SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 22
Descargar para leer sin conexión
1ธันวาคม 2558 •
3 5
10
8
12
6
17 18
บทความ Article
13“ไข้เลือดออก” ภัยร้ายที่ต้องรู้
“อุปกรณ์ช่วยผู้พิการทางสายตา” คว้ารางวัลโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 4
สวทช. ส่งฑูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ JENESYS 2015
ตะลุยแดนญี่ปุ่น
ธ.กรุงเทพ สนับสนุน เนคเทค/สวทช. จัดประกวดภาพถ่าย
ผ่านเลนส์มิวอาย ในโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย
ก.วิทย์ฯ มอบรางวัลการประกวดการใช้ประโยชน์
กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา
สัมมนา The Arctic and
Climate Change
พิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน
กระทรวงวิทย์/สวทช.ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ และ มทร.ล้านนา ลำ�ปาง
จัดงานเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
บทสัมภาษณ์ Star
นักวิทย์ฯหญิงคนแรกได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์อาเซียน
สำ�หรับสตรี (ASEAN Science Prize for Women)
ดร.ณัฏฐพร พิมพะ
ปฏิทินกิจกรรม Activity
ในเล่ม Insight
ข่าว News 2
2 nstda • ธันวาคม 2558
นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำ�นวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ได้ดำ�เนินมา 4 ปีแล้ว เริ่ม
ตั้งแต่ปี2555-2558 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่แล้วกว่า400 ทีม มีจำ�นวน270 ทีม หรือ ประมาณ630 คน ได้ร่วมอบรมความรู้ด้านพื้น
ฐานธุรกิจเพื่อพัฒนาฐานความรู้สำ�คัญในการนำ�เทคโนโลยีออกสู่ตลาด เกิดการจัดตั้งธุรกิจจำ�นวนกว่า 20 ราย โดยสร้างรายได้รวมประมาณ 21 ล้านบาท
และมีอัตราการจ้างงานกว่า40 อัตรา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นที่น่ายินดีกับโครงการฯที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้กับธุรกิจเทคโนโลยีรุ่นใหม่ของประเทศไทยในอนาคต
คว้ารางวัลโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 4
“อุปกรณ์ช่วยผู้พิการทางสายตา”
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
นวัตกรรม “อุปกรณ์สำ�หรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น” หรือ Visionear คว้ารางวัลสุดยอด SIA
โครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2015” ตอบโจทย์การนำ�แนวคิดด้านนวัตกรรมใหม่ๆ สู่การทำ�ธุรกิจด้าน
เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นจริง ที่สำ�คัญสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้น สำ�หรับปีหน้า “สามารถ-
สวทช.” จับมือจัด “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีปี 5” สร้าง “นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีทำ�เงินตัวจริง” ต่อเนื่อง พร้อม
กำ�หนดโจทย์เพื่อค้นหาสุดยอดเทคโนโลยีที่เข้ากับยุคดิจิทัลและความต้องการนวัตกรรมด้านสังคมและ
สิ่งแวดล้อม
3ธันวาคม 2558 •
ตั้งเป้าปี ’59 ขยายผลเทคโนโลยีถั่วเขียวสู่ภาคอุตสาหกรรม
ก.วิทย์/สวทช.ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์
และ มทร.ล้านนา ลำ�ปาง จัดงาน
เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
8 พฤศจิกายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ลำ�ปาง - สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ และ มทร.ล้านนา ลำ�ปาง จัดงาน “วัน
เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว” ในโอกาสครบกำ�หนดวันเก็บเกี่ยวทำ�การผลิตขยายเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวสายพันธุ์
ใหม่ 6 สายพันธุ์จำ�นวน 7 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ราว 1 ตัน ตั้งเป้าปี 2559 สามารถผลิตขยายเมล็ดพันธุ์
ใหม่ให้เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จำ�นวน 500 ไร่ในจังหวัดต่างๆ และขยายผลเมล็ดพันธุ์ดีแก่เกษตรกรผู้ผลิต
เมล็ดถั่วเขียวเป็นพื้นที่กว่า 7,700 ไร่ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมแปรรูปจาก
ถั่วเขียว โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมมอบเมล็ด
พันธุ์ถั่วเขียวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำ�ไปขยายผลร่วมกับ เกษตรกรต่อไป เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร และ
เครือข่ายพันธมิตรสถาบันการศึกษาต่างๆ 
4 nstda • ธันวาคม 2558
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กล่าวว่า “ด้วยวิกฤตปัญหาภัยแล้งในปัจจุบันและแนวโน้มอันจะเกิด
ในอนาคตนั้น ภาครัฐจำ�เป็นต้องวางแผนและเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือ
เกษตรกร ทั้งการเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมในแหล่งผลิต โดยคำ�นึงถึงการจัดการ
น้ำ�อย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตพืช รวมทั้งการเชื่อมโยงการผลิตสู่การตลาด
และอุตสาหกรรมการแปรรูปอย่างครบวงจร เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
สร้างมูลค่าเพิ่ม และความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมที่ใช้ถั่วเขียวเป็นวัตถุดิบ “ถั่ว
เขียว” เป็นพืชทางเลือกหนึ่งสำ�หรับเกษตรกร เพาะปลูกง่าย อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว
ประมาณ65-70 วัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย เป็นพืชที่ใช้น้ำ�น้อย ด้วยวงจรชีวิต
ที่เป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชทางเลือกของเกษตรสำ�หรับการปลูกทดแทนข้าวนาปรัง
ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำ�นาหรือทำ�ไร่
ช่วยตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วยบำ�รุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินตรึง
ไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง”    
ปี 2558 ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความ
ต้องการเมล็ดพันธุ์โดยประมาณ 4,146 ตัน (คิดที่อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 5
กิโลกรัมต่อไร่) แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการ
เมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ราคาเมล็ดพันธุ์ในตลาดทั่วไปประมาณ 60 - 70 บาท/
กิโลกรัม (กรมวิชาการเกษตรจำ�หน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ 40 บาท/กิโลกรัม) ผลผลิต
ถั่วเขียวมีตั้งแต่ 117 - 300 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การ
ดูแลจัดการ ความต้องการใช้ผลผลิตถั่วเขียวในประเทศประมาณ 100,000 ตัน
ต่อปีโดยประเทศไทยมีโรงงานแปรรูปถั่วเขียวรายใหญ่ๆ ประมาณ 4 โรง ซึ่ง
มีกำ�ลังการผลิตปีละ 15,000 - 20,000 ตันต่อปี ที่เหลือเป็นโรงงานขนาดกลาง
และเล็กอีกกว่า 10 โรงงาน ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะ
ถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ราคาผลผลิตที่รับซื้อในท้องตลาดประมาณ
34-38 บาท (ปี 2558) ตลาดนำ�เข้าถั่วเขียวที่สำ�คัญคือ พม่า ส่วนตลาดใน
การส่งออกที่สำ�คัญ เช่น จีน ซึ่งมีศักยภาพในการรับซื้อได้อีกจำ�นวนมาก 
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช.กล่าวว่า “ปี 2548-
2554 สวทช. สนับสนุน ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ภายใต้ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ เพื่อพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวไทย จากผลผลิตของ
โครงการทำ�ให้ได้ถั่วเขียวสายพันธุ์ดี 6 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิต 250-300 กิโลกรัม
ต่อไร่ จุดเด่นของถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาคือ เป็นพันธุ์เหมาะกับการปลูกใน
ฤดูแล้ง ขนาดเมล็ดโต ต้านทานต่อโรคใบจุด โรคราแป้ง ซึ่งจะเป็นพันธุ์ใหม่ที่มี
ศักยภาพในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำ�ไปเพาะปลูกได้ ต่อไป โดย สวทช. ร่วม
กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรม
วิชาการเกษตร  และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ได้วางแผนการขยายผลเทคโนโลยี
ถั่วเขียว2 รูปแบบ คือ1) การทดสอบพันธุ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพันธุ์และการ
ผลิตสู่เกษตรกร เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพันธุ์แต่ละพันธุ์ในแต่ละพื้นที่ รวม
ถึงการให้ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีแก่เกษตรกร เช่น ร่วมกับกรม
วิชาการเกษตรในการทดสอบในพื้นที่ 5 จังหวัด ในพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ศูนย์วิจัย
และพัฒนาการเกษตรพิษณุโลก อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์
อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ และ สหกรณ์การเกษตรแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก และร่วม
กับกรมส่งเสริมการเกษตรทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร เช่น ในพื้นที่ จ.อุทัยธานี
และพื้นที่อื่นๆ โดยจะเริ่มดำ�เนินการปลูกในเดือนธันวาคม 2558 นี้ 2) การผลิต
ขยายเมล็ดพันธุ์ และถ่ายทอดพันธุ์ให้เกษตรกรในวงกว้าง และเชื่อมโยงกับตลาด
และภาคอุตสาหกรรม โดยดำ�เนินการขยายผลผ่านความร่วมมือจากหน่วยงาน
ต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลล้านนา รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ และเชื่อมโยงกับโรงงานผลิต
วุ้นเส้นถั่วเขียว บ.สิทธินันท์ จำ�กัด” 
5ธันวาคม 2558 •
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะฝ่ายเลขานุการ
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามความร่วมมือ
ในการแลกเปลี่ยนนักวิจัย และพัฒนาบุคลากรทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์
ขั้วโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัยศูนย์แห่งสวาลบาร์ด (UNIS: University Centre in
Svalbard) และถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งนอร์เวย์ (NPI: Norwegian Polar Institute
ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราช                       
สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประธานในพิธี พร้อม
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
กันนี้ได้จัดสัมมนาเรื่อง “The Arctic and Climate Change” เพื่อการเรียนรู้
และแลกเปลี่ยนปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกัน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 โดย
มี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ รองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และที่
ปรึกษาอาวุโส สวทช. เป็นประธาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.มรว. กัลยา ติงศภัทิย์ รอง
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.คิม โฮลเมน สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่ง
นอร์เวย์ ศ.ดร.โอเล่ จอร์เกน โลนเน่ มหาวิทยาลัยศูนย์แห่งสวาลบาร์ด นายเชทิล                                    
เพาล์เชน เอกอัครราชทูตนอร์เวย์แห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สัมมนา The Arctic and Climate Change
จุฬาฯ, โครงการไอทีตามพระราชดำ�ริฯ /สวทช. ลงนามความร่วมมือและจัดสัมมนา “The Arctic and
Climate Change” ร่วมกับ ม.สวาลบาร์ด นอร์เวย์ เพื่อความร่วมมือไทย - นอร์เวย์ แลกเปลี่ยนนักวิจัยไป
ยังขั้วโลกเหนือ และเรียนรู้ปัญหาภาวะโลกร้อน
6 nstda • ธันวาคม 2558
สวทช. ส่งฑูตเยาวชนวิทยาศาสตร์
JENESYS 2015 ตะลุยแดนญี่ปุ่น
เรียนรู้วัฒนธรรมและเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) จัดงานแสดงความยินดีและปฐมนิเทศแก่น้องๆ ฑูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยจำ�นวน 29 คนที่ได้รับ
คัดเลือกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศอาเซียนหรือ JENESYS 2015
จำ�นวน 10 วัน ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว และเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น
เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี โดยมี ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. และนายชิโร่ เทราชิมา (Shiro Terashima)
เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำ�ประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดี
7ธันวาคม 2558 •
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. เปิดเผยว่า “สถาน
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ�ประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือให้สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำ�เนิน
การคัดเลือกเยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการ JENESYS 2015 (1st Batch : Group
B - Technology Program) ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม 2558
ณ กรุงโตเกียว และเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนค่า
ใช้จ่ายในการเดินทางและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด โดยเยาวชนจะได้เดินทาง
ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เรียนรู้ด้านศิลปะ
วัฒนธรรม พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ� เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นด้วยการพัก
อาศัยกับชาวญี่ปุ่นแบบโฮมสเตย์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมของไทยกับ
ญี่ปุ่นและกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งมีเยาวชนที่ได้รับคัดเลือกทั้งสิ้นจำ�นวน29 คน จาก
มหาวิทยาลัย 20 แห่งทั่วประเทศ”
ด้าน นายชิโร่ เทราชิมา (Shiro Terashima) เลขานุการเอก สถาน
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำ�ประเทศไทย เปิดเผยว่า “โครงการ JENESYS หรือ
Japan-East Asia Network of Exchange for Students and Youths ในปี
2015 ดำ�เนินการตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ประสงค์จะได้เกิดการแลกเปลี่ยน
เยาวชน ระหว่างประเทศญี่ปุ่น ประเทศสมาชิกอาเซียน และกลุ่มโอเชียเนีย ซึ่ง
คาดการณ์ว่าจะมีเยาวชนจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเข้าร่วมกว่า 1,840 คน ร่วม
กับเยาวชนญี่ปุ่น250 คน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และส่งเสริม
การสร้างความเข้าใจในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศญี่ปุ่นใน
ภาพกว้างขึ้น โดยโครงการนี้เริ่มแรกวางไว้ที่5 ปีตั้งแต่ปี2007 แต่ปัจจุบันดำ�เนิน
โครงการต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 8 แล้ว เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง
ประเทศญี่ปุ่นและประเทศในแถบ ภูมิภาคอาเซียนให้มากขึ้น โดยเน้นที่กลุ่มเด็ก
และเยาวชนเป็นหลัก”
“โดยโครงการ JENESYS 2015 (1st Batch : Group B - Technology
Program) น้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้เดินทางไปทัศนศึกษา ณ กรุง
โตเกียว และจังหวัดโออิตะในเกาะคิวชู เป็นเวลา 10 วัน เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรม
ทั้งเมืองใหญ่และเมืองเล็กของญี่ปุ่น รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมล่าสุดของ
ประเทศญี่ปุ่นว่ามีอะไรบ้าง และมีเทคโนโลยีประเภทใดบ้างที่ประเทศญี่ปุ่นมีความ
เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก โดยในกรุงโตเกียวจะได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
ซึ่งจะมีการจัดแสดงผลงานนิทรรศการของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น 2 ท่านที่ได้รับ
รางวัลโนเบลเมื่อเร็วๆ นี้ ผมหวังว่าน้องๆ ที่ได้ไปศึกษาที่นี่จะได้รับแรงบันดาล
ใจและในอนาคตจะได้มีโอกาสชนะรางวัลโนเบลบ้าง ขณะที่การไปทัศนศึกษาที่
จังหวัดโออิตะ ที่เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางเกาะคิวชูทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น จะ
เดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานและบริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นเพื่อศึกษาและดูงานเกี่ยวกับ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยจังหวัดนี้มีบ่อน้ำ�ร้อนเป็นจำ�นวนมาก น้องๆ
จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมการอาบน้ำ�แร่ออนเซ็นด้วย นับเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม
ญี่ปุ่นและเสริมประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนไทยได้
เป็นอย่างดี” นายชิโร่ เทราชิมา กล่าวสรุป
8 nstda • ธันวาคม 2558
23 พฤศจิกายน 2558 รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็น
ประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดการใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวี ซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา ซึ่งจัด
โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ
บริษัท วีนิไทย จำ�กัด (มหาชน) เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและยกย่องในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในการทรงเป็นนักประดิษฐ์ ฯ ณ เวทีกลาง อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทอง
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
เฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา
ก.วิทย์ฯ มอบรางวัลการประกวด
การใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซี
9ธันวาคม 2558 •
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็น
รากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน การสร้างพื้น
ฐานที่เข้มแข็งต้องเริ่มจากการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนไทยมีความสนใจ ใฝ่รู้
มีทักษะและแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เราต้องช่วยกันขับเคลื่อน คือ
ทลายกำ�แพงความคิดว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัวหรือเรื่องยาก เพราะอัน
ที่จริงวิทยาศาสตร์คือธรรมชาติของสรรพสิ่ง ดังนั้นการสร้างโอกาสให้เด็กและ
เยาวชนได้เข้าใจ ได้ลงมือทำ�จริง คิดค้นแก้ไขปัญหาคำ�ตอบด้วยตนเอง จึงเป็น
เสมือนการบ่มเพาะต้นไม้แห่งอนาคตของชาติให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์และ
เข้มแข็ง และขอชื่นชมบริษัท วินีไทย จำ�กัด (มหาชน) ที่ร่วมกับ สวทช. ดำ�เนิน
โครงการที่มีความสำ�คัญต่อการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์
และการสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้แก่เยาวชนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและยกย่องใน
อัจฉริยภาพการทรงเป็นนักประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และส่ง
เสริมการต่อยอดโครงการโดยการจัดประกวดผลงานการใช้ประโยชน์กล้องดูดาว
พีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้กระบวนการเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ที่เข้าร่วโครงการมีการพัฒนาต่อยอดยิ่งขึ้นไป
ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง
ชาติ(สวทช.) กล่าวว่า สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ
บริษัท วีนิไทย จำ�กัด (มหาชน) ได้มีความร่วมมือในโครงการ “กล้องดูดาวพีวีซี
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่อง ในโอกาสพระราช
พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา7 รอบ5 ธันวาคม2558 โดยดำ�เนินกิจกรรม
ค่ายวิศวกรรม “กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ84 พรรษา” ซึ่งการจัดกิจกรรม
เป็นไปตามพันธกิจพัฒนากำ�ลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ�เสนอโครงการที่มีความสำ�คัญต่อการ
พัฒนาความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และการสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้
แก่เยาวชนไทย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการออกแบบปละสร้างกล้องดูดาวซึ่งใช้ท่อ
พีวีซีเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบ
การดำ�เนินโครงการ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-2556 ซึ่งได้จัด       
กิจกรรมค่ายฯ จำ�นวน8 ครั้ง มีโรงเรียนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม
ค่ายจำ�นวน 84 โรงเรียน โดยโรงเรียนจากจังหวัดต่างๆคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ
โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและสำ�นักการศึกษากรุงเทพมหานคร คัดเลือก
โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมโครงการ มีนักเรียน จำ�นวน462 คน และ
ครู 107 คน ผ่านกิจกรรมค่ายดังกล่าวและโครงการได้มอบกล้องดูดาว ขนาด 8
นิ้ว ให้ทุกโรงเรียนที่ร่วมโครงการและมอบกล้องขนาด12 นิ้วให้ศูนย์วิทยาศาสตร์
เพื่อการศึกษา เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ใช้เป็นสื่อเรียนรู้แก่เยาวชนและสาธารณชน
ต่อไป	  
ในปี 2556 บริษัท วีนิไทย จำ�กัด (มหาชน) ได้ริเริ่มโครงการประกวด
การใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา เพื่อส่งเสริมและ
สนับสนุนให้โรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการกล้องดูดาวพีวีซี เฉลิมพระเกียรติฯ
ได้ใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซีที่ได้รับมอบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีโรงเรียน
16 โรงเรียน สมัครเข้าร่วมโครงการประกวด และมีการตัดสินผลงานเมื่อวันที่ 8
เมษายน 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยาวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดย
มีโรงเรียนที่ชนะการประกวดและเข้ารับรางวัลในวันนี้ ประกอบด้วย
รางวัชนะเลิศ โรงเรียนมัธยมนาคมนาวาอุปถัมภ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา จังหวัดร้อยเอ็ด
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ จังหวัดแพร่
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนตะโหมดจังหวัดพัทลุงและโรงเรียน
วัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
10 nstda • ธันวาคม 2558
ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค)
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนา
นวัตกรรม เปิดมุมมองให้เด็กไทยผ่านโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย
จัดประกวดภาพถ่ายผ่านเลนส์มิวอาย
ในโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย
ธ.กรุงเทพ สนับสนุน เนคเทค/สวทช.
ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เนคเทค/สวทช. ได้รับการสนับสนุน
จาก ธนาคารกรุงเทพ ในจัดโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย ซึ่งโครงการดังกล่าว     
สืบเนื่องจากแนวคิดของโครงการ “เพื่อนคู่คิดธุรกิจนวัตกรรม” มุ่งส่งเสริมการนำ�
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้เป็นฐานในการเสริมสร้างความเข็ม
แข็งให้กับภาคธุรกิจของประเทศไทย ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพ ให้การสนับสนุน
กับ สวทช. ในโครงการดังกล่าว ในด้านต่างๆ  ได้แก่ โครงการติดอาวุธเทคโนโลยี
ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การจัดงาน Springboard Smart
SMEsSummit และNSTDAInvestors’Day2015 การจัดทำ�หนังสือ “ThePower
of R&D” การจัดสัมมนาเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามองสำ�หรับนักธุรกิจ (Techno
logy Seminar) การจัดกิจกรรมเปิดบ้านงานวิจัยที่พร้อมต่อยอดสำ�หรับนักธุรกิจ
(Open House) โดยกิจกรรมที่ผ่านนั้น จะช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
11ธันวาคม 2558 •
ส่วนราชการ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเชื่อมโยงให้นักวิทยาศาสตร์ไทย
ได้ทำ�งานกันอย่างใกล้ชิด และเข้าถึงความต้องการของทั้งภาคการเกษตรและ
ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ
สำ�หรับโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย โครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม
ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารกรุงเทพ ให้ผลิตชุดอุปกรณ์พร้อมเลนส์มิวอาย
จำ�นวน 2,000 ชุด โดย เนคเทค/สวทช. ได้จัดกิจกรรมการจัดประกวดภาพถ่าย
ในหัวข้อค้นหาชีวิตมหัศจรรย์ ยูกลีนา ผ่านเลนส์มิวอาย และจะนำ�เลนส์มิวอาย
ส่งมอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำ�นวน200 ชุด และมอบให้กับ
โรงเรียนในโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั่วประเทศ
จำ�นวน 1,800 ชุด
กิจกรรมดังกล่าวนี้ เนคเทค/สวทช. คาดหวังว่า จะช่วยเพิ่มศักยภาพ
ให้เด็กไทยสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของ
เยาวชนให้เกิดค้นคว้า และเกิดการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดย
ประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันให้เป็นประโยชน์ รวมถึง
ได้สัมผัสเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากผลงานวิจัยของไทย ซึ่งผลงานวิจัยเลนส์
มิวอาย เป็นผลงานแรกที่ เนคเทค/สวทช. ได้รับการสนับสนุนการวิจัยผ่านการ
ระดมทุน หรือที่เรียกว่า Crowdfunding เป็นนวัตกรรมที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรการ
ผลิตและมีแนวนโยบายที่จะให้ครู เด็กและนักเรียน ได้ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อการศึกษา
ด้านวิทยาศาสตร์ สามารถใช้งานทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูง
และมีจำ�นวนไม่เพียงพอกับสถานศึกษาต่างๆ ในประเทศ “เลนส์มิวอาย” ได้
รับการออกแบบให้มีความสามารถในการเพิ่มศักยภาพให้กับกล้องที่ติดมากับ
อุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพของวัตถุขนาด
เล็กได้ง่ายขึ้น เพื่อให้นักเรียนหรือบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสใช้เลนส์ผ่านสมาร์ทโฟน
ทดแทนกล้องจุลทรรศน์ที่มีจำ�นวนไม่เพียงพอ โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแท็บเล็ตให้
เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา และ “ฐานรองรับวัตถุแบบประกอบด้วย    
ตัวเองDo-It-Yourself(DIY)” และเมื่อนำ�มารวมเข้ากับคุณสมบัติอื่นของอุปกรณ์
พกพาอย่างการเชื่อมต่อกับเครือข่ายและความสามารถในการเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ควบคุมจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน
และการพัฒนาโปรแกรมและแอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องได้ เปรียบเสมือนการสร้าง
ห้องทดลองเคลื่อนที่ โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ
ค้นหาชีวิตมหัศจรรย์ยูกลีนา ผ่านเลนส์มิวอาย
สามารถลงทะเบียนและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์
http://fic.nectec.or.th/ หรือ  http://www.facebook.com/MuEyeLens
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
12 nstda • ธันวาคม 2558
พิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประธานคณะ
ทำ�งานฝ่ายไทย โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน (Thailand-China
Technology Transfer Center-TCTTC) และ Mr. Zhou Wenneng, Deputy
Director General of Guangxi Science and Technology Department, The
People’sRepublicofChina เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี
ไทย-จีน (Thailand-China Technology Transfer Center-TCTTC) เมื่อวันที่
25 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2) อุทยานวิทยาศาสตร์
ประเทศไทย โดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีนดังกล่าว เป็นหนึ่งในกิจกรรม
ความร่วมมือภายใต้แผนงานประจำ�ปี2558(2016WorkPlan) ของโครงการศูนย์
ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (Science and Technology Partnership Program-STEP Program)
ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยและจีน โดยมีศูนย์บริหารจัดการ
เทคโนโลยี สวทช. และ China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC)
กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคณะทำ�งาน
ฝ่ายไทยและจีนตามลำ�ดับ นอกจากนี้ คณะทำ�งานร่วมไทย-จีน ยังได้กำ�หนดให้
พิธีเปิดศูนย์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ความ
สัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนอีกด้วย
ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีนดังกล่าว จะเป็นศูนย์กลางในการดำ�เนิน
กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทย จีน
และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น การสัมมนา การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยน
นักวิจัย การร่วมจัดนิทรรศการและเจรจาธุรกิจของผู้ประกอบการในสาขาต่างๆ
ทั้งในและต่างประเทศ และการสนับสนุนฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ประกอบการ
เป็นต้น ท่านที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการเข้าร่วมกิจกรรม
หรือใช้บริการของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน ได้ที่ นายรชฏ ตันธสุรเศรษฐ์
นักพัฒนาธุรกิจ โทร. 02 564 7000 ต่อ 71689  E-mail: rachot@nstda.or.th
13ธันวาคม 2558 •
“ไข้เลือดออก”
ภัยร้าย
ที่ต้องรู้
โรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะ ยังเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่สถิติการเป็นโรคนี้ของ
คนไทยยังไม่ลดลง และล่าสุดจากข่าวดังที่พระเอกละครชื่อดังของไทยเป็นโรคนี้จนอาการถึง
ขั้นวิกฤต ทำ�ให้ประชาชนหันมาสนใจโรคนี้กันมากขึ้น....แท้จริงโรคนี้เป็นอย่างไร และมีงานวิจัย
อะไรเกี่ยวกับโรคนี้บ้าง
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
เครดิตภาพ:	1. www.iflscience.com/health-and-medicine/modifying-mosquitoes-stop-transmission-dengue-fever 2. aedes.caltech.edu/cgi-bin/hgGateway
14 nstda • ธันวาคม 2558
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย
ไข้เลือดออกติดต่อได้อย่างไร
ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร
โรคไข้เลือดออก รักษาได้อย่างไร
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
“ไข้เลือดออก” เป็นโรคระบาดร้ายแรงชนิดหนึ่งใน
แถบเขตร้อนชื้นและเป็นปัญหาที่สำ�คัญทางสาธารณสุข
ของประเทศไทยมานาน เนื่องจากมีการระบาดของโรคนี้
เป็นประจำ�ทุกปี โดยจะมีการระบาดใหญ่ในทุก 2-3 ปี ใน
ขณะที่การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคนี้ก็ยังไม่ประสบผลสำ�เร็จ
อีกทั้งยังพบว่าอาการของโรคไข้เลือดออกรุนแรงมากขึ้นใน
ผู้ติดเชื้อที่เป็นวัยผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
จากแต่เดิมที่มักพบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในเด็กเล็กหรือ
ในผู้สูงอายุ
ข้อมูลจากสำ�นักโรคติดต่อโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข ระบุว่าสถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี พ.ศ.2556 มีผู้ป่วย
รวมทั้งสิ้น154,444 ราย เสียชีวิต136 ราย คิดเป็นร้อยละ0.09 ส่วนสถานการณ์
ในปี พ.ศ.2557 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น40,278 ราย เสียชีวิต41 ราย คิดเป็นร้อยละ0.10
จะเห็นได้ว่าแม้จำ�นวนผู้ป่วยทั้งหมดของทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา จะต่างกันเกือบ 4 เท่า
แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยแทบไม่แตกต่างกันเลย
พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากการสำ�รวจ
ในปี ค.ศ. 2013 โดยองค์การอนามัยโลก
เครดิตภาพ: http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/news_detail.php?cid=1&id=1118
โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ (dengue virus) มี 4 ชนิด         
(ซีโรไทป์) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำ�โรคทั้งยุงลายบ้านและยุงลายสวน คนส่วน
ใหญ่เมื่อถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่กัดจะไม่เกิดอาการของโรค แต่จะมีเพียง     
1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อเท่านั้นที่แสดงอาการป่วย ซึ่งผู้ที่ป่วยนั้นคือผู้ที่ติดเชื้อไวรัส
เด็งกี่ครั้งที่ 2 และเป็นเชื้อคนละชนิดกับครั้งแรก หากยุงลายมากัดผู้ติดเชื้อและ
ไปกัดผู้อื่นต่อก็จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้ที่ถูกกัดต่อโดยส่งผ่านไปทางน้ำ�ลาย
ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเด็งกี่และมีอาการของโรค แบ่งได้เป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่ม
ที่มีอาการแต่ไม่รุนแรง เรียกว่าไข้เด็งกี่(Denguefever;DF) และกลุ่มที่มีอาการ
รุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ เรียกว่า โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic
fever; DHF) ซึ่งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมี 3 ระยะ ได้แก่
1. ระยะไข้สูง เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน (39-40 องศา
เซลเซียส) มีไข้สูงลอยต่อเนื่องเป็นระยะเวลา2-7 วัน ผู้ป่วยมักมีอาการหน้าแดง
ตัวแดง ปวดศีรษะ
2. ระยะวิกฤต เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุด มีการรั่วของสารน้ำ�ออก
นอกหลอดเลือด ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการซึม ตัวเย็น และอาจ
มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำ�เดาออก อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นสีดำ� มี
จุดเลือดออกที่ผิวหนัง หากมีการรั่วออกของพลาสมา(ส่วนน้ำ�เลือด) มาก ผู้ป่วย
อาจเกิดภาวะหมดสติและเสียชีวิตได้
3. ระยะพักฟื้น เมื่อผู้ป่วยผ่านพ้นระยะวิกฤตที่อันตรายไปแล้วก็จะเป็น
ระยะที่มีการดึงกลับของ พลาสมาเข้าสู่กระแสโลหิต ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่าง
รวดเร็ว และในบางรายจะมีผื่นแดงขึ้นตามตัวร่วมด้วย
การรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้คือการรักษาตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล แต่ไม่ควร
ใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากจะทำ�ให้เกิดภาวะเลือดออกได้ นอกจากนี้ยังต้องให้สารน้ำ�ชดเชย เพราะผู้ป่วยมีไข้สูง เบื่ออาหาร
และอาเจียน จึงมักทำ�ให้มีภาวะขาดน้ำ�ร่วมด้วย และที่สำ�คัญคือต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง
ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลดต้องรีบนำ�ส่งโรงพยาบาลทันทีเมื่อผู้ป่วยอยู่ในความดูแล
ของแพทย์ แพทย์จะต้องตรวจนับเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการและให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
15ธันวาคม 2558 •
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
ไข้เลือดออก ป้องกันได้อย่างไร
งานวิจัยต้านภัยไข้เลือดออก
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ใช้ได้ผลครอบคลุมเชื้อ
ไวรัสทั้ง 4 ชนิด ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด และ
กำ�จัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพื่อลดการแพร่พันธุ์ของพาหะนำ�โรคโดยการคว่ำ�ภาชนะ
ทุกชนิดที่มีน้ำ�ขัง เพื่อไม่ให้ยุงใช้เป็นที่วางไข่ และการใช้ทรายอะเบตกำ�จัดลูกน้ำ�
ยุงลาย
นักวิจัยจากหลายหน่วยงานในประเทศไทยพยายามศึกษาและวิจัยเพื่อ
ทำ�ความเข้าใจ เกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคไข้เลือดออกและกลไกของไวรัสเด็งกี่
ที่เป็นสาเหตุของโรค โดยองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้นั้นจะช่วยให้นักวิจัยสามารถ
หาแนวทางป้องกันโรค พัฒนาการตรวจวินิจฉัย และวิธีการรักษาผู้ป่วยได้อย่าง
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งมีหลายงานวิจัยที่ประสบความสำ�เร็จและได้มีการนำ�
ไปใช้งานจริงแล้ว หรืออยู่ระหว่างพัฒนาและคาดว่าจะประสบความสำ�เร็จใน
อนาคตอันใกล้ ได้แก่
• ชีวภัณฑ์กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย
ชีวภัณฑ์กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลายผลิตจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillusthuringiensis
subsp. Israelensis ซึ่งถือเป็นศัตรูตามธรรมชาติของลูกน้ำ�ยุงลาย เมื่อลูกน้ำ�ยุง
ลายกินแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไป แบคทีเรียจะสร้างผลึกโปรตีนที่เป็นพิษเข้าทำ�ลาย
กระเพาะลูกน้ำ�ยุง ทำ�ให้กระเพาะรั่วและตายในที่สุด ผลิตภัณฑ์สามารถคง
ประสิทธิภาพในการควบคุมลูกน้ำ�ยุงลายได้นานหลายสัปดาห์ ไม่เป็นอันตราย
ต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ผลงานวิจัยพัฒนาโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล
ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนา
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ บริษัท
ทีเอฟไอ กรีนไบโอเทค จำ�กัด โดยมีผลิตภัณฑ์ชื่อ “มอสคิล (Moskil)” ผลิต
จำ�หน่ายเชิงพาณิชย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. เลขที่ 1149/2555
• ชุดตรวจโปรตีน NS1 ของไวรัสเด็งกี่ที่แยกซีโรไทป์ได้ทันที
ชุดตรวจโปรตีนNS1 ของไวรัสเด็งกี่ที่แยกซีโรไทป์ได้ทันที ช่วยแพทย์
ในการวินิจฉัยโรคและทราบซีโรไทป์ของไวรัสเด็งกี่ที่ติดเชื้อในผู้ป่วยได้ในเวลา
อันรวดเร็วจึงวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด
อาการรุนแรงของโรคจนถึงขั้นช็อกและเสียชีวิต นอกจากนี้ การทราบซีโรไทป์
ของไวรัสเด็งกี่ในผู้ป่วยในขณะที่เกิดการระบาดของโรคในระยะเวลาต่างๆ
จะมีส่วนช่วยให้ภาครัฐวางแผนรับมือกับโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรค
ไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีนี้เปิดรับผู้ประกอบการ
ที่สนใจขออนุญาตใช้สิทธิหรือร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสามารถติดต่อ
ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำ�นักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช. (โทรศัพท์
0-2564-7000)
16 nstda • ธันวาคม 2558
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
• วัคซีนไข้เลือดออกตัวเลือก
คณะนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล
และหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ โดยการสนับสนุนทุน
วิจัยจาก สวทช. ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมตัดต่อยีนเชื้อไวรัสเด็งกี่ 4 ชนิด
และสร้างไวรัสพันธุ์ผสมที่อ่อนฤทธิ์ลง เพื่อพัฒนาเป็นชุดวัคซีนทดสอบชนิด
เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ลูกผสมครบทั้ง 4 ชนิด (ซีโรไทป์) และได้ให้สิทธิแก่บริษัท
ไบโอเนท-เอเชีย จำ�กัด ในการพัฒนาต่อไปเป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
ที่มีประสิทธิภาพและคาดว่าจะสามารถผลิตออกมาใช้ได้ในอนาคตอันใกล้
• ระบบสำ�รวจลูกน้ำ�ยุงลายด้วยแท็บเล็ต
ระบบสำ�รวจลูกน้ำ�ยุงลายด้วยแท็บเล็ต หรือDMLS(DengueMosquito
Larvae Survey) เป็นระบบสำ�รวจลูกน้ำ�ยุงลายที่ทำ�งานบนแท็บเล็ตแอนดรอยด์
ที่พัฒนาโดยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
(เนคเทค) สวทช. เพื่อช่วยอำ�นวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการสำ�รวจและ
บันทึกข้อมูลทางกีฏวิทยาของลูกน้ำ�ยุงลายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประมวลผลและ
รายงานสถานการณ์หรือเตือนภัยและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก
โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ร่วมกับสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี นำ�ระบบนี้
ไปใช้เป็นจังหวัดแรกก่อนที่จะขยายผลสู่จังหวัดอื่นต่อไป
17ธันวาคม 2558 •
• การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเพาะเลี้ยงอาหารสัตว์น้ำ� :ไรน้ำ�นางฟ้าและไรแดง”
• สวทช. รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ JSTP รุ่นที่ 19 ประจำ�ปี 2559
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเพาะเลี้ยงอาหารสัตว์น้ำ� :ไรน้ำ�นางฟ้าและไรแดง” ระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2558
ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี จัดโดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับวิทยาลัยเกษตร
และเทคโนโลยีสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน และผู้สนใจ เข้ามา
รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อนำ�ไปพัฒนาปรับปรุงและต่อยอดธุรกิจ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำ� รวมถึงการสร้างอาชีพให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป
ค่าลงทะเบียน คนละ 1,200 บาท ผู้เข้าอบรมจะได้รับ
• หนังสือคู่มือการเพาะเลี้ยงไรน้ำ�นางฟ้า 1 เล่ม
• เอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร จำ�นวน 1 ชุด
• ไข่ไรน้ำ�นางฟ้า หรือไข่ไรแดง
• อาหารกลางวัน และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (ตลอดการจัดอบรม)
สอบถามหรือสำ�รองที่นั่งได้ที่ ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร. 0 2564 7000 ต่อ 71405-9 โทรสาร 0 2564 7004
หรืออีเมล cup@nstda.or.th ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/rural
สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนระดับมัธยมศึกษาที่มีความ
สนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา เข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำ�หรับเด็กและ
เยาวชน หรือJuniorScienceTalentProject(JSTP) รุ่นที่19 ประจำ�ปี2559 โอกาสที่จะได้รับ อาทิ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ต่างๆ
การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ การทำ�โครงงานวิจัยโดยมีนักวิทยาศาสตร์เป็นพี่เลี้ยง การได้รับโอกาสคัดเลือกเพื่อรับทุนการ
ศึกษาและทุนวิจัยจนจบปริญญาเอก เป็นต้น น้องๆ เยาวชนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร ทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย
เปิดรับใบสมัครถึงวันที่30 ธันวาคม2558 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2564-7000 ต่อ1431,1433,
1434, 1436, 1437 อีเมล jstp@nstda.or.th หรือที่เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th/jstp/
18 nstda • ธันวาคม 2558
นักวิทย์ฯหญิงคนแรกได้รับรางวัล
วิทยาศาสตร์อาเซียนสำ�หรับสตรี
ASEAN Science Prize for Women
ดร.ณัฏฐพร พิมพะ
นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิท
หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค)
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สตรีไทยได้แสดงศักยภาพ
และความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ�ในเวทีระดับ
นานาชาติ โดยเฉพาะเป็นความภาคภูมิใจของคนใน
วงการวิทยาศาสตร์เมื่อ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ (ณัฐ)
นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและ
นาโนคอมพอสิท หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโน
เทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ได้รับรางวัล
วิทยาศาสตร์อาเซียนสำ�หรับสตรี (ASEAN Science
Prize for Women) เป็นคนแรกของรางวัลนี้ เมื่อปี
พ.ศ.2557 ซึ่งมอบให้แก่สตรีในกลุ่มประเทศอาเซียน
ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น และเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอายุไม่เกิน
40 ปี
สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้จึงขอนำ�ท่านผู้อ่านไปรู้จัก
และรับรู้เรื่องราวของเธอกันค่ะ
19ธันวาคม 2558 •
ถาม : สวัสดีค่ะ ดร.ณัฐ ก่อนอื่นขอถามถึงจุดเริ่มต้นที่ได้ก้าว
เข้ามาทำ�งานใน สวทช. ค่ะ
ตอบ : เมื่อเรียนจบมา ก็พยายามค้นหาตัวเองว่าเราต้องการอะไร อยากทำ�งาน
อะไร ในฐานะที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาล ก็อยากทำ�งานในหน่วยงานของ
ภาครัฐ ตอนนั้นถูกทาบทามจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ไปเป็นอาจารย์
ที่คณะแพทยศาสตร์ เนื่องจากหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ทำ�อยู่เกี่ยวข้องกับการใช้
พอลิเมอร์ทางการแพทย์ ในระหว่างที่กำ�ลังตัดสินใจนั้นก็ทราบข่าวว่า หน่วยงาน
วิจัยแห่งชาติ นาโนเทค สวทช. กำ�ลังเปิดรับสมัครนักวิจัย ณัฐก็คิดว่าการเป็น  
นักวิจัยน่าจะได้เหมาะกับตัวเองมากกว่า เพราะว่ามีโอกาสทำ�งานวิจัยได้เต็มที่
ได้ทำ�เรื่องใหม่ๆ และสามารถทำ�งานวิจัยได้หลากหลายมากกว่า ไม่จำ�กัดเฉพาะ
ด้านการแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้นาโนเทคโนโลยียังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และ        
น่าสนใจมาก จึงตัดสินใจเลือกที่จะมาทำ�งานที่นาโนเทค สวทช.
วันแรกที่มาทำ�งานนั้นรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน
วิจัยระดับชาติอย่าง สวทช. ในขณะนั้นนาโนเทค เพิ่งก่อตั้งได้ 1-2 ปี ยังเป็น
ศูนย์น้องใหม่ มีนักวิจัยไม่ถึง10 คน ณัฐก็ถือเป็นนักวิจัยรุ่นแรกๆ ของนาโนเทค
ค่ะ ถึงจะมีนักวิจัยจำ�นวนน้อยแต่พวกเราอยู่กันอย่างอบอุ่น พี่ๆ นักวิจัยที่เข้า
มาก่อนช่วยแนะนำ�องค์กรและนโยบาย สวทช. ซึ่งในตอนนั้นมีนโยบาย SPA ซึ่ง
เป็นการรวมกลุ่มทำ�งานวิจัยระหว่างศูนย์ ซึ่งรูปแบบการทำ�งานก็จะแตกต่างจาก
สิ่งที่เคยทำ�ในสมัยที่เรียนปริญญาเอกมาก ซึ่งในสมัยเรียนนั้นเราทำ�และรับผิดชอบ
โครงการคนเดียว แต่ชีวิตการทำ�งานต้องอาศัยความร่วมมือและความเชี่ยวชาญ
ของหลายๆ คนมาประกอบกันจึงจะทำ�ให้งานวิจัยโครงการใหญ่ๆ ประสบความ
สำ�เร็จได้ เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ ดังนั้นในตอนแรกที่เข้ามาทำ�งานก็ต้องปรับตัว
และทัศนคติค่อนข้างมาก เรียกว่าจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยค่ะ สิ่งที่ดีอีกอย่าง
นึงก็คือการได้ทำ�โครงการวิจัยร่วมคือการได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ จากศูนย์ต่างๆ ได้
เห็นมุมมองที่หลากหลายค่ะ
นอกจากเรื่องการปรับตัวจากชีวิตมหาวิทยาลัยมาอยู่ในหน่วยงานวิจัย
แล้ว การเข้ามาเป็นนักวิจัยรุ่นแรกๆ ของนาโนเทค ซึ่งศูนย์ก็เพิ่งก่อตั้งใหม่ กำ�ลัง
คนก็น้อยมาก นักวิจัยจึงต้องมาช่วยทำ�งานด้านโครงสร้างพื้นฐานของงานวิจัยด้วย
ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องมาช่วยกันออกแบบห้องปฏิบัติการ จัดซื้อครุภัณฑ์พื้นฐาน
และช่วยกันระดมสมองร่างแผนแม่บทด้านนาโนเทคโนโลยีด้วยค่ะ ซึ่งถือว่าเป็น
งานที่ยากและท้าทายมากเนื่องจากเป็นเรื่องที่อาจารย์ไม่ได้สอนในมหาวิทยาลัย
แต่เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ระหว่างการทำ�งาน
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
20 nstda • ธันวาคม 2558
ถาม : ดร.ณัฐ มีแนวทางการทำ�งาน และแนวคิดในการทำ�งาน
อย่างไรคะ
ตอบ : งานวิจัยเป็นงานที่ท้าทาย จะมีโจทย์ใหม่ๆ มีปัญหายากๆ มาให้เราคิด
ให้แก้ไขอยู่ตลอด ถือว่าเป็นความสนุกในการทำ�งาน และเป็นเสน่ห์ของงาน เมื่อ
ต้องทำ�งานที่ท้าทาย และต้องมีการปรับตัวเสมอ แนวคิดที่ควรยึดเป็นหลักในการ
ทำ�งานคือ อย่าพยายามมองว่าสิ่งนั้นๆ มันคือปัญหาหรือว่าอุปสรรค อย่าถอดใจ
อย่าคิดว่าเรื่องนี้ทำ�ไม่ได้ ถ้าเรามองว่ามันเป็นเรื่องที่ยากแล้ว ไม่ว่าจะทำ�อย่างไร
ก็ไม่มีทางสำ�เร็จ ให้คิดว่าเป็นโอกาสที่ให้เราทำ�งานที่ยากขึ้นและได้พัฒนาตัวเอง
และเรียนรู้ไปทุกวัน สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือกำ�ลังใจและความมุ่งมั่นว่าไม่มีอะไรที่เรา
ทำ�ไม่ได้  ถ้าวันนี้ทำ�ไม่ได้ วันหน้าก็ต้องทำ�ได้ ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง เมื่อตั้งเป้า
หมายหลักแล้ว การแบ่งเป้าหมายย่อยในแต่ละวันเพื่อให้สามารถทำ�ให้สำ�เร็จได้
ก็จะเป็นกำ�ลังใจให้ตัวเองทำ�งานต่อไปในแต่ละวัน เหมือนกับการค่อยๆ สะสม
ไปเรื่อยๆ สักวันก็จะบรรลุเป้าหมายค่ะ
	 การทำ�งานอยู่ในห้องแล็บอย่างเดียวอาจจะทำ�ให้เราไม่มีไอเดียใหม่ๆ
หรือมองไม่เห็นหนทางว่าเราจะทำ�อะไร ดังนั้นการไปเปิดหูเปิดตาลงพื้นที่         
ดูหน้างาน คุยกับผู้ต้องการรับเทคโนโลยีไปใช้ ก็จะทำ�ให้เราได้มุมมองใหม่ๆ รู้
ภาพรวม ทำ�ให้สามารถคิดได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ว่าเรา
จะออกแบบวัสดุหรืออุปกรณ์อย่างไรให้เหมาะสมกับการนำ�ไปใช้งานได้จริง ใช้งาน
ตรงไหน แล้วเหมาะกับผู้ใช้หรือเปล่า บางทีถ้าเราพัฒนาเทคโนโลยีที่ใหม่เกินไป
อาจไม่เหมาะสมหรือสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้ เราก็ต้องมองหาว่าเทคโนโลยี
ที่พัฒนาขึ้นจะเอาไปเสริมหรือช่วยตรงไหนที่เค้าทำ�อยู่ได้
ถาม : ผลงานที่ประทับใจของ ดร.ณัฐ มีอะไรบ้างคะ
ตอบ : ผลงานที่ประทับใจมีเยอะเลย หลักๆ ก็จะเป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัล
ASEAN Science Prize for Women ถือเป็นความภูมิใจของณัฐและทีมวิจัยด้วย
ที่พวกเราสามารถพัฒนาทำ�งานวิจัยที่สามารถนำ�ไปใช้ได้จริงและต่อยอดในเชิง
พาณิชย์ได้ งานวิจัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่ส่วนนโยบายซึ่ง สวทช.ได้เน้นให้พัฒนางาน
วิจัยให้สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริง และตอนนั้นเกิดวิกฤตน้ำ�ท่วมใหญ่ในปี
2554 พวกเราก็มาคิดหาวิธีต่างๆ ที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีองค์ความรู้อะไร
บ้างที่สามารถนำ�ไปช่วยแก้ปัญหาได้ ในตอนนั้นบ้านณัฐก็ถูกน้ำ�ท่วมด้วยเหมือน
กันและท่วมนานด้วยค่ะ ในฐานะของผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วมคนหนึ่ง สิ่งที่เราอยาก
ได้คือ “น้ำ�ดื่มสะอาด” ดังนั้นการเยียวยาผู้ประสบภัยให้มีน้ำ�ดื่มสะอาดจึงเป็น
เรื่องสำ�คัญมากในลำ�ดับต้นๆ ที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ พวกเราจึงไปปรึกษากับ
หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือด้านนี้คือสภากาชาดไทย ทางสภากาชาดไทยบอกว่า
ข้อจำ�กัดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคือรถที่ใช้ผลิตน้ำ�ดื่มสะอาดที่มีอยู่นั้นมี
ขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ชุมชนได้ทั่วถึง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำ�ท่วมขังสูง
รถเข้าไปไม่ถึง จึงอยากได้เครื่องผลิตน้ำ�ที่มีขนาดเล็กลง กะทัดรัด สามารถ
เคลื่อนย้ายลงเรือได้ เพื่อที่จะนำ�เครื่องเข้าถึงผู้ประสบภัยได้ทั่วถึงมากขึ้น ก็
เลยเป็นการบ้านมาให้พวกเราคิดว่า จะพัฒนาเครื่องที่ผู้ประสบภัยสามารถเอา
ไปใช้เองได้ในยามภัยพิบัติได้อย่างไร ถ้าเราเป็นผู้ประสบภัยเราอยากได้เครื่อง
ที่มีลักษณะอย่างไร คุณสมบัติของเครื่องมีอะไรบ้าง จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้
เวลาน้ำ�ท่วมก็มักจะพบปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้าตามมา เราจึง
พัฒนาเครื่องให้สามารถทำ�งานได้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และออกแบบให้ผู้
ใช้สามารถใช้ได้ง่าย มีกำ�ลังการผลิตที่เพียงพอต่อชุมชนประมาณ 1,000 คน
นอกจากนี้มีการพัฒนาไส้กรองด้วยนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ไส้กรองมีคุณสมบัติ
สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งเหมาะกับยามภัยพิบัติที่มีการปนเปื้อนของเชื้อใน
ปริมาณสูง โดยทั่วไปไส้กรองทั่วไปสามารถกำ�จัดเชื้อโดยผ่านการกรอง ซึ่งเชื้อที่
ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
ถ้าเรามองว่ามันเป็น
เรื่องที่ยากแล้ว ไม่ว่า
จะทำ�อย่างไรก็ไม่มี
ทางสำ�เร็จ ให้คิดว่า
เป็นโอกาสที่ให้เรา
ทำ�งานที่ยากขึ้นและ
ได้พัฒนาตัวเอง
และเรียนรู้ไปทุกวัน
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 

La actualidad más candente (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 13 ประจำเดือนเมษายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2564
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 4 เดือนกรกฎาคม 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 15 ประจำเดือนมิถุนายน 2559
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2561
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2560
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2560
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 16 ประจำเดือนกรกฎาคม 2559
 
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
Nstda Newsletter ฉบับที่ 3 เดือนมิถุนายน 2558
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2561
 

Similar a NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558

Jitmm 2008 Summary Report
Jitmm 2008 Summary ReportJitmm 2008 Summary Report
Jitmm 2008 Summary Reportpa1705
 
59 ssh e news
59 ssh e news59 ssh e news
59 ssh e newsshm-nstda
 
58 pdf e news
58 pdf e news58 pdf e news
58 pdf e newsshm-nstda
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 

Similar a NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558 (20)

NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 ประจำเดือนกรกฎาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 5 ประจำเดือนสิงหาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 8 ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561
 
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
NSTDA Newsletter ฉบับที่ 1 เดือนเมษายน 2558
 
20150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-201520150327 newsletter-april-2015
20150327 newsletter-april-2015
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
NSTDA Newsletter ปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนมีนาคม 2562
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2563
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนมิถุนายน 2565
 
CPMO e-News Jan 2010
CPMO e-News Jan 2010CPMO e-News Jan 2010
CPMO e-News Jan 2010
 
Jitmm 2008 Summary Report
Jitmm 2008 Summary ReportJitmm 2008 Summary Report
Jitmm 2008 Summary Report
 
59 ssh e news
59 ssh e news59 ssh e news
59 ssh e news
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
 
58 pdf e news
58 pdf e news58 pdf e news
58 pdf e news
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2566
 

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand

Más de National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand (8)

NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2566
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 ประจำเดือนตุลาคม 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2565
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
NSTDA Newsletter ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนเมษายน 2565
 
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
คู่มือบริหารความเสี่ยงของ สวทช. ปี 2564
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนมกราคม 2564
 

NSTDA Newsletter ฉบับที่ 9 ประจำเดือนธันวาคม 2558

  • 1. 1ธันวาคม 2558 • 3 5 10 8 12 6 17 18 บทความ Article 13“ไข้เลือดออก” ภัยร้ายที่ต้องรู้ “อุปกรณ์ช่วยผู้พิการทางสายตา” คว้ารางวัลโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 4 สวทช. ส่งฑูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ JENESYS 2015 ตะลุยแดนญี่ปุ่น ธ.กรุงเทพ สนับสนุน เนคเทค/สวทช. จัดประกวดภาพถ่าย ผ่านเลนส์มิวอาย ในโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย ก.วิทย์ฯ มอบรางวัลการประกวดการใช้ประโยชน์ กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา สัมมนา The Arctic and Climate Change พิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน กระทรวงวิทย์/สวทช.ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ และ มทร.ล้านนา ลำ�ปาง จัดงานเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่ ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 บทสัมภาษณ์ Star นักวิทย์ฯหญิงคนแรกได้รับรางวัลวิทยาศาสตร์อาเซียน สำ�หรับสตรี (ASEAN Science Prize for Women) ดร.ณัฏฐพร พิมพะ ปฏิทินกิจกรรม Activity ในเล่ม Insight ข่าว News 2
  • 2. 2 nstda • ธันวาคม 2558 นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำ�นวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ได้ดำ�เนินมา 4 ปีแล้ว เริ่ม ตั้งแต่ปี2555-2558 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่เป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่แล้วกว่า400 ทีม มีจำ�นวน270 ทีม หรือ ประมาณ630 คน ได้ร่วมอบรมความรู้ด้านพื้น ฐานธุรกิจเพื่อพัฒนาฐานความรู้สำ�คัญในการนำ�เทคโนโลยีออกสู่ตลาด เกิดการจัดตั้งธุรกิจจำ�นวนกว่า 20 ราย โดยสร้างรายได้รวมประมาณ 21 ล้านบาท และมีอัตราการจ้างงานกว่า40 อัตรา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นที่น่ายินดีกับโครงการฯที่เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีให้กับธุรกิจเทคโนโลยีรุ่นใหม่ของประเทศไทยในอนาคต คว้ารางวัลโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 4 “อุปกรณ์ช่วยผู้พิการทางสายตา” ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 นวัตกรรม “อุปกรณ์สำ�หรับผู้บกพร่องทางการมองเห็น” หรือ Visionear คว้ารางวัลสุดยอด SIA โครงการ “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี 2015” ตอบโจทย์การนำ�แนวคิดด้านนวัตกรรมใหม่ๆ สู่การทำ�ธุรกิจด้าน เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นจริง ที่สำ�คัญสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้น สำ�หรับปีหน้า “สามารถ- สวทช.” จับมือจัด “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีปี 5” สร้าง “นักธุรกิจด้านเทคโนโลยีทำ�เงินตัวจริง” ต่อเนื่อง พร้อม กำ�หนดโจทย์เพื่อค้นหาสุดยอดเทคโนโลยีที่เข้ากับยุคดิจิทัลและความต้องการนวัตกรรมด้านสังคมและ สิ่งแวดล้อม
  • 3. 3ธันวาคม 2558 • ตั้งเป้าปี ’59 ขยายผลเทคโนโลยีถั่วเขียวสู่ภาคอุตสาหกรรม ก.วิทย์/สวทช.ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ และ มทร.ล้านนา ลำ�ปาง จัดงาน เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 6 สายพันธุ์ใหม่ ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 8 พฤศจิกายน 2558 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ลำ�ปาง - สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ ม.เกษตรศาสตร์ และ มทร.ล้านนา ลำ�ปาง จัดงาน “วัน เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว” ในโอกาสครบกำ�หนดวันเก็บเกี่ยวทำ�การผลิตขยายเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวสายพันธุ์ ใหม่ 6 สายพันธุ์จำ�นวน 7 ไร่ ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์ราว 1 ตัน ตั้งเป้าปี 2559 สามารถผลิตขยายเมล็ดพันธุ์ ใหม่ให้เกษตรกรผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์จำ�นวน 500 ไร่ในจังหวัดต่างๆ และขยายผลเมล็ดพันธุ์ดีแก่เกษตรกรผู้ผลิต เมล็ดถั่วเขียวเป็นพื้นที่กว่า 7,700 ไร่ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรและภาคอุตสาหกรรมแปรรูปจาก ถั่วเขียว โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมมอบเมล็ด พันธุ์ถั่วเขียวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำ�ไปขยายผลร่วมกับ เกษตรกรต่อไป เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร และ เครือข่ายพันธมิตรสถาบันการศึกษาต่างๆ 
  • 4. 4 nstda • ธันวาคม 2558 ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กล่าวว่า “ด้วยวิกฤตปัญหาภัยแล้งในปัจจุบันและแนวโน้มอันจะเกิด ในอนาคตนั้น ภาครัฐจำ�เป็นต้องวางแผนและเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือ เกษตรกร ทั้งการเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมในแหล่งผลิต โดยคำ�นึงถึงการจัดการ น้ำ�อย่างมีประสิทธิภาพในการผลิตพืช รวมทั้งการเชื่อมโยงการผลิตสู่การตลาด และอุตสาหกรรมการแปรรูปอย่างครบวงจร เพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างมูลค่าเพิ่ม และความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมที่ใช้ถั่วเขียวเป็นวัตถุดิบ “ถั่ว เขียว” เป็นพืชทางเลือกหนึ่งสำ�หรับเกษตรกร เพาะปลูกง่าย อายุการเก็บเกี่ยวเร็ว ประมาณ65-70 วัน การปฏิบัติดูแลรักษาง่าย เป็นพืชที่ใช้น้ำ�น้อย ด้วยวงจรชีวิต ที่เป็นพืชอายุสั้น เป็นพืชทางเลือกของเกษตรสำ�หรับการปลูกทดแทนข้าวนาปรัง ปลูกก่อนข้าวโพดในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ใช้ปลูกก่อนหรือหลังการทำ�นาหรือทำ�ไร่ ช่วยตัดวงจรการระบาดของศัตรูพืช ช่วยบำ�รุงรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินตรึง ไนโตรเจนได้ดี สามารถใช้เป็นปุ๋ยพืชสดให้ปริมาณไนโตรเจนสูง”     ปี 2558 ประเทศไทยมีพื้นที่ผลิตถั่วเขียวประมาณ 829,145 ไร่ มีความ ต้องการเมล็ดพันธุ์โดยประมาณ 4,146 ตัน (คิดที่อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่) แต่รัฐผลิตได้ 617 ตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความต้องการ เมล็ดพันธุ์ทั้งประเทศ ราคาเมล็ดพันธุ์ในตลาดทั่วไปประมาณ 60 - 70 บาท/ กิโลกรัม (กรมวิชาการเกษตรจำ�หน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ 40 บาท/กิโลกรัม) ผลผลิต ถั่วเขียวมีตั้งแต่ 117 - 300 กิโลกรัมต่อไร่ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การ ดูแลจัดการ ความต้องการใช้ผลผลิตถั่วเขียวในประเทศประมาณ 100,000 ตัน ต่อปีโดยประเทศไทยมีโรงงานแปรรูปถั่วเขียวรายใหญ่ๆ ประมาณ 4 โรง ซึ่ง มีกำ�ลังการผลิตปีละ 15,000 - 20,000 ตันต่อปี ที่เหลือเป็นโรงงานขนาดกลาง และเล็กอีกกว่า 10 โรงงาน ถั่วเขียวใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแป้งวุ้นเส้น เพาะ ถั่วงอก และประกอบอาหารอื่นๆ ราคาผลผลิตที่รับซื้อในท้องตลาดประมาณ 34-38 บาท (ปี 2558) ตลาดนำ�เข้าถั่วเขียวที่สำ�คัญคือ พม่า ส่วนตลาดใน การส่งออกที่สำ�คัญ เช่น จีน ซึ่งมีศักยภาพในการรับซื้อได้อีกจำ�นวนมาก  ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการ สวทช.กล่าวว่า “ปี 2548- 2554 สวทช. สนับสนุน ศ.ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ เพื่อพัฒนาพันธุ์ถั่วเขียวไทย จากผลผลิตของ โครงการทำ�ให้ได้ถั่วเขียวสายพันธุ์ดี 6 สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิต 250-300 กิโลกรัม ต่อไร่ จุดเด่นของถั่วเขียวสายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาคือ เป็นพันธุ์เหมาะกับการปลูกใน ฤดูแล้ง ขนาดเมล็ดโต ต้านทานต่อโรคใบจุด โรคราแป้ง ซึ่งจะเป็นพันธุ์ใหม่ที่มี ศักยภาพในการส่งเสริมให้เกษตรกรนำ�ไปเพาะปลูกได้ ต่อไป โดย สวทช. ร่วม กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรม วิชาการเกษตร  และสถาบันการศึกษาในพื้นที่ได้วางแผนการขยายผลเทคโนโลยี ถั่วเขียว2 รูปแบบ คือ1) การทดสอบพันธุ์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านพันธุ์และการ ผลิตสู่เกษตรกร เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพันธุ์แต่ละพันธุ์ในแต่ละพื้นที่ รวม ถึงการให้ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีแก่เกษตรกร เช่น ร่วมกับกรม วิชาการเกษตรในการทดสอบในพื้นที่ 5 จังหวัด ในพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ ศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตรพิษณุโลก อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ และ สหกรณ์การเกษตรแม่สอด อ.แม่สอด จ.ตาก และร่วม กับกรมส่งเสริมการเกษตรทดสอบพันธุ์ในแปลงเกษตรกร เช่น ในพื้นที่ จ.อุทัยธานี และพื้นที่อื่นๆ โดยจะเริ่มดำ�เนินการปลูกในเดือนธันวาคม 2558 นี้ 2) การผลิต ขยายเมล็ดพันธุ์ และถ่ายทอดพันธุ์ให้เกษตรกรในวงกว้าง และเชื่อมโยงกับตลาด และภาคอุตสาหกรรม โดยดำ�เนินการขยายผลผ่านความร่วมมือจากหน่วยงาน ต่างๆ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ และเชื่อมโยงกับโรงงานผลิต วุ้นเส้นถั่วเขียว บ.สิทธินันท์ จำ�กัด” 
  • 5. 5ธันวาคม 2558 • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะฝ่ายเลขานุการ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามความร่วมมือ ในการแลกเปลี่ยนนักวิจัย และพัฒนาบุคลากรทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์ ขั้วโลก ร่วมกับมหาวิทยาลัยศูนย์แห่งสวาลบาร์ด (UNIS: University Centre in Svalbard) และถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งนอร์เวย์ (NPI: Norwegian Polar Institute ประเทศนอร์เวย์ ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นประธานในพิธี พร้อม ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 กันนี้ได้จัดสัมมนาเรื่อง “The Arctic and Climate Change” เพื่อการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนปัญหาภาวะโลกร้อนร่วมกัน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2558 โดย มี ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ รองประธานกรรมการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำ�ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และที่ ปรึกษาอาวุโส สวทช. เป็นประธาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.มรว. กัลยา ติงศภัทิย์ รอง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.คิม โฮลเมน สถาบันวิจัยขั้วโลกแห่ง นอร์เวย์ ศ.ดร.โอเล่ จอร์เกน โลนเน่ มหาวิทยาลัยศูนย์แห่งสวาลบาร์ด นายเชทิล เพาล์เชน เอกอัครราชทูตนอร์เวย์แห่งประเทศไทย และ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมมนา The Arctic and Climate Change จุฬาฯ, โครงการไอทีตามพระราชดำ�ริฯ /สวทช. ลงนามความร่วมมือและจัดสัมมนา “The Arctic and Climate Change” ร่วมกับ ม.สวาลบาร์ด นอร์เวย์ เพื่อความร่วมมือไทย - นอร์เวย์ แลกเปลี่ยนนักวิจัยไป ยังขั้วโลกเหนือ และเรียนรู้ปัญหาภาวะโลกร้อน
  • 6. 6 nstda • ธันวาคม 2558 สวทช. ส่งฑูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ JENESYS 2015 ตะลุยแดนญี่ปุ่น เรียนรู้วัฒนธรรมและเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานแสดงความยินดีและปฐมนิเทศแก่น้องๆ ฑูตเยาวชนวิทยาศาสตร์ไทยจำ�นวน 29 คนที่ได้รับ คัดเลือกเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศอาเซียนหรือ JENESYS 2015 จำ�นวน 10 วัน ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว และเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างไทยและญี่ปุ่น พร้อมเสริมสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี โดยมี ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. และนายชิโร่ เทราชิมา (Shiro Terashima) เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำ�ประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดี
  • 7. 7ธันวาคม 2558 • ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ สวทช. เปิดเผยว่า “สถาน เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ�ประเทศไทย ได้ขอความร่วมมือให้สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำ�เนิน การคัดเลือกเยาวชนไทยเข้าร่วมโครงการ JENESYS 2015 (1st Batch : Group B - Technology Program) ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 8 ธันวาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว และเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น โดยทางรัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนค่า ใช้จ่ายในการเดินทางและเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด โดยเยาวชนจะได้เดินทาง ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เรียนรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ� เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นด้วยการพัก อาศัยกับชาวญี่ปุ่นแบบโฮมสเตย์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมของไทยกับ ญี่ปุ่นและกลุ่มอาเซียนด้วย ซึ่งมีเยาวชนที่ได้รับคัดเลือกทั้งสิ้นจำ�นวน29 คน จาก มหาวิทยาลัย 20 แห่งทั่วประเทศ” ด้าน นายชิโร่ เทราชิมา (Shiro Terashima) เลขานุการเอก สถาน เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำ�ประเทศไทย เปิดเผยว่า “โครงการ JENESYS หรือ Japan-East Asia Network of Exchange for Students and Youths ในปี 2015 ดำ�เนินการตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ประสงค์จะได้เกิดการแลกเปลี่ยน เยาวชน ระหว่างประเทศญี่ปุ่น ประเทศสมาชิกอาเซียน และกลุ่มโอเชียเนีย ซึ่ง คาดการณ์ว่าจะมีเยาวชนจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเข้าร่วมกว่า 1,840 คน ร่วม กับเยาวชนญี่ปุ่น250 คน เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และส่งเสริม การสร้างความเข้าใจในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศญี่ปุ่นใน ภาพกว้างขึ้น โดยโครงการนี้เริ่มแรกวางไว้ที่5 ปีตั้งแต่ปี2007 แต่ปัจจุบันดำ�เนิน โครงการต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 8 แล้ว เพื่อมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ประเทศญี่ปุ่นและประเทศในแถบ ภูมิภาคอาเซียนให้มากขึ้น โดยเน้นที่กลุ่มเด็ก และเยาวชนเป็นหลัก” “โดยโครงการ JENESYS 2015 (1st Batch : Group B - Technology Program) น้องๆ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้เดินทางไปทัศนศึกษา ณ กรุง โตเกียว และจังหวัดโออิตะในเกาะคิวชู เป็นเวลา 10 วัน เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรม ทั้งเมืองใหญ่และเมืองเล็กของญี่ปุ่น รวมทั้งได้เรียนรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมล่าสุดของ ประเทศญี่ปุ่นว่ามีอะไรบ้าง และมีเทคโนโลยีประเภทใดบ้างที่ประเทศญี่ปุ่นมีความ เชี่ยวชาญเป็นอย่างมาก โดยในกรุงโตเกียวจะได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ซึ่งจะมีการจัดแสดงผลงานนิทรรศการของนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่น 2 ท่านที่ได้รับ รางวัลโนเบลเมื่อเร็วๆ นี้ ผมหวังว่าน้องๆ ที่ได้ไปศึกษาที่นี่จะได้รับแรงบันดาล ใจและในอนาคตจะได้มีโอกาสชนะรางวัลโนเบลบ้าง ขณะที่การไปทัศนศึกษาที่ จังหวัดโออิตะ ที่เป็นจังหวัดเล็กๆ ทางเกาะคิวชูทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น จะ เดินทางไปเยี่ยมชมโรงงานและบริษัทต่างๆ ของญี่ปุ่นเพื่อศึกษาและดูงานเกี่ยวกับ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ โดยจังหวัดนี้มีบ่อน้ำ�ร้อนเป็นจำ�นวนมาก น้องๆ จะได้สัมผัสกับวัฒนธรรมการอาบน้ำ�แร่ออนเซ็นด้วย นับเป็นการเรียนรู้วัฒนธรรม ญี่ปุ่นและเสริมประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเยาวชนไทยได้ เป็นอย่างดี” นายชิโร่ เทราชิมา กล่าวสรุป
  • 8. 8 nstda • ธันวาคม 2558 23 พฤศจิกายน 2558 รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็น ประธานในพิธีมอบรางวัลการประกวดการใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวี ซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา ซึ่งจัด โดย สำ�นักงานพัฒนาวิทศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท วีนิไทย จำ�กัด (มหาชน) เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและยกย่องในพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวในการทรงเป็นนักประดิษฐ์ ฯ ณ เวทีกลาง อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทอง ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 เฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา ก.วิทย์ฯ มอบรางวัลการประกวด การใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซี
  • 9. 9ธันวาคม 2558 • ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 รศ.ดร.วีระพงษ์ กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็น รากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน การสร้างพื้น ฐานที่เข้มแข็งต้องเริ่มจากการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนไทยมีความสนใจ ใฝ่รู้ มีทักษะและแนวความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ สิ่งที่เราต้องช่วยกันขับเคลื่อน คือ ทลายกำ�แพงความคิดว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัวหรือเรื่องยาก เพราะอัน ที่จริงวิทยาศาสตร์คือธรรมชาติของสรรพสิ่ง ดังนั้นการสร้างโอกาสให้เด็กและ เยาวชนได้เข้าใจ ได้ลงมือทำ�จริง คิดค้นแก้ไขปัญหาคำ�ตอบด้วยตนเอง จึงเป็น เสมือนการบ่มเพาะต้นไม้แห่งอนาคตของชาติให้เจริญเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์และ เข้มแข็ง และขอชื่นชมบริษัท วินีไทย จำ�กัด (มหาชน) ที่ร่วมกับ สวทช. ดำ�เนิน โครงการที่มีความสำ�คัญต่อการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้แก่เยาวชนเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติและยกย่องใน อัจฉริยภาพการทรงเป็นนักประดิษฐ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และส่ง เสริมการต่อยอดโครงการโดยการจัดประกวดผลงานการใช้ประโยชน์กล้องดูดาว พีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ ก็ยิ่งเป็นการกระตุ้นให้กระบวนการเรียนรู้ภายในโรงเรียน ที่เข้าร่วโครงการมีการพัฒนาต่อยอดยิ่งขึ้นไป ดร.อ้อมใจ ไทรเมฆ สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ชาติ(สวทช.) กล่าวว่า สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ บริษัท วีนิไทย จำ�กัด (มหาชน) ได้มีความร่วมมือในโครงการ “กล้องดูดาวพีวีซี เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเนื่อง ในโอกาสพระราช พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา7 รอบ5 ธันวาคม2558 โดยดำ�เนินกิจกรรม ค่ายวิศวกรรม “กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ84 พรรษา” ซึ่งการจัดกิจกรรม เป็นไปตามพันธกิจพัฒนากำ�ลังคนและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำ�เสนอโครงการที่มีความสำ�คัญต่อการ พัฒนาความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และการสร้างสิ่งประดิษฐ์ให้ แก่เยาวชนไทย โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะกระบวนการ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านกิจกรรมการออกแบบปละสร้างกล้องดูดาวซึ่งใช้ท่อ พีวีซีเป็นส่วนหนึ่งในการประกอบ การดำ�เนินโครงการ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2554-2556 ซึ่งได้จัด กิจกรรมค่ายฯ จำ�นวน8 ครั้ง มีโรงเรียนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม ค่ายจำ�นวน 84 โรงเรียน โดยโรงเรียนจากจังหวัดต่างๆคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาและสำ�นักการศึกษากรุงเทพมหานคร คัดเลือก โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเข้าร่วมโครงการ มีนักเรียน จำ�นวน462 คน และ ครู 107 คน ผ่านกิจกรรมค่ายดังกล่าวและโครงการได้มอบกล้องดูดาว ขนาด 8 นิ้ว ให้ทุกโรงเรียนที่ร่วมโครงการและมอบกล้องขนาด12 นิ้วให้ศูนย์วิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษา เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ใช้เป็นสื่อเรียนรู้แก่เยาวชนและสาธารณชน ต่อไป   ในปี 2556 บริษัท วีนิไทย จำ�กัด (มหาชน) ได้ริเริ่มโครงการประกวด การใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซีเฉลิมพระเกียรติฯ 84 พรรษา เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนให้โรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการกล้องดูดาวพีวีซี เฉลิมพระเกียรติฯ ได้ใช้ประโยชน์กล้องดูดาวพีวีซีที่ได้รับมอบให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งมีโรงเรียน 16 โรงเรียน สมัครเข้าร่วมโครงการประกวด และมีการตัดสินผลงานเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2558 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยาวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดย มีโรงเรียนที่ชนะการประกวดและเข้ารับรางวัลในวันนี้ ประกอบด้วย รางวัชนะเลิศ โรงเรียนมัธยมนาคมนาวาอุปถัมภ์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ1 โรงเรียนโพนทองพัฒนาวิทยา จังหวัดร้อยเอ็ด รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวิไลเกียรติอุปถัมภ์ จังหวัดแพร่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 โรงเรียนตะโหมดจังหวัดพัทลุงและโรงเรียน วัดป่าประดู่ จังหวัดระยอง
  • 10. ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 10 nstda • ธันวาคม 2558 ธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) สนับสนุน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนา นวัตกรรม เปิดมุมมองให้เด็กไทยผ่านโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย จัดประกวดภาพถ่ายผ่านเลนส์มิวอาย ในโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย ธ.กรุงเทพ สนับสนุน เนคเทค/สวทช. ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำ�นวยการสำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า เนคเทค/สวทช. ได้รับการสนับสนุน จาก ธนาคารกรุงเทพ ในจัดโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย ซึ่งโครงการดังกล่าว สืบเนื่องจากแนวคิดของโครงการ “เพื่อนคู่คิดธุรกิจนวัตกรรม” มุ่งส่งเสริมการนำ� วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้เป็นฐานในการเสริมสร้างความเข็ม แข็งให้กับภาคธุรกิจของประเทศไทย ที่ผ่านมา ธนาคารกรุงเทพ ให้การสนับสนุน กับ สวทช. ในโครงการดังกล่าว ในด้านต่างๆ ได้แก่ โครงการติดอาวุธเทคโนโลยี ผู้ประกอบการค้าปลีกไทยยุคเศรษฐกิจดิจิทัล การจัดงาน Springboard Smart SMEsSummit และNSTDAInvestors’Day2015 การจัดทำ�หนังสือ “ThePower of R&D” การจัดสัมมนาเทคโนโลยีใหม่ที่น่าจับตามองสำ�หรับนักธุรกิจ (Techno logy Seminar) การจัดกิจกรรมเปิดบ้านงานวิจัยที่พร้อมต่อยอดสำ�หรับนักธุรกิจ (Open House) โดยกิจกรรมที่ผ่านนั้น จะช่วยสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับ
  • 11. ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 11ธันวาคม 2558 • ส่วนราชการ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อเชื่อมโยงให้นักวิทยาศาสตร์ไทย ได้ทำ�งานกันอย่างใกล้ชิด และเข้าถึงความต้องการของทั้งภาคการเกษตรและ ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สำ�หรับโครงการบัวหลวงเพื่อมิวอาย โครงการนี้นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก ธนาคารกรุงเทพ ให้ผลิตชุดอุปกรณ์พร้อมเลนส์มิวอาย จำ�นวน 2,000 ชุด โดย เนคเทค/สวทช. ได้จัดกิจกรรมการจัดประกวดภาพถ่าย ในหัวข้อค้นหาชีวิตมหัศจรรย์ ยูกลีนา ผ่านเลนส์มิวอาย และจะนำ�เลนส์มิวอาย ส่งมอบให้กับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำ�นวน200 ชุด และมอบให้กับ โรงเรียนในโครงการการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ทั่วประเทศ จำ�นวน 1,800 ชุด กิจกรรมดังกล่าวนี้ เนคเทค/สวทช. คาดหวังว่า จะช่วยเพิ่มศักยภาพ ให้เด็กไทยสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระตุ้นความสนใจใฝ่รู้ของ เยาวชนให้เกิดค้นคว้า และเกิดการใช้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดย ประยุกต์ใช้สิ่งต่างๆ รอบตัวที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำ�วันให้เป็นประโยชน์ รวมถึง ได้สัมผัสเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากผลงานวิจัยของไทย ซึ่งผลงานวิจัยเลนส์ มิวอาย เป็นผลงานแรกที่ เนคเทค/สวทช. ได้รับการสนับสนุนการวิจัยผ่านการ ระดมทุน หรือที่เรียกว่า Crowdfunding เป็นนวัตกรรมที่ได้ยื่นจดสิทธิบัตรการ ผลิตและมีแนวนโยบายที่จะให้ครู เด็กและนักเรียน ได้ใช้อุปกรณ์นี้เพื่อการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ สามารถใช้งานทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูง และมีจำ�นวนไม่เพียงพอกับสถานศึกษาต่างๆ ในประเทศ “เลนส์มิวอาย” ได้ รับการออกแบบให้มีความสามารถในการเพิ่มศักยภาพให้กับกล้องที่ติดมากับ อุปกรณ์พกพาอย่างแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือในการบันทึกภาพของวัตถุขนาด เล็กได้ง่ายขึ้น เพื่อให้นักเรียนหรือบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสใช้เลนส์ผ่านสมาร์ทโฟน ทดแทนกล้องจุลทรรศน์ที่มีจำ�นวนไม่เพียงพอ โดยเน้นไปที่การเปลี่ยนแท็บเล็ตให้ เป็นกล้องจุลทรรศน์ดิจิทัลแบบพกพา และ “ฐานรองรับวัตถุแบบประกอบด้วย ตัวเองDo-It-Yourself(DIY)” และเมื่อนำ�มารวมเข้ากับคุณสมบัติอื่นของอุปกรณ์ พกพาอย่างการเชื่อมต่อกับเครือข่ายและความสามารถในการเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ควบคุมจะช่วยให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล เกิดการเรียนรู้ระหว่างกัน และการพัฒนาโปรแกรมและแอปพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องได้ เปรียบเสมือนการสร้าง ห้องทดลองเคลื่อนที่ โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดภาพถ่ายในหัวข้อ ค้นหาชีวิตมหัศจรรย์ยูกลีนา ผ่านเลนส์มิวอาย สามารถลงทะเบียนและดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่เว็บไซต์ http://fic.nectec.or.th/ หรือ http://www.facebook.com/MuEyeLens
  • 12. ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 12 nstda • ธันวาคม 2558 พิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำ�นวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประธานคณะ ทำ�งานฝ่ายไทย โครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน (Thailand-China Technology Transfer Center-TCTTC) และ Mr. Zhou Wenneng, Deputy Director General of Guangxi Science and Technology Department, The People’sRepublicofChina เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ไทย-จีน (Thailand-China Technology Transfer Center-TCTTC) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2) อุทยานวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย โดยศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีนดังกล่าว เป็นหนึ่งในกิจกรรม ความร่วมมือภายใต้แผนงานประจำ�ปี2558(2016WorkPlan) ของโครงการศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน ภายใต้กรอบความร่วมมือหุ้นส่วนวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี (Science and Technology Partnership Program-STEP Program) ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยและจีน โดยมีศูนย์บริหารจัดการ เทคโนโลยี สวทช. และ China-ASEAN Technology Transfer Center (CATTC) กรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นคณะทำ�งาน ฝ่ายไทยและจีนตามลำ�ดับ นอกจากนี้ คณะทำ�งานร่วมไทย-จีน ยังได้กำ�หนดให้ พิธีเปิดศูนย์ดังกล่าวเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 40 ปี ความ สัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีนอีกด้วย ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีนดังกล่าว จะเป็นศูนย์กลางในการดำ�เนิน กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทย จีน และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น การสัมมนา การฝึกอบรม การแลกเปลี่ยน นักวิจัย การร่วมจัดนิทรรศการและเจรจาธุรกิจของผู้ประกอบการในสาขาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ และการสนับสนุนฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ประกอบการ เป็นต้น ท่านที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมการเข้าร่วมกิจกรรม หรือใช้บริการของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย-จีน ได้ที่ นายรชฏ ตันธสุรเศรษฐ์ นักพัฒนาธุรกิจ โทร. 02 564 7000 ต่อ 71689 E-mail: rachot@nstda.or.th
  • 13. 13ธันวาคม 2558 • “ไข้เลือดออก” ภัยร้าย ที่ต้องรู้ โรคไข้เลือดออก ที่มียุงลายเป็นพาหะ ยังเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่สถิติการเป็นโรคนี้ของ คนไทยยังไม่ลดลง และล่าสุดจากข่าวดังที่พระเอกละครชื่อดังของไทยเป็นโรคนี้จนอาการถึง ขั้นวิกฤต ทำ�ให้ประชาชนหันมาสนใจโรคนี้กันมากขึ้น....แท้จริงโรคนี้เป็นอย่างไร และมีงานวิจัย อะไรเกี่ยวกับโรคนี้บ้าง ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 เครดิตภาพ: 1. www.iflscience.com/health-and-medicine/modifying-mosquitoes-stop-transmission-dengue-fever 2. aedes.caltech.edu/cgi-bin/hgGateway
  • 14. 14 nstda • ธันวาคม 2558 สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ไข้เลือดออกติดต่อได้อย่างไร ผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร โรคไข้เลือดออก รักษาได้อย่างไร ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 “ไข้เลือดออก” เป็นโรคระบาดร้ายแรงชนิดหนึ่งใน แถบเขตร้อนชื้นและเป็นปัญหาที่สำ�คัญทางสาธารณสุข ของประเทศไทยมานาน เนื่องจากมีการระบาดของโรคนี้ เป็นประจำ�ทุกปี โดยจะมีการระบาดใหญ่ในทุก 2-3 ปี ใน ขณะที่การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคนี้ก็ยังไม่ประสบผลสำ�เร็จ อีกทั้งยังพบว่าอาการของโรคไข้เลือดออกรุนแรงมากขึ้นใน ผู้ติดเชื้อที่เป็นวัยผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง จากแต่เดิมที่มักพบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในเด็กเล็กหรือ ในผู้สูงอายุ ข้อมูลจากสำ�นักโรคติดต่อโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวง สาธารณสุข ระบุว่าสถานการณ์ไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี พ.ศ.2556 มีผู้ป่วย รวมทั้งสิ้น154,444 ราย เสียชีวิต136 ราย คิดเป็นร้อยละ0.09 ส่วนสถานการณ์ ในปี พ.ศ.2557 มีผู้ป่วยทั้งสิ้น40,278 ราย เสียชีวิต41 ราย คิดเป็นร้อยละ0.10 จะเห็นได้ว่าแม้จำ�นวนผู้ป่วยทั้งหมดของทั้ง 2 ปีที่ผ่านมา จะต่างกันเกือบ 4 เท่า แต่อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยแทบไม่แตกต่างกันเลย พื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคไข้เลือดออก ข้อมูลจากการสำ�รวจ ในปี ค.ศ. 2013 โดยองค์การอนามัยโลก เครดิตภาพ: http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/news_detail.php?cid=1&id=1118 โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี่ (dengue virus) มี 4 ชนิด (ซีโรไทป์) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำ�โรคทั้งยุงลายบ้านและยุงลายสวน คนส่วน ใหญ่เมื่อถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเด็งกี่กัดจะไม่เกิดอาการของโรค แต่จะมีเพียง 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อเท่านั้นที่แสดงอาการป่วย ซึ่งผู้ที่ป่วยนั้นคือผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เด็งกี่ครั้งที่ 2 และเป็นเชื้อคนละชนิดกับครั้งแรก หากยุงลายมากัดผู้ติดเชื้อและ ไปกัดผู้อื่นต่อก็จะแพร่เชื้อไปสู่ผู้ที่ถูกกัดต่อโดยส่งผ่านไปทางน้ำ�ลาย ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเด็งกี่และมีอาการของโรค แบ่งได้เป็น2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ที่มีอาการแต่ไม่รุนแรง เรียกว่าไข้เด็งกี่(Denguefever;DF) และกลุ่มที่มีอาการ รุนแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ เรียกว่า โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever; DHF) ซึ่งผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมี 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะไข้สูง เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน (39-40 องศา เซลเซียส) มีไข้สูงลอยต่อเนื่องเป็นระยะเวลา2-7 วัน ผู้ป่วยมักมีอาการหน้าแดง ตัวแดง ปวดศีรษะ 2. ระยะวิกฤต เป็นระยะที่มีอันตรายมากที่สุด มีการรั่วของสารน้ำ�ออก นอกหลอดเลือด ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการซึม ตัวเย็น และอาจ มีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำ�เดาออก อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายเป็นสีดำ� มี จุดเลือดออกที่ผิวหนัง หากมีการรั่วออกของพลาสมา(ส่วนน้ำ�เลือด) มาก ผู้ป่วย อาจเกิดภาวะหมดสติและเสียชีวิตได้ 3. ระยะพักฟื้น เมื่อผู้ป่วยผ่านพ้นระยะวิกฤตที่อันตรายไปแล้วก็จะเป็น ระยะที่มีการดึงกลับของ พลาสมาเข้าสู่กระแสโลหิต ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่าง รวดเร็ว และในบางรายจะมีผื่นแดงขึ้นตามตัวร่วมด้วย การรักษาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันนี้คือการรักษาตามอาการ โดยให้ยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล แต่ไม่ควร ใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากจะทำ�ให้เกิดภาวะเลือดออกได้ นอกจากนี้ยังต้องให้สารน้ำ�ชดเชย เพราะผู้ป่วยมีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน จึงมักทำ�ให้มีภาวะขาดน้ำ�ร่วมด้วย และที่สำ�คัญคือต้องติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลดต้องรีบนำ�ส่งโรงพยาบาลทันทีเมื่อผู้ป่วยอยู่ในความดูแล ของแพทย์ แพทย์จะต้องตรวจนับเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเพื่อวินิจฉัยอาการและให้การดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
  • 15. 15ธันวาคม 2558 • ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 ไข้เลือดออก ป้องกันได้อย่างไร งานวิจัยต้านภัยไข้เลือดออก ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ใช้ได้ผลครอบคลุมเชื้อ ไวรัสทั้ง 4 ชนิด ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกยุงกัด และ กำ�จัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงเพื่อลดการแพร่พันธุ์ของพาหะนำ�โรคโดยการคว่ำ�ภาชนะ ทุกชนิดที่มีน้ำ�ขัง เพื่อไม่ให้ยุงใช้เป็นที่วางไข่ และการใช้ทรายอะเบตกำ�จัดลูกน้ำ� ยุงลาย นักวิจัยจากหลายหน่วยงานในประเทศไทยพยายามศึกษาและวิจัยเพื่อ ทำ�ความเข้าใจ เกี่ยวกับกลไกการเกิดโรคไข้เลือดออกและกลไกของไวรัสเด็งกี่ ที่เป็นสาเหตุของโรค โดยองค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้นั้นจะช่วยให้นักวิจัยสามารถ หาแนวทางป้องกันโรค พัฒนาการตรวจวินิจฉัย และวิธีการรักษาผู้ป่วยได้อย่าง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งมีหลายงานวิจัยที่ประสบความสำ�เร็จและได้มีการนำ� ไปใช้งานจริงแล้ว หรืออยู่ระหว่างพัฒนาและคาดว่าจะประสบความสำ�เร็จใน อนาคตอันใกล้ ได้แก่ • ชีวภัณฑ์กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลาย ชีวภัณฑ์กำ�จัดลูกน้ำ�ยุงลายผลิตจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillusthuringiensis subsp. Israelensis ซึ่งถือเป็นศัตรูตามธรรมชาติของลูกน้ำ�ยุงลาย เมื่อลูกน้ำ�ยุง ลายกินแบคทีเรียชนิดนี้เข้าไป แบคทีเรียจะสร้างผลึกโปรตีนที่เป็นพิษเข้าทำ�ลาย กระเพาะลูกน้ำ�ยุง ทำ�ให้กระเพาะรั่วและตายในที่สุด ผลิตภัณฑ์สามารถคง ประสิทธิภาพในการควบคุมลูกน้ำ�ยุงลายได้นานหลายสัปดาห์ ไม่เป็นอันตราย ต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ผลงานวิจัยพัฒนาโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำ�นักงานพัฒนา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ บริษัท ทีเอฟไอ กรีนไบโอเทค จำ�กัด โดยมีผลิตภัณฑ์ชื่อ “มอสคิล (Moskil)” ผลิต จำ�หน่ายเชิงพาณิชย์ และได้รับการขึ้นทะเบียน จาก อย. เลขที่ 1149/2555 • ชุดตรวจโปรตีน NS1 ของไวรัสเด็งกี่ที่แยกซีโรไทป์ได้ทันที ชุดตรวจโปรตีนNS1 ของไวรัสเด็งกี่ที่แยกซีโรไทป์ได้ทันที ช่วยแพทย์ ในการวินิจฉัยโรคและทราบซีโรไทป์ของไวรัสเด็งกี่ที่ติดเชื้อในผู้ป่วยได้ในเวลา อันรวดเร็วจึงวางแผนการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด อาการรุนแรงของโรคจนถึงขั้นช็อกและเสียชีวิต นอกจากนี้ การทราบซีโรไทป์ ของไวรัสเด็งกี่ในผู้ป่วยในขณะที่เกิดการระบาดของโรคในระยะเวลาต่างๆ จะมีส่วนช่วยให้ภาครัฐวางแผนรับมือกับโอกาสที่จะเกิดการระบาดของโรค ไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีนี้เปิดรับผู้ประกอบการ ที่สนใจขออนุญาตใช้สิทธิหรือร่วมวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสามารถติดต่อ ขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำ�นักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี สวทช. (โทรศัพท์ 0-2564-7000)
  • 16. 16 nstda • ธันวาคม 2558 ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 • วัคซีนไข้เลือดออกตัวเลือก คณะนักวิจัยไทยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ โดยการสนับสนุนทุน วิจัยจาก สวทช. ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมตัดต่อยีนเชื้อไวรัสเด็งกี่ 4 ชนิด และสร้างไวรัสพันธุ์ผสมที่อ่อนฤทธิ์ลง เพื่อพัฒนาเป็นชุดวัคซีนทดสอบชนิด เชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ลูกผสมครบทั้ง 4 ชนิด (ซีโรไทป์) และได้ให้สิทธิแก่บริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำ�กัด ในการพัฒนาต่อไปเป็นวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ที่มีประสิทธิภาพและคาดว่าจะสามารถผลิตออกมาใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ • ระบบสำ�รวจลูกน้ำ�ยุงลายด้วยแท็บเล็ต ระบบสำ�รวจลูกน้ำ�ยุงลายด้วยแท็บเล็ต หรือDMLS(DengueMosquito Larvae Survey) เป็นระบบสำ�รวจลูกน้ำ�ยุงลายที่ทำ�งานบนแท็บเล็ตแอนดรอยด์ ที่พัฒนาโดยนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. เพื่อช่วยอำ�นวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในการสำ�รวจและ บันทึกข้อมูลทางกีฏวิทยาของลูกน้ำ�ยุงลายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อประมวลผลและ รายงานสถานการณ์หรือเตือนภัยและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ร่วมกับสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี นำ�ระบบนี้ ไปใช้เป็นจังหวัดแรกก่อนที่จะขยายผลสู่จังหวัดอื่นต่อไป
  • 17. 17ธันวาคม 2558 • • การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเพาะเลี้ยงอาหารสัตว์น้ำ� :ไรน้ำ�นางฟ้าและไรแดง” • สวทช. รับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ JSTP รุ่นที่ 19 ประจำ�ปี 2559 ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 ขอเชิญผู้สนใจสมัครเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การเพาะเลี้ยงอาหารสัตว์น้ำ� :ไรน้ำ�นางฟ้าและไรแดง” ระหว่างวันที่ 19-20 ธันวาคม 2558 ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี จัดโดย สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) ร่วมกับวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาคเอกชน และผู้สนใจ เข้ามา รับการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อนำ�ไปพัฒนาปรับปรุงและต่อยอดธุรกิจ ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตสัตว์น้ำ� รวมถึงการสร้างอาชีพให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป ค่าลงทะเบียน คนละ 1,200 บาท ผู้เข้าอบรมจะได้รับ • หนังสือคู่มือการเพาะเลี้ยงไรน้ำ�นางฟ้า 1 เล่ม • เอกสารประกอบการบรรยายของวิทยากร จำ�นวน 1 ชุด • ไข่ไรน้ำ�นางฟ้า หรือไข่ไรแดง • อาหารกลางวัน และอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม (ตลอดการจัดอบรม) สอบถามหรือสำ�รองที่นั่งได้ที่ ฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120 โทร. 0 2564 7000 ต่อ 71405-9 โทรสาร 0 2564 7004 หรืออีเมล cup@nstda.or.th ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/rural สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดรับสมัครเด็กและเยาวชนระดับมัธยมศึกษาที่มีความ สนใจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา เข้าร่วมโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำ�หรับเด็กและ เยาวชน หรือJuniorScienceTalentProject(JSTP) รุ่นที่19 ประจำ�ปี2559 โอกาสที่จะได้รับ อาทิ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ต่างๆ การเข้าค่ายวิทยาศาสตร์ การทำ�โครงงานวิจัยโดยมีนักวิทยาศาสตร์เป็นพี่เลี้ยง การได้รับโอกาสคัดเลือกเพื่อรับทุนการ ศึกษาและทุนวิจัยจนจบปริญญาเอก เป็นต้น น้องๆ เยาวชนที่สนใจสามารถดาวน์โหลดใบสมัคร ทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย เปิดรับใบสมัครถึงวันที่30 ธันวาคม2558 โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร.0-2564-7000 ต่อ1431,1433, 1434, 1436, 1437 อีเมล jstp@nstda.or.th หรือที่เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th/jstp/
  • 18. 18 nstda • ธันวาคม 2558 นักวิทย์ฯหญิงคนแรกได้รับรางวัล วิทยาศาสตร์อาเซียนสำ�หรับสตรี ASEAN Science Prize for Women ดร.ณัฏฐพร พิมพะ นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและนาโนคอมพอสิท หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 เป็นอีกครั้งหนึ่งที่สตรีไทยได้แสดงศักยภาพ และความสามารถในด้านการเป็นผู้นำ�ในเวทีระดับ นานาชาติ โดยเฉพาะเป็นความภาคภูมิใจของคนใน วงการวิทยาศาสตร์เมื่อ ดร.ณัฏฐพร พิมพะ (ณัฐ) นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการโครงสร้างนาโนไฮบริดและ นาโนคอมพอสิท หน่วยวิจัยนาโนเทคโนโลยี ศูนย์นาโน เทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. ได้รับรางวัล วิทยาศาสตร์อาเซียนสำ�หรับสตรี (ASEAN Science Prize for Women) เป็นคนแรกของรางวัลนี้ เมื่อปี พ.ศ.2557 ซึ่งมอบให้แก่สตรีในกลุ่มประเทศอาเซียน ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น และเป็นคนรุ่นใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี สัมภาษณ์พิเศษฉบับนี้จึงขอนำ�ท่านผู้อ่านไปรู้จัก และรับรู้เรื่องราวของเธอกันค่ะ
  • 19. 19ธันวาคม 2558 • ถาม : สวัสดีค่ะ ดร.ณัฐ ก่อนอื่นขอถามถึงจุดเริ่มต้นที่ได้ก้าว เข้ามาทำ�งานใน สวทช. ค่ะ ตอบ : เมื่อเรียนจบมา ก็พยายามค้นหาตัวเองว่าเราต้องการอะไร อยากทำ�งาน อะไร ในฐานะที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาล ก็อยากทำ�งานในหน่วยงานของ ภาครัฐ ตอนนั้นถูกทาบทามจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้ไปเป็นอาจารย์ ที่คณะแพทยศาสตร์ เนื่องจากหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ทำ�อยู่เกี่ยวข้องกับการใช้ พอลิเมอร์ทางการแพทย์ ในระหว่างที่กำ�ลังตัดสินใจนั้นก็ทราบข่าวว่า หน่วยงาน วิจัยแห่งชาติ นาโนเทค สวทช. กำ�ลังเปิดรับสมัครนักวิจัย ณัฐก็คิดว่าการเป็น นักวิจัยน่าจะได้เหมาะกับตัวเองมากกว่า เพราะว่ามีโอกาสทำ�งานวิจัยได้เต็มที่ ได้ทำ�เรื่องใหม่ๆ และสามารถทำ�งานวิจัยได้หลากหลายมากกว่า ไม่จำ�กัดเฉพาะ ด้านการแพทย์เท่านั้น นอกจากนี้นาโนเทคโนโลยียังเป็นเทคโนโลยีที่ใหม่และ น่าสนใจมาก จึงตัดสินใจเลือกที่จะมาทำ�งานที่นาโนเทค สวทช. วันแรกที่มาทำ�งานนั้นรู้สึกดีใจมากที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงาน วิจัยระดับชาติอย่าง สวทช. ในขณะนั้นนาโนเทค เพิ่งก่อตั้งได้ 1-2 ปี ยังเป็น ศูนย์น้องใหม่ มีนักวิจัยไม่ถึง10 คน ณัฐก็ถือเป็นนักวิจัยรุ่นแรกๆ ของนาโนเทค ค่ะ ถึงจะมีนักวิจัยจำ�นวนน้อยแต่พวกเราอยู่กันอย่างอบอุ่น พี่ๆ นักวิจัยที่เข้า มาก่อนช่วยแนะนำ�องค์กรและนโยบาย สวทช. ซึ่งในตอนนั้นมีนโยบาย SPA ซึ่ง เป็นการรวมกลุ่มทำ�งานวิจัยระหว่างศูนย์ ซึ่งรูปแบบการทำ�งานก็จะแตกต่างจาก สิ่งที่เคยทำ�ในสมัยที่เรียนปริญญาเอกมาก ซึ่งในสมัยเรียนนั้นเราทำ�และรับผิดชอบ โครงการคนเดียว แต่ชีวิตการทำ�งานต้องอาศัยความร่วมมือและความเชี่ยวชาญ ของหลายๆ คนมาประกอบกันจึงจะทำ�ให้งานวิจัยโครงการใหญ่ๆ ประสบความ สำ�เร็จได้ เหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ ดังนั้นในตอนแรกที่เข้ามาทำ�งานก็ต้องปรับตัว และทัศนคติค่อนข้างมาก เรียกว่าจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยค่ะ สิ่งที่ดีอีกอย่าง นึงก็คือการได้ทำ�โครงการวิจัยร่วมคือการได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ จากศูนย์ต่างๆ ได้ เห็นมุมมองที่หลากหลายค่ะ นอกจากเรื่องการปรับตัวจากชีวิตมหาวิทยาลัยมาอยู่ในหน่วยงานวิจัย แล้ว การเข้ามาเป็นนักวิจัยรุ่นแรกๆ ของนาโนเทค ซึ่งศูนย์ก็เพิ่งก่อตั้งใหม่ กำ�ลัง คนก็น้อยมาก นักวิจัยจึงต้องมาช่วยทำ�งานด้านโครงสร้างพื้นฐานของงานวิจัยด้วย ดังนั้นนักวิจัยจึงต้องมาช่วยกันออกแบบห้องปฏิบัติการ จัดซื้อครุภัณฑ์พื้นฐาน และช่วยกันระดมสมองร่างแผนแม่บทด้านนาโนเทคโนโลยีด้วยค่ะ ซึ่งถือว่าเป็น งานที่ยากและท้าทายมากเนื่องจากเป็นเรื่องที่อาจารย์ไม่ได้สอนในมหาวิทยาลัย แต่เป็นสิ่งที่เราเรียนรู้ระหว่างการทำ�งาน ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9
  • 20. 20 nstda • ธันวาคม 2558 ถาม : ดร.ณัฐ มีแนวทางการทำ�งาน และแนวคิดในการทำ�งาน อย่างไรคะ ตอบ : งานวิจัยเป็นงานที่ท้าทาย จะมีโจทย์ใหม่ๆ มีปัญหายากๆ มาให้เราคิด ให้แก้ไขอยู่ตลอด ถือว่าเป็นความสนุกในการทำ�งาน และเป็นเสน่ห์ของงาน เมื่อ ต้องทำ�งานที่ท้าทาย และต้องมีการปรับตัวเสมอ แนวคิดที่ควรยึดเป็นหลักในการ ทำ�งานคือ อย่าพยายามมองว่าสิ่งนั้นๆ มันคือปัญหาหรือว่าอุปสรรค อย่าถอดใจ อย่าคิดว่าเรื่องนี้ทำ�ไม่ได้ ถ้าเรามองว่ามันเป็นเรื่องที่ยากแล้ว ไม่ว่าจะทำ�อย่างไร ก็ไม่มีทางสำ�เร็จ ให้คิดว่าเป็นโอกาสที่ให้เราทำ�งานที่ยากขึ้นและได้พัฒนาตัวเอง และเรียนรู้ไปทุกวัน สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือกำ�ลังใจและความมุ่งมั่นว่าไม่มีอะไรที่เรา ทำ�ไม่ได้ ถ้าวันนี้ทำ�ไม่ได้ วันหน้าก็ต้องทำ�ได้ ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง เมื่อตั้งเป้า หมายหลักแล้ว การแบ่งเป้าหมายย่อยในแต่ละวันเพื่อให้สามารถทำ�ให้สำ�เร็จได้ ก็จะเป็นกำ�ลังใจให้ตัวเองทำ�งานต่อไปในแต่ละวัน เหมือนกับการค่อยๆ สะสม ไปเรื่อยๆ สักวันก็จะบรรลุเป้าหมายค่ะ การทำ�งานอยู่ในห้องแล็บอย่างเดียวอาจจะทำ�ให้เราไม่มีไอเดียใหม่ๆ หรือมองไม่เห็นหนทางว่าเราจะทำ�อะไร ดังนั้นการไปเปิดหูเปิดตาลงพื้นที่ ดูหน้างาน คุยกับผู้ต้องการรับเทคโนโลยีไปใช้ ก็จะทำ�ให้เราได้มุมมองใหม่ๆ รู้ ภาพรวม ทำ�ให้สามารถคิดได้อย่างครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ว่าเรา จะออกแบบวัสดุหรืออุปกรณ์อย่างไรให้เหมาะสมกับการนำ�ไปใช้งานได้จริง ใช้งาน ตรงไหน แล้วเหมาะกับผู้ใช้หรือเปล่า บางทีถ้าเราพัฒนาเทคโนโลยีที่ใหม่เกินไป อาจไม่เหมาะสมหรือสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ใช้ เราก็ต้องมองหาว่าเทคโนโลยี ที่พัฒนาขึ้นจะเอาไปเสริมหรือช่วยตรงไหนที่เค้าทำ�อยู่ได้ ถาม : ผลงานที่ประทับใจของ ดร.ณัฐ มีอะไรบ้างคะ ตอบ : ผลงานที่ประทับใจมีเยอะเลย หลักๆ ก็จะเป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัล ASEAN Science Prize for Women ถือเป็นความภูมิใจของณัฐและทีมวิจัยด้วย ที่พวกเราสามารถพัฒนาทำ�งานวิจัยที่สามารถนำ�ไปใช้ได้จริงและต่อยอดในเชิง พาณิชย์ได้ งานวิจัยนี้เริ่มต้นตั้งแต่ส่วนนโยบายซึ่ง สวทช.ได้เน้นให้พัฒนางาน วิจัยให้สามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้จริง และตอนนั้นเกิดวิกฤตน้ำ�ท่วมใหญ่ในปี 2554 พวกเราก็มาคิดหาวิธีต่างๆ ที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีองค์ความรู้อะไร บ้างที่สามารถนำ�ไปช่วยแก้ปัญหาได้ ในตอนนั้นบ้านณัฐก็ถูกน้ำ�ท่วมด้วยเหมือน กันและท่วมนานด้วยค่ะ ในฐานะของผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วมคนหนึ่ง สิ่งที่เราอยาก ได้คือ “น้ำ�ดื่มสะอาด” ดังนั้นการเยียวยาผู้ประสบภัยให้มีน้ำ�ดื่มสะอาดจึงเป็น เรื่องสำ�คัญมากในลำ�ดับต้นๆ ที่จะต้องเข้าไปช่วยเหลือ พวกเราจึงไปปรึกษากับ หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือด้านนี้คือสภากาชาดไทย ทางสภากาชาดไทยบอกว่า ข้อจำ�กัดในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยคือรถที่ใช้ผลิตน้ำ�ดื่มสะอาดที่มีอยู่นั้นมี ขนาดใหญ่ไม่สามารถเข้าพื้นที่ชุมชนได้ทั่วถึง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำ�ท่วมขังสูง รถเข้าไปไม่ถึง จึงอยากได้เครื่องผลิตน้ำ�ที่มีขนาดเล็กลง กะทัดรัด สามารถ เคลื่อนย้ายลงเรือได้ เพื่อที่จะนำ�เครื่องเข้าถึงผู้ประสบภัยได้ทั่วถึงมากขึ้น ก็ เลยเป็นการบ้านมาให้พวกเราคิดว่า จะพัฒนาเครื่องที่ผู้ประสบภัยสามารถเอา ไปใช้เองได้ในยามภัยพิบัติได้อย่างไร ถ้าเราเป็นผู้ประสบภัยเราอยากได้เครื่อง ที่มีลักษณะอย่างไร คุณสมบัติของเครื่องมีอะไรบ้าง จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ เวลาน้ำ�ท่วมก็มักจะพบปัญหาขาดแคลนกระแสไฟฟ้าตามมา เราจึง พัฒนาเครื่องให้สามารถทำ�งานได้ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และออกแบบให้ผู้ ใช้สามารถใช้ได้ง่าย มีกำ�ลังการผลิตที่เพียงพอต่อชุมชนประมาณ 1,000 คน นอกจากนี้มีการพัฒนาไส้กรองด้วยนาโนเทคโนโลยี เพื่อให้ไส้กรองมีคุณสมบัติ สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ซึ่งเหมาะกับยามภัยพิบัติที่มีการปนเปื้อนของเชื้อใน ปริมาณสูง โดยทั่วไปไส้กรองทั่วไปสามารถกำ�จัดเชื้อโดยผ่านการกรอง ซึ่งเชื้อที่ ธันวาคม 2558 ฉบับที่ 9 ถ้าเรามองว่ามันเป็น เรื่องที่ยากแล้ว ไม่ว่า จะทำ�อย่างไรก็ไม่มี ทางสำ�เร็จ ให้คิดว่า เป็นโอกาสที่ให้เรา ทำ�งานที่ยากขึ้นและ ได้พัฒนาตัวเอง และเรียนรู้ไปทุกวัน