SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 99
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย   ( Occupational  Health  and Safety ) กนกวรรณ  ธาตุทำเล ศูนย์มะเร็งอุดรธานี 24  กุมภาพันธ์  2555
ความหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย •   อาชีวะ  ( Occupation)  :  หมายถึง บุคคลที่ประกอบสัมมาชีพ หรือคนที่ประกอบอาชีพทั้งมวล •   อนามัย  ( Health)  :  หมายถึง สุขภาพอนามัย ความเป็นอยู่ที่สุขสมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพ อาชีวอนามัย  หมายถึง  งานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแล สุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทั้งหมด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัย รวมทั้งการดำรงคงไว้ซึ่งสภาพร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ
อาชีวอนามัย  ( Occupational  Health  ) หมายถึง  สุขภาพอนามัยในผู้ประกอบอาชีพที่มี ความเกี่ยวข้อง  หรือมีความสัมพันธ์กันระหว่าง สุขภาพ ของผู้ปฏิบัติงาน  กับ สภาพงาน  หรือ สภาพสิ่งแวดล้อม ในการทำงาน อาชีพ ( การทำงาน )  สุขภาพอนามัย
ความปลอดภัย  ( Safety)  :  หมายถึง  สภาพแวดล้อมของการทำงาน ที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย  ( Danger)   และความเสี่ยงใดๆ  ( Risk)  ในทางปฏิบัตินั้นอาจจะไม่สามารถควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงในการทำงานที่มีผลต่อสุขภาพ การบาดเจ็บ การพิการ การตายได้ทั้งหมด  แต่ต้องมีการดำเนินงาน มีการกำหนดกิจกรรมด้านความปลอดภัยเพื่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงน้อยสุดเท่าที่จะทำได้
ลักษณะงานด้านอาชีวอนามัย องค์การอนามัยโลก  ( WHO)  และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ  ( ILO)  ได้ประชุมร่วมกันให้ลักษณะงานด้าน อาชีวอนามัยไว้ ประกอบด้วยลักษณะงาน  5  ประการสำคัญคือ 1.  การส่งเสริม  ( Promotion)  หมายถึง  การส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ เพื่อให้แรงงานทุกอาชีพมีสุขภาพ ร่างกาย ที่แข็งแรง มี จิตใจ ที่สมบูรณ์ที่สุด และมีความเป็นอยู่ในสังคมที่ดีตามสถานะที่พึงมีได้ 2.  การป้องกัน  ( Prevention)  หมายถึง งานด้านป้องกันผู้ที่ทำงาน ไม่ให้ มีสุขภาพอนามัย เสื่อมโทรมหรือผิดปกติอันมีสาเหตุอันเนื่องมาจากสภาพ สภาวะการทำงานที่ผิดปกติ
3.  การป้องกันคุ้มครอง  ( Protection)  หมายถึง  การปกป้องคนทำงานในสถานประกอบการ หรือลูกจ้างไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงต่อสภาพการทำงานที่ อันตราย จนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา อุบัติเหตุ  การบาดเจ็บจากการทำงานได้ 4.  การจัดการงาน  ( Placing)  หมายถึง  การจัดสภาพต่างๆของการทำงาน และปรับสภาพ  ให้ทำงานใน สิ่งแวดล้อม ของการทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของร่างกายและจิตใจของแต่ละคนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ โดยการนำเอาด้านการลงทุนมาประกอบพิจารณาถึงความเป็นไปได้ด้วย
5.  การปรับงานให้กับคนและปรับคนให้กับงาน  ( Adaptation)  หมายถึง  การปรับสภาพของงานและของคนให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม  คำนึงถึงสภาพทางสรีระวิทยามากที่สุด อยู่ในพื้นฐานของความแตกต่างกันของสภาพร่างกายและจิตใจ พยายามเลือกจัดหางานให้เหมาะ สมกับสภาพร่างกายมากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพของงาน ทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด
อาชีวอนามัย  เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัม  พันธ์กับการทำงาน  วิธีการทำงาน  สภาพของงาน  สิ่งแวดล้อมในการทำงาน  ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน  ลักษณะท่าทางการทำงาน  ความซ้ำซากของงาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค เกิดความผิดปกติของร่างกาย เกิดการบาดเจ็บหรือความพิการ ทุพลภาพ
worker ขอบเขตของงานอาชีวอนามัย สภาพสิ่งแวดล้อมของงาน ( Working  environment )
worker การค้นหาโรค อันตรายและ อุบัติเหตุจากการทำงาน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ
โรคจากการประกอบอาชีพ  ( Occupational Diseases)  หมายถึง     โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม หรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยที่อาการของความเจ็บป่วยนั้นๆ อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน หรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานานเช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส โรคพิษสารตัวทำละลาย โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ และการบาดเจ็บจากการทำงานฯลฯ
สภาพสิ่งแวดล้อมของงาน ( Working  environment ) โดยใช้หลักการทางอาชีวสุขศาสตร์  ( Occupational hygiene )  มีหลักการอยู่   3  ข้อด้วยกันคือ -  การรู้ปัญหา  ( Recognition ) -  การประเมินอันตราย  ( Evaluation ) -  การควบคุม  ( Control )
การรู้ปัญหา  ( Recognition ) อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ เช่น  อุณหภูมิ  เสียง  แสง  รังสี  ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ  อันตรายจากสารเคมี อันตรายจากด้านชีวภาพ ปัญหาทางด้านการยศาสตร์  ได้แก่  ความเหมาะสมของเครื่องมือ  เครื่องจักร และวิธีการปฏิบัติงาน
การประเมินอันตราย  ( Evaluation ) ต้องมีการประเมินระดับอันตราย  โดยการ  ตรวจสอบ  การตรวจวัด เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน การควบคุม  ( Control ) โดยใช้มาตรการ  วิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา
สิ่งแวดล้อมของงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โรคจากการทำงาน การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา คนงานที่มีสุขภาพดี ความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมของงาน เมื่อไม่มีการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
สิ่งแวดล้อมของงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โรคจากการทำงาน การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา คนงานที่มีสุขภาพดี ความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมของงาน ที่มีการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อม การรู้ปัญหา การประเมินอันตราย การควบคุมอันตราย สิ่งแวดล้อมของงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
โรคจากการประกอบอาชีพที่เป็นปัญหาในประเทศไทย   แบ่งเป็น     -  อุบัติภัย / การบาดเจ็บ จากการประกอบอาชีพ  (Accidents/Occupational Traumatic Injuries)  การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ  กระดูก และข้อ  ( Musculoskeletal Injuries)            -  โรคปอด จากการประกอบอาชีพ  ( Occupational Lung Diseases)  รวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น โรคซิลิโคสิส โรคบิสสิโนสิส โรคแอสเบสโตสิส และอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ  ฯลฯ            -  โรคพิษจากสารโลหะหนัก  ( Heavy Metal Poisoning)  เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคพิษจากสารหนูปรอท แมงกานีส  ฯลฯ
           -  โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช   (PesticidePoisoning)  และเวชศาสตร์เกษตรกรรม            -  โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ   (Dermatological Disorders)            -  ภาวะการได้ยินเสื่อมจากเสียงดัง   (Occupational Hearing Loss)            -  ภาวะเป็นพิษต่อระบบประสาท  ( Neurotoxic Disorders)            -  โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ  ( Occupational Cancers)            -  โรคหัวใจและหลอดเลือด  ( CardiovascularDiseases) -  ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดจากการทำงาน  ( Psychological Disorders and Work Stress)
ปัญหาสุขภาพแบ่งได้เป็น  2  กลุ่มใหญ่ คือ โรคหรือความผิดปกติจากการทำงาน  ( Occupational  disease ) เกิดจากการสัมผัสหรือได้รับตัวการเกิดโรคขณะทำงาน  ซึ่งอาจได้รับ  เป็นระยะเวลานานๆจนเกิดอาการปรากฏ  หรือได้รับในปริมาณที่มากในระยะเวลาสั้นๆ  และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยการยืนยันจากแพทย์  หรืออาจสรุปได้ว่า  เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน  ( Worked related  disease )  และต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของงาน หรือตัวก่อโรค  เช่น  การสูญเสียการได้ยิน  โรค silicosis   ที่เกิดจากการทำงานในบรรยากาศที่มีฝุ่นหินทรายและหายใจเอาฝุ่นหินทรายเข้าไปในปอด  อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ  เอ็น  หรือข้อต่อที่เกิดจากการทำงานซ้ำซากจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน  ฯลฯ  ( จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อเปรียบเทียบ )
การบาดเจ็บจากการทำงาน ( Occupational Injuries ) เป็นการบาดเจ็บจากการทำงาน เนื่องจากได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น  ความบกพร่องของเครื่องมือ  เครื่องจักรที่ใช้ใน  การทำงาน  การจัดเก็บและดูแลสถานที่ทำงาน  ลักษณะของงาน หรือเกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงาน  ขาดความรู้และทักษะ  ต้องการความสะดวกในการทำงานโดยไม่ป้องกัน  เช่นการใส่อุปกรณ์เครื่องป้องกัน  ฯลฯ  และการบาดเจ็บที่เรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคได้  และอาจส่งผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมรอบรอบได้
อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพ ( Occupational  environmental  hazard ) อันตรายทางด้านกายภาพ ( Physical  hazard ) 1 .  เสียง ( Noise ) 2.   สภาพการจัดแสงสว่างในการทำงาน  (  Lighting  in  the workplace ) 3. ความสั่นสะเทือน ( Vibration ) 4. อุณหภูมิที่ผิดปกติ  ( Abnormal  temperature ) 5. ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ ( Abnormal  pressure ) 6. รังสี  ( Radiation )
อันตรายทางด้านเคมี ( Chemicxal  hazards ) เกิดจากการนำสารเคมีมาใช้ทำงาน  หรือมี  สารเคมีที่เป็นอันตรายเกิด ขึ้นจากขบวนการผลิตของงาน  โดยร่างกายอาจ  ได้รับสารเคมีทาง การหายใจ  การดูดซึม  เข้าทางผิวหนัง  การกิน ที่ไม่ได้ตั้งใจ
อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมี การป้องกัน และควบคุม สารเคมีที่ใช้ในโรงพยาบาล  มีดังนี้คือ  สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค  ( chemical disinfectants)   เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานที่รับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ จากที่ต่างๆ เพื่อรับการรักษาดังนั้น การใช้สารเคมีในการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคตามสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันมิให้ทั้งผู้ป่วยหรือผู้ปฏิบัติงานเกิดการติดเชื้อได้ สารเคมีที่ใช้ได้แก่  Isopropyl alcohol, Sodium  Hypochlorite (chlorine), Iodine, Phenolics, Quaternary ammonium compounds, Glutaraldehyde, Formaldehyde
Antineoplastic drugs Antineoplastic drugs  เป็นยาที่ใช้เพื่อยังยั้งหรือป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อร้าย
ผลต่อสุขภาพ   Antineoplastic drugs  หลายชนิดมีรายงานจากการทดลองในสัตว์ ที่ได้รับสารนี้ว่า ทำให้เกิดการกลายพันธุ์และเป็นมะเร็ง สัตว์ที่เกิดมามีอวัยวะผิดปกติ  มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า  Cyclophosphamide, Chlorambucil, 1-4-butanediol dimethyl sulfonate และ  melphalan   เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์  ( Sorsa et al  ค . ศ . 1985)  เมื่อให้ยาในการรักษาผู้ป่วย พบว่า  antineoplastic drugs (Cyclophosphamide)  มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอุบัติเหตุ ของโรคเนื้อร้าย  ( IARC  ค . ศ . 1981)  และทำให้เด็กเกิดมามีอวัยวะผิดปกติ
Sotaniemi et al ( ค . ศ . 1983)  รายงานว่า พบตับถูกทำลายในพยาบาล  3  คนซึ่งทำหน้าที่ให้ยา และจับต้องยา  antineoplastic  เป็นเวลาหลายปี โดยมี อาการปวดศีรษะ  มึนงง คลื่นไส้ ผิวหนัง และเยื่อบุมีลักษณะเปลี่ยนแปลง ผมร่วง ไอมีปฏิกิริยาภูมิแพ้  อาการที่พบในพยาบาลทั้ง  3  คน มีลักษณะเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับยา  antineoplastic
สารเคมีที่ใช้บำบัดโรคมะเร็งแต่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง กับผู้ที่สัมผัส และก่อให้เกิดทารกพิการแต่กำหนดตัวอ่อนผิดปกติ หากมารดาได้รับสารดังกล่าว ขณะตั้งครรภ์ สรุปโดย  IARC ( ปี ค . ศ . 1975, 1976, 1981) สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด  ( 1)  และตัวอ่อนผิดปกติ   (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Actinomtcin-D ไม่พอเพียง จำกัด 1, 2+ Adriamycin ไม่พอเพียง พอเพียง ..... BCNU ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2
สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด  ( 1)  และตัวอ่อนผิดปกติ   (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Bleomycin ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง ..... 1,4-Butanedol dimethylsulfonate (Myleran, Busal fan) พอเพียง จำกัด 1 Chlorambucil พอเพียง พอเพียง 1, 2 CCNL ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 Cisplatin ไม่พอเพียง จำกัด 2
สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด  ( 1)  และตัวอ่อนผิดปกติ   (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Cyclophosphamide พอเพียง พอเพียง 1, 2 Dacarbazine ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 5-Fluorouracil ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2 Melphalan พอเพียง พอเพียง 1 6-Mercaptopurine ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2 Methotrexate ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2
สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด  ( 1)  และตัวอ่อนผิดปกติ   (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Nitrogen mustard ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 Procarbazine ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 Thiotepa ไม่พอเพียง พอเพียง 1 Uracil mustard ไม่พอเพียง พอเพียง 1 Vinblastine ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2 Vincristine ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2
Mercury ผลต่อสุขภาพ ปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยทางการ หายใจและดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง  การสัมผัสช่วงเวลาสั้นๆ แต่ปริมาณสูงทำให้เกิดการระคายเคือง  การย่อยอาหารผิดปกติ  และทำให้ ไต ถูกทำลายการสัมผัสเป็นเวลานาน ในปริมาณความเข้มข้นต่ำ เป็นผลให้ อาการทางประสาท มีลักษณะอารมณ์ที่ไม่คงที่ หน้ายุ่ง สั่น เหงือกบวม น้ำลายออกมาก  anorexia  น้ำหนักตัวลด และเป็น โรคผิวหนัง  เนื่องจากการแพ้สาร
การป้องกันและควบคุม 1. มีระบบระบายอากาศบริเวณที่มีการใช้สารปรอทเพื่อป้องกันไม่ ให้ไอปรอทสะสมอยู่ในห้องหรือเกิดการไหลเวียนในสถานที่ทำงาน 2. ควรมีการเฝ้าควบคุมสิ่งแวดล้อมการทำงาน  โดยการตรวจ วัดอากาศเพื่อหาปรอท 3. กรณีที่ปรอทหกรดตามจุดต่างๆควรมีการกำจัดทันที  เพราะจะทำ ให้ไอปรอทกระจายอยู่ในอากาศ 4. การกำจัดปรอทที่หก  ควรมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันชนิดใช้แล้วทิ้ง 5. ควรมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์หาปรอทเป็นระยะๆ ในกลุ่มคนที่ทำงานสัมผัสปรอท  ระดับปรอทในปัสสาวะ  0.1-0.5  mg./urine 1  lit   มีนัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของพิษปรอทได้
อาการของพิษปรอท        การเกิดพิษจากสารปรอทมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง   พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย   ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ  0.02  กรัม   อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ        - อาเจียน ปากพอง แดงไหม้   อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ        - เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง   เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร        - มีอาการท้องร่วงอย่างแรง   อุจจาระเป็นเลือด        - เป็นลม   สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก        - เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต   ปรอทจะไปทำลายไต   ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด        - ตายในที่สุด
พิษชนิดเรื้อรัง           ปรอทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง   ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา   การพูด มีผลต่อระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น  การได้ยิน การมองเห็น   ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได้   หายใจหอบ ปอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก   หายใจไม่ออกและตายได้
การป้องกัน และควบคุม  1. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล  การเลือกใช้ชนิด ใดขึ้นอยู่กับลักษณะงาน  และโอกาสที่ได้รับการสัมผัส  เช่น  การใช้ถุงมือหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้า เพื่อป้องกัน สารสัมผัสกับผิวหนังหรือ ใช้แว่นตาเพื่อป้องกันสารกระเด็นเข้าตา 2. ขณะทำงานถ้าเสื้อผ้าเปื้อน  ควรรีบถอดออก  และแยก นำไปซัก 3. สารเคมีถูกผิวหนังต้องรีบล้างออก 4. สถานที่ใช้สารเคมีต้องมีการระบายอากาศเฉพาะที่ที่ดี เพื่อกำจัดไอและกลิ่นของสารเคมี 5. ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
อันตรายทางด้านชีวภาพ ( Biological  hazards ) เกิดจากการทำงานที่ต้องเสี่ยงจากการสัมผ้สได้รับอันตรายจากสารชีวภาพ ( Biological  agents )  ทำให้เกิดความผิด ปกติต่อร่างกาย หรือมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น  เช่น  เชื้อจุลินทรีย์  ฝุ่นละอองจากส่วนของพืชหรือสัตว์  การติดเชื้อจากสัตว์หรือแมลง  รวมทั้งการถูก  ทำร้ายจากสัตว์และ แมลง
สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ,[object Object],[object Object]
เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนด้วยชีววัตถุ เมื่อต้องการทำความสะอาด ต้องใช้ผงซักฟอกและน้ำที่อุณหภูมิอย่างน้อย  71 º C (160 º F)  เป็นเวลานาน  25  นาทีกรณีที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่านั้น จะต้องใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อ
ตัวอย่างของเสียที่เป็นของแข็ง  ( Solid waste)  เช่น เสื้อผ้า เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนด้วยเลือด และ  body fluids  เมื่อต้องการกำจัดควรนำไปกำจัดด้วยการเผาที่เตาเผาอุณหภูมิสูง ส่วนอุจจาระที่ปนเปื้อน ควรกำจัดโดย  Sanitary landfill or pit latrine
ด้านการยศาสตร์  ( Ergonomics ) เป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้ท่าทางที่ไม่ เหมาะสมในการทำงาน  วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง  การปฏิบัติงานที่ทำซ้ำซาก  อุปกรณ์  เครื่องมือ  เครื่องจักรที่ไม่เหมาะสม  อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย  หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน
ด้านกายภาพ  เสียง ( Noise )  แบ่งออกเป็น  4  ประเภท 1. เสียงที่ดังสม่ำเสมอ ( Steady-level  noise ) ไม่เกิน  5  เดซิเบลใน  1  วินาที  พบในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรใช้ในการทำงานตลอดเวลา  เสียงเครื่องทอผ้า  เสียงพัดลม  ฯลฯ 2. เสียงที่เปลี่ยนแปลงระดับเสมอ ( Fluctuating  noise ) เสียงที่มีระดับความเข้มที่ไม่คงที่  สูงๆต่ำๆ  มีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงที่เกินกว่า   5  เดซิเบลใน  1  วินาที  เช่น  เสียงไซเรน  เสียงเลื่อยวงเดือน  กบไสไม้ไฟฟ้า  ฯลฯ
3. เสียงที่ดังเป็นระยะ ( Intermittent  noise ) เป็นเสียงที่มีความดังไม่ต่อเนื่อง  เช่นเสียงเครื่องบิน  เครื่องอัดลม  เครื่องเป่าหรือเครื่องระบายไอน้ำ  เสียงจากการจราจร  ฯลฯ 4. เสียงกระทบ ( Impact  noise or Impulse  noise ) เป็นเสียงจากการกระทบหรือกระแทก  อาจเกิดแล้วหายไป  หรือเกิดติดๆกันหรือเกิดขึ้นนานๆครั้ง เช่น  เสียงจากการทุบหรือตีโลหะ ตอกเสาเข็มฯลฯ
ระดับเสียงและระยะเวลาที่ยอมให้สัมผัสได้ใน  1  วัน   ที่มา :OSHA   standard ระยะเวลาในแต่ละวัน ( ช . ม ) ระดับเสียง ( เดซิเบลเอ ) 8 90 6 92 4 95 3 97 2 100 11/2 102 1 105 1/2 110 ¼ or less 115
การสัมผัสเสียง ที่มีความเข้มสูง เป็นระยะเวลานานหลายปีจะทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร  ( permanent hearing loss)  ซึ่งจะไม่มีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติ และไม่มีทางรักษาหายได้ การสัมผัสเสียงดัง มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย เช่นการทงานของ  Cardiovascular, endocrine, neurogenic  และสรีระของร่างกาย เป็นต้นนอกจากนี้ ยังพบว่า เสียงดังทำให้เกิดการรบกวนการพูด การสื่อความหมายและกลบเสียงสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้
การควบคุมอันตรายจากเสียง พิจารณาจากองค์ประกอบ  3  ประการ ควบคุมที่ แหล่งกำเนิด เสียง ( Source  control ) ต่ำกว่า  85  เดซิเบลเอ การควบคุมหรือลดระดัยบเสียงที่ ทางผ่านระหว่างแหล่งกำเนิดไปยังคน โดยพิจารณาการส่งผ่านเสียงว่ามาทางใด  ทำกำแพงกั้น  ใช้วัสดุดูดซับ  การควบคุมหรือ ลดอันตรายที่ผู้รับเสียง  การใส่อุปกรณ์  เครื่องครอบหู ที่อุดรูหู
ความสั่นสะเทือน ( Vibration ) การได้รับอันตรายจากความสั่นสะเทือนแบ่งได้  2  ประเภท  1. ความสั่นสะเทือนที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน ( ทั่วร่างกาย )  พบในผู้ที่ขับรถบรรทุกรถไถ  เครื่องจักรที่มีคนควบคุมส่งผ่านความสั่นสะเทือนทางที่นั่ง  อยู่ในช่วงความถี่ ระหว่าง  2  ถึง  100  เฮิร์ท
2. ความสั่นสะเทือนที่เกิดกับ อวัยวะเฉพาะ  ส่วนของร่างกาย  ส่วนใหญ่จะเกิดที่ แขนและมือ ที่ใช้ในการทำงาน  เช่น  เครื่องขุดเจาะขนาดใหญ่  ค้อนทุบ เครื่องตัด  เลื่อยไฟฟ้า  เครื่องขัดถูพื้นหินขัด  ความถี่อยู่ในช่วง  20-1000  เฮิร์ท
ผลของความสั่นสะเทือนต่อร่างกาย - กำลังมากๆขณะทำงาน  จะเกิดเรื้อรังสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นระยะเวลานาน - มีผลต่อกระดูกโครงสร้าง  ( Bone structure ) - รบกวนการหลั่งของน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร - ความสามารถในการเคลื่อนไหว  มีผลในการเปลี่ยนแปลงความไวของประสาท - กระดูกข้อต่อเกิดการอักเสบ
โรคมือและแขนที่เกิดจากความสั่นสะเทือน ( Hand-arm vibration  syndrome )  หรือ  HAVS 1. เกิดการบีบเกร็งของหลอดเลือดบริเวณนิ้วมือ ทำให้นิ้ว ซีดขาว 2.   ประสาทรับความรู้สึกที่มือเปลี่ยนแปลง ลดความรู้สึก ความว่องไวลดลง 3. กล้ามเนื้อมือผิดปกติ
การป้องกันอันตรายจากความสั่นสะเทือน 1. ลดความเข้ม  และระยะเวลาในการสัมผัส กับความสั่นสะเทือน 2. ตรวจสอบระดับการสัมผัสความสั่นสะเทือน 3. การตรวจร่างกายเป็นระยะ  ควรห้าม สูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบ 4. มีการจัดเตรียมยาเมื่อมีอาการผิดปกติ
5. ควรใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ที่สามารถลด ความสั่นสะเทือน 6. ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน  เพื่อลดความเสี่ยง
ความร้อน แหล่งที่พบ โรงซักรีด ห้องติดตั้งหม้อไอน้ำ โรงครัวเป็นสถานที่ทำงานที่มีแหล่งกำเนิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิบริเวณที่ทำงานอยู่สูงกว่าปกติมาก
ผลต่อสุขภาพ ความร้อนมีผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ทำให้เกิดเป็นลมเนื่องจากความร้อนในร่างกายสูง  ( Heat stroke)  เกิดการอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน   (Heat exhaustion)  เกิดกดารเป็นตะคริว  ( Heat Cramp)  เนื่องจากความร้อนอาการผดผื่นขึ้น ตามบริเวณผิวหนัง  ( Heat rash)  และเกิดการขาดน้ำ  ( dehydration)
การป้องกันและควบคุม - สำหรับผู้ทั่ทำงานหนัก ควรจัดให้มีระยะพักผ่อน  ที่มีอากาศเย็น - เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีแหล่งความร้อน  ควรมีฉนวนหุ้มกันความร้อน - ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่  เพื่อระบายความร้อน - ติดตั้งฉากกั้นความร้อน - จัดให้มีลมเป่า  เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ และการระเหยของเหงื่อ - จัดให้มีน้ำเย็นสำหรับดื่มในที่ทำงาน - จัดให้มีที่ทำงานสำหรับที่พักเย็น
รังสี  มีรังสีแตกตัว และไม่แตกตัว อันตรายจากการสัมผัสรังสี  - บริเวณที่มีการใช้  การสะสม - การทิ้งสารกัมมันตรังสี
ผลต่อสุขภาพ - ปริมาณ - ระยะเวลาการสัมผัส - ระยะทาง - ชนิดของสิ่งขวางกั้นระหว่างรังสี กับผู้ปฏิบัติงาน - ชนิดของรังสี - ปัจจัยเสี่ยง  อายุ  เพศ  สภาวะสุขภาพ  อาหาร  ฯลฯ
รังสีที่ไม่แตกตัว  ( Nonionization  Radiation ) ,[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
รังสีอุลตร้าซาวด์ ผลต่อสุขภาพ แม้ว่าการสัมผัสกับอัลตราซาวน์จะไม่ปรากฎว่าเป็นอันตราย แต่การสัมผัสอัลตราซาวน์ที่มีความถี่สูงที่สามารถได้ยินได้ คือ  ความถี่ที่มากกว่า  10 KHz  ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน Tinitus   ปวดหู มึนงง อ่อนเพลีย  นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการ สูญเสียการได้ยินชั่วคราว  การสัมผัสรังสีอัลตราซาวน์ที่มีความถี่ต่ำ จะทำให้เกิดผลเฉพาะที่เกิดการทำลายปลายประสาทของอวัยวะส่วนที่สัมผัส ผู้ที่สัมผัสรังสีอัลตราซาวน์ซึ่งเคลื่อนที่โดยมีอากาศเป็นตัวกลาง จะมีผลต่อ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบอื่นๆอวัยวะในหู และการได้ยิน
ผลต่อสุขภาพกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ,[object Object],[object Object],[object Object]
การสัมผัสรังสีแตกตัว ทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ของยีนส์การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม การแบ่งตัวของเซลล์ล่าช้า  และเซลล์ถูกทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว  ( เนื้อเยื่อในเลือด ,  ผิวหนัง ,  เลนส์ตา )  กว่าปกติจะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงกว่า เซลล์ที่แบ่งตัวช้า  ( กระดูกต่อมเอ็นโดรไครน์และระบบประสาท )   เกิด  fibrosis  ของปอด และไต  ตา   โรคโลหิตจางชนิด  Aplastic  ทำให้เป็นหมัน โรคผิวหนังและอายุขัยสั้น
ค่ามาตรฐานสำหรับรังสีที่ก่อให้เกิดการแตกตัว ,[object Object],[object Object],ชนิดของมาตรฐาน Federal Radiation Council (FRC) National Council on Radiation Protection and Measurement (NCRP) Nuclear Regulatory Commission (NRC) Occupational safety and Health Administration (OSHA) ผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสรังสีทั่วร่างกาย * 5 rem/ ปี 3 rem/3  เดือน ต้องไม่เกินค่าสะสม ขณะที่มีชีวิตอยู่ 4 rem/ ปี 3 rem/3  เดือน ต้องไม่เกินค่าสะสม ขณะที่มีชีวิตอยู่ 5 rem/ ปี 3 rem/3  เดือน   ต้องไม่เกินค่าสะสม ขณะที่มีชีวิตอยู่ 3 rem/3  เดือน ค่าสะสมขณะที่มีชีวิต 5 (N-18)** rem 5 (N-18) rem 5 (N-18) rem 5 (N-18) rem ประชากรทั่วไปที่สัมผัสรังสีทั่วร่างกาย 0.5 rem/ ปี 0.5 rem/ ปี 0.5 rem/ ปี
มีการบันทึกเกี่ยวกับ  การสัมผัสรังสีของผู้ปฏิบัติงาน  ปริมาณรังสีและการจัดเก็บ  รายงานการสำรวจรังสีในสถานที่ทำงาน การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล  การตรวจสอบอุปกรณ์ มีมาตรการควบคุมสารกัมมันตรังสี ,[object Object],[object Object],การควบคุมการได้รับสัมผัส
[object Object],- ตรวจสุขภาพประจำปี  ก่อนปฏิบัติงาน  CBC  ตา  ระบบสืบพันธ์
สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม  เป็นสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียดจากการทำงาน การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ อันเนื่องมาจากอารมณ์หรือจิตใจที่ได้รับความบีบคั้น
สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา สังคม มุ่งเป้าไปที่ตัวคน และจิตวิญญาณ  ( Spirit)  ที่ต้องใช้เพื่อการทำงานดังนั้น แนวคิดในการ มองปัจจัยต้นเหตุ ผลกระทบ ค่ามาตรฐาน และการควบคุมป้องกันจึงแตกต่างกัน กับสิ่งแวดล้อมที่กล่าวข้างต้นอย่างสิ้นเชิง
สิ่งแวดล้อมทางจิตสังคม   หมายถึง  ปฏิกิริยาที่เกิดจากหลายปัจจัยปะปนกัน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ ตัวงานซึ่งมีทั้งปริมาณ  และ คุณภาพ ประกอบกันไปสภาพการบริหารงานในองค์กร  ความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน  ความต้องการพื้นฐานวัฒนธรรม ความเชื่อ พฤติกรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อมนอกงาน ที่ทำให้เกิดการรับรู้และประสบการณ์
สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีความสลับซับซ้อนและ  เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ยังผลให้เกิดผลงาน  ( work performance)  ความพึงพอใจในงาน  ( Job satisfactiion)  สุขภาพทางกายและทางจิต  ( physical and mental health)  ซึ่งจะเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย
สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด  ( Stressor)   หมายถึง สภาวะแวดล้อมซึ่งบีบคั้น  ยังผลให้เกิดความเครียด
ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจและงานที่มีผลต่อสุขภาพจิตของผู้ปฏิบัติงาน าก  :  Psychosocial factors at Work : Recognition and control. Geneva, International Labour Office, 1984
สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด  ( Stressors)   เช่น ความต้องการ เวลา  ตารางการจัดงาน  ความต้องการในงาน  งานล่วงเวลา  กะการทำงาน  สภาพทางกายภาพ   -  มีสิ่งคุกคามทางกายภาพหรือทางเคมี หรือทางเออร์กอนอมิคส์ การจัดองค์กร   -  บทบาทไม่ชัดเจน มีความขัดแย้งในบทบาท มีการแข่งขันและไม่เป็นมิตร สภาพขององค์กร   -  ชุมชน งานไม่มั่นคงไม่มีการพัฒนาในอาชีพ สภาพนอกงาน   -  ส่วนตัวครอบครัว ชุมชน  เศรษฐกิจ
ผลที่ตามมา ทางกาย ระยะสั้น  – ความดันโลหิตเพิ่ม  ระยะยาว  -  ความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ โรคแผลในกระเพาะอาหาร หอบหืด ทางจิต ระยะสั้น  -   ความวิตกกังวล ความไม่พึงพอใจ โรคอุปทาน  ( mass psychogenic illness) ระยะยาว   -  ซึมเศร้า จิตสลาย  ( burnout) ความผิดปกติทางจิต
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
ในปี ค . ศ . 1977 NIOSH  ได้ศึกษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า ผู้ป่วยซึ่งประกอบอาชีพ  130  ประเภท มีผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพ  22  ประเภทมีอัตราการผิดปกติทางจิตสูงมากที่สุด  โดยมีอาชีพ  6  ประเภทซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องอูแลสุขภาพ  ได้แก่ นักวิชาการสุขภาพ พยาบาลเวชปฏิบัตินักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยทันตแพทย์  ( colligan et al. 1977)  และจากการศึกษา อื่นๆ พบว่า สัดส่วนอัตราการตาย  ( Proportional mortality ratio = PMR)  ของผู้ชายกับผู้หญิงได้เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ชายมักประกอบอาชีพ ทันตแพทย์ แพทย์  นักวิชาการด้านการแพทย์ และทันตแพทย์  ส่วนผู้หญิงประกอบอาชีพ พยาบาล
ในปี ค . ศ . 1988  สถาบันอาชีวอนามัยในฟินแลนด์ ทำการศึกษาความเครียดและอาการจิตสลายที่เกิดขึ้นในหมู่แพทย์ชาวฟินแลนด์ พบว่าแพทย์ที่มีความเครียดมากที่สุด คือ  คนที่ไม่มีงานถาวรทำ  และทำงานในแผนกฉุกเฉินเป็นส่วนใหญ่  และเป็นโรงพยาบาลในส่วนกลางส่วนอาการจิตสลายพบมากในแพทย์ที่ทำหน้าที่ ดูแลคนป่วยในแผนกผู้ป่วยนอก  แพทย์ที่มีอาการเครียดมากที่สุด ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง สาขากุมารจิตเวชจิตแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางที่ทำงานใกล้ชิด กับผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือโรคอื่นที่หนักมากๆ  ทันตแพทย์ก็เป็นอาชีพหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเครียดได้สูงสาเหตุเนื่องจาก การที่ต้องจัดการกับผู้ป่วย การพยายามรักษาตารางเวลาการทำงานพยายามประคับประคองการทำงานของตน  ให้อยู่ใต้การทำงานหนักเกินไป งานบริหารสภาพงานที่ไม่เหมาะสม เพราะต้องทำในที่จำกัด และท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม
ลักษณะงานที่ทำเหมือนๆ กันจนเป็นกิจวัตรน่าเบื่อและพยาบาลก็ถือว่าเป็นอาชีพมีความเครียดสูงที่สุด  มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดและมีอัตราการป่วยเป็นโรคจิตสูง ป็นอันดับแรกของรายชื่อผู้ป่วยโรคจิตที่โรงพยาบาลได้รับ  หน้าที่พยาบาลที่แตกต่างกันไปให้ความรู้สึกกดดันที่แตกต่าง  พยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยหนักในแผนก ไอ . ซี . ยู .  ที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยชีวิต ที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน มีลักษณะงานที่ฉุกเฉินและต้องผจญกับความเป็นความตาย ของคนไข้อยู่ตลอดเวลา เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำให้เกิดความเครียดสูงสุด ในผู้มีอาชีพพยาบาล
ผลต่อสุขภาพ ที่พบในผู้ทำงานด้านดูแลผู้ป่วย  พบว่า ความเครียดมีความสัมพันธ์กับความไม่อยากอาหาร แผลอักเสบ  ความผิดปกติด้านจิตใจ  ปวดศีรษะข้างเดียว  นอนไม่หลับ  การมีอารมณ์แปรปรวน การทำลายชีวิตของครอบครัวและสังคม  การเพิ่มการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และยา ความเครียดมีผลกระทบต่อทัศนคติและพฤติกรรม  และยังพบว่า  ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเครียดมีผลต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย และเพื่อนร่วมงาน
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
ตัวชี้วัดสุขภาพจิต ในทางบวก ในทางลบ 1.  ค่าความพึงพอใจต่างๆ ได้แก่  ความพึงพอใจ ในงาน   ความวิตกกังวล  ความพึงพอใจ ในชีวิต   ความเบื่อหน่ายในงาน  ความพึงพอใจ ต่อความต้องการที่ได้รับการสนองตอบ  การผละงาน  ความพึงพอใจ ในศักดิ์ศรีที่ได้รับในการตอบสนอง  ความซึมเศร้า
ตัวชี้วัดสุขภาพจิต ในทางบวก ในทางลบ .  ความสามา 2 รถ และการควบคุมตนเองจนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้แก่ 2.  ความไม่สามารถกระทำกิจการและไม่สามารถควบคุมตนเองให้ผ่านพ้นอุปสรรคได้ ได้แก่  การพัฒนาตน  การปล่อยปละละเลยตนเอง  ความเป็นอิสระในความคิดนึก  การเฉยเมย ไม่คิด ไม่นึก  การกระทำที่เกื้อหนุนให้บรรลุผลสำเร็จ  การเฉื่อยชา ไม่ลงมือกระทำการใดๆ
3.  จิตใจที่เป็นสุขได้แก่ 3.  จิตใจที่ไม่เป็นสุขได้แก่  ความพึงพอใจในความเป็นอยู่  ความกระวนกระวาย ไม่พอใจในความเป็นอยู่  ความรู้สึกอยากมีชีวิตอยู่  ความเบื่อหน่ายในชีวิต  ความพอใจในชีวิตสมรส  ความเบื่อชีวิตสมรส  การเข้าร่วมเป็นส่วนของสังคม  ความเบื่อ และหลีกหนีจากสังคม  ความสามารถในงานที่ทำ  ความไร้ความสามารถในงานที่ทำ
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
- ประเมินจากความเครียดในการทำงาน - ประเมินจากความวิตกกังวลของบุคคล - ประเมินจากความเครียดในชีวิต  ( Life Stress)  - ด้านวิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ ตลอดจนการแปลและสรุปผลการประเมินปัญหาสุขภาพจิตในการทำงานประเมินจากขวัญ  กำลังใจในการทำงาน
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
การประเมินความเสี่ยง  (RISK  ASSESSMENT) หมายถึง  กระบวนการ การประมาณระดับความเสี่ยง และการตัดสิน ว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ กระบ การประเมินความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรควรจะดำเนินตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน ให้เขียนชนิดของกิจกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และให้เขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม โดยให้ครอบคลุม สถานที่ทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร รวมทั้งทำการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว
ชี้บ่งอันตราย ชี้บ่งอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง แต่ละกิจกรรมของงาน พิจารณาว่าใครจะได้รับอันตรายและจะได้รับอันตรายอย่างไร ,[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],กรดเกลือก่อให้เกิดการระคายเคืองเยื่อบุจมูก ลำคอและเยื่อบุทางเดินหายใจ อาการจะเริ่มเกิดขึ้นเมื่อสูดดมเข้าไปในปริมาณ  35  ส่วนในล้าน หากได้รับเข้าไป  50 - 100  ส่วนในล้าน อาการจะรุนแรงจนทนไม่ได้ผลที่เกิดขึ้นกับเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบน เมื่อได้รับกรดเกลือในปริมาณมากอาจทำให้เนื้อเยื่อบวมอย่างมาก จนเกิดการอุดตันทางเดินหายใจ และ  suffocation  ได้ ผู้ที่ได้รับพิษขั้นรุนแรงจะมีอาการหายใจหอบหายใจไม่ทัน เนื่องจากภาวะอุดกั้นหลอดลมขนาดเล็กบางรายอาจเกิดภาวะปอดบวมน้ำซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก สำหรับในเด็กอาจเกิดอาการกล้ายหอบหืด ซึ่งจะเป็นอยู่นานหลายเดือนและไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาขยายหลอดลม
[object Object],อาจเกิดขึ้นได้จากการได้รับพิษทางระบบทางเดินอาหารเนื่องจากคลอไรด์อิออนเพิ่มสูงขึ้นในเด็กที่มีอัตราการเผาผลาญในร่างกายสูงจะได้รับผลกระทบมากกว่าปกติถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ,[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object],[object Object],[object Object]
[object Object],[object Object]
“ เก่า” กับ “ใหม่” •  บริการอาชีวอนามัย แบบเดิม  ( Traditional Services) –  เน้นการบังคับใช้กฎหมาย  ( กระทรวงแรงงาน ) –  เน้นผู้เชี่ยวชาญ •  เดินสำรวจโรงงาน เก็บตัวอย่างสารเคมี ตรวจร่างกาย การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังสุขภาพ •  บริการอาชีวอนามัย แบบ “ทันสมัย” –  เน้นการมีส่วนร่วม  ( Participation : employer and employee) –  ผู้เชี่ยวชาญ คือ  facilitator –  บูรณาการ  /  องค์รวม  (“ whole person” approach) –  เป็นไปตามความต้องการ  /  ปัญหาของกลุ่ม พื้นที่
วงจรคุณภาพ  -  การป้องกันโรคจากการทำงาน Plan ( ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ ) Do ( ลดสิ่งคุกคาม , ลดการสัมผัส ) Check ( การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมและสุขภาพพนักงาน environmental and biological monitoring) Act ( ปรับขั้นตอน  Do)

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อUtai Sukviwatsirikul
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)yahapop
 
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน  มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน Dbeat Dong
 
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือusaneetoi
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆDashodragon KaoKaen
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการพัน พัน
 
ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...
ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...
ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...JuSNet (Just Society Network)
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อkrupornpana55
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรืองUtai Sukviwatsirikul
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์Jariya Jaiyot
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัยSuradet Sriangkoon
 
บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์Wanphen Wirojcharoenwong
 
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55Decode Ac
 
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.11.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1Kruthai Kidsdee
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบwebsite22556
 

La actualidad más candente (20)

การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อการประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
การประเมินระบบกระดูก กล้ามเนื้อและข้อ
 
1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล
1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล
1แนวคิดการบริหารทางการพยาบาล
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
 
Ppt. service profile
Ppt. service profilePpt. service profile
Ppt. service profile
 
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน  มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
 
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือการเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ
การเขียนบรรณานุกรมจากหนังสือ
 
การพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆการพันผ้าแบบต่างๆ
การพันผ้าแบบต่างๆ
 
อาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการอาหารและโภชนาการ
อาหารและโภชนาการ
 
ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...
ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...
ปฏิบัติการปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ สู่ความเป็นธรรมทางสุขภาพ - Social Determinan...
 
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อแบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
แบบทดสอบพร้อมเฉลยรายตัวชี้วัดร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ..Docx 40 ข้อ
 
การนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัยการนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัย
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรืองการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ  บุญเรือง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอารมณ์ผิดปกติ โดย อ.วิไลวรรณ บุญเรือง
 
ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์ใบงานพอลิเมอร์
ใบงานพอลิเมอร์
 
วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่วัยผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่
 
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
10 r กับการให้ยาอย่างปลอดภัย
 
บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์บทที่ 8 การยศาสตร์
บทที่ 8 การยศาสตร์
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
บทที่ 11 นวัตกรรมทางการศึกษาปฐมวัย 55
 
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.11.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
1.แผนการเรียนรู้ยาเสพติดม.1
 
ธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบธาตุและสารประกอบ
ธาตุและสารประกอบ
 

Destacado

บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง Rungnapa Rungnapa
 
Intro to OH&S
Intro to OH&SIntro to OH&S
Intro to OH&Snnanthas
 
โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014Jiraporn Promsit
 
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยBangkok, Thailand
 
คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานgamut02
 
Human Error Prevention
Human Error PreventionHuman Error Prevention
Human Error PreventionToru Nakata
 
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัยแบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัยAdisorn Tanprasert
 
POKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake Proofing
POKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake ProofingPOKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake Proofing
POKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake ProofingTimothy Wooi
 
Poka yoke (mistake proofing)
Poka yoke (mistake proofing)Poka yoke (mistake proofing)
Poka yoke (mistake proofing)Animesh Khamesra
 

Destacado (11)

บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
บทที่2ความเสี่ยงภัยและการจัดการความเสี่ยง
 
Intro to OH&S
Intro to OH&SIntro to OH&S
Intro to OH&S
 
โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014โครงการ Safety day 2014
โครงการ Safety day 2014
 
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
5.กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
 
คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
คู่มือความปลอดภัยในการทำงานคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
 
Human Error Prevention
Human Error PreventionHuman Error Prevention
Human Error Prevention
 
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัยแบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
แบบทดสอบทัศนคติด้านความปลอดภัย
 
POKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake Proofing
POKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake ProofingPOKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake Proofing
POKA-YOKE - A Lean Strategy to Mistake Proofing
 
Poka yoke (mistake proofing)
Poka yoke (mistake proofing)Poka yoke (mistake proofing)
Poka yoke (mistake proofing)
 
Poka Yoke Final Ppt
Poka Yoke  Final PptPoka Yoke  Final Ppt
Poka Yoke Final Ppt
 
Poka yoke
Poka yokePoka yoke
Poka yoke
 

Similar a อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททpakpoomounhalekjit
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22Napisa22
 
ผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
ผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
ผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมRachanont Hiranwong
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.25554LIFEYES
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกpitsanu duangkartok
 
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้Press Trade
 
อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5Utai Sukviwatsirikul
 
พฤติกรรมสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพFon Pimnapa
 
Infectious PPE
Infectious PPEInfectious PPE
Infectious PPEtaem
 
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...MedicineAndHealth
 
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพหน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพTerapong Piriyapan
 
Introduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of EpidemiologyIntroduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of EpidemiologyUltraman Taro
 
การใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptx
การใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptxการใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptx
การใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptxNareenatBoonchoo
 

Similar a อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (20)

พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
 
2562 final-project 22
2562 final-project 222562 final-project 22
2562 final-project 22
 
Epidemiology
EpidemiologyEpidemiology
Epidemiology
 
ผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
ผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรมผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
ผลลัพธ์ต่อการควบคุมโรคหืดหลังจากได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม
 
H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852H1n1 For Safe 040852
H1n1 For Safe 040852
 
Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555Transfer factor chewable 15.5.2555
Transfer factor chewable 15.5.2555
 
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทกเภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
เภสัชกรในโรงพยาบาล Part1 By พิษณุ ดวงกระโทก
 
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
ปวดกระดูกและข้อ ปัญหาที่รอไม่ได้
 
อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5อาหารสุขภาพ 5
อาหารสุขภาพ 5
 
Home visit palliative care
 Home visit   palliative care Home visit   palliative care
Home visit palliative care
 
50
5050
50
 
50
5050
50
 
พฤติกรรมสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพพฤติกรรมสุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพ
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
Infectious PPE
Infectious PPEInfectious PPE
Infectious PPE
 
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...Adverse Drug Reactions and Drug Allergy 	 Adverse Drug Reactions and Drug All...
Adverse Drug Reactions and Drug Allergy Adverse Drug Reactions and Drug All...
 
155344bayer329
155344bayer329155344bayer329
155344bayer329
 
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพหน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
หน่วยที่ 4 โรคทางพันธุกรรมและโรคจากการประกอบอาชีพ
 
Introduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of EpidemiologyIntroduction and Role of Epidemiology
Introduction and Role of Epidemiology
 
การใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptx
การใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptxการใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptx
การใช้ยาอย่างไรให้ถูกต้องปลอดภัยเหมาะสม.pptx
 

Más de techno UCH

ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557techno UCH
 
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม techno UCH
 
การดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมน
การดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมนการดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมน
การดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมนtechno UCH
 
Breast presentation
Breast presentation Breast presentation
Breast presentation techno UCH
 
แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola
แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola
แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola techno UCH
 
คุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียนคุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียนtechno UCH
 
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์techno UCH
 
การให้ Enteral nutrition
การให้ Enteral nutrition การให้ Enteral nutrition
การให้ Enteral nutrition techno UCH
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition techno UCH
 
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุสุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุtechno UCH
 
เห็ดเป็นยาไทย
เห็ดเป็นยาไทยเห็ดเป็นยาไทย
เห็ดเป็นยาไทยtechno UCH
 
การใช้โปรแกรม Access เบื้องต้น
การใช้โปรแกรม Access เบื้องต้นการใช้โปรแกรม Access เบื้องต้น
การใช้โปรแกรม Access เบื้องต้นtechno UCH
 
Blood glucose monitoring
Blood glucose monitoring Blood glucose monitoring
Blood glucose monitoring techno UCH
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgtechno UCH
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา techno UCH
 
Emergency rt for nurse
Emergency rt for nurseEmergency rt for nurse
Emergency rt for nursetechno UCH
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจtechno UCH
 

Más de techno UCH (20)

ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ ประจำปี 2557
 
มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านม
 
การดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมน
การดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมนการดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมน
การดูแลผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดและฮอร์โมน
 
Breast presentation
Breast presentation Breast presentation
Breast presentation
 
แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola
แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola
แนวทางการป้องกันเชื้อ Ebola
 
คุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียนคุณภาพเวชระเบียน
คุณภาพเวชระเบียน
 
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์
ข้อเสนอแนะการประเมินคุณภาพแพทย์
 
การให้ Enteral nutrition
การให้ Enteral nutrition การให้ Enteral nutrition
การให้ Enteral nutrition
 
Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition Total parenteral nutrition
Total parenteral nutrition
 
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุสุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
สุขภาพในช่องปาก ตอน โรคฟันผุ
 
เห็ดเป็นยาไทย
เห็ดเป็นยาไทยเห็ดเป็นยาไทย
เห็ดเป็นยาไทย
 
การใช้โปรแกรม Access เบื้องต้น
การใช้โปรแกรม Access เบื้องต้นการใช้โปรแกรม Access เบื้องต้น
การใช้โปรแกรม Access เบื้องต้น
 
Blood glucose monitoring
Blood glucose monitoring Blood glucose monitoring
Blood glucose monitoring
 
การอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekgการอ่านค่า Ekg
การอ่านค่า Ekg
 
Concept pc.
Concept pc.Concept pc.
Concept pc.
 
Case study
Case studyCase study
Case study
 
Assesment
AssesmentAssesment
Assesment
 
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีรักษา
 
Emergency rt for nurse
Emergency rt for nurseEmergency rt for nurse
Emergency rt for nurse
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
 

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • 1. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ( Occupational Health and Safety ) กนกวรรณ ธาตุทำเล ศูนย์มะเร็งอุดรธานี 24 กุมภาพันธ์ 2555
  • 2. ความหมายของอาชีวอนามัยและความปลอดภัย • อาชีวะ ( Occupation) : หมายถึง บุคคลที่ประกอบสัมมาชีพ หรือคนที่ประกอบอาชีพทั้งมวล • อนามัย ( Health) : หมายถึง สุขภาพอนามัย ความเป็นอยู่ที่สุขสมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพ อาชีวอนามัย หมายถึง งานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแล สุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพทั้งหมด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัย รวมทั้งการดำรงคงไว้ซึ่งสภาพร่างกาย และจิตใจที่สมบูรณ์ของผู้ประกอบอาชีพทุกอาชีพ
  • 3. อาชีวอนามัย ( Occupational Health ) หมายถึง สุขภาพอนามัยในผู้ประกอบอาชีพที่มี ความเกี่ยวข้อง หรือมีความสัมพันธ์กันระหว่าง สุขภาพ ของผู้ปฏิบัติงาน กับ สภาพงาน หรือ สภาพสิ่งแวดล้อม ในการทำงาน อาชีพ ( การทำงาน ) สุขภาพอนามัย
  • 4. ความปลอดภัย ( Safety) : หมายถึง สภาพแวดล้อมของการทำงาน ที่ปราศจากภัยคุกคาม ไม่มีอันตราย ( Danger) และความเสี่ยงใดๆ ( Risk) ในทางปฏิบัตินั้นอาจจะไม่สามารถควบคุมอันตรายหรือความเสี่ยงในการทำงานที่มีผลต่อสุขภาพ การบาดเจ็บ การพิการ การตายได้ทั้งหมด แต่ต้องมีการดำเนินงาน มีการกำหนดกิจกรรมด้านความปลอดภัยเพื่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงน้อยสุดเท่าที่จะทำได้
  • 5. ลักษณะงานด้านอาชีวอนามัย องค์การอนามัยโลก ( WHO) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ( ILO) ได้ประชุมร่วมกันให้ลักษณะงานด้าน อาชีวอนามัยไว้ ประกอบด้วยลักษณะงาน 5 ประการสำคัญคือ 1. การส่งเสริม ( Promotion) หมายถึง การส่งเสริมและธำรงรักษาไว้ เพื่อให้แรงงานทุกอาชีพมีสุขภาพ ร่างกาย ที่แข็งแรง มี จิตใจ ที่สมบูรณ์ที่สุด และมีความเป็นอยู่ในสังคมที่ดีตามสถานะที่พึงมีได้ 2. การป้องกัน ( Prevention) หมายถึง งานด้านป้องกันผู้ที่ทำงาน ไม่ให้ มีสุขภาพอนามัย เสื่อมโทรมหรือผิดปกติอันมีสาเหตุอันเนื่องมาจากสภาพ สภาวะการทำงานที่ผิดปกติ
  • 6. 3. การป้องกันคุ้มครอง ( Protection) หมายถึง การปกป้องคนทำงานในสถานประกอบการ หรือลูกจ้างไม่ให้ทำงานที่เสี่ยงต่อสภาพการทำงานที่ อันตราย จนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหา อุบัติเหตุ การบาดเจ็บจากการทำงานได้ 4. การจัดการงาน ( Placing) หมายถึง การจัดสภาพต่างๆของการทำงาน และปรับสภาพ ให้ทำงานใน สิ่งแวดล้อม ของการทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของร่างกายและจิตใจของแต่ละคนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ โดยการนำเอาด้านการลงทุนมาประกอบพิจารณาถึงความเป็นไปได้ด้วย
  • 7. 5. การปรับงานให้กับคนและปรับคนให้กับงาน ( Adaptation) หมายถึง การปรับสภาพของงานและของคนให้สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม คำนึงถึงสภาพทางสรีระวิทยามากที่สุด อยู่ในพื้นฐานของความแตกต่างกันของสภาพร่างกายและจิตใจ พยายามเลือกจัดหางานให้เหมาะ สมกับสภาพร่างกายมากที่สุด เพื่อประสิทธิภาพของงาน ทำงานให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด
  • 8. อาชีวอนามัย เป็นการศึกษาถึงปัจจัยที่มีความสัม พันธ์กับการทำงาน วิธีการทำงาน สภาพของงาน สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ความเหมาะสมของเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน ลักษณะท่าทางการทำงาน ความซ้ำซากของงาน เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรค เกิดความผิดปกติของร่างกาย เกิดการบาดเจ็บหรือความพิการ ทุพลภาพ
  • 10. worker การค้นหาโรค อันตรายและ อุบัติเหตุจากการทำงาน การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ
  • 11. โรคจากการประกอบอาชีพ ( Occupational Diseases) หมายถึง   โรคหรือความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน โดยมีสาเหตุหลักมาจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม หรือสภาวะแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม โดยที่อาการของความเจ็บป่วยนั้นๆ อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน หรือหลังจากการทำงานเป็นเวลานานเช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคสิส โรคพิษสารตัวทำละลาย โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ และการบาดเจ็บจากการทำงานฯลฯ
  • 12. สภาพสิ่งแวดล้อมของงาน ( Working environment ) โดยใช้หลักการทางอาชีวสุขศาสตร์ ( Occupational hygiene ) มีหลักการอยู่ 3 ข้อด้วยกันคือ - การรู้ปัญหา ( Recognition ) - การประเมินอันตราย ( Evaluation ) - การควบคุม ( Control )
  • 13. การรู้ปัญหา ( Recognition ) อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ เช่น อุณหภูมิ เสียง แสง รังสี ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ อันตรายจากสารเคมี อันตรายจากด้านชีวภาพ ปัญหาทางด้านการยศาสตร์ ได้แก่ ความเหมาะสมของเครื่องมือ เครื่องจักร และวิธีการปฏิบัติงาน
  • 14. การประเมินอันตราย ( Evaluation ) ต้องมีการประเมินระดับอันตราย โดยการ ตรวจสอบ การตรวจวัด เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน การควบคุม ( Control ) โดยใช้มาตรการ วิธีการที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา
  • 15. สิ่งแวดล้อมของงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โรคจากการทำงาน การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา คนงานที่มีสุขภาพดี ความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมของงาน เมื่อไม่มีการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ
  • 16. สิ่งแวดล้อมของงานที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ โรคจากการทำงาน การตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา คนงานที่มีสุขภาพดี ความสัมพันธ์ระหว่างคนและสิ่งแวดล้อมของงาน ที่มีการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อม การรู้ปัญหา การประเมินอันตราย การควบคุมอันตราย สิ่งแวดล้อมของงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  • 17. โรคจากการประกอบอาชีพที่เป็นปัญหาในประเทศไทย แบ่งเป็น    - อุบัติภัย / การบาดเจ็บ จากการประกอบอาชีพ (Accidents/Occupational Traumatic Injuries) การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ ( Musculoskeletal Injuries)           -  โรคปอด จากการประกอบอาชีพ ( Occupational Lung Diseases) รวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ เช่น โรคซิลิโคสิส โรคบิสสิโนสิส โรคแอสเบสโตสิส และอาการระคายเคืองทางเดินหายใจ ฯลฯ           - โรคพิษจากสารโลหะหนัก ( Heavy Metal Poisoning) เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคพิษจากสารหนูปรอท แมงกานีส ฯลฯ
  • 18.           - โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช (PesticidePoisoning) และเวชศาสตร์เกษตรกรรม           - โรคผิวหนังจากการประกอบอาชีพ (Dermatological Disorders)           -  ภาวะการได้ยินเสื่อมจากเสียงดัง (Occupational Hearing Loss)           - ภาวะเป็นพิษต่อระบบประสาท ( Neurotoxic Disorders)           - โรคมะเร็งจากการประกอบอาชีพ ( Occupational Cancers)           - โรคหัวใจและหลอดเลือด ( CardiovascularDiseases) - ปัญหาสุขภาพจิตและความเครียดจากการทำงาน ( Psychological Disorders and Work Stress)
  • 19. ปัญหาสุขภาพแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ โรคหรือความผิดปกติจากการทำงาน ( Occupational disease ) เกิดจากการสัมผัสหรือได้รับตัวการเกิดโรคขณะทำงาน ซึ่งอาจได้รับ เป็นระยะเวลานานๆจนเกิดอาการปรากฏ หรือได้รับในปริมาณที่มากในระยะเวลาสั้นๆ และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยการยืนยันจากแพทย์ หรืออาจสรุปได้ว่า เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน ( Worked related disease ) และต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของงาน หรือตัวก่อโรค เช่น การสูญเสียการได้ยิน โรค silicosis ที่เกิดจากการทำงานในบรรยากาศที่มีฝุ่นหินทรายและหายใจเอาฝุ่นหินทรายเข้าไปในปอด อาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น หรือข้อต่อที่เกิดจากการทำงานซ้ำซากจากการใช้ท่าทางที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ฯลฯ ( จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลพื้นฐานสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อเปรียบเทียบ )
  • 20. การบาดเจ็บจากการทำงาน ( Occupational Injuries ) เป็นการบาดเจ็บจากการทำงาน เนื่องจากได้รับอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น ความบกพร่องของเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ใน การทำงาน การจัดเก็บและดูแลสถานที่ทำงาน ลักษณะของงาน หรือเกิดจากความประมาทของผู้ปฏิบัติงาน ขาดความรู้และทักษะ ต้องการความสะดวกในการทำงานโดยไม่ป้องกัน เช่นการใส่อุปกรณ์เครื่องป้องกัน ฯลฯ และการบาดเจ็บที่เรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคได้ และอาจส่งผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมรอบรอบได้
  • 21. อันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการประกอบอาชีพ ( Occupational environmental hazard ) อันตรายทางด้านกายภาพ ( Physical hazard ) 1 . เสียง ( Noise ) 2. สภาพการจัดแสงสว่างในการทำงาน ( Lighting in the workplace ) 3. ความสั่นสะเทือน ( Vibration ) 4. อุณหภูมิที่ผิดปกติ ( Abnormal temperature ) 5. ความกดดันบรรยากาศที่ผิดปกติ ( Abnormal pressure ) 6. รังสี ( Radiation )
  • 22. อันตรายทางด้านเคมี ( Chemicxal hazards ) เกิดจากการนำสารเคมีมาใช้ทำงาน หรือมี สารเคมีที่เป็นอันตรายเกิด ขึ้นจากขบวนการผลิตของงาน โดยร่างกายอาจ ได้รับสารเคมีทาง การหายใจ การดูดซึม เข้าทางผิวหนัง การกิน ที่ไม่ได้ตั้งใจ
  • 23. อันตรายจากสิ่งแวดล้อมทางเคมี การป้องกัน และควบคุม สารเคมีที่ใช้ในโรงพยาบาล มีดังนี้คือ สารเคมีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค ( chemical disinfectants) เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานที่รับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ จากที่ต่างๆ เพื่อรับการรักษาดังนั้น การใช้สารเคมีในการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรคตามสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันมิให้ทั้งผู้ป่วยหรือผู้ปฏิบัติงานเกิดการติดเชื้อได้ สารเคมีที่ใช้ได้แก่ Isopropyl alcohol, Sodium Hypochlorite (chlorine), Iodine, Phenolics, Quaternary ammonium compounds, Glutaraldehyde, Formaldehyde
  • 24. Antineoplastic drugs Antineoplastic drugs เป็นยาที่ใช้เพื่อยังยั้งหรือป้องกันการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อเยื่อร้าย
  • 25. ผลต่อสุขภาพ Antineoplastic drugs หลายชนิดมีรายงานจากการทดลองในสัตว์ ที่ได้รับสารนี้ว่า ทำให้เกิดการกลายพันธุ์และเป็นมะเร็ง สัตว์ที่เกิดมามีอวัยวะผิดปกติ มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า Cyclophosphamide, Chlorambucil, 1-4-butanediol dimethyl sulfonate และ melphalan เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ( Sorsa et al ค . ศ . 1985) เมื่อให้ยาในการรักษาผู้ป่วย พบว่า antineoplastic drugs (Cyclophosphamide) มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มอุบัติเหตุ ของโรคเนื้อร้าย ( IARC ค . ศ . 1981) และทำให้เด็กเกิดมามีอวัยวะผิดปกติ
  • 26. Sotaniemi et al ( ค . ศ . 1983) รายงานว่า พบตับถูกทำลายในพยาบาล 3 คนซึ่งทำหน้าที่ให้ยา และจับต้องยา antineoplastic เป็นเวลาหลายปี โดยมี อาการปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ ผิวหนัง และเยื่อบุมีลักษณะเปลี่ยนแปลง ผมร่วง ไอมีปฏิกิริยาภูมิแพ้ อาการที่พบในพยาบาลทั้ง 3 คน มีลักษณะเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับยา antineoplastic
  • 27. สารเคมีที่ใช้บำบัดโรคมะเร็งแต่สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็ง กับผู้ที่สัมผัส และก่อให้เกิดทารกพิการแต่กำหนดตัวอ่อนผิดปกติ หากมารดาได้รับสารดังกล่าว ขณะตั้งครรภ์ สรุปโดย IARC ( ปี ค . ศ . 1975, 1976, 1981) สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด ( 1) และตัวอ่อนผิดปกติ (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Actinomtcin-D ไม่พอเพียง จำกัด 1, 2+ Adriamycin ไม่พอเพียง พอเพียง ..... BCNU ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2
  • 28. สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด ( 1) และตัวอ่อนผิดปกติ (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Bleomycin ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง ..... 1,4-Butanedol dimethylsulfonate (Myleran, Busal fan) พอเพียง จำกัด 1 Chlorambucil พอเพียง พอเพียง 1, 2 CCNL ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 Cisplatin ไม่พอเพียง จำกัด 2
  • 29. สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด ( 1) และตัวอ่อนผิดปกติ (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Cyclophosphamide พอเพียง พอเพียง 1, 2 Dacarbazine ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 5-Fluorouracil ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2 Melphalan พอเพียง พอเพียง 1 6-Mercaptopurine ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2 Methotrexate ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2
  • 30. สารเคมีที่ใช้ในการบำบัดโรคมะเร็ง หลักฐานที่ค้นพบการเป็นมะเร็ง ทารกพิการแต่กำเนิด ( 1) และตัวอ่อนผิดปกติ (2) ในมนุษย์ ในสัตว์ Nitrogen mustard ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 Procarbazine ไม่พอเพียง พอเพียง 1, 2 Thiotepa ไม่พอเพียง พอเพียง 1 Uracil mustard ไม่พอเพียง พอเพียง 1 Vinblastine ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2 Vincristine ไม่พอเพียง ไม่พอเพียง 1, 2
  • 31. Mercury ผลต่อสุขภาพ ปรอทสามารถเข้าสู่ร่างกายโดยทางการ หายใจและดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง การสัมผัสช่วงเวลาสั้นๆ แต่ปริมาณสูงทำให้เกิดการระคายเคือง การย่อยอาหารผิดปกติ และทำให้ ไต ถูกทำลายการสัมผัสเป็นเวลานาน ในปริมาณความเข้มข้นต่ำ เป็นผลให้ อาการทางประสาท มีลักษณะอารมณ์ที่ไม่คงที่ หน้ายุ่ง สั่น เหงือกบวม น้ำลายออกมาก anorexia น้ำหนักตัวลด และเป็น โรคผิวหนัง เนื่องจากการแพ้สาร
  • 32. การป้องกันและควบคุม 1. มีระบบระบายอากาศบริเวณที่มีการใช้สารปรอทเพื่อป้องกันไม่ ให้ไอปรอทสะสมอยู่ในห้องหรือเกิดการไหลเวียนในสถานที่ทำงาน 2. ควรมีการเฝ้าควบคุมสิ่งแวดล้อมการทำงาน โดยการตรวจ วัดอากาศเพื่อหาปรอท 3. กรณีที่ปรอทหกรดตามจุดต่างๆควรมีการกำจัดทันที เพราะจะทำ ให้ไอปรอทกระจายอยู่ในอากาศ 4. การกำจัดปรอทที่หก ควรมีการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันชนิดใช้แล้วทิ้ง 5. ควรมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์หาปรอทเป็นระยะๆ ในกลุ่มคนที่ทำงานสัมผัสปรอท ระดับปรอทในปัสสาวะ 0.1-0.5 mg./urine 1 lit มีนัยสำคัญที่ทำให้เกิดอาการของพิษปรอทได้
  • 33. อาการของพิษปรอท        การเกิดพิษจากสารปรอทมีทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง พิษชนิดเฉียบพลันมักเกิดจากอุบัติเหตุโดยการกลืนกินสารปรอทเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งปริมาณปกติที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายและทำให้คนตายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 0.02 กรัม อาการที่เกิดจากการกลืนกินปรอท คือ        - อาเจียน ปากพอง แดงไหม้ อักเสบและเนื้อเยื่ออาจหลุดออกมาเป็นชิ้นๆ        - เลือดออก ปวดท้องอย่างแรง เนื่องจากปรอทกัดระบบทางเดินอาหาร        - มีอาการท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระเป็นเลือด        - เป็นลม สลบเนื่องจากร่างกายเสียเลือดมาก        - เมื่อเข้าสู่ระบบหมุนเวียนโลหิต ปรอทจะไปทำลายไต ทำให้ปัสสาวะไม่ออกหรือปัสสาวะเป็นเลือด        - ตายในที่สุด
  • 34. พิษชนิดเรื้อรัง         ปรอทเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ทำให้เสียการควบคุมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา การพูด มีผลต่อระบบประสาทรับความรู้สึก เช่น การได้ยิน การมองเห็น ซึ่งอันตรายเหล่านี้ เมื่อเป็นแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับดีดังเดิมได้ หายใจหอบ ปอดอักเสบ มีอาการเจ็บหน้าอก มีไข้ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกและตายได้
  • 35. การป้องกัน และควบคุม 1. การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การเลือกใช้ชนิด ใดขึ้นอยู่กับลักษณะงาน และโอกาสที่ได้รับการสัมผัส เช่น การใช้ถุงมือหรืออุปกรณ์ป้องกันใบหน้า เพื่อป้องกัน สารสัมผัสกับผิวหนังหรือ ใช้แว่นตาเพื่อป้องกันสารกระเด็นเข้าตา 2. ขณะทำงานถ้าเสื้อผ้าเปื้อน ควรรีบถอดออก และแยก นำไปซัก 3. สารเคมีถูกผิวหนังต้องรีบล้างออก 4. สถานที่ใช้สารเคมีต้องมีการระบายอากาศเฉพาะที่ที่ดี เพื่อกำจัดไอและกลิ่นของสารเคมี 5. ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
  • 36. อันตรายทางด้านชีวภาพ ( Biological hazards ) เกิดจากการทำงานที่ต้องเสี่ยงจากการสัมผ้สได้รับอันตรายจากสารชีวภาพ ( Biological agents ) ทำให้เกิดความผิด ปกติต่อร่างกาย หรือมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้น เช่น เชื้อจุลินทรีย์ ฝุ่นละอองจากส่วนของพืชหรือสัตว์ การติดเชื้อจากสัตว์หรือแมลง รวมทั้งการถูก ทำร้ายจากสัตว์และ แมลง
  • 37.
  • 38. เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนด้วยชีววัตถุ เมื่อต้องการทำความสะอาด ต้องใช้ผงซักฟอกและน้ำที่อุณหภูมิอย่างน้อย 71 º C (160 º F) เป็นเวลานาน 25 นาทีกรณีที่ใช้อุณหภูมิต่ำกว่านั้น จะต้องใช้สารเคมีในการฆ่าเชื้อ
  • 39. ตัวอย่างของเสียที่เป็นของแข็ง ( Solid waste) เช่น เสื้อผ้า เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนด้วยเลือด และ body fluids เมื่อต้องการกำจัดควรนำไปกำจัดด้วยการเผาที่เตาเผาอุณหภูมิสูง ส่วนอุจจาระที่ปนเปื้อน ควรกำจัดโดย Sanitary landfill or pit latrine
  • 40. ด้านการยศาสตร์ ( Ergonomics ) เป็นอันตรายที่เกิดจากการใช้ท่าทางที่ไม่ เหมาะสมในการทำงาน วิธีการปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้อง การปฏิบัติงานที่ทำซ้ำซาก อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุจากการทำงาน
  • 41. ด้านกายภาพ เสียง ( Noise ) แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 1. เสียงที่ดังสม่ำเสมอ ( Steady-level noise ) ไม่เกิน 5 เดซิเบลใน 1 วินาที พบในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรใช้ในการทำงานตลอดเวลา เสียงเครื่องทอผ้า เสียงพัดลม ฯลฯ 2. เสียงที่เปลี่ยนแปลงระดับเสมอ ( Fluctuating noise ) เสียงที่มีระดับความเข้มที่ไม่คงที่ สูงๆต่ำๆ มีการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงที่เกินกว่า 5 เดซิเบลใน 1 วินาที เช่น เสียงไซเรน เสียงเลื่อยวงเดือน กบไสไม้ไฟฟ้า ฯลฯ
  • 42. 3. เสียงที่ดังเป็นระยะ ( Intermittent noise ) เป็นเสียงที่มีความดังไม่ต่อเนื่อง เช่นเสียงเครื่องบิน เครื่องอัดลม เครื่องเป่าหรือเครื่องระบายไอน้ำ เสียงจากการจราจร ฯลฯ 4. เสียงกระทบ ( Impact noise or Impulse noise ) เป็นเสียงจากการกระทบหรือกระแทก อาจเกิดแล้วหายไป หรือเกิดติดๆกันหรือเกิดขึ้นนานๆครั้ง เช่น เสียงจากการทุบหรือตีโลหะ ตอกเสาเข็มฯลฯ
  • 43. ระดับเสียงและระยะเวลาที่ยอมให้สัมผัสได้ใน 1 วัน ที่มา :OSHA standard ระยะเวลาในแต่ละวัน ( ช . ม ) ระดับเสียง ( เดซิเบลเอ ) 8 90 6 92 4 95 3 97 2 100 11/2 102 1 105 1/2 110 ¼ or less 115
  • 44. การสัมผัสเสียง ที่มีความเข้มสูง เป็นระยะเวลานานหลายปีจะทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร ( permanent hearing loss) ซึ่งจะไม่มีโอกาสกลับคืนสู่สภาพปกติ และไม่มีทางรักษาหายได้ การสัมผัสเสียงดัง มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกาย เช่นการทงานของ Cardiovascular, endocrine, neurogenic และสรีระของร่างกาย เป็นต้นนอกจากนี้ ยังพบว่า เสียงดังทำให้เกิดการรบกวนการพูด การสื่อความหมายและกลบเสียงสัญญาณต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้
  • 45. การควบคุมอันตรายจากเสียง พิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ ควบคุมที่ แหล่งกำเนิด เสียง ( Source control ) ต่ำกว่า 85 เดซิเบลเอ การควบคุมหรือลดระดัยบเสียงที่ ทางผ่านระหว่างแหล่งกำเนิดไปยังคน โดยพิจารณาการส่งผ่านเสียงว่ามาทางใด ทำกำแพงกั้น ใช้วัสดุดูดซับ การควบคุมหรือ ลดอันตรายที่ผู้รับเสียง การใส่อุปกรณ์ เครื่องครอบหู ที่อุดรูหู
  • 46. ความสั่นสะเทือน ( Vibration ) การได้รับอันตรายจากความสั่นสะเทือนแบ่งได้ 2 ประเภท 1. ความสั่นสะเทือนที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน ( ทั่วร่างกาย ) พบในผู้ที่ขับรถบรรทุกรถไถ เครื่องจักรที่มีคนควบคุมส่งผ่านความสั่นสะเทือนทางที่นั่ง อยู่ในช่วงความถี่ ระหว่าง 2 ถึง 100 เฮิร์ท
  • 47. 2. ความสั่นสะเทือนที่เกิดกับ อวัยวะเฉพาะ ส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่จะเกิดที่ แขนและมือ ที่ใช้ในการทำงาน เช่น เครื่องขุดเจาะขนาดใหญ่ ค้อนทุบ เครื่องตัด เลื่อยไฟฟ้า เครื่องขัดถูพื้นหินขัด ความถี่อยู่ในช่วง 20-1000 เฮิร์ท
  • 48. ผลของความสั่นสะเทือนต่อร่างกาย - กำลังมากๆขณะทำงาน จะเกิดเรื้อรังสำหรับผู้ที่ทำงานเป็นระยะเวลานาน - มีผลต่อกระดูกโครงสร้าง ( Bone structure ) - รบกวนการหลั่งของน้ำย่อยในระบบทางเดินอาหาร - ความสามารถในการเคลื่อนไหว มีผลในการเปลี่ยนแปลงความไวของประสาท - กระดูกข้อต่อเกิดการอักเสบ
  • 49. โรคมือและแขนที่เกิดจากความสั่นสะเทือน ( Hand-arm vibration syndrome ) หรือ HAVS 1. เกิดการบีบเกร็งของหลอดเลือดบริเวณนิ้วมือ ทำให้นิ้ว ซีดขาว 2. ประสาทรับความรู้สึกที่มือเปลี่ยนแปลง ลดความรู้สึก ความว่องไวลดลง 3. กล้ามเนื้อมือผิดปกติ
  • 50. การป้องกันอันตรายจากความสั่นสะเทือน 1. ลดความเข้ม และระยะเวลาในการสัมผัส กับความสั่นสะเทือน 2. ตรวจสอบระดับการสัมผัสความสั่นสะเทือน 3. การตรวจร่างกายเป็นระยะ ควรห้าม สูบบุหรี่หรือใช้ยาสูบ 4. มีการจัดเตรียมยาเมื่อมีอาการผิดปกติ
  • 51. 5. ควรใช้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ที่สามารถลด ความสั่นสะเทือน 6. ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้ แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน เพื่อลดความเสี่ยง
  • 52. ความร้อน แหล่งที่พบ โรงซักรีด ห้องติดตั้งหม้อไอน้ำ โรงครัวเป็นสถานที่ทำงานที่มีแหล่งกำเนิดความร้อน ทำให้อุณหภูมิบริเวณที่ทำงานอยู่สูงกว่าปกติมาก
  • 53. ผลต่อสุขภาพ ความร้อนมีผลกระทบต่อสุขภาพ คือ ทำให้เกิดเป็นลมเนื่องจากความร้อนในร่างกายสูง ( Heat stroke) เกิดการอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat exhaustion) เกิดกดารเป็นตะคริว ( Heat Cramp) เนื่องจากความร้อนอาการผดผื่นขึ้น ตามบริเวณผิวหนัง ( Heat rash) และเกิดการขาดน้ำ ( dehydration)
  • 54. การป้องกันและควบคุม - สำหรับผู้ทั่ทำงานหนัก ควรจัดให้มีระยะพักผ่อน ที่มีอากาศเย็น - เครื่องมืออุปกรณ์ที่มีแหล่งความร้อน ควรมีฉนวนหุ้มกันความร้อน - ติดตั้งระบบดูดอากาศเฉพาะที่ เพื่อระบายความร้อน - ติดตั้งฉากกั้นความร้อน - จัดให้มีลมเป่า เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ และการระเหยของเหงื่อ - จัดให้มีน้ำเย็นสำหรับดื่มในที่ทำงาน - จัดให้มีที่ทำงานสำหรับที่พักเย็น
  • 55. รังสี มีรังสีแตกตัว และไม่แตกตัว อันตรายจากการสัมผัสรังสี - บริเวณที่มีการใช้ การสะสม - การทิ้งสารกัมมันตรังสี
  • 56. ผลต่อสุขภาพ - ปริมาณ - ระยะเวลาการสัมผัส - ระยะทาง - ชนิดของสิ่งขวางกั้นระหว่างรังสี กับผู้ปฏิบัติงาน - ชนิดของรังสี - ปัจจัยเสี่ยง อายุ เพศ สภาวะสุขภาพ อาหาร ฯลฯ
  • 57.
  • 58.
  • 59. รังสีอุลตร้าซาวด์ ผลต่อสุขภาพ แม้ว่าการสัมผัสกับอัลตราซาวน์จะไม่ปรากฎว่าเป็นอันตราย แต่การสัมผัสอัลตราซาวน์ที่มีความถี่สูงที่สามารถได้ยินได้ คือ ความถี่ที่มากกว่า 10 KHz ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน Tinitus ปวดหู มึนงง อ่อนเพลีย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการ สูญเสียการได้ยินชั่วคราว การสัมผัสรังสีอัลตราซาวน์ที่มีความถี่ต่ำ จะทำให้เกิดผลเฉพาะที่เกิดการทำลายปลายประสาทของอวัยวะส่วนที่สัมผัส ผู้ที่สัมผัสรังสีอัลตราซาวน์ซึ่งเคลื่อนที่โดยมีอากาศเป็นตัวกลาง จะมีผลต่อ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบอื่นๆอวัยวะในหู และการได้ยิน
  • 60.
  • 61. การสัมผัสรังสีแตกตัว ทำให้เกิดการ กลายพันธุ์ของยีนส์การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม การแบ่งตัวของเซลล์ล่าช้า และเซลล์ถูกทำลายเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ( เนื้อเยื่อในเลือด , ผิวหนัง , เลนส์ตา ) กว่าปกติจะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงกว่า เซลล์ที่แบ่งตัวช้า ( กระดูกต่อมเอ็นโดรไครน์และระบบประสาท ) เกิด fibrosis ของปอด และไต ตา โรคโลหิตจางชนิด Aplastic ทำให้เป็นหมัน โรคผิวหนังและอายุขัยสั้น
  • 62.
  • 63.
  • 64.
  • 65. สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาสังคม เป็นสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียดจากการทำงาน การเปลี่ยนแปลงทางสรีระ อันเนื่องมาจากอารมณ์หรือจิตใจที่ได้รับความบีบคั้น
  • 66. สิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยา สังคม มุ่งเป้าไปที่ตัวคน และจิตวิญญาณ ( Spirit) ที่ต้องใช้เพื่อการทำงานดังนั้น แนวคิดในการ มองปัจจัยต้นเหตุ ผลกระทบ ค่ามาตรฐาน และการควบคุมป้องกันจึงแตกต่างกัน กับสิ่งแวดล้อมที่กล่าวข้างต้นอย่างสิ้นเชิง
  • 67. สิ่งแวดล้อมทางจิตสังคม หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดจากหลายปัจจัยปะปนกัน ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ ตัวงานซึ่งมีทั้งปริมาณ และ คุณภาพ ประกอบกันไปสภาพการบริหารงานในองค์กร ความรู้ ความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน ความต้องการพื้นฐานวัฒนธรรม ความเชื่อ พฤติกรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อมนอกงาน ที่ทำให้เกิดการรับรู้และประสบการณ์
  • 68. สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีความสลับซับซ้อนและ เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ยังผลให้เกิดผลงาน ( work performance) ความพึงพอใจในงาน ( Job satisfactiion) สุขภาพทางกายและทางจิต ( physical and mental health) ซึ่งจะเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย
  • 69. สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด ( Stressor) หมายถึง สภาวะแวดล้อมซึ่งบีบคั้น ยังผลให้เกิดความเครียด
  • 71. สิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ( Stressors) เช่น ความต้องการ เวลา ตารางการจัดงาน ความต้องการในงาน งานล่วงเวลา กะการทำงาน สภาพทางกายภาพ - มีสิ่งคุกคามทางกายภาพหรือทางเคมี หรือทางเออร์กอนอมิคส์ การจัดองค์กร - บทบาทไม่ชัดเจน มีความขัดแย้งในบทบาท มีการแข่งขันและไม่เป็นมิตร สภาพขององค์กร - ชุมชน งานไม่มั่นคงไม่มีการพัฒนาในอาชีพ สภาพนอกงาน - ส่วนตัวครอบครัว ชุมชน เศรษฐกิจ
  • 72. ผลที่ตามมา ทางกาย ระยะสั้น – ความดันโลหิตเพิ่ม ระยะยาว - ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคแผลในกระเพาะอาหาร หอบหืด ทางจิต ระยะสั้น - ความวิตกกังวล ความไม่พึงพอใจ โรคอุปทาน ( mass psychogenic illness) ระยะยาว - ซึมเศร้า จิตสลาย ( burnout) ความผิดปกติทางจิต
  • 73.
  • 74. ในปี ค . ศ . 1977 NIOSH ได้ศึกษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางจิตและเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า ผู้ป่วยซึ่งประกอบอาชีพ 130 ประเภท มีผู้ป่วยที่ประกอบอาชีพ 22 ประเภทมีอัตราการผิดปกติทางจิตสูงมากที่สุด โดยมีอาชีพ 6 ประเภทซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องอูแลสุขภาพ ได้แก่ นักวิชาการสุขภาพ พยาบาลเวชปฏิบัตินักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยพยาบาล พยาบาลวิชาชีพ ผู้ช่วยทันตแพทย์ ( colligan et al. 1977) และจากการศึกษา อื่นๆ พบว่า สัดส่วนอัตราการตาย ( Proportional mortality ratio = PMR) ของผู้ชายกับผู้หญิงได้เพิ่มขึ้น โดยที่ผู้ชายมักประกอบอาชีพ ทันตแพทย์ แพทย์ นักวิชาการด้านการแพทย์ และทันตแพทย์ ส่วนผู้หญิงประกอบอาชีพ พยาบาล
  • 75. ในปี ค . ศ . 1988 สถาบันอาชีวอนามัยในฟินแลนด์ ทำการศึกษาความเครียดและอาการจิตสลายที่เกิดขึ้นในหมู่แพทย์ชาวฟินแลนด์ พบว่าแพทย์ที่มีความเครียดมากที่สุด คือ คนที่ไม่มีงานถาวรทำ และทำงานในแผนกฉุกเฉินเป็นส่วนใหญ่ และเป็นโรงพยาบาลในส่วนกลางส่วนอาการจิตสลายพบมากในแพทย์ที่ทำหน้าที่ ดูแลคนป่วยในแผนกผู้ป่วยนอก แพทย์ที่มีอาการเครียดมากที่สุด ได้แก่ แพทย์เฉพาะทาง สาขากุมารจิตเวชจิตแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางที่ทำงานใกล้ชิด กับผู้ป่วยโรคมะเร็งหรือโรคอื่นที่หนักมากๆ ทันตแพทย์ก็เป็นอาชีพหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดความเครียดได้สูงสาเหตุเนื่องจาก การที่ต้องจัดการกับผู้ป่วย การพยายามรักษาตารางเวลาการทำงานพยายามประคับประคองการทำงานของตน ให้อยู่ใต้การทำงานหนักเกินไป งานบริหารสภาพงานที่ไม่เหมาะสม เพราะต้องทำในที่จำกัด และท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม
  • 76. ลักษณะงานที่ทำเหมือนๆ กันจนเป็นกิจวัตรน่าเบื่อและพยาบาลก็ถือว่าเป็นอาชีพมีความเครียดสูงที่สุด มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดและมีอัตราการป่วยเป็นโรคจิตสูง ป็นอันดับแรกของรายชื่อผู้ป่วยโรคจิตที่โรงพยาบาลได้รับ หน้าที่พยาบาลที่แตกต่างกันไปให้ความรู้สึกกดดันที่แตกต่าง พยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยหนักในแผนก ไอ . ซี . ยู . ที่ต้องใช้เครื่องมือช่วยชีวิต ที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน มีลักษณะงานที่ฉุกเฉินและต้องผจญกับความเป็นความตาย ของคนไข้อยู่ตลอดเวลา เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ทำให้เกิดความเครียดสูงสุด ในผู้มีอาชีพพยาบาล
  • 77. ผลต่อสุขภาพ ที่พบในผู้ทำงานด้านดูแลผู้ป่วย พบว่า ความเครียดมีความสัมพันธ์กับความไม่อยากอาหาร แผลอักเสบ ความผิดปกติด้านจิตใจ ปวดศีรษะข้างเดียว นอนไม่หลับ การมีอารมณ์แปรปรวน การทำลายชีวิตของครอบครัวและสังคม การเพิ่มการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และยา ความเครียดมีผลกระทบต่อทัศนคติและพฤติกรรม และยังพบว่า ผู้ปฏิบัติงานที่มีความเครียดมีผลต่อการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย และเพื่อนร่วมงาน
  • 78.
  • 79.
  • 80. ตัวชี้วัดสุขภาพจิต ในทางบวก ในทางลบ 1. ค่าความพึงพอใจต่างๆ ได้แก่  ความพึงพอใจ ในงาน   ความวิตกกังวล  ความพึงพอใจ ในชีวิต   ความเบื่อหน่ายในงาน  ความพึงพอใจ ต่อความต้องการที่ได้รับการสนองตอบ  การผละงาน  ความพึงพอใจ ในศักดิ์ศรีที่ได้รับในการตอบสนอง  ความซึมเศร้า
  • 81. ตัวชี้วัดสุขภาพจิต ในทางบวก ในทางลบ . ความสามา 2 รถ และการควบคุมตนเองจนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้แก่ 2. ความไม่สามารถกระทำกิจการและไม่สามารถควบคุมตนเองให้ผ่านพ้นอุปสรรคได้ ได้แก่  การพัฒนาตน  การปล่อยปละละเลยตนเอง  ความเป็นอิสระในความคิดนึก  การเฉยเมย ไม่คิด ไม่นึก  การกระทำที่เกื้อหนุนให้บรรลุผลสำเร็จ  การเฉื่อยชา ไม่ลงมือกระทำการใดๆ
  • 82. 3. จิตใจที่เป็นสุขได้แก่ 3. จิตใจที่ไม่เป็นสุขได้แก่  ความพึงพอใจในความเป็นอยู่  ความกระวนกระวาย ไม่พอใจในความเป็นอยู่  ความรู้สึกอยากมีชีวิตอยู่  ความเบื่อหน่ายในชีวิต  ความพอใจในชีวิตสมรส  ความเบื่อชีวิตสมรส  การเข้าร่วมเป็นส่วนของสังคม  ความเบื่อ และหลีกหนีจากสังคม  ความสามารถในงานที่ทำ  ความไร้ความสามารถในงานที่ทำ
  • 83.
  • 84. - ประเมินจากความเครียดในการทำงาน - ประเมินจากความวิตกกังวลของบุคคล - ประเมินจากความเครียดในชีวิต ( Life Stress) - ด้านวิธีการประเมิน เครื่องมือที่ใช้ ตลอดจนการแปลและสรุปผลการประเมินปัญหาสุขภาพจิตในการทำงานประเมินจากขวัญ กำลังใจในการทำงาน
  • 85.
  • 86.
  • 87.
  • 88. การประเมินความเสี่ยง (RISK ASSESSMENT) หมายถึง กระบวนการ การประมาณระดับความเสี่ยง และการตัดสิน ว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ กระบ การประเมินความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรควรจะดำเนินตามเกณฑ์ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ จำแนกประเภทของกิจกรรมของงาน ให้เขียนชนิดของกิจกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ และให้เขียนขั้นตอนปฏิบัติงาน ของแต่ละกิจกรรม โดยให้ครอบคลุม สถานที่ทำงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ บุคลากร รวมทั้งทำการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าว
  • 89.
  • 90.
  • 91.
  • 92.
  • 93.
  • 94.
  • 95.
  • 96.
  • 97.
  • 98. “ เก่า” กับ “ใหม่” • บริการอาชีวอนามัย แบบเดิม ( Traditional Services) – เน้นการบังคับใช้กฎหมาย ( กระทรวงแรงงาน ) – เน้นผู้เชี่ยวชาญ • เดินสำรวจโรงงาน เก็บตัวอย่างสารเคมี ตรวจร่างกาย การเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม การเฝ้าระวังสุขภาพ • บริการอาชีวอนามัย แบบ “ทันสมัย” – เน้นการมีส่วนร่วม ( Participation : employer and employee) – ผู้เชี่ยวชาญ คือ facilitator – บูรณาการ / องค์รวม (“ whole person” approach) – เป็นไปตามความต้องการ / ปัญหาของกลุ่ม พื้นที่
  • 99. วงจรคุณภาพ - การป้องกันโรคจากการทำงาน Plan ( ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ ) Do ( ลดสิ่งคุกคาม , ลดการสัมผัส ) Check ( การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมและสุขภาพพนักงาน environmental and biological monitoring) Act ( ปรับขั้นตอน Do)

Notas del editor

  1. จิตของผ