SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 19
Descargar para leer sin conexión
1มกราคม 2559 •
4
108
6
14 15
บทความ Article
11
สวทช. นำ�สื่อเยี่ยมชมห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำ�หรับเด็กป่วยในโรงพยาบาล...
การประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2558
เอ็มเทค ร่วมเดินหน้าประเทศไทย
ไปสู่ความปลอดภัยทางถนน
ประกาศผลผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี 2558
กสอ. จับมือ สวทช. ดัน SMEs ไทยสู่อุตสาหกรรมแห่งนวัตกรรม
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
บทสัมภาษณ์ Star
จากผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม...
นำ�มาซึ่งรางวัลที่ได้รับมากมาย
ดร.ศรชล โยริยะ
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News 2
ไบโอเทค-สวทช. ประสบความสำ�เร็จ
พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
2 nstda • มกราคม 2559
โดยใช้ไอทีเป็นสื่อเรียนรู้
สวทช. นำ�สื่อเยี่ยมชมห้องเรียนคอมพิวเตอร์
เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
8 ธ.ค. 58 ณ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราช
สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำ�คณะสื่อมวลชนเยี่ยมชม “โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยใน
โรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ โรงพยาบาลชลบุรี
จ.ชลบุรี โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยเด็กป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องอยู่
ในโรงพยาบาลนานๆ ทำ�ให้ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงทรงพระราชทาน “ห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำ�หรับเด็ก
ป่วยในโรงพยาบาล” และแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เด็กป่วยได้เรียนและเล่นอย่างมีความสุข
ด้วยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ทำ�ให้เกิดการต่อยอดและขยายผล จนปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็ก
ป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ถึง 29 แห่ง ใน
26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
3มกราคม 2559 •
ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. และ กรรมการ
และเลขานุการคณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เปิดเผยว่า “สืบเนื่องจาก
ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานห้องเรียน
คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล โดยเริ่มนำ�ร่องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
สภากาชาดไทย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลเลิดสิน และ
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2539 ต่อมากระทรวงสาธารณสุข
โดยกรมการแพทย์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
ได้มีความร่วมมือในการนำ�แนวพระราชดำ�ริดังกล่าวขยายผลไปสู่โรงพยาบาลใน
ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จำ�นวน26 แห่ง และมีเด็กป่วยได้รับบริการภาย
ใต้โครงการนี้กว่า 20,000 คนต่อปี” โดยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็ก
ป่วยในโรงพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กป่วยเรื้อรังซึ่งขาดโอกาสทางการ
ศึกษาได้มีโอกาสเรียน และเรียนได้ทันเพื่อนเมื่อออกจากโรงพยาบาล โดยใช้ไอที
เป็นสื่อในการเรียนรู้ และสร้างความเพลิดเพลินให้เด็กลดความวิตกกังวลต่อโรค
และอาการเจ็บป่วย ด้วยความร่วมมือในการดำ�เนินงานของ 3 กระทรวง ได้แก่
กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. ที่สนับสนุน
ครูผู้สอนประจำ�ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล กระทรวง
สาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ และสำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่
สนับสนุนการจัดตั้งห้องศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล
และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สวทช. ที่สนับสนุนนำ�เทคโนโลยี
สารสนเทศมาใช้ในศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล     
ด้าน นายแพทย์เกศดา จันทร์สว่าง รองผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลชลบุรี
กล่าวถึงการดำ�เนินการโครงการดังกล่าวในโรงพยาบาลชลบุรีว่า “โรงพยาบาล
ชลบุรี เป็น1 ใน  29 แห่งจากโรงพยาบาลทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการเทคโนโลยี
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
สารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริฯ มีผล
งานเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน ในการพัฒนาการดำ�เนินงานโครงการฯ โดยโรงพยาบาล
ชลบุรี จัดให้มี “ศูนย์การเรียนสำ�หรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาล
ชลบุรี และโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วย” ขึ้น ได้
ดำ�เนินงานในหลายส่วน อาทิ การนำ�eDLTV ไปใช้ในการสอนเด็ก
ป่วย การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำ�เนินงานโครงการ
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล และรูปแบบการ
เรียนการสอนข้างเตียงสำ�หรับเด็กป่วยที่ไม่สามารถมาเรียนหนังสือ
ที่ห้องเรียนได้ เป็นต้น”
เสียงสะท้อนบางส่วนจากเด็กป่วยที่ได้รับบริการจากศูนย์ฯ
ดังกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของศูนย์ฯ ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและ
ทักษะในด้านการเรียนต่างๆ
ด.ญ.ปัญญาวีย์ บุศรัตน์ตานนท์ หรือน้องไอซ์ อายุ9 ขวบ
ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 4 โรงเรียนวุฒิวิทยา ได้รับการรักษาตั้งแต่ปี 2550-2555 โรงพยาบาลชลบุรี
และได้เข้าเรียนในศูนย์การเรียนสำ�หรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรี และ
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลชลบุรี โดยน้องไอซ์เล่าให้ฟัง
ว่า “หนูรู้สึกมีความสุขเมื่อเข้ารับบริการในศูนย์ฯ และสนุกกับการเรียนและการ
ทำ�กิจกรรมต่างๆ มากมาย ศูนย์แห่งนี้ช่วยให้หนูเป็นเด็กที่ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส
และกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะการแสดงออกซึ่งความสามารถพิเศษที่หนู
ชอบ ได้แก่ การร้องเพลงจีน และการเต้น โดยจะมีคุณครูช่วยเสริม ช่วยดูแลใน
ทักษะด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด และหนูยังได้เรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศตาม
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยด้วย”    
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.อดิศร์สุดา เพื่องฟู สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ
มหาราชินี เล่าถึงการส่งผลการดำ�เนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็ก
ป่วยในโรงพยาบาลเข้าประกวดในระดับนานาชาติว่า “จากผลการดำ�เนินงานของ
โครงการฯ นี้  ในปี พ.ศ. 2558 สถาบันสุขภาพด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการ
แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดส่งผลการดำ�เนินงานโครงการดังกล่าว ในชื่อ
“Holistic School in Hospital” เข้าประกวดระดับนานาชาติ ในรายการ 2015
United Nations Public Service Awards (2015 UNPSA) ด้วย ซึ่งจัดขึ้นโดย
UnitedNationsDepartmentofEconomicandSocialAffairs(UNDESA) ผล
ปรากฎว่า ได้รับรางวัลชนะเลิศ(1stplacewinner) ในสาขาการส่งเสริมแนวทาง
การดำ�เนินการของภาครัฐโดยรวมในยุคข้อมูลข่าวสาร(Category3-Promoting
WholeofGovernmentApproachesintheInformationAge) ทั้งนี้ กระทรวง
สาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วย
งานที่ร่วมกันดำ�เนินงานโครงการศูนย์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเด็กป่วย
ในโรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริฯ ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลUNPSA แด่ สมเด็จพระ
เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาส
ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
4 nstda • มกราคม 2559
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า
การส่งเสริมและพัฒนาSMEs ของไทยในปัจจุบันจำ�เป็นที่จะต้องมุ่งเน้นการสร้าง
ความเข้มแข็งให้กับSMEs โดยเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) และพัฒนานวัตกรรม
(Innovation) เพื่อยกระดับและสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบ
สนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้น ภาครัฐจึงผลักดันการนำ�เทคโนโลยี
และนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาและยกระดับSMEs ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ�
ถึงปลายน้ำ� ผ่านการทำ�งานเชิงบูรณาการร่วมกันของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ มีเป้าหมายที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมไทย โดย
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
เน้น10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ในเชิงนวัตกรรม
ซึ่งการจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้นั้น งานวิจัยเป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างมาก
กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงหารือเพื่อสร้างข้อตกลง
ร่วมมือกับสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  เพื่อผ
ลักดันงานด้านวิจัยและพัฒนา และการเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการให้มี
ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการทดสอบรับรอง เพื่อรองรับ10 อุตสาหกรรมเป้า
หมายได้อย่างมีศักยภาพและยั่งยืน 
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวถึง การนำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยเพิ่มศักยภาพในการ
กสอ. จับมือ สวทช. ดัน SMEs ไทย
สู่อุตสาหกรรมแห่งนวัตกรรม
กรุงเทพฯ 14 ธันวาคม 2558 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมมือกับสำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และพัฒนานวัตกรรม
(Innovation) ให้ 5 อุตสาหกรรมดาวเด่น รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล มุ่งหวังสร้างมูลค่า
เพิ่มในภาพรวมให้กับอุตสาหกรรมไทยได้กว่าร้อยละ 15
5มกราคม 2559 •
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
แข่งขันของเอสเอ็มอีไทยและความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักในด้านการทำ�วิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนภาค
อุตสาหกรรมและสังคม ซึ่งสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) ถือเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและพัฒนา มีระบบ
การถ่ายทอดและบริหารจัดการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความพร้อม
ด้านบุคลากรในการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และ
ช่วยเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมมีการนำ�เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้เพิ่มผลิตภาพ
คุณภาพ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นข้อต่อสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดความ
เชื่อมโยงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ดี การส่งต่อโอกาสการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นไปอย่าง
สมบูรณ์ได้ ก็ด้วยความร่วมมือและการบูรณาการการทำ�งานร่วมกันกับหน่วยงาน
ที่ทำ�หน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม
โดยตรง คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อ
ร่วมกันปักธงนวัตกรรมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจ
และนำ�ความเข้มแข็งของทั้งสองหน่วยงานได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ
ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สวทช. ในการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมได้
อย่างรวดเร็วและสร้างความสมบูรณ์ให้กับข้อต่อของกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี
จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและ
การเสริมสร้างศักยภาพอุตสาหกรรมในครั้งนี้ อันจะเป็นการนำ�เอาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และนำ�ประเทศ
ก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งนับเป็นการสร้างอนาคตประเทศไทย
ร่วมกันให้มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” 
ดร.สมชายหาญหิรัญอธิบดีกรมส่งเสริม
อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กสอ. ได้ดำ�เนิน
การพัฒนานำ�ร่องใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม
ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยาน
ยนต์ อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือ
และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และไบโอพลาสติก
และบรรจุภัณฑ์ มีขอบเขตความร่วมมือกัน
ในการส่งเสริมและพัฒนาให้ได้มาตรฐานและ
มีกระบวนการในการทดสอบ ส่งเสริมการ
ออกแบบ โดยนำ�เอางานวิจัยและเทคโนโลยี
ในด้านการผลิตต่างๆ เข้ามาใช้ ตลอดจนการ
สนับสนุนของ สวทช. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
ในการแข่งขัน และเพื่อยกระดับคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังมีการร่วมมือกันเพื่อ
พัฒนาบุคลากรสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาค
อุตสาหกรรมอีกด้วย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถทำ�ให้
ภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งSMEs จะยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาพรวมให้กับอุตสาหกรรมไทยได้กว่าร้อยละ 15 
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี
ของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม/ สวทช. มีความ
มุ่งมั่นที่จะนำ�ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลักดันงาน
วิจัยและพัฒนาสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยให้มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน
ผ่านการทดสอบ และยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านยานยนต์และชิ้นส่วน
ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรม
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกและบรรจุ
ภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยผ่านกลไกทั้งการ
ให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�ด้านวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ การบริหารการผลิต ปรับปรุง
กระบวนการผลิต และการวิเคราะห์และทดสอบ รวมถึงการอบรมสัมมนาและ
การจัดหาทรัพยากรสนับสนุนที่จำ�เป็น ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2559 จะมีโครงการ
นำ�ร่องส่งต่อผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของทั้ง 2 ฝ่าย โดย กรมส่งเสริม
อุตสาหกรรม จะสนับสนุนเรื่องบริหารจัดการธุรกิจ ฝึกอบรมด้านการเงิน และการ
ตลาด ส่วน สวทช. จะบริหารโครงการเชิงลึกเพื่อพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยี
การผลิตและสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยให้มีขีดความสามารถ
ทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและยั่งยืน โดย สวทช. มีศักยภาพและความพร้อมในการ
ดำ�เนินงานได้ทันทีและสามารถขยายบริการได้ครอบคลุมทุกจังหวัดสำ�คัญของ
ไทย ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสนับสนุน SMEs ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต
อย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องกว่า 15,000 ราย เป็นต้น
6 nstda • มกราคม 2559
การประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2558
“การปรับตัวด้านการผลิตและ
การค้าข้าวไทยหลัง AEC”
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
สวทช. ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สำ�นักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และกรมการค้าต่าง
ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดการประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2558 “การปรับตัว
ด้านการผลิตและการค้าข้าวไทยหลัง AEC” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีของการสร้างข้อความรู้เรื่องข้าว
และรวมถึงการสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนาไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการ
กระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำ�เนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับข้าว
รวมทั้งกลุ่มชาวนา ได้ตระหนักถึงความจำ�เป็นที่จะต้องร่วมกันหาแนวทางในการ
แก้ไขและพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอัน
เป็นประโยชน์ โดยในปี 2558 นี้ จัดการประชุมเวทีข้าวไทยภายใต้หัวข้อ “การ
ปรับตัวด้านการผลิตและการค้าข้าวไทยหลังAEC” โดยมีกรอบของประเด็นสำ�คัญ
เพื่อเป็นแนวทางในการหารือ 2 แนวทางด้วยกัน ได้แก่ 
1) ภาคการผลิตข้าวและชาวนาไทยจะมีการปรับตัวกันอย่างไร
ภายหลังการเป็นแหล่งผลิตเดียวของประชาคมอาเซียน
(single production based)
2) ภาคการค้าและการส่งออกข้าวของไทยจะก้าวไปอย่างไร
ภายใต้สถานการณ์ของการรวมเป็นตลาดเดียวของประชาคมอาเซียน
(single market based)
7มกราคม 2559 •
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
โดย พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุม และปาฐกถาพิเศษ “นโยบายข้าวและขาว
นาแห่งชาติ” และ ดร.ทวีศักดิ์ กออนัตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. ร่วมเป็นเกียรติ
ในพิธีเปิดงานดังกล่าว นอกจากนี้ คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร ร่วมกับไบโอเทค
และเนคเทค เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้วย 
• ไบโอเทค สวทช. ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำ�เสนอการใช้ประโยชน์จาก
เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) สายพันธุ์ BCC2660 ซึ่งเป็นเชื้อรา
ทำ�ลายแมลงที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลง
เกษตรกรหลายชนิด เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลในนาข้าว และเพลี้ยแป้งสีชมพู
ในไร่มันสำ�ปะหลัง และเพลี้ยอ่อนในแปลงผัก และปัจจุบัน สวทช. อยู่ระหว่าง
การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรียที่มีการควบคุมมาตรฐานการ
ผลิต โดยนำ�ร่องถ่ายทอดให้กับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช
(ศทอ.) ที่มีจำ�นวน 9 ศูนย์ กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ โดยในปี 2558 นำ�ร่อง
ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับ ศทอ. จ.เชียงใหม่ และ จ.พิษณุโลก เพื่อผลิต
หัวเชื้อราบิวเวอเรีย พร้อมทั้งถ่ายทอดกระบวนการผลิตเชื้อรารูปแบบเชื้อสดที่
มีคุณภาพ โดยนำ�ร่องทดสอบร่วมกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อ.หนองม่วงไข่
จ.แพร่ และ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้
กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้เชื้อราที่มีคุณภาพไปใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช
ต่อไป
• เนคเทค สวทช. ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำ�เสนอการบรูณาการข้อมูล
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ประกอบด้วย การ
พัฒนาระบบบูรณาการข้อมูลและแบบจำ�ลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร
คลังทรัพยากรสารสนเทศด้านการเกษตร และสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ
เพื่อให้ได้ What2Grow ระบบที่ช่วยในการกำ�หนดพื้นที่เหมาะสมสำ�หรับปลูก
พืชเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกข้าว ช่วยกำ�หนดเป้าหมายและให้ทางเลือก
กับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนที่เหมาะ
สมในจังหวัดนำ�ร่อง และในที่สุดจะสามารถให้ภาพรวมระดับประเทศได้ ทำ�ให้
เกษตรกรมีรายได้สูงสุดจากการปลูกพืชทดแทนนั้นๆ และระบบสารสนเทศเพื่อ
การเกษตรไทยแบบพกพา (TAMIS) เทคโนโลยีเสริมสนับสนุนการขึ้นทะเบียน
เกษตรกร รองรับการทำ�งานแบบออนไลน์และออฟไลน์ อำ�นวยความสะดวกให้
เจ้าหน้าที่เกษตรตำ�บลและอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน รับ-ส่งข้อมูลได้แบบทันที
รองรับการทำ�งานร่วมกับบัตรประจำ�ตัวประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด
ทำ�งานร่วมกับแผนที่ดาวเทียมเพื่อใช้กำ�หนดพิกัดแปลงให้ทราบถึงขนาดพื้นที่
ทำ�การเกษตร ใช้กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการประมวลผลเพื่อ
ให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง ทำ�งานผ่านเครือข่าย GIN บนระบบ
คลาวด์ซึ่งรับผิดชอบโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จึงขอให้มีการหารือกับปลัดกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์เพื่อนำ�ผลงานดังกล่าวไปขยายผลการใช้ประโยชน์ต่อไป
8 nstda • มกราคม 2559
17 ธันวาคม 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานประกาศผลผู้ได้รับทุน
นักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี 2558 จำ�นวน 2 ทุน ให้แก่นักวิจัยจาก ม.มหิดลและกลุ่มวิจัยไบโอเทคที่ทำ�
วิจัยด้านโรคไข้เลืดดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ และนักวิจัยจากจุฬาฯ ที่ทำ�วิจัยด้านวิศวกรรมนาโน
ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำ�เพื่อพัฒนาตัวตรวจจับแสงอินฟราเรด ด้วยระยะเวลาทุน
5 ปี จำ�นวนทุนละ 20 ล้านบาท เพื่อเป็นแกนนำ�ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพให้กับวงการวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีไทย พร้อมเป็นแกนหลักผลิตบุคลากรวิจัยให้กับประเทศต่อไป
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
ประกาศผลผู้ได้รับทุน
นักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี 2558
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
9มกราคม 2559 •
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “ปัจจุบัน
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำ�วันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น
การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยกลุ่ม
วิจัยที่มีความเป็นเลิศ จึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี โดยโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ� นับเป็นกลไกหนึ่งที่ สวทช. เล็งเห็น
ว่าจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยที่มีความเป็นเลิศดังกล่าว สร้างผลงานที่
เป็นประโยชน์กับประเทศในหลายมิติ ทั้งในด้านสาธารณสุข เกษตรกรรม
และอุตสาหกรรม ที่จะสามารถเกิดผลกระทบสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้
พร้อมช่วยพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับประเทศด้วย”     
ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เลขานุการโครงการทุนวิจัยแกนนำ�
กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการทุนวิจัยแกนนำ�ว่า “โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ�
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยที่มีคุณภาพสูง สร้างสรรค์งานโดยมีอิสระทาง
วิชาการพอสมควร และเป็นแกนนำ�ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ
ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอันจะนำ�
ไปสู่การยื่นจดสิทธิบัตร การผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและ
ระดับนานาชาติ และต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพต่อการแก้ปัญหาให้กับภาค
อุตสาหกรรมและภาคสังคม อีกทั้งเพื่อเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรวิจัยสู่
วงการวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาสวทช. ได้สนับสนุนทุนนักวิจัยแกนนำ�
ตั้งแต่ปี 2552-2557 ไปแล้วทั้งสิ้น 11 โครงการ แต่ละโครงการมีผลการดำ�เนิน
งานที่ดีเยี่ยม สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์
ต้นแบบ 22 ต้นแบบ ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 459 เรื่อง
สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร23 เรื่อง การผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท ปริญญา
เอก และหลังปริญญาเอก รวม 276 คน อีกทั้งยังมีการนำ�ผลงานวิจัยไปเผยแพร่
ใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะแล้ว”   
“จากมติการพิจารณาของคณะกรรมการทุนนักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี2558
เห็นสมควรมอบทุนดังกล่าวแก่นักวิจัยแกนนำ�ของประเทศ2 ท่าน ได้แก่ นายแพทย์
ปรีดา มาลาสิทธิ์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
และกลุ่มวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
สวทช. จากโครงการวิจัย เรื่อง “การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อค้นหาชุดของสารบ่ง
ชี้ทางชีวภาพชนิดใหม่ที่นำ�ไปสู่การประยุกต์ใช้กับการตรวจวินิจฉัย การพยากรณ์
ความรุนแรงของโรค และการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ” และ
ท่านที่สอง คือ ศาตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโครงการวิจัยเรื่อง “ควอนตัมนาโนกลุ่มแอนติโมนี
สำ�หรับการพัฒนาการตรวจจับแสงอินฟราเรด” ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวประกาศผล
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
10 nstda • มกราคม 2559
เอ็มเทค ร่วมเดินหน้าประเทศไทย
ไปสู่ความปลอดภัยทางถนน
วันที่ 14-15 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
(สวทช.) ร่วมกิจกรรมจัดแสดงผลงานและร่วมสัมมนาระดับชาติ ในงานสัมมนาความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 12 “ครึ่งทางทศวรรษกับการจัดการที่
เข้มแข็ง” โดยมีนายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมกล่าวว่า รัฐบาลตระหนักและเล็งเห็นว่า
“อุบัติเหตุทางถนนเป็นความสูญเสียทางสุขภาพที่สำ�คัญของคนไทย เนื่องจากในแต่ละปีมีคนไทยที่ต้องเสียชีวิตและมีผู้พิการรายใหม่เพิ่มขึ้นจำ�นวน
มาก ที่สำ�คัญคืออุบัติเหตุทางถนนเป็นสิ่งที่ป้องกันและลดความสูญเสียลงได้ โดยกำ�หนดเป็นนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการ
จราจร อันนำ�ไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต”
การจัดงานดังกล่าว เอ็มเทคได้นำ�ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ อุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บแบบสอดด้านข้างทีละจุด ต้นแบบห้องโดยสาร
รถพยาบาลแบบมีโครงสร้างรองรับการพลิกคว่ำ� และโฟมอะลูมิเนียมตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานด้านความปลอดภัยบนท้องถนน ร่วมจัดแสดงภายในงาน
ครั้งนี้ รวมทั้งมีนักวิจัย โดย ดร.สิทธิกร ลาภาพงศ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการยานยนต์ หน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม เอ็มเทค ร่วมเสวนาในเรื่อง “การ
เพิ่มขีดความปลอดภัยรถโดยสารด้วยมาตรฐานการออกแบบบทเรียนจากการพัฒนารถพยาบาลไทย” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจำ�นวนมาก
11มกราคม 2559 •
ไบโอเทค-สวทช. ประสบความสำ�เร็จ
พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
นักวิจัยไบโอเทคคิดค้นเทคนิคการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
จากเลือดผู้ป่วย จนพัฒนาเป็นชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรียได้สำ�เร็จ
สามารถทำ�ได้ง่าย สะดวก ทราบผลเร็ว และมีความแม่นยำ�
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
12 nstda • มกราคม 2559
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
โรคมาลาเรีย ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำ�คัญของประเทศไทย และ
ทั่วโลกยังคงให้ความสำ�คัญกับปัญหานี้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการพิจารณามอบ
รางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobel Prize in Physiology or
Medicine) ประจำ�ปี ค.ศ.2015 ที่ผ่านมา ได้มอบให้แก่นักวิจัยชาวจีนTuYouYou
ซึ่งเป็นผู้ค้นพบวิจัยและพัฒนายา Artemisinin เพื่อใช้รักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งยา
ดังกล่าวได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคมาลาเรียจำ�นวนมากทั่วทั้งโลกและเป็นยาราคาถูกที่
ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้
สำ�หรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.2557 กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข มีรายงานจำ�นวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียมากกว่า 30,000 ราย
ถึงแม้จำ�นวนผู้ป่วยจะลดลงในแต่ละปี แต่ประเทศไทยก็ยังไม่สามารถกำ�จัด
เชื้อมาลาเรียให้หมดไปได้ ส่งผลให้มีการระบาดของโรคในพื้นที่เสี่ยงและยังคงมี
ผู้ป่วยซ้ำ�ในทุกปี และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำ�คัญของประเทศไทยโดยเฉพาะ
ในพื้นที่ทุรกันดาร
โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium)
ที่อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยมียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำ�โรค เมื่อยุงที่
ได้รับเชื้อจากเลือดของผู้ป่วยไปกัดผู้อื่นก็จะทำ�ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อไป เชื้อก่อ
โรคมาลาเรียที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม
(Plasmodium falciparum) และพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (Plasmodium vivax)
โดยเชื้อทั้งสองชนิดนี้จะก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคมาลาเรียที่แตกต่างกัน
รวมถึงการรักษาและระบาดวิทยาของเชื้อก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
ดังนั้นการจำ�แนกชนิดของเชื้อ จึงมีความสำ�คัญต่อการเฝ้าระวังและการรักษา
โรคเป็นอย่างมาก
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) นำ�โดยคณะนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและ
เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ศึกษาและพัฒนาเทคนิคสำ�หรับการ
ตรวจหาเชื้อมาลาเรีย พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ใน
ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโรคมาลาเรียขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย และสามารถ
นำ�ไปใช้ทดสอบในพื้นที่จริงที่มีการระบาดได้ทันที ซึ่งเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้เป็น
การบูรณาการความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของนักวิจัยไบโอเทค 3 ท่าน
ได้แก่ ดร.สุกัญญา ยงเกียรติตระกูล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการค้นหาโมเลกุล
ที่สำ�คัญของเชื้อมาลาเรียเพื่อนำ�มาใช้เป็นเป้าหมายในการตรวจหาเชื้อ
คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการนำ�เอาเทคนิคแลมป์
(LAMP) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเป็นชุดทดสอบในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ
ต่างๆ และ ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านระบาดวิทยา
ของมาลาเรีย รวมถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย
ดร.สุกัญญา ยงเกียรติตระกูล นักวิจัยห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์
และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล เปิดเผยว่า เทคนิคที่คณะวิจัยพัฒนาขึ้น
นี้ เรียกว่า “LAMP-LFD” เป็นการนำ�เอาเทคนิควิธีการตรวจ 2 ประเภทมา
ประยุกต์ใช้ร่วมกัน คือเทคนิคแลมป์ (LAMP) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสาร
พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิ
เดียว(ในช่วง60-65 องศาเซลเซียส) และเทคนิคlateralflowdipstick หรือ
LFD ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้แผ่นจุ่มวัดแบบง่าย จึงทำ�ให้สามารถอ่านผลได้ง่าย
สะดวก และรวดเร็ว ด้วยเทคนิค LAMP-LFD นี้ทำ�ให้เราสามารถตรวจแยก
เชื้อมาลาเรียทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีความถูกต้อง
มีความแม่นยำ�และมีความจำ�เพาะในการตรวจเชื้อแต่ละชนิดสูงมาก 
13มกราคม 2559 •
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าห้องปฏิบัติ
การเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด กล่าวเสริมว่า เทคนิค
LAMP-LFD นี้ เริ่มต้นจากการเพิ่มสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค LAMP ซึ่ง
ถูกติดฉลากด้วยสารเรืองแสง จากนั้นใช้เทคนิค LFD เพื่อทำ�ให้เกิดแถบสี
บนแผ่นจุ่มวัดแบบง่าย จึงทำ�ให้สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า และข้อดี
ของเทคนิค LAMP-LFD ที่คณะวิจัยพัฒนาขึ้นนี้อีกอย่างหนึ่งคือ มีขั้นตอน
การเตรียมตัวอย่างเลือดก่อนตรวจที่ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงทำ�ให้สามารถลดเวลา
ในการตรวจตัวอย่างจำ�นวนมากได้ เทคนิคLAMP-LFD นี้มีความไวในการ
ตรวจสูงกว่าเทคนิคพีซีอาร์ทั่วไปประมาณ 10 เท่า และมีความจำ�เพาะต่อ
เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ อย่างมาก อีก
ทั้งขั้นตอนการตรวจก็ทำ�ได้ง่ายและสะดวก โดยใช้เวลาในการตรวจรวม
ทั้งสิ้นเพียง 55 นาที ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มี
ราคาแพง และไม่จำ�เป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้นคณะวิจัยจึง
เล็งเห็นว่าเทคนิคLAMP-LFD นี้มีโอกาสที่จะนำ�ไปสู่การใช้งานในพื้นที่จริง
ได้และจะเป็นทางเลือกใหม่สำ�หรับการตรวจเชื้อมาลาเรียให้แก่เจ้าหน้าที่
สาธารณสุขซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้ด้วย
ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิศวกรรม
โปรตีน-ลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล กล่าวว่า ในปัจจุบัน การตรวจวินิจฉัย
เชื้อมาลาเรียโดยใช้วิธีตรวจหาเชื้อจากแผ่นฟิล์มเลือดภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ยังถือเป็นวิธีมาตรฐาน แต่วิธีการนี้จำ�เป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะ
และความชำ�นาญเป็นอย่างมากในการจำ�แนกเชื้อ และถึงแม้ว่าจะมีความ
พยายามพัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้ทันสมัยและรวดเร็วขึ้น โดยใช้วิธีพีซีอาร์
(PCR) หรือการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วโดยวิธีทดสอบอิมมูโนโครมาโทกราฟิก
(RDT) แต่ก็ยังคงพบปัญหาการเกิดผลบวกปลอม (false positive) และผล
ลบปลอม (false negative) ในการตรวจ จากข้อดีของเทคนิค LAMP-LFD
ที่ได้พัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการ ทำ�ให้คณะวิจัยได้นำ�เทคนิคLAMP-LFD ไป
ทดลองใช้งานจริง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัย
มหิดล เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียจากตัวอย่างเลือดที่ได้จากผู้ป่วย
พบว่าเทคนิค LAMP-LFD มีค่าความไว (Sensitivity) และความจำ�เพาะ
(Specificity) ต่อเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิดสูงมาก และนอกจากจะสามารถใช้
ตรวจผู้ป่วยมาลาเรียแล้ว เมื่อนำ�เทคนิค LAMP-LFD ที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้กับ
ผู้ที่มีการติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ ก็พบว่าสามารถตรวจหาเชื้อได้อย่าง
แม่นยำ� ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เทคนิคLAMP-LFD จะถูกพัฒนาไปใช้ใน
การศึกษาด้านระบาดวิทยาของโรคมาลาเรียด้วย ปัจจุบัน เทคนิคLAMP-LFD
สำ�หรับตรวจหาเชื้อมาลาเรีย พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และพลาสโมเดียม
ไวแวกซ์ นี้ ได้มีการยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรในประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะ
นี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาให้เป็นชุดตรวจสำ�เร็จรูปที่สะดวกต่อการใช้งาน
มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ คณะวิจัยยังมีแผนงานที่จะพัฒนาชุดตรวจสำ�หรับ
เชื้อมาลาเรียดื้อยาต่อไปในอนาคตอีกด้วย
14 nstda • มกราคม 2559
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
• “ตะลุยวันเด็ก!! บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร”
• อบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ”
สวทช. จัดเทศกาลมอบความรู้คู่ความสนุกสนานให้กับเยาวชน ในงาน “ตะลุยวันเด็ก!! บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร” โดยโปรแกรมการพัฒนากำ�ลังคนและสร้าง
ความตระหนักด้าน ว และ ท จัดระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2559 เวลา 9.00-15.00 น. ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ดูรายละเอียด https://tulip.nectec.or.th/news/index.php?app=information&view=vwinf&type=show&information=1&value=aW50Q29kSW5mPTI0Nzg2
สถาบันวิทยาการ สวทช.ขอเชิญผู้สนใจ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “หลักสูตรการสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ”
ในยุคการสื่อสารออนไลน์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล การสื่อสารด้วยภาพมีบทบาทอย่างมากต่อการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่ออินโฟ
กราฟิกที่กำ�ลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สามารถแปลงข้อมูลจำ�นวนมหาศาลให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อออกมาในลักษณะของภาพกราฟิก ที่นอกจากจะสวยงาม
แล้ว ยังเข้าใจได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว และเหมาะสำ�หรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำ�กัด ดังนั้นหากสามารถนำ�ความรู้ต่างๆ มา
สื่อสารในรูปแบบอินโฟกราฟิกที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่มากมาย ได้ในเวลาอันจำ�กัด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  
รูปแบบการอบรม ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Content Infographic และ Design Infographic
บริษัท Infographic Thailand
ระยะเวลาการจัดอบรม 2 วัน ดังนี้
รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 20 - 21 มกราคม 2559
รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาคเหนือ)
รุ่นที่ 6 ระหว่างวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2559
รุ่นที่ 7 ระหว่างวันที่ 27 - 28 เมษายน 2559
สถานที่อบรม รุ่นที่ 4, 6 แล 7 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ รุ่นที่ 5 (ภาคเหนือ) ณ สำ�นักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ค่าลงทะเบียน ท่านละ 15,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)
พิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรับส่วนลด 10 % เหลือเพียงท่านละ 13,500 บาท
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center : 0 2644 8150 ต่อ 81889 (คุณทินกร), 81897 (คุณพิมพิชชารัณย์)
E-mail: bas@nstda.or.th
15มกราคม 2559 •
จากผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม...
นำ�มาซึ่งรางวัลที่ได้รับมากมาย
ดร.ศรชล โยริยะ
นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเซรามิกส์ประยุกต์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีเซรามิกส์ MTEC
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้ จะนำ�ผู้อ่านไปพูดคุย
กับ นักวิจัยรุ่นใหม่ ไฟแรง ที่มีผลงานมากมาย
พร้อมพ่วงรางวัลที่ยืนยันความสามารถของเธอ ทั้ง
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกระดับดีเยี่ยม จากสำ�นักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2554 และในปี
2556 ได้รับรางวัล 2 ผลงาน จาก วช. คือ ผลงาน
วิจัยดีเด่น เรื่อง “ท่อนาโนไทเทเนีย : การศึกษาการ
ขึ้นรูป ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับคุณสมบัติ
เชิงพื้นผิวและการทดสอบความเข้ากันได้กับเลือด” และ
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับประกาศเกียรติคุณ
เรื่อง “เครื่องเคลือบฟิล์มบางแบบสปัตเตอร์ริง” และได้
รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัลเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์
ในสาขาวัสดุศาสตร์ ในปี 2556 และล่าสุดคือรางวัล
เหรียญทองแดง สาขาการแพทย์ จากงาน 42nd
International Exhibition of Inventions of Geneva
เมื่อเดือนเมษายน 2557 ที่ผ่านมา
ไปรู้จักกับเธอกันค่ะ...ดร.ศรชล โยริยะ หรือ
ดร.โอ๋ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเซรามิกส์ประยุกต์
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีเซรามิกส์ MTEC สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
16 nstda • มกราคม 2559
ถาม : ดร.โอ๋ ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ สวทช. มีที่มาอย่างไรคะ
ตอบ : ต้องบอกว่าเป็นการทำ�ตามความฝันเลย การทำ�งานที่ MTEC ถือว่าเป็น
ความตั้งใจและความฝันสูงสุดของชีวิตที่ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ตอนเรียน เพราะตอน
ที่เรียนระดับปริญญาตรีปีสาม ได้มาดูงานที่ สวทช. ก็รู้สึกได้เลยทันทีว่าตัวเอง
อยากเป็นนักวิจัย อยากทำ�งานในลักษณะที่หลากหลายไม่จำ�เจในแต่ละวัน ถ้า
ทำ�งานเป็นอาจารย์คิดว่าอาจไม่เหมาะกับบุคลิกและความชอบของตัวเอง จน
เมื่อเรียนจบปริญญาโทก็ได้เดินตามความตั้งใจและมีโอกาสได้เข้ามาทำ�งานที่
MTEC ในตำ�แหน่งผู้ช่วยวิจัยที่หน่วยวิจัยเซรามิกส์ แต่พอทำ�งานไปสักสามปีก็
เริ่มรู้สึกว่าความรู้และภาวะในการตัดสินใจด้านวิชาการเราเริ่มตัน คิดว่าเราอาจ
ต้องเข้าสู่กระบวนการใดกระบวนการหนึ่งเพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของตัว
เองให้มากกว่านี้ จึงได้ไปสอบทุนบุคคลทั่วไปของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อ
ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก และได้ไปเรียนในสาขา Materials Sciences and
Engineering ที่ The Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อสำ�เร็จการศึกษาก็ได้กลับมาเป็นนักวิจัยที่ MTEC จนถึงปัจจุบันค่ะ
ถาม : มีแนวคิดในการทำ�งานอย่างไรคะ
ตอบ : สิ่งแรกที่ถามตัวเองคือ มีความสุขกับงานที่ทำ�ไหม คำ�ตอบก็คือเรามีความ
สุขกับงานที่ทำ� แม้ว่าจะมีปัญหาหรือเหตุการณ์เฉพาะหน้าในแต่ละวันที่ต้องแก้ไข
แต่สิ่งที่หล่อเลี้ยงเปรียบเสมือนเป็นรากแก้วที่อยู่ลึกๆ ให้เราenjoy การทำ�งานใน
ทุกวันนี้คือ ลักษณะของงานนั่นเอง เรามีความสุขกับงานวิจัยที่ทำ� เรารักงานวิจัย
การเป็นนักวิจัยคืออาชีพที่อยากทำ� เป็นความรู้สึกที่มั่นคง มีมาตั้งแต่ตอนเรียน
ปริญญาตรีปีสาม และด้วยการทำ�งานที่ MTEC นี่แหละ ที่ทำ�ให้เราได้ไปเรียนต่อ
ต่างประเทศ ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่มีค่ากลับมาทำ�งาน ได้
พัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำ�งานเฉกเช่นทุกวันนี้
	 หากคิดว่าเราทำ�งานเพื่อตัวเองเราจะเหนื่อย หรือคิดว่าถ้าหัวหน้าสั่ง
หรือผู้ใหญ่สั่งให้เราทำ�งานโดยเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราจะรู้สึกเหนื่อย แต่ถ้า
เราลองคิดในมุมกลับ เราลองมองดูงานที่เรามีอยู่ในมือ เราอยากเห็นอนาคตของ
มันเป็นอย่างไร ลองรู้สึกศรัทธาที่จะทำ�และอยากทำ�งานนั้นออกมาให้ดี เราก็จะ
ไม่เหนื่อย
มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
17มกราคม 2559 •
ถาม : ผลงานที่ประทับใจมีอะไรบ้างคะ ทราบว่า ดร.โอ๋ มีผลงาน
มากมายเลยทีเดียว
ตอบ : สิ่งแรกที่จะเอ่ยถึง ก็คงเป็นเรื่องที่ถนัดและเชี่ยวชาญตามที่เรียนจบมา ซึ่ง
เป็นงานวิจัยที่ทำ�มาตลอดช่วงที่เรียนปริญญาเอกเป็นระยะเวลา 5 ปี คืองานวิจัย
เกี่ยวกับการขึ้นรูปฟิล์มท่อนาโนไทเทเนีย (Titania Nanotube Array Films) ด้วย
กระบวนการทางไฟฟ้าเคมีแบบแอโนไดเซชั่น ซึ่งเมื่อเรียนจบก็ได้รับการเสนอจาก
กลุ่มวิจัยจาก University of California at San Francisco (UCSF) สหรัฐอเมริกา
ที่ได้เคยทำ�งานวิจัยร่วมกันมาให้ทำ�postdoc ต่อโดยให้พัฒนาต่อยอดองค์ความ
รู้ด้านการนำ�ฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียไปพัฒนาเป็นวัสดุนำ�ส่งตัวยาเพื่อรักษาผู้ป่วย
โรคไวรัสตับอักเสบซี แต่ในตอนนั้นคิดว่าอยากรีบกลับมาทำ�งานและปรับตัวให้
เร็วที่สุด จึงได้ปฏิเสธโอกาสนั้นไป ซึ่งงานวิจัยหัวข้อนี้ ณ ปัจจุบัน ทาง UCSF
ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านการออกแบบและปรับปรุงประสิทธิภาพ
ของตัววัสดุนำ�ส่งตัวยาโดยใช้สูตรในการขึ้นรูปฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียที่เราคิดขึ้น
เป็นเงื่อนไขหลัก โดยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ศึกษาอยู่นั้น เราเป็นต้นน้ำ�มาตลอด
แล้วส่งต่อให้กับคนที่ศึกษาด้านการประยุกต์ใช้งานฟิล์มในด้านต่างๆ ต่อไป
เช่น Gas Sensor, Dye-Sensitized Solar cell และ Biomedical applications
	 พอเรียนจบกลับมา ก็ได้มีโอกาสส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเข้า
ประกวดเพื่อเสนอขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ จากสำ�นักงานคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ (วช.) และก็ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม สาขาวิศวกรรมศาสตร์และ
อุตสาหกรรมวิจัย ประจำ�ปี 2554 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความประทับใจที่สะท้อน
ถึงความตั้งใจทุ่มเทในการทำ�งานตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และเมื่อกลับ
มาอยู่ MTEC ก็เริ่มเดินหน้าสร้างฐานเทคโนโลยีของเราเองขึ้นที่นี่ สำ�หรับ
แผนการใช้งานวัสดุท่อนาโนไทเทเนีย ณ ปัจจุบัน นอกจากวัสดุนำ�ส่งตัว
ยาแล้ว การประยุกต์ใช้งานวัสดุฯ ด้านการช่วยการแข็งตัวของเลือดก็เป็น
อีกหัวข้อวิจัยหนึ่งที่สนใจ โดยเราก็ได้พยายามมองหาพันธมิตรหรือมีความ
ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ที่จะนำ�วัสดุของเราไปใช้งานต่อ
ถาม : ผลงานมากมายที่ทำ�ออกมา ตั้งเป้าไหมว่าจะต้องได้รับรางวัล
ทุกผลงาน
ตอบ : ในการทำ�งานวิจัยนั้น ไม่เคยคิดว่าเราจะทำ�งานวิจัยเรื่องนี้เพื่อท้ายที่สุด
เราจะได้เอาไปส่งประกวดเพื่อให้ได้รางวัล ที่เคยตั้งใจมีอย่างเดียวคือ การส่ง
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเข้าประกวด เพราะทราบมาก่อนว่ามีพี่ๆ นักวิจัย
ที่ MTEC เคยส่งประกวด เราเลยอยากลองส่งงานวิจัยของตัวเองบ้างว่า จากผล
งานทางวิชาการทั้งหมดที่ได้ตีพิมพ์เป็นบทความทางวิชาการและสิทธิบัตร รวม
ถึงจำ�นวนการอ้างอิง ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่จะนำ�ไปต่อยอด
และผลกระทบในเชิงวิชาการและภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น งานวิจัยของเรา
อยู่ในระดับไหน
	 ในมุมมองของการวางแผนการทำ�งานวิจัย อยู่ที่ว่าเราตั้งใจอยากจะให้
ผลงานหรือผลผลิตออกมาในรูปแบบไหน เส้นทางไหนที่ควรจะทำ� เมื่อตั้งเป้าแล้ว
เราต้องทำ�ให้สัมฤทธิ์ผลให้ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ด้วย สิ่งสำ�คัญ
ข้อหนึ่งที่ตัวเองมักจะพึงตระหนักอยู่เสมอคือ “จะไม่ละเลยสิ่งที่ควรทำ�” เราต้อง
ทำ�สิ่งที่ควรทำ�นั้นๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เนื่องจากเวลาไม่รอใคร ความ
ก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเผยแพร่นำ�เสนอผลงาน ก็มีช่วงเวลาที่เหมาะสม
ของมันเช่นกัน
	 จริงๆ การส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆ ถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งใน
แง่ของการเผยแพร่ผลงานให้กับคนภายนอกได้รับรู้งานวิจัยของเรา การส่งผลงาน
เข้าประกวด ถือว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า เพราะทำ�ให้เราได้เพื่อนใหม่เรื่อยๆ ใน
ทุกครั้ง อย่างเช่นงานด้านการประยุกต์ใช้งานฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียที่ใช้คุณสมบัติ
มกราคม 2558 ฉบับที่ 10
การได้รับทุนฯ...
เป็นแรงบันดาลใจ
ในการทำ�งานวิจัยเพื่อ
สร้างสรรค์ผลงาน
ที่ดี มีประโยชน์
นำ�ไปใช้ได้จริงและ
ถ่ายทอดสู่สังคม
อย่างเป็นรูปธรรมได้
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

La actualidad más candente (20)

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 18 ประจำเดือนกันยายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 17 ประจำเดือนสิงหาคม 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2564
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2560 (ฉบับที่ 24)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2560
 
NSTDA Annual Report 2015
NSTDA Annual Report 2015NSTDA Annual Report 2015
NSTDA Annual Report 2015
 

Destacado

ACasurao - Resume (Updated)
ACasurao - Resume (Updated)ACasurao - Resume (Updated)
ACasurao - Resume (Updated)Aaron Casurao
 
WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)
WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)
WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)Laura Roach
 
July 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINAL
July 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINALJuly 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINAL
July 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINALLaura Roach
 
History and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of Distribution
History and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of DistributionHistory and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of Distribution
History and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of DistributionDaniel Jacobson
 
Innovation Journey 20160613 TOT
Innovation Journey 20160613 TOTInnovation Journey 20160613 TOT
Innovation Journey 20160613 TOTpantapong
 
Set Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPR
Set Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPRSet Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPR
Set Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPRDaniel Jacobson
 
Brelko Presentation - End User Presentation
Brelko Presentation - End User PresentationBrelko Presentation - End User Presentation
Brelko Presentation - End User PresentationRussel Rickards
 
2010aug Capgemini Group Presentation
2010aug Capgemini Group Presentation2010aug Capgemini Group Presentation
2010aug Capgemini Group Presentationpimdevogel
 
25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching
25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching
25 perguntas poderosas para obter clientes de coachingcoachingparasucesso
 
ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)
ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)
ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)erik abejuela
 
NIABBL 2016 06-21
NIABBL 2016 06-21NIABBL 2016 06-21
NIABBL 2016 06-21pantapong
 

Destacado (13)

gymnastics !!!
gymnastics !!!gymnastics !!!
gymnastics !!!
 
presentation_en
presentation_enpresentation_en
presentation_en
 
ACasurao - Resume (Updated)
ACasurao - Resume (Updated)ACasurao - Resume (Updated)
ACasurao - Resume (Updated)
 
WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)
WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)
WorldAtWorkConfernce_USBank_OS FINAL (no notes)
 
July 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINAL
July 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINALJuly 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINAL
July 23 Retail Webinar (OS_IBM_ISR)_FINAL
 
History and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of Distribution
History and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of DistributionHistory and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of Distribution
History and Future of the Netflix API - Mashery Evolution of Distribution
 
Innovation Journey 20160613 TOT
Innovation Journey 20160613 TOTInnovation Journey 20160613 TOT
Innovation Journey 20160613 TOT
 
Set Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPR
Set Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPRSet Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPR
Set Your Content Free! : Case Studies from Netflix and NPR
 
Brelko Presentation - End User Presentation
Brelko Presentation - End User PresentationBrelko Presentation - End User Presentation
Brelko Presentation - End User Presentation
 
2010aug Capgemini Group Presentation
2010aug Capgemini Group Presentation2010aug Capgemini Group Presentation
2010aug Capgemini Group Presentation
 
25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching
25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching
25 perguntas poderosas para obter clientes de coaching
 
ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)
ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)
ERIK JAMES G. ABEJUELA CV 2015 (ADMINISTRATION AND HOUSEKEEPING)
 
NIABBL 2016 06-21
NIABBL 2016 06-21NIABBL 2016 06-21
NIABBL 2016 06-21
 

Similar a NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559

Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)Nawanan Theera-Ampornpunt
 
มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้
มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้
มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้NIMT
 
E book2015-new
E book2015-newE book2015-new
E book2015-newwarit_sara
 
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Pun-Arj Chairatana
 

Similar a NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559 (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
20150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-201520150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-2015
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2563
 
Unit10
Unit10Unit10
Unit10
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2563
 
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
Health Informatics and Health Equity (Ramathibodi)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้
มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้
มาตรวิทยากับการแพทย์ทำอย่างไรให้เป็นที่เชื่อถือได้
 
E book2015-new
E book2015-newE book2015-new
E book2015-new
 
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
Thailand Innovation System Talk KK 2016-12-15
 

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (18)

NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2563
 

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2559

  • 1. 1มกราคม 2559 • 4 108 6 14 15 บทความ Article 11 สวทช. นำ�สื่อเยี่ยมชมห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำ�หรับเด็กป่วยในโรงพยาบาล... การประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2558 เอ็มเทค ร่วมเดินหน้าประเทศไทย ไปสู่ความปลอดภัยทางถนน ประกาศผลผู้ได้รับทุนนักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี 2558 กสอ. จับมือ สวทช. ดัน SMEs ไทยสู่อุตสาหกรรมแห่งนวัตกรรม มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 บทสัมภาษณ์ Star จากผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม... นำ�มาซึ่งรางวัลที่ได้รับมากมาย ดร.ศรชล โยริยะ ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News 2 ไบโอเทค-สวทช. ประสบความสำ�เร็จ พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย
  • 2. 2 nstda • มกราคม 2559 โดยใช้ไอทีเป็นสื่อเรียนรู้ สวทช. นำ�สื่อเยี่ยมชมห้องเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 8 ธ.ค. 58 ณ โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำ�คณะสื่อมวลชนเยี่ยมชม “โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยใน โรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ โรงพยาบาลชลบุรี จ.ชลบุรี โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยเด็กป่วยในโรงพยาบาลที่ต้องอยู่ ในโรงพยาบาลนานๆ ทำ�ให้ขาดโอกาสทางการศึกษา จึงทรงพระราชทาน “ห้องเรียนคอมพิวเตอร์สำ�หรับเด็ก ป่วยในโรงพยาบาล” และแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เด็กป่วยได้เรียนและเล่นอย่างมีความสุข ด้วยความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำ�ให้เกิดการต่อยอดและขยายผล จนปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็ก ป่วยในโรงพยาบาล ตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ถึง 29 แห่ง ใน 26 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
  • 3. 3มกราคม 2559 • ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำ�นวยการ สวทช. และ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เปิดเผยว่า “สืบเนื่องจาก ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระราชทานห้องเรียน คอมพิวเตอร์เพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล โดยเริ่มนำ�ร่องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลเลิดสิน และ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2539 ต่อมากระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ได้มีความร่วมมือในการนำ�แนวพระราชดำ�ริดังกล่าวขยายผลไปสู่โรงพยาบาลใน ภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จำ�นวน26 แห่ง และมีเด็กป่วยได้รับบริการภาย ใต้โครงการนี้กว่า 20,000 คนต่อปี” โดยโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็ก ป่วยในโรงพยาบาล มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เด็กป่วยเรื้อรังซึ่งขาดโอกาสทางการ ศึกษาได้มีโอกาสเรียน และเรียนได้ทันเพื่อนเมื่อออกจากโรงพยาบาล โดยใช้ไอที เป็นสื่อในการเรียนรู้ และสร้างความเพลิดเพลินให้เด็กลดความวิตกกังวลต่อโรค และอาการเจ็บป่วย ด้วยความร่วมมือในการดำ�เนินงานของ 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำ�นักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. ที่สนับสนุน ครูผู้สอนประจำ�ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล กระทรวง สาธารณสุข โดยกรมการแพทย์ และสำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ สนับสนุนการจัดตั้งห้องศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สวทช. ที่สนับสนุนนำ�เทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในศูนย์การเรียนเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล      ด้าน นายแพทย์เกศดา จันทร์สว่าง รองผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลชลบุรี กล่าวถึงการดำ�เนินการโครงการดังกล่าวในโรงพยาบาลชลบุรีว่า “โรงพยาบาล ชลบุรี เป็น1 ใน  29 แห่งจากโรงพยาบาลทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการเทคโนโลยี มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 สารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริฯ มีผล งานเป็นที่ประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างการมีส่วนร่วมของ ชุมชน ในการพัฒนาการดำ�เนินงานโครงการฯ โดยโรงพยาบาล ชลบุรี จัดให้มี “ศูนย์การเรียนสำ�หรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาล ชลบุรี และโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วย” ขึ้น ได้ ดำ�เนินงานในหลายส่วน อาทิ การนำ�eDLTV ไปใช้ในการสอนเด็ก ป่วย การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำ�เนินงานโครงการ เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาล และรูปแบบการ เรียนการสอนข้างเตียงสำ�หรับเด็กป่วยที่ไม่สามารถมาเรียนหนังสือ ที่ห้องเรียนได้ เป็นต้น” เสียงสะท้อนบางส่วนจากเด็กป่วยที่ได้รับบริการจากศูนย์ฯ ดังกล่าวเกี่ยวกับบทบาทของศูนย์ฯ ที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการและ ทักษะในด้านการเรียนต่างๆ ด.ญ.ปัญญาวีย์ บุศรัตน์ตานนท์ หรือน้องไอซ์ อายุ9 ขวบ ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ปัจจุบันเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 โรงเรียนวุฒิวิทยา ได้รับการรักษาตั้งแต่ปี 2550-2555 โรงพยาบาลชลบุรี และได้เข้าเรียนในศูนย์การเรียนสำ�หรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังโรงพยาบาลชลบุรี และ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยในโรงพยาบาลชลบุรี โดยน้องไอซ์เล่าให้ฟัง ว่า “หนูรู้สึกมีความสุขเมื่อเข้ารับบริการในศูนย์ฯ และสนุกกับการเรียนและการ ทำ�กิจกรรมต่างๆ มากมาย ศูนย์แห่งนี้ช่วยให้หนูเป็นเด็กที่ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส และกล้าแสดงออกมากขึ้น โดยเฉพาะการแสดงออกซึ่งความสามารถพิเศษที่หนู ชอบ ได้แก่ การร้องเพลงจีน และการเต้น โดยจะมีคุณครูช่วยเสริม ช่วยดูแลใน ทักษะด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด และหนูยังได้เรียนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศตาม โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็กป่วยด้วย”     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.อดิศร์สุดา เพื่องฟู สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติ มหาราชินี เล่าถึงการส่งผลการดำ�เนินงานโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเด็ก ป่วยในโรงพยาบาลเข้าประกวดในระดับนานาชาติว่า “จากผลการดำ�เนินงานของ โครงการฯ นี้  ในปี พ.ศ. 2558 สถาบันสุขภาพด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการ แพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดส่งผลการดำ�เนินงานโครงการดังกล่าว ในชื่อ “Holistic School in Hospital” เข้าประกวดระดับนานาชาติ ในรายการ 2015 United Nations Public Service Awards (2015 UNPSA) ด้วย ซึ่งจัดขึ้นโดย UnitedNationsDepartmentofEconomicandSocialAffairs(UNDESA) ผล ปรากฎว่า ได้รับรางวัลชนะเลิศ(1stplacewinner) ในสาขาการส่งเสริมแนวทาง การดำ�เนินการของภาครัฐโดยรวมในยุคข้อมูลข่าวสาร(Category3-Promoting WholeofGovernmentApproachesintheInformationAge) ทั้งนี้ กระทรวง สาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วย งานที่ร่วมกันดำ�เนินงานโครงการศูนย์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเด็กป่วย ในโรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริฯ ได้ทูลเกล้าถวายรางวัลUNPSA แด่ สมเด็จพระ เทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในโอกาส ฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
  • 4. 4 nstda • มกราคม 2559 ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การส่งเสริมและพัฒนาSMEs ของไทยในปัจจุบันจำ�เป็นที่จะต้องมุ่งเน้นการสร้าง ความเข้มแข็งให้กับSMEs โดยเพิ่มผลิตภาพ(Productivity) และพัฒนานวัตกรรม (Innovation) เพื่อยกระดับและสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบ สนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ดังนั้น ภาครัฐจึงผลักดันการนำ�เทคโนโลยี และนวัตกรรมเข้ามาพัฒนาและยกระดับSMEs ตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ� ถึงปลายน้ำ� ผ่านการทำ�งานเชิงบูรณาการร่วมกันของกระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ มีเป้าหมายที่จะใช้นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมไทย โดย มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 เน้น10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ในเชิงนวัตกรรม ซึ่งการจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้นั้น งานวิจัยเป็นสิ่งจำ�เป็นอย่างมาก กระทรวงอุตสาหกรรมโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จึงหารือเพื่อสร้างข้อตกลง ร่วมมือกับสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  เพื่อผ ลักดันงานด้านวิจัยและพัฒนา และการเสริมสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการให้มี ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานผ่านการทดสอบรับรอง เพื่อรองรับ10 อุตสาหกรรมเป้า หมายได้อย่างมีศักยภาพและยั่งยืน  ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวถึง การนำ�วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีช่วยเพิ่มศักยภาพในการ กสอ. จับมือ สวทช. ดัน SMEs ไทย สู่อุตสาหกรรมแห่งนวัตกรรม กรุงเทพฯ 14 ธันวาคม 2558 – กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ร่วมมือกับสำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เร่งเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และพัฒนานวัตกรรม (Innovation) ให้ 5 อุตสาหกรรมดาวเด่น รองรับ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล มุ่งหวังสร้างมูลค่า เพิ่มในภาพรวมให้กับอุตสาหกรรมไทยได้กว่าร้อยละ 15
  • 5. 5มกราคม 2559 • มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 แข่งขันของเอสเอ็มอีไทยและความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีพันธกิจหลักในด้านการทำ�วิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนภาค อุตสาหกรรมและสังคม ซึ่งสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถือเป็นหน่วยงานที่มีความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยและพัฒนา มีระบบ การถ่ายทอดและบริหารจัดการเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีความพร้อม ด้านบุคลากรในการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และ ช่วยเหลือให้ภาคอุตสาหกรรมมีการนำ�เทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้เพิ่มผลิตภาพ คุณภาพ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นข้อต่อสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดความ เชื่อมโยงงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่ภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี การส่งต่อโอกาสการเข้าถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นไปอย่าง สมบูรณ์ได้ ก็ด้วยความร่วมมือและการบูรณาการการทำ�งานร่วมกันกับหน่วยงาน ที่ทำ�หน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม โดยตรง คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อ ร่วมกันปักธงนวัตกรรมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคธุรกิจ และนำ�ความเข้มแข็งของทั้งสองหน่วยงานได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สวทช. ในการช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมได้ อย่างรวดเร็วและสร้างความสมบูรณ์ให้กับข้อต่อของกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงเป็นที่มาของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยพัฒนาและ การเสริมสร้างศักยภาพอุตสาหกรรมในครั้งนี้ อันจะเป็นการนำ�เอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ และนำ�ประเทศ ก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งนับเป็นการสร้างอนาคตประเทศไทย ร่วมกันให้มั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน”  ดร.สมชายหาญหิรัญอธิบดีกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า กสอ. ได้ดำ�เนิน การพัฒนานำ�ร่องใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยาน ยนต์ อาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และไบโอพลาสติก และบรรจุภัณฑ์ มีขอบเขตความร่วมมือกัน ในการส่งเสริมและพัฒนาให้ได้มาตรฐานและ มีกระบวนการในการทดสอบ ส่งเสริมการ ออกแบบ โดยนำ�เอางานวิจัยและเทคโนโลยี ในด้านการผลิตต่างๆ เข้ามาใช้ ตลอดจนการ สนับสนุนของ สวทช. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และเพื่อยกระดับคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังมีการร่วมมือกันเพื่อ พัฒนาบุคลากรสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาค อุตสาหกรรมอีกด้วย โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือดังกล่าวจะสามารถทำ�ให้ ภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งSMEs จะยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในภาพรวมให้กับอุตสาหกรรมไทยได้กว่าร้อยละ 15  ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กล่าวว่า โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี ของอุตสาหกรรมไทย(ITAP) ฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม/ สวทช. มีความ มุ่งมั่นที่จะนำ�ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผลักดันงาน วิจัยและพัฒนาสร้างศักยภาพให้ผู้ประกอบการไทยให้มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบ และยกระดับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมด้านยานยนต์และชิ้นส่วน ยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรม เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกและบรรจุ ภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และเพิ่มขีดความ สามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยผ่านกลไกทั้งการ ให้คำ�ปรึกษาแนะนำ�ด้านวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ การบริหารการผลิต ปรับปรุง กระบวนการผลิต และการวิเคราะห์และทดสอบ รวมถึงการอบรมสัมมนาและ การจัดหาทรัพยากรสนับสนุนที่จำ�เป็น ทั้งนี้ในปีงบประมาณ 2559 จะมีโครงการ นำ�ร่องส่งต่อผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการของทั้ง 2 ฝ่าย โดย กรมส่งเสริม อุตสาหกรรม จะสนับสนุนเรื่องบริหารจัดการธุรกิจ ฝึกอบรมด้านการเงิน และการ ตลาด ส่วน สวทช. จะบริหารโครงการเชิงลึกเพื่อพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยี การผลิตและสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนไทยให้มีขีดความสามารถ ทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้นและยั่งยืน โดย สวทช. มีศักยภาพและความพร้อมในการ ดำ�เนินงานได้ทันทีและสามารถขยายบริการได้ครอบคลุมทุกจังหวัดสำ�คัญของ ไทย ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสนับสนุน SMEs ให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต อย่างเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่องกว่า 15,000 ราย เป็นต้น
  • 6. 6 nstda • มกราคม 2559 การประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2558 “การปรับตัวด้านการผลิตและ การค้าข้าวไทยหลัง AEC” มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 สวทช. ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำ�นักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) และกรมการค้าต่าง ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จัดการประชุมเวทีข้าวไทย ปี 2558 “การปรับตัว ด้านการผลิตและการค้าข้าวไทยหลัง AEC” ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีของการสร้างข้อความรู้เรื่องข้าว และรวมถึงการสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวนาไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นการ กระตุ้นให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดำ�เนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับข้าว รวมทั้งกลุ่มชาวนา ได้ตระหนักถึงความจำ�เป็นที่จะต้องร่วมกันหาแนวทางในการ แก้ไขและพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้ว ยังเป็นการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอัน เป็นประโยชน์ โดยในปี 2558 นี้ จัดการประชุมเวทีข้าวไทยภายใต้หัวข้อ “การ ปรับตัวด้านการผลิตและการค้าข้าวไทยหลังAEC” โดยมีกรอบของประเด็นสำ�คัญ เพื่อเป็นแนวทางในการหารือ 2 แนวทางด้วยกัน ได้แก่  1) ภาคการผลิตข้าวและชาวนาไทยจะมีการปรับตัวกันอย่างไร ภายหลังการเป็นแหล่งผลิตเดียวของประชาคมอาเซียน (single production based) 2) ภาคการค้าและการส่งออกข้าวของไทยจะก้าวไปอย่างไร ภายใต้สถานการณ์ของการรวมเป็นตลาดเดียวของประชาคมอาเซียน (single market based)
  • 7. 7มกราคม 2559 • มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 โดย พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุม และปาฐกถาพิเศษ “นโยบายข้าวและขาว นาแห่งชาติ” และ ดร.ทวีศักดิ์ กออนัตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. ร่วมเป็นเกียรติ ในพิธีเปิดงานดังกล่าว นอกจากนี้ คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร ร่วมกับไบโอเทค และเนคเทค เข้าร่วมจัดนิทรรศการด้วย  • ไบโอเทค สวทช. ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำ�เสนอการใช้ประโยชน์จาก เชื้อราบิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) สายพันธุ์ BCC2660 ซึ่งเป็นเชื้อรา ทำ�ลายแมลงที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลง เกษตรกรหลายชนิด เช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำ�ตาลในนาข้าว และเพลี้ยแป้งสีชมพู ในไร่มันสำ�ปะหลัง และเพลี้ยอ่อนในแปลงผัก และปัจจุบัน สวทช. อยู่ระหว่าง การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตหัวเชื้อราบิวเวอเรียที่มีการควบคุมมาตรฐานการ ผลิต โดยนำ�ร่องถ่ายทอดให้กับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) ที่มีจำ�นวน 9 ศูนย์ กระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ โดยในปี 2558 นำ�ร่อง ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับ ศทอ. จ.เชียงใหม่ และ จ.พิษณุโลก เพื่อผลิต หัวเชื้อราบิวเวอเรีย พร้อมทั้งถ่ายทอดกระบวนการผลิตเชื้อรารูปแบบเชื้อสดที่ มีคุณภาพ โดยนำ�ร่องทดสอบร่วมกับศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน อ.หนองม่วงไข่ จ.แพร่ และ อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้เรียนรู้ กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้เชื้อราที่มีคุณภาพไปใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืช ต่อไป • เนคเทค สวทช. ได้ร่วมจัดนิทรรศการนำ�เสนอการบรูณาการข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร ประกอบด้วย การ พัฒนาระบบบูรณาการข้อมูลและแบบจำ�ลองการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตร คลังทรัพยากรสารสนเทศด้านการเกษตร และสถานีตรวจวัดอากาศอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ What2Grow ระบบที่ช่วยในการกำ�หนดพื้นที่เหมาะสมสำ�หรับปลูก พืชเศรษฐกิจ เพื่อทดแทนพื้นที่ปลูกข้าว ช่วยกำ�หนดเป้าหมายและให้ทางเลือก กับเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปลูกพืชเศรษฐกิจทดแทนที่เหมาะ สมในจังหวัดนำ�ร่อง และในที่สุดจะสามารถให้ภาพรวมระดับประเทศได้ ทำ�ให้ เกษตรกรมีรายได้สูงสุดจากการปลูกพืชทดแทนนั้นๆ และระบบสารสนเทศเพื่อ การเกษตรไทยแบบพกพา (TAMIS) เทคโนโลยีเสริมสนับสนุนการขึ้นทะเบียน เกษตรกร รองรับการทำ�งานแบบออนไลน์และออฟไลน์ อำ�นวยความสะดวกให้ เจ้าหน้าที่เกษตรตำ�บลและอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน รับ-ส่งข้อมูลได้แบบทันที รองรับการทำ�งานร่วมกับบัตรประจำ�ตัวประชาชนผ่านเครื่องอ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ทำ�งานร่วมกับแผนที่ดาวเทียมเพื่อใช้กำ�หนดพิกัดแปลงให้ทราบถึงขนาดพื้นที่ ทำ�การเกษตร ใช้กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการประมวลผลเพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้อง ทำ�งานผ่านเครือข่าย GIN บนระบบ คลาวด์ซึ่งรับผิดชอบโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าว จึงขอให้มีการหารือกับปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์เพื่อนำ�ผลงานดังกล่าวไปขยายผลการใช้ประโยชน์ต่อไป
  • 8. 8 nstda • มกราคม 2559 17 ธันวาคม 2558 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานประกาศผลผู้ได้รับทุน นักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี 2558 จำ�นวน 2 ทุน ให้แก่นักวิจัยจาก ม.มหิดลและกลุ่มวิจัยไบโอเทคที่ทำ� วิจัยด้านโรคไข้เลืดดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ และนักวิจัยจากจุฬาฯ ที่ทำ�วิจัยด้านวิศวกรรมนาโน ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำ�เพื่อพัฒนาตัวตรวจจับแสงอินฟราเรด ด้วยระยะเวลาทุน 5 ปี จำ�นวนทุนละ 20 ล้านบาท เพื่อเป็นแกนนำ�ผลิตงานวิจัยที่มีคุณภาพให้กับวงการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไทย พร้อมเป็นแกนหลักผลิตบุคลากรวิจัยให้กับประเทศต่อไป มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 ประกาศผลผู้ได้รับทุน นักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี 2558
  • 9. มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 9มกราคม 2559 • ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวว่า “ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำ�วันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยเพื่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ โดยกลุ่ม วิจัยที่มีความเป็นเลิศ จึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยโครงการทุนนักวิจัยแกนนำ� นับเป็นกลไกหนึ่งที่ สวทช. เล็งเห็น ว่าจะสามารถสร้างแรงจูงใจให้นักวิจัยที่มีความเป็นเลิศดังกล่าว สร้างผลงานที่ เป็นประโยชน์กับประเทศในหลายมิติ ทั้งในด้านสาธารณสุข เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ที่จะสามารถเกิดผลกระทบสูงในเชิงเศรษฐกิจและสังคมได้ พร้อมช่วยพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพให้กับประเทศด้วย”      ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ เลขานุการโครงการทุนวิจัยแกนนำ� กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการทุนวิจัยแกนนำ�ว่า “โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ� มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยที่มีคุณภาพสูง สร้างสรรค์งานโดยมีอิสระทาง วิชาการพอสมควร และเป็นแกนนำ�ให้กับวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ ประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ส่งเสริมให้มีการผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพอันจะนำ� ไปสู่การยื่นจดสิทธิบัตร การผลิตผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและ ระดับนานาชาติ และต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพต่อการแก้ปัญหาให้กับภาค อุตสาหกรรมและภาคสังคม อีกทั้งเพื่อเป็นแกนหลักในการผลิตบุคลากรวิจัยสู่ วงการวิชาการอย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาสวทช. ได้สนับสนุนทุนนักวิจัยแกนนำ� ตั้งแต่ปี 2552-2557 ไปแล้วทั้งสิ้น 11 โครงการ แต่ละโครงการมีผลการดำ�เนิน งานที่ดีเยี่ยม สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ ต้นแบบ 22 ต้นแบบ ผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ 459 เรื่อง สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร23 เรื่อง การผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท ปริญญา เอก และหลังปริญญาเอก รวม 276 คน อีกทั้งยังมีการนำ�ผลงานวิจัยไปเผยแพร่ ใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะแล้ว”    “จากมติการพิจารณาของคณะกรรมการทุนนักวิจัยแกนนำ� ประจำ�ปี2558 เห็นสมควรมอบทุนดังกล่าวแก่นักวิจัยแกนนำ�ของประเทศ2 ท่าน ได้แก่ นายแพทย์ ปรีดา มาลาสิทธิ์ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และกลุ่มวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. จากโครงการวิจัย เรื่อง “การวิจัยแบบบูรณาการเพื่อค้นหาชุดของสารบ่ง ชี้ทางชีวภาพชนิดใหม่ที่นำ�ไปสู่การประยุกต์ใช้กับการตรวจวินิจฉัย การพยากรณ์ ความรุนแรงของโรค และการรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพ” และ ท่านที่สอง คือ ศาตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญญาแก้ว สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโครงการวิจัยเรื่อง “ควอนตัมนาโนกลุ่มแอนติโมนี สำ�หรับการพัฒนาการตรวจจับแสงอินฟราเรด” ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช. กล่าวประกาศผล
  • 10. มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 10 nstda • มกราคม 2559 เอ็มเทค ร่วมเดินหน้าประเทศไทย ไปสู่ความปลอดภัยทางถนน วันที่ 14-15 ธันวาคม 2558 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) (สวทช.) ร่วมกิจกรรมจัดแสดงผลงานและร่วมสัมมนาระดับชาติ ในงานสัมมนาความปลอดภัยทางถนน ครั้งที่ 12 “ครึ่งทางทศวรรษกับการจัดการที่ เข้มแข็ง” โดยมีนายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนา พร้อมกล่าวว่า รัฐบาลตระหนักและเล็งเห็นว่า “อุบัติเหตุทางถนนเป็นความสูญเสียทางสุขภาพที่สำ�คัญของคนไทย เนื่องจากในแต่ละปีมีคนไทยที่ต้องเสียชีวิตและมีผู้พิการรายใหม่เพิ่มขึ้นจำ�นวน มาก ที่สำ�คัญคืออุบัติเหตุทางถนนเป็นสิ่งที่ป้องกันและลดความสูญเสียลงได้ โดยกำ�หนดเป็นนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุในการ จราจร อันนำ�ไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต” การจัดงานดังกล่าว เอ็มเทคได้นำ�ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่ อุปกรณ์ขนย้ายผู้บาดเจ็บแบบสอดด้านข้างทีละจุด ต้นแบบห้องโดยสาร รถพยาบาลแบบมีโครงสร้างรองรับการพลิกคว่ำ� และโฟมอะลูมิเนียมตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานด้านความปลอดภัยบนท้องถนน ร่วมจัดแสดงภายในงาน ครั้งนี้ รวมทั้งมีนักวิจัย โดย ดร.สิทธิกร ลาภาพงศ์ นักวิจัยห้องปฏิบัติการยานยนต์ หน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม เอ็มเทค ร่วมเสวนาในเรื่อง “การ เพิ่มขีดความปลอดภัยรถโดยสารด้วยมาตรฐานการออกแบบบทเรียนจากการพัฒนารถพยาบาลไทย” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานจำ�นวนมาก
  • 11. 11มกราคม 2559 • ไบโอเทค-สวทช. ประสบความสำ�เร็จ พัฒนาชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย นักวิจัยไบโอเทคคิดค้นเทคนิคการตรวจหาเชื้อมาลาเรีย จากเลือดผู้ป่วย จนพัฒนาเป็นชุดตรวจหาเชื้อมาลาเรียได้สำ�เร็จ สามารถทำ�ได้ง่าย สะดวก ทราบผลเร็ว และมีความแม่นยำ� มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
  • 12. 12 nstda • มกราคม 2559 มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 โรคมาลาเรีย ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำ�คัญของประเทศไทย และ ทั่วโลกยังคงให้ความสำ�คัญกับปัญหานี้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการพิจารณามอบ รางวัลโนเบลในสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ (Nobel Prize in Physiology or Medicine) ประจำ�ปี ค.ศ.2015 ที่ผ่านมา ได้มอบให้แก่นักวิจัยชาวจีนTuYouYou ซึ่งเป็นผู้ค้นพบวิจัยและพัฒนายา Artemisinin เพื่อใช้รักษาโรคมาลาเรีย ซึ่งยา ดังกล่าวได้ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคมาลาเรียจำ�นวนมากทั่วทั้งโลกและเป็นยาราคาถูกที่ ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงได้ สำ�หรับประเทศไทย ในปี พ.ศ.2557 กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข มีรายงานจำ�นวนผู้ป่วยโรคมาลาเรียมากกว่า 30,000 ราย ถึงแม้จำ�นวนผู้ป่วยจะลดลงในแต่ละปี แต่ประเทศไทยก็ยังไม่สามารถกำ�จัด เชื้อมาลาเรียให้หมดไปได้ ส่งผลให้มีการระบาดของโรคในพื้นที่เสี่ยงและยังคงมี ผู้ป่วยซ้ำ�ในทุกปี และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำ�คัญของประเทศไทยโดยเฉพาะ ในพื้นที่ทุรกันดาร โรคมาลาเรียเกิดจากเชื้อโปรโตซัวในกลุ่มพลาสโมเดียม (Plasmodium) ที่อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยมียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะนำ�โรค เมื่อยุงที่ ได้รับเชื้อจากเลือดของผู้ป่วยไปกัดผู้อื่นก็จะทำ�ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อไป เชื้อก่อ โรคมาลาเรียที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดพลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium falciparum) และพลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (Plasmodium vivax) โดยเชื้อทั้งสองชนิดนี้จะก่อให้เกิดความรุนแรงของโรคมาลาเรียที่แตกต่างกัน รวมถึงการรักษาและระบาดวิทยาของเชื้อก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นการจำ�แนกชนิดของเชื้อ จึงมีความสำ�คัญต่อการเฝ้าระวังและการรักษา โรคเป็นอย่างมาก กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) นำ�โดยคณะนักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและ เทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ศึกษาและพัฒนาเทคนิคสำ�หรับการ ตรวจหาเชื้อมาลาเรีย พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ ใน ตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยโรคมาลาเรียขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่าย และสามารถ นำ�ไปใช้ทดสอบในพื้นที่จริงที่มีการระบาดได้ทันที ซึ่งเทคนิคที่พัฒนาขึ้นนี้เป็น การบูรณาการความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาของนักวิจัยไบโอเทค 3 ท่าน ได้แก่ ดร.สุกัญญา ยงเกียรติตระกูล ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการค้นหาโมเลกุล ที่สำ�คัญของเชื้อมาลาเรียเพื่อนำ�มาใช้เป็นเป้าหมายในการตรวจหาเชื้อ คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการนำ�เอาเทคนิคแลมป์ (LAMP) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเป็นชุดทดสอบในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อ ต่างๆ และ ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านระบาดวิทยา ของมาลาเรีย รวมถึงวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย ดร.สุกัญญา ยงเกียรติตระกูล นักวิจัยห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล เปิดเผยว่า เทคนิคที่คณะวิจัยพัฒนาขึ้น นี้ เรียกว่า “LAMP-LFD” เป็นการนำ�เอาเทคนิควิธีการตรวจ 2 ประเภทมา ประยุกต์ใช้ร่วมกัน คือเทคนิคแลมป์ (LAMP) ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณสาร พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้อุณหภูมิคงที่เพียงอุณหภูมิ เดียว(ในช่วง60-65 องศาเซลเซียส) และเทคนิคlateralflowdipstick หรือ LFD ซึ่งเป็นเทคนิคการใช้แผ่นจุ่มวัดแบบง่าย จึงทำ�ให้สามารถอ่านผลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ด้วยเทคนิค LAMP-LFD นี้ทำ�ให้เราสามารถตรวจแยก เชื้อมาลาเรียทั้งสองชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มีความถูกต้อง มีความแม่นยำ�และมีความจำ�เพาะในการตรวจเชื้อแต่ละชนิดสูงมาก 
  • 13. 13มกราคม 2559 • มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 คุณวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย นักวิจัยอาวุโสและหัวหน้าห้องปฏิบัติ การเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด กล่าวเสริมว่า เทคนิค LAMP-LFD นี้ เริ่มต้นจากการเพิ่มสารพันธุกรรมด้วยเทคนิค LAMP ซึ่ง ถูกติดฉลากด้วยสารเรืองแสง จากนั้นใช้เทคนิค LFD เพื่อทำ�ให้เกิดแถบสี บนแผ่นจุ่มวัดแบบง่าย จึงทำ�ให้สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า และข้อดี ของเทคนิค LAMP-LFD ที่คณะวิจัยพัฒนาขึ้นนี้อีกอย่างหนึ่งคือ มีขั้นตอน การเตรียมตัวอย่างเลือดก่อนตรวจที่ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงทำ�ให้สามารถลดเวลา ในการตรวจตัวอย่างจำ�นวนมากได้ เทคนิคLAMP-LFD นี้มีความไวในการ ตรวจสูงกว่าเทคนิคพีซีอาร์ทั่วไปประมาณ 10 เท่า และมีความจำ�เพาะต่อ เชื้อพลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และ พลาสโมเดียม ไวแวกซ์ อย่างมาก อีก ทั้งขั้นตอนการตรวจก็ทำ�ได้ง่ายและสะดวก โดยใช้เวลาในการตรวจรวม ทั้งสิ้นเพียง 55 นาที ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มี ราคาแพง และไม่จำ�เป็นต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้นคณะวิจัยจึง เล็งเห็นว่าเทคนิคLAMP-LFD นี้มีโอกาสที่จะนำ�ไปสู่การใช้งานในพื้นที่จริง ได้และจะเป็นทางเลือกใหม่สำ�หรับการตรวจเชื้อมาลาเรียให้แก่เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขซึ่งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้ด้วย ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย นักวิจัยห้องปฏิบัติการวิศวกรรม โปรตีน-ลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล กล่าวว่า ในปัจจุบัน การตรวจวินิจฉัย เชื้อมาลาเรียโดยใช้วิธีตรวจหาเชื้อจากแผ่นฟิล์มเลือดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ยังถือเป็นวิธีมาตรฐาน แต่วิธีการนี้จำ�เป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะ และความชำ�นาญเป็นอย่างมากในการจำ�แนกเชื้อ และถึงแม้ว่าจะมีความ พยายามพัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้ทันสมัยและรวดเร็วขึ้น โดยใช้วิธีพีซีอาร์ (PCR) หรือการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วโดยวิธีทดสอบอิมมูโนโครมาโทกราฟิก (RDT) แต่ก็ยังคงพบปัญหาการเกิดผลบวกปลอม (false positive) และผล ลบปลอม (false negative) ในการตรวจ จากข้อดีของเทคนิค LAMP-LFD ที่ได้พัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการ ทำ�ให้คณะวิจัยได้นำ�เทคนิคLAMP-LFD ไป ทดลองใช้งานจริง โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัย มหิดล เพื่อตรวจหาเชื้อมาลาเรียจากตัวอย่างเลือดที่ได้จากผู้ป่วย พบว่าเทคนิค LAMP-LFD มีค่าความไว (Sensitivity) และความจำ�เพาะ (Specificity) ต่อเชื้อมาลาเรียแต่ละชนิดสูงมาก และนอกจากจะสามารถใช้ ตรวจผู้ป่วยมาลาเรียแล้ว เมื่อนำ�เทคนิค LAMP-LFD ที่พัฒนาขึ้นนี้ไปใช้กับ ผู้ที่มีการติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ ก็พบว่าสามารถตรวจหาเชื้อได้อย่าง แม่นยำ� ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เทคนิคLAMP-LFD จะถูกพัฒนาไปใช้ใน การศึกษาด้านระบาดวิทยาของโรคมาลาเรียด้วย ปัจจุบัน เทคนิคLAMP-LFD สำ�หรับตรวจหาเชื้อมาลาเรีย พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และพลาสโมเดียม ไวแวกซ์ นี้ ได้มีการยื่นขอจดอนุสิทธิบัตรในประเทศเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะ นี้อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาให้เป็นชุดตรวจสำ�เร็จรูปที่สะดวกต่อการใช้งาน มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ คณะวิจัยยังมีแผนงานที่จะพัฒนาชุดตรวจสำ�หรับ เชื้อมาลาเรียดื้อยาต่อไปในอนาคตอีกด้วย
  • 14. 14 nstda • มกราคม 2559 มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 • “ตะลุยวันเด็ก!! บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร” • อบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักสูตรการสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ” สวทช. จัดเทศกาลมอบความรู้คู่ความสนุกสนานให้กับเยาวชน ในงาน “ตะลุยวันเด็ก!! บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร” โดยโปรแกรมการพัฒนากำ�ลังคนและสร้าง ความตระหนักด้าน ว และ ท จัดระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2559 เวลา 9.00-15.00 น. ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ดูรายละเอียด https://tulip.nectec.or.th/news/index.php?app=information&view=vwinf&type=show&information=1&value=aW50Q29kSW5mPTI0Nzg2 สถาบันวิทยาการ สวทช.ขอเชิญผู้สนใจ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “หลักสูตรการสร้าง Infographic อย่างมืออาชีพ” ในยุคการสื่อสารออนไลน์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลมหาศาล การสื่อสารด้วยภาพมีบทบาทอย่างมากต่อการรับรู้และความเข้าใจของผู้คนปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่ออินโฟ กราฟิกที่กำ�ลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย สามารถแปลงข้อมูลจำ�นวนมหาศาลให้เข้าใจได้ง่าย และสื่อออกมาในลักษณะของภาพกราฟิก ที่นอกจากจะสวยงาม แล้ว ยังเข้าใจได้ง่ายในเวลาอันรวดเร็ว และเหมาะสำ�หรับผู้คนในยุคไอทีที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลซับซ้อนมหาศาลในเวลาอันจำ�กัด ดังนั้นหากสามารถนำ�ความรู้ต่างๆ มา สื่อสารในรูปแบบอินโฟกราฟิกที่จะช่วยให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลที่มีอยู่มากมาย ได้ในเวลาอันจำ�กัด มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   รูปแบบการอบรม ประกอบด้วยภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้าน Content Infographic และ Design Infographic บริษัท Infographic Thailand ระยะเวลาการจัดอบรม 2 วัน ดังนี้ รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 20 - 21 มกราคม 2559 รุ่นที่ 5 ระหว่างวันที่ 24 - 25 กุมภาพันธ์ 2559 (ภาคเหนือ) รุ่นที่ 6 ระหว่างวันที่ 23 - 24 มีนาคม 2559 รุ่นที่ 7 ระหว่างวันที่ 27 - 28 เมษายน 2559 สถานที่อบรม รุ่นที่ 4, 6 แล 7 ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ รุ่นที่ 5 (ภาคเหนือ) ณ สำ�นักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ค่าลงทะเบียน ท่านละ 15,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) พิเศษ!! ลงทะเบียนหน่วยงานเดียวกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปรับส่วนลด 10 % เหลือเพียงท่านละ 13,500 บาท สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center : 0 2644 8150 ต่อ 81889 (คุณทินกร), 81897 (คุณพิมพิชชารัณย์) E-mail: bas@nstda.or.th
  • 15. 15มกราคม 2559 • จากผลงานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม... นำ�มาซึ่งรางวัลที่ได้รับมากมาย ดร.ศรชล โยริยะ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเซรามิกส์ประยุกต์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีเซรามิกส์ MTEC มกราคม 2559 ฉบับที่ 10 สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้ จะนำ�ผู้อ่านไปพูดคุย กับ นักวิจัยรุ่นใหม่ ไฟแรง ที่มีผลงานมากมาย พร้อมพ่วงรางวัลที่ยืนยันความสามารถของเธอ ทั้ง วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกระดับดีเยี่ยม จากสำ�นักงาน คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในปี 2554 และในปี 2556 ได้รับรางวัล 2 ผลงาน จาก วช. คือ ผลงาน วิจัยดีเด่น เรื่อง “ท่อนาโนไทเทเนีย : การศึกษาการ ขึ้นรูป ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับคุณสมบัติ เชิงพื้นผิวและการทดสอบความเข้ากันได้กับเลือด” และ รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นระดับประกาศเกียรติคุณ เรื่อง “เครื่องเคลือบฟิล์มบางแบบสปัตเตอร์ริง” และได้ รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัลเพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ ในสาขาวัสดุศาสตร์ ในปี 2556 และล่าสุดคือรางวัล เหรียญทองแดง สาขาการแพทย์ จากงาน 42nd International Exhibition of Inventions of Geneva เมื่อเดือนเมษายน 2557 ที่ผ่านมา ไปรู้จักกับเธอกันค่ะ...ดร.ศรชล โยริยะ หรือ ดร.โอ๋ นักวิจัย ห้องปฏิบัติการเซรามิกส์ประยุกต์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีเซรามิกส์ MTEC สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
  • 16. 16 nstda • มกราคม 2559 ถาม : ดร.โอ๋ ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ สวทช. มีที่มาอย่างไรคะ ตอบ : ต้องบอกว่าเป็นการทำ�ตามความฝันเลย การทำ�งานที่ MTEC ถือว่าเป็น ความตั้งใจและความฝันสูงสุดของชีวิตที่ตั้งเป้าไว้ตั้งแต่ตอนเรียน เพราะตอน ที่เรียนระดับปริญญาตรีปีสาม ได้มาดูงานที่ สวทช. ก็รู้สึกได้เลยทันทีว่าตัวเอง อยากเป็นนักวิจัย อยากทำ�งานในลักษณะที่หลากหลายไม่จำ�เจในแต่ละวัน ถ้า ทำ�งานเป็นอาจารย์คิดว่าอาจไม่เหมาะกับบุคลิกและความชอบของตัวเอง จน เมื่อเรียนจบปริญญาโทก็ได้เดินตามความตั้งใจและมีโอกาสได้เข้ามาทำ�งานที่ MTEC ในตำ�แหน่งผู้ช่วยวิจัยที่หน่วยวิจัยเซรามิกส์ แต่พอทำ�งานไปสักสามปีก็ เริ่มรู้สึกว่าความรู้และภาวะในการตัดสินใจด้านวิชาการเราเริ่มตัน คิดว่าเราอาจ ต้องเข้าสู่กระบวนการใดกระบวนการหนึ่งเพื่อพัฒนาความรู้และศักยภาพของตัว เองให้มากกว่านี้ จึงได้ไปสอบทุนบุคคลทั่วไปของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อ ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก และได้ไปเรียนในสาขา Materials Sciences and Engineering ที่ The Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสำ�เร็จการศึกษาก็ได้กลับมาเป็นนักวิจัยที่ MTEC จนถึงปัจจุบันค่ะ ถาม : มีแนวคิดในการทำ�งานอย่างไรคะ ตอบ : สิ่งแรกที่ถามตัวเองคือ มีความสุขกับงานที่ทำ�ไหม คำ�ตอบก็คือเรามีความ สุขกับงานที่ทำ� แม้ว่าจะมีปัญหาหรือเหตุการณ์เฉพาะหน้าในแต่ละวันที่ต้องแก้ไข แต่สิ่งที่หล่อเลี้ยงเปรียบเสมือนเป็นรากแก้วที่อยู่ลึกๆ ให้เราenjoy การทำ�งานใน ทุกวันนี้คือ ลักษณะของงานนั่นเอง เรามีความสุขกับงานวิจัยที่ทำ� เรารักงานวิจัย การเป็นนักวิจัยคืออาชีพที่อยากทำ� เป็นความรู้สึกที่มั่นคง มีมาตั้งแต่ตอนเรียน ปริญญาตรีปีสาม และด้วยการทำ�งานที่ MTEC นี่แหละ ที่ทำ�ให้เราได้ไปเรียนต่อ ต่างประเทศ ทำ�ให้เราได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่มีค่ากลับมาทำ�งาน ได้ พัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพในการทำ�งานเฉกเช่นทุกวันนี้ หากคิดว่าเราทำ�งานเพื่อตัวเองเราจะเหนื่อย หรือคิดว่าถ้าหัวหน้าสั่ง หรือผู้ใหญ่สั่งให้เราทำ�งานโดยเป็นฝ่ายตั้งรับอย่างเดียว เราจะรู้สึกเหนื่อย แต่ถ้า เราลองคิดในมุมกลับ เราลองมองดูงานที่เรามีอยู่ในมือ เราอยากเห็นอนาคตของ มันเป็นอย่างไร ลองรู้สึกศรัทธาที่จะทำ�และอยากทำ�งานนั้นออกมาให้ดี เราก็จะ ไม่เหนื่อย มกราคม 2559 ฉบับที่ 10
  • 17. 17มกราคม 2559 • ถาม : ผลงานที่ประทับใจมีอะไรบ้างคะ ทราบว่า ดร.โอ๋ มีผลงาน มากมายเลยทีเดียว ตอบ : สิ่งแรกที่จะเอ่ยถึง ก็คงเป็นเรื่องที่ถนัดและเชี่ยวชาญตามที่เรียนจบมา ซึ่ง เป็นงานวิจัยที่ทำ�มาตลอดช่วงที่เรียนปริญญาเอกเป็นระยะเวลา 5 ปี คืองานวิจัย เกี่ยวกับการขึ้นรูปฟิล์มท่อนาโนไทเทเนีย (Titania Nanotube Array Films) ด้วย กระบวนการทางไฟฟ้าเคมีแบบแอโนไดเซชั่น ซึ่งเมื่อเรียนจบก็ได้รับการเสนอจาก กลุ่มวิจัยจาก University of California at San Francisco (UCSF) สหรัฐอเมริกา ที่ได้เคยทำ�งานวิจัยร่วมกันมาให้ทำ�postdoc ต่อโดยให้พัฒนาต่อยอดองค์ความ รู้ด้านการนำ�ฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียไปพัฒนาเป็นวัสดุนำ�ส่งตัวยาเพื่อรักษาผู้ป่วย โรคไวรัสตับอักเสบซี แต่ในตอนนั้นคิดว่าอยากรีบกลับมาทำ�งานและปรับตัวให้ เร็วที่สุด จึงได้ปฏิเสธโอกาสนั้นไป ซึ่งงานวิจัยหัวข้อนี้ ณ ปัจจุบัน ทาง UCSF ก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านการออกแบบและปรับปรุงประสิทธิภาพ ของตัววัสดุนำ�ส่งตัวยาโดยใช้สูตรในการขึ้นรูปฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียที่เราคิดขึ้น เป็นเงื่อนไขหลัก โดยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ศึกษาอยู่นั้น เราเป็นต้นน้ำ�มาตลอด แล้วส่งต่อให้กับคนที่ศึกษาด้านการประยุกต์ใช้งานฟิล์มในด้านต่างๆ ต่อไป เช่น Gas Sensor, Dye-Sensitized Solar cell และ Biomedical applications พอเรียนจบกลับมา ก็ได้มีโอกาสส่งวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเข้า ประกวดเพื่อเสนอขอรับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ จากสำ�นักงานคณะกรรมการ วิจัยแห่งชาติ (วช.) และก็ได้รับรางวัลระดับดีเยี่ยม สาขาวิศวกรรมศาสตร์และ อุตสาหกรรมวิจัย ประจำ�ปี 2554 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความประทับใจที่สะท้อน ถึงความตั้งใจทุ่มเทในการทำ�งานตลอดช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และเมื่อกลับ มาอยู่ MTEC ก็เริ่มเดินหน้าสร้างฐานเทคโนโลยีของเราเองขึ้นที่นี่ สำ�หรับ แผนการใช้งานวัสดุท่อนาโนไทเทเนีย ณ ปัจจุบัน นอกจากวัสดุนำ�ส่งตัว ยาแล้ว การประยุกต์ใช้งานวัสดุฯ ด้านการช่วยการแข็งตัวของเลือดก็เป็น อีกหัวข้อวิจัยหนึ่งที่สนใจ โดยเราก็ได้พยายามมองหาพันธมิตรหรือมีความ ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆ ที่จะนำ�วัสดุของเราไปใช้งานต่อ ถาม : ผลงานมากมายที่ทำ�ออกมา ตั้งเป้าไหมว่าจะต้องได้รับรางวัล ทุกผลงาน ตอบ : ในการทำ�งานวิจัยนั้น ไม่เคยคิดว่าเราจะทำ�งานวิจัยเรื่องนี้เพื่อท้ายที่สุด เราจะได้เอาไปส่งประกวดเพื่อให้ได้รางวัล ที่เคยตั้งใจมีอย่างเดียวคือ การส่ง วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกเข้าประกวด เพราะทราบมาก่อนว่ามีพี่ๆ นักวิจัย ที่ MTEC เคยส่งประกวด เราเลยอยากลองส่งงานวิจัยของตัวเองบ้างว่า จากผล งานทางวิชาการทั้งหมดที่ได้ตีพิมพ์เป็นบทความทางวิชาการและสิทธิบัตร รวม ถึงจำ�นวนการอ้างอิง ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่จะนำ�ไปต่อยอด และผลกระทบในเชิงวิชาการและภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น งานวิจัยของเรา อยู่ในระดับไหน ในมุมมองของการวางแผนการทำ�งานวิจัย อยู่ที่ว่าเราตั้งใจอยากจะให้ ผลงานหรือผลผลิตออกมาในรูปแบบไหน เส้นทางไหนที่ควรจะทำ� เมื่อตั้งเป้าแล้ว เราต้องทำ�ให้สัมฤทธิ์ผลให้ได้แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้ด้วย สิ่งสำ�คัญ ข้อหนึ่งที่ตัวเองมักจะพึงตระหนักอยู่เสมอคือ “จะไม่ละเลยสิ่งที่ควรทำ�” เราต้อง ทำ�สิ่งที่ควรทำ�นั้นๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย เนื่องจากเวลาไม่รอใคร ความ ก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการเผยแพร่นำ�เสนอผลงาน ก็มีช่วงเวลาที่เหมาะสม ของมันเช่นกัน จริงๆ การส่งผลงานเข้าประกวดในเวทีต่างๆ ถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่งใน แง่ของการเผยแพร่ผลงานให้กับคนภายนอกได้รับรู้งานวิจัยของเรา การส่งผลงาน เข้าประกวด ถือว่าเป็นผลพลอยได้มากกว่า เพราะทำ�ให้เราได้เพื่อนใหม่เรื่อยๆ ใน ทุกครั้ง อย่างเช่นงานด้านการประยุกต์ใช้งานฟิล์มท่อนาโนไทเทเนียที่ใช้คุณสมบัติ มกราคม 2558 ฉบับที่ 10 การได้รับทุนฯ... เป็นแรงบันดาลใจ ในการทำ�งานวิจัยเพื่อ สร้างสรรค์ผลงาน ที่ดี มีประโยชน์ นำ�ไปใช้ได้จริงและ ถ่ายทอดสู่สังคม อย่างเป็นรูปธรรมได้