SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 20
แผ่นดินไหว(earthquake)
  แผ่นดินไหวคืออะไร... แผ่นดินไหว คือ อาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนนี้มีตั้งแต่ที่มนุษย์ไม่รู้สึก จนถึงขั้นที่เกิดความเสียหายพังทลายของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน ถนนหนทาง เขื่อน เป็นต้น
สาเหตุของแผ่นดินไหว      	สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด 1.เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น 2. จากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ 1)ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลันและเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว  2)ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault)ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่าแผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้น จากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง
สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)
แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ เขื่อนฮูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เขื่อนการิบา ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 เขื่อนครีมัสต้า ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจากเขื่อนคอยน่า ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน เขื่อนฮูเวอร์
การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้ การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้ เหมือง บิงแฮม ในรัฐยูท่าห์ ถูกจัดอันดับเป็นหลุมที่มนุษย์สร้างที่ใหญ่ที่สุดในโ ลก เริ่มขุดเมื่อปี 1863 ปัจจุบันก็ยังขุดต่อไปเรื่อยๆ หลุมนี้มีความลึกถึง 1500 เมตร และมีขนาดปากหลุม 4 กิโลเมตร
แผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ่ได้แก่ แผ่นแอฟริกัน:      ครอบคลุมทวีปแอฟริกา เป็นแผ่นทวีป แผ่นแอนตาร์คติก:ครอบคลุมทวีปแอนตาร์คติก เป็นแผ่นทวีป แผ่นออสเตรเลียน:ครอบคลุมออสเตรเลีย (เคยเชื่อมกับแผ่นอินเดียนเมื่อประมาณ 50-55 ล้านปีก่อน)              เป็นแผ่นทวีป แผ่นยูเรเซียน:       ครอบคลุมทวีปเอเชียและยุโรป เป็นแผ่นทวีป แผ่นอเมริกาเหนือ:ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย เป็นแผ่นทวีป แผ่นอเมริกาใต้:    ครอบคลุมทวีปอเมริกาใต้ เป็นแผ่นทวีป แผ่นแปซิฟิก:       ครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นแผ่นมหาสมุทร นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่แผ่นอินเดียน, แผ่นอาระเบียน, แผ่นแคริเบียน, แผ่นฮวนเดฟูกา, แผ่นนาซคา, แผ่นฟิลิปปินส์และแผ่นสโกเทีย
แผ่นเปลือกโลก
การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกทั้งหมดไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่จะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาใน 3 แบบ ได้แก่การเคลื่อนที่เข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกันซึ่งผลของการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น แผ่นดินไหว เทือกเขา ภูเขาไฟ และกระบวนการเกิดแร่และหิน ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกตัวออกจากกันและเข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกใต้เคลื่อนที่เข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไถลตัวขนานแยกออกจากกัน
เมื่อเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวไม่ว่าลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือผสมกันจะก่อให้เกิดรอยแตกของเปลือกโลกหรือหิน (fault) และการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งจะก่อให้เกิดการสะสมของพลังงานจลน์ (kinetic energy) ในเปลือกโลกบริเวณนั้นและพลังงานนี้จะถูกปลดปล่อยและแปรรูปเป็นพลังงานความร้อนจนกระทั่งหมดและกลับสู่สภาวะสมดุล แต่ในช่วงที่เกิดการสะสมของพลังงานจะเกิดแรงทางธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (tectonic force) และก่อให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว(seismic waves) แพร่ออกไปทุกทิศทุกทางจากจุดแรกที่เกิดการสะสมพลังงานและพลังงานถูกปลดปล่อยออกไป (earthquake focus)  คลื่นแผ่นดินไหวที่แพร่ออกมานี้เองก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน และการทำลายเนื่องจาก คลื่นแผ่นดินไหวมีลักษณะการเคลื่อนที่ที่ซับซ้อนหลายระนาบทำให้เปลือกโลกที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ ผ่านเกิดอาการสั่นสะเทือนบิดเบี้ยวหรือพังทลายซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาว่าจะมีขนาดมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่สำคัญและมีโอกาสเกิดน้อยมาก เช่น อุกาบาตตก การทดลองระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดอื่นๆ เป็นต้น
แหล่งกำเนิด แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะมีความหนาต่างกัน โดยบางแผ่นมีความหนาถึง 70 กิโลเมตร ในขณะที่บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร จะมีความหนาเพียง 6 กิโลเมตร นอกจากนี้แผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งยังมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันหรือชนกัน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ที่มีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดย 80 เปอร์เซ็นของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire) ส่วนเขตเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ นอกจากแนววงแหวนแห่งไฟแล้ว มักจะเกิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านแถบประเทศแถบยุโรปตอนใต้เช่น อิตาลี กรีซ จนถึงแถบอนาโตเลีย ซึ่งคือประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลางจนถึงเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน จีน และพม่า แต่อย่างไรก็ตาม เคยเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่ แต่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น
เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลกซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt
มาตราริกเตอร์
มาตราเมอร์แคลลี
ผลกระทบ ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่มเส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
	ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "สึนามิ" (ญี่ปุ่น: 津波, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล
การป้องกัน 	ในปัจจุบันมีการสร้างอาคาร ตึกระฟ้าใหม่ ๆ บนหินแข็งในเขตแผ่นดินไหว อาคารเหล่านั้นจะใช้โครงสร้างเหล็กกล้าที่แข็งแรงและขยับเขยื้อนได้ มีประตูและหน้าต่างน้อยแห่ง บางแห่งก็มุงหลังคาด้วยแผ่นยางหรือพลาสติกแทนกระเบื้อง ป้องกันการตกลงมาของกระเบื้องแข็งทำให้ผู้คนบาดเจ็บ ถนนมักจะสร้างให้กว้างเพื่อว่าเมื่อเวลาตึกพังลงมาจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร และยังมีการสร้างที่ว่างต่าง ๆ ในเมือง เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งผู้คนสามารถจะไปหลบภัยให้พ้นจากการถล่มของอาคารบ้านเรือนได้ ก่อนอื่นอย่าตกใจ และพยายามปลอบคนข้างเคียงให้อยู่ในความสงบ และคิดถึงวิธีการที่จะกู้สถานการณ์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ถ้าอยู่ในอาคารให้ระวังสิ่งของที่อยู่สูงตกใส่ เช่น โคมไฟ ชิ้นส่วนอาคาร เศษอิฐ เศษปูนที่แตกออกจากเพดาร ให้ระวังตู้หนังสือ ตู้โชว์ ชั้นวางของ และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เลื่อนชนหรือล้มทับ ให้ออกห่างจากประตู หน้าต่าง และ กระจก ถ้าการสั่นไหวรุนแรงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ ใต้เตียง หรือมุมห้อง อย่าวิ่งออกมานอกอาคาร 2. ถ้าอยู่ในอาคารสูงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ อย่าใช้ลิฟท์ 3. ถ้าอยู่นอกอาคารให้ออกห่างจากอาคารสูง กําแพง เสาไฟฟ้า และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ถ้าอยู่ในรถให้หยุดรถในที่ซึ่งปลอดภัยที่สุด
แนวทางแก้ไข ก่อนเกิดแผ่นดินไหว 1. ระดับหน่วยงาน 1.1 สนับสนุนให้มีการตรวจสภาพของอาคารสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาลหากไม่แข็งแรงให้มีการเสริมความแข็งแรง 1.2 สนับสนุนให้มีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหว 1.3 ซักซ้อมและเตรียมตัวรับภัยแผ่นดินไหว 2. ระดับบุคคล หัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าของบ้าน ตรวจสภาพความปลอดภัยของบ้านและเครื่องใช้ภายในบ้าน ทำการยึดอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ตู้และชั้นหนังสือ ยึดติดกับฝาบ้านหรือเสา ซักซ้อมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว โดยกำหนดวิธีปฏิบัติตนในยามเกิดแผ่นดินไหว และกำหนดจุดนัดพบที่ปลอดภัยนอกบ้านไว้ล่วงหน้า สอนสมาชิกในครอบครัวให้รู้จักตัดไฟ ปิดวาล์วน้ำและถังแก๊ส แนะนำสมาชิกในครอบครัวให้เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ม.5/3

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวNattha Namm
 
งานคู่
งานคู่งานคู่
งานคู่naleesaetor
 
การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณี
การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณีการเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณี
การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณีคุณครู กดชะกอน
 
ภัยพิบัติทางธรมมชาติ
ภัยพิบัติทางธรมมชาติภัยพิบัติทางธรมมชาติ
ภัยพิบัติทางธรมมชาติPookyoon Soshi'girl
 
ปรากฏการณ์ทางธรณี
ปรากฏการณ์ทางธรณีปรากฏการณ์ทางธรณี
ปรากฏการณ์ทางธรณีochestero
 
แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1apiwan
 
ภัยพิบัติ
ภัยพิบัติภัยพิบัติ
ภัยพิบัติnaleesaetor
 
แผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัว
แผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัวแผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัว
แผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัวNIMT
 

La actualidad más candente (11)

แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว
 
งานคู่
งานคู่งานคู่
งานคู่
 
การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณี
การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณีการเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณี
การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ธรณี
 
01 (1)
01 (1)01 (1)
01 (1)
 
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว
 
ภัยพิบัติทางธรมมชาติ
ภัยพิบัติทางธรมมชาติภัยพิบัติทางธรมมชาติ
ภัยพิบัติทางธรมมชาติ
 
ปรากฏการณ์ทางธรณี
ปรากฏการณ์ทางธรณีปรากฏการณ์ทางธรณี
ปรากฏการณ์ทางธรณี
 
แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1แผ่นดินไหว1
แผ่นดินไหว1
 
ภัยพิบัติ
ภัยพิบัติภัยพิบัติ
ภัยพิบัติ
 
แผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัว
แผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัวแผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัว
แผ่นดินสะเทือน ความหวั่นไหวไม่ไกลตัว
 
Change e2009 1
Change e2009 1Change e2009 1
Change e2009 1
 

Similar a แผ่นดินไหว503

แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวNattha Namm
 
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงสื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงพัน พัน
 
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6Pongsathorn Suksri
 
การออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว
การออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวการออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว
การออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวqcstandard
 
โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติ
โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติโลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติ
โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติsoysuwanyuennan
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงsmEduSlide
 
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลงบทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลงnarongsakday
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงsmEduSlide
 
test upload
test uploadtest upload
test uploadoumkmcn
 
test uoload
test uoloadtest uoload
test uoloadmmomie
 
คู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
คู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวคู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
คู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวPoramate Minsiri
 

Similar a แผ่นดินไหว503 (14)

แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวแผ่นดินไหว
แผ่นดินไหว
 
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงสื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
สื่อการสอนเรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลง
 
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6
โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ M6
 
การออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว
การออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหวการออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว
การออกแบบภายในเพื่อป้องกันแผ่นดินไหว
 
Physical geology 1 3
Physical geology 1 3Physical geology 1 3
Physical geology 1 3
 
โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติ
โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติโลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติ
โลก ดาราศาสตร์ อวกาศ ม.4 เล่ม 1_บทที่ 3 ธรณีพิบัติ
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
แผ่นดินไหว56
แผ่นดินไหว56แผ่นดินไหว56
แผ่นดินไหว56
 
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลงบทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 1 โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
โลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลงโลกและการเปลี่ยนแปลง
โลกและการเปลี่ยนแปลง
 
test upload
test uploadtest upload
test upload
 
test uoload
test uoloadtest uoload
test uoload
 
คู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
คู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวคู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
คู่มือปฎิบัติเพื่อความปลอดภัยและการก่อสร้างอาคารในพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหว
 
Volcanic ภูเขาไฟ
Volcanic ภูเขาไฟVolcanic ภูเขาไฟ
Volcanic ภูเขาไฟ
 

แผ่นดินไหว503

  • 2. แผ่นดินไหวคืออะไร... แผ่นดินไหว คือ อาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน ความรุนแรงของการสั่นสะเทือนนี้มีตั้งแต่ที่มนุษย์ไม่รู้สึก จนถึงขั้นที่เกิดความเสียหายพังทลายของสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน ถนนหนทาง เขื่อน เป็นต้น
  • 3. สาเหตุของแผ่นดินไหว สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นจัดแบ่งได้ 2 ชนิด 1.เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ได้แก่ การทดลองระเบิดปรมาณู การกักเก็บน้ำในเขื่อนและแรงระเบิดของการทำเหมืองแร่ เป็นต้น 2. จากธรรมชาติ ซึ่งมีทฤษฎีกลไกการเกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน 2 ทฤษฎี คือ 1)ทฤษฎีที่ว่าด้วยการขยายตัวของเปลือกโลก (Dilation source theory) อันเชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการที่เปลือกโลกเกิดการคดโค้งโก่งงออย่างฉับพลันและเมื่อวัตถุขาดออกจากกันจึงปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นแผ่นดินไหว 2)ทฤษฎีที่ว่าด้วยการคืนตัวของวัตถุ (Elastic rebound theory) เชื่อว่าแผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนอันเป็นเหตุผลมาจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน (Fault)ดังนั้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ถึงจุดหนึ่งวัตถุจึงขาดออกจากกัน และเสียรูปอย่างมากพร้อมกับการปลดปล่อยพลังงานออกมา และหลังจากนั้นวัตถุก็คืนตัวกลับสู่รูปเดิม ทฤษฎีนี้สนับสนุนแนวความคิดที่เชื่อว่าแผ่นดินไหวมีกลไกการกำเนิดเกี่ยวข้องโดยตรงและใกล้ชิดกับแนวรอยเลื่อนมีพลัง (Active Fault) ที่เกิดขึ้น จากผลพวงของการแปรสัณฐานของเปลือกโลก (Plate tectonics) เปลือกโลกของเราประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก จำนวนประมาณ 12 แผ่นใหญ่ ทั้งที่เป็นแผ่นมหาสมุทรและแผ่นทวีป ซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาต่อให้บางแผ่นมีการเคลื่อนแยกออกจากกัน บางแผ่นเคลื่อนเข้าหาและมุดซ้อนเกยกัน และบางแผ่นเคลื่อนเฉียดกัน อันเป็นบ่อเกิดของแรงเครียดที่สะสมไว้ภายในเปลือกโลกนั้นเอง
  • 4. สาเหตุการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวจากธรรมชาติ ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียด ที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยปกติเกิดจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ภายในชั้นเปลือกโลกที่อยู่ด้านนอกสุดของโครงสร้างของโลก มีการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ อยู่ แผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นเมื่อความเค้นอันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงมีมากเกินไป ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยในบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลก ที่ที่แบ่งชั้นเปลือกโลกออกเป็นธรณีภาค (lithosphere) เรียกแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกนี้ว่า แผ่นดินไหวระหว่างแผ่น (interplate earthquake) ซึ่งเกิดได้บ่อยและรุนแรงกว่า แผ่นดินไหวภายในแผ่น (intraplate earthquake)
  • 5. แผ่นดินไหวจากการกระทำของมนุษย์ มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การระเบิด การทำเหมือง สร้างอ่างเก็บน้ำหรือเขื่อนใกล้รอยเลื่อน การทำงานของเครื่องจักรกล การจราจร รวมถึงการเก็บขยะนิวเคลียร์ไว้ใต้ดิน เป็นต้น การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งอาจพบปัญหาการเกิดแผ่นดินไหว เนื่องจากน้ำหนักของน้ำในเขื่อนกระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยพลังงาน ทำให้สภาวะความเครียดของแรงในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งทำให้แรงดันของน้ำเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดพลังงานต้านทานที่สะสมตัวในชั้นหิน เรียกแผ่นดินไหวลักษณะนี้ว่า แผ่นดินไหวท้องถิ่น ส่วนมากจะมีศูนย์กลางอยู่ที่ระดับความลึก 5-10 กิโลเมตร ขนาดและความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวจะลดลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รายงานการเกิดแผ่นดินไหวในลักษณะเช่นนี้เคยมีที่ เขื่อนฮูเวอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2488 แต่มีความรุนแรงเพียงเล็กน้อย เขื่อนการิบา ประเทศซิมบับเว เมื่อ พ.ศ. 2502 เขื่อนครีมัสต้า ประเทศกรีซ เมื่อ พ.ศ. 2506 และครั้งที่มีความรุนแรงครั้งหนึ่งเกิดจากเขื่อนคอยน่า ในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2508 ซึ่งมีขนาดถึง 6.5 ริกเตอร์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 180 คน เขื่อนฮูเวอร์
  • 6. การทำเหมืองในระดับลึก ซึ่งในการทำเหมืองจะมีการระเบิดหิน ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้นได้ การสูบน้ำใต้ดิน การสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากเกินไป รวมถึงการสูบน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้ชั้นหินที่รองรับเกิดการเคลื่อนตัวได้ การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน ก่อให้เกิดความสั่นสะเทือนจากการทดลองระเบิด ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อชั้นหินที่อยู่ใต้เปลือกโลกได้ เหมือง บิงแฮม ในรัฐยูท่าห์ ถูกจัดอันดับเป็นหลุมที่มนุษย์สร้างที่ใหญ่ที่สุดในโ ลก เริ่มขุดเมื่อปี 1863 ปัจจุบันก็ยังขุดต่อไปเรื่อยๆ หลุมนี้มีความลึกถึง 1500 เมตร และมีขนาดปากหลุม 4 กิโลเมตร
  • 7. แผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ่ได้แก่ แผ่นแอฟริกัน: ครอบคลุมทวีปแอฟริกา เป็นแผ่นทวีป แผ่นแอนตาร์คติก:ครอบคลุมทวีปแอนตาร์คติก เป็นแผ่นทวีป แผ่นออสเตรเลียน:ครอบคลุมออสเตรเลีย (เคยเชื่อมกับแผ่นอินเดียนเมื่อประมาณ 50-55 ล้านปีก่อน) เป็นแผ่นทวีป แผ่นยูเรเซียน: ครอบคลุมทวีปเอเชียและยุโรป เป็นแผ่นทวีป แผ่นอเมริกาเหนือ:ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย เป็นแผ่นทวีป แผ่นอเมริกาใต้: ครอบคลุมทวีปอเมริกาใต้ เป็นแผ่นทวีป แผ่นแปซิฟิก: ครอบคลุมมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นแผ่นมหาสมุทร นอกจากนี้ยังมีแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดเล็กกว่าได้แก่แผ่นอินเดียน, แผ่นอาระเบียน, แผ่นแคริเบียน, แผ่นฮวนเดฟูกา, แผ่นนาซคา, แผ่นฟิลิปปินส์และแผ่นสโกเทีย
  • 9. การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกทั้งหมดไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่จะมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาใน 3 แบบ ได้แก่การเคลื่อนที่เข้าหากัน แยกออกจากกัน และไถลตัวขนานออกจากกันซึ่งผลของการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ขึ้น เช่น แผ่นดินไหว เทือกเขา ภูเขาไฟ และกระบวนการเกิดแร่และหิน ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกตัวออกจากกันและเข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่เข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกใต้เคลื่อนที่เข้าหากัน แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ไถลตัวขนานแยกออกจากกัน
  • 10. เมื่อเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนไหวไม่ว่าลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือผสมกันจะก่อให้เกิดรอยแตกของเปลือกโลกหรือหิน (fault) และการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งจะก่อให้เกิดการสะสมของพลังงานจลน์ (kinetic energy) ในเปลือกโลกบริเวณนั้นและพลังงานนี้จะถูกปลดปล่อยและแปรรูปเป็นพลังงานความร้อนจนกระทั่งหมดและกลับสู่สภาวะสมดุล แต่ในช่วงที่เกิดการสะสมของพลังงานจะเกิดแรงทางธรณีวิทยาแปรสัณฐาน (tectonic force) และก่อให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว(seismic waves) แพร่ออกไปทุกทิศทุกทางจากจุดแรกที่เกิดการสะสมพลังงานและพลังงานถูกปลดปล่อยออกไป (earthquake focus) คลื่นแผ่นดินไหวที่แพร่ออกมานี้เองก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน และการทำลายเนื่องจาก คลื่นแผ่นดินไหวมีลักษณะการเคลื่อนที่ที่ซับซ้อนหลายระนาบทำให้เปลือกโลกที่คลื่นแผ่นดินไหวเคลื่อนที่ ผ่านเกิดอาการสั่นสะเทือนบิดเบี้ยวหรือพังทลายซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาว่าจะมีขนาดมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆที่อาจทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้แต่ไม่ได้เป็นสาเหตุที่สำคัญและมีโอกาสเกิดน้อยมาก เช่น อุกาบาตตก การทดลองระเบิดนิวเคลียร์หรือการระเบิดอื่นๆ เป็นต้น
  • 11.
  • 12. แหล่งกำเนิด แผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะมีความหนาต่างกัน โดยบางแผ่นมีความหนาถึง 70 กิโลเมตร ในขณะที่บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร จะมีความหนาเพียง 6 กิโลเมตร นอกจากนี้แผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งยังมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน ดังนั้นเมื่อแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่แยกออกจากกันหรือชนกัน จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ที่มีความรุนแรงมากน้อยต่างกัน แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือบริเวณตำแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดย 80 เปอร์เซ็นของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น จะเกิดรอบ ๆ มหาสมุทรแปซิฟิก หรือที่รู้จักกันในชื่อ “วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire) ส่วนเขตเกิดแผ่นดินไหวอื่น ๆ นอกจากแนววงแหวนแห่งไฟแล้ว มักจะเกิดในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนผ่านแถบประเทศแถบยุโรปตอนใต้เช่น อิตาลี กรีซ จนถึงแถบอนาโตเลีย ซึ่งคือประเทศตุรกี ผ่านบริเวณตะวันออกกลางจนถึงเทือกเขาหิมาลัย บริเวณประเทศอัฟกานิสถาน ปากีสถาน จีน และพม่า แต่อย่างไรก็ตาม เคยเกิดแผ่นดินไหวในประเทศอังกฤษ ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่ในแนวรอยเลื่อนขนาดใหญ่ แต่เป็นแผ่นดินไหวขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น
  • 13. เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลกซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt
  • 16. ผลกระทบ ผลกระทบจากแผ่นดินไหว มีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ทำให้เกิดพื้นดินแตกแยก ภูเขาไฟระเบิด อาคารสิ่งก่อสร้างพังทลาย ไฟไหม้ แก๊สรั่ว ท่อระบายน้ำและท่อประปาแตก คลื่นสึนามิ แผ่นดินถล่มเส้นทางการคมนาคมเสียหายและถูกตัดขาด ถนนและทางรถไฟบิดเบี้ยวโค้งงอ เกิดโรคระบาด ปัญหาด้านสุขภาพจิตของผู้ประสบภัย ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงทางเศรษฐกิจ เช่น การสื่อสารโทรคมนาคมขาดช่วง ระบบคอมพิวเตอร์ขัดข้อง การคมนาคมทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศหยุดชะงัก ประชาชนตื่นตระหนก ซึ่งมีผลต่อการลงทุน การประกันภัย และในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความรุนแรงมาก เมืองทั้งเมืองอาจถูกทำลายหมด และมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
  • 17. ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นใต้ทะเล แรงสั่นสะเทือนอาจจะทำให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "สึนามิ" (ญี่ปุ่น: 津波, Tsunami) มีความเร็วคลื่น 600-800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในทะเลเปิด ส่วนใหญ่คลื่นจะมีความสูงไม่เกิน 1 เมตร และสังเกตได้ยาก แต่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อเคลื่อนถึงใกล้ชายฝั่ง โดยอาจมีความสูงถึง 60 เมตร สามารถก่อให้เกิดน้ำท่วม สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับสิ่งก่อสร้างที่ติดอยู่ชายฝั่งทะเล
  • 18. การป้องกัน ในปัจจุบันมีการสร้างอาคาร ตึกระฟ้าใหม่ ๆ บนหินแข็งในเขตแผ่นดินไหว อาคารเหล่านั้นจะใช้โครงสร้างเหล็กกล้าที่แข็งแรงและขยับเขยื้อนได้ มีประตูและหน้าต่างน้อยแห่ง บางแห่งก็มุงหลังคาด้วยแผ่นยางหรือพลาสติกแทนกระเบื้อง ป้องกันการตกลงมาของกระเบื้องแข็งทำให้ผู้คนบาดเจ็บ ถนนมักจะสร้างให้กว้างเพื่อว่าเมื่อเวลาตึกพังลงมาจะได้ไม่กีดขวางทางจราจร และยังมีการสร้างที่ว่างต่าง ๆ ในเมือง เช่น สวนสาธารณะ ซึ่งผู้คนสามารถจะไปหลบภัยให้พ้นจากการถล่มของอาคารบ้านเรือนได้ ก่อนอื่นอย่าตกใจ และพยายามปลอบคนข้างเคียงให้อยู่ในความสงบ และคิดถึงวิธีการที่จะกู้สถานการณ์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ถ้าอยู่ในอาคารให้ระวังสิ่งของที่อยู่สูงตกใส่ เช่น โคมไฟ ชิ้นส่วนอาคาร เศษอิฐ เศษปูนที่แตกออกจากเพดาร ให้ระวังตู้หนังสือ ตู้โชว์ ชั้นวางของ และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เลื่อนชนหรือล้มทับ ให้ออกห่างจากประตู หน้าต่าง และ กระจก ถ้าการสั่นไหวรุนแรงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ ใต้เตียง หรือมุมห้อง อย่าวิ่งออกมานอกอาคาร 2. ถ้าอยู่ในอาคารสูงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ อย่าใช้ลิฟท์ 3. ถ้าอยู่นอกอาคารให้ออกห่างจากอาคารสูง กําแพง เสาไฟฟ้า และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ถ้าอยู่ในรถให้หยุดรถในที่ซึ่งปลอดภัยที่สุด
  • 19. แนวทางแก้ไข ก่อนเกิดแผ่นดินไหว 1. ระดับหน่วยงาน 1.1 สนับสนุนให้มีการตรวจสภาพของอาคารสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาลหากไม่แข็งแรงให้มีการเสริมความแข็งแรง 1.2 สนับสนุนให้มีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหว 1.3 ซักซ้อมและเตรียมตัวรับภัยแผ่นดินไหว 2. ระดับบุคคล หัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าของบ้าน ตรวจสภาพความปลอดภัยของบ้านและเครื่องใช้ภายในบ้าน ทำการยึดอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ตู้และชั้นหนังสือ ยึดติดกับฝาบ้านหรือเสา ซักซ้อมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว โดยกำหนดวิธีปฏิบัติตนในยามเกิดแผ่นดินไหว และกำหนดจุดนัดพบที่ปลอดภัยนอกบ้านไว้ล่วงหน้า สอนสมาชิกในครอบครัวให้รู้จักตัดไฟ ปิดวาล์วน้ำและถังแก๊ส แนะนำสมาชิกในครอบครัวให้เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น