SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 32
Descargar para leer sin conexión
โครงงานชีววิทยา (Biology Project) 
การรวบรวมข้อมูลทรัพยากรชีวภาพในชุมชน (Bio Map) 
ชื่อโครงงานชีววิทยา ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนวัดอนัมนิกายาราม 
รายชื่อสมาชิกกลุ่มโครงงานชีววิทยา ชื่อกลุ่ม คือ กะหล่าปุ๋ง 
1. นางสาว กมลรัตน์ สาธร เลขที่ 22 ม.6/1 
2. นางสาว ปวีณา อ่อนหวาน เลขที่ 26 ม.6/1 
3. นางสาว วสา ลิ้มสุวัฒนกุล เลขที่ 35 ม.6/1 
ครูที่ปรึกษาโครงงาน 
นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ 
ครูผู้ช่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 
โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ 
สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 
สานักงานคณะกรรมการการขั้นพื้นฐาน 
กระทรวงศึกษาธิการ
1. ที่มาและความสาคัญของโครงงาน 
จากการที่ได้รับมอบหมายให้กลุ่มของข้าพเจ้าสารวจทรัพยากรชีวภาพในชุมชน ซึ่งกลุ่ม ของข้าพเจ้าเลือกที่จะสารวจในชุมชน วัดอนัมนิกายาราม เพราะมีสมาชิกของกลุ่ม ข้าพเจ้าอาศัยอยู่และเป็นชุมชนที่ติดแม่น้าและวัดซึ่งน่าจะมีทรัพยากรทางชีวภาพที่ หลากหลาย 
2. วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน 
2.เพื่อพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรทางชีวภาพ 
3. สมมติฐานของการศึกษา 
เนื่องจากชุมชนที่กลุ่มข้าพเจ้าสารวจเป็นชุมชนที่ติดแม่น้าและวัด ทางกลุ่มข้าพเจ้าจึงคิดว่า ชุมชนแห่งนี้มีทรัพยากรทางชีวภาพที่หลากหลาย 
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน 
1.สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรชีวภาพในชุมชนมีอะไรบ้าง 
2.สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรชีวภาพในชุมชนมีลักษณะอย่างไร 
3.สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรชีวภาพในชุมชนแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 
5. ทฤษฎีหลักการหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทาโครงงาน 
โครงสร้างของพืช 
เนื้อเยื่อพืช เนื้อเยื่อพืชที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืชแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตาม ความสามารถในการแบ่งเซลล์ หน้าที่ ลักษณะโครงสร้าง หรือตามตาแหน่งที่อยู่ ถ้าจาแนกตาม ความสามารถในการแบ่งเซลล์จะแบ่งเนื้อเยื่อพืชเป็น 2 ประเภท คือ 1.เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)เนื้อเยื่อเจริญเป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนาด เล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกัน ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเจริญอกเป็น 3 ประเภท ตามตาแหน่ง 1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) : เนื้อเยื่อประเภทนี้พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา 
2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Laterral meristem) : จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่าง สี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
- วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด - คอร์ก แคมเบียม : ทาหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทาหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส วาสคิวลาร์แคมเบียม คอร์ก แคมเบียม 3.เนื้อเยื่อเจริญเหนือ ข้อ(Intercalary meristem) : เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบ เลี้ยงเดี่ยว ทาให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง 2.เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโต และ เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทาหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลงไปสุดแท้แต่ว่า จะกลายไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดไหน ซึ่งโดยมาก มักมีสารประกอบต่าง ๆ ไปสะสมบน cell wall ให้หนาขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เมื่อจาแนกตามลักษณะของเซลล์ที่มาประกอบกันจาแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ - เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วย เซลล์ชนิดเดียวกันล้วน ๆ จาแนกออกเป็น หลายชนิด คือ Epidermis Parenchyma Collenchyma Sclerenchyma Coke Secretory tissue - เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทางานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง 
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว Epidermis เป็น simple tissue ที่อยู่ผิวนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช (ถ้าเปรียบกับตัวเรา ก็คือ หนังกาพร้านั่นเอง) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อโตเต็มที่แล้ว จะมี Vacuole ขนาดใหญ่ จนดัน protoplasm ส่วนอื่น ๆ ให้ร่นไปอยู่ที่ขอบเซลล์หมดหน้าที่ของ epidermis
- ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย - ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้า (เพราะถ้าพืชเสียน้าไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้าไม่ ให้ ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ามากเกินไป จะเน่าได้ ) - ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้า คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ - ช่วยดูดน้าและเกลือแร่ epidermis คือบริเวณกลมๆใสๆด้านบน Parenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Parenchyma Cell ซึ่งเป็นเซลล์พื้นทั่ว ๆ ไป และ พบมากที่สุดในพืชโดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้าได้มาก เช่น ในชั้น Cortex และ Pith ของรากและ ลาต้น Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือ ทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มี cell wall บาง ๆ หน้าที่ Parenchyma - ช่วยสังเคราะห์แสง - สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้า - สร้างน้ามันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ - บางส่วนช่วยทาหน้าที่หายใจ 
เนื้อเยื่อพาเรงคิมา Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมาก เล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง หน้าที่ของ Collenchyma - ช่วยทาให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้ - ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย
Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตาย แล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้น ด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช Sclerenchyma จาแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ 1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสอง เสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทาจากลาต้นหรือใบ ของพืช ต่าง ๆหน้าที่ของ Fiber - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช - ช่วยพยุงลาต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง 2. Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มาก ตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ด พุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง หน้าที่ของ Stone cell - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก) Cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลาต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทาจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกาลังจะร่วง และแผลเป็นตามลาต้น หน้าที่ของคอร์ก - ช่วยป้องกันการระเหยของน้า ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก ราก คือ ส่วนหนึ่งที่งอกต่อจากต้นลงไปในดิน ไม่แบ่งข้อและไม่แบ่งปล้อง ไม่มีใบ ตา และดอก หน้าที่ ของราก คือ สะสมและดูดซึมอาหารมาบารุงเลี้ยงต้นพืช นอกจากนี้ยังยึดและค้าจุนต้นพืช รากของพืช แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ 1.ระบบรากแก้ว ต้นพืชหลายชนิดเป็นแบบรากแก้ว คือมีรากสาคัญงอกออกจากลาต้นส่วนปลายรูปร่าง ยาว ใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของราแก้ว จะแตกแขนงออกได้ 2-3 ครั้ง ไปเรื่อย ๆ รากเล็กส่วนปลาย
จะมีรากฝอยเล็ก ๆ ออกมาเป็นจานวนมาก เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการดูดซึมอาหารให้กับต้นพืช มักจะพบว่า พืชใบเลี้ยงคู่จะมีรากแบบรากแก้ว ตัวอย่างพืชที่มีลักษณะนี้คือ ขี้เหล็ก คูน มะกา มะหาด เป็นต้น 2. ระบบรากฝอย เป็นรากที่งอกออกจากลาต้นส่วนปลายพร้อมกันหลายๆ ราก ลักษณะ เป็นรากกลมยาว ขนาดเท่าๆ กันพบว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากแบบรากฝอย ตัวอย่างพืชที่มีรากแบบนี้คือ ตะไคร้ หญ้าคา เป็นต้น บางทีรากจะเปลี่ยนลักษณะไป เนื่องจากได้รับอิทธิพล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รากที่เปลี่ยน ลักษณะไปนี้มีหลายชนิด เช่น รากสะสมอาหาร รากค้าจุน รากเกี่ยวพัน รากอากาศ เป็นต้นบางชนิดนี้ บางครั้งก็อยู่บนดินจะต้องใช้การสังเกต แต่อย่างไรก็ตาม มันยังคงลักษณะทั่วไปของรากให้เรา สังเกตเห็นได้ โครงสร้างของราก เนื้อเยื่อของรากทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ตัดตามขวาง ตรงบริเวณที่เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ จะพบว่าเนื้อเยื่อของรากแบ่งออกเป็นชั้นๆเรียงจากภายนอกเข้าไปตามลาดับดัง นี้ 
1. epidermis เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดมีเซลล์ที่เรียงตัวกันเพียงชั้นเดียวและผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพ ลาสต์ บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก 2. cortex เป็นอาณาเขตระหว่างชั้น epidermis และ stele ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่ทาหน้าที่ สะสมน้าและอาหารเป็นส่วนใหญ่ ชั้นในสุดของ cortex จะเป็นเซลล์แถวเดียวเรียก endodermis ในราก พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นชัดเจนเซลล์ในชั้นนี้เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมี ผนังหนาเพราะมีสารซูเบอริน หรือ ลิกนินสะสมอยู่ แต่จะมีช่วงที่มีเซลล์ผนังบางแทรกอยู่ในชั้นนี้และอยู่ตรงกับแนวของไซเลม 3. stele เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้น endodermisเข้าไป พบว่าstele ในรากจะแคบกว่าชั้น cortex ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้ 3.1 pericycle เป็นเซลล์ผนังบางขนาดเล็กมี 1-2 แถว พบเฉพาะในรากเท่านั้น เป็นแหล่งกาเนิด ของรากแขนง ( secondary root ) 3.2 vascular bundle ประกอบด้วย xylem อยู่ตรงใจกลางเรียงเป็นแฉกโดยมี phloem อยู่ ระหว่างแฉก สาหรับพืชใบเลี้ยงคู่ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium คั่นระหว่าง xylem กับ phloem ในรากของพืชใบเลี้ยงคู่มีจานวนแฉกน้อยประมาณ 1-6 แฉก โดยมากมักมี 4 แฉก ส่วนรากของ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักมีจานวนแฉกมากกว่า 3.3 pith เป็นบริเวณตรงกลางรากหรือไส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วน ใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาส่วนรากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงกลางมักเป็น xylem
หน้าที่ของราก 1. ดูด ( absorption ) น้าและแร่ธาตุที่ละลายน้าจากดินเข้าไปในลาต้น 2. ลาเลียง ( conduction ) น้าและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลาต้น 3. ยึด ( anchorage ) ลาต้นให้ติดกับพื้นดิน 4. แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสาคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลาเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนลาต้น ส่วนยอด และส่วน อื่นๆของพืชนอกจากนี้ยังมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่ทาหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง ค้าจุน ยึดเกาะ หายใจ เป็นต้น
ชนิดของราก 
1. primary root เป็นรากที่มีกาเนิดและเจริญเติบโตมาจาก radicle รากชนิดนี้ตอนโคนจะโตแล้วค่อยๆเรียว เล็กลงเรื่อยๆจนถึงปลายซึ่งก็คือ รากแก้ว ( tap root )นั่นเอง 
2. secondary root เป็นรากที่มีกาเนิดและเจริญเติบโตออกมาจาก primary root อีกทีหนึ่ง เป็นรากที่เรียกกัน ทั่วๆไปว่า รากแขนง ( lateral root ) และแขนงต่างๆที่แยกออกไปเป็นทอดๆนั้นต่างมีกาเนิดมาจากเนื้อเยื่อ pericycleในรากเดิมทั้งสิ้น 
3. adventitious root รากพิเศษ หรือ รากวิสามัญ เป็นรากที่ไม่ได้มีกาเนิดมาจาก radicle และก็ไม่เป็นแขนง ของprimary root จาแนกเป็นชนิดย่อยๆลงไปอีกตามรูปร่างและหน้าที่ของมัน คือ 
3.1 รากฝอย ( fibrous root ) เป็นรากเส้นเล็กๆมากมายขนาดสม่าเสมอตลอดความยาวของราก งอกออก จากรอบๆโคนต้นแทนรากแก้วที่ฝ่อไป พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่ใหญ่ เช่น รข้าว ข้าวโพด หญ้า หมาก มะพร้าว ตาล กระชายพบในพืชใบเลี้งคู่บางชนิด เช่น รากต้อยติ่ง มันเทศ มันแกว 
3.2 รากค้าจุน ( prop root ) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลาต้นที่อยู่ใต้ดินและเหนือดินเล็กน้อย แล้ว พุ่งทะแยงลงไปในดินเพื่อช่วยพยุงและค้าจุนลาต้น ได้แก่ รากเตย ลาเจียก ข้าวโพด ยางอินเดีย โกงกาง และ ไทรย้อย เป็นต้น 
3.3 รากสังเคราะห์แสง ( photosynthetic root ) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลาต้นหรือกิ่งแล้วห้อยลง มาในอากาศ มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์จึงสังเคราะห์แสงได้ ได้แก่ รากกล้วยไม้ ไทร โกงกาง ซึ่งจะมีสีเขียว เฉพาะตรงที่ห้อยอยู่ในอากาศเท่านั้น รากกล้วยไม้นอกจากจะมีสีเขียวและช่วยในการสังเคราะห์แสงแล้ว พบว่ามีเยื่อพิเศษลักษณะนุ่มคล้ายฟองน้า เป็นเซลล์พวกพาเรงคิมาเรียงตัวกันอย่างหลวมๆ โดยมีช่องว่าง ระหว่างเซลล์มากเรียก นวม ( velamen ) หุ้มอยู่ตามขอบนอกของรากช่วยดูดน้า รักษาความชื้นให้แก่ราก ตลอดทั้งช่วยในการหายใจด้วย 
3.4 รากหายใจ ( respiratory root or aerating root ) เป็นรากที่ชูปลายรากขึ้นมาเหนือพื้นดินบางทีก็ลอย ตามผิวน้า เพื่อช่วยในการหายใจได้มากเป็นพิเศษกว่ารากปกติทั่วๆไป ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของราก ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาซึ่งเรียงตัวอย่าง หลวมๆ มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ทาให้อากาศผ่านเข้าสู่ เซลล์ชั้นในของรากได้ง่าย รากเหล่านี้อาจเรียกว่า รากทุ่นลอย ( pneumatophore )
3.5 รากเกาะ ( climbing root ) เป็นรากที่แตกออกมาจากส่วนข้อของลาต้น แล้วเกาะติดกับสิ่งยึดเกาะ เช่นเสาหรือหลักเพื่อพยุงลาต้นให้ติดแน่นและชูส่วนของลาต้นให้สูงขึ้นไป และให้ส่วนต่างๆของพืชได้รับ แสงมากขึ้น ได้แก่ พลูพลูด่าง พริกไทย และกล้วยไม้ เป็นต้น 
3.6 รากกาฝาก ( parasitic root ) เป็นรากของพืชที่ไปเกาะต้นพืชชนิดอื่น แล้วมีรากเล็กๆแตกออกมา เป็นกระจุกแทงลงไปในลาต้นจนถึงท่อลาเลียงเพื่อแย่ง อาหาร ได้แก่ รากฝอยทอง กาฝาก เป็นต้น 
3.7 รากสะสมอาหาร ( storage root ) ทาหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีน เช่น ราก กระชายมันเทศ มันแกว มันสาปะหลัง เป็นต้น 
3.8 รากหนาม ( root thorn ) เป็นรากที่มีลักษณะเป็นหนามงอกมาจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่ๆ เป็นรากปกติแต่ต่อมาเกิดเปลือกแข็งทาให้มีลักษณะคล้ายหนามแข็ง ช่วยป้องกันโคนต้นได้ เช่น ปาล์ม โครงสร้างและหน้าที่ของลาต้น 
โครงสร้างและหน้าที่ของลาต้น ลาต้น(stem) เป็นอวัยวะของพืชซึ่งส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นมาเหนือดินแต่ก็มีพืชบางชนิดที่ลา ต้นอยู่ ใต้ดิน ลาต้นประกอบด้วยส่วนสาคัญ 2 ส่วนคือ 1. ข้อ(node) เป็นส่วนของลาต้นที่มีตา(bud)ซึ่งจะเจริญไปเป็นกิ่ง ดอก หรือใบ 2..ปล้อง(internode) เป็นส่วนของลาต้นที่อยู่ระหว่างข้อ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสังเกตส่วนของข้อปล้องได้อย่างชัดเจนตลอดชีวิต เช่น ต้นไผ่ ต้น อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่นั้นส่วนใหญ่แล้วข้อปล้องจะสังเกตได้ไม่ชัดเจนทั้งนี้ เพราะเมื่อ เจริญเติบโตเต็มที่แล้วมักจะมีเนื้อเยื่อชั้นคอร์ก(cork) มาหุ้มโดยรอบเอาไว้ การจะสังเกตอาจจะสังเกตใน ขณะที่พืชยังอ่อนอยู่ แต่ก็ยังมีพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดที่สามารถสังเกตเห็นข้อปล้องได้อย่างชัดเจน ตลอดชีวิต เหมือนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่พวกไม้ล้มลุกต่างๆ เช่น ต้นตาลึง ฟักทอง และผักบุ้ง เป็นต้น โครงสร้างของลาต้น 
1.โครงสร้างภายในของปลายยอดพืช บริเวณปลายยอดพืชสามารถแบ่งออกเป็นบริเวณ(region/zone) ได้ทั้งหมด 3 บริเวณด้วยกันคือ
1.บริเวณเซลล์แบ่งตัว(region of cell division) 2.บริเวณเซลล์ยืดตัว(region of cell elongation) 3.บริเวณเซลล์เจริญเต็มที่ (region of maturation) 
2.โครงสร้างภายในของลาต้นที่ตัดตามขวาง เมื่อนาปลายยอดของพืชมาตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเต็มที่จะพบว่าโครงสร้าง ภายใน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆตามแต่ชนิดของพืชโดยแบ่งได้ดังนี้ 
2.1.โครงสร้างภายในของลาต้นพืชใบเลี้ยงคู่ 
epidermis เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทาหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภายในของลาต้น ส่วนใหญ่ เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว พืชบางชนิด epidermis มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนของ trichome / hair และ guard cell ในต้นพืชที่อายุมากส่วนใหญ่แล้วส่วนของ epidermis จะหลุดหายไปเพราะถูกแทนที่ ด้วยส่วนของคอร์ก 
stele (สตีล) เป็นชั้นที่ถัดเข้ามาจากชั้นคอร์เทกซ์ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ endodermis เข้ามาจนถึงใจกลาง ของลาต้น แต่เนื่องจากในลาต้นเนื้อเยื่อ endodermis ส่วนใหญ่เห็นได้ไม่ชัดเจนหรือหนังสือบางเล่มก็กล่าว ว่าในลาต้นจะไม่มีเนื้อ เยื่อ endodermis ทาให้ชั้นสตีลในลาต้นแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน เหมือนในส่วน ของรากพืช ภายในชั้นสตีลจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่สาคัญคือ 
vascular bundle หมายถึงกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทาหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลาเลียงภายในเนื้อเยื่อ vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อเยื่อลาเลียงอาหาร(phloem)เรียงตัวอยู่ทางด้านนอกและกลุ่มเนื้อ เยื่อ ลาเลียงน้า(xylem)เรียงตัวอยู่ทางด้านในหรือด้านที่ติดกับ pith ระหว่าง xylem กับ phloem จะมีเนื้อเยื่อเจริญ ที่เรียกว่า vascular cambium คั่นกลางอยู่ทาหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อให้กาเนิด xylem และ phloem 
pith เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลาต้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma จึงทาหน้าที่ในการสะสมสารต่างๆ ลาต้นของพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลาย ไปกลายเป็น ช่องกลวงกลางลาต้น เรียกช่องนี้ว่า pith cavity
2.2โครงสร้างภายในของลาต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 
epidermis เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทาหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภาย ในของลาต้น ส่วนใหญ่ เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียวและมีอยู่ตลอดไป ยกเว้นใน ต้นพืชตระกูลปาล์มจะมีเฉพาะในปีแรกเท่านั้น เพราะต่อมาจะมีเนื้อเยื่อคอร์ก (cork) มาแทน 
cortex มีเนื้อเยื่อบางๆ1-2 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อชนิด parenchyma และส่วนใหญ่ไม่พบ endodermis ทา ให้อาณาเขตแบ่งได้ไม่ชัดเจน 
vascular bundle กลุ่มของเนื้อเยื่อลาเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนของ xylem, phloem จะเรียงตัวกันมอง คล้ายๆใบหน้าคน มีส่วนของ vessel อยู่บริเวณคล้ายดวงตา ส่วน phloem อยู่บริเวณคล้ายหน้าผาก xylem และ phloem จะถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อ parenchyma หรืออาจเป็น sclerenchyma และเรียกเซลล์ที่มา ล้อมรอบนี้ว่า bundle sheath vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ไม่พบเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium ยกเว้นหมากผู้หมากเมีย และพืชตระกูลปาล์ม pith เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลาต้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบาง ชนิด เช่น ข้าวโพด ในเนื้อเยื่อของ pith นี้จะพบ vascular bundle กระจายอยู่เต็ม นอกจากนี้พืชบางชนิด เนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็นช่องกลวงกลางลา ต้น เรียกว่า pith cavity เช่นต้นไผ่ ต้นข้าวเป็น ต้น
ชนิดและหน้าที่ของลาต้น 
1.ลาต้นเหนือดิน(aerial stem/terrestrial stem) creeping stem คือลาต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิว 
climbing stem คือลาต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่ลาต้นตั้งตรงอยู่ใกล้ๆจะ ถูกใช้ไต่ขึ้นไป แบ่งออกเป็น 
twining stem ลาต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลาต้นพันกับหลัก 
stem tendril ลาต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ส่วนของลาต้นดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril) เพื่อพันหรือไต่ขึ้น ที่สูง ส่วนของ tendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น root climber ลาต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากซึ่งออกมาตามข้อ ยึดหลักหรือ 
stem spine / stem thorn ลาต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามหรือขอเกี่ยว (hook) เพื่อไต่ขึ้นที่สูง 
cladophyll / phylloclade / cladode คือลาต้นที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะหรือหน้าที่คล้ายใบ bulbil / crown / slip คือลาต้นที่เป็นตาหรือหน่อเล็กๆ สั้นๆ ที่ประกอบด้วยยอดอ่อนและใบเล็กๆ 2-3 ใบ แตกออกระหว่างซอกใบกับลาต้น หรือแตกออกจากยอดของลาต้นแทนดอก เมื่อมันหลุดร่วงลงดินก็ สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ 
2.ลาต้นใต้ดิน (underground stem) rhizome คือลา ต้นใต้ดินที่เรียกกันว่า แง่ง หรือเหง้า ส่วนใหญ่ขนานกับพื้นดิน มีข้อปล้องเห็นได้ ชัดเจน ตามข้อมีใบที่เป็นแปลงเป็นสีน้าตาล 
tuber ลาต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร ทาให้อวบอ้วน แต่บริเวณที่เป็นตาจะไม่อ้วนออกมาด้วยทาให้เห็น เป็นรอยบุ๋ม ได้แก่ มันฝรั่ง เป็นต้น 
bulb ลาต้นใต้ดินที่ลาต้นเล็กมีปล้องสั้นมาก ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายๆชั้น ห่อหุ้มลาต้น เอาไว้และสะสมอาหาร เช่น หอม กระเทียม เป็นต้น 
corm เป็นลาต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับ bulb มีลักษณะคล้ายกันแต่เก็บสะสมอาหารไว้ในลาต้น จนทาให้เห็นลาต้นอวบอ้วน ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆหุ้ม มีตางอกตามข้อ
วงปี 
ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟล เอ็มขั้นที่ 2 จานวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้าและธาตุอาหารในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทาให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจางในฤดูแล้ง เซลล์ ชั้นในไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทาให้เห็นแถบแคบๆและมีสีเข้ม ลักษณะดังกล่าวทาให้เห็น เนื้อไม้มีสีจางและเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี 
โครงสร้างและหน้าที่ของใบ 
ใบถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สาคัญ ต่อพืชเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังงานที่ได้มานั้นต้องอาศัยการสังเคราะห์ แสงซึ่ง เกือบทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ใบของพืช 
โครงสร้างของใบ 
1. โครงสร้างภายนอกของใบ ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้าน ใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลาต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ การที่ใบพืชมี ลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ ได้พลังงานไปใช้ในการตรึง คาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารรับสีที่รับ พลังงานแสง แต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ
ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลาเลียงสารต่างๆ จากท่อลาเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง ก้านใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่ เรียงขนานกันจนถึง ปลายใบ พืชบางชนิดเส้นใบย่อยแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และ เส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองอีกด้วย 
2. โครงสร้างภายในของใบ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลาต้น 1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมี น้อยยกเว้นเซลล์คุม เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้า ออกจาก ใบ เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน พืชที่ใบลอยปริ่มน้า เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้า เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปาก ใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด 2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ที่มีคลอโรพลาสต์จานวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทาให้โครงสร้างภายใน แบ่งเป็น2 ชั้นคือ 1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์ รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพ ลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก
2. สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิ สด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทาให้เกิดช่องว่างระหว่าง เซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์ 3. มัดท่อลาเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลาเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด บันเดิลชีทในพืชบาง ชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทาให้มัดท่อลาเลียงแข็งแรง เร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมี คลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช มัดท่อลาเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์ หน้าที่ของใบ 
- ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร เรียกว่า "การสังเคราะห์ด้วยแสง" นอกจากนี้ใบของพืชบางชนิดยังทา หน้าที่อย่างอื่นอีก เช่น ใบตาลึง มะระ และถั่วลันเตา ทาหน้าที่ยึดและพยุงลาต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ - ใบกระบองเพชรจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม เพื่อลดการคายน้าของใบ เนื่อง จากกระบองเพชร ดารงชีวิตอยู่ในที่แห้งแล้ง ไม่มีน้า - ใบหม้อข้าวหม้อแกงลิงทาหน้าที่จับแมลงเป็นอาหาร - ใบว่านหวงจระเข้ กลีบของกระเทียม และหัวหอม ทาหน้าที่สะสมอาหาร 
โครงสร้างลักษณะของนก 
กาเนิดนก 
นก เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีโครงสร้างกระดูกและ กล้ามเนื้อคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเกล็ดขาที่มีลักษณะเป็นเกล็ดเช่นเดียวกัน รวมทั้งการออกไข่และตัวอ่อนมี ฟันพิเศษสาหรับเจาะเปลือกไข่ออกมาเหมือนกัน ทั้งนี้จากหลักฐานที่ยืนยัน ทฤษฎีดังกล่าว คือ การขุดพบ ซากดึกดาบรรพ์อายุประมาณ 130 ล้านปีที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ . ศ . 2504 ซากดึกดา บรรพ์ดังกล่าว มีลักษณะกึ่งนกกึ่งสัตว์เลื้อยคลาน คือ ที่ปากมีฟัน มีเล็บยื่นออกมาจากหัวปีกและมีกระดูก หางยาว ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน ขณะเดียวกันก็มีขนปกคลุมลาตัวเช่นเดียวกับนก นักวิทยาศาสตร์เรียกซากดึกดาบรรพ์ที่ค้นพบชิ้นนี้ว่า อาร์คีออพเทอริกซ์ ซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของนก 
วิวัฒนาการของนก 
หลัง จากที่อาร์คิออพเทอริกซ์ได้ถือกาเนิดขึ้นมา ต้องใช้เวลาอีกหลายล้านปี ผ่านช่วงวิวัฒนาการหลายยุค หลายสมัย จึงเกิดต้นตระกูลของนกชนิดต่างๆ มากมายตามสภาพแวดล้อม โดยมีการวิวัฒนาการ
เปลี่ยนแปลงรูปทรงภายนอกและโครงสร้างภายใน ตลอดจนอวัยวะต่างๆ ให้เหมาะสมแก่การบิน โดยขา หน้าได้พัฒนากลายเป็นปีกสาหรับบิน ลาตัวมีลักษณะเพรียว ไม่มีอวัยวะที่จะทาให้เกิดแรงต้าน โครงกระดูก ถูกปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงรวมกลุ่มกันอยู่ตอนกลาง มีคอ ปีก และขาติดกันอยู่ กระดูกสันหลังสั้นเชื่อม ติดกันโดยตลอด ด้านท้ายเป็นกระดูกตะโพกที่ยาวเรียวแค่แข็งแรง กระดูกอกใหญ่มีสันสูงตรงกลางเป็นที่ยึด กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ใช้ในการบิน ระหว่างกระดูกสันหลังกับกระดูกอกมีกระดูกซี่โครงชุดหนึ่งยึดตาม แนวตั้ง เป็นแกนช่วยพยุงทางด้านข้าง กระดูกซี่โครงแต่ละอันมีแขนงก้านหนึ่งยื่นไปซ้อนทับกับกระดูกซึ่ง โครงอันถัด ไปทาให้มีโครง ร่างแข็งแรงยิ่งขึ้นช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่อยู่ในโครงกระดูกได้อย่างดี นอกจากนี้กระดูกนกยังมีลักษณะกลวงเป็นโพรงภายใน ทาให้มีน้าหนักเบา สามารถพยุงตัวในอากาศได้ง่าย และมีถุงลมกระจายอยู่ทั่วตัว เพื่อช่วยในการหายใจ เนื่องจากนกจาเป็นต้องใช้อากาศเป็นจานวนมากระหว่าง บิน 
ขนนก 
ขน ( feather ) ปกคลุมลาตัวของนกเป็นโครงสร้างพิเศษที่พบได้เฉพาะในนกเท่านั้น ขนนกเกิดจากเซลล์ที่ อยู่ภายใต้ผิวหนังค่อยๆ ขยายตัวขึ้นเป็นตุ่มแข็ง แล้วงอกยาวขึ้นเป็นฝักรูปกระสวยฝังลึกลงไปในเนื้อเยื่อของ ผิวหนังชั้นใน เพื่อรับเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเป็นอาหาร ต่อมาจึงค่อยๆ สร้างก้านขนและเส้นขน เมื่อโต เต็มที่กระสวยจึงแยกออกโผล่ขึ้นมาเป็นขนนก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ โครงสร้างของก้านขนและเส้นขนจะ แข็ง เพราะเป็นโครงสร้างที่ตายแล้ว เมื่อถึงระยะเวลาผลัดขนจึงจะหลุดร่วงไป 
ขนนกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 
1. ขนคอนทัวร์ ( contour ) เป็นขนที่พบมากที่สุดบนตัวนก คลุมอยู่ชั้นนอกสุด ไม่ว่าจะเป็นขนปกคลุมตัว ขนปีก และขนหาง เป็นขนที่บอกรูปร่างและสีสันของนกแต่ละตัว และทาหน้าที่ในการทรงตัวปรับทิศทาง ขณะบิน 
2. ขนดาวน์หรือขนอุย ( down ) เป็นขนที่สั้นและนุ่มมาก ก้านขนด้านนอกสั้นหรือไม่มีเลย ขนดาวน์ซ่อนอยู่ ใต้ขนคอนทัวร์ และพบมากกกับลูกนกที่เพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ทาหน้าที่ช่วยรักษาความร้อนไม่ให้ สูญเสียไปจากร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น 
ขน นกไม่ได้ขึ้นปกคลุมทั่วทั้งตัวนก แต่ที่เราเห็นเหมือนขนปกคลุมทั่วตัวนก เพราะเส้นขนเรียงตัวเป็นแนว อย่างเป็นระเบียบ แนวขนที่สาคัญมี 2 แนวคือ 
1. แนวทางขนปีก เป็นแนวทางที่อยู่บนปีก จาแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ 
 ขนปลายปีก ( primary feather ) เป็นขนที่อยู่บริเวณปลายปีก
 ขนกลางปีก ( secondary feather ) เป็นขนที่อยู่บริเวณกลางปีก ขนปลายปีกและขนกลางปีกมีขนาด ใหญ่แข็งแรง มีความสาคัญในการบิน 
 ขนคลุมปีก ( wing covert ) เป็นขนขนาดเล็กอยู่ด้านบนของปีก คลุมโคนก้านขนปลายปีกและขน กลางปีก 
 ขนปีกน้อย ( alula ) เป็นก้านขนสามสี่เส้นอยู่ที่กระดูกนิ้ว ช่วยให้เกิดช่องอากาศเล็กๆ สาหรับเพิ่ม พื้นผิว ช่วยบังคับความเร็วของการบินเมื่อเวลาร่อนลงหรือหยุดเกาะ 
2. แนวทางขนหาง เป็นขนที่อยู่ส่วนหาง มี 2 ส่วน คือ 
 ขนหางเป็นขนที่อยู่ปลายสุดของหางทาหน้าที่เป็นหางเสือสาหรับบังคับทิศทางและ รักษาการ ทรง ตัวขณะบินอยู่ในอากาศ นกบางชนิดสามารถแผ่ขนหางได้ เช่น ไก่งวง 
 ขนคลุมหาง มีอยู่หลายแถวติดกับขนหาง นกบางชนิดก็แผ่ขนคลุมหางได้ เช่น นกยูง 
นอก จากมีสีสันสวยงามแล้ว ขนนกยังช่วยปกคลุมลาตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งมีคมและความร้อนจาก แสง อาทิตย์ รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่โดยขยับขนให้ตั้งขึ้นหรือแนบ ชิดกับลาตัวที่ สาคัญที่สุดคือ ขนนกทาหน้าที่ในการบินและลอยตัวกลางอากาศ 
สีขน 
สี ของขนนกเกิดจากเม็ดสีต่างๆ ทาให้เกิดเป็นสีเหลือง แดง เขียว ฯลฯ ต่างกันออกไป สาหรับนกที่ไม่มีเม็ด สีจะมีขนเป็นสีขาว เช่น นกยาง นกนางนวล ฯลฯ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดสีขนคือ การสะท้อนและหักเห ของแสง อันเป็นผลจากคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นขน สีของขนนกมีความสาคัญ คือ ช่วยพรางตัวให้ กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อประโยชน์ในการหลบซ่อนศัตรูหรือเพื่อซุ่มจับเหยื่อ และช่วยดึงดูดเพศตรง ข้ามในฤดูผสมพันธุ์นก ต้องดูแลขนของตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าขนสกปรกจะทาให้ขนปีกติดกัน และนกอาจตกลงมาในเวลาบินได้ ทั้งยังเป็นการขับไล่แมลงและไรที่เกาะหากินอยู่บนตัวนก นกบางชนิดใช้ วิธีอาบน้าด้วยการจุ่มหัวลงไปในน้าอย่างรวดเร็ว แล้วใช้ปีกตีน้าให้กระเซ็นไปทั่วตัว ส่วนนกที่ไม่ชอบลง มายังพื้นดินจะออกมาอาบน้าโดยการตากฝน เช่น นกเงือก นกที่บินร่อนโฉบได้เก่ง เช่น นกนางแอ่น นก แซงแซว จะใช้วิธีโฉบลงไปที่ผิวน้า เพื่อให้ตัวเปียกอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากอาบน้าแล้ว นกจะไซ้ขนโดย สะบัดลาตัวให้น้ากระเซ็นออกมา แล้วใช้ปากแตะที่ต่อมน้ามันตรงโคนหาง ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้หลั่งน้ามัน ออกมา เมื่อโดนปากของนกไปแตะจากนั้นนกจะนาน้ามันที่ติดอยู่ที่ปากไซ้และลูบไล้ไป ตามเส้นขนจน เรียบ แห้งสวยงามพวกนกน้า เช่น นกเป็ดน้า จะใช้ต่อมน้ามันทาตามขน เพื่อไม่ให้ขนเปียกขณะที่อยู่ในน้า
ปีกและการบิน 
การ บินของนกเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน โดยมีปีกเป็นตัวหลักในการพยุงตัวให้อยู่ในอากาศ และผลักดันให้เคลื่อนที่ไปในอากาศได้ ปีกของนกเมื่อมองในด้านตัดจะมีรูปร่างเพรียวลม ด้านบนโค้งนูน ส่วนด้านล่างเว้า เมื่อขอบปีกด้านหน้าปะทะกับอากาศในเวลาที่นกกระพือปีก ความแตกต่างของความกด อากาศดังกล่าว ทาให้เกิดการลอยตัวยกให้นกลอยสูงขึ้นได้ และหากขอบหน้าของปีกนกถูกยกขึ้นให้ สัมพันธ์กับทิศทางของการเคลื่อนไหว มีผลให้นกลอยตัวสูงขึ้นตามไปด้วยสิ่ง ที่ทาให้นกสามารถเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าได้นั้นอยู่ที่นกใช้การกระพือปีกดัน ให้ตัวเองบินไป ข้างหน้าไม่ได้กระพือปีกขึ้นลงแบบธรรมดา เมื่อปีกของนกกางออกเต็มที่ เวลากระพือลงบริเวณปลายปีกจะหมุนไปรอบๆ และดันให้อากาศผ่านไปทาง ข้างหลัง ทาให้นกพุ่งตัวไปข้างหน้า และนกจะกระพือปีกขึ้นกลับไปอยู่ในตาแหน่งที่พร้อมจะกระพือลงให้ นกเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าได้อีกครั้ง เมื่อนกกระพือปีกติดต่อกัน จึงทาให้สามารถบินไปมาในอากาศได้ และ ในเวลาที่ต้องการลงเกาะกิ่งไม้ นกต้องเหยียดขาไปข้างหน้า พร้อมกับแผ่ปีกและกางขนหางออกเพื่อชะลอ ความเร็วก่อนหยุดบินนอก จากนี้ขนนกยังมีบทบาทกาหนดลักษณะการบินของนกให้แตกต่างกัน โดยขน ปลายปีกจะทาหน้าที่ในการเคลื่อนที่และผลักดันลาตัวไปข้างหน้า ส่วนขนกลางปีกเป็นขนปีกที่ส่วนบนโค้ง ส่วนล่างแบนใช้ในการลอยตัว สาหรับขนหางมีความสาคัญสาหรับเป็นหางเสือช่วยการทรงตัวในระหว่าง บิน ช่วยบังคับทิศทางและชะลอความเร็วเมื่อจะหยุดบินปีกของนกมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป เพื่อให้ เหมาะสมกับการใช้งานของนกแต่ละชนิด ดังนี้ 
 ปีกแคบและสั้น เหมาะสาหรับการบินเร็วๆ ช่วงสั้น ส่วนใหญ่พบในนกที่อาศัยอยู่ตามป่า เช่น นกเขา นกปรอด 
 ปีกแบน เรียวบาง และ ลู่ไปทางด้านท้าย ช่วยให้บินได้เร็วและเลี้ยวไปมาอย่างคล่องแคล่ว พบใน นกที่บินหากินตลอดเวลา เช่น นกนางแอ่น และนกที่บินย้ายถิ่นเป็นระยะทางไกลๆ เช่น นกชายเลน 
 ปีกแคบและยาว เหมาะสาหรับการร่อนโดยเฉพาะ พบในนกทะเลที่ชอบร่อนเหนือน้าทั้งวันโดย แทบไม่กระพือปีกเลย เช่น นกบู๊บบี้ 
 ปีกโค้งใหญ่และปลายขนปีกแยกจากกัน สาหรับร่อนที่สูงช่วยให้นกบินลอยตัวได้สูงขึ้นและร่อน ตามลมได้ดี พบในนกขนาดใหญ่ที่ร่อนหากินระดับสูง เช่น นกอินทรี แร้ง 
การบินของนกยังมีรูปแบบต่างกันออกไป 4 แบบ 
1. การบินโบกปีก ( flapping ) เป็นการบินโบกปีกขึ้นลง แบบที่เห็นนกบินทั่วไป นกขนาดใหญ่จะประสบ ปัญหาเมื่อเริ่มต้นบิน ต้องใช้วิธีต่างๆ เพื่อช่วยพยุงตัว นกอินทรีใช้วิธีโผลงจากที่สูง นกยางใช้ขายาวผลักตัว ให้ขึ้นไปในอากาศก่อน แล้วจึงกระพือปีก ส่วนนกที่หากินบนน้า เช่น นกกระทุง จะใช้เท้าที่เป็นพังผืดวิ่งพุ้ย ไปบนน้าระยะหนึ่งก่อนจึงออกบิน
2. การบินร่อนลดระดับ ( gliding ) เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดของการบิน เพียงทิ้งน้าหนักตัวไปข้างหน้าให้ มากกว่าแรงด้านของอากาศ นกก็สามารถร่อนและลดระดับลงต่าได้ 
3. การบินร่อนรักษาระดับ ( soaring ) โดยไม่ต้องโบกปีกเลย ส่วนใหญ่ต้องเป็นนกขนาดใหญ่ถึงจะร่อน แบบนี้ได้โดยไม่เสียการทรงตัว นกที่มีปีกกว้างใหญ่ เช่น นกอินทรีจะอาศัยอากาศร้อนที่ลอยตัวขึ้นจาก พื้นดินช่วยพยุงตัวให้ร่อนอยู่ กลางอากาศ ส่วนนกทะเลที่มีปีกแคบเรียวยาวจะใช้กระแสลมช่วยพัดตัวพุ่งไป ข้างหน้า และจะร่อนอยู่ด้วยแรงเฉื่อยจนมีกระแสลมพัดมาใหม่ 
4. การบินทรงตัวอยู่กับที่ ( hovering ) เป็นการบินโดยกระพือปีกเร็วๆ จนเกิดแรงยกต้านแรงโน้มถ่วงของ โลกให้ทรงตัวนิ่งอยู่กลางอากาศ ส่วนใหญ่เป็นนกตามทุ่งโล่ง เช่น เหยี่ยวขาว นกกะเต็นปักหลัก 
อย่าง ไรก็ตามมีนกหลายชนิดบินไม่ได้ เพราะไม่จาเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการบิน ปีกจึงหดเล็กลงจนใช้ บินไม่ได้เลย เช่น นกกระจอกเทศ ซึ่งเดินหากินอยู่ตามทุ่งโล่ง ไม่จาเป็นต้องบินหาอาหาร จึงมีขายาวสาหรับ วิ่งแทนการใช้ปีกบิน นกเพนกวินที่อาศัยอยู่แถบขั้วโลกใต้ ปีกพัฒนาให้ทาหน้าที่คล้ายครีบสาหรับว่ายน้า จับสัตว์น้ากินอย่างคล่องแคล่ว 
ปาก 
นก มีความจาเป็นต้องใช้ประโยชน์จากปากในการดารงชีวิตหลายประการ ทั้งนี้นกสามารถใช้ปากทา พฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นการจิกฉวยสิ่งของ กินอาหาร สร้างรังหรือช่วยป้องกันตัว ปากของนกมีแผ่นแข็งเป็นปลอกหุ้มอยู่ บริเวณใกล้โคนปากด้านบนยกสูงเป็นเส้นเล็กน้อย และมีช่องจมูก เปิดออกตรงบริเวณนี้ นกแต่ละชนิดมีปากต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับอาหารที่กิน 
 นกกินเนื้อสัตว์ มีปากงองุ้มแหลมคม เพื่อฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆ ก่อนกลืนลงไป เช่น เหยี่ยว นกเค้า 
 นกกินเมล็ดพืช มีปากสั้นแข็งแรง เพื่อขบเมล็ดพืชที่มีเปลือกให้แตก เช่น นกกระจาบ นกกระติ๊ด 
 นกกินปลา มีปากยาวแหลมตรง เพื่อจับสัตว์น้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น นกยาง นกกะเต็น ส่วนนก อ้ายงั่ว จะใช้ปากแหลมพุ่งแทงทะลุตัวปลา แล้วจึงโผล่มากินบนผิวน้า สาหรับนกกาน้าที่มีปากยาว เช่นกัน แต่ตรงปลายปากจะงุ้มแหลมลงมาเพื่อจับปลาไม่ให้หลุด นกปากห่างมีปากแบบพิเศษที่มี ช่องตรงกลาง ปากแยกห่างออกจากกัน เพื่อใช้คาบหอยโข่งที่กลมลื่นไม่ให้หลุด 
 นกกินน้าหวานจากเกสรดอกไม้ มีปากเรียวยาวและโค้งลงเล็กน้อย เพื่อให้สามารถสอดเข้าไปใน เกสรดอกไม้ได้ แล้วใช้มีลิ้นแบบพิเศษที่พับเป็นหลอดยื่นออกจากปากเพื่อดูดน้าหวาน เช่น นก กินปลี
 นกกินแมลง มีปากสั้นแบนกว้าง และมีขนแข็งที่โคนปากไว้ช่วยต้อนแมลงเข้าปาก เช่น นกตบยุง นกแอ่น ส่วนนกหัวขวานมีปากขนาดใหญ่ยาวตรงและแข็งแรง ไว้สาหรับเจาะต้นไม้หาหนอนหรือ แมลงเป็นอาหาร และยังมีกะโหลกแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถทนแรงกระแทกเวลาเจาะต้นไม้ได้ดี 
 นกเป็ดน้ามีปากแบนใหญ่เพื่อใช้ไซ้หาอาหารในน้า ขณะที่นกชายเลนส่วนใหญ่มีปากเรียวยาวและ เล็ก เพื่อใช้จิ้มลงไปจับสัตว์เล็กๆ ในเลนกินเป็นอาหาร บางชนิดปากตรง เช่น นกตีนเทียน บางชนิด โค้งลง เช่น นกอีก๋อย บางชนิดงอนขึ้น เช่น นกชายเลนปากงอน 
ขาและตีนนก 
แม้ นกจะเป็นสัตว์ที่มีปีกและบินได้ แต่ยังต้องพึ่งพาขาและตีนในการดารงชีวิตอย่างมาก นกจาเป็นต้องใช้ ตีนเพื่อเกาะ เดิน ว่ายน้า บางชนิดใช้ตีนส่งอาหารเข้าปาก เช่น นกแก้ว ขาและตีนของนกมีวิวัฒนาการให้ เหมาะสาหรับสภาพแวดล้อมแบบใดแบบหนึ่ง นกแต่ละชนิดจึงมีลักษณะของขาและตีนแตกต่างกัน ดังนั้น ขาที่ปรับตัวและมีประโยชน์ในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง อาจไม่มีประโยชน์ในสภาพแวดล้อมแบบอื่นเลยก็ ได้ นิ้ว ตีน นก ส่วนใหญ่มีนิ้วตีน 4 นิ้ว โดยมี 3 นิ้วอยู่ด้านหน้า และนิ้วหัวแม่ตีนอยู่ทางด้านหลัง สาหรับใช้ เกาะกิ่งไม้หรือยืดตัวเมื่อยืนหรือเดิน แต่นกที่อยู่ตามพื้นดิน เช่น นกกระแตแต้แว้ด มีนิ้วหัวแม่ตีนเล็กลง เพราะว่าไม่จาเป็นต้องใช้นิ้วหัวแม่ตีนเกาะกิ่งไม้ ส่วนนกที่บินไม่ได้และชอบวิ่งไปตามพื้นดิน เช่น นกกระจอกเทศ ซึ่งจาเป็นต้องใช้ตีนวิ่งหลบหลีกภัยอย่างรวดเร็วเสมอ นิ้วตีนจึงเหลือเพียงนิ้วด้านหน้า 2 นิ้ว เท่านั้น 
การออกหากิน 
นก ที่หากินตามแหล่งน้าก็มีนิ้วตีนต่างกัน นกเป็ดน้ามีแผ่นพังผืดขึงติดอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสามเพื่อใช้ว่ายน้า แต่ไม่ขึงไปถึงนิ้วหัวแม่ตีน ส่วนนกกาน้าและนกกระทุงที่มีพังผืดสาหรับว่ายน้าเช่นกัน จะมีพังผืดขึงติด ตลอดทั้ง 4 นิ้ว เวลาที่เกาะกิ่งไม้นกจะใช้นิ้วทั้งสี่จับไปข้างหน้ารอบๆ กิ่งไม้ สาหรับนกเป็ดผีและนกคู้ท มี หนังเป็นแผ่นบางๆ คล้ายกับใบพายที่นิ้วด้านหน้าทุกนิ้ว ช่วยให้ดาและว่ายน้าได้ดี นกที่เดินหากินบนจอก แหน เช่น นกพริก มีนิ้วทั้งสี่ยาวเป็นพิเศษ และมีเล็บที่ยาวตรงออกไปอีก ทั้งนี้เพื่อช่วยพยุงตัวให้เดินบนจอก แหนได้โดยไม่จมลงไปในน้า 
นก ที่หากินตามลาต้น เช่น นกหัวขวานและนกไต่ไม้ มีขาสั้นและแข็งแรงช่วยให้ไต่ตามต้นไม้อย่าง คล่องแคล่ว ส่วนใหญ่นกหัวขวานมีนิ้วตีนอยู่ด้านหน้า 2 นิ้วและด้านหลัง 2 นิ้ว สาหรับเกาะต้นไม้ในแนวดิ่ง โดยมีขนหางแข็งไว้คอยค้าจุนอีกด้วย
การรับความรู้สึก 
นก ก็เหมือนสัตว์ทั่วไปที่จาเป็นต้องมีประสาทรับความรู้สึกที่ดี ประสาทรับความรู้สึกของนกบางอย่างอาจ ถูกดัดแปลงจนมีประสิทธิภาพดีกว่าของ สัตว์อื่น โดยเฉพาะในส่วนของการมองและได้ยิน ทั้งนี้เพื่อการใช้ ชีวิตให้อยู่รอดในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการบิน หากิน หรือหลบหลีกศัตรู จาเป็นต้องพึ่งประสาทรับ ความรู้สึกทั้งสิ้น 
ตา นก นก มีตาขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลาตัว นกที่หากินกลางวันมีลูกตารูปทรงกลมหรือแบน ส่วนนกหากิน กลางคืนมีลูกตาทรงกระบอก นกมีหนังตาชั้นที่ 3 เป็นอวัยวะเด่นที่แตกต่างจากสัตว์อื่น ใช้สาหรับเปิดปิด นัยน์ตาแทนการกระพริบตาด้วยหนังตาชั้นนอก และช่วยป้องกันตาเมื่อนกบินปะทะลมหรือดาน้า 
ตาแหน่ง ของดวงตา ตาแหน่ง ของดวงตาบนหน้ามีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและการดารงชีวิตของนก มาก นกที่ชอบหากินตามพื้นดิน เช่น นกพิราบ มีตาอยู่ด้านข้าง เพื่อมองหาอาหารหรือศัตรูได้รอบตัว ส่วน นกล่าเหยื่อมีดวงตาใหญ่ค่อนไปทางด้านหน้า ช่วยให้มองเหยื่อและกะระยะได้ดี รวมทั้งยังสามารถมองเห็น ได้ไกล นกที่เดินหากินอยู่ตามหนองน้า เช่น นกยาง มีตาค่อนมาทางด้านล่าง เพื่อมองหาเหยื่อซึ่งอยู่ในที่ต่า กว่าระดับตา เมื่อมีศัตรูนกยางต้องชูคอขึ้นเพื่อให้มองเห็นภาพด้านหน้า สาหรับนกปากซ่อม ซึ่งเวลาหา อาหารไม่จาเป็นต้องใช้ตาช่วย เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ปลายปากที่ใช้ทิ่มลงไปในเลนเพื่อหาอาหาร ดังนั้น ตาของนกปากซ่อมจึงค่อนไปอยู่ด้านท้าย เพื่อระวังภัยจากศัตรู 
พื้นที่ การมองเห็น นก แต่ละชนิดมีพื้นที่ที่ตามองเห็นไม่เท่ากัน นกพิราบมองเห็นภาพได้กว้างที่สุดถึง 340 องศา เหยี่ยวมองเห็นภาพด้านหน้าได้มาก แต่เห็นด้านข้างน้อยกว่า เหยี่ยวจึงจาเป็นต้องหันหัวช่วยในการ มองขณะที่ตานกเค้าอยู่ด้านหน้า ทาให้มองได้ไม่เกิน 90 องศา แต่ตาสองข้างของนกเค้าก็รับภาพร่วมกันเกิด เป็นภาพสามมิติ ช่วยกะระยะได้อย่างแม่นยา 
การ รับรู้เสียง หู ของนกได้รับการพัฒนาอย่างมาก และทางานประสานกับประสาทการทรงตัว นกไม่มีใบหู หูนกเป็นช่องอยู่ตรงข้างหัว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก เป็นช่องนาคลื่นเสียงเข้าสู่เยื่อแก้วหู แล้วส่ง ต่อไปยังหูชั้นกลาง และถ่ายทอดผ่านเยื่อบางๆ ที่กั้นอยู่ไปสู่หูชั้นใน พวกนกเค้าที่หากินกลางคืนมีโครงสร้าง ของหูไวต่อเสียงมาก ทาให้ในที่มืดไม่ว่าเหยื่อจะเคลื่อนไหวอย่างเงียบกริบสักเพียงใด นกเค้าก็ยังสามารถได้ ยินเสียงและรู้ตาแหน่งของเหยื่อได้ 
การ รับรู้กลิ่น ความ สามารถในการรับรู้กลิ่นของนกมีน้อย เนื่องจากได้รับการพัฒนาน้อยมาก แต่นกกีวีใน นิวซีแลนด์มีการรับรู้กลิ่นดีมาก เพราะนกกีวีสายตาไม่ค่อยดีและออกหากินในตอนกลางคืน จึงต้องใช้การ ดมกลิ่นในการหาอาหาร โดยใช้รูจมูกที่ติดอยู่ตอนปลายของปากสูดกลิ่นดินที่ขุดลงไป เพื่อหาไส้เดือนเป็น อาหาร แร้งก็เป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่มีการรับรู้กลิ่นดีกว่านกชนิดอื่น
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตKan Pan
 
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5Nattayaporn Dokbua
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีอาภัสรา ยิ่งคำแหง
 

La actualidad más candente (20)

การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตการดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
 
Plant ser 144_60_10
Plant ser 144_60_10Plant ser 144_60_10
Plant ser 144_60_10
 
Plant ser 144_60_7
Plant ser 144_60_7Plant ser 144_60_7
Plant ser 144_60_7
 
Plant ser 144_60_8
Plant ser 144_60_8Plant ser 144_60_8
Plant ser 144_60_8
 
Plant ser 144_60_3
Plant ser 144_60_3Plant ser 144_60_3
Plant ser 144_60_3
 
932 pre7
932 pre7932 pre7
932 pre7
 
Plant hor 5_77_60
Plant hor 5_77_60Plant hor 5_77_60
Plant hor 5_77_60
 
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
รูปแบบข้อสอบวิทยาศาสตร์ ป.5
 
Plant ser 125_60_3
Plant ser 125_60_3Plant ser 125_60_3
Plant ser 125_60_3
 
Plant ser 143_60_9
Plant ser 143_60_9Plant ser 143_60_9
Plant ser 143_60_9
 
Plant ser 144_60_2
Plant ser 144_60_2Plant ser 144_60_2
Plant ser 144_60_2
 
Plant ser 143_60_1
Plant ser 143_60_1Plant ser 143_60_1
Plant ser 143_60_1
 
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดีรูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
รูปเล่มโครงงานสำรวจป่าไม้ในตำบลคำนาดี
 
Plant ser 144_60_9
Plant ser 144_60_9Plant ser 144_60_9
Plant ser 144_60_9
 
Plant ser 143_60_3
Plant ser 143_60_3Plant ser 143_60_3
Plant ser 143_60_3
 
Plant ser 125_60_1
Plant ser 125_60_1Plant ser 125_60_1
Plant ser 125_60_1
 
Plant ser 143_60_5
Plant ser 143_60_5Plant ser 143_60_5
Plant ser 143_60_5
 
Plant ser 144_60_5
Plant ser 144_60_5Plant ser 144_60_5
Plant ser 144_60_5
 
Plant ser 144_60_4
Plant ser 144_60_4Plant ser 144_60_4
Plant ser 144_60_4
 
Plant ser 143_60_8
Plant ser 143_60_8Plant ser 143_60_8
Plant ser 143_60_8
 

Destacado

เอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสร
เอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสรเอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสร
เอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสรWichai Likitponrak
 
รายงานประกอบBioclip
รายงานประกอบBioclipรายงานประกอบBioclip
รายงานประกอบBioclipWichai Likitponrak
 
ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2
ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2
ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2Mam Chongruk
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิตรายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิตWichai Likitponrak
 
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplayแบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplayWichai Likitponrak
 
7.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.3
7.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.37.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.3
7.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.3Wareerut Hunter
 
รายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐ
รายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐรายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐ
รายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐWichai Likitponrak
 
แบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒนแบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒนWichai Likitponrak
 

Destacado (20)

Worksheet genetics mendel
Worksheet genetics mendelWorksheet genetics mendel
Worksheet genetics mendel
 
Worksheet biolo gy5
Worksheet biolo gy5Worksheet biolo gy5
Worksheet biolo gy5
 
Worksheet biolo gy6
Worksheet biolo gy6Worksheet biolo gy6
Worksheet biolo gy6
 
Worksheet cell division
Worksheet cell divisionWorksheet cell division
Worksheet cell division
 
Worksheet human kidney
Worksheet human kidneyWorksheet human kidney
Worksheet human kidney
 
Worksheet biolo gy6
Worksheet biolo gy6Worksheet biolo gy6
Worksheet biolo gy6
 
Lesson procedure biology4
Lesson procedure biology4Lesson procedure biology4
Lesson procedure biology4
 
เอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสร
เอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสรเอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสร
เอกสารประกอบการสอนเข้มอัปสร
 
รายงานประกอบBioclip
รายงานประกอบBioclipรายงานประกอบBioclip
รายงานประกอบBioclip
 
Worksheet biolo gy5
Worksheet biolo gy5Worksheet biolo gy5
Worksheet biolo gy5
 
ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2
ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2
ตารางวิเคราะห์รายแผนที่ 2
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิตรายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการมีทักษะชีวิต
 
Worksheet human heart
Worksheet human heartWorksheet human heart
Worksheet human heart
 
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplayแบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
แบบบันทึกกิจกรรมRighttoplay
 
2013 07-28 12-22-07-0.779627
2013 07-28 12-22-07-0.7796272013 07-28 12-22-07-0.779627
2013 07-28 12-22-07-0.779627
 
Worksheet biolo gy4
Worksheet biolo gy4Worksheet biolo gy4
Worksheet biolo gy4
 
7.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.3
7.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.37.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.3
7.แผนการสอนแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรรมโครงงานตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ม.3
 
Lesson procedure biology6
Lesson procedure biology6Lesson procedure biology6
Lesson procedure biology6
 
รายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐ
รายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐรายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐ
รายงานอบรมครูต้นแบบ21stสพฐ
 
แบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒนแบบทดสอบวิวัฒน
แบบทดสอบวิวัฒน
 

Similar a Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง

ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยาDarika Kanhala
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช AnnanetAnana Anana
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช AnnanetAnana Anana
 
Root structure and function
Root structure and functionRoot structure and function
Root structure and functionsukanya petin
 
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน110.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1Wichai Likitponrak
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกWichai Likitponrak
 
Lessonplanunit2 plantkruwichai62
Lessonplanunit2 plantkruwichai62Lessonplanunit2 plantkruwichai62
Lessonplanunit2 plantkruwichai62Wichai Likitponrak
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราsujitrapa
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชAnana Anana
 
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...BhuritNantajeewarawa
 
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2Naddanai Sumranbumrung
 

Similar a Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง (20)

001 3
001 3001 3
001 3
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยา
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 
Root structure and function
Root structure and functionRoot structure and function
Root structure and function
 
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน110.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
10.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน1
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
 
Lessonplanunit2 plantkruwichai62
Lessonplanunit2 plantkruwichai62Lessonplanunit2 plantkruwichai62
Lessonplanunit2 plantkruwichai62
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
932 tu80 group 4
932 tu80 group 4932 tu80 group 4
932 tu80 group 4
 
Bio project m.5 group10
Bio project m.5 group10Bio project m.5 group10
Bio project m.5 group10
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
พืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเราพืชรอบตัวเรา
พืชรอบตัวเรา
 
Basic cell
Basic cellBasic cell
Basic cell
 
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
 
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...
หนังสือเล่มเล็กประกอบการศึกษาเรียนรู้ด้านโครงสร้างอวัยวะสืบพันธุ์ ของพืชตัวอย...
 
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
 

Más de Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

Más de Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง

  • 1. โครงงานชีววิทยา (Biology Project) การรวบรวมข้อมูลทรัพยากรชีวภาพในชุมชน (Bio Map) ชื่อโครงงานชีววิทยา ทรัพยากรชีวภาพในชุมชนวัดอนัมนิกายาราม รายชื่อสมาชิกกลุ่มโครงงานชีววิทยา ชื่อกลุ่ม คือ กะหล่าปุ๋ง 1. นางสาว กมลรัตน์ สาธร เลขที่ 22 ม.6/1 2. นางสาว ปวีณา อ่อนหวาน เลขที่ 26 ม.6/1 3. นางสาว วสา ลิ้มสุวัฒนกุล เลขที่ 35 ม.6/1 ครูที่ปรึกษาโครงงาน นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ครูผู้ช่วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 สานักงานคณะกรรมการการขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. 1. ที่มาและความสาคัญของโครงงาน จากการที่ได้รับมอบหมายให้กลุ่มของข้าพเจ้าสารวจทรัพยากรชีวภาพในชุมชน ซึ่งกลุ่ม ของข้าพเจ้าเลือกที่จะสารวจในชุมชน วัดอนัมนิกายาราม เพราะมีสมาชิกของกลุ่ม ข้าพเจ้าอาศัยอยู่และเป็นชุมชนที่ติดแม่น้าและวัดซึ่งน่าจะมีทรัพยากรทางชีวภาพที่ หลากหลาย 2. วัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในชุมชน 2.เพื่อพัฒนาความรู้ในเรื่องทรัพยากรทางชีวภาพ 3. สมมติฐานของการศึกษา เนื่องจากชุมชนที่กลุ่มข้าพเจ้าสารวจเป็นชุมชนที่ติดแม่น้าและวัด ทางกลุ่มข้าพเจ้าจึงคิดว่า ชุมชนแห่งนี้มีทรัพยากรทางชีวภาพที่หลากหลาย 4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน 1.สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรชีวภาพในชุมชนมีอะไรบ้าง 2.สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรชีวภาพในชุมชนมีลักษณะอย่างไร 3.สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรชีวภาพในชุมชนแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร 5. ทฤษฎีหลักการหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทาโครงงาน โครงสร้างของพืช เนื้อเยื่อพืช เนื้อเยื่อพืชที่ประกอบกันเป็นโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืชแบ่งเป็นหลายประเภท เช่น แบ่งตาม ความสามารถในการแบ่งเซลล์ หน้าที่ ลักษณะโครงสร้าง หรือตามตาแหน่งที่อยู่ ถ้าจาแนกตาม ความสามารถในการแบ่งเซลล์จะแบ่งเนื้อเยื่อพืชเป็น 2 ประเภท คือ 1.เนื้อเยื่อเจริญ (Meristem tissue)เนื้อเยื่อเจริญเป็นเนื้อเยื่อที่สามารถแบ่งตัวได้ มักมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมขนาด เล็ก ผนังเซลล์บาง นิวเคลียสใหญ่ เด่นชัด แวคิวโอลขนาดเล็ก เซลล์อยู่ชิดกัน ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของเนื้อเยื่อเจริญอกเป็น 3 ประเภท ตามตาแหน่ง 1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical meristem) : เนื้อเยื่อประเภทนี้พบอยู่บริเวณปลายยอด ปลายราก และตา 2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Laterral meristem) : จะพบหลังจากมีการเจริญขั้นที่สอง เป็นเซลล์รูปร่าง สี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังเซลล์บาง เรียงตัวเป็นระเบียบ แบ่งเป็น 2 ชนิด
  • 3. - วาสคิวลาร์ แคมเบียม : แทรกอยู่ระหว่าง ไซเลม และโฟลเอ็ม มีหน้าที่ สร้าง secondary xylem และ secondary pholem พบในพืชใบเลี้ยงคู่ทุกชนิด และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด - คอร์ก แคมเบียม : ทาหน้าที่สร้างคอร์ก เพื่อทาหน้าที่แทนเซลล์เอพิเดมิส วาสคิวลาร์แคมเบียม คอร์ก แคมเบียม 3.เนื้อเยื่อเจริญเหนือ ข้อ(Intercalary meristem) : เนื้อเยื่อเจริญชนิดนี้จะอยู่บริเวณเหนือข้อของพืชใบ เลี้ยงเดี่ยว ทาให้ปล้องยืดยาวขึ้น ซึ่งมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินเข้ามาเกี่ยวข้อง 2.เนื้อเยื่อถาวร คือ เนื้อเยื่อพืชซึ่งประกอบด้วยเซลล์ที่แบ่งตัวไม่ได้ และมีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคือ จะคงรูปร่างลักษณะเดิมไว้ตลอดชีวิตของส่วนนั้น ๆ ของพืชเนื้อเยื่อชนิดนี้เจริญเติบโต และ เปลี่ยนแปลงมาจากเนื้อเยื่อเจริญเพื่อทาหน้าที่ต่าง ๆ กันจนเซลล์นี้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม มี Vacuole และ cell wall ก็เปลี่ยนแปลงไปสุดแท้แต่ว่า จะกลายไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรชนิดไหน ซึ่งโดยมาก มักมีสารประกอบต่าง ๆ ไปสะสมบน cell wall ให้หนาขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง ชนิดของเนื้อเยื่อถาวร เมื่อจาแนกตามลักษณะของเซลล์ที่มาประกอบกันจาแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ - เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบด้วย เซลล์ชนิดเดียวกันล้วน ๆ จาแนกออกเป็น หลายชนิด คือ Epidermis Parenchyma Collenchyma Sclerenchyma Coke Secretory tissue - เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน เป็นเนื้อเยื่อถาวรที่ประกอบขึ้นด้วย เซลล์หลายชนิดอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน เพื่อทางานร่วมกัน ประกอบขึ้นด้วย 2 กลุ่มด้วยกันคือ Xylem และ Phloem ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ใหญ่ที่เรียกว่า Vascular bundle หรือ Vascular tissue นั่นเอง เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว Epidermis เป็น simple tissue ที่อยู่ผิวนอกสุดของส่วนต่าง ๆ ของพืช (ถ้าเปรียบกับตัวเรา ก็คือ หนังกาพร้านั่นเอง) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อโตเต็มที่แล้ว จะมี Vacuole ขนาดใหญ่ จนดัน protoplasm ส่วนอื่น ๆ ให้ร่นไปอยู่ที่ขอบเซลล์หมดหน้าที่ของ epidermis
  • 4. - ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อที่อยู่ข้างใน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงด้วย - ช่วยป้องกันการระเหย (คาย) น้า (เพราะถ้าพืชเสียน้าไปมากจะเหี่ยว) และช่วยป้องกันน้าไม่ ให้ ซึมเข้าไปข้างในด้วย (เพราะถ้าได้รับน้ามากเกินไป จะเน่าได้ ) - ช่วยในการแลกเปลี่ยนแก๊สทั้งไอน้า คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจน โดยทางปากใบ - ช่วยดูดน้าและเกลือแร่ epidermis คือบริเวณกลมๆใสๆด้านบน Parenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Parenchyma Cell ซึ่งเป็นเซลล์พื้นทั่ว ๆ ไป และ พบมากที่สุดในพืชโดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมน้าได้มาก เช่น ในชั้น Cortex และ Pith ของรากและ ลาต้น Parenchyma cell เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีรูปร่างหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ทรงกระบอกกลม หรือ ทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า อาจกลมรี มี cell wall บาง ๆ หน้าที่ Parenchyma - ช่วยสังเคราะห์แสง - สะสมอาหาร (พวกแป้ง โปรตีน และไขมัน ) น้า - สร้างน้ามันที่มีกลิ่นหอมหรืออื่น ๆ ตามแต่ชนิดของพืชนั้น ๆ - บางส่วนช่วยทาหน้าที่หายใจ เนื้อเยื่อพาเรงคิมา Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมาก เล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง หน้าที่ของ Collenchyma - ช่วยทาให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้ - ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย
  • 5. Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตาย แล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้น ด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช Sclerenchyma จาแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ 1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสอง เสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทาจากลาต้นหรือใบ ของพืช ต่าง ๆหน้าที่ของ Fiber - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช - ช่วยพยุงลาต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง 2. Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มาก ตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ด พุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง หน้าที่ของ Stone cell - ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก) Cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลาต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทาจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกาลังจะร่วง และแผลเป็นตามลาต้น หน้าที่ของคอร์ก - ช่วยป้องกันการระเหยของน้า ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก โครงสร้างและหน้าที่ของราก ราก คือ ส่วนหนึ่งที่งอกต่อจากต้นลงไปในดิน ไม่แบ่งข้อและไม่แบ่งปล้อง ไม่มีใบ ตา และดอก หน้าที่ ของราก คือ สะสมและดูดซึมอาหารมาบารุงเลี้ยงต้นพืช นอกจากนี้ยังยึดและค้าจุนต้นพืช รากของพืช แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ 1.ระบบรากแก้ว ต้นพืชหลายชนิดเป็นแบบรากแก้ว คือมีรากสาคัญงอกออกจากลาต้นส่วนปลายรูปร่าง ยาว ใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของราแก้ว จะแตกแขนงออกได้ 2-3 ครั้ง ไปเรื่อย ๆ รากเล็กส่วนปลาย
  • 6. จะมีรากฝอยเล็ก ๆ ออกมาเป็นจานวนมาก เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการดูดซึมอาหารให้กับต้นพืช มักจะพบว่า พืชใบเลี้ยงคู่จะมีรากแบบรากแก้ว ตัวอย่างพืชที่มีลักษณะนี้คือ ขี้เหล็ก คูน มะกา มะหาด เป็นต้น 2. ระบบรากฝอย เป็นรากที่งอกออกจากลาต้นส่วนปลายพร้อมกันหลายๆ ราก ลักษณะ เป็นรากกลมยาว ขนาดเท่าๆ กันพบว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากแบบรากฝอย ตัวอย่างพืชที่มีรากแบบนี้คือ ตะไคร้ หญ้าคา เป็นต้น บางทีรากจะเปลี่ยนลักษณะไป เนื่องจากได้รับอิทธิพล จากสิ่งแวดล้อมภายนอก รากที่เปลี่ยน ลักษณะไปนี้มีหลายชนิด เช่น รากสะสมอาหาร รากค้าจุน รากเกี่ยวพัน รากอากาศ เป็นต้นบางชนิดนี้ บางครั้งก็อยู่บนดินจะต้องใช้การสังเกต แต่อย่างไรก็ตาม มันยังคงลักษณะทั่วไปของรากให้เรา สังเกตเห็นได้ โครงสร้างของราก เนื้อเยื่อของรากทั้งพืชใบเลี้ยงคู่และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ตัดตามขวาง ตรงบริเวณที่เซลล์เจริญเติบโตเต็มที่ จะพบว่าเนื้อเยื่อของรากแบ่งออกเป็นชั้นๆเรียงจากภายนอกเข้าไปตามลาดับดัง นี้ 1. epidermis เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดมีเซลล์ที่เรียงตัวกันเพียงชั้นเดียวและผนังเซลล์บาง ไม่มีคลอโรพ ลาสต์ บางเซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นขนราก 2. cortex เป็นอาณาเขตระหว่างชั้น epidermis และ stele ประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่ทาหน้าที่ สะสมน้าและอาหารเป็นส่วนใหญ่ ชั้นในสุดของ cortex จะเป็นเซลล์แถวเดียวเรียก endodermis ในราก พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะเห็นชัดเจนเซลล์ในชั้นนี้เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมี ผนังหนาเพราะมีสารซูเบอริน หรือ ลิกนินสะสมอยู่ แต่จะมีช่วงที่มีเซลล์ผนังบางแทรกอยู่ในชั้นนี้และอยู่ตรงกับแนวของไซเลม 3. stele เป็นบริเวณที่อยู่ถัดจากชั้น endodermisเข้าไป พบว่าstele ในรากจะแคบกว่าชั้น cortex ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้ 3.1 pericycle เป็นเซลล์ผนังบางขนาดเล็กมี 1-2 แถว พบเฉพาะในรากเท่านั้น เป็นแหล่งกาเนิด ของรากแขนง ( secondary root ) 3.2 vascular bundle ประกอบด้วย xylem อยู่ตรงใจกลางเรียงเป็นแฉกโดยมี phloem อยู่ ระหว่างแฉก สาหรับพืชใบเลี้ยงคู่ต่อมาจะเกิดเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium คั่นระหว่าง xylem กับ phloem ในรากของพืชใบเลี้ยงคู่มีจานวนแฉกน้อยประมาณ 1-6 แฉก โดยมากมักมี 4 แฉก ส่วนรากของ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวมักมีจานวนแฉกมากกว่า 3.3 pith เป็นบริเวณตรงกลางรากหรือไส้ในของรากเห็นได้ชัดเจนในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วน ใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาส่วนรากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงกลางมักเป็น xylem
  • 7. หน้าที่ของราก 1. ดูด ( absorption ) น้าและแร่ธาตุที่ละลายน้าจากดินเข้าไปในลาต้น 2. ลาเลียง ( conduction ) น้าและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลาต้น 3. ยึด ( anchorage ) ลาต้นให้ติดกับพื้นดิน 4. แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสาคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลาเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนลาต้น ส่วนยอด และส่วน อื่นๆของพืชนอกจากนี้ยังมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่ทาหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง ค้าจุน ยึดเกาะ หายใจ เป็นต้น
  • 8. ชนิดของราก 1. primary root เป็นรากที่มีกาเนิดและเจริญเติบโตมาจาก radicle รากชนิดนี้ตอนโคนจะโตแล้วค่อยๆเรียว เล็กลงเรื่อยๆจนถึงปลายซึ่งก็คือ รากแก้ว ( tap root )นั่นเอง 2. secondary root เป็นรากที่มีกาเนิดและเจริญเติบโตออกมาจาก primary root อีกทีหนึ่ง เป็นรากที่เรียกกัน ทั่วๆไปว่า รากแขนง ( lateral root ) และแขนงต่างๆที่แยกออกไปเป็นทอดๆนั้นต่างมีกาเนิดมาจากเนื้อเยื่อ pericycleในรากเดิมทั้งสิ้น 3. adventitious root รากพิเศษ หรือ รากวิสามัญ เป็นรากที่ไม่ได้มีกาเนิดมาจาก radicle และก็ไม่เป็นแขนง ของprimary root จาแนกเป็นชนิดย่อยๆลงไปอีกตามรูปร่างและหน้าที่ของมัน คือ 3.1 รากฝอย ( fibrous root ) เป็นรากเส้นเล็กๆมากมายขนาดสม่าเสมอตลอดความยาวของราก งอกออก จากรอบๆโคนต้นแทนรากแก้วที่ฝ่อไป พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเป็นส่ใหญ่ เช่น รข้าว ข้าวโพด หญ้า หมาก มะพร้าว ตาล กระชายพบในพืชใบเลี้งคู่บางชนิด เช่น รากต้อยติ่ง มันเทศ มันแกว 3.2 รากค้าจุน ( prop root ) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลาต้นที่อยู่ใต้ดินและเหนือดินเล็กน้อย แล้ว พุ่งทะแยงลงไปในดินเพื่อช่วยพยุงและค้าจุนลาต้น ได้แก่ รากเตย ลาเจียก ข้าวโพด ยางอินเดีย โกงกาง และ ไทรย้อย เป็นต้น 3.3 รากสังเคราะห์แสง ( photosynthetic root ) เป็นรากที่แตกออกจากข้อของลาต้นหรือกิ่งแล้วห้อยลง มาในอากาศ มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์จึงสังเคราะห์แสงได้ ได้แก่ รากกล้วยไม้ ไทร โกงกาง ซึ่งจะมีสีเขียว เฉพาะตรงที่ห้อยอยู่ในอากาศเท่านั้น รากกล้วยไม้นอกจากจะมีสีเขียวและช่วยในการสังเคราะห์แสงแล้ว พบว่ามีเยื่อพิเศษลักษณะนุ่มคล้ายฟองน้า เป็นเซลล์พวกพาเรงคิมาเรียงตัวกันอย่างหลวมๆ โดยมีช่องว่าง ระหว่างเซลล์มากเรียก นวม ( velamen ) หุ้มอยู่ตามขอบนอกของรากช่วยดูดน้า รักษาความชื้นให้แก่ราก ตลอดทั้งช่วยในการหายใจด้วย 3.4 รากหายใจ ( respiratory root or aerating root ) เป็นรากที่ชูปลายรากขึ้นมาเหนือพื้นดินบางทีก็ลอย ตามผิวน้า เพื่อช่วยในการหายใจได้มากเป็นพิเศษกว่ารากปกติทั่วๆไป ทั้งนี้เพราะโครงสร้างของราก ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาซึ่งเรียงตัวอย่าง หลวมๆ มีช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ทาให้อากาศผ่านเข้าสู่ เซลล์ชั้นในของรากได้ง่าย รากเหล่านี้อาจเรียกว่า รากทุ่นลอย ( pneumatophore )
  • 9. 3.5 รากเกาะ ( climbing root ) เป็นรากที่แตกออกมาจากส่วนข้อของลาต้น แล้วเกาะติดกับสิ่งยึดเกาะ เช่นเสาหรือหลักเพื่อพยุงลาต้นให้ติดแน่นและชูส่วนของลาต้นให้สูงขึ้นไป และให้ส่วนต่างๆของพืชได้รับ แสงมากขึ้น ได้แก่ พลูพลูด่าง พริกไทย และกล้วยไม้ เป็นต้น 3.6 รากกาฝาก ( parasitic root ) เป็นรากของพืชที่ไปเกาะต้นพืชชนิดอื่น แล้วมีรากเล็กๆแตกออกมา เป็นกระจุกแทงลงไปในลาต้นจนถึงท่อลาเลียงเพื่อแย่ง อาหาร ได้แก่ รากฝอยทอง กาฝาก เป็นต้น 3.7 รากสะสมอาหาร ( storage root ) ทาหน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง ไขมัน และโปรตีน เช่น ราก กระชายมันเทศ มันแกว มันสาปะหลัง เป็นต้น 3.8 รากหนาม ( root thorn ) เป็นรากที่มีลักษณะเป็นหนามงอกมาจากบริเวณโคนต้น ตอนงอกใหม่ๆ เป็นรากปกติแต่ต่อมาเกิดเปลือกแข็งทาให้มีลักษณะคล้ายหนามแข็ง ช่วยป้องกันโคนต้นได้ เช่น ปาล์ม โครงสร้างและหน้าที่ของลาต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลาต้น ลาต้น(stem) เป็นอวัยวะของพืชซึ่งส่วนใหญ่จะเจริญขึ้นมาเหนือดินแต่ก็มีพืชบางชนิดที่ลา ต้นอยู่ ใต้ดิน ลาต้นประกอบด้วยส่วนสาคัญ 2 ส่วนคือ 1. ข้อ(node) เป็นส่วนของลาต้นที่มีตา(bud)ซึ่งจะเจริญไปเป็นกิ่ง ดอก หรือใบ 2..ปล้อง(internode) เป็นส่วนของลาต้นที่อยู่ระหว่างข้อ พืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะสังเกตส่วนของข้อปล้องได้อย่างชัดเจนตลอดชีวิต เช่น ต้นไผ่ ต้น อ้อย ข้าวโพด เป็นต้น ส่วนพืชใบเลี้ยงคู่นั้นส่วนใหญ่แล้วข้อปล้องจะสังเกตได้ไม่ชัดเจนทั้งนี้ เพราะเมื่อ เจริญเติบโตเต็มที่แล้วมักจะมีเนื้อเยื่อชั้นคอร์ก(cork) มาหุ้มโดยรอบเอาไว้ การจะสังเกตอาจจะสังเกตใน ขณะที่พืชยังอ่อนอยู่ แต่ก็ยังมีพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดที่สามารถสังเกตเห็นข้อปล้องได้อย่างชัดเจน ตลอดชีวิต เหมือนพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ได้แก่พวกไม้ล้มลุกต่างๆ เช่น ต้นตาลึง ฟักทอง และผักบุ้ง เป็นต้น โครงสร้างของลาต้น 1.โครงสร้างภายในของปลายยอดพืช บริเวณปลายยอดพืชสามารถแบ่งออกเป็นบริเวณ(region/zone) ได้ทั้งหมด 3 บริเวณด้วยกันคือ
  • 10. 1.บริเวณเซลล์แบ่งตัว(region of cell division) 2.บริเวณเซลล์ยืดตัว(region of cell elongation) 3.บริเวณเซลล์เจริญเต็มที่ (region of maturation) 2.โครงสร้างภายในของลาต้นที่ตัดตามขวาง เมื่อนาปลายยอดของพืชมาตัดตามขวางบริเวณเซลล์เจริญเต็มที่จะพบว่าโครงสร้าง ภายใน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชนิดต่างๆตามแต่ชนิดของพืชโดยแบ่งได้ดังนี้ 2.1.โครงสร้างภายในของลาต้นพืชใบเลี้ยงคู่ epidermis เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทาหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภายในของลาต้น ส่วนใหญ่ เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียว พืชบางชนิด epidermis มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นส่วนของ trichome / hair และ guard cell ในต้นพืชที่อายุมากส่วนใหญ่แล้วส่วนของ epidermis จะหลุดหายไปเพราะถูกแทนที่ ด้วยส่วนของคอร์ก stele (สตีล) เป็นชั้นที่ถัดเข้ามาจากชั้นคอร์เทกซ์ โดยมีอาณาเขตตั้งแต่ใต้ endodermis เข้ามาจนถึงใจกลาง ของลาต้น แต่เนื่องจากในลาต้นเนื้อเยื่อ endodermis ส่วนใหญ่เห็นได้ไม่ชัดเจนหรือหนังสือบางเล่มก็กล่าว ว่าในลาต้นจะไม่มีเนื้อ เยื่อ endodermis ทาให้ชั้นสตีลในลาต้นแบ่งแยกออกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน เหมือนในส่วน ของรากพืช ภายในชั้นสตีลจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่สาคัญคือ vascular bundle หมายถึงกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทาหน้าที่เกี่ยวข้องกับการลาเลียงภายในเนื้อเยื่อ vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงคู่ประกอบด้วย กลุ่มเนื้อเยื่อลาเลียงอาหาร(phloem)เรียงตัวอยู่ทางด้านนอกและกลุ่มเนื้อ เยื่อ ลาเลียงน้า(xylem)เรียงตัวอยู่ทางด้านในหรือด้านที่ติดกับ pith ระหว่าง xylem กับ phloem จะมีเนื้อเยื่อเจริญ ที่เรียกว่า vascular cambium คั่นกลางอยู่ทาหน้าที่แบ่งเซลล์เพื่อให้กาเนิด xylem และ phloem pith เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลาต้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma จึงทาหน้าที่ในการสะสมสารต่างๆ ลาต้นของพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดเนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลาย ไปกลายเป็น ช่องกลวงกลางลาต้น เรียกช่องนี้ว่า pith cavity
  • 11. 2.2โครงสร้างภายในของลาต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว epidermis เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุด ทาหน้าที่ป้องกันอันตรายให้แก่เนื้อเยื่อภาย ในของลาต้น ส่วนใหญ่ เซลล์เรียงตัวเพียงชั้นเดียวและมีอยู่ตลอดไป ยกเว้นใน ต้นพืชตระกูลปาล์มจะมีเฉพาะในปีแรกเท่านั้น เพราะต่อมาจะมีเนื้อเยื่อคอร์ก (cork) มาแทน cortex มีเนื้อเยื่อบางๆ1-2 ชั้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อชนิด parenchyma และส่วนใหญ่ไม่พบ endodermis ทา ให้อาณาเขตแบ่งได้ไม่ชัดเจน vascular bundle กลุ่มของเนื้อเยื่อลาเลียงของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ส่วนของ xylem, phloem จะเรียงตัวกันมอง คล้ายๆใบหน้าคน มีส่วนของ vessel อยู่บริเวณคล้ายดวงตา ส่วน phloem อยู่บริเวณคล้ายหน้าผาก xylem และ phloem จะถูกล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อ parenchyma หรืออาจเป็น sclerenchyma และเรียกเซลล์ที่มา ล้อมรอบนี้ว่า bundle sheath vascular bundle ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ไม่พบเนื้อเยื่อเจริญ vascular cambium ยกเว้นหมากผู้หมากเมีย และพืชตระกูลปาล์ม pith เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ส่วนกลางของลาต้น ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อประเภท parenchyma พืชใบเลี้ยงเดี่ยวบาง ชนิด เช่น ข้าวโพด ในเนื้อเยื่อของ pith นี้จะพบ vascular bundle กระจายอยู่เต็ม นอกจากนี้พืชบางชนิด เนื้อเยื่อในส่วนนี้อาจสลายไปกลายเป็นช่องกลวงกลางลา ต้น เรียกว่า pith cavity เช่นต้นไผ่ ต้นข้าวเป็น ต้น
  • 12. ชนิดและหน้าที่ของลาต้น 1.ลาต้นเหนือดิน(aerial stem/terrestrial stem) creeping stem คือลาต้นที่ทอดหรือเลื้อยขนานไปตามผิวดินหรือผิว climbing stem คือลาต้นที่ไต่ขึ้นที่สูงโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ถ้ามีหลักหรือต้นไม้ที่ลาต้นตั้งตรงอยู่ใกล้ๆจะ ถูกใช้ไต่ขึ้นไป แบ่งออกเป็น twining stem ลาต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ลาต้นพันกับหลัก stem tendril ลาต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้ส่วนของลาต้นดัดแปลงไปเป็นมือเกาะ(tendril) เพื่อพันหรือไต่ขึ้น ที่สูง ส่วนของ tendril จะบิดเป็นเกลียวคล้ายสปริงเพื่อให้ยืดหยุ่น root climber ลาต้นไต่ขึ้นที่สูงโดยใช้รากซึ่งออกมาตามข้อ ยึดหลักหรือ stem spine / stem thorn ลาต้นที่ดัดแปลงไปเป็นหนามหรือขอเกี่ยว (hook) เพื่อไต่ขึ้นที่สูง cladophyll / phylloclade / cladode คือลาต้นที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะหรือหน้าที่คล้ายใบ bulbil / crown / slip คือลาต้นที่เป็นตาหรือหน่อเล็กๆ สั้นๆ ที่ประกอบด้วยยอดอ่อนและใบเล็กๆ 2-3 ใบ แตกออกระหว่างซอกใบกับลาต้น หรือแตกออกจากยอดของลาต้นแทนดอก เมื่อมันหลุดร่วงลงดินก็ สามารถเจริญเป็นต้นใหม่ได้ 2.ลาต้นใต้ดิน (underground stem) rhizome คือลา ต้นใต้ดินที่เรียกกันว่า แง่ง หรือเหง้า ส่วนใหญ่ขนานกับพื้นดิน มีข้อปล้องเห็นได้ ชัดเจน ตามข้อมีใบที่เป็นแปลงเป็นสีน้าตาล tuber ลาต้นใต้ดินที่สะสมอาหาร ทาให้อวบอ้วน แต่บริเวณที่เป็นตาจะไม่อ้วนออกมาด้วยทาให้เห็น เป็นรอยบุ๋ม ได้แก่ มันฝรั่ง เป็นต้น bulb ลาต้นใต้ดินที่ลาต้นเล็กมีปล้องสั้นมาก ตามปล้องมีใบเกล็ดซ้อนกันหลายๆชั้น ห่อหุ้มลาต้น เอาไว้และสะสมอาหาร เช่น หอม กระเทียม เป็นต้น corm เป็นลาต้นใต้ดินที่ตั้งตรงเช่นเดียวกับ bulb มีลักษณะคล้ายกันแต่เก็บสะสมอาหารไว้ในลาต้น จนทาให้เห็นลาต้นอวบอ้วน ตามข้อมีใบเกล็ดบางๆหุ้ม มีตางอกตามข้อ
  • 13. วงปี ในรอบ 1 ปี วาสคิวลาร์แคมเบียมของพืชที่มีเนื้อไม้จะมีการแบ่งเซลล์สร้างไซเลมและโฟล เอ็มขั้นที่ 2 จานวนมากน้อยต่างกันในแต่ละฤดูขึ้นอยู่กับปริมาณน้าและธาตุอาหารในฤดูที่สิ่งแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ดี เช่น ฤดูฝน เซลล์ชั้นไซเลมจะเจริญเร็วมีขนาดใหญ่ทาให้ได้ชั้นไซเลมกว้าง และมีสีจางในฤดูแล้ง เซลล์ ชั้นในไซเลมจะเจริญช้ามีขนาดเล็กเบียดกันแน่นทาให้เห็นแถบแคบๆและมีสีเข้ม ลักษณะดังกล่าวทาให้เห็น เนื้อไม้มีสีจางและเข้มสลับกันมองเห็นเป็นวงเรียกว่า วงปี โครงสร้างและหน้าที่ของใบ ใบถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สาคัญ ต่อพืชเป็นอย่างยิ่งเพราะพลังงานที่ได้มานั้นต้องอาศัยการสังเคราะห์ แสงซึ่ง เกือบทั้งหมดจะเกิดขึ้นที่ใบของพืช โครงสร้างของใบ 1. โครงสร้างภายนอกของใบ ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้าน ใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลาต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ การที่ใบพืชมี ลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ ได้พลังงานไปใช้ในการตรึง คาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์ ซึ่งเป็นสารรับสีที่รับ พลังงานแสง แต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ
  • 14. ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลาเลียงสารต่างๆ จากท่อลาเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง ก้านใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่ เรียงขนานกันจนถึง ปลายใบ พืชบางชนิดเส้นใบย่อยแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และ เส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองอีกด้วย 2. โครงสร้างภายในของใบ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลาต้น 1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมี น้อยยกเว้นเซลล์คุม เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้า ออกจาก ใบ เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน พืชที่ใบลอยปริ่มน้า เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้า เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปาก ใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด 2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ที่มีคลอโรพลาสต์จานวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทาให้โครงสร้างภายใน แบ่งเป็น2 ชั้นคือ 1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์ รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพ ลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก
  • 15. 2. สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิ สด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทาให้เกิดช่องว่างระหว่าง เซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์ 3. มัดท่อลาเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลาเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด บันเดิลชีทในพืชบาง ชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทาให้มัดท่อลาเลียงแข็งแรง เร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมี คลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช มัดท่อลาเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์ หน้าที่ของใบ - ใบมีหน้าที่สร้างอาหาร เรียกว่า "การสังเคราะห์ด้วยแสง" นอกจากนี้ใบของพืชบางชนิดยังทา หน้าที่อย่างอื่นอีก เช่น ใบตาลึง มะระ และถั่วลันเตา ทาหน้าที่ยึดและพยุงลาต้นให้ไต่ขึ้นที่สูงได้ - ใบกระบองเพชรจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม เพื่อลดการคายน้าของใบ เนื่อง จากกระบองเพชร ดารงชีวิตอยู่ในที่แห้งแล้ง ไม่มีน้า - ใบหม้อข้าวหม้อแกงลิงทาหน้าที่จับแมลงเป็นอาหาร - ใบว่านหวงจระเข้ กลีบของกระเทียม และหัวหอม ทาหน้าที่สะสมอาหาร โครงสร้างลักษณะของนก กาเนิดนก นก เป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีโครงสร้างกระดูกและ กล้ามเนื้อคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะเกล็ดขาที่มีลักษณะเป็นเกล็ดเช่นเดียวกัน รวมทั้งการออกไข่และตัวอ่อนมี ฟันพิเศษสาหรับเจาะเปลือกไข่ออกมาเหมือนกัน ทั้งนี้จากหลักฐานที่ยืนยัน ทฤษฎีดังกล่าว คือ การขุดพบ ซากดึกดาบรรพ์อายุประมาณ 130 ล้านปีที่แคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ . ศ . 2504 ซากดึกดา บรรพ์ดังกล่าว มีลักษณะกึ่งนกกึ่งสัตว์เลื้อยคลาน คือ ที่ปากมีฟัน มีเล็บยื่นออกมาจากหัวปีกและมีกระดูก หางยาว ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน ขณะเดียวกันก็มีขนปกคลุมลาตัวเช่นเดียวกับนก นักวิทยาศาสตร์เรียกซากดึกดาบรรพ์ที่ค้นพบชิ้นนี้ว่า อาร์คีออพเทอริกซ์ ซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของนก วิวัฒนาการของนก หลัง จากที่อาร์คิออพเทอริกซ์ได้ถือกาเนิดขึ้นมา ต้องใช้เวลาอีกหลายล้านปี ผ่านช่วงวิวัฒนาการหลายยุค หลายสมัย จึงเกิดต้นตระกูลของนกชนิดต่างๆ มากมายตามสภาพแวดล้อม โดยมีการวิวัฒนาการ
  • 16. เปลี่ยนแปลงรูปทรงภายนอกและโครงสร้างภายใน ตลอดจนอวัยวะต่างๆ ให้เหมาะสมแก่การบิน โดยขา หน้าได้พัฒนากลายเป็นปีกสาหรับบิน ลาตัวมีลักษณะเพรียว ไม่มีอวัยวะที่จะทาให้เกิดแรงต้าน โครงกระดูก ถูกปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงรวมกลุ่มกันอยู่ตอนกลาง มีคอ ปีก และขาติดกันอยู่ กระดูกสันหลังสั้นเชื่อม ติดกันโดยตลอด ด้านท้ายเป็นกระดูกตะโพกที่ยาวเรียวแค่แข็งแรง กระดูกอกใหญ่มีสันสูงตรงกลางเป็นที่ยึด กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ใช้ในการบิน ระหว่างกระดูกสันหลังกับกระดูกอกมีกระดูกซี่โครงชุดหนึ่งยึดตาม แนวตั้ง เป็นแกนช่วยพยุงทางด้านข้าง กระดูกซี่โครงแต่ละอันมีแขนงก้านหนึ่งยื่นไปซ้อนทับกับกระดูกซึ่ง โครงอันถัด ไปทาให้มีโครง ร่างแข็งแรงยิ่งขึ้นช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่อยู่ในโครงกระดูกได้อย่างดี นอกจากนี้กระดูกนกยังมีลักษณะกลวงเป็นโพรงภายใน ทาให้มีน้าหนักเบา สามารถพยุงตัวในอากาศได้ง่าย และมีถุงลมกระจายอยู่ทั่วตัว เพื่อช่วยในการหายใจ เนื่องจากนกจาเป็นต้องใช้อากาศเป็นจานวนมากระหว่าง บิน ขนนก ขน ( feather ) ปกคลุมลาตัวของนกเป็นโครงสร้างพิเศษที่พบได้เฉพาะในนกเท่านั้น ขนนกเกิดจากเซลล์ที่ อยู่ภายใต้ผิวหนังค่อยๆ ขยายตัวขึ้นเป็นตุ่มแข็ง แล้วงอกยาวขึ้นเป็นฝักรูปกระสวยฝังลึกลงไปในเนื้อเยื่อของ ผิวหนังชั้นใน เพื่อรับเส้นเลือดที่มาหล่อเลี้ยงเป็นอาหาร ต่อมาจึงค่อยๆ สร้างก้านขนและเส้นขน เมื่อโต เต็มที่กระสวยจึงแยกออกโผล่ขึ้นมาเป็นขนนก เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ โครงสร้างของก้านขนและเส้นขนจะ แข็ง เพราะเป็นโครงสร้างที่ตายแล้ว เมื่อถึงระยะเวลาผลัดขนจึงจะหลุดร่วงไป ขนนกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. ขนคอนทัวร์ ( contour ) เป็นขนที่พบมากที่สุดบนตัวนก คลุมอยู่ชั้นนอกสุด ไม่ว่าจะเป็นขนปกคลุมตัว ขนปีก และขนหาง เป็นขนที่บอกรูปร่างและสีสันของนกแต่ละตัว และทาหน้าที่ในการทรงตัวปรับทิศทาง ขณะบิน 2. ขนดาวน์หรือขนอุย ( down ) เป็นขนที่สั้นและนุ่มมาก ก้านขนด้านนอกสั้นหรือไม่มีเลย ขนดาวน์ซ่อนอยู่ ใต้ขนคอนทัวร์ และพบมากกกับลูกนกที่เพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ๆ ทาหน้าที่ช่วยรักษาความร้อนไม่ให้ สูญเสียไปจากร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ขน นกไม่ได้ขึ้นปกคลุมทั่วทั้งตัวนก แต่ที่เราเห็นเหมือนขนปกคลุมทั่วตัวนก เพราะเส้นขนเรียงตัวเป็นแนว อย่างเป็นระเบียบ แนวขนที่สาคัญมี 2 แนวคือ 1. แนวทางขนปีก เป็นแนวทางที่อยู่บนปีก จาแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ  ขนปลายปีก ( primary feather ) เป็นขนที่อยู่บริเวณปลายปีก
  • 17.  ขนกลางปีก ( secondary feather ) เป็นขนที่อยู่บริเวณกลางปีก ขนปลายปีกและขนกลางปีกมีขนาด ใหญ่แข็งแรง มีความสาคัญในการบิน  ขนคลุมปีก ( wing covert ) เป็นขนขนาดเล็กอยู่ด้านบนของปีก คลุมโคนก้านขนปลายปีกและขน กลางปีก  ขนปีกน้อย ( alula ) เป็นก้านขนสามสี่เส้นอยู่ที่กระดูกนิ้ว ช่วยให้เกิดช่องอากาศเล็กๆ สาหรับเพิ่ม พื้นผิว ช่วยบังคับความเร็วของการบินเมื่อเวลาร่อนลงหรือหยุดเกาะ 2. แนวทางขนหาง เป็นขนที่อยู่ส่วนหาง มี 2 ส่วน คือ  ขนหางเป็นขนที่อยู่ปลายสุดของหางทาหน้าที่เป็นหางเสือสาหรับบังคับทิศทางและ รักษาการ ทรง ตัวขณะบินอยู่ในอากาศ นกบางชนิดสามารถแผ่ขนหางได้ เช่น ไก่งวง  ขนคลุมหาง มีอยู่หลายแถวติดกับขนหาง นกบางชนิดก็แผ่ขนคลุมหางได้ เช่น นกยูง นอก จากมีสีสันสวยงามแล้ว ขนนกยังช่วยปกคลุมลาตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งมีคมและความร้อนจาก แสง อาทิตย์ รวมทั้งช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่โดยขยับขนให้ตั้งขึ้นหรือแนบ ชิดกับลาตัวที่ สาคัญที่สุดคือ ขนนกทาหน้าที่ในการบินและลอยตัวกลางอากาศ สีขน สี ของขนนกเกิดจากเม็ดสีต่างๆ ทาให้เกิดเป็นสีเหลือง แดง เขียว ฯลฯ ต่างกันออกไป สาหรับนกที่ไม่มีเม็ด สีจะมีขนเป็นสีขาว เช่น นกยาง นกนางนวล ฯลฯ อีกสาเหตุหนึ่งที่ทาให้เกิดสีขนคือ การสะท้อนและหักเห ของแสง อันเป็นผลจากคุณสมบัติทางกายภาพของเส้นขน สีของขนนกมีความสาคัญ คือ ช่วยพรางตัวให้ กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม เพื่อประโยชน์ในการหลบซ่อนศัตรูหรือเพื่อซุ่มจับเหยื่อ และช่วยดึงดูดเพศตรง ข้ามในฤดูผสมพันธุ์นก ต้องดูแลขนของตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะถ้าขนสกปรกจะทาให้ขนปีกติดกัน และนกอาจตกลงมาในเวลาบินได้ ทั้งยังเป็นการขับไล่แมลงและไรที่เกาะหากินอยู่บนตัวนก นกบางชนิดใช้ วิธีอาบน้าด้วยการจุ่มหัวลงไปในน้าอย่างรวดเร็ว แล้วใช้ปีกตีน้าให้กระเซ็นไปทั่วตัว ส่วนนกที่ไม่ชอบลง มายังพื้นดินจะออกมาอาบน้าโดยการตากฝน เช่น นกเงือก นกที่บินร่อนโฉบได้เก่ง เช่น นกนางแอ่น นก แซงแซว จะใช้วิธีโฉบลงไปที่ผิวน้า เพื่อให้ตัวเปียกอย่างรวดเร็ว ภายหลังจากอาบน้าแล้ว นกจะไซ้ขนโดย สะบัดลาตัวให้น้ากระเซ็นออกมา แล้วใช้ปากแตะที่ต่อมน้ามันตรงโคนหาง ซึ่งจะถูกกระตุ้นให้หลั่งน้ามัน ออกมา เมื่อโดนปากของนกไปแตะจากนั้นนกจะนาน้ามันที่ติดอยู่ที่ปากไซ้และลูบไล้ไป ตามเส้นขนจน เรียบ แห้งสวยงามพวกนกน้า เช่น นกเป็ดน้า จะใช้ต่อมน้ามันทาตามขน เพื่อไม่ให้ขนเปียกขณะที่อยู่ในน้า
  • 18. ปีกและการบิน การ บินของนกเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากและซับซ้อน โดยมีปีกเป็นตัวหลักในการพยุงตัวให้อยู่ในอากาศ และผลักดันให้เคลื่อนที่ไปในอากาศได้ ปีกของนกเมื่อมองในด้านตัดจะมีรูปร่างเพรียวลม ด้านบนโค้งนูน ส่วนด้านล่างเว้า เมื่อขอบปีกด้านหน้าปะทะกับอากาศในเวลาที่นกกระพือปีก ความแตกต่างของความกด อากาศดังกล่าว ทาให้เกิดการลอยตัวยกให้นกลอยสูงขึ้นได้ และหากขอบหน้าของปีกนกถูกยกขึ้นให้ สัมพันธ์กับทิศทางของการเคลื่อนไหว มีผลให้นกลอยตัวสูงขึ้นตามไปด้วยสิ่ง ที่ทาให้นกสามารถเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าได้นั้นอยู่ที่นกใช้การกระพือปีกดัน ให้ตัวเองบินไป ข้างหน้าไม่ได้กระพือปีกขึ้นลงแบบธรรมดา เมื่อปีกของนกกางออกเต็มที่ เวลากระพือลงบริเวณปลายปีกจะหมุนไปรอบๆ และดันให้อากาศผ่านไปทาง ข้างหลัง ทาให้นกพุ่งตัวไปข้างหน้า และนกจะกระพือปีกขึ้นกลับไปอยู่ในตาแหน่งที่พร้อมจะกระพือลงให้ นกเคลื่อนที่ ไปข้างหน้าได้อีกครั้ง เมื่อนกกระพือปีกติดต่อกัน จึงทาให้สามารถบินไปมาในอากาศได้ และ ในเวลาที่ต้องการลงเกาะกิ่งไม้ นกต้องเหยียดขาไปข้างหน้า พร้อมกับแผ่ปีกและกางขนหางออกเพื่อชะลอ ความเร็วก่อนหยุดบินนอก จากนี้ขนนกยังมีบทบาทกาหนดลักษณะการบินของนกให้แตกต่างกัน โดยขน ปลายปีกจะทาหน้าที่ในการเคลื่อนที่และผลักดันลาตัวไปข้างหน้า ส่วนขนกลางปีกเป็นขนปีกที่ส่วนบนโค้ง ส่วนล่างแบนใช้ในการลอยตัว สาหรับขนหางมีความสาคัญสาหรับเป็นหางเสือช่วยการทรงตัวในระหว่าง บิน ช่วยบังคับทิศทางและชะลอความเร็วเมื่อจะหยุดบินปีกของนกมีขนาดและรูปร่างต่างกันออกไป เพื่อให้ เหมาะสมกับการใช้งานของนกแต่ละชนิด ดังนี้  ปีกแคบและสั้น เหมาะสาหรับการบินเร็วๆ ช่วงสั้น ส่วนใหญ่พบในนกที่อาศัยอยู่ตามป่า เช่น นกเขา นกปรอด  ปีกแบน เรียวบาง และ ลู่ไปทางด้านท้าย ช่วยให้บินได้เร็วและเลี้ยวไปมาอย่างคล่องแคล่ว พบใน นกที่บินหากินตลอดเวลา เช่น นกนางแอ่น และนกที่บินย้ายถิ่นเป็นระยะทางไกลๆ เช่น นกชายเลน  ปีกแคบและยาว เหมาะสาหรับการร่อนโดยเฉพาะ พบในนกทะเลที่ชอบร่อนเหนือน้าทั้งวันโดย แทบไม่กระพือปีกเลย เช่น นกบู๊บบี้  ปีกโค้งใหญ่และปลายขนปีกแยกจากกัน สาหรับร่อนที่สูงช่วยให้นกบินลอยตัวได้สูงขึ้นและร่อน ตามลมได้ดี พบในนกขนาดใหญ่ที่ร่อนหากินระดับสูง เช่น นกอินทรี แร้ง การบินของนกยังมีรูปแบบต่างกันออกไป 4 แบบ 1. การบินโบกปีก ( flapping ) เป็นการบินโบกปีกขึ้นลง แบบที่เห็นนกบินทั่วไป นกขนาดใหญ่จะประสบ ปัญหาเมื่อเริ่มต้นบิน ต้องใช้วิธีต่างๆ เพื่อช่วยพยุงตัว นกอินทรีใช้วิธีโผลงจากที่สูง นกยางใช้ขายาวผลักตัว ให้ขึ้นไปในอากาศก่อน แล้วจึงกระพือปีก ส่วนนกที่หากินบนน้า เช่น นกกระทุง จะใช้เท้าที่เป็นพังผืดวิ่งพุ้ย ไปบนน้าระยะหนึ่งก่อนจึงออกบิน
  • 19. 2. การบินร่อนลดระดับ ( gliding ) เป็นรูปแบบที่ง่ายที่สุดของการบิน เพียงทิ้งน้าหนักตัวไปข้างหน้าให้ มากกว่าแรงด้านของอากาศ นกก็สามารถร่อนและลดระดับลงต่าได้ 3. การบินร่อนรักษาระดับ ( soaring ) โดยไม่ต้องโบกปีกเลย ส่วนใหญ่ต้องเป็นนกขนาดใหญ่ถึงจะร่อน แบบนี้ได้โดยไม่เสียการทรงตัว นกที่มีปีกกว้างใหญ่ เช่น นกอินทรีจะอาศัยอากาศร้อนที่ลอยตัวขึ้นจาก พื้นดินช่วยพยุงตัวให้ร่อนอยู่ กลางอากาศ ส่วนนกทะเลที่มีปีกแคบเรียวยาวจะใช้กระแสลมช่วยพัดตัวพุ่งไป ข้างหน้า และจะร่อนอยู่ด้วยแรงเฉื่อยจนมีกระแสลมพัดมาใหม่ 4. การบินทรงตัวอยู่กับที่ ( hovering ) เป็นการบินโดยกระพือปีกเร็วๆ จนเกิดแรงยกต้านแรงโน้มถ่วงของ โลกให้ทรงตัวนิ่งอยู่กลางอากาศ ส่วนใหญ่เป็นนกตามทุ่งโล่ง เช่น เหยี่ยวขาว นกกะเต็นปักหลัก อย่าง ไรก็ตามมีนกหลายชนิดบินไม่ได้ เพราะไม่จาเป็นต้องใช้ประโยชน์จากการบิน ปีกจึงหดเล็กลงจนใช้ บินไม่ได้เลย เช่น นกกระจอกเทศ ซึ่งเดินหากินอยู่ตามทุ่งโล่ง ไม่จาเป็นต้องบินหาอาหาร จึงมีขายาวสาหรับ วิ่งแทนการใช้ปีกบิน นกเพนกวินที่อาศัยอยู่แถบขั้วโลกใต้ ปีกพัฒนาให้ทาหน้าที่คล้ายครีบสาหรับว่ายน้า จับสัตว์น้ากินอย่างคล่องแคล่ว ปาก นก มีความจาเป็นต้องใช้ประโยชน์จากปากในการดารงชีวิตหลายประการ ทั้งนี้นกสามารถใช้ปากทา พฤติกรรมต่างๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นการจิกฉวยสิ่งของ กินอาหาร สร้างรังหรือช่วยป้องกันตัว ปากของนกมีแผ่นแข็งเป็นปลอกหุ้มอยู่ บริเวณใกล้โคนปากด้านบนยกสูงเป็นเส้นเล็กน้อย และมีช่องจมูก เปิดออกตรงบริเวณนี้ นกแต่ละชนิดมีปากต่างกัน เพื่อให้เหมาะสมกับอาหารที่กิน  นกกินเนื้อสัตว์ มีปากงองุ้มแหลมคม เพื่อฉีกเหยื่อเป็นชิ้นๆ ก่อนกลืนลงไป เช่น เหยี่ยว นกเค้า  นกกินเมล็ดพืช มีปากสั้นแข็งแรง เพื่อขบเมล็ดพืชที่มีเปลือกให้แตก เช่น นกกระจาบ นกกระติ๊ด  นกกินปลา มีปากยาวแหลมตรง เพื่อจับสัตว์น้าได้อย่างรวดเร็ว เช่น นกยาง นกกะเต็น ส่วนนก อ้ายงั่ว จะใช้ปากแหลมพุ่งแทงทะลุตัวปลา แล้วจึงโผล่มากินบนผิวน้า สาหรับนกกาน้าที่มีปากยาว เช่นกัน แต่ตรงปลายปากจะงุ้มแหลมลงมาเพื่อจับปลาไม่ให้หลุด นกปากห่างมีปากแบบพิเศษที่มี ช่องตรงกลาง ปากแยกห่างออกจากกัน เพื่อใช้คาบหอยโข่งที่กลมลื่นไม่ให้หลุด  นกกินน้าหวานจากเกสรดอกไม้ มีปากเรียวยาวและโค้งลงเล็กน้อย เพื่อให้สามารถสอดเข้าไปใน เกสรดอกไม้ได้ แล้วใช้มีลิ้นแบบพิเศษที่พับเป็นหลอดยื่นออกจากปากเพื่อดูดน้าหวาน เช่น นก กินปลี
  • 20.  นกกินแมลง มีปากสั้นแบนกว้าง และมีขนแข็งที่โคนปากไว้ช่วยต้อนแมลงเข้าปาก เช่น นกตบยุง นกแอ่น ส่วนนกหัวขวานมีปากขนาดใหญ่ยาวตรงและแข็งแรง ไว้สาหรับเจาะต้นไม้หาหนอนหรือ แมลงเป็นอาหาร และยังมีกะโหลกแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถทนแรงกระแทกเวลาเจาะต้นไม้ได้ดี  นกเป็ดน้ามีปากแบนใหญ่เพื่อใช้ไซ้หาอาหารในน้า ขณะที่นกชายเลนส่วนใหญ่มีปากเรียวยาวและ เล็ก เพื่อใช้จิ้มลงไปจับสัตว์เล็กๆ ในเลนกินเป็นอาหาร บางชนิดปากตรง เช่น นกตีนเทียน บางชนิด โค้งลง เช่น นกอีก๋อย บางชนิดงอนขึ้น เช่น นกชายเลนปากงอน ขาและตีนนก แม้ นกจะเป็นสัตว์ที่มีปีกและบินได้ แต่ยังต้องพึ่งพาขาและตีนในการดารงชีวิตอย่างมาก นกจาเป็นต้องใช้ ตีนเพื่อเกาะ เดิน ว่ายน้า บางชนิดใช้ตีนส่งอาหารเข้าปาก เช่น นกแก้ว ขาและตีนของนกมีวิวัฒนาการให้ เหมาะสาหรับสภาพแวดล้อมแบบใดแบบหนึ่ง นกแต่ละชนิดจึงมีลักษณะของขาและตีนแตกต่างกัน ดังนั้น ขาที่ปรับตัวและมีประโยชน์ในสภาพแวดล้อมแบบหนึ่ง อาจไม่มีประโยชน์ในสภาพแวดล้อมแบบอื่นเลยก็ ได้ นิ้ว ตีน นก ส่วนใหญ่มีนิ้วตีน 4 นิ้ว โดยมี 3 นิ้วอยู่ด้านหน้า และนิ้วหัวแม่ตีนอยู่ทางด้านหลัง สาหรับใช้ เกาะกิ่งไม้หรือยืดตัวเมื่อยืนหรือเดิน แต่นกที่อยู่ตามพื้นดิน เช่น นกกระแตแต้แว้ด มีนิ้วหัวแม่ตีนเล็กลง เพราะว่าไม่จาเป็นต้องใช้นิ้วหัวแม่ตีนเกาะกิ่งไม้ ส่วนนกที่บินไม่ได้และชอบวิ่งไปตามพื้นดิน เช่น นกกระจอกเทศ ซึ่งจาเป็นต้องใช้ตีนวิ่งหลบหลีกภัยอย่างรวดเร็วเสมอ นิ้วตีนจึงเหลือเพียงนิ้วด้านหน้า 2 นิ้ว เท่านั้น การออกหากิน นก ที่หากินตามแหล่งน้าก็มีนิ้วตีนต่างกัน นกเป็ดน้ามีแผ่นพังผืดขึงติดอยู่ระหว่างนิ้วทั้งสามเพื่อใช้ว่ายน้า แต่ไม่ขึงไปถึงนิ้วหัวแม่ตีน ส่วนนกกาน้าและนกกระทุงที่มีพังผืดสาหรับว่ายน้าเช่นกัน จะมีพังผืดขึงติด ตลอดทั้ง 4 นิ้ว เวลาที่เกาะกิ่งไม้นกจะใช้นิ้วทั้งสี่จับไปข้างหน้ารอบๆ กิ่งไม้ สาหรับนกเป็ดผีและนกคู้ท มี หนังเป็นแผ่นบางๆ คล้ายกับใบพายที่นิ้วด้านหน้าทุกนิ้ว ช่วยให้ดาและว่ายน้าได้ดี นกที่เดินหากินบนจอก แหน เช่น นกพริก มีนิ้วทั้งสี่ยาวเป็นพิเศษ และมีเล็บที่ยาวตรงออกไปอีก ทั้งนี้เพื่อช่วยพยุงตัวให้เดินบนจอก แหนได้โดยไม่จมลงไปในน้า นก ที่หากินตามลาต้น เช่น นกหัวขวานและนกไต่ไม้ มีขาสั้นและแข็งแรงช่วยให้ไต่ตามต้นไม้อย่าง คล่องแคล่ว ส่วนใหญ่นกหัวขวานมีนิ้วตีนอยู่ด้านหน้า 2 นิ้วและด้านหลัง 2 นิ้ว สาหรับเกาะต้นไม้ในแนวดิ่ง โดยมีขนหางแข็งไว้คอยค้าจุนอีกด้วย
  • 21. การรับความรู้สึก นก ก็เหมือนสัตว์ทั่วไปที่จาเป็นต้องมีประสาทรับความรู้สึกที่ดี ประสาทรับความรู้สึกของนกบางอย่างอาจ ถูกดัดแปลงจนมีประสิทธิภาพดีกว่าของ สัตว์อื่น โดยเฉพาะในส่วนของการมองและได้ยิน ทั้งนี้เพื่อการใช้ ชีวิตให้อยู่รอดในธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการบิน หากิน หรือหลบหลีกศัตรู จาเป็นต้องพึ่งประสาทรับ ความรู้สึกทั้งสิ้น ตา นก นก มีตาขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลาตัว นกที่หากินกลางวันมีลูกตารูปทรงกลมหรือแบน ส่วนนกหากิน กลางคืนมีลูกตาทรงกระบอก นกมีหนังตาชั้นที่ 3 เป็นอวัยวะเด่นที่แตกต่างจากสัตว์อื่น ใช้สาหรับเปิดปิด นัยน์ตาแทนการกระพริบตาด้วยหนังตาชั้นนอก และช่วยป้องกันตาเมื่อนกบินปะทะลมหรือดาน้า ตาแหน่ง ของดวงตา ตาแหน่ง ของดวงตาบนหน้ามีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและการดารงชีวิตของนก มาก นกที่ชอบหากินตามพื้นดิน เช่น นกพิราบ มีตาอยู่ด้านข้าง เพื่อมองหาอาหารหรือศัตรูได้รอบตัว ส่วน นกล่าเหยื่อมีดวงตาใหญ่ค่อนไปทางด้านหน้า ช่วยให้มองเหยื่อและกะระยะได้ดี รวมทั้งยังสามารถมองเห็น ได้ไกล นกที่เดินหากินอยู่ตามหนองน้า เช่น นกยาง มีตาค่อนมาทางด้านล่าง เพื่อมองหาเหยื่อซึ่งอยู่ในที่ต่า กว่าระดับตา เมื่อมีศัตรูนกยางต้องชูคอขึ้นเพื่อให้มองเห็นภาพด้านหน้า สาหรับนกปากซ่อม ซึ่งเวลาหา อาหารไม่จาเป็นต้องใช้ตาช่วย เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ปลายปากที่ใช้ทิ่มลงไปในเลนเพื่อหาอาหาร ดังนั้น ตาของนกปากซ่อมจึงค่อนไปอยู่ด้านท้าย เพื่อระวังภัยจากศัตรู พื้นที่ การมองเห็น นก แต่ละชนิดมีพื้นที่ที่ตามองเห็นไม่เท่ากัน นกพิราบมองเห็นภาพได้กว้างที่สุดถึง 340 องศา เหยี่ยวมองเห็นภาพด้านหน้าได้มาก แต่เห็นด้านข้างน้อยกว่า เหยี่ยวจึงจาเป็นต้องหันหัวช่วยในการ มองขณะที่ตานกเค้าอยู่ด้านหน้า ทาให้มองได้ไม่เกิน 90 องศา แต่ตาสองข้างของนกเค้าก็รับภาพร่วมกันเกิด เป็นภาพสามมิติ ช่วยกะระยะได้อย่างแม่นยา การ รับรู้เสียง หู ของนกได้รับการพัฒนาอย่างมาก และทางานประสานกับประสาทการทรงตัว นกไม่มีใบหู หูนกเป็นช่องอยู่ตรงข้างหัว แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก เป็นช่องนาคลื่นเสียงเข้าสู่เยื่อแก้วหู แล้วส่ง ต่อไปยังหูชั้นกลาง และถ่ายทอดผ่านเยื่อบางๆ ที่กั้นอยู่ไปสู่หูชั้นใน พวกนกเค้าที่หากินกลางคืนมีโครงสร้าง ของหูไวต่อเสียงมาก ทาให้ในที่มืดไม่ว่าเหยื่อจะเคลื่อนไหวอย่างเงียบกริบสักเพียงใด นกเค้าก็ยังสามารถได้ ยินเสียงและรู้ตาแหน่งของเหยื่อได้ การ รับรู้กลิ่น ความ สามารถในการรับรู้กลิ่นของนกมีน้อย เนื่องจากได้รับการพัฒนาน้อยมาก แต่นกกีวีใน นิวซีแลนด์มีการรับรู้กลิ่นดีมาก เพราะนกกีวีสายตาไม่ค่อยดีและออกหากินในตอนกลางคืน จึงต้องใช้การ ดมกลิ่นในการหาอาหาร โดยใช้รูจมูกที่ติดอยู่ตอนปลายของปากสูดกลิ่นดินที่ขุดลงไป เพื่อหาไส้เดือนเป็น อาหาร แร้งก็เป็นนกอีกชนิดหนึ่งที่มีการรับรู้กลิ่นดีกว่านกชนิดอื่น