SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 83
บทที่ ๓
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกรรมตามหลักของพระพุทธ
ศาสนา
“กรรม”ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นกระบวน
ธรรมภายในจิตที่ใช้หลัก ปฏิจจสมุปบาทมาอธิบายและกรรม
ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทเป็น การ
พิจารณาในแง่ของกระบวนการธรรมชาติว่าด้วยตัวกฎหรือสภาวะ
ล้วนๆและเป็นการมองอย่างกว้างๆตลอดทั้งกระบวนการที่ไม่เน้น
จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะแต่ในทางปฏิบัติเมื่อมองในแง่ความ เป็น
ไปในชีวิตจริงจะเห็นว่าส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏเด่นชัด
ออกมาในการดำาเนินชีวิต ประจำาวันเป็นเรื่องของการแสดงออก
และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของคนโดยตรงที่มีตัวการ และ
สิ่งแวดล้อมอื่นๆเกี่ยวข้อง ในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ
เรื่องกรรม
๓.๑ ความหมายของกรรม
คำาว่า “กรรม” ในทางพระพุทธศาสนาแปลว่าการ
กระทำา มีความหมายกลาง ๆ ใช้ได้ทั้งในทางดีและทางไม่ดี ถ้า
เป็นกรรมดีเรียกว่า กุศลกรรม กรรมไม่ดีเรียกว่า อกุศลกรรม
พระพุทธเจ้าได้ตรัสความหมายของกรรมไว้ในนิพเพธิกสูตรว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัว
กรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำาด้วยกาย วาจา และใจ”
พระพุทธพจน์นี้นักปราชญ์และนักวิชาการทางพระพุทธ
ศาสนาได้อธิบายความหมาย ของกรรมเพิ่มเติมไว้ดังนี้
พระญาณติโลกะ(Nyanatiloka)อธิบายว่ากรรมคือการก
ระทำาที่มีพื้นฐานมาจากกุศล กับอกุศลทำาให้เกิดการเวียนว่ายตาย
เกิดหรือเจตนาเป็นตัวกำาหนดที่ไป เจตนาของกรรมคือ การ
แสดงออกของการกระทำาที่เป็นกุศลหรืออกุศลมีกายกรรม วจีกรรม
มโนกรรม กรรมทางพระพุทธศาสนาจึงมิใช่ตัวกำาหนดโชคชะตา
องฺ. ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๗๗.
หรือสังคมของมนุษย์แต่เป็นเรื่องของการกระทำา ซึ่งทางตะวันตกมี
ความเข้าใจว่า พระเจ้าเป็นผู้กำาหนด
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายว่า กรรม แปล
ตามศัพท์ว่าการงานหรือการ
กระทำา แต่ในทางธรรมต้องจำากัดความจำาเพาะลงไปว่า หมายถึง
การกระทำาที่ประกอบด้วยเจตนา หรือการกระทำาที่เป็นไปด้วย
ความจงใจถ้าเป็นการกระทำาที่ไม่มีเจตนาก็ไม่เรียกว่าเป็นกรรมใน
ความหมายทางธรรม
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) อธิบายว่า กรรม
แปลว่า การกระทำา กรรมนี้เป็นคำากลางๆถ้าหากว่าเป็นการกระทำา
ดีท่านเรียกว่ากุศลกรรมถ้าหากว่าเป็นการกระทำาชั่วท่านเรียกว่า
อกุศลกรรม
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิบายว่า กรรม
แปลว่า การกระทำา การกระทำาที่แสดงออกทางกายเรียกว่า
กายกรรม การกระทำาทางวาจาเรียกว่า วจีกรรม ลำาพัง ความคิด
เรียกว่ามโนกรรม กรรมที่จะมีผลหรือวิบากต้องเป็นการกระทำาที่มี
เจตนาเป็นตัวนำาเสมอ
แสง จันทร์งาม อธิบายว่า กรรม แปลว่า การกระทำา
(action) ที่ประกอบด้วยเจตนา
หรือความตั้งใจ (volition) อันมีกิเลสเป็นแรงผลักดัน ฉะนั้น
กรรมที่สมบูรณ์จะต้องมีตัวประกอบ กรรม ๓ เสมอ คือ มีกิเลสเป็น
แรงกระตุ้น มีความตั้งใจหรือเจตนามีการกระทำาหรือการ
Nyanatiloka, Bhddhist Dictionary Manual of
Buddhist Terms and Doctrines, (Kandy :Buddhist
Publication Society, 1980 ), P. 92.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ
ขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สห
ธรรมิก จำากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๑๕๗.
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) , กฎแห่งกรรรม, พิมพ์
ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : มหา มกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๒.
พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), กรรมและการเกิด
ใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก
จำากัด, ๒๕๓๙), หน้า ๒๖.
48
เคลื่อนไหว
บรรจบ บรรณรุจิ อธิบายว่า กรรม คือ การกระทำาที่
ประกอบด้วยเจตนาของคนที่ยังมีกิเลสซึ่งยังมีการให้ผลแบ่งออก
ได้เป็น ๓ ทางคือกายกรรม (การกระทำาทางกาย) วจีกรรม(การ
กระทำาทางวาจา–พูด) และมโนกรรม (การกระทำาทางใจ ความ
คิด)กรรมทั้ง ๓ มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว
ชะบา อ่อนนาค อธิบายว่า กรรม คือ การกระทำาที่
ประกอบด้วยเจตนาอันมีพื้นฐานมา จากกิเลส แสดงออกทางกาย
วาจา ใจ มีทั้งกรรมดี กรรมชั่วและส่งผลต่อผู้กระทำา
ตามที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้ให้ทัศนะเกี่ยว
กับความหมายของกรรมดังกล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า กรรม คือการก
ระทำาที่ ประกอบด้วยเจตนาอันมีพื้นฐานมาจากกิเลสแสดงออก
ทางกายวาจาใจมีทั้งกรรมดีกรรมชั่วและ ส่งผลต่อผู้กระทำา
นอกจากนี้คำาสอนของพระพุทธศาสนายึดถือเอาการกระทำาของ
มนุษย์ เป็นเครื่องตัดสินว่าบุคคล นั้นเป็นคนดีหรือคนชั่ว มิได้
ยึดถือเอาเรื่องชาติ โคตร ตระกูล ยศ ความรู้ อำานาจ เพศ และวัย
เป็นเครื่องวัดหากแต่วัดที่การแสดงออกหรือการกระทำาของแต่ละ
บุคคล ดังพุทธพจน์ว่า“บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติไม่เป็น
พราหมณ์เพราะชาติแต่เป็นคนถ่อยเพราะ กรรมเป็นพราหมณ์
เพราะกรรม” จากพุทธพจน์ดังกล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าลักษณะ
คำาสอนใน พระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาทและกิริยาวาทกล่าวคือ
ความดีความชั่วหรือสิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่วล้วนมีความเกี่ยวข้องกันกับ
การกระทำาของมนุษย์ทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่า คำาว่า “กรรม” คือการ
แสดงออก ทางกายวาจาและใจนั่นเองการแสดงออกทางกายวาจา
แสง จันทร์งาม, พุทธศาสนวิทยา, พิมพ์ครั้งที ๔,
(กรุงเทพมหานคร : ธีระการพิมพ์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๑๒.
บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓,
(กรุงเทพมหานคร : พรบุญการพิมพ์, ๒๕๓๘), หน้า ๗๖.
ชะบา อ่อนนาค, ”การศึกษาความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธ
ศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา: ศึกษากรณีโรงเรียนชลบุรี "สุขบท"
จังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หน้า ๘.
ขุ.สุตฺต. (บาลี) ๒๕/๑๔๒/๓๖๑., ขุ. สุตฺต. (ไทย)
๒๕/๑๔๒/๕๓๒.
49
ที่มีใจเป็นผู้บัญชาการหรือมีใจเป็นหัวหน้าให้กระทำาสิ่งต่าง ๆ ทั้งดี
และชั่ว
๓.๒. ประเภทของกรรม
กรรมเป็นหลักธรรมที่สำาคัญที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก
และอรรถกถา โดยมีการแบ่ง
กรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
๓.๒.๑ ประเภทของกรรมในพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกได้แบ่งประเภทของกรรมไว้หลายประเภท
ด้วยกัน โดยแบ่งตามคุณภาพ
หรือมูลเหตุที่เกิดกรรม แบ่งตามทางที่ทำากรรมและแบ่งตามกรรมที่
มีความสัมพันธ์กับวิบาก
ก. กรรมตามคุณภาพหรือสาเหตุที่เกิดกรรม
กรรมที่แบ่งตามคุณภาพหรือสาเหตุที่เกิดกรรมนั้นพระ
ไตรปิฎกได้กล่าวไว้ในอกุศลมูลสูตร สรุปได้ว่า
อกุศลมูล (รากเหง้าแห่งอกุศล) มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ
โมหะ บุคคลทำากรรมเพราะมี โลภะ โทสะ โมหะ ทางกาย วาจา ใจ
จัดเป็นอกุศลกรรมและมีผลทำาให้เป็นทุกข์ลำาบาก คับแค้น เดือด
ร้อนในปัจจุบัน หลังการตายแล้ว ย่อมไปเกิดในทุคติ
กุศลมูล (รากเหง้าแห่งกุศล) มี ๓ อย่าง คือ อโลภะ อโทสะ
อโมหะ บุคคลทำากรรมโดยไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ทางกาย วาจา
ใจ จัดเป็นกุศลกรรมและมีผลทำาให้อยู่เป็นสุขไม่ลำาบาก ไม่คับ
แค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในชาติปัจจุบัน
กรรมที่แบ่งตามคุณภาพหรือสาเหตุการเกิดมี ๒ อย่าง คือ
๑. อกุศลกรรมหมายถึง กรรมชั่ว มีสาเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ
๒. กุศลกรรม หมายถึง กรรมดี มีสาเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อ
โมหะ เรียกว่า กรรม ๒
ข. กรรมแบ่งตามทางที่ทำา
องฺ. ทุกฺ. (ไทย) ๒๐/๒๗๕/๒๗๗.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ
ประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๓), หน้า ๔.
50
กรรมแบ่งตามทางที่ทำาพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงกรรมตามที่
เกิดไว้ในพระสูตรอุปาลิวาท สูตร ไว้ว่า
ตปัสสีเราบัญญัติในการทำาชั่วในการประพฤติชั่วไว้ ๓
ประการคือ (๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม…
ตปัสสีกายกรรมก็อย่างหนึ่งวจีกรรมก็อย่างหนึงมโนกรรม
ก็็อย่างหนึ่ง…ตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำาแนก
แยกออกเป็นอย่างนี้ เราบัญญัติ มโนกรรมว่า มีโทษ
มากกว่าในการทำากรรมชั่วในการประพฤติชั่วมิใช่
กายกรรมหรือ วจีกรรม
ค. กรรมแบ่งตามทางที่ทำาหรือแสดงออกของกรรม
จัดเป็น ๓ ทาง คือ
๑. กายกรรม กรรมทำาด้วยกาย หรือกระทำาทางกาย
๒. วจีกรรม กรรมทำาด้วยวาจา หรือการกระทำาทางวาจา
๓. มโนกรรม กรรมทำาด้วยใจ หรือการกระทำาทางใจ
มโนกรรมหรือความคิดจัดเป็นกรรมเพราะทุกขณะจิตที่
คิดของปุถุชนมีกิเลสเกิดขึ้นกำากับอยู่เสมอและเป็นจุดเริ่มต้นของ
การทำากรรมที่มีผลสืบต่อให้กระทำากรรมทางกายและทางวาจาซึ่ง
พระพุทธศาสนาจัดว่ามโนกรรมเป็นกรรมที่สำาคัญที่สุดมีโทษมาก
ที่สุดมโนกรรมที่ให้โทษ ร้ายแรงที่สุดคือมิจฉาทิฏฐิและมโนกรรม
ที่เป็นความดีสูงสุดคือสัมมาทิฏฐิอันเป็นตัวกำาหนดวิถี ชีวิตของ
บุคคลและสังคมเมื่อบุคคลทำากรรมตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ไม่ทาง
มโนกรรมก็ทากายกรรม หรือวจีกรรมซึ่งวจีกรรมนอกจากคำาพูด
แล้วยังหมายถึงผู้ทำาใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำากรรมอย่าง
หนึ่งอาจต้องใช้การกระทำามากกว่าหนึ่งทางการจะตัดสินว่าเป็น
กรรมทางใดให้ดูว่า กรรมนั้นสำาเร็จบริบูรณ์ด้วยอะไรกายวาจา
หรือด้วยใจถ้าสำาเร็จด้วยทวารใดพึงถือว่าเป็นกรรมทวารนั้น เช่น
ม.ม. (ไทย) ๑๓/๕๖/๕๕.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ
ขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๓), หน้า ๑๖๐.
บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๗๙.
ปิ่น มุทุกันต์, พุทธศาสตร์ ภาค ๒, (กรุงเทพมหานคร : มหา
มกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕),หน้า ๔๔๖.
เรื่องเดียวกัน. หน้า ๔๔๖.
51
การฆ่าคนที่ไม่ได้ลงมือเอง แต่ใช้วาจาจ้างให้ผู้อื่นทำาแทน จัดเป็น
กายกรรม แต่ใช้วาจาประกอบ เพราะถือว่าจุดสมบูรณ์อยู่ที่กาย
หรือการเขียนหนังสือโกหก ให้คนอ่านเชื่อ จัดเป็นการกระทำา
ทางวจีกรรม เพราะเป็นเรื่องของภาษาการสื่อสาร
ง. แบ่งตามสภาพความสัมพันธ์กับผลที่เกิดขึ้น
กรรมของมนุษย์ยังสามารถแบ่งตามสภาพความสัมพันธ์กับ
ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้นๆ ได้ ๔ อย่างคือ
๑. กรรมดำา มีผลดำา ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโน
สังขาร ที่แสดงออกใน
ทางเบียดเบียน ตัวอย่างเช่น ปาณาติบาต อทินนาทาน
กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ
๒. กรรมขาว มีผลขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และ
มโนสังขาร ที่แสดงออกในทางไม่เบียดเบียด สร้างสรรค์ เช่น การ
ประพฤติตามกุศลกรรมบถ ๑๐
๓. กรรมทั้งขาวและดำา มีผลทั้งขาวและดำา ได้แก่ กาย
สังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการแสดงออกในทางที่
เบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง เช่น พฤติกรรมของมนุษย์ทั่วๆ ไป
๔. กรรมไม่ดำาไม่ขาว มีผลไม่ดำาไม่ขาว กรรมเช่นนี้เป็น
ไปเพื่อความสิ้นกรรม ได้แก่ เจตนาเพื่อละกรรมทั้งสามดังกล่าวมา
หรือกล่าวโดยองค์ธรรม ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ หรือมรรคมีองค์ ๘
พระพุทธศาสนาถือว่าการแสดงออกของมนุษย์ทุกอย่าง
ถือว่ากรรมไม่ว่าจะเป็นทาง กาย วาจา ใจ ในบรรดากรรมทั้ง ๓
นี้กรรมที่เกิดทางใจถือว่ามีผลมากกว่ากรรมที่เกิดทางกาย และ
ทางวาจาเพราะกรรมทางใจเป็นสาเหตุให้บุคคลคนกระทำากรรม
ทางกายและพูดออกมาทาง วาจา ดังพุทธพจน์ว่า “ตปัสสี
บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการที่จำาแนกแยกเป็นอย่างนี้เราบัญญัติ
มโนกรรมว่า มีโทษมากกว่า ในการทำากรรมชั่วในการประพฤติ
กรรมชั่วมิใช่กายกรรมหรือวจีกรรม
๓.๒.๒ ประเภทของกรรมในอรรถกถา
ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๑๒/๒๙๑ , ม.ม.(ไทย) ๑๓/๘๑/๗๙-๘๑.
ม.ม.(ไทย) ๑๓/๕๗/๕๕.
52
ในพระไตรปิฎก ได้แบ่งกรรมไว้เป็นประเภทต่าง ๆ แล้ว
ยังได้แบ่งระยะเวลาการให้ผล
ของกรรม ไว้ในนิพเพธิกสูตร ว่า “วิบากแห่งกรรมเป็นอย่างไร คือ
เรากล่าววิบากแห่งกรรมว่า
มี ๓ ประเภท คือ ๑. กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน ๒. กรรมที่พึง
เสวยในชาติถัดไป ๓. กรรมที่พึงเสวยในชาติต่อ ๆ ไป การแบ่ง
ระยะเวลาการให้ผลของกรรมนั้นมี ๓ ระยะ กล่าวโดยสรุป คือ
ชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อ ๆ ไป ไม่ได้กล่าวถึงอโหสิกรรม ซึ่ง
มีการแบ่งกรรมออกเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนกรรมนอกจากปรากฏ
ในพระไตรปิฎกแล้ว ยังมีกรรม ๑๒ ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคซึ่ง
จัดเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาชั้นอรรถกถา แต่งโดยพระพุทธ
โฆสาจารย์ได้รวบรวมกรรมในพระไตรปิฎก โดยยึดพระพุทธพจน์
เป็นหลัก จัดแบ่งกรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามผลของกรรมที่
ได้รับ มี ๓ ประเภท ประเภทละ ๔ อย่าง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้
ก. กรรมประเภทที่ ๑ กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ มี ๔
อย่าง คือ
๑. ชนกกรรม กรรมส่งให้เกิด
๒. อุปถัมภกกรรม กรรมสนับสนุนส่งเสริม
๓. อุปปีฬกกรรรม กรรมเบียดเบียน
๔. อุปฆาตกรรม กรรมทำาหน้าที่ตัดรอน
กรรมให้ผลตามหน้าที่หมายถึง กรรมที่ทำาไปนั้น ทั้งดีและ
ไม่ดี ย่อมทำาหน้าที่ให้ผล
เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราดังนี้
๑. ชนกกรรมกรรมส่งให้เกิดหมายถึงกรรมดีหรือกรรม
ชั่วที่ทำาไว้ส่งให้เกิดในภพภูมิ ต่างๆ ถ้าเป็นกรรมดีส่งไปเกิดใน
สุคติถ้าเป็นกรรมชั่วส่งไปเกิดในทุคติ และยังทำาหน้าที่หล่อเลี้ยง
ม.ม.(ไทย) ๑๓/๕๗/๕๕.
สมเด็จพระพุฒ าจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) , คัมภีร์วิสุทธิ
มรรค, พิมพ์ครั้งที่ ๔,
(กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรวงศ์พรินติ้ง จำากัด, ๒๕๔๖), หน้า ๙๖๙–
๑๗๑.
ทุคติ หรือ อบายภูมิ มี ๔ ภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์
เดรัจฉาน สุคติ หมายถึง โลก
53
ชีวิตใหม่ให้ดำารงอยู่และดำาเนินกิจกรรมตามสภาพของกรรมจน
ครบอายุขัยขณะที่ชนกกรรมทำา หน้าที่ปฏิสนธิกรรมอื่นจะ
แทรกแซงไม่ได้เลยชนกกรรมเปรียบเหมือนมารดาคลอดบุตรจะ
มีใคร มาแย่งหน้าที่เป็นผู้คลอดร่วมไม่ได้
๒. อุปัตถัมภกกรรมกรรมสนับสนุนส่งเสริมหมายถึงกรรมที่
ทำาหน้าที่สนับสนุนส่งเสริม ชนกกรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผลให้ได้ผล
และชนกกรรมที่กำาลังให้ผลให้ได้ผลเต็มที่ตลอดจนสนับสนุนส่ง
เสริมชีวิตที่ชนกกรรมให้เกิดและหล่อเลี้ยงไว้ให้เจริญเติบโต และ
ดำารงอยู่ได้นาน ดังนั้น อุปถัมภกกรรมต้องเป็นกรรมประเภท
เดียวกันกับชนกกรรม เช่น ชนกกรรมนำาไปเกิดเป็นลูกเศรษฐี
อุปถัมภกกรรมฝ่ายกุศลจะมาสนับสนุน ให้เด็กคนนั้นมีความสุข
สมบูรณ์ตลอดไป
๓.อุปปีฬกกรรมกรรมเบียดเบียนหมายถึงกรรมที่
เบียดเบียนชนกกรรมที่ให้ผลอยู่อ่อนกำาลังลงเบียดเบียนชนกกรรม
ที่กำาลังจะให้ผลให้ผลไม่เต็มที่ตลอดจนเบียดเบียนชีวิตที่ชนก
กรรมให้เกิดและหล่อเลี้ยงไว้ไม่ให้เป็นไปตามสภาพของกรรมนั้น
อุปปีฬกกรรมจะตรงกันข้ามกับชนกรรมและอุปถัมภกกรรม คอย
บั่นทอนผลของกรรมทั้งสองให้สิ้นลง ถ้ามีความสุข ก็จะสุขไม่
นานถ้ามีความทุกข์ก็จะทุกข์ไม่มากและไม่นานเช่นเกิดเป็นลูก
เศรษฐีมีความสุขสบายแต่ต่อๆมาฐานะตกตำ่าลง
๔. อุปฆาตกรรมกรรมตัดรอนหมายถึงกรรมที่ตัดรอนชีวิต
ที่ชนกกรรมให้เกิดและหล่อ เลี้ยงไว้มิให้ให้ผลและสูญสิ้นไป
ตลอดจนตัดรอนชนกกรรมอื่นๆไม่ให้มีโอกาสให้ผลอุปฆาตกรรม
เป็นกรรมที่สนับสนุนอุปปีฬกกรรมและตรงกันข้ามกับชนกกรรม
มนุษย์ และสวรรค์. พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๒,
พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า), หน้า ๕๒๓.
บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก
วิเคราะห์ ๑ , หน้า ๑๒๗.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑, พิมพ์ครั้ง
ที่ ๒ (กรุงเทพมหานคร :
ดอกหญ้า), หน้า ๒๖.
บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก
วิเคราะห์ ๑ ,หน้า ๑๒๗.
54
และอุปถัมภกกรรมเช่นถ้าชนกกรรมและอุปถัมภกกรรมเป็นฝ่าย
กุศลอุปปีฬกกรรมจะเป็นฝ่ายอกุศลและอุปฆาตกรรมจะเป็นฝ่าย
อกุศลเช่นเดียวกับอุปปีฬกกรรม กรรมชนิดนี้ เมื่อให้ผลจะตัดรอน
ชนกกรรมและให้ผลแทนที่ทันที เช่น ชนกกรรมฝ่ายกุศลนำาไป
เกิดเป็นลูกเศรษฐี อุปถัมภกกรรมส่งเสริมให้มีความสุข สมบูรณ์ มี
ชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองเมื่ออุปฆาตกรรมตามมาทำาให้เกิดอุบัติเหตุเสีย
ชีวิตทั้งที่อยู่ในวัยไม่สมควร ตายหรือชนกกรรมนำาไปให้เกิดเป็น
เปรตประเภทปรทัตตูปชีวิกเปรตอุปัตถัมภกกรรมเข้าสนับสนุน
ชนกกรรมทำาให้เปรตนั้นได้รับความทุกข์ตามสภาพของเปรตวิสัย
ญาติพี่น้องในโลกมนุษย์ได้ทำาบุญ แล้วอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ถ้า
บุญกุศลที่ญาติทำาแล้วอุทิศไปให้นี้มีกำาลังแรงมาเปรตนั้นได้รับ
ส่วนกุศลนั้นแล้วก็พ้นจากภาวะของเปรตจุติไปเกิดในสุคติเป็น
มนุษย์หรือเทวดา บุญกุศล ในกรณีนี้ คือ อุปฆาตกรรมที่เข้าให้ผล
ตัดรอนผลของชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม
เห็นได้ว่า อุปฆาตกรรมไม่ใช่กรรมที่หักล้างหรือลบล้าง
กรรมอื่นเพราะกรรมแต่ละประเภทให้ผลของตนเอง ลบล้างกรรม
อื่นไม่ได้การให้ผลของกรรมมีเงื่อนไขที่ว่ากรรมมีกำาลังให้ผล เกิด
อ่อนกำาลังลง กรรมอื่นที่กำาลังแรงกว่าก็จะให้ผลแทนที่ เปรียบ
เหมือนกับนักกีฬาวิ่งแข่งขันกัน
นักกีฬาคนใดวิ่งเร็วจะแซงนักกีฬาคนอื่นที่วิ่งนำาหน้าได้ และเป็นผู้
ชนะ
ข. กรรมประเภทที่ ๒ กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง (กรรมให้
ผลตามลำาดับ) มี ๔ อย่าง
๑. ครุกรรม กรรมหนัก
๒. อาสันนกรรม กรรมใกล้ตาย หรือกรรมใกล้ดับจิต
๓. อาจิณณกรรม กรรมที่ทำาจนชิน
๔. กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำา
สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, พิมพ์ครั้งที่ ๒,
(กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๒๐๒.
วัชระ งามจิตเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, (กรุงเทพมหานคร :
ภาควิชาปรัชญา คณะ
ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๒๐.
55
กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง หมายถึง กรรมที่ทำาไปทั้งดีและ
ไม่ดี ย่อมมีผลให้ไปเกิดใน
ภพภูมิต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับกรรมหนักหรือกรรมเบา กรรมที่เป็น
กรรมหนักจะมีกำาลังมากกว่าและ
ให้ผลก่อน
๑. ครุกรรม กรรมหนัก หมายถึง กรรมที่ทำาแล้วให้ผลเป็น
ตัวกำาหนดชีวิตหลังความตาย
ได้แน่นอน ให้ผลแก่เจ้าของกรรมในชาติที่ ๒ หรือชาติหน้า ไม่มี
กรรมใดมีอำานาจกางกั้นการให้ผลได้นอกจากครุกรรมด้วยกันที่
แรงกว่าครุกรรมที่กำาลังอ่อนกว่าจะเป็นเพียงกรรมที่ช่วยอุดหนุน
ในฐานะปัตถัมภกรรมเท่านั้นครุกรรมฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศลจะนำา
เจ้าของกรรมให้ไปเกิดในทุคติหรือสุคติ ในชาติหน้าทันทีโดยไม่มี
อำานาจใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางได้ครุกรรมกรรม หนักฝ่าย
อกุศล ได้แก่ กรรมอันเป็นบาปหนัก ได้แก่
ก. นิยตมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดอันดิ่งลงไปแก้ไม่ได้ ได้แก่
ความเห็นว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงการบูชาไม่มีผล
ผลของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มีโลกนี้โลกหน้าไม่มีบิดามารดาไม่มี
สัตว์ผู้อุปปาติกะไม่มี (สัตว์ผู้ผุดเกิดเองไม่มี)
ข. อนันตริยกรรม ได้แก่ กรรมอันเป็นบาปหนัก มีอำานาจ
ให้ผลในชาติหน้าตามลำาดับ
มี ๕ ประการ คือ
๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
๔. โลหิตุปบาท ทำาร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังโลหิตให้ห้อ
ขึ้นไป
๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกกัน
ครุกรรมฝ่ายกุศลหรืออนันตริยกรรมฝ่ายกุศล ได้แก่ รูป
ฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ เรียกว่าสมาบัติ ๘ สมาบัติหรือฌาน
เพียงขั้นใดขั้นหนึ่ง เช่น รูปฌานที่ ๑ เป็นต้น ครุกรรมฝ่ายกุศล
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑, หน้า
๑๑๗.
56
ถ้าผู้ที่ได้ฌานสมาบัติอยู่แล้วเสื่อมลงสามารถทำาได้ใหม่แต่ผู้ที่ทำา
อนันตริยกรรมฝ่ายอกุศลจะติดตัวอยู่ตลอดเวลาไม่มีการเสื่อมแบบ
ฝ่ายกุศลแม้ผู้ทำาจะสำานึกผิดแล้วก็ตามก็ไม่สามารถใช้ความเพียร
พยายามเจริญสมาธิให้เกิดฌานได้เพราะกำาลังกรรมของอนันตริ
ยกรรมฝ่ายอกุศลจะเป็นนิวรณ์ ปิดกั้นจิตไม่ให้บรรลุองค์ฌานได้
ดังนั้นจึงมีคำากล่าวว่าอนันตริยกรรมฝ่ายอกุศลย่อมห้ามทั้งสวรรค์
และมรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบัน
๒. อาสันนกรรมกรรมใกล้ตายหรือกรรมใกล้ดับจิตหมาย
ถึงกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำาในเวลาใกล้ตายกรรมดีหรือกรรมชั่วที่
จิตระลึกถึงเมื่อคราวกำาลังจะตายบางทีเป็นกรรมที่ทำาไว้นานแล้วต่อ
มาระลึกถึงเมื่อตอนใกล้ตายแต่ไม่ใช่กรรมที่เป็นครุกรรมถ้าไม่มีครุ
กรรมอาสันนกรรมให้ผลก่อนอาสันนกรรมถึงจะเป็นกรรมที่มีพลัง
สู้กรรมอื่นไม่ได้แต่สามารถให้ผลของกรรมได้ก่อนกรรมอื่น
เปรียบเทียบอาสันนกรรมได้กับโคที่แออัดอยู่ในคอกมีโคแก่อยู่
ปากคอกเมื่อเปิดคอกโค
สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, หน้า ๒๑๘.
57
แก่สามารถออกจากคอกได้ก่อนโคที่แข็งแรงที่อยู่ข้างใน อาสัน
นกรรมจะทำาหน้าที่นำาบุคคลไปเกิดตามกรรม ที่ทำา ถ้าเป็นอกุศล
กรรมจะนำาไปเกิดในทุคติ ถ้าเป็น กุศลกรรมจะนำาไปเกิดในสุคติ
อาสันนกรรม หมายถึง ชนกกรรม ในประเภทของกรรมที่ให้ผล
ตามหน้าที่
จากข้อความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอาสันนกรรมเป็นกรรม
เพียงเล็กน้อยไม่มีความรุนแรงมากก็ตามแต่บุคคลไม่ควรประมาท
ในการทำากรรมควรรักษาจิตให้ผ่องใสคุ้นเคยกับความดีเอาไว้
เพราะผลของกรรมที่บุคคลทำาไว้นั้นแม้เป็นความชั่วเพียงเล็กน้อย
ก็สามารถทำาจิตให้เศร้าหมอง ส่งผลให้ไปเกิดในทุคติได้ อาสัน
นกรรมอาจหมายถึง ชนกกรรมก็ได้
๓. อาจิณณกรรม กรรมที่ทำาเป็นประจำา หมายถึง กรรมดี
หรือกรรมชั่วที่ทำาเป็นประจำา สมำ่าเสมอส่งผลให้กลายเป็นนิสัย
แม้ว่ากรรมชนิดนี้จะเป็นกรรมที่ทำาเพียงครั้งละเล็กน้อยแต่เมื่อทำา
มากเข้า ก็กลายเป็นกรรมที่มากเปรียบได้กับนำ้าที่หยดลงตุ่มทีละ
หยด บ่อย ๆ เข้านำ้าก็เต็มตุ่มได้ อาจิณณกรรมจึงเรียกได้อีกอย่าง
ว่าพหุลกรรมอาจิณณกรรมอาจหมายถึงกรรมบางอย่างที่ทำาด้วย
เจตนาอย่างแรงกล้าทั้งก่อนทำาขณะทำาและหลังทำาแต่เป็นกรรมที่
ทำาไว้เพียงครั้งเดียวและนานมา แล้วและผู้ทำาได้คิดถึงกรรมนั้น
บ่อยๆจนเกิดความเคยชินเมื่อทำาเสร็จแล้วผู้ทำาได้คิดถึงการกระทำา
นั้นบ่อยๆทุกครั้งที่คิดถึงกรรมนั้นถ้าเป็นกรรมดีก็จะมีความรู้สึกสุข
ปีติและถ้าเป็นกรรมชั่วก็จะรู้สึก เป็นทุกข์เศร้าหมองอาจิณณกรรม
จะเป็นตัวกำาหนดคติชีวิตที่ไปหลังความตาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า กรรม
ฝ่ายกุศลหรืออกุศลจะมีมากกว่ากันจึงเปรียบเทียบอาจิณณกรรมทั้ง
๒ ฝ่ายเหมือนนักมวยปลำ้าต่อสู้กันนักมวยปลำ้าคนใดมีกำาลังมากกว่า
จะทำาให้คู่ต่อสู้ล้มลงพ่ายแพ้ได้
๔. กตัตตากรรมกรรมสักว่าทำา หมายถึง กรรมดีหรือชั่วที่
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรม
วิภาค ปริจเฉทที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๓๘, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๓๗), หน้า
๑๒๘.
สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, หน้า ๒๑๙.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑ , หน้า
๑๙๐.
58
ทำาด้วยเจตนาหรือความตั้งใจ ไม่แรงเพราะไม่มีเจตนาที่ตั้งใจไว้
ก่อนหากไม่มีครุกรรมอาสันนกรรมกรรมนี้จึงจะให้ผลเป็นตัว
กำาหนดคติชีวิตหลังความตายไปเกิดในทุคติหรือสุคติตามกรรมที่
ทำากรรมประเภทที่ ๒ เป็นกรรมที่จัด
ตามลำาดับการให้ผลก่อนหรือหลังตามความหนักเบาของกรรม
ยกเว้นอาสันนกรรมที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขนี้ด้วย เป็นกรรมที่ทำาใน
วาระสุดท้ายของจิตส่งผลให้เกิดในทุคติหรือสุคติจึงเป็นกรรมที่
ให้ผลใน ชาติที่ ๒
ค. กรรมประเภทที่ ๓ กรรมให้ผลตามระยะเวลา มี ๔
อย่างคือ
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
๔. อโหสิกรรม กรรมไม่ให้ผล
กรรมให้ผลตามระยะเวลา หมายถึง กรรมที่ได้ทำาไปแล้ว
เป็นกรรมทั้งในส่วนที่ดีและไม่ดี ย่อมมีระยะเวลาในการให้ผลต่าง
กัน กล่าวคือกรรมบางอย่างทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาตินี้กรรมบาง
อย่างทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาติหน้า กรรมบางอย่างทำาในชาตินี้
ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปจากชาติหน้า
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้ หมาย
ถึง กรรมดี กรรมชั่ว ที่กระทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาตินี้เลย เป็น
กรรมแรงจึงให้ผลทันตาเห็น กรรมดีให้ผลเป็น ลาภยศสรรเสริญ
กรรมชั่วให้ผลเป็นเสื่อมลาภเสื่อมยศนินทา มี ๒ อย่างคือกรรมดี
หรือกรรมชั่วที่ให้ผล ภายใน ๗วันและให้ผลภายในชาตินี้กรรม
ประเภทนี้จะกลายเป็นอโหสิกรรมต่อเมื่อให้ผลแล้วและ ผู้ที่จะรับ
ผลตายจะไม่มีการให้ผลข้ามชาติดังนั้นจึงต้องเป็นกรรมที่ทำาด้วย
เจตนาดีแรงกล้ากระทำากับผู้ที่มีคุณวิเศษมีบุญคุณหรือมีความดี
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรม
วิภาค ปริจเฉทที่ ๒, หน้า ๑๒๖.
บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก
วิเคราะห์ ๑, หน้า ๑๒๙.
59
อย่างมาก ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมจะให้ผลในชาตินี้ได้เลย นั้นต้อง
ไม่ถูกทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายตรงข้าม เข้าเบียดเบียนและต้องมี
ปัจจัยสำาคัญเกื้อหนุน ๔ ประการ คือ คติ กาล อุปธิ และปโยค ถ้า
เกื้อหนุนทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล เรียกว่าสมบัติ ๔ และถ้า
เกื้อหนุนทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลเรียกว่าวิบัติ ๔ กรรม
ประเภทนี้จึงเปรียบได้กับนายพรานเนื้อ ยิงลูกธนูไปยังเนื้อ ถ้าถูก
เนื้อ เนื้อก็ตาย ถ้าไม่ถูกเนื้อย่อมวิ่งหนีไม่กลับมาให้ยิงอีกนาย
พรานจึงเปรียบเหมือนผลของกรรม เนื้อคือ ผู้ทำากรรมที่ต้องรับผล
ของกรรมนั้น
๒. อุปปัชชเวทนียกรรมกรรมให้ผลในชาติหน้าหมายถึง
กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำาใน ชาตินี้แต่ยังไม่ให้ผล จะให้ผลใน
ชาติถัดไป กรรมประเภทนี้ กลายเป็นอโหสิกรรม ต่อเมื่อให้ผลแล้ว
หรือผู้ทำากรรมตายลงก่อนได้รับผล จะไม่ข้ามไปผลในชาติต่อ ๆ
ไป
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ถัด
จากชาติหน้าหมายถึง กรรมดี หรือกรรมชั่วที่ทำาในชาตินี้แล้วจะ
ให้ผลในชาติต่อๆไปถัดจากชาติหน้าชาติใดชาติหนึ่งเมื่อสบโอกาส
เปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อไล่ตามเนื้อทันเข้าในที่ใดย่อมเข้ากัดใน
ที่นั้นดังนั้นกรรมประเภทนี้จึงน่ากลัวกว่ากรรมประเภทที่ ๑ และ
ประเภทที่ ๒ ด้วยว่าผลของกรรมจะติดตามผู้กระทำาไปตลอดการ
เวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะให้ผลหมดจึงจะกลายเป็นอโหสิกรรม
ดังนั้น การให้ผลของกรรมประเภทที่ ๒ และประเภทที่ ๓ ทำาให้
เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องผลของกรรมที่มีความ ซับ
ซ้อนส่งผลข้ามภพข้ามชาติ
๔.อโหสิกรรมกรรมที่ให้ผลสำาเร็จแล้วหรือกรรมไม่มีผล
หมายถึงกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำาไว้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้วเมื่อไม่มี
โอกาสให้ผลในเวลาที่ให้ผลด้วยถูกกรรมชนิดอื่นตัดหน้าให้ผลไป
ก่อนจึงอ่อนกำาลังให้ผลไม่ทันและเลิกให้ผลในที่สุดหรือเพราะผู้
เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๙.
พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑, หน้า
๒๕๔.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรม
วิภาค ปริเฉทที่ ๒, หน้า ๑๒๖.
60
กระทำากรรมนั้นสำาเร็จเป็นพระอรหันต์นิพพานในชาตินี้แล้วก็ไม่
เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปจึงไม่มีตัวตนที่จะต้องมารอรับผลของ
กรรมเปรียบเหมือนพืชสิ้นยางแล้วเพาะไม่ขึ้น ดังนั้นอโหสิกรรม
จึงหมายถึงการกระทำาความดีต่างๆ ของพระอรหันต์ด้วยย่อมไม่มี
ผลเป็นกรรมดีเพราะท่านทำาความดีด้วยจิตที่ปราศจากความ ยึด
มั่นถือมั่น ไม่คิดทำาดีเพื่อหวังผลตอบแทนชั้นนอกรวมทั้งไม่คิดทำา
ดีเพื่อละกิเลสเพราะกิเลส ได้หมดสิ้นแล้วแต่ยังทำาดีต่อไปอย่างต่อ
เนื่องการทำาดีของท่านจึงจัดเป็นเพียงกิริยาไม่จัดเป็นกรรม และ
ไม่มีวิบาก กรรม ๑๒ เป็นความรู้เรื่องการให้ผลในส่วนของ
ลาภ ยศ สรรเสริญ และเสื่อมลาภ เสื่อมยศนินทาเป็นการกล่าวถึง
ผลของกรรมโดยเฉพาะที่กล่าวถึงการให้ผลชั้นนอก เท่านั้นคือให้
ผลเป็นโลกธรรมไม่ได้กล่าวถึงการให้ผลชั้นในคือให้ผลทางด้าน
จิตใจตลอดจนเป็น การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกรรมเก่า
ในอดีตชาติกับกรรมใหม่ในชาติปัจจุบัน เช่น กรรมเก่า ในอดีต
ชาติทำาหน้าที่เป็นชนกกรรมแล้วกรรมเก่าในอดีตชาติอย่างอื่น
หรือกรรมใหม่ในชาติปัจจุบันอาจทำาหน้าที่เป็นอุปัตถัมภกกรรม
อุปปีฬกกรรม และอุปฆาตกรรมก็ได้ และทำากรรมเพียงประเภท
เดียวอาจเป็นกรรมได้ถึง ๓ ประเภทพร้อม ๆ กันเช่นถ้าเราฆ่า
บิดาเป็นทั้งครุกรรมเป็นทั้ง ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมและเป็นทั้งอุป
ฆาตกรรม
สรุปได้ว่า กรรม ๑๒ เป็นมติของอรรถกถาจารย์ที่กล่าวไว้
ในอรรถกถาโดยมีวัตถุประสงค์รวบรวมคำาสอนเรื่องกรรมจากพระ
ไตรปิฎกแล้วจัดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทตามทางให้ผลของกรรม
คือ ๑. กรรมให้ผลตามหน้าที่ ๒. กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง ๓.
กรรมให้ผลตามระยะเวลา การที่ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบาย
ขยายความเรื่องกรรมทำาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาตลอดจนผู้
สนใจทั้งหลายเพราะทำาให้เกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้นทำาให้ผู้ศึกษา
อ้างแล้ว.
บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก
วิเคราะห์ ๑, หน้า ๑๓๐.
บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๒๐๑.
บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก
วิเคราะห์ ๑, หน้า ๑๓๑.
แสง จันทร์งาม, พุทธศาสนวิทยา, หน้า ๑๑๕.
61
มองเห็นภาพเกี่ยวกับกรรมและการให้ผลของกรรมเมื่อเข้าใจแล้ว
จะได้ปฏิบัติถูกต้องไม่มีความสงสัยว่าตนปฏิบัติถูกหรือไม่ถูกอีกต่อ
ไปเมื่อรู้แล้วจะได้หาทางป้องกันไม่ทำากรรมที่จะนำาตัวเองไปสู่
อบายหรือความเสื่อมเช่น ครุกรรม๕ อย่างที่นำาผู้ไปสู่ความทุกข์
ความเดือดร้อนที่กรรมอื่นไม่สามารถต้านทานไว้ได้ เป็นต้น เมื่อ
รู้จักกรรมที่ควรงดเว้นแล้วจะได้หมั่นประกรรมที่ควรประกอบอันจะ
นำาตนเองไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
๓.๓ แนวทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา
กรรมเป็นหลักธรรมสำาคัญอันดับต้น ๆ ในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรม ให้เชื่อกรรมคือการกระทำามากกว่า
เชื่ออย่างอื่น เช่น พระองค์ตรัสว่า เวลาใดก็แล้วแต่ที่คนทำาดี เวลา
นั้นก็จะเป็นเวลาดีมงคลดีสำาหรับคนนั้น และกรรมนั้นก็จะให้ผลใน
โอกาสต่อไปการให้ผลของกรรมนั้นแตกต่างจากการให้ผลของสิ่ง
อื่นคนสองคนทำากรรมเหมือนกันแต่อาจจะได้ผลไม่เหมือนกัน
หรือได้ผลเหมือนกันแต่ไม่เท่ากันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาหรือ
ความตั้งใจของแต่ละคน เช่น คนหนึ่งทำาบุญด้วยศรัทธาอย่างแรง
กล้าแล้วปรารถนาในอานิสงส์ของบุญที่ตนทำาอีกคนหนึ่งทำาบุญ
เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมหรือทำาเพื่อรักษาหน้าตาของตัวเอง
แบบจำาใจทำาไม่ได้ทำาด้วยศรัทธา คนสองคนนี้จะได้ผลของบุญที่
ทำาต่างกันอย่างแน่นอนเพราะฉะนั้นทัศนะเกี่ยวกับการให้ผลของ
กรรมในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในฐานสูตรและ
ปพฺพชิตอภิณหสูตรว่า “เรามีกรรมเป็น ของของตน เรามีกรรม
เป็นทายาท เรามีกรรมเป็นกำาเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ เรา
มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย เราทำากรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม เราจะ
ต้องได้รับผลของกรรมนั้น”
นอกจากนี้ยังมีพุทธพจน์หลายแห่งที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับ
เรื่องกรรมจึงกล่าวได้ว่าพระองค์
ให้ความสำาคัญกับเรื่องกรรมมาก ผู้วิจัยจะได้นำาเสนอเรื่องกรรม
เป็นลำาดับไป
๓.๓.๑ ความสำาคัญของกรรม
องฺ. ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๕๗/๙๙-๑๐๐. องฺ. ทสก. (ไทย)
๒๔/๔๘/๑๐๔-๑๐๕.
62
หลักกรรมมีความสำาคัญต่อบุคคลและสังคม ดังที่พระธรรม
ปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)
ได้กล่าวถึงคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรมมี ดังนี้
๑. ให้เป็นผู้หนักแน่นในเหตุผล รู้จักมองเห็นการกระทำา
และผลการกระทำาตามแนวทาง
ของเหตุปัจจัยไม่เชื่อสิ่งงมงาย ตื่นข่าว เช่น เรื่องแม่นำ้าศักดิ์สิทธิ์
เป็นต้น
๒. ให้เห็นว่าผลสำาเร็จที่ตนต้องการ จุดหมายที่ปรารถนาจะ
เข้าถึงความสำาเร็จได้ด้วยการ
ลงมือทำาจึงต้องพึ่งตน และทำาความเพียรพยายามไม่รอคอยโชค
ชะตา หรือหวังผลด้วยการอ้อนวอน
เซ่นสรวงต่อปัจจัยภายนอก
๓. ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ก็จะงดเว้นจากกรรมชั่ว
และรับผิดชอบต่อผู้อื่น ด้วยการ
กระทำาความดีต่อเขา
๔. ให้ถือว่า บุคคลมีสิทธิ์โดยธรรมชาติที่จะทำาการต่าง ๆ
เพื่อแก้ไขปรับปรุง สร้างเสริม
ตนเองให้ดีขึ้นไปโดยเท่าเทียมกัน สามารถทำาตนให้เลวลงหรือให้ดี
ขึ้น ให้ประเสริฐจนถึงยิ่งกว่าเทวดาและพรหมได้ทุก ๆ คน
๕. ให้ถือว่าคุณธรรม ความสามารถและความประพฤติ
ปฏิบัติ เป็นเครื่องวัดความทราม
หรือประเสริฐของมนุษย์ ไม่ให้มีการแบ่งแยกโดยชั้นวรรณะ
๖. ในแง่กรรมเก่า ให้ถือเป็นบทเรียน และรู้จักพิจารณา
เข้าใจตนเองตามเหตุผล ไม่ค่อย
เพ่งโทษแต่ผู้อื่น มองเห็นพื้นฐานของตนเองที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อรู้
ที่จะแก้ไขปรับปรุง และวางแผน
สร้างเสริม ความเจริญก้าวหน้าต่อไปได็้ถูกต้อง
๗. ให้ความหวังในอนาคตสำาหรับสามัญชนทั่วไป
ตามที่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความสำาคัญ
ของกรรมไว้นั้น พอสรุปได้ว่า
กรรมมีความสำาคัญต่อวิถีชีวิตของบุคคลและสังคม ด้วยผู้ที่เชื่อ
เรื่องกรรม จะเป็นผู้มีเหตุผลรับผิด ชอบการกระทำาของตนและ
พระธรรมปิฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ
ขยายความ, หน้า ๒๑๓–๒๑๔.
63
ปรับปรุงพัฒนาการกระทำาของตนเองด้วยความเพียร โดยมีความ
หวังถึง
อนาคตที่ดีรออยู่ข้างหน้า ตลอดจนยอมรับนับถือคุณค่าของคนที่มี
คุณธรรม
๓.๓.๒ กฏแห่งกรรม
กฎแห่งกรรมตามทัศนะของพระพุทธศาสนาแยกพิจารณา
ได้ ๒ ประเด็น คือ
ก. กฎแห่งกรรมในฐานะกฎธรรมชาติ
พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงที่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้ง
ปวง มีชีวิตและไม่มีชีวิตล้วนเป็นไปตามธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย ที่
เรียกกันว่า กฎแห่งธรรมชาติ หรือนิยาม อันหมายถึงความเป็น
ระเบียบ มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวอยู่แล้วในธรรมชาติ ไม่มีสิ่ง
ใดเกิดขึ้นลอย ๆโดยไม่มีที่มา และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่น ทุก
อย่างล้วนเป็นเหตุเป็นผลกันตามหลักของอิทัปปัจจยตาที่กล่าวมา
“สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกันและกัน ในฐานะสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุและ
”สิ่งหนึ่งเป็นผล ทั้งนี้ สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จึงมีเหตุปัจจัยเกิดจาก
กฎธรรมชาติมิใช่พระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ใดมากำาหนดไว้ พระพุทธ
ศาสนาจึงเป็นศาสนาอเทวนิยมกฎแห่งกรรม เป็นกฎแห่งเหตุผลที่มี
ความสัมพันธ์กันระหว่างกรรมกับผลของกรรมอันเป็นกฎที่แน่นอน
และตายตัว กรรมแต่ละประเภทถูกกำาหนดไว้จากธรรมชาติแล้วว่า
กรรมแบบไหน ให้ผลแบบไหน เปรียบเทียบได้กับผู้ที่ปลูกต้น
มะม่วงย่อมได้ผลมะม่วงอย่างแน่นอนจะเป็นผลไม้ชนิดอื่นไม่ได้
กฎแห่งกรรม จึงเป็นกฎแห่งเหตุและผล หรือกฎธรรมชาติที่เรียก
สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, พิมพ์ครั้งที่ ๒,
หน้า ๑๖๔.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ
ขยายความ, หน้า ๑๕๒.
สมภาร พรมทา, พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ ๒,
(กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐), หน้า ๗๕.
64
ว่ากรรมนิยาม อันเป็นกฎแห่งเหตุและผลที่เกี่ยวกับการกระทำาของ
มนุษย์
สรุปได้ว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎแห่งเหตุและผลมีความ
แน่นอนในการให้ผลของกรรม
ซึ่งถูกกำาหนดโดยกฎของธรรมชาติไว้แล้วว่า เมื่อทำากรรมแบบนี้
จะได้รับผลตอบแทนแบบนี้ โดย
ทั้งหมดดำาเนินไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา กฎแห่งกรรมจึงมีฐานะ
เป็นกฎแห่งธรรมชาติ
ข. กฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎทางศีลธรรม
กฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎทางศีลธรรม มีความหมาย
เช่นเดียวกับประเด็นกฎธรรมชาติ คือเป็นกฎแห่งเหตุและผล
ประเด็นกฎแห่งธรรมชาติครอบคลุมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต
ประเด็นกฎแห่งศีลธรรมครอบคลุมเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่สามารถมี
เจตจำานงเสรีได้เท่านั้น เพราะสามารถกำาหนดพฤติกรรมเป็นดีหรือ
ชั่ว ตามมาตรฐานทางศีลธรรมที่ใช้ในสังคมมนุษย์ส่วนพฤติกรรม
ที่มาจากสัญชาตญาณไม่สามารถกำาหนดด้วยคุณค่าทางศีลธรรม
ได้กรรมนิยามหรือกฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติส่วนที่ทำาหน้าที่
ดูแลการกระทำาที่แฝงค่าทางศีลธรรมของมนุษย์ กฎแห่งกรรม
จะบันทึกการกระทำาของบุคคลแต่ละคนและคอยโอกาสให้ผลตอบ
สนอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงกฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎทางศีล
ธรรม มีปรากฏในพระไตรปิฎกว่า “คนทำากรรมใดไว้ ย่อมเห็น
นิยาม ๕ ที่นอกเหนือจากกรรมนิยามมีอีก ๔ ประการคือ
๑. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ สภาพแวดล้อมทาง
ธรรมชาติ
๒. พีชนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธ์หรือพันธุกรรม
๓. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการทำางานของจิต
๔. ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่
เป็นเหตุและผลแก่กันของสิ่งทั้งหลายหรือความเป็นธรรมแห่งเหตุปัจจัย เช่น
สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา. ดูเพิ่มเติมใน พระธรรม
ปิฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า
๑๕๒-๑๕๓.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม ,
พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๔๕),
หน้า ๕๔.
สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, หน้า ๑๖๖.
65
กรรมนั้นในตน คนทำากรรมดี ย่อมได้รับผลดี คนทำากรรมชั่ว ย่อม
ได้รับผลชั่ว คนหว่านพืชเช่นใด ”ย่อมได้รับผลเช่นนั้น
จากพระพุทธพจน์ดังกล่าว เห็นได้ว่า มนุษย์ทุกคนมีกฎ
แห่งกรรม หรือกรรมนิยามกำากับ ดูแลพฤติกรรมที่มีคุณค่าทางศีล
ธรรม และรอคอยเวลาให้ผลตอบแทนตามคุณภาพของกรรม ตาม
เหตุและผลที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ถ้าเป็นกรรมดี ผลที่ได้
รับเป็นความดี (สุข) ถ้าเป็นกรรมชั่ว ผลที่ได้รับเป็นความชั่ว
(ทุกข์) เปรียบเทียบการให้ผลของกรรม เช่นเดียวกับการปลูกพืช
ปลูกพืชชนิดใดได้ผลพืชชนิดนั้น ปลูกข้าวย่อมได้ข้าว จะเป็น
เผือกหรือมันนั้นเป็นไปไม่ได้ กฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎศีล
ธรรม มีกฎเกณฑ์ตายตัวเหมือนกฎธรรมชาติข้ออื่น ๆ ดีเป็นดี ชั่ว
เป็นชั่ว ไม่มีการยกเว้นหรือยืดหยุ่น แต่เป็นการให้ผลทางด้าน
จิตใจเท่านั้น การให้ผลชั้นนอกต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆ มาส
นับสนุน
สรุปได้ว่า มนุษย์ต้องรับผิดชอบการกระทำาของตน โดยมี
กฎแห่งกรรมในฐานะกฎศีลธรรมคอยกำากับดูแล มีกระบวนการให้
ผลที่สัมพันธ์กับเหตุที่เป็นกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวไม่มีข้อยกเว้น
แต่เป็นผลระดับจิตใจ แต่ก็สามารถหลุดพ้นจากกรรมที่ตนทำาได้
ถ้าสามารยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทำาอาสวะ
ภายในของตนให้หมดสิ้นไป จนเป็นพระอรหันต์ก็จะไม่ต้องรับกร
รมอื่นๆ ที่จะต้องรับต่อไปในภพภูมิข้างหน้าเพราะไม่ได้กลับมาเกิด
อีกจึงไม่ต้องรับกรรมเหล่านั้นหลังจากตายหรือนิพพานที่เป็นอนุ
ปาทิเสสนิพพานคือนิพพานไม่เหลือขันธ์ ๕
สมภาร พรมทา, พุทธปรัชญา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒), หน้า ๓๑๑-๓๑๒.
ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๓๕๓/๒๐๑.
66
๓.๓.๓ สาเหตุการเกิดกรรม
แนวทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แบ่ง
แหล่งเกิดของกรรมออก ๒ ประเภท คือ ๑. เกิดจากตัณหา ได้แก่
พอใจ ชอบใจยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่ดี ไม่สบาย ไม่
เกื้อกูล เป็นอกุศล ๒. เกิดจากฉันทะ ได้แก่ พอใจ ยินดี อยาก รัก
ใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล เป็นกุศล
ตัณหา แปลได้อีกอย่างว่า ความกระหาย ความทะยาน
ความอยาก ความเสน่หา ความดิ้นรน ความกระสับกระส่าย
กระวนกระวาย ไม่รู้จักอิ่ม ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี
อวิชชาเป็นมูลเหตุ กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่าง
หนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม เช่น เห็นรูปสวยหรือน่า
เกลียด ได้ยินเสียงไพเราะหรือหนวกหู เป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึก
สุข หรือทุกข์ หรือเฉย ๆ ขึ้น ในเวลานั้นตัณหาก็จะเกิดขึ้นใน
ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ถ้ารู้สึกสุข พฤติกรรมที่แสดงออกมา
ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้ ถ้ารู้สึกทุกข์
พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็ยินร้าย ขัดใจ ชัง อยากเลี่ยงหนี หรือ
อยากให้สูญสิ้นไปเสีย ถ้ารู้สึกเฉย ๆ พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็เพ
ลินๆ เรื่อยเฉื่อยไป พฤติกรรมเหล่านี้มันเป็นไปของมันได้เอง โดย
ไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอะไรเลย จึงอาจ
พูดได้อย่างง่าย ๆ ว่า ตัณหานั่นเองเป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมต่าง
ๆ ของมนุษย์ ดังนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา บทบาทและการทำา
หน้าที่ของตัณหาเหล่านี้ได้เป็นตัวกำาหนดการดำาเนินชีวิตส่วน
ใหญ่ของมนุษย์ ตัณหาที่เป็นบ่อเกิดของกรรมมนุษย์แบ่งเป็น ๓
ด้านดังนี้
๑. กามตัณหา คือความกระหายอยากได้อารมณ์ที่น่า
ชอบใจมาเสพเสวยปรนเปรอตน หรือความทะยานอยากในกาม
๒. ภวตัณหา คือ ความกระหายอยากในความถาวรมั่นคง
มีคงอยู่ตลอดไป ความใหญ่โตโดดเด่นของตน หรือความทะยาน
อยากในภพ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุง
และขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท
สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๔๙๐.
ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๓.
67
๓. วิภวตัณหา คือ ความกระหายอยากในความดับสิ้นขาด
สูญ แห่งตัวตน หรือความทะยานอยากในวิภพ
ตัณหาทั้ง ๓ ด้านนี้ย่อมทำาให้พฤติกรรมของมนุษย์ดำาเนิน
ไปในทิศทางต่างๆ เช่น ได้สิ่งที่ชอบใจ พอใจก็เป็นสุข และ
แสวงหาสิ่งที่ชอบใหม่ไปเรื่อยๆ ถ้าได้สิ่งที่ไม่น่าชอบใจก็อยากจะ
ไปให้พ้นจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่
กับว่าใครมีตัณหาทั้งสามด้านนี้มากน้อยอย่างไร
ส่วนฉันทะ หมายถึง กุศลธรรม ความพึงพอใจ ความ
ชอบ ความอยากได้ในสิ่งที่ดีงาม เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและคนอื่น หรือแปลอีกอย่างหนึ่งได้ว่า มี
ความพอใจในความดีงาม ความต้องการในความจริง ความ
ต้องการเล็งไปถึงความรู้ คือเท่ากับพูดว่าต้องการรู้ความจริง
ต้องการเข้าถึงตัวธรรม ดังนั้นกรรมที่เป็นฉันทะนี้ ย่อมมีการ
แสดงออกมาในทางดีงาม สร้างสรรค์ ใฝ่ดี รักดี เป็นต้น
จากที่กล่าวมาโดยสังเขปนี้ทำาให้เห็นความแตกต่าง
ระหว่างกรรมที่ตัณหาเป็นบ่อเกิดและฉันทะเป็นบ่อเกิดได้ดังนี้
๑. ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา ดังนั้น จึงต้องการสิ่งสำาหรับ
เอามาเสพเสวยเวทนา เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง กรรมที่แสดงออก
มาย่อมเป็นไปอย่างสับสน กระวนกระวาย เป็นทุกข์
๒. ฉันทะ มุ่งประสงค์ที่ประโยชน์ กล่าวคือ ประโยชน์ที่
เป็นคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต หรือคุณภาพชีวิต ดังนั้น กรรมที่
แสดงออกมาจึงมุ่งไปที่ความจริ'สิ่งที่ดีงาม เพราะฉันทะก่อตัวจาก
โยนิโสมนสิการคือความรู้จักคิดหรือคิดถูกวิธีคิดตามสภาวะและ
เหตุผลเป็นภาวะกลางๆไม่ผูกพันกับอัตตาและนำาไปสู่อุตสาหะหรือ
วิริยะคือทำาให้เกิดกรรมที่จะแสวงหาสิ่งที่เป็นความดีงามนั่นเองบ่อ
เกิดของกรรมในพระพุทธศาสนาจึงมุ่งเน้นที่มโนกรรมที่มีตัณหา
และฉันทะเป็นมูลเหตุและเป็นสมุฏฐานในการเกิดพฤติกรรมต่างๆ
ของมนุษย์โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งดีและไม่ดีและที่เป็น
กลางๆคือไม่ดีไม่ชั่วก็มีทั้งนี้เนื่องมาจากเจตสิกที่มาอาศัยจิตเป็นตัว
กระตุ้นให้เกิดเจตสิกจึงเป็นพลังที่ควบคุมร่างกายมนุษย์ให้กระทำา
การต่างๆในการแสดงพฤติกรรมทุกๆอย่างที่ปรากฏออกมาทาง
กาย วาจา และใจ
๓.๓.๔ ทางแห่งการทำากรรม
68
ทางหรือทวารแห่งการทำากรรม หรือสิ่งที่ทำาให้เกิดกรรม มี
อยู่ ๓ ทาง คือ
๑. กายกรรม การกระทำาทางกาย
๒. วจีกรรม การกระทำาทางวาจา
๓. มโนกรรม การกระทำาทางใจ
ทางแห่งการทำากรรม ของบุคคลมี ๓ ทาง คือ ทางกาย
ทางวาจา และทางใจ ขณะที่บุคคลดำาเนินชีวิตประจำาวันได้
ทำากรรมทางใจตลอดเวลา
๓.๓.๕ เกณฑ์ตัดสินกรรมดีกรรมชั่ว
การกระทำาที่จัดว่าเป็นกรรมหรือไม่นั้น พระพุทธศาสนาให้
ถือหลักของเจตนาเป็นหลัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนการกระ
ทำาใดจัดเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วนั้น พระพุทธเจ้าทรงให้เกณฑ์
การตัดสินไว้ดังต่อไปนี้
๑. พิจารณาตามสาเหตุการเกิดกรรม สรุปได้ว่า การกระทำา
ที่มีเจตนามาจาก อโลภะ อโทสะ อโมหะ จัดเป็นกรรมดี การกระทำา
ที่มีเจตนามาจาก โลภะ โทสะ โมหะ จัดเป็นกรรมชั่ว
๒. พิจารณาตามผลของการกระทำาว่า การกระทำาที่
“บุคคลทำากรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง อิ่มเอิบ
ดีใจ เสวยผลกรรมอยู่กรรมนั้นชื่อว่า ”กรรมดี ส่วนการกระทำาที่
ม.ม. (ไทย) ๑๓/๕๖/๕๕. รายละเอียดว่า “ตปัสสี เราบัญญัติใน
การทำาชั่วในการประพฤติชั่วไว้ ๓ ประการ คือ ๑. กายกรรม ๒. วจีกรรม
๓. มโนกรรม... ตปัสสี กายกรรมก็อย่างหนึ่ง วจีกรรมก็อย่างหนึ่ง
มโนกรรมก็อย่างหนึ่ง...”
ความดี เรียกว่า “กุศลกรรม” บ้าง “สุจริตกรรม” บ้าง “บุญ” บ้าง
ไทยแปลว่า “ทำาความดี”กรรมชั่ว เรียกว่า “อกุศลกรรม” บ้าง “ทุจริต”
บ้าง “บาป” บ้าง ไทยแปลว่า “ทำาความชั่ว” (บรรจบ บรรณรุจิ) “เอกสาร
ประกอบการสอนวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ ๑,” (กรุงเทพมหานคร :
บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕ (อัดสำาเนา), หน้า
๑๒๖).
องฺ ติก. (ไทย) ๒๐/๑๑๒/๓๕๓-๓๕๔, องฺ ฉกฺก. (ไทย)
๒๒/๓๙/๔๙๐.
ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๖๘/๔๘.
69
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาCC Nakhon Pathom Rajabhat University
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานChainarong Maharak
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์Padvee Academy
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
พุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดพุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดPadvee Academy
 
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานpop Jaturong
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖Anchalee BuddhaBucha
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตPadvee Academy
 
พระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม
พระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมพระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม
พระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมPadvee Academy
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาpentanino
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกAnchalee BuddhaBucha
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานAnchalee BuddhaBucha
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานOnpa Akaradech
 
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานPadvee Academy
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบthnaporn999
 

La actualidad más candente (20)

เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนาเทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
เทศกาลและพิธีกรรมทางศาสนา
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
 
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
จิตวิทยาในพระไตรปิฎก
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
 
พุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียดพุทธวิธีคลายเครียด
พุทธวิธีคลายเครียด
 
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐานบทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
บทที่ ๒ กรรมฐาน และบุรพกิจของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
เปรียบเทียบพุทธปรัชญาและปรัชญาลัทธิครูทั้ง ๖
 
ศาสนาชินโต
ศาสนาชินโตศาสนาชินโต
ศาสนาชินโต
 
พระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม
พระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมพระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม
พระสงฆ์กับการศึกษาและอนุรักษ์วัฒนธรรม
 
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญาปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
ปริศนาธรรมในพุทธปรัชญา
 
ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาท
ปฏิจจสมุปบาท
 
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdfแบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
 
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐานบทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
บทที่ 7 สมถกัมมัฏฐาน
 
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐานธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
ธรรมะภาคปฏิบัติ : ประวัติและวิวัฒนาการของการปฏิบัติกรรมฐาน
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 

Destacado

Two Decades In Infrastructure
Two Decades In InfrastructureTwo Decades In Infrastructure
Two Decades In Infrastructurestefanwallmann
 
Classroom rules
Classroom rulesClassroom rules
Classroom rulesEric Cruz
 
Regular verbs webquest
Regular verbs webquestRegular verbs webquest
Regular verbs webquestTeachernan
 
Open data en hergebruik
Open data en hergebruikOpen data en hergebruik
Open data en hergebruikArjan Fassed
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Vitadomorionesshqiptare con himno en albanes
Vitadomorionesshqiptare con himno en albanesVitadomorionesshqiptare con himno en albanes
Vitadomorionesshqiptare con himno en albanesadamoa4
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Destacado (20)

Earthquakes
EarthquakesEarthquakes
Earthquakes
 
Two Decades In Infrastructure
Two Decades In InfrastructureTwo Decades In Infrastructure
Two Decades In Infrastructure
 
03essay
03essay03essay
03essay
 
Web Apps Weekend - Firefox Apps
Web Apps Weekend - Firefox AppsWeb Apps Weekend - Firefox Apps
Web Apps Weekend - Firefox Apps
 
Adjectives
AdjectivesAdjectives
Adjectives
 
Classroom rules
Classroom rulesClassroom rules
Classroom rules
 
Oscom23 old
Oscom23 oldOscom23 old
Oscom23 old
 
Regular verbs webquest
Regular verbs webquestRegular verbs webquest
Regular verbs webquest
 
Trabajo
TrabajoTrabajo
Trabajo
 
บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)
 
Open data en hergebruik
Open data en hergebruikOpen data en hergebruik
Open data en hergebruik
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่า จูเฬกสาฎก๒
 
05essay
05essay05essay
05essay
 
04essay
04essay04essay
04essay
 
Elizabeth paniccia
Elizabeth panicciaElizabeth paniccia
Elizabeth paniccia
 
Used to
Used toUsed to
Used to
 
Vitadomorionesshqiptare con himno en albanes
Vitadomorionesshqiptare con himno en albanesVitadomorionesshqiptare con himno en albanes
Vitadomorionesshqiptare con himno en albanes
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บรรณานุกรมพฤติกรรม
บรรณานุกรมพฤติกรรมบรรณานุกรมพฤติกรรม
บรรณานุกรมพฤติกรรม
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก ๘
 

Similar a บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1

ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตWataustin Austin
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนTongsamut vorasan
 
Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13khumtan
 
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาสสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาPunya Benja
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปีPa'rig Prig
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิOnpa Akaradech
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีPa'rig Prig
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาpentanino
 

Similar a บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1 (20)

บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
 
333
333333
333
 
10
1010
10
 
ลักษณะของจิต
ลักษณะของจิตลักษณะของจิต
ลักษณะของจิต
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
Lesson 3
Lesson 3Lesson 3
Lesson 3
 
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชนแนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
แนวคิดเรื่องกรรมและความจริงสูงสุดของศาสนาเชน
 
พระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก
 
Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13Seangdhamma february 13
Seangdhamma february 13
 
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนาสสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
สสารและ พลังงานในพุทธศาสนา
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่222 3-ปี
 
บทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิบทที่ 4 วิสุทธิ
บทที่ 4 วิสุทธิ
 
บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่บทที่ ๓ ใหม่
บทที่ ๓ ใหม่
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)บทความ (สังขาร)
บทความ (สังขาร)
 
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปีจริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
จริยศาสตร์ประเมินบทที่555 3-ปี
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
 

Más de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

Más de วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 

บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)1

  • 1. บทที่ ๓ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกรรมตามหลักของพระพุทธ ศาสนา “กรรม”ตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาทเป็นกระบวน ธรรมภายในจิตที่ใช้หลัก ปฏิจจสมุปบาทมาอธิบายและกรรม ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการแห่งปฏิจจสมุปบาทเป็น การ พิจารณาในแง่ของกระบวนการธรรมชาติว่าด้วยตัวกฎหรือสภาวะ ล้วนๆและเป็นการมองอย่างกว้างๆตลอดทั้งกระบวนการที่ไม่เน้น จุดใดจุดหนึ่งโดยเฉพาะแต่ในทางปฏิบัติเมื่อมองในแง่ความ เป็น ไปในชีวิตจริงจะเห็นว่าส่วนของปฏิจจสมุปบาทที่ปรากฏเด่นชัด ออกมาในการดำาเนินชีวิต ประจำาวันเป็นเรื่องของการแสดงออก และเกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบของคนโดยตรงที่มีตัวการ และ สิ่งแวดล้อมอื่นๆเกี่ยวข้อง ในการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับ เรื่องกรรม ๓.๑ ความหมายของกรรม คำาว่า “กรรม” ในทางพระพุทธศาสนาแปลว่าการ กระทำา มีความหมายกลาง ๆ ใช้ได้ทั้งในทางดีและทางไม่ดี ถ้า เป็นกรรมดีเรียกว่า กุศลกรรม กรรมไม่ดีเรียกว่า อกุศลกรรม พระพุทธเจ้าได้ตรัสความหมายของกรรมไว้ในนิพเพธิกสูตรว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า เรากล่าวว่าเจตนาเป็นตัว กรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำาด้วยกาย วาจา และใจ” พระพุทธพจน์นี้นักปราชญ์และนักวิชาการทางพระพุทธ ศาสนาได้อธิบายความหมาย ของกรรมเพิ่มเติมไว้ดังนี้ พระญาณติโลกะ(Nyanatiloka)อธิบายว่ากรรมคือการก ระทำาที่มีพื้นฐานมาจากกุศล กับอกุศลทำาให้เกิดการเวียนว่ายตาย เกิดหรือเจตนาเป็นตัวกำาหนดที่ไป เจตนาของกรรมคือ การ แสดงออกของการกระทำาที่เป็นกุศลหรืออกุศลมีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กรรมทางพระพุทธศาสนาจึงมิใช่ตัวกำาหนดโชคชะตา องฺ. ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๖๓/๕๗๗.
  • 2. หรือสังคมของมนุษย์แต่เป็นเรื่องของการกระทำา ซึ่งทางตะวันตกมี ความเข้าใจว่า พระเจ้าเป็นผู้กำาหนด พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายว่า กรรม แปล ตามศัพท์ว่าการงานหรือการ กระทำา แต่ในทางธรรมต้องจำากัดความจำาเพาะลงไปว่า หมายถึง การกระทำาที่ประกอบด้วยเจตนา หรือการกระทำาที่เป็นไปด้วย ความจงใจถ้าเป็นการกระทำาที่ไม่มีเจตนาก็ไม่เรียกว่าเป็นกรรมใน ความหมายทางธรรม พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) อธิบายว่า กรรม แปลว่า การกระทำา กรรมนี้เป็นคำากลางๆถ้าหากว่าเป็นการกระทำา ดีท่านเรียกว่ากุศลกรรมถ้าหากว่าเป็นการกระทำาชั่วท่านเรียกว่า อกุศลกรรม พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิบายว่า กรรม แปลว่า การกระทำา การกระทำาที่แสดงออกทางกายเรียกว่า กายกรรม การกระทำาทางวาจาเรียกว่า วจีกรรม ลำาพัง ความคิด เรียกว่ามโนกรรม กรรมที่จะมีผลหรือวิบากต้องเป็นการกระทำาที่มี เจตนาเป็นตัวนำาเสมอ แสง จันทร์งาม อธิบายว่า กรรม แปลว่า การกระทำา (action) ที่ประกอบด้วยเจตนา หรือความตั้งใจ (volition) อันมีกิเลสเป็นแรงผลักดัน ฉะนั้น กรรมที่สมบูรณ์จะต้องมีตัวประกอบ กรรม ๓ เสมอ คือ มีกิเลสเป็น แรงกระตุ้น มีความตั้งใจหรือเจตนามีการกระทำาหรือการ Nyanatiloka, Bhddhist Dictionary Manual of Buddhist Terms and Doctrines, (Kandy :Buddhist Publication Society, 1980 ), P. 92. พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ ขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สห ธรรมิก จำากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๑๕๗. พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ) , กฎแห่งกรรรม, พิมพ์ ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : มหา มกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖), หน้า ๒. พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), กรรมและการเกิด ใหม่, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๓๙), หน้า ๒๖. 48
  • 3. เคลื่อนไหว บรรจบ บรรณรุจิ อธิบายว่า กรรม คือ การกระทำาที่ ประกอบด้วยเจตนาของคนที่ยังมีกิเลสซึ่งยังมีการให้ผลแบ่งออก ได้เป็น ๓ ทางคือกายกรรม (การกระทำาทางกาย) วจีกรรม(การ กระทำาทางวาจา–พูด) และมโนกรรม (การกระทำาทางใจ ความ คิด)กรรมทั้ง ๓ มีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ชะบา อ่อนนาค อธิบายว่า กรรม คือ การกระทำาที่ ประกอบด้วยเจตนาอันมีพื้นฐานมา จากกิเลส แสดงออกทางกาย วาจา ใจ มีทั้งกรรมดี กรรมชั่วและส่งผลต่อผู้กระทำา ตามที่นักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาได้ให้ทัศนะเกี่ยว กับความหมายของกรรมดังกล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า กรรม คือการก ระทำาที่ ประกอบด้วยเจตนาอันมีพื้นฐานมาจากกิเลสแสดงออก ทางกายวาจาใจมีทั้งกรรมดีกรรมชั่วและ ส่งผลต่อผู้กระทำา นอกจากนี้คำาสอนของพระพุทธศาสนายึดถือเอาการกระทำาของ มนุษย์ เป็นเครื่องตัดสินว่าบุคคล นั้นเป็นคนดีหรือคนชั่ว มิได้ ยึดถือเอาเรื่องชาติ โคตร ตระกูล ยศ ความรู้ อำานาจ เพศ และวัย เป็นเครื่องวัดหากแต่วัดที่การแสดงออกหรือการกระทำาของแต่ละ บุคคล ดังพุทธพจน์ว่า“บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติไม่เป็น พราหมณ์เพราะชาติแต่เป็นคนถ่อยเพราะ กรรมเป็นพราหมณ์ เพราะกรรม” จากพุทธพจน์ดังกล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าลักษณะ คำาสอนใน พระพุทธศาสนาเป็นกรรมวาทและกิริยาวาทกล่าวคือ ความดีความชั่วหรือสิ่งที่ดีและสิ่งที่ชั่วล้วนมีความเกี่ยวข้องกันกับ การกระทำาของมนุษย์ทั้งสิ้น จึงสรุปได้ว่า คำาว่า “กรรม” คือการ แสดงออก ทางกายวาจาและใจนั่นเองการแสดงออกทางกายวาจา แสง จันทร์งาม, พุทธศาสนวิทยา, พิมพ์ครั้งที ๔, (กรุงเทพมหานคร : ธีระการพิมพ์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๑๒. บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, พิมพ์ครั้งที่ ๓, (กรุงเทพมหานคร : พรบุญการพิมพ์, ๒๕๓๘), หน้า ๗๖. ชะบา อ่อนนาค, ”การศึกษาความเชื่อเรื่องกรรมในพระพุทธ ศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา: ศึกษากรณีโรงเรียนชลบุรี "สุขบท" จังหวัดชลบุรี”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๘), หน้า ๘. ขุ.สุตฺต. (บาลี) ๒๕/๑๔๒/๓๖๑., ขุ. สุตฺต. (ไทย) ๒๕/๑๔๒/๕๓๒. 49
  • 4. ที่มีใจเป็นผู้บัญชาการหรือมีใจเป็นหัวหน้าให้กระทำาสิ่งต่าง ๆ ทั้งดี และชั่ว ๓.๒. ประเภทของกรรม กรรมเป็นหลักธรรมที่สำาคัญที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก และอรรถกถา โดยมีการแบ่ง กรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ๓.๒.๑ ประเภทของกรรมในพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกได้แบ่งประเภทของกรรมไว้หลายประเภท ด้วยกัน โดยแบ่งตามคุณภาพ หรือมูลเหตุที่เกิดกรรม แบ่งตามทางที่ทำากรรมและแบ่งตามกรรมที่ มีความสัมพันธ์กับวิบาก ก. กรรมตามคุณภาพหรือสาเหตุที่เกิดกรรม กรรมที่แบ่งตามคุณภาพหรือสาเหตุที่เกิดกรรมนั้นพระ ไตรปิฎกได้กล่าวไว้ในอกุศลมูลสูตร สรุปได้ว่า อกุศลมูล (รากเหง้าแห่งอกุศล) มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ บุคคลทำากรรมเพราะมี โลภะ โทสะ โมหะ ทางกาย วาจา ใจ จัดเป็นอกุศลกรรมและมีผลทำาให้เป็นทุกข์ลำาบาก คับแค้น เดือด ร้อนในปัจจุบัน หลังการตายแล้ว ย่อมไปเกิดในทุคติ กุศลมูล (รากเหง้าแห่งกุศล) มี ๓ อย่าง คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ บุคคลทำากรรมโดยไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ทางกาย วาจา ใจ จัดเป็นกุศลกรรมและมีผลทำาให้อยู่เป็นสุขไม่ลำาบาก ไม่คับ แค้น ไม่เดือดร้อนในปัจจุบัน ย่อมปรินิพพานในชาติปัจจุบัน กรรมที่แบ่งตามคุณภาพหรือสาเหตุการเกิดมี ๒ อย่าง คือ ๑. อกุศลกรรมหมายถึง กรรมชั่ว มีสาเหตุมาจากโลภะ โทสะ โมหะ ๒. กุศลกรรม หมายถึง กรรมดี มีสาเหตุมาจากอโลภะ อโทสะ อ โมหะ เรียกว่า กรรม ๒ ข. กรรมแบ่งตามทางที่ทำา องฺ. ทุกฺ. (ไทย) ๒๐/๒๗๕/๒๗๗. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ ประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๓), หน้า ๔. 50
  • 5. กรรมแบ่งตามทางที่ทำาพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงกรรมตามที่ เกิดไว้ในพระสูตรอุปาลิวาท สูตร ไว้ว่า ตปัสสีเราบัญญัติในการทำาชั่วในการประพฤติชั่วไว้ ๓ ประการคือ (๑) กายกรรม (๒) วจีกรรม (๓) มโนกรรม… ตปัสสีกายกรรมก็อย่างหนึ่งวจีกรรมก็อย่างหนึงมโนกรรม ก็็อย่างหนึ่ง…ตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการ ที่จำาแนก แยกออกเป็นอย่างนี้ เราบัญญัติ มโนกรรมว่า มีโทษ มากกว่าในการทำากรรมชั่วในการประพฤติชั่วมิใช่ กายกรรมหรือ วจีกรรม ค. กรรมแบ่งตามทางที่ทำาหรือแสดงออกของกรรม จัดเป็น ๓ ทาง คือ ๑. กายกรรม กรรมทำาด้วยกาย หรือกระทำาทางกาย ๒. วจีกรรม กรรมทำาด้วยวาจา หรือการกระทำาทางวาจา ๓. มโนกรรม กรรมทำาด้วยใจ หรือการกระทำาทางใจ มโนกรรมหรือความคิดจัดเป็นกรรมเพราะทุกขณะจิตที่ คิดของปุถุชนมีกิเลสเกิดขึ้นกำากับอยู่เสมอและเป็นจุดเริ่มต้นของ การทำากรรมที่มีผลสืบต่อให้กระทำากรรมทางกายและทางวาจาซึ่ง พระพุทธศาสนาจัดว่ามโนกรรมเป็นกรรมที่สำาคัญที่สุดมีโทษมาก ที่สุดมโนกรรมที่ให้โทษ ร้ายแรงที่สุดคือมิจฉาทิฏฐิและมโนกรรม ที่เป็นความดีสูงสุดคือสัมมาทิฏฐิอันเป็นตัวกำาหนดวิถี ชีวิตของ บุคคลและสังคมเมื่อบุคคลทำากรรมตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ไม่ทาง มโนกรรมก็ทากายกรรม หรือวจีกรรมซึ่งวจีกรรมนอกจากคำาพูด แล้วยังหมายถึงผู้ทำาใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการทำากรรมอย่าง หนึ่งอาจต้องใช้การกระทำามากกว่าหนึ่งทางการจะตัดสินว่าเป็น กรรมทางใดให้ดูว่า กรรมนั้นสำาเร็จบริบูรณ์ด้วยอะไรกายวาจา หรือด้วยใจถ้าสำาเร็จด้วยทวารใดพึงถือว่าเป็นกรรมทวารนั้น เช่น ม.ม. (ไทย) ๑๓/๕๖/๕๕. พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ ขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๙, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๔๓), หน้า ๑๖๐. บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๗๙. ปิ่น มุทุกันต์, พุทธศาสตร์ ภาค ๒, (กรุงเทพมหานคร : มหา มกุฎราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕),หน้า ๔๔๖. เรื่องเดียวกัน. หน้า ๔๔๖. 51
  • 6. การฆ่าคนที่ไม่ได้ลงมือเอง แต่ใช้วาจาจ้างให้ผู้อื่นทำาแทน จัดเป็น กายกรรม แต่ใช้วาจาประกอบ เพราะถือว่าจุดสมบูรณ์อยู่ที่กาย หรือการเขียนหนังสือโกหก ให้คนอ่านเชื่อ จัดเป็นการกระทำา ทางวจีกรรม เพราะเป็นเรื่องของภาษาการสื่อสาร ง. แบ่งตามสภาพความสัมพันธ์กับผลที่เกิดขึ้น กรรมของมนุษย์ยังสามารถแบ่งตามสภาพความสัมพันธ์กับ ผลที่เกิดขึ้นจากกรรมนั้นๆ ได้ ๔ อย่างคือ ๑. กรรมดำา มีผลดำา ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และมโน สังขาร ที่แสดงออกใน ทางเบียดเบียน ตัวอย่างเช่น ปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร ฯลฯ ๒. กรรมขาว มีผลขาว ได้แก่ กายสังขาร วจีสังขาร และ มโนสังขาร ที่แสดงออกในทางไม่เบียดเบียด สร้างสรรค์ เช่น การ ประพฤติตามกุศลกรรมบถ ๑๐ ๓. กรรมทั้งขาวและดำา มีผลทั้งขาวและดำา ได้แก่ กาย สังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร ที่มีการแสดงออกในทางที่ เบียดเบียนบ้าง ไม่เบียดเบียนบ้าง เช่น พฤติกรรมของมนุษย์ทั่วๆ ไป ๔. กรรมไม่ดำาไม่ขาว มีผลไม่ดำาไม่ขาว กรรมเช่นนี้เป็น ไปเพื่อความสิ้นกรรม ได้แก่ เจตนาเพื่อละกรรมทั้งสามดังกล่าวมา หรือกล่าวโดยองค์ธรรม ได้แก่ โพชฌงค์ ๗ หรือมรรคมีองค์ ๘ พระพุทธศาสนาถือว่าการแสดงออกของมนุษย์ทุกอย่าง ถือว่ากรรมไม่ว่าจะเป็นทาง กาย วาจา ใจ ในบรรดากรรมทั้ง ๓ นี้กรรมที่เกิดทางใจถือว่ามีผลมากกว่ากรรมที่เกิดทางกาย และ ทางวาจาเพราะกรรมทางใจเป็นสาเหตุให้บุคคลคนกระทำากรรม ทางกายและพูดออกมาทาง วาจา ดังพุทธพจน์ว่า “ตปัสสี บรรดากรรมทั้ง ๓ ประการที่จำาแนกแยกเป็นอย่างนี้เราบัญญัติ มโนกรรมว่า มีโทษมากกว่า ในการทำากรรมชั่วในการประพฤติ กรรมชั่วมิใช่กายกรรมหรือวจีกรรม ๓.๒.๒ ประเภทของกรรมในอรรถกถา ที.ปา.(ไทย) ๑๑/๓๑๒/๒๙๑ , ม.ม.(ไทย) ๑๓/๘๑/๗๙-๘๑. ม.ม.(ไทย) ๑๓/๕๗/๕๕. 52
  • 7. ในพระไตรปิฎก ได้แบ่งกรรมไว้เป็นประเภทต่าง ๆ แล้ว ยังได้แบ่งระยะเวลาการให้ผล ของกรรม ไว้ในนิพเพธิกสูตร ว่า “วิบากแห่งกรรมเป็นอย่างไร คือ เรากล่าววิบากแห่งกรรมว่า มี ๓ ประเภท คือ ๑. กรรมที่พึงเสวยในปัจจุบัน ๒. กรรมที่พึง เสวยในชาติถัดไป ๓. กรรมที่พึงเสวยในชาติต่อ ๆ ไป การแบ่ง ระยะเวลาการให้ผลของกรรมนั้นมี ๓ ระยะ กล่าวโดยสรุป คือ ชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อ ๆ ไป ไม่ได้กล่าวถึงอโหสิกรรม ซึ่ง มีการแบ่งกรรมออกเป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนกรรมนอกจากปรากฏ ในพระไตรปิฎกแล้ว ยังมีกรรม ๑๒ ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคซึ่ง จัดเป็นคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาชั้นอรรถกถา แต่งโดยพระพุทธ โฆสาจารย์ได้รวบรวมกรรมในพระไตรปิฎก โดยยึดพระพุทธพจน์ เป็นหลัก จัดแบ่งกรรมออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามผลของกรรมที่ ได้รับ มี ๓ ประเภท ประเภทละ ๔ อย่าง ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้ ก. กรรมประเภทที่ ๑ กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่ มี ๔ อย่าง คือ ๑. ชนกกรรม กรรมส่งให้เกิด ๒. อุปถัมภกกรรม กรรมสนับสนุนส่งเสริม ๓. อุปปีฬกกรรรม กรรมเบียดเบียน ๔. อุปฆาตกรรม กรรมทำาหน้าที่ตัดรอน กรรมให้ผลตามหน้าที่หมายถึง กรรมที่ทำาไปนั้น ทั้งดีและ ไม่ดี ย่อมทำาหน้าที่ให้ผล เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราดังนี้ ๑. ชนกกรรมกรรมส่งให้เกิดหมายถึงกรรมดีหรือกรรม ชั่วที่ทำาไว้ส่งให้เกิดในภพภูมิ ต่างๆ ถ้าเป็นกรรมดีส่งไปเกิดใน สุคติถ้าเป็นกรรมชั่วส่งไปเกิดในทุคติ และยังทำาหน้าที่หล่อเลี้ยง ม.ม.(ไทย) ๑๓/๕๗/๕๕. สมเด็จพระพุฒ าจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) , คัมภีร์วิสุทธิ มรรค, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรวงศ์พรินติ้ง จำากัด, ๒๕๔๖), หน้า ๙๖๙– ๑๗๑. ทุคติ หรือ อบายภูมิ มี ๔ ภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ เดรัจฉาน สุคติ หมายถึง โลก 53
  • 8. ชีวิตใหม่ให้ดำารงอยู่และดำาเนินกิจกรรมตามสภาพของกรรมจน ครบอายุขัยขณะที่ชนกกรรมทำา หน้าที่ปฏิสนธิกรรมอื่นจะ แทรกแซงไม่ได้เลยชนกกรรมเปรียบเหมือนมารดาคลอดบุตรจะ มีใคร มาแย่งหน้าที่เป็นผู้คลอดร่วมไม่ได้ ๒. อุปัตถัมภกกรรมกรรมสนับสนุนส่งเสริมหมายถึงกรรมที่ ทำาหน้าที่สนับสนุนส่งเสริม ชนกกรรมที่ไม่มีโอกาสให้ผลให้ได้ผล และชนกกรรมที่กำาลังให้ผลให้ได้ผลเต็มที่ตลอดจนสนับสนุนส่ง เสริมชีวิตที่ชนกกรรมให้เกิดและหล่อเลี้ยงไว้ให้เจริญเติบโต และ ดำารงอยู่ได้นาน ดังนั้น อุปถัมภกกรรมต้องเป็นกรรมประเภท เดียวกันกับชนกกรรม เช่น ชนกกรรมนำาไปเกิดเป็นลูกเศรษฐี อุปถัมภกกรรมฝ่ายกุศลจะมาสนับสนุน ให้เด็กคนนั้นมีความสุข สมบูรณ์ตลอดไป ๓.อุปปีฬกกรรมกรรมเบียดเบียนหมายถึงกรรมที่ เบียดเบียนชนกกรรมที่ให้ผลอยู่อ่อนกำาลังลงเบียดเบียนชนกกรรม ที่กำาลังจะให้ผลให้ผลไม่เต็มที่ตลอดจนเบียดเบียนชีวิตที่ชนก กรรมให้เกิดและหล่อเลี้ยงไว้ไม่ให้เป็นไปตามสภาพของกรรมนั้น อุปปีฬกกรรมจะตรงกันข้ามกับชนกรรมและอุปถัมภกกรรม คอย บั่นทอนผลของกรรมทั้งสองให้สิ้นลง ถ้ามีความสุข ก็จะสุขไม่ นานถ้ามีความทุกข์ก็จะทุกข์ไม่มากและไม่นานเช่นเกิดเป็นลูก เศรษฐีมีความสุขสบายแต่ต่อๆมาฐานะตกตำ่าลง ๔. อุปฆาตกรรมกรรมตัดรอนหมายถึงกรรมที่ตัดรอนชีวิต ที่ชนกกรรมให้เกิดและหล่อ เลี้ยงไว้มิให้ให้ผลและสูญสิ้นไป ตลอดจนตัดรอนชนกกรรมอื่นๆไม่ให้มีโอกาสให้ผลอุปฆาตกรรม เป็นกรรมที่สนับสนุนอุปปีฬกกรรมและตรงกันข้ามกับชนกกรรม มนุษย์ และสวรรค์. พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า), หน้า ๕๒๓. บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก วิเคราะห์ ๑ , หน้า ๑๒๗. พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑, พิมพ์ครั้ง ที่ ๒ (กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้า), หน้า ๒๖. บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก วิเคราะห์ ๑ ,หน้า ๑๒๗. 54
  • 9. และอุปถัมภกกรรมเช่นถ้าชนกกรรมและอุปถัมภกกรรมเป็นฝ่าย กุศลอุปปีฬกกรรมจะเป็นฝ่ายอกุศลและอุปฆาตกรรมจะเป็นฝ่าย อกุศลเช่นเดียวกับอุปปีฬกกรรม กรรมชนิดนี้ เมื่อให้ผลจะตัดรอน ชนกกรรมและให้ผลแทนที่ทันที เช่น ชนกกรรมฝ่ายกุศลนำาไป เกิดเป็นลูกเศรษฐี อุปถัมภกกรรมส่งเสริมให้มีความสุข สมบูรณ์ มี ชีวิตที่เจริญรุ่งเรืองเมื่ออุปฆาตกรรมตามมาทำาให้เกิดอุบัติเหตุเสีย ชีวิตทั้งที่อยู่ในวัยไม่สมควร ตายหรือชนกกรรมนำาไปให้เกิดเป็น เปรตประเภทปรทัตตูปชีวิกเปรตอุปัตถัมภกกรรมเข้าสนับสนุน ชนกกรรมทำาให้เปรตนั้นได้รับความทุกข์ตามสภาพของเปรตวิสัย ญาติพี่น้องในโลกมนุษย์ได้ทำาบุญ แล้วอุทิศส่วนบุญกุศลไปให้ถ้า บุญกุศลที่ญาติทำาแล้วอุทิศไปให้นี้มีกำาลังแรงมาเปรตนั้นได้รับ ส่วนกุศลนั้นแล้วก็พ้นจากภาวะของเปรตจุติไปเกิดในสุคติเป็น มนุษย์หรือเทวดา บุญกุศล ในกรณีนี้ คือ อุปฆาตกรรมที่เข้าให้ผล ตัดรอนผลของชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เห็นได้ว่า อุปฆาตกรรมไม่ใช่กรรมที่หักล้างหรือลบล้าง กรรมอื่นเพราะกรรมแต่ละประเภทให้ผลของตนเอง ลบล้างกรรม อื่นไม่ได้การให้ผลของกรรมมีเงื่อนไขที่ว่ากรรมมีกำาลังให้ผล เกิด อ่อนกำาลังลง กรรมอื่นที่กำาลังแรงกว่าก็จะให้ผลแทนที่ เปรียบ เหมือนกับนักกีฬาวิ่งแข่งขันกัน นักกีฬาคนใดวิ่งเร็วจะแซงนักกีฬาคนอื่นที่วิ่งนำาหน้าได้ และเป็นผู้ ชนะ ข. กรรมประเภทที่ ๒ กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง (กรรมให้ ผลตามลำาดับ) มี ๔ อย่าง ๑. ครุกรรม กรรมหนัก ๒. อาสันนกรรม กรรมใกล้ตาย หรือกรรมใกล้ดับจิต ๓. อาจิณณกรรม กรรมที่ทำาจนชิน ๔. กตัตตากรรม กรรมสักว่าทำา สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๓), หน้า ๒๐๒. วัชระ งามจิตเจริญ, พุทธศาสนาเถรวาท, (กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาปรัชญา คณะ ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๒๐. 55
  • 10. กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง หมายถึง กรรมที่ทำาไปทั้งดีและ ไม่ดี ย่อมมีผลให้ไปเกิดใน ภพภูมิต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับกรรมหนักหรือกรรมเบา กรรมที่เป็น กรรมหนักจะมีกำาลังมากกว่าและ ให้ผลก่อน ๑. ครุกรรม กรรมหนัก หมายถึง กรรมที่ทำาแล้วให้ผลเป็น ตัวกำาหนดชีวิตหลังความตาย ได้แน่นอน ให้ผลแก่เจ้าของกรรมในชาติที่ ๒ หรือชาติหน้า ไม่มี กรรมใดมีอำานาจกางกั้นการให้ผลได้นอกจากครุกรรมด้วยกันที่ แรงกว่าครุกรรมที่กำาลังอ่อนกว่าจะเป็นเพียงกรรมที่ช่วยอุดหนุน ในฐานะปัตถัมภกรรมเท่านั้นครุกรรมฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศลจะนำา เจ้าของกรรมให้ไปเกิดในทุคติหรือสุคติ ในชาติหน้าทันทีโดยไม่มี อำานาจใดมาเป็นอุปสรรคขัดขวางได้ครุกรรมกรรม หนักฝ่าย อกุศล ได้แก่ กรรมอันเป็นบาปหนัก ได้แก่ ก. นิยตมิจฉาทิฐิ ความเห็นผิดอันดิ่งลงไปแก้ไม่ได้ ได้แก่ ความเห็นว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงการบูชาไม่มีผล ผลของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มีโลกนี้โลกหน้าไม่มีบิดามารดาไม่มี สัตว์ผู้อุปปาติกะไม่มี (สัตว์ผู้ผุดเกิดเองไม่มี) ข. อนันตริยกรรม ได้แก่ กรรมอันเป็นบาปหนัก มีอำานาจ ให้ผลในชาติหน้าตามลำาดับ มี ๕ ประการ คือ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๔. โลหิตุปบาท ทำาร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังโลหิตให้ห้อ ขึ้นไป ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกกัน ครุกรรมฝ่ายกุศลหรืออนันตริยกรรมฝ่ายกุศล ได้แก่ รูป ฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔ เรียกว่าสมาบัติ ๘ สมาบัติหรือฌาน เพียงขั้นใดขั้นหนึ่ง เช่น รูปฌานที่ ๑ เป็นต้น ครุกรรมฝ่ายกุศล พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑, หน้า ๑๑๗. 56
  • 11. ถ้าผู้ที่ได้ฌานสมาบัติอยู่แล้วเสื่อมลงสามารถทำาได้ใหม่แต่ผู้ที่ทำา อนันตริยกรรมฝ่ายอกุศลจะติดตัวอยู่ตลอดเวลาไม่มีการเสื่อมแบบ ฝ่ายกุศลแม้ผู้ทำาจะสำานึกผิดแล้วก็ตามก็ไม่สามารถใช้ความเพียร พยายามเจริญสมาธิให้เกิดฌานได้เพราะกำาลังกรรมของอนันตริ ยกรรมฝ่ายอกุศลจะเป็นนิวรณ์ ปิดกั้นจิตไม่ให้บรรลุองค์ฌานได้ ดังนั้นจึงมีคำากล่าวว่าอนันตริยกรรมฝ่ายอกุศลย่อมห้ามทั้งสวรรค์ และมรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบัน ๒. อาสันนกรรมกรรมใกล้ตายหรือกรรมใกล้ดับจิตหมาย ถึงกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำาในเวลาใกล้ตายกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ จิตระลึกถึงเมื่อคราวกำาลังจะตายบางทีเป็นกรรมที่ทำาไว้นานแล้วต่อ มาระลึกถึงเมื่อตอนใกล้ตายแต่ไม่ใช่กรรมที่เป็นครุกรรมถ้าไม่มีครุ กรรมอาสันนกรรมให้ผลก่อนอาสันนกรรมถึงจะเป็นกรรมที่มีพลัง สู้กรรมอื่นไม่ได้แต่สามารถให้ผลของกรรมได้ก่อนกรรมอื่น เปรียบเทียบอาสันนกรรมได้กับโคที่แออัดอยู่ในคอกมีโคแก่อยู่ ปากคอกเมื่อเปิดคอกโค สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, หน้า ๒๑๘. 57
  • 12. แก่สามารถออกจากคอกได้ก่อนโคที่แข็งแรงที่อยู่ข้างใน อาสัน นกรรมจะทำาหน้าที่นำาบุคคลไปเกิดตามกรรม ที่ทำา ถ้าเป็นอกุศล กรรมจะนำาไปเกิดในทุคติ ถ้าเป็น กุศลกรรมจะนำาไปเกิดในสุคติ อาสันนกรรม หมายถึง ชนกกรรม ในประเภทของกรรมที่ให้ผล ตามหน้าที่ จากข้อความดังกล่าวจะเห็นได้ว่าอาสันนกรรมเป็นกรรม เพียงเล็กน้อยไม่มีความรุนแรงมากก็ตามแต่บุคคลไม่ควรประมาท ในการทำากรรมควรรักษาจิตให้ผ่องใสคุ้นเคยกับความดีเอาไว้ เพราะผลของกรรมที่บุคคลทำาไว้นั้นแม้เป็นความชั่วเพียงเล็กน้อย ก็สามารถทำาจิตให้เศร้าหมอง ส่งผลให้ไปเกิดในทุคติได้ อาสัน นกรรมอาจหมายถึง ชนกกรรมก็ได้ ๓. อาจิณณกรรม กรรมที่ทำาเป็นประจำา หมายถึง กรรมดี หรือกรรมชั่วที่ทำาเป็นประจำา สมำ่าเสมอส่งผลให้กลายเป็นนิสัย แม้ว่ากรรมชนิดนี้จะเป็นกรรมที่ทำาเพียงครั้งละเล็กน้อยแต่เมื่อทำา มากเข้า ก็กลายเป็นกรรมที่มากเปรียบได้กับนำ้าที่หยดลงตุ่มทีละ หยด บ่อย ๆ เข้านำ้าก็เต็มตุ่มได้ อาจิณณกรรมจึงเรียกได้อีกอย่าง ว่าพหุลกรรมอาจิณณกรรมอาจหมายถึงกรรมบางอย่างที่ทำาด้วย เจตนาอย่างแรงกล้าทั้งก่อนทำาขณะทำาและหลังทำาแต่เป็นกรรมที่ ทำาไว้เพียงครั้งเดียวและนานมา แล้วและผู้ทำาได้คิดถึงกรรมนั้น บ่อยๆจนเกิดความเคยชินเมื่อทำาเสร็จแล้วผู้ทำาได้คิดถึงการกระทำา นั้นบ่อยๆทุกครั้งที่คิดถึงกรรมนั้นถ้าเป็นกรรมดีก็จะมีความรู้สึกสุข ปีติและถ้าเป็นกรรมชั่วก็จะรู้สึก เป็นทุกข์เศร้าหมองอาจิณณกรรม จะเป็นตัวกำาหนดคติชีวิตที่ไปหลังความตาย ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า กรรม ฝ่ายกุศลหรืออกุศลจะมีมากกว่ากันจึงเปรียบเทียบอาจิณณกรรมทั้ง ๒ ฝ่ายเหมือนนักมวยปลำ้าต่อสู้กันนักมวยปลำ้าคนใดมีกำาลังมากกว่า จะทำาให้คู่ต่อสู้ล้มลงพ่ายแพ้ได้ ๔. กตัตตากรรมกรรมสักว่าทำา หมายถึง กรรมดีหรือชั่วที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรม วิภาค ปริจเฉทที่ ๒, พิมพ์ครั้งที่ ๓๘, (กรุงเทพมหานคร : ๒๕๓๗), หน้า ๑๒๘. สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, หน้า ๒๑๙. พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑ , หน้า ๑๙๐. 58
  • 13. ทำาด้วยเจตนาหรือความตั้งใจ ไม่แรงเพราะไม่มีเจตนาที่ตั้งใจไว้ ก่อนหากไม่มีครุกรรมอาสันนกรรมกรรมนี้จึงจะให้ผลเป็นตัว กำาหนดคติชีวิตหลังความตายไปเกิดในทุคติหรือสุคติตามกรรมที่ ทำากรรมประเภทที่ ๒ เป็นกรรมที่จัด ตามลำาดับการให้ผลก่อนหรือหลังตามความหนักเบาของกรรม ยกเว้นอาสันนกรรมที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขนี้ด้วย เป็นกรรมที่ทำาใน วาระสุดท้ายของจิตส่งผลให้เกิดในทุคติหรือสุคติจึงเป็นกรรมที่ ให้ผลใน ชาติที่ ๒ ค. กรรมประเภทที่ ๓ กรรมให้ผลตามระยะเวลา มี ๔ อย่างคือ ๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้ ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติหน้า ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ๔. อโหสิกรรม กรรมไม่ให้ผล กรรมให้ผลตามระยะเวลา หมายถึง กรรมที่ได้ทำาไปแล้ว เป็นกรรมทั้งในส่วนที่ดีและไม่ดี ย่อมมีระยะเวลาในการให้ผลต่าง กัน กล่าวคือกรรมบางอย่างทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาตินี้กรรมบาง อย่างทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาติหน้า กรรมบางอย่างทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไปจากชาติหน้า ๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้ หมาย ถึง กรรมดี กรรมชั่ว ที่กระทำาในชาตินี้ ให้ผลในชาตินี้เลย เป็น กรรมแรงจึงให้ผลทันตาเห็น กรรมดีให้ผลเป็น ลาภยศสรรเสริญ กรรมชั่วให้ผลเป็นเสื่อมลาภเสื่อมยศนินทา มี ๒ อย่างคือกรรมดี หรือกรรมชั่วที่ให้ผล ภายใน ๗วันและให้ผลภายในชาตินี้กรรม ประเภทนี้จะกลายเป็นอโหสิกรรมต่อเมื่อให้ผลแล้วและ ผู้ที่จะรับ ผลตายจะไม่มีการให้ผลข้ามชาติดังนั้นจึงต้องเป็นกรรมที่ทำาด้วย เจตนาดีแรงกล้ากระทำากับผู้ที่มีคุณวิเศษมีบุญคุณหรือมีความดี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรม วิภาค ปริจเฉทที่ ๒, หน้า ๑๒๖. บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก วิเคราะห์ ๑, หน้า ๑๒๙. 59
  • 14. อย่างมาก ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมจะให้ผลในชาตินี้ได้เลย นั้นต้อง ไม่ถูกทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายตรงข้าม เข้าเบียดเบียนและต้องมี ปัจจัยสำาคัญเกื้อหนุน ๔ ประการ คือ คติ กาล อุปธิ และปโยค ถ้า เกื้อหนุนทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล เรียกว่าสมบัติ ๔ และถ้า เกื้อหนุนทิฏฐธัมมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศลเรียกว่าวิบัติ ๔ กรรม ประเภทนี้จึงเปรียบได้กับนายพรานเนื้อ ยิงลูกธนูไปยังเนื้อ ถ้าถูก เนื้อ เนื้อก็ตาย ถ้าไม่ถูกเนื้อย่อมวิ่งหนีไม่กลับมาให้ยิงอีกนาย พรานจึงเปรียบเหมือนผลของกรรม เนื้อคือ ผู้ทำากรรมที่ต้องรับผล ของกรรมนั้น ๒. อุปปัชชเวทนียกรรมกรรมให้ผลในชาติหน้าหมายถึง กรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำาใน ชาตินี้แต่ยังไม่ให้ผล จะให้ผลใน ชาติถัดไป กรรมประเภทนี้ กลายเป็นอโหสิกรรม ต่อเมื่อให้ผลแล้ว หรือผู้ทำากรรมตายลงก่อนได้รับผล จะไม่ข้ามไปผลในชาติต่อ ๆ ไป ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป ถัด จากชาติหน้าหมายถึง กรรมดี หรือกรรมชั่วที่ทำาในชาตินี้แล้วจะ ให้ผลในชาติต่อๆไปถัดจากชาติหน้าชาติใดชาติหนึ่งเมื่อสบโอกาส เปรียบเหมือนสุนัขไล่เนื้อไล่ตามเนื้อทันเข้าในที่ใดย่อมเข้ากัดใน ที่นั้นดังนั้นกรรมประเภทนี้จึงน่ากลัวกว่ากรรมประเภทที่ ๑ และ ประเภทที่ ๒ ด้วยว่าผลของกรรมจะติดตามผู้กระทำาไปตลอดการ เวียนว่ายตายเกิดจนกว่าจะให้ผลหมดจึงจะกลายเป็นอโหสิกรรม ดังนั้น การให้ผลของกรรมประเภทที่ ๒ และประเภทที่ ๓ ทำาให้ เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องผลของกรรมที่มีความ ซับ ซ้อนส่งผลข้ามภพข้ามชาติ ๔.อโหสิกรรมกรรมที่ให้ผลสำาเร็จแล้วหรือกรรมไม่มีผล หมายถึงกรรมดีหรือกรรมชั่วที่ทำาไว้ให้ผลเสร็จสิ้นแล้วเมื่อไม่มี โอกาสให้ผลในเวลาที่ให้ผลด้วยถูกกรรมชนิดอื่นตัดหน้าให้ผลไป ก่อนจึงอ่อนกำาลังให้ผลไม่ทันและเลิกให้ผลในที่สุดหรือเพราะผู้ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๑๒๙. พระพรหมโมลี (วิลาศ ญาณวโร), กรรมทีปนี, เล่ม ๑, หน้า ๒๕๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ธรรม วิภาค ปริเฉทที่ ๒, หน้า ๑๒๖. 60
  • 15. กระทำากรรมนั้นสำาเร็จเป็นพระอรหันต์นิพพานในชาตินี้แล้วก็ไม่ เวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไปจึงไม่มีตัวตนที่จะต้องมารอรับผลของ กรรมเปรียบเหมือนพืชสิ้นยางแล้วเพาะไม่ขึ้น ดังนั้นอโหสิกรรม จึงหมายถึงการกระทำาความดีต่างๆ ของพระอรหันต์ด้วยย่อมไม่มี ผลเป็นกรรมดีเพราะท่านทำาความดีด้วยจิตที่ปราศจากความ ยึด มั่นถือมั่น ไม่คิดทำาดีเพื่อหวังผลตอบแทนชั้นนอกรวมทั้งไม่คิดทำา ดีเพื่อละกิเลสเพราะกิเลส ได้หมดสิ้นแล้วแต่ยังทำาดีต่อไปอย่างต่อ เนื่องการทำาดีของท่านจึงจัดเป็นเพียงกิริยาไม่จัดเป็นกรรม และ ไม่มีวิบาก กรรม ๑๒ เป็นความรู้เรื่องการให้ผลในส่วนของ ลาภ ยศ สรรเสริญ และเสื่อมลาภ เสื่อมยศนินทาเป็นการกล่าวถึง ผลของกรรมโดยเฉพาะที่กล่าวถึงการให้ผลชั้นนอก เท่านั้นคือให้ ผลเป็นโลกธรรมไม่ได้กล่าวถึงการให้ผลชั้นในคือให้ผลทางด้าน จิตใจตลอดจนเป็น การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกรรมเก่า ในอดีตชาติกับกรรมใหม่ในชาติปัจจุบัน เช่น กรรมเก่า ในอดีต ชาติทำาหน้าที่เป็นชนกกรรมแล้วกรรมเก่าในอดีตชาติอย่างอื่น หรือกรรมใหม่ในชาติปัจจุบันอาจทำาหน้าที่เป็นอุปัตถัมภกกรรม อุปปีฬกกรรม และอุปฆาตกรรมก็ได้ และทำากรรมเพียงประเภท เดียวอาจเป็นกรรมได้ถึง ๓ ประเภทพร้อม ๆ กันเช่นถ้าเราฆ่า บิดาเป็นทั้งครุกรรมเป็นทั้ง ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมและเป็นทั้งอุป ฆาตกรรม สรุปได้ว่า กรรม ๑๒ เป็นมติของอรรถกถาจารย์ที่กล่าวไว้ ในอรรถกถาโดยมีวัตถุประสงค์รวบรวมคำาสอนเรื่องกรรมจากพระ ไตรปิฎกแล้วจัดแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทตามทางให้ผลของกรรม คือ ๑. กรรมให้ผลตามหน้าที่ ๒. กรรมให้ผลก่อนหรือหลัง ๓. กรรมให้ผลตามระยะเวลา การที่ พระอรรถกถาจารย์ได้อธิบาย ขยายความเรื่องกรรมทำาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาตลอดจนผู้ สนใจทั้งหลายเพราะทำาให้เกิดความเข้าใจชัดเจนขึ้นทำาให้ผู้ศึกษา อ้างแล้ว. บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก วิเคราะห์ ๑, หน้า ๑๓๐. บรรจบ บรรณรุจิ, ปฏิจจสมุปบาท, หน้า ๒๐๑. บรรจบ บรรณรุจิ, เอกสารประกอบการสอนพระไตรปิฎก วิเคราะห์ ๑, หน้า ๑๓๑. แสง จันทร์งาม, พุทธศาสนวิทยา, หน้า ๑๑๕. 61
  • 16. มองเห็นภาพเกี่ยวกับกรรมและการให้ผลของกรรมเมื่อเข้าใจแล้ว จะได้ปฏิบัติถูกต้องไม่มีความสงสัยว่าตนปฏิบัติถูกหรือไม่ถูกอีกต่อ ไปเมื่อรู้แล้วจะได้หาทางป้องกันไม่ทำากรรมที่จะนำาตัวเองไปสู่ อบายหรือความเสื่อมเช่น ครุกรรม๕ อย่างที่นำาผู้ไปสู่ความทุกข์ ความเดือดร้อนที่กรรมอื่นไม่สามารถต้านทานไว้ได้ เป็นต้น เมื่อ รู้จักกรรมที่ควรงดเว้นแล้วจะได้หมั่นประกรรมที่ควรประกอบอันจะ นำาตนเองไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ๓.๓ แนวทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา กรรมเป็นหลักธรรมสำาคัญอันดับต้น ๆ ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนเรื่องกรรม ให้เชื่อกรรมคือการกระทำามากกว่า เชื่ออย่างอื่น เช่น พระองค์ตรัสว่า เวลาใดก็แล้วแต่ที่คนทำาดี เวลา นั้นก็จะเป็นเวลาดีมงคลดีสำาหรับคนนั้น และกรรมนั้นก็จะให้ผลใน โอกาสต่อไปการให้ผลของกรรมนั้นแตกต่างจากการให้ผลของสิ่ง อื่นคนสองคนทำากรรมเหมือนกันแต่อาจจะได้ผลไม่เหมือนกัน หรือได้ผลเหมือนกันแต่ไม่เท่ากันก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเจตนาหรือ ความตั้งใจของแต่ละคน เช่น คนหนึ่งทำาบุญด้วยศรัทธาอย่างแรง กล้าแล้วปรารถนาในอานิสงส์ของบุญที่ตนทำาอีกคนหนึ่งทำาบุญ เพื่อรักษาสถานภาพทางสังคมหรือทำาเพื่อรักษาหน้าตาของตัวเอง แบบจำาใจทำาไม่ได้ทำาด้วยศรัทธา คนสองคนนี้จะได้ผลของบุญที่ ทำาต่างกันอย่างแน่นอนเพราะฉะนั้นทัศนะเกี่ยวกับการให้ผลของ กรรมในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าตรัสไว้ในฐานสูตรและ ปพฺพชิตอภิณหสูตรว่า “เรามีกรรมเป็น ของของตน เรามีกรรม เป็นทายาท เรามีกรรมเป็นกำาเนิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ เรา มีกรรมเป็นที่พึ่ง อาศัย เราทำากรรมใดไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม เราจะ ต้องได้รับผลของกรรมนั้น” นอกจากนี้ยังมีพุทธพจน์หลายแห่งที่พระองค์ตรัสเกี่ยวกับ เรื่องกรรมจึงกล่าวได้ว่าพระองค์ ให้ความสำาคัญกับเรื่องกรรมมาก ผู้วิจัยจะได้นำาเสนอเรื่องกรรม เป็นลำาดับไป ๓.๓.๑ ความสำาคัญของกรรม องฺ. ปญฺจก. (ไทย) ๒๒/๕๗/๙๙-๑๐๐. องฺ. ทสก. (ไทย) ๒๔/๔๘/๑๐๔-๑๐๕. 62
  • 17. หลักกรรมมีความสำาคัญต่อบุคคลและสังคม ดังที่พระธรรม ปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงคุณค่าทางจริยธรรมของหลักกรรมมี ดังนี้ ๑. ให้เป็นผู้หนักแน่นในเหตุผล รู้จักมองเห็นการกระทำา และผลการกระทำาตามแนวทาง ของเหตุปัจจัยไม่เชื่อสิ่งงมงาย ตื่นข่าว เช่น เรื่องแม่นำ้าศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ๒. ให้เห็นว่าผลสำาเร็จที่ตนต้องการ จุดหมายที่ปรารถนาจะ เข้าถึงความสำาเร็จได้ด้วยการ ลงมือทำาจึงต้องพึ่งตน และทำาความเพียรพยายามไม่รอคอยโชค ชะตา หรือหวังผลด้วยการอ้อนวอน เซ่นสรวงต่อปัจจัยภายนอก ๓. ให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ก็จะงดเว้นจากกรรมชั่ว และรับผิดชอบต่อผู้อื่น ด้วยการ กระทำาความดีต่อเขา ๔. ให้ถือว่า บุคคลมีสิทธิ์โดยธรรมชาติที่จะทำาการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปรับปรุง สร้างเสริม ตนเองให้ดีขึ้นไปโดยเท่าเทียมกัน สามารถทำาตนให้เลวลงหรือให้ดี ขึ้น ให้ประเสริฐจนถึงยิ่งกว่าเทวดาและพรหมได้ทุก ๆ คน ๕. ให้ถือว่าคุณธรรม ความสามารถและความประพฤติ ปฏิบัติ เป็นเครื่องวัดความทราม หรือประเสริฐของมนุษย์ ไม่ให้มีการแบ่งแยกโดยชั้นวรรณะ ๖. ในแง่กรรมเก่า ให้ถือเป็นบทเรียน และรู้จักพิจารณา เข้าใจตนเองตามเหตุผล ไม่ค่อย เพ่งโทษแต่ผู้อื่น มองเห็นพื้นฐานของตนเองที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อรู้ ที่จะแก้ไขปรับปรุง และวางแผน สร้างเสริม ความเจริญก้าวหน้าต่อไปได็้ถูกต้อง ๗. ให้ความหวังในอนาคตสำาหรับสามัญชนทั่วไป ตามที่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อธิบายความสำาคัญ ของกรรมไว้นั้น พอสรุปได้ว่า กรรมมีความสำาคัญต่อวิถีชีวิตของบุคคลและสังคม ด้วยผู้ที่เชื่อ เรื่องกรรม จะเป็นผู้มีเหตุผลรับผิด ชอบการกระทำาของตนและ พระธรรมปิฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ ขยายความ, หน้า ๒๑๓–๒๑๔. 63
  • 18. ปรับปรุงพัฒนาการกระทำาของตนเองด้วยความเพียร โดยมีความ หวังถึง อนาคตที่ดีรออยู่ข้างหน้า ตลอดจนยอมรับนับถือคุณค่าของคนที่มี คุณธรรม ๓.๓.๒ กฏแห่งกรรม กฎแห่งกรรมตามทัศนะของพระพุทธศาสนาแยกพิจารณา ได้ ๒ ประเด็น คือ ก. กฎแห่งกรรมในฐานะกฎธรรมชาติ พระพุทธศาสนาสอนหลักความจริงที่ว่า สิ่งทั้งหลายทั้ง ปวง มีชีวิตและไม่มีชีวิตล้วนเป็นไปตามธรรมชาติแห่งเหตุปัจจัย ที่ เรียกกันว่า กฎแห่งธรรมชาติ หรือนิยาม อันหมายถึงความเป็น ระเบียบ มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัวอยู่แล้วในธรรมชาติ ไม่มีสิ่ง ใดเกิดขึ้นลอย ๆโดยไม่มีที่มา และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งอื่น ทุก อย่างล้วนเป็นเหตุเป็นผลกันตามหลักของอิทัปปัจจยตาที่กล่าวมา “สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกันและกัน ในฐานะสิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุและ ”สิ่งหนึ่งเป็นผล ทั้งนี้ สิ่งทั้งหลายทั้งปวง จึงมีเหตุปัจจัยเกิดจาก กฎธรรมชาติมิใช่พระผู้เป็นเจ้า หรือผู้ใดมากำาหนดไว้ พระพุทธ ศาสนาจึงเป็นศาสนาอเทวนิยมกฎแห่งกรรม เป็นกฎแห่งเหตุผลที่มี ความสัมพันธ์กันระหว่างกรรมกับผลของกรรมอันเป็นกฎที่แน่นอน และตายตัว กรรมแต่ละประเภทถูกกำาหนดไว้จากธรรมชาติแล้วว่า กรรมแบบไหน ให้ผลแบบไหน เปรียบเทียบได้กับผู้ที่ปลูกต้น มะม่วงย่อมได้ผลมะม่วงอย่างแน่นอนจะเป็นผลไม้ชนิดอื่นไม่ได้ กฎแห่งกรรม จึงเป็นกฎแห่งเหตุและผล หรือกฎธรรมชาติที่เรียก สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, พิมพ์ครั้งที่ ๒, หน้า ๑๖๔. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและ ขยายความ, หน้า ๑๕๒. สมภาร พรมทา, พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐), หน้า ๗๕. 64
  • 19. ว่ากรรมนิยาม อันเป็นกฎแห่งเหตุและผลที่เกี่ยวกับการกระทำาของ มนุษย์ สรุปได้ว่า กฎแห่งกรรมเป็นกฎแห่งเหตุและผลมีความ แน่นอนในการให้ผลของกรรม ซึ่งถูกกำาหนดโดยกฎของธรรมชาติไว้แล้วว่า เมื่อทำากรรมแบบนี้ จะได้รับผลตอบแทนแบบนี้ โดย ทั้งหมดดำาเนินไปตามกฎของอิทัปปัจจยตา กฎแห่งกรรมจึงมีฐานะ เป็นกฎแห่งธรรมชาติ ข. กฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎทางศีลธรรม กฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎทางศีลธรรม มีความหมาย เช่นเดียวกับประเด็นกฎธรรมชาติ คือเป็นกฎแห่งเหตุและผล ประเด็นกฎแห่งธรรมชาติครอบคลุมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ประเด็นกฎแห่งศีลธรรมครอบคลุมเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่สามารถมี เจตจำานงเสรีได้เท่านั้น เพราะสามารถกำาหนดพฤติกรรมเป็นดีหรือ ชั่ว ตามมาตรฐานทางศีลธรรมที่ใช้ในสังคมมนุษย์ส่วนพฤติกรรม ที่มาจากสัญชาตญาณไม่สามารถกำาหนดด้วยคุณค่าทางศีลธรรม ได้กรรมนิยามหรือกฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติส่วนที่ทำาหน้าที่ ดูแลการกระทำาที่แฝงค่าทางศีลธรรมของมนุษย์ กฎแห่งกรรม จะบันทึกการกระทำาของบุคคลแต่ละคนและคอยโอกาสให้ผลตอบ สนอง พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงกฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎทางศีล ธรรม มีปรากฏในพระไตรปิฎกว่า “คนทำากรรมใดไว้ ย่อมเห็น นิยาม ๕ ที่นอกเหนือจากกรรมนิยามมีอีก ๔ ประการคือ ๑. อุตุนิยาม กฎธรรมชาติเกี่ยวกับอุณหภูมิ สภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ๒. พีชนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการสืบพันธ์หรือพันธุกรรม ๓. จิตตนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการทำางานของจิต ๔. ธรรมนิยาม กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์และอาการที่ เป็นเหตุและผลแก่กันของสิ่งทั้งหลายหรือความเป็นธรรมแห่งเหตุปัจจัย เช่น สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา. ดูเพิ่มเติมใน พระธรรม ปิฎก, (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, ฉบับปรับปรุงและขยายความ, หน้า ๑๕๒-๑๕๓. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), เชื่อกรรม รู้กรรม แก้กรรม , พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๔๕), หน้า ๕๔. สุนทร ณ รังษี, พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก, หน้า ๑๖๖. 65
  • 20. กรรมนั้นในตน คนทำากรรมดี ย่อมได้รับผลดี คนทำากรรมชั่ว ย่อม ได้รับผลชั่ว คนหว่านพืชเช่นใด ”ย่อมได้รับผลเช่นนั้น จากพระพุทธพจน์ดังกล่าว เห็นได้ว่า มนุษย์ทุกคนมีกฎ แห่งกรรม หรือกรรมนิยามกำากับ ดูแลพฤติกรรมที่มีคุณค่าทางศีล ธรรม และรอคอยเวลาให้ผลตอบแทนตามคุณภาพของกรรม ตาม เหตุและผลที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน ถ้าเป็นกรรมดี ผลที่ได้ รับเป็นความดี (สุข) ถ้าเป็นกรรมชั่ว ผลที่ได้รับเป็นความชั่ว (ทุกข์) เปรียบเทียบการให้ผลของกรรม เช่นเดียวกับการปลูกพืช ปลูกพืชชนิดใดได้ผลพืชชนิดนั้น ปลูกข้าวย่อมได้ข้าว จะเป็น เผือกหรือมันนั้นเป็นไปไม่ได้ กฎแห่งกรรมในฐานะเป็นกฎศีล ธรรม มีกฎเกณฑ์ตายตัวเหมือนกฎธรรมชาติข้ออื่น ๆ ดีเป็นดี ชั่ว เป็นชั่ว ไม่มีการยกเว้นหรือยืดหยุ่น แต่เป็นการให้ผลทางด้าน จิตใจเท่านั้น การให้ผลชั้นนอกต้องอาศัยองค์ประกอบอื่น ๆ มาส นับสนุน สรุปได้ว่า มนุษย์ต้องรับผิดชอบการกระทำาของตน โดยมี กฎแห่งกรรมในฐานะกฎศีลธรรมคอยกำากับดูแล มีกระบวนการให้ ผลที่สัมพันธ์กับเหตุที่เป็นกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวไม่มีข้อยกเว้น แต่เป็นผลระดับจิตใจ แต่ก็สามารถหลุดพ้นจากกรรมที่ตนทำาได้ ถ้าสามารยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ทำาอาสวะ ภายในของตนให้หมดสิ้นไป จนเป็นพระอรหันต์ก็จะไม่ต้องรับกร รมอื่นๆ ที่จะต้องรับต่อไปในภพภูมิข้างหน้าเพราะไม่ได้กลับมาเกิด อีกจึงไม่ต้องรับกรรมเหล่านั้นหลังจากตายหรือนิพพานที่เป็นอนุ ปาทิเสสนิพพานคือนิพพานไม่เหลือขันธ์ ๕ สมภาร พรมทา, พุทธปรัชญา, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๒), หน้า ๓๑๑-๓๑๒. ขุ.ชา. (ไทย) ๒๗/๓๕๓/๒๐๑. 66
  • 21. ๓.๓.๓ สาเหตุการเกิดกรรม แนวทัศนะเกี่ยวกับกรรมตามหลักพระพุทธศาสนา ได้แบ่ง แหล่งเกิดของกรรมออก ๒ ประเภท คือ ๑. เกิดจากตัณหา ได้แก่ พอใจ ชอบใจยินดี อยาก รักใคร่ ต้องการ ที่ไม่ดี ไม่สบาย ไม่ เกื้อกูล เป็นอกุศล ๒. เกิดจากฉันทะ ได้แก่ พอใจ ยินดี อยาก รัก ใคร่ ต้องการ ที่ดีงาม สบาย เกื้อกูล เป็นกุศล ตัณหา แปลได้อีกอย่างว่า ความกระหาย ความทะยาน ความอยาก ความเสน่หา ความดิ้นรน ความกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ไม่รู้จักอิ่ม ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลเหตุ กล่าวคือ เมื่อบุคคลรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่าง หนึ่ง ที่น่าชอบใจหรือไม่น่าชอบใจก็ตาม เช่น เห็นรูปสวยหรือน่า เกลียด ได้ยินเสียงไพเราะหรือหนวกหู เป็นต้น แล้วเกิดความรู้สึก สุข หรือทุกข์ หรือเฉย ๆ ขึ้น ในเวลานั้นตัณหาก็จะเกิดขึ้นใน ลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ถ้ารู้สึกสุข พฤติกรรมที่แสดงออกมา ก็ยินดี ชื่นชอบ คล้อยตามไป ติดใจ ใฝ่รัก อยากได้ ถ้ารู้สึกทุกข์ พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็ยินร้าย ขัดใจ ชัง อยากเลี่ยงหนี หรือ อยากให้สูญสิ้นไปเสีย ถ้ารู้สึกเฉย ๆ พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็เพ ลินๆ เรื่อยเฉื่อยไป พฤติกรรมเหล่านี้มันเป็นไปของมันได้เอง โดย ไม่ต้องใช้ความคิด ไม่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจอะไรเลย จึงอาจ พูดได้อย่างง่าย ๆ ว่า ตัณหานั่นเองเป็นบ่อเกิดของพฤติกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ ดังนั้น ตามหลักพระพุทธศาสนา บทบาทและการทำา หน้าที่ของตัณหาเหล่านี้ได้เป็นตัวกำาหนดการดำาเนินชีวิตส่วน ใหญ่ของมนุษย์ ตัณหาที่เป็นบ่อเกิดของกรรมมนุษย์แบ่งเป็น ๓ ด้านดังนี้ ๑. กามตัณหา คือความกระหายอยากได้อารมณ์ที่น่า ชอบใจมาเสพเสวยปรนเปรอตน หรือความทะยานอยากในกาม ๒. ภวตัณหา คือ ความกระหายอยากในความถาวรมั่นคง มีคงอยู่ตลอดไป ความใหญ่โตโดดเด่นของตน หรือความทะยาน อยากในภพ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับปรับปรุง และขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำากัด, ๒๕๔๙), หน้า ๔๙๐. ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๒๖๓. 67
  • 22. ๓. วิภวตัณหา คือ ความกระหายอยากในความดับสิ้นขาด สูญ แห่งตัวตน หรือความทะยานอยากในวิภพ ตัณหาทั้ง ๓ ด้านนี้ย่อมทำาให้พฤติกรรมของมนุษย์ดำาเนิน ไปในทิศทางต่างๆ เช่น ได้สิ่งที่ชอบใจ พอใจก็เป็นสุข และ แสวงหาสิ่งที่ชอบใหม่ไปเรื่อยๆ ถ้าได้สิ่งที่ไม่น่าชอบใจก็อยากจะ ไปให้พ้นจากสิ่งเหล่านั้น ซึ่งพฤติกรรมจะเป็นอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่ กับว่าใครมีตัณหาทั้งสามด้านนี้มากน้อยอย่างไร ส่วนฉันทะ หมายถึง กุศลธรรม ความพึงพอใจ ความ ชอบ ความอยากได้ในสิ่งที่ดีงาม เกื้อกูลต่อชีวิตจิตใจ เป็นไปเพื่อ ประโยชน์สุขทั้งแก่ตนและคนอื่น หรือแปลอีกอย่างหนึ่งได้ว่า มี ความพอใจในความดีงาม ความต้องการในความจริง ความ ต้องการเล็งไปถึงความรู้ คือเท่ากับพูดว่าต้องการรู้ความจริง ต้องการเข้าถึงตัวธรรม ดังนั้นกรรมที่เป็นฉันทะนี้ ย่อมมีการ แสดงออกมาในทางดีงาม สร้างสรรค์ ใฝ่ดี รักดี เป็นต้น จากที่กล่าวมาโดยสังเขปนี้ทำาให้เห็นความแตกต่าง ระหว่างกรรมที่ตัณหาเป็นบ่อเกิดและฉันทะเป็นบ่อเกิดได้ดังนี้ ๑. ตัณหา มุ่งประสงค์เวทนา ดังนั้น จึงต้องการสิ่งสำาหรับ เอามาเสพเสวยเวทนา เอาอัตตาเป็นศูนย์กลาง กรรมที่แสดงออก มาย่อมเป็นไปอย่างสับสน กระวนกระวาย เป็นทุกข์ ๒. ฉันทะ มุ่งประสงค์ที่ประโยชน์ กล่าวคือ ประโยชน์ที่ เป็นคุณค่าแท้จริงแก่ชีวิต หรือคุณภาพชีวิต ดังนั้น กรรมที่ แสดงออกมาจึงมุ่งไปที่ความจริ'สิ่งที่ดีงาม เพราะฉันทะก่อตัวจาก โยนิโสมนสิการคือความรู้จักคิดหรือคิดถูกวิธีคิดตามสภาวะและ เหตุผลเป็นภาวะกลางๆไม่ผูกพันกับอัตตาและนำาไปสู่อุตสาหะหรือ วิริยะคือทำาให้เกิดกรรมที่จะแสวงหาสิ่งที่เป็นความดีงามนั่นเองบ่อ เกิดของกรรมในพระพุทธศาสนาจึงมุ่งเน้นที่มโนกรรมที่มีตัณหา และฉันทะเป็นมูลเหตุและเป็นสมุฏฐานในการเกิดพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์โดยพฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งดีและไม่ดีและที่เป็น กลางๆคือไม่ดีไม่ชั่วก็มีทั้งนี้เนื่องมาจากเจตสิกที่มาอาศัยจิตเป็นตัว กระตุ้นให้เกิดเจตสิกจึงเป็นพลังที่ควบคุมร่างกายมนุษย์ให้กระทำา การต่างๆในการแสดงพฤติกรรมทุกๆอย่างที่ปรากฏออกมาทาง กาย วาจา และใจ ๓.๓.๔ ทางแห่งการทำากรรม 68
  • 23. ทางหรือทวารแห่งการทำากรรม หรือสิ่งที่ทำาให้เกิดกรรม มี อยู่ ๓ ทาง คือ ๑. กายกรรม การกระทำาทางกาย ๒. วจีกรรม การกระทำาทางวาจา ๓. มโนกรรม การกระทำาทางใจ ทางแห่งการทำากรรม ของบุคคลมี ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และทางใจ ขณะที่บุคคลดำาเนินชีวิตประจำาวันได้ ทำากรรมทางใจตลอดเวลา ๓.๓.๕ เกณฑ์ตัดสินกรรมดีกรรมชั่ว การกระทำาที่จัดว่าเป็นกรรมหรือไม่นั้น พระพุทธศาสนาให้ ถือหลักของเจตนาเป็นหลัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนการกระ ทำาใดจัดเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่วนั้น พระพุทธเจ้าทรงให้เกณฑ์ การตัดสินไว้ดังต่อไปนี้ ๑. พิจารณาตามสาเหตุการเกิดกรรม สรุปได้ว่า การกระทำา ที่มีเจตนามาจาก อโลภะ อโทสะ อโมหะ จัดเป็นกรรมดี การกระทำา ที่มีเจตนามาจาก โลภะ โทสะ โมหะ จัดเป็นกรรมชั่ว ๒. พิจารณาตามผลของการกระทำาว่า การกระทำาที่ “บุคคลทำากรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง อิ่มเอิบ ดีใจ เสวยผลกรรมอยู่กรรมนั้นชื่อว่า ”กรรมดี ส่วนการกระทำาที่ ม.ม. (ไทย) ๑๓/๕๖/๕๕. รายละเอียดว่า “ตปัสสี เราบัญญัติใน การทำาชั่วในการประพฤติชั่วไว้ ๓ ประการ คือ ๑. กายกรรม ๒. วจีกรรม ๓. มโนกรรม... ตปัสสี กายกรรมก็อย่างหนึ่ง วจีกรรมก็อย่างหนึ่ง มโนกรรมก็อย่างหนึ่ง...” ความดี เรียกว่า “กุศลกรรม” บ้าง “สุจริตกรรม” บ้าง “บุญ” บ้าง ไทยแปลว่า “ทำาความดี”กรรมชั่ว เรียกว่า “อกุศลกรรม” บ้าง “ทุจริต” บ้าง “บาป” บ้าง ไทยแปลว่า “ทำาความชั่ว” (บรรจบ บรรณรุจิ) “เอกสาร ประกอบการสอนวิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ ๑,” (กรุงเทพมหานคร : บัณฑิตวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๕ (อัดสำาเนา), หน้า ๑๒๖). องฺ ติก. (ไทย) ๒๐/๑๑๒/๓๕๓-๓๕๔, องฺ ฉกฺก. (ไทย) ๒๒/๓๙/๔๙๐. ขุ.ธ. (ไทย) ๒๕/๖๘/๔๘. 69