกกำ�ลังกายในผู้สูงอายุ 1. ช่วยชะลอความชรา 2. การทรงตัวและการทำ�งานของอวัยวะต่างๆ มีการประสานกันดีขึ้น ทำ�ให้เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ไม่หกล้ม 3. ลดนํ้าหนักตัว ควบคุมไม่ให้อ้วน รูปร่างดีขึ้น 4. ลดความเครียดและอาการซึมเศร้า ทำ�ให้จิตใจแจ่มใส 5. ช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือด ปอด หัวใจ ทำ�งานดีขึ้น ลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง 6. ลดความดันเลือด 7. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ข้อพึงปฏิบัติในการออกกำ�ลังกาย 1. เริ่มต้นอย่างช้าๆ และหยุดทำ�ทันที ถ้าท่านรู้สึกมีอาการเจ็บปวดหรือ ผิดปกติ 2. หลังจากที่ฝึกอย่างเต็มที่แล้วไม่ควรหยุดแบบทันที ควรฝึกอย่างช้าๆ แล้วค่อยหยุด 3. ฝึกในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
  • 23. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 16 4. ชุดออกกำ�ลังกายควรเป็นชุดที่รัดกุมไม่รุ่มร่าม สามารถระบาย ความร้อนได้ดี ไม่ทิ้งชายผ้าที่จะก่อให้เกิดการหกล้มได้ง่าย อาการผิดปกติขณะออกกำ�ลังกาย หากท่านมีอาการแสดงอาการใดอาการหนึ่งให้หยุดแล้วปรึกษาแพทย์ ดังนี้ 1. หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นเร็วไม่สมํ่าเสมอ 2. เจ็บที่บริเวณหัวใจ ปวดแน่นบริเวณลิ้นปี่ 3. หายใจไม่อิ่ม รู้สึกเหนื่อย 4. วิงเวียนศีรษะ ควบคุมลำ�ตัวหรือแขนขาไม่ได้ 5. เหงื่อออกมาก ตัวเย็น 6. รู้สึกหวั่นไหวอย่างทันที โดยหาสาเหตุไม่ได้ 7. มีอาการอ่อนแรงหรือเป็นอัมพาตบริเวณหน้าแขนขาอย่างกะทันหัน 8. มีอาการพูดไม่ชัด หรือพูดตะกุกตะกัก 9. มีอาการตามัว 10. หัวใจเต้นแรงแม้จะหยุดพักประมาณ 10 วินาทีแล้วก็ตาม ข้อแนะนำ�การออกกำ�ลังกายโดยทั่วไป 1. ควรออกกำ�ลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น แขน ขา 2. ควรออกกำ�ลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 - 5 วัน 3. ควรออกกำ�ลังกายอย่างน้อยครั้งละ 20 - 60 นาที 4. ควรออกกำ�ลังกายที่มีการพัฒนาความเหนื่อยเพิ่มขึ้นเท่าที่ร่างกาย จะรับได้ 5. ก่อนและหลังการออกกำ�ลังกายทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกายและผ่อน คลายร่างกายโดยการเดินหรือทำ�ท่ากายบริหารอย่างน้อยครั้งละ 5 - 10 นาที
  • 24. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 17 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการดูแลรักษา ข้อเข่าเสื่อม โรคข้อเข่าเสื่อม คือโรคข้อเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากการสึกกร่อนของ กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งจะเกิดขึ้นได้กับข้อกระดูกหลายส่วน ของร่างกาย แต่ตำ�แหน่งที่พบมากที่สุดคือข้อเข่า พบได้ประมาณครึ่งหนึ่งของโรค ข้อเสื่อม ถือเป็นโรคในกลุ่มข้ออักเสบชนิดหนึ่ง พบได้ในทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดย เฉพาะในผู้สูงอายุพบมากกว่าร้อยละ 80 - 90 ปัจจัยที่ทำ�ให้เกิดข้อเสื่อม 1. อายุ มักพบในอายุ 45 ปีขึ้นไป และพบมากในผู้สูงอายุ 2. นํ้าหนักตัวมาก มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้น 3. อุบัติเหตุ หรือการใช้ข้อไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ เป็นต้น 4. การเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อน ที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อในข้อ เข่า การฉีดยาหรือสารเคมีเข้าในข้อเข่า อาการของโรคข้อเสื่อม 1. เริ่มจากปวดข้อเป็นๆ หายๆ มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อใช้งานข้อมาก หากเป็นมากจะมีอาการปวดตลอดเวลา อาจจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ร่วมด้วย 2. ข้อฝืด ยึดตึง ใช้งานไม่ถนัด บางรายมีข้อติด เช่นในช่วงตื่นนอน ตอนเช้า เมื่อเคลื่อนไหว 3. มีเสียงดังในข้อเข่า ขณะที่มีการเคลื่อนไหว 4. ข้อเข่าบวม มีนํ้าในข้อ อาจมีการโป่งนูนของข้อ 5. ข้อเข่าคด ผิดรูป หรือเข่าโก่ง
  • 25. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 18 วิธีการรักษาทั่วไป การรักษามุ่งเน้นเพื่อการลดปวดหรือการอักเสบ ในขณะเดียวกันจะ พยายามทำ�ให้ข้อเคลื่อนไหวเป็นไปตามปกติ ซึ่งมีแนวทางการรักษาทั่วๆ ไปดังนี้ 1. ใช้ความร้อนประคบรอบเข่า ลดอาการปวด เกร็ง 2. บริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรงอยู่เสมอ 3. ใช้สนับเข่า เพื่อกระชับ ลดอาการปวด 4. ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน ช่วยลดแรงที่กระทำ�ต่อข้อ 5. หลีกเลี่ยงอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่นนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ 6. ลดนํ้าหนักในรายที่อ้วนมาก เพราะเมื่อเดินจะมีนํ้าหนักผ่านลง ที่เข่าแต่ละข้างประมาณ 3 เท่าของนํ้าหนักตัว นอกจากนี้ มีการรักษาทาง กายภาพบำ�บัดด้วยความร้อนและความเย็น การรักษาโดยการผ่าตัดและการใช้ ยาซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ การบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า ท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ งอเข่าทั้งสองข้าง เท้าวางราบกับพื้น ค่อยๆ ยกขาขึ้น จนเข่าเหยียดตรงเกร็งค้างไว้นับ 1 - 10 งอเข่าลงช้าๆ ให้เท้าวางกับพื้นเหมือนเดิม ทำ� 10 - 20 ครั้ง สลับขาซ้าย - ขวา ท่านอน นอนหงาย ใช้หมอนเล็กๆ หนุนใต้เข่าทั้งสองข้างเหยียดเข่าให้ ตรง แล้วยกขึ้นตรงๆ ให้ส้นเท้าสูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุตเกร็งไว้นาน 5 - 10 วินาที แล้วลดลง สลับเหยียดขาอีกข้างหนึ่ง ทำ�ข้างละ 10 - 15 ครั้ง วันละ 2 เวลา
  • 26. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 19 ความดันโลหิตสูง...ปฏิบัติอย่างไร ภาวะความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และ/หรือค่าความดันโลหิตขณะ หัวใจคลายตัว มีค่าเท่ากับหรือมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท สาเหตุของความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มักไม่ทราบสาเหตุพบมากถึงร้อยละ95แต่มีปัจจัยที่เชื่อว่าเป็น สาเหตุได้แก่ความอ้วนภาวะไขมันในเลือดสูงการสูบบุหรี่การขาดการออกกำ�ลังกาย นอกจากนี้ยังพบในผู้ที่มีประวัติครอบครัวมีความดันโลหิตสูงมาก่อน ส่วนสาเหตุ อื่นๆ ที่พบ เช่น โรคไต โรคต่อมไร้ท่อ โรคระบบประสาท สารเคมี หรือยาบางชนิด อาการ หากเป็นไม่รุนแรง อาการจะไม่เด่นชัด อาจมีอาการเวียนศีรษะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดศีรษะ ปวดบริเวณท้ายทอยช่วงเวลาเช้าหลังตื่นนอน คลื่นไส้ อาเจียนโดยไม่ทราบสาเหตุ หากเป็นมากๆ จะมีเลือดกำ�เดาไหล หอบ นอนราบไม่ได้ อาจมีอาการเจ็บหน้าอก ร่วมด้วย การรักษา 1. การรักษาโดยไม่ใช้ยาโดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในการรับประทาน อาหารการออกกำ�ลังกายเป็นประจำ�การงดสูบบุหรี่ลดแอลกอฮอล์ตลอดจนการ ฝึกสมาธิ ฝึกจิตไม่ให้เครียด 2. การรักษาทางยาโดยแพทย์และไม่แนะนำ�ให้หยุดยาเองเป็นอันขาด เพราะจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย
  • 27. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 20 การป้องกัน 1. ควบคุมนํ้าหนักไม่ให้อ้วน 2. งดสูบบุหรี่ 3. จำ�กัดเกลือไม่ให้เกินวันละ 1 ช้อนชา 4. ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที 5. ลดการดื่มแอลกอฮอล์ 6. รับประทานอาหารที่มีโปตัสเซียมสูง เช่น ถั่ว ส้ม นํ้าเต้าหู้ ในรายที่ ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะ 7. รับประทานผัก ผลไม้ เช่น ผักบร็อกโคลี กล้วย องุ่น เป็นต้น 8. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเช่น นมขาดไขมัน 9. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด ฝึกสมาธิและการผ่อนคลาย 10. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสมํ่าเสมอ 11. คอยสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ตามัว ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูง 1. ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำ�วัน  ควบคุมนํ้าหนักร่างกายให้พอดี คนที่มีนํ้าหนักตัวมากควร พยายามลดนํ้าหนัก เพราะจะช่วยลดความดันลงได้ โดยใช้วิธีควบคุมอาหาร และ หมั่นออกกำ�ลังกาย  หมั่นออกกำ�ลังกาย การออกกำ�ลังกายที่เหมาะสมสำ�หรับ ผู้สูงอายุ เช่น การเดินเร็วก้าวยาวๆ ท่าบริหารร่างกายแบบง่ายๆ ควรเริ่มต้น ทีละน้อยก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นจะทำ�ให้หัวใจและปอดทำ�งานดีขึ้น ช่วยการ สูบฉีดโลหิตหมุนเวียนทั่วร่างกาย
  • 28. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 21  ลดอาหารเค็ม ควรเลือกอาหารที่ใส่เกลือหรือนํ้าปลาน้อยที่สุด รวมทั้งงดรับประทานผงชูรส ป้องกันอาการท้องผูกโดยการรับประทานผัก ผลไม้ ให้มาก ดื่มนํ้าให้พอเพียง 2. ผู้ที่สูบบุหรี่ ต้องงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด เพราะบุหรี่จะส่งเสริมให้เกิด โรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจตีบตันเร็วขึ้น และยังทำ�ให้ดื้อต่อยาที่ รักษา 3. ควรงดเหล้า เพราะแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะทำ�ให้ความดันขึ้น และทำ�ให้ดื้อต่อยาที่รักษา 4. หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่ทำ�ให้หงุดหงิดโมโหตื่นเต้นและนอนหลับพักผ่อน ให้เพียงพอ 5. ควรบริโภคอาหารที่มีไขมันและโคเลสเตอรอลตํ่า มีเส้นใยอาหารสูง จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ร้อยละ 10 6. รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างสมํ่าเสมอควรไปพบแพทย์ตามนัด ทุกครั้ง ไม่ควรหยุดยาหรือปรับยาด้วยตนเอง 7. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำ� อาจเป็นเดือนละ 1 - 2 ครั้ง ควรบันทึกลงคู่มือไว้ด้วย 8. สำ�หรับผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ ควรรับประทานส้ม กล้วย เป็นประจำ�ถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อทดแทนโปตัสเซียมที่เสียไปในปัสสาวะ
  • 29. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 22 โรคหลอดเลือดสมอง เป็นอาการผิดปกติของสมองอย่างฉับพลันและเป็นอยู่นานเกิน24ชั่วโมง มีสาเหตุจาก 1. หลอดเลือดในสมองตีบตันการตีบอย่างช้าๆของเส้นเลือดสมองเกิด จากมีแคลเซียมมาเกาะหรือเกิดมีตะกอนไขมันมาเกาะทำ�ให้รูของหลอดเลือดแคบ ลงและทำ�ให้เลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ 2. หลอดเลือดในสมองมีก้อนอุดตัน เนื่องจากมีลิ่มเลือดเล็กๆ ที่เกิดขึ้น ในหลอดเลือดที่อยู่นอกสมองหลุดลอยตามกระแสเลือดขึ้นไปอุดตันในหลอดเลือด ที่อยู่ในสมอง มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจรูมาติก กล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะ 3. หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง ผู้ที่มีเส้นเลือด สมองเปราะและมีความดันโลหิตสูงเมื่อใดที่มีความดันโลหิตสูงขึ้นทันทีทันใดอาจ จะทำ�ให้หลอดเลือดในสมองแตกได้ นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดง ที่เป็น มาแต่กำ�เนิด เช่น หลอดเลือดแดงโป่งพองโดยกำ�เนิด หลอดเลือดฝอยผิดปกติแต่ กำ�เนิด หรือมีการอักเสบของเส้นเลือด มักจะแตกและทำ�ให้เกิดอาการอัมพาตเมื่อ ผู้ป่วยอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน และ โรคที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการ แข็งตัวของเลือด เช่น ตับแข็งโรคเลือดบางชนิด เป็นต้น บางครั้งก็อาจกลายเป็น สาเหตุหนึ่งของเลือดออกในสมองได้ การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง 1. งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงดื่มเหล้า 2. หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสมํ่าเสมอเนื่องจากความดันโลหิตสูง จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองถึงร้อยละ 80
  • 30. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 23 3. ลดการบริโภคอาหารรสเค็มจัด ผลวิจัยพบว่าผู้ที่นิยมรับประทาน อาหารที่มีรสเค็มจัด จะพบว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับต้นๆ 4. บริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลและไขมันตํ่า อาหารที่มีเส้นใยสูง 5. รักษานํ้าหนักตัวให้อยู่ในระดับปกติ 6. ควรออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ 7. ถ้าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือมีภาวะไขมันใน เลือดสูง ควรรับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องโรคหลอดเลือดสมองเป็นโรค ที่สามารถป้องกัน ควบคุมได้ด้วย การปฏิบัติตัว มิให้หลอดเลือดในสมองเสื่อมเร็วกว่าวัยอันควร โรคนี้ เมื่อเป็นแล้วจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นกับธรรมชาติของโรคและผู้ป่วยเป็น สำ�คัญ และต้องตระหนักว่าผู้ป่วยจะมีเพียงความผิดปกติทางกายเท่านั้น ส่วนทาง ด้านสติปัญญามักจะเป็นปกติ ญาติจึงต้องคอยให้กำ�ลังใจและเสริมสร้างคุณค่า ของผู้ป่วยอยู่เสมอ ผู้ป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองควรปรับพฤติกรรมการดำ�รงชีวิต ให้เป็น แบบที่ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งจะทำ�ให้ฟื้นตัวได้ดีขึ้น และยังช่วย ป้องกันไม่ให้เกิดโรคซํ้าอีก
  • 31. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 24 ภาวะไขมันในเลือดสูง ไขมันในเลือด เป็นส่วนประกอบที่จำ�เป็นในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด และผนังเซลล์ของร่างกาย ที่สำ�คัญมี 2 ชนิด คือ 1. ไขมันโคเลสเตอรอล ปกติระดับไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดไม่ควร เกิน 200 มก./ดล. ไขมันโคเลสเตอรอล มีหลายชนิด ที่สำ�คัญมี 2 ชนิด คือ 1.1 แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดี ระดับค่าปกติ ไม่ควรเกิน 130 มก./ดล. 1.2 เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล เป็นไขมันชนิดที่ดี ทำ�หน้าที่ช่วยนำ� ไขมันโคเลสเตอรอลส่วนเกินในเลือดและบางส่วนที่เกาะตามผนังหลอดเลือดกลับ สู่ตับ ระดับค่าปกติไม่ควรตํ่ากว่า 40 มก./ดล. 2. ไขมันไตรกลีเซอไรด์ ระดับค่าปกติไม่ควรเกิน 150 มก./ดล. สาเหตุ 1. การบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ� การสูบบุหรี่ และการขาด การออกกำ�ลังกาย 2. พันธุกรรม ประมาณ 20% ของผู้มีโคเลสเตอรอลสูง ญาติ พี่น้องมี โอกาสเป็นโรคนี้ 3. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำ�งานน้อยกว่าปกติ โรคตับ โรคไต โรคพิษสุราเรื้อรัง และความเครียด ซึ่งโรคเหล่านี้ ทำ�ให้การเผาผลาญสาร ไขมันผิดปกติไป เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง อาการ ผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง จะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ได้
  • 32. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 25 วิธีป้องกันและการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง 1. ตรวจไขมันในเลือดตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ 2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดย  จำ�กัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก หอยนางรม  ควรรับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน นมพร่องไขมัน ไข่ควรรับประทานไม่เกินสัปดาห์ละ 2 - 3 ฟอง  ลดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีส่วน ประกอบ ของกะทิ และอาหารประเภทย่าง นึ่ง หรืออบ  ลดการบริโภคอาหารที่มีไขมัน พบได้ในอาหารเนื้อสัตว์ รวมทั้งนํ้ามันมะพร้าว นํ้ามันปาล์ม เนย และใช้นํ้ามันพืช ในการปรุงอาหาร โดยใช้ประมาณ 2 - 3 ช้อนโต๊ะต่อวัน 3. ควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง อาหารที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น ผลไม้สดและผักต่างๆ และถั่วต่างๆ 4. ควรออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอ จะช่วยเพิ่มระดับไขมัน เอช ดี แอล ด้วย 5. งดสูบบุหรี่และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ 6. หลีกเลี่ยงภาวะเครียด
  • 33. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 26 โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อนทำ�ให้ไม่ สามารถหลั่งอินซูลินได้ตามปกติ หรือเนื้อเยื่อของร่างกายตอบสนองต่ออินซูลิน ลดลง หรือจากทั้งสองสาเหตุร่วมกัน เป็นผลทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือดสูงขึ้นและ ก่อให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆตามมา ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน 1. นํ้าหนักเกิน ความอ้วน และขาดการเคลื่อนไหวออกกำ�ลังกายที่ เพียงพอ 2. กรรมพันธุ์มักพบโรคนี้ในผู้ที่มีบิดามารดาเป็นเบาหวานลูกมีโอกาส เป็นเบาหวาน 6 - 10 เท่า ของคนที่บิดามารดาไม่เป็นเบาหวาน 3. ความเครียดเรื้อรัง ทำ�ให้อินสุลินทำ�หน้าที่ในการนำ�นํ้าตาลเข้า เนื้อเยื่อได้ไม่เต็มที่ 4. อื่นๆ เช่น จากเชื้อโรคหรือยาบางอย่าง (รวมทั้งเหล้าด้วย) ไปทำ�ลาย ตับอ่อน ทำ�ให้สร้างอินสุลินไม่ได้ จึงเกิดโรคเบาหวาน อาการของโรคเบาหวาน สังเกตได้จากการปัสสาวะบ่อย มี ปริมาณมาก กระหายนํ้าและดื่มนํ้ามากกว่าปกติ หิวบ่อย กินจุแต่นํ้าหนัก ลด อ่อนเพลีย ชา ปลายมือปลายเท้า คันตามตัว ผิวหนัง และบริเวณ อวัยวะสืบพันธ์ เป็นแผลแล้ว หายยาก บางรายตรวจพบโดยบังเอิญโดยไม่มีอาการ ทราบได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน วิธีที่ดีที่สุด คือ การตรวจเลือด มี 3 วิธีดังนี้ 1. ตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดเมื่ออดอาหารอย่างน้อย8ชั่วโมงมากกว่า หรือเท่ากับ 126 มก./ดล.
  • 34. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 27 2. ระดับนํ้าตาลในเลือดเมื่อเวลาใดก็ได้มากกว่าหรือเท่ากับ200มก./ดล. ร่วมกับมีอาการปัสสาวะมาก ดื่มนํ้ามาก นํ้าหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ 3. ระดับนํ้าตาลในเลือดที่ 2 ชั่วโมง หลังการดื่มนํ้าตาลกลูโคสพบว่า มากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. แนวทางปฏิบัติสำ�หรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง 1. มีวิถีชีวิตที่มีกิจกรรมทางกายที่ออกกำ�ลังกายแรงปานกลางอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 3 วัน/สัปดาห์ 2. บริโภคอาหารตามข้อปฏิบัติการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าสำ�หรับ ผู้เสี่ยงต่อเบาหวาน เน้นผัก อาหารไขมันตํ่า และธัญพืชเพิ่มขึ้น 3. การรักษานํ้าหนักตัวให้เหมาะสม ไม่ให้อ้วนเกินไป 4. ควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น งดสูบบุหรี่ งดแอลกอฮอล์ 5. ให้ติดตามตรวจระดับความดันโลหิตอย่างสมํ่าเสมออย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 6. ผู้ที่มีอายุเกิน 45 ปี ควรตรวจวัดระดับนํ้าตาลในเลือดหลังการอด อาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมงทุก 3 ปี อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไม่ดูแลตนเองเมื่อเป็นเบาหวาน 1. โรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ได้แก่  ภาวะนํ้าตาลในเลือดสูงมาก จะมีอาการปัสสาวะออกมาก กระหายนํ้ามาก บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หอบ ซึม อาจถึงขั้นหมดสติ  ภาวะนํ้าตาลในเลือดตํ่ามาก จะมีอาการใจสั่น หน้ามืดตาลาย เหงื่อออกมาก ตัวเย็น ง่วงนอน ปวดศีรษะ สับสน อาจหมดสติหรือชัก 2. โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง ได้แก่  หลอดเลือดหัวใจตีบ ตันหรืออุดตัน  หลอดเลือดสมองตีบ ตัน ทำ�ให้เป็นอัมพาต
  • 35. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 28  ตาพร่า มัว ตาบอดจากต้อกระจก และเส้นเลือดในตาอุดตัน เลือดออกในลูกตา จอตาหลุดลอก  ไตอักเสบไตเสื่อมทำ�ให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนปัสสาวะลดลง และเสียชีวิตในที่สุดเนื่องจากไตวาย  ประสาทอักเสบ ทำ�ให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้าปัสสาวะ ลำ�บาก ท้องผูกสลับท้องเดิน  พบร่วมกับความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 38.4 นอกจากนี้ ในผู้ที่ เป็นโรคเบาหวานจะมีโอกาสติดเชื้อโรคได้ง่าย ที่พบบ่อยคือ เป็นแผลหรือฝี ซึ่ง ลุกลามเร็ว เช่น ฝีฝักบัว แผลที่เท้า วัณโรค และไตอักเสบ แต่ถ้าสามารถป้องกัน ได้โดยการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดให้ดี จะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้นน้อยและไม่ รุนแรง การดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน 1. ควบคุมอาหารอย่าปล่อยให้อ้วนไม่รับประทานของหวานงดสูบบุหรี่ ดื่มสุราและของเค็ม ควรรับประทานอาหารไขมันตํ่า อาหารที่มีเส้นใยสูง 2. ออกกำ�ลังกายพอควรและต่อเนื่อง โดยการทำ�กายบริหารเดิน ปั่น จักรยาน วิ่ง รำ�มวยจีน ว่ายนํ้า เต้นรำ� เล่นกอล์ฟ เล่นเทนนิสเล่นแบตมินตัน เป็นต้น 3. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำ�จิตใจให้ร่าเริง อย่าให้เครียดหรือวิตกกังวล 4. พบแพทย์และตรวจเลือดตามนัด รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดย เคร่งครัด และสมํ่าเสมอ 5. หลีกเลี่ยงการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะอาจเกิด ปฏิกิริยากับยาลดนํ้าตาลในเลือดและอาจเกิดภาวะนํ้าตาลตํ่าได้ 6. ควรติดตามรับการตรวจร่างกายเป็นระยะเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน 7. ดูแลรักษาเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะเมื่อมีบาดแผลจะทำ�ให้แผล หายช้า โดยปฏิบัติดังนี้
  • 36. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 29  ตรวจสภาพเท้าทุกวันว่ามีเล็บขบ แผลพุพอง แผลชํ้า รอยถลอก ที่ใดบ้าง  ทำ�ความสะอาดเท้าด้วยนํ้าอุ่นและเช็ดให้แห้งทุกวัน ควรเปลี่ยน ถุงเท้า หรือถุงน่องทุกวัน  ควรตัดเล็บเท้าด้วยความระมัดระวัง  หลีกเลี่ยงไม่ให้เท้าสัมผัสกับความร้อน  ไม่ใช้ของมีคมแคะ แกะ เกาบริเวณเท้า  ไม่เดินเท้าเปล่า  บริหารเท้าทุกวันอย่างน้อยวันละ15นาทีเพื่อให้การหมุนเวียน ของเลือดไปที่เท้าดีขึ้น 8. มีลูกอมติดตัวไว้ เพื่อป้องกันการหมดสติจากนํ้าตาลในเลือดตํ่าเกิน ไปหลังรับประทานยาเบาหวาน 9. ถ้ามีแผลแล้วหายช้าหรือมีความผิดปกติใดๆควรปรึกษาแพทย์ทันที คำ�แนะนำ�เรื่องการรับประทานอาหารสำ�หรับผู้ป่วยเบาหวาน  หลีกเลี่ยงนํ้าอัดลม นํ้าหวาน หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ทุกชนิด  ลดอาหารประเภทไขมัน นํ้าตาล ของหวานทุกชนิดให้เหลือน้อย ที่สุด  เลือกรับประทานอาหารที่มีใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือถั่วฝักยาว ถั่วแขก ผักทุกชนิด หรือเม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย ควร รับประทานอาหารที่มีกากใยให้มากทุกวันและทุกมื้อใยอาหารทำ�ให้นํ้าตาลในเลือด โคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ลดลงและยังสามารถลดนํ้าหนักตัวได้ด้วย ใยอาหาร จะมีมากในผักและผลไม้ ข้าว และผลิตภัณฑ์ข้าว แป้ง ถั่วชนิดต่างๆ  รับประทานอาหารให้ตรงเวลา อย่ารับประทานจุกจิกและ ไม่ตรงเวลา ถ้าอดอาหารมื้อใดไป อาจเกิดนํ้าตาลในเลือดตํ่าเกินไปได้
  • 37. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 30  รับประทานอาหารในปริมาณที่สมํ่าเสมอและคงที่ ไม่ควร รับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำ�ให้ระดับนํ้าตาลในเลือด ควบคุมได้ยาก  ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ควรจะลด อาหารเค็ม
  • 38. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 31 ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นความผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถควบคุม การกลั้นปัสสาวะ กลุ่มผู้สูงอายุจะมีปัญหามากกว่าอายุน้อยและเป็นหนึ่งในโรค ของผู้สูงอายุที่พบได้บ่อย โดยในคนอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีภาวะปัสสาวะเล็ดได้ถึง ร้อยละ 15 - 35 และพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ชนิดของปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะราด แบ่งตามสาเหตุได้ดังนี้ 1. เกิดขณะออกแรงเบ่ง ไอ จาม หรือหัวเราะ เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูด ไม่แข็งแรง 2. กระเพาะปัสสาวะไวเกินไป เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบ ตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ ทำ�ให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย (มากกว่า 8 ครั้งต่อวัน รวมทั้ง ต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ ปัสสาวะรดที่นอน จนรบกวนการนอน หลับ) 3. เกิดจากมีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะมากเกินความจุของ กระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะจึงล้นไหลออกมาเป็นหยดตลอดเวลามักเกิดจากการ อุดกั้นทางเดินปัสสาวะหรือกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติเช่นในผู้สูงอายุ ที่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต เบาหวาน 4. สาเหตุอื่นๆ เช่น ความผิดปกติทางจิตใจ การติดเชื้อในกระเพาะ ปัสสาวะ หรือการได้รับยาบางชนิด เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยจากอาการปัสสาวะ เล็ดราดเพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถให้การวินิจฉัยถึงสาเหตุที่แท้จริงได้จะต้อง อาศัยการตรวจร่างกายเพิ่มเติม รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อช่วย ในการวินิจฉัยและบอกแนวทางการรักษา
  • 39. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 32 การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิดและสาเหตุของปัสสาวะเล็ด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ วินิจฉัย แนะนำ�วิธีที่เหมาะสมในการรักษา ซึ่งมีคร่าวๆ ดังนี้ 1. การรักษาเชิงพฤติกรรม เป็นวิธีการรักษาที่ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย และไม่มีผลข้างเคียง ทำ�ได้โดย 1.1 การฝึกปัสสาวะ โดยการพยายามกลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกอยาก จะถ่ายปัสสาวะ ให้พยายามยืดเวลาออกไปอีก 10 - 15 นาทีเมื่อทำ�ได้ 2 สัปดาห์ แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาออกไปอีก จะทำ�ให้สามารถกลั้นปัสสาวะได้นานขึ้น วิธีนี้ใช้ได้ ผลดีในผู้ป่วยที่มีกระเพาะปัสสาวะไวเกิน และกล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง 1.2 การฝึกขมิบกล้ามเนื้อเชิงกราน โดยทำ�การขมิบก้นและ ช่องคลอดช้าๆ ครั้งละ 10 วินาที วันละ 30 - 80 ครั้ง วิธีนี้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มี กล้ามเนื้อหูรูดไม่แข็งแรง 1.3 การควบคุมนํ้าหนัก เนื่องจากความอ้วนจะเพิ่มความดันใน ช่องท้อง 1.4 ควรควบคุมปริมาณนํ้าดื่มในแต่ละวันไม่ให้มากเกินไป 1.5 ควรงดดื่มสุรา และชา กาแฟ 2. การรักษาโดยยาและการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดการบีบตัว ของกระเพาะปัสสาวะ ตามความเหมาะสม และให้การผ่าตัดรักษาในรายที่มี ข้อบ่งชี้ เช่น ต่อมลูกหมากโตที่ใช้ยารักษาไม่ได้ผลกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน รุนแรง เป็นต้น
  • 40. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 33 นอนไม่หลับทำ�อย่างไร เป็นอาการที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อเข้านอนแล้วใช้เวลานานกว่า จะหลับ นอนหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน มีอาการอ่อนล้าในตอนกลางวัน สาเหตุที่ทำ�ให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ  มีปัญหาสุขภาพทางร่างกาย  มีปัญหาด้านจิตใจ น้อยใจ หดหู่ กังวล ตื่นเต้น  รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาแก้คัดจมูก ยาขยายหลอดลมฯลฯ  การดื่มสุรา ดื่มชา กาแฟ นํ้าอัดลม สุขบัญญัติสำ�หรับการนอน  ฝึกนิสัยการเข้านอนให้สมํ่าเสมอ  ทำ�กิจกรรมอย่างมีระบบ วางแผนล่วงหน้า  ออกกำ�ลังกายอย่างสมํ่าเสมอไม่ควรออกกำ�ลังกายหลังเวลา19.00น. หรือก่อนนอน  จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการนอน ให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวน แสงสว่างพอเหมาะ อุณหภูมิที่รู้สึกสบาย เป็นต้น  ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน  ไม่ควรดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลัง 16.00 น.  ดื่มนมอุ่นๆ หรือนํ้าเต้าหู้ก่อนนอน จะช่วยให้หลับสบายขึ้น  ไม่ควรสูบบุหรี่ก่อนนอน  ทำ�กิจกรรมที่ผ่อนคลายก่อนเข้านอน การปฏิบัติที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น  ปฏิบัติตามสุขบัญญัติการนอนดังกล่าวข้างต้น  มีกิจกรรมทางร่างกายเวลากลางวันและก่อนเข้านอนที่เหมาะสม  มีระเบียบการเข้านอนและการลุกจากที่นอน  หลีกเลี่ยงการงีบหลับช่วงกลางวันหรือบ่ายๆ
  • 41. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 34 โรคสมองเสื่อม ปกติผู้สูงอายุ จะมีอาการลืมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งเป็นการลืมตามวัยเช่น ลืมของว่าวางไว้ที่ไหน ถ้าหากลืมจนผิดปกติ เช่น เก็บกุญแจไว้ในตู้เย็น หรือหา ทางกลับบ้านตนเองไม่ได้ ก็อาจเป็นภาวะสมองเสื่อมได้เรามารู้จักภาวะสมอง เสื่อมกันเถอะภาวะสมองเสื่อม เกิดจากความเสื่อมถอยในการทำ�งานของสมอง โดยรวม มีผลทำ�ให้เกิดความบกพร่องในการประกอบกิจวัตรประจำ�วัน และเกิด การเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและพฤติกรรมอย่างชัดเจน อาการชี้นำ�ที่ญาติพึงสงสัยว่าผู้สูงอายุมีภาวะสมองเสื่อม 1. สูญเสียความจำ�สิ่งใหม่ๆ แต่ความจำ�สิ่งเก่าๆ จำ�ได้เหมือนเดิม จะถามบ่อยๆ ซํ้าๆ 2. การรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆไม่ได้จำ�เหตุการณ์ปัจจุบันหรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น การรับประทานอาหารแล้วบอกว่ายังไม่ได้รับประทาน จำ�คำ�พูดระหว่างสนทนาไม่ได้ จะถามซํ้าๆ 3. การตัดสินใจแก้ไขปัญหาบกพร่อง เช่น ยืนดูอ่างนํ้าล้นเฉยๆไม่รู้จะ ทำ�อย่างไร 4. การประกอบกิจกรรมต่างๆ บกพร่อง เช่น เคยเปิดโทรทัศน์และ เปลี่ยนช่องได้เอง แต่ทำ�ไม่ได้ 5. การทำ�กิจวัตรประจำ�วันบกพร่องเช่นใส่เสื้อผ้าหรือติดกระดุมไม่ได้ ญาติต้องคอยทำ�ให้ กลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ 6. พฤติกรรมแปลกและมีบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น กลายเป็นคน เฉยเมย เฉื่อยชา หรือโมโหฉุนเฉียวง่าย เดินไปมาไร้จุดหมายบางรายนอนไม่หลับ หรือนอนทั้งวัน
  • 42. คู่มือการดูแลผู้สูงอายุ 35 7. หลงทาง เมื่อเดินออกจากบ้านแล้วหาทางกลับบ้านไม่ถูกซึ่งอาการ เหล่านี้อาจเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นรวดเร็วและมีอาการมากขึ้น เรื่อยๆ ตามลำ�ดับก็ได้ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม คือ กรรมพันธ์ อายุที่มากขึ้นโดย เฉลี่ยพบในคนอายุ 65 ปีขึ้นไป และร้อยละ 20 - 25 พบในคนอายุ 85 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในคนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ และในคนที่มีประวัติอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนสมอง จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ทำ�ได้โดยการซักประวัติ อาการและอาการแสดง จะทำ�ให้ทราบว่าผู้ป่วย อยู่ในระยะใดของโรค สามารถแบ่งออกตามลำ�ดับดังนี้ ระยะที่ 1 หลงลืม ระยะนี้มีระยะเวลาของโรค 1 - 3 ปี ผู้ป่วยจะบอก ว่าหลงลืมบ่อย เช่น หลงทางบ่อยๆ ลืมนัดหมาย ลืมเรื่องปัจจุบันบุคลิกเปลี่ยนไป เช่น เป็นคนเรียบเฉย ไม่มีอารมณ์ขัน หากเป็นมากจะเข้าสู่ระยะที่ 2 ระยะที่ 2 สับสน มีระยะเวลาของโรค 3 - 10 ปี ความจำ�ลดลงอย่างมาก สูญเสียความสามารถในการพูดหรือใช้ภาษาไม่สามารถหาเหตุผลและแก้ปัญหาได้ การรับรู้เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ลดลงอาจมีอาการซึมเศร้า สับสน ตื่นเต้น กระสับกระส่าย ระยะที่ 3 สมองเสื่อม ระยะนี้จะสั้น 1 - 2 ปี บางรายอาจอยู่ได้นานกว่า 10 ปี จะมีอาการผอมลง รับประทานอาหารลำ�บากไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ มีปัญหาการเคลื่อนไหว ข้อติดแข็ง อาจถึงแก่กรรม ด้วยโรคปอดบวม หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ