SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 151
กลไกลการหดตัวของกล้ามเนื้อ
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อของเรานับเป็นประดิษฐกรรมชั้นเยี่ยม ที่มีกลไก
การทางานสลับซับซ้อน นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคาอธิบาย
เกี่ยวกับกลไกการทางานของกล้ามเนื้อโดยใช้หลักฐานที่พบจาก
การใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ซึ่งมีกาลังขยายสูงกว่ากล้อง
จุลทรรศน์แบบธรรมดาถึงหนึ่งพันเท่า
จากการศึกษาที่ทาโดยการยืดกล้ามเนื้อออกและตรึง
กล้ามเนื้อเอาไว้ แล้วทาการกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว
นักวิทยาศาสตร์พบว่าในขณะที่กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว ความ
กว้างของแถบเอไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลย
นอกจากนี้ความยาวของเส้นใยโปรตีนสายหนาและ
สายบางก็ยังคงเดิม ทั้งๆ ที่ความกว้างของหน่วยปฏิบัติการ
เพื่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ แถบไอและแถบเอ็ช มีการ
เปลี่ยนแปลงขนาดคือหดสั้นลง
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ
ภาพตัดบางตามความยาวแสดงหน่วยปฏิบัติการย่อยของ
เส้นใยกล้ามเนื้อขณะพักงานและขณะหดตัว
กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อสามารถอธิบายได้ด้วย
ทฤษฎีการเลื่อนตัวของเส้นใยโปรตีนขนาดเล็ก (sliding
filament model) ที่เสนอโดยนักวิทยาศาสตร์ชาว
อังกฤษสองกลุ่ม คือ กลุ่มของ ฮิว ฮักซ์ลีย์ (Hugh
Huxley) และ จีน แฮนสัน (Jean Hanson) กับกลุ่ม
ของ แอนดรูว์ ฮักซ์ลีย์ (Andrew Huxley) และ ราล์ฟ
นีเดอร์เกอร์กี (Ralph Niedergerke) เมื่อปี พ.ศ.
2497
การหดตัวของกล้ามเนื้อเกิดจากการเลื่อนของเส้นใย
โปรตีนสายบางที่อยู่สองข้างของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการหด
ตัวของกล้ามเนื้อ เข้าหาเส้นใยโปรตีนสายหนา มีผลทาให้
การเหลื่อมซ้อนกันของเส้นใยโปรตีนสายบางและเส้นใย
โปรตีนสายหนาเพิ่มขึ้น ยิ่งมีการเหลื่อมซ้อนกันมากขึ้นเท่าไร
ความกว้างของแถบไอ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีแต่เส้นใยโปรตีน
สายบางอย่างเดียว และบริเวณแถบเอ็ชซึ่งมีแต่เส้นใยโปรตีน
สายหนาอย่างเดียวก็จะยิ่งหดสั้นตามไปด้วย
ภาพเคลื่อนไหวสามมิติแสดงกลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ
การเลื่อนของเส้นใยโปรตีนสายบางเข้าหาเส้นใย
โปรตีนสายหนา เกิดขึ้นได้โดยที่ไมโอซินยื่นส่วนหัวมาเกาะ
กับบริเวณจับจาเพาะบนโมเลกุลของแอกทินในเส้นใย
โปรตีนสายบาง แล้วดึงสายแอกทินให้เลื่อนเข้ามาสู่
ศูนย์กลางของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ
ส่วนหัวของไมโอซินที่ยื่นเป็นกิ่งออกมาจาก
เส้นใยโปรตีนสายหนาแต่ละเส้นนั้น จะเกาะกับโมเลกุลของ
แอกทินบนเส้นใยโปรตีนสายบางที่อยู่ล้อมรอบทั้ง 6 สาย
การเกาะกันของแอกทินกับไมโอซิน รวมทั้งแรงที่ใช้ในการดึง
เส้นใยโปรตีนสายบางอาศัยพลังงานที่เกิดจากการสลายตัว
ของ ATP
การหดตัวของกล้ามเนื้อในแต่ละครั้งจะมีการ
เกาะกันของไมโอซินกับแอกทินและการดึงเกิดขึ้นหลายครั้ง
เป็นวงจรต่อเนื่องกันไป โดยที่ไมโอซินจะเปลี่ยนตาแหน่งที่
เกาะบนสายแอกทินไปเรื่อยๆ มุ่งหน้าไปทางแถบยืดซี
แต่ละโมเลกุลของไมโอซินที่ทอดตัวเป็นสะพานเชื่อมกับแอก
ทินนั้นประกอบด้วยส่วนหัวสองหัว ไมโอซินแต่ละหัวซึ่งมีคุณสมบัติ
เป็นเอนไซม์ myosin-ATPase จะมีร่องที่ให้ ATP เข้ามา
เกาะได้ 1 โมเลกุล
การเกาะกันของ ATP กับไมโอซินจะมี
ผลทาให้แอกทินหลุดออกจากการเกาะกับไมโอซิน
บริเวณเร่งของเอนไซม์ myosin-ATPase จะปิด
ล้อม ATP เอาไว้
• A-M หมายถึง การเกาะกันระหว่างแอกทินกับไมโอซิน
• A+M.ATP หมายถึง สายแอกทิน กับ สายไมโอซินที่มี ATP เกาะ
อยู่และหลุดจากการเกาะกับแอกทิน
เมื่อเอนไซม์ทาการสลาย ATP แล้ว ผลิตผลที่
เกิดขึ้นคือ ADP และฟอสเฟตอนินทรีย์ จะยังคงเกาะอยู่กับ
เอนไซม์ ส่วนพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจะถูกส่งให้กับ
โปรตีนไมโอซิน ทาให้ไมโอซินอยู่ในสภาวะที่มีพลังงานสูง มี
การเปลี่ยนแปลงโครงร่างไปเป็นแบบที่มีความสามารถใน
การจับกับแอกทิน นั่นคือส่วนหัวของมันจะทามุมตั้งฉากกับ
ส่วนหาง แล้วเข้าเกาะกับแอกทินอย่างรวดเร็ว การจับกัน
ระหว่างแอกทินกับไมโอซินทาให้เกิดเป็นโปรตีนยักษ์
เชิงซ้อน ที่เรียกว่า actomyosin complex
• A+M.ADP.Pi หมายถึง สายแอกทิน กับ สายไมโอซินที่มี ADP
และ Pi ซึ่งได้จากการสลาย ATP เกาะอยู่
• A-M.ATP หมายถึง การเกาะกันระหว่างแอกทินกับ
ไมโอซินโดยที่ ADP และ Pi ยังคงเกาะอยู่กับไมโอซิน
เมื่อส่วนหัวของไมโอซินสลัดฟอสเฟตอนินทรีย์ออกไป
มันจะสามารถเกาะกับแอกทินได้กระชับขึ้น พลังงานที่สะสม
เอาไว้จะทาให้โครงร่างของไมโอซินมีการเปลี่ยนแปลงอย่าง
มโหฬาร ส่วนหัวที่เคยทามุม 90 องศากับส่วนหางจะ
เปลี่ยนไปทามุม 45 องศา การเปลี่ยนแปลงโครงร่างของไม
โอซินในขณะที่กาลังเกาะอยู่กับแอกทินอยู่นั้น ทาให้เกิด
ความตึงบนเส้นใยโปรตีนสายบางที่มันเกาะอยู่ ทาให้เส้นใย
โปรตีนสายบางถูกดึงให้เลื่อนผ่านเข้ามาสู่ศูนย์กลางของ
หน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ วัดระยะทางได้
ในราว 10 นาโนเมตร
• A-M.ADP หมายถึง การเกาะกันระหว่างแอกทินกับไมโอซิน โดยที่
ADP ยังคงเกาะอยู่กับไมโอซิน
ในขั้นตอนสุดท้าย ADP ที่เกาะอยู่กับไมโอซินจะหลุดออก
แต่ยังคงทิ้งให้ไมโอซินกับแอกทินเกาะเกี่ยวกันอยู่อย่างนั้น
จนกระทั่ง
การเกาะกันของหัวไมโอซินกับแอกทินจะ
คงอยู่อย่างนั้นจนกระทั่งมี ATP ใหม่เข้ามาเกาะตรง
ร่องจับบนไมโอซิน แล้วส่วนหัวของไมโอซินก็หลุดออก
จากแอกทินในท่าทามุม 45 องศา กับส่วนหาง และ
พร้อมที่จะกลับไปเริ่มต้นวัฏจักรการจับปล่อยอีกครั้ง
แสดงจังหวะการจับปล่อยของไมโอซินในวัฏจักรการจับปล่อยของแอกทินไมโอซิน
การเกาะกันระหว่างไมโอซินกับแอกทินในยกที่
สอง สามและยกต่อๆ มา ในขณะที่เกิดการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ ส่วนหัวของไมโอซินจะไปจับกับแอกทินตรง
ตาแหน่งใหม่ที่อยู่ในทิศทางใกล้กับแถบยืดซีมากขึ้น
เพราะตาแหน่งที่เกาะเดิมได้เคลื่อนผ่านเส้นใยโปรตีน
สายหนาไปแล้ว ในแต่ละวินาทีส่วนหัวของไมโอซินจะ
เข้าสู่วังวนของการจับปล่อยได้ถึง 5 ครั้ง ติดต่อกัน
แสดงวงจรความสัมพันธ์ระหว่างแอกทิน ไมโอซิน และ ATP
กล้ามเนื้อจงหดตัว
การควบคุมการหดตัวและคลายตัว
ของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้อย่างไรกันนี่
ทุกครั้งที่เราเคลื่อนไหว สมอง ประสาท และกล้ามเนื้อ
จะต้องทางานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี สมองรับข้อมูลจาก
ประสาทสัมผัส ทาการแปลผล และตัดสินใจว่าจะตอบสนอง
ให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวอย่างไร สัญญาณประสาทจาก
ระบบประสาทส่วนกลาง จากเซลล์ประสาทสั่งการ
(motor neuron-มอเตอร์นิวรอน) จะถูกส่งไปตาม
เส้นประสาทไขสันหลัง ไปยังปลายประสาทที่กล้ามเนื้อ
สัญญาณประสาทจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อทางานโดยการหด
ตัว
เส้นประสาทไขสันหลัง
กล้ามเนื้อลายแต่ละมัดมีเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยง
มากมาย เส้นประสาทแต่ละเส้นที่มายังมัดกล้ามเนื้อจะมี
การแตกแขนงออกไปเพื่อไปเลี้ยงเส้นใยกล้ามเนื้อได้เป็น
จานวนมาก เส้นใยกล้ามเนื้อทั้งหมดที่ถูกหล่อเลี้ยงโดย
แขนงประสาทที่มาจากเส้นประสาทไขสันหลังหนึ่งเส้น จะ
ประกอบขึ้นเป็นเส้นใยกล้ามเนื้อที่เป็นหน่วยทางานหน่วย
เดียวกัน (motor unit)
จานวนเส้นใยกล้ามเนื้อของแต่ละหน่วยมีตั้งแต่หนึ่ง
เส้นไปจนกระทั่งถึงหลายร้อยเส้น การมีเส้นใยกล้ามเนื้อ
มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหน้าที่และขนาดของกล้ามเนื้อนั้นๆ
กล้ามเนื้อที่ต้องการความละเอียดแม่นยาในการทางาน เช่น
กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหยิบจับสิ่งของ จานวนเส้นใย
กล้ามเนื้อที่ถูกควบคุมด้วยแขนงประสาทจากเส้นประสาท
ไขสันหลัง 1 เส้น จะน้อยกว่ากล้ามเนื้อที่ไม่ต้องทางานด้วย
ความแม่นยามากนัก เช่น กล้ามเนื้อที่ทาหน้าที่เกี่ยวกับการ
ทรงตัว
แสดงแขนงประสาทของเส้นประสาทไขสันหลังที่มายังกล้ามเนื้อ
สัญญาณประสาทที่มายังกล้ามเนื้อ จะถูกส่งผ่านไป
ตามเยื่อหุ้มเซลล์ และผนังด้านในของท่อทางขวาง ไปสู่เส้น
ใยกล้ามเนื้อทุกๆ เส้นที่เส้นประสาทไขสันหลังนั้นควบคุมอยู่
ผนังของท่อทางขวางตรงส่วนที่ถูกขนาบด้วยส่วนแผ่
บานของร่างแหซาร์โคพลาสมิก จะมีช่องทางให้แคลเซียม
ไอออนจากภายนอกเซลล์ผ่านเข้ามา ช่องแคลเซียมไอออน
นี้จะเปิดออกก็ต่อเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้ามากระตุ้น
(voltage-gated Ca2+ channels)
ทั้งนี้เนื่องจากโปรตีนที่ประกอบขึ้นเป็นช่องแคลเซียม
ไอออนเป็นโปรตีนที่มีส่วนที่ไวต่อความต่างศักย์
(voltage-sensitive) ช่องไอออนนี้ถูกยับยั้งได้ด้วย
สารประกอบไดไฮโดรไพริดีน (dihydropyridine) จึง
มีชื่อเรียกว่าตัวรับไดไฮโดรไพริดีน
(dihydropyridine receptor)
แสดงช่องแคลเซียมไอออนบนผนังท่อทางขวางและบนผนังร่างแหซาร์โคพลาสมิก
เมื่อสัญญาณประสาทของกล้ามเนื้อเคลื่อนมาตามผนังท่อ
ทางขวาง ช่องทางแคลเซียมไอออนจะเปิดออก แคลเซียมจาก
ภายนอกเซลล์ที่หลั่งเข้ามาในท่อทางขวางจะข้ามไปยังช่อง
แคลเซียมไอออนของร่างแหซาร์โคพลาสมิกซึ่งเรียงตัวขนานกันอยู่
เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างแหซาร์โคพลาสมิกหลั่งแคลเซียมไอออน
ออกมาในซาร์โคพลาซึมผ่านทางช่องแคลเซียมไอออนของมันเอง
ที่เรียกว่า ตัวรับไรอะโนดีน (ryanodine receptor)
แสดงการหลั่งของแคลเซียมไอออนจากร่างแหซาร์โคพลาสมิกเข้าสู่ซาร์โคพลาซึม
ในระยะพักทั้งเส้นใยโปรตีนสายหนาและสายบาง
ต่างอยู่เป็นอิสระไม่มีกิ่งมาเชื่อมติดกัน ทั้งนี้เนื่องจากมี
การเปลี่ยนแปลงโครงร่างของโทรโปนินทั้งโมเลกุล ที่
ส่งผลทาให้โมเลกุลของโทรโปไมโอซินไปปิดบังตาแหน่ง
เกาะของไมโอซินบนแอกทินไว้ ทาให้ไมโอซินไม่สามารถ
เข้าเกาะกับแอกทินได้
โทรโปไมโอซินบังตาแหน่งเกาะของไมโอซินบนสายแอกทิน
แต่เมื่อกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณประสาท
แคลเซียมไอออนที่หลั่งออกมาจากร่างแหซาร์โคพลาสมิกจะ
จับกับโทรโปนิน ซี การรวมตัวของแคลเซียมไอออนกับโทร
โปนิน ซี จะทาให้โทรโปนินทั้งโมเลกุลมีการเปลี่ยนแปลง
รูปร่าง ซึ่งจะมีผลต่อไปทาให้โมเลกุลของโทรโปไมโอซิน
เปลี่ยนตาแหน่งเกาะบนสายแอกทินไปเล็กน้อย ตาแหน่งที่
เกาะของไมโอซินบนแอกทินตัวกลมทั้ง 7 หน่วย ที่ถูกโทรโป
ไมโอซินบังไว้จะถูกเปิดออก
ตาแหน่งเกาะของไมโอซินบนสายแอกทินเปิดออก
การเปิดออกของตาแหน่งเกาะของไมโอซินบนสายแอกทิน
ทาให้หัวของไมโอซินสามารถเข้าจับกับแอกทินได้ วัฏจักร
การจับปล่อยจึงเกิดขึ้น
โทรโปนิน ซี สามารถจับแคลเซียมไอออนไว้ได้ชั่วหนึ่ง
รอบของวัฏจักรการจับปล่อยเท่านั้น ทาให้กล้ามเนื้อไม่
สามารถเข้าสู่วัฏจักรการจับปล่อยได้หลายๆ รอบจนได้แรง
ตึงสูงๆ แคลเซียมไอออนจะถูกเก็บเข้าร่างแหซาร์โคพลาสมิ
กอย่างรวดเร็วโดยวิธีการปั๊ม การปั๊มแคลเซียมไอออนกลับ
ต้องอาศัยพลังงานจาก ATP โดยการทางานของเอนไซม์
Ca2+ - ATPase ที่อยู่บริเวณผนังของร่างแหซาร์โคพ
ลาสมิก
แคลเซียมไอออนจากซาร์โคพลาซึมถูกปั๊มกลับเข้าสู่ร่างแหซาร์โคพลาสมิก
การทาให้วัฏจักรการจับปล่อยสามารถเกิดวนไปวน
มาจนกระทั่งกล้ามเนื้อหดตัวจนได้แรงตึงสูงสุดนั้น ต้องทา
ให้แคลเซียมไอออนหลั่งออกมาในซาร์โคพลาซึมอย่าง
ต่อเนื่อง เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการกระตุ้น
ซ้าด้วยสัญญาณประสาทของกล้ามเนื้อ
เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว หน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ มีปริมาตรคงที่ คุณคิดว่าเป็นเพราะเหตุใด
การเคลื่อนของเส้นใยโปรตีนสายบางเข้าหา
ศูนย์กลางของหน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ
มีผลทาให้หน่วยปฏิบัติการฯ มีความยาวสั้นลง
แสดงปริมาตรหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อในขณะพัก และขณะหดตัว
• X1 แทน ความยาวของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อ
ในขณะพัก
• r1 แทน ครึ่งความสูงของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อ
ในขณะพัก
• X2 แทน ความยาวของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อ
ในขณะหดตัว
• r2 แทน ครึ่งความสูงของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อ
ในขณะหดตัว
การทางานของกล้ามเนื้ออาศัยความพร้อม
เพรียงในการทางานของหน่วยปฏิบัติการย่อยทุกๆ
หน่วย ที่ประกอบขึ้นเป็นเส้นใยฝอยของเส้นใย
กล้ามเนื้อที่เป็นหน่วยทางานเดียวกัน ดังนั้นหากมีการ
หดตัวเกิดขึ้นพร้อมๆ กันทั้งหมด ก็จะทาให้กล้ามเนื้อ
ทั้งมัดมีการหดตัวสั้นลงไปด้วย
แสดงความยาวของมัดกล้ามเนื้อที่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อกล้ามเนื้อหดตัว
เมื่อเราใช้งานกล้ามเนื้อจนพอใจแล้ว ระบบประสาท
ก็จะสั่งการให้สัญญาณประสาทหยุดเดินทางมายัง
กล้ามเนื้อ ทาให้แคลเซียมไอออนไม่ถูกหลั่งออกมาจาก
ร่างแหซาร์โคพลาสมิกเข้าสู่ซาร์โคพลาซึม ปฏิกิริยาการเกาะ
กันของแอกทินและไมโอซินจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อีก เส้น
ใยโปรตีนสายบางจะเคลื่อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นผ่านเส้นใย
โปรตีนสายหนา
หน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของเส้นใยกล้ามเนื้อ
จะกลับมามีความยาวเท่ากับความยาวในระยะพัก เมื่อทุกๆ
หน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อเป็นอย่างนี้
เหมือนกันหมด เส้นใยกล้ามเนื้อรวมทั้งมัดกล้ามเนื้อก็จะ
คลายตัวกลับมามีความยาวเท่าเดิมด้วยเช่นกัน
เหตุใดคนที่เสียชีวิตไปสักค่อนวันแล้ว จึงมีร่างกายที่
แข็งเกร็ง
สภาวะที่กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (physiologic
contracture) เกิดขึ้นเนื่องจากการมี ATP อยู่ในเส้น
ใยกล้ามเนื้อในปริมาณต่ามากอันเนื่องมาจากการออก
กาลังกายอย่างหนัก หรือภาวะที่มีการอดอาหารอย่างรุนแรง
และเกิดขึ้นได้เองโดยไม่ต้องมีสัญญาณประสาทมากระตุ้น
การที่กล้ามเนื้อมี ATP ไม่เพียงพอทาให้กระบวนการปั๊ม
แคลเซียมไอออนกลับเข้าสู่ร่างแหซาร์โคพลาสมิกเกิดขึ้นได้ไม่ดี ทา
ให้มีแคลเซียมไอออนสะสมอยู่ในซาร์โคพลาซึมในปริมาณสูง
ส่งผลให้ไมโอซินเข้าเกาะกับแอกทิน เมื่อ ATP ในเส้นใย
กล้ามเนื้อหมดไป ทาให้สะพานเชื่อมระหว่างแอกทิน และไมโอซิน
ไม่สามารถหลุดออกจากกัน ในที่สุดกล้ามเนื้อทั้งชิ้นจะแข็งเกร็งไม่
สามารถหดตัวหรือคลายตัวได้ สภาวะเช่นนี้เห็นได้ชัดในคนที่
เสียชีวิตไปแล้วหลายๆ ชั่วโมง และมีคาเรียกเฉพาะสาหรับร่างที่
หมดลมไปแล้วว่าไรกอร์มอร์ทิส (rigor mortis)
ช่วยบอกผมหน่อยว่า การทางานของกล้ามเนื้อได้พลังงาน
มาจากไหน
กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการเปลี่ยน
พลังงานเคมีให้เป็นพลังงานกล พลังงานเคมีที่กล้ามเนื้อ
สามารถนาไปใช้ในการหดตัวได้ทันทีเป็นพลังงานที่อยู่ในรูป
ของสารพลังงานสูงตัวที่ชื่อ ATP ซึ่งได้มาจากการเผา
ผลาญอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่มีสะสมอยู่ใน
ร่างกาย ส่วนโปรตีนซึ่งหน่วยโครงสร้างของร่างกาย จะไม่
ถูกนามาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงในยามปกติ ร่างกายจะดึง
โปรตีนออกมาใช้ในการสร้าง ATP ก็ต่อเมื่อเราอดอาหาร
เป็นเวลานานเท่านั้น
เมื่อกล้ามเนื้ออยู่ในระยะพัก เส้นใยกล้ามเนื้อก็ต้อง
ใช้ ATP ในการรักษาระดับความเข้มข้นของสารระหว่าง
ผนังเซลล์ การสังเคราะห์และการสลายโปรตีนองค์ประกอบ
ของกล้ามเนื้อ
ในขณะที่กล้ามเนื้อหดตัวนอกจากกล้ามเนื้อต้อง
ใช้ ATP ในการรักษาระดับความเข้มข้นของสารแล้วยัง
ต้องใช้ ATP ในการเกิดวัฏจักรการจับปล่อยของแอกทิน
และไมโอซิน และในการปั๊มแคลเซียมไอออนกลับเข้าสู่
ร่างแหซาร์โคพลาสมิกอีกด้วย กล้ามเนื้อมี ATP สะสมใน
เซลล์เป็นแหล่ง ATP พร้อมใช้อยู่ประมาณ 5 มิลลิโมลาร์
ซึ่งจะถูกสลายให้ได้พลังงานเพียงพอสาหรับการทางาน 2-
3 วินาที
การสร้างสารพลังงานสูงขึ้นมาใช้ในเส้นใยกล้ามเนื้อ
อาศัยกระบวนการอย่างเดียวกับที่พบในเซลล์ชนิดอื่นๆ ของ
ร่างกาย อย่างไรก็ตามเส้นใยกล้ามเนื้อต่างชนิดกันก็มี
กระบวนการสร้าง ATP ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นกับว่ามัน
มีองค์ประกอบที่จาเป็นสาหรับกระบวนการสร้าง ATP
แบบไหน
การสร้าง ATP ในเส้นใยกล้ามเนื้อบางชนิด อาศัย
กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน
บางชนิดใช้กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
อย่างไรก็ตามเมื่อกล้ามเนื้อเริ่มทางานและต้องการ ATP
มากๆ หรือการสร้าง ATP จากกระบวนการหายใจเริ่มไม่
เพียงพอ เส้นใยกล้ามเนื้ออาจสร้าง ATP ด้วยปฏิกิริยาการ
จ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP โดยตรงเป็นการชั่วคราว
หมู่ฟอสเฟตที่มีการส่งต่อในกระบวนการสร้าง ATP อันที่จริงแล้วตามสูตร
โครงสร้างเคมี
เขาเรียกว่า หมู่ฟอสโฟริล (phosphoryl) นะจ๊ะ
เรามาดูรายละเอียดของกระบวนการสร้าง ATP
แต่ละแบบดีกว่า
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP
โดยฟอสโฟครีเอทีน (phosphocreatine)
ฟอสโฟครีเอทีนเป็นสารพลังงานสูงที่ร่างกาย
สามารถนาไปใช้ในการสร้าง ATP ได้อย่างชั่วคราว ฟอส
โฟครีเอทีนมีอยู่ในเส้นใยกล้ามเนื้อประมาณ 20 มิลลิโมลาร์
จะจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP เพื่อเปลี่ยนเป็น ATP
เสียก่อน
โดยอาศัยเอนไซม์ครีเอทีนไคเนส (creatine
kinase) แล้วกล้ามเนื้อจึงจะนา ATP ไปสลายเพื่อให้ได้
พลังงานต่อไป ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่
ระบบการสร้าง ATP แบบอื่นๆ กาลังจะเริ่มทาหน้าที่ เพื่อ
คงระดับ ATP ในเซลล์ไว้ให้อยู่ในระดับ 3-5 มิลลิโมลาร์
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP
โดยฟอสโฟครีเอทีน (phosphocreatine) ต่อ
การสร้าง ATP ด้วยการจ่ายหมู่ฟอสเฟตจะให้
พลังงานสาหรับวัฏจักรการจับปล่อยของกล้ามเนื้อแค่ในช่วง
เริ่มต้นของการหดตัวเท่านั้น การสร้าง ATP ด้วย
กระบวนการหายใจระดับเซลล์จะต้องเร่งเข้ามาแทนที่ก่อนที่
ฟอสโฟครีเอทีนจะหมดไป เพื่อให้เส้นใยกล้ามเนื้อมี
พลังงานใช้ได้อย่างต่อเนื่อง
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP
โดยฟอสโฟครีเอทีน (phosphocreatine) ต่อ
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP โดยฟอสโฟครีเอทีน
เมื่อกล้ามเนื้อพักจากการหดตัวแล้ว เส้นใย
กล้ามเนื้อมีวิธีการที่จะสร้างฟอสโฟครีเอทีนขึ้นมาใหม่
เพื่อเก็บไว้เป็นแหล่งพลังงานสารอง โดยใช้พลังงานที่
ได้จากการสลาย ATP
การสร้าง ATP จากการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
(anaerobic cellular respiration)
กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ต้องใช้
ออกซิเจน เป็นการเผาผลาญสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต
เช่น กลูโคส จากกระแสเลือดและไกลโคเจนที่มีสะสมอยู่ใน
กล้ามเนื้อ
กระบวนการนี้สามารถผลิต ATP ได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งมีความสาคัญต่อกล้ามเนื้ออย่างมากในกรณีที่ออกซิเจน
ที่ขนส่งไปสู่เส้นใยกล้ามเนื้อมีไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม
กระบวนการนี้ให้ ATP น้อยมาก เพียงสองโมเลกุลต่อ
กลูโคส หรือสามโมเลกุลต่อไกลโคเจน ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่
ได้จากกระบวนการนี้คือไพรูเวต (pyruvate) ซึ่งจะถูก
เปลี่ยนไปเป็นแลกเตตในที่สุด
การสร้าง ATP จากการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
(anaerobic cellular respiration) ต่อ
ผังการสร้าง ATP จากกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
ถ้ากล้ามเนื้อไม่สามารถกาจัดกรดแลกติกที่เกิดขึ้นได้
ทัน มันจะสะสมคั่งค้างอยู่ในกล้ามเนื้อ หากมันมีมากเกินไป
pH ของเซลล์จะลดลง ทาให้เอนไซม์ ATPase ในเซลล์
ทางานได้ไม่ดี อีกทั้ง โปรตอน (H+) ที่เกิดจากกรดจะแย่ง
แคลเซียมไอออนในการจับกับโทรโปนิน ดังนั้นวัฏจักรการ
จับปล่อยจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และทาให้เรารู้สึกเมื่อยล้า
การสร้าง ATP จากการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ใช้ออกซิเจน
(anaerobic cellular respiration) ต่อ
การสร้าง ATP จากการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
(aerobic cellular respiration)
ร่างกายจะย่อยสลายสารอาหารประเภท
คาร์โบไฮเดรตและไขมัน ได้เป็นกลูโคสและกรดไขมัน
ตามลาดับ เส้นใยกล้ามเนื้อที่มีออกซิเจนเพียงพอ ทั้งกลูโคส
และกรดไขมันจะถูกนามาใช้ในการผลิต ATP โดย
กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
การเผาผลาญอาหารแบบใช้ออกซิเจนสามารถให้
พลังงานอย่างมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับการเผาผลาญ
แบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่เนื่องจากกระบวนการนี้มีขั้นตอน
การเกิดปฏิกิริยามากมาย จึงทาให้ได้ ATP ออกมาอย่าง
ช้าๆ แต่เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยาวนานตราบเท่าที่
สารอาหารและออกซิเจนในเส้นใยกล้ามเนื้อมีมากเพียงพอ
การสร้าง ATP จากการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
(aerobic cellular respiration) ต่อ
ผังการสร้าง ATP จากกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
เมื่อเส้นใยกล้ามเนื้อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับ
อัตราเร็วของการสลายกลูโคสและกรดไขมันด้วย
กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน สาร
ตัวกลางที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาการย่อยสลายกลูโคส คือ ไพรู
เวต จะถูกเปลี่ยนเป็นแลกเตต ซึ่งจะถูกส่งไปยังตับ เซลล์ตับ
จะเปลี่ยนแลกเตตกลับเป็นกลูโคสเพื่อส่งคืนไปยังกล้ามเนื้อ
วงจรการหมุนเวียนของกลูโคสและแลกเตตระหว่างตับกับ
กล้ามเนื้อ เรียกว่า วัฏจักรคอริ (Cori cycle)
การสร้าง ATP จากการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
(aerobic cellular respiration) ต่อ
วัฏจักรคอริ
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP โดย ADP โมเลกุลอื่น
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้ ADP โดยตรง สามารถ
เกิดขึ้นได้ด้วยการจ่ายหมู่ฟอสเฟตจาก ADP ตัวหนึ่ง ไปยัง
ADP อีกตัว ซึ่งเป็นผลจากการทางานของเอนไซม์ไมโอ
ไคเนส (myokinase) ที่มีอยู่ในเส้นใยกล้ามเนื้อ เกิด
เป็น ATP และ AMP
ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นได้รวดเร็วเพื่อเติม ATP ให้เส้นใย
กล้ามเนื้อในขณะที่การผลิต ATP โดยกระบวนการหายใจระดับ
เซลล์เริ่มไม่ทันต่อความต้องการ ปฏิกิริยานี้ยังเป็นตัวบอกให้เส้นใย
กล้ามเนื้อเร่งเข้าสู่กระบวนการสลายน้าตาลกลูโคสให้มากขึ้นด้วย
เพราะเมื่อ ADP หมดไประบบนี้ก็ไม่สามารถทางานได้
การจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP โดย ADP โมเลกุลอื่น (ต่อ)
การจ่ายหมู่ฟอตเฟตให้กับ ADP โดย ADP โมเลกุลอื่น
ผังกระบวนการสร้าง ATP ในเส้นใยกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อลายแต่ละมัดจะมีความเข้มของสี
แตกต่างกันออกไป บางแห่งจะมีสีแดงจัด ในขณะที่
บางแห่งมีสีซีดจาง แถมความสามารถในการหดตัวยัง
แตกต่างกันไปอีกด้วย
กล้ามเนื้อบางมัดสามารถหดตัวได้เร็วกว่า
กล้ามเนื้อมัดอื่นๆ เช่น กล้ามเนื้อหนังตา ความเร็วของ
การกระพริบตาเกิดขึ้นได้เร็วมากเมื่อเปรียบเทียบกับ
การกระดิกนิ้วและการยกเท้าก้าวเดิน
กล้ามเนื้อลายในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแบ่งออกได้เป็น
2 พวกใหญ่ คือ กล้ามเนื้อชนิดหดตัวช้าและกล้ามเนื้อชนิด
หดตัวเร็ว นอกจากกล้ามเนื้อจะมีความแตกต่างกันทาง
สรีรวิทยาแล้ว กล้ามเนื้อยังแตกต่างกันด้วยสมบัติทาง
ชีวเคมี
เราสามารถแบ่งชนิดของกล้ามเนื้อลายออกได้เป็น 3 ชนิด
ชนิดที่ 1 เป็นกล้ามเนื้อที่มีสีแดง มีการหดตัวช้า การ
สร้าง ATP ในเส้นใยกล้ามเนื้อส่วนใหญ่อาศัยกระบวนการ
หายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ซึ่งเกิดที่ไมโทคอนเดรีย
จึงทาให้กล้ามเนื้อชนิดนี้มีปริมาณของไมโทคอนเดรียและ
ไขมันสูง กล้ามเนื้อมีสีแดงเนื่องจากมีเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก
มีปริมาณไมโอโกลบินสูง จึงทาให้มีออกซิเจนอยู่ในเส้นใย
กล้ามเนื้อสูงด้วย กล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่ทาหน้าที่คงท่าทาง
ของร่างกายเป็นตัวอย่างของกล้ามเนื้อชนิดที่ 1 นี้
ชนิดที่ 2 เป็นกล้ามเนื้อที่มีสีซีดจาง มีความสามารถใน
การหดตัวรวดเร็ว การสร้าง ATP ในเส้นใยกล้ามเนื้อส่วน
ใหญ่อาศัยกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบไม่ต้องใช้
ออกซิเจน ซึ่งให้พลังงานจากัด แถมกรดแลกติกที่เกิดขึ้นยัง
ทาให้กล้ามเนื้อเกิดการล้าอย่างรวดเร็วอีกด้วย ในเส้นใย
กล้ามเนื้อจะมีปริมาณไมโทคอนเดรียและไขมันต่า มีเลือด
มาเลี้ยงน้อยกว่าชนิดแรก แต่มีปริมาณของไกลโคเจนอยู่สูง
เราจะพบกล้ามเนื้อชนิดนี้ได้ที่บริเวณโครงสร้างส่วนบนของ
ร่างกาย
ชนิดที่ 3 กล้ามเนื้อชนิดนี้จะมีคุณสมบัติและลักษณะ
ของกล้ามเนื้อชนิดที่ 1 และ 2 รวมกันอยู่ การสร้าง
ATP ในเส้นใยกล้ามเนื้ออาจใช้กระบวนการหายใจแบบไม่
ต้องใช้ออกซิเจน หรือแบบที่ต้องใช้ออกซิเจนก็ได้ จึงทาให้
กล้ามเนื้อชนิดนี้มีความสามารถสูงเป็นพิเศษ คือสามารถ
หดตัวได้อย่างรวดเร็ว และมีความทนทานต่อการล้า เป็น
กล้ามเนื้อที่มีสีแดง มีเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก มีปริมาณของ
ไมโทคอนเดรียและไขมันสูง รวมทั้งมีปริมาณไกลโคเจนอยู่
ค่อนข้างสูงเช่นกัน กล้ามเนื้อชนิดนี้พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูก
ด้วยนมอื่นๆ แต่ไม่ค่อยพบในคน
เส้นใยกล้ามเนื้อที่อยู่ในกล้ามเนื้อแต่ละมัดนั้น
โดยทั่วไปไม่ได้มีคุณสมบัติเหมือนกันหมด กล้ามเนื้อแต่ละ
มัดจะมีเส้นใยกล้ามเนื้อทั้งที่หดตัวได้เร็วและช้าปะปนกันอยู่
ถ้ามีเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดใดมากกล้ามเนื้อก็จะแสดง
คุณสมบัติของเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดนั้นๆ เด่นออกมา
สัดส่วนของเส้นใยกล้ามเนื้อชนิดหดตัวช้าและหดตัว
เร็วจะถูกกาหนดมาแล้วโดยพันธุกรรม การพัฒนาของเส้น
ใยกล้ามเนื้อไปเป็นชนิดใดนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ตอนที่เรายังเป็น
ทารกน้อยๆ อยู่ในท้องของแม่ได้ 20 สัปดาห์ และการ
พัฒนาจะเสร็จสิ้นเมื่อเราอายุได้ 1 ปี
ถึงแม้ว่าในมัดกล้ามเนื้อจะประกอบไปด้วยเส้นใยกล้ามเนื้อ
ที่มีคุณสมบัติต่างกัน แต่เส้นใยกล้ามเนื้อที่เป็นหน่วยทางาน
หน่วยเดียวกัน จะเป็นชนิดเดียวกันนะจ๊ะ
กล้ามเนื้อของเราหดตัวได้โดยการทางานของโปรตีน
ที่ทาหน้าที่ในการหดตัว แต่เนื่องจากกล้ามเนื้อมี
ส่วนประกอบเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่มีความยืดหยุ่นด้วย
กล้ามเนื้อจึงมีความสามารถที่จะหดตัวได้โดยที่ความยาว
ของกล้ามเนื้อทั้งมัดอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เรามาดูกันว่าเมื่อกล้ามเนื้อทางาน ความยาวของกล้ามเนื้อมีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้าง
กล้ามเนื้อมีการหดตัวสั้นลง (shortening) โดยที่
แรงตึงในกล้ามเนื้อคงที่ (isotonic contraction)
การหดตัวแบบนี้เกิดเมื่อแรงภายในกล้ามเนื้อมีค่า
มากกว่าแรงต้านทานภายนอก ทาให้เกิดการเคลื่อนไหวได้
จึงถือว่ามีงานเกิดขึ้น
การหดตัวของกล้ามเนื้อแบบที่ความยาวของกล้ามเนื้อสั้นลง
กล้ามเนื้อมีการยืดตัวออก (lengthening)
ในขณะที่ยังคงมีการหดตัว โดยที่แรงตึงตัวของ
กล้ามเนื้อคงที่ (eccentric contraction)
การหดตัวของกล้ามเนื้อแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อแรง
ภายนอกมีค่ามากกว่าแรงที่เกิดขึ้นจากการหดตัวของ
กล้ามเนื้อ เป็นการทางานโดยกล้ามเนื้อที่ควบคุมการ
เคลื่อนไหวชนิดที่ไปในทิศทางของแรงดึงดูดโลก เช่น เกิดขึ้น
ในขณะที่เดินลงทางชันหรือขณะที่ถือน้าหนักท่างอข้อศอก
90 องศา และให้ลดระดับลง
การหดตัวของกล้ามเนื้อแบบมีการยืดออกของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อมีการหดตัวโดยที่มัดกล้ามเนื้อมีความ
ยาวคงที่ แต่แรงตึงในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น (isometric
contraction)
การหดตัวแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อแรงต้านภายนอกมีค่า
มากกว่าแรงที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ตลอดระยะเวลา
ของการหดตัวจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อ
เลย เราจะพบการหดตัวแบบนี้ได้ในกล้ามเนื้อขาที่กาลังทางาน
ในขณะที่ยืนทรงตัว หรือเกิดขึ้นในขณะที่พยายามจะยกของ
หนักๆ แต่ยกไม่ขึ้น เนื่องจากไม่มีการเคลื่อนที่ของร่างกายหรือ
ของวัตถุ จึงถือว่าไม่เกิดงาน
การหดตัวของกล้ามเนื้อแบบความยาวของกล้ามเนื้อคงที่
เวลาที่เราออกกาลังกายหรือแข่งขันกีฬาลองสังเกตดู
ว่าร่างกายของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างนี้เกิดขึ้นหรือไม่
เราหายใจหนักขึ้นถี่ขึ้น หัวใจเต้นตุบตับเร็วขึ้น เราปวดเมื่อย
เนื้อตัว และมีเหงื่อออกมาก นี่เป็นการตอบสนองตามปกติ
ของร่างกายไม่ว่าเราจะออกกาลังกายเป็นประจาหรือออก
กาลังกายครั้งหนึ่งแล้วเว้นไปสองสามเดือนก็ตาม นักกีฬา
ระดับโลกเขาก็มีอาการแบบเราๆ เหมือนกัน เพียงแต่ว่าเขา
ทนทานกว่าเราเท่านั้นเอง
ความทนทานเกิดจากการฝึกฝนร่างกาย
เมื่อเราออกกาลังกาย กล้ามเนื้อของเราต้องทางาน
มากกว่าปกติ เส้นใยกล้ามเนื้อก็ต้องการ ATP มากขึ้นตาม
ไปด้วย ร่างกายของเรามีระบบการสร้าง ATP ให้เส้นใย
กล้ามเนื้อเลือกใช้ได้หลายระบบตามความเหมาะสมสาหรับ
การออกกาลังกายในแต่ละแบบ
การใช้พลังงานในการวิ่ง 100 เมตร และ 1000 เมตร มีส่วน
ที่คล้ายคลึงกันหรือต่างกันอย่างไร
การออกกาลังกายแบบที่ต้องใช้พลังงานสูงในระยะเวลาอัน
สั้นจุ๊ด เช่น การแข่งขันวิ่ง 100 เมตร หรือการแข่งขันยก
น้าหนัก ร่างกายต้องการระบบที่จะช่วยเติมพลังงานให้กับ
กล้ามเนื้อได้อย่างรวดเร็ว
กระบวนการจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP โดยฟอส
โฟครีเอทีนเป็นระบบที่ช่วยให้ร่างกายสามารถออกกาลัง
ประเภทนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นเวลาประมาณ 8 -10
วินาที แต่นักวิ่งที่ใช้เวลามากกว่านี้ระบบการสร้าง ATP
ด้วยการจ่ายหมู่ฟอสเฟตให้กับ ADP โดยฟอสโฟครีเอทีนอ
ย่างเดียวไม่สามารถให้พลังงานได้เพียงพอ เส้นใยกล้ามเนื้อ
ต้องสร้าง ATP จากกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบไม่
ใช้ออกซิเจนให้ทันก่อนที่ฟอสโฟครีเอทีนในเส้นใยกล้ามเนื้อ
จะหมดไปด้วย
ในการออกกาลังกายประเภทที่ต้องการพลังงาน
จานวนมากในเวลาอันรวดเร็วเป็นเวลาไม่นานนักเช่นการ
แข่งขันวิ่งระยะสั้น 200 หรือ 400 เมตร และการแข่งขันว่าย
น้า
แน่นอนว่าการสร้าง ATP ด้วยการจ่ายหมู่ฟอสเฟต
ให้กับ ADP โดยฟอสโฟครีเอทีนอย่างเดียวไม่สามารถให้
พลังงานได้เพียงพอ ระบบที่เป็นพระเอกสาหรับการออก
กาลังกายประเภทนี้คือกระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบ
ไม่ต้องใช้ออกซิเจน
ถ้าเราวิ่งมาราธอน เราจะต้องใช้พลังงานอย่างมากเช่นกัน
แต่เป็นปริมาณที่คงที่ในช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน
ในกรณีเช่นนี้เส้นใยกล้ามเนื้อจะไม่ใช้ ATP ที่สร้าง
จากกระบวนการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจนตลอดช่วง
ระยะเวลาของการออกกาลังกาย เพราะไม่เช่นนั้นกรดแลก
ติกที่เกิดขึ้นจะทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระบบการสร้าง
พลังงานที่มีประสิทธิภาพสาหรับการออกกาลังกายประเภท
นี้คือ การสร้าง ATP ด้วยกระบวนการหายใจระดับเซลล์
แบบใช้ออกซิเจน ดังนั้นนักวิ่งระยะไกลจึงต้องฝึก
ความสามารถในการหายใจให้มากที่สุด
ระบบต่างๆ ของร่างกายพร้อมใจช่วยกล้ามเนื้อ
เมื่อเราใช้งานกล้ามเนื้อในการออกกาลังกายเป็น
เวลานาน ระบบอื่นๆ ของร่างกายจะต้องทางานสัมพันธ์กัน
ไปด้วยเพื่อให้ร่างกายสามารถนาออกซิเจนไปสู่เส้นใย
กล้ามเนื้อได้มากขึ้น นอกจากนี้ร่างกายก็ต้องมีการกาจัด
ความร้อน และของเสียออกไปเพื่อให้เส้นใยกล้ามเนื้อมี
สภาพที่เหมาะสมต่อการทางาน
อวัยวะที่ต้องทางานหนักร่วมกับกล้ามเนื้อในขณะที่เราออก
กาลังกายมีอวัยวะใดบ้าง
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้กับเส้นใยกล้ามเนื้อ
การออกกาลังกายนานกว่า 2 นาที ร่างกายต้องการ
ออกซิเจนมากขึ้น เพื่อสร้าง ATP ให้ได้ในปริมาณมาก โดยใช้
กระบวนการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ในการเพิ่ม
ปริมาณออกซิเจนให้แก่ร่างกาย อวัยวะบางอย่างต้องทางานหนัก
ขึ้น เช่น หัวใจต้องเต้นแรงขึ้น เร็วขึ้น เพื่อสูบฉีดโลหิตซึ่งมีปริมาณ
ของออกซิเจนอยู่สูงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้มากขึ้น ในขณะที่อวัยวะ
บางอย่างอาจต้องหยุดพักการทางานเอาไว้ชั่วคราว เช่น กระเพาะ
อาหารจะหยุดพักการย่อยไว้ชั่วขณะ เพื่อให้เลือดที่จะมายัง
กระเพาะถูกส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อแทน
การกาจัดของเสีย
เวลาเราออกกาลังกาย จะมีของเสียที่เกิดขึ้นจากการ
ทางานของกล้ามเนื้อ ได้แก่ กรดแลกติก
คาร์บอนไดออกไซด์ อะดีโนซีน และไฮโดรเนียม (H3O+)
ไอออน ความเป็นกรดที่เกิดจากของเสียพวกนี้จะไปทาให้
ประสิทธิภาพการทางานของเอนไซม์ ATPase ในเส้นใย
กล้ามเนื้อลดลง ของเสียเหล่านี้จะต้องถูกขนส่งออกนอก
เซลล์ผ่านทางหลอดเลือด เพื่อให้เส้นใยกล้ามเนื้อคงสภาพที่
เหมาะสมต่อการทางาน
การระบายความร้อนออกจากร่างกาย
การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อลายในขณะออก
กาลังกายจะมีความร้อนเกิดขึ้นจากระดับปกติมาก ความร้อนที่
เกิดขึ้นจากการทางานของกล้ามเนื้อมาจากการที่เส้นใยกล้ามเนื้อ
ไม่สามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีจาก ATP ให้เป็นพลังงานกลได้
หมด
เส้นใยกล้ามเนื้อสามารถใช้พลังงานที่ได้จากการย่อย
สลาย ATP ได้ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
พลังงานส่วนที่เซลล์ไม่สามารถนาไปใช้ได้จะสูญเสียไปใน
รูปความร้อน นอกจากนี้กระบวนการหายใจของเซลล์เองไม่
ว่าจะเป็นแบบใช้ออกซิเจน หรือไม่ใช้ออกซิเจนก็ตามจะมี
ความร้อนเกิดขึ้นอยู่แล้วด้วย
การระบายความร้อนออกจากร่างกาย (ต่อ)
ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอที่อุณหภูมิประมาณ 37 ํC ได้ด้วย
กระบวนการใดบ้าง
เมื่อความร้อนในร่างกายสูงขึ้นมากกว่า 41 องศา
เซลเซียส ร่างกายไม่สามารถทางานเป็นปกติ ร่างกายจะมี
ตัวรับรู้ความร้อน (thermoreceptor) อยู่ที่ผิวหนัง ที่
จะส่งคลื่นประสาทไปยังศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ที่
อยู่ในสมองส่วนกลางตรงบริเวณไฮโพทาลามัส
(hypothalamus) มีผลทาให้หลอดเลือดที่ไปยัง
ผิวหนังขยายตัว ความร้อนที่เกิดขึ้นจะถูกถ่ายเทให้กับเลือด
ที่ไหลผ่านมา
การขยายของหลอดเลือดทาให้เลือดไหลไปยัง
ผิวหนังได้มากขึ้น ความร้อนจะถูกขจัดออกจากร่างกายออก
สู่อากาศภายนอก นอกจากนี้ร่างกายจะขับเหงื่อออกมามาก
ขึ้น เพื่อขจัดความร้อนด้วยการระเหย ความร้อนที่สูญเสีย
ออกจากร่างกายด้วยการระเหย เป็นความร้อนที่ถูกนาไปใช้
ในการทาให้น้าบริเวณผิวหนังกลายเป็นไอโดยที่เราไม่
รู้สึกตัว และขจัดออกไปในรูปของการขับเหงื่อ ในขณะที่เสีย
เหงื่อ ร่างกายจะสูญเสียน้าและแร่ธาตุที่สาคัญบางตัว
ออกไปด้วย เช่น โซเดียมและคลอไรด์
หากเราออกกาลังกายในที่ร้อนชื้น แถมยังมีการ
ระบายอากาศไม่ดี การขจัดความร้อนด้วยการระเหยจะ
ทางานไม่ดี อัตราการระเหยของเหงื่อจะลดลง ทาให้เราเป็น
ลมแดด (heat stroke) ได้ เซลล์ประสาทบางส่วนใน
ระบบประสาทส่วนกลางจะถูกทาลายอย่างถาวร ไม่
สามารถกลับคืนสู่สภาพเดิมหรือสร้างทดแทนขึ้นใหม่
ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิจะเสียไป ร่างกายจึงไม่สามารถ
ระบายความร้อนออกได้ เราจะรู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ คลื่นไส้
อาเจียน ถ้าอุณหภูมิสูงถึง 45 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นขีด
สูงสุดที่คนเราจะทนอยู่ได้ โดยไม่มีการช่วยลดความร้อน
ออกอย่างทันท่วงที เซลล์ทั่วไปจะถูกทาลาย ไม่สามารถ
ทางานเป็นปกติ เราอาจชักอย่างรุนแรงและอาจถึงตายได้
เพื่อนอาจช่วยลดอุณหภูมิโดยการเช็ดตัวด้วยน้าผสม
แอลกอฮอล์
ดังนั้นเราจะหลีกเลี่ยงการเป็นลมแดด ด้วยการสวม
ใส่เสื้อผ้าที่มีการระบายอากาศได้ดี ออกกาลังกายในที่ๆ มี
อุณหภูมิไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส ดื่มน้าและเครื่องดื่มเสริม
เกลือแร่ และกลูโคสระหว่างการออกกาลังกาย
ถ้าหาเครื่องดื่มเสริมเกลือแร่ไม่ได้ เราจะดื่มน้าบรรจุขวดที่
ผ่านกระบวนการรีเวอร์สออสโมซิส (reverse
osmosis) ซึ่งมีความบริสุทธิ์จนกระทั่งมีไอออนต่างๆ
น้อยมากได้หรือไม่
การออกกาลังกายทาให้กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นได้
อย่างไร
กล้ามเนื้อของเราไม่ได้ใหญ่โตขึ้นทันทีภายหลังการ
ออกกาลังกาย 24-48 ชั่วโมง กระบวนการฟื้นตัวภายหลัง
การออกกาลังกายต่างหากที่ทาให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตขึ้น
ทีละน้อย ด้วยการนาสารอาหารประเภทโปรตีนที่เรา
รับประทาน ไปใช้ในการสังเคราะห์เส้นใยโปรตีน
องค์ประกอบของกล้ามเนื้อ เพื่อเสริมสร้างเส้นใยกล้ามเนื้อ
แต่ละเส้นให้มีความหนาเพิ่มขึ้น (hypertrophy)
แสดงการเพิ่มขนาดของมัดกล้ามเนื้อ
จานวนและชนิดของเส้นใยกล้ามเนื้อในร่างกายจะค่อนข้าง
คงที่และถูกกาหนดไว้แล้วโดยพันธุกรรม เส้นใยกล้ามเนื้อที่
มีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะไม่มีการแบ่งตัวอย่างเซลล์ใน
ร่างกายชนิดอื่นๆ ที่มีการแบ่งตัวตามรอบของวงจรเซลล์
(cell cycle) ดังนั้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อจึง
เกิดขึ้นจากการเพิ่มขนาดของเซลล์เท่านั้น ไม่ใช่ด้วยการเพิ่ม
จานวนเซลล์
การเพิ่มขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ หรือการซ่อมแซมเส้น
ใยกล้ามเนื้อที่มีสภาพชารุดทรุดโทรม อาศัยเซลล์ต้นกาเนิด
(stem cell) ของเซลล์กล้ามเนื้อตั้งต้น
(myoblast) ที่มีชื่อว่าเซลล์แซทเทลไลต์ (satellite
cell) ซึ่งมีรูปทรงแบนๆ และอยู่แนบชิดกับเส้นใย
กล้ามเนื้อ
แสดงกลไกการเพิ่มขนาดของเส้นใยกล้ามเนื้อ
โดยปกติแล้วเซลล์แซทเทลไลต์จะไม่แบ่งตัว มันจะ
แบ่งตัวก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสัญญาณแห่งการซ่อมแซม หรือเพื่อ
ตอบสนองต่อการออกกาลังเพื่อฝึกฝนกล้ามเนื้อเท่านั้น เมื่อเซลล์
แซทเทลไลต์แบ่งตัวเสร็จสิ้น มันจะหลอมรวมเข้ากับเส้นใย
กล้ามเนื้อที่เสียหาย หรือมันอาจรวมตัวกับเส้นใยกล้ามเนื้อ
ของเดิมในมัดกล้ามเนื้อที่ได้รับการฝึกฝนเป็นประจา ทาให้โปรตีน
ที่เป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อมีปริมาณเพิ่มขึ้นมา ด้วยเหตุนี้
เส้นใยกล้ามเนื้อที่เสียหายจึงได้รับการซ่อมแซม และกล้ามเนื้อที่
ถูกฝึกฝนมาอย่างดีจึงมีขนาดเพิ่มขึ้น
กล้ามเนื้อในร่างกายของสัตว์ทาหน้าที่ในการ
เคลื่อนไหว เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อในร่างกายของเรา
นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสัตว์โดยตรงแล้ว กล้ามเนื้อของ
สัตว์หลากหลายชนิดยังเป็นอาหารสาหรับคนเราได้อีกด้วย
ถ้าเอาเนื้อของสัตว์ที่เพิ่งจบชีวิตลง ไปเข้าตู้แช่แข็ง
ทันทีจะทาให้เนื้อเหนียว คุณคิดว่าเป็นเพราะอะไร
ภายหลังที่สัตว์จบชีวิตลง ด้วยเทคนิคจาเพาะ
ทางด้านเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ (เพื่อคงคุณภาพของเนื้อ) ระบบ
ไหลเวียนของเลือดก็จะหยุดไป กล้ามเนื้อจึงขาดออกซิเจน
มาหล่อเลี้ยง อย่างไรก็ตามกล้ามเนื้อยังสามารถหดตัวต่อไป
ได้อีกโดยใช้ ATP ที่เกิดขึ้นจากการสลายไกลโคเจนที่มี
สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ
แต่เมื่อใดก็ตามที่ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อหมดลง การ
สร้าง ATP ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ แอกทินกับไมโอซินที่เกาะ
กันอยู่ก็จะยังคงเกาะกันอยู่อย่างนั้น ทาให้กล้ามเนื้อแข็ง
เกร็ง และมีความเหนียว หากปล่อยทิ้งไว้สักครู่เอนไซม์
หลายชนิดที่มีอยู่ในเส้นใยกล้ามเนื้อจะออกมาย่อยโปรตีน
ทาให้สะพานเชื่อมแอกทินไมโอซินหลุดออกจากกัน ทาให้
เนื้อมีความนุ่มขึ้น
เคล็ดลับในการปรุงอาหาร
ในเนื้อสัตว์ดิบ โปรตีนหลายชนิดที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อจะมี
โครงสร้างเป็นเกลียวที่เชื่อมต่อกันด้วยพันธะเคมี การปรุงอาหาร
ด้วยความร้อนจะทาให้พันธะเคมีแตกออก โปรตีนเหล่านั้นจะ
คลายเกลียว และเส้นผ่าศูนย์กลางของโปรตีนมีขนาดเล็กลง
รวมทั้งความยาวก็หดสั้นลงด้วย ทาให้เราสามารถเคี้ยวเนื้อสัตว์ที่
สุกแล้วได้ง่ายขึ้น ไม่เหนียวหนับอย่างเนื้อสัตว์ดิบๆ แต่ถ้าเราปรุง
อาหารเนื้อสัตว์โดยใช้ความร้อนเป็นเวลานานเกินไปทาให้เนื้อ
สูญเสียน้าไปมาก เนื้อก็จะเหนียวขึ้น
ลองสังเกตความแตกต่างของเนื้อสเต็กที่ปรุงแบบสุก
มาก (well done) สุกปานกลาง (medium
done) สุกพอประมาณ (medium rare)และสุก
น้อย (rare) ดูนะจ๊ะ
ความเหนียวของเนื้อสัตว์ยังขึ้นอยู่กับปริมาณของเส้น
ใยคอลลาเจนที่แทรกอยู่ในมัดกล้ามเนื้ออีกด้วย คอลลาเจน
ที่มีอยู่ในกล้ามเนื้อของสัตว์ที่ยังมีอายุน้อยๆ จะมีความ
แข็งแกร่งน้อยกว่าและละลายน้าได้ดีกว่าคอลลาเจนที่มีใน
กล้ามเนื้อของสัตว์ที่มีอายุเยอะๆ
การปรุงอาหารแบบที่ต้องอาศัยความร้อนจาก
ไอน้า เช่น การต้ม การตุ๋น จะทาให้เส้นใยคอลลาเจน
เหนียวๆ จับกับน้าจนพองตัว กลายสภาพเป็นเจละติน
(gelatin) ที่มีลักษณะเป็นวุ้นใสๆ พอวุ้นนี้ถูกทิ้งไว้ในที่
เย็น ก็จะจับตัวเป็นก้อนเหมือนเยลลี (jelly)
ตาแหน่งของกล้ามเนื้อก็มีผลต่อความเหนียว
ความนุ่ม ของกล้ามเนื้อด้วยเหมือนกัน กล้ามเนื้อส่วนที่ถูก
ใช้งานมาก แข็งแรงมาก เนื่องจากมีการสะสมของเส้นใย
โปรตีนที่ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้ออยู่สูง ก็ย่อมมีความ
เหนียวมากกว่ากล้ามเนื้อที่เต็มไปด้วยไขมัน
พ่อค้าขายเนื้อจะตัดแบ่งเนื้อออกเป็นส่วนต่างๆ ที่มี
ความนุ่ม ความเหนียวแตกต่างกันไป ผู้บริโภคสามารถเลือก
ซื้อได้ตามความต้องการ และแน่นอนเนื้อส่วนที่ต่างกันก็
ย่อมมีราคาที่แตกต่างกันไปด้วยตามคุณภาพ
เพราะเหตุใดเนื้อปลาจึงไม่เหนียวอย่างเนื้อวัว เนื้อหมู
เนื่องจากปลาสามารถลอยตัวอยู่ในน้าได้โดยที่ไม่
ต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของร่างกายช่วยในการพยุงตัว
กล้ามเนื้อที่ปลาใช้งานมากมักจะเป็นกล้ามเนื้อส่วนครีบ
และส่วนหางเท่านั้น เนื้อปลาจึงมีเส้นใยกล้ามเนื้อที่เป็นเส้น
สั้นๆ อีกทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกล้ามเนื้อของปลายังเป็นชนิด
ไมโอคอมมาตา (myocommata) ซึ่งมีความอ่อนนุ่ม
กว่าเส้นใยคอลลาเจน ต่อให้ปลามีอายุเยอะ ความเหนียวก็
ยังไม่เท่าเนื้อวัว เนื้อหมูอยู่ดี

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)สำเร็จ นางสีคุณ
 
แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์
แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์
แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์Wichai Likitponrak
 
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5Wuttipong Tubkrathok
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1Sumarin Sanguanwong
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน Thitaree Samphao
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตPopeye Kotchakorn
 
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์Wann Rattiya
 
การทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาทการทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาทThitaree Samphao
 
โครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาสโครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาสOui Nuchanart
 
ใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลก
ใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลกใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลก
ใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลกwebsite22556
 
ไขสันหลัง
ไขสันหลังไขสันหลัง
ไขสันหลังWan Ngamwongwan
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์dnavaroj
 
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติAomiko Wipaporn
 
การทำงานระบบประสาท
การทำงานระบบประสาทการทำงานระบบประสาท
การทำงานระบบประสาทDew Thamita
 

La actualidad más candente (20)

10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
10แบบทดสอบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (ตอนที่ 1)
 
แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์
แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์
แบบทดสอบพฤติกรรมสัตว์
 
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
เอกสารประกอบการเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน ป.5
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
 
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบน้ำเหลืองและระบบภูมิคุ้มกัน
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครูใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
ใบงานการย่อยอาหาร Version คุณครู
 
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิตเซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
เซลล์หน่วยของสิ่งมีชีวิต
 
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคนเล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
 
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
แบบฝึกหัดที่ 2 เซลล์พืช และเซลล์สัตว์
 
การเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคนการเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคน
 
ย่อยอาหาร
ย่อยอาหารย่อยอาหาร
ย่อยอาหาร
 
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
 
การทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาทการทำงานของระบบประสาท
การทำงานของระบบประสาท
 
โครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาสโครงสร้างคลอโรพลาส
โครงสร้างคลอโรพลาส
 
ใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลก
ใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลกใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลก
ใบงานที่ 6 ส่วนประกอบของโลก
 
ไขสันหลัง
ไขสันหลังไขสันหลัง
ไขสันหลัง
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
ใบกิจกรรมที่ 11 ระบบภูมิคุ้มกันและความผิดปกติ
 
แผนBioม.4 2
แผนBioม.4 2แผนBioม.4 2
แผนBioม.4 2
 
การทำงานระบบประสาท
การทำงานระบบประสาทการทำงานระบบประสาท
การทำงานระบบประสาท
 

Destacado

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อSarawut Fnp
 
Muscle tone
Muscle toneMuscle tone
Muscle tonePS Deb
 
การเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมชการเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมชWichai Likitponrak
 
ชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive system
ชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive systemชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive system
ชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive systemkasidid20309
 
รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...
รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...
รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...kasidid20309
 
Muscle tone 11
Muscle tone 11Muscle tone 11
Muscle tone 11EvanProst
 
Muscle tone PBL MBBS
Muscle tone PBL MBBSMuscle tone PBL MBBS
Muscle tone PBL MBBSshama101p
 
Muscle tone munish G B PANT DELHI
Muscle tone munish G B PANT DELHIMuscle tone munish G B PANT DELHI
Muscle tone munish G B PANT DELHIDr. Munish Kumar
 
ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system
ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system
ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system kasidid20309
 

Destacado (12)

ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
 
Musscle1
Musscle1Musscle1
Musscle1
 
Muscle tone
Muscle toneMuscle tone
Muscle tone
 
การเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมชการเคลื่อนที่สมช
การเคลื่อนที่สมช
 
ชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive system
ชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive systemชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive system
ชีววิทยา เรื่อง การย่อยอาหาร Digestive system
 
รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...
รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...
รื่องSensory and-motor-mechanismน้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ slide ด...
 
Muscle tone 11
Muscle tone 11Muscle tone 11
Muscle tone 11
 
Muscle tone PBL MBBS
Muscle tone PBL MBBSMuscle tone PBL MBBS
Muscle tone PBL MBBS
 
Muscle tone munish G B PANT DELHI
Muscle tone munish G B PANT DELHIMuscle tone munish G B PANT DELHI
Muscle tone munish G B PANT DELHI
 
ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system
ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system
ชีววิทยาเรื่องระบบประสาท Nervous system
 
5.สูตรการหาความน่าจะเป็น
5.สูตรการหาความน่าจะเป็น5.สูตรการหาความน่าจะเป็น
5.สูตรการหาความน่าจะเป็น
 
Probability
ProbabilityProbability
Probability
 

Más de Sarawut Fnp

ใบงาน บทที่ 3
ใบงาน บทที่ 3ใบงาน บทที่ 3
ใบงาน บทที่ 3Sarawut Fnp
 
แบบฝึกหัดมหิดล
แบบฝึกหัดมหิดลแบบฝึกหัดมหิดล
แบบฝึกหัดมหิดลSarawut Fnp
 
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องก
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องกแบบฝึกหัดท้ายบทห้องก
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องกSarawut Fnp
 
ชนิดของกล้ามเนื้อ
ชนิดของกล้ามเนื้อชนิดของกล้ามเนื้อ
ชนิดของกล้ามเนื้อSarawut Fnp
 
การตั้งชื่อกล้ามเนื้อ
การตั้งชื่อกล้ามเนื้อการตั้งชื่อกล้ามเนื้อ
การตั้งชื่อกล้ามเนื้อSarawut Fnp
 
กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจSarawut Fnp
 
กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า
กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้ากล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า
กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้าSarawut Fnp
 
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องข
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องขแบบฝึกหัดท้ายบทห้องข
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องขSarawut Fnp
 
Lab Anatomy of Muscular System
Lab Anatomy of Muscular SystemLab Anatomy of Muscular System
Lab Anatomy of Muscular SystemSarawut Fnp
 
Anatomy of Muscular System
Anatomy of Muscular SystemAnatomy of Muscular System
Anatomy of Muscular SystemSarawut Fnp
 

Más de Sarawut Fnp (12)

ใบงาน บทที่ 3
ใบงาน บทที่ 3ใบงาน บทที่ 3
ใบงาน บทที่ 3
 
แบบฝึกหัดมหิดล
แบบฝึกหัดมหิดลแบบฝึกหัดมหิดล
แบบฝึกหัดมหิดล
 
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องก
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องกแบบฝึกหัดท้ายบทห้องก
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องก
 
ชนิดของกล้ามเนื้อ
ชนิดของกล้ามเนื้อชนิดของกล้ามเนื้อ
ชนิดของกล้ามเนื้อ
 
การตั้งชื่อกล้ามเนื้อ
การตั้งชื่อกล้ามเนื้อการตั้งชื่อกล้ามเนื้อ
การตั้งชื่อกล้ามเนื้อ
 
กล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจ
 
กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า
กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้ากล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า
กล้ามเนื้อแสดงความรู้สึกของหน้า
 
Skeletal muscle
Skeletal muscleSkeletal muscle
Skeletal muscle
 
Smooth muscle
Smooth muscleSmooth muscle
Smooth muscle
 
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องข
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องขแบบฝึกหัดท้ายบทห้องข
แบบฝึกหัดท้ายบทห้องข
 
Lab Anatomy of Muscular System
Lab Anatomy of Muscular SystemLab Anatomy of Muscular System
Lab Anatomy of Muscular System
 
Anatomy of Muscular System
Anatomy of Muscular SystemAnatomy of Muscular System
Anatomy of Muscular System
 

กลไกการหดตัวของกล้ามเนื้อ

Notas del editor

  1. คำถามที่ 1 นักศึกษาคิดว่ากล้ามเนื้อหดตัวได้อย่างไร จงอธิบาย
  2. คำถามที่ 2 การควบคุมการหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้อย่างไร
  3. คำถามที่ 3 เมื่อกล้ามเนื้อหดตัว หน่วยปฏิบัติการเพื่อการหดตัวของกล้ามเนื้อ มีปริมาตรคงที่ คุณคิดว่าเป็นเพราะเหตุใด
  4.   X1  แทน ความยาวของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อในขณะพัก    r1    แทน ครึ่งความสูงของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อในขณะพัก    X2  แทน ความยาวของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อในขณะหดตัว    r2    แทน ครึ่งความสูงของหน่วยปฏิบัติการย่อยของเส้นใยกล้ามเนื้อในขณะหดตัว
  5. คำถามที่ 4 เหตุใดคนที่เสียชีวิตไปสักค่อนวันแล้ว จึงมีร่างกายที่แข็งเกร็ง
  6. Lab ห้อง ก กลุ่ม2 คำถามที่ 5 การทำงานของกล้ามเนื้อได้พลังงานมาจากไหน
  7. ห้อง ข กลุ่ม ๒
  8. กล่ม 1 ห้อง ข
  9. กลุ่ม 1 ห้อง ก
  10. คำถาม เมื่อกล้ามเนื้อทำงาน ความยาวของกล้ามเนื้อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรได้บ้าง
  11. ห้อง ก รวม
  12. ห้อง ก ทั้งหมด