SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 22
การเรียนการเรียนอิเล็กทรอนิกส์  (E-Learning) ความหมายของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์  (e-learning) การเรียนอิเล็กทรอนิกส์  หรือ  e-Learning  เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต ( Internet)  หรืออินทราเน็ต ( Intranet)  เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน  Web Browser  โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย  ( e-mail, web-board, chat)  จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน ,  เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่  ( Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
E-learning  ในประเทศไทย การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้  2  รูปแบบใหญ่ๆ คือ   การนำเสนอในลักษณะ  Web Based Learning  การนำเสนอในลักษณะ  E-learning
WBL  หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยมีการใช้   TCP/IP , HTTPS  เป็น  Protocal  หลักในการถ่ายโอนข้อมูล เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย  ( Hyper media)  เข้ากับคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทาง และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน  ( Learning without Boundary)  อันจะช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การขาดแคลนครูผู้สอนที่ได้รับยอมรับ หรือมีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐานเนื้อหาการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งเปิดช่องทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัย  ( Informal Learning)  และการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต  ( Lifelong Learning)
WBI/WBL/WBT เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่สร้างรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ และมีการนำคำต่างๆ มาเรียกเพื่อสื่อความหมาย ไม่ว่าจะเป็นคำว่า  WBI (Web Based Instruction)  หรือ  WBL (Web Based Learning)  หรือ  WBI (Web Based Training)  ทั้ง  3  คำ คือ การเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายเว็บไซต์เช่นเดียวกัน แต่มีใช้ต่างกันอันเนื่องจากรูปแบบการนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้จะพบว่าหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาระบบฝึกอบรมพนักงานด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายเว็บ มักจะใช้คำว่า  WBT  ในขณะนี้ที่สถานศึกษาต่างๆ จะใช้คำว่า  WBI  ส่วน  WBL  จะหมายถึงสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิสก์ผ่านเครือข่ายเว็บ ที่ผู้พัฒนาจะเป็นใครก็ได้ ผู้เรียนเป็นใครก็ได้ จึงเน้นไปที่การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตนั่นเอง
คุณสมบัติของ   WBI/WBT/WBL WBI  เป็นการผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย  ( Hyper media)  เข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย    เวิลด์    ไวด์    เว็บ    เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน    (learning  without  boundary) การใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์มีเดียในการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายนั้น    หมายถึง    การสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง    (One  Alone)   กล่าวคือ    ผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนออยู่ในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย    ซึ่งเป็นเทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาหลัก    ด้วยเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องรูปแบบการเชื่อมโยงนี้เป็นได้ทั้งการเชื่อมโยงข้อความไปสู่เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง    หรือสื่อภาพ    และเสียง    การเชื่อมโยงดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเอง    โดยเลือกลำดับเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการ    และเรียนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมและสะดวกของตนเอง    (criss-crossed  landscape)
ประโยชน์ของ  e-Learning e-Learning  ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนร่วมกัน การเสริมแรงในการเรียนรู้เนื้อหา การเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การเรียนรู้อย่างมีปฎิสัมพันธ์ การเรียนรู้เนื้อหาที่นำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย เป็นการเรียนทางไกลที่ไร้ระยะทาง e-Learning  ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอน สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนนั้นเมื่อมีความสะดวก ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามก้าวจังหวะของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นผู้เรียนที่ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับ
e-Learning  ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอน สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนนั้นเมื่อมีความสะดวก ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามก้าวจังหวะของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นผู้เรียนที่ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับ e-Learning  จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น การศึกษาเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน สถานศึกษาและอื่นๆ การเรียนรู้เน้นการแสวงหาและการรู้จักเลือกข้อมูลเพื่อการเสริมเติมแต่งความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกกลุ่มที่ติดต่อหรือเป็นแหล่งทรัพยากรของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพึ่งพาช่วยเหลือกัน ทั้งนี้การเชื่อมต่อถึงกันผ่านระบบเครือข่าย ทำให้มีช่องทางของการติดต่อระหว่างกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้อีกด้วย
รูปแบบการพัฒนา  E-learning  ในประเทศไทย ทั้ง  WBI  และ  E-learning  ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ   LMS/CMS  ของตนเอง อิงมาตรฐานของ  AICC  เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้  Web Programming  แตกต่างกันออกไปทั้ง  PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript  ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร
ปัญหาการพัฒนา  E-learning  ในประเทศไทย การพัฒนา  WBI  และ  E-learning  ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร   ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี  E-learning  และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง   ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์  CMS/LMS  และการลิขสิทธิ์   ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้ ,  การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน   ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา ,  ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์   ปัญหาเกี่ยวกับ  Infrastructure  ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม
ลักษณะสำคัญของ  e-Learning  e-Learning  นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น  e-Learning  จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ  e-Learning  เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น  Stanford  หรือ  Harvard  ก็นำระบบ  e-Learning  มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ  e-Learning   ได้ดังนี้
Anywhere Anytime — เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา   ผู้เรียนมีอิสระเต็มที่ จะเลือกเรียนเมื่อไหร่ ที่ไหนก็ได้โดยมีบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตอบสนองการสื่อสารได้ตลอด  24  ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นข้อได้เปรียบหากเทียบกับการเรียนในห้องเรียนปกติที่ต้องมีการกำหนดเวลาสถานที่แน่นอน เป็นการขยายฐานการศึกษาไปยังกลุ่มผู้เรียนได้กว้างขึ้น  Multimedia –  ใช้สื่อผสมนำเสนอเนื้อหา   เนื่องจากบรรยากาศการเรียนที่ผู้เรียนต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงคนเดียว วิธีการนำเสนอบทเรียนจึงต้องน่าสนใจ  ปัจจุบันเนื้อหา  e-learning  ทั่วๆ ไปที่เห็นเป็นข้อความประกอบภาพกราฟฟิกเหมือนอ่านหนังสือเป็นอีบุกส์นั้น จะดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้น้อยกว่าการนำเสนอแบบเคลื่อนไหว ครบทั้งภาพ เสียง และมีการโต้ตอบได้ ดังนั้นการผลิตสื่อ  e-learning  จึงต้องเน้นให้การเรียนการสอนนั้นมีความเสมือนจริงมากที่สุด โดยอาศัยการนำเทคโนโลยีการผลิตสื่อมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
องค์ประกอบของ  e- learning การให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ หรือ  e-learning  มีองค์ประกอบที่สำคัญ  4   ส่วนคือ 1.  เนื้อหาของบทเรียน   สำหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตามเนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่เนื่องจาก  e-learning  นั้นถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบใหม่สำหรับวงการการศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นเนื้อหาของการเรียนแบบนี้ที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีอยู่น้อยมากทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้ พัฒนาศักยภาพทั้งของบุคคลโดยส่วนตัวและของหน่วยงานต่างๆ ทางโครงการฯจึงได้เร่งติดต่อ ประสาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ จัดนำเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ มาพัฒนาเป็นบทเรียนออนไลน์ โดยเจ้าของเนื้อหาวิชา  ( Content Provider)  ที่เป็นแหล่งความรู้ทั้งหลายนั้น จะมีความเด่นในเนื้อหาด้านต่างๆ ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ระบบบริหารการเรียน   เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ  e-learning  นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ  e- learning  ที่สำคัญมาก โดยจัดเตรียมหลักสูตร ,  บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( อินเทอร์เน็ต ,  อินทราเน็ต หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ )  ไปแสดงที่  Web browser  ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร
3. การติดต่อสื่อสารการเรียนทางไกล   โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการเรียนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนปกติ ซึ่งผู้เรียนจะเรียนจากสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ การเรียนแบบ  e-learning  ก็เช่นกันถือว่าเป็นการเรียนทางไกลแบบหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้  e-learning  มีความโดดเด่นและแตกต่างไปจากการเรียนทางไกลทั่วๆไปก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ   2  ทาง มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อเพิ่มความสนใจความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ
4. การสอบ / วัดผลการเรียน   โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใดหรือเรียนวิธีใดก็ย่อมต้องมีการสอบ / การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ ดังนั้นการสอบ / วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ   e-learning  เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบ  e – learning  จะมีระบบการบริหารการเรียนที่จะสามารถทดสอบ โดยเรียกข้อทดสอบนั้นๆมาจากระบบบริหารการเรียนที่เรียกว่า ระบบคลังข้อสอบ  ( Test Bank System)  นำมาทดสอบได้เลย ซึ่งจะทำให้การวัดผล ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ข้อดี  -  ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ข้อดี เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล   ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน   ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน   ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี   ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น   E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup  แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
ข้อเสีย ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน   ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง   ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน   ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
Moodle  ฟรีซอฟท์แวร์สำหรับนโยบายการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ Moodle   เป็น ฟรีซอฟท์แวร์สำหรับนโยบายการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นความรู้เช่นเดียวกับ ระบบการจัดการหลักสูตร ( Course Management System :CMS ) ,  ระบบการจัดการการเรียนรู้  ( Learning Management System :LMS ) ,  สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง  ( Virtual learning Environment :VLE ))  มีความแพร่หลายต่อฐานผู้ใช้ด้วยผู้ที่มาขอจดทะเบียนแหล่งทรัพยากร  25 , 281  แหล่ง ผู้ใช้จำนวน  10 , 405 , 167  คนต่อ  1 , 023 , 914  หลักสูตร  ( 13  พฤษภาคม  2007 ) Moodle  ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอาจารย์สร้างหลักสูตรออนไลน์เมื่อมีโอกาสในการแพร่หลายอย่างยิ่ง มีการอนุญาตให้เปิดแหล่งทรัพยากร และเกณฑ์ในการออกแบบที่ประชาชนสามารถที่จะพัฒนาการใช้งานเพิ่มเติมได้และการพัฒนานี้เองที่จะแพร่หลายเครือข่ายครอบคลุมไปทั่วโลกของผู้ใช้ทั้งที่เป็นเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ของบริษัท  Moodle  อยู่ที่ เมืองเพิร์ท ประเทศออสเตเรียตะวันตก
ตัวอย่างเว็บไซต์  E-Learning •  http://www.chulaonline.com
สรุป   E-learning  ทำให้ระบบการเรียนการสอนเปลี่ยนจากเดิม ที่เป็นระบบปิดเป็นส่วนใหญ่ มาเป็นระบบเปิดที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้สรรพาศาสตร์ ที่มีเชื่อมโยงอยู่ในเว็บ โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ ระยะทางและเวลา  เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การศึกษาเปิดกว้างกระจายไปได้กว้างไกล นำสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีในเว็บได้สร้างหนทางของการประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษามากขึ้นโดย เฉพาะการพัฒนามัลติมีเดียบนเว็บ ทำให้สามารถแสดงผลเพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ จากการมีปฏิสัมพันธ์โดยการเรียนรู้ร่วมกัน
รายชื่อสมาชิก นางสาว กรรณิกา  กายเพ็ชร์  เลขที่ 1   รหัส 15212160 นางสาว จันทร์จิรา  บำเรอวงษ์  เลขที่  2   รหัส  15212163 นาย ณัฐวุฒิ  ทองคำ  เลขที่  7   รหัส  15212167 นางสาว นิศารัตน์  สการะเศรณี  เลขที่  11   รหัส  15212172 นางสาว สุทธารัตน์  มงคลลาภ  เลขที่  23  รหัส  15212185
 

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

LearnSquare Workshop
LearnSquare WorkshopLearnSquare Workshop
LearnSquare WorkshopNECTEC, NSTDA
 
Chapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for educationChapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for educationChangnoi Etc
 
Innovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Innovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศInnovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Innovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศTeerasak Nantasan
 
Chapter 7 by โจโจ้ซัง
Chapter 7 by โจโจ้ซังChapter 7 by โจโจ้ซัง
Chapter 7 by โจโจ้ซังTannoi Tesprasit
 
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาKrieangsak Pholwiboon
 
Ch5 e-learning-text
Ch5 e-learning-textCh5 e-learning-text
Ch5 e-learning-textChangnoi Etc
 

La actualidad más candente (17)

LearnSquare Workshop
LearnSquare WorkshopLearnSquare Workshop
LearnSquare Workshop
 
Moo cs
Moo csMoo cs
Moo cs
 
Chapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for educationChapter3 Information technology for education
Chapter3 Information technology for education
 
20141105 social-edu
20141105 social-edu20141105 social-edu
20141105 social-edu
 
Ch5 e-learning
Ch5 e-learningCh5 e-learning
Ch5 e-learning
 
2
22
2
 
Chap1
Chap1Chap1
Chap1
 
06550135 e learning
06550135 e learning06550135 e learning
06550135 e learning
 
Educational Tech at Australia
Educational Tech at AustraliaEducational Tech at Australia
Educational Tech at Australia
 
ภารกิจ1
ภารกิจ1ภารกิจ1
ภารกิจ1
 
Innovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Innovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศInnovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Innovation Chapter 6 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Chapter 7 by โจโจ้ซัง
Chapter 7 by โจโจ้ซังChapter 7 by โจโจ้ซัง
Chapter 7 by โจโจ้ซัง
 
Chapter 6
Chapter 6Chapter 6
Chapter 6
 
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
 
241203 chapter05
241203 chapter05241203 chapter05
241203 chapter05
 
Ch5 e-learning-text
Ch5 e-learning-textCh5 e-learning-text
Ch5 e-learning-text
 
Introduction to e-Learning
Introduction to e-LearningIntroduction to e-Learning
Introduction to e-Learning
 

Destacado

ข้อดี ข้อเสีย ของ E learning
ข้อดี ข้อเสีย ของ E learningข้อดี ข้อเสีย ของ E learning
ข้อดี ข้อเสีย ของ E learningSudkamon Play
 
E learning คือ
E learning คือE learning คือ
E learning คือSudkamon Play
 
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning  การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning Surapon Boonlue
 

Destacado (6)

ข้อดี ข้อเสีย ของ E learning
ข้อดี ข้อเสีย ของ E learningข้อดี ข้อเสีย ของ E learning
ข้อดี ข้อเสีย ของ E learning
 
E learning
E learningE learning
E learning
 
Elearning
ElearningElearning
Elearning
 
E learning คือ
E learning คือE learning คือ
E learning คือ
 
Electronic learning
Electronic learningElectronic learning
Electronic learning
 
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning  การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนและ e-Learning
 

Similar a การเรียนการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)

Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Prakaidao Suebwong
 
E learning01-1 (1)
E learning01-1 (1)E learning01-1 (1)
E learning01-1 (1)iyabest
 
E learning01 (1)
E learning01 (1)E learning01 (1)
E learning01 (1)iyabest
 
Introduction to technologies and educational media
Introduction to technologies  and  educational mediaIntroduction to technologies  and  educational media
Introduction to technologies and educational mediapompompam
 
การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1
การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1
การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1Cholticha New
 
การเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่าย การเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่าย Cholticha New
 
การเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่ายการเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่ายkitiya thompat
 
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลssuserea9dad1
 
Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้phoom_man
 
Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้phoom_man
 
Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้phoom_man
 
ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์Akkarachat Chaisena
 
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานAtima Teraksee
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกรายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกNattapon
 

Similar a การเรียนการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) (20)

Chap1
Chap1Chap1
Chap1
 
Onlinelearning
OnlinelearningOnlinelearning
Onlinelearning
 
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
Chapter6 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
Pp social
Pp socialPp social
Pp social
 
Socialmedia(group4)
Socialmedia(group4)Socialmedia(group4)
Socialmedia(group4)
 
E learning01-1 (1)
E learning01-1 (1)E learning01-1 (1)
E learning01-1 (1)
 
E learning01 (1)
E learning01 (1)E learning01 (1)
E learning01 (1)
 
Introduction to technologies and educational media
Introduction to technologies  and  educational mediaIntroduction to technologies  and  educational media
Introduction to technologies and educational media
 
การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1
การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1
การเรียนบนเครือข่าย กิจกรรมที่ 1
 
การเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่าย การเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่าย
 
การเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่ายการเรียนบนเครือข่าย
การเรียนบนเครือข่าย
 
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
 
D L M S
D L M SD L M S
D L M S
 
Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้
 
Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้
 
Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้Pptแหล่งเรียนรู้
Pptแหล่งเรียนรู้
 
Synchronous and asynchronous (1)
Synchronous and asynchronous (1)Synchronous and asynchronous (1)
Synchronous and asynchronous (1)
 
ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
ประโยชน์ของการเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์
 
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
 
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อกรายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการสรุปองค์ความรู้โดยใช้เว็บบล็อก
 

การเรียนการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning)

  • 1. การเรียนการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ความหมายของการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต ( Internet) หรืออินทราเน็ต ( Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่น ๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย ( e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน , เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ ( Learn for all : anyone, anywhere and anytime)
  • 2. E-learning ในประเทศไทย การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning การนำเสนอในลักษณะ E-learning
  • 3. WBL หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนที่อาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต โดยมีการใช้ TCP/IP , HTTPS เป็น Protocal หลักในการถ่ายโอนข้อมูล เป็นรูปแบบการประยุกต์ใช้คุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย ( Hyper media) เข้ากับคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ต เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทาง และเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน ( Learning without Boundary) อันจะช่วยขจัดปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น การขาดแคลนครูผู้สอนที่ได้รับยอมรับ หรือมีประสิทธิภาพ สร้างมาตรฐานเนื้อหาการเรียนรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งเปิดช่องทางการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ( Informal Learning) และการเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ( Lifelong Learning)
  • 4. WBI/WBL/WBT เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ที่สร้างรูปแบบการเรียนรู้รูปแบบใหม่ และมีการนำคำต่างๆ มาเรียกเพื่อสื่อความหมาย ไม่ว่าจะเป็นคำว่า WBI (Web Based Instruction) หรือ WBL (Web Based Learning) หรือ WBI (Web Based Training) ทั้ง 3 คำ คือ การเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายเว็บไซต์เช่นเดียวกัน แต่มีใช้ต่างกันอันเนื่องจากรูปแบบการนำไปประยุกต์ใช้ ทั้งนี้จะพบว่าหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาระบบฝึกอบรมพนักงานด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายเว็บ มักจะใช้คำว่า WBT ในขณะนี้ที่สถานศึกษาต่างๆ จะใช้คำว่า WBI ส่วน WBL จะหมายถึงสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิสก์ผ่านเครือข่ายเว็บ ที่ผู้พัฒนาจะเป็นใครก็ได้ ผู้เรียนเป็นใครก็ได้ จึงเน้นไปที่การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตนั่นเอง
  • 5. คุณสมบัติของ WBI/WBT/WBL WBI เป็นการผนวกคุณสมบัติไฮเปอร์มีเดีย ( Hyper media) เข้ากับคุณสมบัติของเครือข่าย   เวิลด์   ไวด์   เว็บ   เพื่อสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน   (learning  without  boundary) การใช้คุณสมบัติของไฮเปอร์มีเดียในการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายนั้น   หมายถึง   การสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเองตามลำพัง   (One  Alone)  กล่าวคือ   ผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนออยู่ในรูปแบบไฮเปอร์มีเดีย   ซึ่งเป็นเทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาหลัก   ด้วยเนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องรูปแบบการเชื่อมโยงนี้เป็นได้ทั้งการเชื่อมโยงข้อความไปสู่เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง   หรือสื่อภาพ   และเสียง   การเชื่อมโยงดังกล่าวจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเอง   โดยเลือกลำดับเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการ   และเรียนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสมและสะดวกของตนเอง   (criss-crossed  landscape)
  • 6. ประโยชน์ของ e-Learning e-Learning ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนร่วมกัน การเสริมแรงในการเรียนรู้เนื้อหา การเข้าถึงข้อมูลทั่วโลก การเข้าถึงข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การเรียนรู้อย่างมีปฎิสัมพันธ์ การเรียนรู้เนื้อหาที่นำเสนอในลักษณะมัลติมีเดีย เป็นการเรียนทางไกลที่ไร้ระยะทาง e-Learning ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอน สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนนั้นเมื่อมีความสะดวก ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามก้าวจังหวะของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นผู้เรียนที่ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับ
  • 7. e-Learning ช่วยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนเป็นอิสระจากปัญหาการจัดตารางเรียนตารางสอน สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนนั้นเมื่อมีความสะดวก ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามก้าวจังหวะของตนเอง ช่วยในการปรับเปลี่ยนบทบาทผู้สอนจากผู้บอกและถ่ายทอดมาเป็นผู้ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา และอำนวยความสะดวก ในขณะที่ผู้เรียนมีบทบาทเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและสำรวจข้อมูลในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันและมีปฎิสัมพันธ์ต่อกัน เป็นผู้เรียนที่ลงมือปฏิบัติไม่ใช่เป็นเพียงผู้รอรับ e-Learning จึงเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์แห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น การศึกษาเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน สถานศึกษาและอื่นๆ การเรียนรู้เน้นการแสวงหาและการรู้จักเลือกข้อมูลเพื่อการเสริมเติมแต่งความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่สร้างความสัมพันธ์ไปยังบุคคลภายนอกกลุ่มที่ติดต่อหรือเป็นแหล่งทรัพยากรของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและพึ่งพาช่วยเหลือกัน ทั้งนี้การเชื่อมต่อถึงกันผ่านระบบเครือข่าย ทำให้มีช่องทางของการติดต่อระหว่างกัน ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนได้อีกด้วย
  • 8. รูปแบบการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร
  • 9. ปัญหาการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย การพัฒนา WBI และ E-learning ในประเทศไทย ต่างก็ประสบปัญหาต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ปัญหาการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร และการสนับสนุนจากผู้บริหาร ปัญหาการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี E-learning และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ปัญหาเรื่องราคาของซอฟต์แวร์ CMS/LMS และการลิขสิทธิ์ ปัญหาเรื่องทีมงานดำเนินการ ทั้งด้านความรู้ , การคิดสร้างสรรค์ และเงินสนับสนุน ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะนำเสนอ ทั้งแหล่งที่มา , ผลตอบแทน และการละเมิดเมื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ปัญหาเกี่ยวกับ Infrastructure ของประเทศ ที่ยังขาดความพร้อม
  • 10. ลักษณะสำคัญของ e-Learning e-Learning นับเป็นคำใหม่พอสมควร ที่มีความหมายถึงการอบรมด้วยระบบเครือข่าย หรือผ่านระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือเครือข่ายอินทราเน็ตในองค์กร ดังนั้น e-Learning จึงได้ผนวกเข้ากับโลกแห่งการศึกษา และวงจรธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันนี้บริษัทหลายบริษัทพัฒนาระบบ e-Learning เพื่ออบรมพนักงานขายของบริษัท ให้ทราบและรู้จักผลิตภัณฑ์ใหม่ พร้อมเทคนิคการขาย มหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ เช่น Stanford หรือ Harvard ก็นำระบบ e-Learning มาให้บริการนิสิต นักศึกษาจากทั่วโลก เพื่อสมัครเรียนในหลักสูตรต่างๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนั้นจึงพอจะสรุปลักษณะสำคัญของ e-Learning ได้ดังนี้
  • 11. Anywhere Anytime — เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนมีอิสระเต็มที่ จะเลือกเรียนเมื่อไหร่ ที่ไหนก็ได้โดยมีบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตอบสนองการสื่อสารได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งนับเป็นข้อได้เปรียบหากเทียบกับการเรียนในห้องเรียนปกติที่ต้องมีการกำหนดเวลาสถานที่แน่นอน เป็นการขยายฐานการศึกษาไปยังกลุ่มผู้เรียนได้กว้างขึ้น Multimedia – ใช้สื่อผสมนำเสนอเนื้อหา เนื่องจากบรรยากาศการเรียนที่ผู้เรียนต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เพียงคนเดียว วิธีการนำเสนอบทเรียนจึงต้องน่าสนใจ ปัจจุบันเนื้อหา e-learning ทั่วๆ ไปที่เห็นเป็นข้อความประกอบภาพกราฟฟิกเหมือนอ่านหนังสือเป็นอีบุกส์นั้น จะดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้น้อยกว่าการนำเสนอแบบเคลื่อนไหว ครบทั้งภาพ เสียง และมีการโต้ตอบได้ ดังนั้นการผลิตสื่อ e-learning จึงต้องเน้นให้การเรียนการสอนนั้นมีความเสมือนจริงมากที่สุด โดยอาศัยการนำเทคโนโลยีการผลิตสื่อมาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
  • 12. องค์ประกอบของ e- learning การให้บริการการเรียนแบบออนไลน์ หรือ e-learning มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ส่วนคือ 1. เนื้อหาของบทเรียน สำหรับการเรียน การศึกษาแล้วไม่ว่าจะเรียนอย่างไรก็ตามเนื้อหาถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แต่เนื่องจาก e-learning นั้นถือว่าเป็นการเรียนรู้แบบใหม่สำหรับวงการการศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นเนื้อหาของการเรียนแบบนี้ที่พัฒนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีอยู่น้อยมากทำให้ไม่เพียงพอกับความต้องการในการฝึกอบรม เพิ่มพูนความรู้ พัฒนาศักยภาพทั้งของบุคคลโดยส่วนตัวและของหน่วยงานต่างๆ ทางโครงการฯจึงได้เร่งติดต่อ ประสาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ จัดนำเนื้อหาความรู้ที่มีอยู่ มาพัฒนาเป็นบทเรียนออนไลน์ โดยเจ้าของเนื้อหาวิชา ( Content Provider) ที่เป็นแหล่งความรู้ทั้งหลายนั้น จะมีความเด่นในเนื้อหาด้านต่างๆ ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • 13. 2. ระบบบริหารการเรียน เนื่องจากการเรียนแบบออนไลน์หรือ e-learning นั้นเป็นการเรียนที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ศึกษา เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ระบบบริหารการเรียนที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง กำหนดลำดับของเนื้อหาในบทเรียน นำส่งบทเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้เรียน ประเมินผลความสำเร็จของบทเรียน ควบคุม และสนับสนุนการให้บริการทั้งหมดแก่ผู้เรียน จึงถือว่าเป็นองค์ประกอบของ e- learning ที่สำคัญมาก โดยจัดเตรียมหลักสูตร , บทเรียนทั้งหมดเอาไว้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้วระบบจะเริ่มทำงานโดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( อินเทอร์เน็ต , อินทราเน็ต หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์อื่นๆ ) ไปแสดงที่ Web browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรมและผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียด จนกระทั่งจบหลักสูตร
  • 14. 3. การติดต่อสื่อสารการเรียนทางไกล โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นการเรียนด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียนปกติ ซึ่งผู้เรียนจะเรียนจากสื่อการเรียนการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่ออื่นๆ การเรียนแบบ e-learning ก็เช่นกันถือว่าเป็นการเรียนทางไกลแบบหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้ e-learning มีความโดดเด่นและแตกต่างไปจากการเรียนทางไกลทั่วๆไปก็คือการนำรูปแบบการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง มาใช้ประกอบในการเรียนเพื่อเพิ่มความสนใจความตื่นตัวของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนให้มากยิ่งขึ้น และเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้ติดต่อ สอบถาม ปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างตัวผู้เรียนกับครู อาจารย์ผู้สอน และระหว่างผู้เรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่นๆ
  • 15. 4. การสอบ / วัดผลการเรียน โดยทั่วไปแล้วการเรียนไม่ว่าจะเป็นการเรียนในระดับใดหรือเรียนวิธีใดก็ย่อมต้องมีการสอบ / การวัดผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งอยู่เสมอ ดังนั้นการสอบ / วัดผลการเรียนจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนแบบ e-learning เป็นการเรียนที่สมบูรณ์ ซึ่งการจัดการเรียนการสอนแบบ e – learning จะมีระบบการบริหารการเรียนที่จะสามารถทดสอบ โดยเรียกข้อทดสอบนั้นๆมาจากระบบบริหารการเรียนที่เรียกว่า ระบบคลังข้อสอบ ( Test Bank System) นำมาทดสอบได้เลย ซึ่งจะทำให้การวัดผล ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • 16. ข้อดี - ข้อเสียของการเรียนการสอนผ่านเว็บ ข้อดี เอื้ออำนวยให้กับการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ไม่จำกัดเวลาและสถานที่ รวมทั้งบุคคล ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องการเรียนและสอนในเวลาเดียวกัน ผู้เรียนและผู้สอนไม่ต้องมาพบกันในห้องเรียน ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน และผู้สอนที่ไม่พร้อมด้านเวลา ระยะทางในการเรียนได้เป็นอย่างดี ผู้เรียนที่ไม่มีความมั่นใจ กลัวการตอบคำถาม ตั้งคำถาม ตั้งประเด็นการเรียนรู้ในห้องเรียน มีความกล้ามากกว่าเดิม เนื่องจากไม่ต้องแสดงตนต่อหน้าผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้น โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น E-Mail, Webboard, Chat, Newsgroup แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ
  • 17. ข้อเสีย ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึก ปฏิกิริยาที่แท้จริงของผู้เรียนและผู้สอน ไม่สามารถสื่อความรู้สึก อารมย์ในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง ผู้เรียน และผู้สอน จะต้องมีความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทั้งด้านอุปกรณ์ ทักษะการใช้งาน ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถศึกษาด้วยตนเองได้
  • 18. Moodle ฟรีซอฟท์แวร์สำหรับนโยบายการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ Moodle เป็น ฟรีซอฟท์แวร์สำหรับนโยบายการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นความรู้เช่นเดียวกับ ระบบการจัดการหลักสูตร ( Course Management System :CMS ) , ระบบการจัดการการเรียนรู้ ( Learning Management System :LMS ) , สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เสมือนจริง ( Virtual learning Environment :VLE )) มีความแพร่หลายต่อฐานผู้ใช้ด้วยผู้ที่มาขอจดทะเบียนแหล่งทรัพยากร 25 , 281 แหล่ง ผู้ใช้จำนวน 10 , 405 , 167 คนต่อ 1 , 023 , 914 หลักสูตร ( 13 พฤษภาคม 2007 ) Moodle ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยอาจารย์สร้างหลักสูตรออนไลน์เมื่อมีโอกาสในการแพร่หลายอย่างยิ่ง มีการอนุญาตให้เปิดแหล่งทรัพยากร และเกณฑ์ในการออกแบบที่ประชาชนสามารถที่จะพัฒนาการใช้งานเพิ่มเติมได้และการพัฒนานี้เองที่จะแพร่หลายเครือข่ายครอบคลุมไปทั่วโลกของผู้ใช้ทั้งที่เป็นเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ของบริษัท Moodle อยู่ที่ เมืองเพิร์ท ประเทศออสเตเรียตะวันตก
  • 20. สรุป E-learning ทำให้ระบบการเรียนการสอนเปลี่ยนจากเดิม ที่เป็นระบบปิดเป็นส่วนใหญ่ มาเป็นระบบเปิดที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้สรรพาศาสตร์ ที่มีเชื่อมโยงอยู่ในเว็บ โดยไม่มีอุปสรรคทางด้านภูมิศาสตร์ ระยะทางและเวลา เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การศึกษาเปิดกว้างกระจายไปได้กว้างไกล นำสังคมให้เปลี่ยนแปลงไปเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เทคโนโลยีในเว็บได้สร้างหนทางของการประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษามากขึ้นโดย เฉพาะการพัฒนามัลติมีเดียบนเว็บ ทำให้สามารถแสดงผลเพื่อตอบสนองกระบวนการเรียนรู้ตามแนวการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ จากการมีปฏิสัมพันธ์โดยการเรียนรู้ร่วมกัน
  • 21. รายชื่อสมาชิก นางสาว กรรณิกา กายเพ็ชร์ เลขที่ 1 รหัส 15212160 นางสาว จันทร์จิรา บำเรอวงษ์ เลขที่ 2 รหัส 15212163 นาย ณัฐวุฒิ ทองคำ เลขที่ 7 รหัส 15212167 นางสาว นิศารัตน์ สการะเศรณี เลขที่ 11 รหัส 15212172 นางสาว สุทธารัตน์ มงคลลาภ เลขที่ 23 รหัส 15212185
  • 22.