SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 70
การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิตราภา กุณฑลบุตร พฤษภาคม 2554 © Chittrapa 2011
เนื้อหาสาระที่นำเสนอ ความสัมพันธ์ระหว่างการทำวิจัยและบทความวิจัย  ความหมายและลักษณะสำคัญของบทความวิจัย  การพิจารณาว่าเอกสารนั้นเป็นบทความวิจัย  ความแตกต่างระหว่างบทความวิจัยและรายงานวิจัย  ความแตกต่างระหว่างบทความวิจัยและ บทความวิชาการ  เป้าหมายของการเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัย  ความจำเป็นในการเขียนบทความวิจัย  หัวใจสำคัญของการเขียนบทความวิจัย © Chittrapa 2011
เนื้อหาสาระที่นำเสนอ สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการวางแผนการเขียน บทความวิจัย       โดยทั่วไป โครงสร้างโดยทั่วไปของบทความวิจัย ความสำคัญของความประทับใจครั้งแรกในการอ่านบทความ องค์ประกอบของบทความวิจัยแนวทางการเขียนบทความวิจัย การทบทวนวรรณกรรม (literature review ) การตีพิมพ์ผลงานวิจัย แหล่งที่ควรตีพิมพ์ผลงานวิจัย © Chittrapa 2011
เนื้อหาสาระที่นำเสนอ สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร  สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับบทความวิจัยที่จะนำลง ตีพิมพ์ใน วารสาร การเลือกวารสารเป้าหมายการตีพิมพ์  มาตรฐานคุณภาพของวารสารทางวิชาการ  ประเภทของวารสารทางวิชาการ  การนำบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร © Chittrapa 2011
เนื้อหาสาระที่นำเสนอ  การเลือกวารสารที่เหมาะสมกับบทความวิจัย  แนวทางหรือ “กฎเกี่ยวกับผู้เขียน ”  ประเด็นเกี่ยวกับผู้เขียนร่วม  ที่สำนักงานของวารสาร  คำแนะนำของบรรณาธิการ  การดำเนินการกับข้อวิจารณ์ของคณะกรรมการพิจารณา  อย่าท้อ ถ้าบทความวิจัยถูกปฏิเสธการตีพิมพ์ในวารสาร ข้อบกพร่องที่ทำให้บทความถูกปฏิเสธ © Chittrapa 2011
เนื้อหาสาระที่นำเสนอ โครงการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยปี โดย สกว. เกณฑ์การกำหนดน้ำหนักบทความที่ตีพิมพ์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  เกณฑ์การกำหนดน้ำหนักบทความที่ตีพิมพ์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)  © Chittrapa 2011
ความสัมพันธ์ระหว่างการทำวิจัยและบทความวิจัย © Chittrapa 2011
ความหมายและลักษณะสำคัญของบทความวิจัย บทความวิจัย (research article) เอกสารการวิจัย (research paper) บทความเชิงประจักษ์ในวารสาร (empirical journal article) เป็นเอกสารทางวิชาการ (academic paper) ประเภทหนึ่ง ที่นักวิจัยเขียนรายงานผลงานของตนเอง เพื่อนำเสนอใน  วารสารวิชาการหรือนำเสนอในการประชุมวิชาการ © Chittrapa 2011
การพิจารณาว่าเอกสารนั้นเป็นบทความวิจัย โดยทั่วไปบทความวิจัยมักประกอบด้วยสิ่งที่พิจารณาง่ายหรือกว้างที่สุดในประเด็นต่อไปนี้  บทสรุป (a summaryorabstract) คำอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย (a descriptionofthe research)  ผลการวิจัย (theresultstheygot)  ความสำคัญของผลการวิจัยซึ่งเขียนในรูปของการอภิปราย     ผลและข้อเสนอแนะโดยสรุป (thesignificanceofthe results)  รายการเอกสารอ้างอิง (reference) © Chittrapa 2011
จะพิจารณาได้อย่างไรว่าเอกสารนั้นเป็นบทความวิจัย องค์ประกอบอื่นๆของบทความวิจัยอาจประกอบด้วยสาระต่อไปนี้  คำสำคัญ ตาราง กราฟ แผนภูมิ แผนภาพ และโครงสร้างอื่นๆที่สำคัญ    ในการนำเสนอผลการวิจัย  ความคิดเห็นและปรัชญาความเชื่อทางวิชาการของผู้เขียน ซึ่ง     ต้องใช้ทักษะในการนำเสนอที่เหมาะสมในการวางโครงสร้าง     ของการเขียนที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนของการแบ่งระหว่างข้อ     ค้นพบและข้อคิดเห็น © Chittrapa 2011
ความแตกต่างระหว่างบทความวิจัยและรายงานวิจัย บทความวิจัยมีความยาวจำกัด ในขณะที่รายงานวิจัยไม่     จำกัดวามยาว  บทความวิจัยเป็นเอกสารทางวิชาการที่ทันสมัยทัน       เหตุการณ์ มากกว่ารายงานวิจัย  คุณภาพของบทความวิจัยค่อนข้างเป็นมาตรฐานมากกว่า     รายงานวิจัยโดยทั่วไป เพราะผ่านการพิจารณาจาก     ผู้เชี่ยวชาญและต้องปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะก่อนจึง     จะได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ได้ © Chittrapa 2011
ความแตกต่างระหว่างบทความวิจัยและ บทความวิชาการ  บทความวิจัยหมายถึงเอกสารที่เรียบเรียงจากการค้น     คว้าอย่างมีระบบและมีความมุ่งหมายชัดเจนเพื่อให้ได้     ข้อมูลหรือหลักการบางอย่างที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้า     ทางวิชาการหรือการนำวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้เกิด        ประโยชน์  บทความวิชาการหมายถึงเอกสารซึ่งเรียบเรียงจากผล      งานทางวิชาการของตนเองหรือผู้อื่นในลักษณะที่เป็น     การวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเป็นบทความที่เสนอแนวคิด     ใหม่ๆจากพื้นฐานทางวิชาการนั้นๆ © Chittrapa 2011
เป้าหมายของการเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัย บทความวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงผลการวิเคราะห์ (analyticalpaper) บทความวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงผลโต้แย้งหรือชวนเชิญ (argumentativeorpersuasivepaper) © Chittrapa 2011
เป้าหมายของการเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัย บทความวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงผลการวิเคราะห์ (analyticalpaper) เป็นบทความวิจัยที่ใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ในการบรรยายถึงผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัย โดยตรง ไม่มีการโต้แย้งหรือสนับสนุนความคิดของใครหรือเรื่องใดเป็นการเฉพาะ © Chittrapa 2011
เป้าหมายของการเผยแพร่ผลงานวิจัยในรูปบทความวิจัย บทความวิจัยที่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงผลโต้แย้งหรือชวนเชิญ (argumentativeorpersuasivepaper)เป็นบทความวิจัยที่มีจุดประสงค์หรือเป้าหมายเพื่อต้องการแสดงผลการวิจัยโต้แย้งหรือชักจูงให้เชื่อถือผลของการวิจัยว่าเป็นความจริงที่สมบูรณ์ถูกต้องกว่าอีกความคิดหนึ่ง © Chittrapa 2011
ความจำเป็นในการเขียนบทความวิจัย © Chittrapa 2011
ความจำเป็นในการเขียนบทความวิจัย เป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ที่ได้ค้นพบจากผลงานวิจัยให้บุคคลทั่วไป       โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ความรู้ในสาขาเดียวกันได้ทราบ      ทำให้มีการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างขึ้น เป็นการปกป้องผลงานและ     ไม่ให้มีการวิจัยซ้ำซ้อน    เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้วิจัยมีความตระหนักในคุณภาพของการดำเนินงานวิจัย     ทุกขั้นตอน   เป็นกระบวนการที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของนักวิชาการ/นักวิจัยในสาขา     เดียวกันและต่างสาขา  เป็นการยกระดับชื่อเสียงของผู้วิจัยให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างขึ้น   ถ้าได้รับการ     ประเมินให้ตีพิมพ์ในวารสารที่มีความเป็นมาตรฐาน   ทางวิชาการโดยเฉพาะ     วารสารที่มี impact factor สูง  เป็นการสร้างและขยายเครือข่ายเพื่อนนักวิจัยโดยเฉพาะเพื่อนนักวิจัยในสาขาวิชา      เดียวกัน  © Chittrapa 2011
หัวใจสำคัญของการเขียนบทความวิจัย การนำเสนอสาระที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ,[object Object]
สั้น
กะทัดรัด
รัดกุม
ถูกต้องตามหลักมาตรฐานสากล
บทความสะท้อนองค์ความรู้ใหม่
การนำเสนอแต่ละประเด็นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เป็นเหตุเป็นผลสนับสนุนซึ่งกันและกัน ตั้งแต่ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ วิธีวิจัย ผลการวิจัยและการอภิปรายผล
การนำเสนอระเบียบวิธีการวิจัยสั้นแต่มีรายละเอียดพอเพียงสำหรับผู้อื่นในการนำไปศึกษาหรืออ้างอิงต่อไป© Chittrapa 2011
สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการวางแผนการเขียน บทความวิจัยโดยทั่วไป ต้องวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่จะให้ผู้อ่านรับทราบ  เลือกเรื่อง        กำหนดชื่อเรื่อง   เลือกวารสารที่จะส่งบทความวิจัยไปตีพิมพ์   วางแผนเกี่ยวกับรูปแบบการเขียน โครงสร้างของบทความ   พิจารณาหัวข้อหลัก / หัวข้อสำคัญ และหัวข้อย่อย   ข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของแต่ละเนื้อหาในหัวข้อย่อยและโครงร่างของ      บทความซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้   ตาราง , ตัวเลข และรูปประกอบซึ่งเป็นการขยายความให้ชัดเจนขึ้น  สาระสำคัญที่จะนำเสนอ พร้อมการอ้างอิง © Chittrapa 2011
โครงสร้างโดยทั่วไปของบทความวิจัย  ชื่อเรื่อง  รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน  คำสำคัญ  บทคัดย่อ  ส่วนนำ จะบอกว่า “ บทความนี้เกี่ยวกับอะไร ”    การทบทวนวรรณกรรม  “ ความมุ่งหมายของการทบทวน      วรรณกรรม”  วิธีการ  ผลการศึกษา  การอภิปราย  บทสรุป © Chittrapa 2011
โครงสร้างโดยทั่วไปของบทความวิจัย ชื่อเรื่อง  หัวใจสำคัญคือลักษณะสำคัญของชื่อเรื่องต้องมีความเชื่อมโยงระหว่าง คำสำคัญ  ( keywords) บทคัดย่อ (abstract) และส่วนนำ (introduction)  มีความเฉพาะเจาะจงเพียงพอในการนำไปสู่การอธิบายเนื้อหา สั้นๆ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย แต่ดึงดูดความสนใจ รายละเอียดเกี่ยวกับผู้เขียน เนื้อหาส่วนนี้ทำให้เห็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างความเชี่ยวชาญของผู้เขียนกับเนื้อหาในบทความ คำสำคัญ คำสำคัญเป็นส่วนที่มองเห็นหัวใจของงานวิจัยและช่วยให้บทความมีสารบัญที่เหมาะสม บทคัดย่อ บทคัดย่อคือสาระที่สะท้อนเนื้อหาของบทความโดยสรุป ไม่ต้องอธิบายรายละเอียดยาว หลีกเลี่ยงการใช้คำฟุ่มเฟือย (wordy language) และใช้ภาษาที่กระชับ (concise substitute) ใช้คำที่สั้นกว่า แต่มีความหมายเหมือนกัน ควรมีย่อหน้าเดียว และมีจำนวนคำระหว่าง 100 – 120 คำ ไม่เขียนคำย่อหรือการอ้างอิงในส่วนนี้ © Chittrapa 2011
ความสำคัญของความประทับใจครั้งแรกในการอ่านบทความ บทคัดย่อ(abstract) บทคัดย่อที่มีโครงสร้างดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวารสารหลายฉบับ            บทคัดย่อต้องมีความยาวของจำนวนคำที่วารสารระบุ  โครงสร้างของบทคัดย่อมักครอบคลุม วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย ข้อค้นพบสำคัญจากงานวิจัย และข้อสรุปสำคัญในการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ บทคัดย่อสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งฉบับ        เนื้อหาส่วนนี้เป็นข้อความที่มีคำสำคัญทั้งหมดในบทความวิจัยเป็นข้อความสั้น กะทัดรัด สาระไม่ยาวเกินไป © Chittrapa 2011
ความสำคัญของความประทับใจครั้งแรกในการอ่านบทความ ส่วนนำ (introduction) ส่วนนำจะบอกว่า “ บทความวิจัยนี้เกี่ยวกับอะไร”และ “เหตุใดจึงน่าสนใจและมีความสำคัญจนต้องทำวิจัย”          ระบุชัดเจนเกี่ยวกับความเป็นมา ปัญหาในการวิจัย คำถาม วัตถุประสงค์ในการวิจัย  กรอบแนวคิด สมมติฐาน          สรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ดำเนินงานในปัจจุบัน   (วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของทฤษฎีและงานวิจัย) เชื่อมโยงเนื้อหาส่วนนี้กับกรอบแนวคิดการวิจัยและระเบียบวิธีวิจัย         ส่วนนี้เป็นการเตรียมผู้อ่านให้เชื่อมโยงความคิดกับเนื้อหาในส่วนต่อไป บทนำควรมีประมาณ 1 -4 ย่อหน้า สรุปท้ายด้วยคำถามวิจัยเฉพาะในการวิจัย © Chittrapa 2011
องค์ประกอบของบทความวิจัย วิธีการ(Methods) ส่วนนี้จะบอกให้ผู้อ่านทราบว่าผู้วิจัยดำเนินการอย่างไรเพื่อตอบคำถามการวิจัย  สาระสำคัญประกอบด้วยประชากร กลุ่มตัวอย่างและวิธีการเลือกตัวอย่าง หรือแหล่งข้อมูลการนิยามตัวแปร เครื่องมือวิจัยและคุณภาพของเครื่องมือ วิธีรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีวิจัยที่นำมาใช้ ระบุถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมในการวิจัย ห้ามนำผลการวิจัยมานำเสนอในขั้นตอนนี้ © Chittrapa 2011
องค์ประกอบของบทความวิจัย ผลการวิจัย (Result) ,[object Object]
 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สำคัญที่ตอบคำถามใน       บทความวิจัยนี้เท่านั้น เชื่อมโยงกับแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล       และแปลความหมาย ไม่นำเสนอรายละเอียดของข้อมูลทั้งหมด ,[object Object],      ความเหมาะสมพร้อมคำอธิบาย © Chittrapa 2011
องค์ประกอบของบทความวิจัย การอภิปรายและสรุปผล(Discussion and conclusion) ส่วนนี้เป็นการเสนอข้อค้นพบที่สำคัญ ไม่นำผลจากการนำเสนอข้อค้นพบมาเขียนซ้ำ  การนำเสนอเป็นการอภิปรายระหว่างข้อค้นพบกับสมมติฐาน งานวิจัยในอดีตตลอดจนแนวคิดทฤษฎีว่ามีความสอดคล้องหรือขัดแย้งกันอย่างไร อภิปรายข้อดี ข้อบกพร่อง ข้อจำกัด ตลอดจนประเด็นที่มีข้อค้นพบที่ไม่คาดคิดมาก่อน การอภิปรายผลจะนำไปสู่การเสนอแนะทั้งในการนำผลหรือองค์ความรู้ใหม่ไปใช้ประโยชน์ปฏิบัติจริงและการนำไปสู้ประเด็นการวิจัยต่อไป © Chittrapa 2011
องค์ประกอบของบทความวิจัย ส่วนอ้างอิงและภาคผนวก (References/Appendix) ส่วนอ้างอิงเป็นการระบุเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงทั้งบรรณานุกรม เชิงอรรถ บันทึกหรือ หมายเหตุส่วนตนของผู้วิจัย ภาคผนวก เป็นการนำเสนอสาระเพิ่มเติมนอกเหนือจากการนำเสนอในบทความ เพื่อให้ผู้อ่านได้รับรู้ © Chittrapa 2011
แนวทางการเขียนบทความวิจัย นักวิจัยจะเขียนบทความวิจัยได้ดีต้องมีการทำงานวิจัยที่มีคุณภาพและ เขียนงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการเขียนตามรูปแบบที่กำหนด © Chittrapa 2011
แนวทางการเขียนบทความวิจัย การเขียนบทความวิจัยเป็นทั้งศาสตร์ หมายถึงมีหลักการ ขั้นตอนและแนวทางการเขียนที่ชัดเจน กำหนดไว้เป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน และ ศิลป์หมายถึง สิ่งที่สามารถทำได้เฉพาะตนในแต่ละคน ไม่สามารถทำให้เขียนได้เหมือนกันทุกคน ทั้งที่มีแนวทางและความเข้าใจข้อกำหนดของการเขียนและ วิธีการเขียนตรงกัน © Chittrapa 2011
แนวทางการเขียนบทความวิจัย ผู้เขียนบทความ ต้องมีความเข้าใจกระจ่างแจ้งในรายงานวิจัยที่จะนำมาเขียน    การเขียน เริ่มจากการอ่านรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และบันทึกต่างๆระหว่าง การดำเนินงานวิจัยอย่างละเอียด ทำความเข้าใจทุกประเด็น  จัดทำโครงร่าง การจัดลำดับความคิด การเรียบเรียงเนื้อหาสาระเป็นฉบับร่าง ค้นหาแหล่งอ้างอิง และบันทึกไว้สำหรับการเขียนในแต่ละหัวข้อ เพื่อหลีกเลี่ยง การลอกเลียนผลงานผู้อื่น หรือ plagiarism นำบทความ ฉบับร่างทิ้งไว้ประมาณ 3 – 7 วัน ก่อนนำมาอ่านเพื่อปรับปรุง การเสนอเนื้อหา ต้องตรงไปตรงมา ชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ จนผู้อ่านสามารถ ทำวิจัยในลักษณะเดียวกันได้ การใช้ภาษา ใช้ภาษาทางการที่เป็นมาตรฐาน ถูกต้องตามหลักภาษา เหมาะสมกับผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการ © Chittrapa 2011
แนวทางการเขียนบทความวิจัย การลำดับเนื้อหา จัดลำดับตามหลักการวิจัย มีความต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนสรุป และอภิปรายผลการวิจัย แต่ละย่อหน้ามีประโยคสำคัญที่เชื่อมโยงถึงกัน เนื้อหาในแต่ละย่อหน้ามีการลำดับความต่อเนื่อง การใช้คำศัพท์ ควรใช้คำศัพท์ทางวิชาการและใช้ให้เหมือนกันทั้งฉบับ ถ้าเป็นศัพท์ใหม่จากต่างประเทศควรมีวงเล็บกำกับ การอ้างอิง ควรใช้ให้เหมือนกันทั้งฉบับ ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามข้อกำหนด ของวารสารที่ตีพิมพ์แต่ละฉบับ ซึ่งอาจมีรูปแบบ ( style) ที่แตกต่างกันบ้าง เช่น APA style, MLA style, Turabian or Chicago style การเขียนประโยค ควรเขียนแต่ละประโยคให้เป็นประโยคสมบูรณ์ ระวังเครื่องหมายวรรคตอน ใช้ประโยคสั้นและไม่ควรใช้ประโยคซ้อนประโยค แต่ละประโยคต้องสัมพันธ์กัน © Chittrapa 2011
แนวทางการเขียนบทความวิจัย การเขียนย่อหน้า แต่ละย่อหน้าต้องมีประโยคที่บอกใจความสำคัญ มีคำเชื่อมโยง แต่ละย่อหน้าโดยเฉพาะเวลาต้องการสื่อให้ผู้อ่านทราบว่าจะ เปลี่ยนใจความสำคัญในย่อหน้าต่อมา มีระบบการเรียบเรียงความคิด และมีเนื้อหาสนับสนุนความคิดหลักหนึ่งประโยคนับเป็นหนึ่งย่อหน้าไม่ได้ ถ้าความสามารถในการเขียน ไม่ดี ต้องขอความช่วยเหลือ เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้น เมื่อตรวจสอบสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วให้พิมพ์ต้นฉบับ พิสูจน์อักษร ดูความชัดเจนของตัวอักษร คุณภาพการพิมพ์ ความถูกต้อง ของรูปแบบ และการอ้างอิง © Chittrapa 2011
แนวทางการเขียนบทความวิจัย เมื่อมั่นใจ ว่าพร้อมส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์แล้วให้ เพื่อนผู้ชำนาญสาขาวิชาเดียวกันหรือ peer ช่วยอ่านและวิจารณ์ อาจพิจารณา ให้ผู้ช่วยบรรณาธิกรกิจ ปรับปรุงอย่างรอบคอบ ตรวจทานจนมีความมั่นใจ ตอบคำถามตนเองและเพื่อนได้ทุกประเด็น จึงส่งบทความไปยังวารสารทั้งในรูปเอกสารและVCD ข้อพึงระวัง 1. อย่าพึ่งโปรแกรมตัวสะกดให้ทำหน้าที่ตรวจสอบแทนคุณ 2. ตรวจสอบความปลอดภัยด้านเอกสาร โดยทำสำเนาเพื่อป้องกัน ข้อมูลสูญหายและจัดระบบข้อมูลที่พิมพ์และแก้ไขแต่ละครั้ง 3. งานเขียนที่สุกเอาเผากินไม่มีโอกาสได้รับการตีพิมพ์ ในวารสาร ที่มีมาตรฐาน © Chittrapa 2011
การทบทวนวรรณกรรม (literature review ) วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรม ความสำคัญของการวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องคือการแสดงให้ผู้อ่านทราบถึงความสัมพันธ์ของวรรณกรรมเหล่านั้น  และความตั้งใจของผู้วิจัยที่จะขยายความรู้ในสาขาวิชานี้ การทบทวนวรรณกรรมจำเป็นต้องมีมากกว่าการนำงานของผู้อื่นมา เล่าอีกครั้ง ต้องสังเคราะห์ให้เห็นภาพความเชื่อมโยงกับงานวิจัย คุณจำเป็นต้องทำระบุให้ชัดเจนว่าความคิดใดเป็นของคุณ พึงระวังการลอกเรียนงานของผู้อื่น (plagiarism) © Chittrapa 2011
การทบทวนวรรณกรรม (literature review ) คำเตือน  การลอกเลียนงานของผู้อื่นและลิขสิทธิ์ (plagiarism & copyright) การอ้างอิงในงานของคุณถูกต้องตามหลัก มาตรฐานสากล หรือไม่ บทความของคุณจะถูกตีพิมพ์โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลิขสิทธิ์หรือ จริยธรรมหรือไม่ © Chittrapa 2011
การทบทวนวรรณกรรม (literature review ) การทบทวนวรรณกรรมต้องแสดงให้ผู้อ่านเห็นประเด็นต่อไปนี้ คุณเข้าใจความรู้เฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยของคุณ อธิบายว่างานวิจัยทั้งหมดที่ทบทวนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่  กำลังจะดำเนินการอย่างไร อธิบายว่ามีความรู้ที่ได้พัฒนาและสั่งสมในช่วงเวลาที่ผ่านมา อย่างไร อธิบายว่าการวิจัยของคุณเกี่ยวข้องกับงานในอดีตอย่างไร อธิบายเหตุผลว่าทำไมคุณจึงต้องวิจัยงานนี้ (ช่องว่างระหว่างความรู้ในอดีตกับสิ่งที่ควรรู้ในปัจจุบัน แต่ยังไม่รู้) มีการให้เกียรติ์ (acknowledge) โดยการอ้างอิงงานวิจัยของผู้อื่น © Chittrapa 2011
การทบทวนวรรณกรรม (literature review ) การทบทวนวรรณกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ การละเลยการกล่าวถึงแหล่งค้นคว้าที่สำคัญ งานที่นำมาอ้างอิงเป็นงานที่ล้าสมัย การนำเอามุมมองที่จำกัดของแหล่งอ้างอิงมาใช้ งานที่นำมาใช้อ้างอิงบางส่วนไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การตีความจากแหล่งข้อมูลผิดพลาด การอ้างอิงงานที่ผู้วิจัยไม่ได้อ่าน การอ้างอิงกับบรรณานุกรมไม่ตรงกัน ขาดกระบวนการสังเคราะห์งานที่ศึกษาทบทวน การนำงานที่ไม่สำคัญของตนเองมาอ้างอิง
การทบทวนวรรณกรรม (literature review ) การทบทวนวรรณกรรมที่ดีประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ มีสาระที่ระบุถึงงานวิจัยที่มีความสำคัญทั้งในปัจจุบันและในอดีต มีการสังเคราะห์เชื่อมโยงงานวิจัยในอดีตเข้าด้วยกัน เป็นการแสดงถึงขอบ เขตความรู้ที่กว้างขวางและลุ่มลึก ช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนของงานวิจัยในอดีตที่มีผลหรือสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยในปัจจุบัน มีการอธิบายประเด็นที่เป็นหัวใจสำคัญของแต่ละบริบท การทบทวนวรรณกรรมมีการจัดระบบการเรียบเรียง (well organize) ที่ดี เนื้อหาและวิธีการเขียนน่าสนใจที่จะอ่าน เนื้อหาสาระที่ทบทวนมีความทันสมัย © Chittrapa 2011
การตีพิมพ์ผลงานวิจัย ก่อนจะเริ่มทำงานวิจัยให้วางแผนทั้งระบบครบวงจรไปจนถึงขั้น    ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติหรือ    นานาชาติและการนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีต่างๆ  อย่าสนุกและเพลินเฉพาะกับการอ่านผลงานที่ได้รับการ     ตีพิมพ์ของผู้อื่น  หาวิธีบอกผู้อื่นๆ ว่าคุณได้ทำวิจัยที่มีคุณค่าอะไรไปบ้างแล้วบอก    วิธีที่คุณทำ และอธิบายถึงเหตุผลที่คุณทำว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ    มากน้อยเพียงใด  ส่งบทความวิจัยของคุณไปตีพิมพ์ © Chittrapa 2011
แหล่งที่ควรตีพิมพ์ผลงานวิจัย  เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ (conference        proceeding)     บทคัดย่อแบบขยายความ (extended abstract)     บทความวิจัยประกอบการประชุมฉบับเต็ม (full          conference papers)   เป็นบทหนึ่งในหนังสือ ในวารสารวิชาการ/วิจัยที่ได้รับการรับรอง     มาตรฐานตามเกณฑ์ © Chittrapa 2011
สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสาร วิธีในการยื่นขอตีพิมพ์  คำถามเรื่องผู้เขียนร่วม  คำถามเรื่องลิขสิทธิ์  องค์ประกอบที่ควรมีในบทความ  รูปแบบการเขียน  ขั้นตอนของสำนักพิมพ์  กรรมการอ่านผลงาน  วิธีดำเนินการกับคำวิจารณ์ของกรรมการ © Chittrapa 2011
สิ่งที่ควรคำนึงเกี่ยวกับบทความวิจัยที่จะนำลง ตีพิมพ์ในวารสาร  ต้องแสดงถึงสิ่งต่อไปนี้  การวิจัยมีอิสระทางเนื้อหาพอสมควร หรือมีสิ่ง         ใหม่ๆทางวิชาการมานำเสนอ  ผลการวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่แตกต่างจากอดีต  ต้องมีการวางแผนที่ดี  ต้องมีระบบที่ดี  ต้องเขียนอย่างดี © Chittrapa 2011
การเลือกวารสารเป้าหมายการตีพิมพ์ พิจารณารูปแบบของวารสาร  พิจารณาผู้อ่านเป้าหมายของวารสาร  พิจารณาถึงการประสานงานติดต่อกับบรรณาธิการ  ทบทวนประเด็นที่จำเป็น  เช่น  รูปแบบ , การจำกัด      จำนวนคำและอื่นๆ  การพิจารณาประเด็นอื่นๆ เช่น    ชื่อเสียงของวารสาร / มี impact factor หรือไม่/ได้รับการ        รับรองจากหน่วยงานมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง/อยู่ในฐานข้อมูล    ความเป็นไปได้ในการได้รับการตีพิมพ์ผลงาน    ผู้อ่านบทความวิจัย © Chittrapa 2011
มาตรฐานคุณภาพของวารสารทางวิชาการ วารสารที่มีimpact factor  วารสารที่ไม่มี impact factorแต่บทความที่ตีพิมพ์ได้     รับการดัชนีไว้ในฐานข้อมูลผลงานวิจัยนานาชาติ มี      เงื่อนไขการยอมรับคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด   วารสารที่ไม่มี impact factor บทความที่ตีพิมพ์ได้รับ       การดัชนีไว้ในฐานข้อมูลผลงานวิจัยนานาชาติ จะได้รับ      การยอมรับว่าเป็นวารสารวิชาการระดับชาติ หาก      เข้าเกณฑ์เงื่อนไขตามเกณฑ์ที่กำหนด © Chittrapa 2011
มาตรฐานคุณภาพของวารสารทางวิชาการ วารสารที่มี impact factor สามารถอธิบายง่ายๆ คือ 1. impact factor คือการวัดจำนวนความถี่ของบทความโดยทั่วไป "average article"ในวารสารได้ถูกอ้างอิงในปีใดปีหนึ่ง หรือช่วงเวลา ใดเวลาหนึ่ง 2. จะมีอัตราส่วนที่สัมพันธ์กันระหว่างส่วนที่ถูกอ้างอิงกับ เรื่องที่ตีพิมพ์ไปแล้วเร็วๆนี้  ที่สามารถอ้างอิงได้      3. impact factorของวารสารคำนวณโดยการแบ่งจำนวนของส่วนที่ถูกอ้างอิงในปีปัจจุบันออกจากเรื่องที่ตีพิมพ์ไปแล้วในวารสารนั้นๆ  ในระหว่างสองปีที่ผ่านมา © Chittrapa 2011
มาตรฐานคุณภาพของวารสารทางวิชาการ วารสารที่มี impact factor        เป็นวารสารที่ได้รับการยอมรับเข้าอยู่ในฐานข้อมูล       ของ   ISI (Institute of Scientific Information)  หรืออยู่ในฐานข้อมูลอื่นที่สามารถบอกอัตราการอ้างอิง       ของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารดังกล่าวได้   วารสารในประเทศไทยที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI คือ      Asian   Pacific Journal of Allergy and Immunology (Impact   Factor 0186) © Chittrapa 2011
มาตรฐานคุณภาพของวารสารทางวิชาการ วารสารที่ไม่มี impact factorแต่บทความที่ตีพิมพ์ได้รับ การดัชนีไว้ในฐานข้อมูลผลงานวิจัยนานาชาติ มีเงื่อนไขการยอมรับคุณภาพ ดังนี้ editorial board ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับศาสตราจารย์       หรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ  จาก     ภายนอก ประเทศ  reviewer เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำงานวิจัย และมีผลงาน    วิจัยต่อเนื่อง มีผู้ประเมินจากต่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ  25  มีบทความจากต่างประเทศตีพิมพ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10       ของบทความทั้งหมด  © Chittrapa 2011
การตรวจสอบค่า  Impact Factor เดือนกรกฎาคม-กันยายนของทุกปี บริษัท Thomson ISI http://www.isinet.comหรือเดิมคือ ISI ( Institute of Scientific Information) จะผลิตฐานข้อมูลที่มีชื่อว่า Journal Citation Reports (JCR) ซึ่งจัดทำอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 40 ปี สมัยก่อนจัดทำในลักษณะสิ่งพิมพ์ช่วยค้น ปัจจุบันผลิตและจำหน่ายในรูปแบบ CD-ROM และ Web Edition โดยครอบคลุมวารสารสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ จากทั่วโลก © Chittrapa 2011
Journal Impact Factor  (JIF)ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร  จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความของวารสารนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี (A measure of the frequency with which the ‘average article’ in a journal has been cited in a particular year or period) โดยผู้ที่คิดค้น JIF คือ Dr. Eugene Garfield และ Irving H Sherแห่งสถาบัน ISI (Institute for Scientific Information)  หรือ Thomson Reuters แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1960  เพื่อใช้ดัชนีนี้ในการคัดเลือกวารสารเข้าสู่ฐานข้อมูลของสถาบัน ISI © Chittrapa 2011
Journal Impact Factor  (JIF)ดัชนีผลกระทบการอ้างอิงวารสาร  ข้อมูลการอ้างอิงนี้ ได้มาจากการอ้างอิงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา 2 ปีของกลุ่มวารสารจำนวนหนึ่งที่ปรากฏในฐานข้อมูลของสถาบัน ISI จำนวน 3 ฐานข้อมูล คือ ฐานข้อมูล Science Citation Index (SCI),  Social Science Citation Index (SSCI) และ Arts and Humanities Citation Index (A&HCI) สูตรการคำนวณค่า Journal Impact Factors ตามวิธีการของสถาบัน ISI
มาตรฐานคุณภาพของวารสารทางวิชาการ วารสารที่ไม่มี impact factor บทความที่ตีพิมพ์ไม่ได้รับการดัชนีไว้ในฐานข้อมูลผลงานวิจัยนานาชาติ จะได้รับการยอมรับว่า เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ หากเข้าเกณฑ์เงื่อนไขดังต่อไปนี้  editorial board ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ ศาสตราจารย์      หรือเทียบเท่า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจาก      ภายนอกสถาบัน   reviewer เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ทำงานวิจัย และ      มีผลงานวิจัยต่อเนื่อง   มีบทความจากต่างสถาบันตีพิมพ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของบทความ      ทั้งหมด และเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 อนาคต   มีการประเมินคุณภาพของวารสารทุกๆ 2 ปี © Chittrapa 2011
ประเภทของวารสารทางวิชาการ วารสารวิชาการเฉพาะทาง เป็นวารสารที่มีจุดเน้นของลักษณะบทความต่างกัน เช่น  Educational Evaluation and Policy Analysis (EEPA) เน้นบทความทางการประเมินทางการศึกษาและการวิเคราะห์นโยบายทางการศึกษา  Journal of Educational Behavioral Statistics (JEBS) รับบทความที่แสดงให้เห็นว่าสถิติการศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์มีส่วนเสริสร้างองค์ความรู้อันนำไปสู่การตัดสินใจ สาระบทความต้องเป็นการนำเสนอวิธีวิเคราะห์ทางสถิติแบบใหม่ เป็นต้น © Chittrapa 2011
ประเภทของวารสารทางวิชาการ วารสารแนวปริทัศน์ เป็นบทความที่ตีพิมพ์บทความที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ หรือการสังเคราะห์งานวิจัยหรือการสังเคราะห์ทฤษฎีตลอดจนการพัฒนากรอบแนวคิดในสาขาต่างๆตามจุดเน้นของวารสาร เช่น Review of Educational Research (RER) รับบทความที่เป็นปริทัศน์เชิงบูรณาการของรายงานวิจัยทางการศึกษาเป็นหลัก วารสารที่พิมพ์เผยแพร่เป็นรายเดือนหรือพิมพ์มากกว่า 6 ฉบับต่อปี รับเฉพาะบทความทางวิชาการขนาดสั้น กำหนดจำนวนคำ บทความต้องแสดงความคิดเห็น วิสัยทัศน์ การวิเคราะห์ การอภิปราย ซึ่งทำให้เกิดการสร้างสรรค์ทางวิชาการ  เช่น Educational Researcher (ER) รับบทความวิจัยน้อย © Chittrapa 2011
การนำบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสาร เลือกวารสาร  อ่าน “กฎเกี่ยวกับ ผู้เขียน ”(rules for authors)     และใช้ตรวจสอบงานของคุณก่อนส่งบทความ  เขียนบทความตามที่กฎระบุ  อ่านตรวจทานบทความ  ให้ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชานี้อ่านและ     วิจารณ์ © Chittrapa 2011
การเลือกวารสารที่เหมาะสมกับบทความวิจัย   คุณอ้างอิงงานวิจัยจากวารสารนี้ในบทความของคุณหรือไม่   วารสารนี้ตีพิมพ์บทความที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องบทความ      ของคุณมาแล้วเมื่อเร็วๆนี้หรือไม่   เวลาที่เขียนบทความเสร็จคือเมื่อใด   เลือกวารสารต่างประเทศที่มีชื่อเสียง   แสวงหาคำแนะนำจากเพื่อน ผู้อ่านบทความหรือผู้บังคับบัญชา      หรือที่ปรึกษางานวิจัย  ถ้ามีความสงสัยให้เขียนหรืออีเมล์ถึงบรรณาธิการถามว่า     บทความของคุณเหมาะสมกับวารสารนี้หรือไม่ © Chittrapa 2011
แนวทางหรือ “กฎเกี่ยวกับผู้เขียน ”  วารสารต่างๆมุ่งที่จะทำเงินให้กับเจ้าของและมีแนวทางที่จะทำให้     การเสนอบทความ       เพื่อการตีพิมพ์ที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิ์ภาพที่สุด  กฎเกี่ยวกับผู้เขียนหาอ่านได้ในวารสารนั้นๆ   คุณอาจเว็บไซด์ของวารสารเพื่อได้ข้อมูลอื่นที่เป็นประโยชน์   ข้อผิดพลาดทั่วไปในบทความที่สั่งตีพิมพ์ 1. โครงสร้างทั้งหมดไม่ใช้รูปแบบของวารสารนั้น 2. การอ้างอิงอยู่ในรูปแบบที่ผิด  (การอ้างอิงของแต่ละวารสารจะต่างกัน   –  คุณใช้ฐานข้อมูล  เช่น  endnote  หรือไม่) 3. หัวข้อย่อยไม่ถูกต้อง  4. เนื้อหายาวเกินไป  (ตรวจสอบจำนวนคำ) 5. ตัวเลขไม่ใช่รูปแบบที่ถูกต้อง © Chittrapa 2011
ประเด็นเกี่ยวกับผู้เขียนร่วม หน่วยงาน/สถาบันการศึกษาของแต่ละประเทศจะมีนโยบาย     เกี่ยวกับผู้เขียนร่วม เช่น มหาวิทยาลัยในออสเตรเลียได้ระบุ     นโยบายไว้ใน co - authorship based on the Joint      NHMRC/UA  Statement and  Guidelines on Research     Practice  เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เกียรติ์และระบุชื่อผู้ช่วยวิจัย     ไว้ในบทความ  ผู้ช่วยวิจัยจำนวนน้อยที่จะเป็นผู้เขียนบทความวิจัยได้ © Chittrapa 2011
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่สำนักงานของวารสาร บรรณาธิการใหญ่จะดูชื่อเรื่องและบทคัดย่อ  แล้ว     ตัดสินใจว่า เหมาะสมที่จะตีพิมพ์ในวารสารหรือไม่  บรรณาธิการใหญ่มอบหมายให้บรรณาธิการเฉพาะ      เรื่อง (corresponding  editor) ซึ่งเป็นผู้มีพื้นฐาน และ      ประสบการณ์ เกี่ยวกับเนื้อหาในบทความ ดำเนินการต่อไป  บรรณาธิการเฉพาะเรื่อง  จะตั้งกรรมการ (referees)      จำนวน  2 – 3  คนพิจารณาบทความต่อไป © Chittrapa 2011
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่สำนักงานของวารสาร คณะกรรมการพิจารณาส่งเรื่องกลับไปที่บรรณาธิการ เฉพาะ      เรื่อง  บรรณาธิการเฉพาะเรื่องตัดสินใจว่าข้อวิจารณ์ของ     คณะกรรมการพิจารณาเป็นที่ยอมรับได้  หรือเพียงพอว่า     เห็นชอบได้โดย ไม่ต้องพึ่งกรรมการเพิ่ม (additional   referees) ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบโดยทั่วไป  บรรณาธิการก็จะ    ส่งข้อวิจารณ์และคำแนะนำโดยเฉพาะบางอย่าง (specific          recommendation)   กลับคืนมาที่ผู้เขียน โดยแจ้งว่าผู้เขียนต้อง      ปรับปรุงอะไรบ้าง © Chittrapa 2011
คำแนะนำของบรรณาธิการ ผลการพิจารณาบทความวิจัยที่ส่งกลับมายังผู้เขียนอาจมีดังต่อไปนี้ 1. ไม่ต้องส่งกลับมาอีก  บทความของคุณถูกปฏิเสธ หรือ                  2. แก้ไขเล็กน้อย  ตามที่คณะกรรมการพิจารณาเขียนวิจารณ์            หรือ 3. แก้ไขมาก เขียนใหม่ แต่ไม่ต้องส่งกลับให้กรรมการพิจารณา            ใหม่ หรือ     4. แก้ไขมาก  และให้ส่งกลับไปพิจารณาเป็นบทความใหม่  5. ถ้าต้องดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลใหม่ ผลงานที่แก้ไข ต้อง             ส่งกลับภายใน  6  เดือน © Chittrapa 2011
การดำเนินการกับข้อวิจารณ์ของคณะกรรมการพิจารณา อ่านข้อวิจารณ์แล้วโกรธ  และเก็บข้อวิจารณ์นั้นไว้เป็นเวลา  2  วัน                             นำข้อวิจารณ์มาอ่านใหม่   ลดการใช้อารมณ์ แก้ไขแต่ละข้อวิจารณ์โดยเฉพาะ  จงถ่อมตัว (be humble)  ยอมรับข้อบกพร่อง  และรับรู้ว่าที่ผ่านมา คุณอาจ     เขียนได้ดีกว่านี้  การพิจารณาตามข้อวิจารณ์ของกรรมการเรียงลำดับที่ละคน  อย่ากระโดด     ไปมา  ในประเด็นที่สามารถยอมรับว่าข้อวิจารณ์ของคณะกรรมการพิจารณา ให้     ปรับเปลี่ยนตามที่คณะกรรมการพิจารณาเสนอแนะ  ทำรายการแก้ไข ไว้      ทุกหน้าทุกบรรทัด  ถ้าไม่เห็นด้วยกับข้อวิจารณ์ของคณะกรรมการพิจารณาในจุดใด  ให้ชี้แจง     ว่าไม่เห็นด้วยอย่างไรพร้อมระบุเหตุผล © Chittrapa 2011
การดำเนินการกับข้อวิจารณ์ของคณะกรรมการพิจารณา ในประเด็นที่ไม่เห็นด้วยกับคณะกรรมการพิจารณา  จงให้หลักการและ     เหตุผล    รวมถึงอ้างอิงงานของผู้อื่นเพื่อพิสูจน์ว่าคุณถูกต้อง  บางครั้งคณะกรรมการพิจารณาเข้าใจประเด็นคลาดเคลื่อนหรือไม่      เข้าใจ  ประเด็นที่คุณนำเสนอ  ถ้าคณะกรรมการพิจารณายังตงไม่เข้าใจประเด็นที่คุณเขียน คุณต้อง     เขียนใหม่  ถ้าคณะกรรมการพิจารณาไม่ได้ดูหรืออ่านข้ามประเด็นที่คุณนำเสนอให้      อธิบายอย่างสุภาพว่าคุณเขียนไว้ที่ใดในบทความ  เขียนรายละเอียดถึงบรรณาธิการ อธิบายถึงประเด็นที่แก้ไขตามข้อ      เสนอแนะ    และอธิบายอย่างมีเหตุผลและหลักวิชาในประเด็นที่ไม่เห็น     ด้วย     - ก่อนส่งบทความที่แก้ไขไปยังบรรณาธิการอ่าน “กฎของผู้เขียน”    อีก ครั้งแล้วดำเนินการตามอย่างเข้มงวด © Chittrapa 2011

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
witthaya601
 
การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย
noinasang
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
yutict
 
Research9 writing research_report
Research9 writing research_reportResearch9 writing research_report
Research9 writing research_report
Sani Satjachaliao
 
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมดบทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
Chowwalit Chookhampaeng
 
โครงงานคอม ใบท 6
โครงงานคอม ใบท  6โครงงานคอม ใบท  6
โครงงานคอม ใบท 6
StampPamika
 

La actualidad más candente (20)

คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
คู่มือการเขียนรายงาน การอ้างอิง การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สมาคมวิทยาศาสตร์ ...
 
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัยแนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
แนวการเขียนรายงายเชิงวิจัย
 
Chapter2 literaturereview
Chapter2 literaturereviewChapter2 literaturereview
Chapter2 literaturereview
 
ตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslideตัวอย่างการทำslide
ตัวอย่างการทำslide
 
การนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัยการนำเสนองานวิจัย
การนำเสนองานวิจัย
 
การเขียนบทความวิจัย2559 1
การเขียนบทความวิจัย2559 1การเขียนบทความวิจัย2559 1
การเขียนบทความวิจัย2559 1
 
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัยการกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
การกำหนดหัวข้อและประเด็นปัญหาการวิจัย
 
การนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัยการนำเสนอผลการวิจัย
การนำเสนอผลการวิจัย
 
การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย
 
Cแนะแนว
CแนะแนวCแนะแนว
Cแนะแนว
 
Km1
Km1Km1
Km1
 
การเขียนบทความวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (Research Article Wr...
การเขียนบทความวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (Research Article Wr...การเขียนบทความวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (Research Article Wr...
การเขียนบทความวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (Research Article Wr...
 
Best practice
Best practiceBest practice
Best practice
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
 
การเขียนโครงร่าง
การเขียนโครงร่างการเขียนโครงร่าง
การเขียนโครงร่าง
 
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บทตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
ตัวอย่างการนำเสนอโครงร่างวิจัย 3 บท
 
Research9 writing research_report
Research9 writing research_reportResearch9 writing research_report
Research9 writing research_report
 
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมดบทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
บทสรุป การวิจัย ภาพรวมทั้งหมด
 
Citation Search
Citation SearchCitation Search
Citation Search
 
โครงงานคอม ใบท 6
โครงงานคอม ใบท  6โครงงานคอม ใบท  6
โครงงานคอม ใบท 6
 

Destacado (9)

цахим үзүүлэн 2
цахим үзүүлэн 2цахим үзүүлэн 2
цахим үзүүлэн 2
 
цахим хэрэглэгдэхүн 1
цахим хэрэглэгдэхүн 1цахим хэрэглэгдэхүн 1
цахим хэрэглэгдэхүн 1
 
Promising Digital Service Quality
Promising Digital Service QualityPromising Digital Service Quality
Promising Digital Service Quality
 
บทที่่ 1
บทที่่ 1บทที่่ 1
บทที่่ 1
 
цах хэр 4
цах хэр 4цах хэр 4
цах хэр 4
 
Slide Chapter1
Slide Chapter1Slide Chapter1
Slide Chapter1
 
Resumen fotografico comunicaciones moviles
Resumen fotografico comunicaciones movilesResumen fotografico comunicaciones moviles
Resumen fotografico comunicaciones moviles
 
From Cybernetics to DevOps and Beyond
From Cybernetics to DevOps and BeyondFrom Cybernetics to DevOps and Beyond
From Cybernetics to DevOps and Beyond
 
цах хичээл 2
цах хичээл 2цах хичээл 2
цах хичээл 2
 

Similar a การเขียนบทความวิจัย บุรีรัมย์ ๙ พค ๒๕๕๔

มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
Tassanee Lerksuthirat
 
การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย
noinasang
 
Ppt1ความเรียงขั้นสูง
Ppt1ความเรียงขั้นสูงPpt1ความเรียงขั้นสูง
Ppt1ความเรียงขั้นสูง
Attaporn Saranoppakun
 
Strategies for reading journal articles 1
Strategies for reading journal articles 1Strategies for reading journal articles 1
Strategies for reading journal articles 1
Sunee Suvanpasu
 
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงานใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
Duangsuwun Lasadang
 
การจัดทำรายงาน
การจัดทำรายงานการจัดทำรายงาน
การจัดทำรายงาน
Chainarong Maharak
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
พัน พัน
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
นู๋หนึ่ง nooneung
 
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
Nitinop Tongwassanasong
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
nay220
 
1.ระเบียบวิธีวิจัย
1.ระเบียบวิธีวิจัย1.ระเบียบวิธีวิจัย
1.ระเบียบวิธีวิจัย
phaholtup53
 
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
nang_phy29
 

Similar a การเขียนบทความวิจัย บุรีรัมย์ ๙ พค ๒๕๕๔ (20)

มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdfมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
มาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ.pdf
 
การเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัยการเขียนรายงานการวิจัย
การเขียนรายงานการวิจัย
 
Ppt1ความเรียงขั้นสูง
Ppt1ความเรียงขั้นสูงPpt1ความเรียงขั้นสูง
Ppt1ความเรียงขั้นสูง
 
โครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทยโครงงานภาษาไทย
โครงงานภาษาไทย
 
Strategies for reading journal articles 1
Strategies for reading journal articles 1Strategies for reading journal articles 1
Strategies for reading journal articles 1
 
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงานใบความรู้ การเขียนรายงาน
ใบความรู้ การเขียนรายงาน
 
การจัดทำรายงาน
การจัดทำรายงานการจัดทำรายงาน
การจัดทำรายงาน
 
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
แนวทางการตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ
 
การเขียนบทความวิจัยระดับชาติและนานาชาติ #2
การเขียนบทความวิจัยระดับชาติและนานาชาติ #2การเขียนบทความวิจัยระดับชาติและนานาชาติ #2
การเขียนบทความวิจัยระดับชาติและนานาชาติ #2
 
4 การทบทวนเอกสาร
4 การทบทวนเอกสาร4 การทบทวนเอกสาร
4 การทบทวนเอกสาร
 
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1Is2  การสื่อสารและการนำเสนอ  กลุ่ม1
Is2 การสื่อสารและการนำเสนอ กลุ่ม1
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงานความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงาน
 
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
เอกสารเผยแพร่การจัดการความรู้คณะนิเทศศาสตร์ 54
 
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
 
ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8ใบงานที่ 2-8
ใบงานที่ 2-8
 
The role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting processThe role of Social Media and the changing of news reporting process
The role of Social Media and the changing of news reporting process
 
Research for students interesting for you
Research for students interesting for youResearch for students interesting for you
Research for students interesting for you
 
1.ระเบียบวิธีวิจัย
1.ระเบียบวิธีวิจัย1.ระเบียบวิธีวิจัย
1.ระเบียบวิธีวิจัย
 
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
 
โครงงานคอม ใบท 6
โครงงานคอม ใบท  6โครงงานคอม ใบท  6
โครงงานคอม ใบท 6
 

การเขียนบทความวิจัย บุรีรัมย์ ๙ พค ๒๕๕๔