SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 44
Descargar para leer sin conexión
จุ
ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม - เดือน สิงหาคม 2553

          ลสาร ชมรมจริยธรรม
           โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
                                   ISSN 1906-7860
ฟั ง ธรรม




นั ่ ง สมาธิก่อนประชุม




    ทำ า บุ ญ ตั ก บาตร




   2 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
จุลสารชมรมจริยธรรม
              โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี

วัตถุประสงค์
	        1.		เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านจริยธรรม	หลักธรรม	และแนวทางการ
	        				ปฏิบัติธรรมของทุกเชื้อชาติ	ทุกศาสนา
	        2.		เพื่อเป็นสื่อ	ในการเผยแพร่ผลงาน	และกิจกรรมของชมรมจริยธรรม
	        				โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
	        3.		เพื่อให้สมาชิกชมรมและผู้สนใจมีความรู้	ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในด้าน
	        				จริยธรรม	หลักธรรม	แนวการปฏิบัติธรรมและพิจารณานำามาปฏิบัติ
	        				เพื่อการพัฒนาจิตใจ

สำ�นักง�น	        องค์กรแพทย์			โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
	         	       โทรศัพท์			0-3552-1555		ต่อ	7401

ที่ปรึกษ�		       นายแพทย์ชัชรินทร์		ปิ่นสุวรรณ				ผู้อำานวยการโรงพยาบาล
	         	       แพทย์หญิงจงดี					แจ้งศรีสุข			
	         	       นายแพทย์ธีรินทร์			รัตนพิชญชัย	          	
	         	       แพทย์หญิงไพลิน			รัตนพิชญชัย	            	

ประธ�นชมรม	       แพทย์หญิงนลินี			เดียววัฒนวิวัฒน์					

บรรณ�ธิก�ร	       แพทย์หญิงวิไลพร		สกุลพิพัฒน์ศิลป์									         	

กองบรรณ�ธิก�ร	 ทันตแพทย์หญิงอุไร		บัวทอง	 	                นพ.จิรภัทร		กัลยาณพจน์พร		
	         	       เภสัชกรอุ่นเรือน		เจริญสวัสดิ์		 	       นายวรวรรธ		อุดมสิริคุณ		
	         	       น.ส.จเกศบุญชู		เกษมพิพัฒน์พงศ์	          นางศศินา	ญาณลักษณ์		
	         	       น.ส.วิราวรรณ	เทพาวัฒนาสุข	 	             น.ส.ธนภรณ์		กุลทัพ									
	         	       น.ส.สุมลฑา		แตงโต		              	       น.ส.กรพินทุ์		ปานวิเชียร			
	         	       นางฐิติมา			บุญชื่น	 	           	       นางรุ่งนิภา		จ่างทอง											
	         	       นางพยงค์			ชินบุตร		             	       นางอมรรัตน์		ลิ้มจิตสมบูรณ์			

ฝ่�ยศิลป์		       นางจงรักษ์		ระโหฐาน
	         	       นางแววดาว		บุญจิตธรรม

                    ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 3
สารจากประธานชมรม

         เมื่ อ มี ก ารเกิ ด มาเป็ น มนุ ษ ย์ นั บ ว่ า เป็ น สิ่ ง
ที่ประเสริฐ           โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดในบวร
พระพุทธศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า เช่นขณะนี้ เมื่อ
เกิดขึ้นแล้วเรามีกิจที่ต้องปฏิบัติในลูก , พ่อ , แม่
ประชาชนชาวไทยรวมทั้งมีการเลี้ยงชีพชอบ คือ
การทำางาน “การทำางาน คือ การปฏิบัติชอบ
คือ การปฏิบัติธรรม หมุนไปรู้ “อริยมรรค” เข้า
หลักอริยผล จักต้องหมั่นภาวนา ทำาให้มี ทำาให้เป็น ทำาให้ดีขึ้น ในการงานหน้าที่ที่ได้
รับผิดชอบ
         พระพุทธองค์ทรงสอนให้สันโดษ ในการทำาความดีต้องพัฒนาความดี อย่า
หยุดแค่ดี อย่าหยุดแค่นี้ ก็น่าจะพอแล้ว แต่ดีต้องเจริญพัฒนา เพราะในเนื้อแท้ของ
ความดี คือ เพชร มีประกอบด้วย คือ สมาธิ ปัญญา มีค่ามหาศาล
จาก “ร้อยวาทะธรรมะปิดทองร้อยวาทะธรรมปิดทอง พระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ)

                                                              ด้วยความปรารถนาดี
                                                    แพทย์หญิงนลินี เดียววัฒนวิวัฒน์
                                                            ประธานชมรมจริยธรรม

   บรรณาธิการแถลง
        ปัจจุบันเป็นยุคของการนำาธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำาวัน เป็นธรรมะแบบ
practical เป็นธรรมะแบบ modernization
        จุลสารของชมรมจริยธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ธรรมะ เพื่อให้
ชีวิตการทำางานของทุกท่านมีความสุข happy go lucky ค่ะ

                                                        พญ. วิไลพร สกุลพิพัฒน์ศิลป์

4 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
สารบัญ
พระอริยะสงฆ์ ..... หลวงตามหาบัว                            6
สมาธิ ..... สมาธิเพื่อชีวิต                                10
ภาวนา .....จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด                            16
คำาถาม ..... โพชฌงค์ 7 ประการ                              19
พุทธศาสนาวันละคำา .... กรรม                                21
สุขภาพ ..... แมคโครไบโอติกส์                               23
จดหมาย ..... ขอบพระคุณ                                     27
สัมภาษณ .์ .... คิดอย่างไรมีความสุข สบายใจ                 28
ชมรมจริยธรรม             ... ปฏิบตธรรม
                                 ั ิ                       30
                         ... กิจกรรมงานบุญ                 38
                         ... ความสุขที่แท้จริง             35
                         ... การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม      37
ผลงาน.....ชมรมเพื่อนโรคไต รพ.เจ้าพระยายมราช                40
บุญ.....บุญยุคดิจิตอล                                      42




                 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 5
พระอริยะสงฆ์
                                หลวงตามหาบัว
   กำ�เนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะ         บวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำาให้พ่อแม่น้ำา
กิน ณ บ้านตาด อุดรธานี                       ตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและ
วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖                  เห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และ
นาม บัว โลหิตดี                              ยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทน
พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน                         พระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้
    สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธ          ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น
ศาสนา โดยได้ร่วมทำาบุญตักบาตรกับ
                                                 วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
ผู้ใหญ่อยู่เสมอ
                                             ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี
                                                 พระอุปัชฌ�ย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระ
วั ย หนุ่ ม เป็ น หั ว เรี่ ย วหั ว แรงของ   ธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)วัดโพธิสมภรณ์
ครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำางานอะไรทำา               เค�รพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัย
จริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ใน        จริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ
การงานทั้งปวง                                และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่
                                             อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้
 คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะ            ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำาวัตรเช้า-
อยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้            เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มี
แคล้วคลาดทุกทีไป                             วันใดขาดเลย และท่านก็ทำาได้ตามที่
  เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อ          ตั้งคำาสัตย์ไว้
แม่ ข อร้ อ งให้ บ วชตามประเพณี อ ยู่          เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทาง
หลายครั้ง ท่านก็ทำาเฉย ๆ ตลอดมา              ธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ
ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ใน             ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจาก
ครั้งสุดท้ายนี้     ด้วยความปรารถนา          สกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี
อย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการ             พ่อค้า จนถึงประชาชน หลังจากฟัง

6 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
พระพุทธโอวาทแล้ว ต่างก็เข้าบำาเพ็ญ            เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก
เพียรในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์         และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวช
นั้นสำาเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยว        ได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัด
องค์นี้สำาเร็จในเขา ในเงื้อมผา ในที่         เชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่
สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใส          แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระ
ขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้น              อาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมา ได้
จากทุ ก ข์ ทั้ ง ปวงในชาติ นี้ อ ย่ า งพระ   กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำาคัญที่สุด
                                             ในชีวิตของท่าน
สาวกท่านบ้าง
                                              ออกปฏิบัติ เมื่อเรียนจบมหาเปรียญ
   สงสัย ช่วงเรียนปริยตอยูน้ี มีความ
                        ัิ ่
                                             แล้ว แม้จะมีพระมหาเถระในกรุงเทพฯ
ลังเลสงสัยในใจว่า หากท่านดำาเนินและ          สนับสนุนให้ท่านเรียนต่อในชั้นสูง ๆ ขึ้น
ปฏิบตตามพระสาวกเหล่านัน จะบรรลุ
          ัิ                ้                ไปก็ตาม แต่ด้วยท่านเป็นคนรักคำาสัตย์
ถึงจุดทีพระสาวกท่านบรรลุหรือไม่ และ
              ่                              ยิ่งกว่าชีวิต ดังนั้นเมื่อมีโอกาส ท่านจึง
บัดนีจะยังมีมรรคผลนิพพานอยู่ เหมือน
        ้                                    เข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติ
ในครังพุทธกาลหรือไม่
            ้                                กรรมฐานอย่างจริงจัง โดยมุ่งหน้าไป
    ตังสัจจะ ด้วยความมุงมันอยากเป็น
      ้                   ่ ่                ทางป่ า เขาแถบจั ง หวั ด นครราชสี ม า
พระอรหันต์บาง ท่านจึงตังสัจจะไว้วา จะ
                ้       ้               ่    แล้วเข้าจำาพรรษาทีอำาเภอจักราช นับ
                                                                   ่
ขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยค           เป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช
เท่านัน ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชันก็ไม่
          ้                           ้         พ�กเพียร ท่านเร่งความเพียรตลอด
เป็นไร จากนันจะออกปฏิบตกรรมฐาน
                  ้            ัิ            ทั้งพรรษา ไม่ทำาการงานอื่นใดทั้งนั้น
โดยถ่ายเดียวจะไม่ยอมศึกษาและสอบ              มีแต่ทำาสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่าง
ประโยคต่อไปเป็นอันขาด
                                             เดียวทั้งวันทั้งคืน จนจิตได้รับความ
                                             สงบจากสมาธิธรรม




                            ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 7
เส�ะห�..อ�จ�รย์ เดือนพฤษภาคม              โหมคว�มเพียร จากการได้ศึกษากับ
๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่าน           ผู้รู้จริง ได้รับอุบายต่าง ๆ มากมาย
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์         และหักโหมความเพียรเต็มกำาลัง ชนิด
บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่าน    นั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ คืน ๑๐
พระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และ           คืนโดยเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง ทำาให้
เทศน์ ส อนตรงกั บ ปั ญ หาที่ เ ก็ บ ความ   ก้ น ของท่ า นระบมจนถึ ง กั บ แตกพอง
สงสั ย ฝั ง ใจมานานให้ ค ลี่ ค ลายไปได้    เลอะเปื้อนสบงเลยทีเดียว แต่จิตใจ
ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขา            ที่เคยเสื่อมนั้น กลับเจริญขึ้น ๆ จน
เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผล          สามารถตั้งหลักได้
นิพพานเขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ         จริงจัง ท่านถูกจริตกับการอดอาหาร
มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หาก           เพราะทำาให้ท่านตัวเบา การภาวนา
กำาหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็น        ง่ายสะดวก และจิตใจเจริญขึ้นได้ดี จึง
ความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลส        มักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน
ในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผล               คราวหนึ่ ง ท่ า นออกวิ เ วกแถบป่ า ใกล้
นิพพานไปโดยลำาดับ                          หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านไม่เห็นท่าน
                                           ออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกต ถึง
                                           ขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียก
                                           ประชุมกัน ด้วยลือกันว่า ไม่ใช่ท่านตาย
                                           แล้วหรือก็เคยมี
                                               นักรบธรรม ท่านไม่เห็นแก่การกิน
                                           การนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติ
                                           ธรรม ดังนั้นในช่วงบำาเพ็ญเพียร สภาพ
                                           ร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอก
                                           ตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก แม้ท่าน
                                           พระอาจารย์มั่นเอง เห็นท่านซูบผอมจน
                                           ผิดสังเกต ชนิดหนังห่อกระดูก ทั้งผิวก็
                                           ซีดเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน ท่านถึงกับ
8 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
ทักว่า “โฮ้ ทำาไมเป็นอย่างนี้ล่ะ” แต่          คืนแห่ง..คว�มสำ�เร็จ จากนันไม่นาน
                                                                           ้
ด้วยเกรงว่ า ลู ก ศิ ษ ย์ จะตกใจและเสีย      ท่านก็มงสูวดดอยธรรมเจดีย์ (ปัจจุบน
                                                       ุ่ ่ ั                       ั
กำาลังใจ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กลับพูด         อยู่ อ.โคกศรีสพรรณ จังหวัดสกลนคร)
                                                              ุ
ให้กำาลังใจในทันทีนั้นว่า “มันต้องอย่าง      เป็นช่วงพรรษาที่ ๑๖ ของท่าน บนเขา
นี้ซิ จึงเรียกว่า นักรบ” ท่านเคยเล่าถึง      ลูกนีนเี่ องของคืนเดือนดับแรม ๑๔ ค่า
                                                  ้                                   ำ
ความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับกิเลส เพื่อ        เดือน ๖ (จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓)
จะเอาแพ้เอาชนะกันว่า “ถ้ากิเลสไม่            เวลา ๕ ทุมตรง ท่านได้บรรลุธรรมด้วย
                                                           ่
ตาย เราก็ต้องตาย จะให้อยู่เป็นสอง            ความอดทนพากเพียร พยายามอย่าง
                                             สืบเนืองตลอดมา นับแต่วนออกปฏิบติ
                                                    ่                    ั        ั
ระหว่างกิเลสกับเรานั้น ไม่ได้”
                                             กรรมฐานอย่างเต็มเหนียวรวมเวลา ๙ ปี
                                                                     ่
    ปัญญ�ก้�วเดิน ด้วยความมุ่งมั่น
                                                 คืนแห่งความสำาเร็จระหว่างกิเลสกับ
จริงจังดังกล่าว ทำาให้จิตใจของท่าน
                                             ธรรมภายในใจของท่านจึงตัดสินกันลง
ได้หลักสมาธิแน่นหนามั่นคงท่านทรง
                                             ได้ ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัย
ภาวะนี้นานถึง ๕ ปี ไม่ขยับก้าวหน้า
                                             ทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพชาติ เรื่องเกิด
ต่อ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อุบาย
                                             แก่ เจ็บ ตาย กิเลสตัณหา อาสวะทุก
อย่ า งหนั ก เพื่ อ ให้ อ อกพิ จ ารณาทาง
                                             ประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจ
ด้านปัญญา ทั้งทางอสุภะ(ซากศพ)
                                             ในคืนวันนั้นเอง
กระทั่งถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วน
ละเอียด            จนสามารถรู้เรื่องรู้ราว
ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ ตัดกิเลสตัวนี้ได้
โดยลำาดับ ๆ ในช่วงนี้ท่านมีความ
เพลิดเพลินในความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส
ชนิดเดินจงกรมไม่รู้จักหยุด ตั้งแต่เช้า
หลังจังหันจนกระทั่งปัดกวาดในตอน
บ่าย ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย


                            ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 9
สมาธิ
                              สมาธิเพื่อชีวิต
                                              พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
         สมาธิแบบพระพุทธเจ้า การ             อนาคต รู้อดีต หมายถึงรู้ชาติในอดีต
กำาหนดรู้เรื่องชีวิตประจำาวันนี่เป็นเหตุ     ว่าเราเกิดเป็นอะไร รู้อนาคต หมาย
เป็นปัจจัยสำาคัญ สำาคัญยิ่งกว่าการนั่ง       ถึงว่าเมื่อเราตายไปแล้วเราจะไปเป็น
หลับตาสมาธิ                                  อะไร อันนี้เป็นการปฏิบัติเพื่อรู้
         สอนสมาธิ ต้ อ งสอนสิ่ ง ที่ ใ กล้
ตัวที่สุด ความรู้เห็นอะไรที่เขาอวด ๆ         ทีนี้เมื่อเร�ม�พิจ�รณ�กันจริง ๆ
กันนี่ อย่าไปสนใจเลย ให้มันรู้เห็นจิต                   อ ดี ต เ ป็ น สิ่ ง ที่ ล่ ว ง ไ ป แ ล้ ว
ของเรานี่ รู้กายของเรา รู้ว่าธรรมชาติ        อนาคตก็เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดังนั้นเรา
ของกายอย่างหยาบ ๆ มันต้องมีการ               มาสนใจอยู่ในสิ่งที่เป็นปัจจุบันดีไหม
เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ ยืน เดิน นั่ง                   ที่ ค รู บ า อ า จ า ร ย์ ส อ น ว่ า
นอน รับประทาน ดื่ม ทำา พูด คิด อันนี้        ทำากรรมฐานไปโน่นเห็นนี่ นี่มันใช้ไม่ได้
คือความจริงของกาย                            ให้มันเห็นใจเราเองซิ
                                                        อย่าไปเข้าใจว่าทำาสมาธิแล้ว
สม�ธิ…เพื่ออะไร                              ต้องเห็นนรก ต้องเห็นสวรรค์ ต้องเห็น
            ปัญหาสำาคัญของการฝึกสมาธิ        อะไรต่อมิอะไร สิ่งที่เราเห็นในสมาธิมัน
นี่ บางทีเราอาจจะเข้าใจไขว้เขวไปจาก          ไม่ผิดกันกับที่เรานอนหลับแล้วฝันไป
หลักความจริง                                 แต่สิ่งที่เราจำาเป็นต้องรู้ต้องเห็นนี่ คือ
           สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้    เห็นกายของเรา เห็นใจของเรา
จิตสงบนิ่ง
           สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้    หลักส�กลของก�รปฏิบัติสม�ธิ
มีสติสัมปชัญญะรู้ทันเหตุการณ์นั้น ๆ                    การบำ า เพ็ ญ สมาธิ จิ ต เพื่ อ ให้
ในขณะปัจจุบัน                                เกิด สมาธิ สติ ปัญญา มีหลักที่ควร
            สมาธิบางอย่าง เราปฏิบัติเพื่อ    ยึดถือว่า ทำาจิตให้มีอารมณ์สิ่งรู้ สติให้
ให้เกิดความรู้ความเห็นภายในจิต เช่น          มีสิ่งระลึก จิตนึกรู้สิ่งใดให้มีสติสำาทับ
รู้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ รู้เรื่องอดีต     เข้าไปที่ตรงนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน รับ
10 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
ประทาน ดื่ม ทำา พูด คิด เป็นอารมณ์         จะไปนั่ ง หลั บ ตาภาวนาหรื อ เพ่ ง ดวง
จิต ฝึกสติให้รู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าใคร     จิตแล้ว ออกจากที่นั่งมา เรามีสติตาม
จะทำาอะไร มีสติตัวเดียว เวลานอนลง          รู้ การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน
ไป จิตมันมีความคิดอย่างใด ปล่อยให้         ดื่ม ทำา พูด คิด แม้ว่าเราจะไม่นั่งสมาธิ
มันคิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ไปจนกว่าจะ       อย่างที่พระท่านสอนก็ได้ เพราะว่า
นอนหลับ อันนี้เป็นวิธีการทำาสมาธิตาม       เราฝึกสติอยู่ตลอดเวลา เวลาเรานอน
หลักสากล                                   ลงไป คนมีความรู้ คนทำางาน ย่อมมี
           ถ้ามีใครมาถามว่า ทำาสมาธิ       ความคิด ในช่วงที่เรานอนนั่นแหละ เรา
นี่คือทำาอย่างไร คำาตอบมันก็ง่ายนิด        ปล่อยให้จิตเราคิดไป แต่เรามีสติตามรู้
เดียว การทำาสมาธิ คือ การทำาจิตให้         ความคิดจนกระทั่งนอนหลับ
มีสิ่งรู้ ทำาสติให้มีสิ่งระลึก หมายความ            ถ้าฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน ๆ เราจะ
ว่า เมื่อจิตของเรานึกถึงสิ่งใดให้มีสติ     ได้สมาธิอย่างประหลาด นี่ถ้าเราเข้าใจ
สำาทับไปที่ตรงนั้น เรื่องอะไรก็ได้ ถ้า     กันอย่างนี้ สมาธิจะไม่เป็นอุปสรรค
เอากันเสียอย่างนี้ เราจะรู้สึกว่าเราได้    ต่อการทำางาน ไม่เป็นอุปสรรคต่อการ
ทำาสมาธิอยู่ตลอดเวลา                       สร้างสรรค์โลกให้เจริญ แต่ถ้าหากจะ
                                           เอาสมาธิ มุ่ ง แต่ ค วามสงบอย่ า งเดี ย ว
สม�ธิ…ไม่ใช่ก�รนั่งหลับต�เท่�นั้น          มันจะเกิดอุปสรรคขึ้นมาทันที แม้การ
           ถ้าหากไปถือว่าสมาธิคือการ       งานอะไรต่าง ๆ มองดูผู้คนนี่ขวางหู
นั่งหลับตาอย่างเดียว มันก็ถูกกับความ       ขวางตาไปหมด อันนั้นคือสมาธิแบบ
เห็ น ของคนทั้ ง หลายที่ เ ขาแสดงออก       ฤาษีทั้งหลาย
แต่ถ้าเราจะคิดว่า อารมณ์ของสมาธิ
คือ การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน         ทำ�สม�ธิถูกท�ง ไม่หนีโลก ไม่หนี
ดื่ม ทำา พูด คิด ไม่ว่าเราจะทำาอะไร มี     ปัญห�
สติสัมปชัญญะรู้อยู่กับเรื่องปัจจุบัน คือ            ผู้ ที่ มี จิ ต เป็ น สมาธิ ที่ ถู ก ต้ อ ง
เรื่องชีวิตประจำาวันนี้เอง เราจะเข้าใจ     นี่ ส มมติ ว่ า มี ค รอบครั ว จะต้ อ งรั ก
หลักการทำาสมาธิอย่างกว้างขวาง และ          ครอบครั ว ของตั ว เองมากขึ้ น หนั ก เข้ า
สมาธิที่เราทำาอยู่นี่จะรู้สึกว่า นอกจาก    ความรักมันจะเปลียน เปลียนจากความ
                                                                    ่       ่
                          ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 11
รักอย่างสามัญธรรมดากลายเป็นความ                               ไม่ มี ส มาธิ ทำ า งานใหญ่ โ ต
เมตตาปรานี                                        สำาเร็จได้อย่างไร
            ในเมื่อไปเผชิญหน้ากับงานที่                       ไม่มีสมาธิ ปกครองบ้านเมือง
ยุ่ง ๆ เมื่อก่อนรู้สึกว่ายุ่งแต่เมื่อปฏิบัติ      ได้อย่างไร
แล้ว ได้สมาธิแล้ว งานมันจะไม่ยุ่ง พอ                          พวกเราเริ่มฝึกสมาธิมาตั้งแต่
ประสบปัญหาเข้าปุ๊บ จิตมันจะปฏิวัติ                พี่เลี้ยง นางนม พ่อแม่สอนให้เรารู้จัก
ตัวพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ                   กิน รู้จักนอน รู้จักอ่าน รู้จักคนโน้นคน
ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทีนี้              นี้ จุดเริ่มต้นมันมาแต่โน่น ทีนี้พอเข้ามา
บางทีพอเราหยิบปัญหาอะไรขึ้นมา เรา                 สู่สถาบันการศึกษา เราเริ่มเรียนสมาธิ
มีแบบแผนตำารายกขึ้นมาอ่าน พออ่าน                  อย่างจริงจังขึ้นมาแล้ว
จบปั๊บ จิตมันวูบวาบลงไป ปัญหาที่เรา                           แต่ เ มื่ อ เรามาพบพระคุ ณ เจ้ า
ข้องใจจะแก้ได้ทันที อันนี้คือสมาธิที่             หลวงพ่อ หลวงพี่ ทั้งหลายนี่ ท่านจะ
สัมพันธ์กับชีวิตประจำาวัน                         ถามว่า “เคยทำาสมาธิไหม” จึงทำาให้
           แต่ ส มาธิ อั น ใดที่ ไ ม่ ส นใจกั บ   พวกเราทั้งหลายเข้าใจว่า เราไม่เคย
เรื่องชีวิตประจำาวัน หนีไปอยู่ที่หนึ่ง            ทำาสมาธิ ไม่เคยปฏิบัติสมาธิมาก่อน
ต่างหากของโลกแล้ว สมาธิอันนี้ทำาให้               เพราะท่านไปขีดวงจำากัด การทำาสมาธิ
โลกเสื่อมและไม่เป็นไปเพื่อทางตรัสรู้              เฉพาะเวลานั่งหลับตาอย่างเดียว
มรรค ผล นิพพานด้วย
                                                  ไม่เป็นช�ววัดก็ทำ�สม�ธิได้
ทุกคนเคยทำ�สม�ธิม�แล้ว                                       ใครที่ยังไม่มีโอกาสจะเข้าวัด
        ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งเราสำ า เร็ จ มา   เข้าวามานั่งสมาธิหลับตาอย่างที่พระ
เพราะพลังของสมาธิ                                 ท่านชักชวน การปฏิบัติสมาธิเอากัน
        ไม่มีสมาธิ เรียนจบปริญญามา                อย่างนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน
ได้อย่างไร                                        ดื่ม ทำา พูด คิด ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
        ไม่มีสมาธิ สอนลูกศิษย์ลูกหา               ทุ ก คนได้ ฝึ ก สมาธิ ม าตามธรรมชาติ
ได้อย่างไร                                        แล้วตั้งแต่เริ่มรู้เดียงสามา ทีนี้เรามา

 12 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
เริ่มฝึกใหม่นี่ เป็นการเสริมของเก่าที่           สว่างอยู่ ความนึกคิดไม่มี เมื่อจิตถอน
มีอยู่แล้วเท่านั้น อย่าไปเข้าใจผิด ยืน           ออกจากสมาธิ พอรู้สึกว่ามีกาย ความ
เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำา พูด             คิดเกิดขึ้น ให้กำาหนดสติตามรู้ทันที
คิด เป็นอารมณ์จิตเราทำาให้สิ่งเหล่านี้           อย่ารีบออกจากที่นั่งสมาธิ ถ้าปฏิบัติ
                                                 อย่างนี้จะได้ปัญญาเร็วขึ้น
ให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เวลา
                                                           ในช่ ว งนี้ ถ้ า เราไม่ รี บ ออก
นอนลงไป จิตมันคิดอะไร ให้มันคิดไป                จากสมาธิ ออกจากที่นั่งเราก็ตรวจดู
ให้ มี ส ติ ไ ล่ ต ามรู้ มั น ไปจนกระทั่ ง นอน   อารมณ์จิตของเราเรื่อยไป โดยไม่ต้อง
หลับ ปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน แล้วท่านจะ           ไปนึกอะไร เพียงแต่ปล่อยให้จิตมันคิด
ได้สมาธิอย่างไม่คาดฝัน                           ของมันเอง อย่าไปตั้งใจคิดทีนี้พอออก
             ในขณะทำางาน กำาหนดสติรู้อยู่        จากสมาธิมาแล้ว พอมันคิดอะไรขึ้น
กับงาน เวลาคิด ทำาสติรู้อยู่กับการคิด            มา ก็ทำาใจดูมันให้ชัดเจน ถ้าจิตมันคิด
โดยถือการทำางาน การคิด เป็นอารมณ์                ไปเรื่อย ๆ ก็ดูมันไปเรื่อย ๆ จะคิดไป
                                                 ถึงไหนช่างมัน ปล่อยให้มันคิดไปเลย
ของจิต                                           เวลาคิดไป เราก็ดูไป ๆ ๆ ๆ มันจะรู้สึก
             โดยธรรมชาติของจิต ถ้ามีสิ่ง         เคลิบเคลิ้มในความคิด แล้วจะเกิดกาย
รู้ สติมีสิ่งระลึก จิตย่อมสงบ มีปีติ สุข         เบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ
เอกัคคตาได้ ในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง                            กายเบา กายสงบได้กายวิเวก
จนได้ ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งใจทำาจริง                           จิตเบา จิตสงบได้จิตวิเวก
                                                           ทีนี้จิตสงบแล้ว จิตเป็นปกติได้
ทำ�สม�ธิโดยก�รบริกรรมภ�วน�                       ก็ได้อุปธิวิเวกในขณะนั้น
        หมายถึงการท่องคำาบริกรรม
ภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พุทโธ                บริกรรมพุทโธ กับก�รต�มรู้จิต คือ
ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง เป็นต้น                  หลักเดียวกัน
ผู้ภาวนาท่องบริกรรมภาวนาอย่างใด                           ภาวนาพุทโธเอาไว้ พอจิตมัน
อย่างหนึ่งจนจิตสงบประกอบด้วยองค์                 อยู่กับพุทโธก็ปล่อยให้มันอยู่ไป พอทิ้ง
ฌาณ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคค               พุทโธแล้วไปคิดอย่างอื่น ปล่อยให้มัน
ตา จิตสงบจนกระทั่งตัวหาย ทุกสิ่ง                 คิดไปแต่ให้มีสติตามรู้…พุทโธที่เรามา
ทุกอย่างหายไป เหลือแต่จิตที่สงบนิ่ง              ท่องเอาไว้


                              ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 13
๑. เพื่อระลึกถึงพระบรมครู                 มันทำาให้เราปวดหัวมวนเกล้า ร้อน
        ๒. เพื่อกระตุ้นเตือนจิตให้เกิด            ผ่าวไปทั้งตัว เพราะไปฝืนความเป็น
ความคิดเอง                                        จริงของมัน ทีนี้ภายหลังมาคิดว่า แก
        ทีนี้เมื่อจิตทิ้งพุทโธปั๊บ มัน            จะไปถึงไหน ปรุงไปถึงไหน เชิญเลย
ไปคิดอย่างอื่นขึ้นมาได้ แสดงว่าเขา                ฉันจะตามดูแก ปล่อยให้มันคิดไป
สามารถหาเหยื่ อ มาป้อนให้ตัวเองได้                ปรุงไป ก็ตามเรื่อยไป ทีนี้พอ ไป ๆ
แล้ว เราก็ไม่ต้องกังวลที่จะหาอารมณ์               มา ๆ ตัวคิดมันก็คิดอยู่ไม่หยุด ตัวสติ
มาป้อนให้เขา ปล่อยให้เขาคิดไปตาม                  ก็ตามไล่ตามรู้กันไม่หยุดพอ คิด ๆ
ธรรมชาติของเขา หน้าที่ของเรามีสติ                 ไปแล้วมันรู้สึกเพลิน ๆ ในความคิด
กำาหนดตามรู้อย่างเดียวเท่านั้น นี่หลัก            ของตัวเอง มันคล้าย ๆ กับว่ามันห่าง
การปฏิบัติเพื่อจะได้สมาธิสัมพันธ์กับ              ไกล ไกลไป ๆ ๆ เกิดความวิเวกวังเวง
ชีวิตประจำาวันต้องปฏิบัติอย่างนี้                 กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ
                                                  และพร้อม ๆ กันนั้นน่ะทั้ง ๆ ที่ความ
อย่�ข่มจิตถ้�จิตอย�กคิด                           คิดมันยังคิดไวเร็วปรื๋อจนแทบจะตาม
            ถ้าเราภาวนาพุทโธ ๆ แม้ว่าจิต          ไม่ทัน ปีติและความสุขมันบังเกิดขึ้น
สงบเป็นสมาธิถึงขึ้นละเอียดถึงขั้นตัว              แล้วทีนี้มันก็มีความเป็นหนึ่ง คือ จิต
หาย เมื่อสมาธินี้มันจะได้ผลไปตาม                  กำาหนดรู้อยู่ที่จิต ความคิดอันใดเกิด
แนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อมรรค ผล                  ขึ้นกับจิตสักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อย
นิพพาน
                                                  วางไป ๆ มันไม่ได้ยึดเอามาสร้าง
              ภายหลั ง จิ ต ที่ เ คยสงบนี้ มั น
จะไม่ยอมเข้าไปสู่ความสงบ มันจะมา                  ปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน
ป้วนเปี้ยนแต่การยืน เดิน นั่ง นอน                           แล้วในที่สุดเมื่อมันตัดกระแส
รับประทาน ดื่ม ทำา พูด คิด ซึ่งอัน                แห่งความคิดแล้วมันวูบวาบ ๆ เข้าไป
นี้ ก็ เ ป็ น ประสบการณ์ ที่ ห ลวงพ่ อ เอง        สู ค วามสงบนิ่ ง จนตั ว หายเหมื อ น
ได้ประสบมาแล้ว พยายามจะให้มัน                     อย่างเคย          จึงมาได้ข้อมูลขึ้นมาว่า
เข้าไปสู่ความสงบอย่างเคย มันไม่                   “อ๋อ       ธรรมชาติของมันเป็นอย่างนี้
ยอมสงบ ยิ่งบังคับเท่าไรยิ่งดิ้นรน                 ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา
นอกจากมั น จะดิ้ น แล้ ว อิ ท ธิ ฤ ทธิ์ ข อง      ปัญญาอบรมจิ ต ความคิ ด อั น ใดที ่
 14 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
สติ รู้ทันทุกขณะจิต ความคิดอันนั้นคือ                ความคิด เป็นอาหารของจิต
ปัญญาในสมาธิ เป็นลักษณะของจิต                        ความคิด เป็นการบริหารจิต
เดินวิปัสสนา”                                        ความคิด เป็นการผ่อนคลาย
          พร้อม ๆ กันนั้นถ้าจะนับตาม                            ความตึงเครียด
ลำาดับขององค์ฌาน                                     ความคิด เป็นนิมิตหมายให้
          ความคิด เป็นตัววิตก              เรารู้ว่าอะไรเป็นเรื่องทุกข์ เป็นอนัตตา
          สติรู้พร้อมอยู่ที่ความคิด เป็น   แล้วความคิดนี่แหละมันจะมายั่วยุให้
ตัววิจาร                                   เราเกิดอารมณ์ดี อารมณ์เสีย เมื่อเรา
          เมื่อจิตมีวิตก วิจาร ปีติ และ    มองเห็นอารมณ์ดี อารมณ์เสีย มองเห็น
                                           อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ที่ก่อเป็นตัว
สุขย่อมบังเกิดขึ้นไม่มีปัญหา ทีนี้ปีติ
                                           กิเลส ทีนี้เมื่อจิตมีอิฏฐารมณ์
เกิดขึ้นแล้ว จิตมันก็อยู่ในสภาพปกติ
กำาหนดรู้ความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ อยู่
ตลอดเวลา ก็ได้ความเป็นหนึ่ง
          ถ้าจิตดำารงอยู่ในสภาวะความ
เป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าจิตดำารงอยู่ใน
ปฐมฌาน คือ ฌานที่ ๑ ประกอบด้วย
องค์ ๕ : วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

ปล่อยจิตให้คิด เกิดคว�มฟุ้งซ่�น
หรือเกิดปัญญา
          ความคิดที่จิตมันคิดขึ้นมาเอง
เป็นวิตก สติรู้พร้อม เป็นวิจาร เมื่อจิต
มีวิตก วิจาร ปีติ และความสุขย่อมเกิด
ขึ้น ไม่มีปัญหา ผลที่จะเกิดจากการ
ตามรู้ความคิด ความคิดเป็นอารมณ์
สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อ
สติสัมปชัญญะดีขึ้น เราจะรู้สึกว่า…
                          ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 15
ภาวนา
                             จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
                         ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดี
“จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดี”
          ท่านสันติกะโรภิกขุนำาเจริญภาวนา “จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด” ต่างยืนยัน
ปฏิบัติตามเกิดผลจริงดับร้อนทางใจอย่างอัศจรรย์
           หนทางในการสร้างจิตใจให้ใจดีใจสบายนั้น เป็นสิ่งที่ปรารถนาของหลายๆ
คน วิธีสร้างใจสบายนั้นมีหลากหลายวิธี เพียงแต่ทำาอย่างไรให้จิตเกิดสติเกิดสมาธิ
จนกระทั่งเกิดปัญญาในที่สุดคือถึงขั้นดับทุกข์ได้ วิธีหนึ่งที่สามารถทำาได้อย่างง่ายคือ
ทำาจิตใจให้เกิดเมตตานั่นก็คือทางหนึ่งที่สำาคัญทีเดียว
       อย่างที่ธรรมสถานแสงสันติสุข วัดสารอด ซ.สุขสวัสดิ์ 44 เขตราษฎร์บูรณะ
กรุงเทพฯ พระอาจารย์สันติกะโรภิกขุ ได้นำาเคล็ดลับเรื่องการสร้างสันติสุขให้เกิด
ขึ้นกับครอบครัว จนถึงประเทศชาติ โดยใช้หลักแผ่เมตตา “จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดี” เป็นธรรมาวุธฆ่ากิเลสในใจคน ซึ่งส่งผลเกิดขึ้นอย่างแท้จริงสู่
ความดับทุกข์ ดังที่มีผู้นำาไปปฏิบัติกันอย่างจริงจัง
            ท่านได้กล่าวกับสาธุชนให้สัมผัสกับธรรมะในใจของเรา เราบอกกับตัวเรา
เองว่ายิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดีจิตจะมีอานุภาพในการดับทุกข์ เราปฏิบัติธรรมมาหลายวิธี
ไม่ได้ผลเพราะเราไม่ได้ทำาให้แจ้งนิโรธคือเราเน้นที่ดับทุกข์ บอกตัวเองว่าใครมาทำา
เราก็แล้วแต่เราจะดับทุกข์ในขณะนั้น ไม่ใช่เขาทำาทีเราวิ่งไปหาถ้ำาไปสำานักโน้นสำานัก
นี้ไม่ทัน ทุกข์มันเกิดแล้วลงนรกแล้วไปเข้าถ้ำาพอออกมาเครียดเราเข้าถ้ำาอีก ไม่ต้อง
เข้า ถูกด่าตรงไหนก็ยิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดี จิตใจของเราใครมาฝึกให้เราไม่ได้ เราต้อง
ฝึกเองเราใช้บทบริกรรมยิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดีสนุกดีๆๆๆ ทุกอิริยาบถ ถ้าเรายิ้มเราได้
มิตรเรามีเมตตาเป็นที่รักของมนุษย์ตื่นเป็นสุข หลับเป็นสุข
          คุณมาลินี เทียมทัน พิธีกรกล่าวถึงผลของแต่ละคนได้มาปฏิบัติธรรมที่นี่
แต่ละตัวอย่างพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเมื่อก่อนไม่เชื่อหรอก แต่เมื่อทำาไปแล้วก็
ต้องเชื่อดังที่แต่ละคนได้เล่า

16 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
คุณนฤมลกล่าวว่า ได้ตามแม่มาปฏิบัติที่นี่ช่วงหนึ่งสามีเป็นโรคหัวใจต้อง
ขยายเส้ น เลื อ ดด้ ว ยการทำ าบอลลูนหมอบอกถ้ามาช้ า อี ก นิ ด จะต้ อ งเสี ย ชี วิ ต แน่ ๆ
ระหว่างผ่าตัดหัวใจได้ภาวนาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดยิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดี การผ่าตัดผ่าน
พ้นด้วยดีมาที่นี่มีโชคไป 3-4 ครั้งแล้ว
            คุณวาวกล่าวว่า เป็นโรคมะเร็งต้องเจาะผ่าตัดทางหน้าผากมา 2 ครั้งตั้งแต่
ภาวนาทำาให้มีจิตใจต่อสู้โรคมะเร็งทุเลาลง ทุกวันนี้จิตใจสบาย
            คุณพรหมกล่าวว่า มีเงินติดตัว 7 บาท อยู่ได้ 5 วันเพราะในใจภาวนายิ้มไว้
ไม่ทุกข์สนุกดีตลอด เชื่อว่าอยู่ได้เพราะบุญในใจป่วยก็หายเร็ว
            คุณบุญช่วยแอบยิ้มกล่าวว่า มาที่นี่ได้ 6 อาทิตย์ไม่ค่อยมีเงินไปผ่าตัด
มดลูกเกิดอาการช็อกหมอช่วยให้ฟื้นขึ้นมาก็ได้ภาวนาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ตั้งแต่นั้น
การเงินการงานดีขึ้นบางวันได้ 5-6 พันบาท บางวันได้เป็นหมื่น
            คุณนงนุชกล่าวว่า เมื่อก่อนทำาใจไม่ได้หากคนข้างบ้านพูดว่ากล่าวโมโหใส่
เหมือนมีไฟในตัว พอได้ภาวนาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ทุกวันนี้สงบใจได้และทำาให้สามี
ที่ดื่มเหล้ามา 2 ปีแล้วเลิกได้ และยังชวนกันไปทำาบุญไปไหนไปกัน
            คุณสำาอางค์กล่าวว่า มีหลานปลายขามีปัญหาเดินไม่ได้หมอเข้าเฝือกคนที่
บ้านต้องช่วยแผ่เมตตาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดเดี๋ยวนี้ยืนเองได้แล้ว
            คุณสรุตยากล่าวได้มาปฏิบตธรรมทีน่ี สามีตดเพือนไปดืมเหล้า เดียวนีไม่ไป
                                     ั ิ      ่      ิ ่       ่           ๋ ้
แล้ว พีนองไม่คอยลงกันพอไปแผ่เมตตาทุกอย่างหน้ามือเป็นหลังมือพีนองคุยกันดี
         ่้       ่                                                 ่้
            คุณสมจิต รัศมีศร กล่าวว่า ตังแต่แผ่เมตตาโรคภัยหลายชนิดตังแต่ไขมันมาก
                                         ้                            ้
ไมเกรนก็ปวด ทุกข์ทรมานรวมทังปวดหัวได้ดขน นอนก็ไม่กรนตัวเบาเป็นปกติ
                                 ้              ี ้ึ
            คุณกรรณิกา เกตุนาค กล่าวว่า ก่อนหน้าการงานการเงินไม่ดีเจ้านายเคย
รังเกียจได้แผ่เมตตาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดเจ้านายกลับสละเงินซื้อนมให้ลูก โรคเบา
หวานโรคความดันที่เป็นก็ปกติแล้ว รวมถึงคุณแม่โรคภัยก็ลุเลาอย่างน่าสบายใจ
            คำายืนยันของแต่ละท่านที่นำาหลักแผ่เมตตาไปลงมือปฏิบัติ เป็นการจากนรก
สู่สวรรค์อันเจิดจ้า ทำาให้ทุกวันอาทิตย์ที่ธรรมสถาน “แสงสันติสุข” 2 แห่ง ในเวลา
08.00-12.00 น. ซ.สุขสวัสดิ์ 44 เขตราษฎร์บูรณะ กทม. และเวลา 13.00-
16.00 น. จระเข้คต ต.ไผ่พระ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีสาธุชนไปร่วม

                           ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 17
ปฏิบัติธรรมเป็นจำานวนมากนับพันคน เป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าที่สุดวันหนึ่งเมื่อได้
ไปธรรมสถาน “แสงสันติสุข” มีอาหารเช้า-เที่ยงเลี้ยงฟรี ผู้จะไปร่วมบุญสอบถามที่
โทร.0-2428-5959
         ท่านสันติกะโรได้ฝากข้อคิดด้วยว่า ทำาพูดคิดที่ดี คือฤกษ์ดี ถูกใส่ร้ายป้ายสี
ให้ทำาดี 2 เท่า, ไม่ยึด ไม่เอา ไม่สน พ้นทุกข์ อุปสรรคศัตรูคือประตูสวรรค์, มาร
ไม่มีบารมี ริษยาด่ามาแผ่เมตตายิ้มสู้, นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ คือสู้กับใจตน, ไม่ดุด่าว่าบ่น
พ้นทุกข์สนุกดี, ความดีมีทุกโอกาส ความประมาททำาให้พลาดจากความดี
       วิธีเจริญเมตตาภาวนา “ขอให้เร� สัตว์ทั้งหล�ย ศัตรูทั้งหล�ย จงเป็นสุข
เป็นสุขเถิด จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ไม่วิตกกังวล ไม่เศร้�โศกพย�บ�ท ไม่
ทุกข์ก�ยทุกข์ใจ มีคว�มสุขรักษ�ตนอยู่เถิด”
          “พระพุทธเจ้าตรัสอานิสงส์เมตตา มีถึง 11 ประการคือ ตื่นเป็นสุข, หลับ
เป็นสุข, ไม่ฝันร้าย, เป็นที่รักของมนุษ์, เป็นที่รักของอมนุษย์, เทวดารักษา, ไฟ ยา
พิษ ศัสตรา ทำาอันตรายไม่ได้, จิตเป็นสมาธิเร็ว, หน้าตาผ่องใส, ใกล้ตายไม่หลง
และตายเข้าถึงพรหมโลก” ท่านสันติกะโรภิกขุ กล่าวในที่สุด




18 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
คำาถาม
                 ทำาไมโพชฌงค์ 7 ประการ
                 จึงสามารถบำาบัดรักษาแก้โรคภัยต่างๆ


         ความหมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตู
และก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์ คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุม
กักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรา
กักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน
         รวมทั้งขังตัวเองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปใน
กาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ
         ฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์ก็คือการปลดปล่อยตัวเองออกจากเวทนา
และโรคร้ายเหล่านั้นก็จะหมดออกไปจากอารมณ์ เมื่อโรคออกจากอารมณ์เหล่านั้น
ใจก็เป็นปรกติ

          โดยหลักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของร่างกายแล้ว โรคทั้งหลายเกิดจากใจ
บกพร่องไม่ถูกต้องกันเสีย 90 กว่าเปอร์เซนต์ เมื่อใจเป็นปรกติถูกต้องไม่บกพร่อง
ร่างกายก็จะสร้างแอนตี้บอดี้ สามารถที่จะมีกระบวนการกำาจัดขัดเกลา ทำาลายร้าง
สิ่งที่แปลกปลอม หรือสิ่งที่เข้ามาเกาะกินสุขภาพของกายสุขภาพของจิตหรือสุขภาพ
ของใจ ร่างกายก็จะสร้างสารชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่จะทำาลายศัตรูที่แปลกปลอมเข้า
มาในกายนี้ เรียกว่าเป็นการต้านทานและก็ภูมิคุ้มกัน ขบวนการของโพชฌงค์ก็คือ
กระบวนการที่เหมือนยารักษาโรค เป็น สูตรสำาเร็จในการที่จะชำาระ แกะ แคะ
เกา และก็ขัดสีฉวีวรรณจิตนี้ให้ผุดผ่อง และก็เป็นกระบวนการของจิตที่ปล่อยวาง
จากอารมณ์สุขทุกข์และเวทนาทั้งปวงได้อย่างที่สุด


                          ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 19
สติสัมโพชฌงค์ (ความระลึกได้ สำานึกพร้อมอยู่ ใจอยูกบกิจ จิตอยูกบเรือง)
                                                       ่ั          ่ั ่
      ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม )
      วิริยะสัมโพชฌงค์ (ความเพียร)
      ปีติสัมโพชฌงค์ (ความอิ่มใจ)
      ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ความสงบกายสงบใจ)
      สม�ธิสัมโพชฌงค์ (ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์)
      อุเบกข�สัมโพชฌงค์ (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)

      จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก
      (ป. อ. ปยุตโต)




                         ท�ไม
                          ำ
                โพชฌงค์ 7 ประก�
                                  ร
                 จงส�ม�รถบ�บด
                    ึ         ำ ั
                 รกษ� แกโรคภย
                  ั         ้ ั                      งค์
                      ต�งๆ
                       ่                 ก�รเจรญโพชฌ อย
                                               ิ
                                                     ล่
                                         คอก�รปลดป
                                          ื
                                               ตวเอง
                                                 ั




20 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
พุทธศาสนาวันละคำา
                             กรรม

(๓๒๖) กรรม ๑๒ (การกระทำาที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม, ในที่นี้หมาย
ถึงกรรมประเภทต่างๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้น
— karna; kamma; action; volitional action)

หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำาแนกตามเวลาที่ให้ผล
(classification according to the time of ripening or taking effect)
        ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
(กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้ — karma to be experienced here
and now; immediately effective kamma)
        ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม
(กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า — karma to be experienced
on rebirth; kamma ripening in the next life)
        ๓. อปราปริยเวทนียกรรม
(กรรมให้ผลในภพต่อๆไป — karma to be experienced in some sub-
sequent becoming; indefinitely effective kamma)
        ๔. อโหสิกรรม
(กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก — lapsed or defunct kamma)

หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำาแนกการให้ผลตามหน้าที่
(classification according to function)
       ๕. ชนกกรรม
(กรรมแต่งให้เกิด, กรรมที่เป็นตัวนำาไปเกิด — productive karma; repro-
ductive kamma)
       ๖. อุปัตถัมภกกรรม
(กรรมสนับสนุน, กรรมที่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซ้ำาเติมต่อจากชนกกรรม
—supportive karma; consolidating kamma)

                      ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 21
๗. อุปปีฬกรรรม
(กรรมบีบคั้น, กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น
ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน obstructive kar-
ma; frustrating kamma)
          ๘. อุปฆาตกกรรม
(กรรมตัดรอน, กรรมที่แรง ฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม เข้า
ตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดในตระกูลสูง
มั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น — destructive karma; supplanting kamma)

หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำาแนกตามความยักเยื้องหรือลำาดับ
ความแรงในการให้ผล(classification according to the order of ripening)
         ๙. ครุกกรรม
(กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม — weighty kamma)
         ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม
(กรรมทำามากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม — habitual kamma)
         ๑๑. อาสันนกรรม
(กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำาเมือจวนจะตาย จับใจอยูใหม่ๆ ถ้าไม่มี ๒ ข้อ
                                                               ่
ก่อน ก็จะให้ผลก่อนอืน — death threshold kamma; proximate kamma)
                    ่
         ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม
(กรรมสักว่าทำา, กรรมทีทาไว้ดวยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนันโดยตรง ต่อเมือ
                       ่ำ ้                                      ้              ่
ไม่มกรรมอืนให้ผลแล้วกรรมนีจงจะให้ผล — reserve kamma; casual act)
    ี      ่               ้ึ
กรรม ๑๒ หรือ กรรมสี่ ๓ หมวดนี้ มิได้มีมาในบาลีในรูปเช่นนี้โดยตรง พระอาจารย์
สมัยต่อมา เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ได้รวบรวมมาจัดเรียงเป็นแบบไว้ภายหลัง.

Vism.601; Comp.144. วิสุทธิ.๓/๒๒๓; สังคห.๒๘
โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์
ฉบับประมวลธรรม




22 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
สุขภาพ
           แมคโครไบโอติกส์ (Macrobiotic)
                                                              กลุ่มงานสุขศึกษา

          แมคโครไบโอติ ก ส์ ห มาย         กิน ให้สอดคล้องกับธรรมชาติที่อยู่
ถึง แนวทางอันยิ่งใหญ่ของชีวิต หรือ        อาศัย เพื่อให้มีสุขภาพดี เต็มเปี่ยมไป
ทัศนะการมองชีวิตที่กว้างใหญ่ ความ         ด้วยพลังแห่งชีวิต (Vitality) มีชีวิต
คิดพื้นฐานของแมคโครไบโอติกส์คิด           ชีวา มีความสุข และมีอิสระภาพ หาก
ว่าทุก ๆ สิ่งล้วนกำาเนิดมาจากอนันต์       ใครสามารถดื่ม กินในชีวิตประจำาวัน
อันไม่สิ้นสุด และกำาลังเปลี่ยนแปลง        ตามกฏของธรรมชาติ ชีวิตย่อมประสบ
อย่างไม่หยุดนิ่งตลอดเวลา ชี้ว่าเราควร     กับสุขภาพดีและมีความสุข ในทาง
จะผ่อนคลายทัศนะการมองโลกอย่าง             ตรงกันข้าม หากใครไม่ดื่ม กินในชีวิต
แคบ ๆ ตายตัว เพื่อจะได้รับรู้สึกถึง       ประจำาวันตามกฎของธรรมชาติ คน
ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติอันเป็น          ผู้นั้นย่อมประสบกับทุกขภาพ อันได้แก่
หลักพื้นฐานสำาคัญ การดูแลสุขภาพ           โรคภัย ความเจ็บปวด ภัยพิบัติ ชีวิต
ในเรื่องการกิน ถ้าเราได้ตระหนักรู้ว่า     เต็มไปด้วยความทุกข์ ไร้อิสระภาพ นี่
“ เร�เป็นอย่�งที่ เร�กิน เร�คิด เร�       คือความยุติธรรมของธรรมชาติ
พูด เร�ทำ� ” การกินทำาให้เรามีชีวิต มี
เรี่ยวแรง มีพลังที่ใช้ในการดำาเนินชีวิต   ประวัติแมคโครไบโอติกส์
ประจำาวัน รวมทั้งการมีภูมิต้านทาน                  นายแพทย์ชาวญีปน ซาเก็น อิชิ
                                                                    ่ ุ่
โรค เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง          ซูกะ (Sagen Ishizuka พ.ศ.2393-
และมีสุขภาพที่ดี การกินจึงเกี่ยวข้อง      2453) ได้เสนอทฤษฏีอาหารและการ
กับสุขภาพอย่างมาก                         แพทย์ ที่ผสมผสานระหว่างทฤษฏีการ
                                          แพทย์พื้นบ้านที่เกี่ยวกับอาหาร และ
        แมคโครไบโอติกส์ คือ การ           ทฤษฏีการแพทย์แผนปัจจุบันทางด้าน
สร้ า งความสมดุ ล ทุ ก ด้ า นของชี วิ ต   เคมี ชีวะวิทยา ชีวะเคมี และสรีระ
และธรรมชาติ ทั้งด้านกาย อารมณ์            วิทยา
จิตใจ สังคม ชีวะวิทยา นิเวศวิทยา                  อิชซกะ สามารถเยียวยาผูปวย
                                                       ิู                  ้ ่
เป็นการดำาเนินวิถีชีวิตประจำาวัน          ให้หายขาดได้เป็นจำานวนมาก โดยการ
        โดยเฉพาะเรื่อง การดื่ม การ        แนะนำาให้รบประทานอาหารพืนบ้าน มี
                                                     ั                   ้
                          ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 23
ข้าวกล้อง ผัก และสาหร่ายทะเล จน                Macrobiotics) และการประยุกต์ใช้
ได้รบสมยานามว่า “คุณหมอพืชผักแห่ง
    ั                                          ไปทัวโลก จวบจนเสียชีวตเมืออายุได้
                                                       ่                  ิ ่
โตเกียว” หลักการอาหารทีใช้รกษา คือ
                         ่ ั                   74 ปี ปัจจุบนหลักแมคโครไบโอติกส์
                                                               ั
หลักการอาหารของอิชซกะ (Sagen
                      ิู                       ได้รบการยึดถือปฏิบตกนทัวโลก
                                                     ั               ั ิั ่
Ishizuka’s diet) มีหลักการ 5                             จอร์จ โอซาว่า บิดาแห่ง
ประการคือ                                      แมคโครไบโอติกส์ มีแนวคิดว่ามนุษย์
1. อาหารเป็นพื้นฐานของสุขภาพและ                เกิดมาแล้วต้องมีความสุข โดยเขียนไว้
ความสุข                                        ว่า “ หากใครไม่มีความสุข ไม่สมควร
2. โซเดียม (Na) และโปแตสเซียม                  กิน เพราะมันเป็นความผิดของเขาเอง
(K) เป็นธาตุที่ต่อต้านและเสริมให้              ”ทั้ ง ความสุ ข และการกิ น นั้ น สามารถ
สมบูรณ์ในอาหาร คือคุณสมบัติหยิน-               หาได้ในชีวิตประจำาวันที่เป็นหนึ่งเดียว
หยางของอาหาร                                   กับจักรวาล โดยการศึกษาจากปรัชญา
3. ธัญพืชเป็นอาหารหลักของมนุษย์                ของ หยิน-หยาง ในคัมภีร์อี้จิงของจีน
4. อาหารควรเป็นอาหารทีครบส่วน คง
                          ่                    เมื่อ 5,000 ปี ที่แล้ว และหลักการของ
รูปเดิม ไม่ผานการขัดสี ปราศจากการ
             ่                                 หยิน-หยางนี่เองจะเป็นเข็มทิศนำาทาง
ปรุงแต่ง ได้จากธรรมชาติ                        ของเรา ทำาให้เรามองเห็นทิศทางชีวิต
5. อาหารต้องปลูกในท้องถิ่น และ                 ของเราเอง ช่วยให้เราหาจุดยืนของ
ควรกินตามฤดูกาล                                เราในจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุด และนำา
                                               เราไปสู่สุขภาพและความสุข ช่วยให้
          จอร์จ โอซาวา (Gorge                  เราสามารถทำาความเข้าใจสิ่งต่างๆใน
Ohsawa) ได้เรียนรูสตรอาหารเพือ
                         ู้               ่    ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่เรา
รั ก ษาตนเองจากลู ก ศิ ษ ย์ ข องอิ ชิ ซู ก ะ   กินเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย
สองคน คือ มานาบึ นิชบาตะ (Mr.
                            ิ                  และจิตใจของเราอย่างไร
Manabu Nishibata) และโชจิโร่
โกโตะ (Mr.Shojiro Goto) จน                     สภ�วะสุขภ�พ
หายขาดและฟื้นฟูสุขภาพขึ้นใหม่แล้ว                      การประเมินภาวะสุขภาพตาม
โอซาว่ า ได้ เ ขี ย นบทความมากมายตี            แนวทางของแมคโครไบโอติ ก ส์ นั้ น
พิมพ์ในวารสาร จอร์จ โอซาว่า ก็ได้              แตกต่างจากศาสตร์อื่น ๆ อย่างสิ้น
อุ ทิ ศ ตนเพื่ อ การเผยแพร่ ป รั ช ญา          เชิง โดยโอซาว่าได้เสนอแนวทางการ
แมคโครไบโอติกส์แบบเซ็น             (Zen        ประเมินสุขภาพไว้ 7 ข้อ ต้อง

24 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒
จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้าwatpadongyai
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์guest3650b2
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมniralai
 
คู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธคู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธniralai
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนเรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมniralai
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมPanda Jing
 
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี Panuwat Beforetwo
 

La actualidad más candente (18)

๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า๐๐๖.๐๔.  สุดยอด วัตร  ๑๔  หน้าแรกมีตาราง      มี ๓๔  หน้า
๐๐๖.๐๔. สุดยอด วัตร ๑๔ หน้าแรกมีตาราง มี ๓๔ หน้า
 
โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์โอวาทพระอาจารย์
โอวาทพระอาจารย์
 
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
Seang Dhamma Vol. 36 No. 433 May, 2011
 
Dhammaratana journal 6
Dhammaratana journal 6Dhammaratana journal 6
Dhammaratana journal 6
 
Immortality Thama.Pps
Immortality Thama.PpsImmortality Thama.Pps
Immortality Thama.Pps
 
งาน
งานงาน
งาน
 
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
Seangdhamma Vol. 37 No. 439 November 2011
 
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรมสมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
สมุดประจำตัวสำหรับผู้เขาค่ายคุณธรรม
 
คู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธคู่มืออบรมยุวพุทธ
คู่มืออบรมยุวพุทธ
 
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
Seang Dhamma Vol. 37 No. 443 March 2012
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011 Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 436 August 2011
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 441 January 2012
 
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
เอกสารประกอบการบรรยายวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ (ตอน ๑)(1)
 
เรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชนเรื่องศาสนาเชน
เรื่องศาสนาเชน
 
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรมคู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
คู่มือค่ายพุทธบุตรอุ่นใจธรรม
 
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรมอีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
อีบูีค ๑๐๐ พระชันษา พระโอวาทธรรม
 
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
Saeng Dhamma Vol. 37 No. 442 February 2012
 
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
บทสวดมนต์ ก่อนนอน ฝึกสมาธิ สร้างความโชคดี
 

Similar a จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒

1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10thTongsamut vorasan
 
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่งครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่งพัน พัน
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพTongsamut vorasan
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555Carzanova
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrareciteTongsamut vorasan
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน Tongsamut vorasan
 
ธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรมธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรมnidkybynew
 
ธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรมธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรมnidkybynew
 
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยThanawut Rattanadon
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55Kwandjit Boonmak
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55Kwandjit Boonmak
 
Wansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayaWansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayatippaya6563
 

Similar a จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒ (20)

1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10  ariyavinaya10th
1 อริยวินัย ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ariyavinaya10th
 
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่งครูพัชราภรณ์    เหมือนรุ่ง
ครูพัชราภรณ์ เหมือนรุ่ง
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๑
 
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพโพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)   โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
 
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
ระลึกบุญ มาฆบูชา 7 มีนาคม 2555
 
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
10 สาธยายธรรม ( บทสวดมนต์แนวพุทธ )sutrarecite
 
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนาสถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกหายนะเป็นพัฒนา
 
มุตโตทัย
มุตโตทัยมุตโตทัย
มุตโตทัย
 
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน สุภีร์ ทุมทอง   สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
สุภีร์ ทุมทอง สติปัฏฐาน ๔ เสันทางตรงสู่พระนิพพาน
 
ธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรมธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรม
 
ธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรมธรรมะกฎแห่งกรรม
ธรรมะกฎแห่งกรรม
 
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
140128 วารสารยุวพุทธสัมพันธ์
 
พระรัตนตรัย
พระรัตนตรัยพระรัตนตรัย
พระรัตนตรัย
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
ติวศาสนา55
ติวศาสนา55ติวศาสนา55
ติวศาสนา55
 
Wansamkarn tippaya
Wansamkarn tippayaWansamkarn tippaya
Wansamkarn tippaya
 

Más de dentyomaraj

ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 Pค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 Pdentyomaraj
 
Competition brochure snake game 55
Competition brochure snake game 55Competition brochure snake game 55
Competition brochure snake game 55dentyomaraj
 
Kid yoga,Thai language
Kid yoga,Thai languageKid yoga,Thai language
Kid yoga,Thai languagedentyomaraj
 
Ortho price list 2012
Ortho price list 2012Ortho price list 2012
Ortho price list 2012dentyomaraj
 
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547dentyomaraj
 
Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284
Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284
Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284dentyomaraj
 
บทที่ 10 serratiopeptidase
บทที่ 10 serratiopeptidaseบทที่ 10 serratiopeptidase
บทที่ 10 serratiopeptidasedentyomaraj
 
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น dentyomaraj
 
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in ThailandRational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailanddentyomaraj
 
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมาสามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมาdentyomaraj
 
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54dentyomaraj
 
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักวัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักdentyomaraj
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑dentyomaraj
 
Chaipattana tsunami
Chaipattana tsunamiChaipattana tsunami
Chaipattana tsunamidentyomaraj
 
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubEndodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubdentyomaraj
 
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัวหนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัวdentyomaraj
 
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขdentyomaraj
 
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697dentyomaraj
 
โยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะโยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะdentyomaraj
 
การพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speechการพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speechdentyomaraj
 

Más de dentyomaraj (20)

ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 Pค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
ค่าตอบแทนภาระงาน™P 4 P
 
Competition brochure snake game 55
Competition brochure snake game 55Competition brochure snake game 55
Competition brochure snake game 55
 
Kid yoga,Thai language
Kid yoga,Thai languageKid yoga,Thai language
Kid yoga,Thai language
 
Ortho price list 2012
Ortho price list 2012Ortho price list 2012
Ortho price list 2012
 
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2547
 
Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284
Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284
Danzenตอบโดย ภญ. ศยามล สุขขา 2284
 
บทที่ 10 serratiopeptidase
บทที่ 10 serratiopeptidaseบทที่ 10 serratiopeptidase
บทที่ 10 serratiopeptidase
 
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
ทันตกรรมป้องกันในเด็กและวัยรุ่น
 
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in ThailandRational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
Rational Drug Use : Drug use in 3 commom diease in Thailand
 
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมาสามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
สามสิ่งดีๆ ในอาทิตย์ที่ผ่านมา
 
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
Dhamma nearby 16/06/2011volume 54
 
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลักวัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
วัยซน วัยใส ใส่ใจมื้อหลัก
 
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
จุลสารชมรมจริยธรรม ฉบับที่ ๑
 
Chaipattana tsunami
Chaipattana tsunamiChaipattana tsunami
Chaipattana tsunami
 
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpubEndodontic or root canal treatment knowledge, panpub
Endodontic or root canal treatment knowledge, panpub
 
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัวหนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร    หลวงตามหาบัว
หนังสือ สำหรับงานพระราชทานเพลิงสังขาร หลวงตามหาบัว
 
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุขร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
ร่างพระราชบัญญัติ ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
 
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
ร่วมแสดงความเห็นใน 12 ประเด็น ที่เกี่ยวกับร่าง พรบ.697
 
โยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะโยคะหัวเราะ
โยคะหัวเราะ
 
การพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speechการพูดที่อบอุ่น Warm Speech
การพูดที่อบอุ่น Warm Speech
 

จุลสารชมรมจริยธรรมฉบับที่๒

  • 1. จุ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม - เดือน สิงหาคม 2553 ลสาร ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี ISSN 1906-7860
  • 2. ฟั ง ธรรม นั ่ ง สมาธิก่อนประชุม ทำ า บุ ญ ตั ก บาตร 2 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 3. จุลสารชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านจริยธรรม หลักธรรม และแนวทางการ ปฏิบัติธรรมของทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา 2. เพื่อเป็นสื่อ ในการเผยแพร่ผลงาน และกิจกรรมของชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช 3. เพื่อให้สมาชิกชมรมและผู้สนใจมีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นในด้าน จริยธรรม หลักธรรม แนวการปฏิบัติธรรมและพิจารณานำามาปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาจิตใจ สำ�นักง�น องค์กรแพทย์ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช โทรศัพท์ 0-3552-1555 ต่อ 7401 ที่ปรึกษ� นายแพทย์ชัชรินทร์ ปิ่นสุวรรณ ผู้อำานวยการโรงพยาบาล แพทย์หญิงจงดี แจ้งศรีสุข นายแพทย์ธีรินทร์ รัตนพิชญชัย แพทย์หญิงไพลิน รัตนพิชญชัย ประธ�นชมรม แพทย์หญิงนลินี เดียววัฒนวิวัฒน์ บรรณ�ธิก�ร แพทย์หญิงวิไลพร สกุลพิพัฒน์ศิลป์ กองบรรณ�ธิก�ร ทันตแพทย์หญิงอุไร บัวทอง นพ.จิรภัทร กัลยาณพจน์พร เภสัชกรอุ่นเรือน เจริญสวัสดิ์ นายวรวรรธ อุดมสิริคุณ น.ส.จเกศบุญชู เกษมพิพัฒน์พงศ์ นางศศินา ญาณลักษณ์ น.ส.วิราวรรณ เทพาวัฒนาสุข น.ส.ธนภรณ์ กุลทัพ น.ส.สุมลฑา แตงโต น.ส.กรพินทุ์ ปานวิเชียร นางฐิติมา บุญชื่น นางรุ่งนิภา จ่างทอง นางพยงค์ ชินบุตร นางอมรรัตน์ ลิ้มจิตสมบูรณ์ ฝ่�ยศิลป์ นางจงรักษ์ ระโหฐาน นางแววดาว บุญจิตธรรม ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 3
  • 4. สารจากประธานชมรม เมื่ อ มี ก ารเกิ ด มาเป็ น มนุ ษ ย์ นั บ ว่ า เป็ น สิ่ ง ที่ประเสริฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดในบวร พระพุทธศาสนาที่มีพระพุทธเจ้า เช่นขณะนี้ เมื่อ เกิดขึ้นแล้วเรามีกิจที่ต้องปฏิบัติในลูก , พ่อ , แม่ ประชาชนชาวไทยรวมทั้งมีการเลี้ยงชีพชอบ คือ การทำางาน “การทำางาน คือ การปฏิบัติชอบ คือ การปฏิบัติธรรม หมุนไปรู้ “อริยมรรค” เข้า หลักอริยผล จักต้องหมั่นภาวนา ทำาให้มี ทำาให้เป็น ทำาให้ดีขึ้น ในการงานหน้าที่ที่ได้ รับผิดชอบ พระพุทธองค์ทรงสอนให้สันโดษ ในการทำาความดีต้องพัฒนาความดี อย่า หยุดแค่ดี อย่าหยุดแค่นี้ ก็น่าจะพอแล้ว แต่ดีต้องเจริญพัฒนา เพราะในเนื้อแท้ของ ความดี คือ เพชร มีประกอบด้วย คือ สมาธิ ปัญญา มีค่ามหาศาล จาก “ร้อยวาทะธรรมะปิดทองร้อยวาทะธรรมปิดทอง พระราชรัตนรังสี (วีรยุทธ์ วีรยุทโธ) ด้วยความปรารถนาดี แพทย์หญิงนลินี เดียววัฒนวิวัฒน์ ประธานชมรมจริยธรรม บรรณาธิการแถลง ปัจจุบันเป็นยุคของการนำาธรรมะมาใช้ในชีวิตประจำาวัน เป็นธรรมะแบบ practical เป็นธรรมะแบบ modernization จุลสารของชมรมจริยธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ธรรมะ เพื่อให้ ชีวิตการทำางานของทุกท่านมีความสุข happy go lucky ค่ะ พญ. วิไลพร สกุลพิพัฒน์ศิลป์ 4 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 5. สารบัญ พระอริยะสงฆ์ ..... หลวงตามหาบัว 6 สมาธิ ..... สมาธิเพื่อชีวิต 10 ภาวนา .....จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด 16 คำาถาม ..... โพชฌงค์ 7 ประการ 19 พุทธศาสนาวันละคำา .... กรรม 21 สุขภาพ ..... แมคโครไบโอติกส์ 23 จดหมาย ..... ขอบพระคุณ 27 สัมภาษณ .์ .... คิดอย่างไรมีความสุข สบายใจ 28 ชมรมจริยธรรม ... ปฏิบตธรรม ั ิ 30 ... กิจกรรมงานบุญ 38 ... ความสุขที่แท้จริง 35 ... การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม 37 ผลงาน.....ชมรมเพื่อนโรคไต รพ.เจ้าพระยายมราช 40 บุญ.....บุญยุคดิจิตอล 42 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 5
  • 6. พระอริยะสงฆ์ หลวงตามหาบัว กำ�เนิด ในครอบครัวชาวนาผู้มีอันจะ บวชของลูกให้ได้ ถึงกับทำาให้พ่อแม่น้ำา กิน ณ บ้านตาด อุดรธานี ตาร่วง ครั้งนี้ท่านรู้สึกสะเทือนใจและ วันเกิด ๑๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๖ เห็นใจพ่อแม่มาก จึงตัดสินใจ และ นาม บัว โลหิตดี ยอมบวชตามประเพณี เพื่อตอบแทน พี่น้องทั้งหมด ๑๖ คน พระคุณพ่อแม่ โดยตั้งใจไว้ในตอนต้นนี้ สมัยเด็ก เคารพเลื่อมใสในพระพุทธ ว่า จะบวชเพียงระยะสั้น ๆ เท่านั้น ศาสนา โดยได้ร่วมทำาบุญตักบาตรกับ วันบวช ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ผู้ใหญ่อยู่เสมอ ณ วัดโยธานิมิตร อุดรธานี พระอุปัชฌ�ย์ ชื่อ ท่านเจ้าคุณพระ วั ย หนุ่ ม เป็ น หั ว เรี่ ย วหั ว แรงของ ธรรมเจดีย์(จูม พันธุโล)วัดโพธิสมภรณ์ ครอบครัว ขยันขันแข็ง ทำางานอะไรทำา เค�รพพระวินัย ด้วยเดิมมีนิสัย จริงๆ จังๆ เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ใน จริงจัง จึงบวชเพื่อเอาบุญกุศลจริง ๆ การงานทั้งปวง และตั้งใจรักษาสิกขาบทวินัยน้อยใหญ่ อย่างเคร่งครัด ในพรรษาแรกท่านได้ คู่ครอง เดิมไม่เคยคิดจะบวช เพราะ ตั้งสัจอธิษฐานว่า ในการทำาวัตรเช้า- อยากมีครอบครัว แต่มักมีอุปสรรคให้ เย็นรวมและการบิณฑบาต จะไม่ให้มี แคล้วคลาดทุกทีไป วันใดขาดเลย และท่านก็ทำาได้ตามที่ เหตุที่บวช เมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ่อ ตั้งคำาสัตย์ไว้ แม่ ข อร้ อ งให้ บ วชตามประเพณี อ ยู่ เรียนปริยัติ เมื่อได้เรียนหนังสือทาง หลายครั้ง ท่านก็ทำาเฉย ๆ ตลอดมา ธรรม ตั้งแต่นวโกวาท พุทธประวัติ ไม่ตอบรับหรือปฏิเสธแต่อย่างใด ใน ประวัติพระสาวกอรหันต์ ที่ท่านมาจาก ครั้งสุดท้ายนี้ ด้วยความปรารถนา สกุลต่าง ๆ ตั้งแต่พระราชา เศรษฐี อย่างแรงกล้า หวังพึ่งใบบุญจากการ พ่อค้า จนถึงประชาชน หลังจากฟัง 6 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 7. พระพุทธโอวาทแล้ว ต่างก็เข้าบำาเพ็ญ เรียนจบ ท่านสอบได้ทั้งนักธรรมเอก เพียรในป่าเขาอย่างจริงจัง เดี๋ยวองค์ และเปรียญ ๓ ประโยคในปีที่ท่านบวช นั้นสำาเร็จเป็นพระอรหันต์ในป่า เดี๋ยว ได้ ๗ พรรษา ณ วัดเจดีย์หลวง จังหวัด องค์นี้สำาเร็จในเขา ในเงื้อมผา ในที่ เชียงใหม่ และสถานที่แห่งนี้เอง เป็นที่ สงบสงัด ท่านก็เกิดความเชื่อเลื่อมใส แรกที่ท่านได้มีโอกาสพบเห็นท่านพระ ขึ้นมา อยากจะเป็นพระอรหันต์ พ้น อาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งต่อมา ได้ จากทุ ก ข์ ทั้ ง ปวงในชาติ นี้ อ ย่ า งพระ กลายเป็นพระอาจารย์องค์สำาคัญที่สุด ในชีวิตของท่าน สาวกท่านบ้าง ออกปฏิบัติ เมื่อเรียนจบมหาเปรียญ สงสัย ช่วงเรียนปริยตอยูน้ี มีความ ัิ ่ แล้ว แม้จะมีพระมหาเถระในกรุงเทพฯ ลังเลสงสัยในใจว่า หากท่านดำาเนินและ สนับสนุนให้ท่านเรียนต่อในชั้นสูง ๆ ขึ้น ปฏิบตตามพระสาวกเหล่านัน จะบรรลุ ัิ ้ ไปก็ตาม แต่ด้วยท่านเป็นคนรักคำาสัตย์ ถึงจุดทีพระสาวกท่านบรรลุหรือไม่ และ ่ ยิ่งกว่าชีวิต ดังนั้นเมื่อมีโอกาส ท่านจึง บัดนีจะยังมีมรรคผลนิพพานอยู่ เหมือน ้ เข้ากราบลาพระผู้ใหญ่ และออกปฏิบัติ ในครังพุทธกาลหรือไม่ ้ กรรมฐานอย่างจริงจัง โดยมุ่งหน้าไป ตังสัจจะ ด้วยความมุงมันอยากเป็น ้ ่ ่ ทางป่ า เขาแถบจั ง หวั ด นครราชสี ม า พระอรหันต์บาง ท่านจึงตังสัจจะไว้วา จะ ้ ้ ่ แล้วเข้าจำาพรรษาทีอำาเภอจักราช นับ ่ ขอเรียนบาลีให้จบแค่เปรียญ ๓ ประโยค เป็นพรรษาที่ ๘ ของการบวช เท่านัน ส่วนนักธรรมแม้จะไม่จบชันก็ไม่ ้ ้ พ�กเพียร ท่านเร่งความเพียรตลอด เป็นไร จากนันจะออกปฏิบตกรรมฐาน ้ ัิ ทั้งพรรษา ไม่ทำาการงานอื่นใดทั้งนั้น โดยถ่ายเดียวจะไม่ยอมศึกษาและสอบ มีแต่ทำาสมาธิภาวนา-เดินจงกรมอย่าง ประโยคต่อไปเป็นอันขาด เดียวทั้งวันทั้งคืน จนจิตได้รับความ สงบจากสมาธิธรรม ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 7
  • 8. เส�ะห�..อ�จ�รย์ เดือนพฤษภาคม โหมคว�มเพียร จากการได้ศึกษากับ ๒๔๘๕ เดินทางไปขออยู่ศึกษากับท่าน ผู้รู้จริง ได้รับอุบายต่าง ๆ มากมาย พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เหตุการณ์ และหักโหมความเพียรเต็มกำาลัง ชนิด บังเอิญกุฏิที่พักเพิ่งจะว่างลงพอดี ท่าน นั่งสมาธิภาวนาตลอดรุ่งถึง ๙ คืน ๑๐ พระอาจารย์มั่นจึงเมตตารับไว้ และ คืนโดยเว้น ๒ คืนบ้าง ๓ คืนบ้าง ทำาให้ เทศน์ ส อนตรงกั บ ปั ญ หาที่ เ ก็ บ ความ ก้ น ของท่ า นระบมจนถึ ง กั บ แตกพอง สงสั ย ฝั ง ใจมานานให้ ค ลี่ ค ลายไปได้ เลอะเปื้อนสบงเลยทีเดียว แต่จิตใจ ว่า ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่างๆ เขา ที่เคยเสื่อมนั้น กลับเจริญขึ้น ๆ จน เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผล สามารถตั้งหลักได้ นิพพานเขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ จริงจัง ท่านถูกจริตกับการอดอาหาร มรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ หาก เพราะทำาให้ท่านตัวเบา การภาวนา กำาหนดจิตจ่อด้วยสติที่ใจแล้ว จะเห็น ง่ายสะดวก และจิตใจเจริญขึ้นได้ดี จึง ความเคลื่อนไหวของทั้งธรรม ทั้งกิเลส มักงดฉันอาหารติดต่อกันเป็นเวลานาน ในใจ ขณะเดียวกันจะเห็นมรรคผล คราวหนึ่ ง ท่ า นออกวิ เ วกแถบป่ า ใกล้ นิพพานไปโดยลำาดับ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านไม่เห็นท่าน ออกบิณฑบาตนานจนผิดสังเกต ถึง ขนาดหัวหน้าหมู่บ้านต้องตีเกราะเรียก ประชุมกัน ด้วยลือกันว่า ไม่ใช่ท่านตาย แล้วหรือก็เคยมี นักรบธรรม ท่านไม่เห็นแก่การกิน การนอนมากไปกว่าผลแห่งการปฏิบัติ ธรรม ดังนั้นในช่วงบำาเพ็ญเพียร สภาพ ร่างกายของท่าน จึงเป็นที่น่าตกอก ตกใจแก่ผู้พบเห็นอย่างมาก แม้ท่าน พระอาจารย์มั่นเอง เห็นท่านซูบผอมจน ผิดสังเกต ชนิดหนังห่อกระดูก ทั้งผิวก็ ซีดเหลืองเหมือนเป็นดีซ่าน ท่านถึงกับ 8 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 9. ทักว่า “โฮ้ ทำาไมเป็นอย่างนี้ล่ะ” แต่ คืนแห่ง..คว�มสำ�เร็จ จากนันไม่นาน ้ ด้วยเกรงว่ า ลู ก ศิ ษ ย์ จะตกใจและเสีย ท่านก็มงสูวดดอยธรรมเจดีย์ (ปัจจุบน ุ่ ่ ั ั กำาลังใจ ท่านพระอาจารย์มั่นก็กลับพูด อยู่ อ.โคกศรีสพรรณ จังหวัดสกลนคร) ุ ให้กำาลังใจในทันทีนั้นว่า “มันต้องอย่าง เป็นช่วงพรรษาที่ ๑๖ ของท่าน บนเขา นี้ซิ จึงเรียกว่า นักรบ” ท่านเคยเล่าถึง ลูกนีนเี่ องของคืนเดือนดับแรม ๑๔ ค่า ้ ำ ความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับกิเลส เพื่อ เดือน ๖ (จันทร์ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓) จะเอาแพ้เอาชนะกันว่า “ถ้ากิเลสไม่ เวลา ๕ ทุมตรง ท่านได้บรรลุธรรมด้วย ่ ตาย เราก็ต้องตาย จะให้อยู่เป็นสอง ความอดทนพากเพียร พยายามอย่าง สืบเนืองตลอดมา นับแต่วนออกปฏิบติ ่ ั ั ระหว่างกิเลสกับเรานั้น ไม่ได้” กรรมฐานอย่างเต็มเหนียวรวมเวลา ๙ ปี ่ ปัญญ�ก้�วเดิน ด้วยความมุ่งมั่น คืนแห่งความสำาเร็จระหว่างกิเลสกับ จริงจังดังกล่าว ทำาให้จิตใจของท่าน ธรรมภายในใจของท่านจึงตัดสินกันลง ได้หลักสมาธิแน่นหนามั่นคงท่านทรง ได้ ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัย ภาวะนี้นานถึง ๕ ปี ไม่ขยับก้าวหน้า ทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพชาติ เรื่องเกิด ต่อ ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อุบาย แก่ เจ็บ ตาย กิเลสตัณหา อาสวะทุก อย่ า งหนั ก เพื่ อ ให้ อ อกพิ จ ารณาทาง ประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจ ด้านปัญญา ทั้งทางอสุภะ(ซากศพ) ในคืนวันนั้นเอง กระทั่งถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทั้งส่วนหยาบ ส่วนกลาง และส่วน ละเอียด จนสามารถรู้เรื่องรู้ราว ฆ่ากิเลสตัวนั้นได้ ตัดกิเลสตัวนี้ได้ โดยลำาดับ ๆ ในช่วงนี้ท่านมีความ เพลิดเพลินในความเพียรเพื่อฆ่ากิเลส ชนิดเดินจงกรมไม่รู้จักหยุด ตั้งแต่เช้า หลังจังหันจนกระทั่งปัดกวาดในตอน บ่าย ไม่รู้จักเหน็ดจักเหนื่อย ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 9
  • 10. สมาธิ สมาธิเพื่อชีวิต พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) สมาธิแบบพระพุทธเจ้า การ อนาคต รู้อดีต หมายถึงรู้ชาติในอดีต กำาหนดรู้เรื่องชีวิตประจำาวันนี่เป็นเหตุ ว่าเราเกิดเป็นอะไร รู้อนาคต หมาย เป็นปัจจัยสำาคัญ สำาคัญยิ่งกว่าการนั่ง ถึงว่าเมื่อเราตายไปแล้วเราจะไปเป็น หลับตาสมาธิ อะไร อันนี้เป็นการปฏิบัติเพื่อรู้ สอนสมาธิ ต้ อ งสอนสิ่ ง ที่ ใ กล้ ตัวที่สุด ความรู้เห็นอะไรที่เขาอวด ๆ ทีนี้เมื่อเร�ม�พิจ�รณ�กันจริง ๆ กันนี่ อย่าไปสนใจเลย ให้มันรู้เห็นจิต อ ดี ต เ ป็ น สิ่ ง ที่ ล่ ว ง ไ ป แ ล้ ว ของเรานี่ รู้กายของเรา รู้ว่าธรรมชาติ อนาคตก็เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ดังนั้นเรา ของกายอย่างหยาบ ๆ มันต้องมีการ มาสนใจอยู่ในสิ่งที่เป็นปัจจุบันดีไหม เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ ยืน เดิน นั่ง ที่ ค รู บ า อ า จ า ร ย์ ส อ น ว่ า นอน รับประทาน ดื่ม ทำา พูด คิด อันนี้ ทำากรรมฐานไปโน่นเห็นนี่ นี่มันใช้ไม่ได้ คือความจริงของกาย ให้มันเห็นใจเราเองซิ อย่าไปเข้าใจว่าทำาสมาธิแล้ว สม�ธิ…เพื่ออะไร ต้องเห็นนรก ต้องเห็นสวรรค์ ต้องเห็น ปัญหาสำาคัญของการฝึกสมาธิ อะไรต่อมิอะไร สิ่งที่เราเห็นในสมาธิมัน นี่ บางทีเราอาจจะเข้าใจไขว้เขวไปจาก ไม่ผิดกันกับที่เรานอนหลับแล้วฝันไป หลักความจริง แต่สิ่งที่เราจำาเป็นต้องรู้ต้องเห็นนี่ คือ สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้ เห็นกายของเรา เห็นใจของเรา จิตสงบนิ่ง สมาธิอย่างหนึ่ง เราฝึกเพื่อให้ หลักส�กลของก�รปฏิบัติสม�ธิ มีสติสัมปชัญญะรู้ทันเหตุการณ์นั้น ๆ การบำ า เพ็ ญ สมาธิ จิ ต เพื่ อ ให้ ในขณะปัจจุบัน เกิด สมาธิ สติ ปัญญา มีหลักที่ควร สมาธิบางอย่าง เราปฏิบัติเพื่อ ยึดถือว่า ทำาจิตให้มีอารมณ์สิ่งรู้ สติให้ ให้เกิดความรู้ความเห็นภายในจิต เช่น มีสิ่งระลึก จิตนึกรู้สิ่งใดให้มีสติสำาทับ รู้เห็นสิ่งมหัศจรรย์ต่าง ๆ รู้เรื่องอดีต เข้าไปที่ตรงนั้น ยืน เดิน นั่ง นอน รับ 10 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 11. ประทาน ดื่ม ทำา พูด คิด เป็นอารมณ์ จะไปนั่ ง หลั บ ตาภาวนาหรื อ เพ่ ง ดวง จิต ฝึกสติให้รู้อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าใคร จิตแล้ว ออกจากที่นั่งมา เรามีสติตาม จะทำาอะไร มีสติตัวเดียว เวลานอนลง รู้ การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ไป จิตมันมีความคิดอย่างใด ปล่อยให้ ดื่ม ทำา พูด คิด แม้ว่าเราจะไม่นั่งสมาธิ มันคิดไป แต่ให้มีสติตามรู้ไปจนกว่าจะ อย่างที่พระท่านสอนก็ได้ เพราะว่า นอนหลับ อันนี้เป็นวิธีการทำาสมาธิตาม เราฝึกสติอยู่ตลอดเวลา เวลาเรานอน หลักสากล ลงไป คนมีความรู้ คนทำางาน ย่อมมี ถ้ามีใครมาถามว่า ทำาสมาธิ ความคิด ในช่วงที่เรานอนนั่นแหละ เรา นี่คือทำาอย่างไร คำาตอบมันก็ง่ายนิด ปล่อยให้จิตเราคิดไป แต่เรามีสติตามรู้ เดียว การทำาสมาธิ คือ การทำาจิตให้ ความคิดจนกระทั่งนอนหลับ มีสิ่งรู้ ทำาสติให้มีสิ่งระลึก หมายความ ถ้าฝึกต่อเนื่องกันทุกวัน ๆ เราจะ ว่า เมื่อจิตของเรานึกถึงสิ่งใดให้มีสติ ได้สมาธิอย่างประหลาด นี่ถ้าเราเข้าใจ สำาทับไปที่ตรงนั้น เรื่องอะไรก็ได้ ถ้า กันอย่างนี้ สมาธิจะไม่เป็นอุปสรรค เอากันเสียอย่างนี้ เราจะรู้สึกว่าเราได้ ต่อการทำางาน ไม่เป็นอุปสรรคต่อการ ทำาสมาธิอยู่ตลอดเวลา สร้างสรรค์โลกให้เจริญ แต่ถ้าหากจะ เอาสมาธิ มุ่ ง แต่ ค วามสงบอย่ า งเดี ย ว สม�ธิ…ไม่ใช่ก�รนั่งหลับต�เท่�นั้น มันจะเกิดอุปสรรคขึ้นมาทันที แม้การ ถ้าหากไปถือว่าสมาธิคือการ งานอะไรต่าง ๆ มองดูผู้คนนี่ขวางหู นั่งหลับตาอย่างเดียว มันก็ถูกกับความ ขวางตาไปหมด อันนั้นคือสมาธิแบบ เห็ น ของคนทั้ ง หลายที่ เ ขาแสดงออก ฤาษีทั้งหลาย แต่ถ้าเราจะคิดว่า อารมณ์ของสมาธิ คือ การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ทำ�สม�ธิถูกท�ง ไม่หนีโลก ไม่หนี ดื่ม ทำา พูด คิด ไม่ว่าเราจะทำาอะไร มี ปัญห� สติสัมปชัญญะรู้อยู่กับเรื่องปัจจุบัน คือ ผู้ ที่ มี จิ ต เป็ น สมาธิ ที่ ถู ก ต้ อ ง เรื่องชีวิตประจำาวันนี้เอง เราจะเข้าใจ นี่ ส มมติ ว่ า มี ค รอบครั ว จะต้ อ งรั ก หลักการทำาสมาธิอย่างกว้างขวาง และ ครอบครั ว ของตั ว เองมากขึ้ น หนั ก เข้ า สมาธิที่เราทำาอยู่นี่จะรู้สึกว่า นอกจาก ความรักมันจะเปลียน เปลียนจากความ ่ ่ ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 11
  • 12. รักอย่างสามัญธรรมดากลายเป็นความ ไม่ มี ส มาธิ ทำ า งานใหญ่ โ ต เมตตาปรานี สำาเร็จได้อย่างไร ในเมื่อไปเผชิญหน้ากับงานที่ ไม่มีสมาธิ ปกครองบ้านเมือง ยุ่ง ๆ เมื่อก่อนรู้สึกว่ายุ่งแต่เมื่อปฏิบัติ ได้อย่างไร แล้ว ได้สมาธิแล้ว งานมันจะไม่ยุ่ง พอ พวกเราเริ่มฝึกสมาธิมาตั้งแต่ ประสบปัญหาเข้าปุ๊บ จิตมันจะปฏิวัติ พี่เลี้ยง นางนม พ่อแม่สอนให้เรารู้จัก ตัวพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ กิน รู้จักนอน รู้จักอ่าน รู้จักคนโน้นคน ซึ่งมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทีนี้ นี้ จุดเริ่มต้นมันมาแต่โน่น ทีนี้พอเข้ามา บางทีพอเราหยิบปัญหาอะไรขึ้นมา เรา สู่สถาบันการศึกษา เราเริ่มเรียนสมาธิ มีแบบแผนตำารายกขึ้นมาอ่าน พออ่าน อย่างจริงจังขึ้นมาแล้ว จบปั๊บ จิตมันวูบวาบลงไป ปัญหาที่เรา แต่ เ มื่ อ เรามาพบพระคุ ณ เจ้ า ข้องใจจะแก้ได้ทันที อันนี้คือสมาธิที่ หลวงพ่อ หลวงพี่ ทั้งหลายนี่ ท่านจะ สัมพันธ์กับชีวิตประจำาวัน ถามว่า “เคยทำาสมาธิไหม” จึงทำาให้ แต่ ส มาธิ อั น ใดที่ ไ ม่ ส นใจกั บ พวกเราทั้งหลายเข้าใจว่า เราไม่เคย เรื่องชีวิตประจำาวัน หนีไปอยู่ที่หนึ่ง ทำาสมาธิ ไม่เคยปฏิบัติสมาธิมาก่อน ต่างหากของโลกแล้ว สมาธิอันนี้ทำาให้ เพราะท่านไปขีดวงจำากัด การทำาสมาธิ โลกเสื่อมและไม่เป็นไปเพื่อทางตรัสรู้ เฉพาะเวลานั่งหลับตาอย่างเดียว มรรค ผล นิพพานด้วย ไม่เป็นช�ววัดก็ทำ�สม�ธิได้ ทุกคนเคยทำ�สม�ธิม�แล้ว ใครที่ยังไม่มีโอกาสจะเข้าวัด ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งเราสำ า เร็ จ มา เข้าวามานั่งสมาธิหลับตาอย่างที่พระ เพราะพลังของสมาธิ ท่านชักชวน การปฏิบัติสมาธิเอากัน ไม่มีสมาธิ เรียนจบปริญญามา อย่างนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ได้อย่างไร ดื่ม ทำา พูด คิด ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา ไม่มีสมาธิ สอนลูกศิษย์ลูกหา ทุ ก คนได้ ฝึ ก สมาธิ ม าตามธรรมชาติ ได้อย่างไร แล้วตั้งแต่เริ่มรู้เดียงสามา ทีนี้เรามา 12 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 13. เริ่มฝึกใหม่นี่ เป็นการเสริมของเก่าที่ สว่างอยู่ ความนึกคิดไม่มี เมื่อจิตถอน มีอยู่แล้วเท่านั้น อย่าไปเข้าใจผิด ยืน ออกจากสมาธิ พอรู้สึกว่ามีกาย ความ เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำา พูด คิดเกิดขึ้น ให้กำาหนดสติตามรู้ทันที คิด เป็นอารมณ์จิตเราทำาให้สิ่งเหล่านี้ อย่ารีบออกจากที่นั่งสมาธิ ถ้าปฏิบัติ อย่างนี้จะได้ปัญญาเร็วขึ้น ให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น เวลา ในช่ ว งนี้ ถ้ า เราไม่ รี บ ออก นอนลงไป จิตมันคิดอะไร ให้มันคิดไป จากสมาธิ ออกจากที่นั่งเราก็ตรวจดู ให้ มี ส ติ ไ ล่ ต ามรู้ มั น ไปจนกระทั่ ง นอน อารมณ์จิตของเราเรื่อยไป โดยไม่ต้อง หลับ ปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน แล้วท่านจะ ไปนึกอะไร เพียงแต่ปล่อยให้จิตมันคิด ได้สมาธิอย่างไม่คาดฝัน ของมันเอง อย่าไปตั้งใจคิดทีนี้พอออก ในขณะทำางาน กำาหนดสติรู้อยู่ จากสมาธิมาแล้ว พอมันคิดอะไรขึ้น กับงาน เวลาคิด ทำาสติรู้อยู่กับการคิด มา ก็ทำาใจดูมันให้ชัดเจน ถ้าจิตมันคิด โดยถือการทำางาน การคิด เป็นอารมณ์ ไปเรื่อย ๆ ก็ดูมันไปเรื่อย ๆ จะคิดไป ถึงไหนช่างมัน ปล่อยให้มันคิดไปเลย ของจิต เวลาคิดไป เราก็ดูไป ๆ ๆ ๆ มันจะรู้สึก โดยธรรมชาติของจิต ถ้ามีสิ่ง เคลิบเคลิ้มในความคิด แล้วจะเกิดกาย รู้ สติมีสิ่งระลึก จิตย่อมสงบ มีปีติ สุข เบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ เอกัคคตาได้ ในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง กายเบา กายสงบได้กายวิเวก จนได้ ถ้าผู้ปฏิบัติตั้งใจทำาจริง จิตเบา จิตสงบได้จิตวิเวก ทีนี้จิตสงบแล้ว จิตเป็นปกติได้ ทำ�สม�ธิโดยก�รบริกรรมภ�วน� ก็ได้อุปธิวิเวกในขณะนั้น หมายถึงการท่องคำาบริกรรม ภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พุทโธ บริกรรมพุทโธ กับก�รต�มรู้จิต คือ ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง เป็นต้น หลักเดียวกัน ผู้ภาวนาท่องบริกรรมภาวนาอย่างใด ภาวนาพุทโธเอาไว้ พอจิตมัน อย่างหนึ่งจนจิตสงบประกอบด้วยองค์ อยู่กับพุทโธก็ปล่อยให้มันอยู่ไป พอทิ้ง ฌาณ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคค พุทโธแล้วไปคิดอย่างอื่น ปล่อยให้มัน ตา จิตสงบจนกระทั่งตัวหาย ทุกสิ่ง คิดไปแต่ให้มีสติตามรู้…พุทโธที่เรามา ทุกอย่างหายไป เหลือแต่จิตที่สงบนิ่ง ท่องเอาไว้ ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 13
  • 14. ๑. เพื่อระลึกถึงพระบรมครู มันทำาให้เราปวดหัวมวนเกล้า ร้อน ๒. เพื่อกระตุ้นเตือนจิตให้เกิด ผ่าวไปทั้งตัว เพราะไปฝืนความเป็น ความคิดเอง จริงของมัน ทีนี้ภายหลังมาคิดว่า แก ทีนี้เมื่อจิตทิ้งพุทโธปั๊บ มัน จะไปถึงไหน ปรุงไปถึงไหน เชิญเลย ไปคิดอย่างอื่นขึ้นมาได้ แสดงว่าเขา ฉันจะตามดูแก ปล่อยให้มันคิดไป สามารถหาเหยื่ อ มาป้อนให้ตัวเองได้ ปรุงไป ก็ตามเรื่อยไป ทีนี้พอ ไป ๆ แล้ว เราก็ไม่ต้องกังวลที่จะหาอารมณ์ มา ๆ ตัวคิดมันก็คิดอยู่ไม่หยุด ตัวสติ มาป้อนให้เขา ปล่อยให้เขาคิดไปตาม ก็ตามไล่ตามรู้กันไม่หยุดพอ คิด ๆ ธรรมชาติของเขา หน้าที่ของเรามีสติ ไปแล้วมันรู้สึกเพลิน ๆ ในความคิด กำาหนดตามรู้อย่างเดียวเท่านั้น นี่หลัก ของตัวเอง มันคล้าย ๆ กับว่ามันห่าง การปฏิบัติเพื่อจะได้สมาธิสัมพันธ์กับ ไกล ไกลไป ๆ ๆ เกิดความวิเวกวังเวง ชีวิตประจำาวันต้องปฏิบัติอย่างนี้ กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ และพร้อม ๆ กันนั้นน่ะทั้ง ๆ ที่ความ อย่�ข่มจิตถ้�จิตอย�กคิด คิดมันยังคิดไวเร็วปรื๋อจนแทบจะตาม ถ้าเราภาวนาพุทโธ ๆ แม้ว่าจิต ไม่ทัน ปีติและความสุขมันบังเกิดขึ้น สงบเป็นสมาธิถึงขึ้นละเอียดถึงขั้นตัว แล้วทีนี้มันก็มีความเป็นหนึ่ง คือ จิต หาย เมื่อสมาธินี้มันจะได้ผลไปตาม กำาหนดรู้อยู่ที่จิต ความคิดอันใดเกิด แนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อมรรค ผล ขึ้นกับจิตสักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อย นิพพาน วางไป ๆ มันไม่ได้ยึดเอามาสร้าง ภายหลั ง จิ ต ที่ เ คยสงบนี้ มั น จะไม่ยอมเข้าไปสู่ความสงบ มันจะมา ปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน ป้วนเปี้ยนแต่การยืน เดิน นั่ง นอน แล้วในที่สุดเมื่อมันตัดกระแส รับประทาน ดื่ม ทำา พูด คิด ซึ่งอัน แห่งความคิดแล้วมันวูบวาบ ๆ เข้าไป นี้ ก็ เ ป็ น ประสบการณ์ ที่ ห ลวงพ่ อ เอง สู ค วามสงบนิ่ ง จนตั ว หายเหมื อ น ได้ประสบมาแล้ว พยายามจะให้มัน อย่างเคย จึงมาได้ข้อมูลขึ้นมาว่า เข้าไปสู่ความสงบอย่างเคย มันไม่ “อ๋อ ธรรมชาติของมันเป็นอย่างนี้ ยอมสงบ ยิ่งบังคับเท่าไรยิ่งดิ้นรน ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา นอกจากมั น จะดิ้ น แล้ ว อิ ท ธิ ฤ ทธิ์ ข อง ปัญญาอบรมจิ ต ความคิ ด อั น ใดที ่ 14 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 15. สติ รู้ทันทุกขณะจิต ความคิดอันนั้นคือ ความคิด เป็นอาหารของจิต ปัญญาในสมาธิ เป็นลักษณะของจิต ความคิด เป็นการบริหารจิต เดินวิปัสสนา” ความคิด เป็นการผ่อนคลาย พร้อม ๆ กันนั้นถ้าจะนับตาม ความตึงเครียด ลำาดับขององค์ฌาน ความคิด เป็นนิมิตหมายให้ ความคิด เป็นตัววิตก เรารู้ว่าอะไรเป็นเรื่องทุกข์ เป็นอนัตตา สติรู้พร้อมอยู่ที่ความคิด เป็น แล้วความคิดนี่แหละมันจะมายั่วยุให้ ตัววิจาร เราเกิดอารมณ์ดี อารมณ์เสีย เมื่อเรา เมื่อจิตมีวิตก วิจาร ปีติ และ มองเห็นอารมณ์ดี อารมณ์เสีย มองเห็น อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ที่ก่อเป็นตัว สุขย่อมบังเกิดขึ้นไม่มีปัญหา ทีนี้ปีติ กิเลส ทีนี้เมื่อจิตมีอิฏฐารมณ์ เกิดขึ้นแล้ว จิตมันก็อยู่ในสภาพปกติ กำาหนดรู้ความคิดที่เกิด ๆ ดับ ๆ อยู่ ตลอดเวลา ก็ได้ความเป็นหนึ่ง ถ้าจิตดำารงอยู่ในสภาวะความ เป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าจิตดำารงอยู่ใน ปฐมฌาน คือ ฌานที่ ๑ ประกอบด้วย องค์ ๕ : วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ปล่อยจิตให้คิด เกิดคว�มฟุ้งซ่�น หรือเกิดปัญญา ความคิดที่จิตมันคิดขึ้นมาเอง เป็นวิตก สติรู้พร้อม เป็นวิจาร เมื่อจิต มีวิตก วิจาร ปีติ และความสุขย่อมเกิด ขึ้น ไม่มีปัญหา ผลที่จะเกิดจากการ ตามรู้ความคิด ความคิดเป็นอารมณ์ สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ เมื่อ สติสัมปชัญญะดีขึ้น เราจะรู้สึกว่า… ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 15
  • 16. ภาวนา จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดี “จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดี” ท่านสันติกะโรภิกขุนำาเจริญภาวนา “จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด” ต่างยืนยัน ปฏิบัติตามเกิดผลจริงดับร้อนทางใจอย่างอัศจรรย์ หนทางในการสร้างจิตใจให้ใจดีใจสบายนั้น เป็นสิ่งที่ปรารถนาของหลายๆ คน วิธีสร้างใจสบายนั้นมีหลากหลายวิธี เพียงแต่ทำาอย่างไรให้จิตเกิดสติเกิดสมาธิ จนกระทั่งเกิดปัญญาในที่สุดคือถึงขั้นดับทุกข์ได้ วิธีหนึ่งที่สามารถทำาได้อย่างง่ายคือ ทำาจิตใจให้เกิดเมตตานั่นก็คือทางหนึ่งที่สำาคัญทีเดียว อย่างที่ธรรมสถานแสงสันติสุข วัดสารอด ซ.สุขสวัสดิ์ 44 เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ พระอาจารย์สันติกะโรภิกขุ ได้นำาเคล็ดลับเรื่องการสร้างสันติสุขให้เกิด ขึ้นกับครอบครัว จนถึงประเทศชาติ โดยใช้หลักแผ่เมตตา “จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ยิ้มไว้ ไม่ทุกข์ สนุกดี” เป็นธรรมาวุธฆ่ากิเลสในใจคน ซึ่งส่งผลเกิดขึ้นอย่างแท้จริงสู่ ความดับทุกข์ ดังที่มีผู้นำาไปปฏิบัติกันอย่างจริงจัง ท่านได้กล่าวกับสาธุชนให้สัมผัสกับธรรมะในใจของเรา เราบอกกับตัวเรา เองว่ายิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดีจิตจะมีอานุภาพในการดับทุกข์ เราปฏิบัติธรรมมาหลายวิธี ไม่ได้ผลเพราะเราไม่ได้ทำาให้แจ้งนิโรธคือเราเน้นที่ดับทุกข์ บอกตัวเองว่าใครมาทำา เราก็แล้วแต่เราจะดับทุกข์ในขณะนั้น ไม่ใช่เขาทำาทีเราวิ่งไปหาถ้ำาไปสำานักโน้นสำานัก นี้ไม่ทัน ทุกข์มันเกิดแล้วลงนรกแล้วไปเข้าถ้ำาพอออกมาเครียดเราเข้าถ้ำาอีก ไม่ต้อง เข้า ถูกด่าตรงไหนก็ยิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดี จิตใจของเราใครมาฝึกให้เราไม่ได้ เราต้อง ฝึกเองเราใช้บทบริกรรมยิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดีสนุกดีๆๆๆ ทุกอิริยาบถ ถ้าเรายิ้มเราได้ มิตรเรามีเมตตาเป็นที่รักของมนุษย์ตื่นเป็นสุข หลับเป็นสุข คุณมาลินี เทียมทัน พิธีกรกล่าวถึงผลของแต่ละคนได้มาปฏิบัติธรรมที่นี่ แต่ละตัวอย่างพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่าเมื่อก่อนไม่เชื่อหรอก แต่เมื่อทำาไปแล้วก็ ต้องเชื่อดังที่แต่ละคนได้เล่า 16 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 17. คุณนฤมลกล่าวว่า ได้ตามแม่มาปฏิบัติที่นี่ช่วงหนึ่งสามีเป็นโรคหัวใจต้อง ขยายเส้ น เลื อ ดด้ ว ยการทำ าบอลลูนหมอบอกถ้ามาช้ า อี ก นิ ด จะต้ อ งเสี ย ชี วิ ต แน่ ๆ ระหว่างผ่าตัดหัวใจได้ภาวนาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดยิ้มไว้ไม่ทุกข์สนุกดี การผ่าตัดผ่าน พ้นด้วยดีมาที่นี่มีโชคไป 3-4 ครั้งแล้ว คุณวาวกล่าวว่า เป็นโรคมะเร็งต้องเจาะผ่าตัดทางหน้าผากมา 2 ครั้งตั้งแต่ ภาวนาทำาให้มีจิตใจต่อสู้โรคมะเร็งทุเลาลง ทุกวันนี้จิตใจสบาย คุณพรหมกล่าวว่า มีเงินติดตัว 7 บาท อยู่ได้ 5 วันเพราะในใจภาวนายิ้มไว้ ไม่ทุกข์สนุกดีตลอด เชื่อว่าอยู่ได้เพราะบุญในใจป่วยก็หายเร็ว คุณบุญช่วยแอบยิ้มกล่าวว่า มาที่นี่ได้ 6 อาทิตย์ไม่ค่อยมีเงินไปผ่าตัด มดลูกเกิดอาการช็อกหมอช่วยให้ฟื้นขึ้นมาก็ได้ภาวนาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ตั้งแต่นั้น การเงินการงานดีขึ้นบางวันได้ 5-6 พันบาท บางวันได้เป็นหมื่น คุณนงนุชกล่าวว่า เมื่อก่อนทำาใจไม่ได้หากคนข้างบ้านพูดว่ากล่าวโมโหใส่ เหมือนมีไฟในตัว พอได้ภาวนาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด ทุกวันนี้สงบใจได้และทำาให้สามี ที่ดื่มเหล้ามา 2 ปีแล้วเลิกได้ และยังชวนกันไปทำาบุญไปไหนไปกัน คุณสำาอางค์กล่าวว่า มีหลานปลายขามีปัญหาเดินไม่ได้หมอเข้าเฝือกคนที่ บ้านต้องช่วยแผ่เมตตาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดเดี๋ยวนี้ยืนเองได้แล้ว คุณสรุตยากล่าวได้มาปฏิบตธรรมทีน่ี สามีตดเพือนไปดืมเหล้า เดียวนีไม่ไป ั ิ ่ ิ ่ ่ ๋ ้ แล้ว พีนองไม่คอยลงกันพอไปแผ่เมตตาทุกอย่างหน้ามือเป็นหลังมือพีนองคุยกันดี ่้ ่ ่้ คุณสมจิต รัศมีศร กล่าวว่า ตังแต่แผ่เมตตาโรคภัยหลายชนิดตังแต่ไขมันมาก ้ ้ ไมเกรนก็ปวด ทุกข์ทรมานรวมทังปวดหัวได้ดขน นอนก็ไม่กรนตัวเบาเป็นปกติ ้ ี ้ึ คุณกรรณิกา เกตุนาค กล่าวว่า ก่อนหน้าการงานการเงินไม่ดีเจ้านายเคย รังเกียจได้แผ่เมตตาจงเป็นสุขเป็นสุขเถิดเจ้านายกลับสละเงินซื้อนมให้ลูก โรคเบา หวานโรคความดันที่เป็นก็ปกติแล้ว รวมถึงคุณแม่โรคภัยก็ลุเลาอย่างน่าสบายใจ คำายืนยันของแต่ละท่านที่นำาหลักแผ่เมตตาไปลงมือปฏิบัติ เป็นการจากนรก สู่สวรรค์อันเจิดจ้า ทำาให้ทุกวันอาทิตย์ที่ธรรมสถาน “แสงสันติสุข” 2 แห่ง ในเวลา 08.00-12.00 น. ซ.สุขสวัสดิ์ 44 เขตราษฎร์บูรณะ กทม. และเวลา 13.00- 16.00 น. จระเข้คต ต.ไผ่พระ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีสาธุชนไปร่วม ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 17
  • 18. ปฏิบัติธรรมเป็นจำานวนมากนับพันคน เป็นการใช้เวลาอย่างคุ้มค่าที่สุดวันหนึ่งเมื่อได้ ไปธรรมสถาน “แสงสันติสุข” มีอาหารเช้า-เที่ยงเลี้ยงฟรี ผู้จะไปร่วมบุญสอบถามที่ โทร.0-2428-5959 ท่านสันติกะโรได้ฝากข้อคิดด้วยว่า ทำาพูดคิดที่ดี คือฤกษ์ดี ถูกใส่ร้ายป้ายสี ให้ทำาดี 2 เท่า, ไม่ยึด ไม่เอา ไม่สน พ้นทุกข์ อุปสรรคศัตรูคือประตูสวรรค์, มาร ไม่มีบารมี ริษยาด่ามาแผ่เมตตายิ้มสู้, นักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ คือสู้กับใจตน, ไม่ดุด่าว่าบ่น พ้นทุกข์สนุกดี, ความดีมีทุกโอกาส ความประมาททำาให้พลาดจากความดี วิธีเจริญเมตตาภาวนา “ขอให้เร� สัตว์ทั้งหล�ย ศัตรูทั้งหล�ย จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ไม่วิตกกังวล ไม่เศร้�โศกพย�บ�ท ไม่ ทุกข์ก�ยทุกข์ใจ มีคว�มสุขรักษ�ตนอยู่เถิด” “พระพุทธเจ้าตรัสอานิสงส์เมตตา มีถึง 11 ประการคือ ตื่นเป็นสุข, หลับ เป็นสุข, ไม่ฝันร้าย, เป็นที่รักของมนุษ์, เป็นที่รักของอมนุษย์, เทวดารักษา, ไฟ ยา พิษ ศัสตรา ทำาอันตรายไม่ได้, จิตเป็นสมาธิเร็ว, หน้าตาผ่องใส, ใกล้ตายไม่หลง และตายเข้าถึงพรหมโลก” ท่านสันติกะโรภิกขุ กล่าวในที่สุด 18 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 19. คำาถาม ทำาไมโพชฌงค์ 7 ประการ จึงสามารถบำาบัดรักษาแก้โรคภัยต่างๆ ความหมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตู และก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์ คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุม กักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรา กักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน รวมทั้งขังตัวเองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปใน กาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ ฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์ก็คือการปลดปล่อยตัวเองออกจากเวทนา และโรคร้ายเหล่านั้นก็จะหมดออกไปจากอารมณ์ เมื่อโรคออกจากอารมณ์เหล่านั้น ใจก็เป็นปรกติ โดยหลักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของร่างกายแล้ว โรคทั้งหลายเกิดจากใจ บกพร่องไม่ถูกต้องกันเสีย 90 กว่าเปอร์เซนต์ เมื่อใจเป็นปรกติถูกต้องไม่บกพร่อง ร่างกายก็จะสร้างแอนตี้บอดี้ สามารถที่จะมีกระบวนการกำาจัดขัดเกลา ทำาลายร้าง สิ่งที่แปลกปลอม หรือสิ่งที่เข้ามาเกาะกินสุขภาพของกายสุขภาพของจิตหรือสุขภาพ ของใจ ร่างกายก็จะสร้างสารชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่จะทำาลายศัตรูที่แปลกปลอมเข้า มาในกายนี้ เรียกว่าเป็นการต้านทานและก็ภูมิคุ้มกัน ขบวนการของโพชฌงค์ก็คือ กระบวนการที่เหมือนยารักษาโรค เป็น สูตรสำาเร็จในการที่จะชำาระ แกะ แคะ เกา และก็ขัดสีฉวีวรรณจิตนี้ให้ผุดผ่อง และก็เป็นกระบวนการของจิตที่ปล่อยวาง จากอารมณ์สุขทุกข์และเวทนาทั้งปวงได้อย่างที่สุด ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 19
  • 20. สติสัมโพชฌงค์ (ความระลึกได้ สำานึกพร้อมอยู่ ใจอยูกบกิจ จิตอยูกบเรือง) ่ั ่ั ่ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ (ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม ) วิริยะสัมโพชฌงค์ (ความเพียร) ปีติสัมโพชฌงค์ (ความอิ่มใจ) ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (ความสงบกายสงบใจ) สม�ธิสัมโพชฌงค์ (ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์) อุเบกข�สัมโพชฌงค์ (ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง) จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) ท�ไม ำ โพชฌงค์ 7 ประก� ร จงส�ม�รถบ�บด ึ ำ ั รกษ� แกโรคภย ั ้ ั งค์ ต�งๆ ่ ก�รเจรญโพชฌ อย ิ ล่ คอก�รปลดป ื ตวเอง ั 20 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 21. พุทธศาสนาวันละคำา กรรม (๓๒๖) กรรม ๑๒ (การกระทำาที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตาม ชั่วก็ตาม, ในที่นี้หมาย ถึงกรรมประเภทต่างๆ พร้อมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผลของกรรมเหล่านั้น — karna; kamma; action; volitional action) หมวดที่ ๑ ว่าโดยปากกาล คือ จำาแนกตามเวลาที่ให้ผล (classification according to the time of ripening or taking effect) ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในปัจจุบันคือในภพนี้ — karma to be experienced here and now; immediately effective kamma) ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิดคือในภพหน้า — karma to be experienced on rebirth; kamma ripening in the next life) ๓. อปราปริยเวทนียกรรม (กรรมให้ผลในภพต่อๆไป — karma to be experienced in some sub- sequent becoming; indefinitely effective kamma) ๔. อโหสิกรรม (กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก — lapsed or defunct kamma) หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำาแนกการให้ผลตามหน้าที่ (classification according to function) ๕. ชนกกรรม (กรรมแต่งให้เกิด, กรรมที่เป็นตัวนำาไปเกิด — productive karma; repro- ductive kamma) ๖. อุปัตถัมภกกรรม (กรรมสนับสนุน, กรรมที่เข้าช่วยสนับสนุนหรือซ้ำาเติมต่อจากชนกกรรม —supportive karma; consolidating kamma) ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 21
  • 22. ๗. อุปปีฬกรรรม (กรรมบีบคั้น, กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน obstructive kar- ma; frustrating kamma) ๘. อุปฆาตกกรรม (กรรมตัดรอน, กรรมที่แรง ฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรม และอุปัตถัมภกกรรม เข้า ตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว เช่น เกิดในตระกูลสูง มั่งคั่ง แต่อายุสั้น เป็นต้น — destructive karma; supplanting kamma) หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือ จำาแนกตามความยักเยื้องหรือลำาดับ ความแรงในการให้ผล(classification according to the order of ripening) ๙. ครุกกรรม (กรรมหนัก ให้ผลก่อน ได้แก่ สมาบัติ ๘ หรือ อนันตริยกรรม — weighty kamma) ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม (กรรมทำามากหรือกรรมชิน ให้ผลรองจากครุกกรรม — habitual kamma) ๑๑. อาสันนกรรม (กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย คือกรรมทำาเมือจวนจะตาย จับใจอยูใหม่ๆ ถ้าไม่มี ๒ ข้อ ่ ก่อน ก็จะให้ผลก่อนอืน — death threshold kamma; proximate kamma) ่ ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม (กรรมสักว่าทำา, กรรมทีทาไว้ดวยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนันโดยตรง ต่อเมือ ่ำ ้ ้ ่ ไม่มกรรมอืนให้ผลแล้วกรรมนีจงจะให้ผล — reserve kamma; casual act) ี ่ ้ึ กรรม ๑๒ หรือ กรรมสี่ ๓ หมวดนี้ มิได้มีมาในบาลีในรูปเช่นนี้โดยตรง พระอาจารย์ สมัยต่อมา เช่น พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นต้น ได้รวบรวมมาจัดเรียงเป็นแบบไว้ภายหลัง. Vism.601; Comp.144. วิสุทธิ.๓/๒๒๓; สังคห.๒๘ โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) จากหนังสือพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม 22 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี
  • 23. สุขภาพ แมคโครไบโอติกส์ (Macrobiotic) กลุ่มงานสุขศึกษา แมคโครไบโอติ ก ส์ ห มาย กิน ให้สอดคล้องกับธรรมชาติที่อยู่ ถึง แนวทางอันยิ่งใหญ่ของชีวิต หรือ อาศัย เพื่อให้มีสุขภาพดี เต็มเปี่ยมไป ทัศนะการมองชีวิตที่กว้างใหญ่ ความ ด้วยพลังแห่งชีวิต (Vitality) มีชีวิต คิดพื้นฐานของแมคโครไบโอติกส์คิด ชีวา มีความสุข และมีอิสระภาพ หาก ว่าทุก ๆ สิ่งล้วนกำาเนิดมาจากอนันต์ ใครสามารถดื่ม กินในชีวิตประจำาวัน อันไม่สิ้นสุด และกำาลังเปลี่ยนแปลง ตามกฏของธรรมชาติ ชีวิตย่อมประสบ อย่างไม่หยุดนิ่งตลอดเวลา ชี้ว่าเราควร กับสุขภาพดีและมีความสุข ในทาง จะผ่อนคลายทัศนะการมองโลกอย่าง ตรงกันข้าม หากใครไม่ดื่ม กินในชีวิต แคบ ๆ ตายตัว เพื่อจะได้รับรู้สึกถึง ประจำาวันตามกฎของธรรมชาติ คน ความเป็นเอกภาพกับธรรมชาติอันเป็น ผู้นั้นย่อมประสบกับทุกขภาพ อันได้แก่ หลักพื้นฐานสำาคัญ การดูแลสุขภาพ โรคภัย ความเจ็บปวด ภัยพิบัติ ชีวิต ในเรื่องการกิน ถ้าเราได้ตระหนักรู้ว่า เต็มไปด้วยความทุกข์ ไร้อิสระภาพ นี่ “ เร�เป็นอย่�งที่ เร�กิน เร�คิด เร� คือความยุติธรรมของธรรมชาติ พูด เร�ทำ� ” การกินทำาให้เรามีชีวิต มี เรี่ยวแรง มีพลังที่ใช้ในการดำาเนินชีวิต ประวัติแมคโครไบโอติกส์ ประจำาวัน รวมทั้งการมีภูมิต้านทาน นายแพทย์ชาวญีปน ซาเก็น อิชิ ่ ุ่ โรค เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ซูกะ (Sagen Ishizuka พ.ศ.2393- และมีสุขภาพที่ดี การกินจึงเกี่ยวข้อง 2453) ได้เสนอทฤษฏีอาหารและการ กับสุขภาพอย่างมาก แพทย์ ที่ผสมผสานระหว่างทฤษฏีการ แพทย์พื้นบ้านที่เกี่ยวกับอาหาร และ แมคโครไบโอติกส์ คือ การ ทฤษฏีการแพทย์แผนปัจจุบันทางด้าน สร้ า งความสมดุ ล ทุ ก ด้ า นของชี วิ ต เคมี ชีวะวิทยา ชีวะเคมี และสรีระ และธรรมชาติ ทั้งด้านกาย อารมณ์ วิทยา จิตใจ สังคม ชีวะวิทยา นิเวศวิทยา อิชซกะ สามารถเยียวยาผูปวย ิู ้ ่ เป็นการดำาเนินวิถีชีวิตประจำาวัน ให้หายขาดได้เป็นจำานวนมาก โดยการ โดยเฉพาะเรื่อง การดื่ม การ แนะนำาให้รบประทานอาหารพืนบ้าน มี ั ้ ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี 23
  • 24. ข้าวกล้อง ผัก และสาหร่ายทะเล จน Macrobiotics) และการประยุกต์ใช้ ได้รบสมยานามว่า “คุณหมอพืชผักแห่ง ั ไปทัวโลก จวบจนเสียชีวตเมืออายุได้ ่ ิ ่ โตเกียว” หลักการอาหารทีใช้รกษา คือ ่ ั 74 ปี ปัจจุบนหลักแมคโครไบโอติกส์ ั หลักการอาหารของอิชซกะ (Sagen ิู ได้รบการยึดถือปฏิบตกนทัวโลก ั ั ิั ่ Ishizuka’s diet) มีหลักการ 5 จอร์จ โอซาว่า บิดาแห่ง ประการคือ แมคโครไบโอติกส์ มีแนวคิดว่ามนุษย์ 1. อาหารเป็นพื้นฐานของสุขภาพและ เกิดมาแล้วต้องมีความสุข โดยเขียนไว้ ความสุข ว่า “ หากใครไม่มีความสุข ไม่สมควร 2. โซเดียม (Na) และโปแตสเซียม กิน เพราะมันเป็นความผิดของเขาเอง (K) เป็นธาตุที่ต่อต้านและเสริมให้ ”ทั้ ง ความสุ ข และการกิ น นั้ น สามารถ สมบูรณ์ในอาหาร คือคุณสมบัติหยิน- หาได้ในชีวิตประจำาวันที่เป็นหนึ่งเดียว หยางของอาหาร กับจักรวาล โดยการศึกษาจากปรัชญา 3. ธัญพืชเป็นอาหารหลักของมนุษย์ ของ หยิน-หยาง ในคัมภีร์อี้จิงของจีน 4. อาหารควรเป็นอาหารทีครบส่วน คง ่ เมื่อ 5,000 ปี ที่แล้ว และหลักการของ รูปเดิม ไม่ผานการขัดสี ปราศจากการ ่ หยิน-หยางนี่เองจะเป็นเข็มทิศนำาทาง ปรุงแต่ง ได้จากธรรมชาติ ของเรา ทำาให้เรามองเห็นทิศทางชีวิต 5. อาหารต้องปลูกในท้องถิ่น และ ของเราเอง ช่วยให้เราหาจุดยืนของ ควรกินตามฤดูกาล เราในจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุด และนำา เราไปสู่สุขภาพและความสุข ช่วยให้ จอร์จ โอซาวา (Gorge เราสามารถทำาความเข้าใจสิ่งต่างๆใน Ohsawa) ได้เรียนรูสตรอาหารเพือ ู้ ่ ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่เรา รั ก ษาตนเองจากลู ก ศิ ษ ย์ ข องอิ ชิ ซู ก ะ กินเข้าไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย สองคน คือ มานาบึ นิชบาตะ (Mr. ิ และจิตใจของเราอย่างไร Manabu Nishibata) และโชจิโร่ โกโตะ (Mr.Shojiro Goto) จน สภ�วะสุขภ�พ หายขาดและฟื้นฟูสุขภาพขึ้นใหม่แล้ว การประเมินภาวะสุขภาพตาม โอซาว่ า ได้ เ ขี ย นบทความมากมายตี แนวทางของแมคโครไบโอติ ก ส์ นั้ น พิมพ์ในวารสาร จอร์จ โอซาว่า ก็ได้ แตกต่างจากศาสตร์อื่น ๆ อย่างสิ้น อุ ทิ ศ ตนเพื่ อ การเผยแพร่ ป รั ช ญา เชิง โดยโอซาว่าได้เสนอแนวทางการ แมคโครไบโอติกส์แบบเซ็น (Zen ประเมินสุขภาพไว้ 7 ข้อ ต้อง 24 ชมรมจริยธรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี