SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 20
Descargar para leer sin conexión
1
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education):
พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่“คน”
Thu, 11/19/2009 - 12:33 | by admin
โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทนา : ความล้มเหลวของประชาธิปไตยในประเทศไทย
จากตัวเลขการรัฐประหารที่ฉีกรัฐธรรมนูญจานวน 8 ครั้ง การรัฐประหารที่ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญอีก
4 ครั้ง และรัฐธรรมนูญจานวน 18 ฉบับในระยะเวลา 76 ปี กับเหตุการณ์นองเลือดอีก 3
เหตุการณ์ โดยมีสิ่งที่ได้มาคือ การเมืองที่ยังไม่ก้าวหน้าไปไหน นักการเมืองแก่งแย่งตาแหน่ง
แบ่งเก้าอี้ ประชาชนแตกแยกขัดแย้งแบ่งข้าง และเกิดความรุนแรงจนเกือบจะเกิดเหตุการณ์
นองเลือดหลายครั้งในช่วงปี 2551 จนถึงช่วงสงกรานต์ปี 2552 ที่ผ่านมา โดยยังคงมีแนวโน้มที่
อาจจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงอีก หรืออาจถึงขนาดเป็นสงครามกลางเมืองในอนาคต เป็นสิ่งที่ทา
ให้เรากล่าวได้ว่า ประชาธิปไตย – อย่างน้อยจนถึงในขณะนี้ – ไม่ประสบความสาเร็จ ใน
ประเทศไทย
ทาไมประชาธิปไตยที่ประสบความสาเร็จในยุโรปและในอเมริกา จึงกลับล้มเหลวในประเทศ
ไทย เป็นเพราะประชาธิปไตย ไม่เหมาะ กับประเทศไทย หรือปัญหาอยู่ที่ คนไทย ? ถ้าความ
ล้มเหลวของประชาธิปไตยมีสาเหตุมาจาก คนไทย แล้ว ใคร หรือคนกลุ่มไหนในประเทศไทย
เป็นตัวปัญหาที่ทาให้ประชาธิปไตยล้มเหลว ?
1. ทหาร : การเมืองไทยวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์ – ปฏิวัติรัฐประหาร – ฉีกรัฐธรรมนูญ
เป็นเพราะทหาร ถ้าทหารปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ไขไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่
ยึดอานาจ ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยของไทยคงจะเติบโตขึ้นมาได้ ไม่เดินเวียนวน
กลับมาเริ่มต้นใหม่ทุกครั้งไป และไม่ล้มเหลวดังเช่นทุกวันนี้
2. นักการเมือง : ถ้านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช้อานาจในทางที่มิชอบ ไม่
ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ซื้อเสียง และสามารถแก้ปัญหากันเองได้ตามวิถีทางประชาธิปไตย
2
ทหารจะมีเหตุในการยึดอานาจได้อย่างไร ดังนั้น สาเหตุความล้มเหลวของประชาธิปไตย
ไทยก็คือนักการเมือง
3. ประชาชน : นักการเมืองจะซื้อเสียงได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่ขายเสียงให้ ทหารจะ
ปฏิวัติได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่เรียกร้องหรือไม่ให้ความสนับสนุน ดังนั้น ประชาชน
ต่างหากคือสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลวของประชาธิปไตยในประเทศไทย
ใครคือสาเหตุของความล้มเหลวของประชาธิปไตยในประเทศไทย ก. ทหาร ข. นักการเมือง
หรือ ค. ประชาชน ? คาตอบที่ถูกต้องคือ ง. ถูกทุกข้อ เราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทหาร นักการเมือง
หรือประชาชน จะมากจะน้อยต่างก็มีส่วนต่อความล้มเหลวของประชาธิปไตยด้วยกันทั้งสิ้น
เพราะจริงๆ แล้ว เราอาจจะมิได้ ศรัทธา ต่อระบอบประชาธิปไตย หรือ เข้าใจ เรื่องของการ
ปกครองในระบอบนี้กันอย่างแท้จริง เราจึงไม่สามารถใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหา
และนี่คือสาเหตุที่แท้จริงที่ทาให้ระบอบประชาธิปไตยไม่ประสบความสาเร็จในประเทศไทย
ในระบอบประชาธิปไตย คน เป็นสิ่งที่สาคัญไม่น้อยไปกว่า ระบบ ถึงแม้เท่าที่ผ่านมาเรามักจะ
กล่าวกันว่า ประชาธิปไตยไทยไม่ประสบความสาเร็จ เพราะประชาชนไม่มี “จิตสานึก
ประชาธิปไตย” เราจึงพยายาม “เผยแพร่ประชาธิปไตย” กันมาตลอดเวลา แต่ทาไม
ประชาธิปไตยถึงยังล้มเหลว ทั้งๆ ที่เรามีการศึกษาภาคบังคับ ๑๒ ปี ทาไมเราจึงยังไม่สามารถ
“ปลูกฝังประชาธิปไตย” ให้มั่นคงในประเทศไทยได้ มีอะไรบางอย่างที่เราทาผิดพลาดไป หรือ
ไม่ได้ทาหรือไม่
แล้ว “ประชาธิปไตย” ที่เราพยายามเผยแพร่ พยายามปลูกฝัง พยายามสร้างจิตสานึก คืออะไร
จริงๆ แล้วเราเข้าใจ “ประชาธิปไตย” กันแค่ไหน เราเข้าใจกันอย่างแท้จริงหรือไม่ว่า
“ประชาธิปไตย” คืออะไร ?
“ประชาธิปไตย” คืออะไร
ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อานาจสูงสุดในประเทศเป็นของ
ประชาชน (ประชา + อธิปไตย) โดยประชาชนเป็นผู้ปกครองตนเอง หรือเป็นการปกครอง โดย
ประชาชน ประเทศใดปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประเทศนั้นประชาชนจะมีฐานะ
เป็น เจ้าของประเทศ เมื่อเป็นเจ้าของประเทศประชาชนย่อมมีสิทธิและมีเสรีภาพในประเทศ
3
ของตน เช่นเดียวกับเจ้าของบ้านที่มีสิทธิและมีเสรีภาพในบ้านของตน ประชาธิปไตยจึง
แตกต่างจากระบอบการปกครองระบอบอื่น เพราะระบอบอื่นประชาชนจะเป็นเพียง ผู้อาศัย
และจะมีสิทธิเสรีภาพเพียงเท่าที่ผู้มีอานาจของประเทศจะ อนุญาต ให้มีเท่านั้น
ในประเทศไทยนั้น อานาจสูงสุดในประเทศ หรือ อานาจอธิปไตย ได้กลายเป็นของ
ประชาชน เมื่อได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติ
ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ” ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน
๒๔๗๕ หรือสามวันหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมีคาปรารภและมาตราแรก
ดังต่อไปนี้
โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้
เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคาขอร้องของคณะราษฎร จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้ มาตรา 1 อานาจสูงสุดในประเทศนั้นเป็นของ
ราษฎรทั้งหลาย ...
รัชกาลที่เจ็ดได้ทรงลงพระปรมาภิไธยที่ท้ายรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดย ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราช
โองการ ดังเช่นพระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแตกต่างไปจาก
รัฐธรรมนูญอีก 17 ฉบับต่อมาหลังจากนั้นที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเสมอ รัฐธรรมนูญ
ฉบับแรกนี้จึงเป็น รอยต่อ ระหว่าง ระบอบราชาธิปไตย ที่อานาจสูงสุดเป็นของ
พระมหากษัตริย์ กับ ระบอบประชาธิปไตย ที่อานาจสูงสุดเป็นของประชาชน และมีฐานะ
เป็น หนังสือมอบอานาจสูงสุดในประเทศ ให้กับ “ราษฎรทั้งหลาย” โดยพระมหากษัตริย์ซึ่ง
เป็นเจ้าของอานาจแต่เดิม ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยมอบอานาจนั้นด้วยพระองค์เอง ระบอบ
ประชาธิปไตยที่ “อานาจสูงสุดในประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย ” โดยมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเริ่มต้นในประเทศไทยนับแต่บัดนั้น
เมื่ออานาจสูงสุดในประเทศเป็นของประชาชน ประชาธิปไตยจึงก่อให้เกิด หลักสิทธิ
เสรีภาพ และต้องมีการประกันสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ และโดยที่
ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของประเทศ ตามหลักกฎหมายในเรื่องการเป็น เจ้าของร่วม นั้น ถ้า
ของสิ่งใดมีเจ้าของมากกว่าหนึ่งคน ทุกคนย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของในสิ่งของนั้นอย่างเสมอกัน ถ้า
เอาไปขายก็ต้องแบ่งให้มีส่วนแบ่งไปเท่าๆ กัน ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคน
4
– ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน หรือมีการศึกษาสูงต่าอย่างไร หรือยากดีมีจนแค่ไหน หรือนับถือศาสนา
ใด – ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศอย่างเสมอกัน ทานองเดียวกันกับการที่คนหลายคนร่วมกัน
เป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านทุกคนย่อมมีสิทธิและมีเสรีภาพในบ้านหลังนี้อย่างเสมอ
กัน โดยเหตุนี้ ประชาธิปไตยนอกจากจะทาให้เกิดสิทธิเสรีภาพ ยังทาให้เกิด หลักความเสมอ
ภาค ขึ้นมาพร้อมกันด้วย
ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยประชาชนจึงมีความเท่าเทียมกัน ในระบอบนี้
ประชาชนจะเป็นเจ้าของชีวิต มีสิทธิส่วนบุคคล และมีเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง
โดยที่ไม่จาเป็นต้องคิดเหมือนกัน เชื่อเหมือนกัน หรือเห็นเหมือนกัน หากสามารถที่
จะ แตกต่าง กันได้ ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของความ หลากหลาย ภายใต้หลักความเสมอ
ภาค สาหรับในเรื่องอันเป็นเรื่องของส่วนรวม หรือในเรื่องของการเมืองการปกครอง โดยเหตุที่
ประชาชนแตกต่างกันและมีความเห็นที่แตกต่างกันได้ หากไม่สามารถ เห็นพ้องต้องกัน ได้
ประชาธิปไตยซึ่งเป็น การปกครองโดยประชาชน ก็จะต้องตัดสินปัญหาโดยใช้ หลักเสียง
ข้างมาก แต่การใช้หลักเสียงข้างมากอย่างเดียว จะกลายเป็น เผด็จการเสียงข้างมาก ไปได้
ประชาธิปไตยจึงต้องมีการ คุ้มครองเสียงข้างน้อย ด้วย เพราะประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการ
ปกครองแบบพวกมากลากไป หรือระบอบพวกมากเป็นใหญ่ เสียงข้างมากจึงต้องรับฟังและ
เคารพเสียงข้างน้อยด้วย
หลักประชาธิปไตยทั้งสามประการนี้คือ หนึ่ง อานาจสูงสุดเป็นของประชาชนและเป็นการ
ปกครองโดยประชาชน สอง สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค และ สาม การปกครองโดยเสียง
ข้างมากที่คุ้มครองเสียงข้างน้อย คือความหมายและหลักการของ “ประชาธิปไตย” ประชาชน
ชาติใดที่ต้องการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จะต้องนาหลักการดังกล่าวนี้มาเขียนเป็น
กติกา เพื่อใช้ในการปกครองตนเองของประชาชน กติกานี้ก็คือ รัฐธรรมนูญ นั่นเอง
ประชาธิปไตยคือการปกครองโดย “กติกา” ที่มาจากประชาชน
ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นการปกครองโดยกติกา หรือ การปกครองโดยกฎหมาย (The Rule
of Law) หรือที่เรียกว่า “นิติรัฐ” ซึ่งหมายถึงรัฐที่ปกครองโดยกติกา มิใช่ปกครองโดย อาเภอใจ
หรือ ใช้กาลัง โดยทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กติกาหรือกฎหมายอย่างเสมอกัน รัฐบาลก็จะต้องอยู่
ภายใต้กฎหมาย และจะมีอานาจกระทาการใดที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพประชาชนได้ต่อเมื่อมี
5
กฎหมายให้อานาจไว้เท่านั้น และเนื่องจากประชาธิปไตยคือการปกครองโดยประชาชน
กฎหมายที่ใช้ในการปกครองจึงต้องมาจากประชาชน และนี่เองคืออานาจหน้าที่ของสภา
ผู้แทนราษฎร “สภา” ของ “ผู้แทนราษฎร” ที่ “ราษฎร” ได้เลือกเข้าไปทาหน้าที่ออกกฎหมาย
แทนตนเอง
ในระบอบประชาธิปไตย อานาจของรัฐบาลหรือ ฝ่ายบริหาร จึงมาจากกฎหมายที่ตราขึ้นมา
โดย ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากประชาชน ถ้าหากรัฐบาลละเมิดกฎหมาย หรือใช้อานาจโดยไม่
ชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายตุลาการ หรือศาลจะเป็นผู้ใช้อานาจตีความกฎหมายในการตัดสิน เพื่อ
ควบคุมการใช้อานาจให้เป็นไปตามกฎหมายที่มาจากประชาชน และนี่คือ หลักการแบ่งแยก
อานาจ ของระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีการแบ่งแยกอานาจออกเป็น อานาจนิติบัญญัติ (ตรา
กฎหมาย) อานาจบริหาร (ใช้กฎหมาย) และ อานาจตุลาการ (ตีความกฎหมาย) เพื่อให้เกิดการ
ตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจ (checks & balances) มิให้ผู้มีอานาจใช้อานาจได้ตามอาเภอใจ
หากต้องใช้ภายใต้กฎหมายหรือกติกาที่มาจากประชาชน
ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจะต้องนาหลักการทั้งหลายเหล่านี้มาบัญญัติไว้ใน
รัฐธรรมนูญ ในระบอบประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญจึงเป็น กฎหมายสูงสุด เป็น กฎหมายของ
กฎหมาย ที่กาหนดว่า กฎหมายหรือกติกาที่ใช้ในการปกครองจะบัญญัติออกมาโดย
กระบวนการอย่างไร ทั้งจะต้องมีการกาหนดระบบและรูปแบบที่ใช้ในการปกครอง พร้อมกับมี
การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยจึงมีฐานะเป็น สัญญาประชาคม ของคนในชาติที่ตกลง
กันว่าจะปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยใช้กติกาตามที่ตกลงกันไว้ในรัฐธรรมนูญ
และนี่คือความหมายของ รัฐธรรมนูญ ในระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยจะประสบความสาเร็จได้ ประชาชนจะต้องเป็น “พลเมือง”
การปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย” ไม่เพียงแต่จะต้องมีกติกา หรือรัฐธรรมนูญที่จะกาหนด
ระบบ ที่ใช้ในการปกครองประเทศภายใต้หลักการดังที่ได้กล่าวมาเท่านั้น สิ่งที่สาคัญไม่น้อยไป
กว่าก็คือ คน หรือประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ ที่มีความแตกต่างหลากหลายภายใต้หลัก
สิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาค จะต้องมีความเป็น “พลเมือง” ระบอบประชาธิปไตยที่
6
เป็นการปกครอง โดยประชาชน หรือการปกครองที่ ประชาชนปกครองตนเอง จึงจะประสบ
ความสาเร็จได้
“พลเมือง”ของระบอบประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยลักษณะหกประการดังต่อไปนี้คือ หนึ่ง มี
อิสรภาพและพึ่งตนเองได้ สอง เห็นคนเท่าเทียมกัน สาม ยอมรับความแตกต่าง สี่ เคารพสิทธิ
ผู้อื่น ห้า รับผิดชอบต่อสังคม และ หก เข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม ซึ่งจะได้กล่าว
เป็นลาดับไปดังนี้
1. มีอิสรภาพและพึ่งตนเองได้ – ระบอบประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่
ประชาชนเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดในประเทศ ประชาชนในประเทศจึงมีฐานะเป็นเจ้าของ
ประเทศ เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนจึงเป็นเจ้าของชีวิต และมีสิทธิ
เสรีภาพในประเทศของตนเอง ทานองเดียวกับเจ้าของบ้านมีสิทธิเสรีภาพในบ้านของตน
ระบอบประชาธิปไตยจึงทาให้เกิด หลักสิทธิเสรีภาพ และทาให้ประชาชนมี อิสรภาพ คือ
เป็นเจ้าของชีวิตตนเอง “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็น ไท คือเป็น อิสระชน ที่
พึ่งตนเองและสามารถรับผิดชอบตนเองได้ และไม่ยอมตนอยู่ภายใต้อิทธิพลอานาจ หรือ
ภายใต้ “ระบบอุปถัมภ์” ของผู้ใด เด็กจะเป็น “ผู้ใหญ่” และเป็น “พลเมือง” หรือสมาชิกคน
หนึ่งของสังคมได้อย่างแท้จริง เมื่อสามารถรับผิดชอบตนเองได้
2. เห็นคนเท่าเทียมกัน – ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่อานาจสูงสุดในประเทศ
เป็นของประชาชน ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าประชาชนจะ แตกต่าง หรือ สูงต่า
กันอย่างไร ไม่ว่าจะร่ารวยหรือยากจน ไม่ว่าจะจบดอกเตอร์หรือจบ ป. ๔ ไม่ว่าจะมีอาชีพ
อะไร ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายหรือเป็นลูกน้อง ทุกคนล้วนแต่ เท่าเทียมกัน ในฐานะที่เป็น
เจ้าของประเทศ “พลเมือง” จึงต้อง เคารพหลักความเสมอภาค และจะต้อง เห็นคนเท่า
เทียมกัน คือเห็นคนเป็น แนวระนาบ ( horizontal) เห็นตนเท่าเทียมกับคนอื่น และเห็นคน
อื่นเท่าเทียมกับตน ไม่ว่าจะยากดีมีจน ทุกคนล้วนมี ศักดิ์ศรีของความเป็นเจ้าของประเทศ
อย่างเสมอกัน ถึงแม้จะมีการพึ่งพาอาศัยแต่จะเป็นไปอย่าง เท่าเทียม ซึ่งจะแตกต่างอย่าง
สิ้นเชิงจากสังคมแบบ อานาจนิยม ในระบอบเผด็จการ หรือสังคม ระบบอุปถัมภ์ ซึ่ง
โครงสร้างสังคมจะเป็น แนวดิ่ง (vertical) ที่ประชาชนไม่เสมอภาค ไม่เท่าเทียม ไม่ใช่อิสระ
ชน และมองเห็นคนเป็นแนวดิ่ง มีคนที่อยู่สูงกว่า และมีคนที่อยู่ต่ากว่า โดยจะ ยอม คนที่
7
อยู่สูงกว่า แต่จะ เหยียด คนที่อยู่ต่ากว่า ซึ่งมิใช่ลักษณะของ “พลเมือง ” ในระบอบ
ประชาธิปไตย
3. ยอมรับความแตกต่าง – ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของ
ประเทศ เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนจึงมี เสรีภาพ ระบอบประชาธิปไตย
จึงให้เสรีภาพ และยอมรับความหลากหลายของประชาชน ประชาชนจึงแตกต่างกันได้ ไม่
ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกอาชีพ วิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนา หรือความคิดเห็นทางการ
เมือง ดังนั้น เพื่อมิให้ ความแตกต่าง นามาซึ่ง ความแตกแยก ในสังคม “พลเมือง” ใน
ระบอบประชาธิปไตยจึงต้อง ยอมรับ และ เคารพ ความแตกต่างของกันและกัน เพื่อให้
สามารถ อยู่ร่วมกันได้ ถึงแม้จะแตกต่างกัน และจะต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่เห็น
แตกต่างไปจากตนเอง ถึงแม้จะไม่เห็นด้วย แต่จะต้องยอมรับว่า คนอื่นมีสิทธิที่จะแตกต่าง
หรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากเราได้ และต้องยอมรับ โดยไม่จาเป็นที่จะต้อง เข้าใจ
ว่าทาไมเขาถึงเชื่อหรือเห็นแตกต่างไปจากเรา “พลเมือง” จึงคุยเรื่องการเมืองกันในบ้านได้
ถึงแม้จะเลือกพรรคการเมืองคนละพรรค หรือมีความคิดเห็นทางการเมืองคนละข้างกัน
4. เคารพสิทธิผู้อื่น – ในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ ทุกคนจึงมี
สิทธิ แต่ถ้าทุกคนใช้สิทธิโดยคานึงถึงแต่ประโยชน์ของตนเอง หรือเอาแต่ความคิดของ
ตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่คานึงถึงสิทธิผู้อื่น หรือไม่สนใจว่าจะเกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใด
ย่อมจะทาให้เกิดการใช้สิทธิที่กระทบกระทั่งกันจนกระทั่งไม่อาจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก
ต่อไปได้ ประชาธิปไตย ก็จะกลายเป็น อนาธิปไตย เพราะทุกคนเอาแต่สิทธิของตนเองเป็น
ใหญ่ สุดท้ายประเทศชาติย่อมจะไปไม่รอด สิทธิในระบอบประชาธิปไตยจึงจาเป็นต้องมี
ขอบเขต คือมีสิทธิและใช้สิทธิได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น “พลเมือง ” ในระบอบ
ประชาธิปไตยจึงต้อง เคารพ สิทธิผู้อื่น และจะต้องไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไป ละเมิด
สิทธิของผู้อื่น
5. รับผิดชอบต่อสังคม – ประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการปกครอง ตามอาเภอใจ หรือใคร
อยากจะทาอะไรก็ทา โดยไม่คานึงถึงส่วนรวม ดังนั้น นอกจากจะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ
ของผู้อื่น และรับผิดชอบต่อผู้อื่นแล้ว “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยยังจะต้องใช้สิทธิ
เสรีภาพของตนโดย รับผิดชอบ ต่อสังคมด้วย โดยเหตุที่สังคมหรือประเทศชาติมิได้ ดีขึ้น
หรือ แย่ลง โดยตัวเอง หากสังคมจะดีขึ้นได้ ก็ด้วย การกระทา ของคนในสังคม และที่
8
สังคมแย่ลงไป ก็เป็นเพราะ การกระทา ของคนในสังคม “พลเมือง” นั้นก็คือผู้ที่มีสานึกของ
ความเป็นเจ้าของประเทศ และเป็นเจ้าของสังคม “พลเมือง” จึงไม่ใช่คนที่ใช้สิทธิเสรีภาพ
ตามอาเภอใจ แล้วทาให้สังคม เสื่อม ลงไป หากเป็นผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพโดยรับผิดชอบต่อ
สังคมและส่วนรวม โดยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและช่วยกันทาให้สังคมดีขึ้นกว่าที่ผ่าน
มา
6. เข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม – ประชาธิปไตยคือการปกครอง โดย
ประชาชน โดยใช้ กติกา หรือ กฎหมาย ที่มาจากประชาชนหรือผู้แทนประชาชน ระบอบ
ประชาธิปไตยจะประสบความสาเร็จได้ ต่อเมื่อมี“พลเมือง” ที่เข้าใจหลักการพื้นฐานของ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามสมควร ทั้งในเรื่อง หลักประชาธิปไตย หรือ การ
ปกครองโดยประชาชน และ หลักนิติรัฐ หรือ การปกครองโดยกฎหมาย เข้าใจเรื่องการ
เลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง ทั้งติดตามความเป็นไป และมีส่วน
ร่วมในเรื่องการบ้านการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไป
9
เลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในเรื่องอื่นๆ ตามสมควร ถ้ามีความขัดแย้งก็เคารพกติกา และ
ใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหา โดยไม่ใช้กาลังหรือความรุนแรง
ประชาธิปไตยไม่ใช่กฎธรรมชาติ จึงต้องมีการฝึกฝนให้คนเป็น “พลเ มือง ” กฎ
ธรรมชาติเป็นเรื่องของการใช้กาลัง สิน มีสิทธิที่จะเห็นแตกต่างจากตนเอง สระชน ที่
ทุกคนต้องอยู่ภายใต้พลเมือง”
ประชาธิปไตยไม่ใช่กฎธรรมชาติ ความเสมอภาคกันยิ่งไม่ใช่กฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติคือ ปลา
ใหญ่กินปลาน้อย ผู้แข็งแรงกว่าย่อมเป็นผู้ชนะ ผู้อ่อนแอย่อมพ่ายแพ้ และการใช้กาลังตัดสิน
ปัญหาต่างหากที่เป็นกฎธรรมชาติ ประชาธิปไตย – ซึ่งเป็นเรื่องของอารยะชน ที่ต้องการจะไป
ให้พ้นการตัดสินปัญหากันด้วยกาลัง – จึงเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ดังนั้น การเห็นคนเท่าเทียมกัน
การยอมรับในความแตกต่าง การเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และการรับผิดชอบต่อสังคม อัน
เป็นลักษณะของ “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยดังที่ได้กล่าวมา จึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิด
ขึ้นมาได้เอง หากจะต้องมี การฝึกฝน และในเรื่องความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยดังที่ได้กล่าว
ในตอนต้น ก็มิใช่เรื่องที่คนจะรู้ได้เอง หากต้อง เรียนรู้ กันตั้งแต่ในโรงเรียน
การศึกษาในระบบการศึกษา
ประเทศทั้งหลายที่ประสบความสาเร็จในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้แก่
ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป และประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ จึงมีสิ่งที่เรียกว่า “การศึกษา
เพื่อสร้างพลเมือง” หรือ Civic Education เพื่อสอนและฝึกฝนคนของเขาให้เป็น พลเมือง โดย
เริ่มสอนกันตั้งตั้งแต่ในชั้นอนุบาล และชั้นประถม ต่อเนื่องไปจนจบชั้นมัธยม
ในประเทศเหล่านี้ สิ่งแรกที่เด็กจะต้องเรียนใน โรงเรียนอนุบาล เมื่อมีความขัดแย้งหรือมีการ
ทะเลาะกันเกิดขึ้น ก็คือ ห้ามตีกัน เมื่อมีการทะเลาะกัน ครูจะจับแยกกันทันที และจะให้เรียนรู้
กติกาพื้นฐานประการแรกของการอยู่ร่วมกันในสังคมตามระบอบประชาธิปไตยคือ ขัดแย้งกัน
ได้ แต่ห้ามใช้ความรุนแรง
เมื่อขึ้นชั้น ประถม เด็กจะเรียนรู้เรื่องของ ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่กากับการใช้สิทธิเสรีภาพ
โดยจะถูกฝึกฝนให้ รับผิดชอบตนเอง รับผิดชอบต่อผู้อื่น และ รับผิดชอบต่อสังคม ทุกคนมีสิทธิ
10
เสรีภาพ แต่ต้องไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพคนอื่น และทาสิ่งใดจะต้อง
คานึงถึงอยู่เสมอว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สังคมจะดีขึ้นหรือแย่ลงก็อยู่ที่การกระทาของ
คนในสังคม เด็กในประเทศที่มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” จึงมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นตามวัย
ที่โตขึ้น พร้อมๆ กับมีความรับผิดชอบมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากเรื่องความรับผิดชอบแล้ว
นักเรียนประถมยังจะต้องเรียนรู้เรื่อง การประนีประนอม ( compromise) และ การทางาน
ร่วมกับคนอื่น ( cooperation) ไม่ใช่เรียนรู้แต่การแข่งขัน ( competition) เท่านั้น เพราะ
ประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันในสังคม จึงต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะแก้ไขความขัดแย้ง เรียนรู้
ที่จะตกลงกัน และเรียนรู้ที่จะทางานและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
เครื่องมือ หรือ วิธีการ ที่โรงเรียนในอเมริกาและในยุโรปใช้ในการสร้างจิตสานึกของ
ความเป็นพลเมืองให้กับเด็กนักเรียนคือ การให้นักเรียนได้ออกไป สัมผัสกับปัญหา
ต่างๆ ของชุมชน ที่อยู่รอบๆ โรงเรียน และให้ตั้งคาถามว่าได้พบเห็นปัญหาอะไรบ้าง จากนั้น
จะใช้ กระบวนการกลุ่ม ในการทาให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์
ปัญหา หาสาเหตุ และเสนอโครงงาน ของกลุ่มในการลงมือแก้ปัญหา โดยครูจะดูแล แนะนา
และให้คาปรึกษาในการทาโครงงานให้เหมาะสมกับระดับอายุและชั้นเรียน วิธีการนี้จะทาให้
เด็กนักเรียนได้เริ่มมองออกไปจากตนเองไปสู่คนอื่น ได้สัมผัสความเป็นจริงที่อยู่รอบๆ ตัว เห็น
ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และเชื่อมโยงตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยกระบวนการ
กลุ่มจะทาให้เกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่าง เคารพสิทธิ และรู้จักที่จะทางานร่วมกับ
ผู้อื่น สาหรับการลงมือปฏิบัติจะทาให้เกิดจิตสานึกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และพัฒนาไปสู่
การเป็น “พลเมือง” ที่ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม กระบวนการนี้ในอเมริกาและหลายๆ ประเทศ
ในยุโรปเริ่มต้นตั้งแต่ ชั้นประถมตอนปลาย และเป็นเครื่องมือที่สาคัญที่สุดในการสร้าง
ประชาชนของเขาให้เป็น “พลเมือง”
เมื่อเริ่มต้นเป็นพลเมืองแล้ว ก็จะเริ่มเรียนเรื่อง การเมืองการปกครองอย่างจริงจังในชั้นมัธยม
โดย มัธยมต้น จะเรียนเรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ ประวัติศาสตร์การเมือง
มัธยมปลาย จะเรียนเรื่อง รัฐธรรมนูญ และ การปกครองโดยกฎหมาย นักเรียนมัธยมปลายต้อง
เข้าใจเรื่องหลักการของประชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายคืออะไร ทาไมต้องมีการ
แบ่งแยกอานาจเป็นนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ การตรวจสอบถ่วงดุลกันในระบอบ
11
ประชาธิปไตยคืออะไร ประชาชนอยู่ตรงไหน รวมทั้งเข้าใจระบบการเมืองและการเลือกตั้งของ
ประเทศของตนเองตามสมควร
เมื่อจบโรงเรียนมัธยมปลาย อายุ ๑๘ ปี มีสิทธิเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้
จึงได้รับการฝึกฝนให้เป็น “พลเมือง” แล้ว “พลเมือง” ที่เห็นคนเท่าเทียม ยอมรับความแตกต่าง
เคารพสิทธิผู้อื่น รับผิดชอบต่อสังคม และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอย่าง
เต็มตัว เมื่อไปเลือกตั้งก็จะไปใช้สิทธิอย่างที่เป็น “พลเมือง” คือไม่ถูกครอบงาด้วยอานาจหรือ
อิทธิพลใด ถ้าไปรับราชการก็จะรู้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ก็เป็น “พลเมือง” ที่เสมอกันกับประชาชนคน
อื่นๆ และเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน มิใช่เจ้านายประชาชน ถ้าไปเป็น
ทหาร หรือ ตารวจ ก็จะเข้าใจว่าตนเองเป็น “พลเมืองในเครื่องแบบ” (citizen in uniform) ทหาร
ก็จะไม่ปฏิวัติ ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ตารวจก็จะไม่ซ้อมผู้ต้องหา ถ้าไปเป็น นักการเมือง ก็เข้าใจว่า
ประชาธิปไตยและการปกครองโดยกฎหมายคืออะไร บทบาทของผู้แทนปวงชนคืออะไร และจะ
มีศักดิ์ศรี มีอิสรภาพ มีความเสมอภาค จึงไม่ยอมขายตัว หรือยอมให้พรรคการเมืองหรือ
นักการเมืองที่มีตาแหน่งใหญ่กว่ามาครอบงา
การศึกษานอกระบบการศึกษา
นอกจากจะมีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในโรงเรียนแล้ว ในประเทศเหล่านี้ ยังมีการศึกษาเพื่อ
สร้างพลเมืองที่เป็นการศึกษา นอกโรงเรียน หรือการศึกษานอกระบบการศึกษา เพื่อให้มี
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองสาหรับผู้ใหญ่ (Adult Civic Education) ด้วย โดยส่งเสริมให้องค์กร
เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งพรรคการเมือง มีบทบาทอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ ทั้ง
ยังมีการให้ การศึกษาทางการเมือง ( Political Education) แก่ประชาชน โดยมีหลักสูตรวิชา
เรื่องการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น เพื่อให้ “พลเมือง” ที่สนใจสามารถ
เลือกเรียนได้อีกด้วย
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองสาหรับผู้ใหญ่นี้ จะมีความสาคัญมากโดยเฉพาะในช่วง เริ่มต้น
ของการจัดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง เพราะถ้ามีเฉพาะแต่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองให้กับ
เด็กรุ่นใหม่ในโรงเรียน ผู้ใหญ่หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ผ่านโรงเรียนมาแล้ว ก็จะไม่มีโอกาส
ได้ศึกษาเพื่อ เปลี่ยน ตนเองให้เป็นพลเมืองได้เลย ทุกประเทศที่เริ่มมีการศึกษาเพื่อสร้าง
12
พลเมืองจึงมีการดาเนินการไปพร้อมกัน ทั้งกับเด็กในโรงเรียน ซึ่งเป็นการมุ่งไปที่การสร้างคนรุ่น
ใหม่ให้เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมือง และกับผู้ใหญ่ที่ผ่านโรงเรียนมาแล้วด้วย
นี่คือหลักการและ ตัวอย่าง ของ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ที่ทาให้ระบอบประชาธิปไตย
ประสบความสาเร็จในยุโรปและอเมริกา ถึงแม้ว่าบางที ระบบ จะมีปัญหา และบ่อยครั้งที่ คน ก็
มีปัญหา แต่ คนส่วนใหญ่ ที่เป็นพลเมืองก็จะช่วยแก้ไขปัญหากันไปได้ตามวิถีทาง
ประชาธิปไตย และตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน
ถ้าประชาชนเป็น “พลเมือง” จะเกิด “สังคมพลเมือง” (Civil Society) และประชาธิปไตย
จะเป็นการปกครองโดยประชาชนอย่างแท้จริง
ถ้าประชาชนเป็น “พลเมือง” ประชาธิปไตยถึงแม้จะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน
(Representative Democracy) คือประชาชนมิได้ใช้อานาจอธิปไตยโดยตรง แต่ใช้โดยผ่านการ
เลือกผู้แทน แต่ก็ยังคงเป็นการปกครอง โดยประชาชน มิใช่การปกครองโดยผู้แทน หรือปกครอง
โดยนักการเมืองหรือพรรคการเมือง เพราะประชาชนที่เป็น “พลเมือง” จะเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้
การครอบงาหรือการกะเกณฑ์ของนักการเมืองหรือผู้มีอานาจคนใด ประชาธิปไตยของประเทศ
ที่มีพลเมือง จึงยังเป็นประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองโดยประชาชน มิใช่ปกครองโดย
นักการเมือง
ตัวอย่างเช่น
ประเทศอังกฤษ ในตอนที่สงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งสิ้นสุดลง ตอนนั้น วินสตัน เชอร์ชิล เป็น
นายกรัฐมนตรีที่คนอังกฤษนิยมชมชอบมาก เพราะทาให้อังกฤษชนะเยอรมัน แต่ทั้งๆ ที่เชอร์ชิล
มีอานาจมากและคนนิยมมาก แต่คนอังกฤษก็ไม่เลือกเชอร์ชิลให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี
เพราะรู้ว่าเชอร์ชิลไม่เหมาะกับการบริหารประเทศในยุคหลังสงคราม หรือใน สหรัฐอเมริกา ถ้า
ประธานาธิบดีมาจากพรรครีพับลิกัน และพรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากในสภาคองเกรส (สภา
ผู้แทนราษฎร) แต่ปรากฏว่าประธานาธิบดีบริหารประเทศไม่ดี ถึงเวลาเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่ง
สหรัฐอเมริกาเลือกทุกๆ สองปี ประชาชนจะเลือก ส.ส. พรรคเดโมแครต ให้เข้าไป ถ่วงดุล กับ
พรรครีพับลิกัน ในทางกลับกัน สมมติว่าประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันบริหารประเทศดี แต่
พรรครีพับลิกันมีเสียงข้างน้อยในสภาคองเกรส ประชาชนก็จะเลือก ส.ส. ของพรรครีพับลิกัน
13
เข้าสภาคองเกรสไปให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการทางานของประธานาธิบดี นี่คือตัวอย่างของ
การปกครอง โดย ประชาชน ที่ประชาชนใช้พรรคการเมืองและนักการเมือง มิใช่ถูกนักการเมือง
หรือพรรคการเมืองใช้ นี่คือ การเมืองของพลเมือง ที่จะมีได้ก็แต่ในระบอบประชาธิปไตย ที่มี
“พลเมือง” เท่านั้น
เมื่อประชาชนในสังคมใดเป็น “พลเมือง” สังคมนั้นก็จะเป็น Civil Society หรือสังคมที่
ประกอบด้วย “พลเมือง” ที่เอาใจใส่ในความเป็นไปและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชน
ปัญหาของสังคม และปัญหาของบ้านเมือง Civil Society นี้ เรามักจะแปลกันว่า “ประชา
สังคม” แท้ที่จริงแล้ว Civil Society ก็คือ “สังคมพลเมือง” หรือสังคมที่ประกอบด้วย “พลเมือง”
นั่นเอง
เมื่อเกิด “สังคมพลเมือง” ขึ้นมาแล้ว สังคมก็จะเข้มแข็งในการถ่วงดุลกับอานาจ ทั้งอานาจทาง
การเมืองและอานาจทางเศรษฐกิจ การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็ง การปกครองท้องถิ่นจะ
เข้มแข็ง ชุมชนจะเข้มแข็ง ผู้บริโภคจะเข้มแข็ง ประชาชนจะมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่
ว่าจะเป็นปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาศีลธรรม ปัญหาจราจร หรือ
ปัญหาอื่นๆ ทั้งหลาย ก็จะคลี่คลายแก้ไขไปได้แทบทั้งหมด เพราะสังคมจะไม่รอคอยหรือ
เรียกร้องให้รัฐบาล หรือให้ ส.ส. มาแก้ไขให้แต่อย่างเดียวอีกต่อไป แต่จะช่วยกันแก้ไขทั้งสังคม
ใครอยู่ชุมชนใด ใครอยู่ภาคส่วนไหน ก็จะช่วยกันแก้ไขในส่วนของตนเอง
ความล้มเหลวของประชาธิปไตยหากไร้พลเมือง
ในทางกลับกัน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มิได้ทาให้ประชาชนเป็นพลเมือง
หรือไม่มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” ประชาธิปไตยก็จะล้มเหลว และเต็มไปด้วยอุปสรรค
ปัญหาโดยมีรูปแบบหรือลักษณะของปัญหาอย่างน้อยสามประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง
เกิดชนชั้นปกครองใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนมิใช่ผู้ปกครองที่แท้จริง หากเป็นแต่
เพียง ความชอบธรรม ให้กับผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง และประชาชนหาได้มีอิสรภาพ หรือ
14
จิตสานึกของความเป็นพลเมืองไม่ หากเป็นแต่ผู้อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของชนชั้นปกครอง
ใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
ประการที่สอง
เกิดการแตกแยกกันในสังคม เพราะประชาชนไม่ยอมรับความแตกต่าง และไม่เคารพสิทธิ
เสรีภาพของกันและกัน ความเห็นที่ต่างกันจึงนาไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้ง และแบ่งเป็น
ฝักฝ่าย พรรคการเมือง และ การเลือกตั้ง จะกลายเป็นสิ่งที่ทาให้สังคม หรือชุมชน หรือ
ครอบครัวแตกแยกกัน ประชาธิปไตยจะกลายเป็นเรื่องของ พวก และ การแบ่งข้าง ไม่ฟังซึ่งกัน
และกัน และถ้าขัดแย้งกันมาก แล้วมิได้ตัดสินกันด้วยความจริง กติกา และกระบวนการ
ยุติธรรม ในที่สุดก็จะนาไปสู่ความรุนแรงและเหตุการณ์นองเลือด หรือถึงขนาดเกิดสงคราม
กลางเมืองขึ้นมาได้
ประการที่สาม
หรือถ้าไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงนองเลือด ประชาธิปไตยที่ไร้พลเมือง ก็จะเป็นประชาธิปไตยที่ใช้
สิทธิเสรีภาพกันตาม อาเภอใจ ทุกคนอ้างแต่สิทธิเสรีภาพของตนเอง แต่ไม่มีใครพูดถึงความ
รับผิดชอบต่อสังคม ใครอยากทาอะไรก็ทาไป ไม่เห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่จะทาให้สังคมดี
ขึ้นหรือเลวลง ในที่สุด สิทธิเสรีภาพ ก็จะนาไปสู่ความ เสื่อมทราม ของสังคม
ประเทศไทยในขณะนี้ ดูเหมือนจะมีปัญหาหมดทั้งสามประการที่กล่าวมา เพราะประเทศไทย
ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” แต่อย่างใด
ประชาธิปไตยของประเทศไทยจึงล้มเหลว เช่นเดียวกับที่ล้มเหลวในประเทศส่วนใหญ่ในทวีป
แอฟริกา ในอเมริกาใต้ และในเอเชียที่ไม่มีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
ที่จริงแล้วหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นาคณะราษฎร (อ่าน
ว่า คณะ – ราด – สะ – ดอน) ฝ่ายพลเรือน ได้พยายามจะดาเนินการเรื่องการศึกษาเพื่อสร้าง
พลเมือง โดยการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ” ขึ้นมาในปี ๒๔๗๗
เพื่อที่จะ “ประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองให้แก่พลเมืองให้มากที่สุดเท่าที่จะ
15
เป็นไปได้ ” (คากล่าวในวันเปิดมหาวิทยาลัยของนายปรีดี) แต่ในครั้งนั้นก็ยังมิได้มีการ
ดาเนินการในระดับโรงเรียน และเมื่อเกิดรัฐประหารในปี ๒๔๙๐ บ้านเมืองเข้าสู่ยุคเผด็จการ
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองของประเทศไทยจึงต้องยุติลงไป
สาหรับ “วิชาหน้าที่พลเมือง” ที่ เคยมี ในโรงเรียนในประเทศไทยนั้น ไม่เหมือนกับ “การศึกษา
เพื่อสร้างพลเมือง” ที่ได้กล่าวมา เพราะ “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” จะทาให้เกิดพลเมืองที่มี
ความรับผิดชอบ ด้วย จิตสานึก โดยเริ่มต้นจาก (1)ความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และต่อชุมชนของ
ตนเอง จากนั้นจึงนาไปสู่ (2)ความรับผิดชอบต่อสังคม และ (3)ต่อประเทศชาติ ในขณะที่ “วิชา
หน้าที่พลเมือง” จะปลูกฝังให้ประชาชน ต้องทา เพราะเป็น หน้าที่ ซึ่งไม่เหมือนกัน ทั้งยังมุ่งไป
ในเรื่องหน้าที่ต่อ “ชาติ” โดยไม่ได้เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวคือเรื่องของชุมชนของตนเอง แต่อย่างไรก็
ตามการมี “วิชาหน้าที่พลเมือง” อย่างน้อยยังทาให้คนไทยที่ผ่านการศึกษาในโรงเรียนในอดีต
ถูกปลูกฝังให้มีความผิดชอบต่อส่วนรวมและประเทศชาติในระดับหนึ่ง การที่ “วิชาหน้าที่
พลเมือง” ถูกยกเลิกไป จึงทาให้เกิดปัญหามากขึ้น เพราะทุกคนจะพูดถึงแต่สิทธิเสรีภาพของ
ตนเอง แต่ไม่พูดถึงความรับผิดชอบอีกต่อไป
ทุกวันนี้โรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยสอนแต่ การแข่งขัน แข่งขันกันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย
จนเด็กต้องไป “เรียนพิเศษ” กันตั้งแต่ชั้นอนุบาล ครูจานวนไม่น้อยก็มิได้สอนนักเรียนใน
ห้องเรียนอย่างเต็มที่ เพราะจะเก็บไว้ไปสอนตอนเรียนพิเศษ ความจริงแล้วการแข่งขันมิใช่เรื่อง
เลวร้าย หากเป็นเครื่องมือที่สาคัญในการกระตุ้นให้เด็กพัฒนาศักยภาพของตนเอง แต่การสอน
ให้แข่งขันกันแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่สอนเรื่องความรับผิดชอบ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จะ
นามาซึ่ง ความเห็นแก่ตัว เมื่อจบจากโรงเรียนมาเข้ามหาวิทยาลัยก็จะพบกับระบบการศึกษา
แบบ แยกส่วน เรียนทีละวิชา เรียนครบก็จบได้ ไม่ได้เชื่อมโยงกับความเป็นไปนอกห้องเรียน
แล้วก็มักจะสอนแต่ “ความรู้” ในตารา ไม่ค่อยได้สอน “ความจริง” และความเป็นไปของสังคม
ระบบการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่โรงเรียนจนมหาวิทยาลัยจึงไม่สามารถสร้าง “พลเมือง”
ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น
เมื่อไม่มี “พลเมือง” ประชาธิปไตยของประเทศไทยจึงล้มเหลวมาโดยตลอด ประชาชนส่วนใหญ่
มิได้เป็น “พลเมือง” ที่มีอิสรภาพ หากอยู่ภายใต้ “ระบบอุปถัมภ์” ของนักการเมืองที่มาจากการ
16
เลือกตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับนักการเมืองเป็น แนวดิ่ง มิใช่ แนวระนาบ ส.ส. จะ
ให้การอุปถัมภ์และประโยชน์แก่ประชาชน ประชาชนก็เลือก ส.ส. คนนั้นเป็น ส.ส. เพื่อให้ความ
อุปถัมภ์แก่ตนเองต่อไป “พรรคการเมือง ” จึงมักจะมิใช่เครื่องมือของประชาชนในการสร้าง
เจตนารมณ์ทางการเมืองดังที่ควรจะเป็น หากเป็นที่รวมกันของ “ผู้อุปถัมภ์” ที่มาจากการ
เลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาลเป็นเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์ และตามมาด้วยเรื่องการถอน
ทุนและคอร์รัปชัน สุดท้ายก็จบด้วยการรัฐประหารและฉีกรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะมีความพยายาม
แก้ปัญหาด้วยการไป “เผยแพร่ประชาธิปไตย ” หรือ “สร้างจิตสานึกประชาธิปไตย ” ให้กับ
ประชาชนในต่างจังหวัด แต่ก็ล้มเหลวมาโดยตลอด เพราะผู้ที่ไปเผยแพร่ก็ไม่รู้ว่าอะไรคือ
ประชาธิปไตย และไม่เข้าใจว่า “จิตสานึกประชาธิปไตย” คืออะไร
จิตสานึกประชาธิปไตยก็คือความเป็น “พลเมือง” นั่นเอง และความเป็น “พลเมือง”
นี่เองคือรากฐานของประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยทา
การเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง : บทเรียนจากประเทศเยอรมัน
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยความพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมัน
ประเทศสัมพันธมิตร ๔ ประเทศที่ชนะสงคราม คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ได้
แยกประเทศเยอรมันออกเป็น ๔ ส่วน และแบ่งกันครอบครอง จนกระทั่ง ๔ ปีให้หลัง ประเทศ
ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย ๓ ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส จึงได้อนุญาตให้
ประชาชนชาวเยอรมันในเขตยึดครองของตนมีสิทธิในการปกครองตนเองอีกครั้ง ประเทศ
เยอรมัน ๓ ใน ๔ ส่วนจากที่เคยมีจึงฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยถูกเรียกว่า “เยอรมันตะวันตก ” หรือ
West Germany ในเวลาต่อมา
ในขณะที่กาลังจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันนั้น ผู้นาและนักวิชาการที่รอดชีวิตจาก
สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งคาถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับประชาธิปไตยของเยอรมัน เพราะ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นั้นมาจากการ เลือกตั้ง ทาไมประชาธิปไตยของประเทศเยอรมันจึงก่อให้เกิด
เผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างฮิตเลอร์ขึ้นมาได้ ? ฮิตเลอร์ซึ่งก่อสงครามโลกครั้งที่สองที่คร่าชีวิตคน
ยุโรปไปกว่า ๕๐ ล้านคน และฆ่าคนยิวมากกว่า ๖ ล้านคนด้วยวิธีการอันโหดร้ายทารุณ ทั้งยัง
ฆ่าคนเยอรมันที่ต่อต้านหรือสงสัยว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามไปมากกว่าสองแสนคน และในที่สุดทาให้
17
ประเทศเยอรมันต้องพินาศย่อยยับจนแทบสิ้นชาติเกิดขึ้นมาจากระบอบประชาธิปไตยได้
อย่างไร ?
พวกเขาได้ข้อสรุปว่าความหายนะของระบอบประชาธิปไตยของเยอรมันนั้น มีที่มาจาก ๒
สาเหตุคือ ประการที่หนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยของเยอรมันในตอนนั้นมีปัญหาเรื่อง การ
แบ่งแยกอานาจ และ การตรวจสอบถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร โดยเหตุที่
ประเทศเยอรมันใช้ ระบบรัฐสภา ซึ่งมีจุดอ่อนคือ การที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
โดยตรง แต่มาจากเสียงข้างมากของสภา ทาให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารสามารถ
ครอบงาสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติได้ โดยมีเครื่องมือสาคัญที่ใช้ในการครอบงาสภาคือ พรรค
การเมือง ที่นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรค จากจุดอ่อนตรงนี้ ฮิตเลอร์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคนาซี
ที่ชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภาไรช์ทาก (Reichstag - สภาผู้แทนราษฎรของประเทศ
เยอรมันในขณะนั้น) จึงสามารถครอบงาสภาไรช์ทาก และให้สภาไรช์ทากที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ออกฎหมายให้อานาจแก่ตนเอง จนสามารถสถาปนาระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้นมาในที่สุด
ประการที่สอง ประเทศเยอรมันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบไกเซอร์ ( Kaiser แปลว่า
จักรพรรดิ) มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยที่ไม่ได้สร้าง “พลเมือง” ฮิตเลอร์ที่มาจากการ
เลือกตั้งจึงกลายเป็นผู้ปกครองที่มา แทนที่ ไกเซอร์ โดยสังคมเยอรมันยังเป็นสังคม แนวดิ่ง
แบบ อานาจนิยม เหมือนในสมัยไกเซอร์ คนเยอรมันในตอนนั้นจึงยอมรับในอานาจของฮิตเลอร์
และเชื่อฟังฮิตเลอร์ จนกระทั่งยอมให้ฮิตเลอร์นาพาตนเองและประเทศชาติไปสู่หายนะในที่สุด
ผู้นาและนักวิชาการของเยอรมันตะวันตกจึงได้ใช้บทเรียนในสมัยฮิตเลอร์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ
ใหม่ขึ้นมา โดยตัดสินใจที่จะใช้ ระบบรัฐสภา ต่อไป แต่ได้แก้ไขจุดอ่อนของระบบรัฐสภาที่เคยมี
ในสมัยฮิตเลอร์ โดยการทาให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอิสระจากรัฐบาล เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร
สามารถตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลได้ ไม่ถูกรัฐบาลใช้พรรคการเมืองมาครอบงาอีกต่อไป ซึ่ง
ประเทศเยอรมันตะวันตกทาได้สาเร็จ รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ และทาให้
ประเทศเยอรมันไม่เกิดเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งอีกเลย พร้อมกับมีระบบรัฐสภาที่มีทั้ง
เสถียรภาพ และ ประสิทธิภาพ มาจนกระทั่งทุก วันนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีชื่อว่า
Grundgesetzซึ่งแปลว่า กฎหมายพื้นฐาน เพราะเดิมผู้ร่างรัฐธรรมนูญของเยอรมันตะวันตก
ตั้งใจจะใช้เป็นการชั่วคราวจนกว่าประเทศเยอรมันจะรวมกันได้อีกครั้งเท่านั้น แต่เมื่อถึงเวลาที่
18
ประเทศเยอรมันกลับมารวมกันอีกครั้งจริงๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยประเทศเยอรมันตะวันออก
หรือ East Germany ซึ่งเป็นเขตยึดครองของรัสเซีย ได้เข้ามารวมกับประเทศเยอรมันตะวันตก
ประเทศเยอรมันตัดสินใจใช้กฎหมายพื้นฐานฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้
พร้อมๆ กับการจัดทารัฐธรรมนูญที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอานาจ ประเทศเยอรมัน
ตะวันตกได้ดาเนินการให้มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ”เพื่อเปลี่ยนเป็นประชาชนเยอรมัน
ให้เป็น “พลเมือง” โดยปฏิรูประบบการศึกษาให้เป็น “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” เพื่อสร้างคน
รุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองโดยเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล พร้อมกับจัดให้มีการศึกษาเพื่อความเป็น
พลเมืองให้กับผู้ใหญ่ ทั้งยังได้มีการปฏิรูปสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ให้
สามารถเสนอข่าวสารได้โดยเป็นอิสระจากรัฐบาล และส่งเสริมให้พรรคการเมืองรวมถึงองค์กร
ภาคประชาชนต่างๆ ทาหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการเมืองด้วย ประเทศเยอรมันทา
ได้สาเร็จโดยใช้เวลาเพียงประมาณ ๑๕ ปีเท่านั้น – คือตั้งแต่เด็กเริ่มเรียนอนุบาลจนจบมัธยม
ปลาย – และทาให้ประเทศเยอรมันมีประชาธิปไตยที่มั่นคงมาจนทุกวันนี้
นี่คือบทเรียนจากประเทศเยอรมัน ที่เคย ล้มเหลว ในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ถึง
ขนาดเกิดเผด็จการที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติสมัยใหม่อย่างฮิตเลอร์ขึ้นมา
จนต้องประสบกับความหายนะถึงขนาดเกือบสิ้นประเทศไปแล้ว แต่กลับสามารถแก้ไขและ
พัฒนาประชาธิปไตยของเขาให้มั่นคงขึ้นมาได้ ประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาเหมือนกับประเทศ
เยอรมัน และมีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ได้
สร้างพลเมืองเช่นเดียวกับประเทศเยอรมัน อีกทั้งยังมีลักษณะสังคมเป็นแบบอานาจนิยมดังเช่น
สังคมเยอรมันในสมัยฮิตเลอร์ ประสบการณ์ของประเทศเยอรมันที่แก้ปัญหาได้สาเร็จจึงน่าจะ
เป็นตัวอย่างและบทเรียนให้กับประเทศไทยในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี
พลเมือง : ทางรอดประชาธิปไตยไทย
พลเมืองคือรากฐานของประชาธิปไตย จิตสานึกประชาธิปไตยก็คือจิตสานึกของความเป็น
พลเมือง รัฐธรรมนูญที่มีการแบ่งแยกอานาจ และการตรวจสอบถ่วงดุล ( checks & balances)
ที่ดี เป็นเรื่องของ ระบบ ที่จาเป็นจะต้องมีการแก้ไข (ซึ่งผู้เขียนจะได้เขียนต่างหากออกไปเป็นอีก
เรื่องหนึ่ง) แต่เรื่องของ คน เป็นสิ่งที่ต้องดาเนินการไปพร้อมๆ กันอย่างเร่งด่วน เพื่อให้
19
ประชาธิปไตยของประเทศไทยมีรากฐานที่มั่นคง ไม่เดินหน้าไปสู่การเผชิญหน้า ความรุนแรง
และจบลงด้วยรัฐประหารและการนองเลือดกันอีก การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือ Civic
Education เพื่อเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง จึงเป็นทางรอดของประชาธิปไตยของประเทศ
ไทย ซึ่งเราสามารถเรียนรู้เทคนิควิธีการได้จากประเทศต่างๆ ในอเมริกาและยุโรปที่ประสบ
ความสาเร็จในเรื่องนี้มาแล้ว
ประเทศไทยผ่านเหตุการณ์ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยมาหลายเหตุการณ์ ทั้งยังมีการเมือง
ภาคพลเมืองที่มีความเข้มแข็งพอสมควร ประเทศไทยจึงมิได้เริ่มจากศูนย์ในการเปลี่ยน
ประชาชนให้เป็นพลเมือง ถ้าหากสามารถเชื่อมประสานกลุ่มองค์กรภาคประชาชนรวมถึง
ภาครัฐ ที่พยายาม “เผยแพร่ประชาธิปไตย” หรือทางานภาคประชาชน ให้มาร่วมกันภายใต้
ยุทธศาสตร์เดียวกัน คือการเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง ด้วยวิธีการอันหลากหลาย ที่มี
เป้าหมายเดียวกันคือสร้างพลเมือง โอกาสของประเทศไทยที่จะมีประชาธิปไตยที่เข้มแข้งมั่นคง
ไม่ล้มเหลว หรือไร้ความหวัง จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคต
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือการเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา
โดยปกติคือคนหนึ่งรุ่น ประเทศเยอรมันใช้เวลาประมาณ ๑๕ ปี สาหรับประเทศไทย ด้วยต้นทุน
การเรียกร้องประชาธิปไตย การตื่นตัวของประชาชน และเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่เรามี
ในตอนนี้ ถ้าเราเริ่มต้น ณ บัดนี้ เราอาจจะใช้เวลาเพียงแค่สิบปี หรืออาจจะสั้นกว่านั้นก็ได้
หากมีการดาเนินการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองอย่างจริงจังนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในเวลาไม่ช้า
ประเทศไทยจะมีพลเมืองมากพอจนถึงจุดที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ประชาธิปไตยของประเทศไทย
จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองโดยประชาชนอย่างแท้จริง สังคมไทยจะ
กลายเป็นสังคมพลเมือง (Civil Society) เมื่อถึงจุดนั้น สังคมจะเข้มแข็ง ปัญหาการเมือง
ปัญหาสังคม ปัญหาศีลธรรม ปัญหาเยาวชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งปัญหาเศรษฐกิจ ก็
จะแก้ไขได้ทั้งสิ้น
ไม่มีระบอบการปกครองอื่นใดนอกจากระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ
ไม่มีระบอบอื่นใดนอกจากระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพและมีความเสมอ
ภาคกัน ที่ผ่านมาประชาธิปไตยของประเทศไทยล้มเหลวเพราะไม่เคยสร้างสร้างประชาธิปไตย
20
ที่คน การสร้าง “พลเมือง” หรือเปลี่ยนประชาชนให้เป็น “พลเมือง” จึงเป็นหนทางในการพัฒนา
ประชาธิปไตยที่รากฐาน ที่เราต้องเริ่มดาเนินการนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้ประเทศไทยมี
ประชาธิปไตยที่มั่นคง และเป็นประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองโดยประชาชน ของประชาชน
และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง.

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานPhongsak Kongkham
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนssuserd18196
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5kessara61977
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1gchom
 
สำนวนไทย พร้อมระบายสี
สำนวนไทย พร้อมระบายสีสำนวนไทย พร้อมระบายสี
สำนวนไทย พร้อมระบายสีariga sara
 
โครงงานIs3
โครงงานIs3โครงงานIs3
โครงงานIs3Arisa Srising
 
ศาสนาสากล
ศาสนาสากลศาสนาสากล
ศาสนาสากลThanaponSuwan
 
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมรัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมthnaporn999
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21Pannaray Kaewmarueang
 
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์srkschool
 
ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2Weerachat Martluplao
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1KruKaiNui
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแวมไพร์ แวมไพร์
 
โรคตาฟาง
โรคตาฟางโรคตาฟาง
โรคตาฟางspeedpen111
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มGuntima NaLove
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานSAKANAN ANANTASOOK
 

La actualidad más candente (20)

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนหน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
หน้าที่ สิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน
 
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
โครงงานสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนนักเรียนชั้น ม.4-5
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
แบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เรื่อง สิ่งรอบตัวเรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
สำนวนไทย พร้อมระบายสี
สำนวนไทย พร้อมระบายสีสำนวนไทย พร้อมระบายสี
สำนวนไทย พร้อมระบายสี
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย
 
โครงงานIs3
โครงงานIs3โครงงานIs3
โครงงานIs3
 
ศาสนาสากล
ศาสนาสากลศาสนาสากล
ศาสนาสากล
 
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวมรัฐเดี่ยว รัฐรวม
รัฐเดี่ยว รัฐรวม
 
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
เหตุการณ์สำคัญของโลกในคริสต์ศตวรรษที่21
 
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างแผนการสอนคอมพิวเตอร์
 
ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2ข้อสอบโครงงาน ม 2
ข้อสอบโครงงาน ม 2
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหน่วยการเรียนรู้ที่  7  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
 
การเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทยการเมืองการปกครองของไทย
การเมืองการปกครองของไทย
 
โรคตาฟาง
โรคตาฟางโรคตาฟาง
โรคตาฟาง
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
 
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงานชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า  ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
ชุดกิจกรรม เรื่อง รายงานการศึกษาค้นคว้า ชุด รูปแบบและจุดมุ่งหมายของรายงาน
 

Destacado

พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงTaraya Srivilas
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีTaraya Srivilas
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันTaraya Srivilas
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1Taraya Srivilas
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Taraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมTaraya Srivilas
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานีTaraya Srivilas
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)Taraya Srivilas
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-NewTaraya Srivilas
 
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59Taraya Srivilas
 
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์Taraya Srivilas
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองTaraya Srivilas
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นTaraya Srivilas
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือTaraya Srivilas
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Taraya Srivilas
 
อิสราเอล ปาเลสไตน์
อิสราเอล  ปาเลสไตน์อิสราเอล  ปาเลสไตน์
อิสราเอล ปาเลสไตน์Taraya Srivilas
 

Destacado (20)

พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
 
กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)กล้า ทำ ดี 1(1)
กล้า ทำ ดี 1(1)
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
 
Framework 4ส6
Framework 4ส6Framework 4ส6
Framework 4ส6
 
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
 
Thai civic org
Thai civic orgThai civic org
Thai civic org
 
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
 
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมืองความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
ความขัดแย้งที่ถูกมองข้าม ในมุมมองเศรษฐศาสตร์การเมือง
 
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็นการปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
การปฏิรูปด้านสื่อที่อยากเห็น
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
 
อิสราเอล ปาเลสไตน์
อิสราเอล  ปาเลสไตน์อิสราเอล  ปาเลสไตน์
อิสราเอล ปาเลสไตน์
 

Similar a การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...
เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...
เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...Thongkum Virut
 
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)Narong Chokwatana
 
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยมGp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยมwissanujo
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Medical Student, GCM
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]Sansanee Tooksoon
 
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือรัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือNanthapong Sornkaew
 
Lesson 2 sovereignty
Lesson 2 sovereigntyLesson 2 sovereignty
Lesson 2 sovereigntyKatawutPK
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติWarinthorn Limpanakorn
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]Sansanee Tooksoon
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีsaovapa nisapakomol
 
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยพัน พัน
 
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗นายจักราวุธ คำทวี
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทยsangworn
 
Panel_DrMark.pdf
Panel_DrMark.pdfPanel_DrMark.pdf
Panel_DrMark.pdfdatahatch
 

Similar a การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (20)

เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...
เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...
เอกสารศึกษาการสร้างการสร้างประชาธิปไตยทำอย่างไร จึงจะถูกต้องตามหลักวิชาที่แท้...
 
ส่งงานค่ะ ~
ส่งงานค่ะ ~ ส่งงานค่ะ ~
ส่งงานค่ะ ~
 
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
การเมืองประชาธิปไตย : การต่อสู้และชัยชนะของประชาชน (ตื่นเถิดชาวไทย)
 
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยมGp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
Gp 05 บทที่ 5 โลกาภิวัตน์กับชาติและชาตินิยม
 
53011312317
5301131231753011312317
53011312317
 
Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)Public health and the constitution (1)
Public health and the constitution (1)
 
สตรี
สตรีสตรี
สตรี
 
34830816 การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ
34830816 การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ34830816 การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ
34830816 การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ
 
Soc
SocSoc
Soc
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือรัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
รัฐธรรมนูญใหม่ชีวิตใหม่สำหรับคนพิการจริงหรือ
 
Lesson 2 sovereignty
Lesson 2 sovereigntyLesson 2 sovereignty
Lesson 2 sovereignty
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
ความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดีความเป็นพลเมืองดี
ความเป็นพลเมืองดี
 
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
 
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
ศาสนาและหน้าที่พลเมือง จักราวุธ คำทวี ยกร่าง ปรับแก้แล้วเมื่อ ๒๙ ส.ค.๕๗
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
การปกครองของไทย
การปกครองของไทยการปกครองของไทย
การปกครองของไทย
 
Panel_DrMark.pdf
Panel_DrMark.pdfPanel_DrMark.pdf
Panel_DrMark.pdf
 

Más de Taraya Srivilas

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกTaraya Srivilas
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกTaraya Srivilas
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมTaraya Srivilas
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6Taraya Srivilas
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานTaraya Srivilas
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนTaraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจกTaraya Srivilas
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69Taraya Srivilas
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webTaraya Srivilas
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 Taraya Srivilas
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยTaraya Srivilas
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้Taraya Srivilas
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขTaraya Srivilas
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่Taraya Srivilas
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าTaraya Srivilas
 

Más de Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง

  • 1. 1 การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Civic Education): พัฒนาการเมืองไทยโดยสร้างประชาธิปไตยที่“คน” Thu, 11/19/2009 - 12:33 | by admin โดย ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บทนา : ความล้มเหลวของประชาธิปไตยในประเทศไทย จากตัวเลขการรัฐประหารที่ฉีกรัฐธรรมนูญจานวน 8 ครั้ง การรัฐประหารที่ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญอีก 4 ครั้ง และรัฐธรรมนูญจานวน 18 ฉบับในระยะเวลา 76 ปี กับเหตุการณ์นองเลือดอีก 3 เหตุการณ์ โดยมีสิ่งที่ได้มาคือ การเมืองที่ยังไม่ก้าวหน้าไปไหน นักการเมืองแก่งแย่งตาแหน่ง แบ่งเก้าอี้ ประชาชนแตกแยกขัดแย้งแบ่งข้าง และเกิดความรุนแรงจนเกือบจะเกิดเหตุการณ์ นองเลือดหลายครั้งในช่วงปี 2551 จนถึงช่วงสงกรานต์ปี 2552 ที่ผ่านมา โดยยังคงมีแนวโน้มที่ อาจจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงอีก หรืออาจถึงขนาดเป็นสงครามกลางเมืองในอนาคต เป็นสิ่งที่ทา ให้เรากล่าวได้ว่า ประชาธิปไตย – อย่างน้อยจนถึงในขณะนี้ – ไม่ประสบความสาเร็จ ใน ประเทศไทย ทาไมประชาธิปไตยที่ประสบความสาเร็จในยุโรปและในอเมริกา จึงกลับล้มเหลวในประเทศ ไทย เป็นเพราะประชาธิปไตย ไม่เหมาะ กับประเทศไทย หรือปัญหาอยู่ที่ คนไทย ? ถ้าความ ล้มเหลวของประชาธิปไตยมีสาเหตุมาจาก คนไทย แล้ว ใคร หรือคนกลุ่มไหนในประเทศไทย เป็นตัวปัญหาที่ทาให้ประชาธิปไตยล้มเหลว ? 1. ทหาร : การเมืองไทยวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์ – ปฏิวัติรัฐประหาร – ฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นเพราะทหาร ถ้าทหารปล่อยให้ปัญหาการเมืองแก้ไขไปตามวิถีทางประชาธิปไตย ไม่ ยึดอานาจ ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตยของไทยคงจะเติบโตขึ้นมาได้ ไม่เดินเวียนวน กลับมาเริ่มต้นใหม่ทุกครั้งไป และไม่ล้มเหลวดังเช่นทุกวันนี้ 2. นักการเมือง : ถ้านักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ใช้อานาจในทางที่มิชอบ ไม่ ทุจริตคอร์รัปชัน ไม่ซื้อเสียง และสามารถแก้ปัญหากันเองได้ตามวิถีทางประชาธิปไตย
  • 2. 2 ทหารจะมีเหตุในการยึดอานาจได้อย่างไร ดังนั้น สาเหตุความล้มเหลวของประชาธิปไตย ไทยก็คือนักการเมือง 3. ประชาชน : นักการเมืองจะซื้อเสียงได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่ขายเสียงให้ ทหารจะ ปฏิวัติได้อย่างไร ถ้าประชาชนไม่เรียกร้องหรือไม่ให้ความสนับสนุน ดังนั้น ประชาชน ต่างหากคือสาเหตุที่แท้จริงของความล้มเหลวของประชาธิปไตยในประเทศไทย ใครคือสาเหตุของความล้มเหลวของประชาธิปไตยในประเทศไทย ก. ทหาร ข. นักการเมือง หรือ ค. ประชาชน ? คาตอบที่ถูกต้องคือ ง. ถูกทุกข้อ เราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นทหาร นักการเมือง หรือประชาชน จะมากจะน้อยต่างก็มีส่วนต่อความล้มเหลวของประชาธิปไตยด้วยกันทั้งสิ้น เพราะจริงๆ แล้ว เราอาจจะมิได้ ศรัทธา ต่อระบอบประชาธิปไตย หรือ เข้าใจ เรื่องของการ ปกครองในระบอบนี้กันอย่างแท้จริง เราจึงไม่สามารถใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหา และนี่คือสาเหตุที่แท้จริงที่ทาให้ระบอบประชาธิปไตยไม่ประสบความสาเร็จในประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตย คน เป็นสิ่งที่สาคัญไม่น้อยไปกว่า ระบบ ถึงแม้เท่าที่ผ่านมาเรามักจะ กล่าวกันว่า ประชาธิปไตยไทยไม่ประสบความสาเร็จ เพราะประชาชนไม่มี “จิตสานึก ประชาธิปไตย” เราจึงพยายาม “เผยแพร่ประชาธิปไตย” กันมาตลอดเวลา แต่ทาไม ประชาธิปไตยถึงยังล้มเหลว ทั้งๆ ที่เรามีการศึกษาภาคบังคับ ๑๒ ปี ทาไมเราจึงยังไม่สามารถ “ปลูกฝังประชาธิปไตย” ให้มั่นคงในประเทศไทยได้ มีอะไรบางอย่างที่เราทาผิดพลาดไป หรือ ไม่ได้ทาหรือไม่ แล้ว “ประชาธิปไตย” ที่เราพยายามเผยแพร่ พยายามปลูกฝัง พยายามสร้างจิตสานึก คืออะไร จริงๆ แล้วเราเข้าใจ “ประชาธิปไตย” กันแค่ไหน เราเข้าใจกันอย่างแท้จริงหรือไม่ว่า “ประชาธิปไตย” คืออะไร ? “ประชาธิปไตย” คืออะไร ประชาธิปไตย คือ ระบอบการปกครองที่อานาจสูงสุดในประเทศเป็นของ ประชาชน (ประชา + อธิปไตย) โดยประชาชนเป็นผู้ปกครองตนเอง หรือเป็นการปกครอง โดย ประชาชน ประเทศใดปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประเทศนั้นประชาชนจะมีฐานะ เป็น เจ้าของประเทศ เมื่อเป็นเจ้าของประเทศประชาชนย่อมมีสิทธิและมีเสรีภาพในประเทศ
  • 3. 3 ของตน เช่นเดียวกับเจ้าของบ้านที่มีสิทธิและมีเสรีภาพในบ้านของตน ประชาธิปไตยจึง แตกต่างจากระบอบการปกครองระบอบอื่น เพราะระบอบอื่นประชาชนจะเป็นเพียง ผู้อาศัย และจะมีสิทธิเสรีภาพเพียงเท่าที่ผู้มีอานาจของประเทศจะ อนุญาต ให้มีเท่านั้น ในประเทศไทยนั้น อานาจสูงสุดในประเทศ หรือ อานาจอธิปไตย ได้กลายเป็นของ ประชาชน เมื่อได้มีการประกาศใช้ รัฐธรรมนูญฉบับแรก ซึ่งมีชื่อว่า “พระราชบัญญัติ ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช ๒๔๗๕ ” ในวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๔๗๕ หรือสามวันหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมีคาปรารภและมาตราแรก ดังต่อไปนี้ โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้ เจริญขึ้น และโดยที่ได้ทรงยอมรับตามคาขอร้องของคณะราษฎร จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้ มาตรา 1 อานาจสูงสุดในประเทศนั้นเป็นของ ราษฎรทั้งหลาย ... รัชกาลที่เจ็ดได้ทรงลงพระปรมาภิไธยที่ท้ายรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดย ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราช โองการ ดังเช่นพระบรมราชโองการในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งแตกต่างไปจาก รัฐธรรมนูญอีก 17 ฉบับต่อมาหลังจากนั้นที่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเสมอ รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกนี้จึงเป็น รอยต่อ ระหว่าง ระบอบราชาธิปไตย ที่อานาจสูงสุดเป็นของ พระมหากษัตริย์ กับ ระบอบประชาธิปไตย ที่อานาจสูงสุดเป็นของประชาชน และมีฐานะ เป็น หนังสือมอบอานาจสูงสุดในประเทศ ให้กับ “ราษฎรทั้งหลาย” โดยพระมหากษัตริย์ซึ่ง เป็นเจ้าของอานาจแต่เดิม ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยมอบอานาจนั้นด้วยพระองค์เอง ระบอบ ประชาธิปไตยที่ “อานาจสูงสุดในประเทศเป็นของราษฎรทั้งหลาย ” โดยมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงเริ่มต้นในประเทศไทยนับแต่บัดนั้น เมื่ออานาจสูงสุดในประเทศเป็นของประชาชน ประชาธิปไตยจึงก่อให้เกิด หลักสิทธิ เสรีภาพ และต้องมีการประกันสิทธิเสรีภาพให้กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ และโดยที่ ประชาชนร่วมกันเป็นเจ้าของประเทศ ตามหลักกฎหมายในเรื่องการเป็น เจ้าของร่วม นั้น ถ้า ของสิ่งใดมีเจ้าของมากกว่าหนึ่งคน ทุกคนย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของในสิ่งของนั้นอย่างเสมอกัน ถ้า เอาไปขายก็ต้องแบ่งให้มีส่วนแบ่งไปเท่าๆ กัน ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคน
  • 4. 4 – ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน หรือมีการศึกษาสูงต่าอย่างไร หรือยากดีมีจนแค่ไหน หรือนับถือศาสนา ใด – ย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศอย่างเสมอกัน ทานองเดียวกันกับการที่คนหลายคนร่วมกัน เป็นเจ้าของบ้านหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านทุกคนย่อมมีสิทธิและมีเสรีภาพในบ้านหลังนี้อย่างเสมอ กัน โดยเหตุนี้ ประชาธิปไตยนอกจากจะทาให้เกิดสิทธิเสรีภาพ ยังทาให้เกิด หลักความเสมอ ภาค ขึ้นมาพร้อมกันด้วย ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยประชาชนจึงมีความเท่าเทียมกัน ในระบอบนี้ ประชาชนจะเป็นเจ้าของชีวิต มีสิทธิส่วนบุคคล และมีเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง โดยที่ไม่จาเป็นต้องคิดเหมือนกัน เชื่อเหมือนกัน หรือเห็นเหมือนกัน หากสามารถที่ จะ แตกต่าง กันได้ ประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องของความ หลากหลาย ภายใต้หลักความเสมอ ภาค สาหรับในเรื่องอันเป็นเรื่องของส่วนรวม หรือในเรื่องของการเมืองการปกครอง โดยเหตุที่ ประชาชนแตกต่างกันและมีความเห็นที่แตกต่างกันได้ หากไม่สามารถ เห็นพ้องต้องกัน ได้ ประชาธิปไตยซึ่งเป็น การปกครองโดยประชาชน ก็จะต้องตัดสินปัญหาโดยใช้ หลักเสียง ข้างมาก แต่การใช้หลักเสียงข้างมากอย่างเดียว จะกลายเป็น เผด็จการเสียงข้างมาก ไปได้ ประชาธิปไตยจึงต้องมีการ คุ้มครองเสียงข้างน้อย ด้วย เพราะประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการ ปกครองแบบพวกมากลากไป หรือระบอบพวกมากเป็นใหญ่ เสียงข้างมากจึงต้องรับฟังและ เคารพเสียงข้างน้อยด้วย หลักประชาธิปไตยทั้งสามประการนี้คือ หนึ่ง อานาจสูงสุดเป็นของประชาชนและเป็นการ ปกครองโดยประชาชน สอง สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค และ สาม การปกครองโดยเสียง ข้างมากที่คุ้มครองเสียงข้างน้อย คือความหมายและหลักการของ “ประชาธิปไตย” ประชาชน ชาติใดที่ต้องการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย จะต้องนาหลักการดังกล่าวนี้มาเขียนเป็น กติกา เพื่อใช้ในการปกครองตนเองของประชาชน กติกานี้ก็คือ รัฐธรรมนูญ นั่นเอง ประชาธิปไตยคือการปกครองโดย “กติกา” ที่มาจากประชาชน ระบอบประชาธิปไตยจึงเป็นการปกครองโดยกติกา หรือ การปกครองโดยกฎหมาย (The Rule of Law) หรือที่เรียกว่า “นิติรัฐ” ซึ่งหมายถึงรัฐที่ปกครองโดยกติกา มิใช่ปกครองโดย อาเภอใจ หรือ ใช้กาลัง โดยทุกคนจะต้องอยู่ภายใต้กติกาหรือกฎหมายอย่างเสมอกัน รัฐบาลก็จะต้องอยู่ ภายใต้กฎหมาย และจะมีอานาจกระทาการใดที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพประชาชนได้ต่อเมื่อมี
  • 5. 5 กฎหมายให้อานาจไว้เท่านั้น และเนื่องจากประชาธิปไตยคือการปกครองโดยประชาชน กฎหมายที่ใช้ในการปกครองจึงต้องมาจากประชาชน และนี่เองคืออานาจหน้าที่ของสภา ผู้แทนราษฎร “สภา” ของ “ผู้แทนราษฎร” ที่ “ราษฎร” ได้เลือกเข้าไปทาหน้าที่ออกกฎหมาย แทนตนเอง ในระบอบประชาธิปไตย อานาจของรัฐบาลหรือ ฝ่ายบริหาร จึงมาจากกฎหมายที่ตราขึ้นมา โดย ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่มาจากประชาชน ถ้าหากรัฐบาลละเมิดกฎหมาย หรือใช้อานาจโดยไม่ ชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายตุลาการ หรือศาลจะเป็นผู้ใช้อานาจตีความกฎหมายในการตัดสิน เพื่อ ควบคุมการใช้อานาจให้เป็นไปตามกฎหมายที่มาจากประชาชน และนี่คือ หลักการแบ่งแยก อานาจ ของระบอบประชาธิปไตย ที่ต้องมีการแบ่งแยกอานาจออกเป็น อานาจนิติบัญญัติ (ตรา กฎหมาย) อานาจบริหาร (ใช้กฎหมาย) และ อานาจตุลาการ (ตีความกฎหมาย) เพื่อให้เกิดการ ตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจ (checks & balances) มิให้ผู้มีอานาจใช้อานาจได้ตามอาเภอใจ หากต้องใช้ภายใต้กฎหมายหรือกติกาที่มาจากประชาชน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจะต้องนาหลักการทั้งหลายเหล่านี้มาบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ ในระบอบประชาธิปไตยรัฐธรรมนูญจึงเป็น กฎหมายสูงสุด เป็น กฎหมายของ กฎหมาย ที่กาหนดว่า กฎหมายหรือกติกาที่ใช้ในการปกครองจะบัญญัติออกมาโดย กระบวนการอย่างไร ทั้งจะต้องมีการกาหนดระบบและรูปแบบที่ใช้ในการปกครอง พร้อมกับมี การประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยจึงมีฐานะเป็น สัญญาประชาคม ของคนในชาติที่ตกลง กันว่าจะปกครองกันด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยใช้กติกาตามที่ตกลงกันไว้ในรัฐธรรมนูญ และนี่คือความหมายของ รัฐธรรมนูญ ในระบอบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยจะประสบความสาเร็จได้ ประชาชนจะต้องเป็น “พลเมือง” การปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย” ไม่เพียงแต่จะต้องมีกติกา หรือรัฐธรรมนูญที่จะกาหนด ระบบ ที่ใช้ในการปกครองประเทศภายใต้หลักการดังที่ได้กล่าวมาเท่านั้น สิ่งที่สาคัญไม่น้อยไป กว่าก็คือ คน หรือประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ ที่มีความแตกต่างหลากหลายภายใต้หลัก สิทธิเสรีภาพและหลักความเสมอภาค จะต้องมีความเป็น “พลเมือง” ระบอบประชาธิปไตยที่
  • 6. 6 เป็นการปกครอง โดยประชาชน หรือการปกครองที่ ประชาชนปกครองตนเอง จึงจะประสบ ความสาเร็จได้ “พลเมือง”ของระบอบประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยลักษณะหกประการดังต่อไปนี้คือ หนึ่ง มี อิสรภาพและพึ่งตนเองได้ สอง เห็นคนเท่าเทียมกัน สาม ยอมรับความแตกต่าง สี่ เคารพสิทธิ ผู้อื่น ห้า รับผิดชอบต่อสังคม และ หก เข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม ซึ่งจะได้กล่าว เป็นลาดับไปดังนี้ 1. มีอิสรภาพและพึ่งตนเองได้ – ระบอบประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่ ประชาชนเป็นเจ้าของอานาจสูงสุดในประเทศ ประชาชนในประเทศจึงมีฐานะเป็นเจ้าของ ประเทศ เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนจึงเป็นเจ้าของชีวิต และมีสิทธิ เสรีภาพในประเทศของตนเอง ทานองเดียวกับเจ้าของบ้านมีสิทธิเสรีภาพในบ้านของตน ระบอบประชาธิปไตยจึงทาให้เกิด หลักสิทธิเสรีภาพ และทาให้ประชาชนมี อิสรภาพ คือ เป็นเจ้าของชีวิตตนเอง “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยจึงเป็น ไท คือเป็น อิสระชน ที่ พึ่งตนเองและสามารถรับผิดชอบตนเองได้ และไม่ยอมตนอยู่ภายใต้อิทธิพลอานาจ หรือ ภายใต้ “ระบบอุปถัมภ์” ของผู้ใด เด็กจะเป็น “ผู้ใหญ่” และเป็น “พลเมือง” หรือสมาชิกคน หนึ่งของสังคมได้อย่างแท้จริง เมื่อสามารถรับผิดชอบตนเองได้ 2. เห็นคนเท่าเทียมกัน – ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่อานาจสูงสุดในประเทศ เป็นของประชาชน ดังนั้น ในระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าประชาชนจะ แตกต่าง หรือ สูงต่า กันอย่างไร ไม่ว่าจะร่ารวยหรือยากจน ไม่ว่าจะจบดอกเตอร์หรือจบ ป. ๔ ไม่ว่าจะมีอาชีพ อะไร ไม่ว่าจะเป็นเจ้านายหรือเป็นลูกน้อง ทุกคนล้วนแต่ เท่าเทียมกัน ในฐานะที่เป็น เจ้าของประเทศ “พลเมือง” จึงต้อง เคารพหลักความเสมอภาค และจะต้อง เห็นคนเท่า เทียมกัน คือเห็นคนเป็น แนวระนาบ ( horizontal) เห็นตนเท่าเทียมกับคนอื่น และเห็นคน อื่นเท่าเทียมกับตน ไม่ว่าจะยากดีมีจน ทุกคนล้วนมี ศักดิ์ศรีของความเป็นเจ้าของประเทศ อย่างเสมอกัน ถึงแม้จะมีการพึ่งพาอาศัยแต่จะเป็นไปอย่าง เท่าเทียม ซึ่งจะแตกต่างอย่าง สิ้นเชิงจากสังคมแบบ อานาจนิยม ในระบอบเผด็จการ หรือสังคม ระบบอุปถัมภ์ ซึ่ง โครงสร้างสังคมจะเป็น แนวดิ่ง (vertical) ที่ประชาชนไม่เสมอภาค ไม่เท่าเทียม ไม่ใช่อิสระ ชน และมองเห็นคนเป็นแนวดิ่ง มีคนที่อยู่สูงกว่า และมีคนที่อยู่ต่ากว่า โดยจะ ยอม คนที่
  • 7. 7 อยู่สูงกว่า แต่จะ เหยียด คนที่อยู่ต่ากว่า ซึ่งมิใช่ลักษณะของ “พลเมือง ” ในระบอบ ประชาธิปไตย 3. ยอมรับความแตกต่าง – ประชาธิปไตยคือระบอบการปกครองที่ประชาชนเป็นเจ้าของ ประเทศ เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ประชาชนจึงมี เสรีภาพ ระบอบประชาธิปไตย จึงให้เสรีภาพ และยอมรับความหลากหลายของประชาชน ประชาชนจึงแตกต่างกันได้ ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องการเลือกอาชีพ วิถีชีวิต ความเชื่อทางศาสนา หรือความคิดเห็นทางการ เมือง ดังนั้น เพื่อมิให้ ความแตกต่าง นามาซึ่ง ความแตกแยก ในสังคม “พลเมือง” ใน ระบอบประชาธิปไตยจึงต้อง ยอมรับ และ เคารพ ความแตกต่างของกันและกัน เพื่อให้ สามารถ อยู่ร่วมกันได้ ถึงแม้จะแตกต่างกัน และจะต้องไม่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่เห็น แตกต่างไปจากตนเอง ถึงแม้จะไม่เห็นด้วย แต่จะต้องยอมรับว่า คนอื่นมีสิทธิที่จะแตกต่าง หรือมีความคิดเห็นที่แตกต่างไปจากเราได้ และต้องยอมรับ โดยไม่จาเป็นที่จะต้อง เข้าใจ ว่าทาไมเขาถึงเชื่อหรือเห็นแตกต่างไปจากเรา “พลเมือง” จึงคุยเรื่องการเมืองกันในบ้านได้ ถึงแม้จะเลือกพรรคการเมืองคนละพรรค หรือมีความคิดเห็นทางการเมืองคนละข้างกัน 4. เคารพสิทธิผู้อื่น – ในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนเป็นเจ้าของประเทศ ทุกคนจึงมี สิทธิ แต่ถ้าทุกคนใช้สิทธิโดยคานึงถึงแต่ประโยชน์ของตนเอง หรือเอาแต่ความคิดของ ตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่คานึงถึงสิทธิผู้อื่น หรือไม่สนใจว่าจะเกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ใด ย่อมจะทาให้เกิดการใช้สิทธิที่กระทบกระทั่งกันจนกระทั่งไม่อาจที่จะอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ต่อไปได้ ประชาธิปไตย ก็จะกลายเป็น อนาธิปไตย เพราะทุกคนเอาแต่สิทธิของตนเองเป็น ใหญ่ สุดท้ายประเทศชาติย่อมจะไปไม่รอด สิทธิในระบอบประชาธิปไตยจึงจาเป็นต้องมี ขอบเขต คือมีสิทธิและใช้สิทธิได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น “พลเมือง ” ในระบอบ ประชาธิปไตยจึงต้อง เคารพ สิทธิผู้อื่น และจะต้องไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไป ละเมิด สิทธิของผู้อื่น 5. รับผิดชอบต่อสังคม – ประชาธิปไตยมิใช่ระบอบการปกครอง ตามอาเภอใจ หรือใคร อยากจะทาอะไรก็ทา โดยไม่คานึงถึงส่วนรวม ดังนั้น นอกจากจะต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ ของผู้อื่น และรับผิดชอบต่อผู้อื่นแล้ว “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยยังจะต้องใช้สิทธิ เสรีภาพของตนโดย รับผิดชอบ ต่อสังคมด้วย โดยเหตุที่สังคมหรือประเทศชาติมิได้ ดีขึ้น หรือ แย่ลง โดยตัวเอง หากสังคมจะดีขึ้นได้ ก็ด้วย การกระทา ของคนในสังคม และที่
  • 8. 8 สังคมแย่ลงไป ก็เป็นเพราะ การกระทา ของคนในสังคม “พลเมือง” นั้นก็คือผู้ที่มีสานึกของ ความเป็นเจ้าของประเทศ และเป็นเจ้าของสังคม “พลเมือง” จึงไม่ใช่คนที่ใช้สิทธิเสรีภาพ ตามอาเภอใจ แล้วทาให้สังคม เสื่อม ลงไป หากเป็นผู้ที่ใช้สิทธิเสรีภาพโดยรับผิดชอบต่อ สังคมและส่วนรวม โดยมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและช่วยกันทาให้สังคมดีขึ้นกว่าที่ผ่าน มา 6. เข้าใจระบอบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม – ประชาธิปไตยคือการปกครอง โดย ประชาชน โดยใช้ กติกา หรือ กฎหมาย ที่มาจากประชาชนหรือผู้แทนประชาชน ระบอบ ประชาธิปไตยจะประสบความสาเร็จได้ ต่อเมื่อมี“พลเมือง” ที่เข้าใจหลักการพื้นฐานของ การปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามสมควร ทั้งในเรื่อง หลักประชาธิปไตย หรือ การ ปกครองโดยประชาชน และ หลักนิติรัฐ หรือ การปกครองโดยกฎหมาย เข้าใจเรื่องการ เลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง ทั้งติดตามความเป็นไป และมีส่วน ร่วมในเรื่องการบ้านการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการไป
  • 9. 9 เลือกตั้ง และการมีส่วนร่วมในเรื่องอื่นๆ ตามสมควร ถ้ามีความขัดแย้งก็เคารพกติกา และ ใช้วิถีทางประชาธิปไตยในการแก้ปัญหา โดยไม่ใช้กาลังหรือความรุนแรง ประชาธิปไตยไม่ใช่กฎธรรมชาติ จึงต้องมีการฝึกฝนให้คนเป็น “พลเ มือง ” กฎ ธรรมชาติเป็นเรื่องของการใช้กาลัง สิน มีสิทธิที่จะเห็นแตกต่างจากตนเอง สระชน ที่ ทุกคนต้องอยู่ภายใต้พลเมือง” ประชาธิปไตยไม่ใช่กฎธรรมชาติ ความเสมอภาคกันยิ่งไม่ใช่กฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติคือ ปลา ใหญ่กินปลาน้อย ผู้แข็งแรงกว่าย่อมเป็นผู้ชนะ ผู้อ่อนแอย่อมพ่ายแพ้ และการใช้กาลังตัดสิน ปัญหาต่างหากที่เป็นกฎธรรมชาติ ประชาธิปไตย – ซึ่งเป็นเรื่องของอารยะชน ที่ต้องการจะไป ให้พ้นการตัดสินปัญหากันด้วยกาลัง – จึงเป็นสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ ดังนั้น การเห็นคนเท่าเทียมกัน การยอมรับในความแตกต่าง การเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และการรับผิดชอบต่อสังคม อัน เป็นลักษณะของ “พลเมือง” ในระบอบประชาธิปไตยดังที่ได้กล่าวมา จึงไม่ใช่เรื่องที่จะเกิด ขึ้นมาได้เอง หากจะต้องมี การฝึกฝน และในเรื่องความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยดังที่ได้กล่าว ในตอนต้น ก็มิใช่เรื่องที่คนจะรู้ได้เอง หากต้อง เรียนรู้ กันตั้งแต่ในโรงเรียน การศึกษาในระบบการศึกษา ประเทศทั้งหลายที่ประสบความสาเร็จในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งได้แก่ ประเทศส่วนใหญ่ในทวีปยุโรป และประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ จึงมีสิ่งที่เรียกว่า “การศึกษา เพื่อสร้างพลเมือง” หรือ Civic Education เพื่อสอนและฝึกฝนคนของเขาให้เป็น พลเมือง โดย เริ่มสอนกันตั้งตั้งแต่ในชั้นอนุบาล และชั้นประถม ต่อเนื่องไปจนจบชั้นมัธยม ในประเทศเหล่านี้ สิ่งแรกที่เด็กจะต้องเรียนใน โรงเรียนอนุบาล เมื่อมีความขัดแย้งหรือมีการ ทะเลาะกันเกิดขึ้น ก็คือ ห้ามตีกัน เมื่อมีการทะเลาะกัน ครูจะจับแยกกันทันที และจะให้เรียนรู้ กติกาพื้นฐานประการแรกของการอยู่ร่วมกันในสังคมตามระบอบประชาธิปไตยคือ ขัดแย้งกัน ได้ แต่ห้ามใช้ความรุนแรง เมื่อขึ้นชั้น ประถม เด็กจะเรียนรู้เรื่องของ ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นสิ่งที่กากับการใช้สิทธิเสรีภาพ โดยจะถูกฝึกฝนให้ รับผิดชอบตนเอง รับผิดชอบต่อผู้อื่น และ รับผิดชอบต่อสังคม ทุกคนมีสิทธิ
  • 10. 10 เสรีภาพ แต่ต้องไม่ใช้สิทธิเสรีภาพของตนไปละเมิดสิทธิเสรีภาพคนอื่น และทาสิ่งใดจะต้อง คานึงถึงอยู่เสมอว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม สังคมจะดีขึ้นหรือแย่ลงก็อยู่ที่การกระทาของ คนในสังคม เด็กในประเทศที่มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” จึงมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นตามวัย ที่โตขึ้น พร้อมๆ กับมีความรับผิดชอบมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากเรื่องความรับผิดชอบแล้ว นักเรียนประถมยังจะต้องเรียนรู้เรื่อง การประนีประนอม ( compromise) และ การทางาน ร่วมกับคนอื่น ( cooperation) ไม่ใช่เรียนรู้แต่การแข่งขัน ( competition) เท่านั้น เพราะ ประชาธิปไตยคือการอยู่ร่วมกันในสังคม จึงต้องสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะแก้ไขความขัดแย้ง เรียนรู้ ที่จะตกลงกัน และเรียนรู้ที่จะทางานและอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น เครื่องมือ หรือ วิธีการ ที่โรงเรียนในอเมริกาและในยุโรปใช้ในการสร้างจิตสานึกของ ความเป็นพลเมืองให้กับเด็กนักเรียนคือ การให้นักเรียนได้ออกไป สัมผัสกับปัญหา ต่างๆ ของชุมชน ที่อยู่รอบๆ โรงเรียน และให้ตั้งคาถามว่าได้พบเห็นปัญหาอะไรบ้าง จากนั้น จะใช้ กระบวนการกลุ่ม ในการทาให้เกิดการถกเถียงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อวิเคราะห์ ปัญหา หาสาเหตุ และเสนอโครงงาน ของกลุ่มในการลงมือแก้ปัญหา โดยครูจะดูแล แนะนา และให้คาปรึกษาในการทาโครงงานให้เหมาะสมกับระดับอายุและชั้นเรียน วิธีการนี้จะทาให้ เด็กนักเรียนได้เริ่มมองออกไปจากตนเองไปสู่คนอื่น ได้สัมผัสความเป็นจริงที่อยู่รอบๆ ตัว เห็น ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา และเชื่อมโยงตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยกระบวนการ กลุ่มจะทาให้เกิดการเรียนรู้ที่จะยอมรับความแตกต่าง เคารพสิทธิ และรู้จักที่จะทางานร่วมกับ ผู้อื่น สาหรับการลงมือปฏิบัติจะทาให้เกิดจิตสานึกที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และพัฒนาไปสู่ การเป็น “พลเมือง” ที่ร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม กระบวนการนี้ในอเมริกาและหลายๆ ประเทศ ในยุโรปเริ่มต้นตั้งแต่ ชั้นประถมตอนปลาย และเป็นเครื่องมือที่สาคัญที่สุดในการสร้าง ประชาชนของเขาให้เป็น “พลเมือง” เมื่อเริ่มต้นเป็นพลเมืองแล้ว ก็จะเริ่มเรียนเรื่อง การเมืองการปกครองอย่างจริงจังในชั้นมัธยม โดย มัธยมต้น จะเรียนเรื่อง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และ ประวัติศาสตร์การเมือง มัธยมปลาย จะเรียนเรื่อง รัฐธรรมนูญ และ การปกครองโดยกฎหมาย นักเรียนมัธยมปลายต้อง เข้าใจเรื่องหลักการของประชาธิปไตย การปกครองโดยกฎหมายคืออะไร ทาไมต้องมีการ แบ่งแยกอานาจเป็นนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ การตรวจสอบถ่วงดุลกันในระบอบ
  • 11. 11 ประชาธิปไตยคืออะไร ประชาชนอยู่ตรงไหน รวมทั้งเข้าใจระบบการเมืองและการเลือกตั้งของ ประเทศของตนเองตามสมควร เมื่อจบโรงเรียนมัธยมปลาย อายุ ๑๘ ปี มีสิทธิเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ จึงได้รับการฝึกฝนให้เป็น “พลเมือง” แล้ว “พลเมือง” ที่เห็นคนเท่าเทียม ยอมรับความแตกต่าง เคารพสิทธิผู้อื่น รับผิดชอบต่อสังคม และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอย่าง เต็มตัว เมื่อไปเลือกตั้งก็จะไปใช้สิทธิอย่างที่เป็น “พลเมือง” คือไม่ถูกครอบงาด้วยอานาจหรือ อิทธิพลใด ถ้าไปรับราชการก็จะรู้ว่า เจ้าหน้าที่รัฐ ก็เป็น “พลเมือง” ที่เสมอกันกับประชาชนคน อื่นๆ และเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน มิใช่เจ้านายประชาชน ถ้าไปเป็น ทหาร หรือ ตารวจ ก็จะเข้าใจว่าตนเองเป็น “พลเมืองในเครื่องแบบ” (citizen in uniform) ทหาร ก็จะไม่ปฏิวัติ ไม่ฉีกรัฐธรรมนูญ ตารวจก็จะไม่ซ้อมผู้ต้องหา ถ้าไปเป็น นักการเมือง ก็เข้าใจว่า ประชาธิปไตยและการปกครองโดยกฎหมายคืออะไร บทบาทของผู้แทนปวงชนคืออะไร และจะ มีศักดิ์ศรี มีอิสรภาพ มีความเสมอภาค จึงไม่ยอมขายตัว หรือยอมให้พรรคการเมืองหรือ นักการเมืองที่มีตาแหน่งใหญ่กว่ามาครอบงา การศึกษานอกระบบการศึกษา นอกจากจะมีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในโรงเรียนแล้ว ในประเทศเหล่านี้ ยังมีการศึกษาเพื่อ สร้างพลเมืองที่เป็นการศึกษา นอกโรงเรียน หรือการศึกษานอกระบบการศึกษา เพื่อให้มี การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองสาหรับผู้ใหญ่ (Adult Civic Education) ด้วย โดยส่งเสริมให้องค์กร เอกชน ชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งพรรคการเมือง มีบทบาทอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ ทั้ง ยังมีการให้ การศึกษาทางการเมือง ( Political Education) แก่ประชาชน โดยมีหลักสูตรวิชา เรื่องการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น เพื่อให้ “พลเมือง” ที่สนใจสามารถ เลือกเรียนได้อีกด้วย การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองสาหรับผู้ใหญ่นี้ จะมีความสาคัญมากโดยเฉพาะในช่วง เริ่มต้น ของการจัดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง เพราะถ้ามีเฉพาะแต่การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองให้กับ เด็กรุ่นใหม่ในโรงเรียน ผู้ใหญ่หรือนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ผ่านโรงเรียนมาแล้ว ก็จะไม่มีโอกาส ได้ศึกษาเพื่อ เปลี่ยน ตนเองให้เป็นพลเมืองได้เลย ทุกประเทศที่เริ่มมีการศึกษาเพื่อสร้าง
  • 12. 12 พลเมืองจึงมีการดาเนินการไปพร้อมกัน ทั้งกับเด็กในโรงเรียน ซึ่งเป็นการมุ่งไปที่การสร้างคนรุ่น ใหม่ให้เติบโตขึ้นมาเป็นพลเมือง และกับผู้ใหญ่ที่ผ่านโรงเรียนมาแล้วด้วย นี่คือหลักการและ ตัวอย่าง ของ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ที่ทาให้ระบอบประชาธิปไตย ประสบความสาเร็จในยุโรปและอเมริกา ถึงแม้ว่าบางที ระบบ จะมีปัญหา และบ่อยครั้งที่ คน ก็ มีปัญหา แต่ คนส่วนใหญ่ ที่เป็นพลเมืองก็จะช่วยแก้ไขปัญหากันไปได้ตามวิถีทาง ประชาธิปไตย และตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน ถ้าประชาชนเป็น “พลเมือง” จะเกิด “สังคมพลเมือง” (Civil Society) และประชาธิปไตย จะเป็นการปกครองโดยประชาชนอย่างแท้จริง ถ้าประชาชนเป็น “พลเมือง” ประชาธิปไตยถึงแม้จะเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน (Representative Democracy) คือประชาชนมิได้ใช้อานาจอธิปไตยโดยตรง แต่ใช้โดยผ่านการ เลือกผู้แทน แต่ก็ยังคงเป็นการปกครอง โดยประชาชน มิใช่การปกครองโดยผู้แทน หรือปกครอง โดยนักการเมืองหรือพรรคการเมือง เพราะประชาชนที่เป็น “พลเมือง” จะเป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้ การครอบงาหรือการกะเกณฑ์ของนักการเมืองหรือผู้มีอานาจคนใด ประชาธิปไตยของประเทศ ที่มีพลเมือง จึงยังเป็นประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองโดยประชาชน มิใช่ปกครองโดย นักการเมือง ตัวอย่างเช่น ประเทศอังกฤษ ในตอนที่สงครามโลกครั้งที่สองเพิ่งสิ้นสุดลง ตอนนั้น วินสตัน เชอร์ชิล เป็น นายกรัฐมนตรีที่คนอังกฤษนิยมชมชอบมาก เพราะทาให้อังกฤษชนะเยอรมัน แต่ทั้งๆ ที่เชอร์ชิล มีอานาจมากและคนนิยมมาก แต่คนอังกฤษก็ไม่เลือกเชอร์ชิลให้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะรู้ว่าเชอร์ชิลไม่เหมาะกับการบริหารประเทศในยุคหลังสงคราม หรือใน สหรัฐอเมริกา ถ้า ประธานาธิบดีมาจากพรรครีพับลิกัน และพรรครีพับลิกันมีเสียงข้างมากในสภาคองเกรส (สภา ผู้แทนราษฎร) แต่ปรากฏว่าประธานาธิบดีบริหารประเทศไม่ดี ถึงเวลาเลือกตั้ง ส.ส. ซึ่ง สหรัฐอเมริกาเลือกทุกๆ สองปี ประชาชนจะเลือก ส.ส. พรรคเดโมแครต ให้เข้าไป ถ่วงดุล กับ พรรครีพับลิกัน ในทางกลับกัน สมมติว่าประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกันบริหารประเทศดี แต่ พรรครีพับลิกันมีเสียงข้างน้อยในสภาคองเกรส ประชาชนก็จะเลือก ส.ส. ของพรรครีพับลิกัน
  • 13. 13 เข้าสภาคองเกรสไปให้มากขึ้น เพื่อสนับสนุนการทางานของประธานาธิบดี นี่คือตัวอย่างของ การปกครอง โดย ประชาชน ที่ประชาชนใช้พรรคการเมืองและนักการเมือง มิใช่ถูกนักการเมือง หรือพรรคการเมืองใช้ นี่คือ การเมืองของพลเมือง ที่จะมีได้ก็แต่ในระบอบประชาธิปไตย ที่มี “พลเมือง” เท่านั้น เมื่อประชาชนในสังคมใดเป็น “พลเมือง” สังคมนั้นก็จะเป็น Civil Society หรือสังคมที่ ประกอบด้วย “พลเมือง” ที่เอาใจใส่ในความเป็นไปและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาของชุมชน ปัญหาของสังคม และปัญหาของบ้านเมือง Civil Society นี้ เรามักจะแปลกันว่า “ประชา สังคม” แท้ที่จริงแล้ว Civil Society ก็คือ “สังคมพลเมือง” หรือสังคมที่ประกอบด้วย “พลเมือง” นั่นเอง เมื่อเกิด “สังคมพลเมือง” ขึ้นมาแล้ว สังคมก็จะเข้มแข็งในการถ่วงดุลกับอานาจ ทั้งอานาจทาง การเมืองและอานาจทางเศรษฐกิจ การเมืองภาคประชาชนจะเข้มแข็ง การปกครองท้องถิ่นจะ เข้มแข็ง ชุมชนจะเข้มแข็ง ผู้บริโภคจะเข้มแข็ง ประชาชนจะมีบทบาทในการแก้ปัญหาต่างๆ ไม่ ว่าจะเป็นปัญหาสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาศีลธรรม ปัญหาจราจร หรือ ปัญหาอื่นๆ ทั้งหลาย ก็จะคลี่คลายแก้ไขไปได้แทบทั้งหมด เพราะสังคมจะไม่รอคอยหรือ เรียกร้องให้รัฐบาล หรือให้ ส.ส. มาแก้ไขให้แต่อย่างเดียวอีกต่อไป แต่จะช่วยกันแก้ไขทั้งสังคม ใครอยู่ชุมชนใด ใครอยู่ภาคส่วนไหน ก็จะช่วยกันแก้ไขในส่วนของตนเอง ความล้มเหลวของประชาธิปไตยหากไร้พลเมือง ในทางกลับกัน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยที่มิได้ทาให้ประชาชนเป็นพลเมือง หรือไม่มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” ประชาธิปไตยก็จะล้มเหลว และเต็มไปด้วยอุปสรรค ปัญหาโดยมีรูปแบบหรือลักษณะของปัญหาอย่างน้อยสามประการดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง เกิดชนชั้นปกครองใหม่ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยประชาชนมิใช่ผู้ปกครองที่แท้จริง หากเป็นแต่ เพียง ความชอบธรรม ให้กับผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง และประชาชนหาได้มีอิสรภาพ หรือ
  • 14. 14 จิตสานึกของความเป็นพลเมืองไม่ หากเป็นแต่ผู้อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของชนชั้นปกครอง ใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ประการที่สอง เกิดการแตกแยกกันในสังคม เพราะประชาชนไม่ยอมรับความแตกต่าง และไม่เคารพสิทธิ เสรีภาพของกันและกัน ความเห็นที่ต่างกันจึงนาไปสู่ความแตกแยก ขัดแย้ง และแบ่งเป็น ฝักฝ่าย พรรคการเมือง และ การเลือกตั้ง จะกลายเป็นสิ่งที่ทาให้สังคม หรือชุมชน หรือ ครอบครัวแตกแยกกัน ประชาธิปไตยจะกลายเป็นเรื่องของ พวก และ การแบ่งข้าง ไม่ฟังซึ่งกัน และกัน และถ้าขัดแย้งกันมาก แล้วมิได้ตัดสินกันด้วยความจริง กติกา และกระบวนการ ยุติธรรม ในที่สุดก็จะนาไปสู่ความรุนแรงและเหตุการณ์นองเลือด หรือถึงขนาดเกิดสงคราม กลางเมืองขึ้นมาได้ ประการที่สาม หรือถ้าไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงนองเลือด ประชาธิปไตยที่ไร้พลเมือง ก็จะเป็นประชาธิปไตยที่ใช้ สิทธิเสรีภาพกันตาม อาเภอใจ ทุกคนอ้างแต่สิทธิเสรีภาพของตนเอง แต่ไม่มีใครพูดถึงความ รับผิดชอบต่อสังคม ใครอยากทาอะไรก็ทาไป ไม่เห็นว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่จะทาให้สังคมดี ขึ้นหรือเลวลง ในที่สุด สิทธิเสรีภาพ ก็จะนาไปสู่ความ เสื่อมทราม ของสังคม ประเทศไทยในขณะนี้ ดูเหมือนจะมีปัญหาหมดทั้งสามประการที่กล่าวมา เพราะประเทศไทย ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” แต่อย่างใด ประชาธิปไตยของประเทศไทยจึงล้มเหลว เช่นเดียวกับที่ล้มเหลวในประเทศส่วนใหญ่ในทวีป แอฟริกา ในอเมริกาใต้ และในเอเชียที่ไม่มีการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ที่จริงแล้วหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี ๒๔๗๕ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้นาคณะราษฎร (อ่าน ว่า คณะ – ราด – สะ – ดอน) ฝ่ายพลเรือน ได้พยายามจะดาเนินการเรื่องการศึกษาเพื่อสร้าง พลเมือง โดยการก่อตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ” ขึ้นมาในปี ๒๔๗๗ เพื่อที่จะ “ประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองให้แก่พลเมืองให้มากที่สุดเท่าที่จะ
  • 15. 15 เป็นไปได้ ” (คากล่าวในวันเปิดมหาวิทยาลัยของนายปรีดี) แต่ในครั้งนั้นก็ยังมิได้มีการ ดาเนินการในระดับโรงเรียน และเมื่อเกิดรัฐประหารในปี ๒๔๙๐ บ้านเมืองเข้าสู่ยุคเผด็จการ การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองของประเทศไทยจึงต้องยุติลงไป สาหรับ “วิชาหน้าที่พลเมือง” ที่ เคยมี ในโรงเรียนในประเทศไทยนั้น ไม่เหมือนกับ “การศึกษา เพื่อสร้างพลเมือง” ที่ได้กล่าวมา เพราะ “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” จะทาให้เกิดพลเมืองที่มี ความรับผิดชอบ ด้วย จิตสานึก โดยเริ่มต้นจาก (1)ความรับผิดชอบต่อผู้อื่น และต่อชุมชนของ ตนเอง จากนั้นจึงนาไปสู่ (2)ความรับผิดชอบต่อสังคม และ (3)ต่อประเทศชาติ ในขณะที่ “วิชา หน้าที่พลเมือง” จะปลูกฝังให้ประชาชน ต้องทา เพราะเป็น หน้าที่ ซึ่งไม่เหมือนกัน ทั้งยังมุ่งไป ในเรื่องหน้าที่ต่อ “ชาติ” โดยไม่ได้เริ่มจากเรื่องใกล้ตัวคือเรื่องของชุมชนของตนเอง แต่อย่างไรก็ ตามการมี “วิชาหน้าที่พลเมือง” อย่างน้อยยังทาให้คนไทยที่ผ่านการศึกษาในโรงเรียนในอดีต ถูกปลูกฝังให้มีความผิดชอบต่อส่วนรวมและประเทศชาติในระดับหนึ่ง การที่ “วิชาหน้าที่ พลเมือง” ถูกยกเลิกไป จึงทาให้เกิดปัญหามากขึ้น เพราะทุกคนจะพูดถึงแต่สิทธิเสรีภาพของ ตนเอง แต่ไม่พูดถึงความรับผิดชอบอีกต่อไป ทุกวันนี้โรงเรียนส่วนใหญ่ในประเทศไทยสอนแต่ การแข่งขัน แข่งขันกันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย จนเด็กต้องไป “เรียนพิเศษ” กันตั้งแต่ชั้นอนุบาล ครูจานวนไม่น้อยก็มิได้สอนนักเรียนใน ห้องเรียนอย่างเต็มที่ เพราะจะเก็บไว้ไปสอนตอนเรียนพิเศษ ความจริงแล้วการแข่งขันมิใช่เรื่อง เลวร้าย หากเป็นเครื่องมือที่สาคัญในการกระตุ้นให้เด็กพัฒนาศักยภาพของตนเอง แต่การสอน ให้แข่งขันกันแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่สอนเรื่องความรับผิดชอบ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จะ นามาซึ่ง ความเห็นแก่ตัว เมื่อจบจากโรงเรียนมาเข้ามหาวิทยาลัยก็จะพบกับระบบการศึกษา แบบ แยกส่วน เรียนทีละวิชา เรียนครบก็จบได้ ไม่ได้เชื่อมโยงกับความเป็นไปนอกห้องเรียน แล้วก็มักจะสอนแต่ “ความรู้” ในตารา ไม่ค่อยได้สอน “ความจริง” และความเป็นไปของสังคม ระบบการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่โรงเรียนจนมหาวิทยาลัยจึงไม่สามารถสร้าง “พลเมือง” ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น เมื่อไม่มี “พลเมือง” ประชาธิปไตยของประเทศไทยจึงล้มเหลวมาโดยตลอด ประชาชนส่วนใหญ่ มิได้เป็น “พลเมือง” ที่มีอิสรภาพ หากอยู่ภายใต้ “ระบบอุปถัมภ์” ของนักการเมืองที่มาจากการ
  • 16. 16 เลือกตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับนักการเมืองเป็น แนวดิ่ง มิใช่ แนวระนาบ ส.ส. จะ ให้การอุปถัมภ์และประโยชน์แก่ประชาชน ประชาชนก็เลือก ส.ส. คนนั้นเป็น ส.ส. เพื่อให้ความ อุปถัมภ์แก่ตนเองต่อไป “พรรคการเมือง ” จึงมักจะมิใช่เครื่องมือของประชาชนในการสร้าง เจตนารมณ์ทางการเมืองดังที่ควรจะเป็น หากเป็นที่รวมกันของ “ผู้อุปถัมภ์” ที่มาจากการ เลือกตั้ง การจัดตั้งรัฐบาลเป็นเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์ และตามมาด้วยเรื่องการถอน ทุนและคอร์รัปชัน สุดท้ายก็จบด้วยการรัฐประหารและฉีกรัฐธรรมนูญ ถึงแม้จะมีความพยายาม แก้ปัญหาด้วยการไป “เผยแพร่ประชาธิปไตย ” หรือ “สร้างจิตสานึกประชาธิปไตย ” ให้กับ ประชาชนในต่างจังหวัด แต่ก็ล้มเหลวมาโดยตลอด เพราะผู้ที่ไปเผยแพร่ก็ไม่รู้ว่าอะไรคือ ประชาธิปไตย และไม่เข้าใจว่า “จิตสานึกประชาธิปไตย” คืออะไร จิตสานึกประชาธิปไตยก็คือความเป็น “พลเมือง” นั่นเอง และความเป็น “พลเมือง” นี่เองคือรากฐานของประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยไม่เคยทา การเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง : บทเรียนจากประเทศเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยความพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมัน ประเทศสัมพันธมิตร ๔ ประเทศที่ชนะสงคราม คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ได้ แยกประเทศเยอรมันออกเป็น ๔ ส่วน และแบ่งกันครอบครอง จนกระทั่ง ๔ ปีให้หลัง ประเทศ ฝ่ายโลกเสรีประชาธิปไตย ๓ ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส จึงได้อนุญาตให้ ประชาชนชาวเยอรมันในเขตยึดครองของตนมีสิทธิในการปกครองตนเองอีกครั้ง ประเทศ เยอรมัน ๓ ใน ๔ ส่วนจากที่เคยมีจึงฟื้นขึ้นมาใหม่ โดยถูกเรียกว่า “เยอรมันตะวันตก ” หรือ West Germany ในเวลาต่อมา ในขณะที่กาลังจะร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันนั้น ผู้นาและนักวิชาการที่รอดชีวิตจาก สงครามโลกครั้งที่สองได้ตั้งคาถามว่า เกิดอะไรขึ้นกับประชาธิปไตยของเยอรมัน เพราะ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นั้นมาจากการ เลือกตั้ง ทาไมประชาธิปไตยของประเทศเยอรมันจึงก่อให้เกิด เผด็จการเบ็ดเสร็จอย่างฮิตเลอร์ขึ้นมาได้ ? ฮิตเลอร์ซึ่งก่อสงครามโลกครั้งที่สองที่คร่าชีวิตคน ยุโรปไปกว่า ๕๐ ล้านคน และฆ่าคนยิวมากกว่า ๖ ล้านคนด้วยวิธีการอันโหดร้ายทารุณ ทั้งยัง ฆ่าคนเยอรมันที่ต่อต้านหรือสงสัยว่าเป็นฝ่ายตรงข้ามไปมากกว่าสองแสนคน และในที่สุดทาให้
  • 17. 17 ประเทศเยอรมันต้องพินาศย่อยยับจนแทบสิ้นชาติเกิดขึ้นมาจากระบอบประชาธิปไตยได้ อย่างไร ? พวกเขาได้ข้อสรุปว่าความหายนะของระบอบประชาธิปไตยของเยอรมันนั้น มีที่มาจาก ๒ สาเหตุคือ ประการที่หนึ่ง ระบอบประชาธิปไตยของเยอรมันในตอนนั้นมีปัญหาเรื่อง การ แบ่งแยกอานาจ และ การตรวจสอบถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร โดยเหตุที่ ประเทศเยอรมันใช้ ระบบรัฐสภา ซึ่งมีจุดอ่อนคือ การที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยตรง แต่มาจากเสียงข้างมากของสภา ทาให้นายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารสามารถ ครอบงาสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติได้ โดยมีเครื่องมือสาคัญที่ใช้ในการครอบงาสภาคือ พรรค การเมือง ที่นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าพรรค จากจุดอ่อนตรงนี้ ฮิตเลอร์ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคนาซี ที่ชนะการเลือกตั้งได้เสียงข้างมากในสภาไรช์ทาก (Reichstag - สภาผู้แทนราษฎรของประเทศ เยอรมันในขณะนั้น) จึงสามารถครอบงาสภาไรช์ทาก และให้สภาไรช์ทากที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ออกฎหมายให้อานาจแก่ตนเอง จนสามารถสถาปนาระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้นมาในที่สุด ประการที่สอง ประเทศเยอรมันเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบไกเซอร์ ( Kaiser แปลว่า จักรพรรดิ) มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยที่ไม่ได้สร้าง “พลเมือง” ฮิตเลอร์ที่มาจากการ เลือกตั้งจึงกลายเป็นผู้ปกครองที่มา แทนที่ ไกเซอร์ โดยสังคมเยอรมันยังเป็นสังคม แนวดิ่ง แบบ อานาจนิยม เหมือนในสมัยไกเซอร์ คนเยอรมันในตอนนั้นจึงยอมรับในอานาจของฮิตเลอร์ และเชื่อฟังฮิตเลอร์ จนกระทั่งยอมให้ฮิตเลอร์นาพาตนเองและประเทศชาติไปสู่หายนะในที่สุด ผู้นาและนักวิชาการของเยอรมันตะวันตกจึงได้ใช้บทเรียนในสมัยฮิตเลอร์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่ขึ้นมา โดยตัดสินใจที่จะใช้ ระบบรัฐสภา ต่อไป แต่ได้แก้ไขจุดอ่อนของระบบรัฐสภาที่เคยมี ในสมัยฮิตเลอร์ โดยการทาให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นอิสระจากรัฐบาล เพื่อให้สภาผู้แทนราษฎร สามารถตรวจสอบถ่วงดุลรัฐบาลได้ ไม่ถูกรัฐบาลใช้พรรคการเมืองมาครอบงาอีกต่อไป ซึ่ง ประเทศเยอรมันตะวันตกทาได้สาเร็จ รัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ และทาให้ ประเทศเยอรมันไม่เกิดเผด็จการที่มาจากการเลือกตั้งอีกเลย พร้อมกับมีระบบรัฐสภาที่มีทั้ง เสถียรภาพ และ ประสิทธิภาพ มาจนกระทั่งทุก วันนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีชื่อว่า Grundgesetzซึ่งแปลว่า กฎหมายพื้นฐาน เพราะเดิมผู้ร่างรัฐธรรมนูญของเยอรมันตะวันตก ตั้งใจจะใช้เป็นการชั่วคราวจนกว่าประเทศเยอรมันจะรวมกันได้อีกครั้งเท่านั้น แต่เมื่อถึงเวลาที่
  • 18. 18 ประเทศเยอรมันกลับมารวมกันอีกครั้งจริงๆ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ โดยประเทศเยอรมันตะวันออก หรือ East Germany ซึ่งเป็นเขตยึดครองของรัสเซีย ได้เข้ามารวมกับประเทศเยอรมันตะวันตก ประเทศเยอรมันตัดสินใจใช้กฎหมายพื้นฐานฉบับนี้เป็นรัฐธรรมนูญต่อเนื่องมาจนทุกวันนี้ พร้อมๆ กับการจัดทารัฐธรรมนูญที่มีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างอานาจ ประเทศเยอรมัน ตะวันตกได้ดาเนินการให้มี “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ”เพื่อเปลี่ยนเป็นประชาชนเยอรมัน ให้เป็น “พลเมือง” โดยปฏิรูประบบการศึกษาให้เป็น “การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” เพื่อสร้างคน รุ่นใหม่ให้เป็นพลเมืองโดยเริ่มต้นตั้งแต่ชั้นอนุบาล พร้อมกับจัดให้มีการศึกษาเพื่อความเป็น พลเมืองให้กับผู้ใหญ่ ทั้งยังได้มีการปฏิรูปสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ให้ สามารถเสนอข่าวสารได้โดยเป็นอิสระจากรัฐบาล และส่งเสริมให้พรรคการเมืองรวมถึงองค์กร ภาคประชาชนต่างๆ ทาหน้าที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการเมืองด้วย ประเทศเยอรมันทา ได้สาเร็จโดยใช้เวลาเพียงประมาณ ๑๕ ปีเท่านั้น – คือตั้งแต่เด็กเริ่มเรียนอนุบาลจนจบมัธยม ปลาย – และทาให้ประเทศเยอรมันมีประชาธิปไตยที่มั่นคงมาจนทุกวันนี้ นี่คือบทเรียนจากประเทศเยอรมัน ที่เคย ล้มเหลว ในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ถึง ขนาดเกิดเผด็จการที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติสมัยใหม่อย่างฮิตเลอร์ขึ้นมา จนต้องประสบกับความหายนะถึงขนาดเกือบสิ้นประเทศไปแล้ว แต่กลับสามารถแก้ไขและ พัฒนาประชาธิปไตยของเขาให้มั่นคงขึ้นมาได้ ประเทศไทยใช้ระบบรัฐสภาเหมือนกับประเทศ เยอรมัน และมีปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ได้ สร้างพลเมืองเช่นเดียวกับประเทศเยอรมัน อีกทั้งยังมีลักษณะสังคมเป็นแบบอานาจนิยมดังเช่น สังคมเยอรมันในสมัยฮิตเลอร์ ประสบการณ์ของประเทศเยอรมันที่แก้ปัญหาได้สาเร็จจึงน่าจะ เป็นตัวอย่างและบทเรียนให้กับประเทศไทยในขณะนี้ได้เป็นอย่างดี พลเมือง : ทางรอดประชาธิปไตยไทย พลเมืองคือรากฐานของประชาธิปไตย จิตสานึกประชาธิปไตยก็คือจิตสานึกของความเป็น พลเมือง รัฐธรรมนูญที่มีการแบ่งแยกอานาจ และการตรวจสอบถ่วงดุล ( checks & balances) ที่ดี เป็นเรื่องของ ระบบ ที่จาเป็นจะต้องมีการแก้ไข (ซึ่งผู้เขียนจะได้เขียนต่างหากออกไปเป็นอีก เรื่องหนึ่ง) แต่เรื่องของ คน เป็นสิ่งที่ต้องดาเนินการไปพร้อมๆ กันอย่างเร่งด่วน เพื่อให้
  • 19. 19 ประชาธิปไตยของประเทศไทยมีรากฐานที่มั่นคง ไม่เดินหน้าไปสู่การเผชิญหน้า ความรุนแรง และจบลงด้วยรัฐประหารและการนองเลือดกันอีก การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือ Civic Education เพื่อเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง จึงเป็นทางรอดของประชาธิปไตยของประเทศ ไทย ซึ่งเราสามารถเรียนรู้เทคนิควิธีการได้จากประเทศต่างๆ ในอเมริกาและยุโรปที่ประสบ ความสาเร็จในเรื่องนี้มาแล้ว ประเทศไทยผ่านเหตุการณ์ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยมาหลายเหตุการณ์ ทั้งยังมีการเมือง ภาคพลเมืองที่มีความเข้มแข็งพอสมควร ประเทศไทยจึงมิได้เริ่มจากศูนย์ในการเปลี่ยน ประชาชนให้เป็นพลเมือง ถ้าหากสามารถเชื่อมประสานกลุ่มองค์กรภาคประชาชนรวมถึง ภาครัฐ ที่พยายาม “เผยแพร่ประชาธิปไตย” หรือทางานภาคประชาชน ให้มาร่วมกันภายใต้ ยุทธศาสตร์เดียวกัน คือการเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง ด้วยวิธีการอันหลากหลาย ที่มี เป้าหมายเดียวกันคือสร้างพลเมือง โอกาสของประเทศไทยที่จะมีประชาธิปไตยที่เข้มแข้งมั่นคง ไม่ล้มเหลว หรือไร้ความหวัง จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคต การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง หรือการเปลี่ยนประชาชนให้เป็นพลเมือง เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลา โดยปกติคือคนหนึ่งรุ่น ประเทศเยอรมันใช้เวลาประมาณ ๑๕ ปี สาหรับประเทศไทย ด้วยต้นทุน การเรียกร้องประชาธิปไตย การตื่นตัวของประชาชน และเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่เรามี ในตอนนี้ ถ้าเราเริ่มต้น ณ บัดนี้ เราอาจจะใช้เวลาเพียงแค่สิบปี หรืออาจจะสั้นกว่านั้นก็ได้ หากมีการดาเนินการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองอย่างจริงจังนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในเวลาไม่ช้า ประเทศไทยจะมีพลเมืองมากพอจนถึงจุดที่จะเปลี่ยนแปลงได้ ประชาธิปไตยของประเทศไทย จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองโดยประชาชนอย่างแท้จริง สังคมไทยจะ กลายเป็นสังคมพลเมือง (Civil Society) เมื่อถึงจุดนั้น สังคมจะเข้มแข็ง ปัญหาการเมือง ปัญหาสังคม ปัญหาศีลธรรม ปัญหาเยาวชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งปัญหาเศรษฐกิจ ก็ จะแก้ไขได้ทั้งสิ้น ไม่มีระบอบการปกครองอื่นใดนอกจากระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ ไม่มีระบอบอื่นใดนอกจากระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพและมีความเสมอ ภาคกัน ที่ผ่านมาประชาธิปไตยของประเทศไทยล้มเหลวเพราะไม่เคยสร้างสร้างประชาธิปไตย
  • 20. 20 ที่คน การสร้าง “พลเมือง” หรือเปลี่ยนประชาชนให้เป็น “พลเมือง” จึงเป็นหนทางในการพัฒนา ประชาธิปไตยที่รากฐาน ที่เราต้องเริ่มดาเนินการนับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เพื่อให้ประเทศไทยมี ประชาธิปไตยที่มั่นคง และเป็นประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองโดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง.