SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 8
Descargar para leer sin conexión
การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 65
บทที่ 8
มารยาทในการเข้าประชุม
เมื่อเราได้มีการติดต่อสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับกลุ่มชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในที่ทํางานเดียวกันใน
สถาบันการศึกษา ในองค์กร สมาคม สโมสร ฯลฯ ซึ่งเป็นการทํางานร่วมกันระหว่างกลุ่มคนหลายคนแล้ว ย่อม
ต้องมีการประชุม เพื่อกําหนดนัดให้ทุกคนที่ทํางานร่วมกันมาพูดคุยกัน เพื่อให้การดําเนินงานใด ๆ มีความ
ประสานสอดคล้อง หรืออาจจะเป็นการประชุมเพื่อขอข้อสรุปข้อชี้แนะ ขอความคิดเห็นเพื่อนําไปปฏิบัติงานใด
ๆ ต่อไป ปัญหาในการประชุมที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ได้แก่
1. บางคนเป็นกรรมการอยู่หลายแห่ง วันหนึ่ง ๆ ไม่ต้องทําอะไร นั่งประชุมที่นั้นบ้าง ที่นี้บ้าง เสียทั้ง
งานส่วนตัวและเสียทั้งส่วนรวม บางที ไม่มีเวลาอ่านหัวข้อประชุมด้วยซ้ําไป
2. บางคนมีงานมาก จึงต้องส่งผู้แทนไปประชุมแทน เกิดผลเสีย คือ ไม่ได้ความคิดเห็นจากกรรมการ
ส่วนคนไปประชุมแทนก็ไม่กล้าตัดสินใจในบางเรื่อง
3. ในที่ประชุม กรรมการบางคนพูดมากเกินไป โดยมีความอยากเด่น หรือแสดงว่าตนฉลาดเฉียบ
แหลมเพียงคนเดียว บางคนก็พูดน้อยหรือไม่พูดเลย ได้แต่ยกมือลงมติไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ อันเป็น
คุณประโยชน์แก่การประชุมเลย
4. ความถือชั้นวรรณะในคณะกรรมการ ประธานมักเป็นผู้มีทรัพย์มาก และกรรมการอื่นๆ ก็เกรงใจ
มติต่างๆ มักเอนเอียงไปตามความเห็นของประธาน ซึ่งอาจถูกบ้างผิดบ้าง ถ้ารองประธานทําหน้าที่แทน
กรรมการก็มักจะมาประชุมน้อย
5. กรณีที่มีเบี้ยประชุม หรือมีสิทธิพิเศษบางประการ ก็มักจะมีการวิ่งเต้นหาเสียงสนับสนุนทําให้ได้
กรรมการที่ไม่เหมาะสมแก่งาน ส่วนคนที่มีความสามารถ แต่ขาดปัจจัยในการวิ่งเต้นก็เลยพลาดโอกาส
องค์การนั้นจึงเจริญยาก
การประชุมที่ไม่ได้ผล
1. ผู้จัดให้มีการประชุมมุ่งผลประโยชน์มากเกินไป จนลืมนึกถึงขีดความสามารถของกรรมการหรือผู้
เข้าประชุม เช่น ประชุมขอบริจาคเงิน
2. ผู้จัดให้มีการประชุมขาดความรู้ หรือความรอบคอบในลักษณะและทัศคติของผู้เข้าประชุม เช่น
อาชีพ เพศ อายุ การศึกษา ทัศนคติ ฯลฯ
3. การประชุมนั้นมีแต่บรรยาย ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมได้แสดงความคิดเห็น
4. ประธานที่ประชุม ขาดความรู้และประสบการณ์ในหน้าที่ของประธาน เช่น ควบคุมการประชุม
ไม่ได้ กรรมการไม่มีระเบียบ ประธานขาดข้อสรุป บางทีประธานไม่ฟังเสียงมติ ประธานลงมติเสียเอง
หน้า 66   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 
5. ผู้เข้าประชุมไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายของการประชุม หรืออภิปรายนอกเรื่อง
6. ผู้เข้าประชุมขาดมารยาทในการประชุม เช่น พูดแซงในขณะที่คนอื่นกําลังอภิปรายหรือนั่งคุยกัน
จนลืมนึกว่ากําลังประชุมอยู่
ประเภทต่าง ๆ ของการประชุม
1. การประชุมร่วม
ทุกคนเป็นทั้งผู้อภิปรายและเป็นผู้ฟังด้วย เป็นการประชุมที่มีคนเข้าประชุมไม่มากนัก เช่น
ประชุมคณะกรรมการ วัตถุประสงค์ในการประชุมแบบนี้ต้องการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการระดมสมอง ดังนั้น
ผู้เข้าร่วมประชุมจึงมักเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ โดยถูกคัดเลือกมาจากกลุ่มต่าง ๆ
ขั้นตอนที่จะดําเนินงาน
1.1 ประธานเปิดประชุม แล้วนําปัญหามาเสนอที่ประชุม
1.2 จากนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมอภิปราย ซักถามเสนอความคิดเห็น
1.3 ลงมติ ซึ่งอาจจะตกลงกันหรือมีระเบียบข้อบังคับว่าเป็นคะแนนลับ และเปิดเผยก็ได้
1.4 เลขานุการต้องจดรายงานการประชุมไว้ เพื่อจัดทํารายงานการประชุมเสนอให้ผู้เข้าประชุม
รับรองในการประชุมคราวถัดไป
1.5 มารยาทในการประชุม
1.5.1 เมื่อประธานเข้าห้องประชุมควรลุกขึ้นยืนเพื่อให้เกียรติแก่ประธาน
1.5.2 ก่อนจะขอพูด ผู้ร่วมประชุมจะต้องยกมือขอเสียก่อน เมื่อประธานอนุญาตจึงพูดได้
1.5.3 ไม่พูดแทรกในขณะที่มีผู้อื่นกําลังอภิปรายอยู่
1.5.4 ไม่พูดคุยกันจนหน้าเกลียดหรือไร้มารยาท
1.5.5 หากมีความจําเป็นจะลุกออกไปนอกห้องประชุมก็ดี หรือจะเข้ามาในห้องก็ดี ควรยืน
ตรงโค้งคํานับให้ประธานทุกครั้ง
มารยาทของประธาน
1. รับการทําความเคารพ เมื่อเดินเข้าห้องประชุม
2. การกล่าวเปิดประชุม ไม่จําเป็นต้องกล่าวขออนุญาตเปิดประชุม กล่าวเพียงสั้นๆว่า
“ท่านกรรมการที่เคารพ บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดประชุม”
3. จากนั้นก็พิจารณาเรื่องที่ประชุมกําหนด
4. ปกติระเบียบวาระนั้นจัดโดยเลขานุการร่วมกับประธานเรียงลําดับ ดังนี้
4.1 เรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
4.2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 67
4.3 เรื่องที่จะประชุมในคราวนี้ จําแนกเป็นเรื่อง ๆ ไป
4.4 เรื่องอื่นๆ ถ้ามี
4.5 ปิดประชุม
5. รักษาเวลา เช่น กําหนดประชุมสองชั่วโมง ก็ต้องปิดประชุมเมื่อครบ 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน
เวลาถ้ายังไม่หมดเรื่องให้ยกเลื่อนไปประชุมคราวหน้า
6. ประธานต้องให้ความเสมอภาคในการอภิปราย คือให้กรรมการได้มีโอกาสพูดตามที่เขา
ประสงค์จะพูด
7. ประธานต้องไม่ออกความเห็นเอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
8. ถ้าเห็นว่าการประชุมจะขาดระเบียบ ก็ให้ประธานหยุดเรื่องที่โต้เถียงกัน แล้วนําเรื่องอื่น
มาอภิปรายกันใหม่
9. เมื่อมีการลงมติแล้ว ผลคะแนนเท่ากันให้ประธานลงคะแนนตัดสินชี้ขาด
2. การประชุมแบบอภิปราย
แยกได้ 6 ชนิดคือ
2.1 บรรยายและอภิปราย
2.2 คณะผู้อภิปราย
2.3 การบรรยายรวมขั้นตอนทางวิชาการ
2.4 การสัมมนา
2.5 การโต้วาที
2.6 การประชุมกลุ่มอภิปราย
2.1 บรรยายและอภิปราย มีการบรรยาย หลังบรรยายแล้วมีการเปิดอภิปราย หรือซักถามได้
2.2 คณะผู้อภิปราย การประชุมชนิดนี้แทนที่จะใช้ผู้บรรยายเพียงคนเดียวเหมือน แบบที่ 1 แต่
กลับใช้ผู้บรรยายหลายคน (4-8 คน) โดยมีประธานและคณะผู้อภิปราย
ประธานจะต้องกล่าวต้อนรับผู้ฟัง และแนะนําผู้ที่จะอภิปรายเป็นรายบุคคล จากนั้นก็
กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการอภิปราย ซึ่งมีหัวข้อเรื่องไว้ การอภิปรายให้ผู้ร่วมอภิปรายพูดออกความเห็นจะเป็น
เรื่องเดียวกันหรือพูดคนละเรื่องก็ได้ ใช้เวลาไม่มากนัก (เช่น คนละ 10 นาที) ประธานต้องนําข้อสงสัยซักถามผู้
อภิปราย และเปิดโอกาสให้คนฟังมีส่วนร่วมซักถามได้ด้วย สุดท้ายประธานต้องสรุปผลการอภิปราย
2.3 การบรรยายรวมขั้นตอนทางวิชาการ วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการโดยเฉพาะแก่
ผู้ฟัง ไม่ใช่ปัญหาทั่วไปอย่างชนิดที่ 2 การดําเนินการก็คล้ายคลึงกับชนิดที่ 2
หน้า 68   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 
2.4 การสัมมนา การสัมมนานั้นความประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาทุกคนแสดงความคิดเห็นโดย
มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้แนะนํา ระยะแรก ๆ จะร่วมประชุมใหญ่ เมื่อได้เค้าเรื่องจึงอาจแยกกลุ่ม เพื่อให้ไประดม
สมองเป็นเรื่อง ๆ ไป แล้วนํามาสรุปผลเสนอที่ประชุมใหญ่ที่เหนือขึ้นไป ซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย
2.5 การโต้วาที เป็นการอภิปรายของคน 2 กลุ่ม ซึ่งมีความเห็นขัดแย้งกันฝ่ายละประมาณ
2-4 คน วิธีการมีดังนี้
2.5.1 ประธาน ต้องแนะนําผู้อภิปรายเป็นรายบุคคล
2.5.2 ประธาน ต้องชี้แจงหัวข้ออภิปราย วิธีการอภิปราย
2.5.3 ตั้งกรรมการตัดสิน
2.6 การประชุมกลุ่มอภิปราย เป็นการประชุมอภิปรายที่มีสมาชิกไม่ควรเกิน 20 คน เพื่อ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่มีการแยกกลุ่ม ปกติไม่มีการลงมติ (เว้นกรณีบางเรื่องที่จําเป็น ) เลขานุการจด
ข้อมูลแสดงความคิดเห็นของแต่ละคน เพื่อเสนอกรรมการใหญ่ต่อไป
หน้าที่ของผู้เข้าร่วมประชุม
1. แต่งกายสุภาพ
2. เข้าห้องประชุมก่อนเวลา ไม่ควรเข้าช้า
3. การเข้าและการออกจากห้องประชุม ควรทําความเคารพผู้เป็นประธานทุกครั้งไม่ควร เดินเข้า
หรือออกไปเฉย ๆ
4. นั่งฟังด้วยความตั้งใจ เมื่อคนอื่นพูด
5. จดบันทึกการพูดของผู้อื่นด้วย จะได้ทราบว่าพูดเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง
6. เมื่อต้องการพูดหรือแสดงความคิดเห็นควรยกมือ
7. อย่าพูดนอกเรื่อง พยายามพูดให้เข้าประเด็น และทําให้การประชุมดําเนินไปสู่เป้าหมายด้วยดี
8. ควรพูดให้ได้ยินทั่วถึงกัน
9. น้ําเสียงและสําเนียงที่พูดสุภาพไม่กระแทกหรือตะโกน
10. ควรโต้เถียงเพื่อด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อเอาชนะกัน
11. กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่นั่งเฉยๆ โดยไม่ยอมพูดอะไรเลย
12. กล้าที่จะออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้าน เพื่อให้เรื่องเป็นไปโดยถูกต้อง
13. อย่าแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เมื่อมีคนไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน
14. อย่าถ่วงเวลายืดเยื้อ เมื่อเห็นว่าเรื่องควรยุติได้แล้ว
15. ไม่นั่งหลับ
16. ไม่ทําเสียงรบกวน เช่น นั่งผิวปากเล่น ตัดเล็บ หักนิ้วมือ เขย่าขา
การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 69
17. ถ้ามีคนอื่นพูดนอกเรื่อง หาวิธีทําให้เรื่องดําเนินเข้ารูปตามเดิมด้วยวิธีนุ่มนวล
18. ไม่ควรสูบบุหรี่ในที่ประชุม เว้นแต่ในที่ประชุมจะจัดไว้ให้
19. อย่าทําให้ห้องประชุมสกปรก เช่น เขี่ยบุหรี่ลงพื้น ขยุ้มกระดาษลงพื้น
20. ไม่ออกจากห้องประชุม ในขณะที่การประชุมยังไม่เสร็จสิ้น
หน้าที่ของผู้ดําเนินการอภิปราย
1. วางแผนการอภิปรายร่วมกันกับวิทยากรที่เชิญมาอภิปราย เช่น ปรึกษาหารือถึงแบบของการ
อภิปราย การจัดแบ่งหัวข้อ การจัดลําดับการพูด การวางโครงเรื่อง และกําหนดเวลาในการพูดของแต่ละคน
เป็นต้น ถ้าเป็นไปได้ควรขอร้องให้ผู้อภิปรายเตรียมเอกสาร จําหน่ายจ่ายแจกแก่ผู้เข้าสัมมนาด้วย
2. นําวิทยากรขึ้นนั่งประจําที่บนเวทีเมื่อถึงเวลาอภิปราย
3. กล่าวเปิดการอภิปราย และอารัมภบทเกี่ยวกับหัวข้อที่จะอภิปราย เช่น อาจกล่าวถึงความเป็นมา
หรือความจําเป็นที่ต้องจัดอภิปรายหัวข้อในครั้งนั้น ๆ และอาจอธิบายวิธีการดําเนินการอภิปรายที่จะใช้ต่อไป
4. กล่าวแนะนําวิทยากรตามลําดับ ปกติจะเริ่มทางด้านซ้ายมือก่อนเรียงไปตามลําดับ การแนะนํา
ควรให้ความรู้เกี่ยวกับตัววิทยากร แก่ผู้ฟังด้วย เช่น ตําแหน่งหน้าที่การงาน คุณวุฒิ ความสามารถพิเศษ โดย
เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับการอภิปรายเป็นสําคัญ
5. เชิญให้วิทยากรแต่ละคนอภิปราย
6. ขณะที่วิทยากรแต่ละคนกําลังอภิปราย ผู้ดําเนินการอภิปรายควรจดบันทึกประเด็นสําคัญเอาไว้
เพื่อใช้ในการกล่าวสรุป และการกล่าวเชื่อมโยงการอภิปราย
7. เมื่อวิทยากรแต่ละคนพูดจบ ควรกล่าวสรุปสาระสําคัญพร้อมทั้งกล่าวเชื่อมโยงความคิดไปยัง
วิทยากรคนถัดไปที่จะเชิญให้อภิปราย
8. เมื่อวิทยากรพูดครบทุกคนแล้ว อาจเชิญให้พูดรอบสองอีกครั้งหนึ่งถ้ามีเวลาเหลือพอเพียงแต่เชิญ
ให้วิทยากรบางท่านเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเท่านั้นก็ได้
9. เปิดโอกาสถามคําถามหรือร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปราย
10. เชิญให้วิทยากรตอบคําถามหรือความคิดเห็นของผู้ฟัง โดยพิจารณาตามความเหมาะสมว่าควรจะ
ให้วิทยากรคนใดเป็นผู้ตอบในเรื่องใด
11. กล่าวสรุปผลการอภิปราย โดยเน้นคุณค่าอันจะเป็นประโยชน์ต่อไป
12. กล่าวขอบคุณวิทยากรและผู้ฟัง แล้วกล่าวปิดอภิปราย
หน้าที่ของวิทยากรในที่ประชุมใหญ่
วิทยากรซึ่งได้รับเชิญให้มาบรรยายหรืออภิปราย เสริมความรู้และความคิดให้แก่สมาชิกผู้เข้าสัมมนา
ในที่ประชุมใหญ่ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
หน้า 70   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 
1. เตรียมตัวหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สัมมนาและหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้ไปพูด
2. เตรียมเอกสารประกอบคําบรรยายหรือคําอภิปรายสําหรับแจกแก่สมาชิกทุกคน
3. เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น เครื่องบันทึกเสียง ภาพนิ่ง แผนภูมิ แผ่นใส
4. พยายามพูดให้ตรงประเด็นที่ได้รับเชิญให้มาพูด
5. พยายามให้ความรู้ความคิด ซึ่งสมาชิกสามารถนําเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการแบ่งกลุ่มสัมมนา
และการเอาไปใช้ประโยชน์ในภายภาคหน้า
6. พยายามระลึกอยู่เสมอว่า เวลาของผู้ฟังมีค่ามาก ควรพูดในเรื่องที่มีคุณค่าต่อสาระสําคัญ
หน้าที่ของพิธีกรในที่ประชุมใหญ่
พิธีกรเป็นบุคคลที่มีความสําคัญมากผู้หนึ่งในการดําเนินการสัมมนาในที่ประชุมใหญ่ พิธีกรมีหน้าที่
ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่จัดสัมมนา โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา
2. ศึกษาขั้นตอนในการดําเนินการสัมมนาให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อจะได้สามารถทําหน้าที่ได้ถูกต้อง
3. ประสานงานระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมสัมมนากับคณะกรรมการดําเนินการสัมมนาตลอดจน
ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ
4. ประชาสัมพันธ์วิธีการจัดสัมมนาให้สมาชิกได้ทราบ และคอยชี้แจงข้อข้องใจของสมาชิกในเรื่อง
ทั่ว ๆ ไป
5. เป็นผู้ประกาศกิจกรรมที่จะกระทําในช่วงเวลาต่าง ๆ
6. ในการจัดเชิญวิทยากรมาบรรยายเสริมความรู้แก่สมาชิก พิธีกรต้องทําหน้าที่แนะนําวิทยากรให้
สมาชิกได้รู้จักด้วย
7. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีบุคลิกเป็นกันเองกับสมาชิก และมีความสามารถทําให้บรรยากาศของ
การประชุมคลายความเคร่งเครียดลงได้บ้าง
หน้าที่ของวิทยากรประจํากลุ่มสัมมนา
วิทยากรประจํากลุ่มมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เตรียมศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สัมมนา โดยเฉพาะหัวข้อสัมมนาของกลุ่มที่ตนเองต้องเป็น
วิทยากรประจํากลุ่ม
2. เปิดการประชุมกลุ่มเมื่อถึงเวลาที่กําหนดไว้ในตารางสัมมนา
3. กล่าวนําเข้าสู่หัวข้อสัมมนา เพื่อเร้าความสนใจของสมาชิกในกลุ่มให้เตรียมพร้อมที่จะร่วมกัน
ทํางานต่อไป
การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 71
4. ชี้แจงหัวข้อสัมมนาให้สมาชิกเข้าใจตรงกัน บางครั้งอาจจะต้องปูพื้นความรู้เกี่ยวกับหัวข้อสัมมนา
ให้แก่สมาชิกด้วย
5. ดําเนินการให้สมาชิกในกลุ่มได้เลือกตั้งประธานและเลขานุการ บางครั้ง อาจให้มีตําแหน่งรอง
ประธาน และผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ถ้าหากสมาชิกมากพอสมควร และมีเรื่องที่จะต้องสัมมนากันมาก ๆ
6. มอบหมายการทําหน้าที่ประชุมกลุ่มสัมมนาให้แก่สมาชิกที่ช่วยกันคัดเลือกได้แล้วตามปกติ
วิทยากรประจํากลุ่มไม่ต้องร่วมอภิปรายด้วยเป็นแต่เพียงคอยประคับประคองให้การสัมมนาเป็นไปอย่าง
เรียบร้อยและบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้
หน้าที่ประธานกลุ่มสัมมนา
ประธานกลุ่มสัมมนามีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. พยายามกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อหาข้อยุติในการ
แก้ปัญหาหรือข้อที่ต้องปฏิบัติต่อไป
2. พยายามกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลาโดยไม่
ปล่อยให้สมาชิกเอากิจกรรมอย่างอื่นมาทําในขณะที่สัมมนาหรือนั่งหลับ
3. ควบคุมการสัมมนาให้อยู่ในขอบเขตของหัวข้อสัมมนา และจะต้องพยายามหาทางยุติการประชุม
พร้อมทั้งสรุปผลให้ได้ตามเวลาที่กําหนดไว้
4. ทําหน้าที่สรุปความคิดเห็นของสมาชิกแต่ละคน ออกมาเป็น “มติ” ของกลุ่มที่ทุกคนในกลุ่ม
ยอมรับ
5. ในกรณีที่สมาชิกมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ประธานต้องหาทางประนีประนอมทางความคิดให้
ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น เหตุผลของใครดีมีน้ําหนักมากกว่า คนอื่นก็ควรจะยอมรับ ประธานควรพยายาม
หลีกเลี่ยงการใช้วิธีลงคะแนนเสียง เพราะไม่ทําให้ความคิดที่แตกแยกกลับมายินดีปรองดองกันได้
6. ประธานควรมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย กล่าวคือไม่ดําเนินการแบบเผด็จการ แต่ต้องยินดีรับ
ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยปัญหา และพยายามประสานความคิดของสมาชิกให้ได้ข้อ
ยุติที่มีคุณค่า
7. ทําหน้าที่รายงานผลการสัมมนาต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้รับเป็นผลการสัมมนาครั้งนั้นซึ่งบางครั้ง
อาจได้รับการซักถามหรือเสนอแนะให้ปรับปรุงเพื่อให้ความสมบูรณ์มากขึ้นก็ได้
หน้าที่ของเลขานุการกลุ่มสัมมนา
1. จดบันทึกการประชุมตามรูปแบบที่เป็นทางการโดยเฉพาะข้อยุติต่าง ๆ ควรเขียนให้ชัดเจนพอที่
คนอื่นอ่านแล้วจะเข้าใจได้
หน้า 72   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development) 
2. อาจต้องทําหน้าที่เขียนกระดานดํา หรือใช้เครื่องโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการประชุม ใน
กรณีนี้อาจให้ผู้ช่วยทําหน้าที่แทนก็ได้ เพื่อตนจะได้ทําหน้าที่บันทึกการประชุมได้สะดวก
3. ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อสัมมนา
4. อ่านบันทึกการประชุมให้สมาชิกฟังเพื่อรับรองว่ามีความถูกต้องไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
5. ทํารายงานการประชุมกลุ่มให้เรียบร้อยทันเวลาและส่งมอบเจ้าหน้าที่ เพื่อพิมพ์สําเนาแจกจ่ายแก่
สมาชิกทั้งหมดในที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้ทุกคนได้พิจารณาผลงานของแต่ละกลุ่ม
6. ขณะที่ประธานรายงานผลการสัมมนาต่อที่ประชุมใหญ่ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เลขานุการต้องคอยจดบันทึกให้เรียบร้อย
7. ทําหน้าที่ให้บริการแก่สมาชิกในกลุ่มในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น แจกเอกสารและเครื่องเขียน
หน้าที่ของสมาชิกกลุ่มสัมมนา
สมาชิกของกลุ่มสัมมนา หรือบางทีเรียกว่า “สัมมนาสมาชิก” มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. เข้าประชุมกลุ่มตามความสนใจ หรือตามที่ผู้จัดสัมมนาได้กําหนดไว้แล้ว
2. เลือกผู้ที่จะทําหน้าที่ ประธาน รองประธาน เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ
3. ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อสัมมนา
4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5. ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อเห็นว่ามีเหตุผลดีกว่าของตน
6. เตรียมศึกษาหาความรู้มาล่วงหน้า
7. ไม่ทํากิจกรรมอย่างอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องในขณะร่วมสัมมนา
8. ไม่แสดงความคิดเห็นออกนอกประเด็นที่กําลังสัมมนากันอยู่ เพราะจะทําให้สมาชิกอื่นมีความ
รําคาญและการสัมมนาไม่เสร็จทันเวลา
9. ในที่ประชุมสมาชิกอาจแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในหัวข้อที่ตนสัมมนาอีกก็ได้ เพราะอาจได้
ความคิดใหม่ๆ หลังจากที่ได้ฟังผู้อื่นอภิปรายแล้ว

Más contenido relacionado

Similar a มารยาทการเข้าประชุม

บทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
บทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มบทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
บทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มAj.Mallika Phongphaew
 
teaching 2
teaching 2teaching 2
teaching 2sangkom
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่มJunya Punngam
 
Chapter 9 environment for design thinking
Chapter 9 environment for design thinkingChapter 9 environment for design thinking
Chapter 9 environment for design thinkingTeetut Tresirichod
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2powe1234
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือSukanya Burana
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือSukanya Burana
 
บทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายบทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายAj.Mallika Phongphaew
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsawชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ JigsawKrutanapron Nontasaen
 
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานpharthid
 
Chapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinkingChapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinkingTeetut Tresirichod
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบPum Pep
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบPum Pep
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีkorakate
 

Similar a มารยาทการเข้าประชุม (20)

บทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
บทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มบทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
บทที่ 8 การสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม
 
Sum scbf
Sum scbfSum scbf
Sum scbf
 
teaching 2
teaching 2teaching 2
teaching 2
 
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่มเทคนิคการสอน  กระบวนการกลุ่ม
เทคนิคการสอน กระบวนการกลุ่ม
 
Chapter 9 environment for design thinking
Chapter 9 environment for design thinkingChapter 9 environment for design thinking
Chapter 9 environment for design thinking
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
การพูดอภิปราย
การพูดอภิปรายการพูดอภิปราย
การพูดอภิปราย
 
การพูดอภิปราย
การพูดอภิปรายการพูดอภิปราย
การพูดอภิปราย
 
บทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปรายบทที่ 9 การอภิปราย
บทที่ 9 การอภิปราย
 
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsawชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบ Jigsaw
 
201704_cognitive_weapon
201704_cognitive_weapon201704_cognitive_weapon
201704_cognitive_weapon
 
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงานขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน
ขั้นตอนการพัฒนาโครงงาน
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
Chapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinkingChapter 3 mindsets of design thinking
Chapter 3 mindsets of design thinking
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
 
ออกแบบ
ออกแบบออกแบบ
ออกแบบ
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทยโครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
จะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดีจะทำโครงงานอะไรดี
จะทำโครงงานอะไรดี
 

มารยาทการเข้าประชุม

  • 1. การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 65 บทที่ 8 มารยาทในการเข้าประชุม เมื่อเราได้มีการติดต่อสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับกลุ่มชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคนในที่ทํางานเดียวกันใน สถาบันการศึกษา ในองค์กร สมาคม สโมสร ฯลฯ ซึ่งเป็นการทํางานร่วมกันระหว่างกลุ่มคนหลายคนแล้ว ย่อม ต้องมีการประชุม เพื่อกําหนดนัดให้ทุกคนที่ทํางานร่วมกันมาพูดคุยกัน เพื่อให้การดําเนินงานใด ๆ มีความ ประสานสอดคล้อง หรืออาจจะเป็นการประชุมเพื่อขอข้อสรุปข้อชี้แนะ ขอความคิดเห็นเพื่อนําไปปฏิบัติงานใด ๆ ต่อไป ปัญหาในการประชุมที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ได้แก่ 1. บางคนเป็นกรรมการอยู่หลายแห่ง วันหนึ่ง ๆ ไม่ต้องทําอะไร นั่งประชุมที่นั้นบ้าง ที่นี้บ้าง เสียทั้ง งานส่วนตัวและเสียทั้งส่วนรวม บางที ไม่มีเวลาอ่านหัวข้อประชุมด้วยซ้ําไป 2. บางคนมีงานมาก จึงต้องส่งผู้แทนไปประชุมแทน เกิดผลเสีย คือ ไม่ได้ความคิดเห็นจากกรรมการ ส่วนคนไปประชุมแทนก็ไม่กล้าตัดสินใจในบางเรื่อง 3. ในที่ประชุม กรรมการบางคนพูดมากเกินไป โดยมีความอยากเด่น หรือแสดงว่าตนฉลาดเฉียบ แหลมเพียงคนเดียว บางคนก็พูดน้อยหรือไม่พูดเลย ได้แต่ยกมือลงมติไม่ได้แสดงความคิดเห็นใด ๆ อันเป็น คุณประโยชน์แก่การประชุมเลย 4. ความถือชั้นวรรณะในคณะกรรมการ ประธานมักเป็นผู้มีทรัพย์มาก และกรรมการอื่นๆ ก็เกรงใจ มติต่างๆ มักเอนเอียงไปตามความเห็นของประธาน ซึ่งอาจถูกบ้างผิดบ้าง ถ้ารองประธานทําหน้าที่แทน กรรมการก็มักจะมาประชุมน้อย 5. กรณีที่มีเบี้ยประชุม หรือมีสิทธิพิเศษบางประการ ก็มักจะมีการวิ่งเต้นหาเสียงสนับสนุนทําให้ได้ กรรมการที่ไม่เหมาะสมแก่งาน ส่วนคนที่มีความสามารถ แต่ขาดปัจจัยในการวิ่งเต้นก็เลยพลาดโอกาส องค์การนั้นจึงเจริญยาก การประชุมที่ไม่ได้ผล 1. ผู้จัดให้มีการประชุมมุ่งผลประโยชน์มากเกินไป จนลืมนึกถึงขีดความสามารถของกรรมการหรือผู้ เข้าประชุม เช่น ประชุมขอบริจาคเงิน 2. ผู้จัดให้มีการประชุมขาดความรู้ หรือความรอบคอบในลักษณะและทัศคติของผู้เข้าประชุม เช่น อาชีพ เพศ อายุ การศึกษา ทัศนคติ ฯลฯ 3. การประชุมนั้นมีแต่บรรยาย ไม่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมได้แสดงความคิดเห็น 4. ประธานที่ประชุม ขาดความรู้และประสบการณ์ในหน้าที่ของประธาน เช่น ควบคุมการประชุม ไม่ได้ กรรมการไม่มีระเบียบ ประธานขาดข้อสรุป บางทีประธานไม่ฟังเสียงมติ ประธานลงมติเสียเอง
  • 2. หน้า 66   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  5. ผู้เข้าประชุมไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายของการประชุม หรืออภิปรายนอกเรื่อง 6. ผู้เข้าประชุมขาดมารยาทในการประชุม เช่น พูดแซงในขณะที่คนอื่นกําลังอภิปรายหรือนั่งคุยกัน จนลืมนึกว่ากําลังประชุมอยู่ ประเภทต่าง ๆ ของการประชุม 1. การประชุมร่วม ทุกคนเป็นทั้งผู้อภิปรายและเป็นผู้ฟังด้วย เป็นการประชุมที่มีคนเข้าประชุมไม่มากนัก เช่น ประชุมคณะกรรมการ วัตถุประสงค์ในการประชุมแบบนี้ต้องการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการระดมสมอง ดังนั้น ผู้เข้าร่วมประชุมจึงมักเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ โดยถูกคัดเลือกมาจากกลุ่มต่าง ๆ ขั้นตอนที่จะดําเนินงาน 1.1 ประธานเปิดประชุม แล้วนําปัญหามาเสนอที่ประชุม 1.2 จากนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมอภิปราย ซักถามเสนอความคิดเห็น 1.3 ลงมติ ซึ่งอาจจะตกลงกันหรือมีระเบียบข้อบังคับว่าเป็นคะแนนลับ และเปิดเผยก็ได้ 1.4 เลขานุการต้องจดรายงานการประชุมไว้ เพื่อจัดทํารายงานการประชุมเสนอให้ผู้เข้าประชุม รับรองในการประชุมคราวถัดไป 1.5 มารยาทในการประชุม 1.5.1 เมื่อประธานเข้าห้องประชุมควรลุกขึ้นยืนเพื่อให้เกียรติแก่ประธาน 1.5.2 ก่อนจะขอพูด ผู้ร่วมประชุมจะต้องยกมือขอเสียก่อน เมื่อประธานอนุญาตจึงพูดได้ 1.5.3 ไม่พูดแทรกในขณะที่มีผู้อื่นกําลังอภิปรายอยู่ 1.5.4 ไม่พูดคุยกันจนหน้าเกลียดหรือไร้มารยาท 1.5.5 หากมีความจําเป็นจะลุกออกไปนอกห้องประชุมก็ดี หรือจะเข้ามาในห้องก็ดี ควรยืน ตรงโค้งคํานับให้ประธานทุกครั้ง มารยาทของประธาน 1. รับการทําความเคารพ เมื่อเดินเข้าห้องประชุม 2. การกล่าวเปิดประชุม ไม่จําเป็นต้องกล่าวขออนุญาตเปิดประชุม กล่าวเพียงสั้นๆว่า “ท่านกรรมการที่เคารพ บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดประชุม” 3. จากนั้นก็พิจารณาเรื่องที่ประชุมกําหนด 4. ปกติระเบียบวาระนั้นจัดโดยเลขานุการร่วมกับประธานเรียงลําดับ ดังนี้ 4.1 เรื่องที่ประธานจะแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 4.2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่แล้ว
  • 3. การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 67 4.3 เรื่องที่จะประชุมในคราวนี้ จําแนกเป็นเรื่อง ๆ ไป 4.4 เรื่องอื่นๆ ถ้ามี 4.5 ปิดประชุม 5. รักษาเวลา เช่น กําหนดประชุมสองชั่วโมง ก็ต้องปิดประชุมเมื่อครบ 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน เวลาถ้ายังไม่หมดเรื่องให้ยกเลื่อนไปประชุมคราวหน้า 6. ประธานต้องให้ความเสมอภาคในการอภิปราย คือให้กรรมการได้มีโอกาสพูดตามที่เขา ประสงค์จะพูด 7. ประธานต้องไม่ออกความเห็นเอนเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง 8. ถ้าเห็นว่าการประชุมจะขาดระเบียบ ก็ให้ประธานหยุดเรื่องที่โต้เถียงกัน แล้วนําเรื่องอื่น มาอภิปรายกันใหม่ 9. เมื่อมีการลงมติแล้ว ผลคะแนนเท่ากันให้ประธานลงคะแนนตัดสินชี้ขาด 2. การประชุมแบบอภิปราย แยกได้ 6 ชนิดคือ 2.1 บรรยายและอภิปราย 2.2 คณะผู้อภิปราย 2.3 การบรรยายรวมขั้นตอนทางวิชาการ 2.4 การสัมมนา 2.5 การโต้วาที 2.6 การประชุมกลุ่มอภิปราย 2.1 บรรยายและอภิปราย มีการบรรยาย หลังบรรยายแล้วมีการเปิดอภิปราย หรือซักถามได้ 2.2 คณะผู้อภิปราย การประชุมชนิดนี้แทนที่จะใช้ผู้บรรยายเพียงคนเดียวเหมือน แบบที่ 1 แต่ กลับใช้ผู้บรรยายหลายคน (4-8 คน) โดยมีประธานและคณะผู้อภิปราย ประธานจะต้องกล่าวต้อนรับผู้ฟัง และแนะนําผู้ที่จะอภิปรายเป็นรายบุคคล จากนั้นก็ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการอภิปราย ซึ่งมีหัวข้อเรื่องไว้ การอภิปรายให้ผู้ร่วมอภิปรายพูดออกความเห็นจะเป็น เรื่องเดียวกันหรือพูดคนละเรื่องก็ได้ ใช้เวลาไม่มากนัก (เช่น คนละ 10 นาที) ประธานต้องนําข้อสงสัยซักถามผู้ อภิปราย และเปิดโอกาสให้คนฟังมีส่วนร่วมซักถามได้ด้วย สุดท้ายประธานต้องสรุปผลการอภิปราย 2.3 การบรรยายรวมขั้นตอนทางวิชาการ วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการโดยเฉพาะแก่ ผู้ฟัง ไม่ใช่ปัญหาทั่วไปอย่างชนิดที่ 2 การดําเนินการก็คล้ายคลึงกับชนิดที่ 2
  • 4. หน้า 68   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  2.4 การสัมมนา การสัมมนานั้นความประสงค์ก็เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาทุกคนแสดงความคิดเห็นโดย มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้แนะนํา ระยะแรก ๆ จะร่วมประชุมใหญ่ เมื่อได้เค้าเรื่องจึงอาจแยกกลุ่ม เพื่อให้ไประดม สมองเป็นเรื่อง ๆ ไป แล้วนํามาสรุปผลเสนอที่ประชุมใหญ่ที่เหนือขึ้นไป ซึ่งเป็นขั้นสุดท้าย 2.5 การโต้วาที เป็นการอภิปรายของคน 2 กลุ่ม ซึ่งมีความเห็นขัดแย้งกันฝ่ายละประมาณ 2-4 คน วิธีการมีดังนี้ 2.5.1 ประธาน ต้องแนะนําผู้อภิปรายเป็นรายบุคคล 2.5.2 ประธาน ต้องชี้แจงหัวข้ออภิปราย วิธีการอภิปราย 2.5.3 ตั้งกรรมการตัดสิน 2.6 การประชุมกลุ่มอภิปราย เป็นการประชุมอภิปรายที่มีสมาชิกไม่ควรเกิน 20 คน เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ไม่มีการแยกกลุ่ม ปกติไม่มีการลงมติ (เว้นกรณีบางเรื่องที่จําเป็น ) เลขานุการจด ข้อมูลแสดงความคิดเห็นของแต่ละคน เพื่อเสนอกรรมการใหญ่ต่อไป หน้าที่ของผู้เข้าร่วมประชุม 1. แต่งกายสุภาพ 2. เข้าห้องประชุมก่อนเวลา ไม่ควรเข้าช้า 3. การเข้าและการออกจากห้องประชุม ควรทําความเคารพผู้เป็นประธานทุกครั้งไม่ควร เดินเข้า หรือออกไปเฉย ๆ 4. นั่งฟังด้วยความตั้งใจ เมื่อคนอื่นพูด 5. จดบันทึกการพูดของผู้อื่นด้วย จะได้ทราบว่าพูดเรื่องอะไรไปแล้วบ้าง 6. เมื่อต้องการพูดหรือแสดงความคิดเห็นควรยกมือ 7. อย่าพูดนอกเรื่อง พยายามพูดให้เข้าประเด็น และทําให้การประชุมดําเนินไปสู่เป้าหมายด้วยดี 8. ควรพูดให้ได้ยินทั่วถึงกัน 9. น้ําเสียงและสําเนียงที่พูดสุภาพไม่กระแทกหรือตะโกน 10. ควรโต้เถียงเพื่อด้วยความถูกต้อง ไม่ใช่เพื่อเอาชนะกัน 11. กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่นั่งเฉยๆ โดยไม่ยอมพูดอะไรเลย 12. กล้าที่จะออกเสียงสนับสนุนหรือคัดค้าน เพื่อให้เรื่องเป็นไปโดยถูกต้อง 13. อย่าแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว เมื่อมีคนไม่เห็นด้วยหรือคัดค้าน 14. อย่าถ่วงเวลายืดเยื้อ เมื่อเห็นว่าเรื่องควรยุติได้แล้ว 15. ไม่นั่งหลับ 16. ไม่ทําเสียงรบกวน เช่น นั่งผิวปากเล่น ตัดเล็บ หักนิ้วมือ เขย่าขา
  • 5. การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 69 17. ถ้ามีคนอื่นพูดนอกเรื่อง หาวิธีทําให้เรื่องดําเนินเข้ารูปตามเดิมด้วยวิธีนุ่มนวล 18. ไม่ควรสูบบุหรี่ในที่ประชุม เว้นแต่ในที่ประชุมจะจัดไว้ให้ 19. อย่าทําให้ห้องประชุมสกปรก เช่น เขี่ยบุหรี่ลงพื้น ขยุ้มกระดาษลงพื้น 20. ไม่ออกจากห้องประชุม ในขณะที่การประชุมยังไม่เสร็จสิ้น หน้าที่ของผู้ดําเนินการอภิปราย 1. วางแผนการอภิปรายร่วมกันกับวิทยากรที่เชิญมาอภิปราย เช่น ปรึกษาหารือถึงแบบของการ อภิปราย การจัดแบ่งหัวข้อ การจัดลําดับการพูด การวางโครงเรื่อง และกําหนดเวลาในการพูดของแต่ละคน เป็นต้น ถ้าเป็นไปได้ควรขอร้องให้ผู้อภิปรายเตรียมเอกสาร จําหน่ายจ่ายแจกแก่ผู้เข้าสัมมนาด้วย 2. นําวิทยากรขึ้นนั่งประจําที่บนเวทีเมื่อถึงเวลาอภิปราย 3. กล่าวเปิดการอภิปราย และอารัมภบทเกี่ยวกับหัวข้อที่จะอภิปราย เช่น อาจกล่าวถึงความเป็นมา หรือความจําเป็นที่ต้องจัดอภิปรายหัวข้อในครั้งนั้น ๆ และอาจอธิบายวิธีการดําเนินการอภิปรายที่จะใช้ต่อไป 4. กล่าวแนะนําวิทยากรตามลําดับ ปกติจะเริ่มทางด้านซ้ายมือก่อนเรียงไปตามลําดับ การแนะนํา ควรให้ความรู้เกี่ยวกับตัววิทยากร แก่ผู้ฟังด้วย เช่น ตําแหน่งหน้าที่การงาน คุณวุฒิ ความสามารถพิเศษ โดย เน้นประเด็นที่เกี่ยวกับการอภิปรายเป็นสําคัญ 5. เชิญให้วิทยากรแต่ละคนอภิปราย 6. ขณะที่วิทยากรแต่ละคนกําลังอภิปราย ผู้ดําเนินการอภิปรายควรจดบันทึกประเด็นสําคัญเอาไว้ เพื่อใช้ในการกล่าวสรุป และการกล่าวเชื่อมโยงการอภิปราย 7. เมื่อวิทยากรแต่ละคนพูดจบ ควรกล่าวสรุปสาระสําคัญพร้อมทั้งกล่าวเชื่อมโยงความคิดไปยัง วิทยากรคนถัดไปที่จะเชิญให้อภิปราย 8. เมื่อวิทยากรพูดครบทุกคนแล้ว อาจเชิญให้พูดรอบสองอีกครั้งหนึ่งถ้ามีเวลาเหลือพอเพียงแต่เชิญ ให้วิทยากรบางท่านเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเท่านั้นก็ได้ 9. เปิดโอกาสถามคําถามหรือร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่อภิปราย 10. เชิญให้วิทยากรตอบคําถามหรือความคิดเห็นของผู้ฟัง โดยพิจารณาตามความเหมาะสมว่าควรจะ ให้วิทยากรคนใดเป็นผู้ตอบในเรื่องใด 11. กล่าวสรุปผลการอภิปราย โดยเน้นคุณค่าอันจะเป็นประโยชน์ต่อไป 12. กล่าวขอบคุณวิทยากรและผู้ฟัง แล้วกล่าวปิดอภิปราย หน้าที่ของวิทยากรในที่ประชุมใหญ่ วิทยากรซึ่งได้รับเชิญให้มาบรรยายหรืออภิปราย เสริมความรู้และความคิดให้แก่สมาชิกผู้เข้าสัมมนา ในที่ประชุมใหญ่ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • 6. หน้า 70   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  1. เตรียมตัวหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สัมมนาและหัวข้อที่ได้รับมอบหมายให้ไปพูด 2. เตรียมเอกสารประกอบคําบรรยายหรือคําอภิปรายสําหรับแจกแก่สมาชิกทุกคน 3. เตรียมอุปกรณ์ประกอบการพูด เช่น เครื่องบันทึกเสียง ภาพนิ่ง แผนภูมิ แผ่นใส 4. พยายามพูดให้ตรงประเด็นที่ได้รับเชิญให้มาพูด 5. พยายามให้ความรู้ความคิด ซึ่งสมาชิกสามารถนําเอาไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการแบ่งกลุ่มสัมมนา และการเอาไปใช้ประโยชน์ในภายภาคหน้า 6. พยายามระลึกอยู่เสมอว่า เวลาของผู้ฟังมีค่ามาก ควรพูดในเรื่องที่มีคุณค่าต่อสาระสําคัญ หน้าที่ของพิธีกรในที่ประชุมใหญ่ พิธีกรเป็นบุคคลที่มีความสําคัญมากผู้หนึ่งในการดําเนินการสัมมนาในที่ประชุมใหญ่ พิธีกรมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่จัดสัมมนา โดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา 2. ศึกษาขั้นตอนในการดําเนินการสัมมนาให้เข้าใจอย่างแท้จริง เพื่อจะได้สามารถทําหน้าที่ได้ถูกต้อง 3. ประสานงานระหว่างสมาชิกผู้เข้าร่วมสัมมนากับคณะกรรมการดําเนินการสัมมนาตลอดจน ผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ 4. ประชาสัมพันธ์วิธีการจัดสัมมนาให้สมาชิกได้ทราบ และคอยชี้แจงข้อข้องใจของสมาชิกในเรื่อง ทั่ว ๆ ไป 5. เป็นผู้ประกาศกิจกรรมที่จะกระทําในช่วงเวลาต่าง ๆ 6. ในการจัดเชิญวิทยากรมาบรรยายเสริมความรู้แก่สมาชิก พิธีกรต้องทําหน้าที่แนะนําวิทยากรให้ สมาชิกได้รู้จักด้วย 7. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีบุคลิกเป็นกันเองกับสมาชิก และมีความสามารถทําให้บรรยากาศของ การประชุมคลายความเคร่งเครียดลงได้บ้าง หน้าที่ของวิทยากรประจํากลุ่มสัมมนา วิทยากรประจํากลุ่มมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. เตรียมศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สัมมนา โดยเฉพาะหัวข้อสัมมนาของกลุ่มที่ตนเองต้องเป็น วิทยากรประจํากลุ่ม 2. เปิดการประชุมกลุ่มเมื่อถึงเวลาที่กําหนดไว้ในตารางสัมมนา 3. กล่าวนําเข้าสู่หัวข้อสัมมนา เพื่อเร้าความสนใจของสมาชิกในกลุ่มให้เตรียมพร้อมที่จะร่วมกัน ทํางานต่อไป
  • 7. การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)   หน้า 71 4. ชี้แจงหัวข้อสัมมนาให้สมาชิกเข้าใจตรงกัน บางครั้งอาจจะต้องปูพื้นความรู้เกี่ยวกับหัวข้อสัมมนา ให้แก่สมาชิกด้วย 5. ดําเนินการให้สมาชิกในกลุ่มได้เลือกตั้งประธานและเลขานุการ บางครั้ง อาจให้มีตําแหน่งรอง ประธาน และผู้ช่วยเลขานุการด้วยก็ได้ถ้าหากสมาชิกมากพอสมควร และมีเรื่องที่จะต้องสัมมนากันมาก ๆ 6. มอบหมายการทําหน้าที่ประชุมกลุ่มสัมมนาให้แก่สมาชิกที่ช่วยกันคัดเลือกได้แล้วตามปกติ วิทยากรประจํากลุ่มไม่ต้องร่วมอภิปรายด้วยเป็นแต่เพียงคอยประคับประคองให้การสัมมนาเป็นไปอย่าง เรียบร้อยและบรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้ หน้าที่ประธานกลุ่มสัมมนา ประธานกลุ่มสัมมนามีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. พยายามกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อหาข้อยุติในการ แก้ปัญหาหรือข้อที่ต้องปฏิบัติต่อไป 2. พยายามกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้มีส่วนอภิปรายร่วมแสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ ปล่อยให้สมาชิกเอากิจกรรมอย่างอื่นมาทําในขณะที่สัมมนาหรือนั่งหลับ 3. ควบคุมการสัมมนาให้อยู่ในขอบเขตของหัวข้อสัมมนา และจะต้องพยายามหาทางยุติการประชุม พร้อมทั้งสรุปผลให้ได้ตามเวลาที่กําหนดไว้ 4. ทําหน้าที่สรุปความคิดเห็นของสมาชิกแต่ละคน ออกมาเป็น “มติ” ของกลุ่มที่ทุกคนในกลุ่ม ยอมรับ 5. ในกรณีที่สมาชิกมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน ประธานต้องหาทางประนีประนอมทางความคิดให้ ยอมรับฟังเหตุผลของผู้อื่น เหตุผลของใครดีมีน้ําหนักมากกว่า คนอื่นก็ควรจะยอมรับ ประธานควรพยายาม หลีกเลี่ยงการใช้วิธีลงคะแนนเสียง เพราะไม่ทําให้ความคิดที่แตกแยกกลับมายินดีปรองดองกันได้ 6. ประธานควรมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย กล่าวคือไม่ดําเนินการแบบเผด็จการ แต่ต้องยินดีรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ใช้ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยปัญหา และพยายามประสานความคิดของสมาชิกให้ได้ข้อ ยุติที่มีคุณค่า 7. ทําหน้าที่รายงานผลการสัมมนาต่อที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้รับเป็นผลการสัมมนาครั้งนั้นซึ่งบางครั้ง อาจได้รับการซักถามหรือเสนอแนะให้ปรับปรุงเพื่อให้ความสมบูรณ์มากขึ้นก็ได้ หน้าที่ของเลขานุการกลุ่มสัมมนา 1. จดบันทึกการประชุมตามรูปแบบที่เป็นทางการโดยเฉพาะข้อยุติต่าง ๆ ควรเขียนให้ชัดเจนพอที่ คนอื่นอ่านแล้วจะเข้าใจได้
  • 8. หน้า 72   การพัฒนาบุคลิกภาพ (Personality Development)  2. อาจต้องทําหน้าที่เขียนกระดานดํา หรือใช้เครื่องโสตทัศนูปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการประชุม ใน กรณีนี้อาจให้ผู้ช่วยทําหน้าที่แทนก็ได้ เพื่อตนจะได้ทําหน้าที่บันทึกการประชุมได้สะดวก 3. ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อสัมมนา 4. อ่านบันทึกการประชุมให้สมาชิกฟังเพื่อรับรองว่ามีความถูกต้องไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน 5. ทํารายงานการประชุมกลุ่มให้เรียบร้อยทันเวลาและส่งมอบเจ้าหน้าที่ เพื่อพิมพ์สําเนาแจกจ่ายแก่ สมาชิกทั้งหมดในที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้ทุกคนได้พิจารณาผลงานของแต่ละกลุ่ม 6. ขณะที่ประธานรายงานผลการสัมมนาต่อที่ประชุมใหญ่ หากมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างไร เลขานุการต้องคอยจดบันทึกให้เรียบร้อย 7. ทําหน้าที่ให้บริการแก่สมาชิกในกลุ่มในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น แจกเอกสารและเครื่องเขียน หน้าที่ของสมาชิกกลุ่มสัมมนา สมาชิกของกลุ่มสัมมนา หรือบางทีเรียกว่า “สัมมนาสมาชิก” มีหน้าที่ดังต่อไปนี้ 1. เข้าประชุมกลุ่มตามความสนใจ หรือตามที่ผู้จัดสัมมนาได้กําหนดไว้แล้ว 2. เลือกผู้ที่จะทําหน้าที่ ประธาน รองประธาน เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ 3. ร่วมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อสัมมนา 4. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 5. ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เมื่อเห็นว่ามีเหตุผลดีกว่าของตน 6. เตรียมศึกษาหาความรู้มาล่วงหน้า 7. ไม่ทํากิจกรรมอย่างอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องในขณะร่วมสัมมนา 8. ไม่แสดงความคิดเห็นออกนอกประเด็นที่กําลังสัมมนากันอยู่ เพราะจะทําให้สมาชิกอื่นมีความ รําคาญและการสัมมนาไม่เสร็จทันเวลา 9. ในที่ประชุมสมาชิกอาจแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในหัวข้อที่ตนสัมมนาอีกก็ได้ เพราะอาจได้ ความคิดใหม่ๆ หลังจากที่ได้ฟังผู้อื่นอภิปรายแล้ว