SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของเดนมาร์ค
ตั้งแต่สงครามครั้งใหญ่ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับอังกฤษ ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1800
เดนมาร์กเข้าข้างฝรั่งเศสและสวีเดนเข้าข้างอังกฤษ ต่อมาฝรั่งเศสแพ้สงครามกับอังกฤษ จึงส่งผลให้
ระบอบของสถาบันกษัตริย์ในประเทศเดนมาร์กอ่อนแอลง ต่อมาภายหลังได้มีประเด็นปัญหาเรื่องสอง
แคว้นในเดนมาร์ก ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างเดนมาร์กกับเยอรมัน ด้วยเหตุนี้ กลุ่มเสรีนิยมที่ได้แนวคิดเสรี
นิยมและเหตุผลนิยม จากการที่ยุโรปเข้าสู่ยุค Enlightenment ซึ่งได้แก่ เหล่าชนชั้นกลางที่มีการศึกษา
การเปรียบเทียบระบอบการปกครองของไทยกับต่างประเทศ โดยส่วนมากประเทศที่มักจะถูก
หยิบยกนามาเปรียบเทียบเป็นประเทศแรกๆ คือ อังกฤษ แต่ในทัศนคติของผู้วิจัย กลับเห็นว่าการใช้
อังกฤษเป็นต้นแบบในการเปรียบเทียบกับประเทศไทยเป็นเรื่องที่ยาก เพราะอังกฤษได้มีการ
เปลี่ยนแปลงอย่างนองเลือด คือมีการสาเร็จโทษกษัตริย์ และได้สิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ตลอดจนได้มีการทดลองใช้ระบอบที่เรียกว่า สาธารณรัฐ จนภายหลังได้มีการกลับมาใช้ระบอบกษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเลือกประเทศในแถบยุโรปเหนืออย่างประเทศ
เดนมาร์ก มาทาการศึกษาเปรียบเทียบ เพราะถือว่าเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ได้รับ
การยกย่องว่าเป็นเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ
1
การเปลี่ยนแปลง การปกครอง
เดนมาร์กค.ศ. 1849 :
จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร
อาจารย์ประจาภาควิชาการปกครอง
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถอดความจากการนาเสนอในที่ประชุมเวที Think Tank เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงการปกครองเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 : จาก
สมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" จัดโดยโครงการคลังปัญญาเพื่ออภิวัฒน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 8-812 อาคารสาทรธานี1 ศูนย์
ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์
ปัญญาสาธารณะ (สปส.)
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ฉบับที่ 3 / 2557
เอกสารวิชาการฉบับย่อ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
2
ข้าราชการ อาจารย์ นักกฎหมาย พระ หรืออาจจะเรียกได้ว่ากลุ่มปัญญาชน ที่มีการขับเคลื่อนโดยการ
ดึงอุดมการณ์ชาตินิยมมาร่วมด้วย ดังนั้น กลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า The National Liberal หรือเสรีนิยม
ชาตินิยม โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือต้องการให้เดนมาร์กมีรัฐธรรมนูญเพื่อจากัดพระราชอานาจของ
กษัตริย์ลง จึงร่วมกับสันนิบาตเกษตรกร หรือกลุ่มชาวไร่ชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตัวเองไม่ใช่เป็นเพียงผู้
เช่า หลังจากนั้น เกิดความร่วมมือของทั้งสองกลุ่มจนเกิดปรากฏการณ์ที่โดดเด่นมาก คือในเดือน
มีนาคม ค.ศ.1849 มีการชุมนุมใหญ่ที่กรุงโคเปนเฮเกน การชุมนุมใหญ่ครั้งนั้นเป็นการชุมนุมเพื่อ
เรียกร้องรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้ร่วมชุมนุมถึง 15,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นจานวนที่มาก เพราะในขณะนั้นยัง
ไม่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย และประชากรเดนมาร์คในขณะนั้นยังมีไม่มากหากเทียบกับประเทศ
ในยุโรปด้วยกัน ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของเดนมาร์กจึงมีรากฐานที่ค่อนข้างกว้างหากเทียบกับการ
เปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2475 ของไทย ที่เกิดจากกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คน
ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ
 ความคิดทางการเมืองของกลุ่มเคลื่อนไหว
ประเด็นที่น่าสนใจคือความคิดทางการเมืองของบรรดาผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่ง
ข้อความต่อไปนี้คือข้อความที่หนึ่งในคณะผู้เคลื่อนไหวได้กล่าวไว้ คือ
“ประชาธิปไตยกับประชาชนไม่ใช่เรื่องเดียวกัน” และ “ในขณะที่ข้าพเจ้าปรารถนาอย่าง
หมดใจที่จะรับใช้ประชาชน แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถกล่าวได้ว่าข้าพเจ้าจะรับใช้ ประชาธิปไตย”
และ “ข้าพเจ้าไม่ใช่ นักประชาธิปไตย (democrat) หรืออีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าไม่เชื่อในคุณค่า
ของเสียงข้างมากในการลงคะแนน แต่แน่นอนว่า ข้าพเจ้ายอมรับ ความจาเป็นที่จะต้องเปิด
ให้เสียงข้างมากตัดสินประเด็นที่มันมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในการกาหนด
เรื่องราวของตัวเอง (the people’s right to self-determination) ”
ในที่นี้จะชี้ให้เห็นว่า ไม่มีการใช้คาว่า “ประชาธิปไตย” ในช่วงของการเรียกร้อง
รัฐธรรมนูญเพราะประชาธิปไตยในสมัยนั้นมีความหมายในแง่ลบและมีความหมายในแง่ลบ
ยาวนานมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และกว่าที่คาว่าประชาธิปไตยจะเป็นสัญลักษณ์
เคลื่อนไหวทางการเมืองในเดนมาร์กก็ล่วงเลยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะฉะนั้นการ
ต่อสู้ของเดนมาร์กที่ใช้คาว่าประชาธิปไตยจึงมีมาภายหลัง มากไปกว่านั้นจากการศึกษายัง
พบว่า แกนนาในการเปลี่ยนแปลงของเดนมาร์กมีความเข้าใจถึงปัญหาของประชาธิปไตย
เป็นอย่างดี เพราะเป็นคนยุโรปที่รู้ถึงปัญหาประชาธิปไตยตั้งแต่สมัยเอเธนส์ ว่าเป็นการให้
ประชาชนใช้อานาจอย่างไม่มีขอบเขต
หากศึกษาในทัศนะของกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเรียกร้องรัฐธรรมนูญเดนมาร์กนั้น จะเห็นว่า
มิได้คิดถึงการปฏิวัติของฝรั่งเศสเลย เนื่องจากขณะนั้นฝรั่งเศสให้บทเรียนอันแสนเลวร้ายต่อ
ประเทศยุโรปมาก ซึ่งคณะราษฎรของเดนมาร์กได้กล่าวไว้ว่า “การปฏิวัติฝรั่งเศส และระบอบ
ทรราชของนโปเลียนได้ให้ประสบการณ์ต่อกษัตริย์และประชาชนว่าเจ้ากับประชาชนจะต้อง
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
3
อาศัยกันและกันอย่างไร” ในที่นี้เราสามารถเห็นได้ถึงทัศนคติของคนเดนมาร์คส่วนมากที่
ไม่ได้คิดจะเอาแนวทางการเปลี่ยนแปลงในแบบถอนรากถอนโคนสถาบันกษัตริย์อย่าง
ประเทศฝรั่งเศสมาเป็นต้นแบบ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า นี่อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทาให้การ
เปลี่ยนแปลงการปกครองของเดนมาร์ค เป็นไปในแนวทางสันติ
 การปรับตัวของบทบาทสถาบันกษัตริย์
ประสบการณ์จากการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นเหตุให้สถาบันกษัตริย์เดนมาร์กพยายามทา
ทุกอย่างที่จะปลุกเร้ากระตุ้นจิตวิญญาณของประชาชนและให้การศึกษาแก่ราษฎรเพื่อให้
เกิดความดีร่วมกัน (common good) หากเราย้อนกลับไปศึกษาถึงบทลงโทษที่กระทาต่อ
กลุ่มบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น ถือว่าเป็นโทษที่มีความรุนแรงน้อยมาก ยกตัวอย่าง
Grundtvig ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวเคยถูกลงโทษห้ามแสดงความเห็นตลอด
ชีวิต ทาให้คิดได้ว่า สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะพระมหากษัตริย์เดนมาร์กได้เห็นถึงการ
ปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 และการตัดพระเศียรของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในอังกฤษ
เมื่อปี ค.ศ.1848 ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้เอง จึงทาให้กษัตริย์เดนมาร์กตระหนักได้ว่าไม่น่าที่จะ
สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้ โดยได้มีการร่างรัฐธรรมนูญไว้ตั้งแต่ปี
ค.ศ.1842 ในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 ต่อมาในรัชสมัยที่พระเจ้าฟรีดริคที่ 7 ขึ้นมา
สืบราชสันตติวงศ์ต่อในปี ค.ศ.1849 พระองค์ท่านทรงเห็นภาพทั้งหมดอย่างแจ่มแจ้ง จึง
ยอมให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสันติ
เพราะฉะนั้นนี่จึงอาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทาให้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของ
เดนมาร์กมีความเข้มแข็งและมั่นคงอยู่ได้
จากการศึกษาพบว่า ภายหลังการมีรัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ.1849 ของเดนมาร์ก ไม่ได้มี
การจากัดพระราชอานาจของกษัตริย์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสวนทางกับกรณีของประเทศไทย
เป็นอย่างมาก
สาระสาคัญบางประการของรัฐธรรมนูญเดนมาร์ค
 ประเด็นสัดส่วนของอานาจ
ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1849 มีการแยกอานาจ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ จากเดิม
ที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ ผู้ที่ทาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของ
เดนมาร์กต่างบอกว่า การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของเดนมาร์กในปี ค.ศ.1849
เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองแบบผสมนั้น คือ
ต้องการยอมรับเรื่องอานาจของ the one อานาจของ the few และอานาจของ the many
ซึ่งต้องมีอยู่ในสัดส่วนของการผสมกัน ไม่ใช่อยู่ในลักษณะที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอานาจเต็มที่
เสมอ และการใช้อานาจนิติบัญญัติของกษัตริย์เดนมาร์กต้องใช้ร่วมกับฝ่ายสภา และอานาจ
ฝ่ายบริหารก็ต้องใช้ร่วมกับฝ่ายสภาเช่นกัน แต่ทั้งนี้กษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งพระราชอานาจใน
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
4
การแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยไม่ต้องคานึงถึงสัดส่วนเสียงข้างมากในสภา จึงเป็นหนึ่งประเด็นที่
น่าสนใจว่ากลุ่มคนเดนมาร์กที่มีแนวคิดเสรีนิยมก้าวหน้าขนาดนั้น แต่เพราะในช่วงเวลา
ดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการต่อรองให้ออกมาเป็นลักษณะผสม
สาหรับฝ่ายรัฐสภามีอานาจตามรัฐธรรมนูญ มีการแบ่งออกเป็น 2 สภา คือสภาสูงและสภา
ล่าง โดยคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในสภาสูงได้นั้นต้องเป็นคนที่มีทรัพย์เท่านั้น และในส่วนของ
สภาล่างคือสภาที่ให้ประชาชนทั่วไปเลือก ซึ่งเปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ชายที่มีทรัพย์เท่านั้นถึง
จะมีสิทธิเลือกนับเป็นเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด กล่าวโดยสรุปว่ามีจานวน
ประชากรทั้งหมดที่มีสิทธิเลือกตั้งอยู่เพียงร้อยละ 15 และอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ
ผู้หญิงเดนมาร์ค เพึ่งจะมีสิทธิได้เลือกตั้งเป็นครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1915 หาก
เปรียบเทียบในประเด็นด้านเศรษฐกิจระหว่างเดนมาร์กกับไทย ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง
การปกครองนั้น ประเทศเดนมาร์กถือเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่
สูง ประกอบกับความพร้อมของประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เมื่อ
ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยในปี พ.ศ.2475 ถือ
เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้ให้สิทธิกับประชาชนทุกคนในการ
เลือกตั้ง ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจน่าจะอยู่ที่เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจของไทยและความ
พร้อมของประชาชนไทยในการตระหนักถึงสิทธิการเลือกตั้ง
 ประเด็นการกลับมามีอานาจอีกครั้งของกลุ่มอานาจเก่า
หลังจากปี ค.ศ.1849 ผ่านไป 17 ปี ก็เกิดปัญหาหนึ่งที่คิดว่ามีความคล้ายคลึงกันและ
น่าจะสามารถนามาเป็นบทเรียนของการวิวัฒนาการทางการเมืองไทยได้ คือ การที่ฝ่าย
รัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญแล้วใช้รัฐธรรมนูญนั้นไปอ้างสิทธิในสองแคว้นที่มีกรณีพิพาทกับ
เยอรมัน ด้วยเหตุนี้ เยอรมันจึงถือโอกาสท้าทาสงคราม ซึ่งเดนมาร์กเคยชนะสงครามนี้
มาแล้วจึงผยอง และฝ่ายรัฐสภาก็อยากจะสร้างผลงานให้กับตัวเองในการที่จะเอาสองแคว้นนี้
มาเป็นของตัวเอง สงครามระหว่างเยอรมันกับเดนมาร์คจึงเกิดขึ้น ผลคือเดนมาร์กแพ้
สงครามสองครั้งอย่างราบคาบ ส่งผลต่อการเมืองภายในประเทศอย่างรุนแรง คืออานาจเกิด
การหมุนย้อนกลับมาสู่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมอีกครั้งและพระราชอานาจของกษัตริย์ก็กลับคืนมา
มากขึ้น นาไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ไปอีกประมาณเกือบ 50 ปี ผู้วิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า
การเกิดอานาจย้อนกลับนั้น เพราะในขณะที่เกิดปัญหา ประชาชนยังคงนึกถึงกษัตริย์อยู่ เฉก
เช่นเดียวกันกับกรณีของไทยหลังจากปี พ.ศ.2475 ผ่านไปประมาณ 15 ปี เกิดรัฐธรรมนูญ
ในปีพ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เริ่มต้นย้อนกลับไปหากลุ่มอานาจเก่ามากขึ้น
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
5
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ในปัจจุบันเราสามารถแบ่งนักวิชาการออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มแรกเชื่อว่ารูปแบบการ
ปกครองของมนุษย์จะมีวิวัฒนาการเริ่มต้นจากระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเมื่อถึงการ
เปลี่ยนผ่านก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบอบสาธารณรัฐหรือเปลี่ยนเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้
รัฐธรรมนูญก็ได้ กลุ่มที่สอง เชื่อว่าวิวัฒนาการของระบอบการปกครองจากระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะหลีกหนีไม่พ้นการลงเอยเป็นระบอบสาธารณรัฐเท่านั้น เพราะเชื่อในเรื่องของ
ความก้าวหน้าของสังคม ความรู้ และรูปแบบการปกครอง
แต่นักวิชาการกลุ่มแรกยังคงยืนยันว่าระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นระบอบที่สามารถ
เป็นจุดสมบูรณ์ในตัวเองได้เหมือนกัน และเป็นระบอบหนึ่งที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในเรื่องของสิทธิ
เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างเช่นประเทศเดนมาร์ก ดังนั้นจึงไม่มีความจาเป็นที่
จะต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่มีการถกเถียง
กันในวงกว้าง
ทั้งนี้ในทัศนคติของผู้วิจัย เห็นว่าควรมีการเปิดพื้นที่และเสรีภาพทางด้านวิชาการให้มีการ
ถกเถียง แสดงความคิดเห็นและทาความเข้าใจกันต่อแนวทางระบอบการปกครองของไทย และ
แนวโน้มทางการเมืองในอนาคตให้มากขึ้น
นอกเหนือจากนี้ สังคมไทยควรทาความเข้าใจบริบทเงื่อนไขทางด้านเวลา กล่าวคือ การ
นารูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในไทย ส่วนมากมักเข้าใจและยึดถือเพียงหลักการของประชาธิปไตยใน
รูปแบบตะวันตกเท่านั้น ยังขาดซึ่งการพิจารณาในมิติทางด้านประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของ
ประชาธิปไตย ในมุมมองของผู้วิจัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 คือการที่ไทยไปรับ
เอาประชาธิปไตยของตะวันตกมาทั้งหมด โดยมิได้คานึงถึงเงื่อนไขของบริบททางด้านวิวัฒนาการและ
การพัฒนาการทางด้านเวลา หากเปรียบเทียบกับเงื่อนไขทางด้านเวลาแล้ว อังกฤษมีวิวัฒนาการของ
ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญถึง 300 กว่าปี และเดนมาร์กประมาณ 160-170 ปี ในขณะที่ไทยอยู่ที่
82 ปีเท่านั้น เมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว อาจนามาเปรียบได้กับการเลี้ยงไก่ในปัจจุบันที่มีการฉีดยาเร่งให้โต
เร็วนั้น หมายถึง ความต้องการที่จะให้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทยพัฒนาอย่างรวดเร็ว
เทียบเท่ากับของอังกฤษหรือของเดนมาร์ก ที่ใช้ระยะเวลาเดินเป็นหลายร้อยปี
********************************************
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
6
เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ : น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : น.ส.อนันญลักษณ์ อุทัยพิพัฒนากุล
บันทึกเทปการประชุม : นาย ฮากีม ผูหาดา
ผู้ประสานงาน : อ.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ นางพัชร์พิชา เคียงธนสมบัติ
ปีที่พิมพ์ : พฤศจิกายน 2557
สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยน:
ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์
ไชยพร ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สุขสาราญ รองศาสตราจารย์ ดร.จานง
สรพิพัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ดร.วณี ปิ่นประทีป
ดร.สติธร ธนานิธิ โชติ ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล ดร.ประยูร อัครบวร
อาจารย์ กิตติศักดิ์เจิมสิทธิประเสริฐ อาจารย์ บุญส่ง ชเลธร อาจารย์ อัคร
เดช สุภัคกุล อาจารย์ วันวิชิต บุญโปร่ง นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป
นาวาอากาศเอก สมชาติ ไกรลาศสุวรรณ นาวาตรี สงคราม สมณวัฒนา
ว่าที่พันตรี วชิรวิชญ์ สริชัยพงศ์กุล ร้อยตารวจเอก จอมเดช ตรีเมฆ คุณ
ทนงศักดิ์ วิกุล คุณวิชชุกร คาจันทร์ คุณ ดารินทร์ กาแพงเพชร คุณ
สุวรรณี อัศว์วิเศษศิวะกุล คุณ ไชยวัฒน์ สุโชดายน คุณ ธานี สุโชดายน
โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่อยู่ติดต่อ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900
โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064

More Related Content

More from Klangpanya

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfKlangpanya
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfKlangpanya
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....Klangpanya
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชKlangpanya
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 

การเปลี่ยนแปลงการปกครองเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 : จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐ

  • 1. การเปลี่ยนแปลงการปกครองของเดนมาร์ค ตั้งแต่สงครามครั้งใหญ่ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับอังกฤษ ในช่วงประมาณปี ค.ศ. 1800 เดนมาร์กเข้าข้างฝรั่งเศสและสวีเดนเข้าข้างอังกฤษ ต่อมาฝรั่งเศสแพ้สงครามกับอังกฤษ จึงส่งผลให้ ระบอบของสถาบันกษัตริย์ในประเทศเดนมาร์กอ่อนแอลง ต่อมาภายหลังได้มีประเด็นปัญหาเรื่องสอง แคว้นในเดนมาร์ก ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างเดนมาร์กกับเยอรมัน ด้วยเหตุนี้ กลุ่มเสรีนิยมที่ได้แนวคิดเสรี นิยมและเหตุผลนิยม จากการที่ยุโรปเข้าสู่ยุค Enlightenment ซึ่งได้แก่ เหล่าชนชั้นกลางที่มีการศึกษา การเปรียบเทียบระบอบการปกครองของไทยกับต่างประเทศ โดยส่วนมากประเทศที่มักจะถูก หยิบยกนามาเปรียบเทียบเป็นประเทศแรกๆ คือ อังกฤษ แต่ในทัศนคติของผู้วิจัย กลับเห็นว่าการใช้ อังกฤษเป็นต้นแบบในการเปรียบเทียบกับประเทศไทยเป็นเรื่องที่ยาก เพราะอังกฤษได้มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างนองเลือด คือมีการสาเร็จโทษกษัตริย์ และได้สิ้นสุดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดจนได้มีการทดลองใช้ระบอบที่เรียกว่า สาธารณรัฐ จนภายหลังได้มีการกลับมาใช้ระบอบกษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเลือกประเทศในแถบยุโรปเหนืออย่างประเทศ เดนมาร์ก มาทาการศึกษาเปรียบเทียบ เพราะถือว่าเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ได้รับ การยกย่องว่าเป็นเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ 1 การเปลี่ยนแปลง การปกครอง เดนมาร์กค.ศ. 1849 : จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจาภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถอดความจากการนาเสนอในที่ประชุมเวที Think Tank เรื่อง "การเปลี่ยนแปลงการปกครองเดนมาร์ก ค.ศ. 1849 : จาก สมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ" จัดโดยโครงการคลังปัญญาเพื่ออภิวัฒน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุม 8-812 อาคารสาทรธานี1 ศูนย์ ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต ภายใต้การสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ ปัญญาสาธารณะ (สปส.) โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับที่ 3 / 2557 เอกสารวิชาการฉบับย่อ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 2. 2 ข้าราชการ อาจารย์ นักกฎหมาย พระ หรืออาจจะเรียกได้ว่ากลุ่มปัญญาชน ที่มีการขับเคลื่อนโดยการ ดึงอุดมการณ์ชาตินิยมมาร่วมด้วย ดังนั้น กลุ่มนี้จึงถูกเรียกว่า The National Liberal หรือเสรีนิยม ชาตินิยม โดยมีเป้าหมายร่วมกันคือต้องการให้เดนมาร์กมีรัฐธรรมนูญเพื่อจากัดพระราชอานาจของ กษัตริย์ลง จึงร่วมกับสันนิบาตเกษตรกร หรือกลุ่มชาวไร่ชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตัวเองไม่ใช่เป็นเพียงผู้ เช่า หลังจากนั้น เกิดความร่วมมือของทั้งสองกลุ่มจนเกิดปรากฏการณ์ที่โดดเด่นมาก คือในเดือน มีนาคม ค.ศ.1849 มีการชุมนุมใหญ่ที่กรุงโคเปนเฮเกน การชุมนุมใหญ่ครั้งนั้นเป็นการชุมนุมเพื่อ เรียกร้องรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้ร่วมชุมนุมถึง 15,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นจานวนที่มาก เพราะในขณะนั้นยัง ไม่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย และประชากรเดนมาร์คในขณะนั้นยังมีไม่มากหากเทียบกับประเทศ ในยุโรปด้วยกัน ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงของเดนมาร์กจึงมีรากฐานที่ค่อนข้างกว้างหากเทียบกับการ เปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2475 ของไทย ที่เกิดจากกลุ่มบุคคลเพียงไม่กี่คน ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติ  ความคิดทางการเมืองของกลุ่มเคลื่อนไหว ประเด็นที่น่าสนใจคือความคิดทางการเมืองของบรรดาผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่ง ข้อความต่อไปนี้คือข้อความที่หนึ่งในคณะผู้เคลื่อนไหวได้กล่าวไว้ คือ “ประชาธิปไตยกับประชาชนไม่ใช่เรื่องเดียวกัน” และ “ในขณะที่ข้าพเจ้าปรารถนาอย่าง หมดใจที่จะรับใช้ประชาชน แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถกล่าวได้ว่าข้าพเจ้าจะรับใช้ ประชาธิปไตย” และ “ข้าพเจ้าไม่ใช่ นักประชาธิปไตย (democrat) หรืออีกนัยหนึ่ง ข้าพเจ้าไม่เชื่อในคุณค่า ของเสียงข้างมากในการลงคะแนน แต่แน่นอนว่า ข้าพเจ้ายอมรับ ความจาเป็นที่จะต้องเปิด ให้เสียงข้างมากตัดสินประเด็นที่มันมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในการกาหนด เรื่องราวของตัวเอง (the people’s right to self-determination) ” ในที่นี้จะชี้ให้เห็นว่า ไม่มีการใช้คาว่า “ประชาธิปไตย” ในช่วงของการเรียกร้อง รัฐธรรมนูญเพราะประชาธิปไตยในสมัยนั้นมีความหมายในแง่ลบและมีความหมายในแง่ลบ ยาวนานมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และกว่าที่คาว่าประชาธิปไตยจะเป็นสัญลักษณ์ เคลื่อนไหวทางการเมืองในเดนมาร์กก็ล่วงเลยมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะฉะนั้นการ ต่อสู้ของเดนมาร์กที่ใช้คาว่าประชาธิปไตยจึงมีมาภายหลัง มากไปกว่านั้นจากการศึกษายัง พบว่า แกนนาในการเปลี่ยนแปลงของเดนมาร์กมีความเข้าใจถึงปัญหาของประชาธิปไตย เป็นอย่างดี เพราะเป็นคนยุโรปที่รู้ถึงปัญหาประชาธิปไตยตั้งแต่สมัยเอเธนส์ ว่าเป็นการให้ ประชาชนใช้อานาจอย่างไม่มีขอบเขต หากศึกษาในทัศนะของกลุ่มคนที่ขับเคลื่อนเรียกร้องรัฐธรรมนูญเดนมาร์กนั้น จะเห็นว่า มิได้คิดถึงการปฏิวัติของฝรั่งเศสเลย เนื่องจากขณะนั้นฝรั่งเศสให้บทเรียนอันแสนเลวร้ายต่อ ประเทศยุโรปมาก ซึ่งคณะราษฎรของเดนมาร์กได้กล่าวไว้ว่า “การปฏิวัติฝรั่งเศส และระบอบ ทรราชของนโปเลียนได้ให้ประสบการณ์ต่อกษัตริย์และประชาชนว่าเจ้ากับประชาชนจะต้อง โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 3. 3 อาศัยกันและกันอย่างไร” ในที่นี้เราสามารถเห็นได้ถึงทัศนคติของคนเดนมาร์คส่วนมากที่ ไม่ได้คิดจะเอาแนวทางการเปลี่ยนแปลงในแบบถอนรากถอนโคนสถาบันกษัตริย์อย่าง ประเทศฝรั่งเศสมาเป็นต้นแบบ ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า นี่อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทาให้การ เปลี่ยนแปลงการปกครองของเดนมาร์ค เป็นไปในแนวทางสันติ  การปรับตัวของบทบาทสถาบันกษัตริย์ ประสบการณ์จากการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นเหตุให้สถาบันกษัตริย์เดนมาร์กพยายามทา ทุกอย่างที่จะปลุกเร้ากระตุ้นจิตวิญญาณของประชาชนและให้การศึกษาแก่ราษฎรเพื่อให้ เกิดความดีร่วมกัน (common good) หากเราย้อนกลับไปศึกษาถึงบทลงโทษที่กระทาต่อ กลุ่มบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้น ถือว่าเป็นโทษที่มีความรุนแรงน้อยมาก ยกตัวอย่าง Grundtvig ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เคลื่อนไหวเคยถูกลงโทษห้ามแสดงความเห็นตลอด ชีวิต ทาให้คิดได้ว่า สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะพระมหากษัตริย์เดนมาร์กได้เห็นถึงการ ปฏิวัติในฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ.1789 และการตัดพระเศียรของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1848 ด้วยปัจจัยทั้งหมดนี้เอง จึงทาให้กษัตริย์เดนมาร์กตระหนักได้ว่าไม่น่าที่จะ สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ได้ โดยได้มีการร่างรัฐธรรมนูญไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1842 ในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 7 ต่อมาในรัชสมัยที่พระเจ้าฟรีดริคที่ 7 ขึ้นมา สืบราชสันตติวงศ์ต่อในปี ค.ศ.1849 พระองค์ท่านทรงเห็นภาพทั้งหมดอย่างแจ่มแจ้ง จึง ยอมให้มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยสันติ เพราะฉะนั้นนี่จึงอาจจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทาให้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของ เดนมาร์กมีความเข้มแข็งและมั่นคงอยู่ได้ จากการศึกษาพบว่า ภายหลังการมีรัฐธรรมนูญ ในปี ค.ศ.1849 ของเดนมาร์ก ไม่ได้มี การจากัดพระราชอานาจของกษัตริย์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งสวนทางกับกรณีของประเทศไทย เป็นอย่างมาก สาระสาคัญบางประการของรัฐธรรมนูญเดนมาร์ค  ประเด็นสัดส่วนของอานาจ ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1849 มีการแยกอานาจ ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ จากเดิม ที่เคยรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ ผู้ที่ทาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของ เดนมาร์กต่างบอกว่า การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของเดนมาร์กในปี ค.ศ.1849 เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบการปกครองแบบผสมนั้น คือ ต้องการยอมรับเรื่องอานาจของ the one อานาจของ the few และอานาจของ the many ซึ่งต้องมีอยู่ในสัดส่วนของการผสมกัน ไม่ใช่อยู่ในลักษณะที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอานาจเต็มที่ เสมอ และการใช้อานาจนิติบัญญัติของกษัตริย์เดนมาร์กต้องใช้ร่วมกับฝ่ายสภา และอานาจ ฝ่ายบริหารก็ต้องใช้ร่วมกับฝ่ายสภาเช่นกัน แต่ทั้งนี้กษัตริย์ยังคงไว้ซึ่งพระราชอานาจใน โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 4. 4 การแต่งตั้งรัฐมนตรีโดยไม่ต้องคานึงถึงสัดส่วนเสียงข้างมากในสภา จึงเป็นหนึ่งประเด็นที่ น่าสนใจว่ากลุ่มคนเดนมาร์กที่มีแนวคิดเสรีนิยมก้าวหน้าขนาดนั้น แต่เพราะในช่วงเวลา ดังกล่าวเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการต่อรองให้ออกมาเป็นลักษณะผสม สาหรับฝ่ายรัฐสภามีอานาจตามรัฐธรรมนูญ มีการแบ่งออกเป็น 2 สภา คือสภาสูงและสภา ล่าง โดยคนที่มีสิทธิเลือกตั้งในสภาสูงได้นั้นต้องเป็นคนที่มีทรัพย์เท่านั้น และในส่วนของ สภาล่างคือสภาที่ให้ประชาชนทั่วไปเลือก ซึ่งเปิดโอกาสให้เฉพาะผู้ชายที่มีทรัพย์เท่านั้นถึง จะมีสิทธิเลือกนับเป็นเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด กล่าวโดยสรุปว่ามีจานวน ประชากรทั้งหมดที่มีสิทธิเลือกตั้งอยู่เพียงร้อยละ 15 และอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ ผู้หญิงเดนมาร์ค เพึ่งจะมีสิทธิได้เลือกตั้งเป็นครั้งแรก ในรัฐธรรมนูญปี ค.ศ.1915 หาก เปรียบเทียบในประเด็นด้านเศรษฐกิจระหว่างเดนมาร์กกับไทย ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลง การปกครองนั้น ประเทศเดนมาร์กถือเป็นประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ สูง ประกอบกับความพร้อมของประชาชนที่ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เมื่อ ย้อนกลับมาดูที่ประเทศไทย จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยในปี พ.ศ.2475 ถือ เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก และได้ให้สิทธิกับประชาชนทุกคนในการ เลือกตั้ง ทั้งนี้ประเด็นที่น่าสนใจน่าจะอยู่ที่เงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจของไทยและความ พร้อมของประชาชนไทยในการตระหนักถึงสิทธิการเลือกตั้ง  ประเด็นการกลับมามีอานาจอีกครั้งของกลุ่มอานาจเก่า หลังจากปี ค.ศ.1849 ผ่านไป 17 ปี ก็เกิดปัญหาหนึ่งที่คิดว่ามีความคล้ายคลึงกันและ น่าจะสามารถนามาเป็นบทเรียนของการวิวัฒนาการทางการเมืองไทยได้ คือ การที่ฝ่าย รัฐสภาแก้รัฐธรรมนูญแล้วใช้รัฐธรรมนูญนั้นไปอ้างสิทธิในสองแคว้นที่มีกรณีพิพาทกับ เยอรมัน ด้วยเหตุนี้ เยอรมันจึงถือโอกาสท้าทาสงคราม ซึ่งเดนมาร์กเคยชนะสงครามนี้ มาแล้วจึงผยอง และฝ่ายรัฐสภาก็อยากจะสร้างผลงานให้กับตัวเองในการที่จะเอาสองแคว้นนี้ มาเป็นของตัวเอง สงครามระหว่างเยอรมันกับเดนมาร์คจึงเกิดขึ้น ผลคือเดนมาร์กแพ้ สงครามสองครั้งอย่างราบคาบ ส่งผลต่อการเมืองภายในประเทศอย่างรุนแรง คืออานาจเกิด การหมุนย้อนกลับมาสู่ฝ่ายอนุรักษ์นิยมอีกครั้งและพระราชอานาจของกษัตริย์ก็กลับคืนมา มากขึ้น นาไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ไปอีกประมาณเกือบ 50 ปี ผู้วิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า การเกิดอานาจย้อนกลับนั้น เพราะในขณะที่เกิดปัญหา ประชาชนยังคงนึกถึงกษัตริย์อยู่ เฉก เช่นเดียวกันกับกรณีของไทยหลังจากปี พ.ศ.2475 ผ่านไปประมาณ 15 ปี เกิดรัฐธรรมนูญ ในปีพ.ศ. 2492 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่เริ่มต้นย้อนกลับไปหากลุ่มอานาจเก่ามากขึ้น โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 5. 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ ในปัจจุบันเราสามารถแบ่งนักวิชาการออกเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ กลุ่มแรกเชื่อว่ารูปแบบการ ปกครองของมนุษย์จะมีวิวัฒนาการเริ่มต้นจากระบอบกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเมื่อถึงการ เปลี่ยนผ่านก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบอบสาธารณรัฐหรือเปลี่ยนเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้ รัฐธรรมนูญก็ได้ กลุ่มที่สอง เชื่อว่าวิวัฒนาการของระบอบการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะหลีกหนีไม่พ้นการลงเอยเป็นระบอบสาธารณรัฐเท่านั้น เพราะเชื่อในเรื่องของ ความก้าวหน้าของสังคม ความรู้ และรูปแบบการปกครอง แต่นักวิชาการกลุ่มแรกยังคงยืนยันว่าระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นระบอบที่สามารถ เป็นจุดสมบูรณ์ในตัวเองได้เหมือนกัน และเป็นระบอบหนึ่งที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และคุณภาพชีวิตที่ดี อย่างเช่นประเทศเดนมาร์ก ดังนั้นจึงไม่มีความจาเป็นที่ จะต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประเด็นเหล่านี้เป็นประเด็นที่มีการถกเถียง กันในวงกว้าง ทั้งนี้ในทัศนคติของผู้วิจัย เห็นว่าควรมีการเปิดพื้นที่และเสรีภาพทางด้านวิชาการให้มีการ ถกเถียง แสดงความคิดเห็นและทาความเข้าใจกันต่อแนวทางระบอบการปกครองของไทย และ แนวโน้มทางการเมืองในอนาคตให้มากขึ้น นอกเหนือจากนี้ สังคมไทยควรทาความเข้าใจบริบทเงื่อนไขทางด้านเวลา กล่าวคือ การ นารูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในไทย ส่วนมากมักเข้าใจและยึดถือเพียงหลักการของประชาธิปไตยใน รูปแบบตะวันตกเท่านั้น ยังขาดซึ่งการพิจารณาในมิติทางด้านประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของ ประชาธิปไตย ในมุมมองของผู้วิจัยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 คือการที่ไทยไปรับ เอาประชาธิปไตยของตะวันตกมาทั้งหมด โดยมิได้คานึงถึงเงื่อนไขของบริบททางด้านวิวัฒนาการและ การพัฒนาการทางด้านเวลา หากเปรียบเทียบกับเงื่อนไขทางด้านเวลาแล้ว อังกฤษมีวิวัฒนาการของ ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญถึง 300 กว่าปี และเดนมาร์กประมาณ 160-170 ปี ในขณะที่ไทยอยู่ที่ 82 ปีเท่านั้น เมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว อาจนามาเปรียบได้กับการเลี้ยงไก่ในปัจจุบันที่มีการฉีดยาเร่งให้โต เร็วนั้น หมายถึง ความต้องการที่จะให้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของไทยพัฒนาอย่างรวดเร็ว เทียบเท่ากับของอังกฤษหรือของเดนมาร์ก ที่ใช้ระยะเวลาเดินเป็นหลายร้อยปี ******************************************** โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 6. 6 เพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ผู้อานวยการสถาบันคลังปัญญาฯ : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ : น.ส.ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : น.ส.อนันญลักษณ์ อุทัยพิพัฒนากุล บันทึกเทปการประชุม : นาย ฮากีม ผูหาดา ผู้ประสานงาน : อ.อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ นางพัชร์พิชา เคียงธนสมบัติ ปีที่พิมพ์ : พฤศจิกายน 2557 สานักพิมพ์: มูลนิธิสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยน: ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยันต์ ไชยพร ศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ สุขสาราญ รองศาสตราจารย์ ดร.จานง สรพิพัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ดร.วณี ปิ่นประทีป ดร.สติธร ธนานิธิ โชติ ดร.วิษณุ วงศ์สินศิริกุล ดร.ประยูร อัครบวร อาจารย์ กิตติศักดิ์เจิมสิทธิประเสริฐ อาจารย์ บุญส่ง ชเลธร อาจารย์ อัคร เดช สุภัคกุล อาจารย์ วันวิชิต บุญโปร่ง นายแพทย์ พลเดช ปิ่นประทีป นาวาอากาศเอก สมชาติ ไกรลาศสุวรรณ นาวาตรี สงคราม สมณวัฒนา ว่าที่พันตรี วชิรวิชญ์ สริชัยพงศ์กุล ร้อยตารวจเอก จอมเดช ตรีเมฆ คุณ ทนงศักดิ์ วิกุล คุณวิชชุกร คาจันทร์ คุณ ดารินทร์ กาแพงเพชร คุณ สุวรรณี อัศว์วิเศษศิวะกุล คุณ ไชยวัฒน์ สุโชดายน คุณ ธานี สุโชดายน โครงการคลังปัญญาเพื่อการอภิวัตน์ประเทศไทยในยุคบูรพาภิวัตน์ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่อยู่ติดต่อ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ฯ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4/2 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064