SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 14
Descargar para leer sin conexión
การวิจัยกับการประชาสัมพันธ


                     วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม
1. เพื่อใหเกิดความเขาใจและสามารถอธิบายความสัมพันธของการประชาสัมพันธและ
   การวิจัยได
2. เพืออธิบายกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธอนมีการวิจยเปนหนึงในกระบวนการ
      ่                                       ั        ั       ่
   ดําเนินงานไดอยางถูกตอง

เนื้อหา
1.   ความหมายของการวิจัย
2.   จุดมุงหมายของการวิจัย
3.   ประโยชนของการวิจัย
4.   ความสําคัญของการวิจัยตองานประชาสัมพันธ
5.   กระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ
6.   จุดประสงคของการวิจัยทางการประชาสัมพันธ
7.   เมื่อใดตองทําการวิจัยทางการประชาสัมพันธ
“ความสนใจในการวัดประเมินที่เพิ่มขึ้นในปจจุบนมาจากความพยายาม
                                                              ั
                 ในการชี้ใหเห็นความสําคัญของการประชาสัมพันธสําหรับองคกร
                          ทุกคนอยากรูวา เราสามารถเพิ่มคุณคาแกธุรกิจ
                                และสิ่งที่เราพยายามจะทําใหสําเร็จ
        ไมวาจะเปนองคกร หนวยงานรัฐบาล หรือองคกรการกุศล ทุกองคกรตองการรูวา
                                                                              
                   จะไดอะไรตอบแทนมาจากการลงทุนดานประชาสัมพันธบาง
                แตทุกวันนี้ทุกคนตองการรูวา ทําอยางไรใหใชงบประมาณนอยลง
                    แตไดผลมากขึ้น ดวยการใชการประชาสัมพันธแบบฉลาด”
                               โจเซฟ เอ. โคเพ็ก, ที่ปรึกษาอาวุโสของกลุมบริษัทดีเลนชไนเดอร
                                                                    (Dilenschneider, 2011)


        ในองคกรแตละแหงนั้นมักจะประกอบไปดวยหนวยงานยอย ๆ หลาย ๆ หนวยงาน
นอกจากจะตองมีการประสานงานระหวางระบบยอยตางๆ ภายในองคกรดวยกันแลว ก็ยังตอง
ปรับเปลี่ยนใหรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่แวดลอมภายนอกองคกรอีกดวย องคกรจึงจําเปน
ตองใชการประชาสัมพันธเขาไปมีบทบาทสําคัญตอการสรางความสัมพันธและความเขาใจใน
การดําเนินงานขององคกรใหเกิดขึ้นในลักษณะของการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Commu-
nication) นั่นคือ การทําหนาที่เปนตัวกลางคอยเชื่อมความสัมพันธ ประสานประโยชนใหเกิด
ความเขาใจรวมกันระหวางองคกรและกลุมเปาหมาย
        การประชาสัมพันธถือเปนกิจกรรมดานนิเทศศาสตรอยางหนึ่ง โดยอาจใชการสื่อสาร
รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลาย ๆ รูปแบบ ที่สามารถสรางความสัมพันธอันดีกับประชาชน
(ปดิวรัดา ปาลกะวงศ ณ อยุธยา, 2545) หรือกลุมเปาหมายขององคกรได ภาระงานหนึ่งของงาน
ประชาสัมพันธ คือ การรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือทัศนคติที่แตกตางกันของกลุม
เปาหมายกลุมตาง ๆ กลาวคือ เปนการวิจัยทางการประชาสัมพันธ (Public Relations Research)
ซึงสวนใหญแลว มักเปนการศึกษากลุมเปาหมายเพือใชเปนขอมูลในการตัดสินใจไดวา วัตถุประสงค
  ่                                          ่                              
และเปาหมายที่วางไวในระยะแรกมีโอกาสที่จะดําเนินการหรือไมและอยางไร นอกจากนี้ เปน
การวิจยเพือวัดทัศนคติ แรงจูงใจ ความคาดหวังตาง ๆ ของกลุมเปาหมาย โดยทําไดหลายวิธตงแต
       ั ่                                                                           ี ้ั
การสํารวจทางโทรศัพท การสงจดหมาย การสัมภาษณรายบุคคลแบบเจาะลึก การอภิปรายกลุม
เปนตน หลังจากการรวบรวมขอมูลแลวจึงนําขอมูลที่ไดรับมาทําความเขาใจเกี่ยวกับปจจัยหรือ
ตัวแปรที่สําคัญในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธตอไปได
                                            

2   การวิจัยงานประชาสัมพันธ
โดยสรุปแลว การดําเนินงานประชาสัมพันธนับเปนกระบวนการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่ง
จําเปนตองมีการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนกลุมเปาหมายอยูเสมอ ความจําเปนในการวิจัย
หรือการวัดผลที่มีตอการดําเนินงานประชาสัมพันธ ก็เพื่อใหทราบถึงทัศนคติหรือปฏิกิริยาของ
ประชาชนกลุมเปาหมายเฉพาะกลุม (A particular public) ที่มีตอองคกรหรือตอกิจกรรมบางอยาง
ขององคกร ซึงในปจจุบน องคกรสวนใหญมกวาจางบริษททีปรึกษาทางการประชาสัมพันธ (Public
              ่        ั                  ั           ั ่
Relations Agency) มาเปนที่ปรึกษา และดําเนินการทําวิจัยในดานตางๆ ใหแกองคกรกอนที่จะ
ตัดสินใจวางแผนงานประชาสัมพันธ ทังนีเพือใหแนใจวา มีความจําเปนทีจะตองทําการประชาสัมพันธ
                                   ้ ้ ่                            ่
ในครั้งนั้น หรือสามารถกลาวอีกนัยหนึ่งไดวา การวิจัยนั้นมีความเกี่ยวของกับกระบวนการดําเนิน
งานประชาสัมพันธในแงที่วา การวิจัยเปนวิธีการ (Method) อยางหนึ่งซึ่งจะทําใหทราบถึงปฏิกริยา
                                                                                        ิ
ตอบสนอง (Feedback) ของกลุมเปาหมายขององคกรอยางมีหลักเกณฑ
ความหมายของการวิจัย
         มีผูใหความหมายของคําวา “วิจัย” (Research) ไวหลายประการ ตัวอยางเชน การวิจัย
หมายถึง กระบวนการคนควาเพื่อหาคําตอบที่ตองการ โดยนําเอาทฤษฎีและกฎเกณฑหรือวิธี
การตาง ๆ ทางวิทยาศาสตร (Scientific Method) มาใชเปนพื้นฐาน ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตรนี้
เปนวิธีการที่ผสมผสานระหวางวิธีการใชเหตุใชผลขบคิด (Rationalism) โดยเชื่อวาคนเราจะเขาถึง
ความจริงไดดวยการใชเหตุผลไตรตรอง พิสูจน และวิธีการหาความรูเชิงประจักษ (Empiricalism)
โดยการหาความรูดวยการออกไปฟงใหไดยินกับหู หรือไปดูใหเห็นกับตา
       ความหมายโดยทัวไปของการวิจย คือ กระบวนการคนหาความรู ขอเท็จจริงอยางมีระเบียบ
                        ่        ั
มีกฎเกณฑในการรวบรวมขอมูล วิเคราะหและตีความขอมูล เพื่อแสวงหาคําตอบสําหรับคําถาม
หรือประเด็นที่ตองการศึกษา
         นักวิชาการบางทานกลาววา การวิจย คือ กระบวนการคนควาหาขอเท็จจริง ภายในขอบเขต
                                         ั
ที่กําหนดไวอยางมีระบบ และดําเนินการอยางมีลําดับขั้นตอน ซึ่งเปนวิธีการในการหาขอมูลที่
เชื่อถือได
       การวิจัยเกิดขึ้นเมื่อเกิดขอสงสัยที่เรียกวา “ปญหานําการวิจัย” และนักวิจัยตองการ
จะแสวงหา “คําตอบ” ของปญหานั้น และจะตองเปนคําตอบที่แทจริง ถูกตอง ใกลเคียงความจริง
ใหมากที่สุด (กาญจนา แกวเทพ, 2548)
           การวิจย หมายถึง การคนควาหาความรูความจริงทีเชือถือได โดยวิธการทีมระบบแบบแผน
                 ั                                        ่ ่             ี   ่ ี
ที่เชื่อถือได เพื่อนําความรูที่ไดนั้นไปสรางกฎเกณฑหรือทฤษฎีตาง ๆ เพื่อนําไปใชในการอางอิง


                                                                บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ   3
หรืออธิบายปรากฏการณเฉพาะเรื่องหรือทั่วๆ ไป และเปนผลใหสามารถทํานายและควบคุม
การเกิดปรากฏการณตาง ๆ ได (พวงรัตน ทวีรัตน, 2543)
                  
            การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรูความเขาใจที่ถูกตองในสิ่งที่ตองการศึกษา
มีการเก็บรวบรวมขอมูล การวิเคราะหและการตีความหมายผลที่ไดจากการวิเคราะห เพื่อใหไดมา
ซึ่งคําตอบอันถูกตอง ซึ่งคําวา “กระบวนการ” หมายถึง กิจกรรมตางๆ ที่ไดกระทําขึ้นโดยมี
ความเกียวโยงตอเนืองกันอยางมีระบบ เพือใหบรรลุถงเปาหมาย โดยมีกจกรรมตาง ๆ ทีเกียวของ
          ่           ่                  ่          ึ               ิ                ่ ่
กับการวิจัยอยางเปนขั้นตอน และนํามาซึ่งความรูความเขาใจที่ถูกตองในเรื่องที่จะทําการวิจัย
เริมตังแตการกําหนดหัวขอวิจย การออกแบบการวิจย การกําหนดประชากรเปาหมาย วิธการรวบรวม
   ่ ้                       ั                   ั                                 ี
ขอมูล การวิเคราะหและการตีความหมาย ตลอดจนการเขียนและการนําเสนอรายงานการวิจัย
ซึ่งกิจกรรมตาง ๆ เหลานี้จะตองดําเนินไปสูเปาหมายอยางมีระเบียบแบบแผน (สุชาติ ประสิทธิ์-
รัฐสินธุ, 2544)
          ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวา การวิจัย คือ การศึกษาคนควาอยางเปนระบบระเบียบ เพื่อ
แสวงหาคําตอบสําหรับปญหาการวิจัยที่กําหนด เพื่อแสวงหาความรูใหม วิธีการทํางานใหม ๆ
ซึ่งทําใหเกิดความกาวหนาทางวิชาการหรือเกิดประโยชนในทางปฏิบัติ โดยอาศัยกระบวนการทาง
วิทยาศาสตรที่มีการวางแผนลวงหนาอยางมีระบบทุกขั้นตอนการดําเนินงาน เพื่อใหผลการศึกษา
ที่ถูกตองและเชื่อถือได และที่ขาดไมไดคือ การเผยแพรงานวิจัยเพื่อใหมีการนําผลการวิจัยไปใช
ประโยชนหรือแกปญหาตอไป
         ในแงของการสื่อสารนั้น การวิจัยดานการสื่อสารจะนําไปสูความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับ
กระบวนการสื่อสารของบุคคลในสังคม โดยเฉพาะในดานความคิด ความรูสึก และการกระทํา
สงผลใหกระบวนการสื่อสารของบุคคลมีความสลับซับซอนตามไปดวย ดังนั้น การวิจัยดาน
การสือสารจะเปนเสมือนเครืองมือหรือกลไกหลักทีชวยคลีคลายความสลับซับซอนในกระบวนการ
      ่                    ่                   ่     ่
สื่อสารของบุคคล นอกจากนั้น ผลจากการวิจัยยังชวยใหบุคคลมีความรูความเขาใจที่ถูกตอง
เกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารมากขึ้น และชวยพัฒนาทักษะการสื่อสารใหเหมาะสมและสอดคลอง
กับสถานการณตาง ๆ ดวย นอกจากนี้ ยังสามารถอธิบายถึงความสําเร็จและความลมเหลวที่
เกิดจากการสื่อสารในบริบทและสถานการณตาง ๆ ตลอดจนชี้ใหเห็นถึงปจจัยที่เกี่ยวของกับ
ความสําเร็จและความลมเหลวในสถานการณนั้น ๆ ได
        การวิจยหรือการวัดผลทางการประชาสัมพันธ จึงหมายถึง การคนหาขอเท็จจริงดวยวิธการ
              ั                                                                     ี
ที่มีระบบแบบแผน เพื่อเปนประโยชนตอการวางแผนกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ
เปนการคนควาหาคําตอบสําหรับปญหาทีเกิดขึนในการดําเนินงานประชาสัมพันธ หรือเปนการหา
                                    ่ ้


4   การวิจัยงานประชาสัมพันธ
ขอมูลทีเปนประโยชนตอการดําเนินงานประชาสัมพันธนนเอง โดยมีกระบวนการคนควาทีเปนระบบ
         ่                                          ั่                      ่
ซึ่งมุงหวังที่จะนําผลการวิจัยที่ไดรับนั้นไปเปนแนวทางในการแกไขปญหาในการดําเนินงาน
ประชาสัมพันธหรือกําหนดเปนนโยบายใหมขึ้น
           อนึ่ง ที่กลาววา กระบวนการวิจัยเปนการทํางานอยางเปนระบบนั้น หมายถึง การทํางาน
ที่ตองมีการดําเนินงานเปนลําดับขั้นตอน ตัวอยางเชน เมื่อตองการสํารวจภาพลักษณขององคกร
ใดองคกรหนึง นักวิจยก็เขาไปสอบถามหรือสัมภาษณจากประชาชนเพือทําการเก็บขอมูลเลยทันที
                ่        ั                                          ่
การกระทําเชนนี้ถือวา เปนการทํางานที่ไมเปนระบบ เนื่องจากยังไมไดมีการศึกษาขอมูลพื้นฐาน
ที่เกี่ยวของเสียกอน เปนตน
จุดมุงหมายของการวิจัย
         ถาจะกลาวถึงจุดมุงหมายโดยทัวไปของการวิจยแลว อาจกลาวไดวา ในการทําการวิจยใด ๆ
                                        ่              ั                                 ั
ก็ตาม นักวิจัยมักจะมีจุดมุงหมายอยางใดอยางหนึ่งใน 2 ประการนี้ (นิภา ศรีไพโรจน, 2527) คือ
         1. เพื่อเพิ่มพูนความรูใหม
             เนื่องจากธรรมชาติของมนุษยนั้นมีความอยากรูอยากเห็น อยากทราบเหตุผลและ
ปรากฏการณของสิ่งตาง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทําการวิจัยเพื่อคนหาคําตอบ สิ่งใดที่พอรูอยูบางก็ทาใหรู
                                                                                             ํ
และเขาใจดียิ่งขึ้น จึงเปนการเพิ่มพูนวิทยาการใหกวางขวางลึกซึ้ง
         2. เพื่อนําผลไปประยุกตหรือใชใหเปนประโยชน
             จุดมุงหมายของการวิจัยนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปญหาที่จะตองคนควาหาความจริง เพื่อนําผล
ที่ไดจากการวิจัยไปแกปญหาหรือประยุกตใชใหเปนประโยชนตอไป
        จุดมุงหมายของการวิจยทัง 2 ประการนีมความสัมพันธกน ทังนีเพราะจุดมุงหมายประการ
                             ั ้              ้ ี        ั ้ ้           
แรกมุงวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรูใหม ทําใหคนพบกฎหรือทฤษฎี ซึ่งสามารถนําไปประยุกตใชให
เปนประโยชนไดตามจุดมุงหมายของการวิจัยในขอ 2 ตอไป
         โดยทั่วไปแลว การวิจัยเปนกรรมวิธีที่ตั้งอยูบนรากฐานทางวิทยาศาสตร กลาวคือ ใชหลัก
ของเหตุผลในการศึกษา รวบรวม และวิเคราะหขอมูล เพื่อหาขอยุติตาง ๆ ซึ่งจะตองทํา
เพื่อวัตถุประสงคอยางใดอยางหนึ่ง ซึ่งวัตถุประสงคนั้นขึ้นอยูกับนักวิจัยที่จะตองตั้งวัตถุประสงค
ไวกอนการวิจัยวา ตองการทราบอะไร แลวจึงหาวิธีการที่เหมาะสมในการคนควาหาขอเท็จจริง
ในเรื่องนั้น ๆ ตอไป




                                                                   บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ   5
ประโยชนของการวิจัย
        ปจจุบันนี้บุคคลในวงการตาง ๆ ไดใหความสนใจในการทําวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะได
เล็งเห็นประโยชนของการวิจัยนั่นเอง แตประโยชนของการวิจัยจะมีมากนอยเพียงใดนั้นขึ้นอยูกับ
ขอมูลและวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลที่มีความนาเชื่อถือและถูกตอง ดังนั้น การวิจัยจะมีประโยชน
อยางแทจริงหรือไมยอมขึนอยูกบความรับผิดชอบของนักวิจย ตลอดจนความรวมมือของผูใหขอมูล
                      ้ ั                            ั                             
ดวย โดยทั่วไปแลวอาจกลาวไดวาการวิจัยมีประโยชนดังตอไปนี้ (นิภา ศรีไพโรจน, 2527)
                               
         1. การวิจัยกอใหเกิดวิทยาการใหม ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางดานทฤษฎีและปฏิบัติ
         2. การวิจัยสามารถใชแกไขปญหาไดอยางมีประสิทธิภาพ
         3. การวิจยชวยใหเขาใจปรากฏการณและพฤติกรรมตาง ๆ ไดดขน และสามารถใชทานาย
                     ั                                                ี ึ้              ํ
ปรากฏการณและพฤติกรรมตาง ๆ ไดอยางถูกตอง
         4. การวิจัยชวยในดานการกําหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปญหา หรือการ
วินิจฉัยสั่งการของผูบริหารใหเปนไดอยางถูกตอง
         5. การวิจัยชวยใหมองเห็นทิศทางของตลาด เนื่องจากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอด
เวลา
         6. การวิจยชวยกระตุนความสนใจของนักวิชาการ ใหมการใชผลการวิจยและทํางานคนควา
                   ั                                        ี              ั
วิจัยตอไป
         7. การวิจัยทําใหทราบขอเท็จจริงตาง ๆ ซึ่งนํามาใชเปนประโยชนเพื่อการปรับปรุงหรือ
พัฒนาบุคคลและหนวยงานตาง ๆ ใหเจริญกาวหนายิ่งขึ้น
         8. การวิจยทําใหมผลงานวิจยเพิมมากขึน ซึงจะชวยเสริมใหทราบขอเท็จจริงไดกวางขวาง
                       ั    ี          ั ่       ้ ่
และแจมชัดยิ่งขึ้น
         9. การวิจัยชวยกระตุนบุคคลใหมีเหตุผล รูจักคิด และคนควาหาความรูอยูเสมอ
         10. การวิจัยชวยใหมีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นอยูตลอดเวลา ซึ่ง
อํานวยความสะดวกสบายใหแกมนุษยเปนอยางมาก
        นอกจากนี้ สถาบันเพื่อการสํารวจประชามติ (The Marist Institute for Public Opinion:
MIPO) ไดใหเหตุผลไว 5 ขอวา งานวิจัยมีความจําเปนดังตอไปนี้ (Dilenschneider, 2011)
        1. การกําหนดตลาด เชน การตอบคําถามวา กลุมผูชายโสดอายุ 25 ป เปนกลุมเปาหมาย
                                                                                  
ที่เหมาะสมของแผนประกันสุขภาพราคาประหยัดจริงหรือไม และกลุมเปาหมายนี้มีแนวโนมจะ
ซื้อประกันเพิ่มขึ้นหรือนอยลงไปตามปจจัยอะไรบาง เชน รายได การอยูคนเดียวหรืออยูกับ
ครอบครัว หรือประเภทของงานที่ทํา


6   การวิจัยงานประชาสัมพันธ
2. การทดสอบสารทีจะสือออกไป เชน การทดสอบวา การสือสารแบบใดทีมประสิทธิภาพ
                              ่ ่                               ่              ่ ี
ทางการตลาดสําหรับการประกันชีวตมากกวากัน ระหวางขอความเชิงลบทีเนนการสรางความกังวล
                                   ิ                                   ่
ใจในความมั่นคงของอนาคต กับขอความเชิงบวกที่เนนเรื่องการปกปองคนที่คุณรัก
        3. การกําหนดคุณสมบัติของแบรนด เชน การตอบคําถามวา เครื่องดื่มที่จะออกใหม
นี้ควรจะมีตําแหนงการตลาดเปนเครื่องดื่มเพิ่มพลังงานหรือเครื่องดื่มเพื่อการผอนคลาย ควรจะ
เปนสินคาระดับสูงที่จําหนายเฉพาะบางรานคา หรือสินคาสําหรับตลาดทั่วไป คุณสมบัติใด
ของสินคาที่มความสําคัญที่สุดตอกลุมเปาหมาย และควรจะถูกนํามาโฆษณา
              ี
        4. การสรางภาพลักษณที่เหมาะสม เชน การตอบคําถามวา จริงหรือไมที่สถานศึกษา
เอกชนควรจะมีภาพลักษณที่สงเสริมศักยภาพของมนุษย และเปนสถานที่เตรียมความพรอม
ใหเยาวชนรุนใหมกาวเขาสูโลกแหงการแขงขันระหวางมืออาชีพ
        5. การวิเคราะหประเด็นทางการเมือง ซึงการวิจยสามารถใชเพือการรณรงคทางการเมือง
                                               ่       ั            ่
ไดหลายประการ เชน การคัดเลือกผูสมัครที่เหมาะสม การกําหนดประเด็นในการหาเสียง
การเขาถึงกลุมผูสนับสนุน การปรับเปลี่ยนกลยุทธในการหาเสียง และการระดมทุนในการหาเสียง
ความสําคัญของการวิจัยตองานประชาสัมพันธ
         การวิจยนับเปนจุดเริมตนของกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ โดยนักประชาสัมพันธ
               ั             ่
จะทําการรวบรวมขอมูลทีตองการจากกลุมเปาหมาย เพือประกอบการตัดสินใจในการวางแผนงาน
                         ่                        ่
ประชาสัมพันธ การวิจยเปนการรวบรวมขอมูลเพือใหทราบวา ควรจะทําการประชาสัมพันธอยางไร
                      ั                        ่
เพื่อสรางภาพลักษณองคกร (Corporate Image) ที่ดี หรือเมื่อองคกรประสบปญหา เชน มีขาว
ในหนาหนังสือพิมพหรือจากสือมวลชนอืน ๆ ทีมผลกระทบตอองคกร หรือเมือตองการสรางสรรค
                               ่        ่    ่ ี                       ่
กิจกรรมประชาสัมพันธใหมๆ และตองการทราบแนวโนมในการตอบรับหรือสนับสนุนจากกลุม
เปาหมาย หรือเมื่อตองการหากลุมเปาหมายใหม (พรทิพย พิมลสินธุ, 2551) นอกจากนี้ การวิจัย
ยังเปนการรวบรวมขอมูลอื่น ๆ ที่ตองการ เชน การเคลื่อนไหวของกลุมอิทธิพล สื่อมวลชน
คูแขง ฯลฯ ซึ่งขอมูลเหลานี้จะชวยใหนักประชาสัมพันธสามารถนํามาใชประกอบการตัดสินใจ
วางแผนการปฏิบัติงานประชาสัมพันธไดอยางเหมาะสม
กระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ (Public Relations Process)
         การดําเนินงานประชาสัมพันธใด ๆ ก็ตามจะประกอบดวยการปฏิบัติงาน 4 ขั้นตอน
(Cutlip & Center, 2000) ไดแก




                                                             บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ   7
1. การวิจัย (Research)
           ถือเปนขันตอนแรกของการดําเนินงานประชาสัมพันธ เพือคนควาศึกษาขอมูลทีตองการ
                     ้                                      ่                    ่
หรือขอเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปญหา และเพื่อเปนประโยชนตอการวางแผนในการสื่อสารให
ประชาชนกลุมเปาหมายไดรับทราบและเขาใจตอไป
      2. การวางแผนปฏิบัติงาน (Action Planning)
         เปนขันตอนของการวางแผนกลยุทธทางการประชาสัมพันธ เชน กําหนดระยะเวลาของ
               ้
แผนงาน ระบุประชาชนกลุมเปาหมาย รูปแบบการใชสื่อและกิจกรรม งบประมาณ
        3. การสื่อสาร (Communication)
           เปนขันตอนของการปฏิบตตามแผนงานทีไดกาหนดไว โดยการใชสอและกิจกรรมตาง ๆ
                 ้             ั ิ           ่ ํ                 ื่
นําพาขาวสารขององคกรไปสูประชาชนกลุมเปาหมาย
       4. การประเมินผล (Evaluation)
           เปนขั้นตอนสุดทายของการดําเนินงานประชาสัมพันธในแตละครั้ง เพื่อตรวจสอบ
ประสิทธิผลของแผนงานวา ตรงตามวัตถุประสงคของการประชาสัมพันธในแตละครั้งหรือไม
        พรทิ พ ย พิ ม ลสิ น ธุ  (2551) กล า วว า กระบวนการและขั้ น ตอนของการดํ า เนิ น งาน
ประชาสัมพันธ (Public Relations Process) มีความสําคัญและจําเปนอยางยิ่งสําหรับงาน
ดานประชาสัมพันธ ชวยใหฝายบริหารหรือฝายจัดการ (Management) ขององคกร สถาบันสามารถ
                              
วางนโยบายอันเปนทีพงพอใจและเกิดการยอมรับจากกลุมประชาชน การดําเนินงานประชาสัมพันธ
                     ่ ึ                                 
ทีดยอมเปดโอกาสใหกลุมประชาชนแสดงออกซึงความคิดเห็น ความพอใจหรือไมพอใจตอนโยบาย
  ่ ี                                            ่
และการดําเนินงานของหนวยงาน อีกทั้งเปนการตอบสนองความตองการของประชาชน เปน
การติดตอสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ระหวางองคกร สถาบันกับกลุม
ประชาชนที่เกี่ยวของ
        ขันตอนดังกลาวมีความสอดคลองกับขันตอนการดําเนินงานประชาสัมพันธดงที่ Cutlip and
          ้                               ้                             ั
Center (2000) กลาวไว โดยแบงออกเปน 4 ดาน ดังนี้
         1. การวิจัยและการรับฟงความคิดเห็น (Research-Listening)
            เปนขั้นตอนของการดําเนินงานขั้นแรก เปนการคนควาหาขอเท็จจริง ขอมูลตาง ๆ
ที่ไดมาจากการวิจัยและรับฟงความคิดเห็น ซึ่งเปนการสํารวจ ตรวจสอบประชามติ ความคิดเห็น
ทัศนคติ ตลอดจนปฏิกิริยาที่ประชาชนผูเกี่ยวของมีตอการดําเนินงานหรือตอนโยบายขององคกร
คือ ในขั้นตอนนี้ตองถามตัวเองวา องคกรของเรามีปญหาอะไรบาง ตองตั้งวัตถุประสงคไวกอน


8   การวิจัยงานประชาสัมพันธ
การลงมือวิจัยวา ตนตองการทราบอะไร ตองการทําอะไร แลวจึงหาวิธีการที่เหมาะสมในการที่จะ
คนหาขอเท็จจริงในเรื่องนั้นตอไป
       2. การวางแผนและการตัดสินใจ (Action Planning-Decision Making)
            การวางแผน คือ ขั้นหนึ่งในการบริหารงานใหลุลวงตามวัตถุประสงคและนโยบาย
ทีกาหนดไว โดยกําหนดวิธการทีมเหตุผลเพือใหการดําเนินงานตามแผนเปนไปโดยเรียบรอยสมบูรณ
  ่ํ                     ี ่ ี        ่
และมีประสิทธิภาพมากทีสด การวางแผนจึงเปนเรืองเกียวกับขอเท็จจริงทีตองการจะมีกระบวนการ
                         ุ่                 ่ ่                   ่ 
ในการพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผน
          3. การสื่อสาร (Communication)
              การสือสาร เปนขันตอนทีไดมการกําหนดแผนการประชาสัมพันธทแนนอนและชัดเจน
                   ่          ้     ่ ี                                 ี่
และเปนที่ยอมรับในหมูบุคคลที่เกี่ยวของ การสื่อสารในที่นี้หมายถึง การสรางสัมพันธระหวาง
สถาบันกับประชาชนกลุมเปาหมาย ดวยการใหขาวสาร สาระความรู ความเขาใจ ความบันเทิง
และเรื่องราวตาง ๆ เกี่ยวกับสถาบัน โดยสถาบันจะสงขาวสารผานไปยังประชาชนกลุมเปาหมาย
ทั้งนี้ ยังมีความหมายรวมถึงการรับฟงความคิดเห็น หรือปฏิกิริยาสะทอนกลับจากประชาชน
กลุมเปาหมายที่มีตอขาวสารนั้น ๆ กลับมายังสถาบัน
           ดังนั้น ถาเลือกสื่อที่ไมเหมาะสม ไมเพียงแตจะเปนการทํางานที่เสียเวลาและเงิน
งบประมาณที่หมดไป แตอาจจะหมายถึงความลมเหลวของการประชาสัมพันธในเรื่องนั้น ๆ ดวย
การสื่อสารจึงเปนเรื่องที่ละเอียดออนและลึกซึ้งที่สดในบรรดาขั้นตอนการประชาสัมพันธ
                                                   ุ
        4. การประเมินผล (Evaluation)
            เมื่อไดมีการกระทําที่เกิดขึ้นแลว ประเด็นสําคัญที่ตามมาสําหรับนักประชาสัมพันธ
คือ ขาวหรือกิจกรรมนั้น ๆ มีผลตอความคิดของประชาชนอยางไร มีใครใหความสนใจบาง ให
ความสนใจมากนอยเพียงใด มีปฏิกรยาโตตอบอยางไร ภาพลักษณขององคกรดีขนหรือไม อยางไร
                                   ิิ                                       ึ้
คําถามที่ตองหาคําตอบเหลานี้เปนการประเมินผลงานที่ไดกระทําไปแลว
        การประเมิ น ผลหรื อ การวั ด ผลจึ ง หมายถึ ง การตรวจสอบและการตั ด สิ น คุ ณ ค า ของ
การกระทําใด ๆ เพื่อการเก็บรวบรวมและวิเคราะหขอมูลที่เกี่ยวของ ในแงของการประเมินผล
การประชาสัมพันธจึงเปนการตรวจสอบและตัดสินคุณคาของการประชาสัมพันธที่ไดดําเนินไป
ในชวงระยะเวลาหนึงวา ไดรบความสําเร็จมากนอยเพียงใด ไดประสิทธิผลตรงตามวัตถุประสงคของ
                 ่         ั
การประชาสัมพันธหรือไมเพียงใด จากความหมายนี้จะพบวา การประเมินผลประกอบดวยขอมูล
การรวบรวมและวิเคราะหขอมูล รวมถึงการตีความหมายและตัดสินคุณคา
                         



                                                              บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ   9
“การสื่อสารมิใชสิ่งที่เราสื่อออกไปเทานั้น แตเปนสิ่งที่ผูบริโภคไดรับตางหาก
                นั่นหมายความวา ผูบริโภครับขอมูลหลากหลาย จึงจําเปนตองมี
                                     การติดตามและประเมินผล”
                       วิไล เคียงประดู, ผูชวยกรรมการผูอํานวยการสวนงานประชาสัมพันธ,
                                          บริษทแอดวานซ อินโฟร เซอรวิส จํากัด (มหาชน)
                                                ั

         กลาวโดยสรุป คือ การดําเนินงานประชาสัมพันธขององคกรตาง ๆ ไมวาจะเปนภาครัฐ
หรือเอกชน นอกเหนือจากการทํางานดานประชาสัมพันธในลักษณะงานประจําตาง ๆ ทั่วไปแลว
ในบางครั้งองคกรก็ตองทําการรณรงคประชาสัมพันธ เพื่อวัตถุประสงคในการกระตุน เรงรัด และ
จูงใจใหเกิดความสนใจจากกลุมเปาหมายหรือกลุมชนตาง ๆ ใหมีทัศนคติหรือมีพฤติกรรมไปใน
ทางที่องคกรตองการ ซึ่งทําไดโดยการดําเนินงานประชาสัมพันธ และจะตองทําอยางตอเนื่องดวย
การผสมผสานการใชสื่อหลายชนิดหลายรูปแบบไปพรอม ๆ กัน ซึ่งเรียกวา การดําเนินงาน
ประชาสัมพันธ ดังนั้น นักประชาสัมพันธจึงมีหนาที่ในการดําเนินงานตามขั้นตอน 4 ดาน
ซึ่งประกอบดวย R-A-C-E คือ ดานการวิจัยและรับฟงความคิดเห็น (Research-Listening)
ดานการวางแผนและการตัดสินใจ (Action Planning-Decision Making) ดานการติดตอสื่อสาร
(Communication) และดานการประเมินผล (Evaluation)

จุดประสงคของการวิจัยทางการประชาสัมพันธ
         การวิจัยทางการประชาสัมพันธสวนใหญมีจุดประสงคหลักๆ ดังนี้
         1. เพื่อทําความรูจักและสรางความเขาใจในกลุมเปาหมายที่กวางขวาง (Wider Audience)
ใหมากที่สุด
         2. เพื่อรูลึกถึงวิธีการหรือกลยุทธการสื่อสารหรือการใชชองทางในการสื่อสารกับกลุม
เปาหมายอยางลึกซึ้งและเหมาะสม (In-depth knowledge of communication)
         3. เพื่อสรางความสัมพันธที่ดีกับสื่อมวลชนและกลุมชุมชนละแวกใกลเคียง (Deeper
relationship with media and community)
         กลาวไดวา การวิจยทางการประชาสัมพันธเปนการเปดโอกาสใหกลุมประชาชนไดแสดงออก
                         ั                                        
ซึงความคิดเห็น ความพอใจหรือไมพอใจตอนโยบายและการดําเนินงานขององคกรหรือสถาบันนัน ๆ
  ่                                                                                ้
ซึ่งเปนการตอบสนองความตองการของกลุมประชาชนที่มีความเกี่ยวของกับองคกรนั่นเอง


10 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
อยางไรก็ตาม กอนจะตัดสินใจทําวิจย ไมวาจะทําเองหรือวาจางบริษทวิจย ขอใหถามคําถาม
                                           ั                           ั ั
ตอไปนี้ (Dilenschneider, 2011)
         • ผลของงานวิจยนี้จะสามารถนําไปปฏิบัติจริงไดอยางไร
                           ั
         • มีอะไรทีเรารูแลวบาง การทําสิงทีซาซอนเปนการเปลืองงบประมาณและทําใหการดําเนิน
                    ่                   ่ ่ ํ้
งานเสียเวลา
         • มีวิธีใดบางที่องคกรจะสามารถใชงานวิจัยใหเปนประโยชนสูงสุด เชน การใชผลวิจัยใน
การออกแบบแผนงานโฆษณาและประชาสัมพันธ หรือการเผยแพรขอมูลจากการวิจัยใหคนใน
องคกรไดรับรู
เมื่อใดตองทําการวิจัยทางการประชาสัมพันธ
       นักประชาสัมพันธขององคกรอาจทําการวิจยโดยยึดหลักงาย ๆ ตามวงจรชีวตของผลิตภัณฑ
                                                   ั                    ิ
(Product Life Cycle) ไดแก
       • ชวงแนะนําตัวหรือเริ่มตน (Introduction Stage)
          เปนชวงที่ตองการเขาสูตลาด
       • ชวงเจริญเติบโต (Growth)
          เปนชวงที่ผูบริโภคใหการยอมรับมาก เริ่มมีคูแขงเขาตลาด
       • ชวงเติบโตเต็มที่หรืออิ่มตัว (Maturity)
          เปนชวงที่ตองรักษากําไร รักษาสวนแบงตลาด
       • ชวงตกตํ่า (Declining)
          เปนชวงที่ตองการจูงใจผูบริโภคใหซื้อเพิ่ม
          นอกจากนี้ จากที่กลาวแลวขางตนวา การทําวิจัยทางการประชาสัมพันธยังสามารถ
กระทําไดเมื่อตองการสรางภาพลักษณองคกร (Corporate Image) หรือเมื่อองคกรประสบปญหา
หรือเมื่อตองการสรางสรรคกิจกรรมประชาสัมพันธใหม ๆ หรือเมื่อตองการหากลุมเปาหมายใหม
เชน เพือตามใหทนความเปลียนแปลงทีรวดเร็วเกียวกับการเปดรับสือของกลุมเปาหมายทีเปนผูรบ
        ่         ั        ่         ่         ่               ่                ่      ั
ขาวสารที่มีอายุนอย ระหวาง 18-25 ป เพื่อที่จะเจาะลงลึกไดวาความคิดเห็นของคนกลุมนี้เปน
อยางไร หรือแมกระทั่งเมื่อมีภาวะวิกฤตเกิดขึ้นกับองคกร เนื่องจากผลของวิกฤตนั้นอาจสงผล
กระทบตอภาพลักษณขององคกรไมดานใดก็ดานหนึ่ง จึงจําเปนอยางยิ่งที่นักประชาสัมพันธ
ขององคกรตองทําการวิจัยเพื่อสํารวจภาพลักษณขององคกรในสายตาของกลุมเปาหมายวามี
การเปลี่ยนแปลงไปหรือไม อยางไร



                                                               บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 11
อยางไรก็ตาม การวิจัยทางการประชาสัมพันธโดยสวนใหญมักมีจุดประสงคทางธุรกิจ
คือ เพื่อสรางทัศนคติที่ดีตอองคกร โดยไมไดชักจูงใหซื้อสินคาโดยตรง กลาวคือ เพื่อสรางภาพ
ลักษณทดใหเกิดขึนในสายตาของผูบริโภคกลุมเปาหมาย ซึงอาจใชวธการวิจยทางการประชาสัมพันธ
          ี่ ี    ้                                     ่       ิี    ั
ที่เกี่ยวของกับภาพลักษณของสินคา (Product Image) หรือภาพลักษณขององคกร (Corporate
Image) ดังนัน งานวิจยจึงถือเปนอีกหนึงปจจัยในความสําเร็จทางธุรกิจ เพือตอบสนองความตองการ
               ้     ั               ่                                ่
ทัศนคติ และแนวโนมพฤติกรรมผูบริโภค ตลอดจนความเคลื่อนไหวของคูแขงขันและตลาดธุรกิจ
ในอนาคต




12 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
คําถามทายบท
1. จงอธิบายถึงความหมายของการวิจยมาโดยสังเขป
                                      ั
2. จงอธิบายถึงความสําคัญของการวิจยตอกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ
                                    ั
3. จงอธิบายวา เมือใดทีจาเปนตองทําการวิจยเพืองานประชาสัมพันธ
                  ่    ่ํ                 ั ่




                                                  บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 13
14 การวิจัยงานประชาสัมพันธ

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444bow4903
 
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อNitinop Tongwassanasong
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารAnchalee BuddhaBucha
 
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนPrachyanun Nilsook
 
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจNitinop Tongwassanasong
 
4 การทบทวนเอกสาร
4 การทบทวนเอกสาร4 การทบทวนเอกสาร
4 การทบทวนเอกสารNitinop Tongwassanasong
 
การเขียนโครงร่าง
การเขียนโครงร่างการเขียนโครงร่าง
การเขียนโครงร่างอรุณศรี
 
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียนnang_phy29
 
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณประพันธ์ เวารัมย์
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยอรุณศรี
 
สาระน่ารู้กับการสอนคิด
สาระน่ารู้กับการสอนคิดสาระน่ารู้กับการสอนคิด
สาระน่ารู้กับการสอนคิดWareerut Hunter
 

La actualidad más candente (19)

44444444444444
4444444444444444444444444444
44444444444444
 
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
2 เค้าโครงและตั้งชื่อหัวข้อ
 
พุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหารพุทธศาสนากับการบริหาร
พุทธศาสนากับการบริหาร
 
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียนการตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
การตั้งชื่อหัวข้อวิจัยชั้นเรียน
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ
1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีวิจัยทางธุรกิจ
 
เทคนิคและการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนากรอบแนวคิดงานวิจัย (ผศ.ดร.กชพร นำมาผล)
เทคนิคและการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนากรอบแนวคิดงานวิจัย (ผศ.ดร.กชพร นำมาผล)เทคนิคและการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนากรอบแนวคิดงานวิจัย (ผศ.ดร.กชพร นำมาผล)
เทคนิคและการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนากรอบแนวคิดงานวิจัย (ผศ.ดร.กชพร นำมาผล)
 
4 การทบทวนเอกสาร
4 การทบทวนเอกสาร4 การทบทวนเอกสาร
4 การทบทวนเอกสาร
 
387442 1
387442 1387442 1
387442 1
 
การเขียนโครงร่าง
การเขียนโครงร่างการเขียนโครงร่าง
การเขียนโครงร่าง
 
จิตวิทยาการบริหาร
จิตวิทยาการบริหารจิตวิทยาการบริหาร
จิตวิทยาการบริหาร
 
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียนเค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
เค้าโครงงานวิจัยในชั้นเรียน
 
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๒๓๐๐
 
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
ความแตกต่างระหว่างคุณภาพกับปริมาณ
 
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยการกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
 
สาระน่ารู้กับการสอนคิด
สาระน่ารู้กับการสอนคิดสาระน่ารู้กับการสอนคิด
สาระน่ารู้กับการสอนคิด
 
2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
2.วิจัยเชิงคุณภาพ (ดร.ปกรณ์ชัย สุพัฒน์ & ผศ.ชุติญา จงมีเสร็จ)
 
123
123123
123
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 

Destacado

Gat2 54
Gat2 54Gat2 54
Gat2 54sumezz
 
Alba Leal Usc2.0
Alba Leal Usc2.0Alba Leal Usc2.0
Alba Leal Usc2.0techweb
 
Blogsparatodosytodo
BlogsparatodosytodoBlogsparatodosytodo
Blogsparatodosytodoednetpr
 
Principles Of Business 2
Principles Of Business 2Principles Of Business 2
Principles Of Business 2DPalazzo
 
European Shopping Centers 2012
European Shopping Centers 2012European Shopping Centers 2012
European Shopping Centers 2012ReportsnReports
 

Destacado (7)

Gat2 54
Gat2 54Gat2 54
Gat2 54
 
Pat1 (1)
Pat1 (1)Pat1 (1)
Pat1 (1)
 
Alba Leal Usc2.0
Alba Leal Usc2.0Alba Leal Usc2.0
Alba Leal Usc2.0
 
Blogsparatodosytodo
BlogsparatodosytodoBlogsparatodosytodo
Blogsparatodosytodo
 
72 pat2
72 pat272 pat2
72 pat2
 
Principles Of Business 2
Principles Of Business 2Principles Of Business 2
Principles Of Business 2
 
European Shopping Centers 2012
European Shopping Centers 2012European Shopping Centers 2012
European Shopping Centers 2012
 

Similar a 9789740330691

การจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นการจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นKorawan Sangkakorn
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้Nona Khet
 
การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้
การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้
การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้sirirak Ruangsak
 
Technology Of Participation(Top)
Technology Of Participation(Top)Technology Of Participation(Top)
Technology Of Participation(Top)Mickey Toon Luffy
 
รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ศน. โมเมจ้า
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5moohmed
 
การจัดการการเรียนรู้
การจัดการการเรียนรู้การจัดการการเรียนรู้
การจัดการการเรียนรู้uncasanova
 
การวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นการวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นอรุณศรี
 
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นการสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นRungnapha Thophorm
 
Education_Research.pdf
Education_Research.pdfEducation_Research.pdf
Education_Research.pdfPattie Pattie
 
ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1Kiw E D
 
เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์korakate
 

Similar a 9789740330691 (20)

การจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นการจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
การจัดการความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
 
การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้
การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้
การศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้
 
Technology Of Participation(Top)
Technology Of Participation(Top)Technology Of Participation(Top)
Technology Of Participation(Top)
 
รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
รายงานการสังเคราะห์รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
 
Presentation 5
Presentation 5Presentation 5
Presentation 5
 
การจัดการการเรียนรู้
การจัดการการเรียนรู้การจัดการการเรียนรู้
การจัดการการเรียนรู้
 
การวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้นการวิจัยเบื้องต้น
การวิจัยเบื้องต้น
 
การสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็นการสำรวจความคิดเห็น
การสำรวจความคิดเห็น
 
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
 
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
เนื้อหาความรู้เรื่องโครงงานวิทย์
 
123
123123
123
 
Education_Research.pdf
Education_Research.pdfEducation_Research.pdf
Education_Research.pdf
 
ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1ระดับครูมือใหม่1
ระดับครูมือใหม่1
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
ThinkingThinking
Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์
เรียนรู้วิธีทำโครงงานวิทยาศาสตร์
 

Más de CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

Más de CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740330691

  • 1. การวิจัยกับการประชาสัมพันธ วัตถุประสงคเชิงพฤติกรรม 1. เพื่อใหเกิดความเขาใจและสามารถอธิบายความสัมพันธของการประชาสัมพันธและ การวิจัยได 2. เพืออธิบายกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธอนมีการวิจยเปนหนึงในกระบวนการ ่ ั ั ่ ดําเนินงานไดอยางถูกตอง เนื้อหา 1. ความหมายของการวิจัย 2. จุดมุงหมายของการวิจัย 3. ประโยชนของการวิจัย 4. ความสําคัญของการวิจัยตองานประชาสัมพันธ 5. กระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ 6. จุดประสงคของการวิจัยทางการประชาสัมพันธ 7. เมื่อใดตองทําการวิจัยทางการประชาสัมพันธ
  • 2. “ความสนใจในการวัดประเมินที่เพิ่มขึ้นในปจจุบนมาจากความพยายาม ั ในการชี้ใหเห็นความสําคัญของการประชาสัมพันธสําหรับองคกร ทุกคนอยากรูวา เราสามารถเพิ่มคุณคาแกธุรกิจ และสิ่งที่เราพยายามจะทําใหสําเร็จ ไมวาจะเปนองคกร หนวยงานรัฐบาล หรือองคกรการกุศล ทุกองคกรตองการรูวา    จะไดอะไรตอบแทนมาจากการลงทุนดานประชาสัมพันธบาง แตทุกวันนี้ทุกคนตองการรูวา ทําอยางไรใหใชงบประมาณนอยลง แตไดผลมากขึ้น ดวยการใชการประชาสัมพันธแบบฉลาด” โจเซฟ เอ. โคเพ็ก, ที่ปรึกษาอาวุโสของกลุมบริษัทดีเลนชไนเดอร (Dilenschneider, 2011) ในองคกรแตละแหงนั้นมักจะประกอบไปดวยหนวยงานยอย ๆ หลาย ๆ หนวยงาน นอกจากจะตองมีการประสานงานระหวางระบบยอยตางๆ ภายในองคกรดวยกันแลว ก็ยังตอง ปรับเปลี่ยนใหรับกับสภาพการเปลี่ยนแปลงที่แวดลอมภายนอกองคกรอีกดวย องคกรจึงจําเปน ตองใชการประชาสัมพันธเขาไปมีบทบาทสําคัญตอการสรางความสัมพันธและความเขาใจใน การดําเนินงานขององคกรใหเกิดขึ้นในลักษณะของการสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Commu- nication) นั่นคือ การทําหนาที่เปนตัวกลางคอยเชื่อมความสัมพันธ ประสานประโยชนใหเกิด ความเขาใจรวมกันระหวางองคกรและกลุมเปาหมาย การประชาสัมพันธถือเปนกิจกรรมดานนิเทศศาสตรอยางหนึ่ง โดยอาจใชการสื่อสาร รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลาย ๆ รูปแบบ ที่สามารถสรางความสัมพันธอันดีกับประชาชน (ปดิวรัดา ปาลกะวงศ ณ อยุธยา, 2545) หรือกลุมเปาหมายขององคกรได ภาระงานหนึ่งของงาน ประชาสัมพันธ คือ การรวบรวมขอมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นหรือทัศนคติที่แตกตางกันของกลุม เปาหมายกลุมตาง ๆ กลาวคือ เปนการวิจัยทางการประชาสัมพันธ (Public Relations Research) ซึงสวนใหญแลว มักเปนการศึกษากลุมเปาหมายเพือใชเปนขอมูลในการตัดสินใจไดวา วัตถุประสงค ่  ่  และเปาหมายที่วางไวในระยะแรกมีโอกาสที่จะดําเนินการหรือไมและอยางไร นอกจากนี้ เปน การวิจยเพือวัดทัศนคติ แรงจูงใจ ความคาดหวังตาง ๆ ของกลุมเปาหมาย โดยทําไดหลายวิธตงแต ั ่  ี ้ั การสํารวจทางโทรศัพท การสงจดหมาย การสัมภาษณรายบุคคลแบบเจาะลึก การอภิปรายกลุม เปนตน หลังจากการรวบรวมขอมูลแลวจึงนําขอมูลที่ไดรับมาทําความเขาใจเกี่ยวกับปจจัยหรือ ตัวแปรที่สําคัญในการปฏิบัติงานประชาสัมพันธตอไปได  2 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
  • 3. โดยสรุปแลว การดําเนินงานประชาสัมพันธนับเปนกระบวนการสื่อสารแบบสองทาง ซึ่ง จําเปนตองมีการรับฟงความคิดเห็นของประชาชนกลุมเปาหมายอยูเสมอ ความจําเปนในการวิจัย หรือการวัดผลที่มีตอการดําเนินงานประชาสัมพันธ ก็เพื่อใหทราบถึงทัศนคติหรือปฏิกิริยาของ ประชาชนกลุมเปาหมายเฉพาะกลุม (A particular public) ที่มีตอองคกรหรือตอกิจกรรมบางอยาง ขององคกร ซึงในปจจุบน องคกรสวนใหญมกวาจางบริษททีปรึกษาทางการประชาสัมพันธ (Public ่ ั ั ั ่ Relations Agency) มาเปนที่ปรึกษา และดําเนินการทําวิจัยในดานตางๆ ใหแกองคกรกอนที่จะ ตัดสินใจวางแผนงานประชาสัมพันธ ทังนีเพือใหแนใจวา มีความจําเปนทีจะตองทําการประชาสัมพันธ ้ ้ ่ ่ ในครั้งนั้น หรือสามารถกลาวอีกนัยหนึ่งไดวา การวิจัยนั้นมีความเกี่ยวของกับกระบวนการดําเนิน งานประชาสัมพันธในแงที่วา การวิจัยเปนวิธีการ (Method) อยางหนึ่งซึ่งจะทําใหทราบถึงปฏิกริยา  ิ ตอบสนอง (Feedback) ของกลุมเปาหมายขององคกรอยางมีหลักเกณฑ ความหมายของการวิจัย มีผูใหความหมายของคําวา “วิจัย” (Research) ไวหลายประการ ตัวอยางเชน การวิจัย หมายถึง กระบวนการคนควาเพื่อหาคําตอบที่ตองการ โดยนําเอาทฤษฎีและกฎเกณฑหรือวิธี การตาง ๆ ทางวิทยาศาสตร (Scientific Method) มาใชเปนพื้นฐาน ซึ่งวิธีการทางวิทยาศาสตรนี้ เปนวิธีการที่ผสมผสานระหวางวิธีการใชเหตุใชผลขบคิด (Rationalism) โดยเชื่อวาคนเราจะเขาถึง ความจริงไดดวยการใชเหตุผลไตรตรอง พิสูจน และวิธีการหาความรูเชิงประจักษ (Empiricalism) โดยการหาความรูดวยการออกไปฟงใหไดยินกับหู หรือไปดูใหเห็นกับตา ความหมายโดยทัวไปของการวิจย คือ กระบวนการคนหาความรู ขอเท็จจริงอยางมีระเบียบ ่ ั มีกฎเกณฑในการรวบรวมขอมูล วิเคราะหและตีความขอมูล เพื่อแสวงหาคําตอบสําหรับคําถาม หรือประเด็นที่ตองการศึกษา นักวิชาการบางทานกลาววา การวิจย คือ กระบวนการคนควาหาขอเท็จจริง ภายในขอบเขต ั ที่กําหนดไวอยางมีระบบ และดําเนินการอยางมีลําดับขั้นตอน ซึ่งเปนวิธีการในการหาขอมูลที่ เชื่อถือได การวิจัยเกิดขึ้นเมื่อเกิดขอสงสัยที่เรียกวา “ปญหานําการวิจัย” และนักวิจัยตองการ จะแสวงหา “คําตอบ” ของปญหานั้น และจะตองเปนคําตอบที่แทจริง ถูกตอง ใกลเคียงความจริง ใหมากที่สุด (กาญจนา แกวเทพ, 2548) การวิจย หมายถึง การคนควาหาความรูความจริงทีเชือถือได โดยวิธการทีมระบบแบบแผน ั  ่ ่ ี ่ ี ที่เชื่อถือได เพื่อนําความรูที่ไดนั้นไปสรางกฎเกณฑหรือทฤษฎีตาง ๆ เพื่อนําไปใชในการอางอิง บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 3
  • 4. หรืออธิบายปรากฏการณเฉพาะเรื่องหรือทั่วๆ ไป และเปนผลใหสามารถทํานายและควบคุม การเกิดปรากฏการณตาง ๆ ได (พวงรัตน ทวีรัตน, 2543)  การวิจัย หมายถึง กระบวนการแสวงหาความรูความเขาใจที่ถูกตองในสิ่งที่ตองการศึกษา มีการเก็บรวบรวมขอมูล การวิเคราะหและการตีความหมายผลที่ไดจากการวิเคราะห เพื่อใหไดมา ซึ่งคําตอบอันถูกตอง ซึ่งคําวา “กระบวนการ” หมายถึง กิจกรรมตางๆ ที่ไดกระทําขึ้นโดยมี ความเกียวโยงตอเนืองกันอยางมีระบบ เพือใหบรรลุถงเปาหมาย โดยมีกจกรรมตาง ๆ ทีเกียวของ ่ ่ ่ ึ ิ ่ ่ กับการวิจัยอยางเปนขั้นตอน และนํามาซึ่งความรูความเขาใจที่ถูกตองในเรื่องที่จะทําการวิจัย เริมตังแตการกําหนดหัวขอวิจย การออกแบบการวิจย การกําหนดประชากรเปาหมาย วิธการรวบรวม ่ ้ ั ั ี ขอมูล การวิเคราะหและการตีความหมาย ตลอดจนการเขียนและการนําเสนอรายงานการวิจัย ซึ่งกิจกรรมตาง ๆ เหลานี้จะตองดําเนินไปสูเปาหมายอยางมีระเบียบแบบแผน (สุชาติ ประสิทธิ์- รัฐสินธุ, 2544) ดังนั้น จึงอาจกลาวไดวา การวิจัย คือ การศึกษาคนควาอยางเปนระบบระเบียบ เพื่อ แสวงหาคําตอบสําหรับปญหาการวิจัยที่กําหนด เพื่อแสวงหาความรูใหม วิธีการทํางานใหม ๆ ซึ่งทําใหเกิดความกาวหนาทางวิชาการหรือเกิดประโยชนในทางปฏิบัติ โดยอาศัยกระบวนการทาง วิทยาศาสตรที่มีการวางแผนลวงหนาอยางมีระบบทุกขั้นตอนการดําเนินงาน เพื่อใหผลการศึกษา ที่ถูกตองและเชื่อถือได และที่ขาดไมไดคือ การเผยแพรงานวิจัยเพื่อใหมีการนําผลการวิจัยไปใช ประโยชนหรือแกปญหาตอไป ในแงของการสื่อสารนั้น การวิจัยดานการสื่อสารจะนําไปสูความเขาใจที่ถูกตองเกี่ยวกับ กระบวนการสื่อสารของบุคคลในสังคม โดยเฉพาะในดานความคิด ความรูสึก และการกระทํา สงผลใหกระบวนการสื่อสารของบุคคลมีความสลับซับซอนตามไปดวย ดังนั้น การวิจัยดาน การสือสารจะเปนเสมือนเครืองมือหรือกลไกหลักทีชวยคลีคลายความสลับซับซอนในกระบวนการ ่ ่ ่ ่ สื่อสารของบุคคล นอกจากนั้น ผลจากการวิจัยยังชวยใหบุคคลมีความรูความเขาใจที่ถูกตอง เกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารมากขึ้น และชวยพัฒนาทักษะการสื่อสารใหเหมาะสมและสอดคลอง กับสถานการณตาง ๆ ดวย นอกจากนี้ ยังสามารถอธิบายถึงความสําเร็จและความลมเหลวที่ เกิดจากการสื่อสารในบริบทและสถานการณตาง ๆ ตลอดจนชี้ใหเห็นถึงปจจัยที่เกี่ยวของกับ ความสําเร็จและความลมเหลวในสถานการณนั้น ๆ ได การวิจยหรือการวัดผลทางการประชาสัมพันธ จึงหมายถึง การคนหาขอเท็จจริงดวยวิธการ ั ี ที่มีระบบแบบแผน เพื่อเปนประโยชนตอการวางแผนกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ เปนการคนควาหาคําตอบสําหรับปญหาทีเกิดขึนในการดําเนินงานประชาสัมพันธ หรือเปนการหา ่ ้ 4 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
  • 5. ขอมูลทีเปนประโยชนตอการดําเนินงานประชาสัมพันธนนเอง โดยมีกระบวนการคนควาทีเปนระบบ ่  ั่ ่ ซึ่งมุงหวังที่จะนําผลการวิจัยที่ไดรับนั้นไปเปนแนวทางในการแกไขปญหาในการดําเนินงาน ประชาสัมพันธหรือกําหนดเปนนโยบายใหมขึ้น อนึ่ง ที่กลาววา กระบวนการวิจัยเปนการทํางานอยางเปนระบบนั้น หมายถึง การทํางาน ที่ตองมีการดําเนินงานเปนลําดับขั้นตอน ตัวอยางเชน เมื่อตองการสํารวจภาพลักษณขององคกร ใดองคกรหนึง นักวิจยก็เขาไปสอบถามหรือสัมภาษณจากประชาชนเพือทําการเก็บขอมูลเลยทันที ่ ั ่ การกระทําเชนนี้ถือวา เปนการทํางานที่ไมเปนระบบ เนื่องจากยังไมไดมีการศึกษาขอมูลพื้นฐาน ที่เกี่ยวของเสียกอน เปนตน จุดมุงหมายของการวิจัย ถาจะกลาวถึงจุดมุงหมายโดยทัวไปของการวิจยแลว อาจกลาวไดวา ในการทําการวิจยใด ๆ  ่ ั  ั ก็ตาม นักวิจัยมักจะมีจุดมุงหมายอยางใดอยางหนึ่งใน 2 ประการนี้ (นิภา ศรีไพโรจน, 2527) คือ 1. เพื่อเพิ่มพูนความรูใหม เนื่องจากธรรมชาติของมนุษยนั้นมีความอยากรูอยากเห็น อยากทราบเหตุผลและ ปรากฏการณของสิ่งตาง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทําการวิจัยเพื่อคนหาคําตอบ สิ่งใดที่พอรูอยูบางก็ทาใหรู ํ และเขาใจดียิ่งขึ้น จึงเปนการเพิ่มพูนวิทยาการใหกวางขวางลึกซึ้ง 2. เพื่อนําผลไปประยุกตหรือใชใหเปนประโยชน จุดมุงหมายของการวิจัยนี้เกิดขึ้นเมื่อมีปญหาที่จะตองคนควาหาความจริง เพื่อนําผล ที่ไดจากการวิจัยไปแกปญหาหรือประยุกตใชใหเปนประโยชนตอไป จุดมุงหมายของการวิจยทัง 2 ประการนีมความสัมพันธกน ทังนีเพราะจุดมุงหมายประการ  ั ้ ้ ี ั ้ ้  แรกมุงวิจัยเพื่อเพิ่มพูนความรูใหม ทําใหคนพบกฎหรือทฤษฎี ซึ่งสามารถนําไปประยุกตใชให เปนประโยชนไดตามจุดมุงหมายของการวิจัยในขอ 2 ตอไป โดยทั่วไปแลว การวิจัยเปนกรรมวิธีที่ตั้งอยูบนรากฐานทางวิทยาศาสตร กลาวคือ ใชหลัก ของเหตุผลในการศึกษา รวบรวม และวิเคราะหขอมูล เพื่อหาขอยุติตาง ๆ ซึ่งจะตองทํา เพื่อวัตถุประสงคอยางใดอยางหนึ่ง ซึ่งวัตถุประสงคนั้นขึ้นอยูกับนักวิจัยที่จะตองตั้งวัตถุประสงค ไวกอนการวิจัยวา ตองการทราบอะไร แลวจึงหาวิธีการที่เหมาะสมในการคนควาหาขอเท็จจริง ในเรื่องนั้น ๆ ตอไป บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 5
  • 6. ประโยชนของการวิจัย ปจจุบันนี้บุคคลในวงการตาง ๆ ไดใหความสนใจในการทําวิจัยมากขึ้น ทั้งนี้เพราะได เล็งเห็นประโยชนของการวิจัยนั่นเอง แตประโยชนของการวิจัยจะมีมากนอยเพียงใดนั้นขึ้นอยูกับ ขอมูลและวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลที่มีความนาเชื่อถือและถูกตอง ดังนั้น การวิจัยจะมีประโยชน อยางแทจริงหรือไมยอมขึนอยูกบความรับผิดชอบของนักวิจย ตลอดจนความรวมมือของผูใหขอมูล  ้ ั ั   ดวย โดยทั่วไปแลวอาจกลาวไดวาการวิจัยมีประโยชนดังตอไปนี้ (นิภา ศรีไพโรจน, 2527)  1. การวิจัยกอใหเกิดวิทยาการใหม ๆ เพิ่มพูนมากยิ่งขึ้นทั้งทางดานทฤษฎีและปฏิบัติ 2. การวิจัยสามารถใชแกไขปญหาไดอยางมีประสิทธิภาพ 3. การวิจยชวยใหเขาใจปรากฏการณและพฤติกรรมตาง ๆ ไดดขน และสามารถใชทานาย ั ี ึ้ ํ ปรากฏการณและพฤติกรรมตาง ๆ ไดอยางถูกตอง 4. การวิจัยชวยในดานการกําหนดนโยบาย การวางแผนงาน การตัดสินปญหา หรือการ วินิจฉัยสั่งการของผูบริหารใหเปนไดอยางถูกตอง 5. การวิจัยชวยใหมองเห็นทิศทางของตลาด เนื่องจากตลาดมีการเปลี่ยนแปลงอยูตลอด เวลา 6. การวิจยชวยกระตุนความสนใจของนักวิชาการ ใหมการใชผลการวิจยและทํางานคนควา ั  ี ั วิจัยตอไป 7. การวิจัยทําใหทราบขอเท็จจริงตาง ๆ ซึ่งนํามาใชเปนประโยชนเพื่อการปรับปรุงหรือ พัฒนาบุคคลและหนวยงานตาง ๆ ใหเจริญกาวหนายิ่งขึ้น 8. การวิจยทําใหมผลงานวิจยเพิมมากขึน ซึงจะชวยเสริมใหทราบขอเท็จจริงไดกวางขวาง ั ี ั ่ ้ ่ และแจมชัดยิ่งขึ้น 9. การวิจัยชวยกระตุนบุคคลใหมีเหตุผล รูจักคิด และคนควาหาความรูอยูเสมอ 10. การวิจัยชวยใหมีเครื่องมือและเทคโนโลยีใหม ๆ ที่ทันสมัยเกิดขึ้นอยูตลอดเวลา ซึ่ง อํานวยความสะดวกสบายใหแกมนุษยเปนอยางมาก นอกจากนี้ สถาบันเพื่อการสํารวจประชามติ (The Marist Institute for Public Opinion: MIPO) ไดใหเหตุผลไว 5 ขอวา งานวิจัยมีความจําเปนดังตอไปนี้ (Dilenschneider, 2011) 1. การกําหนดตลาด เชน การตอบคําถามวา กลุมผูชายโสดอายุ 25 ป เปนกลุมเปาหมาย    ที่เหมาะสมของแผนประกันสุขภาพราคาประหยัดจริงหรือไม และกลุมเปาหมายนี้มีแนวโนมจะ ซื้อประกันเพิ่มขึ้นหรือนอยลงไปตามปจจัยอะไรบาง เชน รายได การอยูคนเดียวหรืออยูกับ ครอบครัว หรือประเภทของงานที่ทํา 6 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
  • 7. 2. การทดสอบสารทีจะสือออกไป เชน การทดสอบวา การสือสารแบบใดทีมประสิทธิภาพ ่ ่ ่ ่ ี ทางการตลาดสําหรับการประกันชีวตมากกวากัน ระหวางขอความเชิงลบทีเนนการสรางความกังวล ิ ่ ใจในความมั่นคงของอนาคต กับขอความเชิงบวกที่เนนเรื่องการปกปองคนที่คุณรัก 3. การกําหนดคุณสมบัติของแบรนด เชน การตอบคําถามวา เครื่องดื่มที่จะออกใหม นี้ควรจะมีตําแหนงการตลาดเปนเครื่องดื่มเพิ่มพลังงานหรือเครื่องดื่มเพื่อการผอนคลาย ควรจะ เปนสินคาระดับสูงที่จําหนายเฉพาะบางรานคา หรือสินคาสําหรับตลาดทั่วไป คุณสมบัติใด ของสินคาที่มความสําคัญที่สุดตอกลุมเปาหมาย และควรจะถูกนํามาโฆษณา ี 4. การสรางภาพลักษณที่เหมาะสม เชน การตอบคําถามวา จริงหรือไมที่สถานศึกษา เอกชนควรจะมีภาพลักษณที่สงเสริมศักยภาพของมนุษย และเปนสถานที่เตรียมความพรอม ใหเยาวชนรุนใหมกาวเขาสูโลกแหงการแขงขันระหวางมืออาชีพ 5. การวิเคราะหประเด็นทางการเมือง ซึงการวิจยสามารถใชเพือการรณรงคทางการเมือง ่ ั ่ ไดหลายประการ เชน การคัดเลือกผูสมัครที่เหมาะสม การกําหนดประเด็นในการหาเสียง การเขาถึงกลุมผูสนับสนุน การปรับเปลี่ยนกลยุทธในการหาเสียง และการระดมทุนในการหาเสียง ความสําคัญของการวิจัยตองานประชาสัมพันธ การวิจยนับเปนจุดเริมตนของกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ โดยนักประชาสัมพันธ ั ่ จะทําการรวบรวมขอมูลทีตองการจากกลุมเปาหมาย เพือประกอบการตัดสินใจในการวางแผนงาน ่   ่ ประชาสัมพันธ การวิจยเปนการรวบรวมขอมูลเพือใหทราบวา ควรจะทําการประชาสัมพันธอยางไร ั ่ เพื่อสรางภาพลักษณองคกร (Corporate Image) ที่ดี หรือเมื่อองคกรประสบปญหา เชน มีขาว ในหนาหนังสือพิมพหรือจากสือมวลชนอืน ๆ ทีมผลกระทบตอองคกร หรือเมือตองการสรางสรรค ่ ่ ่ ี ่ กิจกรรมประชาสัมพันธใหมๆ และตองการทราบแนวโนมในการตอบรับหรือสนับสนุนจากกลุม เปาหมาย หรือเมื่อตองการหากลุมเปาหมายใหม (พรทิพย พิมลสินธุ, 2551) นอกจากนี้ การวิจัย ยังเปนการรวบรวมขอมูลอื่น ๆ ที่ตองการ เชน การเคลื่อนไหวของกลุมอิทธิพล สื่อมวลชน คูแขง ฯลฯ ซึ่งขอมูลเหลานี้จะชวยใหนักประชาสัมพันธสามารถนํามาใชประกอบการตัดสินใจ วางแผนการปฏิบัติงานประชาสัมพันธไดอยางเหมาะสม กระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ (Public Relations Process) การดําเนินงานประชาสัมพันธใด ๆ ก็ตามจะประกอบดวยการปฏิบัติงาน 4 ขั้นตอน (Cutlip & Center, 2000) ไดแก บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 7
  • 8. 1. การวิจัย (Research) ถือเปนขันตอนแรกของการดําเนินงานประชาสัมพันธ เพือคนควาศึกษาขอมูลทีตองการ ้ ่ ่ หรือขอเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพปญหา และเพื่อเปนประโยชนตอการวางแผนในการสื่อสารให ประชาชนกลุมเปาหมายไดรับทราบและเขาใจตอไป 2. การวางแผนปฏิบัติงาน (Action Planning) เปนขันตอนของการวางแผนกลยุทธทางการประชาสัมพันธ เชน กําหนดระยะเวลาของ ้ แผนงาน ระบุประชาชนกลุมเปาหมาย รูปแบบการใชสื่อและกิจกรรม งบประมาณ 3. การสื่อสาร (Communication) เปนขันตอนของการปฏิบตตามแผนงานทีไดกาหนดไว โดยการใชสอและกิจกรรมตาง ๆ ้ ั ิ ่ ํ ื่ นําพาขาวสารขององคกรไปสูประชาชนกลุมเปาหมาย 4. การประเมินผล (Evaluation) เปนขั้นตอนสุดทายของการดําเนินงานประชาสัมพันธในแตละครั้ง เพื่อตรวจสอบ ประสิทธิผลของแผนงานวา ตรงตามวัตถุประสงคของการประชาสัมพันธในแตละครั้งหรือไม พรทิ พ ย พิ ม ลสิ น ธุ  (2551) กล า วว า กระบวนการและขั้ น ตอนของการดํ า เนิ น งาน ประชาสัมพันธ (Public Relations Process) มีความสําคัญและจําเปนอยางยิ่งสําหรับงาน ดานประชาสัมพันธ ชวยใหฝายบริหารหรือฝายจัดการ (Management) ขององคกร สถาบันสามารถ  วางนโยบายอันเปนทีพงพอใจและเกิดการยอมรับจากกลุมประชาชน การดําเนินงานประชาสัมพันธ ่ ึ  ทีดยอมเปดโอกาสใหกลุมประชาชนแสดงออกซึงความคิดเห็น ความพอใจหรือไมพอใจตอนโยบาย ่ ี   ่ และการดําเนินงานของหนวยงาน อีกทั้งเปนการตอบสนองความตองการของประชาชน เปน การติดตอสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ระหวางองคกร สถาบันกับกลุม ประชาชนที่เกี่ยวของ ขันตอนดังกลาวมีความสอดคลองกับขันตอนการดําเนินงานประชาสัมพันธดงที่ Cutlip and ้ ้ ั Center (2000) กลาวไว โดยแบงออกเปน 4 ดาน ดังนี้ 1. การวิจัยและการรับฟงความคิดเห็น (Research-Listening) เปนขั้นตอนของการดําเนินงานขั้นแรก เปนการคนควาหาขอเท็จจริง ขอมูลตาง ๆ ที่ไดมาจากการวิจัยและรับฟงความคิดเห็น ซึ่งเปนการสํารวจ ตรวจสอบประชามติ ความคิดเห็น ทัศนคติ ตลอดจนปฏิกิริยาที่ประชาชนผูเกี่ยวของมีตอการดําเนินงานหรือตอนโยบายขององคกร คือ ในขั้นตอนนี้ตองถามตัวเองวา องคกรของเรามีปญหาอะไรบาง ตองตั้งวัตถุประสงคไวกอน 8 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
  • 9. การลงมือวิจัยวา ตนตองการทราบอะไร ตองการทําอะไร แลวจึงหาวิธีการที่เหมาะสมในการที่จะ คนหาขอเท็จจริงในเรื่องนั้นตอไป 2. การวางแผนและการตัดสินใจ (Action Planning-Decision Making) การวางแผน คือ ขั้นหนึ่งในการบริหารงานใหลุลวงตามวัตถุประสงคและนโยบาย ทีกาหนดไว โดยกําหนดวิธการทีมเหตุผลเพือใหการดําเนินงานตามแผนเปนไปโดยเรียบรอยสมบูรณ ่ํ ี ่ ี ่ และมีประสิทธิภาพมากทีสด การวางแผนจึงเปนเรืองเกียวกับขอเท็จจริงทีตองการจะมีกระบวนการ ุ่ ่ ่ ่  ในการพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผน 3. การสื่อสาร (Communication) การสือสาร เปนขันตอนทีไดมการกําหนดแผนการประชาสัมพันธทแนนอนและชัดเจน ่ ้ ่ ี ี่ และเปนที่ยอมรับในหมูบุคคลที่เกี่ยวของ การสื่อสารในที่นี้หมายถึง การสรางสัมพันธระหวาง สถาบันกับประชาชนกลุมเปาหมาย ดวยการใหขาวสาร สาระความรู ความเขาใจ ความบันเทิง และเรื่องราวตาง ๆ เกี่ยวกับสถาบัน โดยสถาบันจะสงขาวสารผานไปยังประชาชนกลุมเปาหมาย ทั้งนี้ ยังมีความหมายรวมถึงการรับฟงความคิดเห็น หรือปฏิกิริยาสะทอนกลับจากประชาชน กลุมเปาหมายที่มีตอขาวสารนั้น ๆ กลับมายังสถาบัน ดังนั้น ถาเลือกสื่อที่ไมเหมาะสม ไมเพียงแตจะเปนการทํางานที่เสียเวลาและเงิน งบประมาณที่หมดไป แตอาจจะหมายถึงความลมเหลวของการประชาสัมพันธในเรื่องนั้น ๆ ดวย การสื่อสารจึงเปนเรื่องที่ละเอียดออนและลึกซึ้งที่สดในบรรดาขั้นตอนการประชาสัมพันธ ุ 4. การประเมินผล (Evaluation) เมื่อไดมีการกระทําที่เกิดขึ้นแลว ประเด็นสําคัญที่ตามมาสําหรับนักประชาสัมพันธ คือ ขาวหรือกิจกรรมนั้น ๆ มีผลตอความคิดของประชาชนอยางไร มีใครใหความสนใจบาง ให ความสนใจมากนอยเพียงใด มีปฏิกรยาโตตอบอยางไร ภาพลักษณขององคกรดีขนหรือไม อยางไร ิิ ึ้ คําถามที่ตองหาคําตอบเหลานี้เปนการประเมินผลงานที่ไดกระทําไปแลว การประเมิ น ผลหรื อ การวั ด ผลจึ ง หมายถึ ง การตรวจสอบและการตั ด สิ น คุ ณ ค า ของ การกระทําใด ๆ เพื่อการเก็บรวบรวมและวิเคราะหขอมูลที่เกี่ยวของ ในแงของการประเมินผล การประชาสัมพันธจึงเปนการตรวจสอบและตัดสินคุณคาของการประชาสัมพันธที่ไดดําเนินไป ในชวงระยะเวลาหนึงวา ไดรบความสําเร็จมากนอยเพียงใด ไดประสิทธิผลตรงตามวัตถุประสงคของ ่ ั การประชาสัมพันธหรือไมเพียงใด จากความหมายนี้จะพบวา การประเมินผลประกอบดวยขอมูล การรวบรวมและวิเคราะหขอมูล รวมถึงการตีความหมายและตัดสินคุณคา  บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 9
  • 10. “การสื่อสารมิใชสิ่งที่เราสื่อออกไปเทานั้น แตเปนสิ่งที่ผูบริโภคไดรับตางหาก นั่นหมายความวา ผูบริโภครับขอมูลหลากหลาย จึงจําเปนตองมี การติดตามและประเมินผล” วิไล เคียงประดู, ผูชวยกรรมการผูอํานวยการสวนงานประชาสัมพันธ, บริษทแอดวานซ อินโฟร เซอรวิส จํากัด (มหาชน) ั กลาวโดยสรุป คือ การดําเนินงานประชาสัมพันธขององคกรตาง ๆ ไมวาจะเปนภาครัฐ หรือเอกชน นอกเหนือจากการทํางานดานประชาสัมพันธในลักษณะงานประจําตาง ๆ ทั่วไปแลว ในบางครั้งองคกรก็ตองทําการรณรงคประชาสัมพันธ เพื่อวัตถุประสงคในการกระตุน เรงรัด และ จูงใจใหเกิดความสนใจจากกลุมเปาหมายหรือกลุมชนตาง ๆ ใหมีทัศนคติหรือมีพฤติกรรมไปใน ทางที่องคกรตองการ ซึ่งทําไดโดยการดําเนินงานประชาสัมพันธ และจะตองทําอยางตอเนื่องดวย การผสมผสานการใชสื่อหลายชนิดหลายรูปแบบไปพรอม ๆ กัน ซึ่งเรียกวา การดําเนินงาน ประชาสัมพันธ ดังนั้น นักประชาสัมพันธจึงมีหนาที่ในการดําเนินงานตามขั้นตอน 4 ดาน ซึ่งประกอบดวย R-A-C-E คือ ดานการวิจัยและรับฟงความคิดเห็น (Research-Listening) ดานการวางแผนและการตัดสินใจ (Action Planning-Decision Making) ดานการติดตอสื่อสาร (Communication) และดานการประเมินผล (Evaluation) จุดประสงคของการวิจัยทางการประชาสัมพันธ การวิจัยทางการประชาสัมพันธสวนใหญมีจุดประสงคหลักๆ ดังนี้ 1. เพื่อทําความรูจักและสรางความเขาใจในกลุมเปาหมายที่กวางขวาง (Wider Audience) ใหมากที่สุด 2. เพื่อรูลึกถึงวิธีการหรือกลยุทธการสื่อสารหรือการใชชองทางในการสื่อสารกับกลุม เปาหมายอยางลึกซึ้งและเหมาะสม (In-depth knowledge of communication) 3. เพื่อสรางความสัมพันธที่ดีกับสื่อมวลชนและกลุมชุมชนละแวกใกลเคียง (Deeper relationship with media and community) กลาวไดวา การวิจยทางการประชาสัมพันธเปนการเปดโอกาสใหกลุมประชาชนไดแสดงออก  ั  ซึงความคิดเห็น ความพอใจหรือไมพอใจตอนโยบายและการดําเนินงานขององคกรหรือสถาบันนัน ๆ ่ ้ ซึ่งเปนการตอบสนองความตองการของกลุมประชาชนที่มีความเกี่ยวของกับองคกรนั่นเอง 10 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
  • 11. อยางไรก็ตาม กอนจะตัดสินใจทําวิจย ไมวาจะทําเองหรือวาจางบริษทวิจย ขอใหถามคําถาม ั  ั ั ตอไปนี้ (Dilenschneider, 2011) • ผลของงานวิจยนี้จะสามารถนําไปปฏิบัติจริงไดอยางไร ั • มีอะไรทีเรารูแลวบาง การทําสิงทีซาซอนเปนการเปลืองงบประมาณและทําใหการดําเนิน ่  ่ ่ ํ้ งานเสียเวลา • มีวิธีใดบางที่องคกรจะสามารถใชงานวิจัยใหเปนประโยชนสูงสุด เชน การใชผลวิจัยใน การออกแบบแผนงานโฆษณาและประชาสัมพันธ หรือการเผยแพรขอมูลจากการวิจัยใหคนใน องคกรไดรับรู เมื่อใดตองทําการวิจัยทางการประชาสัมพันธ นักประชาสัมพันธขององคกรอาจทําการวิจยโดยยึดหลักงาย ๆ ตามวงจรชีวตของผลิตภัณฑ ั ิ (Product Life Cycle) ไดแก • ชวงแนะนําตัวหรือเริ่มตน (Introduction Stage) เปนชวงที่ตองการเขาสูตลาด • ชวงเจริญเติบโต (Growth) เปนชวงที่ผูบริโภคใหการยอมรับมาก เริ่มมีคูแขงเขาตลาด • ชวงเติบโตเต็มที่หรืออิ่มตัว (Maturity) เปนชวงที่ตองรักษากําไร รักษาสวนแบงตลาด • ชวงตกตํ่า (Declining) เปนชวงที่ตองการจูงใจผูบริโภคใหซื้อเพิ่ม นอกจากนี้ จากที่กลาวแลวขางตนวา การทําวิจัยทางการประชาสัมพันธยังสามารถ กระทําไดเมื่อตองการสรางภาพลักษณองคกร (Corporate Image) หรือเมื่อองคกรประสบปญหา หรือเมื่อตองการสรางสรรคกิจกรรมประชาสัมพันธใหม ๆ หรือเมื่อตองการหากลุมเปาหมายใหม เชน เพือตามใหทนความเปลียนแปลงทีรวดเร็วเกียวกับการเปดรับสือของกลุมเปาหมายทีเปนผูรบ ่ ั ่ ่ ่ ่  ่ ั ขาวสารที่มีอายุนอย ระหวาง 18-25 ป เพื่อที่จะเจาะลงลึกไดวาความคิดเห็นของคนกลุมนี้เปน อยางไร หรือแมกระทั่งเมื่อมีภาวะวิกฤตเกิดขึ้นกับองคกร เนื่องจากผลของวิกฤตนั้นอาจสงผล กระทบตอภาพลักษณขององคกรไมดานใดก็ดานหนึ่ง จึงจําเปนอยางยิ่งที่นักประชาสัมพันธ ขององคกรตองทําการวิจัยเพื่อสํารวจภาพลักษณขององคกรในสายตาของกลุมเปาหมายวามี การเปลี่ยนแปลงไปหรือไม อยางไร บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 11
  • 12. อยางไรก็ตาม การวิจัยทางการประชาสัมพันธโดยสวนใหญมักมีจุดประสงคทางธุรกิจ คือ เพื่อสรางทัศนคติที่ดีตอองคกร โดยไมไดชักจูงใหซื้อสินคาโดยตรง กลาวคือ เพื่อสรางภาพ ลักษณทดใหเกิดขึนในสายตาของผูบริโภคกลุมเปาหมาย ซึงอาจใชวธการวิจยทางการประชาสัมพันธ ี่ ี ้   ่ ิี ั ที่เกี่ยวของกับภาพลักษณของสินคา (Product Image) หรือภาพลักษณขององคกร (Corporate Image) ดังนัน งานวิจยจึงถือเปนอีกหนึงปจจัยในความสําเร็จทางธุรกิจ เพือตอบสนองความตองการ ้ ั ่ ่ ทัศนคติ และแนวโนมพฤติกรรมผูบริโภค ตลอดจนความเคลื่อนไหวของคูแขงขันและตลาดธุรกิจ ในอนาคต 12 การวิจัยงานประชาสัมพันธ
  • 13. คําถามทายบท 1. จงอธิบายถึงความหมายของการวิจยมาโดยสังเขป ั 2. จงอธิบายถึงความสําคัญของการวิจยตอกระบวนการดําเนินงานประชาสัมพันธ ั 3. จงอธิบายวา เมือใดทีจาเปนตองทําการวิจยเพืองานประชาสัมพันธ ่ ่ํ ั ่ บทที่ 1 การวิจัยกับการประชาสัมพันธ 13