SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
การเข้าถึงแบบเปิด (Open Access)
เอกพล เก้าไพศาลกิจ
การเข้าถึงแบบเปิด (Open Access หรือ OA) เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นขึ้นในวงการนักวิจัยที่
ต้องการผลักดันให้ผู้ใช้ปลายทางสามารถเข้าถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาหรือการวิจัยได้อย่างอิสระ
โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้เหล่านั้น ทาให้การเข้าถึง
ผลงานเหล่านั้นทาได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้ปลายทาง อีกทั้งช่วยให้การกระจาย
ความรู้สามารถไปได้กว้างไกลขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงนาแนวคิดนี้มาใช้กับเอกสารในการจัดทา
OA และเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารเปิดสาธารณะ” (OA Literature/ OA Publication)
ปัจจัยในการทา OA
การจัดทา OA เริ่มต้นขึ้นจากนักวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์ต้องการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จาก
การทาวิจัยไปสู่ผู้อ่านให้ได้อย่างกว้างขวาง โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนในการทา
OAขึ้น ประกอบดังต่อไปนี้
1. เป็นความปรารถนาของเหล่านักวิจัยและนักวิชาการที่ต้องการให้ความรู้ที่ตนได้ค้นพบ
จากการศึกษาหรือการวิจัย ได้กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง อีกทั้งมีผลต่อความก้าวหน้าให้มี
อาชีพการงานที่ดีขึ้น หรือชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงการวิชาการมากขึ้น ในอดีตนักวิจัยและ
นักวิชาการทาวิจัยหรือเขียนบทความทางวิชาการจะนาบทความของตนให้สานักพิมพ์นาไปตีพิมพ์
ในวารสารวิชาการ ซึ่งเป็นวิธีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ง่ายที่สุด แต่สิทธิ์ในตัวบทความนั้น
สานักพิมพ์จะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์โดยผู้เขียนบทความต้องมอบหรือบริจาคผลงานของตนให้แก่
สานักพิมพ์เพื่อนาไปเผยแพร่ให้แก่ผู้อ่านต่อไป ซึ่งทาให้นักวิจัยเองมองว่าเป็นสิ่งที่ริดรอนในสิทธิที่
ตนพึงมีในผลงานของตน จึงทาให้มีความสนใจในการทา OA ที่ทาให้ผลงานของตนเผยแพร่ไปได้
มากกว่าที่จะตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการเชิงพาณิชย์เพียงแหล่งเดียว และงานวิจัยของตนทาได้รับ
การสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ รวมทั้งแหล่งทุนจากรัฐซึ่งเป็นเงินภาษีที่ได้จากประชาชน นักวิจัย
จึงเห็นว่าความรู้ที่ได้ควรกลับไปสู่สังคมมากกว่าที่จะเป็นของคนใดคนหนึ่ง และแบ่งปัน
2-A2
ประสบการณ์แก่เหล่านักวิชาการและนักวิจัยร่วมกัน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สนใจเป็นสาธารณะ เพื่อต่อ
ยอดสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น (Suber, 2004)
2. วารสารวิชาการมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก ด้วยที่อดีตการนาเสนอความรู้เป็นการเผยแพร่ใน
วารสารวิชาการเชิงพาณิชย์ รายได้ของสานักพิมพ์จึงมาจากผู้ที่ซื้อหรือบอกรับเป็นสมาชิกเพราะ
ต้องการเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปราคาวารสารเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากตารางที่
1 ที่วิเคราะห์ราคาวารสารในหมวดชีวการแพทย์(Biomedical) จากกลุ่มวารสารตัวอย่างในแต่ละ
สานักพิมพ์ ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 พบว่ามีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ระหว่างร้อยละ 41.5
ถึง 104.4 (White & Creaser, 2007, p.19) ขณะที่ตารางที่ 2 ศึกษาในกลุ่มวารสารทางด้าน
สังคมศาสตร์ในแต่ละสานักพิมพ์พบว่ามีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นระหว่างร้อยละ 47.4 ถึง 119.7
(White & Creaser, 2007, p.23) และจากการที่วารสารมีราคาที่สูงขึ้นจึงทาให้ผู้ใช้บางกลุ่มไม่มีกาลัง
ซื้อที่เพียงพอ ทาให้ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบทความที่อยู่ในวารสารนั้น ขณะเดียวกันห้องสมุดเองก็
ได้รับผลกระทบจากการวารสารที่สูงขึ้น จากการศึกษาของ Association of Research Libraries ในปี
ค.ศ. 1986 พบว่าเงินที่ใช้ในการนาวารสารเข้าห้องสมุดคิดเป็นร้อยละ 44 ของเงินทั้งหมด และได้
ปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72 ในปี 1998 (Ryan, et.al, 2002) จากภาระค่าใช้จ่ายค่าบอกรับ
วารสารที่สูงขึ้นทาให้บางห้องสมุดจาเป็นต้องเลิกบอกรับวารสาร ทาให้ผู้ใช้ห้องสมุดหรือตัวผู้เขียน
เองขาดโอกาสในการเข้าถึงบทความที่ต้องการได้เช่นกัน
2-A3
ตารางที่ 1 แสดงราคาวารสารในหมวดชีวการแพทย์(Biomedical) ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006
(White & Creaser, 2007, p. 19)
2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 %change
2000-06
No
incl.
Sage 182 217 220 290 339 359 372 104.4% 56
Blackwell 240 265 285 333 377 426 459 90.9% 274
Taylor & Francis 218 243 264 299 334 380 414 90.0% 202
Springer 253 268 292 321 372 435 463 83.2% 219
Nature 395 420 533 600 654 660 693 75.4% 29
Cambridge UP 115 124 151 164 162 170 198 72.2% 25
Nature excl. 350 385 442 523 561 561 589 68.3% 23
Elsevier 569 596 638 696 750 823 859 51.0% 388
Wiley 500 585 660 594 645 695 755 51.0% 42
Lippincott 195 243 274 272 254 270 394 50.2% 208
Oxford Journals 281 300 330 333 351 369 397 41.5% 54
ตารางที่ 2 แสดงราคาวารสารในหมวดสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง
2006 (White & Creaser, 2007, p. 23)
2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 %change
2000-06
No
incl.
U. of Chicago 54 61 76 78 75 115 119 119.7% 16
Blackwell 127 145 167 193 219 242 269 107.1% 210
Sage 179 212 220 286 328 342 359 100.8% 162
Taylor & Francis 155 174 191 210 235 265 300 93.5% 373
Springer 147 163 180 185 210 221 243 65.5% 48
Oxford Journals 105 114 123 140 149 158 173 65.1% 48
Wiley 318 381 436 383 420 471 513 61.2% 39
Cambridge UP 79 86 95 99 100 111 122 54.5% 29
Lippincott 187 226 264 260 248 260 283 51.5% 17
Elsevier 314 337 360 394 415 436 464 47.4% 246
2-A4
3. พัฒนาการของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล
ออกไปได้อย่างรวดเร็วและขณะที่การนาบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารมีกระบวนการ
ตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิและการจัดทารูปเล่มใช้เวลาในแต่ละขั้นตอนนาน
ก่อนจะตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งอาจทาให้ข้อเท็จจริงหรือความรู้ที่นักวิจัยค้นพบไม่มีความทันสมัย ทาให้
ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลไม่สามารถนาไปใช้ต่อยอดองค์ความรู้ได้รวดเร็ว ขณะที่ความต้องการของ
เหล่านักวิจัยต้องการให้ความรู้ที่ได้จากการศึกษามีการเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและอินเทอร์เน็ต
นั้นเป็นแหล่งที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จากัดสถานที่และเวลา ด้วยความสะดวกของ
อินเทอร์เน็ตทาให้การเผยแพร่ข้อมูลทาได้ง่าย เช่น การทาเว็บไซต์ การเขียนข้อความหรือทา
บทความส่วนตัวลงบนเว็บบล็อก (Web log หรือ Blog) ของตัวเอง จากส่วนนี้เองทาให้นักวิจัยให้
ความสนใจในการเผยแพร่ผลงานของตนเองโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ตัวอย่างของการเผยแพร่ใน
ระยะแรกที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่ออยู่ในรูปของ Public Domain ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการจัดทา
OA คือ โครงการกูเตนเบิร์ก (Project Gutenberg) โดย Michael Hart ในปี ค.ศ. 1971 มีวัตถุประสงค์
ในการแปรผลงานวรรณกรรมที่หมดอายุลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะ ปัจจุบันมีมากกว่า 33,000 เรื่องที่
สามารถถ่ายโอนหรือบันทึกผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือโดยไม่มี
ค่าใช้จ่าย ทาให้เกิดแรงผลักดันขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 มาถึงต้นทศวรรษที่
2000 เกิดแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการเผยแพร่ผลงานออกเป็นสาธารณะโดยผลิตเป็นดิจิทัลและ
ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นที่มาของ OA ในเวลาต่อมา (Suber, 2010)
4. พัฒนาการของเทคโนโลยีแบบเปิด (Open Technology) ที่เป็นแนวคิดเบื้องต้นที่เล็งเห็น
ประโยชน์อันมหาศาลจากการร่วมมือกันของกลุ่มคนในการแบ่งปันความรู้และทรัพยากรร่วมกัน
(ชัยโย, ม.ป.ป.) จากแนวคิดเทคโนโลยีแบบเปิดจึงก่อให้เกิดแนวคิดแบบเปิดต่างๆ เช่น มาตรฐาน
แบบเปิด (Open Standards) โปรแกรมรหัสเปิด (Open Source Software – OSS) เป็นต้น พัฒนาการ
ของเทคโนโลยีแบบเปิดเป็นประโยชน์ต่อการจัดทา OA ได้หลายทาง เช่น แนวคิดของโปรแกรม
รหัสเปิดในการเปิดเผยชุดรหัส (Source code) ของนักพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนาไป
ศึกษาเพื่อนาไปดัดแปลงหรือพัฒนาต่อยอดต่อไปได้โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กาหนดไว้ทาให้มีการ
พัฒนาโปรแกรมไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งอานวยความสะดวกในการจัดทา OA โดย
บุคคลที่สนใจสามารถจัดทาเอกสาร OA โดยเลือกใช้โปรแกรมรหัสเปิดเป็นโปรแกรมที่ใช้จัดทา
OA ได้ เช่น การจัดทาคลังความรู้ (Repository) การทาฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เพื่อ
รวบรวมเอกสารที่เป็นเอกสาร OA แล้วให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี ทั้งการประยุกต์ดัดแปลง
ให้โปรแกรมให้มีขอบเขตการทางานตามความต้องการในการจัดทา OA และช่วยประหยัด
งบประมาณโดยการใช้โปรแกรมรหัสเปิดแทนการซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์ในการจัดทาและจัดเก็บ
2-A5
OA อีกเทคโนโลยีแบบเปิ ดที่ส่งเสริมการทา OA คือมาตรฐานแบบเปิ ด ที่ใช้แนวคิด
Interoperability คือให้การทางานร่วมกันได้แม้ไม่ได้ใช้โปรแกรมหรือระบบเดียวกัน ทาให้สามารถ
เข้าถึงองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ ได้มากขึ้น เมื่อมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันแล้วก็ทาให้การทา
OA มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (Corrado, 2005)
จากปัจจัยทั้งหมดจึงทาให้เหล่านักวิจัยเกิดแนวคิดที่ให้มีการจัดทา OAขึ้น โดยใช้
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานของตน และไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดทางด้านลิขสิทธิ์
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างเสรี
หลักการและแนวคิดในการทา OA
OA มีแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเผยแพร่ หลักการ
เบื้องต้นของ OA จากการประชุมที่สาคัญ 3 แห่งคือ the Budapest Open Access Initiative ในปี
2002, the Bethesda Principles ในปี 2003 และ the Berlin Declaration on Open Access ในปี 2003
การประชุมแต่ละแห่งให้คาจากัดความของ OA ออกมาแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีหลักการพื้นฐานที่
ตรงกันคือ “ผู้ใช้เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ตทั้งการค้นหาบทความและนาไปอ่าน ถ่ายโอน ทาสาเนา
แจกจ่ายต่อ โดยปราศจากเงื่อนไขด้านกฎหมายและค่าใช้จ่าย ผู้เขียนบทความสามารถควบคุมสิทธิ์
ในตัวบทความนั้นเมื่อถูกนาไปอ้างถึง และบทความฉบับเต็มต้องถูกนาไปจัดเก็บในคลังความรู้
เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้” (Funk, 2007)
ในการจัดทาเอกสาร OA ในระยะแรกจะเน้นเกี่ยวกับบทความวิจัยเป็นส่วนใหญ่ จึงมีคาที่
ใช้เรียกบทความหรือเอกสารที่ถูกนามาจัดทาเป็น OA เนื่องจากการทาเอกสาร OA นั้นสามารถ
นาเสนอได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกสาหรับนักวิชาการและนักวิจัย ประกอบด้วย
- Preprint หมายถึงบทความที่เขียนขึ้นก่อนได้รับการตรวจสอบคุณภาพ (Pre-peer-
reviewed) หรือเป็นบทความต้นฉบับที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อส่งให้สานักพิมพ์นาให้ผู้ทรงคุณวุฒิ
พิจารณาด้านคุณภาพก่อนนาไปตีพิมพ์ และผู้เขียนสามารถนาไปแบ่งปันให้แก่นักวิจัยคนอื่นผ่าน
ช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น ส่งทางแฟกซ์หรืออีเมล์ก่อนส่งตีพิมพ์เป็นต้น
- Postprint หมายถึงบทความที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Post-peer-
reviewed) และผ่านการแก้ไขเรียบเรียงใหม่จากผู้เขียนตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเตรียม
นาไปตีพิมพ์ลงในวารสาร
- E-print หมายถึงบทความที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ใช้เรียกเอกสารทั้งที่เป็น Preprint และ
Postprint
2-A6
- Grey Literature หมายถึงเอกสารอื่นที่ไม่ใช่บทความวารสาร เป็นเอกสารที่ถูกผลิตขึ้น
จากรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ทั้งที่เป็ นสิ่งพิมพ์และเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมดูแลของสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ในอดีตครอบคลุมเอกสาร
ประเภทรายงานเชิงวิชาการ วิทยานิพนธ์ จดหมายเวียน แผ่นประกาศที่ไม่ได้ถูกจัดระเบียบหรือ
ไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ มักการใช้เพื่อเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรเป็นหลักหรือสาหรับใช้ในที่
จากัด ต่างกับ Preprint หรือ Postprint ที่ทาขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลออกสู่สาธารณะ
ด้วยแนวคิดในการเผยแพร่ OA ที่หลากหลาย BOAI (2002) จึงเสนอให้มีการจัดทา OA
ขึ้นมา 2 ประเภทเพื่อให้เปิดเป็นสาธารณะให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ประกอบด้วย
1. Self-archiving หรือที่เรียกว่า “Green OA” เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการนาบทความไป
ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งมีหลายขั้นตอนและใช้เวลานานก่อนได้รับการตีพิมพ์ Self-archiving เพิ่ม
ทางเลือกให้ผู้เขียนสามารถนาบทความของตนไปเก็บไว้ในคลังความรู้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้อื่น
สามารถดาวน์โหลดเอกสารนั้นๆ ได้ โดยผ่านเงื่อนไขข้อตกลงกับสานักพิมพ์ที่ให้อนุญาตให้
เผยแพร่เอกสารประเภทใดลงไปบนอินเทอร์เน็ต Self-archiving มีลักษณะการเก็บทั้งการจัดเก็บบน
เว็บไซต์ส่วนตัวของผู้เขียนเอง หรือมีองค์กรต้นสังกัดของผู้เขียนช่วยดูแลในการจัดเก็บและควบคุม
เอกสารในคลังความรู้ขององค์กร เอกสารที่นามาจัดเก็บแบบ Self-archiving เป็นได้ทั้ง Preprint
และ Postprint แต่จะไม่มีการประเมินคุณภาพของเอกสารเพื่อนามาจัดเก็บ
2. Open Access Journal (OAJ) หรือที่เรียกว่า “Gold OA” เป็น OA ที่สานักพิมพ์จะเป็น
ผู้นาบทความที่ผู้เขียนได้ส่งมาไปจัดทาเป็น OA โดยที่เจ้าของบทความหรือองค์กรต้นสังกัดเป็นผู้
จ่ายค่าจัดทา OA ให้แก่สานักพิมพ์ ซึ่งเอกสารที่ทาเป็น OA รวมทั้งบทความที่ตีพิมพ์จะถูกนาไป
จัดเก็บในคลังความรู้บนอินเทอร์เน็ตของสานักพิมพ์หรือแหล่งที่กาหนดไว้เพื่อเผยแพร่พร้อมกัน
ผู้เขียนเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทาทั้งหมด ประเด็นที่สาคัญของการจัดทาแบบ Open
Access Journal คือบทความเหล่านั้นจะมีผู้ทรงคุณวุฒิทาการประเมินคุณภาพเพื่อให้เนื้อหาใน
บทความมีคุณภาพก่อนนาไปเผยแพร่ต่อไป เพราะบนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจานวนมหาศาลที่ยัง
ไม่ได้ถูกคัดกรอง ข้อมูลที่ได้อาจไม่มีคุณภาพหรือไม่สามารถนาไปใช้ได้จริง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึง
มีความต้องการให้เอกสารที่ทาเป็น OA มีการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาเหมือนกับบทความที่
ตีพิมพ์ในวารสารรวมถึงต้องเปิดเป็นสาธารณะเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้
2-A7
ประโยชน์ของการจัดทา OA
การจัดทา OA นั้นมีให้ผลกระทบโดยตรงต่อเหล่านักวิจัยกับสานักพิมพ์ รวมไปถึงบรรดา
ห้องสมุดต่างๆ เนื่องจากทางออกในการเผยแพร่ข้อมูลให้กระจายไปได้กว้างไกลขึ้น ซึ่งในที่นี้จะ
อธิบายถึงประโยชน์ของการจัดทา OA ที่มีต่อวงการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ประโยชน์ต่อวงการศึกษา วงการศึกษาได้รับประโยชน์จากการทา OA อย่างมาก ซึ่ง
ห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งรวมความรู้สาหรับการศึกษาได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะวิกฤตราคา
วารสาร (Serial crisis) ที่การบอกรับการเป็นสมาชิกของวารสารทางด้านวิชาการมีราคาที่สูงขึ้น
อย่างมาก แม้ว่าราคาค่าบอกรับเป็นสมาชิกจะเริ่มคงที่แต่ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้
ห้องสมุดจาเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายภายในห้องสมุดเองซึ่งอาจนาไปสู่การยกเลิกการบอกรับเป็น
สมาชิก โดยเฉพาะวารสารในหมวดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์จะมีราคาที่สูงมากทาให้
เป็นปัญหาในการจัดสรรงบประมาณ ด้วยเหตุผลข้างต้นเองทาให้ห้องสมุดต้องมีการปรับตัว
เพื่อที่จะสามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง จึงทาให้เกิดความร่วมมือต่างๆ ขึ้น เช่น ภาคีห้องสมุด
(Library consortia) บริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นต้น เพื่อให้มีอานาจในการเจรจาต่อรองกับ
สานักพิมพ์ต่างๆ ได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามห้องสมุดเองยังคงต้องการให้เอกสารที่ให้บริการใน
ห้องสมุดมีความน่าเชื่อถือและใช้อ้างถึงได้ การจัดทา OA จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะเป็นศูนย์กลาง
ของการจัดเก็บข้อมูลด้วยการทาคลังความรู้ (Repository) การแนะนาแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้เสรี
หรือการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักวิชาการหรือนักวิจัยในการผลิต Open Access Journal
การสนับสนุนให้มีการทา OA ในห้องสมุดจะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องราคาของวารสารที่มีราคาสูง
การขยาย OA ไปในวงกว้างจะทาให้ห้องสมุดสามารถกระจายการเข้าถึงตัวเอกสารได้ทั่วถึงขึ้นและ
ช่วยให้ห้องสมุดสามารถดูแลการบริหารการเงินสาหรับการจัดหาวารสารสาหรับให้บริการใน
ห้องสมุดได้ง่ายขึ้นโดยที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียสิ่งพิมพ์บางฉบับที่มีความจาเป็นของ
ห้องสมุดออกไปได้ อีกทั้งยังส่งผลต่อการจัดอันดับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก ที่มีการประเมิน
คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศที่มีบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เรียกว่า Webometrics ซึ่งการทา
OA เป็นการเพิ่มโอกาสที่ดีที่จะทาให้มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับใน Webometrics ที่สูงขึ้นอีก
ด้วย (OASIS, 2009)
นักเรียน/นักศึกษาก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความต้องการใช้ผลงานวิชาการเช่นเดียวกันสาหรับ
การนาไปใช้ในการค้นคว้าหรือทาการวิจัยของตนเอง และเช่นเดียวกันในบางครั้งนั้นนักศึกษาก็ขาด
โอกาสที่จะเข้าถึงงานวิชาการบางชิ้นเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่ได้เป็นสมาชิกของวารสารนั้นๆ
ทาให้เข้าถึงเอกสารฉบับเต็มไม่ได้ หรือถึงแม้จะเข้าได้ในบางฉบับแต่สถาบันที่นักศึกษาสังกัดอยู่ก็
2-A8
ไม่สามารถที่จะจัดสรรมาให้บริการได้ทุกคนเนื่องด้วยงบประมาณที่มีจากัด ทั้งที่บทความใน
วารสารวิชาการมีเป็นจานวนมาก จากการศึกษาของ Jinha (2010) พบว่ามีวารสารที่มีการประเมิน
โดยผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 26,000 ชื่อและบทความวิชาการ/วิจัยกว่า 50 ล้านบทความที่ถูกตีพิมพ์ซึ่ง
เป็นแหล่งข้อมูลมหาศาลที่นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถนาไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้จากปัญหา
ดังกล่าว OA จึงเป็นทางเลือกที่จะเปิดโอกาสนักเรียน/นักศึกษา มีโอกาสเข้าถึงเอกสารหรือบทความ
ได้มากขึ้น ทาให้การทางานต่างๆ ทาได้ง่ายขึ้นและมีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งประโยชน์ของ OA ที่มีต่อ
นักเรียน/นักศึกษา ทาให้การเข้าถึงเอกสารบทความต่างๆ ได้มากขึ้นทาให้การค้นคว้าสาหรับการ
ทางานหรือการศึกษาวิจัยต่างๆ ทาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการเข้าถึง
เอกสารเหล่านั้นจากภายนอกสถาบันด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งทาให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่มี
ข้อจากัดด้านสถานที่ (SPARC, 2008)
2. ประโยชน์ต่อวงการวิจัย การทา OA จะเป็นประโยชน์วงการวิจัยเพราะผลงานที่ถูกทา
เป็น OA จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงและนาไปใช้ได้ง่ายขึ้น ทาให้มีการอ่านและนาไป
อ้างถึงหรือพัฒนาต่อยอดในอนาคตที่จะทาให้งานวิจัยหรืองานวิชาการเหล่านั้นมีคุณค่าและเป็นที่
ยอมรับในด้านวิชาการของผู้เขียน (SPARC, 2008) ทาให้เกิดการขับเคลื่อนในการสร้างผลงานดีๆ
อย่างต่อเนื่อง ด้วยพัฒนาการทางด้านทางด้านอินเทอร์เน็ต ทาให้คนที่สนใจในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ
งานที่มีการทาการวิจัยหรือค้นคว้าไว้อยู่แล้ว (ที่ถูกทาเป็น OA แล้ว) สามารถเข้าถึงตัวเอกสาร
เหล่านั้นได้โดยผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) เช่น Google หรือคลังจัดเก็บเอกสาร
(Repository) ทั้งที่เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเป็นของหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นต้นสังกัดของนักวิจัย
นั้นๆ ซึ่งสร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้ง่ายกว่าการสืบค้นบทความที่จัดทาเป็นฐานข้อมูลวารสารเชิง
พาณิชย์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก (OASIS, 2010)
นอกจากนี้แล้วการทาโครงการวิจัยแต่ละครั้งมีต้นทุนในการทาที่ค่อนข้างสูงและใช้
ระยะเวลาในการจัดทาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้เหล่านักวิจัยเองต้องการให้ความรู้ที่ได้จากการ
ศึกษาวิจัยถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง และในอดีตเองความร่วมมือระหว่างเหล่า
นักวิจัยที่มีอยู่ทุกมุมโลกเองทาได้ยากเพราะปัญหาด้านการสื่อสารและข้อจากัดในการเข้าถึงงานวิจัย
เหล่านั้น การที่นักวิจัยทาผลงานการศึกษาของตนให้เป็น OA จะส่งเสริมให้มีการแบ่งปันข้อมูลได้
ง่ายและกว้างไกลมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เหล่านักวิจัยหรือนักวิชาการที่ศึกษางานในด้านเดียวกันสามารถ
เข้าถึงเอกสารได้ง่ายมากขึ้น ช่วยให้การศึกษางานด้านนั้นๆ มีความคืบหน้าได้รวดเร็วขึ้น (OASIS,
2010)
2-A9
นอกจากที่นักวิจัย/นักวิชาการจะได้รับประโยชน์จากการจัดทา OA แล้ว สถาบันต้นสังกัด
เองยังได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกันมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งที่สาคัญที่มีการวิจัยและ
เผยแพร่องค์ความรู้แห่งหนึ่ง การจัดทา OA ทาให้มีการเข้าถึงผ่านเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบ
ต่องานวิจัยทั้งในแง่การเข้าถึงและการอ้างถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบทาให้ง่ายต่อ
การสืบค้นและเผยแพร่ การประเมินคุณภาพของงานวิจัยและบุคลากรทาได้สะดวกขึ้นและช่วยให้
การจัดการดูแลงานวิจัยต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นช่องทางของสถาบันทางหนึ่งในการ
เผยแพร่งานวิจัยและพัฒนาคุณภาพของสถาบันได้เป็นอย่างดี (OASIS, 2009)
3. ประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ องค์กรธุรกิจก็ได้รับประโยชน์จากการทา OA เช่นกัน
เริ่มต้นจากการที่สานักพิมพ์เชิงพาณิชย์เองปรับตัวเองจากการตีพิมพ์วารสารวิชาการเชิงพาณิชย์
เพียงอย่างเดียว มาเป็นการรับทา OA ในรูปแบบ Open Access Journal มากขึ้น ทาให้สานักพิมพ์เอง
สามารถเสนอทางเลือกให้เลือกรูปแบบในการจัดพิมพ์ให้แก่ผู้เขียน สานักพิมพ์ยังสามารถประหยัด
ค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ เช่น การจ้างผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหา ค่าจัดพิมพ์
ฯลฯ เพราะเป็นส่วนที่ผู้เขียนเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทาเอกสาร OA นอกจากนี้ยังเป็นการ
ส่งเสริมการทาประโยชน์กลับสู่สังคมได้อีกทางหนึ่งของหน่วยงาน/องค์กรธุรกิจต่างๆ ภายใต้
แนวคิดเดียวกับนักวิจัย/นักวิชาการที่ต้องการคืนความรู้กลับสู่สังคมเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป
(OASIS, 2010) รวมถึงมีผลประโยชน์ต่อโอกาสที่จะลดความเสี่ยงในการผลิตสินค้าเกินความ
ต้องการได้เช่นกัน จากกรณีศึกษาสานักพิมพ์ Bloomsbury ที่อนุญาตให้งานเขียนของสานักพิมพ์ให้
สามารถเข้าถึงบนอินเทอร์เน็ต ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons และจัดพิมพ์ในรูปแบบ
Publish-on-demand (POD) หรือตีพิมพ์ตามคาสั่งซื้อ ซึ่งพบว่าสามารถขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น
เนื่องจากมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านอินเทอร์เน็ต ทาให้ผู้ที่สนใจในตัวเล่มสามารถสั่งซื้อได้ใน
ภายหลัง (Murphy, 2009)
แถลงการณ์เกี่ยวกับ OA
เมื่อเกิดแนวคิด OA เกิดขึ้นจึงมีการประชุมเพื่อหาความหมายและแนวทางในการจัดทา OA
ขึ้น ในแถลงการณ์จะอธิบายแนวคิดและความหมายต่างๆ ของคาว่า Open Access เพื่อที่จะส่งเสริม
ให้เกิดการจัดทา OA ขึ้นในอนาคต คาแถลงการณ์เกี่ยวกับ OA ที่เป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง
ประกอบไปด้วย Berlin Declaration on Open Access to Knowledge in the Sciences and
Humanities, Bethesda Statement on Open Access Publishing, Budapest Open Access Initiative แต่
ละแห่งได้มีประเด็นและสาระสาคัญดังนี้
2-A10
1. Budapest Open Access Initiative เป็นแถลงการณ์จากการประชุมที่จัดขึ้นในเมือง
Budapest ประเทศฮังการี ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2002 มีสาระสาคัญจากการพบว่าการนาเทคโนโลยี
ใหม่ประกอบกับการเผยแพร่องค์ความรู้แบบเดิมสามารถสร้างการนาเสนอองค์ความรู้แบบใหม่ ซึ่ง
ในอดีตนั้นนักวิทยาศาสตร์เองต้องการนาผลการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ใหม่โดยไม่ต้องเสีย
ค่าใช้จ่าย การเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นช่วยให้สามารถเผยแพร่บทความที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพได้
ลดการปิดกั้นการเข้าถึง ช่วยต่อยอดการทาวิจัย เพิ่มพูนความรู้ และแบ่งปันความรู้ให้กระจายไปสู่ผู้
ขาดแคลนเพื่อเสริมสร้างให้มีความรู้มากขึ้น
จากเหตุผลต่างๆ ทาให้การเข้าถึงได้อย่างอิสระผ่านเครือข่าย ซึ่งเรียกว่า OA ถูกจากัดใน
วงการวารสารวิชาการมาอย่างยาวนาน และจากการค้นพบว่า OA ช่วยให้ผู้อ่านสามารถสืบค้น
ความรู้ที่ต้องการรวมถึงผลงานที่เกี่ยวข้องกัน รวมถึงช่วยให้งานของผู้เขียนมีการเผยแพร่ไปไกลขึ้น
และมีผลต่อ Impact factor ในวงการวิชาการได้ดีขึ้น และด้วยความต้องการที่จะรักษาผลประโยชน์
เหล่านั้น จึงได้มีการเรียกร้องให้สถาบันหรือบุคคลที่สนใจที่จะส่งเสริมให้การเข้าถึงงานเขียนได้
อย่างอิสระ ขจัดอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะอุปสรรคทางด้านราคา ยิ่งมีการสนับสนุนมากขึ้นก็จะ
ได้รับผลประโยชน์จาก OA มากขึ้นเช่นกัน
ด้วยความต้องการให้งานเขียนต่างๆ สามารถเข้าถึงได้อิสระ เหตุผลหลักของการทา OA คือ
การให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบทความที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว และสามารถแสดงข้อคิดเห็น
เพื่อให้บทความมีคุณภาพมากขึ้น ด้วย OA นี้หมายถึงการเข้าถึงได้อิสระ อนุญาตให้ผู้ใช้นาไปใช้ได้
อย่างเสรี โดยมีข้อกาหนดทางลิขสิทธิ์ที่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เขียนเมื่อนาไปอ้างอิง
นอกจากนี้พบยังทาให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและขยายการเผยแพร่องค์ความรู้ไปในวงกว้างในคราว
เดียวกัน จึงได้เสนอรูปแบบการทา OA เป็น 2 ประเภท คือ Self-Archiving และ Open-access
Journals โดยบทความเหล่านั้นไม่มีข้อจากัดในการเข้าถึง ใช้วิธีการต่างๆ ที่จะทาให้ไม่มีการเรียก
เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ โดยใช้การสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือ
องค์กรผู้ให้ทุนสนับสนุนการทาวิจัย มหาวิทยาลัยหรือองค์กรต้นสังกัดของนักวิจัยนั้น (“Budapest
Open Access,” 2002)
2. Bethesda Statement on Open Access Publishing เป็นแถลงการณ์จากการประชุมที่
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2003 ที่สถาบัน Howard Huges Medical ในรัฐ Maryland ประเทศ
สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดประสงค์เพื่ออภิปรายถึงงานวิจัยทางด้านชีวการแพทย์ (Biomedical) เพื่อหา
หนทางที่จะทาให้ OA เป็นแนวทางหลักสาหรับงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้
ทุกกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น องค์กรผู้สนับสนุนการทาวิจัย นักวิจัย สานักพิมพ์ และผู้ใช้ที่
2-A11
จะช่วยสนับสนุนให้มีการจัดทา OA และให้นิยามของการจัดทา OA ว่า “ผู้เขียนและผู้ถือลิขสิทธิ์
อนุญาตให้ผู้เข้าถึงผลงานได้อย่างเสรี อีกทั้งผลงานฉบับสมบูรณ์จะต้องทาให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร
อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานและจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันหรือ
หน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการเปิดให้เป็น OA อย่างน้อย 1 แห่ง โดยไม่จากัดสิทธิ์ในการเข้าถึง รวมถึง
เก็บรักษาผลงานในระยะยาว” (Suber, 2003)
แถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ยังอธิบายประโยชน์และแนวทางที่หน่วยงานที่สนับสนุนในการ
ทาวิจัย ห้องสมุดและสานักพิมพ์รวมถึงนักวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้มีการจัดทา
OA ได้อธิบายดังนี้
1. แถลงการณ์ของสถาบันหรือหน่วยงานผู้ให้ทุนการทาวิจัย จากการประชุมมี
แนวทางร่วมกันว่าประโยชน์ของการจัดทา OA จาเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากสถาบันหรือ
หน่วยงานผู้ให้ทุนในการทาวิจัยโดยการ
1. ส่งเสริมให้ผลงานที่มีในหน่วยงานถูกจัดทาในรูปแบบ OA เพื่อให้
สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ อันเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและนักวิชาการ
2. ช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายสาหรับการจัดทาเป็น OA ที่ผ่านการคัดกรอง
คุณภาพแล้ว
3. ประสงค์ให้เนื้อหาภายในชิ้นงานของผู้เขียนที่ถูกตีพิมพ์เป็นสิ่งที่จะทา
ให้ผู้เขียนได้รับความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่ใช่จากชื่อวารสารที่บทความนั้นตีพิมพ์
4. ส่งเสริมให้ใช้จานวนของเอกสารที่ถูกทาเป็น OA สาหรับการพิจารณา
ประเมินคุณค่าของสถาบันหรือหน่วยงานนั้น
2. แถลงการณ์ของห้องสมุดและสานักพิมพ์ ห้องสมุดและสานักพิมพ์จะเป็นส่วน
สาคัญในการส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ควรเปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี อธิบาย
ดังต่อไปนี้
2.1 แนวทางของห้องสมุด
2.1.1 พัฒนากลไกในการพัฒนาการทา OA และกระจายไปสู่ชุมชน
2.1.2 ให้การฝึกสอนรวมถึงอธิบายถึงประโยชน์ของการทา OA ให้ผู้ใช้
2.1.3 ทาการแนะแหล่งสารสนเทศที่จัดทา OA
2.2 แนวทางของสานักพิมพ์
2.2.1 เสนอทางเลือกในการจัดทาเป็น OA ให้แก่นักวิจัยที่นาผลงานมา
ตีพิมพ์ในวารสารที่สานักพิมพ์เป็นผู้จัดทา
2-A12
2.2.2 ประกาศถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการทาบทความในวารสารไป
เป็น OA
2.2.3 ร่วมมือกับสานักพิมพ์อื่นในการพัฒนาเครื่องมือที่จะอานวยการทา
ต้นฉบับในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสาหรับการจัดเก็บและง่ายต่อการสืบค้น
2.2.4 ให้การรับรองว่ารูปแบบการจัดทา OA ที่ผู้เขียนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย
จะขจัดปัญหาในการเข้าถึงเอกสารของนักวิจัยที่ขาดแคลนการเข้าถึงโดยเฉพาะในประเทศที่กาลัง
พัฒนา
3. แถลงการณ์ของนักวิทยาศาสตร์และกลุ่มนักวิจัย
งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีกระบวนการทางานที่เป็นอิสระ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เอง
มีความสนใจที่ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงมี
ข้อสรุปรวมกันที่ว่า
1. สนับสนุนในหลักการของการจัดทา OA
2. การจัดพิมพ์ถือเป็นพื้นฐานหลักของกระบวนการทาวิจัย ค่าใช้จ่ายของ
การตีพิมพ์จึงเป็นค่าใช้จ่ายหลักในการทาวิจัย
3. ชุมชนนักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องกันที่จะสนับสนุนการจัดทา OA ในทุก
งานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับให้แก่นักวิจัยรวมถึงบุคคลอื่นที่
ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย
4. ให้คามั่นที่จะสนับสนุนการทา OA ด้วยการตีพิมพ์ แก้ไขและเรียบเรียง
ผลงานของตนลงในวารสารที่จัดทา OA
5. ให้การสนับสนุนที่จะประเมินถึงคุณค่าของเนื้อหาในบทความมากกว่า
ชื่อของวารสารที่บทความได้ตีพิมพ์
6. เห็นพ้องกันว่าการศึกษาถือเป็นส่วนสาคัญที่จะทาให้การทา OA ประสบ
ความสาเร็จ โดยการอธิบายถึงความสาคัญและเหตุผลถึงการสนับสนุนให้มีการทา OA (Suber,
2003)
3. Berlin Declaration on Open Access to Knowledge in the Sciences and Humanities
เป็นแถลงการณ์ที่เกิดขึ้นจากการประชุมนานาชาติในกรุงเบอร์ลินในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.2003 โดย
Max Planck Society เป็นองค์กรที่แต่งตั้งขึ้นเพื่อหาคานิยามของคาว่า Open Access มีสาระสาคัญ
เป้ าหมายของการประชุมนี้คือการขยายสารสนเทศเข้าไปในสังคมและสามารถนาไปใช้ได้ทั้งที่เป็น
การเผยแพร่ข้อมูลแบบดั้งเดิมและวิธีใหม่โดยการทาเป็น OA จากการประชุมได้ข้อสรุปว่า OA จะ
เป็นแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เป็นที่ยอมรับในวงการ
2-A13
วิทยาศาสตร์ การที่จะจัดตั้ง OA ขึ้นจาเป็นต้องมีความเห็นพ้องกันว่าทุกๆ งานไม่ว่าจะเป็น ผลลัพธ์
จากงานวิจัย ข้อมูลดิบ การนาเสนอข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลต่างๆ ฯลฯ จะต้องรองรับเงื่อนไขสาคัญ
สองประการคือ
1. ผู้เขียน หรือผู้ถือสิทธิ์อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงผลงานนั้นได้อย่างอิสระ ทั้ง
การนาไปคัดลอก ผลิต เผยแพร่สู่สาธารณะ ในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงทาสาเนาเอกสารเพื่อการศึกษา
2. ทั้งผลงานฉบับเต็มและฉบับสาเนาที่ได้จากข้อแรกต้องถูกฝากไว้ในคลังข้อมูล
ออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บที่เป็นมาตรฐาน ได้รับการดูแลโดยสถาบันทางด้านวิชาการ
หน่วยงานของรัฐบาล หรือองค์กรที่เปิดให้มีการใช้ OA โดยไม่มีการจากัดการเผยแพร่ข้อมูล มีการ
ดาเนินงานอย่างเป็นระบบ และเก็บรักษางานในระยะยาว
จากจุดประสงค์ดังกล่าวทาให้องค์กรสนใจที่จะนาเสนอให้มีการจัดทา OA เพื่อ
สร้างประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงมีแนวทางโดย
- ส่งเสริมให้นักวิจัยนาผลงานของตนมาทาเป็น OA
- สนับสนุนให้ผู้ที่ถือผลงานอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่งเสริมให้มีการจัดทา
OA ด้วยการนาผลงานของตนไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต
- หาแนวทางที่จะผลิต OA ให้มีคุณภาพที่ดี
- สนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ พิจารณาการจัดทา OA
- ส่งเสริมให้มีการสนับสนุนด้านโครงสร้างของ OA โดยการพัฒนาระบบ
ซอฟต์แวร์เนื้อหา เมตาดาตา หรือการตีพิมพ์บทความเฉพาะด้านต่างๆ
- ให้มีเกิดกฎหมายที่ครอบคลุมการจัดทา OA เพื่อให้เกิดความสะดวกในการ
เข้าถึงและนาเอกสารออกไปใช้ได้มากขึ้น (Berlin Declaration, 2003)
แนวคิด Open อื่นๆ
นอกจากแนวคิดการเข้าถึงแบบเปิดแล้ว ยังมีแนวคิดอื่นที่ต้องการให้เกิดการเข้าถึงได้อย่าง
เสรีมากขึ้น ปัจจุบันมีแนวคิด Open อื่นๆ อีกเป็นจานวนมาก ตัวอย่างที่แนวคิดที่เปิดให้เป็นเสรี
ได้แก่ การเรียนรู้แบบเปิด (Open Education) เนื้อหาแบบเปิด (Open Content) และโปรแกรมรหัส
เปิด (Open source software - OSS) สามารถอธิบายได้ดังนี้
1. การเรียนรู้แบบเปิด (Open Education) เป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อเชิงการศึกษาใน
รูปแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพสูง โดยมีการจัดระเบียบในรูปแบบของหลักสูตรต่างๆ ซึ่งเปิดให้เข้าถึงได้
ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้แบบเปิดให้ประโยชน์ 3 อย่างคือ การเข้าถึงและ
2-A14
การกระจายของความรู้ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่ซึ่งการศึกษาระดับสูงยังไม่สามารถเข้าถึง ให้
การพัฒนาและการฝึกฝนแก่นักเรียนนักศึกษาในการทาการวิจัย และเพิ่มความยั่งยืนต่อความรู้ความ
สนใจในการศึกษาในระดับสูง โดยผู้ที่นาไปใช้สามารถนาไปทาซ้า เผยแพร่ แปล รวมถึงดัดแปลง
สาหรับการเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อเชิงพาณิชย์ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้ที่นาไปเผยแพร่ต่อต้องอ้างอิงถึง
เจ้าของผลงานเดิมและเผยแพร่ต่อในลักษณะเดียวกัน (Atkins, Brown, and Hammond, 2007)
2. เนื้อหาแบบเปิด (Open Content) คือแนวคิดที่เปิดหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากนั้นทุกคน
มีสิทธิที่จะเพิ่ม ปรับปรุง แก้ไข เนื้อหาในหัวข้อนั้นๆ รวมทั้งการนาไปคัดลอกหรือแบ่งปันข้อมูล
นั้น ภายใต้สัญญาอนุญาตที่กาหนดไว้(Wiley, 1998) ตัวอย่างแนวคิดเนื้อหาแบบเปิดที่เห็นได้ชัดคือ
Wikipedia เป็นสารานุกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถนาเอาข้อมูลที่มีไปใช้ได้ รวมถึงอนุญาตให้
แก้ไข ดัดแปลงเนื้อหาที่มีเพื่อให้มีเนื้อหามีความถูกต้องสมบูรณ์
3. โปรแกรมรหัสเปิด (Open Source Software - OSS) คือแนวคิดในการออกแบบ พัฒนา
และแจกจ่ายต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้อื่น
นาไปใช้พัฒนาต่อยอดต่อไป โดยที่ Open Source Initiative ได้ให้คาจากัดความที่ว่า Open source
นั้นไม่ได้หมายความแค่ว่าการเข้าถึงรหัสต้นฉบับ (Source Code) เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงสิทธิ์
ในการนากลับมาจัดสรรใหม่ การเผยแพร่รหัสต้นฉบับ การอนุญาตให้สามารถทาการแก้ไข
ดัดแปลงรวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยอาจใช้ในรูปแบบของเวอร์ชันต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาส
ให้ผู้อื่นนาโปรแกรมไปพัฒนาต่อยอดนั่นเอง (Open Source Initiative, n.d.)
สรุป
OA ถือเป็นแนวคิดที่เริ่มต้นในวงการนักวิจัยที่ต้องการส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้
ภายใต้แนวคิดการทาในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเผยแพร่และจัดเก็บอย่าง
ยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและสามารถนาไปความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อีก
ทั้งเป็นการเพิ่มแนวทางในการกระจายความรู้ได้มากกว่าการเผยแพร่ทางวารสารวิชาการ เป็น
ประโยชน์ต่อวงการต่างๆ ทั้งวงการศึกษา วิจัย และองค์กรธุรกิจต่างๆ เกิดการต่อยอดองค์ความรู้
เหล่านั้น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
2-A15
บรรณานุกรม
ชัยโย เตโชนิมิต. (ม.ป.ป.). หลักการพัฒนาโปรแกรมภาครัฐ. ค้นจาก http://gdi.nic.go.th/paper.html
ปัญญรักษ์งามศรีตระกูล. (2552). Open Access (OA) คืออะไร. ค้น จาก
http://share.psu.ac.th/blog/l-resource/12064
รติวัฒน์ ปารีศรี. (2550). แหล่งสารสนเทศวิชาการแบบเปิด (Open Access: OA). ค้น จาก
http://gotoknow.org/blog/elibrary/196147
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552ก). Open access scholarly sesources. ค้น
จาก
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1852&Itemid
=132
ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552ข). Timeline open access. ค้นจาก
http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=590&Itemid=
132
สมชาย แสงอานาจเดช. (2552). Free หรือ Open Access. ค้น จาก
http://gotoknow.org/blog/phankam/293010
Atkins, D. E., Brown, J. S., and Hammond, A. L. (2007). A review of the open educational
resources (OER) movement: achievements, challenges, and new opportunities. Retrieved
from Hewlett database: http://www.hewlett.org/uploads/files/Hewlett_OER_report.pdf
Bailey, C. W. (n.d.). Key open access concepts: retrieved November 27, 2010 from
http://www.digital-scholarship.org/oab/concepts.htm
Benefits of open access for research dissemination. (2010). Retrieved from Open Access
Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
Berlin declaration on open access to knowledge in the sciences and humanities. (2003). Retrieved
from http://oa.mpg.de/lang/en-uk/berlin-prozess/berliner-erklarung/
Budapest Open Access Initiative supported by the Open Society Institute’s Information. (2002).
Retrieved from http://www.soros.org/openaccess/read.shtml
2-A16
Budapest Open Access Initiative frequently asked questions. (2010). Retrieved from
http://www.earlham.edu/~peters/fos/boaifaq.htm#openaccess
Corrado, E. M. (2005). The importance of open access, open source, and open standards for
libraries. Retrieved from Issues in science & technology librarianship database:
http://www.library.ucsb.edu/istl/05-spring/article2.html
Funk, M. E. (2007). Open access – dreams and realities. Retrieved from IFLA database:
http://archive.ifla.org/IV/ifla73/papers/98-Funk-en.pdf
Informationsplattform Open Access: what does open access mean?. (n.d.). Retrieved from
http://open-access.net/de_en/general_information/what_does_open_access_mean/
Institutional advantages from open access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly
Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
Jeffery, K. G. (n.d.). Open access: an introduction. Retrieved from
http://www.ercim.eu/publication/Ercim_News/enw64/jeffery.html
Jinha, A. E. (2010). Article 50 million: an estimate of the number of scholarly articles in
existence. Learned Publishing, 23(3), 258-263. Association of Learned and Professional
Society Publishers. Retrieved from
http://www.stratongina.net/files/50millionArifJinhaFinal.pdf
Library support for open access journals. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly
Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
Murphy, J. (2009). New entry tries new publishing model. Retrieved from
http://www.researchinformation.info/features/feature.php?feature_id=197
Nowick, E., & Jenda, C. (2004). Libraries stuck in the middle: reactive vs. proactive responses to
the science journal crisis. Science and Technology Librarianship. Retrieved from Science
and Technology Librarianship database: http://www.library.ucsb.edu/istl/04-
winter/article4.html
Open Access. (n.d.). Retrieved from http://www.eprints.org/openaccess/
2-A17
Open Access Journal: business models. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly
Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
Open Access monographs: business issues. (2009). Retrieved from Open Access Scholarly
Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
Open Source Initiative. (n.d.). The open source definition: Retrieved from
http://www.opensource.org/docs/osd
Promoting open access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook
database: http://www.openoasis.org/
Ryan, J., Avelar, I., Fleissner, J., Lashmet, D. E., Miller, J. H., Pike, K. H., et al. (2002). The
future of scholarly publishing from the ad hoc committee on the future of scholarly
publishing. Profession 2002. Retrieved From MLA database:
http://www.mla.org/pdf/schlrlypblshng.pdf
SHERPA. (2006). Opening access to research. Retrieved from
http://www.sherpa.ac.uk/romeoinfo.html
Suber, P. (2004). A Primer on open access to science and scholarship. Retrieved from
http://www.earlham.edu/~peters/writing/atg.htm
Suber, P. (2003). Bethesda statement on open access publishing. Retrieved from
http://www.earlham.edu/~peters/fos/bethesda.htm
Suber, P. (2010). Open access overview. Retrieved from
http://www.earlham.edu/~peters/fos/overview.htm
Timeline open access. (n.d.). Retrieved from
http://www.saranugrom.net/index.php/Timeline_open_access
White, S., & Creaser, C. (2007). Trends in scholarly journal prices 2000-2006. Retrieved from
Loughborough University database:
http://www.lboro.ac.uk/departments/ls/lisu/downloads/op37.pdf
Why librarians should be concerned with open access. (2010). Retrieved from Open Access
Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
2-A18
Why Students support Open Access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information
Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
Wiley, D. (1998). Open Content. Retrieved from
http://web.archive.org/web/19990429221830/www.opencontent.org/home.shtml

More Related Content

Viewers also liked

Open Access Article by CMU Students
Open Access Article by CMU StudentsOpen Access Article by CMU Students
Open Access Article by CMU StudentsBoonlert Aroonpiboon
 
การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์”
การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์” การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์”
การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์” Surapon Boonlue
 
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...Stian Håklev
 
1 1 pedagogy (educ venue)
1 1 pedagogy (educ venue)1 1 pedagogy (educ venue)
1 1 pedagogy (educ venue)nelgiles
 
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Educationการประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for EducationSurapon Boonlue
 
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...Neil Sorensen
 
Lao Open Data Experiences
Lao Open Data ExperiencesLao Open Data Experiences
Lao Open Data ExperiencesNeil Sorensen
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาSurapon Boonlue
 
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...Terry Anderson
 
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทาการปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทาBoonlert Aroonpiboon
 
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges Neil Sorensen
 
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์Boonlert Aroonpiboon
 
Synectics Model
Synectics ModelSynectics Model
Synectics Modelstudentofb
 
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0Surapon Boonlue
 
Digital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : SlideDigital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : SlideBoonlert Aroonpiboon
 

Viewers also liked (20)

Open Access Article by CMU Students
Open Access Article by CMU StudentsOpen Access Article by CMU Students
Open Access Article by CMU Students
 
การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์”
การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์” การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์”
การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์เพื่อพัฒนา “มัลติมีเดียเชิงปฎิสัมพันธ์”
 
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
What can Open Access offer me as a teacher?: A guide to Open Access and to ed...
 
1 1 pedagogy (educ venue)
1 1 pedagogy (educ venue)1 1 pedagogy (educ venue)
1 1 pedagogy (educ venue)
 
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Educationการประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
การประยุกต์เทคโนโลยีอุบัติใหม่เพื่อการศึกษา Emerging Technology for Education
 
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
How the Land Tenure Project’s Participatory Mapping Manual Provides Land Open...
 
Lao Open Data Experiences
Lao Open Data ExperiencesLao Open Data Experiences
Lao Open Data Experiences
 
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา
 
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
Open Educational Resources and Open Access: Promise or Peril for Higher Educa...
 
Digital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of ThailandDigital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of Thailand
 
oss-freeware-isar
oss-freeware-isaross-freeware-isar
oss-freeware-isar
 
Greenstone for ISAR
Greenstone for ISARGreenstone for ISAR
Greenstone for ISAR
 
Greenstone
GreenstoneGreenstone
Greenstone
 
Digital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of ThailandDigital Economy Plan of Thailand
Digital Economy Plan of Thailand
 
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทาการปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
การปรับเว็บให้แสดงผลสีเทา
 
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
Open Access and Open Data in Vietnam Current Status and Challenges
 
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลทรัพยากรจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์
 
Synectics Model
Synectics ModelSynectics Model
Synectics Model
 
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0Smart Learning  มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
Smart Learning มิติใหม่ในยุคการศึกษา 4.0
 
Digital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : SlideDigital Economy Plan of Thailand : Slide
Digital Economy Plan of Thailand : Slide
 

More from Boonlert Aroonpiboon (20)

Excel quiz
Excel quizExcel quiz
Excel quiz
 
Scival for Research Performance
Scival for Research PerformanceScival for Research Performance
Scival for Research Performance
 
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-420190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
20190220 digital-archives
20190220 digital-archives20190220 digital-archives
20190220 digital-archives
 
OER KKU Library
OER KKU LibraryOER KKU Library
OER KKU Library
 
Museum digital-code
Museum digital-codeMuseum digital-code
Museum digital-code
 
OER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success StoryOER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success Story
 
LAM Code of conduct
LAM Code of conductLAM Code of conduct
LAM Code of conduct
 
RLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOCRLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOC
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
digital law for GLAM
digital law for GLAMdigital law for GLAM
digital law for GLAM
 
20180919 digital-collections
20180919 digital-collections20180919 digital-collections
20180919 digital-collections
 
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
 
20180828 digital-archives
20180828 digital-archives20180828 digital-archives
20180828 digital-archives
 
Local Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How toLocal Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How to
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
201403 etda-library
201403 etda-library201403 etda-library
201403 etda-library
 

Open Access Article by CMU Students # 3

  • 1. การเข้าถึงแบบเปิด (Open Access) เอกพล เก้าไพศาลกิจ การเข้าถึงแบบเปิด (Open Access หรือ OA) เป็นแนวคิดที่เริ่มต้นขึ้นในวงการนักวิจัยที่ ต้องการผลักดันให้ผู้ใช้ปลายทางสามารถเข้าถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาหรือการวิจัยได้อย่างอิสระ โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้เหล่านั้น ทาให้การเข้าถึง ผลงานเหล่านั้นทาได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้ปลายทาง อีกทั้งช่วยให้การกระจาย ความรู้สามารถไปได้กว้างไกลขึ้น ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงนาแนวคิดนี้มาใช้กับเอกสารในการจัดทา OA และเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารเปิดสาธารณะ” (OA Literature/ OA Publication) ปัจจัยในการทา OA การจัดทา OA เริ่มต้นขึ้นจากนักวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์ต้องการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จาก การทาวิจัยไปสู่ผู้อ่านให้ได้อย่างกว้างขวาง โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการสนับสนุนในการทา OAขึ้น ประกอบดังต่อไปนี้ 1. เป็นความปรารถนาของเหล่านักวิจัยและนักวิชาการที่ต้องการให้ความรู้ที่ตนได้ค้นพบ จากการศึกษาหรือการวิจัย ได้กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง อีกทั้งมีผลต่อความก้าวหน้าให้มี อาชีพการงานที่ดีขึ้น หรือชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงการวิชาการมากขึ้น ในอดีตนักวิจัยและ นักวิชาการทาวิจัยหรือเขียนบทความทางวิชาการจะนาบทความของตนให้สานักพิมพ์นาไปตีพิมพ์ ในวารสารวิชาการ ซึ่งเป็นวิธีการเผยแพร่องค์ความรู้ที่ง่ายที่สุด แต่สิทธิ์ในตัวบทความนั้น สานักพิมพ์จะเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์โดยผู้เขียนบทความต้องมอบหรือบริจาคผลงานของตนให้แก่ สานักพิมพ์เพื่อนาไปเผยแพร่ให้แก่ผู้อ่านต่อไป ซึ่งทาให้นักวิจัยเองมองว่าเป็นสิ่งที่ริดรอนในสิทธิที่ ตนพึงมีในผลงานของตน จึงทาให้มีความสนใจในการทา OA ที่ทาให้ผลงานของตนเผยแพร่ไปได้ มากกว่าที่จะตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการเชิงพาณิชย์เพียงแหล่งเดียว และงานวิจัยของตนทาได้รับ การสนับสนุนจากแหล่งทุนต่างๆ รวมทั้งแหล่งทุนจากรัฐซึ่งเป็นเงินภาษีที่ได้จากประชาชน นักวิจัย จึงเห็นว่าความรู้ที่ได้ควรกลับไปสู่สังคมมากกว่าที่จะเป็นของคนใดคนหนึ่ง และแบ่งปัน
  • 2. 2-A2 ประสบการณ์แก่เหล่านักวิชาการและนักวิจัยร่วมกัน หรือบุคคลอื่นๆ ที่สนใจเป็นสาธารณะ เพื่อต่อ ยอดสู่การพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น (Suber, 2004) 2. วารสารวิชาการมีราคาสูงขึ้นอย่างมาก ด้วยที่อดีตการนาเสนอความรู้เป็นการเผยแพร่ใน วารสารวิชาการเชิงพาณิชย์ รายได้ของสานักพิมพ์จึงมาจากผู้ที่ซื้อหรือบอกรับเป็นสมาชิกเพราะ ต้องการเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปราคาวารสารเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากตารางที่ 1 ที่วิเคราะห์ราคาวารสารในหมวดชีวการแพทย์(Biomedical) จากกลุ่มวารสารตัวอย่างในแต่ละ สานักพิมพ์ ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 พบว่ามีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ระหว่างร้อยละ 41.5 ถึง 104.4 (White & Creaser, 2007, p.19) ขณะที่ตารางที่ 2 ศึกษาในกลุ่มวารสารทางด้าน สังคมศาสตร์ในแต่ละสานักพิมพ์พบว่ามีการปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นระหว่างร้อยละ 47.4 ถึง 119.7 (White & Creaser, 2007, p.23) และจากการที่วารสารมีราคาที่สูงขึ้นจึงทาให้ผู้ใช้บางกลุ่มไม่มีกาลัง ซื้อที่เพียงพอ ทาให้ขาดโอกาสที่จะเข้าถึงบทความที่อยู่ในวารสารนั้น ขณะเดียวกันห้องสมุดเองก็ ได้รับผลกระทบจากการวารสารที่สูงขึ้น จากการศึกษาของ Association of Research Libraries ในปี ค.ศ. 1986 พบว่าเงินที่ใช้ในการนาวารสารเข้าห้องสมุดคิดเป็นร้อยละ 44 ของเงินทั้งหมด และได้ ปรับสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 72 ในปี 1998 (Ryan, et.al, 2002) จากภาระค่าใช้จ่ายค่าบอกรับ วารสารที่สูงขึ้นทาให้บางห้องสมุดจาเป็นต้องเลิกบอกรับวารสาร ทาให้ผู้ใช้ห้องสมุดหรือตัวผู้เขียน เองขาดโอกาสในการเข้าถึงบทความที่ต้องการได้เช่นกัน
  • 3. 2-A3 ตารางที่ 1 แสดงราคาวารสารในหมวดชีวการแพทย์(Biomedical) ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 (White & Creaser, 2007, p. 19) 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 %change 2000-06 No incl. Sage 182 217 220 290 339 359 372 104.4% 56 Blackwell 240 265 285 333 377 426 459 90.9% 274 Taylor & Francis 218 243 264 299 334 380 414 90.0% 202 Springer 253 268 292 321 372 435 463 83.2% 219 Nature 395 420 533 600 654 660 693 75.4% 29 Cambridge UP 115 124 151 164 162 170 198 72.2% 25 Nature excl. 350 385 442 523 561 561 589 68.3% 23 Elsevier 569 596 638 696 750 823 859 51.0% 388 Wiley 500 585 660 594 645 695 755 51.0% 42 Lippincott 195 243 274 272 254 270 394 50.2% 208 Oxford Journals 281 300 330 333 351 369 397 41.5% 54 ตารางที่ 2 แสดงราคาวารสารในหมวดสังคมศาสตร์ (Social Sciences) ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง 2006 (White & Creaser, 2007, p. 23) 2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 %change 2000-06 No incl. U. of Chicago 54 61 76 78 75 115 119 119.7% 16 Blackwell 127 145 167 193 219 242 269 107.1% 210 Sage 179 212 220 286 328 342 359 100.8% 162 Taylor & Francis 155 174 191 210 235 265 300 93.5% 373 Springer 147 163 180 185 210 221 243 65.5% 48 Oxford Journals 105 114 123 140 149 158 173 65.1% 48 Wiley 318 381 436 383 420 471 513 61.2% 39 Cambridge UP 79 86 95 99 100 111 122 54.5% 29 Lippincott 187 226 264 260 248 260 283 51.5% 17 Elsevier 314 337 360 394 415 436 464 47.4% 246
  • 4. 2-A4 3. พัฒนาการของเทคโนโลยี โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตที่เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูล ออกไปได้อย่างรวดเร็วและขณะที่การนาบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารมีกระบวนการ ตรวจสอบคุณภาพของบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิและการจัดทารูปเล่มใช้เวลาในแต่ละขั้นตอนนาน ก่อนจะตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งอาจทาให้ข้อเท็จจริงหรือความรู้ที่นักวิจัยค้นพบไม่มีความทันสมัย ทาให้ ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลไม่สามารถนาไปใช้ต่อยอดองค์ความรู้ได้รวดเร็ว ขณะที่ความต้องการของ เหล่านักวิจัยต้องการให้ความรู้ที่ได้จากการศึกษามีการเผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็วและอินเทอร์เน็ต นั้นเป็นแหล่งที่สามารถเผยแพร่ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จากัดสถานที่และเวลา ด้วยความสะดวกของ อินเทอร์เน็ตทาให้การเผยแพร่ข้อมูลทาได้ง่าย เช่น การทาเว็บไซต์ การเขียนข้อความหรือทา บทความส่วนตัวลงบนเว็บบล็อก (Web log หรือ Blog) ของตัวเอง จากส่วนนี้เองทาให้นักวิจัยให้ ความสนใจในการเผยแพร่ผลงานของตนเองโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ตัวอย่างของการเผยแพร่ใน ระยะแรกที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่ออยู่ในรูปของ Public Domain ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการจัดทา OA คือ โครงการกูเตนเบิร์ก (Project Gutenberg) โดย Michael Hart ในปี ค.ศ. 1971 มีวัตถุประสงค์ ในการแปรผลงานวรรณกรรมที่หมดอายุลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะ ปัจจุบันมีมากกว่า 33,000 เรื่องที่ สามารถถ่ายโอนหรือบันทึกผ่านอุปกรณ์ต่างๆ ได้เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือโดยไม่มี ค่าใช้จ่าย ทาให้เกิดแรงผลักดันขึ้นโดยเฉพาะในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 มาถึงต้นทศวรรษที่ 2000 เกิดแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการเผยแพร่ผลงานออกเป็นสาธารณะโดยผลิตเป็นดิจิทัลและ ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นที่มาของ OA ในเวลาต่อมา (Suber, 2010) 4. พัฒนาการของเทคโนโลยีแบบเปิด (Open Technology) ที่เป็นแนวคิดเบื้องต้นที่เล็งเห็น ประโยชน์อันมหาศาลจากการร่วมมือกันของกลุ่มคนในการแบ่งปันความรู้และทรัพยากรร่วมกัน (ชัยโย, ม.ป.ป.) จากแนวคิดเทคโนโลยีแบบเปิดจึงก่อให้เกิดแนวคิดแบบเปิดต่างๆ เช่น มาตรฐาน แบบเปิด (Open Standards) โปรแกรมรหัสเปิด (Open Source Software – OSS) เป็นต้น พัฒนาการ ของเทคโนโลยีแบบเปิดเป็นประโยชน์ต่อการจัดทา OA ได้หลายทาง เช่น แนวคิดของโปรแกรม รหัสเปิดในการเปิดเผยชุดรหัส (Source code) ของนักพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้ผู้ใช้สามารถนาไป ศึกษาเพื่อนาไปดัดแปลงหรือพัฒนาต่อยอดต่อไปได้โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กาหนดไว้ทาให้มีการ พัฒนาโปรแกรมไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งอานวยความสะดวกในการจัดทา OA โดย บุคคลที่สนใจสามารถจัดทาเอกสาร OA โดยเลือกใช้โปรแกรมรหัสเปิดเป็นโปรแกรมที่ใช้จัดทา OA ได้ เช่น การจัดทาคลังความรู้ (Repository) การทาฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เพื่อ รวบรวมเอกสารที่เป็นเอกสาร OA แล้วให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี ทั้งการประยุกต์ดัดแปลง ให้โปรแกรมให้มีขอบเขตการทางานตามความต้องการในการจัดทา OA และช่วยประหยัด งบประมาณโดยการใช้โปรแกรมรหัสเปิดแทนการซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์ในการจัดทาและจัดเก็บ
  • 5. 2-A5 OA อีกเทคโนโลยีแบบเปิ ดที่ส่งเสริมการทา OA คือมาตรฐานแบบเปิ ด ที่ใช้แนวคิด Interoperability คือให้การทางานร่วมกันได้แม้ไม่ได้ใช้โปรแกรมหรือระบบเดียวกัน ทาให้สามารถ เข้าถึงองค์ความรู้จากแหล่งต่างๆ ได้มากขึ้น เมื่อมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันแล้วก็ทาให้การทา OA มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น (Corrado, 2005) จากปัจจัยทั้งหมดจึงทาให้เหล่านักวิจัยเกิดแนวคิดที่ให้มีการจัดทา OAขึ้น โดยใช้ อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเผยแพร่ผลงานของตน และไม่มีค่าใช้จ่ายและข้อผูกมัดทางด้านลิขสิทธิ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงได้อย่างเสรี หลักการและแนวคิดในการทา OA OA มีแนวคิดที่เกิดขึ้นจากความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเผยแพร่ หลักการ เบื้องต้นของ OA จากการประชุมที่สาคัญ 3 แห่งคือ the Budapest Open Access Initiative ในปี 2002, the Bethesda Principles ในปี 2003 และ the Berlin Declaration on Open Access ในปี 2003 การประชุมแต่ละแห่งให้คาจากัดความของ OA ออกมาแตกต่างกันเล็กน้อย แต่มีหลักการพื้นฐานที่ ตรงกันคือ “ผู้ใช้เข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ตทั้งการค้นหาบทความและนาไปอ่าน ถ่ายโอน ทาสาเนา แจกจ่ายต่อ โดยปราศจากเงื่อนไขด้านกฎหมายและค่าใช้จ่าย ผู้เขียนบทความสามารถควบคุมสิทธิ์ ในตัวบทความนั้นเมื่อถูกนาไปอ้างถึง และบทความฉบับเต็มต้องถูกนาไปจัดเก็บในคลังความรู้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้” (Funk, 2007) ในการจัดทาเอกสาร OA ในระยะแรกจะเน้นเกี่ยวกับบทความวิจัยเป็นส่วนใหญ่ จึงมีคาที่ ใช้เรียกบทความหรือเอกสารที่ถูกนามาจัดทาเป็น OA เนื่องจากการทาเอกสาร OA นั้นสามารถ นาเสนอได้ในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นทางเลือกสาหรับนักวิชาการและนักวิจัย ประกอบด้วย - Preprint หมายถึงบทความที่เขียนขึ้นก่อนได้รับการตรวจสอบคุณภาพ (Pre-peer- reviewed) หรือเป็นบทความต้นฉบับที่เขียนขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อส่งให้สานักพิมพ์นาให้ผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาด้านคุณภาพก่อนนาไปตีพิมพ์ และผู้เขียนสามารถนาไปแบ่งปันให้แก่นักวิจัยคนอื่นผ่าน ช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น ส่งทางแฟกซ์หรืออีเมล์ก่อนส่งตีพิมพ์เป็นต้น - Postprint หมายถึงบทความที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Post-peer- reviewed) และผ่านการแก้ไขเรียบเรียงใหม่จากผู้เขียนตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเตรียม นาไปตีพิมพ์ลงในวารสาร - E-print หมายถึงบทความที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ใช้เรียกเอกสารทั้งที่เป็น Preprint และ Postprint
  • 6. 2-A6 - Grey Literature หมายถึงเอกสารอื่นที่ไม่ใช่บทความวารสาร เป็นเอกสารที่ถูกผลิตขึ้น จากรัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรธุรกิจหรืออุตสาหกรรม ทั้งที่เป็ นสิ่งพิมพ์และเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมดูแลของสานักพิมพ์เชิงพาณิชย์ในอดีตครอบคลุมเอกสาร ประเภทรายงานเชิงวิชาการ วิทยานิพนธ์ จดหมายเวียน แผ่นประกาศที่ไม่ได้ถูกจัดระเบียบหรือ ไม่ได้เผยแพร่สู่สาธารณะ มักการใช้เพื่อเผยแพร่ข่าวสารภายในองค์กรเป็นหลักหรือสาหรับใช้ในที่ จากัด ต่างกับ Preprint หรือ Postprint ที่ทาขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลออกสู่สาธารณะ ด้วยแนวคิดในการเผยแพร่ OA ที่หลากหลาย BOAI (2002) จึงเสนอให้มีการจัดทา OA ขึ้นมา 2 ประเภทเพื่อให้เปิดเป็นสาธารณะให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ประกอบด้วย 1. Self-archiving หรือที่เรียกว่า “Green OA” เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการนาบทความไป ตีพิมพ์ในวารสารซึ่งมีหลายขั้นตอนและใช้เวลานานก่อนได้รับการตีพิมพ์ Self-archiving เพิ่ม ทางเลือกให้ผู้เขียนสามารถนาบทความของตนไปเก็บไว้ในคลังความรู้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้อื่น สามารถดาวน์โหลดเอกสารนั้นๆ ได้ โดยผ่านเงื่อนไขข้อตกลงกับสานักพิมพ์ที่ให้อนุญาตให้ เผยแพร่เอกสารประเภทใดลงไปบนอินเทอร์เน็ต Self-archiving มีลักษณะการเก็บทั้งการจัดเก็บบน เว็บไซต์ส่วนตัวของผู้เขียนเอง หรือมีองค์กรต้นสังกัดของผู้เขียนช่วยดูแลในการจัดเก็บและควบคุม เอกสารในคลังความรู้ขององค์กร เอกสารที่นามาจัดเก็บแบบ Self-archiving เป็นได้ทั้ง Preprint และ Postprint แต่จะไม่มีการประเมินคุณภาพของเอกสารเพื่อนามาจัดเก็บ 2. Open Access Journal (OAJ) หรือที่เรียกว่า “Gold OA” เป็น OA ที่สานักพิมพ์จะเป็น ผู้นาบทความที่ผู้เขียนได้ส่งมาไปจัดทาเป็น OA โดยที่เจ้าของบทความหรือองค์กรต้นสังกัดเป็นผู้ จ่ายค่าจัดทา OA ให้แก่สานักพิมพ์ ซึ่งเอกสารที่ทาเป็น OA รวมทั้งบทความที่ตีพิมพ์จะถูกนาไป จัดเก็บในคลังความรู้บนอินเทอร์เน็ตของสานักพิมพ์หรือแหล่งที่กาหนดไว้เพื่อเผยแพร่พร้อมกัน ผู้เขียนเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดทาทั้งหมด ประเด็นที่สาคัญของการจัดทาแบบ Open Access Journal คือบทความเหล่านั้นจะมีผู้ทรงคุณวุฒิทาการประเมินคุณภาพเพื่อให้เนื้อหาใน บทความมีคุณภาพก่อนนาไปเผยแพร่ต่อไป เพราะบนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลจานวนมหาศาลที่ยัง ไม่ได้ถูกคัดกรอง ข้อมูลที่ได้อาจไม่มีคุณภาพหรือไม่สามารถนาไปใช้ได้จริง ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึง มีความต้องการให้เอกสารที่ทาเป็น OA มีการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหาเหมือนกับบทความที่ ตีพิมพ์ในวารสารรวมถึงต้องเปิดเป็นสาธารณะเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้
  • 7. 2-A7 ประโยชน์ของการจัดทา OA การจัดทา OA นั้นมีให้ผลกระทบโดยตรงต่อเหล่านักวิจัยกับสานักพิมพ์ รวมไปถึงบรรดา ห้องสมุดต่างๆ เนื่องจากทางออกในการเผยแพร่ข้อมูลให้กระจายไปได้กว้างไกลขึ้น ซึ่งในที่นี้จะ อธิบายถึงประโยชน์ของการจัดทา OA ที่มีต่อวงการต่างๆ ดังต่อไปนี้ 1. ประโยชน์ต่อวงการศึกษา วงการศึกษาได้รับประโยชน์จากการทา OA อย่างมาก ซึ่ง ห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งรวมความรู้สาหรับการศึกษาได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะวิกฤตราคา วารสาร (Serial crisis) ที่การบอกรับการเป็นสมาชิกของวารสารทางด้านวิชาการมีราคาที่สูงขึ้น อย่างมาก แม้ว่าราคาค่าบอกรับเป็นสมาชิกจะเริ่มคงที่แต่ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ ห้องสมุดจาเป็นต้องควบคุมค่าใช้จ่ายภายในห้องสมุดเองซึ่งอาจนาไปสู่การยกเลิกการบอกรับเป็น สมาชิก โดยเฉพาะวารสารในหมวดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์จะมีราคาที่สูงมากทาให้ เป็นปัญหาในการจัดสรรงบประมาณ ด้วยเหตุผลข้างต้นเองทาให้ห้องสมุดต้องมีการปรับตัว เพื่อที่จะสามารถให้บริการผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง จึงทาให้เกิดความร่วมมือต่างๆ ขึ้น เช่น ภาคีห้องสมุด (Library consortia) บริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นต้น เพื่อให้มีอานาจในการเจรจาต่อรองกับ สานักพิมพ์ต่างๆ ได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามห้องสมุดเองยังคงต้องการให้เอกสารที่ให้บริการใน ห้องสมุดมีความน่าเชื่อถือและใช้อ้างถึงได้ การจัดทา OA จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่จะเป็นศูนย์กลาง ของการจัดเก็บข้อมูลด้วยการทาคลังความรู้ (Repository) การแนะนาแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงได้เสรี หรือการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักวิชาการหรือนักวิจัยในการผลิต Open Access Journal การสนับสนุนให้มีการทา OA ในห้องสมุดจะช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องราคาของวารสารที่มีราคาสูง การขยาย OA ไปในวงกว้างจะทาให้ห้องสมุดสามารถกระจายการเข้าถึงตัวเอกสารได้ทั่วถึงขึ้นและ ช่วยให้ห้องสมุดสามารถดูแลการบริหารการเงินสาหรับการจัดหาวารสารสาหรับให้บริการใน ห้องสมุดได้ง่ายขึ้นโดยที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียสิ่งพิมพ์บางฉบับที่มีความจาเป็นของ ห้องสมุดออกไปได้ อีกทั้งยังส่งผลต่อการจัดอันดับจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก ที่มีการประเมิน คุณภาพของทรัพยากรสารสนเทศที่มีบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เรียกว่า Webometrics ซึ่งการทา OA เป็นการเพิ่มโอกาสที่ดีที่จะทาให้มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับใน Webometrics ที่สูงขึ้นอีก ด้วย (OASIS, 2009) นักเรียน/นักศึกษาก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่มีความต้องการใช้ผลงานวิชาการเช่นเดียวกันสาหรับ การนาไปใช้ในการค้นคว้าหรือทาการวิจัยของตนเอง และเช่นเดียวกันในบางครั้งนั้นนักศึกษาก็ขาด โอกาสที่จะเข้าถึงงานวิชาการบางชิ้นเนื่องด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่ได้เป็นสมาชิกของวารสารนั้นๆ ทาให้เข้าถึงเอกสารฉบับเต็มไม่ได้ หรือถึงแม้จะเข้าได้ในบางฉบับแต่สถาบันที่นักศึกษาสังกัดอยู่ก็
  • 8. 2-A8 ไม่สามารถที่จะจัดสรรมาให้บริการได้ทุกคนเนื่องด้วยงบประมาณที่มีจากัด ทั้งที่บทความใน วารสารวิชาการมีเป็นจานวนมาก จากการศึกษาของ Jinha (2010) พบว่ามีวารสารที่มีการประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 26,000 ชื่อและบทความวิชาการ/วิจัยกว่า 50 ล้านบทความที่ถูกตีพิมพ์ซึ่ง เป็นแหล่งข้อมูลมหาศาลที่นักเรียนหรือนักศึกษาสามารถนาไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้จากปัญหา ดังกล่าว OA จึงเป็นทางเลือกที่จะเปิดโอกาสนักเรียน/นักศึกษา มีโอกาสเข้าถึงเอกสารหรือบทความ ได้มากขึ้น ทาให้การทางานต่างๆ ทาได้ง่ายขึ้นและมีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งประโยชน์ของ OA ที่มีต่อ นักเรียน/นักศึกษา ทาให้การเข้าถึงเอกสารบทความต่างๆ ได้มากขึ้นทาให้การค้นคว้าสาหรับการ ทางานหรือการศึกษาวิจัยต่างๆ ทาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมไปถึงการเข้าถึง เอกสารเหล่านั้นจากภายนอกสถาบันด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งทาให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่มี ข้อจากัดด้านสถานที่ (SPARC, 2008) 2. ประโยชน์ต่อวงการวิจัย การทา OA จะเป็นประโยชน์วงการวิจัยเพราะผลงานที่ถูกทา เป็น OA จะเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ผู้คนสามารถเข้าถึงและนาไปใช้ได้ง่ายขึ้น ทาให้มีการอ่านและนาไป อ้างถึงหรือพัฒนาต่อยอดในอนาคตที่จะทาให้งานวิจัยหรืองานวิชาการเหล่านั้นมีคุณค่าและเป็นที่ ยอมรับในด้านวิชาการของผู้เขียน (SPARC, 2008) ทาให้เกิดการขับเคลื่อนในการสร้างผลงานดีๆ อย่างต่อเนื่อง ด้วยพัฒนาการทางด้านทางด้านอินเทอร์เน็ต ทาให้คนที่สนใจในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ งานที่มีการทาการวิจัยหรือค้นคว้าไว้อยู่แล้ว (ที่ถูกทาเป็น OA แล้ว) สามารถเข้าถึงตัวเอกสาร เหล่านั้นได้โดยผ่านโปรแกรมค้นหา (Search engine) เช่น Google หรือคลังจัดเก็บเอกสาร (Repository) ทั้งที่เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือเป็นของหน่วยงาน/องค์กรที่เป็นต้นสังกัดของนักวิจัย นั้นๆ ซึ่งสร้างความสะดวกแก่ผู้ใช้ได้ง่ายกว่าการสืบค้นบทความที่จัดทาเป็นฐานข้อมูลวารสารเชิง พาณิชย์ที่ห้องสมุดบอกรับเป็นสมาชิก (OASIS, 2010) นอกจากนี้แล้วการทาโครงการวิจัยแต่ละครั้งมีต้นทุนในการทาที่ค่อนข้างสูงและใช้ ระยะเวลาในการจัดทาเป็นเวลานาน ด้วยเหตุนี้เหล่านักวิจัยเองต้องการให้ความรู้ที่ได้จากการ ศึกษาวิจัยถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็วและทั่วถึง และในอดีตเองความร่วมมือระหว่างเหล่า นักวิจัยที่มีอยู่ทุกมุมโลกเองทาได้ยากเพราะปัญหาด้านการสื่อสารและข้อจากัดในการเข้าถึงงานวิจัย เหล่านั้น การที่นักวิจัยทาผลงานการศึกษาของตนให้เป็น OA จะส่งเสริมให้มีการแบ่งปันข้อมูลได้ ง่ายและกว้างไกลมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เหล่านักวิจัยหรือนักวิชาการที่ศึกษางานในด้านเดียวกันสามารถ เข้าถึงเอกสารได้ง่ายมากขึ้น ช่วยให้การศึกษางานด้านนั้นๆ มีความคืบหน้าได้รวดเร็วขึ้น (OASIS, 2010)
  • 9. 2-A9 นอกจากที่นักวิจัย/นักวิชาการจะได้รับประโยชน์จากการจัดทา OA แล้ว สถาบันต้นสังกัด เองยังได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกันมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นแหล่งที่สาคัญที่มีการวิจัยและ เผยแพร่องค์ความรู้แห่งหนึ่ง การจัดทา OA ทาให้มีการเข้าถึงผ่านเว็บไซต์ซึ่งจะช่วยสร้างผลกระทบ ต่องานวิจัยทั้งในแง่การเข้าถึงและการอ้างถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ถูกจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบทาให้ง่ายต่อ การสืบค้นและเผยแพร่ การประเมินคุณภาพของงานวิจัยและบุคลากรทาได้สะดวกขึ้นและช่วยให้ การจัดการดูแลงานวิจัยต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นช่องทางของสถาบันทางหนึ่งในการ เผยแพร่งานวิจัยและพัฒนาคุณภาพของสถาบันได้เป็นอย่างดี (OASIS, 2009) 3. ประโยชน์ต่อองค์กรธุรกิจ องค์กรธุรกิจก็ได้รับประโยชน์จากการทา OA เช่นกัน เริ่มต้นจากการที่สานักพิมพ์เชิงพาณิชย์เองปรับตัวเองจากการตีพิมพ์วารสารวิชาการเชิงพาณิชย์ เพียงอย่างเดียว มาเป็นการรับทา OA ในรูปแบบ Open Access Journal มากขึ้น ทาให้สานักพิมพ์เอง สามารถเสนอทางเลือกให้เลือกรูปแบบในการจัดพิมพ์ให้แก่ผู้เขียน สานักพิมพ์ยังสามารถประหยัด ค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ เช่น การจ้างผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบคุณภาพของเนื้อหา ค่าจัดพิมพ์ ฯลฯ เพราะเป็นส่วนที่ผู้เขียนเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการทาเอกสาร OA นอกจากนี้ยังเป็นการ ส่งเสริมการทาประโยชน์กลับสู่สังคมได้อีกทางหนึ่งของหน่วยงาน/องค์กรธุรกิจต่างๆ ภายใต้ แนวคิดเดียวกับนักวิจัย/นักวิชาการที่ต้องการคืนความรู้กลับสู่สังคมเพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป (OASIS, 2010) รวมถึงมีผลประโยชน์ต่อโอกาสที่จะลดความเสี่ยงในการผลิตสินค้าเกินความ ต้องการได้เช่นกัน จากกรณีศึกษาสานักพิมพ์ Bloomsbury ที่อนุญาตให้งานเขียนของสานักพิมพ์ให้ สามารถเข้าถึงบนอินเทอร์เน็ต ภายใต้สัญญาอนุญาต Creative Commons และจัดพิมพ์ในรูปแบบ Publish-on-demand (POD) หรือตีพิมพ์ตามคาสั่งซื้อ ซึ่งพบว่าสามารถขยายฐานลูกค้าได้กว้างขึ้น เนื่องจากมีการเข้าถึงได้ง่ายขึ้นผ่านอินเทอร์เน็ต ทาให้ผู้ที่สนใจในตัวเล่มสามารถสั่งซื้อได้ใน ภายหลัง (Murphy, 2009) แถลงการณ์เกี่ยวกับ OA เมื่อเกิดแนวคิด OA เกิดขึ้นจึงมีการประชุมเพื่อหาความหมายและแนวทางในการจัดทา OA ขึ้น ในแถลงการณ์จะอธิบายแนวคิดและความหมายต่างๆ ของคาว่า Open Access เพื่อที่จะส่งเสริม ให้เกิดการจัดทา OA ขึ้นในอนาคต คาแถลงการณ์เกี่ยวกับ OA ที่เป็นที่ยอมรับกันในวงกว้าง ประกอบไปด้วย Berlin Declaration on Open Access to Knowledge in the Sciences and Humanities, Bethesda Statement on Open Access Publishing, Budapest Open Access Initiative แต่ ละแห่งได้มีประเด็นและสาระสาคัญดังนี้
  • 10. 2-A10 1. Budapest Open Access Initiative เป็นแถลงการณ์จากการประชุมที่จัดขึ้นในเมือง Budapest ประเทศฮังการี ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2002 มีสาระสาคัญจากการพบว่าการนาเทคโนโลยี ใหม่ประกอบกับการเผยแพร่องค์ความรู้แบบเดิมสามารถสร้างการนาเสนอองค์ความรู้แบบใหม่ ซึ่ง ในอดีตนั้นนักวิทยาศาสตร์เองต้องการนาผลการวิจัยไปเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ใหม่โดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย การเกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นช่วยให้สามารถเผยแพร่บทความที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพได้ ลดการปิดกั้นการเข้าถึง ช่วยต่อยอดการทาวิจัย เพิ่มพูนความรู้ และแบ่งปันความรู้ให้กระจายไปสู่ผู้ ขาดแคลนเพื่อเสริมสร้างให้มีความรู้มากขึ้น จากเหตุผลต่างๆ ทาให้การเข้าถึงได้อย่างอิสระผ่านเครือข่าย ซึ่งเรียกว่า OA ถูกจากัดใน วงการวารสารวิชาการมาอย่างยาวนาน และจากการค้นพบว่า OA ช่วยให้ผู้อ่านสามารถสืบค้น ความรู้ที่ต้องการรวมถึงผลงานที่เกี่ยวข้องกัน รวมถึงช่วยให้งานของผู้เขียนมีการเผยแพร่ไปไกลขึ้น และมีผลต่อ Impact factor ในวงการวิชาการได้ดีขึ้น และด้วยความต้องการที่จะรักษาผลประโยชน์ เหล่านั้น จึงได้มีการเรียกร้องให้สถาบันหรือบุคคลที่สนใจที่จะส่งเสริมให้การเข้าถึงงานเขียนได้ อย่างอิสระ ขจัดอุปสรรคต่างๆ โดยเฉพาะอุปสรรคทางด้านราคา ยิ่งมีการสนับสนุนมากขึ้นก็จะ ได้รับผลประโยชน์จาก OA มากขึ้นเช่นกัน ด้วยความต้องการให้งานเขียนต่างๆ สามารถเข้าถึงได้อิสระ เหตุผลหลักของการทา OA คือ การให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบทความที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว และสามารถแสดงข้อคิดเห็น เพื่อให้บทความมีคุณภาพมากขึ้น ด้วย OA นี้หมายถึงการเข้าถึงได้อิสระ อนุญาตให้ผู้ใช้นาไปใช้ได้ อย่างเสรี โดยมีข้อกาหนดทางลิขสิทธิ์ที่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เขียนเมื่อนาไปอ้างอิง นอกจากนี้พบยังทาให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและขยายการเผยแพร่องค์ความรู้ไปในวงกว้างในคราว เดียวกัน จึงได้เสนอรูปแบบการทา OA เป็น 2 ประเภท คือ Self-Archiving และ Open-access Journals โดยบทความเหล่านั้นไม่มีข้อจากัดในการเข้าถึง ใช้วิธีการต่างๆ ที่จะทาให้ไม่มีการเรียก เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้ใช้ โดยใช้การสนับสนุนทางการเงินจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือ องค์กรผู้ให้ทุนสนับสนุนการทาวิจัย มหาวิทยาลัยหรือองค์กรต้นสังกัดของนักวิจัยนั้น (“Budapest Open Access,” 2002) 2. Bethesda Statement on Open Access Publishing เป็นแถลงการณ์จากการประชุมที่ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2003 ที่สถาบัน Howard Huges Medical ในรัฐ Maryland ประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยมีจุดประสงค์เพื่ออภิปรายถึงงานวิจัยทางด้านชีวการแพทย์ (Biomedical) เพื่อหา หนทางที่จะทาให้ OA เป็นแนวทางหลักสาหรับงานเขียนทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ทุกกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น องค์กรผู้สนับสนุนการทาวิจัย นักวิจัย สานักพิมพ์ และผู้ใช้ที่
  • 11. 2-A11 จะช่วยสนับสนุนให้มีการจัดทา OA และให้นิยามของการจัดทา OA ว่า “ผู้เขียนและผู้ถือลิขสิทธิ์ อนุญาตให้ผู้เข้าถึงผลงานได้อย่างเสรี อีกทั้งผลงานฉบับสมบูรณ์จะต้องทาให้อยู่ในรูปแบบเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานและจัดเก็บไว้ในคลังความรู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันหรือ หน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการเปิดให้เป็น OA อย่างน้อย 1 แห่ง โดยไม่จากัดสิทธิ์ในการเข้าถึง รวมถึง เก็บรักษาผลงานในระยะยาว” (Suber, 2003) แถลงการณ์ฉบับเดียวกันนี้ยังอธิบายประโยชน์และแนวทางที่หน่วยงานที่สนับสนุนในการ ทาวิจัย ห้องสมุดและสานักพิมพ์รวมถึงนักวิจัยในวงการวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้มีการจัดทา OA ได้อธิบายดังนี้ 1. แถลงการณ์ของสถาบันหรือหน่วยงานผู้ให้ทุนการทาวิจัย จากการประชุมมี แนวทางร่วมกันว่าประโยชน์ของการจัดทา OA จาเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากสถาบันหรือ หน่วยงานผู้ให้ทุนในการทาวิจัยโดยการ 1. ส่งเสริมให้ผลงานที่มีในหน่วยงานถูกจัดทาในรูปแบบ OA เพื่อให้ สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ อันเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยและนักวิชาการ 2. ช่วยเหลือในค่าใช้จ่ายสาหรับการจัดทาเป็น OA ที่ผ่านการคัดกรอง คุณภาพแล้ว 3. ประสงค์ให้เนื้อหาภายในชิ้นงานของผู้เขียนที่ถูกตีพิมพ์เป็นสิ่งที่จะทา ให้ผู้เขียนได้รับความก้าวหน้าในอาชีพ ไม่ใช่จากชื่อวารสารที่บทความนั้นตีพิมพ์ 4. ส่งเสริมให้ใช้จานวนของเอกสารที่ถูกทาเป็น OA สาหรับการพิจารณา ประเมินคุณค่าของสถาบันหรือหน่วยงานนั้น 2. แถลงการณ์ของห้องสมุดและสานักพิมพ์ ห้องสมุดและสานักพิมพ์จะเป็นส่วน สาคัญในการส่งเสริมการเผยแพร่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ควรเปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี อธิบาย ดังต่อไปนี้ 2.1 แนวทางของห้องสมุด 2.1.1 พัฒนากลไกในการพัฒนาการทา OA และกระจายไปสู่ชุมชน 2.1.2 ให้การฝึกสอนรวมถึงอธิบายถึงประโยชน์ของการทา OA ให้ผู้ใช้ 2.1.3 ทาการแนะแหล่งสารสนเทศที่จัดทา OA 2.2 แนวทางของสานักพิมพ์ 2.2.1 เสนอทางเลือกในการจัดทาเป็น OA ให้แก่นักวิจัยที่นาผลงานมา ตีพิมพ์ในวารสารที่สานักพิมพ์เป็นผู้จัดทา
  • 12. 2-A12 2.2.2 ประกาศถึงขั้นตอนและระยะเวลาในการทาบทความในวารสารไป เป็น OA 2.2.3 ร่วมมือกับสานักพิมพ์อื่นในการพัฒนาเครื่องมือที่จะอานวยการทา ต้นฉบับในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมาตรฐานสาหรับการจัดเก็บและง่ายต่อการสืบค้น 2.2.4 ให้การรับรองว่ารูปแบบการจัดทา OA ที่ผู้เขียนเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย จะขจัดปัญหาในการเข้าถึงเอกสารของนักวิจัยที่ขาดแคลนการเข้าถึงโดยเฉพาะในประเทศที่กาลัง พัฒนา 3. แถลงการณ์ของนักวิทยาศาสตร์และกลุ่มนักวิจัย งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีกระบวนการทางานที่เป็นอิสระ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เอง มีความสนใจที่ผลลัพธ์ของงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงมี ข้อสรุปรวมกันที่ว่า 1. สนับสนุนในหลักการของการจัดทา OA 2. การจัดพิมพ์ถือเป็นพื้นฐานหลักของกระบวนการทาวิจัย ค่าใช้จ่ายของ การตีพิมพ์จึงเป็นค่าใช้จ่ายหลักในการทาวิจัย 3. ชุมชนนักวิทยาศาสตร์เห็นพ้องกันที่จะสนับสนุนการจัดทา OA ในทุก งานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับให้แก่นักวิจัยรวมถึงบุคคลอื่นที่ ได้รับประโยชน์จากงานวิจัย 4. ให้คามั่นที่จะสนับสนุนการทา OA ด้วยการตีพิมพ์ แก้ไขและเรียบเรียง ผลงานของตนลงในวารสารที่จัดทา OA 5. ให้การสนับสนุนที่จะประเมินถึงคุณค่าของเนื้อหาในบทความมากกว่า ชื่อของวารสารที่บทความได้ตีพิมพ์ 6. เห็นพ้องกันว่าการศึกษาถือเป็นส่วนสาคัญที่จะทาให้การทา OA ประสบ ความสาเร็จ โดยการอธิบายถึงความสาคัญและเหตุผลถึงการสนับสนุนให้มีการทา OA (Suber, 2003) 3. Berlin Declaration on Open Access to Knowledge in the Sciences and Humanities เป็นแถลงการณ์ที่เกิดขึ้นจากการประชุมนานาชาติในกรุงเบอร์ลินในวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.2003 โดย Max Planck Society เป็นองค์กรที่แต่งตั้งขึ้นเพื่อหาคานิยามของคาว่า Open Access มีสาระสาคัญ เป้ าหมายของการประชุมนี้คือการขยายสารสนเทศเข้าไปในสังคมและสามารถนาไปใช้ได้ทั้งที่เป็น การเผยแพร่ข้อมูลแบบดั้งเดิมและวิธีใหม่โดยการทาเป็น OA จากการประชุมได้ข้อสรุปว่า OA จะ เป็นแหล่งข้อมูลที่ครอบคลุมความรู้และมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เป็นที่ยอมรับในวงการ
  • 13. 2-A13 วิทยาศาสตร์ การที่จะจัดตั้ง OA ขึ้นจาเป็นต้องมีความเห็นพ้องกันว่าทุกๆ งานไม่ว่าจะเป็น ผลลัพธ์ จากงานวิจัย ข้อมูลดิบ การนาเสนอข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลต่างๆ ฯลฯ จะต้องรองรับเงื่อนไขสาคัญ สองประการคือ 1. ผู้เขียน หรือผู้ถือสิทธิ์อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงผลงานนั้นได้อย่างอิสระ ทั้ง การนาไปคัดลอก ผลิต เผยแพร่สู่สาธารณะ ในรูปแบบดิจิทัล รวมถึงทาสาเนาเอกสารเพื่อการศึกษา 2. ทั้งผลงานฉบับเต็มและฉบับสาเนาที่ได้จากข้อแรกต้องถูกฝากไว้ในคลังข้อมูล ออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยีการจัดเก็บที่เป็นมาตรฐาน ได้รับการดูแลโดยสถาบันทางด้านวิชาการ หน่วยงานของรัฐบาล หรือองค์กรที่เปิดให้มีการใช้ OA โดยไม่มีการจากัดการเผยแพร่ข้อมูล มีการ ดาเนินงานอย่างเป็นระบบ และเก็บรักษางานในระยะยาว จากจุดประสงค์ดังกล่าวทาให้องค์กรสนใจที่จะนาเสนอให้มีการจัดทา OA เพื่อ สร้างประโยชน์แก่วงการวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจึงมีแนวทางโดย - ส่งเสริมให้นักวิจัยนาผลงานของตนมาทาเป็น OA - สนับสนุนให้ผู้ที่ถือผลงานอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมส่งเสริมให้มีการจัดทา OA ด้วยการนาผลงานของตนไปเผยแพร่ในอินเทอร์เน็ต - หาแนวทางที่จะผลิต OA ให้มีคุณภาพที่ดี - สนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ พิจารณาการจัดทา OA - ส่งเสริมให้มีการสนับสนุนด้านโครงสร้างของ OA โดยการพัฒนาระบบ ซอฟต์แวร์เนื้อหา เมตาดาตา หรือการตีพิมพ์บทความเฉพาะด้านต่างๆ - ให้มีเกิดกฎหมายที่ครอบคลุมการจัดทา OA เพื่อให้เกิดความสะดวกในการ เข้าถึงและนาเอกสารออกไปใช้ได้มากขึ้น (Berlin Declaration, 2003) แนวคิด Open อื่นๆ นอกจากแนวคิดการเข้าถึงแบบเปิดแล้ว ยังมีแนวคิดอื่นที่ต้องการให้เกิดการเข้าถึงได้อย่าง เสรีมากขึ้น ปัจจุบันมีแนวคิด Open อื่นๆ อีกเป็นจานวนมาก ตัวอย่างที่แนวคิดที่เปิดให้เป็นเสรี ได้แก่ การเรียนรู้แบบเปิด (Open Education) เนื้อหาแบบเปิด (Open Content) และโปรแกรมรหัส เปิด (Open source software - OSS) สามารถอธิบายได้ดังนี้ 1. การเรียนรู้แบบเปิด (Open Education) เป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อเชิงการศึกษาใน รูปแบบดิจิทัลที่มีคุณภาพสูง โดยมีการจัดระเบียบในรูปแบบของหลักสูตรต่างๆ ซึ่งเปิดให้เข้าถึงได้ ทุกคน ทุกที่ ทุกเวลาผ่านอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้แบบเปิดให้ประโยชน์ 3 อย่างคือ การเข้าถึงและ
  • 14. 2-A14 การกระจายของความรู้ไปสู่ภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่ซึ่งการศึกษาระดับสูงยังไม่สามารถเข้าถึง ให้ การพัฒนาและการฝึกฝนแก่นักเรียนนักศึกษาในการทาการวิจัย และเพิ่มความยั่งยืนต่อความรู้ความ สนใจในการศึกษาในระดับสูง โดยผู้ที่นาไปใช้สามารถนาไปทาซ้า เผยแพร่ แปล รวมถึงดัดแปลง สาหรับการเผยแพร่ที่ไม่ใช่เพื่อเชิงพาณิชย์ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้ที่นาไปเผยแพร่ต่อต้องอ้างอิงถึง เจ้าของผลงานเดิมและเผยแพร่ต่อในลักษณะเดียวกัน (Atkins, Brown, and Hammond, 2007) 2. เนื้อหาแบบเปิด (Open Content) คือแนวคิดที่เปิดหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากนั้นทุกคน มีสิทธิที่จะเพิ่ม ปรับปรุง แก้ไข เนื้อหาในหัวข้อนั้นๆ รวมทั้งการนาไปคัดลอกหรือแบ่งปันข้อมูล นั้น ภายใต้สัญญาอนุญาตที่กาหนดไว้(Wiley, 1998) ตัวอย่างแนวคิดเนื้อหาแบบเปิดที่เห็นได้ชัดคือ Wikipedia เป็นสารานุกรมที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถนาเอาข้อมูลที่มีไปใช้ได้ รวมถึงอนุญาตให้ แก้ไข ดัดแปลงเนื้อหาที่มีเพื่อให้มีเนื้อหามีความถูกต้องสมบูรณ์ 3. โปรแกรมรหัสเปิด (Open Source Software - OSS) คือแนวคิดในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ต่างๆ โดยเฉพาะโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้อื่น นาไปใช้พัฒนาต่อยอดต่อไป โดยที่ Open Source Initiative ได้ให้คาจากัดความที่ว่า Open source นั้นไม่ได้หมายความแค่ว่าการเข้าถึงรหัสต้นฉบับ (Source Code) เพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงสิทธิ์ ในการนากลับมาจัดสรรใหม่ การเผยแพร่รหัสต้นฉบับ การอนุญาตให้สามารถทาการแก้ไข ดัดแปลงรวมถึงเปลี่ยนแปลงรูปแบบโดยอาจใช้ในรูปแบบของเวอร์ชันต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้อื่นนาโปรแกรมไปพัฒนาต่อยอดนั่นเอง (Open Source Initiative, n.d.) สรุป OA ถือเป็นแนวคิดที่เริ่มต้นในวงการนักวิจัยที่ต้องการส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้ ภายใต้แนวคิดการทาในรูปแบบดิจิทัลโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการเผยแพร่และจัดเก็บอย่าง ยั่งยืน โดยมุ่งหวังให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงและสามารถนาไปความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อีก ทั้งเป็นการเพิ่มแนวทางในการกระจายความรู้ได้มากกว่าการเผยแพร่ทางวารสารวิชาการ เป็น ประโยชน์ต่อวงการต่างๆ ทั้งวงการศึกษา วิจัย และองค์กรธุรกิจต่างๆ เกิดการต่อยอดองค์ความรู้ เหล่านั้น เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศต่อไป
  • 15. 2-A15 บรรณานุกรม ชัยโย เตโชนิมิต. (ม.ป.ป.). หลักการพัฒนาโปรแกรมภาครัฐ. ค้นจาก http://gdi.nic.go.th/paper.html ปัญญรักษ์งามศรีตระกูล. (2552). Open Access (OA) คืออะไร. ค้น จาก http://share.psu.ac.th/blog/l-resource/12064 รติวัฒน์ ปารีศรี. (2550). แหล่งสารสนเทศวิชาการแบบเปิด (Open Access: OA). ค้น จาก http://gotoknow.org/blog/elibrary/196147 ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552ก). Open access scholarly sesources. ค้น จาก http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=1852&Itemid =132 ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552ข). Timeline open access. ค้นจาก http://www.stks.or.th/web/index.php?option=com_content&task=view&id=590&Itemid= 132 สมชาย แสงอานาจเดช. (2552). Free หรือ Open Access. ค้น จาก http://gotoknow.org/blog/phankam/293010 Atkins, D. E., Brown, J. S., and Hammond, A. L. (2007). A review of the open educational resources (OER) movement: achievements, challenges, and new opportunities. Retrieved from Hewlett database: http://www.hewlett.org/uploads/files/Hewlett_OER_report.pdf Bailey, C. W. (n.d.). Key open access concepts: retrieved November 27, 2010 from http://www.digital-scholarship.org/oab/concepts.htm Benefits of open access for research dissemination. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Berlin declaration on open access to knowledge in the sciences and humanities. (2003). Retrieved from http://oa.mpg.de/lang/en-uk/berlin-prozess/berliner-erklarung/ Budapest Open Access Initiative supported by the Open Society Institute’s Information. (2002). Retrieved from http://www.soros.org/openaccess/read.shtml
  • 16. 2-A16 Budapest Open Access Initiative frequently asked questions. (2010). Retrieved from http://www.earlham.edu/~peters/fos/boaifaq.htm#openaccess Corrado, E. M. (2005). The importance of open access, open source, and open standards for libraries. Retrieved from Issues in science & technology librarianship database: http://www.library.ucsb.edu/istl/05-spring/article2.html Funk, M. E. (2007). Open access – dreams and realities. Retrieved from IFLA database: http://archive.ifla.org/IV/ifla73/papers/98-Funk-en.pdf Informationsplattform Open Access: what does open access mean?. (n.d.). Retrieved from http://open-access.net/de_en/general_information/what_does_open_access_mean/ Institutional advantages from open access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Jeffery, K. G. (n.d.). Open access: an introduction. Retrieved from http://www.ercim.eu/publication/Ercim_News/enw64/jeffery.html Jinha, A. E. (2010). Article 50 million: an estimate of the number of scholarly articles in existence. Learned Publishing, 23(3), 258-263. Association of Learned and Professional Society Publishers. Retrieved from http://www.stratongina.net/files/50millionArifJinhaFinal.pdf Library support for open access journals. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Murphy, J. (2009). New entry tries new publishing model. Retrieved from http://www.researchinformation.info/features/feature.php?feature_id=197 Nowick, E., & Jenda, C. (2004). Libraries stuck in the middle: reactive vs. proactive responses to the science journal crisis. Science and Technology Librarianship. Retrieved from Science and Technology Librarianship database: http://www.library.ucsb.edu/istl/04- winter/article4.html Open Access. (n.d.). Retrieved from http://www.eprints.org/openaccess/
  • 17. 2-A17 Open Access Journal: business models. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Open Access monographs: business issues. (2009). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Open Source Initiative. (n.d.). The open source definition: Retrieved from http://www.opensource.org/docs/osd Promoting open access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Ryan, J., Avelar, I., Fleissner, J., Lashmet, D. E., Miller, J. H., Pike, K. H., et al. (2002). The future of scholarly publishing from the ad hoc committee on the future of scholarly publishing. Profession 2002. Retrieved From MLA database: http://www.mla.org/pdf/schlrlypblshng.pdf SHERPA. (2006). Opening access to research. Retrieved from http://www.sherpa.ac.uk/romeoinfo.html Suber, P. (2004). A Primer on open access to science and scholarship. Retrieved from http://www.earlham.edu/~peters/writing/atg.htm Suber, P. (2003). Bethesda statement on open access publishing. Retrieved from http://www.earlham.edu/~peters/fos/bethesda.htm Suber, P. (2010). Open access overview. Retrieved from http://www.earlham.edu/~peters/fos/overview.htm Timeline open access. (n.d.). Retrieved from http://www.saranugrom.net/index.php/Timeline_open_access White, S., & Creaser, C. (2007). Trends in scholarly journal prices 2000-2006. Retrieved from Loughborough University database: http://www.lboro.ac.uk/departments/ls/lisu/downloads/op37.pdf Why librarians should be concerned with open access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/
  • 18. 2-A18 Why Students support Open Access. (2010). Retrieved from Open Access Scholarly Information Sourcebook database: http://www.openoasis.org/ Wiley, D. (1998). Open Content. Retrieved from http://web.archive.org/web/19990429221830/www.opencontent.org/home.shtml