SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 34
Descargar para leer sin conexión
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
โครงการวิจัยเรื่อง
“การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย”
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
การศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ ความต้องการ
และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ 1
หลักการและเหตุผล 2
วัตถุประสงค์ 3
ขอบเขตการดาเนินการ 3
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4
สรุปผลการศึกษา 4
ข้อเสนอแนะ 30
1
หัวข้อวิจัย การศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้เข้าร่วม
โครงการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
ชื่อผู้วิจัย กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
หน่วยงาน สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
ปี 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงคุณประโยชน์ของโครงการ อย.น้อย 2) ศึกษาถึง
ความพึงพอใจ ความต้องการ ของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
3) ศึกษาถึงความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนที่เข้าร่วมในโครงการ อย.น้อยที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนในสังกัดสานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
(สช.) และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย ซึ่งเป็น
ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ อย.น้อย เช่น ครูแกนนา อย.น้อย ผู้ปกครองของนักเรียน อย.น้อย บุคคลใน
ชุมชนที่นักเรียน อย.น้อยได้ร่วมงานด้วย เจ้าหน้าที่ในสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ใน
องค์กรเครือข่ายอื่นๆ ที่ทางานร่วมกับสานักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่สานักงานคณะกรรมการ
อาหารและยา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจานวน 2,000 คน แบ่งเป็นนักเรียน 1600 คน และผู้มี
ส่วนเกี่ยวข้อง 400 คน ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจานวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี การคานวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลข
คณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า
1) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของนักเรียนโดยภาพรวมมีการเข้า
ร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจ
ต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมากที่สุด และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก
2) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของครูแกนนาโดยภาพรวมมี
ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ใน
ระดับมาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก
3) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของบุคคลในชุมชนโดยภาพรวมมี
ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับ
มาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด
4) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของผู้ปกครองโดยภาพรวม
มีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับ
มาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด
5) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของเจ้าหน้าที่โดยภาพรวม
มีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด
2
หลักการและเหตุผล
โครงการ อย.น้อย ถือกาเนิดขึ้นในปี 2545 ในลักษณะโครงการนาร่อง แต่มีการ
ดาเนินการอย่างจริงจังในปี 2546 โดยเริ่มดาเนินการในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ
จังหวัดละ 5 โรงเรียน ด้วยการจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน และจัดให้มีการดาเนินกิจกรรม
อย.น้อย จากนั้นในปี 2547 ได้ขยายกิจกรรมเพื่อให้ครอบคลุมโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ
ทั้งโรงเรียนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนในสังกัดสานัก
บริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปี 2549
ได้เน้นการทากิจกรรมในลักษณะเครือข่ายให้มากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการเอื้ออาทรโรงเรียนระดับที่
เล็กกว่าในลักษณะ “อย.น้อยสอนน้อง” โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี 2549 จะมีโรงเรียนระดับ
ประถมศึกษาทั่วประเทศได้รับการเอื้ออาทรลักษณะ “อย.น้อย สอนน้อง” จานวนหนึ่ง และหลังจากนั้น
เป็นต้นมา โครงการ อย.น้อย ก็ได้มีการดาเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชนไทยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย อันจะส่งผลต่อการลดอัตราการเจ็บป่วยของ
ประชาชน และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล
การทากิจกรรม นอกจาก อย.น้อย จะได้รับความรู้ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
อย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนนักเรียนและครอบครัวมีความรู้ และเกิดการพัฒนา
ปรับปรุงการจาหน่ายอาหารภายในโรงเรียน รวมทั้งการปรับปรุงสถานที่จาหน่ายอาหารให้สะอาดถูก
สุขลักษณะ รวมถึงนักเรียน อย.น้อย ยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทางาน
การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน อย.น้อย โรงเรียนอื่น ๆ ทาให้เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น
นอกจากนี้ กิจกรรม อย.น้อย ยังก่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีในระดับชุมชน เช่น
เกิดความร่วมมือระหว่างนักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า อสม. อบต. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอาเภอ เป็นต้น
มีการช่วยเหลือกันทั้งด้านงบประมาณ การร่วมดาเนินงาน และทรัพยากร เช่น งบสนับสนุนจาก อบต.
การร่วมตรวจสอบอาหาร การอนุญาตให้ใช้หอกระจายข่าว/วิทยุชุมชน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบริหารโครงการ อย.น้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย.
จาเป็นต้องมีการประเมินผลและวิเคราะห์การดาเนินงานโครงการ อย. น้อยที่ผ่านมาว่าได้ผลเป็นอย่างไร
มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างในการดาเนินงาน ตลอดจนความต้องการ/คาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อ
โครงการ อย. น้อย ว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้นามากาหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในการดาเนินการ
ที่สอดรับกับสภาพการณ์และปัญหาในปัจจุบัน นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลเชิงวิเคราะห์
ดังกล่าวข้างต้นจะสามารถนามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาฐานข้อมูลของโครงการ อย. น้อย เพื่อให้เกิด
การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและเกิดความสะดวกต่อการที่จะนาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการกาหนด
แผนงานหรือการดาเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
3
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาถึงคุณประโยชน์ของโครงการ อย.น้อย
2. เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ
โครงการ อย.น้อย
3. เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ
โครงการ อย.น้อย
ขอบเขตการดาเนินการ
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
ศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการและผู้มี
ส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
2. ขอบเขตด้านประชากร
2.1 ศึกษาข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย ซึ่งเป็นนักเรียนที่เข้าร่วมใน
โครงการ อย.น้อยที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนในสังกัดสานัก
บริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่
2.1.1 นักเรียนมัธยมศึกษา
2.1.2 นักเรียนประถมขยายโอกาส
2.1.3 นักเรียนประถมศึกษา
2.2 ศึกษาข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ
โครงการ อย.น้อย เช่น ครูแกนนา อย.น้อย ผู้ปกครองของนักเรียน อย.น้อย บุคคลในชุมชนที่
นักเรียน อย.น้อยได้ร่วมงานด้วย เจ้าหน้าที่ในสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ใน
องค์กรเครือข่ายอื่นๆ ที่ทางานร่วมกับสานักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่สานักงาน
คณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น
3. ขอบเขตด้านระยะเวลา
เริ่มดาเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลา ในการศึกษา
ทั้งสิ้น 6 เดือน
ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ
1. เพื่อทราบถึงคุณประโยชน์ของโครงการ อย.น้อย
2. เพื่อทราบถึงความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ
โครงการ อย.น้อย
3. เพื่อทราบถึงความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ
โครงการ อย.น้อย ในด้านปัจจัยนาเข้า ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ และการดาเนินงานของโครงการ
อย.น้อย
4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่สาคัญในการพัฒนาและปรับปรุงโครงการ อย.น้อย
4
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ในการศึกษาครั้งนี้ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง มีรายละเอียด
ดังนี้
1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. สถิติอ้างอิง ได้แก่ t-test และ ANOVA
สรุปผลการศึกษา
การวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย”
ในส่วนของการประเมินโครงการ อย.น้อย ได้ทาการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจานวน 2,000 คน
ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาจานวนทั้งสิ้น 1,828 คน คิดเป็นร้อยละ 91.40 การนาเสนอ
สรุปผลการศึกษาแบ่งเป็น 5 ตอน ประกอบด้วย 1) ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ
อย.น้อย (ส่วนนักเรียน) 2) ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนครูแกนนา)
3) ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนบุคคลในชุมชน) 4) ผลการศึกษา
การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนผู้ปกครอง) 5) ผลการศึกษาการประเมินผลการ
ดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนเจ้าหน้าที่)
1. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนนักเรียน)
1.1 ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่ตอบแบบประเมินผลการดาเนินงานโครงการ
ตารางที่ 1 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูล
จานวน
(n=1,525)
ร้อยละ
เพศ
ชาย 521 34.16
หญิง 990 64.92
ไม่ระบุ 14 .92
ระดับชั้น
ประถมศึกษา 750 49.18
ปีที่ 1 17 1.11
ปีที่ 2 26 1.70
ปีที่ 3 52 3.41
ปีที่ 4 78 5.11
ปีที่ 5 214 14.03
ปีที่ 6 358 23.48
ไม่ระบุ 5 0.33
5
ข้อมูล
จานวน
(n=1,525)
ร้อยละ
มัธยมศึกษา 762 49.97
ปีที่ 1 80 5.25
ปีที่ 2 31 2.03
ปีที่ 3 235 15.41
ปีที่ 4 69 4.52
ปีที่ 5 201 13.18
ปีที่ 6 142 9.31
ไม่ระบุ 4 0.26
นักเรียนเป็นนักเรียนแกนนา อย.น้อย
เป็น 613 40.20
เคยเป็น 115 7.54
ไม่ได้เป็น 772 50.62
ไม่ระบุ 25 1.64
ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ อย.น้อย
เข้าใจ 1,224 80.26
ไม่เข้าใจ 276 18.10
ไม่ระบุ 25 1.64
ความสมัครใจเข้าร่วมสมาชิก อย.น้อย
สมัครใจ 1,258 82.49
ไม่สมัครใจ 243 15.93
ไม่ระบุ 24 1.57
ภาค
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 321 21.05
กลาง 320 20.98
เหนือ 311 20.39
ตะวันออกเฉียงเหนือ 272 17.84
ใต้ 301 19.74
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร 161 10.56
นนทบุรี 160 10.49
พระนครศรีอยุธยา 157 10.30
กาญจนบุรี 163 10.69
ลาพูน 153 10.03
เพชรบูรณ์ 158 10.36
6
ข้อมูล
จานวน
(n=1,525)
ร้อยละ
ชัยภูมิ 117 7.67
อุบลราชธานี 155 10.16
กระบี่ 141 9.25
สงขลา 160 10.49
ประเภทของโรงเรียน
รัฐบาล 1,410 92.46
เอกชน 115 7.54
ชนิดของโรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา 447 29.31
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 500 32.79
โรงเรียนมัธยมศึกษา 578 37.90
7
1.2 การเข้าร่วมกิจกรรม โครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 1 ภาพรวมการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน
หมายเหตุ กิจกรรม 1 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ในโรงเรียน กิจกรรม 2 กิจกรรมด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 3 กิจกรรม
รณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 4 กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน กิจกรรม 5 กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เชื่อมโยงสู่
การเรียนการสอน กิจกรรม6 การทาโครงงาน การนาเสนอผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพกิจกรรม7
กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในบ้านเรือน กิจกรรม 8 กิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียนจัดทา
และเกี่ยวข้องกับโครงการ อย.น้อย
15.64
84.0883.9885.46
88.14
71.83
83.4
78.7678.2
15.9
14.3411.68
27.96
16.49
21.0921.67
0
10
20
30
40
50
60
70
80
90
100
1 2 3 4 5 6 7 8
กิจกรรม
ร้อยละ
เข้าร่วม
ไม่เข้าร่วม
8
1.3 ประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรมในรายกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 2 ภาพรวมประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน
จากภาพที่ 2 ภาพรวมประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ( x = 4.27, ร้อยละ 85.40) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ การทาโครงงาน การนาเสนอ
ผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( x = 4.42, ร้อยละ 88.40)
1.4 ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 3 ภาพรวมความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน
จากภาพที่ 3 ภาพรวมความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
(x = 4.19, ร้อยละ 83.80) โดยกิจกรรมที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การทาโครงงาน การนาเสนอ
ผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (x = 4.31, ร้อยละ 86.20)
4.324.28
4.42
4.25
4.1
4.33
4.14
4.04
3.8
3.9
4
4.1
4.2
4.3
4.4
4.5
1 2 3 4 5 6 7 8
กิจกรรม
ประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรม(ค่าเฉลี่ย)
ร้อยละ80.80
ร้อยละ82.80
ร้อยละ86.60
ร้อยละ82.00
ร้อยละ85.00
ร้อยละ88.40
ร้อยละ85.60
ร้อยละ86.40
x = 4.27
ร้อยละ 85.40
x = 4.19
ร้อยละ 83.80
ร้อยละ80.00
ร้อยละ80.80
ร้อยละ84.00
ร้อยละ79.80
ร้อยละ84.00
ร้อยละ86.20
ร้อยละ84.20
ร้อยละ84.20
9
1.5 ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 4 ภาพรวมความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน
จากภาพที่ 4 ภาพรวมความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.25, ร้อยละ
85.00) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย (x =
4.44, ร้อยละ 88.80)
1.6 ความคาดหวังต่อโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 5 ภาพรวมความคาดหวังต่อโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน
จากภาพที่ 5 ภาพรวมความคาดหวังต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ( x = 4.17,
ร้อยละ 83.40) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ
อย.น้อย ( x = 4.37, ร้อยละ 87.40)
x = 4.25
ร้อยละ 85.00
ร้อยละ82.80
ร้อยละ84.80
ร้อยละ82.80
ร้อยละ83.60
ร้อยละ88.80
x = 4.17
ร้อยละ 83.40
ร้อยละ81.40
ร้อยละ83.40
ร้อยละ81.80
ร้อยละ82.40
ร้อยละ87.40
10
2. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของครูแกนนาที่ตอบแบบประเมินผลการดาเนินงานโครงการ
ตารางที่ 2 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของครูแกนนาที่ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูล
จานวน
(n=105)
ร้อยละ
เพศ
ชาย 15 14.29
หญิง 89 84.76
ไม่ระบุ 1 .95
กลุ่มสาระที่สอน
วิทยาศาสตร์ 24 22.86
การงานอาชีพและเทคโนโลยี 25 23.81
สุขศึกษาและพลศึกษา 18 17.14
สังคมศึกษา 6 5.71
ศิลปะ 6 5.71
ภาษาไทย 11 10.48
คณิตศาสตร์ 8 7.62
ภาษาต่างประเทศ 4 3.81
ไม่ระบุ 3 2.86
วุฒิการศึกษาสูงสุด
ต่ากว่าปริญญาตรี 2 1.90
ปริญญาตรี 76 72.38
ปริญญาโท 24 22.86
ปริญญาเอก - -
ไม่ระบุ 6 7.50
ประสบการณ์เกี่ยวกับการดาเนินโครงการ อย.น้อย
1 - 5 ปี 55 52.38
6 – 10 ปี 12 11.42
11 - 15 ปี 4 3.81
ตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป 3 2.85
ไม่ระบุ 31 29.54
โรงเรียนของท่านเป็นโรงเรียนแกนนา อย.น้อย
ใช่ 64 60.95
ไม่ใช่ 34 32.38
ไม่ได้ระบุ 7 6.67
11
ข้อมูล
จานวน
(n=105)
ร้อยละ
โรงเรียนของท่านมีการนาแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
อย.น้อย ไปใช้
ใช้ 73 69.52
ไม่ใช้ 25 23.81
ไม่ระบุ 7 6.67
โรงเรียนของท่านเคยเข้าร่วมประกวดกิจกรรม อย.น้อย
เคย 55 52.38
ไม่เคย 37 35.24
ไม่ระบุ 13 12.38
การเข้าร่วมประกวดกิจกรรม ในแต่ละ ปี พ.ศ.
ปี 2547
รองชนะเลิศอันดับ 3 โครงงานอาหารปลอดภัย 1 2.13
รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13
ปี 2548
ชนะเลิศ 1 2.13
รองชนะเลิศภาคใต้ 1 2.13
อย.น้อยดีเด่นในระดับเขตพื้นที่และรางวัลชมเชยระดับเขตตรวจ 2 4.26
ปี 2549
รองชนะเลิศภาคใต้ 1 2.13
รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13
อย.น้อยดีเด่นในระดับเขตพื้นที่และรางวัลชมเชยระดับเขตตรวจ 1 2.13
ปี 2550
รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13
รองชนะเลิศอันดับ1ระดับประถมศึกษา 1 2.13
รางวัลชมเชยระดับเขตตรวจ 1 2.13
อย.น้อยดีเด่นระดับเขตพื้นที่ 3 6.38
ปี 2551
ชมเชยระดับประเทศ 2 4.26
ปี 2552
คุณภาพเหรียญทอง 1 2.13
ชนะเลิศโครงงานสุขภาพสุขบัญญัติ10ประการกรมอนามัย 1 2.13
ชมเชย 3 6.38
ชมเชยภาคใต้ 1 2.13
รองชนะเลิศด้านนวัตกรรมระดับประเทศโครงการประกวดอย.น้อย 1 2.13
12
ข้อมูล
จานวน
(n=105)
ร้อยละ
รองชนะเลิศระดับจังหวัด 1 2.13
รางวัลที่2 1 2.13
เหรียญทอง 1 2.13
ปี 2553
เครือข่ายชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค ชนะเลิศ 2 4.26
ชมเชย 1 2.13
ชมเชยภาคใต้ 1 2.13
รองชนะเลิศ 1 2.13
รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13
รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง,อย.น้อยร้อยใจระดับทอง 1 2.13
ปี 2554
เครือข่ายชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค ภาคเหนือ ชมเชย 2 4.26
ชมเชย 2 4.26
รองชนะเลิศอันดับ 1 1 2.13
รองชนะเลิศอันดับ 2 1 2.13
รางวัลชนะเลิศระดับเขต 1 2.13
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับจังหวัดรางวัลชนะเลิศ 1 2.13
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง,อย.น้อยร้อยใจระดับทอง 1 2.13
ปี 2555
รองชนะเลิศอันดับ 2 1 2.13
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับจังหวัดรางวัลชนะเลิศ 1 2.13
อยากให้ อย. มีการจัดประกวดกิจกรรม อย.น้อย
มี 66 62.86
ไม่มี 4 3.81
ไม่ระบุ 35 33.33
หาก อย.จัดกิจกรรม เช่น มหกรรม อย.น้อย ฯลฯ ท่านประสงค์จะเข้า
ร่วมกิจกรรม
เข้า 56 53.33
ไม่เข้า 2 1.90
ไม่ระบุ 47 44.76
ภาค
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 20 19.05
กลาง 21 20.00
13
ข้อมูล
จานวน
(n=105)
ร้อยละ
เหนือ 16 15.24
ตะวันออกเฉียงเหนือ 24 22.86
ใต้ 24 22.86
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร 11 10.48
นนทบุรี 9 8.57
พระนครศรีอยุธยา 10 9.52
กาญจนบุรี 11 10.48
ลาพูน 10 9.52
เพชรยูรณ์ 6 5.71
ชัยภูมิ 12 11.43
อุบลราชธานี 12 11.43
กระบี่ 12 11.43
สงขลา 12 11.43
ชนิดของโรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา 34 32.38
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 33 31.43
โรงเรียนมัธยมศึกษา 38 36.19
14
2.2 การดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 6 ภาพรวมการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา
หมายเหตุ กิจกรรม 1 มีการกาหนดโครงสร้างชมรม อย.น้อยและองค์ประกอบของชมรม
กิจกรรม 2 มีกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน
กิจกรรม 3 มีกิจกรรมด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 4 มีกิจกรรมรณรงค์
เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 5 มีกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน กิจกรรม 6 กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เชื่อมโยงสู่การ
เรียนการสอน กิจกรรม 7 การทาโครงงาน การนาเสนอผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 8
กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในบ้านเรือน กิจกรรม 9 ผู้สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย
กิจกรรม 10 กิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียนจัดทาและเกี่ยวข้องกับโครงการ อย.น้อย
2.3 ประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 7 ภาพรวมประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา
จากภาพที่ 7 ภาพรวมประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ( x = 4.24, ร้อยละ 84.80) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ ผู้สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย
(x = 4.40, ร้อยละ 88.00)
x = 4.24
ร้อยละ 84.80
ร้อยละ79.40
ร้อยละ78.00
ร้อยละ83.60
ร้อยละ86.60
ร้อยละ72.60
ร้อยละ84.00
ร้อยละ83.80
ร้อยละ85.80
ร้อยละ88.00
ร้อยละ86.40
15
2.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 8 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา
จากภาพที่ 8 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
( x = 3.92, ร้อยละ 78.40) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การดาเนินงานของโครงการ
(x = 4.17, ร้อยละ 83.40)
2.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 9 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา
จากภาพที่ 9 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ( x =
4.17, ร้อยละ 83.40) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ การดาเนินงานของโครงการ ( x = 4.29,
ร้อยละ 85.80)
x = 3.92
ร้อยละ 78.40ร้อยละ83.40
ร้อยละ78.20
ร้อยละ74.40
ร้อยละ78.60
ร้อยละ80.40
x = 4.17
ร้อยละ 83.40
ร้อยละ83.40
ร้อยละ78.20
ร้อยละ74.40
ร้อยละ78.60
ร้อยละ80.40
16
3. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน
3.1 ข้อมูลพื้นฐานของบุคคลในชุมชนที่ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 3 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของบุคคลในชุมชนที่ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูล
จานวน
(n=80)
ร้อยละ
เพศ
ชาย 15 18.75
หญิง 62 77.50
ไม่ระบุ 3 3.75
วุฒิการศึกษาสูงสุด
ประถมศึกษา 20 25.00
มัธยมศึกษาตอนต้น 10 12.50
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 14 17.50
อนุปริญญา/ปวส. 8 10.00
ปริญญาตรี 21 26.25
ปริญญาโท 3 3.75
ปริญญาเอก - -
ไม่ระบุ 4 5.00
อาชีพ
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 13 16.25
พนักงานเอกชน 6 7.50
เกษตรกรรม 10 12.50
ค้าขาย/นักธุรกิจ 22 27.50
อื่นๆ แม่บ้าน ลูกจ้างชั่วคราว และข้าราชการบานาญ 23 28.75
ไม่ระบุ 6 7.50
รายได้
ต่ากว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท/เดือน 9 11.25
ตั้งแต่ 3,001-6,000 บาท/เดือน 19 23.75
ตั้งแต่ 6,001-10,000 บาท/เดือน 20 25.00
ตั้งแต่ 10,001-15,000 บาท/เดือน 14 17.50
ตั้งแต่ 15,001-20,000 บาท/เดือน 6 7.50
ตั้งแต่ 20,001 บาท ขึ้นไป/เดือน 7 8.75
ไม่ระบุ 5 6.25
ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการดาเนินโครงการ อย.น้อย
ไม่มี 39 48.75
มี 37 46.25
17
ข้อมูล
จานวน
(n=80)
ร้อยละ
โดย เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในโรงเรียน 27 33.75
เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในชุมชน 15 18.75
อื่นๆ เช่น เข้าร่วมการอบรม อสม. ตัวแทนแม่ค้าในโรงเรียน
และส่งอาหารไปตรวจสอบ
5 6.25
ไม่ได้ระบุ 4 5.00
เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ อย.น้อย
เข้าใจ 67 83.75
ไม่เข้าใจ 7 8.75
ไม่ระบุ 6 7.50
ภาค
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 16 20.00
กลาง 19 23.75
เหนือ 13 16.25
ตะวันออกเฉียงเหนือ 16 20.00
ใต้ 16 20.00
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร 9 11.25
นนทบุรี 7 8.75
พระนครศรีอยุธยา 11 13.75
กาญจนบุรี 8 10.00
ลาพูน 9 11.25
เพชรยูรณ์ 4 5.00
ชัยภูมิ 8 10.00
อุบลราชธานี 8 10.00
กระบี่ 7 8.75
สงขลา 9 11.25
ชนิดของโรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา 25 31.25
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 29 36.25
โรงเรียนมัธยมศึกษา 26 32.50
18
3.2 การดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 10 ภาพรวมการปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน
หมายเหตุ กิจกรรม 1 จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 2 จัด/ร่วมกิจกรรมด้านตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 3 จัด/ร่วม
กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร กิจกรรม 4 จัด/ร่วม
สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 5 จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้อง
กับโครงการอย.น้อย เช่น อาหารปลอดสารพิษ
3.3 ประโยชน์ของกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 11 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน
จากภาพที่ 11 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
( x = 3.90, ร้อยละ 78.00) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/
ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้องกับโครงการอย.น้อย เช่น อาหารปลอดสารพิษ (x = 4.28, ร้อยละ 85.60)
กิจกรรม
ร้อยละ
x = 3.90
ร้อยละ 78.00
ร้อยละ82.20
ร้อยละ78.80
ร้อยละ81.60
ร้อยละ81.80
ร้อยละ85.60
19
3.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 12 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน
จากภาพที่ 12 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 3.93,
ร้อยละ 78.60) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย
(x = 4.22, ร้อยละ 84.40)
3.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 13 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน
จากภาพที่ 13 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.00,
ร้อยละ 80.00) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ความคาดหวังในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย
(x = 4.38, ร้อยละ 87.60)
x = 3.93
ร้อยละ 78.60
ร้อยละ80.00
ร้อยละ78.20
ร้อยละ75.60
ร้อยละ80.20
ร้อยละ84.40
x = 3.90
ร้อยละ 78.00
ร้อยละ82.60
ร้อยละ80.20
ร้อยละ79.60
ร้อยละ82.80
ร้อยละ87.60
20
4. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง
4.1 ข้อมูลพื้นฐานของปกครองที่ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 4 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูล
จานวน
(n=74)
ร้อยละ
เพศ
ชาย 13 17.57
หญิง 59 79.73
ไม่ระบุ 2 2.70
วุฒิการศึกษาสูงสุด
ประถมศึกษา 19 25.68
มัธยมศึกษาตอนต้น 11 14.86
มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 16 21.62
อนุปริญญา/ปวส. 4 5.41
ปริญญาตรี 18 24.32
ปริญญาโท 4 5.41
ปริญญาเอก - -
ไม่ระบุ 2 2.70
อาชีพ
ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 14 18.92
พนักงานเอกชน 3 4.05
เกษตรกรรม 15 20.27
ค้าขาย/นักธุรกิจ 25 33.78
อื่นๆ 14 18.92
ไม่ระบุ 3 4.05
รายได้
ต่ากว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท/เดือน 9 12.16
ตั้งแต่ 3,001-6,000 บาท/เดือน 12 16.22
ตั้งแต่ 6,001-10,000 บาท/เดือน 26 35.14
ตั้งแต่ 10,001-15,000 บาท/เดือน 11 14.86
ตั้งแต่ 15,001-20,000 บาท/เดือน 6 8.11
ตั้งแต่ 20,001 บาท ขึ้นไป/เดือน 8 10.81
ไม่ระบุ 2 2.70
21
ข้อมูล
จานวน
(n=74)
ร้อยละ
ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการดาเนินโครงการ อย.น้อย
ไม่มี 26 35.14
มี 46 62.16
โดย เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในโรงเรียน 35 47.30
เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในชุมชน 13 17.57
อื่นๆ เช่น กิจกรรมอย.น้อย การเข้ารับการอบรม 4 5.41
ไม่ได้ระบุ 2 2.70
เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ อย.น้อย
เข้าใจ 57 77.03
ไม่เข้าใจ 15 20.27
ไม่ระบุ 2 2.70
ภาค
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 11 14.86
กลาง 16 21.62
เหนือ 10 13.51
ตะวันออกเฉียงเหนือ 17 22.97
ใต้ 20 27.03
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร 5 6.76
นนทบุรี 6 8.11
พระนครศรีอยุธยา 10 13.51
กาญจนบุรี 6 8.11
ลาพูน 7 9.46
เพชรยูรณ์ 3 4.05
ชัยภูมิ 9 12.16
อุบลราชธานี 8 10.81
กระบี่ 11 14.86
สงขลา 9 12.16
ชนิดของโรงเรียน
โรงเรียนประถมศึกษา 21 28.38
โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 24 32.43
โรงเรียนมัธยมศึกษา 29 39.19
22
4.2 การดาเนินกิจกรรมโครงการ อย. น้อย
ภาพที่ 14 ภาพรวมการปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง
หมายเหตุ กิจกรรม 1 จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภค
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 2 จัด/ร่วมกิจกรรมด้านตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 3 จัด/ร่วม
กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร กิจกรรม 4 จัด/ร่วม
สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 5 จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้อง
กับโครงการอย.น้อย เช่น อาหารปลอดสารพิษ
4.3 ประโยชน์กิจกรรมโครงการ อย. น้อย
ภาพที่ 15 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง
จากภาพที่ 15 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ( x = 4.26, ร้อยละ 85.28) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ จัด/ร่วมกิจกรรมรณรงค์
เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร (x = 4.39, ร้อยละ 87.80)
x = 4.26
ร้อยละ 85.28
ร้อยละ84.20
ร้อยละ82.40
ร้อยละ87.80
ร้อยละ84.40
ร้อยละ87.60
23
4.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 16 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง
จากภาพที่ 16 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.18,
ร้อยละ 83.60) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ
อย.น้อย (x = 4.36, ร้อยละ 87.20)
4.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 17 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง
จากภาพที่ 17 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมากที่สุด
(x = 4.21, ร้อยละ 84.20) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ด้านความคาดหวังในภาพรวมของ
โครงการ อย.น้อย (x = 4.44, ร้อยละ 88.80)
x = 4.18
ร้อยละ 83.60
ร้อยละ83.60
ร้อยละ84.00
ร้อยละ83.00
ร้อยละ86.40
ร้อยละ87.20
x = 4.21
ร้อยละ 84.20
ร้อยละ83.60
ร้อยละ84.20
ร้อยละ84.20
ร้อยละ86.20
ร้อยละ88.80
24
5. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่
5.1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม
ตารางที่ 5 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ที่ตอบแบบสอบถาม
ข้อมูล
จานวน
(n=45)
ร้อยละ
เพศ
ชาย 10 22.22
หญิง 35 77.78
สังกัด
สานักงานสาธารณสุขจังหวัด 37 82.22
สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 1 2.22
องค์กรอื่นๆ เช่น เทศบาล โรงพยาบาล และสาธารณสุขอาเภอ 7 15.56
วุฒิการศึกษาสูงสุด
ต่ากว่าปริญญาตรี 1 2.22
ปริญญาตรี 26 57.78
ปริญญาโท 18 40.00
ปริญญาเอก
ประสบการณ์เกี่ยวกับการดาเนินโครงการ อย.น้อย
ไม่มี 4 8.89
มี 41 91.11
โดย จัด/เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนา 32 71.11
การให้ความรู้แก่โรงเรียน และชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 27 60.00
อื่นๆ โปรดระบุ เช่น คณะกรรมการตัดสินประกวดโครงการอย.น้อย จัดเวทีประกวดโครงการ
อย.น้อย ให้ความรู้ผู้ประกอบการในโรงเรียน และทาแผ่นพับ โปสเตอร์แจก
เครือข่าย
6 13.33
ภาค
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1 2.22
กลาง 10 22.22
เหนือ 9 20.00
ตะวันออกเฉียงเหนือ 5 11.12
ใต้ 20 44.44
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร 1 2.22
กาญจนบุรี 10 22.22
ลาพูน 9 20.00
อุบลราชธานี 5 11.12
25
ข้อมูล
จานวน
(n=45)
ร้อยละ
กระบี่ 10 22.22
สงขลา 10 22.22
ตาแหน่ง
เจ้าหน้าที่ สสจ. และเจ้าหน้าที่ อย. 11 24.44
เจ้าหน้าที่ในองค์กรต่างๆ ที่ทางานร่วมกับ สสจ. และ อย. 34 75.56
5.2 การปฏิบัติงานของกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 18 ภาพรวมการปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่
หมายเหตุ กิจกรรม 1 มีส่วนร่วมในการกาหนดโครงสร้างและเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับชมรม/
ชุมชน อย.น้อย กิจกรรม 2 จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์
สุขภาพ กิจกรรม 3 จัด/ร่วมกิจกรรมด้านตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 4 จัด/ร่วมกิจกรรม
รณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร กิจกรรม 5 จัด/ร่วมสนับสนุน
กิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 6 จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้องกับ
โครงการอย.น้อย เช่น เครือข่าย โรงเรียน อย.น้อย
26
5.3 ประโยชน์ของกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 19 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่
จากภาพที่ 19 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ( x = 4.26, ร้อยละ 85.20) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( x = 4.32, ร้อยละ 86.40) และจัด/ร่วม
กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร ( x = 4.32, ร้อยละ
86.40)
5.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 20 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่
จากภาพที่ 20 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
ที่สุด ( x = 3.56, ร้อยละ 71.20) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการดาเนินงานของ
โครงการ (x = 3.82, ร้อยละ 76.40)
x = 4.26
ร้อยละ 85.20
ร้อยละ77.00
ร้อยละ86.40
ร้อยละ84.80
ร้อยละ86.40
ร้อยละ84.40
ร้อยละ85.60x = 3.56
ร้อยละ 71.20
ร้อยละ76.40
ร้อยละ66.60
ร้อยละ68.40
ร้อยละ74.60
ร้อยละ75.20
27
5.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
ภาพที่ 21 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่
จากภาพที่ 21 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก
(x = 4.20, ร้อยละ 84.00) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ด้านความคาดหวังในภาพรวมของ
โครงการ (x = 4.36, ร้อยละ 87.20)
6. ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์
ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทาการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์จานวน 100 คน สามารถสรุป
เป็นประเด็นที่สาคัญดังนี้
6.1 ข้อมูลจากนักเรียน
6.1.1 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าโครงการ อย. น้อยมีประโยชน์มาก เพราะสามารถนา
ความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจาวัน นอกจากนี้กิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการตรวจสอบคุณภาพ
อาหารทาให้มีโอกาสตรวจสอบคุณภาพอาหารว่าปลอดภัยหรือไม่ มีผลต่อสุขภาพอย่างไร รวมถึง
สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆได้อย่างมีคุณภาพ
6.1.2 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า อยากให้มีการจัดอบรม จัดสัมมนาเชิงวิชาการ มีการ
ณรงค์ และประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในชุมชนอยู่เป็นประจา จะเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการ
โครงการอย. น้อย
6.1.3 ผู้ให้ข้อมูลต่างต้องการการสนับสนุนอย่างยิ่งในด้านการเงิน อุปกรณ์ การจัด
อบรม และด้านอาหารที่มีคุณภาพ
6.1.4 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าจะได้รับความปลอดภัยจากการรับประทานอาหาร
ภายในโรงเรียน ได้รับความรู้จากโครงการ อย.น้อย และมีสุขภาพดีจากการเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย
6.1.5 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าความร่วมมือ ความสามัคคี การเงิน และสื่อในการเรียนรู้
เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย
x = 4.20
ร้อยละ 84.00ร้อยละ86.20
ร้อยละ82.40
ร้อยละ83.20
ร้อยละ85.20
ร้อยละ87.20
28
6.1.6 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าวิธีการที่ช่วยโครงการ อย.น้อย ประสบความสาเร็จมาก
ขึ้นกว่าปัจจุบันคือ การทาให้การประชาสัมพันธ์มีความเข้าใจง่าย น่าสนใจ การแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญ
ดาเนินการอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้นักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
6.1.7 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานโครงการ
อย.น้อย คือ การไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากประชาชน ขาดงบประมาณ ขาดวิทยากรที่ให้ความรู้
และขาดการประชาสัมพันธ์
6.1.8 ผู้ให้ข้อมูลต่างพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เพราะได้ความรู้ที่นาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ แต่ควรมีการจัดกิจกรรมหรือการจัดอบรมให้มากขึ้น
6.1.9 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าโครงการ อย.น้อย ควรมีบทบาทในอนาคตคือ
การทาให้โครงการเป็นที่ยอมรับและมีคนรู้จักมากขึ้น การณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
มีการพัฒนาการตรวจสอบอาหารโดยใช้วิธีที่ง่ายและรวดเร็ว
6.1.10 ผู้ให้ข้อมูลต่างให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ อย.น้อย ในการดาเนินการได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่า ทุกฝ่ายควรช่วยเหลือกัน ตั้งใจทางาน มีกิจกรรมและการจัด
อบรมเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง
6.2 ข้อมูลจากครูแกนนา
6.2.1 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าโครงการ อย. น้อยมีประโยชน์มาก ทาให้มีความรู้
เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัย ทาให้มีความรู้เรื่องต่างๆมากมาย รวมทั้งได้
พัฒนาตนเองโดยเฉพาะการได้รู้วิธีการตรวจสอบ และได้ปฏิบัติลงมือทาจริง
6.2.2 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า อยากให้มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเป็นประจา
มีการจัดกิจกรรม ทัศนะศึกษา และมีการอบรมอยู่เป็นประจาจะเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการ
โครงการอย. น้อย
6.2.3 ผู้ให้ข้อมูลต่างต้องการการสนับสนุนอย่างยิ่งในด้านงบประมาณ บุคลากรใน
การจัดกิจกรรม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ
6.2.4 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าจะได้รับความรู้ ความร่วมมือจากผู้บริหาร พัฒนา
พฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน สุขภาพของนักเรียนแข็งแรง และมีอาหารที่สะอาดภายในโรงเรียน
จากการเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย
6.2.5 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า ความตั้งใจของผู้ดาเนินกิจกรรม การสนับสนุน
งบประมาณ การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการปฏิบัติจริง และความร่วมมือกันในทุกๆฝ่ายเป็นปัจจัยที่
มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย
6.2.6 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าวิธีการที่ช่วยโครงการ อย.น้อย ประสบความสาเร็จมาก
ขึ้นกว่าปัจจุบันคือ การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการสนับสนุนโครงการ มีการรณรงค์ อบรม
และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
6.2.7 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานโครงการ
อย.น้อย คือ การขาดความร่วมมือของร้านค้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมขาดความรู้ บุคลากรในการดาเนิน
โครงการมีน้อย และขาดการสนับสนุนงบประมาณ
29
6.2.8 ผู้ให้ข้อมูลต่างพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก
โดยได้รับความรู้มากมาย และทาให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
6.2.9 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าโครงการ อย.น้อย ควรมีบทบาทในอนาคตคือ การมี
กิจกรรมที่ทาร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ การมีบทบาทในการตรวจสอบอาหาร การให้ความรู้ในการป้องกัน
โรคระบาดต่อชุมชนและร้านค้า รวมถึงสามารถเป็นตัวแทนสาธารณสุขในการให้ข้อมูลความรู้แก่
ชุมชนได้
6.2.10 ผู้ให้ข้อมูลต่างให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ อย.น้อย ในการดาเนินการได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่า การได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง การมีบุคลากรจาก
สาธารณสุขมาให้ความรู้ และควรจัดอบรมเป็นประจาอย่างต่อเนื่อง
6.3 ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง
6.3.1 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าโครงการ อย. น้อยมีประโยชน์มาก ทาให้รู้ถึงแนว
ทางการปฏิบัติในการบริโภคที่มีประโยชน์ เลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ได้อาหารที่ดีมีประโยชน์ ปลอดภัย
และทาให้นักเรียนเข้าใจถึงเป้าหมายของโครงการ
6.3.2 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง
กิจกรรม อย.น้อยดีเด่น กิจกรรม Miss/Mr. อย.น้อย กิจกรรมเดินพาเหรด กิจกรรมอาหารฮาลาน
จะเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการโครงการอย. น้อย
6.3.3 ผู้ให้ข้อมูลต่างต้องการการสนับสนุนอย่างยิ่งในด้านความรู้เพิ่มเติม
ด้านงบประมาณ การตรวจสุขภาพและผลิตภัณฑ์ สนับสนุนกิจกรรมอย่างสม่าเสมอ จัดอบรมครูแกนนา
นักเรียนแกนนาและสมาชิก
6.3.4 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าจะได้รับความรู้ทางด้านความปลอดภัยของอาหาร
และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากการเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย
6.3.5 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า การสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร ผู้ประสานงาน
ความรู้ ความสามัคคี และระเบียบวินัย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย
6.3.6 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าวิธีการที่ช่วยโครงการ อย.น้อย ประสบความสาเร็จมาก
ขึ้นกว่าปัจจุบันคือ การที่ทุกฝ่ายเห็นความสาคัญ มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และการเฝ้าระวัง
ในโรงเรียนและชุมชน
6.3.7 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานโครงการ
อย.น้อย คือ มีบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ และเวลาที่ใช้ทากิจกรรมกระทบกับเวลาในการเรียน
6.3.8 ผู้ให้ข้อมูลต่างพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก
เพราะทุกคนให้ความร่วมมือ และนาความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจาวัน
6.3.9 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าโครงการ อย.น้อย ควรมีบทบาทในอนาคตคือ มีการ
โฆษณาโครงการ อย.น้อย ให้มากขึ้น การนามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน และการช่วยให้ความรู้
ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค
6.3.10 ผู้ให้ข้อมูลต่างให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ อย.น้อย ในการดาเนินการได้
อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์ และดาเนินการอย่างต่อเนื่อง
30
7. ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม
ข้อมูลตามที่ได้จากข้อเสนอแนะ การสัมภาษณ์ ได้นาข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัด
สนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อทบทวนและเพิ่มเติมประเด็นที่สาคัญต่างๆกับข้อมูล โดยสามารถ
สรุปได้ดังนี้คือ
7.1 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์ต่างๆจากโครงการเป็นไปตามที่หวัง โดยส่วนใหญ่
เห็นว่าความรู้ที่ได้รับสามารถเลือกอาหารได้อย่างถูกต้อง เลือกใช้ยาได้ถูกต้องและมีคุณภาพ เลือกใช้
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
7.2 ผู้เข้าร่วมโครงการได้เสนอให้มีการจัดทานิทรรศการ โครงงาน ศึกษาเพิ่มเติม
ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เพื่อให้นักเรียนได้ฟังมากขึ้นนอกจากนี้ควรพัฒนารูปแบบของสื่อ
ประชาสัมพันธ์ โดยเน้นสื่อในรูปแบบการ์ตูนบ้างเพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจมากขึ้น
7.3 ในด้านการสนับสนุนที่ต้องการอย่างยิ่ง คือ ทางโรงเรียนอยากให้หน่วยกลางให้การ
สนับสนุนเครื่องตรวจสารปนเปื้อน รวมถึงงบประมาณในการดาเนินกิจกรรม ซึ่งทางโรงเรียนต้องการ
ดาเนินกิจกรรมแต่ขาดงบประมาณสนับสนุน นอกจากนี้คือการสนับสนุนด้านบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่
สาธารณสุขที่รับผิดชอบ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงสาหรับโครงการ อย่างต่อเนื่อง
7.4 ผู้เข้าร่วมโครงการได้เสนอให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้
ข้อเสนอแนะเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการอย.น้อย
7.5 ปัญหาและอุปสรรคของการดาเนินงานโครงการ อย. พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการ
ยังขาดความรู้ในการดาเนินกิจกรรมที่ชัดเจน และยังไม่มีการแนะนาหรือให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง
รวมถึงงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ และปัญหาอุปสรรคที่ค่อนข้างชัดเจนและมีผลต่อความสาเร็จของ
โครงการ อ.ย. น้อยคือ ความร่วมมือของชุมชนในการดาเนินกิจกรรม รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ
ของโรงเรียนที่เอื้อต่อความสาเร็จของโครงการ
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสาหรับโรงเรียน
1.1 จากการประเมินโครงการ อย.น้อย พบว่ากิจกรรมที่เข้าร่วมน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็น
นักเรียน และครูแกนนาคือ กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ทาง
โรงเรียนต้องมีการรณรงค์ สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายรับรู้ เข้าใจ เล็งเห็นถึงประโยชน์โดยใช้กิจกรรม
อย.น้อย เป็นฐานของการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของทุกคน ทุกระดับได้อย่างมี
ประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น
1.2 โรงเรียนต้องให้การสนับสนุนปัจจัยนาเข้า ด้านผลผลิต กระบวนการ และการ
ดาเนินงานเพื่อให้ นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีทักษะที่จาเป็นอย่าง
ถูกต้องในการเป็นผู้บริโภคที่ดี ได้นาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน สามารถแนะนาผู้อื่นได้
นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีสุขภาพแข็งแรง และกิจกรรม อย.น้อย
ควรดาเนินต่อไปและต่อเนื่อง
31
1.3 บุคคลในชุมชนมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย
โดยภาพรวมมีประโยชน์มาก ซึ่งกิจกรรมที่เห็นว่ามีประโยชน์มากที่สุดคือ กิจกรรมที่ได้จัดร่วมกัน
ระหว่างโรงเรียน/ชุมชน ดังนั้นควรเน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
ได้ร่วมมือกันผ่านการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ด้านอาหาร และ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานศึกษาทุกระดับอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะสาหรับ อย.
2.1 จากการประเมินโครงการ อย.น้อย กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์
สุขภาพในชุมชนยังมีการเข้าร่วมน้อย ดังนั้น อย. จึงควรส่งเสริมโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องในการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ การ
สร้างความตระหนักและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยผ่านกิจกรรมของชมรม/ชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภคใน
โรงเรียน อย.น้อย และชุมชนในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น
2.2 การจัดโครงการ อย.น้อย ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับโรงเรียน
นักเรียน ครูแกนนา และชุมชนในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเน้นการใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อประชาสัมพันธ์ให้
น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
2.3 การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์และบุคลากรจากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ
อย.น้อย ต้องการให้มีให้การสนับสนุนเครื่องตรวจสารปนเปื้อน รวมถึงงบประมาณในการดาเนิน
กิจกรรม ซึ่งทางโรงเรียนต้องการดาเนินกิจกรรมแต่ขาดงบประมาณสนับสนุน รวมถึงการสนับสนุน
ด้านบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นพี่เลี้ยง
สาหรับโครงการ อย่างต่อเนื่อง
2.4 จากปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินโครงการ อย.น้อย ผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการยัง
ขาดความรู้ในการดาเนินกิจกรรมที่ชัดเจน และยังไม่มีการแนะนาหรือให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึง
งบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ และปัญหาอุปสรรคที่ค่อนข้างชัดเจนและมีผลต่อความสาเร็จของ
โครงการ อ.ย. น้อยคือ ความร่วมมือของชุมชนในการดาเนินกิจกรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อม
โดยรอบของโรงเรียนที่เอื้อต่อความสาเร็จของโครงการ ดังนั้นทาง อย. จึงต้องมีแผนกลยุทธ์เพื่อ
นามาใช้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ และการดาเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ
ต่อไป
2.5 ควรมีการติดตามประเมินผลโครงการ อย.น้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ
การพัฒนาโครงการ อย.น้อยต่อไป
3. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป
3.1 การวิจัยครั้งต่อไปควรดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะ 360 องศา กับผู้ที่
เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านอาหารในโรงเรียน มีกิจกรรมให้มีส่วนร่วมในการ
ดาเนินโครงการ อย.น้อย ด้วย
3.2 ควรมีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อสร้างรูปแบบการ
ประเมินโครงการ อย.น้อย อย่างเป็นรูปธรรม
 
 
 
 
บทสรุปสําหรับผู้บริหาร
การศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ ความต้องการ
และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ
และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
โครงการวิจัยเรื่อง
“การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย”
ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา

Más contenido relacionado

Similar a โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย

รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...omsnooo
 
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561solarcell2
 
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56Ttmed Psu
 
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556ToTo Yorct
 
แนะนำแนวทาง
แนะนำแนวทางแนะนำแนวทาง
แนะนำแนวทางPratuan Kumjudpai
 
โครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กKamolchanok Thocharee
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบsomporn Isvilanonda
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Bai'mon Chankaew
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)chorchamp
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Tang Thowr
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2reraisararat
 
แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail network
แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail networkแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail network
แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail networkSujinda Kultangwattana
 

Similar a โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย (20)

รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
แผนการจัดโครงการและกิจกรรมพัฒนานิสิต ประจำปี 2561
 
แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560
แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560
แผนพัฒนาสามปี องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง พ.ศ.2558-2560
 
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยนโครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
 
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
สาระความรู้จากการให้บริการวิชาการ 56
 
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
 
แนะนำแนวทาง
แนะนำแนวทางแนะนำแนวทาง
แนะนำแนวทาง
 
โครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
โครการเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
 
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบการจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
การจัดการงานวิจัยสู่ผลลัพธ์และผลกระทบ
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
เล่มแผนCg ปี54
เล่มแผนCg ปี54เล่มแผนCg ปี54
เล่มแผนCg ปี54
 
Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)Proposal54 mk 8_nov10(final)
Proposal54 mk 8_nov10(final)
 
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
Six Plus Building Block สาขาสุขภาพช่องปาก 2014
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2
 
การทำแผนของ Cup ปี 2559
การทำแผนของ Cup ปี 2559การทำแผนของ Cup ปี 2559
การทำแผนของ Cup ปี 2559
 
แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail network
แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail networkแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail network
แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค Socail network
 
Ai ที่ป่าไหน่ พัฒนา
Ai ที่ป่าไหน่ พัฒนาAi ที่ป่าไหน่ พัฒนา
Ai ที่ป่าไหน่ พัฒนา
 
25713 1
25713 125713 1
25713 1
 
Wanchai s
Wanchai sWanchai s
Wanchai s
 

โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย

  • 1.                                           โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย” ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา บทสรุปสําหรับผู้บริหาร การศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ ความต้องการ และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย
  • 2. สารบัญ หน้า บทคัดย่อ 1 หลักการและเหตุผล 2 วัตถุประสงค์ 3 ขอบเขตการดาเนินการ 3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 4 สรุปผลการศึกษา 4 ข้อเสนอแนะ 30
  • 3. 1 หัวข้อวิจัย การศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้เข้าร่วม โครงการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย ชื่อผู้วิจัย กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค หน่วยงาน สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ปี 2555 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงคุณประโยชน์ของโครงการ อย.น้อย 2) ศึกษาถึง ความพึงพอใจ ความต้องการ ของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย 3) ศึกษาถึงความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักเรียนที่เข้าร่วมในโครงการ อย.น้อยที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนในสังกัดสานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย ซึ่งเป็น ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการ อย.น้อย เช่น ครูแกนนา อย.น้อย ผู้ปกครองของนักเรียน อย.น้อย บุคคลใน ชุมชนที่นักเรียน อย.น้อยได้ร่วมงานด้วย เจ้าหน้าที่ในสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ใน องค์กรเครือข่ายอื่นๆ ที่ทางานร่วมกับสานักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่สานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจานวน 2,000 คน แบ่งเป็นนักเรียน 1600 คน และผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง 400 คน ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจานวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธี การคานวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลข คณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA ผลการศึกษาพบว่า 1) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของนักเรียนโดยภาพรวมมีการเข้า ร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจ ต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมากที่สุด และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก 2) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของครูแกนนาโดยภาพรวมมี ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ใน ระดับมาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมาก 3) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของบุคคลในชุมชนโดยภาพรวมมี ความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับ มาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของผู้ปกครองโดยภาพรวม มีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับ มาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด 5) การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ในส่วนของเจ้าหน้าที่โดยภาพรวม มีความคิดเห็นต่อประโยชน์ของโครงการอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก และความคาดหวังอยู่ในระดับมากที่สุด
  • 4. 2 หลักการและเหตุผล โครงการ อย.น้อย ถือกาเนิดขึ้นในปี 2545 ในลักษณะโครงการนาร่อง แต่มีการ ดาเนินการอย่างจริงจังในปี 2546 โดยเริ่มดาเนินการในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ จังหวัดละ 5 โรงเรียน ด้วยการจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน และจัดให้มีการดาเนินกิจกรรม อย.น้อย จากนั้นในปี 2547 ได้ขยายกิจกรรมเพื่อให้ครอบคลุมโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนในสังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนในสังกัดสานัก บริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งในปี 2549 ได้เน้นการทากิจกรรมในลักษณะเครือข่ายให้มากขึ้น และส่งเสริมให้เกิดการเอื้ออาทรโรงเรียนระดับที่ เล็กกว่าในลักษณะ “อย.น้อยสอนน้อง” โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า ในปี 2549 จะมีโรงเรียนระดับ ประถมศึกษาทั่วประเทศได้รับการเอื้ออาทรลักษณะ “อย.น้อย สอนน้อง” จานวนหนึ่ง และหลังจากนั้น เป็นต้นมา โครงการ อย.น้อย ก็ได้มีการดาเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชนไทยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย อันจะส่งผลต่อการลดอัตราการเจ็บป่วยของ ประชาชน และลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล การทากิจกรรม นอกจาก อย.น้อย จะได้รับความรู้ด้านการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย่างถูกต้องและปลอดภัยแล้ว ยังช่วยให้เพื่อนนักเรียนและครอบครัวมีความรู้ และเกิดการพัฒนา ปรับปรุงการจาหน่ายอาหารภายในโรงเรียน รวมทั้งการปรับปรุงสถานที่จาหน่ายอาหารให้สะอาดถูก สุขลักษณะ รวมถึงนักเรียน อย.น้อย ยังได้รับการพัฒนาเรื่องการคิด การวางแผนการทางาน การแสดงออก และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน อย.น้อย โรงเรียนอื่น ๆ ทาให้เกิดเป็นเครือข่ายขึ้น นอกจากนี้ กิจกรรม อย.น้อย ยังก่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีในระดับชุมชน เช่น เกิดความร่วมมือระหว่างนักเรียน ครู พ่อค้า แม่ค้า อสม. อบต. โรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอาเภอ เป็นต้น มีการช่วยเหลือกันทั้งด้านงบประมาณ การร่วมดาเนินงาน และทรัพยากร เช่น งบสนับสนุนจาก อบต. การร่วมตรวจสอบอาหาร การอนุญาตให้ใช้หอกระจายข่าว/วิทยุชุมชน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การบริหารโครงการ อย.น้อยมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย. จาเป็นต้องมีการประเมินผลและวิเคราะห์การดาเนินงานโครงการ อย. น้อยที่ผ่านมาว่าได้ผลเป็นอย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างในการดาเนินงาน ตลอดจนความต้องการ/คาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อ โครงการ อย. น้อย ว่าเป็นอย่างไร เพื่อที่จะได้นามากาหนดเป็นยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์ในการดาเนินการ ที่สอดรับกับสภาพการณ์และปัญหาในปัจจุบัน นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลเชิงวิเคราะห์ ดังกล่าวข้างต้นจะสามารถนามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาฐานข้อมูลของโครงการ อย. น้อย เพื่อให้เกิด การจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและเกิดความสะดวกต่อการที่จะนาข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการกาหนด แผนงานหรือการดาเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการ
  • 5. 3 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาถึงคุณประโยชน์ของโครงการ อย.น้อย 2. เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ โครงการ อย.น้อย 3. เพื่อศึกษาถึงความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ โครงการ อย.น้อย ขอบเขตการดาเนินการ 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการและผู้มี ส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย 2. ขอบเขตด้านประชากร 2.1 ศึกษาข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย ซึ่งเป็นนักเรียนที่เข้าร่วมใน โครงการ อย.น้อยที่สังกัดสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนในสังกัดสานัก บริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 2.1.1 นักเรียนมัธยมศึกษา 2.1.2 นักเรียนประถมขยายโอกาส 2.1.3 นักเรียนประถมศึกษา 2.2 ศึกษาข้อมูลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย ซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับ โครงการ อย.น้อย เช่น ครูแกนนา อย.น้อย ผู้ปกครองของนักเรียน อย.น้อย บุคคลในชุมชนที่ นักเรียน อย.น้อยได้ร่วมงานด้วย เจ้าหน้าที่ในสานักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือเจ้าหน้าที่ใน องค์กรเครือข่ายอื่นๆ ที่ทางานร่วมกับสานักงานสาธารณสุขจังหวัด เจ้าหน้าที่สานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา เป็นต้น 3. ขอบเขตด้านระยะเวลา เริ่มดาเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2555 รวมระยะเวลา ในการศึกษา ทั้งสิ้น 6 เดือน ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ 1. เพื่อทราบถึงคุณประโยชน์ของโครงการ อย.น้อย 2. เพื่อทราบถึงความพึงพอใจ ของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ โครงการ อย.น้อย 3. เพื่อทราบถึงความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อ โครงการ อย.น้อย ในด้านปัจจัยนาเข้า ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการ และการดาเนินงานของโครงการ อย.น้อย 4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่สาคัญในการพัฒนาและปรับปรุงโครงการ อย.น้อย
  • 6. 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการศึกษาครั้งนี้ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง มีรายละเอียด ดังนี้ 1. สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. สถิติอ้างอิง ได้แก่ t-test และ ANOVA สรุปผลการศึกษา การวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย” ในส่วนของการประเมินโครงการ อย.น้อย ได้ทาการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจานวน 2,000 คน ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาจานวนทั้งสิ้น 1,828 คน คิดเป็นร้อยละ 91.40 การนาเสนอ สรุปผลการศึกษาแบ่งเป็น 5 ตอน ประกอบด้วย 1) ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนนักเรียน) 2) ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนครูแกนนา) 3) ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนบุคคลในชุมชน) 4) ผลการศึกษา การประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนผู้ปกครอง) 5) ผลการศึกษาการประเมินผลการ ดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนเจ้าหน้าที่) 1. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย (ส่วนนักเรียน) 1.1 ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่ตอบแบบประเมินผลการดาเนินงานโครงการ ตารางที่ 1 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม ข้อมูล จานวน (n=1,525) ร้อยละ เพศ ชาย 521 34.16 หญิง 990 64.92 ไม่ระบุ 14 .92 ระดับชั้น ประถมศึกษา 750 49.18 ปีที่ 1 17 1.11 ปีที่ 2 26 1.70 ปีที่ 3 52 3.41 ปีที่ 4 78 5.11 ปีที่ 5 214 14.03 ปีที่ 6 358 23.48 ไม่ระบุ 5 0.33
  • 7. 5 ข้อมูล จานวน (n=1,525) ร้อยละ มัธยมศึกษา 762 49.97 ปีที่ 1 80 5.25 ปีที่ 2 31 2.03 ปีที่ 3 235 15.41 ปีที่ 4 69 4.52 ปีที่ 5 201 13.18 ปีที่ 6 142 9.31 ไม่ระบุ 4 0.26 นักเรียนเป็นนักเรียนแกนนา อย.น้อย เป็น 613 40.20 เคยเป็น 115 7.54 ไม่ได้เป็น 772 50.62 ไม่ระบุ 25 1.64 ความเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ อย.น้อย เข้าใจ 1,224 80.26 ไม่เข้าใจ 276 18.10 ไม่ระบุ 25 1.64 ความสมัครใจเข้าร่วมสมาชิก อย.น้อย สมัครใจ 1,258 82.49 ไม่สมัครใจ 243 15.93 ไม่ระบุ 24 1.57 ภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 321 21.05 กลาง 320 20.98 เหนือ 311 20.39 ตะวันออกเฉียงเหนือ 272 17.84 ใต้ 301 19.74 จังหวัด กรุงเทพมหานคร 161 10.56 นนทบุรี 160 10.49 พระนครศรีอยุธยา 157 10.30 กาญจนบุรี 163 10.69 ลาพูน 153 10.03 เพชรบูรณ์ 158 10.36
  • 8. 6 ข้อมูล จานวน (n=1,525) ร้อยละ ชัยภูมิ 117 7.67 อุบลราชธานี 155 10.16 กระบี่ 141 9.25 สงขลา 160 10.49 ประเภทของโรงเรียน รัฐบาล 1,410 92.46 เอกชน 115 7.54 ชนิดของโรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 447 29.31 โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 500 32.79 โรงเรียนมัธยมศึกษา 578 37.90
  • 9. 7 1.2 การเข้าร่วมกิจกรรม โครงการ อย.น้อย ภาพที่ 1 ภาพรวมการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน หมายเหตุ กิจกรรม 1 กิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในโรงเรียน กิจกรรม 2 กิจกรรมด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 3 กิจกรรม รณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 4 กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน กิจกรรม 5 กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เชื่อมโยงสู่ การเรียนการสอน กิจกรรม6 การทาโครงงาน การนาเสนอผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพกิจกรรม7 กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในบ้านเรือน กิจกรรม 8 กิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียนจัดทา และเกี่ยวข้องกับโครงการ อย.น้อย 15.64 84.0883.9885.46 88.14 71.83 83.4 78.7678.2 15.9 14.3411.68 27.96 16.49 21.0921.67 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 100 1 2 3 4 5 6 7 8 กิจกรรม ร้อยละ เข้าร่วม ไม่เข้าร่วม
  • 10. 8 1.3 ประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรมในรายกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 2 ภาพรวมประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน จากภาพที่ 2 ภาพรวมประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ที่สุด ( x = 4.27, ร้อยละ 85.40) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ การทาโครงงาน การนาเสนอ ผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( x = 4.42, ร้อยละ 88.40) 1.4 ความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 3 ภาพรวมความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน จากภาพที่ 3 ภาพรวมความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.19, ร้อยละ 83.80) โดยกิจกรรมที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การทาโครงงาน การนาเสนอ ผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ (x = 4.31, ร้อยละ 86.20) 4.324.28 4.42 4.25 4.1 4.33 4.14 4.04 3.8 3.9 4 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 1 2 3 4 5 6 7 8 กิจกรรม ประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรม(ค่าเฉลี่ย) ร้อยละ80.80 ร้อยละ82.80 ร้อยละ86.60 ร้อยละ82.00 ร้อยละ85.00 ร้อยละ88.40 ร้อยละ85.60 ร้อยละ86.40 x = 4.27 ร้อยละ 85.40 x = 4.19 ร้อยละ 83.80 ร้อยละ80.00 ร้อยละ80.80 ร้อยละ84.00 ร้อยละ79.80 ร้อยละ84.00 ร้อยละ86.20 ร้อยละ84.20 ร้อยละ84.20
  • 11. 9 1.5 ความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 4 ภาพรวมความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน จากภาพที่ 4 ภาพรวมความพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.25, ร้อยละ 85.00) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย (x = 4.44, ร้อยละ 88.80) 1.6 ความคาดหวังต่อโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 5 ภาพรวมความคาดหวังต่อโครงการ อย.น้อย ของนักเรียน จากภาพที่ 5 ภาพรวมความคาดหวังต่อโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ( x = 4.17, ร้อยละ 83.40) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย ( x = 4.37, ร้อยละ 87.40) x = 4.25 ร้อยละ 85.00 ร้อยละ82.80 ร้อยละ84.80 ร้อยละ82.80 ร้อยละ83.60 ร้อยละ88.80 x = 4.17 ร้อยละ 83.40 ร้อยละ81.40 ร้อยละ83.40 ร้อยละ81.80 ร้อยละ82.40 ร้อยละ87.40
  • 12. 10 2. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา 2.1 ข้อมูลพื้นฐานของครูแกนนาที่ตอบแบบประเมินผลการดาเนินงานโครงการ ตารางที่ 2 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของครูแกนนาที่ตอบแบบสอบถาม ข้อมูล จานวน (n=105) ร้อยละ เพศ ชาย 15 14.29 หญิง 89 84.76 ไม่ระบุ 1 .95 กลุ่มสาระที่สอน วิทยาศาสตร์ 24 22.86 การงานอาชีพและเทคโนโลยี 25 23.81 สุขศึกษาและพลศึกษา 18 17.14 สังคมศึกษา 6 5.71 ศิลปะ 6 5.71 ภาษาไทย 11 10.48 คณิตศาสตร์ 8 7.62 ภาษาต่างประเทศ 4 3.81 ไม่ระบุ 3 2.86 วุฒิการศึกษาสูงสุด ต่ากว่าปริญญาตรี 2 1.90 ปริญญาตรี 76 72.38 ปริญญาโท 24 22.86 ปริญญาเอก - - ไม่ระบุ 6 7.50 ประสบการณ์เกี่ยวกับการดาเนินโครงการ อย.น้อย 1 - 5 ปี 55 52.38 6 – 10 ปี 12 11.42 11 - 15 ปี 4 3.81 ตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป 3 2.85 ไม่ระบุ 31 29.54 โรงเรียนของท่านเป็นโรงเรียนแกนนา อย.น้อย ใช่ 64 60.95 ไม่ใช่ 34 32.38 ไม่ได้ระบุ 7 6.67
  • 13. 11 ข้อมูล จานวน (n=105) ร้อยละ โรงเรียนของท่านมีการนาแผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อย.น้อย ไปใช้ ใช้ 73 69.52 ไม่ใช้ 25 23.81 ไม่ระบุ 7 6.67 โรงเรียนของท่านเคยเข้าร่วมประกวดกิจกรรม อย.น้อย เคย 55 52.38 ไม่เคย 37 35.24 ไม่ระบุ 13 12.38 การเข้าร่วมประกวดกิจกรรม ในแต่ละ ปี พ.ศ. ปี 2547 รองชนะเลิศอันดับ 3 โครงงานอาหารปลอดภัย 1 2.13 รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13 ปี 2548 ชนะเลิศ 1 2.13 รองชนะเลิศภาคใต้ 1 2.13 อย.น้อยดีเด่นในระดับเขตพื้นที่และรางวัลชมเชยระดับเขตตรวจ 2 4.26 ปี 2549 รองชนะเลิศภาคใต้ 1 2.13 รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13 อย.น้อยดีเด่นในระดับเขตพื้นที่และรางวัลชมเชยระดับเขตตรวจ 1 2.13 ปี 2550 รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13 รองชนะเลิศอันดับ1ระดับประถมศึกษา 1 2.13 รางวัลชมเชยระดับเขตตรวจ 1 2.13 อย.น้อยดีเด่นระดับเขตพื้นที่ 3 6.38 ปี 2551 ชมเชยระดับประเทศ 2 4.26 ปี 2552 คุณภาพเหรียญทอง 1 2.13 ชนะเลิศโครงงานสุขภาพสุขบัญญัติ10ประการกรมอนามัย 1 2.13 ชมเชย 3 6.38 ชมเชยภาคใต้ 1 2.13 รองชนะเลิศด้านนวัตกรรมระดับประเทศโครงการประกวดอย.น้อย 1 2.13
  • 14. 12 ข้อมูล จานวน (n=105) ร้อยละ รองชนะเลิศระดับจังหวัด 1 2.13 รางวัลที่2 1 2.13 เหรียญทอง 1 2.13 ปี 2553 เครือข่ายชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค ชนะเลิศ 2 4.26 ชมเชย 1 2.13 ชมเชยภาคใต้ 1 2.13 รองชนะเลิศ 1 2.13 รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13 รองชนะเลิศอันดับ1 1 2.13 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง,อย.น้อยร้อยใจระดับทอง 1 2.13 ปี 2554 เครือข่ายชุมชนคุ้มครองผู้บริโภค ภาคเหนือ ชมเชย 2 4.26 ชมเชย 2 4.26 รองชนะเลิศอันดับ 1 1 2.13 รองชนะเลิศอันดับ 2 1 2.13 รางวัลชนะเลิศระดับเขต 1 2.13 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับจังหวัดรางวัลชนะเลิศ 1 2.13 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง,อย.น้อยร้อยใจระดับทอง 1 2.13 ปี 2555 รองชนะเลิศอันดับ 2 1 2.13 โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับจังหวัดรางวัลชนะเลิศ 1 2.13 อยากให้ อย. มีการจัดประกวดกิจกรรม อย.น้อย มี 66 62.86 ไม่มี 4 3.81 ไม่ระบุ 35 33.33 หาก อย.จัดกิจกรรม เช่น มหกรรม อย.น้อย ฯลฯ ท่านประสงค์จะเข้า ร่วมกิจกรรม เข้า 56 53.33 ไม่เข้า 2 1.90 ไม่ระบุ 47 44.76 ภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 20 19.05 กลาง 21 20.00
  • 15. 13 ข้อมูล จานวน (n=105) ร้อยละ เหนือ 16 15.24 ตะวันออกเฉียงเหนือ 24 22.86 ใต้ 24 22.86 จังหวัด กรุงเทพมหานคร 11 10.48 นนทบุรี 9 8.57 พระนครศรีอยุธยา 10 9.52 กาญจนบุรี 11 10.48 ลาพูน 10 9.52 เพชรยูรณ์ 6 5.71 ชัยภูมิ 12 11.43 อุบลราชธานี 12 11.43 กระบี่ 12 11.43 สงขลา 12 11.43 ชนิดของโรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 34 32.38 โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 33 31.43 โรงเรียนมัธยมศึกษา 38 36.19
  • 16. 14 2.2 การดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 6 ภาพรวมการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา หมายเหตุ กิจกรรม 1 มีการกาหนดโครงสร้างชมรม อย.น้อยและองค์ประกอบของชมรม กิจกรรม 2 มีกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 3 มีกิจกรรมด้านการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 4 มีกิจกรรมรณรงค์ เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน กิจกรรม 5 มีกิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน กิจกรรม 6 กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เชื่อมโยงสู่การ เรียนการสอน กิจกรรม 7 การทาโครงงาน การนาเสนอผลงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 8 กิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในบ้านเรือน กิจกรรม 9 ผู้สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 10 กิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียนจัดทาและเกี่ยวข้องกับโครงการ อย.น้อย 2.3 ประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 7 ภาพรวมประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา จากภาพที่ 7 ภาพรวมประโยชน์ในการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ที่สุด ( x = 4.24, ร้อยละ 84.80) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ ผู้สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย (x = 4.40, ร้อยละ 88.00) x = 4.24 ร้อยละ 84.80 ร้อยละ79.40 ร้อยละ78.00 ร้อยละ83.60 ร้อยละ86.60 ร้อยละ72.60 ร้อยละ84.00 ร้อยละ83.80 ร้อยละ85.80 ร้อยละ88.00 ร้อยละ86.40
  • 17. 15 2.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 8 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา จากภาพที่ 8 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ( x = 3.92, ร้อยละ 78.40) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ การดาเนินงานของโครงการ (x = 4.17, ร้อยละ 83.40) 2.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 9 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของครูแกนนา จากภาพที่ 9 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ( x = 4.17, ร้อยละ 83.40) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ การดาเนินงานของโครงการ ( x = 4.29, ร้อยละ 85.80) x = 3.92 ร้อยละ 78.40ร้อยละ83.40 ร้อยละ78.20 ร้อยละ74.40 ร้อยละ78.60 ร้อยละ80.40 x = 4.17 ร้อยละ 83.40 ร้อยละ83.40 ร้อยละ78.20 ร้อยละ74.40 ร้อยละ78.60 ร้อยละ80.40
  • 18. 16 3. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน 3.1 ข้อมูลพื้นฐานของบุคคลในชุมชนที่ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 3 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของบุคคลในชุมชนที่ตอบแบบสอบถาม ข้อมูล จานวน (n=80) ร้อยละ เพศ ชาย 15 18.75 หญิง 62 77.50 ไม่ระบุ 3 3.75 วุฒิการศึกษาสูงสุด ประถมศึกษา 20 25.00 มัธยมศึกษาตอนต้น 10 12.50 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 14 17.50 อนุปริญญา/ปวส. 8 10.00 ปริญญาตรี 21 26.25 ปริญญาโท 3 3.75 ปริญญาเอก - - ไม่ระบุ 4 5.00 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 13 16.25 พนักงานเอกชน 6 7.50 เกษตรกรรม 10 12.50 ค้าขาย/นักธุรกิจ 22 27.50 อื่นๆ แม่บ้าน ลูกจ้างชั่วคราว และข้าราชการบานาญ 23 28.75 ไม่ระบุ 6 7.50 รายได้ ต่ากว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท/เดือน 9 11.25 ตั้งแต่ 3,001-6,000 บาท/เดือน 19 23.75 ตั้งแต่ 6,001-10,000 บาท/เดือน 20 25.00 ตั้งแต่ 10,001-15,000 บาท/เดือน 14 17.50 ตั้งแต่ 15,001-20,000 บาท/เดือน 6 7.50 ตั้งแต่ 20,001 บาท ขึ้นไป/เดือน 7 8.75 ไม่ระบุ 5 6.25 ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการดาเนินโครงการ อย.น้อย ไม่มี 39 48.75 มี 37 46.25
  • 19. 17 ข้อมูล จานวน (n=80) ร้อยละ โดย เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในโรงเรียน 27 33.75 เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในชุมชน 15 18.75 อื่นๆ เช่น เข้าร่วมการอบรม อสม. ตัวแทนแม่ค้าในโรงเรียน และส่งอาหารไปตรวจสอบ 5 6.25 ไม่ได้ระบุ 4 5.00 เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ อย.น้อย เข้าใจ 67 83.75 ไม่เข้าใจ 7 8.75 ไม่ระบุ 6 7.50 ภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 16 20.00 กลาง 19 23.75 เหนือ 13 16.25 ตะวันออกเฉียงเหนือ 16 20.00 ใต้ 16 20.00 จังหวัด กรุงเทพมหานคร 9 11.25 นนทบุรี 7 8.75 พระนครศรีอยุธยา 11 13.75 กาญจนบุรี 8 10.00 ลาพูน 9 11.25 เพชรยูรณ์ 4 5.00 ชัยภูมิ 8 10.00 อุบลราชธานี 8 10.00 กระบี่ 7 8.75 สงขลา 9 11.25 ชนิดของโรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 25 31.25 โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 29 36.25 โรงเรียนมัธยมศึกษา 26 32.50
  • 20. 18 3.2 การดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 10 ภาพรวมการปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน หมายเหตุ กิจกรรม 1 จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 2 จัด/ร่วมกิจกรรมด้านตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 3 จัด/ร่วม กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร กิจกรรม 4 จัด/ร่วม สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 5 จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้อง กับโครงการอย.น้อย เช่น อาหารปลอดสารพิษ 3.3 ประโยชน์ของกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 11 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน จากภาพที่ 11 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ( x = 3.90, ร้อยละ 78.00) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้องกับโครงการอย.น้อย เช่น อาหารปลอดสารพิษ (x = 4.28, ร้อยละ 85.60) กิจกรรม ร้อยละ x = 3.90 ร้อยละ 78.00 ร้อยละ82.20 ร้อยละ78.80 ร้อยละ81.60 ร้อยละ81.80 ร้อยละ85.60
  • 21. 19 3.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 12 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน จากภาพที่ 12 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 3.93, ร้อยละ 78.60) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย (x = 4.22, ร้อยละ 84.40) 3.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 13 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของบุคคลในชุมชน จากภาพที่ 13 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.00, ร้อยละ 80.00) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ความคาดหวังในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย (x = 4.38, ร้อยละ 87.60) x = 3.93 ร้อยละ 78.60 ร้อยละ80.00 ร้อยละ78.20 ร้อยละ75.60 ร้อยละ80.20 ร้อยละ84.40 x = 3.90 ร้อยละ 78.00 ร้อยละ82.60 ร้อยละ80.20 ร้อยละ79.60 ร้อยละ82.80 ร้อยละ87.60
  • 22. 20 4. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง 4.1 ข้อมูลพื้นฐานของปกครองที่ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 4 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถาม ข้อมูล จานวน (n=74) ร้อยละ เพศ ชาย 13 17.57 หญิง 59 79.73 ไม่ระบุ 2 2.70 วุฒิการศึกษาสูงสุด ประถมศึกษา 19 25.68 มัธยมศึกษาตอนต้น 11 14.86 มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 16 21.62 อนุปริญญา/ปวส. 4 5.41 ปริญญาตรี 18 24.32 ปริญญาโท 4 5.41 ปริญญาเอก - - ไม่ระบุ 2 2.70 อาชีพ ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 14 18.92 พนักงานเอกชน 3 4.05 เกษตรกรรม 15 20.27 ค้าขาย/นักธุรกิจ 25 33.78 อื่นๆ 14 18.92 ไม่ระบุ 3 4.05 รายได้ ต่ากว่าหรือเท่ากับ 3,000 บาท/เดือน 9 12.16 ตั้งแต่ 3,001-6,000 บาท/เดือน 12 16.22 ตั้งแต่ 6,001-10,000 บาท/เดือน 26 35.14 ตั้งแต่ 10,001-15,000 บาท/เดือน 11 14.86 ตั้งแต่ 15,001-20,000 บาท/เดือน 6 8.11 ตั้งแต่ 20,001 บาท ขึ้นไป/เดือน 8 10.81 ไม่ระบุ 2 2.70
  • 23. 21 ข้อมูล จานวน (n=74) ร้อยละ ประสบการณ์การเข้าร่วมกิจกรรมการดาเนินโครงการ อย.น้อย ไม่มี 26 35.14 มี 46 62.16 โดย เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในโรงเรียน 35 47.30 เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนาในชุมชน 13 17.57 อื่นๆ เช่น กิจกรรมอย.น้อย การเข้ารับการอบรม 4 5.41 ไม่ได้ระบุ 2 2.70 เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ อย.น้อย เข้าใจ 57 77.03 ไม่เข้าใจ 15 20.27 ไม่ระบุ 2 2.70 ภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 11 14.86 กลาง 16 21.62 เหนือ 10 13.51 ตะวันออกเฉียงเหนือ 17 22.97 ใต้ 20 27.03 จังหวัด กรุงเทพมหานคร 5 6.76 นนทบุรี 6 8.11 พระนครศรีอยุธยา 10 13.51 กาญจนบุรี 6 8.11 ลาพูน 7 9.46 เพชรยูรณ์ 3 4.05 ชัยภูมิ 9 12.16 อุบลราชธานี 8 10.81 กระบี่ 11 14.86 สงขลา 9 12.16 ชนิดของโรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 21 28.38 โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส 24 32.43 โรงเรียนมัธยมศึกษา 29 39.19
  • 24. 22 4.2 การดาเนินกิจกรรมโครงการ อย. น้อย ภาพที่ 14 ภาพรวมการปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง หมายเหตุ กิจกรรม 1 จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 2 จัด/ร่วมกิจกรรมด้านตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 3 จัด/ร่วม กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร กิจกรรม 4 จัด/ร่วม สนับสนุนกิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 5 จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้อง กับโครงการอย.น้อย เช่น อาหารปลอดสารพิษ 4.3 ประโยชน์กิจกรรมโครงการ อย. น้อย ภาพที่ 15 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง จากภาพที่ 15 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ที่สุด ( x = 4.26, ร้อยละ 85.28) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ จัด/ร่วมกิจกรรมรณรงค์ เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร (x = 4.39, ร้อยละ 87.80) x = 4.26 ร้อยละ 85.28 ร้อยละ84.20 ร้อยละ82.40 ร้อยละ87.80 ร้อยละ84.40 ร้อยละ87.60
  • 25. 23 4.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 16 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง จากภาพที่ 16 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.18, ร้อยละ 83.60) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านความพึงพอใจในภาพรวมของโครงการ อย.น้อย (x = 4.36, ร้อยละ 87.20) 4.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 17 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของผู้ปกครอง จากภาพที่ 17 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.21, ร้อยละ 84.20) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ด้านความคาดหวังในภาพรวมของ โครงการ อย.น้อย (x = 4.44, ร้อยละ 88.80) x = 4.18 ร้อยละ 83.60 ร้อยละ83.60 ร้อยละ84.00 ร้อยละ83.00 ร้อยละ86.40 ร้อยละ87.20 x = 4.21 ร้อยละ 84.20 ร้อยละ83.60 ร้อยละ84.20 ร้อยละ84.20 ร้อยละ86.20 ร้อยละ88.80
  • 26. 24 5. ผลการศึกษาการประเมินผลการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่ 5.1 ข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ตารางที่ 5 จานวนและร้อยละ ข้อมูลพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ที่ตอบแบบสอบถาม ข้อมูล จานวน (n=45) ร้อยละ เพศ ชาย 10 22.22 หญิง 35 77.78 สังกัด สานักงานสาธารณสุขจังหวัด 37 82.22 สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา 1 2.22 องค์กรอื่นๆ เช่น เทศบาล โรงพยาบาล และสาธารณสุขอาเภอ 7 15.56 วุฒิการศึกษาสูงสุด ต่ากว่าปริญญาตรี 1 2.22 ปริญญาตรี 26 57.78 ปริญญาโท 18 40.00 ปริญญาเอก ประสบการณ์เกี่ยวกับการดาเนินโครงการ อย.น้อย ไม่มี 4 8.89 มี 41 91.11 โดย จัด/เข้าร่วมการอบรม ประชุม สัมมนา 32 71.11 การให้ความรู้แก่โรงเรียน และชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ 27 60.00 อื่นๆ โปรดระบุ เช่น คณะกรรมการตัดสินประกวดโครงการอย.น้อย จัดเวทีประกวดโครงการ อย.น้อย ให้ความรู้ผู้ประกอบการในโรงเรียน และทาแผ่นพับ โปสเตอร์แจก เครือข่าย 6 13.33 ภาค กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 1 2.22 กลาง 10 22.22 เหนือ 9 20.00 ตะวันออกเฉียงเหนือ 5 11.12 ใต้ 20 44.44 จังหวัด กรุงเทพมหานคร 1 2.22 กาญจนบุรี 10 22.22 ลาพูน 9 20.00 อุบลราชธานี 5 11.12
  • 27. 25 ข้อมูล จานวน (n=45) ร้อยละ กระบี่ 10 22.22 สงขลา 10 22.22 ตาแหน่ง เจ้าหน้าที่ สสจ. และเจ้าหน้าที่ อย. 11 24.44 เจ้าหน้าที่ในองค์กรต่างๆ ที่ทางานร่วมกับ สสจ. และ อย. 34 75.56 5.2 การปฏิบัติงานของกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 18 ภาพรวมการปฏิบัติงานกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่ หมายเหตุ กิจกรรม 1 มีส่วนร่วมในการกาหนดโครงสร้างและเกณฑ์ต่างๆ เกี่ยวกับชมรม/ ชุมชน อย.น้อย กิจกรรม 2 จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพ กิจกรรม 3 จัด/ร่วมกิจกรรมด้านตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ กิจกรรม 4 จัด/ร่วมกิจกรรม รณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร กิจกรรม 5 จัด/ร่วมสนับสนุน กิจกรรม อย.น้อย กิจกรรม 6 จัด/ร่วมกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงเรียน/ชุมชนจัดทาและเกี่ยวข้องกับ โครงการอย.น้อย เช่น เครือข่าย โรงเรียน อย.น้อย
  • 28. 26 5.3 ประโยชน์ของกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 19 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่ จากภาพที่ 19 ภาพรวมประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ที่สุด ( x = 4.26, ร้อยละ 85.20) โดยกิจกรรมที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ จัด/ร่วมกิจกรรมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ( x = 4.32, ร้อยละ 86.40) และจัด/ร่วม กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเช่น การเลือกซื้ออาหาร ( x = 4.32, ร้อยละ 86.40) 5.4 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 20 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่ จากภาพที่ 20 ภาพรวมความพึงพอใจต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก ที่สุด ( x = 3.56, ร้อยละ 71.20) โดยด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านการดาเนินงานของ โครงการ (x = 3.82, ร้อยละ 76.40) x = 4.26 ร้อยละ 85.20 ร้อยละ77.00 ร้อยละ86.40 ร้อยละ84.80 ร้อยละ86.40 ร้อยละ84.40 ร้อยละ85.60x = 3.56 ร้อยละ 71.20 ร้อยละ76.40 ร้อยละ66.60 ร้อยละ68.40 ร้อยละ74.60 ร้อยละ75.20
  • 29. 27 5.5 ความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ภาพที่ 21 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย ของเจ้าหน้าที่ จากภาพที่ 21 ภาพรวมความคาดหวังต่อกิจกรรมโครงการ อย.น้อย อยู่ในระดับมาก (x = 4.20, ร้อยละ 84.00) โดยด้านที่มีความคาดหวังมากที่สุดคือ ด้านความคาดหวังในภาพรวมของ โครงการ (x = 4.36, ร้อยละ 87.20) 6. ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยทาการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์จานวน 100 คน สามารถสรุป เป็นประเด็นที่สาคัญดังนี้ 6.1 ข้อมูลจากนักเรียน 6.1.1 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าโครงการ อย. น้อยมีประโยชน์มาก เพราะสามารถนา ความรู้ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจาวัน นอกจากนี้กิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะการตรวจสอบคุณภาพ อาหารทาให้มีโอกาสตรวจสอบคุณภาพอาหารว่าปลอดภัยหรือไม่ มีผลต่อสุขภาพอย่างไร รวมถึง สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆได้อย่างมีคุณภาพ 6.1.2 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า อยากให้มีการจัดอบรม จัดสัมมนาเชิงวิชาการ มีการ ณรงค์ และประชาสัมพันธ์ให้แก่ประชาชนในชุมชนอยู่เป็นประจา จะเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการ โครงการอย. น้อย 6.1.3 ผู้ให้ข้อมูลต่างต้องการการสนับสนุนอย่างยิ่งในด้านการเงิน อุปกรณ์ การจัด อบรม และด้านอาหารที่มีคุณภาพ 6.1.4 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าจะได้รับความปลอดภัยจากการรับประทานอาหาร ภายในโรงเรียน ได้รับความรู้จากโครงการ อย.น้อย และมีสุขภาพดีจากการเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย 6.1.5 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าความร่วมมือ ความสามัคคี การเงิน และสื่อในการเรียนรู้ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย x = 4.20 ร้อยละ 84.00ร้อยละ86.20 ร้อยละ82.40 ร้อยละ83.20 ร้อยละ85.20 ร้อยละ87.20
  • 30. 28 6.1.6 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าวิธีการที่ช่วยโครงการ อย.น้อย ประสบความสาเร็จมาก ขึ้นกว่าปัจจุบันคือ การทาให้การประชาสัมพันธ์มีความเข้าใจง่าย น่าสนใจ การแนะนาจากผู้เชี่ยวชาญ ดาเนินการอย่างต่อเนื่อง และสนับสนุนให้นักเรียนศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม 6.1.7 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย คือ การไม่ค่อยได้รับความร่วมมือจากประชาชน ขาดงบประมาณ ขาดวิทยากรที่ให้ความรู้ และขาดการประชาสัมพันธ์ 6.1.8 ผู้ให้ข้อมูลต่างพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เพราะได้ความรู้ที่นาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้ แต่ควรมีการจัดกิจกรรมหรือการจัดอบรมให้มากขึ้น 6.1.9 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าโครงการ อย.น้อย ควรมีบทบาทในอนาคตคือ การทาให้โครงการเป็นที่ยอมรับและมีคนรู้จักมากขึ้น การณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาการตรวจสอบอาหารโดยใช้วิธีที่ง่ายและรวดเร็ว 6.1.10 ผู้ให้ข้อมูลต่างให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ อย.น้อย ในการดาเนินการได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่า ทุกฝ่ายควรช่วยเหลือกัน ตั้งใจทางาน มีกิจกรรมและการจัด อบรมเชิงวิชาการอย่างต่อเนื่อง 6.2 ข้อมูลจากครูแกนนา 6.2.1 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าโครงการ อย. น้อยมีประโยชน์มาก ทาให้มีความรู้ เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์และปลอดภัย ทาให้มีความรู้เรื่องต่างๆมากมาย รวมทั้งได้ พัฒนาตนเองโดยเฉพาะการได้รู้วิธีการตรวจสอบ และได้ปฏิบัติลงมือทาจริง 6.2.2 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า อยากให้มีการจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนเป็นประจา มีการจัดกิจกรรม ทัศนะศึกษา และมีการอบรมอยู่เป็นประจาจะเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการ โครงการอย. น้อย 6.2.3 ผู้ให้ข้อมูลต่างต้องการการสนับสนุนอย่างยิ่งในด้านงบประมาณ บุคลากรใน การจัดกิจกรรม และอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ 6.2.4 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าจะได้รับความรู้ ความร่วมมือจากผู้บริหาร พัฒนา พฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน สุขภาพของนักเรียนแข็งแรง และมีอาหารที่สะอาดภายในโรงเรียน จากการเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย 6.2.5 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า ความตั้งใจของผู้ดาเนินกิจกรรม การสนับสนุน งบประมาณ การประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการปฏิบัติจริง และความร่วมมือกันในทุกๆฝ่ายเป็นปัจจัยที่ มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย 6.2.6 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าวิธีการที่ช่วยโครงการ อย.น้อย ประสบความสาเร็จมาก ขึ้นกว่าปัจจุบันคือ การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอต่อการสนับสนุนโครงการ มีการรณรงค์ อบรม และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง 6.2.7 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย คือ การขาดความร่วมมือของร้านค้า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมขาดความรู้ บุคลากรในการดาเนิน โครงการมีน้อย และขาดการสนับสนุนงบประมาณ
  • 31. 29 6.2.8 ผู้ให้ข้อมูลต่างพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก โดยได้รับความรู้มากมาย และทาให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 6.2.9 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าโครงการ อย.น้อย ควรมีบทบาทในอนาคตคือ การมี กิจกรรมที่ทาร่วมกับโรงเรียนอื่นๆ การมีบทบาทในการตรวจสอบอาหาร การให้ความรู้ในการป้องกัน โรคระบาดต่อชุมชนและร้านค้า รวมถึงสามารถเป็นตัวแทนสาธารณสุขในการให้ข้อมูลความรู้แก่ ชุมชนได้ 6.2.10 ผู้ให้ข้อมูลต่างให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ อย.น้อย ในการดาเนินการได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่า การได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง การมีบุคลากรจาก สาธารณสุขมาให้ความรู้ และควรจัดอบรมเป็นประจาอย่างต่อเนื่อง 6.3 ข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง 6.3.1 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าโครงการ อย. น้อยมีประโยชน์มาก ทาให้รู้ถึงแนว ทางการปฏิบัติในการบริโภคที่มีประโยชน์ เลือกซื้อได้อย่างถูกต้อง ได้อาหารที่ดีมีประโยชน์ ปลอดภัย และทาให้นักเรียนเข้าใจถึงเป้าหมายของโครงการ 6.3.2 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่ากิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้อง กิจกรรม อย.น้อยดีเด่น กิจกรรม Miss/Mr. อย.น้อย กิจกรรมเดินพาเหรด กิจกรรมอาหารฮาลาน จะเป็นประโยชน์ต่อการดาเนินการโครงการอย. น้อย 6.3.3 ผู้ให้ข้อมูลต่างต้องการการสนับสนุนอย่างยิ่งในด้านความรู้เพิ่มเติม ด้านงบประมาณ การตรวจสุขภาพและผลิตภัณฑ์ สนับสนุนกิจกรรมอย่างสม่าเสมอ จัดอบรมครูแกนนา นักเรียนแกนนาและสมาชิก 6.3.4 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าจะได้รับความรู้ทางด้านความปลอดภัยของอาหาร และได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากการเข้าร่วมโครงการ อย.น้อย 6.3.5 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่า การสนับสนุนด้านงบประมาณ บุคลากร ผู้ประสานงาน ความรู้ ความสามัคคี และระเบียบวินัย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย 6.3.6 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าวิธีการที่ช่วยโครงการ อย.น้อย ประสบความสาเร็จมาก ขึ้นกว่าปัจจุบันคือ การที่ทุกฝ่ายเห็นความสาคัญ มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง และการเฝ้าระวัง ในโรงเรียนและชุมชน 6.3.7 ผู้ให้ข้อมูลต่างเห็นว่าปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดาเนินงานโครงการ อย.น้อย คือ มีบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือ และเวลาที่ใช้ทากิจกรรมกระทบกับเวลาในการเรียน 6.3.8 ผู้ให้ข้อมูลต่างพึงพอใจต่อโครงการ อย.น้อย ในภาพรวมอยู่ในระดับพอใจมาก เพราะทุกคนให้ความร่วมมือ และนาความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตประจาวัน 6.3.9 ผู้ให้ข้อมูลต่างคาดหวังว่าโครงการ อย.น้อย ควรมีบทบาทในอนาคตคือ มีการ โฆษณาโครงการ อย.น้อย ให้มากขึ้น การนามาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน และการช่วยให้ความรู้ ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค 6.3.10 ผู้ให้ข้อมูลต่างให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ อย.น้อย ในการดาเนินการได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลว่า ควรมีการประชาสัมพันธ์ และดาเนินการอย่างต่อเนื่อง
  • 32. 30 7. ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสนทนากลุ่ม ข้อมูลตามที่ได้จากข้อเสนอแนะ การสัมภาษณ์ ได้นาข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการจัด สนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อทบทวนและเพิ่มเติมประเด็นที่สาคัญต่างๆกับข้อมูล โดยสามารถ สรุปได้ดังนี้คือ 7.1 ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์ต่างๆจากโครงการเป็นไปตามที่หวัง โดยส่วนใหญ่ เห็นว่าความรู้ที่ได้รับสามารถเลือกอาหารได้อย่างถูกต้อง เลือกใช้ยาได้ถูกต้องและมีคุณภาพ เลือกใช้ ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ 7.2 ผู้เข้าร่วมโครงการได้เสนอให้มีการจัดทานิทรรศการ โครงงาน ศึกษาเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เพื่อให้นักเรียนได้ฟังมากขึ้นนอกจากนี้ควรพัฒนารูปแบบของสื่อ ประชาสัมพันธ์ โดยเน้นสื่อในรูปแบบการ์ตูนบ้างเพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความสนใจมากขึ้น 7.3 ในด้านการสนับสนุนที่ต้องการอย่างยิ่ง คือ ทางโรงเรียนอยากให้หน่วยกลางให้การ สนับสนุนเครื่องตรวจสารปนเปื้อน รวมถึงงบประมาณในการดาเนินกิจกรรม ซึ่งทางโรงเรียนต้องการ ดาเนินกิจกรรมแต่ขาดงบประมาณสนับสนุน นอกจากนี้คือการสนับสนุนด้านบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขที่รับผิดชอบ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงสาหรับโครงการ อย่างต่อเนื่อง 7.4 ผู้เข้าร่วมโครงการได้เสนอให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการให้ ข้อเสนอแนะเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาโครงการอย.น้อย 7.5 ปัญหาและอุปสรรคของการดาเนินงานโครงการ อย. พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการ ยังขาดความรู้ในการดาเนินกิจกรรมที่ชัดเจน และยังไม่มีการแนะนาหรือให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ และปัญหาอุปสรรคที่ค่อนข้างชัดเจนและมีผลต่อความสาเร็จของ โครงการ อ.ย. น้อยคือ ความร่วมมือของชุมชนในการดาเนินกิจกรรม รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ ของโรงเรียนที่เอื้อต่อความสาเร็จของโครงการ ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสาหรับโรงเรียน 1.1 จากการประเมินโครงการ อย.น้อย พบว่ากิจกรรมที่เข้าร่วมน้อยที่สุดไม่ว่าจะเป็น นักเรียน และครูแกนนาคือ กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ทาง โรงเรียนต้องมีการรณรงค์ สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายรับรู้ เข้าใจ เล็งเห็นถึงประโยชน์โดยใช้กิจกรรม อย.น้อย เป็นฐานของการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของทุกคน ทุกระดับได้อย่างมี ประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้น 1.2 โรงเรียนต้องให้การสนับสนุนปัจจัยนาเข้า ด้านผลผลิต กระบวนการ และการ ดาเนินงานเพื่อให้ นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีทักษะที่จาเป็นอย่าง ถูกต้องในการเป็นผู้บริโภคที่ดี ได้นาความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจาวัน สามารถแนะนาผู้อื่นได้ นักเรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีสุขภาพแข็งแรง และกิจกรรม อย.น้อย ควรดาเนินต่อไปและต่อเนื่อง
  • 33. 31 1.3 บุคคลในชุมชนมีความคิดเห็นต่อประโยชน์ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการ อย.น้อย โดยภาพรวมมีประโยชน์มาก ซึ่งกิจกรรมที่เห็นว่ามีประโยชน์มากที่สุดคือ กิจกรรมที่ได้จัดร่วมกัน ระหว่างโรงเรียน/ชุมชน ดังนั้นควรเน้นความร่วมมือระหว่างโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ได้ร่วมมือกันผ่านการดาเนินกิจกรรมโครงการ อย.น้อย เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ด้านอาหาร และ ผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานศึกษาทุกระดับอย่างต่อเนื่อง 2. ข้อเสนอแนะสาหรับ อย. 2.1 จากการประเมินโครงการ อย.น้อย กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพในชุมชนยังมีการเข้าร่วมน้อย ดังนั้น อย. จึงควรส่งเสริมโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องในการรณรงค์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ การ สร้างความตระหนักและการคุ้มครองผู้บริโภค โดยผ่านกิจกรรมของชมรม/ชุมนุมคุ้มครองผู้บริโภคใน โรงเรียน อย.น้อย และชุมชนในเชิงรุกมากยิ่งขึ้น 2.2 การจัดโครงการ อย.น้อย ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายและเหมาะสมกับโรงเรียน นักเรียน ครูแกนนา และชุมชนในแต่ละพื้นที่ รวมถึงเน้นการใช้สื่อที่หลากหลายเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 2.3 การสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์และบุคลากรจากความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ อย.น้อย ต้องการให้มีให้การสนับสนุนเครื่องตรวจสารปนเปื้อน รวมถึงงบประมาณในการดาเนิน กิจกรรม ซึ่งทางโรงเรียนต้องการดาเนินกิจกรรมแต่ขาดงบประมาณสนับสนุน รวมถึงการสนับสนุน ด้านบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบ ในการให้ความรู้ความเข้าใจ เพื่อเป็นพี่เลี้ยง สาหรับโครงการ อย่างต่อเนื่อง 2.4 จากปัญหาและอุปสรรคในการดาเนินโครงการ อย.น้อย ผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการยัง ขาดความรู้ในการดาเนินกิจกรรมที่ชัดเจน และยังไม่มีการแนะนาหรือให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมถึง งบประมาณที่ยังไม่เพียงพอ และปัญหาอุปสรรคที่ค่อนข้างชัดเจนและมีผลต่อความสาเร็จของ โครงการ อ.ย. น้อยคือ ความร่วมมือของชุมชนในการดาเนินกิจกรรม ตลอดจนสภาพแวดล้อม โดยรอบของโรงเรียนที่เอื้อต่อความสาเร็จของโครงการ ดังนั้นทาง อย. จึงต้องมีแผนกลยุทธ์เพื่อ นามาใช้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากร งบประมาณ และการดาเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ ต่อไป 2.5 ควรมีการติดตามประเมินผลโครงการ อย.น้อยอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาโครงการ อย.น้อยต่อไป 3. ข้อเสนอแนะสาหรับการวิจัยครั้งต่อไป 3.1 การวิจัยครั้งต่อไปควรดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะ 360 องศา กับผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านอาหารในโรงเรียน มีกิจกรรมให้มีส่วนร่วมในการ ดาเนินโครงการ อย.น้อย ด้วย 3.2 ควรมีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เพื่อสร้างรูปแบบการ ประเมินโครงการ อย.น้อย อย่างเป็นรูปธรรม
  • 34.         บทสรุปสําหรับผู้บริหาร การศึกษาคุณประโยชน์ ความพึงพอใจ ความต้องการ และความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโครงการ อย.น้อย โครงการวิจัยเรื่อง “การประเมินผลเชิงวิเคราะห์และการพัฒนาระบบฐานข้อมูลของโครงการ อย.น้อย” ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2555 สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา