SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 78
Descargar para leer sin conexión
1 
S 
T E M 
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ! 
โครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ 
ด้วยภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืน 
ณ University of Georgia มลรัฐจอร์เจีย 
ประเทศ สหรัฐอเมริกา 
ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ถึง วันที่27 ตุลาคม 2557 
โดย 
นางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี 
ครู คศ.1 โรงเรียนถนนหักพิทยาคม 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32" 
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
กระทรวงศึกษาธิการ
2 
รายงานการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 
เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืน 
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป 
๑.๑ ชื่อ-สกุล นางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี ตำแหน่ง ครู ระดับ คศ.๑ 
๑.๒ การศึกษาสูงสุด กศม. หลักสูตรและการสอน 
๑.๒ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ 
๑.๔ ข้อเสนอโครงการ ชื่อโครงการ/ผลงานที่นำเสนอ 
โครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาศักยภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี 
วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืน 
รูปแบบกิจกรรม การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและจัดทำเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ 
นิเทศติดตามผ่านพื้นที่ออนไลน์ 
ส่วนที่ ๒ ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา/ฝึกอบรม 
๒.๑ วัตถุประสงค์ 
๑. พัฒนาครูแกนนำวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ 
จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ด้วยภาษษอังกฤษอย่างยั่งยืน 
๒. ครูแกนนำวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีศักยภาพสามารถขยายองค์ความรู้ด้านการจัด 
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ด้วยภาษาอังกฤษได้ 
๓. พัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของผู้เรียนด้วยภาษาอังกฤษ 
๒.๒ เนื้อหา 
รายงานการเข้าอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ตามที่ได้เข้ารับการอบรม 
ประกอบด้วย 1. การเข้ารับการอบรมประกอบด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การจัดการเรียนรู้ 
ภาษาอังกฤษด้วยเทคนิค TPR และการสื่อสาร 3. การสังเกตชั้นเรียน 4. การเยี่ยมชมศึกษาดูงาน 
โรงเรียนและการศึกษาแหล่งเรียนรู้ 
1. การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนการสอน 
1.1 หัวข้อ How to mentor new Science Teacher : Project Focus and Culture 
อาจารย์ผู้สอน Dr. Julie A. Luft ใน Workshop on “Strengthening and Supporting Newly 
Hired Teachers of Science” 
อาจารย์ทำโครงการในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้วยแรงจูงใจและต้องการให้คุณครู 
ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาให้ครู ทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ
3 
อาจารย์แบ่งกลุ่มให้ 4 กลุ่ม แจกการ์ดกลุ่มละ 5 ใบ ให้สมาชิกในกลุ่มอภิปรายร่วมว่าภาพใด 
สามารถเป็นตัวแทนปีแรกในการเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ (Select a postcard that your group 
feels best represents your first year of teaching Science) กลุ่มของเราเลือกภาพรถที่ 
จอดอยู่ท่ามกลางทะเลทราย ด้วยเหตุผลที่ว่า แต่ละคนมีเรื่องราวให้บุกเบิกเริ่มต้นเกี่ยวกับ 
การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เช่น พี่นก เรียนด้านคณิตศาสตร์แต่ต้องมาสอนวิทยาศาสตร์ 
โรงเรียนของพี่เดียร์เพิ่งเริ่มต้นสอนวิทยาศาสตร์ม.ต้น สำหรับครูปุ้มเองก็น่าจะเป็นผู้บุกเบิกการสอนที่ 
มีปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ 
“I choose this picture because the picture like lack of supply/resource so dry up 
but show can feel the strongest of picture” 
KruPumBiO in Georgia class. 
อาจารย์ให้เราทำกิจกรรมนี้เพื่อที่จะให้นึกถึงความรู้สึกแรกเมื่อก้าวเข้าสู่ การทำงานเป็น 
ครูวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางครั้งเราผ่านประสบการณ์ตรงนั้นนานจนลืมไปว่า ครูใหม่ทุกคนมีสภาวะ 
ที่ยากลำบากในช่วงเริ่มต้นการทำงาน เมื่อกลับไปทำความเข้าใจกับความรู้สึกนั้นได้ 
เราจะสามารถช่วยคุณครูมือใหม่ได้นั่นเอง 
กิจกรรมนี้ยังช่วยให้อาจารย์ Luft ได้รู้ prior knowledge (ความรู้เดิม) ของเราอีกด้วย 
ว่าแต่ละคนมีประสบการณ์มาอย่างไร อะไรบ้างที่ผู้เรียนมีอยู่ในตอนนี้ (Prior knowledge = What 
you know about something, what they bring in our classroom) 
จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายถึงคำว่า “New teacher” ซึ่งบางครั้งไม่ได้หมายถึงครูที่ 
เพิ่งบรรจุเข้าทำงานอย่างเดียว (New to teaching) ยังหมายถึง 
- New to teaching a field = การสอนในวิชาใหม่ 
- New to a grade level = การสอนในระดับชั้นใหม่
4 
โดยทั่วไปการสนับสนุนครูผู้สอนจะมี 2 ส่วนคือ ส่วนของนักศึกษาฝึกสอน (Pre-service) 
และครูทั่วไป (In-service) แต่มีช่องว่างคือ ช่วง 5 ปีแรกของการเป็นครูซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมาก 
ดังภาพ 
Pre-service teacher 
Induction 
teacher 
(1-5 years of 
experince) 
In-service Teacher 
ซึ่งเป็นเหตุผลให้อาจารย์ Luft ทำงานวิจัยเรื่องนี้ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มคือ 
โรงเรียนดูแล ระบบออนไลน์ โปรแกรมของ 
มหาวิทยาลัย 
กลุ่มที่ไม่มี 
การสนับสนุน 
- เขตพื้นที่การศึกษา 
จะมอบหมายให้ 
ครูพี่เลี้ยง (mentor) 
ดูแลเรื่องทั่วๆไป 
มีการพบปะพูดคุย 
หลายๆครั้ง 
มหาวิทยาลัยร่วมมือ 
กับกระทรวง 
เน้นการสอนวิทยา- 
ศาสตร์ 
ครูพี่เลี้ยงต้องเป็น 
คุณครูที่มีประสบการณ์ 
สอน 6 ปีขึ้นไป 
เป็นระบบการเรียนรู้ 
แบบออนไลน์ที่มี 
ปฏิสัมพันธ์ 
(ถ้าครูใหม่มีปัญหา 
สามารถโพสต์ข้อความ 
ถาม จากนั้นจะมี 
ครูพี่เลี้ยงมาช่วยตอบ 
คำถาม) 
มีการพบเจอพูดคุย 
ปีละ 1 ครั้ง 
มหาวิทยาลัยพัฒนา 
โครงการขึ้นมา 
เน้นการสอนวิทยา- 
ศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยร่ววมือกับ 
เขตพื้นที่ 
-ไปยี่ยมห้องเรียน 
เดือนละ 1 ครั้ง 
-เข้ามาเรียนที่ 
มหาวิทยาลัย 
เดือนละ 1 ครั้ง 
-ครูเข้าร่วมสัมมนา 
ในท้องถิ่น 
มีประสบการณ์สอน 
จากการเรียน 
ครูพี่เลี้ยงอาจจะเป็น 
ครูวิทย์หรือไม่ใช่ก็ได้ 
เน้นการสอนทั่วๆไป
5 
โดยใช้เวลา 2 ปี ในการสนับสนุน และติดตามผลภายใน 5 ปี การวัดและประเมินผลตาม 
PCK (P = Pedagogical, C = Content, K = Knowledge) 
แบบสัมภาษณ์ PCK เพื่อวัดและประเมินผล PCK 
ข้อจำกัด พื้นฐาน ระดับสูง 
Category 1 
การเรียนรู้ของนักเรียน 
- ความรู้เดิม 
- ตัวแปรของการเรียนรู้ 
- ความยากของหลักการ 
Category 2 การเรียนการสอน 
- การสืบเสาะ 
- การใช้ตัวอย่าง 
(ตัวอย่าง เช่น ใน limited ครูตอบได้ไหมถึงข้อจำกัดของโมเดล ในระดับ Advance 
ครูมีการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนไหม พบ misconcept ในผู้เรียนบ้างหรือไม่ เป็นต้น) 
จากนั้นอาจารย์ให้เราเลือกบทเรียนที่เราคิดว่าเราชอบสอนมากที่สุด 
ครูปุ้มเลือก “My favorite teaching lesson is Genetics” 
Prior knowledge : Easy for seeing empirical evidence such as they can see some 
characteristic from their parent. 
Variety to learning : - Modeling 
- WEWT 
- Inquiry 
- Role play 
เวลาที่เราตอบเราจะคำนึงถึงว่า เนื้อหาอะไร ใช้วิธีการสอนแบบไหน ใช้แล้วทำไมถึงคิดว่า 
ได้ผลดีเพราะอะไร (เด็กชอบ เด็กเรียนเข้าใจ) เรียกว่าการสร้างความรู้ที่จะสอน “Build knowledge 
how to teaching” 
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มครูที่อยู่ในโปรแกรมออนไลน์มีพัฒนาการที่ดีที่สุด 
ตามมาด้วยกลุ่มโปรแกรมของมหาวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนดูแลและกลุ่มที่ไม่มีการสนับสนุนตามลำดับ 
ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งนำเสนอว่าแต่ละกลุ่มมีการจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง
6 
(จากการทำกิจกรรมจะพบว่า เทคนิคการให้ทำนายก่อน จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจข้อมูลมากขึ้น) 
เมื่อต้องทำหน้าที่ในการสังเกตการเรียนการสอน ให้บอกคุณครูใหม่เลยว่า อะไรบ้างที่ 
เราต้องการสังเกต เช่น วันนี้จะสังเกตจะเฉพาะการเคลื่อนไหวภายในห้องเรียน จะวาดภาพ 
การเคลื่อนไหวของครู เมื่อสะท้อนผลจะใช้วิธีการคือ ให้ดูผลการบันทึกและให้ครูสะท้อนคิด 
ด้วยตัวเอง เช่น ครูจะเริ่มรู้ตัวว่าเดินไม่ทั่วทั้งห้อง 
“เมื่อดูผลการบันทึก พบอะไรจากการบันทึกบ้าง จะบอกคุณครูใหม่อย่างไร” 
การบันทึกคำถาม-บทสนาที่ครูใช้ในชั้นเรียน จะทำให้ครูนักศึกษาฝึกประสบการณ์ 
สอนได้รู้ว่า คำถามที่ใช้กับนักเรียนอยู่ในระดับใด เป็นคำถามที่ดีหรือไม่ การตอบคำถามนักเรียน 
เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
7 
การเรียนรู้เรื่องพันธุศาสตร์-คำถามที่ครูใช้ในการเรียนการสอน 
- Which one is the mother? 
- How do you know? 
- What do you get when you cross this plant in the first generation? 
- What is a genotype? 
- What is a phenotype? 
- What dose a P stand for? 
- If this is the offspring, what might the parents be? why? 
- How can you diagram two organism mate? 
- What dose it mean to heterogenous? 
- What dose it mean to homogenous? 
- Put that down! 
- Yes, that is right. 
Canyou tell me how you made that conclusion? 
-Yes. 
- No this is wrong. Now do it again. 
- What would happen to the offspring if this parent was Rr instead of RR. 
- Is that dominat? 
- Is that recessive? 
- What is the chance of having an rr offspring in the first generation? 
บทตัวอย่างการสังเกตบทสนทนาในห้องเรียน จะพบว่าการถามคำถามยังเน้นคือความจำ จะช่วยให้ครูเกิด 
การเตรียมตัวในเรื่องคำถามในครั้งต่อไป 
อาจารย์ให้เทคนิคการสร้างคำถามที่ดีคือ HRASE, H = history, R=Relationship A = 
application S = Speculation E = Evaluate. 
ช่วงการถาม-ตอบคำถาม 
1. ที่อเมริกาไม่เน้น Action Research มาก แต่จะเน้น Data Team Analysis 
คือครูนำข้อมูลมารวมกันแล้วช่วยแก้ปัญหาให้ผู้เรียน 
2. วัฒนธรรมองกรค์ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูใหม่
8 
1.2 หัวข้อเรื่อง Project FOCUS : Fostering Our Community’s Understanding of Science 
สอนโดย David Knauff 
เป็นรายวิชาที่ให้นักศึกษาวิทยาศาสตร์ (pure science) มีโอกาสจัดการเรียนการสอน 
ในโรงเรียน ใช้เวลา 14 สัปดาห์ 40 ชั่วโมง โดยมีโรงเรียนเครือข่ายและมีครูพี่เลี้ยง ก่อนที่จะออกไป 
สอนได้ จะมีการอบรมจนสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ รายวิชานี้สร้างขึ้นมาจาก 
1. นักศึกษาต้องการสอนหรือทำงานกับเด็กๆ 
2. โรงเรียนต้องการการสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 
โดยใช้รูปแบบการบริการสังคม (Service-learning) ซึ่งจะแตกต่างกับ อาสาสมัคร 
(Volunteer) อาสาสมัครคือมีเหตุการณ์ต่างๆเข้าไปช่วยเหลือ แต่บริการสังคมคือการนำความรู้ที่มี 
ไปช่วยนักเรียนในโรงเรียน 
โดยมีครูพี่เลี้ยงที่โรงเรียนคอยดูแลและกลับมามหาวิทยาลัยเดือนละ 1 ครั้ง 
เกณฑ์การประเมิน : โดยครูพี่เลี้ยง การนำเสนองาน การบันทึกอนุทินและการชวนเพื่อน 
มาเรียน 
ผลลัพธ์คือ 
1. ผลการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นเพราะมีการรับรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้น 
และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น 
2. ได้ Lesson plan และอุปกรณ์ เพื่อจัดเตรียมไว้ให้ครูนำไปใช้ 
3. มีทัศคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์มากขึ้น 
4. คุณครูในโรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ที่เป็น active มากขึ้น 
การนำไปใช้ 
1. สร้างโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ 
ของเนื้อหาวิชา และมีเจคติที่ดีว่าความรู้ที่เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
2. แนวคิด Service Learning น่าจะสามารถนำไปใช้ได้ทุกวิชา
9 
3. ประยุกต์ใช้ร่วมกับวิชาจิตสาธารณะ Service mind เช่น โรงเรียนของครูไพศาล 
ทำกิจกรรมว่า นักเรียนในแต่ละหมู่บ้าน ต้องสร้างกิจกรรมที่ช่วยเหลือหรือพัฒนาหมู่บ้านตนเอง 
ภาคเรียนละ 1 ครั้ง 
1.3 หัวข้อเรื่อง Workshop on “Innovative Case Studies in Science Education” by Georgia 
Hodges 
แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้คือการ “Transformational Science today” 
อาจารย์ Hodges ถามว่า การใช้เทคโนโลยีในการสอนมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร 
Good :D Bad :( 
1. Give student many opportunity to face 
simulation. 
2. Modeling 
3. Research 
4. Visual 
5. Analysis data 
6. Share 
7. Collaborate 
1. Eliminate interaction of students. 
2. Eliminate good hand on activities 
3. Plagiarism 
4. Too much information 
จากนั้นเข้าเว็บไซต์ www.cogenteducation.com/studentsignup คือโปรแกรม SABLE 
System เข้ารหัส 6ab365be โดยใช้เมลล์ Krupumbio@gmail.com รหัสผ่านคือ 54010563001 
ซึ่งนวัตกรรมนี้จะตอบรับกับ 
- Flipped ห้องเรียนกลับทาง 
- Discovery การค้นพบ 
- Summative assessment 
ได้เข้าเรียนเรื่อง Diffusion จะมีเหตุการณ์จำลองผ่านภาพ Animation เกิดเหตุการณ์ 
รถไฟชนกัน โดยที่รถไฟบรรจุคลอรีน ทำให้คลอรีนเกิดการแพร่กระจาย ผู้คนประสบปัญหา (case) 
จากนั้น ก็จะมีเนื้อหา (knowledge) แบบสอบถามจะมีเงื่อนไข (คล้าย PISA) แบบฝึกหัด 
ทำแบบทดสอบ (process) มีบทบาทสมมุติ (Role play) เพื่อให้มีการตัดสินใจ (decision making) 
ซึ่งในระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรม ในโปรแรกมของครูก็จะมีข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน 
เช่น นักเรียนเรียนไปถึงบทไหนแล้ว ทำแบบฝึกหัดได้กี่คะแนน มีเนื้อหาส่วนไหนที่นักเรียนส่วนมาก 
ในห้องตอบผิด ครูจะต้องมีตรวจสอบดูว่า เรื่องนี้มีความยากตรงไหน ต้องช่วยเหลือนักเรียนอย่างไร 
จึงเป็นข้อดีของนวัตกรรมนี้ที่ช่วยให้ครูสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างทันท่วงที 
เรื่อง Osmosis ใช้กรณี วัวป่วย จะต้องวางแผนว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหา (Engineering) 
ความเข้มข้น (คณิตศาสตร์)
10 
การออกแบบเนื้อหาจะใช้กรณีที่พบเจอในชีวิตจริง ซึ่งกรณศึกษาต่างๆสามารถที่ 
จะค้นหาได้จาก National Center for Case study Teaching in Science. 
เมื่อให้ครูนำไปใช้พบว่า 
สรุปแนวคิดที่สร้างนวัตกรรมนี้คือ TPACK 
การนำแนวคิดนี้ไปใช้ต้องตระหนักถึง 3 ข้อ ต่อไปนี้ 
1. ใช้โปรแกรมเป็นหรอไม่ 
2. มีความเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดีหนือไม่ 
3. วิธีที่ใช้ดีที่สุดหรือไม่ 
แนวคิดในการนำไปใช้ 
1. เป็นแนวทางในการนำไปใช้พัฒนากิจกรรมในการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหา 
โดยเริ่มที่กรณีที่ใกล้ตัว การสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง
11 
1.4 หัวข้อเรื่อง Workshop on “American Science education standards : How they are 
being implemented with hands on activities” by Professor Dr. Michael Padilla 
โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจะเป็น grade 9-12 จะมีวิชาให้เลือกมากขึ้น 
และการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา 
กิจกรรมที่ 2 : American Science Education Standards : How they are begin 
implemented with hands on activities 
เริ่มจากการให้สังเกตภาพการ์ตูน เป็นมีคนใส่ชุดกราวในห้อง มีคนหนึ่งยืนอยู่หน้ากระดาน 
อีกคนจูบกับหนู อีกคนโดนวัวต่อย อีกคนกำลังจดบางสิ่งบางอย่าง คนสุดท้ายยืนมองคนอื่นๆโดยถือ 
กระดานมีกระดาษอยู่ด้วย 
อาจารย์ถามว่า ในภาพนี้มีอะไรบ้างแสดงถึง “วิทยาศาสตร์” (อาจารย์บอกว่าชอบใช้ 
ภาพในการสื่อถึงวิทยาศาสตร์ : Cartoon is the best to present Science Classroom) 
คำตอบที่ช่วยกันตอบกับเพื่อนๆ : การสังเกต การจดบันทึก การทดลอง 
เราใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันประมาณ 10 นาที 
จากนั้นให้เราปฏิบัติตามดังนี้ 
1. เลือกตัวเลขมาก 1 ตัว จาก 1-9 
2. ลบด้วย 5 
3. คูณด้วย 3 
4. นำยกกำลังสอง 
5. ถ้าน้อยกว่า 5 ให้บวก 5 
ถ้ามากว่า 5 ให้ลบ 4 
6. คูณด้วย 2 
7. นำมาลบด้วย 6 
8. ระบุตัวเลขตามลำดับของเลข เช่น 1เลือก A, 2 เลือก B, 3 เลือก C ตามลำดับไปเรื่อยๆ 
9. เลือกประเทศที่ขึ้นด้วยตัวอักษรนั้น 
10. ตัวอักษรที่ 2 ในประเทศนั้น เป็นชื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 
11. สัตว์ตัวนั้นมีสีอะไร 
อาจารย์ถามว่ามันคือเวทมนต์หรือตรรกะ 
จากนั้นให้แต่ละกลุ่มช่วยกันหาวิธีการสร้างคำสั่งนี้ กลุ่มของเราเสนอวิธี Backward design 
อาจารย์จึงเสริมให้ว่า Forward Desin หรือเริ่มที่ตรงกลางก็ได้
12 
อาจารย์ตั้งคำถามว่า “อะไรคือ Scientific Inquiry” กลุ่มของเรานำเสนอดังนี้ 
1. Question 9. Hypothesis 17. Explore 25. Curiosity 
2. Search 10. Conclusion 18. Discovery 26. Student-center 
3. Investigate 11. Observe 19. Hard-on 27. Experiment 
4. Analyze 12. Induction 20. Discovery 28. Prove 
5. Collecting data 13.Communication 21. Synthesis 30. Design 
6. Formulation 14. Collaboration 22. Creativity 
7. Explanation 15. Engagement 23. Problem- 
Solving 
8. Predict 16. Evaluation 24. Action-learning 
อาจารย์ให้ข้อมูลเรื่อง What are the Next Generation Science Standard? 
มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวคิดใหม่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงของ 3 มิติ 
ระหว่าง ปฏิบัติการ (Practices) หลักการ (Concepts) และ แนวคิดที่เป็นแกนในด้านวิทยาศาสตร์ 
(Disciplinary Core Ideas) นำเสนอในตารางเรียกว่ากล่อง 3 มิติ 
มิติที่ 1. ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และ 
วิศวกรรมศาสตร์ 
(Scientific and Engineering Practices) 
1. การตั้งคำถาม (สำหรับวิทยาศาสตร์) 
และการระบุปัญหา (สำหรับวิศวกรรมศาสตร์) 
2. การพัฒนาและการใช้โมเดล 
3. การวางแผนและดำเนินการตรวจสอบ 
4. การวิเคราะห์และการตีความข้อมูล 
5. การใช้คณิตศาสตร์และหลักการคิด 
6. การสร้างองค์ความรู้เพื่ออธิบาย 
(วิทยาศาสตร์) และการออกแบบแก้ปัญหา 
(วิศวะ) 
7. กระตุ้นความสนใจในการโต้แย้ง 
จากหลักฐาน 
8. การได้ข้อสรุป การวัดผลและการสื่อสาร 
มิติที่ 3. แนวคิดที่เป็นแกนกลางของ 
วิทยาศาสตร์ (Discipline Core Ideas = DCI 
code) 
Physical Science 
PS1 : Matter and its interactions 
PS2 : Motion and stability: Fprces and 
interactions 
PS3: Energy 
PS4: Waves and their applications in 
technologies for informaton transfer 
Life Sciences 
LS1: From Molccules to Organisms: 
Structures and Process 
LS2: Ecosystems: Interactions, Energy, 
and Dynamics 
LS3: Heredity: Inheritance and Variation 
of Traits 
มิติที่ 2. หลักการ (Crosscutting concept) 
1. รูปแบบ 
2. สาเหตุและผลกระทบ, 
กลไกและการอธิบาย
13 
3. สเกล อัตราส่วนและปริมาณ 
4. ระบบและรูปแบบของระบบ 
5. พลังงานและสสาร : การหวุนเวียน 
วัฎจักรและการอนุรักษ์ 
6. โครงสร้างและหน้าที่ 
7. ความคงที่และการเปลี่ยนแปลง 
LS4:Biological Evaluation: Unity and 
Diversity 
Earth and Space Science 
ESS 1 : Earth’s place in the univrse 
ESS 2 : Earth’s system 
ESS3 : Earth’s systems 
Engineering, Technology, and the 
Applications of Science 
EST1 : Engineering design 
EST2: Links among engineering, 
technology, science, and society 
กิจกรรม Inquiry/Practices Task 
1. ทำนายว่าการพับกระดาษทีละครึ่งจะพับได้กี่ครั้ง 
2. ทดสอบ (อาจารย์นำกระดาษหนังสือพิมพ์ให้ทดลองพับ) 
3. เราจะมีวิธีการออกแบบการทดลองอย่างไรเพื่อจะทดสอบว่าจำนวนพับกระดาษ 
กระดาษที่มีขนาดแตกต่างกันหรือไม่ 
4. ทดลองจริง 
อาจารย์อธิบายให้เห็นว่า Scientific Inquiry ก็คือ Scientific Engineering Practices 
ที่เน้นการออกแบบให้ชัดเจนมากขึ้น ฝึกให้นักเรียนได้ออกแบบ/วางแผน แก้ปัญหาหรือ 
ทดสอบความรู้ 
เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนคือ 
1. ระบุตัวแปรที่สำคัญ 
--- ตัวแปรต้น (Manipulated/independent) 
--- ตัวแปรตาม (Responding/dependent) 
--- ตัวแปรควบคุม (Control) 
2. พัฒนาสมมติฐาน 
3. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบคำถาม 
4. การทดลอง 
5. เก็บรวบรวมข้อมูล 
6. การสื่อสารและสร้างความเข้ากับผู้อื่นเกี่ยวกับข้อมูลที่ค้นพบ
14 
สิ่งที่ NGSS ต้องการคือการปฏิบัติใช่หรือไม่ 
1. การบูรณาการการฝึกปฏิบัติเข้ากับ Core idea และ Crosscutting Concepts 
2. สร้างการคิดระดับสูง 
- ใช้ Model เพื่อ... (grade 5) 
- ใช้หลักฐานเพื่อสร้างคำอธิบาย...(ระดับกลาง) 
- สนใจการโต้แย้งจากหลักฐาน...(ระดับกลาง) 
- สร้างคำอธิบาย...(ระดับสูง) 
- สื่อสารคำอธิบาย....(ระดับสูง) 
- วางแผนและลงมือตรวจสอบ...(ระดับสูง) 
3. ใช้ Engineering practice 
กลยุทธ์ที่ใช้ในการส่งเสริมการสืบเสาะ 
1. Asking question. 
2. Asking students to justify their answer. 
3. Encouraging students to elaborate answer. 
4. Giving students hints and suggestion. 
5. Promoting students to cite evidence for their claim. 
6. Using silence and wait time 
7. Using neutral responses to encourage elaboration. 
8. Having students write justifications. 
9. Stimulating student to student questions and interaction. 
Scientific Inquiry is Core The Teacher is the key. 
1. Students have to think about the science they study. 
2. Inquiry must be the focus every day, every lesson, all the time! 
3. Teachers have to challenge their students to think. 
4. A diverse set of teaching strategies is critical. 
Using Every Opportunity to Stimulate Thinking! 
We have to learn how to incorporate inquiry into: 
1. Analysis of lab result. 
2. Reading the text. 
3. Discussing current events 
4. Answering questions from the book. 
5. Making sense of complex content. 
6. Homework review.
15 
TIMSS lesson Analysis Study 
1. Emphasize depth of understanding vs. correct answers. 
2. Allow students to focus on their doubts and predictions. 
3. Encourage creative and individual ideas. 
4. Promote exchange of opinions among students. 
5. Utilize methods to support and facilitate student thought. 
1.5 หัวข้อเรื่อง Elementary Science Teaching Method Course : 
Professor Dr. Deborah Tippins 
โดยข้อมูลเบื้องต้นสำหรับชั่วโมงเรียนนี้เป็นชั่วโมงเรียนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียน 
วิชานี้กับ Dr. Deborah Tippins มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 24 คน เนื้อหาในการเรียนรู้สำหรับ 
คาบนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิต (Life Cycle) Dr. Deborah Tippins จึงได้เรียน 
เชิญวิทยากร Alexa Fritzsche ซึ่งเป็นศึกษาปริญญาเอกที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับผีเสื้อ Monarch 
ได้มาให้ความรู้เชิงลึก 
โดยให้ความรู้พื้นฐานจากนั้นแสดงภาพในแต่ละระยะโดยได้อธิบายวงจรชีวิตในแต่ละระยะของ 
ผีเสื้อ ซึ่งในระยะที่เป็นตัวหนอนจะมีทั้งหมด 4 ระยะระยะไข่ (egg) 4 วัน ตัวหนอน (Larva/ 
caterpillar) 8 วัน ดักแด้ (Pupa/Chrysalis) 9 วัน และผีเสื้อ (Adult) ซึ่งในระยะที่เป็นหนอน 
จะมีอีก 5 ระยะ วิทยากรนำภาพหนอน 4 ตัว มาให้แยกในแต่ละระยะแล้วถามผู้ฟังว่า ภาพที่ปรากฏ 
เป็น ระยะใด ทำให้ผู้ฟังสนใจมากขึ้น บางภาพเป็นระยะเดียวกันแต่ขนาดตัวแตกต่างกัน จะนำไปสู่ 
การอภิปรายว่า การศึกษาระยะของหนอนต้องดูที่ลายและอวัยวะ ไม่ใช่แค่ขนาดอย่างเดียว รวมถึง 
การแยกเพศของผีเสื้อจากภาพ ตัวผู้สามารถสังเกตได้จากการดูจุดที่ปีกจะมีจุดสีดำบนเส้นปีกข้างๆ 
ลำตัวและปลายลำตัวจะเปิด 
(ภาพ บนซ้าย : วงจรชีวิตของผีเสื้อ บนกลาง : หนอนผีเสื้อในแต่ละระยะ บนขวา : 
การเปรียบเทียบขนาดตัวและระยะของหนอนผีเสื้อ ล่างซ้าย : การแยกเพศของผีเสื้อ 
ล่างกลาง : การอพยพของผีเสื้อ ล่างขวา : เว็บไซต์ที่ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม)
16 
อาหารของผีเสื้อคือ Milkweed ผีเสื้อโมนาร์คมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและแบ่งออก 
เป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มหนึ่งอยู่ทางตะวันออกและอีกกลุ่มทางตะวันตกของเทือกเขาร้อกกี้ 
ทุกๆ ปี หลังจากช่วงผสมพันธุ์ในเดือนสิงหาคม ผีเสื้อกลุ่มที่อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาร้อกกี้ 
จะพากันอพยพไปยังอเมริกาใต้และเม็กซิโก เป็นระยะทางกว่า 4 พันกิโลเมตร ใช้เวลานานกว่า 3 
เดือน ส่วนกลุ่มที่อยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาร้อกกี้จะอพยพมาทางชายฝั่งของแคลิฟอร์เนีย 
ที่น่าทึ่งคือ ผีเสื้อที่อพยพเหล่านี้กลับมาจำศีลในที่เดิมที่บรรพบุรุษของมันเคยมาทั้งๆ ที่ตัวมันเอง 
ไม่เคยรู้จักมาก่อน 
ประเด็นเรื่องโรคของผีเสื้อโมนาร์ชคือการถูกปรสิตที่อาศัยอยู่ที่ท้องทำให้เกิดโรค การตรวจ 
สอบโรคของผีเสื้อใช้วิธีที่เรียกว่า OE (OE คือ Ophryocytis Elektroscirrha) สิ่งมีชีวิตจำพวก 
ปรสิตที่อยู่บริเวณท้องของผีเสื้อ ซึ่งสมาชิกในแต่ละกลุ่มจะได้ลงมือทำวิธีการคือ จับผีเสื้อจาก 
ซองจดหมาย (วิทยากรนำผีเสื้อจริงที่ยังมีชีวิตอยู่ใส่มาในซองจดหมายสีขาว บรรจุลงในกล่องพลาสติก 
ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กระบวนการรักษาสภาพของผีเสื้อจะคล้ายกับการนอนหลับหยดน้ำหวานให้เป็นระยะ) 
จับบริเวณปีกด้านบนของผีเสื้อ หงายผีเสื้อขึ้น ใช้พลาสติกคล้ายสติกเกอร์ปิดบริวเณท้องและลอกออก 
ก็จะได้ตัวอย่างของปรสิตจากผีเสื้อตัวนั้นไปศึกษา (ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผีเสื้อ 
โดยสามารถหาข้อมูลได้จาก http://www.monarchlab.org/mitc/) 
ก่อนจบกิจกรรมประเด็นที่น่าสนใจของการทำวิจัยเรื่องผีเสื้อโมนาชก็คือการทำวิจัยร่วมกัน 
ระหว่างนักวิทยาศาสตร์และคนในท้องถิ่นที่สนใจเรื่องผีเสื้อโมนาช ทำให้เกิดความร่วมมือและ 
ได้ข้อมูลมากขึ้น 
กิจกรรมต่อมาคือ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของ Dr. Deborah Tippins 
อาจารย์อธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่มีวงจรชีวิต (Life Cycle) และยังมีสิ่งมีชีวิต 
อีกหลายชนิดที่มีวงจรชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก่อนหน้านี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Magic book 
(แผ่นพับความรู้) เรื่องวงจรชีวิตที่สนใจมาส่งด้วย เพื่อให้นักศึกษาเกิดแนวความคิดการจัด 
การเรียนการสอนของวงจรสิ่งมีชีวิต อาจารย์จึงนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น 
1. กิจกรรมการถ่ายละอองเรณู อุปกรณ์ จานกระดาษ แป้ง หลอด และกำมะหยี่ 
ตั้งคำถามว่า แมลงจะมีวิธีการถ่ายละอองเรณูอย่างไร จากนั้นสาธิตโดยการเทแป้งลงในจานกระดาษ 
ใช้หลอดกลิ้งๆบนแป้ง และใช้กำหยี่กลิ้งลงไปบนแป้ง ถามว่า ขาหรือปากของแมลงควรมี 
ลักษณะแบบใด ซึ่งนักศึกษาจะตอบได้ว่า แบบกำมะหยี่ เพราะเกสรจะติดได้ง่ายกว่าหลอด
17 
2. กิจกรรมการสื่อสารของผึ้ง เพื่อการอธิบายการสื่อสารของแมลง แมลงจะมีการสื่อสาร 
เช่น ด้วยเสียง ท่าทาง กลิ่น จากนั้นนำเสนอการสื่อสารของผึ้ง โดยใช้ท่าทาง กิจกรรมนี้ใช้ 
อาสาสมัครจากนักศึกษา 8 คน ให้ออกไปสาธิตการสื่อสารของผึ้ง โดยให้ทุกคนสวมหมวกที่มี 
ลักษณะคล้ายหัวผึ้ง แล้วให้นักศึกษาคนหนึ่งถือเครื่องดนตรีแทมบูรีน ทำหน้าที่เป็นนางพญาผึ้งเมื่อ 
นางพญาผึ้งเคาะเสียงผึ้งทั้งหมดก็จะบินตามนางพญาผึ้งไป เช่น บินเป็นวง หรือบินเป็นลักษณะ 
เหมือนเลขแปด กิจกรรมนี้ยังสามารถเชื่อมโยงทักษะการออกแบบ เช่น ให้นักเรียนออกแบบลักษณะ 
ของปีกต่างๆ เมื่อได้ฟังคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ 
3. กิจกรรมสร้างสื่อการสอน กิจกรรมนี้จะมีทั้งหมด 4 ฐาน คือฐานการสร้างแมลงเต่าทอง 
ฐานเติมเต็มวงจรชีวิตของผีเสื้อ ฐานการสร้างแผ่นวงจรชีวิตของผีเสื้อ และฐานการทำตัวหนอน/ 
หนวดของหนอน
18 
1.6 หัวข้อเรื่อง The language of Science inquiry practices” by 
Professor Dr. Cory Buxton 
ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ครูอาจจะประสบปัญหาที่นักเรียนบอกว่า “ไม่มีความสามารถ 
ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ยากเกินไป” วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
วิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นคือ การทำความเข้าใจในเอกลักษณ์ภาษาทางวิทยาศาสตร์ 
อาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการให้แต่ละกลุ่ม อภิปรายร่วมกันว่า “อะไรทำให้ภาษาของ 
วิทยาศาสตร์มีเอกลักษณ์” (What makes the language of Science unique?) แต่ละกลุ่ม 
แสดงความคิดเห็น เมื่อตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอ อาจารย์สรุปใน 3 ส่วนคือ 
ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 
1. Technical nature of scientific vocabulary คำศัพท์ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์เป็นคำศัพท์ 
ที่มีความหมายเฉพาะ ไม่เหมือนกับที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือทั่วๆไป คำศัพท์เฉพาะเหล่านี้ 
มาจากรากศัพท์กรีกและละติน prefixes และ suffixes 
2. Abstrat and depersonalized nature of Scientific language คำนามจะเป็น 
คำนามธรรมที่สร้างจากการกระทำหรือเชิงคุณภาพ เช่น distillation คือการกลั่น ซึ่งผู้เรียนจะเข้าใจ 
ได้ง่ายหากได้ลงมือปฏิบัติ แต่หากเพียงได้ยินคำศัพท์อยากเดียวจะยากต่อความเข้าใจและอธิบาย 
ออกมาในรูปของนามธรรม ซึ่งเรียกว่า Nominalization คือการเปลี่ยนประโยคให้อยู่ในรูป passive 
voice ทำให้วิทยาศาสตร์ดูเป็นรูปธรรมและเน้นในสิ่งที่ทำมากกว่าเน้นว่าใครหรืออะไรเป็นผู้กระทำ 
เช่น ต้นไม้ถูกตัดลงเป็นผลมาจากการสูญเสียดิน การวัดผลจะทำเพื่อตรวจสอบการเพิ่มขึ้น 
ของชั้นโอโซน 
3. Dense clause in Scientific text ข้อความของวิทยาศาสตร์ที่นำความคิด หลักการมา 
เขียนอยู่ในรูปข้อความสั้นๆ ในรูปของอนุประโยค (ประโยคที่เกิดขึ้นตามลำพังไม่ได้ จะไม่สื่อ 
ความหมายที่สมบูรณ์) จะประกอบด้วยกระบวนการที่หลากหลาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ 
บริบทสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ มากกว่าอนุประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน Dense clause 
จะอยู่ในรูปของนาม (bassball : เบสบอล) กับวลีส่วนขยายต่างๆ (multiple pre modifier) ( the
19 
net force applied : แรง) และ post-modifiers วลีที่ทำหน้าที่อธิบายความหมายเพิ่มเติม (under 
accelaration : ภายใต้ความเร่ง) 
จากนั้นแจกการ์ดให้คนละ 3 การ์ด เข้าคู่กับเพื่อน ซึ่งเป็นข้อความต่างๆ เช่น 
“Good science cannot be done without good theories” 
“Unless an idea is teasble it is of little or no use” 
“Formal and informal networking among scientists is crucial for the success of 
scientific research” 
พิจารณาเลือกการ์ดที่เห็นด้วยเพียง 3 ใบ จากนั้นรวมกันกับเพื่อนทั้งกลุ่ม เลือกไว้ 9 ใบ 
แล้วพิจารณาข้อความการ์ดว่า มีคำศัพท์ มีคำ Abstract และ Dense clouse อยู่ตรงไหนในข้อความ 
บ้าง 
คำศัพท์ เช่น observation, Scientific research, generalizations และ testable 
Abtract and depersonalized เช่น Idea is testable. Formal and informal. 
Science begin with observation with lead to generalizations. 
Dende clauses : Seeing is believeing. Unless an idea is testable it is of little or 
on use. Scientific knowledge is always objective and self-correcting. 
เพื่อให้เห็นว่าการเขียนและข้อความมีความสำคัญต่อการสื่อสารความหมายมากเพียงใด 
อาจารย์จึงให้ทำกิจกรรม Zoobs technical writing 
เป็นกิจกรรมการร่วมมือของ 2 คน ในการสื่อสารผ่านกิจกรรมที่เน้นทักษะความชัดเจน 
และถูกต้องในการเขียน คนแรกทำหน้าที่ ผู้เขียน (writer) จะใช้การเขียนแบบ Zoobs 
คือเขียนคำสั่งเพื่อให้อีกคนเป็นคนสร้างโครงสร้างบางอย่างขึ้นมา (ในกิจกรรมกรรมนี้ใช้ 
การสร้างหุ่นจาก ตัวต่อ 17 ตัว คนเขียนเป็นคนเห็นหุ่นเต็มรูปแบบ) อีกคนเป็น Builder หรือ Doer 
คือคนที่ได้รับคำสั่งที่เขียนขึ้นจาก writer โดยที่ผู้สร้างไม่มีโกาสเห็นโครงสร้างมสมบูรณ์ของหุ่น
20 
ผู้สร้างต้องพยายามสร้างหุ่นให้ถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ในระหว่างที่ผู้เขียนกำลังเขียนคำสั่ง 
ผู้สร้างต้องไปอยู่อีกห้องหนึ่ง เพื่อป้องกันการสื่อสารทางอื่นนอกจากการเขียนเท่านั้น) 
เมื่อทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย มาอภิปรายร่วมกันว่าการเขียนคำสั่งที่ต้องเป็นอย่างไร 
- การเขียนที่เรียงลำดับขั้นตอนชัดเจน 
- การเขียนที่ต้องอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนที่ยากต่อความเข้าใจ เช่น 
ส่วนของร่างกาย 
- การใช้คำศัพท์หรือข้อความที่จะเข้าใจได้ตรงกันทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน 
ในตอนท้ายกิจกรรม อาจารย์แสดงให้เห็นว่า ในการเขียนจะมีทั้งคำศัพท์ Abstract และ 
Dense clouse ซึ่งหากนักเรียนได้ทำกิจกรรมนี้ เวลาที่เรียนปฏิบัติการหรือการเขียนอธิบายต่างๆ 
นักเรียนจะ เห็นความสำคัญของการเขียนมากขึ้น 
language Boosters คือ การอ่านที่ส่งเสริมความเข้าใจภาษาทางวิทยาศาตร์ 
ในบทความจะประกอบด้วยคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มเติมให้ผู้เรียนตามความเหมาะสมกับ 
ระดับชั้น บทความจะนำเสนอผลการทดลอง หรือหลักการ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มีประโยคหรือวลี 
ด้วยภาษาวิทยาศาสตร์ เมื่ออ่านจบต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 
กับเพื่อน และออกแบบหรือรวบรวมข้อความมาสนับสนุนความคิดของตนเอง ในที่ขาดไม่ได้คือ 
การฝึกให้เด็กตั้งคำถาม เพราะนี่คือลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ 
กิจกรรม Classrom Norms for Supporting the Language of Science 
1. การมีส่วนร่วม 
- เริ่มกิจกรรมโดยให้อุปกรณ์การทดลอง อธิบายวิธีการดำเนินการ 
ให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด แม้แต่ความคิดที่ไม่แน่ใจ 
- ฟังควมคิดเห็นของคนอื่นๆในกลุ่มและสร้างสมมติฐานจากสิ่งเหล่านั้น 
- ลงมือทดลองเพือ่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนทุกคน 
- ใช้ความรู้เดิม แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในกลุ่ม 
- แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ เพื่อสร้างแนวคิดที่เหมาะสม
21 
2. แสดงความคิดด้วยหลักฐาน 
- อธิบายความคิดเห็นพร้อมหลักฐาน 
- แสดงความคิดเห็นให้สมบูรณ์มากที่สุด 
- เขียน/วาด/สร้างรูปแบบ เพื่อให้ความคิดชัดเจนมากขึ้น 
3. โต้แย้งโดยเคารพความคิดเห็นผู้อื่น 
- เห็นด้วยและขัดแย้งได้ 
- นักเรียนจะพบการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้เหตุผล 
4. ทบทวนและสะท้อนคิด 
- เป็นไปได้ที่ความเข้าใจอาจจะไม่ถูกต้อง 
- เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อเราเกิดความเข้าใจใหม่ 
-เขียน/วาด/สร้างรูปแบบใหม่ เพื่อให้ความคิดชัดเจนมากขึ้น 
กิจกรรม เทียนสูบน้ำ 
อุปกรณ์ 
1. เทียน 2. ชามแก้ว 
3. flask 4. ไม้ขีดไฟ 
5. ดินน้ำมัน 
วิธีการ 
1. นำดินน้ำมันมาติดที่ถ้นเทียนเพื่อให้ตั้งในชามแก้วได้ 
2. เทน้ำลงไป ครึ่งหนึ่งของชามแก้วแต่ไม่ท่วมเทียน 
3. ใช้ flask คว่ำลงไปที่เทียน 
4. สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น 
5. ใช้เทียน 3 แท่ง 
กิจกรรมนี้จะแสดงให้เห็นถึง Cause (สาเหตุ) และ ผล (Effect) 
คือการอธิบายผลที่เกิดจากการสังเกต 
If......happaens, then the effect will be ..... because ...... 
เช่น 
Cause Effect 
การเผาเทียนทำให้เกิดความร้อนของอากาศใน 
flask 
อากาศที่ร้อนขยายตัวโมเลกลุของอากาศได้รับ 
พลังงาน 
อากาศที่ขยายตัวถึงน้ำเข้าสู่ flask ฟองอากาศสามารถสังเกตจากการเคลื่อนที่ของ 
น้ำภายใน flask
22 
การเผาไหม้ของเทียนทำให้ออกซิเจนใน flask 
หมดไป 
เทียนจึงดับ 
อากาศที่เหลือใน flask จะเย็นตัวลง เกิดความแตกต่างของอากาศที่เหลืออยู่ 
แรงดันอากาศใน flask 
น้อยกว่าแรงดันอากาศภายนอก 
น้ำจึงถูกดึงเข้าไปภายใน flask 
จนกว่าแรงดันภายในและภายนอกจะเท่ากัน 
การเผาไหม้เกิดก๊าซ CO2 คาร์บอนไดออกไซด์ลงมายังพื้นที่ด้านล่าง 
ทำให้เทียนดับ 
ข้อเสนอแนะของการเรียนภาษาทางวิทยาศาสตร์ 
1. ศึกษารากศัพท์ละตินและกรีก รวมคำ prefixes และ suffixes เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ 
ความหมายของธรรมชาติของคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ 
2. ปรับการเขียนประโยคให้มีผู้กระทำรวมถึงความเหมาะสมของผู้กระทำ เพื่อให้เข้าใจ 
Abtract and depersonalized nature ของภาษาวิทยาศาสตร์ (เขียนทั้ง 2 รูปแบบ) 
3. ระบุรากศัพท์คำนาม เชื่อมโยงกับกริยาและการกระทำ ระบุวลีขยายด้านหน้าและด้านหลัง 
ในข้อความทางวิทยาศาสตร์ที่มีขนาดสั้นๆ แต่มีความหมายหรือบริบทที่กว้างขวาง 
4. ฝึกให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของภาษวิทยาศาสตร์ในภาษาของตนเอง 
เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจความหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงใช้การจำ 
5. ฝึกให้ผู้เรียนสนทนาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 
6. อภิปรายกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยใช้ทั้งภาษาวิทยาศาสตร์และภาษาประจำวัน 
7. ฝึกการเขียนทางวิทยาศาสตร์รวมถึงในกระบวนการวัดผล 
1.7 หัวข้อเรื่อง Workshop on “Interdisciplinary Science Teaching and Learning” by 
Professor Dr. Deborah Tippins 
“แนวคิดในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสหวิทยาการและแบบบูรณาการเป็นการจัดการ 
เรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้และทักษะ ด้านคณิตศาสตร์ ภาษา ดนตรี ศิลปะนอกจากจะช่วย 
ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถอย่างรอบด้าน 
อาจารย์เริ่มกิจกรรมโดยการนำอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น 
1. Magic Sand คือทรายที่ไม่เปียกน้ำ ซึ่งหากให้นักเรียนได้ทดลองหรือเล่นกับทรายนี้แล้ว 
สามารถจะสอนหลักการทางวิทยาศาสตร์คือ Hydrophobic materials สามารถอธิบายโดยการใช้ 
รากศัพท์ได้ดังนี้ Hydro แปลว่าน้ำ Phobia แปลว่า กลัว วัสดุชนิดนี้จึงไม่จับตัวหรือรวมกับน้ำ 
หลักการนี้พบในธรรมชาติ เช่น ผิวใบบัว นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การผลิตเสื้อนาโนไม่เปียกฝน 
เสื้อกันฝนไม่เปียกฝน ทรายในตู้ปลา การทำความสะอาดคราบน้ำมัน 
2. ลูกปัด Violatating Detecting Bread ทุกคนได้รับเม็ดลูกปัด 7 ลูก สายร้อย 1 เส้น 
ร้อยใส่มือ สังเกตสีเมื่ออยู่ในห้อง จากนั้นให้ออกไปที่กลางแดดสังเกตการเปลี่ยนแปลง จะพบว่า
23 
สีของลูกปัดจะมีการเปลี่ยนจากสีขาว เป็นสีต่างๆ เพราะลูกปัด Violatating Detecting Bread 
ที่จะเปลี่ยนสีตามแสงที่มันดูดกลืนไว้เม็ดลูกปัดเมื่ออยู่ในห้องจะเป็นสีขาว แต่ถ้าเจอแสง Ultraviolet 
เม็ดสีจะเกิดการเปลี่ยนสี สามารถใช้สอนเรื่องพลังงาน ประโยชน์ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือ 
การทดสอบ SPF เช่น ทาครีมกันแดดที่เม็ดลูกปัดแล้วไปส่องใต้แสงแดด หากเม็ดลูกปัดไม่เปลี่ยนสี 
แสดงว่า SPF สามารถป้องกันแสงยูวีได้ 
3. ลูกบอลไฟฟ้า จับมือกันเป็นวงกลม มีสองคนให้ช่วยกันจับลูกบอลกลมๆที่มีแผ่นมีเหล็ก 
(ซึ่งเป็นขั่วโลหะ) ติดอยู่ด้านข้างของลูกบอล เมื่อจับครบวง ลูกบอลจะส่งเสียง สามารถสอนเรื่อง 
วงจรไฟฟ้าได้ 
จากนั้นอาจารย์สร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Interdisciplinary เรื่อง “Bird Beak 
Adaptations: Bird Banquet” เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ยกมาจาก “Leopold Education Project*” 
ของ Aldo Leopold (January 11, 1887 – April 21, 1948) อาจารย์วางเวลาที่พื้นตั้งแต่ 4.00 น. 
– 05.15 น. แจกบัตรภาพนกพร้อมกับเสียงร้องของนกแต่ละตัว จากนั้นอาจารย์อ่านบทความของ 
วิทยาศาสตร์ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และเริ่มได้ยินเสียงร้องของนกต่างๆ เมื่ออาจารย์อ่านเวลาใด 
คนที่ได้รับบัตรนกใบนั้น ให้ส่งเสียงร้องไปเรื่อยๆ (การใช้ข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์จริงซึ่งเป็น 
นักชีววิทยาคนสำคัญคนหนึ่งของอเมริกา โดยท่านได้ใช้ความพยายามและทุ่มเทในการสังเกต 
พฤติกรรมของนกและบันทึกอนุทิน จนกลายเป็นหนังสือชื่อ “A Sand County Almanac” (1949) 
มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน) (บูรณาการวิทยาศาสตร์กับภาษา) 
** โดย Dr. Tippins แนะนำพวกเราให้เข้าไปศึกษาโครงการ Citizen Science Projects 
ซึ่งเป็นโครงการที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่ Aldo Leopold ทำไว้ โดย Citizen Science Projects 
เป็นกิจกรรมที่นักวิทยาศาสตร์ทำวิจัยโดยให้ประชาชนหรือนักเรียนทั่วโลกมีส่วนร่วมในการเก็บ 
รวบรวมข้อมูลในเรื่องต่างๆ ในหลากหลายสาขาวิชา (Disciplines) เช่น NestWatchที่สังเกตลักษณะ 
ของรังนกต่างๆ, Hummingbirds at Home, Neighborhood Nestwatch, Great Backyard Bird 
Count (http://gbbc.birdcount.org/about/) เป็นต้น แล้วนักวิทยาศาสตร์จะนำข้อมูลเหล่านั้น 
มาวิเคราะห์ แล้วแบ่งปันผลการวิจัยโดยเราสามารถศึกษาข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งศึกษารายละเอียด
24 
เกี่ยวกับโครงการ Citizen Science Projects ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_ 
citizen_science_projects และ http://www.scientificamerican.com/citizen-science/ 
(**ข้อมูลจากการรวบรวมของไพศาล วงค์กระโซ่) 
กิจกรรมต่อมาให้แบ่งกลุ่มโดยมีสมาชิก 4 คน ได้รับใบงาน 1 ใบงาน ถุงพลาสติกคนละ 1 ชิ้น 
(แทนกระเพาะอาหาร) และเลือกที่หนีบคนละ 1 อัน ซึ่งจะมีลักษณะของปากหนีบแตกต่างกัน 
เมื่อได้แล้วจะเปรียบเทียบจงอยปากและที่หนีบ ดังนี้ ที่หนีบผ้า คือ นกนางนวล (Gull) 
คีมเหล็กคือ นกเหยี่ยว (Red-tailed Hawk) ที่หนีบเล็กขน คือ นกร้องเพลง (Warbler) และ 
ที่หนีบขนาดใหญ่ คือ เป็ด (Duck) 
จากนั้นจะเริ่มทำนายว่า ถ้ากินอาหารแต่ละชนิดจะกินได้กี่ชิ้น เขียนลงในช่องคาดคะเน 
(Predictions) จากนั้นให้อาหารมา 4 อย่างคือ ปลา (Fish แทนด้วย Macaroni) อย่างที่สอง 
เมล็ดพืช (Seeds แทนด้วย เมล็ดทานตะวัน) และอย่างที่สาม เนื้อสัตว์ (Meat แทนด้วย 
Marshmallows) จะใส่อาหารลงในจานกลางทีละชนิด มีเวลา 10 วินาที ในการกิน เมื่อได้ยิน 
สัญญาณว่า “run” แต่ละคนก็เริ่มหยิบใส่ในถุงพลาสติกของตนเอง เมื่อหมดเวลาก็นับว่าตนเองกินได้ 
กี่ชิ้น และบันทึกลงในช่องเขียนตัวเลขที่เป็นจริง (Actual results) เมื่อครบทุกชนิดแล้วให้นำเสนอผล 
การทดลองโดยการใช้ กราฟชนิดต่างๆและเลือกสิ่งที่ต้องการนำเสนอและสร้างข้อสรุปจากข้อมูล 
“Look at the data should one relationship we might graph” (การบูรณาการวิทยาศาสตร์ 
กับคณิตศาสตร์) 
จากกิจกรรมสามารถสร้างชิ้นงานที่เรียกว่า Magic book เพื่อสรุปความคิดในการเรียนรู้ 
(ศึกษาวิธีการประดิษฐ์ Magic Books ได้ที่ http://www.teachertreasures.com/ 
Magic_Book.html)
25 
1.8 หัวข้อเรื่อง “Elementary Science Teaching Methods course” by 
Professor Dr. Deborah Tippins 
อาจารย์นำเสนอแนวคิด เรื่อง “Idea of movement Integrated with Mathematics and 
Language” ชื่อเรื่องคือ Animal and Food chain สำหรับเด็กระดับประถมศึกษา 
ขั้นนำ เริ่มจากกิจกรรม Movement of Mammal ด้วยคำถามที่ว่า What’s animal to 
day? อาจารย์นำเสนอบัตรภาพสัตว์ต่างๆ พร้อมทั้งท่าทางที่แสดงถึงสัตว์ตัวนั้น เช่น ช้าง 
มือซ้ายจับหูขวา มือขวายื่นออกมาด้านหน้าแทนงวงช้าง แพนกวิน ยืนแขนตรงแนบลำตัว 
งอข้อมือออกนอกลำตัวคล้ายกับแขนนกแพนกวิน ลิงกอลิล่า ทำมืองุ้มเข้าหาลำตัวแกว่งไปมา 
ขั้นสอน ด้วยกิจกรรม Mamals of the woods Math Game ขออาสาสมัคร รับบัตรภาพ 
ประกอบด้วย 9 ภาพคือ ภาพตอไม้, กระต่าย, แรคคูณ, หมี, เม่น, Opossum, Skunk, หมาป่า 
(Coyote), และ บีเว่อร์ เมื่อรับภาพแล้วอาจารย์จะอ่านเรื่องราว ให้อาสามาสมัคร ทำท่าทางตาม 
ที่ได้ยิน ไปยังหน้าห้องเรียน เช่น 
“สัตว์ที่มีขน 8 ตัว ในรังมีลูก 7 ตัว กระต่ายกระโดดข้ามทุ่งหญ้า ตอนนี้เหลือ 7 ตัว” (8 
furry creatures. From her nest with babies eleven. The rabbit hops across the 
meadow. Now there are 7) 
- คนที่ถือภาพกระต่ายก็ทำท่ากระโดดข้ามทุ่งหญ้าไปยังหน้าห้องเรียน 
“สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำมนขนปุกปุย หมีไปยังต้นไม้ ยื่นจมูกเพื่อหาน้ำผึ้ง เหลือหมีอยู่ 6 ตัว” (7 
fluffy mamals, Away bear goes, poking under logs and stricks, Looking for honey. Now 
there are 6) 
- คนที่ถือภาพหมีทำท่ายื่นจมูกหาน้ำผึ้งออกไปยังหน้าห้องเรียน 
“สัตว์ที่มีขน 6 ตัว กระโดดโลดเต้นและมีชีวิตชีวา เม่นเดินลากขา ตอนนี้เหลือ 5 ตัว” (6 
hairy animals, frisky and alive, The porcupine shuffles away, Now there are 4) 
- คนที่ถือภาพเม่นทำท่าเดินลากขาออกไปหน้าห้องเรียน 
“สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บริเวณป่าไม้ ตัวหนึ่งอยู่ใกล้ๆชายฝั่ง บีเวอร์ดำน้ำลงไปในบึง 
ตอนนี้เหลือ 4 ตัว” (5 woodland mamals, One is near the shore. The beaver dives into 
the lake. Now there are 4) 
- คนที่ถือภาพบีเวอร์ทำท่าดำน้ำไปหน้าห้องเรียน 
“สิ่งมีชีวิตในป่า มองและมอง เจ้าแรคคูน คลานเข้าไปในโพรงไม้ และตอนนี้เหลือ 3” (4 
forest creatue. Just look and see. The raccoon crawls into a hollow log. Now there 
are 3) 
- คนที่ถือภาพแรคคูณทำท่าคลานไปหน้าห้องเรียน 
“สัตว์เลี้ยงด้วยน้ำนมจำนวนคี่ จะส่งเสียงให้ได้ยินว่า อาอู้ Opossum ขี้ตกใจแอบอยู่ในรู 
ตอนนี้เหลืออยู่ 2 ตัว” (3 odd mamals. In the distance is heard, “Ah-yoo”. The 
frightened opossum hudes in a hold. Now there are 2)
26 
- คนที่ถือภาพ Opossum ทำท่าตกใจออกไปหน้าห้องเรียน 
“สัตว์ 2 ตัว ที่ไม่ต้องวิ่ง สกั้งผู้กล้าหาญเดินช้าๆไปเรื่อยๆ ตอนนี้เหลือ 1 ตัว” (2 Critters 
left. There’s no need to run. The brave skunk ambles away. Now there is 1) 
- คนที่ถือภาพสกั้งทำท่าเดินช้าๆออกไปหน้าห้องเรียน 
“หมาป่าโคโย้ตี้ผู้เดียวดาย มองพระอาทิตย์ที่กำลังตกดิน หายลับผ่านยอดภูเขา 
ตอนนี้ไม่เหลือสัตว์สักตัว” (1 lone coyote, watching the setting sun, Soon disappears over 
the crest of the hill. Now there are none.) 
จากนั้นให้ฟังอาจารย์อ่าน เมื่อมีชื่อภาพของตนเองให้ทำท่านั้นกลับมายังที่นั่งของตนเอง 
The rabbit is one. 
The bear is two. 
The porcupine is three. 
The beaver is four. Take a deep breath....here come some more. 
The raccoon is five. 
The opossum is six. 
The skunk is seven. 
The coyote is eight. The group is all here today. So, one more, they all “take 
off” each going a separate way. 
Over in the lake, hear the beaver’s tail thump. 
There’s nothing left here but the big, old stump. 
ซึ่งสามารถบูรณาการได้ทั้งภาษา คือคำศัพท์อาการต่างๆ และคณิตศาสตร์ คือการบวกนับเลข 
กิจกรรมที่ 2 เน้นเรื่องภาษาเพื่อใช้บอกตำแหน่ง เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล -ป.2 
ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
27 
1. วางเม่นไว้หลังตอไม้ (behind) 
2. วางแรคคูณข้างหน้า ด้านล่างตอไม้ 
3. วางบีเว่อร์ไว้ด้านข้างตอไม้ 
4. วางสกั้งไว้ระหว่างบีเวอร์และตอไม้ 
5. วางเม่นไว้บนตอไม้ 
6. วางหมาป่าโคโยตี้ไว้ไว้ตรงข้ามกับสกั้ง 
7. วางกระต่ายระหว่างหมาป่าและตอไม้ 
8. วางหมีต่อจากเม่น 
9. เลื่อนจากสกั้งไปไว้ด้านขวาของหมาป่าโคโยตี้ 
ซึ่งคุณครูสามารถย้ายสัตว์ต่างๆโดยใช้คำสั่ง เช่น วางเหนือ... (over) วางไว้ด้านใต้... 
(under) ด้านบน... (above) วางไว้ด้านขวา... (to the right of) วางไว้ด้านซ้าย... (to the left of) 
เป็นต้น 
กิจกรรมเรื่อง Food Chain Game การบูรณาการวิทยาศาสตร์กับเกมการแข่งขัน 
Food chain เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ของรัฐ Georgia ครูทบทวนความรู้เรื่องห่วงโซ่อาหาร 
เช่น ดวงอาทิตย์คือแหล่งพลังงานเริ่มต้นให้กับทุกห่วงโซ่อาหาร พืช สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน คือ 
ผู้ผลิต (producer) ผู้บริโภคอันที่ 1 (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืช เช่น ตั๊กแตน 
ผู้บริโภคอันที่ 2 (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ เช่น งู ผู้บริโภคอันที่ 3 (tertiary 
consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ ผู้บริโภคซาก (scavenger) 
เช่น แร้ง แมลงวัน อีกา เป็นต้น 
และผู้ย่อยสลาย (decomposer) ได้แก่ แบคทีเรีย รา เห็ด ยีสต์ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน 
ให้กับทุกโซ่อาหาร 
กติกาและวิธีการเล่น 
1. แต่ละกลุ่มจะได้รับการ์ด กลุ่มละ 8 การ์ด 
2. เมื่อได้รับการ์ดแล้ว ต้องจัดเรียงลำดับห่วงโซ่อาหารให้ถูกต้อง ทั้งนี้การ์ดที่ได้รับ 
จะประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภคอันดับที่ 1 ผู้บริโภคอันดับที่ 2 ผู้บริโภคอันดับที่ 3 ผู้บริโภคซาก 
ผู้ย่อยสลาย และการ์ดพิเศษคือ ดวงอาทิตย์ (จะได้ +25 คะแนน) ผลพิษ (-50 คะแนน) 
3. ครูจะต้องจัดการเตรียมการ์ดอย่างดี เพราะต้องให้มีการ์ดที่ซ้ำกัน 
เพื่อให้นำการ์ดออกไปแลกเปลี่ยนกันที่หน้าห้อง โดยไม่ให้กลุ่มอื่นๆรู้ว่าการ์ดที่เราจะแลกคืออะไร 
เมื่อได้การ์ดที่ต้องการก็นำกลับมาเรียงที่กลุ่ม หากยังไม่ได้การ์ดที่ต้องการก็นำไปแลกต่อไป 
5. กลุ่มที่เรียงได้ครบห่วงโซ่อาหารให้รีบยกเมื่อ และกล่าวว่า “Food chain” 
6. การลงคะแนน กลุ่มที่ชนะจะได้ 50 คะแนน กลุ่มที่มีพระอาทิตย์จะได้ใบละ 25 คะแนน 
กลุ่มใดมีการ์ดมลพิษจะถูกลบ 50 คะแนน เล่นประมาณ 3 รอบ ก็นับคะแนนรวม 
กลุ่มใดได้คะแนนสูงสุดกลุ่มนั้นเป็นผู้ชนะ 
ซึ่งครูสามารถปรับเปลี่ยนกติกาได้มากมาย เช่น การให้การ์ดเปล่าเพื่อให้ผู้เรียน 
ออกแบบการ์ดเอง หรือปรับเป็น Ocean Food chain game หรือ Life cycle
28 
กิจกรรมห่วงโซ่อาหารโดยใช้เทคนิค Music/Drama/Theater 
การจัดกิจกรรมการสอน เรื่อง กิจกรรมโซ่อาหาร (2) 
1. ขออาสาสมัครเป็นกวาง 3 ตัว เสือซีต้า (chetah) 3 ตัว และ ไฮยีน่า 3 ตัว 
พร้อมมีอุปกรณ์การแสดงให้ 
2. ครูเล่าเรื่องผู้ล่าและเหยื่อ จากเพลง Stay Close to me โดย Pam Blanchard จากอัมบั้ม 
Music Makes Me happy มีเนื้อเพลงและการแสดงดังนี้ 
An old gazelle got sick. No longer was he quick. 
(กวาง 3 ตัวเดินพร้อมกัน มี 1 ตัวที่ป่วยเดินช้า) 
And he couldn’t help but lag behind the herd. 
(กวางป่วยเดินหลังกลุ่ม) 
Well, a cheetah was qownwind, and he struck and took the breath from him. 
(เสือซีต้าเฝ้ามอง และเข้าตระครุบกวางป่วย) 
The cheetah ate his meal while the herd ran away. 
(เสื้อซีตาร์กินกวาง กวางที่เหลือวิ่งหนี) 
Stay close to me, my little one. 
For there’s danger if you go out there alone. 
In the middle of the heard. 
We’ll surround you and you’ll be. 
So much safer if you’re close to me. 
(ย้อนกลับมาที่กวาง 3 ตัว ให้กวางตัวป่วยอยู่ตรงกลาง จะได้ปลอดภัย) 
A pack of hyenas smelled the blood of the gazelle. 
(หมาป่าไฮยีน่าทำท่าได้กลิ่นเลือด) 
And they searched until they found that cheetah eating very well. 
()เข้ามาแก่งอาหารกับเสือ) 
So they fought and they hit and they chased the cheetah for from it. 
(เสือซีตาร์ถูกไล่)
29 
The cheetah could only watch while the pack ate his prey. 
(เสือมองดูเหยื่อที่ตัวเองล่าถูกไฮยีน่ากิน) 
กิจกรรมมลพิษส่งผลต่อชีวิตปลา การบูรณาการวิทยาศาสตร์กับภาษา 
(เรื่องเล่าและคำคุณศัพท์) 
1. ครูเตรียมขวดแก้วขนาดใหญ่ พร้อมกับปลาพลาสติก 
2. ครูจะอ่านเรื่องเล่า พร้อมกับเทใส่มลพิษต่างๆเข้าไปเรื่อยๆ พร้อมเล่าเรื่องดังนี้ 
1. Imagine a clean river as it meanders through a protected wilderness area. In this 
river lives Fred the fish. How Does Fred Feel? Frea has lived in this stretch of the river 
all of his life. But now he decides to go on a adventure and explore the area 
downdtream. 
2. Fred swims into farm country. He passes a freshly plowed river bank. It begins to 
rain and some soil erodes into the river. (ใส่ดินลงไปในขวดแก้ว) How does Fred Feel? 
3. Fred nears a suburban housing development. Some fertilizer from the farms and 
lawns have washed into made the plants in the river grow very fast and thick. 
Eventually the river couldn’t furnish them with all the nutrients they needed. They 
died and all strated to decay. Their decomposition is using up all Fred’s 
oxygen.(เทน้ำผงซักฟอกลงในขวดแก้ว) How does Fred feel? 
4. Fred swims under a highway bridge. Come cars traveling across the bridge are 
leaking oil. The rain is washing the oil into the river below. (เทน้ำเชื่อมลงในขวดแก้ว) 
How does Fread feel? 
5. During a recent cold spell, iceformed on the bridge. Conutry tracks spread salt on 
the roads to prevent accidents. The rain is now washing salty slush onto the river. 
(เทเกลือลงในขวดแก้ว) How does Fread feel?
30 
6. Fred swims past the city park. Some picnickers did not throw their trash away. The 
wind is blowing it into the river. (โปรยกระดาษลงในขวดแก้ว) How does Fred feel? 
7. Several factories are located downriver from the city. Although regulations limit 
the amount of pollution the factories are allowed to dump into the river, the factory 
owners don’t always abide by them. (เทน้ำสบู่ลงในขวดแก้ว) How does Fred feel? 
8. The city’s Wastewater Treatment plant is also located along this stretch of the 
river. The pollunation regulations are not as strict as they should be and a section of 
the plant has broken down. (ใสสีผสมอาหารสีแดงลงในขวดแก้ว) How does fred feel? 
9.Finally, Fred swims past a hazadous waste dump located on the bank of the river. 
Rusty barrels of toxic chemicals are leaking. The rain is washing these poisons into 
the river. (ใส่สีผสมอาหารสีเขียว 1 หยด ลงไปในขวดแก้ว) How does Fred feel? 
ในขณะที่คุณครูอ่านและใส่แต่ละอย่างลงในขวดแก้ว นักเรียนจะช่วยกันเขียนคำคุณศัพท์ 
โดยมีตัวแทน ไปเขียนหน้ากระดาน เช่น Great. dirty sleepy, salty sad, dead เป็นต้น 
กิจกรรมต่อมาคือ กรองน้ำในขวดแก้ว 
เนื่องจากน้ำในขวดแก้ว ถูกผสมด้วยสารต่างๆมากมาย โจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้เรียนคือ 
ช่วยกันทำให้น้ำในขวดแก้วสะอาดขึ้น โดยในครั้งนี้จะใช้วิธีการกรอง โดยมีอุปกรณ์คือ ขวดพลาสติก 
ทราย กรวดหยาบ กรวดละเอียด ถ่าน (ชาโค) สำลี โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบเพื่อกรองน้ำให้ 
น้ำใสให้มากที่สุดเมื่อผ่านการกรอง 3 รอบ 
แต่ละกลุ่มออกแบบการจัดเรียงวัสดุสำหรับกรองและลงมือทดลอง จากนั้นนำน้ำ 
ที่ผ่านการกรองของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบ สอบถามแนวคิดในการจัดเรียงวัสดุกรอง 
วัสดุใดที่น่าจะส่งผลต่อความใสของน้ำ 
ในตอนท้ายของกิจกรรมครูต้องไม่ลืมย้ำให้นักเรียนทราบว่าแม้ว่าน้ำจะใสขึ้นแต่ก็ 
ไม่เหมาะสำหรับดื่ม เนื่องจากยังมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอยู่ในน้ำ 
ขั้นสรุป 
การออกแบบกิจกรรมเพื่อบูรณาการสหวิชาจะช่วยให้เกิดการฝึกฝนผู้เรียนอยากหลากหลาย 
ทักษะ และยังเป็นพื้นฐานการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM อีกด้วย
31 
กิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเทคนิค Cooperative learning 
นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ 4 คน โดยให้สมาชิกในกลุ่มเลือกหน้าที่ของตนเอง ประกอบด้วย 
1. Manager = อ่านข้อมูลจากแผ่นเป้าลูกบอล 
2. Dropper = โยนลูกเล็ก 
3. Catcher = ช่วยเก็บลูกให้โดนแผ่นเป้าแค่ 1 ครั้ง 
4. Recorder = บันทึกข้อมูล 
อุปกรณ์ 
1. กระดาษเป้า แต่ละวงจะมีระดับคะแนน 2 แผ่น (วางด้านบน กระดาษลอกลายตรงกลาง 
และกระดาษเป้าปิดท้าย) 
2. กระดาษลอกลาย 
3. กระดาษบันทึกข้อมูล 
Combination Predictions Test Scores Test Mean Test range 
1. ABC 
2. DEF 
3. AEC 
4. DBC 
5. ABF 
6. DEC 
7. AEF 
A : ปล่อยลูกบอลด้วยมือขวา 
B : ห่างจากกระดาษเป้า 1 เมตร 
C : ไม่ต้องยื่นแขนออกไป (ทำให้ตามองเห็นกระดาษเป้าได้) 
D : ปล่อยลูกบอลด้วยมือซ้าย 
E : ห่างจากกระดาษเป้า 2 เมตร 
F : ยื่นแขนไปปล่อยลูกบอล
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education
รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21Anucha Somabut
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอrainacid
 
คู่มือการใช้นวัตกรรม
คู่มือการใช้นวัตกรรมคู่มือการใช้นวัตกรรม
คู่มือการใช้นวัตกรรมJirathorn Buenglee
 
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้panisa thepthawat
 
Smart classroom characteristics of learning & teaching
Smart classroom  characteristics of learning & teachingSmart classroom  characteristics of learning & teaching
Smart classroom characteristics of learning & teachingAnucha Somabut
 
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน Orange Wongwaiwit
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7Tar Bt
 
การออกแบบการสอน
การออกแบบการสอนการออกแบบการสอน
การออกแบบการสอนguest68e3471
 
โรงเรียนบันดาลใจ 600224
โรงเรียนบันดาลใจ 600224โรงเรียนบันดาลใจ 600224
โรงเรียนบันดาลใจ 600224Pattie Pattie
 
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนเทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนWiparat Khangate
 
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)lovegussen
 
งานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรมงานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรมsomjit003
 
บันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม
บันทึกการทดลองใช้นวัตกรรมบันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม
บันทึกการทดลองใช้นวัตกรรมJirathorn Buenglee
 
คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10
คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10
คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10Jirathorn Buenglee
 
บทบาทครูในยุคดิจิตอล
บทบาทครูในยุคดิจิตอลบทบาทครูในยุคดิจิตอล
บทบาทครูในยุคดิจิตอลDuangnapa Inyayot
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practicesthkitiya
 

La actualidad más candente (20)

การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
การออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
 
คู่มือการใช้นวัตกรรม
คู่มือการใช้นวัตกรรมคู่มือการใช้นวัตกรรม
คู่มือการใช้นวัตกรรม
 
Stem ศึกษา
Stem ศึกษาStem ศึกษา
Stem ศึกษา
 
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
Smart classroom characteristics of learning & teaching
Smart classroom  characteristics of learning & teachingSmart classroom  characteristics of learning & teaching
Smart classroom characteristics of learning & teaching
 
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
ต้อนรับคณะนักศึกษา ปโท ดูงาน
 
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษานวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7
 
การออกแบบการสอน
การออกแบบการสอนการออกแบบการสอน
การออกแบบการสอน
 
โรงเรียนบันดาลใจ 600224
โรงเรียนบันดาลใจ 600224โรงเรียนบันดาลใจ 600224
โรงเรียนบันดาลใจ 600224
 
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอนเทคโนโลยี และสื่อการสอน
เทคโนโลยี และสื่อการสอน
 
1.best practice วิธีสอนศิลปะ 3 สาระด้วย ict
1.best practice วิธีสอนศิลปะ 3 สาระด้วย ict1.best practice วิธีสอนศิลปะ 3 สาระด้วย ict
1.best practice วิธีสอนศิลปะ 3 สาระด้วย ict
 
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
Ptกระบวนการเรียนรู้ 5 steps (ใหม่)
 
งานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรมงานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรม
 
บันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม
บันทึกการทดลองใช้นวัตกรรมบันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม
บันทึกการทดลองใช้นวัตกรรม
 
คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10
คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10
คู่มือการใช้นวัตกรรม แผน10
 
บทบาทครูในยุคดิจิตอล
บทบาทครูในยุคดิจิตอลบทบาทครูในยุคดิจิตอล
บทบาทครูในยุคดิจิตอล
 
ตัวอย่าง Addie ok
ตัวอย่าง Addie ok ตัวอย่าง Addie ok
ตัวอย่าง Addie ok
 
Best practices
Best practicesBest practices
Best practices
 

Destacado

กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)kroofon fon
 
เสื้อกันฝนจากถุงขนม
เสื้อกันฝนจากถุงขนมเสื้อกันฝนจากถุงขนม
เสื้อกันฝนจากถุงขนมMc P Nan'jirapron Jupjup
 
การ์ดปริศนา
การ์ดปริศนาการ์ดปริศนา
การ์ดปริศนาkroofon fon
 
หนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตร
หนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตรหนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตร
หนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตรหนังสือสอบ เพื่อนครู
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานpacharawalee
 
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ5528 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55ชยานันท์ แท่นแสง
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆNaphachol Aon
 

Destacado (9)

กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
กิจกรรมสะเต็มศึกษา (สสวท.)
 
Stem workshop summary
Stem workshop summaryStem workshop summary
Stem workshop summary
 
เสื้อกันฝนจากถุงขนม
เสื้อกันฝนจากถุงขนมเสื้อกันฝนจากถุงขนม
เสื้อกันฝนจากถุงขนม
 
การ์ดปริศนา
การ์ดปริศนาการ์ดปริศนา
การ์ดปริศนา
 
หนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตร
หนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตรหนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตร
หนังสือสอบ เพื่อนครู2559 ติวอินดี้ ง่ายโคตร
 
แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ5528 โครงการ  โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
28 โครงการ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ55
 
แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
STEM Education KMUTNB
STEM Education KMUTNBSTEM Education KMUTNB
STEM Education KMUTNB
 

Similar a รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education

ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยChaya Kunnock
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยSana T
 
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...Kroo Keng
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยArm Watcharin
 
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจShe's Kukkik Kanokporn
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยNoppasorn Boonsena
 
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่นKruNistha Akkho
 
งานครูผู้ช่วย
งานครูผู้ช่วยงานครูผู้ช่วย
งานครูผู้ช่วยMoss Worapong
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยtyehh
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยนภสร ยั่งยืน
 
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring scienceปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring scienceKobwit Piriyawat
 
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring scienceปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring scienceKobwit Piriyawat
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยPiyatida Prayoonprom
 

Similar a รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education (20)

ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง เทคโนโ...
 
ภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วยภารกิจครูผู้ช่วย
ภารกิจครูผู้ช่วย
 
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจครูผู้ช่วย ภารกิจ
ครูผู้ช่วย ภารกิจ
 
ภารกิจครูผู้ช่วย2
ภารกิจครูผู้ช่วย2ภารกิจครูผู้ช่วย2
ภารกิจครูผู้ช่วย2
 
ครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วยครูผู้ช่วย
ครูผู้ช่วย
 
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
1 แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาฟิสกส์ เรื่อง ความหนาแน่น
 
งานครูผู้ช่วย
งานครูผู้ช่วยงานครูผู้ช่วย
งานครูผู้ช่วย
 
ระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วยระดับครผู้ช่วย
ระดับครผู้ช่วย
 
Bbl ๘
Bbl ๘Bbl ๘
Bbl ๘
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring scienceปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
 
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring scienceปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วย Inspiring science
 
ชุดกิจกรรมที่ 1
ชุดกิจกรรมที่  1ชุดกิจกรรมที่  1
ชุดกิจกรรมที่ 1
 
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วยภารกิจระดับครูผู้ช่วย
ภารกิจระดับครูผู้ช่วย
 

Más de กมลรัตน์ ฉิมพาลี

Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบเอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์กมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษากมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือดโครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือดกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคมหลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคมกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคนกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังเล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศการออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆPoster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 

Más de กมลรัตน์ ฉิมพาลี (20)

Classroom observation day1
Classroom observation day1Classroom observation day1
Classroom observation day1
 
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
Foldable interactive book สำหรับคำย่อในภาษาอังกฤษ
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต นม6
 
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบเอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
เอกสารประกอบการอบรมวิเคราะห์ข้อสอบ
 
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
TPR card กิจกรรมสอนคำศัพท์วิทยาศาสตร์
 
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
ชีพจรและความดันชีววิทยากับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
 
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือดโครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
โครงการศึกษาและพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่องชีพจรและความดันเลือด
 
แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์
แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์
แกมจิ๊กซอกล้องจุลทรรศน์
 
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคมหลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
หลักฐานเอกสารการดำเนินงาน PLC โรงเรียนถนนหักพิทยาคม
 
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
6 การดูแลและรักษาระบบเคลื่อนที่ของคน
 
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกลเล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
เล่มที่ 5 กิจกรรม STEM และมือกล
 
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคนเล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
เล่มที่ 4 การเคลื่อนที่ของคน
 
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลังเล่มที่  3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
เล่มที่ 3 การเคลื่อนที่ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังการเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
การเคลื่อนที่ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
 
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
 
เทคนิคการจำ Division พืช
เทคนิคการจำ Division พืชเทคนิคการจำ Division พืช
เทคนิคการจำ Division พืช
 
เซลล์พืช 1
เซลล์พืช 1 เซลล์พืช 1
เซลล์พืช 1
 
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาว
 
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศการออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
การออกแบบโปสเตอร์ รางวัลระดับประเทศ
 
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆPoster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
Poster the trash เพราะขยะไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
 

รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ โครงการ STEM Education

  • 1. 1 S T E M รายงานการฝึกอบรมต่างประเทศ! โครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ด้วยภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืน ณ University of Georgia มลรัฐจอร์เจีย ประเทศ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน ถึง วันที่27 ตุลาคม 2557 โดย นางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี ครู คศ.1 โรงเรียนถนนหักพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32" สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2. 2 รายงานการฝึกอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืน ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป ๑.๑ ชื่อ-สกุล นางสาวกมลรัตน์ ฉิมพาลี ตำแหน่ง ครู ระดับ คศ.๑ ๑.๒ การศึกษาสูงสุด กศม. หลักสูตรและการสอน ๑.๒ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การสอนวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ๑.๔ ข้อเสนอโครงการ ชื่อโครงการ/ผลงานที่นำเสนอ โครงการสร้างเครือข่ายพัฒนาศักยภาพครูเพื่อจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษอย่างยั่งยืน รูปแบบกิจกรรม การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการและจัดทำเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และ นิเทศติดตามผ่านพื้นที่ออนไลน์ ส่วนที่ ๒ ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษา/ฝึกอบรม ๒.๑ วัตถุประสงค์ ๑. พัฒนาครูแกนนำวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถ จัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ด้วยภาษษอังกฤษอย่างยั่งยืน ๒. ครูแกนนำวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มีศักยภาพสามารถขยายองค์ความรู้ด้านการจัด การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ด้วยภาษาอังกฤษได้ ๓. พัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ของผู้เรียนด้วยภาษาอังกฤษ ๒.๒ เนื้อหา รายงานการเข้าอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ตามที่ได้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย 1. การเข้ารับการอบรมประกอบด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 2. การจัดการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษด้วยเทคนิค TPR และการสื่อสาร 3. การสังเกตชั้นเรียน 4. การเยี่ยมชมศึกษาดูงาน โรงเรียนและการศึกษาแหล่งเรียนรู้ 1. การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนการสอน 1.1 หัวข้อ How to mentor new Science Teacher : Project Focus and Culture อาจารย์ผู้สอน Dr. Julie A. Luft ใน Workshop on “Strengthening and Supporting Newly Hired Teachers of Science” อาจารย์ทำโครงการในการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ด้วยแรงจูงใจและต้องการให้คุณครู ประสบความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน รวมถึงการพัฒนาให้ครู ทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ
  • 3. 3 อาจารย์แบ่งกลุ่มให้ 4 กลุ่ม แจกการ์ดกลุ่มละ 5 ใบ ให้สมาชิกในกลุ่มอภิปรายร่วมว่าภาพใด สามารถเป็นตัวแทนปีแรกในการเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ (Select a postcard that your group feels best represents your first year of teaching Science) กลุ่มของเราเลือกภาพรถที่ จอดอยู่ท่ามกลางทะเลทราย ด้วยเหตุผลที่ว่า แต่ละคนมีเรื่องราวให้บุกเบิกเริ่มต้นเกี่ยวกับ การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เช่น พี่นก เรียนด้านคณิตศาสตร์แต่ต้องมาสอนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนของพี่เดียร์เพิ่งเริ่มต้นสอนวิทยาศาสตร์ม.ต้น สำหรับครูปุ้มเองก็น่าจะเป็นผู้บุกเบิกการสอนที่ มีปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ “I choose this picture because the picture like lack of supply/resource so dry up but show can feel the strongest of picture” KruPumBiO in Georgia class. อาจารย์ให้เราทำกิจกรรมนี้เพื่อที่จะให้นึกถึงความรู้สึกแรกเมื่อก้าวเข้าสู่ การทำงานเป็น ครูวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางครั้งเราผ่านประสบการณ์ตรงนั้นนานจนลืมไปว่า ครูใหม่ทุกคนมีสภาวะ ที่ยากลำบากในช่วงเริ่มต้นการทำงาน เมื่อกลับไปทำความเข้าใจกับความรู้สึกนั้นได้ เราจะสามารถช่วยคุณครูมือใหม่ได้นั่นเอง กิจกรรมนี้ยังช่วยให้อาจารย์ Luft ได้รู้ prior knowledge (ความรู้เดิม) ของเราอีกด้วย ว่าแต่ละคนมีประสบการณ์มาอย่างไร อะไรบ้างที่ผู้เรียนมีอยู่ในตอนนี้ (Prior knowledge = What you know about something, what they bring in our classroom) จากนั้นอาจารย์ได้อธิบายถึงคำว่า “New teacher” ซึ่งบางครั้งไม่ได้หมายถึงครูที่ เพิ่งบรรจุเข้าทำงานอย่างเดียว (New to teaching) ยังหมายถึง - New to teaching a field = การสอนในวิชาใหม่ - New to a grade level = การสอนในระดับชั้นใหม่
  • 4. 4 โดยทั่วไปการสนับสนุนครูผู้สอนจะมี 2 ส่วนคือ ส่วนของนักศึกษาฝึกสอน (Pre-service) และครูทั่วไป (In-service) แต่มีช่องว่างคือ ช่วง 5 ปีแรกของการเป็นครูซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมาก ดังภาพ Pre-service teacher Induction teacher (1-5 years of experince) In-service Teacher ซึ่งเป็นเหตุผลให้อาจารย์ Luft ทำงานวิจัยเรื่องนี้ โดยศึกษากลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่มคือ โรงเรียนดูแล ระบบออนไลน์ โปรแกรมของ มหาวิทยาลัย กลุ่มที่ไม่มี การสนับสนุน - เขตพื้นที่การศึกษา จะมอบหมายให้ ครูพี่เลี้ยง (mentor) ดูแลเรื่องทั่วๆไป มีการพบปะพูดคุย หลายๆครั้ง มหาวิทยาลัยร่วมมือ กับกระทรวง เน้นการสอนวิทยา- ศาสตร์ ครูพี่เลี้ยงต้องเป็น คุณครูที่มีประสบการณ์ สอน 6 ปีขึ้นไป เป็นระบบการเรียนรู้ แบบออนไลน์ที่มี ปฏิสัมพันธ์ (ถ้าครูใหม่มีปัญหา สามารถโพสต์ข้อความ ถาม จากนั้นจะมี ครูพี่เลี้ยงมาช่วยตอบ คำถาม) มีการพบเจอพูดคุย ปีละ 1 ครั้ง มหาวิทยาลัยพัฒนา โครงการขึ้นมา เน้นการสอนวิทยา- ศาสตร์ มหาวิทยาลัยร่ววมือกับ เขตพื้นที่ -ไปยี่ยมห้องเรียน เดือนละ 1 ครั้ง -เข้ามาเรียนที่ มหาวิทยาลัย เดือนละ 1 ครั้ง -ครูเข้าร่วมสัมมนา ในท้องถิ่น มีประสบการณ์สอน จากการเรียน ครูพี่เลี้ยงอาจจะเป็น ครูวิทย์หรือไม่ใช่ก็ได้ เน้นการสอนทั่วๆไป
  • 5. 5 โดยใช้เวลา 2 ปี ในการสนับสนุน และติดตามผลภายใน 5 ปี การวัดและประเมินผลตาม PCK (P = Pedagogical, C = Content, K = Knowledge) แบบสัมภาษณ์ PCK เพื่อวัดและประเมินผล PCK ข้อจำกัด พื้นฐาน ระดับสูง Category 1 การเรียนรู้ของนักเรียน - ความรู้เดิม - ตัวแปรของการเรียนรู้ - ความยากของหลักการ Category 2 การเรียนการสอน - การสืบเสาะ - การใช้ตัวอย่าง (ตัวอย่าง เช่น ใน limited ครูตอบได้ไหมถึงข้อจำกัดของโมเดล ในระดับ Advance ครูมีการตรวจสอบความรู้เดิมของผู้เรียนไหม พบ misconcept ในผู้เรียนบ้างหรือไม่ เป็นต้น) จากนั้นอาจารย์ให้เราเลือกบทเรียนที่เราคิดว่าเราชอบสอนมากที่สุด ครูปุ้มเลือก “My favorite teaching lesson is Genetics” Prior knowledge : Easy for seeing empirical evidence such as they can see some characteristic from their parent. Variety to learning : - Modeling - WEWT - Inquiry - Role play เวลาที่เราตอบเราจะคำนึงถึงว่า เนื้อหาอะไร ใช้วิธีการสอนแบบไหน ใช้แล้วทำไมถึงคิดว่า ได้ผลดีเพราะอะไร (เด็กชอบ เด็กเรียนเข้าใจ) เรียกว่าการสร้างความรู้ที่จะสอน “Build knowledge how to teaching” ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มครูที่อยู่ในโปรแกรมออนไลน์มีพัฒนาการที่ดีที่สุด ตามมาด้วยกลุ่มโปรแกรมของมหาวิทยาลัย กลุ่มโรงเรียนดูแลและกลุ่มที่ไม่มีการสนับสนุนตามลำดับ ส่วนอีกข้อมูลหนึ่งนำเสนอว่าแต่ละกลุ่มมีการจัดกิจกรรมอย่างไรบ้าง
  • 6. 6 (จากการทำกิจกรรมจะพบว่า เทคนิคการให้ทำนายก่อน จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจข้อมูลมากขึ้น) เมื่อต้องทำหน้าที่ในการสังเกตการเรียนการสอน ให้บอกคุณครูใหม่เลยว่า อะไรบ้างที่ เราต้องการสังเกต เช่น วันนี้จะสังเกตจะเฉพาะการเคลื่อนไหวภายในห้องเรียน จะวาดภาพ การเคลื่อนไหวของครู เมื่อสะท้อนผลจะใช้วิธีการคือ ให้ดูผลการบันทึกและให้ครูสะท้อนคิด ด้วยตัวเอง เช่น ครูจะเริ่มรู้ตัวว่าเดินไม่ทั่วทั้งห้อง “เมื่อดูผลการบันทึก พบอะไรจากการบันทึกบ้าง จะบอกคุณครูใหม่อย่างไร” การบันทึกคำถาม-บทสนาที่ครูใช้ในชั้นเรียน จะทำให้ครูนักศึกษาฝึกประสบการณ์ สอนได้รู้ว่า คำถามที่ใช้กับนักเรียนอยู่ในระดับใด เป็นคำถามที่ดีหรือไม่ การตอบคำถามนักเรียน เหมาะสมหรือไม่อย่างไร
  • 7. 7 การเรียนรู้เรื่องพันธุศาสตร์-คำถามที่ครูใช้ในการเรียนการสอน - Which one is the mother? - How do you know? - What do you get when you cross this plant in the first generation? - What is a genotype? - What is a phenotype? - What dose a P stand for? - If this is the offspring, what might the parents be? why? - How can you diagram two organism mate? - What dose it mean to heterogenous? - What dose it mean to homogenous? - Put that down! - Yes, that is right. Canyou tell me how you made that conclusion? -Yes. - No this is wrong. Now do it again. - What would happen to the offspring if this parent was Rr instead of RR. - Is that dominat? - Is that recessive? - What is the chance of having an rr offspring in the first generation? บทตัวอย่างการสังเกตบทสนทนาในห้องเรียน จะพบว่าการถามคำถามยังเน้นคือความจำ จะช่วยให้ครูเกิด การเตรียมตัวในเรื่องคำถามในครั้งต่อไป อาจารย์ให้เทคนิคการสร้างคำถามที่ดีคือ HRASE, H = history, R=Relationship A = application S = Speculation E = Evaluate. ช่วงการถาม-ตอบคำถาม 1. ที่อเมริกาไม่เน้น Action Research มาก แต่จะเน้น Data Team Analysis คือครูนำข้อมูลมารวมกันแล้วช่วยแก้ปัญหาให้ผู้เรียน 2. วัฒนธรรมองกรค์ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูใหม่
  • 8. 8 1.2 หัวข้อเรื่อง Project FOCUS : Fostering Our Community’s Understanding of Science สอนโดย David Knauff เป็นรายวิชาที่ให้นักศึกษาวิทยาศาสตร์ (pure science) มีโอกาสจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียน ใช้เวลา 14 สัปดาห์ 40 ชั่วโมง โดยมีโรงเรียนเครือข่ายและมีครูพี่เลี้ยง ก่อนที่จะออกไป สอนได้ จะมีการอบรมจนสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ รายวิชานี้สร้างขึ้นมาจาก 1. นักศึกษาต้องการสอนหรือทำงานกับเด็กๆ 2. โรงเรียนต้องการการสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการบริการสังคม (Service-learning) ซึ่งจะแตกต่างกับ อาสาสมัคร (Volunteer) อาสาสมัครคือมีเหตุการณ์ต่างๆเข้าไปช่วยเหลือ แต่บริการสังคมคือการนำความรู้ที่มี ไปช่วยนักเรียนในโรงเรียน โดยมีครูพี่เลี้ยงที่โรงเรียนคอยดูแลและกลับมามหาวิทยาลัยเดือนละ 1 ครั้ง เกณฑ์การประเมิน : โดยครูพี่เลี้ยง การนำเสนองาน การบันทึกอนุทินและการชวนเพื่อน มาเรียน ผลลัพธ์คือ 1. ผลการเรียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นเพราะมีการรับรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้น และรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองมากขึ้น 2. ได้ Lesson plan และอุปกรณ์ เพื่อจัดเตรียมไว้ให้ครูนำไปใช้ 3. มีทัศคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์มากขึ้น 4. คุณครูในโรงเรียนมีการจัดการเรียนรู้ที่เป็น active มากขึ้น การนำไปใช้ 1. สร้างโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้นักเรียนเห็นความสำคัญ ของเนื้อหาวิชา และมีเจคติที่ดีว่าความรู้ที่เรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2. แนวคิด Service Learning น่าจะสามารถนำไปใช้ได้ทุกวิชา
  • 9. 9 3. ประยุกต์ใช้ร่วมกับวิชาจิตสาธารณะ Service mind เช่น โรงเรียนของครูไพศาล ทำกิจกรรมว่า นักเรียนในแต่ละหมู่บ้าน ต้องสร้างกิจกรรมที่ช่วยเหลือหรือพัฒนาหมู่บ้านตนเอง ภาคเรียนละ 1 ครั้ง 1.3 หัวข้อเรื่อง Workshop on “Innovative Case Studies in Science Education” by Georgia Hodges แนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมชิ้นนี้คือการ “Transformational Science today” อาจารย์ Hodges ถามว่า การใช้เทคโนโลยีในการสอนมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร Good :D Bad :( 1. Give student many opportunity to face simulation. 2. Modeling 3. Research 4. Visual 5. Analysis data 6. Share 7. Collaborate 1. Eliminate interaction of students. 2. Eliminate good hand on activities 3. Plagiarism 4. Too much information จากนั้นเข้าเว็บไซต์ www.cogenteducation.com/studentsignup คือโปรแกรม SABLE System เข้ารหัส 6ab365be โดยใช้เมลล์ Krupumbio@gmail.com รหัสผ่านคือ 54010563001 ซึ่งนวัตกรรมนี้จะตอบรับกับ - Flipped ห้องเรียนกลับทาง - Discovery การค้นพบ - Summative assessment ได้เข้าเรียนเรื่อง Diffusion จะมีเหตุการณ์จำลองผ่านภาพ Animation เกิดเหตุการณ์ รถไฟชนกัน โดยที่รถไฟบรรจุคลอรีน ทำให้คลอรีนเกิดการแพร่กระจาย ผู้คนประสบปัญหา (case) จากนั้น ก็จะมีเนื้อหา (knowledge) แบบสอบถามจะมีเงื่อนไข (คล้าย PISA) แบบฝึกหัด ทำแบบทดสอบ (process) มีบทบาทสมมุติ (Role play) เพื่อให้มีการตัดสินใจ (decision making) ซึ่งในระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรม ในโปรแรกมของครูก็จะมีข้อมูลของนักเรียนแต่ละคน เช่น นักเรียนเรียนไปถึงบทไหนแล้ว ทำแบบฝึกหัดได้กี่คะแนน มีเนื้อหาส่วนไหนที่นักเรียนส่วนมาก ในห้องตอบผิด ครูจะต้องมีตรวจสอบดูว่า เรื่องนี้มีความยากตรงไหน ต้องช่วยเหลือนักเรียนอย่างไร จึงเป็นข้อดีของนวัตกรรมนี้ที่ช่วยให้ครูสามารถวัดและประเมินผลผู้เรียนได้อย่างทันท่วงที เรื่อง Osmosis ใช้กรณี วัวป่วย จะต้องวางแผนว่าจะมีวิธีการแก้ไขปัญหา (Engineering) ความเข้มข้น (คณิตศาสตร์)
  • 10. 10 การออกแบบเนื้อหาจะใช้กรณีที่พบเจอในชีวิตจริง ซึ่งกรณศึกษาต่างๆสามารถที่ จะค้นหาได้จาก National Center for Case study Teaching in Science. เมื่อให้ครูนำไปใช้พบว่า สรุปแนวคิดที่สร้างนวัตกรรมนี้คือ TPACK การนำแนวคิดนี้ไปใช้ต้องตระหนักถึง 3 ข้อ ต่อไปนี้ 1. ใช้โปรแกรมเป็นหรอไม่ 2. มีความเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดีหนือไม่ 3. วิธีที่ใช้ดีที่สุดหรือไม่ แนวคิดในการนำไปใช้ 1. เป็นแนวทางในการนำไปใช้พัฒนากิจกรรมในการเรียนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหา โดยเริ่มที่กรณีที่ใกล้ตัว การสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง
  • 11. 11 1.4 หัวข้อเรื่อง Workshop on “American Science education standards : How they are being implemented with hands on activities” by Professor Dr. Michael Padilla โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายจะเป็น grade 9-12 จะมีวิชาให้เลือกมากขึ้น และการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา กิจกรรมที่ 2 : American Science Education Standards : How they are begin implemented with hands on activities เริ่มจากการให้สังเกตภาพการ์ตูน เป็นมีคนใส่ชุดกราวในห้อง มีคนหนึ่งยืนอยู่หน้ากระดาน อีกคนจูบกับหนู อีกคนโดนวัวต่อย อีกคนกำลังจดบางสิ่งบางอย่าง คนสุดท้ายยืนมองคนอื่นๆโดยถือ กระดานมีกระดาษอยู่ด้วย อาจารย์ถามว่า ในภาพนี้มีอะไรบ้างแสดงถึง “วิทยาศาสตร์” (อาจารย์บอกว่าชอบใช้ ภาพในการสื่อถึงวิทยาศาสตร์ : Cartoon is the best to present Science Classroom) คำตอบที่ช่วยกันตอบกับเพื่อนๆ : การสังเกต การจดบันทึก การทดลอง เราใช้เวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันประมาณ 10 นาที จากนั้นให้เราปฏิบัติตามดังนี้ 1. เลือกตัวเลขมาก 1 ตัว จาก 1-9 2. ลบด้วย 5 3. คูณด้วย 3 4. นำยกกำลังสอง 5. ถ้าน้อยกว่า 5 ให้บวก 5 ถ้ามากว่า 5 ให้ลบ 4 6. คูณด้วย 2 7. นำมาลบด้วย 6 8. ระบุตัวเลขตามลำดับของเลข เช่น 1เลือก A, 2 เลือก B, 3 เลือก C ตามลำดับไปเรื่อยๆ 9. เลือกประเทศที่ขึ้นด้วยตัวอักษรนั้น 10. ตัวอักษรที่ 2 ในประเทศนั้น เป็นชื่อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม 11. สัตว์ตัวนั้นมีสีอะไร อาจารย์ถามว่ามันคือเวทมนต์หรือตรรกะ จากนั้นให้แต่ละกลุ่มช่วยกันหาวิธีการสร้างคำสั่งนี้ กลุ่มของเราเสนอวิธี Backward design อาจารย์จึงเสริมให้ว่า Forward Desin หรือเริ่มที่ตรงกลางก็ได้
  • 12. 12 อาจารย์ตั้งคำถามว่า “อะไรคือ Scientific Inquiry” กลุ่มของเรานำเสนอดังนี้ 1. Question 9. Hypothesis 17. Explore 25. Curiosity 2. Search 10. Conclusion 18. Discovery 26. Student-center 3. Investigate 11. Observe 19. Hard-on 27. Experiment 4. Analyze 12. Induction 20. Discovery 28. Prove 5. Collecting data 13.Communication 21. Synthesis 30. Design 6. Formulation 14. Collaboration 22. Creativity 7. Explanation 15. Engagement 23. Problem- Solving 8. Predict 16. Evaluation 24. Action-learning อาจารย์ให้ข้อมูลเรื่อง What are the Next Generation Science Standard? มาตรฐานการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แนวคิดใหม่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงของ 3 มิติ ระหว่าง ปฏิบัติการ (Practices) หลักการ (Concepts) และ แนวคิดที่เป็นแกนในด้านวิทยาศาสตร์ (Disciplinary Core Ideas) นำเสนอในตารางเรียกว่ากล่อง 3 มิติ มิติที่ 1. ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์และ วิศวกรรมศาสตร์ (Scientific and Engineering Practices) 1. การตั้งคำถาม (สำหรับวิทยาศาสตร์) และการระบุปัญหา (สำหรับวิศวกรรมศาสตร์) 2. การพัฒนาและการใช้โมเดล 3. การวางแผนและดำเนินการตรวจสอบ 4. การวิเคราะห์และการตีความข้อมูล 5. การใช้คณิตศาสตร์และหลักการคิด 6. การสร้างองค์ความรู้เพื่ออธิบาย (วิทยาศาสตร์) และการออกแบบแก้ปัญหา (วิศวะ) 7. กระตุ้นความสนใจในการโต้แย้ง จากหลักฐาน 8. การได้ข้อสรุป การวัดผลและการสื่อสาร มิติที่ 3. แนวคิดที่เป็นแกนกลางของ วิทยาศาสตร์ (Discipline Core Ideas = DCI code) Physical Science PS1 : Matter and its interactions PS2 : Motion and stability: Fprces and interactions PS3: Energy PS4: Waves and their applications in technologies for informaton transfer Life Sciences LS1: From Molccules to Organisms: Structures and Process LS2: Ecosystems: Interactions, Energy, and Dynamics LS3: Heredity: Inheritance and Variation of Traits มิติที่ 2. หลักการ (Crosscutting concept) 1. รูปแบบ 2. สาเหตุและผลกระทบ, กลไกและการอธิบาย
  • 13. 13 3. สเกล อัตราส่วนและปริมาณ 4. ระบบและรูปแบบของระบบ 5. พลังงานและสสาร : การหวุนเวียน วัฎจักรและการอนุรักษ์ 6. โครงสร้างและหน้าที่ 7. ความคงที่และการเปลี่ยนแปลง LS4:Biological Evaluation: Unity and Diversity Earth and Space Science ESS 1 : Earth’s place in the univrse ESS 2 : Earth’s system ESS3 : Earth’s systems Engineering, Technology, and the Applications of Science EST1 : Engineering design EST2: Links among engineering, technology, science, and society กิจกรรม Inquiry/Practices Task 1. ทำนายว่าการพับกระดาษทีละครึ่งจะพับได้กี่ครั้ง 2. ทดสอบ (อาจารย์นำกระดาษหนังสือพิมพ์ให้ทดลองพับ) 3. เราจะมีวิธีการออกแบบการทดลองอย่างไรเพื่อจะทดสอบว่าจำนวนพับกระดาษ กระดาษที่มีขนาดแตกต่างกันหรือไม่ 4. ทดลองจริง อาจารย์อธิบายให้เห็นว่า Scientific Inquiry ก็คือ Scientific Engineering Practices ที่เน้นการออกแบบให้ชัดเจนมากขึ้น ฝึกให้นักเรียนได้ออกแบบ/วางแผน แก้ปัญหาหรือ ทดสอบความรู้ เป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนคือ 1. ระบุตัวแปรที่สำคัญ --- ตัวแปรต้น (Manipulated/independent) --- ตัวแปรตาม (Responding/dependent) --- ตัวแปรควบคุม (Control) 2. พัฒนาสมมติฐาน 3. ออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบคำถาม 4. การทดลอง 5. เก็บรวบรวมข้อมูล 6. การสื่อสารและสร้างความเข้ากับผู้อื่นเกี่ยวกับข้อมูลที่ค้นพบ
  • 14. 14 สิ่งที่ NGSS ต้องการคือการปฏิบัติใช่หรือไม่ 1. การบูรณาการการฝึกปฏิบัติเข้ากับ Core idea และ Crosscutting Concepts 2. สร้างการคิดระดับสูง - ใช้ Model เพื่อ... (grade 5) - ใช้หลักฐานเพื่อสร้างคำอธิบาย...(ระดับกลาง) - สนใจการโต้แย้งจากหลักฐาน...(ระดับกลาง) - สร้างคำอธิบาย...(ระดับสูง) - สื่อสารคำอธิบาย....(ระดับสูง) - วางแผนและลงมือตรวจสอบ...(ระดับสูง) 3. ใช้ Engineering practice กลยุทธ์ที่ใช้ในการส่งเสริมการสืบเสาะ 1. Asking question. 2. Asking students to justify their answer. 3. Encouraging students to elaborate answer. 4. Giving students hints and suggestion. 5. Promoting students to cite evidence for their claim. 6. Using silence and wait time 7. Using neutral responses to encourage elaboration. 8. Having students write justifications. 9. Stimulating student to student questions and interaction. Scientific Inquiry is Core The Teacher is the key. 1. Students have to think about the science they study. 2. Inquiry must be the focus every day, every lesson, all the time! 3. Teachers have to challenge their students to think. 4. A diverse set of teaching strategies is critical. Using Every Opportunity to Stimulate Thinking! We have to learn how to incorporate inquiry into: 1. Analysis of lab result. 2. Reading the text. 3. Discussing current events 4. Answering questions from the book. 5. Making sense of complex content. 6. Homework review.
  • 15. 15 TIMSS lesson Analysis Study 1. Emphasize depth of understanding vs. correct answers. 2. Allow students to focus on their doubts and predictions. 3. Encourage creative and individual ideas. 4. Promote exchange of opinions among students. 5. Utilize methods to support and facilitate student thought. 1.5 หัวข้อเรื่อง Elementary Science Teaching Method Course : Professor Dr. Deborah Tippins โดยข้อมูลเบื้องต้นสำหรับชั่วโมงเรียนนี้เป็นชั่วโมงเรียนสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียน วิชานี้กับ Dr. Deborah Tippins มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 24 คน เนื้อหาในการเรียนรู้สำหรับ คาบนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ วงจรชีวิตของสิ่งมีชีวิต (Life Cycle) Dr. Deborah Tippins จึงได้เรียน เชิญวิทยากร Alexa Fritzsche ซึ่งเป็นศึกษาปริญญาเอกที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับผีเสื้อ Monarch ได้มาให้ความรู้เชิงลึก โดยให้ความรู้พื้นฐานจากนั้นแสดงภาพในแต่ละระยะโดยได้อธิบายวงจรชีวิตในแต่ละระยะของ ผีเสื้อ ซึ่งในระยะที่เป็นตัวหนอนจะมีทั้งหมด 4 ระยะระยะไข่ (egg) 4 วัน ตัวหนอน (Larva/ caterpillar) 8 วัน ดักแด้ (Pupa/Chrysalis) 9 วัน และผีเสื้อ (Adult) ซึ่งในระยะที่เป็นหนอน จะมีอีก 5 ระยะ วิทยากรนำภาพหนอน 4 ตัว มาให้แยกในแต่ละระยะแล้วถามผู้ฟังว่า ภาพที่ปรากฏ เป็น ระยะใด ทำให้ผู้ฟังสนใจมากขึ้น บางภาพเป็นระยะเดียวกันแต่ขนาดตัวแตกต่างกัน จะนำไปสู่ การอภิปรายว่า การศึกษาระยะของหนอนต้องดูที่ลายและอวัยวะ ไม่ใช่แค่ขนาดอย่างเดียว รวมถึง การแยกเพศของผีเสื้อจากภาพ ตัวผู้สามารถสังเกตได้จากการดูจุดที่ปีกจะมีจุดสีดำบนเส้นปีกข้างๆ ลำตัวและปลายลำตัวจะเปิด (ภาพ บนซ้าย : วงจรชีวิตของผีเสื้อ บนกลาง : หนอนผีเสื้อในแต่ละระยะ บนขวา : การเปรียบเทียบขนาดตัวและระยะของหนอนผีเสื้อ ล่างซ้าย : การแยกเพศของผีเสื้อ ล่างกลาง : การอพยพของผีเสื้อ ล่างขวา : เว็บไซต์ที่ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม)
  • 16. 16 อาหารของผีเสื้อคือ Milkweed ผีเสื้อโมนาร์คมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือและแบ่งออก เป็นสองกลุ่ม คือกลุ่มหนึ่งอยู่ทางตะวันออกและอีกกลุ่มทางตะวันตกของเทือกเขาร้อกกี้ ทุกๆ ปี หลังจากช่วงผสมพันธุ์ในเดือนสิงหาคม ผีเสื้อกลุ่มที่อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาร้อกกี้ จะพากันอพยพไปยังอเมริกาใต้และเม็กซิโก เป็นระยะทางกว่า 4 พันกิโลเมตร ใช้เวลานานกว่า 3 เดือน ส่วนกลุ่มที่อยู่ทางตะวันตกของเทือกเขาร้อกกี้จะอพยพมาทางชายฝั่งของแคลิฟอร์เนีย ที่น่าทึ่งคือ ผีเสื้อที่อพยพเหล่านี้กลับมาจำศีลในที่เดิมที่บรรพบุรุษของมันเคยมาทั้งๆ ที่ตัวมันเอง ไม่เคยรู้จักมาก่อน ประเด็นเรื่องโรคของผีเสื้อโมนาร์ชคือการถูกปรสิตที่อาศัยอยู่ที่ท้องทำให้เกิดโรค การตรวจ สอบโรคของผีเสื้อใช้วิธีที่เรียกว่า OE (OE คือ Ophryocytis Elektroscirrha) สิ่งมีชีวิตจำพวก ปรสิตที่อยู่บริเวณท้องของผีเสื้อ ซึ่งสมาชิกในแต่ละกลุ่มจะได้ลงมือทำวิธีการคือ จับผีเสื้อจาก ซองจดหมาย (วิทยากรนำผีเสื้อจริงที่ยังมีชีวิตอยู่ใส่มาในซองจดหมายสีขาว บรรจุลงในกล่องพลาสติก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ กระบวนการรักษาสภาพของผีเสื้อจะคล้ายกับการนอนหลับหยดน้ำหวานให้เป็นระยะ) จับบริเวณปีกด้านบนของผีเสื้อ หงายผีเสื้อขึ้น ใช้พลาสติกคล้ายสติกเกอร์ปิดบริวเณท้องและลอกออก ก็จะได้ตัวอย่างของปรสิตจากผีเสื้อตัวนั้นไปศึกษา (ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผีเสื้อ โดยสามารถหาข้อมูลได้จาก http://www.monarchlab.org/mitc/) ก่อนจบกิจกรรมประเด็นที่น่าสนใจของการทำวิจัยเรื่องผีเสื้อโมนาชก็คือการทำวิจัยร่วมกัน ระหว่างนักวิทยาศาสตร์และคนในท้องถิ่นที่สนใจเรื่องผีเสื้อโมนาช ทำให้เกิดความร่วมมือและ ได้ข้อมูลมากขึ้น กิจกรรมต่อมาคือ การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนของ Dr. Deborah Tippins อาจารย์อธิบายว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่มีวงจรชีวิต (Life Cycle) และยังมีสิ่งมีชีวิต อีกหลายชนิดที่มีวงจรชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งก่อนหน้านี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำ Magic book (แผ่นพับความรู้) เรื่องวงจรชีวิตที่สนใจมาส่งด้วย เพื่อให้นักศึกษาเกิดแนวความคิดการจัด การเรียนการสอนของวงจรสิ่งมีชีวิต อาจารย์จึงนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย เช่น 1. กิจกรรมการถ่ายละอองเรณู อุปกรณ์ จานกระดาษ แป้ง หลอด และกำมะหยี่ ตั้งคำถามว่า แมลงจะมีวิธีการถ่ายละอองเรณูอย่างไร จากนั้นสาธิตโดยการเทแป้งลงในจานกระดาษ ใช้หลอดกลิ้งๆบนแป้ง และใช้กำหยี่กลิ้งลงไปบนแป้ง ถามว่า ขาหรือปากของแมลงควรมี ลักษณะแบบใด ซึ่งนักศึกษาจะตอบได้ว่า แบบกำมะหยี่ เพราะเกสรจะติดได้ง่ายกว่าหลอด
  • 17. 17 2. กิจกรรมการสื่อสารของผึ้ง เพื่อการอธิบายการสื่อสารของแมลง แมลงจะมีการสื่อสาร เช่น ด้วยเสียง ท่าทาง กลิ่น จากนั้นนำเสนอการสื่อสารของผึ้ง โดยใช้ท่าทาง กิจกรรมนี้ใช้ อาสาสมัครจากนักศึกษา 8 คน ให้ออกไปสาธิตการสื่อสารของผึ้ง โดยให้ทุกคนสวมหมวกที่มี ลักษณะคล้ายหัวผึ้ง แล้วให้นักศึกษาคนหนึ่งถือเครื่องดนตรีแทมบูรีน ทำหน้าที่เป็นนางพญาผึ้งเมื่อ นางพญาผึ้งเคาะเสียงผึ้งทั้งหมดก็จะบินตามนางพญาผึ้งไป เช่น บินเป็นวง หรือบินเป็นลักษณะ เหมือนเลขแปด กิจกรรมนี้ยังสามารถเชื่อมโยงทักษะการออกแบบ เช่น ให้นักเรียนออกแบบลักษณะ ของปีกต่างๆ เมื่อได้ฟังคุณสมบัติของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ 3. กิจกรรมสร้างสื่อการสอน กิจกรรมนี้จะมีทั้งหมด 4 ฐาน คือฐานการสร้างแมลงเต่าทอง ฐานเติมเต็มวงจรชีวิตของผีเสื้อ ฐานการสร้างแผ่นวงจรชีวิตของผีเสื้อ และฐานการทำตัวหนอน/ หนวดของหนอน
  • 18. 18 1.6 หัวข้อเรื่อง The language of Science inquiry practices” by Professor Dr. Cory Buxton ในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ครูอาจจะประสบปัญหาที่นักเรียนบอกว่า “ไม่มีความสามารถ ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ยากเกินไป” วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ที่ดีขึ้นคือ การทำความเข้าใจในเอกลักษณ์ภาษาทางวิทยาศาสตร์ อาจารย์เริ่มกิจกรรมด้วยการให้แต่ละกลุ่ม อภิปรายร่วมกันว่า “อะไรทำให้ภาษาของ วิทยาศาสตร์มีเอกลักษณ์” (What makes the language of Science unique?) แต่ละกลุ่ม แสดงความคิดเห็น เมื่อตัวแทนแต่ละกลุ่มนำเสนอ อาจารย์สรุปใน 3 ส่วนคือ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. Technical nature of scientific vocabulary คำศัพท์ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์เป็นคำศัพท์ ที่มีความหมายเฉพาะ ไม่เหมือนกับที่ใช้ในชีวิตประจำวันหรือทั่วๆไป คำศัพท์เฉพาะเหล่านี้ มาจากรากศัพท์กรีกและละติน prefixes และ suffixes 2. Abstrat and depersonalized nature of Scientific language คำนามจะเป็น คำนามธรรมที่สร้างจากการกระทำหรือเชิงคุณภาพ เช่น distillation คือการกลั่น ซึ่งผู้เรียนจะเข้าใจ ได้ง่ายหากได้ลงมือปฏิบัติ แต่หากเพียงได้ยินคำศัพท์อยากเดียวจะยากต่อความเข้าใจและอธิบาย ออกมาในรูปของนามธรรม ซึ่งเรียกว่า Nominalization คือการเปลี่ยนประโยคให้อยู่ในรูป passive voice ทำให้วิทยาศาสตร์ดูเป็นรูปธรรมและเน้นในสิ่งที่ทำมากกว่าเน้นว่าใครหรืออะไรเป็นผู้กระทำ เช่น ต้นไม้ถูกตัดลงเป็นผลมาจากการสูญเสียดิน การวัดผลจะทำเพื่อตรวจสอบการเพิ่มขึ้น ของชั้นโอโซน 3. Dense clause in Scientific text ข้อความของวิทยาศาสตร์ที่นำความคิด หลักการมา เขียนอยู่ในรูปข้อความสั้นๆ ในรูปของอนุประโยค (ประโยคที่เกิดขึ้นตามลำพังไม่ได้ จะไม่สื่อ ความหมายที่สมบูรณ์) จะประกอบด้วยกระบวนการที่หลากหลาย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและ บริบทสิ่งแวดล้อม สถานการณ์ มากกว่าอนุประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวัน Dense clause จะอยู่ในรูปของนาม (bassball : เบสบอล) กับวลีส่วนขยายต่างๆ (multiple pre modifier) ( the
  • 19. 19 net force applied : แรง) และ post-modifiers วลีที่ทำหน้าที่อธิบายความหมายเพิ่มเติม (under accelaration : ภายใต้ความเร่ง) จากนั้นแจกการ์ดให้คนละ 3 การ์ด เข้าคู่กับเพื่อน ซึ่งเป็นข้อความต่างๆ เช่น “Good science cannot be done without good theories” “Unless an idea is teasble it is of little or no use” “Formal and informal networking among scientists is crucial for the success of scientific research” พิจารณาเลือกการ์ดที่เห็นด้วยเพียง 3 ใบ จากนั้นรวมกันกับเพื่อนทั้งกลุ่ม เลือกไว้ 9 ใบ แล้วพิจารณาข้อความการ์ดว่า มีคำศัพท์ มีคำ Abstract และ Dense clouse อยู่ตรงไหนในข้อความ บ้าง คำศัพท์ เช่น observation, Scientific research, generalizations และ testable Abtract and depersonalized เช่น Idea is testable. Formal and informal. Science begin with observation with lead to generalizations. Dende clauses : Seeing is believeing. Unless an idea is testable it is of little or on use. Scientific knowledge is always objective and self-correcting. เพื่อให้เห็นว่าการเขียนและข้อความมีความสำคัญต่อการสื่อสารความหมายมากเพียงใด อาจารย์จึงให้ทำกิจกรรม Zoobs technical writing เป็นกิจกรรมการร่วมมือของ 2 คน ในการสื่อสารผ่านกิจกรรมที่เน้นทักษะความชัดเจน และถูกต้องในการเขียน คนแรกทำหน้าที่ ผู้เขียน (writer) จะใช้การเขียนแบบ Zoobs คือเขียนคำสั่งเพื่อให้อีกคนเป็นคนสร้างโครงสร้างบางอย่างขึ้นมา (ในกิจกรรมกรรมนี้ใช้ การสร้างหุ่นจาก ตัวต่อ 17 ตัว คนเขียนเป็นคนเห็นหุ่นเต็มรูปแบบ) อีกคนเป็น Builder หรือ Doer คือคนที่ได้รับคำสั่งที่เขียนขึ้นจาก writer โดยที่ผู้สร้างไม่มีโกาสเห็นโครงสร้างมสมบูรณ์ของหุ่น
  • 20. 20 ผู้สร้างต้องพยายามสร้างหุ่นให้ถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ในระหว่างที่ผู้เขียนกำลังเขียนคำสั่ง ผู้สร้างต้องไปอยู่อีกห้องหนึ่ง เพื่อป้องกันการสื่อสารทางอื่นนอกจากการเขียนเท่านั้น) เมื่อทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย มาอภิปรายร่วมกันว่าการเขียนคำสั่งที่ต้องเป็นอย่างไร - การเขียนที่เรียงลำดับขั้นตอนชัดเจน - การเขียนที่ต้องอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนที่ยากต่อความเข้าใจ เช่น ส่วนของร่างกาย - การใช้คำศัพท์หรือข้อความที่จะเข้าใจได้ตรงกันทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน ในตอนท้ายกิจกรรม อาจารย์แสดงให้เห็นว่า ในการเขียนจะมีทั้งคำศัพท์ Abstract และ Dense clouse ซึ่งหากนักเรียนได้ทำกิจกรรมนี้ เวลาที่เรียนปฏิบัติการหรือการเขียนอธิบายต่างๆ นักเรียนจะ เห็นความสำคัญของการเขียนมากขึ้น language Boosters คือ การอ่านที่ส่งเสริมความเข้าใจภาษาทางวิทยาศาตร์ ในบทความจะประกอบด้วยคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มเติมให้ผู้เรียนตามความเหมาะสมกับ ระดับชั้น บทความจะนำเสนอผลการทดลอง หรือหลักการ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มีประโยคหรือวลี ด้วยภาษาวิทยาศาสตร์ เมื่ออ่านจบต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับเพื่อน และออกแบบหรือรวบรวมข้อความมาสนับสนุนความคิดของตนเอง ในที่ขาดไม่ได้คือ การฝึกให้เด็กตั้งคำถาม เพราะนี่คือลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ กิจกรรม Classrom Norms for Supporting the Language of Science 1. การมีส่วนร่วม - เริ่มกิจกรรมโดยให้อุปกรณ์การทดลอง อธิบายวิธีการดำเนินการ ให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิด แม้แต่ความคิดที่ไม่แน่ใจ - ฟังควมคิดเห็นของคนอื่นๆในกลุ่มและสร้างสมมติฐานจากสิ่งเหล่านั้น - ลงมือทดลองเพือ่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนทุกคน - ใช้ความรู้เดิม แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในกลุ่ม - แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ เพื่อสร้างแนวคิดที่เหมาะสม
  • 21. 21 2. แสดงความคิดด้วยหลักฐาน - อธิบายความคิดเห็นพร้อมหลักฐาน - แสดงความคิดเห็นให้สมบูรณ์มากที่สุด - เขียน/วาด/สร้างรูปแบบ เพื่อให้ความคิดชัดเจนมากขึ้น 3. โต้แย้งโดยเคารพความคิดเห็นผู้อื่น - เห็นด้วยและขัดแย้งได้ - นักเรียนจะพบการอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้เหตุผล 4. ทบทวนและสะท้อนคิด - เป็นไปได้ที่ความเข้าใจอาจจะไม่ถูกต้อง - เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดเมื่อเราเกิดความเข้าใจใหม่ -เขียน/วาด/สร้างรูปแบบใหม่ เพื่อให้ความคิดชัดเจนมากขึ้น กิจกรรม เทียนสูบน้ำ อุปกรณ์ 1. เทียน 2. ชามแก้ว 3. flask 4. ไม้ขีดไฟ 5. ดินน้ำมัน วิธีการ 1. นำดินน้ำมันมาติดที่ถ้นเทียนเพื่อให้ตั้งในชามแก้วได้ 2. เทน้ำลงไป ครึ่งหนึ่งของชามแก้วแต่ไม่ท่วมเทียน 3. ใช้ flask คว่ำลงไปที่เทียน 4. สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น 5. ใช้เทียน 3 แท่ง กิจกรรมนี้จะแสดงให้เห็นถึง Cause (สาเหตุ) และ ผล (Effect) คือการอธิบายผลที่เกิดจากการสังเกต If......happaens, then the effect will be ..... because ...... เช่น Cause Effect การเผาเทียนทำให้เกิดความร้อนของอากาศใน flask อากาศที่ร้อนขยายตัวโมเลกลุของอากาศได้รับ พลังงาน อากาศที่ขยายตัวถึงน้ำเข้าสู่ flask ฟองอากาศสามารถสังเกตจากการเคลื่อนที่ของ น้ำภายใน flask
  • 22. 22 การเผาไหม้ของเทียนทำให้ออกซิเจนใน flask หมดไป เทียนจึงดับ อากาศที่เหลือใน flask จะเย็นตัวลง เกิดความแตกต่างของอากาศที่เหลืออยู่ แรงดันอากาศใน flask น้อยกว่าแรงดันอากาศภายนอก น้ำจึงถูกดึงเข้าไปภายใน flask จนกว่าแรงดันภายในและภายนอกจะเท่ากัน การเผาไหม้เกิดก๊าซ CO2 คาร์บอนไดออกไซด์ลงมายังพื้นที่ด้านล่าง ทำให้เทียนดับ ข้อเสนอแนะของการเรียนภาษาทางวิทยาศาสตร์ 1. ศึกษารากศัพท์ละตินและกรีก รวมคำ prefixes และ suffixes เพื่อให้นักเรียนเข้าใจ ความหมายของธรรมชาติของคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ 2. ปรับการเขียนประโยคให้มีผู้กระทำรวมถึงความเหมาะสมของผู้กระทำ เพื่อให้เข้าใจ Abtract and depersonalized nature ของภาษาวิทยาศาสตร์ (เขียนทั้ง 2 รูปแบบ) 3. ระบุรากศัพท์คำนาม เชื่อมโยงกับกริยาและการกระทำ ระบุวลีขยายด้านหน้าและด้านหลัง ในข้อความทางวิทยาศาสตร์ที่มีขนาดสั้นๆ แต่มีความหมายหรือบริบทที่กว้างขวาง 4. ฝึกให้ผู้เรียนอธิบายความหมายของภาษวิทยาศาสตร์ในภาษาของตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่าผู้เรียนเข้าใจความหมายอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงใช้การจำ 5. ฝึกให้ผู้เรียนสนทนาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ 6. อภิปรายกับผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยใช้ทั้งภาษาวิทยาศาสตร์และภาษาประจำวัน 7. ฝึกการเขียนทางวิทยาศาสตร์รวมถึงในกระบวนการวัดผล 1.7 หัวข้อเรื่อง Workshop on “Interdisciplinary Science Teaching and Learning” by Professor Dr. Deborah Tippins “แนวคิดในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสหวิทยาการและแบบบูรณาการเป็นการจัดการ เรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้และทักษะ ด้านคณิตศาสตร์ ภาษา ดนตรี ศิลปะนอกจากจะช่วย ให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถอย่างรอบด้าน อาจารย์เริ่มกิจกรรมโดยการนำอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น 1. Magic Sand คือทรายที่ไม่เปียกน้ำ ซึ่งหากให้นักเรียนได้ทดลองหรือเล่นกับทรายนี้แล้ว สามารถจะสอนหลักการทางวิทยาศาสตร์คือ Hydrophobic materials สามารถอธิบายโดยการใช้ รากศัพท์ได้ดังนี้ Hydro แปลว่าน้ำ Phobia แปลว่า กลัว วัสดุชนิดนี้จึงไม่จับตัวหรือรวมกับน้ำ หลักการนี้พบในธรรมชาติ เช่น ผิวใบบัว นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การผลิตเสื้อนาโนไม่เปียกฝน เสื้อกันฝนไม่เปียกฝน ทรายในตู้ปลา การทำความสะอาดคราบน้ำมัน 2. ลูกปัด Violatating Detecting Bread ทุกคนได้รับเม็ดลูกปัด 7 ลูก สายร้อย 1 เส้น ร้อยใส่มือ สังเกตสีเมื่ออยู่ในห้อง จากนั้นให้ออกไปที่กลางแดดสังเกตการเปลี่ยนแปลง จะพบว่า
  • 23. 23 สีของลูกปัดจะมีการเปลี่ยนจากสีขาว เป็นสีต่างๆ เพราะลูกปัด Violatating Detecting Bread ที่จะเปลี่ยนสีตามแสงที่มันดูดกลืนไว้เม็ดลูกปัดเมื่ออยู่ในห้องจะเป็นสีขาว แต่ถ้าเจอแสง Ultraviolet เม็ดสีจะเกิดการเปลี่ยนสี สามารถใช้สอนเรื่องพลังงาน ประโยชน์ที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันคือ การทดสอบ SPF เช่น ทาครีมกันแดดที่เม็ดลูกปัดแล้วไปส่องใต้แสงแดด หากเม็ดลูกปัดไม่เปลี่ยนสี แสดงว่า SPF สามารถป้องกันแสงยูวีได้ 3. ลูกบอลไฟฟ้า จับมือกันเป็นวงกลม มีสองคนให้ช่วยกันจับลูกบอลกลมๆที่มีแผ่นมีเหล็ก (ซึ่งเป็นขั่วโลหะ) ติดอยู่ด้านข้างของลูกบอล เมื่อจับครบวง ลูกบอลจะส่งเสียง สามารถสอนเรื่อง วงจรไฟฟ้าได้ จากนั้นอาจารย์สร้างประสบการณ์การเรียนรู้แบบ Interdisciplinary เรื่อง “Bird Beak Adaptations: Bird Banquet” เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ยกมาจาก “Leopold Education Project*” ของ Aldo Leopold (January 11, 1887 – April 21, 1948) อาจารย์วางเวลาที่พื้นตั้งแต่ 4.00 น. – 05.15 น. แจกบัตรภาพนกพร้อมกับเสียงร้องของนกแต่ละตัว จากนั้นอาจารย์อ่านบทความของ วิทยาศาสตร์ที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และเริ่มได้ยินเสียงร้องของนกต่างๆ เมื่ออาจารย์อ่านเวลาใด คนที่ได้รับบัตรนกใบนั้น ให้ส่งเสียงร้องไปเรื่อยๆ (การใช้ข้อมูลของนักวิทยาศาสตร์จริงซึ่งเป็น นักชีววิทยาคนสำคัญคนหนึ่งของอเมริกา โดยท่านได้ใช้ความพยายามและทุ่มเทในการสังเกต พฤติกรรมของนกและบันทึกอนุทิน จนกลายเป็นหนังสือชื่อ “A Sand County Almanac” (1949) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน) (บูรณาการวิทยาศาสตร์กับภาษา) ** โดย Dr. Tippins แนะนำพวกเราให้เข้าไปศึกษาโครงการ Citizen Science Projects ซึ่งเป็นโครงการที่คล้ายคลึงกับสิ่งที่ Aldo Leopold ทำไว้ โดย Citizen Science Projects เป็นกิจกรรมที่นักวิทยาศาสตร์ทำวิจัยโดยให้ประชาชนหรือนักเรียนทั่วโลกมีส่วนร่วมในการเก็บ รวบรวมข้อมูลในเรื่องต่างๆ ในหลากหลายสาขาวิชา (Disciplines) เช่น NestWatchที่สังเกตลักษณะ ของรังนกต่างๆ, Hummingbirds at Home, Neighborhood Nestwatch, Great Backyard Bird Count (http://gbbc.birdcount.org/about/) เป็นต้น แล้วนักวิทยาศาสตร์จะนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์ แล้วแบ่งปันผลการวิจัยโดยเราสามารถศึกษาข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งศึกษารายละเอียด
  • 24. 24 เกี่ยวกับโครงการ Citizen Science Projects ได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_ citizen_science_projects และ http://www.scientificamerican.com/citizen-science/ (**ข้อมูลจากการรวบรวมของไพศาล วงค์กระโซ่) กิจกรรมต่อมาให้แบ่งกลุ่มโดยมีสมาชิก 4 คน ได้รับใบงาน 1 ใบงาน ถุงพลาสติกคนละ 1 ชิ้น (แทนกระเพาะอาหาร) และเลือกที่หนีบคนละ 1 อัน ซึ่งจะมีลักษณะของปากหนีบแตกต่างกัน เมื่อได้แล้วจะเปรียบเทียบจงอยปากและที่หนีบ ดังนี้ ที่หนีบผ้า คือ นกนางนวล (Gull) คีมเหล็กคือ นกเหยี่ยว (Red-tailed Hawk) ที่หนีบเล็กขน คือ นกร้องเพลง (Warbler) และ ที่หนีบขนาดใหญ่ คือ เป็ด (Duck) จากนั้นจะเริ่มทำนายว่า ถ้ากินอาหารแต่ละชนิดจะกินได้กี่ชิ้น เขียนลงในช่องคาดคะเน (Predictions) จากนั้นให้อาหารมา 4 อย่างคือ ปลา (Fish แทนด้วย Macaroni) อย่างที่สอง เมล็ดพืช (Seeds แทนด้วย เมล็ดทานตะวัน) และอย่างที่สาม เนื้อสัตว์ (Meat แทนด้วย Marshmallows) จะใส่อาหารลงในจานกลางทีละชนิด มีเวลา 10 วินาที ในการกิน เมื่อได้ยิน สัญญาณว่า “run” แต่ละคนก็เริ่มหยิบใส่ในถุงพลาสติกของตนเอง เมื่อหมดเวลาก็นับว่าตนเองกินได้ กี่ชิ้น และบันทึกลงในช่องเขียนตัวเลขที่เป็นจริง (Actual results) เมื่อครบทุกชนิดแล้วให้นำเสนอผล การทดลองโดยการใช้ กราฟชนิดต่างๆและเลือกสิ่งที่ต้องการนำเสนอและสร้างข้อสรุปจากข้อมูล “Look at the data should one relationship we might graph” (การบูรณาการวิทยาศาสตร์ กับคณิตศาสตร์) จากกิจกรรมสามารถสร้างชิ้นงานที่เรียกว่า Magic book เพื่อสรุปความคิดในการเรียนรู้ (ศึกษาวิธีการประดิษฐ์ Magic Books ได้ที่ http://www.teachertreasures.com/ Magic_Book.html)
  • 25. 25 1.8 หัวข้อเรื่อง “Elementary Science Teaching Methods course” by Professor Dr. Deborah Tippins อาจารย์นำเสนอแนวคิด เรื่อง “Idea of movement Integrated with Mathematics and Language” ชื่อเรื่องคือ Animal and Food chain สำหรับเด็กระดับประถมศึกษา ขั้นนำ เริ่มจากกิจกรรม Movement of Mammal ด้วยคำถามที่ว่า What’s animal to day? อาจารย์นำเสนอบัตรภาพสัตว์ต่างๆ พร้อมทั้งท่าทางที่แสดงถึงสัตว์ตัวนั้น เช่น ช้าง มือซ้ายจับหูขวา มือขวายื่นออกมาด้านหน้าแทนงวงช้าง แพนกวิน ยืนแขนตรงแนบลำตัว งอข้อมือออกนอกลำตัวคล้ายกับแขนนกแพนกวิน ลิงกอลิล่า ทำมืองุ้มเข้าหาลำตัวแกว่งไปมา ขั้นสอน ด้วยกิจกรรม Mamals of the woods Math Game ขออาสาสมัคร รับบัตรภาพ ประกอบด้วย 9 ภาพคือ ภาพตอไม้, กระต่าย, แรคคูณ, หมี, เม่น, Opossum, Skunk, หมาป่า (Coyote), และ บีเว่อร์ เมื่อรับภาพแล้วอาจารย์จะอ่านเรื่องราว ให้อาสามาสมัคร ทำท่าทางตาม ที่ได้ยิน ไปยังหน้าห้องเรียน เช่น “สัตว์ที่มีขน 8 ตัว ในรังมีลูก 7 ตัว กระต่ายกระโดดข้ามทุ่งหญ้า ตอนนี้เหลือ 7 ตัว” (8 furry creatures. From her nest with babies eleven. The rabbit hops across the meadow. Now there are 7) - คนที่ถือภาพกระต่ายก็ทำท่ากระโดดข้ามทุ่งหญ้าไปยังหน้าห้องเรียน “สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำมนขนปุกปุย หมีไปยังต้นไม้ ยื่นจมูกเพื่อหาน้ำผึ้ง เหลือหมีอยู่ 6 ตัว” (7 fluffy mamals, Away bear goes, poking under logs and stricks, Looking for honey. Now there are 6) - คนที่ถือภาพหมีทำท่ายื่นจมูกหาน้ำผึ้งออกไปยังหน้าห้องเรียน “สัตว์ที่มีขน 6 ตัว กระโดดโลดเต้นและมีชีวิตชีวา เม่นเดินลากขา ตอนนี้เหลือ 5 ตัว” (6 hairy animals, frisky and alive, The porcupine shuffles away, Now there are 4) - คนที่ถือภาพเม่นทำท่าเดินลากขาออกไปหน้าห้องเรียน “สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บริเวณป่าไม้ ตัวหนึ่งอยู่ใกล้ๆชายฝั่ง บีเวอร์ดำน้ำลงไปในบึง ตอนนี้เหลือ 4 ตัว” (5 woodland mamals, One is near the shore. The beaver dives into the lake. Now there are 4) - คนที่ถือภาพบีเวอร์ทำท่าดำน้ำไปหน้าห้องเรียน “สิ่งมีชีวิตในป่า มองและมอง เจ้าแรคคูน คลานเข้าไปในโพรงไม้ และตอนนี้เหลือ 3” (4 forest creatue. Just look and see. The raccoon crawls into a hollow log. Now there are 3) - คนที่ถือภาพแรคคูณทำท่าคลานไปหน้าห้องเรียน “สัตว์เลี้ยงด้วยน้ำนมจำนวนคี่ จะส่งเสียงให้ได้ยินว่า อาอู้ Opossum ขี้ตกใจแอบอยู่ในรู ตอนนี้เหลืออยู่ 2 ตัว” (3 odd mamals. In the distance is heard, “Ah-yoo”. The frightened opossum hudes in a hold. Now there are 2)
  • 26. 26 - คนที่ถือภาพ Opossum ทำท่าตกใจออกไปหน้าห้องเรียน “สัตว์ 2 ตัว ที่ไม่ต้องวิ่ง สกั้งผู้กล้าหาญเดินช้าๆไปเรื่อยๆ ตอนนี้เหลือ 1 ตัว” (2 Critters left. There’s no need to run. The brave skunk ambles away. Now there is 1) - คนที่ถือภาพสกั้งทำท่าเดินช้าๆออกไปหน้าห้องเรียน “หมาป่าโคโย้ตี้ผู้เดียวดาย มองพระอาทิตย์ที่กำลังตกดิน หายลับผ่านยอดภูเขา ตอนนี้ไม่เหลือสัตว์สักตัว” (1 lone coyote, watching the setting sun, Soon disappears over the crest of the hill. Now there are none.) จากนั้นให้ฟังอาจารย์อ่าน เมื่อมีชื่อภาพของตนเองให้ทำท่านั้นกลับมายังที่นั่งของตนเอง The rabbit is one. The bear is two. The porcupine is three. The beaver is four. Take a deep breath....here come some more. The raccoon is five. The opossum is six. The skunk is seven. The coyote is eight. The group is all here today. So, one more, they all “take off” each going a separate way. Over in the lake, hear the beaver’s tail thump. There’s nothing left here but the big, old stump. ซึ่งสามารถบูรณาการได้ทั้งภาษา คือคำศัพท์อาการต่างๆ และคณิตศาสตร์ คือการบวกนับเลข กิจกรรมที่ 2 เน้นเรื่องภาษาเพื่อใช้บอกตำแหน่ง เหมาะสำหรับเด็กอนุบาล -ป.2 ด้วยคำสั่งต่อไปนี้
  • 27. 27 1. วางเม่นไว้หลังตอไม้ (behind) 2. วางแรคคูณข้างหน้า ด้านล่างตอไม้ 3. วางบีเว่อร์ไว้ด้านข้างตอไม้ 4. วางสกั้งไว้ระหว่างบีเวอร์และตอไม้ 5. วางเม่นไว้บนตอไม้ 6. วางหมาป่าโคโยตี้ไว้ไว้ตรงข้ามกับสกั้ง 7. วางกระต่ายระหว่างหมาป่าและตอไม้ 8. วางหมีต่อจากเม่น 9. เลื่อนจากสกั้งไปไว้ด้านขวาของหมาป่าโคโยตี้ ซึ่งคุณครูสามารถย้ายสัตว์ต่างๆโดยใช้คำสั่ง เช่น วางเหนือ... (over) วางไว้ด้านใต้... (under) ด้านบน... (above) วางไว้ด้านขวา... (to the right of) วางไว้ด้านซ้าย... (to the left of) เป็นต้น กิจกรรมเรื่อง Food Chain Game การบูรณาการวิทยาศาสตร์กับเกมการแข่งขัน Food chain เป็นมาตรฐานการเรียนรู้ของรัฐ Georgia ครูทบทวนความรู้เรื่องห่วงโซ่อาหาร เช่น ดวงอาทิตย์คือแหล่งพลังงานเริ่มต้นให้กับทุกห่วงโซ่อาหาร พืช สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน คือ ผู้ผลิต (producer) ผู้บริโภคอันที่ 1 (primary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืช เช่น ตั๊กแตน ผู้บริโภคอันที่ 2 (secondary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ เช่น งู ผู้บริโภคอันที่ 3 (tertiary consumer) ได้แก่ สัตว์ที่กินสัตว์ ผู้บริโภคซาก (scavenger) เช่น แร้ง แมลงวัน อีกา เป็นต้น และผู้ย่อยสลาย (decomposer) ได้แก่ แบคทีเรีย รา เห็ด ยีสต์ โดยมีดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงาน ให้กับทุกโซ่อาหาร กติกาและวิธีการเล่น 1. แต่ละกลุ่มจะได้รับการ์ด กลุ่มละ 8 การ์ด 2. เมื่อได้รับการ์ดแล้ว ต้องจัดเรียงลำดับห่วงโซ่อาหารให้ถูกต้อง ทั้งนี้การ์ดที่ได้รับ จะประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้บริโภคอันดับที่ 1 ผู้บริโภคอันดับที่ 2 ผู้บริโภคอันดับที่ 3 ผู้บริโภคซาก ผู้ย่อยสลาย และการ์ดพิเศษคือ ดวงอาทิตย์ (จะได้ +25 คะแนน) ผลพิษ (-50 คะแนน) 3. ครูจะต้องจัดการเตรียมการ์ดอย่างดี เพราะต้องให้มีการ์ดที่ซ้ำกัน เพื่อให้นำการ์ดออกไปแลกเปลี่ยนกันที่หน้าห้อง โดยไม่ให้กลุ่มอื่นๆรู้ว่าการ์ดที่เราจะแลกคืออะไร เมื่อได้การ์ดที่ต้องการก็นำกลับมาเรียงที่กลุ่ม หากยังไม่ได้การ์ดที่ต้องการก็นำไปแลกต่อไป 5. กลุ่มที่เรียงได้ครบห่วงโซ่อาหารให้รีบยกเมื่อ และกล่าวว่า “Food chain” 6. การลงคะแนน กลุ่มที่ชนะจะได้ 50 คะแนน กลุ่มที่มีพระอาทิตย์จะได้ใบละ 25 คะแนน กลุ่มใดมีการ์ดมลพิษจะถูกลบ 50 คะแนน เล่นประมาณ 3 รอบ ก็นับคะแนนรวม กลุ่มใดได้คะแนนสูงสุดกลุ่มนั้นเป็นผู้ชนะ ซึ่งครูสามารถปรับเปลี่ยนกติกาได้มากมาย เช่น การให้การ์ดเปล่าเพื่อให้ผู้เรียน ออกแบบการ์ดเอง หรือปรับเป็น Ocean Food chain game หรือ Life cycle
  • 28. 28 กิจกรรมห่วงโซ่อาหารโดยใช้เทคนิค Music/Drama/Theater การจัดกิจกรรมการสอน เรื่อง กิจกรรมโซ่อาหาร (2) 1. ขออาสาสมัครเป็นกวาง 3 ตัว เสือซีต้า (chetah) 3 ตัว และ ไฮยีน่า 3 ตัว พร้อมมีอุปกรณ์การแสดงให้ 2. ครูเล่าเรื่องผู้ล่าและเหยื่อ จากเพลง Stay Close to me โดย Pam Blanchard จากอัมบั้ม Music Makes Me happy มีเนื้อเพลงและการแสดงดังนี้ An old gazelle got sick. No longer was he quick. (กวาง 3 ตัวเดินพร้อมกัน มี 1 ตัวที่ป่วยเดินช้า) And he couldn’t help but lag behind the herd. (กวางป่วยเดินหลังกลุ่ม) Well, a cheetah was qownwind, and he struck and took the breath from him. (เสือซีต้าเฝ้ามอง และเข้าตระครุบกวางป่วย) The cheetah ate his meal while the herd ran away. (เสื้อซีตาร์กินกวาง กวางที่เหลือวิ่งหนี) Stay close to me, my little one. For there’s danger if you go out there alone. In the middle of the heard. We’ll surround you and you’ll be. So much safer if you’re close to me. (ย้อนกลับมาที่กวาง 3 ตัว ให้กวางตัวป่วยอยู่ตรงกลาง จะได้ปลอดภัย) A pack of hyenas smelled the blood of the gazelle. (หมาป่าไฮยีน่าทำท่าได้กลิ่นเลือด) And they searched until they found that cheetah eating very well. ()เข้ามาแก่งอาหารกับเสือ) So they fought and they hit and they chased the cheetah for from it. (เสือซีตาร์ถูกไล่)
  • 29. 29 The cheetah could only watch while the pack ate his prey. (เสือมองดูเหยื่อที่ตัวเองล่าถูกไฮยีน่ากิน) กิจกรรมมลพิษส่งผลต่อชีวิตปลา การบูรณาการวิทยาศาสตร์กับภาษา (เรื่องเล่าและคำคุณศัพท์) 1. ครูเตรียมขวดแก้วขนาดใหญ่ พร้อมกับปลาพลาสติก 2. ครูจะอ่านเรื่องเล่า พร้อมกับเทใส่มลพิษต่างๆเข้าไปเรื่อยๆ พร้อมเล่าเรื่องดังนี้ 1. Imagine a clean river as it meanders through a protected wilderness area. In this river lives Fred the fish. How Does Fred Feel? Frea has lived in this stretch of the river all of his life. But now he decides to go on a adventure and explore the area downdtream. 2. Fred swims into farm country. He passes a freshly plowed river bank. It begins to rain and some soil erodes into the river. (ใส่ดินลงไปในขวดแก้ว) How does Fred Feel? 3. Fred nears a suburban housing development. Some fertilizer from the farms and lawns have washed into made the plants in the river grow very fast and thick. Eventually the river couldn’t furnish them with all the nutrients they needed. They died and all strated to decay. Their decomposition is using up all Fred’s oxygen.(เทน้ำผงซักฟอกลงในขวดแก้ว) How does Fred feel? 4. Fred swims under a highway bridge. Come cars traveling across the bridge are leaking oil. The rain is washing the oil into the river below. (เทน้ำเชื่อมลงในขวดแก้ว) How does Fread feel? 5. During a recent cold spell, iceformed on the bridge. Conutry tracks spread salt on the roads to prevent accidents. The rain is now washing salty slush onto the river. (เทเกลือลงในขวดแก้ว) How does Fread feel?
  • 30. 30 6. Fred swims past the city park. Some picnickers did not throw their trash away. The wind is blowing it into the river. (โปรยกระดาษลงในขวดแก้ว) How does Fred feel? 7. Several factories are located downriver from the city. Although regulations limit the amount of pollution the factories are allowed to dump into the river, the factory owners don’t always abide by them. (เทน้ำสบู่ลงในขวดแก้ว) How does Fred feel? 8. The city’s Wastewater Treatment plant is also located along this stretch of the river. The pollunation regulations are not as strict as they should be and a section of the plant has broken down. (ใสสีผสมอาหารสีแดงลงในขวดแก้ว) How does fred feel? 9.Finally, Fred swims past a hazadous waste dump located on the bank of the river. Rusty barrels of toxic chemicals are leaking. The rain is washing these poisons into the river. (ใส่สีผสมอาหารสีเขียว 1 หยด ลงไปในขวดแก้ว) How does Fred feel? ในขณะที่คุณครูอ่านและใส่แต่ละอย่างลงในขวดแก้ว นักเรียนจะช่วยกันเขียนคำคุณศัพท์ โดยมีตัวแทน ไปเขียนหน้ากระดาน เช่น Great. dirty sleepy, salty sad, dead เป็นต้น กิจกรรมต่อมาคือ กรองน้ำในขวดแก้ว เนื่องจากน้ำในขวดแก้ว ถูกผสมด้วยสารต่างๆมากมาย โจทย์ที่ท้าทายสำหรับผู้เรียนคือ ช่วยกันทำให้น้ำในขวดแก้วสะอาดขึ้น โดยในครั้งนี้จะใช้วิธีการกรอง โดยมีอุปกรณ์คือ ขวดพลาสติก ทราย กรวดหยาบ กรวดละเอียด ถ่าน (ชาโค) สำลี โดยให้แต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบเพื่อกรองน้ำให้ น้ำใสให้มากที่สุดเมื่อผ่านการกรอง 3 รอบ แต่ละกลุ่มออกแบบการจัดเรียงวัสดุสำหรับกรองและลงมือทดลอง จากนั้นนำน้ำ ที่ผ่านการกรองของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบ สอบถามแนวคิดในการจัดเรียงวัสดุกรอง วัสดุใดที่น่าจะส่งผลต่อความใสของน้ำ ในตอนท้ายของกิจกรรมครูต้องไม่ลืมย้ำให้นักเรียนทราบว่าแม้ว่าน้ำจะใสขึ้นแต่ก็ ไม่เหมาะสำหรับดื่ม เนื่องจากยังมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอยู่ในน้ำ ขั้นสรุป การออกแบบกิจกรรมเพื่อบูรณาการสหวิชาจะช่วยให้เกิดการฝึกฝนผู้เรียนอยากหลากหลาย ทักษะ และยังเป็นพื้นฐานการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบ STEM อีกด้วย
  • 31. 31 กิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โดยเทคนิค Cooperative learning นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ 4 คน โดยให้สมาชิกในกลุ่มเลือกหน้าที่ของตนเอง ประกอบด้วย 1. Manager = อ่านข้อมูลจากแผ่นเป้าลูกบอล 2. Dropper = โยนลูกเล็ก 3. Catcher = ช่วยเก็บลูกให้โดนแผ่นเป้าแค่ 1 ครั้ง 4. Recorder = บันทึกข้อมูล อุปกรณ์ 1. กระดาษเป้า แต่ละวงจะมีระดับคะแนน 2 แผ่น (วางด้านบน กระดาษลอกลายตรงกลาง และกระดาษเป้าปิดท้าย) 2. กระดาษลอกลาย 3. กระดาษบันทึกข้อมูล Combination Predictions Test Scores Test Mean Test range 1. ABC 2. DEF 3. AEC 4. DBC 5. ABF 6. DEC 7. AEF A : ปล่อยลูกบอลด้วยมือขวา B : ห่างจากกระดาษเป้า 1 เมตร C : ไม่ต้องยื่นแขนออกไป (ทำให้ตามองเห็นกระดาษเป้าได้) D : ปล่อยลูกบอลด้วยมือซ้าย E : ห่างจากกระดาษเป้า 2 เมตร F : ยื่นแขนไปปล่อยลูกบอล