SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 12
Descargar para leer sin conexión
The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh
www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts
ฟังดีมีปัญญา
ปิยเมธี
คติธรรมประจำ�วัด
	 สติมโต สทา ภทฺทํ
	 คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา
The mind is very hard to check
and swift, it falls on what it wants.
The training of the mind is good,
a mind so tamed brings happiness.
เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก
ที่ปรึกษา :
	 พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี)
	 พระราชพุทธิวิเทศ
	 พระครูปริยัติธรรมาภิราม
	 พระครูสิริอรรถวิเทศ
	 พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร
	 คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี
	 คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม
กองบรรณาธิการ :
	 คณะสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา
รูปเล่ม/รูปภาพ
	 พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ
Dhammaratana Journal is published by
Wat PadhammaratanaThe Buddhist Meditation Center of Pittsburgh)
5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207
Tel(412)521-5095
E-mail : bmcpitts@hotmail.com, bmcpitts@yahoo.com
Homepage : www.bmcpitts.org
www.facebook.com/bmcpitts
www.youtube.com/watpadhammaratana
CONTENT - สารบัญ
พุทธประกันภัย   5
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ   13
พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 5
ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว
และอื่นๆ เป็นยอดปรารถนาของคน
ทั้งหลาย ทำ�ให้มนุษย์พยายามคิดค้น
สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า
และเครื่องอำ�นวยความสะดวกหลายหลาก เพื่อความ
ปลอดภัย ถ้าสังเกตจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
กำ�ลังพัฒนา และด้อยพัฒนาทั่วโลก จะมีสิ่งป้องกัน
คำ�นำ�
	 กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง การฟังธรรมตามกาล
นั้น เป็นหนึ่งในมงคล 38 ประการที่พระพุทธองค์ทรง
ประทานไว้เป็นแบบแผนในการฝึกหัดพัฒนาชีวิตของ
คนเราตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด
	 ในพิธีการทางพระพุทธศาสนาจึงมีการแสดง
ธรรมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน
ได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมะผ่านการฟัง เมื่อฟังแล้วคิด
พิจารณาตรองตามแล้วนำ�ไปปฏิบัติก็จะเป็นผลดีแก่
ชีวิตของตน
	 ผู้เขียนได้คัดสรรบทธรรมที่แสดงตามโอกาส
ต่างๆ เพื่อเป็นธรรมบรรณาการแก่ญาติธรรมทั้งหลาย
หวังว่าท่านทั้งหลายจงเจริญรุ่งเรืองในธรรมของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไปตราบเท่าสู่ที่สุดแห่งทุกข์
คือพระนิพพานด้วยกันทุกทท่านทุกคน
ด้วยไมตรีธรรม
ปิยเมธี
พุทธประภันภัย
พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 6 7
ภัยและอำ�นวยความสะดวกต่างๆ เช่น ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา จะมีระบบเตือนภัยธรรมชาติที่ดีเยี่ยม
จนสามารถรู้ได้ล่วงหน้าหลายวันชั่วโมงต่อชั่วโมง
ว่า ภายในอาทิตย์นี้ฝนจะตก แดดจะออกจนคนที่จะ
ออกไปทำ�ธุระนอกบ้านสามารถเตรียมพร้อมรับมือ
กับดินฟ้าอากาศได้
	 ถึงแม้ประเทศที่พัฒนาเจริญก้าวหน้าทาง
ด้านเทคโนโลยีก็ใช่ว่าจะมีความปลอดภัยในชีวิต
อย่างเต็มที่ เพราะภัยต่างๆ ใช่ว่าจะเกิดจากมนุษย์เอง
เท่านั้น ยังมีภัยธรรมชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของ
เรา ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ สามารถกะเกณฑ์เตรียมรับมือ
ได้ จึงเห็นว่ามีบริษัทประกันภัยผุดขึ้นมากมาย เช่น
บริษัทประกันชีวิต สุขภาพ บ้าน รถยนต์ ทรัพย์สิน
และธุรกิจ เป็นต้น บริษัทประกันภัยเหล่านั้นต่างต้อง
เสียเงินทองในการทำ�ประกันโดยจ่ายเป็นรายเดือน
รายปี ซึ่งคนที่ทำ�ประกันภัยต้องใช้จ่ายเงินจำ�นวน
มากในแต่ละปี เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต
ทรัพย์สิน และครอบครัวของตนเอง
	 เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน พระพุทธเจ้าก็ทรงวาง
หลักประกันภัยไว้เหมือนกันเรียกว่าพุทธประกันภัย
เป็นระบบประกันภัยที่ต่างจากประกันภัยในปัจจุบัน
คือ ไม่ต้องลงทุน ลงเงิน แต่มีระเบียบปฏิบัติว่าต้อง
ลงแรง ลงมือกระทำ� มีวินัยงดเว้น ละเว้นบางสิ่งบาง
ประการ โดยมีระเบียบปฏิบัติในการทำ�ประกันภัย
ด้านต่างๆ และผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับ
ดังนี้
1.ประกันภัยชีวิต
	 มี ร ะ เ บี ย บ ก า ร
ชำ�ระประกันภัยด้วยการไม่
เบียดเบียนทำ�ลายสิ่งมีชีวิต
โดยต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต
ผลประโยชน์ที่จะได้กรณียัง
มีชีวิตอยู่ คือ มีสุขภาพแข็ง
พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 8 9
แรง หน้าตาผ่องใส อายุยืน ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ
เบียดเบียน เป็นที่รักของคนและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ มี
มนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น
2.ประกันทรัพย์สิน
	 มีระเบียบการ
ชำ�ระประกันภัยด้วยการ
ไม่ปล่อยให้ความโลภ
ครอบงำ�หยิบจับเอาวัตถุ
สิ่งของที่ไม่ใช่ของๆ ตน
ต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต
ผลประโยชน์ที่จะได้กรณี
ยังมีชีวิตอยู่ คือ ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ทรัพย์สมบัติ
ปลอดภัย ไม่ถูกเบียดบัง หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว จะ
ได้ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น
3.ประกันครอบครัว
	 มีระเบียบชำ�ระ
ประกันภัยด้วยการเคารพ
รักเพศตรงข้ามและเพศ
เดียวกันเสมอเหมือนญาติ
ของตนเอง ต้องถือปฏิบัติ
ตลอดชีวิต ผลประโยชน์ที่
จะได้กรณียังมีชีวิตอยู่ คือ
ครอบครัวมั่นคง มีความสุข ปลอดภัยจากโรคร้าย  
ต่างๆ เป็นต้นว่า HIV หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว จะได้
ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น
4.ประกันเครดิต
	 มีระเบียบชำ�ระประกันภัย
ด้วยการมีสติ มีเมตตาในการพูดจา
ให้ไพเราะ ดี มีประโยชน์กับทุกๆ
คน ต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต ผล
พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 10 11
ประโยชน์ที่จะได้รับกรณียังมีชีวิตอยู่ คือ มีเครดิต
มีเสน่ห์ พูดอะไรมีคนเคารพรักเชื่อถือ หลังจาก
เสียชีวิตไปแล้ว จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และ
สวรรค์ เป็นต้น
5.ประกันสุขภาพ
	 มีระเบียบชำ�ระ
ประกันภัยด้วยการงด
เว้นจากการดื่มเครื่อง
ดองของมึนเมาต่างๆ ที่
เป็นเหตุให้ประมาทขาด
สติ ต้องถือปฏิบัติตลอด
ชีวิต ผลประโยชน์ที่จะ
ได้กรณียังมีชีวิตอยู่คือ สุขภาพแข็งแรง ไม่เสียทรัพย์
ไม่เสียชื่อเสียง คนนับถือ มีความคิดอันเฉียบคม ไม่
ขาดสติอันเป็นเหตุให้ทำ�อะไรโง่ๆ หลังจากเสียชีวิต
ไปแล้ว จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และสวรรค์
เป็นต้น
	 ข้อแตกต่างระหว่างประกันภัยทั่วไปกับ
พุทธประกันภัย คือ
	 ประกันภัยทั่วไป ผู้เอาประกันต้องลงทุน
จ่ายทรัพย์ทุกเดือนต่อเนื่องหลายปี และต้องทำ�ตาม
ระเบียบที่ทางบริษัทกำ�หนดว่าต้องจ่ายเงินจำ�นวน
เท่านั้นบาท ระยะเวลากี่ปี และห้ามทำ�อะไรบ้าง จึง
จะได้รับผลประโยชน์
	 ส่วนพุทธประกันภัยต้องลงมือกระทำ�  ไม่
ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีกำ�หนดปีที่ทำ� ทำ�
เท่าไหร่ก็ได้รับประกันภัยเท่านั้น ถ้าหยุดทำ�ก็หยุด
รับผลประโยชน์
	 พุทธประกันภัย ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของ
บริษัทได้การันตีไว้ว่า ถ้าทุกคนทำ�ประกันภัยกับ
บริษัทพุทธประกันภัย จะได้ประโยชน์คือความสงบ
เย็นเป็นสุขแก่ตัวผู้ทำ�เอง ครอบครัว สังคม ประเทศ
ชาติ และโลก โดยจะได้รับประโยชน์หลักๆ ดังนี้
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติพุทธประภันภัย 12 13
	 1.ทำ�ให้พบเจอเพื่อนที่ดี สังคมที่ดี
	 2. ทำ�ให้เจริญรุ่งเรืองร่ำ�รวย
	 3. ทำ�ให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุขทั้งส่วนตัวและ
ส่วนรวม
	 เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลาย
เองว่าจะทำ�ประกันกับบริษัทพุทธประกันภัยหรือไม่
ถ้าอยากทำ� วิธีทำ�ก็ไม่ยาก โดยมีวิธีทำ�ง่ายๆ 2 วิธี คือ
	 1.ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปที่เป็น
ตัวแทนของพระพุทธเจ้าว่า จะทำ�ประกันภัยกับ
พระองค์ด้วยการปฏิบัติตามระเบียบประกันภัยทั้ง 5
ข้อ
	 2.ไปที่วัดใกล้บ้านแล้วกล่าวคำ�สมาทาน
ประกันภัยต่อหน้าพระสงฆ์ โดยมีพระภิกษุเป็นสักขี
พยานด้วยการปฏิบัติตามระเบียบทั้ง 5 ข้อ
	 พวกเราคงเคยได้ยินคำ�กลอนสอนใจบท
หนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ
		คนดีชอบแก้ไข
	 คนจัญไรชอบแก้ตัว
	 คนชั่วชอบทำ�ลาย
	 คนมักง่ายชอบทิ้ง
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 14 15
	 	 คนจริงชอบทำ�
	 	 คนระยำ�ชอบติฯ
	 ในกลอนบทนี้ ท่านนิยามความหมายของ
คนในแบบต่างๆ และกล่าวว่า คนระยำ�ชอบติ ติในที่
นี้หมายถึง ติฉินนินทา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
มีแต่ก่อโทษให้กับตนเองและสังคม
	 ชาวพุทธที่ดีต้องเป็นคนชอบติ ติในที่นี้
ไม่ใช่ติฉินนินทาหรือว่าร้ายใคร แต่เป็นติที่ดี ซึ่งใน
ทางพระพุทธศาสนามีด้วยกันหลายติ คือ
- ติแรก คือ ขันติ แปลว่า ความอดทน
	 ความอดทนนี้เป็นคุณสมบัติที่ต้องมีเยอะๆ
เพราะการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบันต้องเจอปัญหา
อุปสรรคมากมายทั้งจากสิ่งแวดล้อมภายนอกไม่ว่า
จะเป็นดินฟ้าอากาศ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน ถ้าคน
ที่อยู่ในเมืองใหญ่ก็ต้องเผชิญปัญหามลภาวะเป็น
พิษรถติด รวมถึงผู้คนที่อยู่ด้วยกันที่บางครั้งอาจมี
การกระทบกระทั่งกันบ้าง และยังต้องอดทนต่อสิ่ง
แวดล้อมภายในตนเองไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ
ความไม่สบายกายสบายใจต่างๆ รวมถึงอดทนต่อ
กิเลสตัณหาที่คอยยั่วยุให้เราทำ�สิ่งที่ไม่ดีลงไป ความ
อดทนจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่งในการดำ�เนินชีวิต
ของเราตั้งแต่เกิดจนตาย
- ติที่สอง คือ สติ แปล
ว่า ความระลึกได้ หรือ
รู้ตัว(กาย-ใจ)
	 พระพุทธองค์
ทรงสรุปคำ�สอนของพระองค์มากมายลงที่คำ�ว่า สติ
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 16 17
ถ้าเราเจริญสติหรือฝึกสติตัวเดียวก็เสมือนเราปฏิบัติ
ธรรมข้ออื่นๆ ด้วย การเจริญสตินั้นทำ�ได้ตั้งแต่ตื่น
นอนจนกระทั่งเข้านอน ด้วยการฝึกให้มีความรู้ตัว
ขณะยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำ� พูดคิดฯลฯขณะทำ�
อะไรอยู่ก็พยายามเอาใจมาไว้กับสิ่งที่ทำ�  ฝึกไปอย่าง
นี้เรื่อยๆ ก็จะมีสติหรือเบรค เวลามีปัญหาอุปสรรค
ต่างๆ เกิดขึ้น สติก็จะไปช่วยขนเอาปัญญามาจัดการ
กับปัญหาได้ทัน ฉะนั้น สติจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญไม่แพ้
ขันติเลยทีเดียว
*สติและสัมปะชัญญะ เป็นธรรมะคู่กัน สติ แปลว่า
ความระลึกได้ก่อนพูดคิดทำ�อะไร ส่วนสัมปะชัญญะ
แปลว่า ความรู้ตัวขณะพูดทำ�คิด แต่บางครั้งเวลาพูด
จะพูดแค่คำ�ว่า สติคำ�เดียว เป็นอันเข้าใจโดยทั่วไปว่า
หมายถึงสัมปะชัญญะด้วย
- ติที่สาม คือ สันติ แปลว่า ความสงบ
	 สันติเป็นสิ่งจำ�ปรารถนาในโลกปัจจุบันอัน
เต็มไปด้วยความวุ่นวายสับสน มีข้อมูลมากมายไหล
บ่ามาจากทั่วทุกมุมโลก ถ้าหากเราไม่เลือกบริโภค
อาจสำ�ลักข้อมูลตาย เป็นบ้าหอบฟาง หรือเต้นตาม
เพลงที่คนอื่นร้องบางครั้งการบริโภคหรือเสพข้อมูล
ข่าวสารมาก อาจทำ�ให้จิตใจของเราไม่สงบ สันติ
หรือความสงบจะเกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากอาวุธหรือ
การเรียกร้อง แต่เกิดจากตัวบุคคลผู้ต้องการสันติที่
ต้องสร้างสันติหรือความสงบขึ้นที่ใจของตนก่อน
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 18 19
มีคำ�พูดอันคมคายของมหาตมะ คานธี ว่า "Be the
change you want to see in the world จงเป็นความ
เปลี่ยนแปลงที่คุณต้องการเห็นในโลกใบนี้" แม้
โลกภายนอกจะวุ่นวายสับสนเพียงใดอย่าให้มันมา
ทำ�ลายความสงบภายในจิตใจของเราเลย ไม่เช่นนั้น
เราจะไม่เหลือพื้นที่แห่งความสงบเลย
- ติที่สี่ คือ วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น
	 วิมุตติหรือความหลุดพ้นในที่นี้หมายถึง
ความหลุดพ้นจากพันธนาการหรือโซ่ตรวนที่ทำ�ให้
เราวนเวียนอยู่ในวัฏจักรของความชั่วช้าเลวทราม
ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นความโลภจนเกินพองาม ความ
โกรธจนทำ�ร้ายทำ�ลายคนอื่น และความหลงจนไม่รู้
จักผิดชอบชั่วดี ความหลุดพ้นนั้นมีหลายระดับตาม
ความหมายของคำ� เพื่อให้เราได้ฝึกชิมลองความเป็น
อิสระจากพันธการหรือหมู่มารที่คอยตามจองล้าง
จองผลาญ แบ่งง่ายๆ เป็น 3 ระดับ ได้แก่          
	 - ตะทังคะวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น
ด้วยองค์นั้นๆ เป็นต้นว่า มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นในใจ เช่น
ความโกรธเกิดขึ้น ก็คิดถึงโทษของความโกรธ และ
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 20 21
ประโยชน์ของเมตตา สามารถเอาธรรมะที่เป็นคู่ปรับ
กันมาใช้สอนใจตนเองได้         
	 - วิกขัมภะนะวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น
ด้วยการข่มไว้เหมือนเอาหินทับหญ้า ในที่นี้หมาย
การทำ�สมาธิด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์
การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมถ้าจิตใจเราจดจ่ออยู่กับ
สิ่งที่ทำ�  ไม่วอกแวกหวั่นไหว ในขณะนั้นเราก็เป็น
อิสรภาพจากมารทั้งหลาย แม้จะเป็นชั่วขณะหนึ่งก็
ยังดีนักหนา เรียกว่าได้ชิมรสของความหลุดพ้นจาก
พันธนาการ
	 - สะมุจเฉทวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น
แบบตัดขาด ถอนรากถอนโคน เป็นความหลุดพ้น
ของพระอรหันต์ทั้งหลายจากกิเลสทั้งปวง ไม่มี
ปัญหาให้กังวลอีกต่อไปในส่วนตนเอง มีชีวิตอยู่
อย่างสุขสบายโล่งโปร่ง ลองนึกเทียบดูว่า ขณะที่เรา
ไม่มีความอยากมาคอยรบกวน แม้เพียงชั่ววินาทีหรือ
นาทียังมีความสุขขนาดนี้ ถ้าไม่มีมาเลยละ จะสุข
ขนาดไหน
	 ชาวพุทธที่ดีจึงควรเป็นคนชอบติ แล้ว
พยายามปลูกต้นติเหล่านี้ในใจ รดน้ำ�พรวนดินให้
ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ
	 All are cordially invited to participate
in the meditation programs and Buddhist activities at
Wat Padhammaratana(Buddhist Meditation Centre of Pittsburgh)
Activity Day Time
1. Chanting Daily Morning and
Evening
05.30 - 6.30 a.m.
5.30 - 6.30 p.m.
2. Dhamma Talk Daily Morning 10.45 - 11.15 a.m.
3.Buddhist Study(Thai) Every Sunday 01.00 - 03.00 p.m.
4. Meditation(English) Every Saturday 03.00 - 05.00 p.m.
All activities will be held at the upper or lower level of the temple.
For further  information, please contact Wat Padhammaratana, PA.
Tel.412-521-5095, E-mail : bmcpitts@hotmail.com,
www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts
- To serve as a Buddhism promotion center
in the U.S.
-ToserveasameditationcenterinPittsburgh
- To promote virtues, Buddhist culture and
traditions
- To be a center of all Buddhists, regardless
of nationalities
OBJECTIVES
22
เจริญเติบโตขึ้นจนสามารถเก็บผลกินได้ถ้าทำ�ได้
อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงการันตีว่าจะมีแต่ความเจริญ
รุ่งเรืองก้าวหน้าอย่างเดียว
	 ขอฝากเรื่องติไว้ให้คิดในเทศกาลปี
ใหม่(ของชาวโลก)ที่กำ�ลังคืบคลานเข้ามา วันเวลา
หมุนเปลี่ยนเวียนไปอย่างนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย(คน
เราสมมุติให้ต้นปีท้ายปี) แต่ชาวพุทธสามารถทำ�วัน
เวลาแต่ละช่วงให้มีค่าได้ด้วยการคิดพูดทำ�สิ่งๆ ดี
จะเป็นพรปีใหม่โดยไม่ต้องร้องขอจากหลวงพ่อที่
ศักดิ์สิทธิ์องค์ไหนเลย

Más contenido relacionado

Más de Watpadhammaratana Pittsburgh

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016Watpadhammaratana Pittsburgh
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCPWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีWatpadhammaratana Pittsburgh
 
วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14
วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14 วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14
วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14 Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระWatpadhammaratana Pittsburgh
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Watpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกDhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกWatpadhammaratana Pittsburgh
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Watpadhammaratana Pittsburgh
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์Watpadhammaratana Pittsburgh
 

Más de Watpadhammaratana Pittsburgh (20)

ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
ระเบียบรายชื่อพระจำพรรษา 2016
 
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
5 ปี วัดป่าธรรมรัตน์ - 5 years anniversary of BMCP
 
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
Dhammaratana journal 15, 2016 - วารสารธรรมรัตน์ปีที่ 5 ฉบับที่ 15
 
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคีKathina booklet - กฐินสามัคคี
Kathina booklet - กฐินสามัคคี
 
วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14
วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14 วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14
วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 14 - Dhammaratana journal Vol.14
 
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔ Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
Dhammaratana journal 13 - วารสารธรรมรัตน์ฉบับที่ ๑๓ ปีที่ ๔
 
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
Dhammaratana journal - วารสารธรรมรัตน์
 
โบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระโบว์ชัวร์สร้างพระ
โบว์ชัวร์สร้างพระ
 
The good buddhist
The good buddhistThe good buddhist
The good buddhist
 
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธThe ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
The ways to keep anger at bay - ทำอย่างไรจะหายโกรธ
 
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
Dhammaratana journal 2 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 2
 
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรกDhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
Dhammaratana journal 1 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับแรก
 
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
Dhammaratana journal No.11 - วารสารธรรมรัตน์ ฉบับที่ 11
 
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
ประวัติย่อวัดป่าธรรมรัตน์
 
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
สมุดภาพวัดป่าธรรมรัตน์
 
Buddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburghBuddhism in pittsburgh
Buddhism in pittsburgh
 
วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์วาทะพระอรหันต์
วาทะพระอรหันต์
 
ฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญาฟังดีมีปัญญา
ฟังดีมีปัญญา
 
1 years
1 years1 years
1 years
 
Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10Dhammaratana journal 10
Dhammaratana journal 10
 

ฟังดีมีปัญญา

  • 1. The Buddhist Meditation Center of Pittsburgh www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts ฟังดีมีปัญญา ปิยเมธี
  • 2. คติธรรมประจำ�วัด สติมโต สทา ภทฺทํ คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำ�โชคตลอดเวลา The mind is very hard to check and swift, it falls on what it wants. The training of the mind is good, a mind so tamed brings happiness. เจ้าของ : วัดป่าธรรมรัตน์ พิทส์เบิร์ก ที่ปรึกษา : พระวิเทศธรรมรังษี(หลวงตาชี) พระราชพุทธิวิเทศ พระครูปริยัติธรรมาภิราม พระครูสิริอรรถวิเทศ พระครูสังฆรักษ์อำ�พล สุธีโร คณะสงฆ์วัดไทยกรุงวอชิงตัน,ดีซี คณะสงฆ์วัดป่าสันติธรรม กองบรรณาธิการ : คณะสงฆ์ และอุบาสกอุบาสิกา รูปเล่ม/รูปภาพ พระมหาปิยะ อุตฺตมปญฺโญ Dhammaratana Journal is published by Wat PadhammaratanaThe Buddhist Meditation Center of Pittsburgh) 5411 Glenwood Ave., Pittsburgh, PA 15207 Tel(412)521-5095 E-mail : bmcpitts@hotmail.com, bmcpitts@yahoo.com Homepage : www.bmcpitts.org www.facebook.com/bmcpitts www.youtube.com/watpadhammaratana CONTENT - สารบัญ พุทธประกันภัย 5 ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 13
  • 3. พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 5 ความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว และอื่นๆ เป็นยอดปรารถนาของคน ทั้งหลาย ทำ�ให้มนุษย์พยายามคิดค้น สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า และเครื่องอำ�นวยความสะดวกหลายหลาก เพื่อความ ปลอดภัย ถ้าสังเกตจะเห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว กำ�ลังพัฒนา และด้อยพัฒนาทั่วโลก จะมีสิ่งป้องกัน คำ�นำ� กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง การฟังธรรมตามกาล นั้น เป็นหนึ่งในมงคล 38 ประการที่พระพุทธองค์ทรง ประทานไว้เป็นแบบแผนในการฝึกหัดพัฒนาชีวิตของ คนเราตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงที่สุด ในพิธีการทางพระพุทธศาสนาจึงมีการแสดง ธรรมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ศึกษาเรียนรู้ธรรมะผ่านการฟัง เมื่อฟังแล้วคิด พิจารณาตรองตามแล้วนำ�ไปปฏิบัติก็จะเป็นผลดีแก่ ชีวิตของตน ผู้เขียนได้คัดสรรบทธรรมที่แสดงตามโอกาส ต่างๆ เพื่อเป็นธรรมบรรณาการแก่ญาติธรรมทั้งหลาย หวังว่าท่านทั้งหลายจงเจริญรุ่งเรืองในธรรมของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งๆ ขึ้นไปตราบเท่าสู่ที่สุดแห่งทุกข์ คือพระนิพพานด้วยกันทุกทท่านทุกคน ด้วยไมตรีธรรม ปิยเมธี พุทธประภันภัย
  • 4. พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 6 7 ภัยและอำ�นวยความสะดวกต่างๆ เช่น ในประเทศ สหรัฐอเมริกา จะมีระบบเตือนภัยธรรมชาติที่ดีเยี่ยม จนสามารถรู้ได้ล่วงหน้าหลายวันชั่วโมงต่อชั่วโมง ว่า ภายในอาทิตย์นี้ฝนจะตก แดดจะออกจนคนที่จะ ออกไปทำ�ธุระนอกบ้านสามารถเตรียมพร้อมรับมือ กับดินฟ้าอากาศได้ ถึงแม้ประเทศที่พัฒนาเจริญก้าวหน้าทาง ด้านเทคโนโลยีก็ใช่ว่าจะมีความปลอดภัยในชีวิต อย่างเต็มที่ เพราะภัยต่างๆ ใช่ว่าจะเกิดจากมนุษย์เอง เท่านั้น ยังมีภัยธรรมชาติที่อยู่เหนือการควบคุมของ เรา ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่ สามารถกะเกณฑ์เตรียมรับมือ ได้ จึงเห็นว่ามีบริษัทประกันภัยผุดขึ้นมากมาย เช่น บริษัทประกันชีวิต สุขภาพ บ้าน รถยนต์ ทรัพย์สิน และธุรกิจ เป็นต้น บริษัทประกันภัยเหล่านั้นต่างต้อง เสียเงินทองในการทำ�ประกันโดยจ่ายเป็นรายเดือน รายปี ซึ่งคนที่ทำ�ประกันภัยต้องใช้จ่ายเงินจำ�นวน มากในแต่ละปี เพื่อป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต ทรัพย์สิน และครอบครัวของตนเอง เมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน พระพุทธเจ้าก็ทรงวาง หลักประกันภัยไว้เหมือนกันเรียกว่าพุทธประกันภัย เป็นระบบประกันภัยที่ต่างจากประกันภัยในปัจจุบัน คือ ไม่ต้องลงทุน ลงเงิน แต่มีระเบียบปฏิบัติว่าต้อง ลงแรง ลงมือกระทำ� มีวินัยงดเว้น ละเว้นบางสิ่งบาง ประการ โดยมีระเบียบปฏิบัติในการทำ�ประกันภัย ด้านต่างๆ และผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันจะได้รับ ดังนี้ 1.ประกันภัยชีวิต มี ร ะ เ บี ย บ ก า ร ชำ�ระประกันภัยด้วยการไม่ เบียดเบียนทำ�ลายสิ่งมีชีวิต โดยต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต ผลประโยชน์ที่จะได้กรณียัง มีชีวิตอยู่ คือ มีสุขภาพแข็ง
  • 5. พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 8 9 แรง หน้าตาผ่องใส อายุยืน ไม่ค่อยมีโรคภัยไข้เจ็บ เบียดเบียน เป็นที่รักของคนและสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ มี มนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น 2.ประกันทรัพย์สิน มีระเบียบการ ชำ�ระประกันภัยด้วยการ ไม่ปล่อยให้ความโลภ ครอบงำ�หยิบจับเอาวัตถุ สิ่งของที่ไม่ใช่ของๆ ตน ต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต ผลประโยชน์ที่จะได้กรณี ยังมีชีวิตอยู่ คือ ไม่ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ทรัพย์สมบัติ ปลอดภัย ไม่ถูกเบียดบัง หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว จะ ได้ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น 3.ประกันครอบครัว มีระเบียบชำ�ระ ประกันภัยด้วยการเคารพ รักเพศตรงข้ามและเพศ เดียวกันเสมอเหมือนญาติ ของตนเอง ต้องถือปฏิบัติ ตลอดชีวิต ผลประโยชน์ที่ จะได้กรณียังมีชีวิตอยู่ คือ ครอบครัวมั่นคง มีความสุข ปลอดภัยจากโรคร้าย ต่างๆ เป็นต้นว่า HIV หลังจากเสียชีวิตไปแล้ว จะได้ ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น 4.ประกันเครดิต มีระเบียบชำ�ระประกันภัย ด้วยการมีสติ มีเมตตาในการพูดจา ให้ไพเราะ ดี มีประโยชน์กับทุกๆ คน ต้องถือปฏิบัติตลอดชีวิต ผล
  • 6. พุทธประกันภัยพุทธประกันภัย 10 11 ประโยชน์ที่จะได้รับกรณียังมีชีวิตอยู่ คือ มีเครดิต มีเสน่ห์ พูดอะไรมีคนเคารพรักเชื่อถือ หลังจาก เสียชีวิตไปแล้ว จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และ สวรรค์ เป็นต้น 5.ประกันสุขภาพ มีระเบียบชำ�ระ ประกันภัยด้วยการงด เว้นจากการดื่มเครื่อง ดองของมึนเมาต่างๆ ที่ เป็นเหตุให้ประมาทขาด สติ ต้องถือปฏิบัติตลอด ชีวิต ผลประโยชน์ที่จะ ได้กรณียังมีชีวิตอยู่คือ สุขภาพแข็งแรง ไม่เสียทรัพย์ ไม่เสียชื่อเสียง คนนับถือ มีความคิดอันเฉียบคม ไม่ ขาดสติอันเป็นเหตุให้ทำ�อะไรโง่ๆ หลังจากเสียชีวิต ไปแล้ว จะได้ไปเกิดในที่ดีๆ มีมนุษย์และสวรรค์ เป็นต้น ข้อแตกต่างระหว่างประกันภัยทั่วไปกับ พุทธประกันภัย คือ ประกันภัยทั่วไป ผู้เอาประกันต้องลงทุน จ่ายทรัพย์ทุกเดือนต่อเนื่องหลายปี และต้องทำ�ตาม ระเบียบที่ทางบริษัทกำ�หนดว่าต้องจ่ายเงินจำ�นวน เท่านั้นบาท ระยะเวลากี่ปี และห้ามทำ�อะไรบ้าง จึง จะได้รับผลประโยชน์ ส่วนพุทธประกันภัยต้องลงมือกระทำ� ไม่ ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีกำ�หนดปีที่ทำ� ทำ� เท่าไหร่ก็ได้รับประกันภัยเท่านั้น ถ้าหยุดทำ�ก็หยุด รับผลประโยชน์ พุทธประกันภัย ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าของ บริษัทได้การันตีไว้ว่า ถ้าทุกคนทำ�ประกันภัยกับ บริษัทพุทธประกันภัย จะได้ประโยชน์คือความสงบ เย็นเป็นสุขแก่ตัวผู้ทำ�เอง ครอบครัว สังคม ประเทศ ชาติ และโลก โดยจะได้รับประโยชน์หลักๆ ดังนี้
  • 7. ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติพุทธประภันภัย 12 13 1.ทำ�ให้พบเจอเพื่อนที่ดี สังคมที่ดี 2. ทำ�ให้เจริญรุ่งเรืองร่ำ�รวย 3. ทำ�ให้ชีวิตร่มเย็นเป็นสุขทั้งส่วนตัวและ ส่วนรวม เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลาย เองว่าจะทำ�ประกันกับบริษัทพุทธประกันภัยหรือไม่ ถ้าอยากทำ� วิธีทำ�ก็ไม่ยาก โดยมีวิธีทำ�ง่ายๆ 2 วิธี คือ 1.ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปที่เป็น ตัวแทนของพระพุทธเจ้าว่า จะทำ�ประกันภัยกับ พระองค์ด้วยการปฏิบัติตามระเบียบประกันภัยทั้ง 5 ข้อ 2.ไปที่วัดใกล้บ้านแล้วกล่าวคำ�สมาทาน ประกันภัยต่อหน้าพระสงฆ์ โดยมีพระภิกษุเป็นสักขี พยานด้วยการปฏิบัติตามระเบียบทั้ง 5 ข้อ พวกเราคงเคยได้ยินคำ�กลอนสอนใจบท หนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป คือ คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว คนชั่วชอบทำ�ลาย คนมักง่ายชอบทิ้ง ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ
  • 8. ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 14 15 คนจริงชอบทำ� คนระยำ�ชอบติฯ ในกลอนบทนี้ ท่านนิยามความหมายของ คนในแบบต่างๆ และกล่าวว่า คนระยำ�ชอบติ ติในที่ นี้หมายถึง ติฉินนินทา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ มีแต่ก่อโทษให้กับตนเองและสังคม ชาวพุทธที่ดีต้องเป็นคนชอบติ ติในที่นี้ ไม่ใช่ติฉินนินทาหรือว่าร้ายใคร แต่เป็นติที่ดี ซึ่งใน ทางพระพุทธศาสนามีด้วยกันหลายติ คือ - ติแรก คือ ขันติ แปลว่า ความอดทน ความอดทนนี้เป็นคุณสมบัติที่ต้องมีเยอะๆ เพราะการดำ�เนินชีวิตในปัจจุบันต้องเจอปัญหา อุปสรรคมากมายทั้งจากสิ่งแวดล้อมภายนอกไม่ว่า จะเป็นดินฟ้าอากาศ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน ถ้าคน ที่อยู่ในเมืองใหญ่ก็ต้องเผชิญปัญหามลภาวะเป็น พิษรถติด รวมถึงผู้คนที่อยู่ด้วยกันที่บางครั้งอาจมี การกระทบกระทั่งกันบ้าง และยังต้องอดทนต่อสิ่ง แวดล้อมภายในตนเองไม่ว่าจะเป็นโรคภัยไข้เจ็บ ความไม่สบายกายสบายใจต่างๆ รวมถึงอดทนต่อ กิเลสตัณหาที่คอยยั่วยุให้เราทำ�สิ่งที่ไม่ดีลงไป ความ อดทนจึงเป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างยิ่งในการดำ�เนินชีวิต ของเราตั้งแต่เกิดจนตาย - ติที่สอง คือ สติ แปล ว่า ความระลึกได้ หรือ รู้ตัว(กาย-ใจ) พระพุทธองค์ ทรงสรุปคำ�สอนของพระองค์มากมายลงที่คำ�ว่า สติ
  • 9. ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 16 17 ถ้าเราเจริญสติหรือฝึกสติตัวเดียวก็เสมือนเราปฏิบัติ ธรรมข้ออื่นๆ ด้วย การเจริญสตินั้นทำ�ได้ตั้งแต่ตื่น นอนจนกระทั่งเข้านอน ด้วยการฝึกให้มีความรู้ตัว ขณะยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำ� พูดคิดฯลฯขณะทำ� อะไรอยู่ก็พยายามเอาใจมาไว้กับสิ่งที่ทำ� ฝึกไปอย่าง นี้เรื่อยๆ ก็จะมีสติหรือเบรค เวลามีปัญหาอุปสรรค ต่างๆ เกิดขึ้น สติก็จะไปช่วยขนเอาปัญญามาจัดการ กับปัญหาได้ทัน ฉะนั้น สติจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญไม่แพ้ ขันติเลยทีเดียว *สติและสัมปะชัญญะ เป็นธรรมะคู่กัน สติ แปลว่า ความระลึกได้ก่อนพูดคิดทำ�อะไร ส่วนสัมปะชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัวขณะพูดทำ�คิด แต่บางครั้งเวลาพูด จะพูดแค่คำ�ว่า สติคำ�เดียว เป็นอันเข้าใจโดยทั่วไปว่า หมายถึงสัมปะชัญญะด้วย - ติที่สาม คือ สันติ แปลว่า ความสงบ สันติเป็นสิ่งจำ�ปรารถนาในโลกปัจจุบันอัน เต็มไปด้วยความวุ่นวายสับสน มีข้อมูลมากมายไหล บ่ามาจากทั่วทุกมุมโลก ถ้าหากเราไม่เลือกบริโภค อาจสำ�ลักข้อมูลตาย เป็นบ้าหอบฟาง หรือเต้นตาม เพลงที่คนอื่นร้องบางครั้งการบริโภคหรือเสพข้อมูล ข่าวสารมาก อาจทำ�ให้จิตใจของเราไม่สงบ สันติ หรือความสงบจะเกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดจากอาวุธหรือ การเรียกร้อง แต่เกิดจากตัวบุคคลผู้ต้องการสันติที่ ต้องสร้างสันติหรือความสงบขึ้นที่ใจของตนก่อน
  • 10. ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 18 19 มีคำ�พูดอันคมคายของมหาตมะ คานธี ว่า "Be the change you want to see in the world จงเป็นความ เปลี่ยนแปลงที่คุณต้องการเห็นในโลกใบนี้" แม้ โลกภายนอกจะวุ่นวายสับสนเพียงใดอย่าให้มันมา ทำ�ลายความสงบภายในจิตใจของเราเลย ไม่เช่นนั้น เราจะไม่เหลือพื้นที่แห่งความสงบเลย - ติที่สี่ คือ วิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น วิมุตติหรือความหลุดพ้นในที่นี้หมายถึง ความหลุดพ้นจากพันธนาการหรือโซ่ตรวนที่ทำ�ให้ เราวนเวียนอยู่ในวัฏจักรของความชั่วช้าเลวทราม ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นความโลภจนเกินพองาม ความ โกรธจนทำ�ร้ายทำ�ลายคนอื่น และความหลงจนไม่รู้ จักผิดชอบชั่วดี ความหลุดพ้นนั้นมีหลายระดับตาม ความหมายของคำ� เพื่อให้เราได้ฝึกชิมลองความเป็น อิสระจากพันธการหรือหมู่มารที่คอยตามจองล้าง จองผลาญ แบ่งง่ายๆ เป็น 3 ระดับ ได้แก่ - ตะทังคะวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น ด้วยองค์นั้นๆ เป็นต้นว่า มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นในใจ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น ก็คิดถึงโทษของความโกรธ และ
  • 11. ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ 20 21 ประโยชน์ของเมตตา สามารถเอาธรรมะที่เป็นคู่ปรับ กันมาใช้สอนใจตนเองได้ - วิกขัมภะนะวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น ด้วยการข่มไว้เหมือนเอาหินทับหญ้า ในที่นี้หมาย การทำ�สมาธิด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ การนั่งสมาธิหรือเดินจงกรมถ้าจิตใจเราจดจ่ออยู่กับ สิ่งที่ทำ� ไม่วอกแวกหวั่นไหว ในขณะนั้นเราก็เป็น อิสรภาพจากมารทั้งหลาย แม้จะเป็นชั่วขณะหนึ่งก็ ยังดีนักหนา เรียกว่าได้ชิมรสของความหลุดพ้นจาก พันธนาการ - สะมุจเฉทวิมุตติ แปลว่า ความหลุดพ้น แบบตัดขาด ถอนรากถอนโคน เป็นความหลุดพ้น ของพระอรหันต์ทั้งหลายจากกิเลสทั้งปวง ไม่มี ปัญหาให้กังวลอีกต่อไปในส่วนตนเอง มีชีวิตอยู่ อย่างสุขสบายโล่งโปร่ง ลองนึกเทียบดูว่า ขณะที่เรา ไม่มีความอยากมาคอยรบกวน แม้เพียงชั่ววินาทีหรือ นาทียังมีความสุขขนาดนี้ ถ้าไม่มีมาเลยละ จะสุข ขนาดไหน ชาวพุทธที่ดีจึงควรเป็นคนชอบติ แล้ว พยายามปลูกต้นติเหล่านี้ในใจ รดน้ำ�พรวนดินให้
  • 12. ชาวพุทธที่ดีต้องชอบติชาวพุทธที่ดีต้องชอบติ All are cordially invited to participate in the meditation programs and Buddhist activities at Wat Padhammaratana(Buddhist Meditation Centre of Pittsburgh) Activity Day Time 1. Chanting Daily Morning and Evening 05.30 - 6.30 a.m. 5.30 - 6.30 p.m. 2. Dhamma Talk Daily Morning 10.45 - 11.15 a.m. 3.Buddhist Study(Thai) Every Sunday 01.00 - 03.00 p.m. 4. Meditation(English) Every Saturday 03.00 - 05.00 p.m. All activities will be held at the upper or lower level of the temple. For further information, please contact Wat Padhammaratana, PA. Tel.412-521-5095, E-mail : bmcpitts@hotmail.com, www.bmcpitts.org, www.facebook.com/bmcpitts - To serve as a Buddhism promotion center in the U.S. -ToserveasameditationcenterinPittsburgh - To promote virtues, Buddhist culture and traditions - To be a center of all Buddhists, regardless of nationalities OBJECTIVES 22 เจริญเติบโตขึ้นจนสามารถเก็บผลกินได้ถ้าทำ�ได้ อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงการันตีว่าจะมีแต่ความเจริญ รุ่งเรืองก้าวหน้าอย่างเดียว ขอฝากเรื่องติไว้ให้คิดในเทศกาลปี ใหม่(ของชาวโลก)ที่กำ�ลังคืบคลานเข้ามา วันเวลา หมุนเปลี่ยนเวียนไปอย่างนี้ไม่มีต้นไม่มีปลาย(คน เราสมมุติให้ต้นปีท้ายปี) แต่ชาวพุทธสามารถทำ�วัน เวลาแต่ละช่วงให้มีค่าได้ด้วยการคิดพูดทำ�สิ่งๆ ดี จะเป็นพรปีใหม่โดยไม่ต้องร้องขอจากหลวงพ่อที่ ศักดิ์สิทธิ์องค์ไหนเลย