SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
กู้วิกฤติชาติ
บทเรียนสะเทือนโลก
Why Nations Fail
"ผมอ่านแล้วทั้งเปิดโลกทรรศน์ทั้งตกใจ  อะเซโมกลูกับโรบินสันได้
เล่าทฤษฎีที่อธิบายทุกอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ในหนังสือเล่มนี้ 
ประเทศจะรุ่งเรืองก็ต่อเมื่อมีสถาบันการเมืองที่ดี  แล้วจะล่มจมก็ต่อเมื่อสถาบัน
เหล่านั้นเจ๊งไป  ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็เหมือนๆ  กัน  ใครมีอำานาจก็มัก
อยากฮุบอำานาจไว้กับตัวทั้งหมด  ถ้าเราถ่วงดุลพวกนั้นไว้ไม่ได้  ชาติก็พัง"
	 —	 ไซมอน	 จอห์นสัน	 ศาสตราจารย์	 มหาวิทยาลัยเอ็มไอที	
และผู้แต่งหนังสือ	 13	 Bankers
"หนังสือเล่มนี้ลึกซึ้งมาก  และเต็มไปด้วยตัวอย่างจากประวัติศาสตร์
ต่างๆ  ที่ชี้ชัดว่าความรุ่งเรืองเกิดจากสถาบันเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง  ซึ่งก็มี
รากฐานมาจากสถาบันการเมืองที่เปิดกว้างอีกที  นอกจากนี้ยังมีคำาอธิบายด้วย
ว่าการปกครองที่ดีก็จะส่งเสริมกันเองเป็นวงจรสวรรค์  ส่วนที่แย่ก็จะวนเวียน
เป็นวงจรอุบาทว์ไปเรื่อยๆ  เล่มนี้ต้องอ่านจริงๆ  พลาดไม่ได้"
—  ปีเตอร์	 ไดมอนต์	 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาเศรษฐศาสตร์ปี	 2010
"อะเซโมกลูกับโรบินสันถามคำาถามง่ายๆ  ที่สำาคัญมาก  คือทำาไม
บางชาติถึงรุ่งเรืองขึ้นมาได้  ในขณะที่ชาติอื่นยากจนดักดานอยู่อย่างนั้น?  คำา
ตอบก็ง่ายเหมือนกัน  นั่นคือการปกครองบางแห่งมีสถาบันที่เปิดกว้างกว่า 
หนังสือเล่มนี้เด็ดมากก็ตรงที่เขียนได้คมและชัดเจน  เหตุผลไร้ที่ติ  และยังมีราย
ละเอียดต่างๆ  จำานวนมากในประวัติศาสตร์  หนังสือเล่มนี้ต้องอ่าน  ถ้ารัฐบาล
อยากจะแก้ปัญหาวิกฤติเงินกู้ในปัจจุบันให้ได้"
—  สตีเวน	 พินคัส	 ศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์
และการต่างประเทศ	 มหาวิทยาลัยเยล
"หนังสือสุดวิเศษเล่มนี้อธิบายอย่างละเอียดว่า  สถาบันเศรษฐกิจและ
การเมือง  ส่งเสริมกันเป็นวงจรที่ดีและเลวอย่างไร  และสมดุลจะเปลี่ยนไปเช่น
ไรเวลามี  “รอยต่อที่สำาคัญ”  เข้ามากระทบ  แล้วตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา 
สถาบันต่างๆ  เปลี่ยนทิศทางเป็นดีหรือเสื่อมได้อย่างไร  หนังสือเล่มนี้ยังเขียน
ได้น่าตื่นเต้นและให้ข้อคิดอย่างมาก"
—  โรเบิร์ต	 ซอโลว	 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล
สาขาเศรษฐศาสตร์ปี	 1987
แด่อาร์ดาและอาซู	–	ดารอน อะเซโมกลู
แด่มาเรีย	อังเคลีกา	ชีวิตและวิญญาณของข้าพเจ้า	
–	เจมส์ เอ. โรบินสัน
สารบัญ
ค�าน�าส�านักพิมพ์ ● 9
บทน�า ● 12
เหตุใดชาวอียิปต์จึงมาชุมนุมเต็มจัตุรัสทาห์รีร์เพื่อโค่นล้ม ฮุสนี มุบาร็อก
และเหตุการณ์นี้มีผลต่อความเข้าใจเรื่องความมั่งคั่ง
และความยากจนของเราอย่างไร
1. ใกล้แต่กลับไกลห่าง ● 17
คนโนกาเลส รัฐแอริโซนากับโนกาเลส รัฐโซโนรามีเชื้อสายเดียวกัน
วัฒนธรรมกับภูมิศาสตร์ก็เหมือนกัน
แล้วเหตุใดที่หนึ่งจึงร�่ารวย ส่วนอีกที่กลับยากจน?
2. ทฤษฎีที่ล้มเหลว ● 56
ประเทศยากจนไม่ได้ยากจนเพราะภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม
หรือเพราะผู้น�าไม่รู้ว่านโยบายใดท�าให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
3. จุดก�าเนิดความรุ่งเรืองและความยากจน ● 80
ความรุ่งเรืองและความยากจนก�าหนดด้วยแรงจูงใจจากสถาบันอย่างไร
และการเมืองก�าหนดได้อย่างไรว่าประเทศหนึ่งจะมีสถาบันแบบไหน
4. น�้าหนักของประวัติศาสตร์:
ความแตกต่างเล็กน้อยกับรอยต่อส�าคัญ ● 106
สถาบันเปลี่ยนไปเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไร
และอดีตส่งผลต่อปัจจุบันเช่นไร
5. “ฉันเห็นอนาคตมาแล้ว และมันได้ผล”:
การเติบโตในสถาบันแบบขูดรีด ● 134
สตาลิน ราชาชาม การปฏิวัติหินใหม่ และนครรัฐมายามีอะไรร่วมกัน
และสิ่งนั้นอธิบายได้อย่างไรว่า
จีนจะไม่สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ไปได้ตลอด
6. ลอยห่าง ● 160
สถาบันต่างๆ วิวัฒน์ตามกาลเวลา
และบ่อยครั้งก็ค่อยๆ ลอยห่างจากกันช้าๆ อย่างไร
7. จุดพลิกผัน ● 189
การปฏิวัติทางการเมืองในปี 1688 เปลี่ยนสถาบันในอังกฤษ
และน�าไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้อย่างไร
8. ถิ่นข้าใครอย่าแหยม: อุปสรรคขวางการพัฒนา ● 214
เหตุใดผู้มีอ�านาจทางการเมืองของหลายชาติ
จึงต่อต้านการปฏิวัติอุตสาหกรรม
9. พัฒนาการถอยหลัง ● 243
ลัทธิล่าอาณานิคมของยุโรปท�าให้พื้นที่กว้างใหญ่ในโลกยากจนลงอย่างไร
10. ความเจริญแพร่กระจายอย่างไร ● 272
บางส่วนของโลกก้าวสู่ความรุ่งเรืองด้วยเส้นทางอื่นที่ต่างจากอังกฤษอย่างไร
11. วงจรสวรรค์ ● 301
สถาบันที่ส่งเสริมความรุ่งเรือง สร้างวงจรเชิงบวกที่ป้องกันไม่ให้ชนชั้นสูง
ท�าลายสถาบันเหล่านั้นลงได้อย่างไร
12. วงจรอุบาทว์ ● 333
สถาบันที่สร้างความยากจนสร้างวงจรเชิงลบ
และอยู่คงทนต่อไปได้อย่างไร
13. เหตุใดทุกวันนี้บางชาติจึงล้มเหลว ● 365
แล้วอะไรที่ชาติเหล่านี้มีร่วมกัน?
14. ฉีกรูปแบบเดิมๆ ● 402
ประเทศจ�านวนหนึ่งสามารถเปลี่ยนเส้นทางเศรษฐกิจ
ด้วยการเปลี่ยนสถาบันของประเทศได้อย่างไร
15. เบื้องหลังความรุ่งเรืองกับความยากจน ● 426
โลกใบนี้อาจต่างจากนี้ได้เช่นไร และเรื่องนี้ช่วยให้เราเข้าใจได้อย่างไร
ว่าเหตุใดความพยายามต่อสู้กับความยากจนส่วนใหญ่จึงล้มเหลว
กิตติกรรมประกาศ ● 462
บรรณานุกรมและแหล่งข้อมูล ● 464
แหล่งอ้างอิง ● 487
เกี่ยวกับผู้เขียน ● 519
เกี่ยวกับผู้แปล ● 520
12 กู้วิกฤติชาติ	บทเรียนสะเทือนโลก
นังสือเล่มนี้กล่าวถึงความแตกต่างใหญ่หลวงทั้งในแง่รายได้
และมาตรฐานการครองชีพ ระหว่างประเทศร�่ารวยในโลกอย่าง
สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี กับประเทศยากจนเช่นในแถบแอฟริกา
ส่วนใต้ทะเลทรายสะฮารา อเมริกากลาง และเอเชียใต้เป็นต้น
ระหว่างที่เราก�าลังเขียนหนังสือเล่มนี้อยู่ แอฟริกาเหนือกับ
ตะวันออกกลางก�าลังสะเทือนด้วยเหตุการณ์ “อาหรับสปริง” เหตุการณ์
ดังกล่าวเริ่มจาก “การปฏิวัติดอกมะลิ” ซึ่งมวลชนร่วมไม่พอใจไปกับโมฮัมเหม็ด
โบอาซิซิ พ่อค้าริมทางผู้จุดไฟเผาตัวเองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2010 หลังจาก
นั้นแม้ประธานาธิบดีซีน อัลอาบิดีน บิน อาลี ผู้น�าแห่งตูนิเซียจะพ้นจาก
ต�าแหน่งในวันที่ 14 มกราคม 2011 แต่กระแสปฏิวัติต่อต้านกลุ่มอภิสิทธิ์ชน
กลับไม่แผ่วตาม ความรุนแรงได้ลุกลามไปยังส่วนอื่นของตะวันออกกลาง
ฮุสนี มุบาร็อก ซึ่งปกครองอียิปต์มาถึงสามสิบปีถูกขับพ้นต�าแหน่งในวันที่
11 กุมภาพันธ์ 2011 ส่วนชะตากรรมของบาห์เรน ลิเบีย ซีเรีย และเยเมนจะ
เป็นอย่างไรนั้น ขณะที่เราเขียนค�าน�าอยู่นี้ยังมิอาจทราบได้
มูลเหตุความไม่พอใจในประเทศเหล่านี้คือเรื่องความยากจน พลเมือง
อียิปต์ทั่วไปมีรายได้อยู่ที่ราวร้อยละ 12 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา และมี
อายุสั้นกว่าถึงสิบปี ประชากรอียิปต์มากถึงร้อยละ 20 ยากจนอย่างยิ่ง ทว่า
ตัวเลขเหล่านี้ก็ยังถือว่าไม่มาก หากเราเทียบกับความแตกต่างระหว่าง
สหรัฐอเมริกากับประเทศที่จนที่สุดในโลกอย่างเกาหลีเหนือ เซียร์ราลีโอน และ
ห
บทน�ำ
บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 13บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 13
ซิมบับเว ซึ่งประชาชนเกินครึ่งประเทศยากจน
เหตุใดอียิปต์จึงยากจนกว่าสหรัฐอเมริกามาก? อะไรจ�ากัดไม่ให้
ชาวอียิปต์รุ่งเรืองกว่านี้? ความยากจนของอียิปต์เป็นสิ่งตายตัวหรือว่าขจัดได้?
วิธีมองอย่างหนึ่งก็คือดูว่าชาวอียิปต์เองกล่าวถึงปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่
อย่างไร และเหตุใดพวกเขาจึงลุกขึ้นต่อต้านมุบาร็อก อย่างเช่นโนฮา ฮาเหม็ด
พนักงานบริษัทโฆษณาวัยยี่สิบสี่ปีผู้หนึ่งกล่าวชัดเจนระหว่างเดินขบวนอยู่กลาง
จัตุรัสทาห์รีร์ว่า “เรามีทั้งปัญหาคอร์รัปชั่น การกดขี่ประชาชน แล้วก็ระบบ
การศึกษาห่วยๆ เราอยู่ในระบบเน่าเฟะที่ต้องเปลี่ยน” โมซาบ เอล ชามี
นักศึกษาเภสัชกรอีกคนในจัตุรัสเห็นด้วยว่า “หวังว่าไม่เกินสิ้นปีนี้เราจะได้
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้มีเสรีภาพแบบสากล แล้วก็ปิดฉากคอร์รัปชั่นที่
ครอบง�าประเทศนี้ได้เสียที” ผู้ประท้วงในจัตุรัสทาห์รีร์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน
ว่ารัฐบาลทั้งคอร์รัปชั่น บกพร่องในการให้บริการสาธารณะ และผู้คนใน
ประเทศของพวกเขามีโอกาสไม่เท่าเทียมกัน โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด อดีต
ผู้อ�านวยการองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศก็เขียนบนทวิตเตอร์
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2011 ว่า “ตูนิเซีย: กดขี่+สังคมที่ไม่ยุติธรรม+ปิดกั้น
การเปลี่ยนแปลงโดยสันติ = ระเบิดเวลา”
ทั้งชาวอียิปต์และตูนิเซียต่างมองว่าปัญหาทางเศรษฐกิจของพวกเขา
มีพื้นฐานมาจากการขาดสิทธิทางการเมือง เช่นเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเรียกร้อง
เป็นระบบขึ้น วาล คาลิล นักวิศวกรซอฟแวร์และบล็อกเกอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน
แกนน�าการเคลื่อนไหวของอียิปต์ ได้เสนอข้อเรียกร้องเร่งด่วนสิบสองประการ
แรก ข้อเรียกร้องเหล่านี้เน้นประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งสิ้น ใน
ขณะที่เรื่องอย่างการขึ้นค่าแรงขั้นต�่านั้นอยู่แต่ในข้อเรียกร้องช่วงเปลี่ยนผ่าน
ที่จะบังคับใช้ภายหลังเท่านั้น
ชาวอียิปต์มองว่าสิ่งที่ปิดกั้นพวกเขาคือรัฐที่ไร้ประสิทธิภาพและ
ฉ้อฉล กับสังคมซึ่งพวกเขาไม่สามารถน�าทักษะ ความใฝ่ฝัน สติปัญญา และ
การศึกษาที่มี มาใช้ได้ พวกเขายังมองออกว่าปัญหาเหล่านี้มีรากมาจากเรื่อง
การเมือง พวกเขารู้ว่าอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่พวกเขาต้องเผชิญ มาจากกลุ่ม
อภิสิทธิ์ชนเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียวที่ยึดอ�านาจทางการเมืองในอียิปต์ไว้ และใช้
14 กู้วิกฤติชาติ	บทเรียนสะเทือนโลก
อ�านาจดังกล่าวในทางที่ผิด พวกเขารู้ว่านี่คือสิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยน
ทว่าความเชื่อของกลุ่มผู้ชุมนุมในจัตุรัสทาห์รีร์ ต่างจากความเชื่อ
ตามแบบแผนอย่างยิ่ง เวลาถกเถียงว่าท�าไมประเทศอย่างอียิปต์จึงยากจน
นักวิชาการและนักวิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่มักเน้นปัจจัยอื่นที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง
บ้างว่าปัญหามาจากพื้นที่อียิปต์เป็นทะเลทราย ซึ่งขาดน�้าฝนและไม่เอื้ออ�านวย
ต่อเกษตรกรรม บ้างก็ว่าชาวอียิปต์ขาดปรัชญาการท�างานและวัฒนธรรมที่
ท�าให้ชาติอื่นเจริญ แต่กลับรับความเชื่ออิสลามที่ไม่ดีต่อเศรษฐกิจมาแทน
ส่วนพวกนักเศรษฐศาสตร์และ “ผู้รู้” ด้านนโยบายคิดว่า ผู้น�าอียิปต์เพียง
ด�าเนินนโยบายและแผนบริหารประเทศที่ไม่ถูกต้อง ขอเพียงผู้น�าเหล่านี้ได้
รับค�าแนะน�าที่ถูกต้องจากคนที่ถูกต้อง ความเจริญก็จะตามมาเอง ส�าหรับ
นักวิชาการและผู้รู้เหล่านี้ เรื่องที่ว่ามีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนเล็กๆ ปกครองอียิปต์และ
ท�านาบนหลังคนในชาติ ดูจะไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนี้เลย
เราจะให้เหตุผลในหนังสือเล่มนี้ ว่าชาวอียิปต์ในจัตุรัสทาห์รีร์ต่างหาก
ที่เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่นักวิชาการกับนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ แท้จริงอียิปต์ไม่ได้
ยากจนเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถูกอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยปกครอง พวกเขา
จัดระเบียบสังคมเพื่อชักประโยชน์เข้ากระเป๋าโดยปล่อยให้มวลชนรับกรรม
คนเหล่านี้กวาดอ�านาจทางการเมืองมาอยู่ในวงแคบเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้
ตัวเอง เช่นที่อดีตประธานาธิบดีมุบาร็อกสะสมทรัพย์สินได้ถึงเจ็ดหมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ (สองล้านล้านบาท) ส่วนประชาชนอียิปต์เป็นผู้แพ้ อย่างที่
พวกเขารู้ซึ้งเป็นอย่างดี
เราจะแสดงให้เห็นว่าการตีความเรื่องความยากจนของอียิปต์ให้เข้าใจ
ง่ายเช่นนี้ น�าไปอธิบายได้ทั่วไปว่าเหตุใดประเทศยากจนจึงได้จนอย่างที่เป็น
เราจะแสดงให้ดูว่าทั้งเกาหลีเหนือ เซียร์ราลีโอน และซิมบับเวต่างก็ยากจนด้วย
เหตุผลเดียวกับอียิปต์ ประเทศอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นร�่ารวยได้
เพราะประชาชนเคยล้มล้างชนชั้นสูงที่กุมอ�านาจ แล้วสร้างสังคมที่กระจาย
สิทธิทางการเมืองทั่วถึงกว่ามาก รัฐบาลต้องชี้แจงตัวเองและตอบสนองต่อ
พลเมือง และมวลชนส่วนใหญ่ตักตวงโอกาสทางเศรษฐกิจได้ การจะเข้าใจ
ความเหลื่อมล�้าในโลกปัจจุบัน เราต้องย้อนไปศึกษาพลวัตทางประวัติศาสตร์
บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 15บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 15
ของสังคมต่างๆ เราจะได้เห็นว่าอังกฤษร�่ารวยกว่าอียิปต์ เพราะในปี 1688
อังกฤษเกิดการปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงการเมือง และเท่ากับเปลี่ยนระบบ
เศรษฐกิจของชาติไปด้วย ประชาชนอังกฤษต่อสู้จนมีสิทธิทางการเมืองมากขึ้น
และใช้สิทธินั้นเพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจของพวกตน การปฏิวัติดังกล่าว
ส่งผลให้วิถีทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างตั้งแต่รากฐาน จนน�าไปสู่การ
ปฏิวัติอุตสาหกรรมในที่สุด
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีจากการปฏิวัตินั้นไม่ได้แพร่
กระจายไปถึงอียิปต์ เพราะตอนนั้นจักรวรรดิออตโตมันยังปกครองอียิปต์
อย่างกดขี่เหมือนตระกูลมุบาร็อก ต่อมาแม้ นโปเลียน โบนาปาร์ต จะโค่น
ออตโตมันในอียิปต์ลงได้ในปี 1798 อียิปต์ก็ตกอยู่ภายใต้ลัทธิล่าอาณานิคม
ของอังกฤษซึ่งไม่ใส่ใจความเจริญของอียิปต์พอๆ กัน แม้ชาวอียิปต์จะสลัด
จักรวรรดิออตโตมันกับอังกฤษหลุดได้ในปี 1952 แต่เหตุการณ์นี้ก็ยังต่างจาก
การปฏิวัติของอังกฤษในปี 1688 อยู่ดี คือแทนที่จะเปลี่ยนการเมืองในอียิปต์
จากรากฐาน กลับเพียงท�าให้อภิสิทธิ์ชนอีกกลุ่มได้ขึ้นครองอ�านาจ โดยที่ไม่ได้
สนใจความเป็นอยู่ของชาวบ้านพอๆ กับทั้งออตโตมันและอังกฤษ เป็นอันว่า
โครงสร้างสังคมก็ยังเหมือนเดิม และอียิปต์ก็ยังยากจนต่อไป
เราจะศึกษาในหนังสือเล่มนี้ว่า รูปแบบนี้เกิดซ�้าแล้วซ�้าอีกได้อย่างไร
ตลอดเวลาที่ผ่านมา และเหตุใดบางครั้งจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น อย่างใน
อังกฤษเมื่อปี 1688 หรือการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 ความรู้นี้จะท�าให้เราทราบ
ว่าปัจจุบันสถานการณ์ในอียิปต์เปลี่ยนไปหรือไม่ และการปฏิวัติโค่นล้ม
มุบาร็อกจะน�าไปสู่สถาบันใหม่ซึ่งท�าให้ชาวอียิปต์รุ่งเรืองได้จริงหรือ ในอดีต
อียิปต์ก็เคยเกิดเหตุปฏิวัติที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาแล้วหลายครั้ง เหตุเพราะ
ผู้ก่อการเพียงยึดเศษซากของคนที่ตนล้มล้างไป แล้วสร้างระบบใหม่คล้ายกัน
ขึ้นมาแทน การที่ประชาชนจะได้อ�านาจทางการเมืองมาอย่างเป็นรูปธรรม
หรือเปลี่ยนโครงสร้างสังคมนั้นเกิดขึ้นได้ยากก็จริง แต่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เราจะ
ได้ทราบว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นอย่างไรในอังกฤษ ฝรั่งเศส กับสหรัฐอเมริกา รวม
ถึงในญี่ปุ่น บอตสวานา และบราซิลด้วย โดยพื้นฐานแล้วสังคมยากจนต้อง
เปลี่ยนแปลงการเมืองในลักษณะนี้จึงจะร�่ารวยขึ้นได้
16 กู้วิกฤติชาติ	บทเรียนสะเทือนโลก
มีหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะก�าลังเกิดขึ้นในอียิปต์
เรดา เมทวาลี ผู้ประท้วงอีกรายในจัตุรัสทาห์รีร์กล่าวว่า “ตอนนี้คุณจะเห็น
ชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ เห็นคนแก่กับคนหนุ่มสาวมารวมตัวกัน เรียกร้องในสิ่ง
เดียวกัน” เราจะได้ทราบว่าการที่สังคมเคลื่อนไหวในวงกว้างเช่นนี้ เคยเป็น
กุญแจส�าคัญอย่างไรในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองลักษณะนี้ครั้งอื่นๆ หาก
เราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเกิดขึ้นเมื่อไรและอย่างไร เราก็จะประเมิน
ได้ดีขึ้นว่าเมื่อใดเราจะคาดได้ว่าการเคลื่อนไหวคงล้มเหลวเหมือนหลายครั้งใน
อดีต แต่ที่ส�าคัญกว่านั้นคือเราจะตั้งความหวังได้ว่าเมื่อใดเหตุการณ์จะลุล่วง
และช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนอีกนับล้านได้จริงๆ
บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 17บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 17
มืองโนกาเลสมีรั้วพาดผ่านตรงกลาง ถ้าคุณยืนริมรั้วหันหน้าไปทาง
ทิศเหนือ คุณจะเห็นโนกาเลสในเขตรัฐแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา ที่
นั่นรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 30,000 ดอลลาร์ต่อปี วัยรุ่นส่วนใหญ่เรียนหนังสือ
ในโรงเรียน ผู้ใหญ่ส่วนมากจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ประชากรในเมือง
มีสุขภาพดี เทียบตามมาตรฐานโลกก็มีอายุขัยยืนยาว ผู้อาศัยจ�านวนมากอายุ
เกินหกสิบห้าปีและเข้าถึงโครงการประกันสังคมเมดิแคร์ โครงการที่ว่านั้น
ยังเป็นเพียงหนึ่งในบริการรัฐอีกหลายอย่างที่คนส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องปกติ
เช่นไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบก�าจัดของเสีย บริการสาธารณสุข เครือข่ายถนนที่
เชื่อมโยงพวกเขาเข้ากับเมืองอื่น ทั้งในบริเวณเดียวกันและส่วนอื่นของสหรัฐฯ
และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนใน
โนกาเลสรัฐแอริโซนาใช้ชีวิตประจ�าวันได้อย่างไม่ต้องกลัวอันตรายหรือชีวิต
ไม่ปลอดภัย และไม่ต้องคอยหวาดระแวงเหตุโจรกรรม การเวนคืนที่ดิน หรือ
สิ่งอื่นใดที่อาจส่งผลเสียหายต่อการลงทุนในกิจการและบ้านเรือนของพวกเขา
ที่ส�าคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ผู้คนในโนกาเลสรัฐแอริโซนาไว้ใจได้ว่าต่อให้
รัฐบาลขาดประสิทธิภาพและทุจริตเป็นบางคราว แต่ก็ยังเป็นตัวแทนของ
พวกตน พวกเขาสามารถลงคะแนนเสียงเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ว่าการ สมาชิกรัฐสภา
หรือวุฒิสมาชิกได้ และพวกเขาสามารถลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี เพื่อ
ก�าหนดตัวผู้น�าประเทศของพวกเขาได้ ประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ
ส�าหรับพวกเขา
เ
1
ใกล้แต่กลับไกลห่ำง
เศรษฐกิจรอบแม่น�้ำรีโอแกรนด์
18 กู้วิกฤติชาติ	บทเรียนสะเทือนโลก
แต่ชีวิตทางทิศใต้ของรั้วกั้นค่อนข้างต่างออกไป แม้ประชากรเมือง
โนกาเลสรัฐโซโนราจะอาศัยในบริเวณที่ถือว่าค่อนข้างมั่งคั่งแล้วของเม็กซิโก
แต่คนที่นั่นมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่เพียงราวหนึ่งในสามของคนโนกาเลส
รัฐแอริโซนา ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ในโนกาเลสรัฐโซโนราเรียนไม่จบชั้นมัธยม วัยรุ่น
ไม่น้อยก็ไม่เรียนหนังสือ คนจะเป็นแม่ต้องกังวลเรื่องทารกมีอัตราเสียชีวิตสูง
ระบบสาธารณสุขก็ย�่าแย่ จึงไม่แปลกที่ผู้คนในโนกาเลสรัฐโซโนราจะอายุไม่ยืน
เท่าเพื่อนบ้านทางเหนือ พวกเขายังขาดสาธารณูปโภคอีกหลายอย่าง ถนนทาง
ทิศใต้ของรั้วกั้นก็ทรุดโทรม ระเบียบกฎหมายหละหลวม อาชญากรรมชุกชุม
และการเปิดกิจการถือเป็นเรื่องเสี่ยง ไม่ต้องพูดถึงเสี่ยงถูกปล้น แค่จะเปิดร้าน
ก็ต้องตรากตร�าตั้งแต่การขออนุญาตกับจ่ายใต้โต๊ะให้ครบแล้ว ผู้คนในโนกาเลส
รัฐโซโนราต้องทนกับความฉ้อฉลและไม่เอาอ่าวของนักการเมืองอยู่ทุกเมื่อ
เชื่อวัน
เทียบกับเพื่อนบ้านทางเหนือแล้ว ประชาธิปไตยยังถือเป็น
ประสบการณ์แปลกใหม่ส�าหรับพวกเขาอยู่ โนเกเลสรัฐโซโนราก็เหมือนกับ
เม็กซิโกส่วนที่เหลือ ที่อยู่ใต้การปกครองแบบโกงกินของพรรคสถาบันปฏิวัติ
หรือปาร์ตีโด เรโวลูเซียนนารีโอ อินส์ติตูเซียนแนล มาตลอดจนกระทั่งมีการ
ปฏิรูปการเมืองเมื่อปี 2000 นี้เอง
เหตุใดครึ่งทั้งสองของเมืองที่โดยสาระส�าคัญแล้วคือเมืองเดียวกัน
จึงได้ต่างกันเพียงนี้? ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือประเภทของโรคภัยใน
พื้นที่ไม่ต่างกัน เพราะไม่มีอะไรขวางมิให้เชื้อโรคเดินทางข้ามไปมาระหว่าง
สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก จริงอยู่ที่สภาพสาธารณสุขของทั้งสองแห่งต่างกัน
มาก แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับโรคภัย สภาพทางสาธารณสุขต่างกันเพราะประชาชน
ทางใต้ของเส้นเขตแดนขาดบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมต่างหาก
หรือจะเป็นเพราะกลุ่มคนต่างกันมาก เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้คนใน
โนกาเลสรัฐแอริโซนาเป็นลูกหลานของผู้อพยพชาวยุโรป ในขณะที่คนทางใต้
สืบเชื้อสายจากชาวอินเดียนแดง? ก็ไม่ใช่อีก ชนทั้งสองฝั่งเขตแดนมีพื้นเพ
คล้ายคลึงกัน หลังจากเม็กซิโกเป็นเอกราชจากสเปนในปี 1821 พื้นที่ตรงนี้
ก็เป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกมาจนกระทั่งสงครามเม็กซิโก-อเมริกาช่วงปี
บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 19บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 19
1846-1848 ด้วยซ�้า เส้นเขตแดนฝั่งสหรัฐฯ เพิ่งขยายเข้ามายังพื้นที่นี้เมื่อ
มีสัญญาซื้อแกดสเดนในปี 1853 เท่านั้น ร้อยโทเอ็น. มิชเลอร์ เคยตั้งข้อสังเกต
ไว้ระหว่างส�ารวจเส้นเขตแดนว่ามี “หุบเขาโลส โนกาเลสเล็กๆ ที่งดงาม” อยู่
ตรงนี้เองก็มีเมืองเกิดขึ้นสองเมืองบนสองฝั่งของเส้นเขตแดน เป็นอันว่าผู้อาศัย
ของโนกาเลสรัฐแอริโซนากับโนกาเลสรัฐโซโนรามีบรรพบุรุษร่วมกัน ดื่มด�่ากับ
อาหารและดนตรีประเภทเดียวกัน และเรากล้าพูดด้วยซ�้าว่ามี “วัฒนธรรม”
อย่างเดียวกัน
แน่นอนว่ามีค�าอธิบายหนึ่งที่ทั้งตรงไปตรงมาและเห็นได้ชัด ซึ่งคุณ
คงเดาออกนานแล้ว ว่าเหตุใดสองซักของโนกาเลสจึงได้ต่างกันนัก ค�าอธิบาย
ที่ว่าก็คือเส้นแบ่งเขตแดนซึ่งก�าหนดชะตาของแต่ละซีกนั่นเอง โนกาเลสรัฐ
แอริโซนาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ผู้อาศัยเข้าถึงสถาบันเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จึง
เลือกประกอบอาชีพได้อย่างอิสระ ได้รับการศึกษาและฝึกทักษะ และกระตุ้น
ให้นายจ้างของพวกเขาลงทุนในเทคโนโลยีที่ดีที่สุด พวกเขาจึงมีค่าแรงสูง
ตามไปด้วย พวกเขายังเข้าถึงสถาบันการเมืองที่ให้พวกเขามีส่วนร่วมใน
ประชาธิปไตย พวกเขาสามารถเลือกและเปลี่ยนตัวผู้แทนได้หากผู้แทน
ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ยังผลให้นักการเมืองจัดบริการพื้นฐาน (ตั้งแต่ระบบ
สาธารณสุข ถนนหนทาง จนถึงเรื่องระเบียบกฎหมาย) ให้ประชาชนตามที่
ประชาชนต้องการ แต่ผู้คนในโนกาเลสรัฐโซโนราไม่ได้โชคดีเช่นนั้น พวกเขา
อยู่ในโลกอีกใบที่ก�าหนดโดยสถาบันอีกชุด สถาบันที่ต่างไปนี้สร้างแรงจูงใจ
ต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งส�าหรับผู้คนในโนกาเลสทั้งสองแห่ง และส�าหรับ
ผู้ประกอบการกับห้างร้านต่างๆ ที่จะเข้าไปลงทุน จึงเป็นแรงจูงใจจากสถาบัน
ที่ต่างกันของโนกาเลสทั้งสอง กับประเทศซึ่งแต่ละเมืองสังกัดอยู่นี้เอง ที่เป็น
เหตุผลหลักให้เศรษฐกิจบนสองด้านของเส้นขอบแดนเจริญไม่เท่ากัน
เหตุใดสถาบันต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา จึงเอื้อให้เศรษฐกิจประสบ
ความส�าเร็จมากกว่าสถาบันของเม็กซิโกและส่วนอื่นของลาตินอเมริกา?
ค�าตอบอยู่ที่สมัยต้นยุคล่าอาณานิคม ซึ่งส่งผลสะท้อนมาจนถึงทุกวันนี้ เราจะ
ย้อนกลับไปสมัยก่อตั้งอาณานิคมในอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกากันก่อน
เพื่อท�าความเข้าใจการแยกห่างดังกล่าว
20 กู้วิกฤติชาติ	บทเรียนสะเทือนโลก
การก่อตั้งนครบัวโนสไอเรส
ฆวน ดีอัซ เดโซลิส นักส�ารวจชาวสเปนแล่นเรือเข้าปากแม่น�้ากว้างตรงริมฝั่ง
ทะเลด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ในปี 1516 เดโซลิสได้ฝ่าฟันขึ้นฝั่ง และ
ประกาศให้ดินแดนนั้นเป็นของสเปน เขาตั้งชื่อแม่น�้าว่ารีโอเดลาพลาตา หรือ
“แม่น�้าเงิน” เนื่องจากเขาเห็นชนพื้นเมืองมีแร่เงิน ชนพื้นเมืองพวกนี้คือ
ชาวชารูอาส์ในอุรุกวัยปัจจุบัน กับชาวเกรันดิบนที่ราบแพมพัซในอาร์เจนตินา
ทุกวันนี้ ชนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นพรานเก็บของป่า ซึ่งอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ อย่าง
ไม่มีศูนย์กลางทางการเมืองเข้มแข็ง ชนพื้นเมืองบนทั้งสองฝั่งของปากแม่น�้า
มองผู้มาเยือนเป็นศัตรู และชาวชารูอาส์ก็ได้ทุบท�าร้ายเดโซลิสจนถึงแก่ชีวิต
ระหว่างเขาก�าลังส�ารวจพื้นที่อยู่นั่นเอง
แต่ทางสเปนยังมีความหวัง ในปี 1534 เปโดร เดเมนโดซา ได้น�าผู้ตั้ง
รกรากจากสเปนไปตั้งเมืองขึ้นตรงต�าแหน่งที่เป็นนครบัวโนสไอเรส ที่แห่งนั้น
น่าจะเป็นสถานที่ในอุดมคติของชาวยุโรป เพราะบัวโนสไอเรสซึ่งแปลตรงตัว
ว่า “อากาศดี” นั้นมีภูมิอากาศอบอุ่นอยู่สบาย ทว่าตอนแรกชาวสเปนอยู่ที่นั่น
กันได้ไม่นาน พวกเขาไม่ได้ไปเพื่อกินบรรยากาศดีๆ แต่เพื่อเก็บทรัพยากรและ
หาแรงงานมาใช้ หากแต่พวกชารูอาส์กับเกรันดิไม่ยอมร่วมมือด้วย พวกเขา
ไม่ยอมแบ่งอาหารให้คนสเปน ถูกจับมาก็ไม่ยอมท�างาน ซ�้ายังขนคันศรกับธนู
มาโจมตีนิคมตั้งใหม่ ชาวสเปนพากันหิวโหยเพราะไม่ได้เผื่อมาว่าต้องหาอาหาร
เลี้ยงปากท้องตัวเอง เป็นอันว่าบัวโนสไอเรสกลับไม่เป็นดังฝัน คนท้องถิ่นก็ใช้
แรงงานไม่ได้ ในพื้นที่ก็ไม่มีเงินหรือทองให้ขุด ส่วนเงินที่เดโซลิสไปพบเข้า
ความจริงก็มาจากรัฐอินคาในเทือกเขาแอนดีส ที่อยู่ไกลไปทางทิศตะวันตกนู่น
ชาวสเปนจึงเริ่มส่งคนออกส�ารวจหาสถานที่ใหม่ซึ่งมีทรัพยากร
มากกว่าและประชากรบังคับใช้แรงงานง่ายกว่าแล้วในปี1537ฆวนเดอาโยลัส
ก็น�าคณะส�ารวจฝ่าลึกขึ้นไปตามแม่น�้าปารานา เพื่อตามหาเส้นทางไปยังอินคา
ระหว่างทางคณะส�ารวจพบกับชาวกวารานีซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ลงหลักปักฐาน
และมีเศรษฐกิจเกษตรกรรมที่ปลูกข้าวโพดกับมันส�าปะหลัง ชาวสเปนพิชิต
บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 21บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 21
ชาวกวารานีได้และตั้งเมืองชื่อว่า “นูเอสตรา เซโญรา เดซานตา มาเรีย เด ลา
อะซุนซิออง” ซึ่งยังคงเป็นเมืองหลวงของปารากวัยในปัจจุบัน นักผจญภัยทั้ง
หลายสมรสกับบรรดาเจ้าหญิงแห่งกวารานี ก่อนจะตั้งตนเป็นชนชั้นสูงอย่าง
ว่องไว พวกเขาดัดแปลงระบบแรงงานกับระบบบรรณาการที่มีมาแต่เดิมเสีย
ใหม่โดยให้พวกตนอยู่ตรงยอด นี่คืออาณานิคมประเภทที่พวกเขาอยากตั้ง
ภายในสี่ปีบัวโนสไอเรสก็กลายเป็นเมืองร้าง เพราะชาวสเปนพากันย้ายไปยัง
เมืองใหม่
บัวโนสไอเรส หรือ “ปารีสแห่งอเมริกาใต้” นครที่มีถนนหนทางกว้าง
ใหญ่ซึ่งสร้างด้วยทรัพยากรทางเกษตรมหาศาลของพื้นที่แพมพัส ได้ถูกทิ้งให้
ร้างจนปี 1580 การที่ชาวสเปนละทิ้งบัวโนสไอเรสและเข้ายึดครองกวารานี
เผยให้เห็นว่านักล่าอาณานิคมชาวสเปน ไม่ได้สนใจจะท�าไร่ไถนาเอง พวกเขา
ต้องการคนอื่นมาท�าแทน และพวกเขาหวังเพียงปล้นสะดมทรัพย์สมบัติ ทองค�า
และเงิน
ตั้งแต่กาฆามาร์กา...
ก่อนหน้าการส�ารวจของเดโซลิส เดเมนโดซา และเดอาโยลัส ยังมีการส�ารวจ
ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก นับตั้งแต่โคลัมบัสค้นพบหมู่เกาะบาฮามาสเมื่อวันที่ 12
ตุลาคม 1492 สเปนก็ได้เปิดฉากแผ่อ�านาจเข้ายึดดินแดนอย่างรวดเร็ว นาย
พลเอร์นัน กอร์เตส บุกเม็กซิโกในปี 1519 หลังจากนั้นก็มีคณะส�ารวจของ
ฟรานซิสโก ปิซาโร ไปยึดครองเปรูในอีกทศวรรษครึ่งให้หลัง เพียงสองปีถัด
จากนั้นคณะส�ารวจของเดเมนโดซาจึงไปยังแม่น�้ารีโอเดลาพลาตา ตลอด
ศตวรรษต่อมาสเปนสามารถพิชิตและยึดครองอเมริกาใต้ตอนกลาง ตอน
ตะวันตก และตอนใต้ เป็นอาณานิคมได้เกือบหมด ส่วนโปรตุเกสได้บราซิลทาง
ตะวันออกไป
สเปนมีวิธีล่าอาณานิคมที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งนายพลกอร์เตส
ขัดเกลาจนสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในเม็กซิโก วิธีนี้ตั้งอยู่บนข้อสังเกตว่าชาวสเปน
จะก�าราบชาวพื้นเมืองได้ดีที่สุดเมื่อจับตัวผู้น�าไว้ ยุทธวิธีนี้ท�าให้ชาวสเปนยึด
22 กู้วิกฤติชาติ	บทเรียนสะเทือนโลก
ทรัพย์ที่ผู้น�าสะสมมาได้ และบังคับคนพื้นเมืองให้ถวายบรรณาการกับอาหาร
ให้ ขั้นถัดไปชาวสเปนก็ตั้งตนเป็นชนชั้นสูงใหม่ในสังคมพื้นเมืองดังกล่าว แล้ว
ยึดระบบเก็บภาษี บรรณาการ และระบบบังคับใช้แรงงานที่มีอยู่แต่เดิมเสีย
เมื่อกอร์เตสกับพวกมาถึงเมืองหลวงของชาวแอซเท็กในวันที่
8 พฤศจิกายน 1519 มอกเตซูมา จักรพรรดิแห่งแอซเท็กได้ออกมาต้อนรับ
ชาวสเปนอย่างสันติตามค�าแนะน�าของเหล่าที่ปรึกษา ส่วนเหตุการณ์ถัดจาก
นั้นไป เบร์นาดิโน เดซาอากุน นักบวชคณะฟรันซิสกันได้อธิบายไว้ในบันทึก
ฟลอเรนไทน์ของเขา ที่รวบรวมขึ้นหลังปี 1545 ดังนี้
[ใน]ทันใด พวกเขา[ชาวสเปน] ก็คุมตัวมอกเตซูมาไว้แน่นหนา... ก่อน
ปืนแต่ละกระบอกจะลั่นกระสุน... ความหวาดกลัวโรยลงคลุม ราว
ทุกคนกลืนหัวใจตนลงท้องไป ยังไม่ทันมืดก็มีความพรั่นพรึง
ตกตะลึง หวาดวิตก ผู้คนพากันตะลึงงัน
เมื่อขึ้นวันใหม่ [ชาวสเปน]ก็ประกาศทุกสิ่งอันที่พวกเขาต้องการ:
ตอติญ่าขาวนวล, ไก่งวงตัวเมียย่าง, ไข่, น�้าจืด, ไม้, ฟืน, ถ่าน... ซึ่ง
มอกเตซูมาก็น�ามาให้
และเมื่อชาวสเปนกินอยู่สบายดีแล้ว พวกเขาก็สอบมอกเตซูมา
ถึงสมบัติทั้งหลายในนคร... พวกเขาต้องการทองค�าอย่างออกนอก
หน้า มอกเตซูมาก็น�าทางชาวสเปนไป พวกเขาล้อมเขาไว้... ต่างก็
ตรึงร่าง ฉวยร่างเขา
เมื่อพวกเขาไปถึงคลังตรงที่เรียกว่าเตโอกัลโก พวกเขาก็ให้น�าสิ่ง
เลอเลิศทุกสิ่งมา ทั้งมงกุฎขนนกเควทซัล อุปกรณ์ต่างๆ เกราะต่างๆ
แผ่นกลมท�าจากทองค�า... ห่วงจมูกทองค�า ก�าไลขาทองค�า ก�าไลแขน
ทองค�า ที่คาดหน้าผากทองค�า
พวกเขาแงะทองออกมา... จุดไฟโดยไม่รอช้า... เผาสิ่งมีค่าทั้ง
หลายมอดไหม้หมด ชาวสเปนขึ้นรูปทองค�าเป็นแท่ง... ชาวสเปน
เหยียบย�่าไปทุกหนแห่ง... พวกเขาช่วงชิงทุกสิ่ง ทุกสิ่งที่พวกเขาเห็น
ว่ามีค่า
บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 23บดินทร์	 พรวิลาวัณย์		แปล	 23
แล้วพวกเขาก็ไปยังคลังเก็บส่วนตัวของมอกเตซูมา... ตรงที่เรียก
ว่าโตโตกัลโก... พวกเขาน�าสมบัติ[ของมอกเตซูมา]เองออกมา... ของ
มีค่าทั้งหลายทั้งปวง สร้อยคอประดับจี้, ก�าไลแขนประดับกระจุกขน
นกเควทซัล ก�าไลแขนทองค�า ก�าไลข้อมือ แถบคาดทองค�าประดับ
เปลือกหอย... และมงกุฎเทอร์คอยซ์ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงความเป็นผู้น�า
พวกเขายึดสิ่งเหล่านั้นไปทั้งหมด
ภารกิจน�าก�าลังทหารพิชิตแอซเท็กสิ้นสุดลงในปี 1521 หลังจากนั้น
กอร์เตสก็ขึ้นเป็นข้าหลวงผู้ปกครองจังหวัดนิวสเปน เขาเริ่มแบ่งทรัพยากรที่
มีค่าที่สุดคือประชากรพื้นเมือง ผ่านสถาบันที่เรียกว่า เอนโกเมียนดา สถาบัน
ดังกล่าวเริ่มปรากฏครั้งแรกเมื่อสเปนยึดตอนใต้คืนจากชาวอาหรับมัวร์ใน
ศตวรรษที่สิบห้า ทว่าในโลกใหม่สถาบันนี้ร้ายกาจขึ้นมาก คือกลายเป็นการ
จัดสรรชาวพื้นเมืองให้จ่ายบรรณาการและมอบแรงงาน ให้กับชาวสเปนผู้มี
ต�าแหน่งเป็นเอนโกเมนเดโร แลกกับการที่เอนโกเมนเดโรมีหน้าที่พาพวกเขา
เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์
บาร์โตโลเม เดลาสกาซัส เป็นนักบวชคณะดอมินิกันและนักวิจารณ์
ระบบอาณานิคมของสเปนรายแรกและหนึ่งในรายที่หัวรุนแรงที่สุด เขามาถึง
เกาะฮิสปานิโอลาในปกครองของสเปนเมื่อปี 1502 กับกองเรือที่น�าโดย
ข้าหลวงปกครองคนใหม่คือ นิโกลัส เดโอบันโด เมื่อเขาเห็นภาพการทารุณ
กรรมและเอาเปรียบคนพื้นเมืองทุกวัน เขาก็ตาสว่างและเป็นเดือดเป็นร้อนใจ
ขึ้นเรื่อยๆ เขาเป็นบาทหลวงร่วมภารกิจพิชิตคิวบาของสเปน แถมยังได้รับ
เอนโกเมียนดาไว้คอยรับใช้ด้วย แต่เขากลับสละสิทธิ์นั้น แล้วหันมาเริ่มรณรงค์
เพื่อปฏิรูปสถาบันอาณานิคมของสเปนเสียใหม่ เขาเขียนหนังสือขึ้นในปี 1542
ชื่อว่า บันทึกฉบับย่อว่าด้วยการท�าลายล้างหมู่เกาะอินดีส์ (A Short Account
of the Destruction of the Indies) ซึ่งโจมตีการปกครองอันป่าเถื่อนของ
สเปนอย่างรุนแรง เขากล่าวไว้ดังนี้

More Related Content

More from Piyapong Sirisutthanant

ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
Piyapong Sirisutthanant
 
AI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่างAI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่าง
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
Piyapong Sirisutthanant
 
You canlearnanything sample
You canlearnanything sampleYou canlearnanything sample
You canlearnanything sample
Piyapong Sirisutthanant
 
Successful peopleact sample
Successful peopleact sampleSuccessful peopleact sample
Successful peopleact sample
Piyapong Sirisutthanant
 
AI SUPERPOWERS_Sample
AI SUPERPOWERS_SampleAI SUPERPOWERS_Sample
AI SUPERPOWERS_Sample
Piyapong Sirisutthanant
 
How to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sampleHow to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sample
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่นตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อยตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัดตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
Piyapong Sirisutthanant
 
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKRตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
Piyapong Sirisutthanant
 
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็นตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
Piyapong Sirisutthanant
 

More from Piyapong Sirisutthanant (20)

ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdfตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คู่มือทำธุรกิจฉบับคนคิดสร้างสรรค์.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdfตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_คิดอย่างไรไม่ให้คิดไปเอง.pdf
 
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdfตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
ตัวอย่างหนังสือ_Blitzscaling.pdf
 
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdfฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
ฉันหมด Passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ_Sample.pdf
 
AI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่างAI 2041 ตัวอย่าง
AI 2041 ตัวอย่าง
 
LHTL_Sample.pdf
LHTL_Sample.pdfLHTL_Sample.pdf
LHTL_Sample.pdf
 
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่องตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
ตัวอย่าง หนังสือ คนเก่งคิดแบบนี้ไง พูดอะไรก็รู้เรื่อง
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stickตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
ตัวอย่างหนังสือ อยากขายดี สตอรี่ต้องโดน Stories that stick
 
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
ตัวอย่างหนังสือ The Compound Effect
 
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวยตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
ตัวอย่างหนังสือ Everything is f*cked คู่มือแห่งความหวัง ในโลกสุดเฮงซวย
 
You canlearnanything sample
You canlearnanything sampleYou canlearnanything sample
You canlearnanything sample
 
Successful peopleact sample
Successful peopleact sampleSuccessful peopleact sample
Successful peopleact sample
 
AI SUPERPOWERS_Sample
AI SUPERPOWERS_SampleAI SUPERPOWERS_Sample
AI SUPERPOWERS_Sample
 
How to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sampleHow to be better at (almost) everything sample
How to be better at (almost) everything sample
 
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่นตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
ตัวอย่างหนังสือ Productivity คิดแบบเยอรมัน ลงมือทำแบบญี่ปุ่น
 
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อยตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
ตัวอย่างหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย
 
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัดตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
ตัวอย่างหนังสือ ใช้ข้อจำกัด สร้างชีวิตไร้ขีดจำกัด
 
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
5 ทักษะการคิดฉบับญี่ปุ่น
 
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKRตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
ตัวอย่างหนังสือ อยากสำเร็จต้องโฟกัส ด้วยแนวคิด OKR
 
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็นตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
ตัวอย่างหนังสือ คนเก่งพักเป็น
 

ตัวอย่างหนังสือ กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก

  • 2. "ผมอ่านแล้วทั้งเปิดโลกทรรศน์ทั้งตกใจ  อะเซโมกลูกับโรบินสันได้ เล่าทฤษฎีที่อธิบายทุกอย่างเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจไว้ในหนังสือเล่มนี้  ประเทศจะรุ่งเรืองก็ต่อเมื่อมีสถาบันการเมืองที่ดี  แล้วจะล่มจมก็ต่อเมื่อสถาบัน เหล่านั้นเจ๊งไป  ไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็เหมือนๆ  กัน  ใครมีอำานาจก็มัก อยากฮุบอำานาจไว้กับตัวทั้งหมด  ถ้าเราถ่วงดุลพวกนั้นไว้ไม่ได้  ชาติก็พัง" — ไซมอน จอห์นสัน ศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยเอ็มไอที และผู้แต่งหนังสือ 13 Bankers "หนังสือเล่มนี้ลึกซึ้งมาก  และเต็มไปด้วยตัวอย่างจากประวัติศาสตร์ ต่างๆ  ที่ชี้ชัดว่าความรุ่งเรืองเกิดจากสถาบันเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง  ซึ่งก็มี รากฐานมาจากสถาบันการเมืองที่เปิดกว้างอีกที  นอกจากนี้ยังมีคำาอธิบายด้วย ว่าการปกครองที่ดีก็จะส่งเสริมกันเองเป็นวงจรสวรรค์  ส่วนที่แย่ก็จะวนเวียน เป็นวงจรอุบาทว์ไปเรื่อยๆ  เล่มนี้ต้องอ่านจริงๆ  พลาดไม่ได้" —  ปีเตอร์ ไดมอนต์ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ปี 2010
  • 3. "อะเซโมกลูกับโรบินสันถามคำาถามง่ายๆ  ที่สำาคัญมาก  คือทำาไม บางชาติถึงรุ่งเรืองขึ้นมาได้  ในขณะที่ชาติอื่นยากจนดักดานอยู่อย่างนั้น?  คำา ตอบก็ง่ายเหมือนกัน  นั่นคือการปกครองบางแห่งมีสถาบันที่เปิดกว้างกว่า  หนังสือเล่มนี้เด็ดมากก็ตรงที่เขียนได้คมและชัดเจน  เหตุผลไร้ที่ติ  และยังมีราย ละเอียดต่างๆ  จำานวนมากในประวัติศาสตร์  หนังสือเล่มนี้ต้องอ่าน  ถ้ารัฐบาล อยากจะแก้ปัญหาวิกฤติเงินกู้ในปัจจุบันให้ได้" —  สตีเวน พินคัส ศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์ และการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเยล "หนังสือสุดวิเศษเล่มนี้อธิบายอย่างละเอียดว่า  สถาบันเศรษฐกิจและ การเมือง  ส่งเสริมกันเป็นวงจรที่ดีและเลวอย่างไร  และสมดุลจะเปลี่ยนไปเช่น ไรเวลามี  “รอยต่อที่สำาคัญ”  เข้ามากระทบ  แล้วตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา  สถาบันต่างๆ  เปลี่ยนทิศทางเป็นดีหรือเสื่อมได้อย่างไร  หนังสือเล่มนี้ยังเขียน ได้น่าตื่นเต้นและให้ข้อคิดอย่างมาก" —  โรเบิร์ต ซอโลว ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ปี 1987
  • 5. สารบัญ ค�าน�าส�านักพิมพ์ ● 9 บทน�า ● 12 เหตุใดชาวอียิปต์จึงมาชุมนุมเต็มจัตุรัสทาห์รีร์เพื่อโค่นล้ม ฮุสนี มุบาร็อก และเหตุการณ์นี้มีผลต่อความเข้าใจเรื่องความมั่งคั่ง และความยากจนของเราอย่างไร 1. ใกล้แต่กลับไกลห่าง ● 17 คนโนกาเลส รัฐแอริโซนากับโนกาเลส รัฐโซโนรามีเชื้อสายเดียวกัน วัฒนธรรมกับภูมิศาสตร์ก็เหมือนกัน แล้วเหตุใดที่หนึ่งจึงร�่ารวย ส่วนอีกที่กลับยากจน? 2. ทฤษฎีที่ล้มเหลว ● 56 ประเทศยากจนไม่ได้ยากจนเพราะภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม หรือเพราะผู้น�าไม่รู้ว่านโยบายใดท�าให้ประชาชนอยู่ดีกินดี 3. จุดก�าเนิดความรุ่งเรืองและความยากจน ● 80 ความรุ่งเรืองและความยากจนก�าหนดด้วยแรงจูงใจจากสถาบันอย่างไร และการเมืองก�าหนดได้อย่างไรว่าประเทศหนึ่งจะมีสถาบันแบบไหน 4. น�้าหนักของประวัติศาสตร์: ความแตกต่างเล็กน้อยกับรอยต่อส�าคัญ ● 106 สถาบันเปลี่ยนไปเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองอย่างไร และอดีตส่งผลต่อปัจจุบันเช่นไร
  • 6. 5. “ฉันเห็นอนาคตมาแล้ว และมันได้ผล”: การเติบโตในสถาบันแบบขูดรีด ● 134 สตาลิน ราชาชาม การปฏิวัติหินใหม่ และนครรัฐมายามีอะไรร่วมกัน และสิ่งนั้นอธิบายได้อย่างไรว่า จีนจะไม่สามารถเติบโตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ไปได้ตลอด 6. ลอยห่าง ● 160 สถาบันต่างๆ วิวัฒน์ตามกาลเวลา และบ่อยครั้งก็ค่อยๆ ลอยห่างจากกันช้าๆ อย่างไร 7. จุดพลิกผัน ● 189 การปฏิวัติทางการเมืองในปี 1688 เปลี่ยนสถาบันในอังกฤษ และน�าไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมได้อย่างไร 8. ถิ่นข้าใครอย่าแหยม: อุปสรรคขวางการพัฒนา ● 214 เหตุใดผู้มีอ�านาจทางการเมืองของหลายชาติ จึงต่อต้านการปฏิวัติอุตสาหกรรม 9. พัฒนาการถอยหลัง ● 243 ลัทธิล่าอาณานิคมของยุโรปท�าให้พื้นที่กว้างใหญ่ในโลกยากจนลงอย่างไร 10. ความเจริญแพร่กระจายอย่างไร ● 272 บางส่วนของโลกก้าวสู่ความรุ่งเรืองด้วยเส้นทางอื่นที่ต่างจากอังกฤษอย่างไร 11. วงจรสวรรค์ ● 301 สถาบันที่ส่งเสริมความรุ่งเรือง สร้างวงจรเชิงบวกที่ป้องกันไม่ให้ชนชั้นสูง ท�าลายสถาบันเหล่านั้นลงได้อย่างไร
  • 7. 12. วงจรอุบาทว์ ● 333 สถาบันที่สร้างความยากจนสร้างวงจรเชิงลบ และอยู่คงทนต่อไปได้อย่างไร 13. เหตุใดทุกวันนี้บางชาติจึงล้มเหลว ● 365 แล้วอะไรที่ชาติเหล่านี้มีร่วมกัน? 14. ฉีกรูปแบบเดิมๆ ● 402 ประเทศจ�านวนหนึ่งสามารถเปลี่ยนเส้นทางเศรษฐกิจ ด้วยการเปลี่ยนสถาบันของประเทศได้อย่างไร 15. เบื้องหลังความรุ่งเรืองกับความยากจน ● 426 โลกใบนี้อาจต่างจากนี้ได้เช่นไร และเรื่องนี้ช่วยให้เราเข้าใจได้อย่างไร ว่าเหตุใดความพยายามต่อสู้กับความยากจนส่วนใหญ่จึงล้มเหลว กิตติกรรมประกาศ ● 462 บรรณานุกรมและแหล่งข้อมูล ● 464 แหล่งอ้างอิง ● 487 เกี่ยวกับผู้เขียน ● 519 เกี่ยวกับผู้แปล ● 520
  • 8. 12 กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก นังสือเล่มนี้กล่าวถึงความแตกต่างใหญ่หลวงทั้งในแง่รายได้ และมาตรฐานการครองชีพ ระหว่างประเทศร�่ารวยในโลกอย่าง สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และเยอรมนี กับประเทศยากจนเช่นในแถบแอฟริกา ส่วนใต้ทะเลทรายสะฮารา อเมริกากลาง และเอเชียใต้เป็นต้น ระหว่างที่เราก�าลังเขียนหนังสือเล่มนี้อยู่ แอฟริกาเหนือกับ ตะวันออกกลางก�าลังสะเทือนด้วยเหตุการณ์ “อาหรับสปริง” เหตุการณ์ ดังกล่าวเริ่มจาก “การปฏิวัติดอกมะลิ” ซึ่งมวลชนร่วมไม่พอใจไปกับโมฮัมเหม็ด โบอาซิซิ พ่อค้าริมทางผู้จุดไฟเผาตัวเองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2010 หลังจาก นั้นแม้ประธานาธิบดีซีน อัลอาบิดีน บิน อาลี ผู้น�าแห่งตูนิเซียจะพ้นจาก ต�าแหน่งในวันที่ 14 มกราคม 2011 แต่กระแสปฏิวัติต่อต้านกลุ่มอภิสิทธิ์ชน กลับไม่แผ่วตาม ความรุนแรงได้ลุกลามไปยังส่วนอื่นของตะวันออกกลาง ฮุสนี มุบาร็อก ซึ่งปกครองอียิปต์มาถึงสามสิบปีถูกขับพ้นต�าแหน่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2011 ส่วนชะตากรรมของบาห์เรน ลิเบีย ซีเรีย และเยเมนจะ เป็นอย่างไรนั้น ขณะที่เราเขียนค�าน�าอยู่นี้ยังมิอาจทราบได้ มูลเหตุความไม่พอใจในประเทศเหล่านี้คือเรื่องความยากจน พลเมือง อียิปต์ทั่วไปมีรายได้อยู่ที่ราวร้อยละ 12 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา และมี อายุสั้นกว่าถึงสิบปี ประชากรอียิปต์มากถึงร้อยละ 20 ยากจนอย่างยิ่ง ทว่า ตัวเลขเหล่านี้ก็ยังถือว่าไม่มาก หากเราเทียบกับความแตกต่างระหว่าง สหรัฐอเมริกากับประเทศที่จนที่สุดในโลกอย่างเกาหลีเหนือ เซียร์ราลีโอน และ ห บทน�ำ
  • 9. บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 13บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 13 ซิมบับเว ซึ่งประชาชนเกินครึ่งประเทศยากจน เหตุใดอียิปต์จึงยากจนกว่าสหรัฐอเมริกามาก? อะไรจ�ากัดไม่ให้ ชาวอียิปต์รุ่งเรืองกว่านี้? ความยากจนของอียิปต์เป็นสิ่งตายตัวหรือว่าขจัดได้? วิธีมองอย่างหนึ่งก็คือดูว่าชาวอียิปต์เองกล่าวถึงปัญหาที่พวกเขาเผชิญอยู่ อย่างไร และเหตุใดพวกเขาจึงลุกขึ้นต่อต้านมุบาร็อก อย่างเช่นโนฮา ฮาเหม็ด พนักงานบริษัทโฆษณาวัยยี่สิบสี่ปีผู้หนึ่งกล่าวชัดเจนระหว่างเดินขบวนอยู่กลาง จัตุรัสทาห์รีร์ว่า “เรามีทั้งปัญหาคอร์รัปชั่น การกดขี่ประชาชน แล้วก็ระบบ การศึกษาห่วยๆ เราอยู่ในระบบเน่าเฟะที่ต้องเปลี่ยน” โมซาบ เอล ชามี นักศึกษาเภสัชกรอีกคนในจัตุรัสเห็นด้วยว่า “หวังว่าไม่เกินสิ้นปีนี้เราจะได้ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ได้มีเสรีภาพแบบสากล แล้วก็ปิดฉากคอร์รัปชั่นที่ ครอบง�าประเทศนี้ได้เสียที” ผู้ประท้วงในจัตุรัสทาห์รีร์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่ารัฐบาลทั้งคอร์รัปชั่น บกพร่องในการให้บริการสาธารณะ และผู้คนใน ประเทศของพวกเขามีโอกาสไม่เท่าเทียมกัน โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด อดีต ผู้อ�านวยการองค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศก็เขียนบนทวิตเตอร์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2011 ว่า “ตูนิเซีย: กดขี่+สังคมที่ไม่ยุติธรรม+ปิดกั้น การเปลี่ยนแปลงโดยสันติ = ระเบิดเวลา” ทั้งชาวอียิปต์และตูนิเซียต่างมองว่าปัญหาทางเศรษฐกิจของพวกเขา มีพื้นฐานมาจากการขาดสิทธิทางการเมือง เช่นเมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มเรียกร้อง เป็นระบบขึ้น วาล คาลิล นักวิศวกรซอฟแวร์และบล็อกเกอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งใน แกนน�าการเคลื่อนไหวของอียิปต์ ได้เสนอข้อเรียกร้องเร่งด่วนสิบสองประการ แรก ข้อเรียกร้องเหล่านี้เน้นประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งสิ้น ใน ขณะที่เรื่องอย่างการขึ้นค่าแรงขั้นต�่านั้นอยู่แต่ในข้อเรียกร้องช่วงเปลี่ยนผ่าน ที่จะบังคับใช้ภายหลังเท่านั้น ชาวอียิปต์มองว่าสิ่งที่ปิดกั้นพวกเขาคือรัฐที่ไร้ประสิทธิภาพและ ฉ้อฉล กับสังคมซึ่งพวกเขาไม่สามารถน�าทักษะ ความใฝ่ฝัน สติปัญญา และ การศึกษาที่มี มาใช้ได้ พวกเขายังมองออกว่าปัญหาเหล่านี้มีรากมาจากเรื่อง การเมือง พวกเขารู้ว่าอุปสรรคทางเศรษฐกิจที่พวกเขาต้องเผชิญ มาจากกลุ่ม อภิสิทธิ์ชนเล็กๆ เพียงกลุ่มเดียวที่ยึดอ�านาจทางการเมืองในอียิปต์ไว้ และใช้
  • 10. 14 กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก อ�านาจดังกล่าวในทางที่ผิด พวกเขารู้ว่านี่คือสิ่งแรกที่ต้องเปลี่ยน ทว่าความเชื่อของกลุ่มผู้ชุมนุมในจัตุรัสทาห์รีร์ ต่างจากความเชื่อ ตามแบบแผนอย่างยิ่ง เวลาถกเถียงว่าท�าไมประเทศอย่างอียิปต์จึงยากจน นักวิชาการและนักวิเคราะห์ข่าวส่วนใหญ่มักเน้นปัจจัยอื่นที่ต่างไปอย่างสิ้นเชิง บ้างว่าปัญหามาจากพื้นที่อียิปต์เป็นทะเลทราย ซึ่งขาดน�้าฝนและไม่เอื้ออ�านวย ต่อเกษตรกรรม บ้างก็ว่าชาวอียิปต์ขาดปรัชญาการท�างานและวัฒนธรรมที่ ท�าให้ชาติอื่นเจริญ แต่กลับรับความเชื่ออิสลามที่ไม่ดีต่อเศรษฐกิจมาแทน ส่วนพวกนักเศรษฐศาสตร์และ “ผู้รู้” ด้านนโยบายคิดว่า ผู้น�าอียิปต์เพียง ด�าเนินนโยบายและแผนบริหารประเทศที่ไม่ถูกต้อง ขอเพียงผู้น�าเหล่านี้ได้ รับค�าแนะน�าที่ถูกต้องจากคนที่ถูกต้อง ความเจริญก็จะตามมาเอง ส�าหรับ นักวิชาการและผู้รู้เหล่านี้ เรื่องที่ว่ามีกลุ่มอภิสิทธิ์ชนเล็กๆ ปกครองอียิปต์และ ท�านาบนหลังคนในชาติ ดูจะไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนี้เลย เราจะให้เหตุผลในหนังสือเล่มนี้ ว่าชาวอียิปต์ในจัตุรัสทาห์รีร์ต่างหาก ที่เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่นักวิชาการกับนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ แท้จริงอียิปต์ไม่ได้ ยากจนเพราะเหตุอื่นใดนอกจากถูกอภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยปกครอง พวกเขา จัดระเบียบสังคมเพื่อชักประโยชน์เข้ากระเป๋าโดยปล่อยให้มวลชนรับกรรม คนเหล่านี้กวาดอ�านาจทางการเมืองมาอยู่ในวงแคบเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ ตัวเอง เช่นที่อดีตประธานาธิบดีมุบาร็อกสะสมทรัพย์สินได้ถึงเจ็ดหมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (สองล้านล้านบาท) ส่วนประชาชนอียิปต์เป็นผู้แพ้ อย่างที่ พวกเขารู้ซึ้งเป็นอย่างดี เราจะแสดงให้เห็นว่าการตีความเรื่องความยากจนของอียิปต์ให้เข้าใจ ง่ายเช่นนี้ น�าไปอธิบายได้ทั่วไปว่าเหตุใดประเทศยากจนจึงได้จนอย่างที่เป็น เราจะแสดงให้ดูว่าทั้งเกาหลีเหนือ เซียร์ราลีโอน และซิมบับเวต่างก็ยากจนด้วย เหตุผลเดียวกับอียิปต์ ประเทศอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกานั้นร�่ารวยได้ เพราะประชาชนเคยล้มล้างชนชั้นสูงที่กุมอ�านาจ แล้วสร้างสังคมที่กระจาย สิทธิทางการเมืองทั่วถึงกว่ามาก รัฐบาลต้องชี้แจงตัวเองและตอบสนองต่อ พลเมือง และมวลชนส่วนใหญ่ตักตวงโอกาสทางเศรษฐกิจได้ การจะเข้าใจ ความเหลื่อมล�้าในโลกปัจจุบัน เราต้องย้อนไปศึกษาพลวัตทางประวัติศาสตร์
  • 11. บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 15บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 15 ของสังคมต่างๆ เราจะได้เห็นว่าอังกฤษร�่ารวยกว่าอียิปต์ เพราะในปี 1688 อังกฤษเกิดการปฏิวัติที่เปลี่ยนแปลงการเมือง และเท่ากับเปลี่ยนระบบ เศรษฐกิจของชาติไปด้วย ประชาชนอังกฤษต่อสู้จนมีสิทธิทางการเมืองมากขึ้น และใช้สิทธินั้นเพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจของพวกตน การปฏิวัติดังกล่าว ส่งผลให้วิถีทางการเมืองและเศรษฐกิจแตกต่างตั้งแต่รากฐาน จนน�าไปสู่การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมในที่สุด การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีจากการปฏิวัตินั้นไม่ได้แพร่ กระจายไปถึงอียิปต์ เพราะตอนนั้นจักรวรรดิออตโตมันยังปกครองอียิปต์ อย่างกดขี่เหมือนตระกูลมุบาร็อก ต่อมาแม้ นโปเลียน โบนาปาร์ต จะโค่น ออตโตมันในอียิปต์ลงได้ในปี 1798 อียิปต์ก็ตกอยู่ภายใต้ลัทธิล่าอาณานิคม ของอังกฤษซึ่งไม่ใส่ใจความเจริญของอียิปต์พอๆ กัน แม้ชาวอียิปต์จะสลัด จักรวรรดิออตโตมันกับอังกฤษหลุดได้ในปี 1952 แต่เหตุการณ์นี้ก็ยังต่างจาก การปฏิวัติของอังกฤษในปี 1688 อยู่ดี คือแทนที่จะเปลี่ยนการเมืองในอียิปต์ จากรากฐาน กลับเพียงท�าให้อภิสิทธิ์ชนอีกกลุ่มได้ขึ้นครองอ�านาจ โดยที่ไม่ได้ สนใจความเป็นอยู่ของชาวบ้านพอๆ กับทั้งออตโตมันและอังกฤษ เป็นอันว่า โครงสร้างสังคมก็ยังเหมือนเดิม และอียิปต์ก็ยังยากจนต่อไป เราจะศึกษาในหนังสือเล่มนี้ว่า รูปแบบนี้เกิดซ�้าแล้วซ�้าอีกได้อย่างไร ตลอดเวลาที่ผ่านมา และเหตุใดบางครั้งจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น อย่างใน อังกฤษเมื่อปี 1688 หรือการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 ความรู้นี้จะท�าให้เราทราบ ว่าปัจจุบันสถานการณ์ในอียิปต์เปลี่ยนไปหรือไม่ และการปฏิวัติโค่นล้ม มุบาร็อกจะน�าไปสู่สถาบันใหม่ซึ่งท�าให้ชาวอียิปต์รุ่งเรืองได้จริงหรือ ในอดีต อียิปต์ก็เคยเกิดเหตุปฏิวัติที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมาแล้วหลายครั้ง เหตุเพราะ ผู้ก่อการเพียงยึดเศษซากของคนที่ตนล้มล้างไป แล้วสร้างระบบใหม่คล้ายกัน ขึ้นมาแทน การที่ประชาชนจะได้อ�านาจทางการเมืองมาอย่างเป็นรูปธรรม หรือเปลี่ยนโครงสร้างสังคมนั้นเกิดขึ้นได้ยากก็จริง แต่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เราจะ ได้ทราบว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นอย่างไรในอังกฤษ ฝรั่งเศส กับสหรัฐอเมริกา รวม ถึงในญี่ปุ่น บอตสวานา และบราซิลด้วย โดยพื้นฐานแล้วสังคมยากจนต้อง เปลี่ยนแปลงการเมืองในลักษณะนี้จึงจะร�่ารวยขึ้นได้
  • 12. 16 กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก มีหลักฐานว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะก�าลังเกิดขึ้นในอียิปต์ เรดา เมทวาลี ผู้ประท้วงอีกรายในจัตุรัสทาห์รีร์กล่าวว่า “ตอนนี้คุณจะเห็น ชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ เห็นคนแก่กับคนหนุ่มสาวมารวมตัวกัน เรียกร้องในสิ่ง เดียวกัน” เราจะได้ทราบว่าการที่สังคมเคลื่อนไหวในวงกว้างเช่นนี้ เคยเป็น กุญแจส�าคัญอย่างไรในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองลักษณะนี้ครั้งอื่นๆ หาก เราเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเกิดขึ้นเมื่อไรและอย่างไร เราก็จะประเมิน ได้ดีขึ้นว่าเมื่อใดเราจะคาดได้ว่าการเคลื่อนไหวคงล้มเหลวเหมือนหลายครั้งใน อดีต แต่ที่ส�าคัญกว่านั้นคือเราจะตั้งความหวังได้ว่าเมื่อใดเหตุการณ์จะลุล่วง และช่วยยกระดับชีวิตของผู้คนอีกนับล้านได้จริงๆ
  • 13. บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 17บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 17 มืองโนกาเลสมีรั้วพาดผ่านตรงกลาง ถ้าคุณยืนริมรั้วหันหน้าไปทาง ทิศเหนือ คุณจะเห็นโนกาเลสในเขตรัฐแอริโซนาในสหรัฐอเมริกา ที่ นั่นรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 30,000 ดอลลาร์ต่อปี วัยรุ่นส่วนใหญ่เรียนหนังสือ ในโรงเรียน ผู้ใหญ่ส่วนมากจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ประชากรในเมือง มีสุขภาพดี เทียบตามมาตรฐานโลกก็มีอายุขัยยืนยาว ผู้อาศัยจ�านวนมากอายุ เกินหกสิบห้าปีและเข้าถึงโครงการประกันสังคมเมดิแคร์ โครงการที่ว่านั้น ยังเป็นเพียงหนึ่งในบริการรัฐอีกหลายอย่างที่คนส่วนใหญ่มองเป็นเรื่องปกติ เช่นไฟฟ้า โทรศัพท์ ระบบก�าจัดของเสีย บริการสาธารณสุข เครือข่ายถนนที่ เชื่อมโยงพวกเขาเข้ากับเมืองอื่น ทั้งในบริเวณเดียวกันและส่วนอื่นของสหรัฐฯ และสุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคือความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนใน โนกาเลสรัฐแอริโซนาใช้ชีวิตประจ�าวันได้อย่างไม่ต้องกลัวอันตรายหรือชีวิต ไม่ปลอดภัย และไม่ต้องคอยหวาดระแวงเหตุโจรกรรม การเวนคืนที่ดิน หรือ สิ่งอื่นใดที่อาจส่งผลเสียหายต่อการลงทุนในกิจการและบ้านเรือนของพวกเขา ที่ส�าคัญไม่น้อยไปกว่ากันคือ ผู้คนในโนกาเลสรัฐแอริโซนาไว้ใจได้ว่าต่อให้ รัฐบาลขาดประสิทธิภาพและทุจริตเป็นบางคราว แต่ก็ยังเป็นตัวแทนของ พวกตน พวกเขาสามารถลงคะแนนเสียงเพื่อเปลี่ยนตัวผู้ว่าการ สมาชิกรัฐสภา หรือวุฒิสมาชิกได้ และพวกเขาสามารถลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี เพื่อ ก�าหนดตัวผู้น�าประเทศของพวกเขาได้ ประชาธิปไตยถือว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ ส�าหรับพวกเขา เ 1 ใกล้แต่กลับไกลห่ำง เศรษฐกิจรอบแม่น�้ำรีโอแกรนด์
  • 14. 18 กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก แต่ชีวิตทางทิศใต้ของรั้วกั้นค่อนข้างต่างออกไป แม้ประชากรเมือง โนกาเลสรัฐโซโนราจะอาศัยในบริเวณที่ถือว่าค่อนข้างมั่งคั่งแล้วของเม็กซิโก แต่คนที่นั่นมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่เพียงราวหนึ่งในสามของคนโนกาเลส รัฐแอริโซนา ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ในโนกาเลสรัฐโซโนราเรียนไม่จบชั้นมัธยม วัยรุ่น ไม่น้อยก็ไม่เรียนหนังสือ คนจะเป็นแม่ต้องกังวลเรื่องทารกมีอัตราเสียชีวิตสูง ระบบสาธารณสุขก็ย�่าแย่ จึงไม่แปลกที่ผู้คนในโนกาเลสรัฐโซโนราจะอายุไม่ยืน เท่าเพื่อนบ้านทางเหนือ พวกเขายังขาดสาธารณูปโภคอีกหลายอย่าง ถนนทาง ทิศใต้ของรั้วกั้นก็ทรุดโทรม ระเบียบกฎหมายหละหลวม อาชญากรรมชุกชุม และการเปิดกิจการถือเป็นเรื่องเสี่ยง ไม่ต้องพูดถึงเสี่ยงถูกปล้น แค่จะเปิดร้าน ก็ต้องตรากตร�าตั้งแต่การขออนุญาตกับจ่ายใต้โต๊ะให้ครบแล้ว ผู้คนในโนกาเลส รัฐโซโนราต้องทนกับความฉ้อฉลและไม่เอาอ่าวของนักการเมืองอยู่ทุกเมื่อ เชื่อวัน เทียบกับเพื่อนบ้านทางเหนือแล้ว ประชาธิปไตยยังถือเป็น ประสบการณ์แปลกใหม่ส�าหรับพวกเขาอยู่ โนเกเลสรัฐโซโนราก็เหมือนกับ เม็กซิโกส่วนที่เหลือ ที่อยู่ใต้การปกครองแบบโกงกินของพรรคสถาบันปฏิวัติ หรือปาร์ตีโด เรโวลูเซียนนารีโอ อินส์ติตูเซียนแนล มาตลอดจนกระทั่งมีการ ปฏิรูปการเมืองเมื่อปี 2000 นี้เอง เหตุใดครึ่งทั้งสองของเมืองที่โดยสาระส�าคัญแล้วคือเมืองเดียวกัน จึงได้ต่างกันเพียงนี้? ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ หรือประเภทของโรคภัยใน พื้นที่ไม่ต่างกัน เพราะไม่มีอะไรขวางมิให้เชื้อโรคเดินทางข้ามไปมาระหว่าง สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก จริงอยู่ที่สภาพสาธารณสุขของทั้งสองแห่งต่างกัน มาก แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับโรคภัย สภาพทางสาธารณสุขต่างกันเพราะประชาชน ทางใต้ของเส้นเขตแดนขาดบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมต่างหาก หรือจะเป็นเพราะกลุ่มคนต่างกันมาก เป็นไปได้หรือไม่ว่าผู้คนใน โนกาเลสรัฐแอริโซนาเป็นลูกหลานของผู้อพยพชาวยุโรป ในขณะที่คนทางใต้ สืบเชื้อสายจากชาวอินเดียนแดง? ก็ไม่ใช่อีก ชนทั้งสองฝั่งเขตแดนมีพื้นเพ คล้ายคลึงกัน หลังจากเม็กซิโกเป็นเอกราชจากสเปนในปี 1821 พื้นที่ตรงนี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของเม็กซิโกมาจนกระทั่งสงครามเม็กซิโก-อเมริกาช่วงปี
  • 15. บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 19บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 19 1846-1848 ด้วยซ�้า เส้นเขตแดนฝั่งสหรัฐฯ เพิ่งขยายเข้ามายังพื้นที่นี้เมื่อ มีสัญญาซื้อแกดสเดนในปี 1853 เท่านั้น ร้อยโทเอ็น. มิชเลอร์ เคยตั้งข้อสังเกต ไว้ระหว่างส�ารวจเส้นเขตแดนว่ามี “หุบเขาโลส โนกาเลสเล็กๆ ที่งดงาม” อยู่ ตรงนี้เองก็มีเมืองเกิดขึ้นสองเมืองบนสองฝั่งของเส้นเขตแดน เป็นอันว่าผู้อาศัย ของโนกาเลสรัฐแอริโซนากับโนกาเลสรัฐโซโนรามีบรรพบุรุษร่วมกัน ดื่มด�่ากับ อาหารและดนตรีประเภทเดียวกัน และเรากล้าพูดด้วยซ�้าว่ามี “วัฒนธรรม” อย่างเดียวกัน แน่นอนว่ามีค�าอธิบายหนึ่งที่ทั้งตรงไปตรงมาและเห็นได้ชัด ซึ่งคุณ คงเดาออกนานแล้ว ว่าเหตุใดสองซักของโนกาเลสจึงได้ต่างกันนัก ค�าอธิบาย ที่ว่าก็คือเส้นแบ่งเขตแดนซึ่งก�าหนดชะตาของแต่ละซีกนั่นเอง โนกาเลสรัฐ แอริโซนาอยู่ในสหรัฐอเมริกา ผู้อาศัยเข้าถึงสถาบันเศรษฐกิจของสหรัฐฯ จึง เลือกประกอบอาชีพได้อย่างอิสระ ได้รับการศึกษาและฝึกทักษะ และกระตุ้น ให้นายจ้างของพวกเขาลงทุนในเทคโนโลยีที่ดีที่สุด พวกเขาจึงมีค่าแรงสูง ตามไปด้วย พวกเขายังเข้าถึงสถาบันการเมืองที่ให้พวกเขามีส่วนร่วมใน ประชาธิปไตย พวกเขาสามารถเลือกและเปลี่ยนตัวผู้แทนได้หากผู้แทน ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ยังผลให้นักการเมืองจัดบริการพื้นฐาน (ตั้งแต่ระบบ สาธารณสุข ถนนหนทาง จนถึงเรื่องระเบียบกฎหมาย) ให้ประชาชนตามที่ ประชาชนต้องการ แต่ผู้คนในโนกาเลสรัฐโซโนราไม่ได้โชคดีเช่นนั้น พวกเขา อยู่ในโลกอีกใบที่ก�าหนดโดยสถาบันอีกชุด สถาบันที่ต่างไปนี้สร้างแรงจูงใจ ต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งส�าหรับผู้คนในโนกาเลสทั้งสองแห่ง และส�าหรับ ผู้ประกอบการกับห้างร้านต่างๆ ที่จะเข้าไปลงทุน จึงเป็นแรงจูงใจจากสถาบัน ที่ต่างกันของโนกาเลสทั้งสอง กับประเทศซึ่งแต่ละเมืองสังกัดอยู่นี้เอง ที่เป็น เหตุผลหลักให้เศรษฐกิจบนสองด้านของเส้นขอบแดนเจริญไม่เท่ากัน เหตุใดสถาบันต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา จึงเอื้อให้เศรษฐกิจประสบ ความส�าเร็จมากกว่าสถาบันของเม็กซิโกและส่วนอื่นของลาตินอเมริกา? ค�าตอบอยู่ที่สมัยต้นยุคล่าอาณานิคม ซึ่งส่งผลสะท้อนมาจนถึงทุกวันนี้ เราจะ ย้อนกลับไปสมัยก่อตั้งอาณานิคมในอเมริกาเหนือและลาตินอเมริกากันก่อน เพื่อท�าความเข้าใจการแยกห่างดังกล่าว
  • 16. 20 กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก การก่อตั้งนครบัวโนสไอเรส ฆวน ดีอัซ เดโซลิส นักส�ารวจชาวสเปนแล่นเรือเข้าปากแม่น�้ากว้างตรงริมฝั่ง ทะเลด้านตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ในปี 1516 เดโซลิสได้ฝ่าฟันขึ้นฝั่ง และ ประกาศให้ดินแดนนั้นเป็นของสเปน เขาตั้งชื่อแม่น�้าว่ารีโอเดลาพลาตา หรือ “แม่น�้าเงิน” เนื่องจากเขาเห็นชนพื้นเมืองมีแร่เงิน ชนพื้นเมืองพวกนี้คือ ชาวชารูอาส์ในอุรุกวัยปัจจุบัน กับชาวเกรันดิบนที่ราบแพมพัซในอาร์เจนตินา ทุกวันนี้ ชนพื้นเมืองเหล่านี้เป็นพรานเก็บของป่า ซึ่งอยู่กันเป็นกลุ่มเล็กๆ อย่าง ไม่มีศูนย์กลางทางการเมืองเข้มแข็ง ชนพื้นเมืองบนทั้งสองฝั่งของปากแม่น�้า มองผู้มาเยือนเป็นศัตรู และชาวชารูอาส์ก็ได้ทุบท�าร้ายเดโซลิสจนถึงแก่ชีวิต ระหว่างเขาก�าลังส�ารวจพื้นที่อยู่นั่นเอง แต่ทางสเปนยังมีความหวัง ในปี 1534 เปโดร เดเมนโดซา ได้น�าผู้ตั้ง รกรากจากสเปนไปตั้งเมืองขึ้นตรงต�าแหน่งที่เป็นนครบัวโนสไอเรส ที่แห่งนั้น น่าจะเป็นสถานที่ในอุดมคติของชาวยุโรป เพราะบัวโนสไอเรสซึ่งแปลตรงตัว ว่า “อากาศดี” นั้นมีภูมิอากาศอบอุ่นอยู่สบาย ทว่าตอนแรกชาวสเปนอยู่ที่นั่น กันได้ไม่นาน พวกเขาไม่ได้ไปเพื่อกินบรรยากาศดีๆ แต่เพื่อเก็บทรัพยากรและ หาแรงงานมาใช้ หากแต่พวกชารูอาส์กับเกรันดิไม่ยอมร่วมมือด้วย พวกเขา ไม่ยอมแบ่งอาหารให้คนสเปน ถูกจับมาก็ไม่ยอมท�างาน ซ�้ายังขนคันศรกับธนู มาโจมตีนิคมตั้งใหม่ ชาวสเปนพากันหิวโหยเพราะไม่ได้เผื่อมาว่าต้องหาอาหาร เลี้ยงปากท้องตัวเอง เป็นอันว่าบัวโนสไอเรสกลับไม่เป็นดังฝัน คนท้องถิ่นก็ใช้ แรงงานไม่ได้ ในพื้นที่ก็ไม่มีเงินหรือทองให้ขุด ส่วนเงินที่เดโซลิสไปพบเข้า ความจริงก็มาจากรัฐอินคาในเทือกเขาแอนดีส ที่อยู่ไกลไปทางทิศตะวันตกนู่น ชาวสเปนจึงเริ่มส่งคนออกส�ารวจหาสถานที่ใหม่ซึ่งมีทรัพยากร มากกว่าและประชากรบังคับใช้แรงงานง่ายกว่าแล้วในปี1537ฆวนเดอาโยลัส ก็น�าคณะส�ารวจฝ่าลึกขึ้นไปตามแม่น�้าปารานา เพื่อตามหาเส้นทางไปยังอินคา ระหว่างทางคณะส�ารวจพบกับชาวกวารานีซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ลงหลักปักฐาน และมีเศรษฐกิจเกษตรกรรมที่ปลูกข้าวโพดกับมันส�าปะหลัง ชาวสเปนพิชิต
  • 17. บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 21บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 21 ชาวกวารานีได้และตั้งเมืองชื่อว่า “นูเอสตรา เซโญรา เดซานตา มาเรีย เด ลา อะซุนซิออง” ซึ่งยังคงเป็นเมืองหลวงของปารากวัยในปัจจุบัน นักผจญภัยทั้ง หลายสมรสกับบรรดาเจ้าหญิงแห่งกวารานี ก่อนจะตั้งตนเป็นชนชั้นสูงอย่าง ว่องไว พวกเขาดัดแปลงระบบแรงงานกับระบบบรรณาการที่มีมาแต่เดิมเสีย ใหม่โดยให้พวกตนอยู่ตรงยอด นี่คืออาณานิคมประเภทที่พวกเขาอยากตั้ง ภายในสี่ปีบัวโนสไอเรสก็กลายเป็นเมืองร้าง เพราะชาวสเปนพากันย้ายไปยัง เมืองใหม่ บัวโนสไอเรส หรือ “ปารีสแห่งอเมริกาใต้” นครที่มีถนนหนทางกว้าง ใหญ่ซึ่งสร้างด้วยทรัพยากรทางเกษตรมหาศาลของพื้นที่แพมพัส ได้ถูกทิ้งให้ ร้างจนปี 1580 การที่ชาวสเปนละทิ้งบัวโนสไอเรสและเข้ายึดครองกวารานี เผยให้เห็นว่านักล่าอาณานิคมชาวสเปน ไม่ได้สนใจจะท�าไร่ไถนาเอง พวกเขา ต้องการคนอื่นมาท�าแทน และพวกเขาหวังเพียงปล้นสะดมทรัพย์สมบัติ ทองค�า และเงิน ตั้งแต่กาฆามาร์กา... ก่อนหน้าการส�ารวจของเดโซลิส เดเมนโดซา และเดอาโยลัส ยังมีการส�ารวจ ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นอีก นับตั้งแต่โคลัมบัสค้นพบหมู่เกาะบาฮามาสเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1492 สเปนก็ได้เปิดฉากแผ่อ�านาจเข้ายึดดินแดนอย่างรวดเร็ว นาย พลเอร์นัน กอร์เตส บุกเม็กซิโกในปี 1519 หลังจากนั้นก็มีคณะส�ารวจของ ฟรานซิสโก ปิซาโร ไปยึดครองเปรูในอีกทศวรรษครึ่งให้หลัง เพียงสองปีถัด จากนั้นคณะส�ารวจของเดเมนโดซาจึงไปยังแม่น�้ารีโอเดลาพลาตา ตลอด ศตวรรษต่อมาสเปนสามารถพิชิตและยึดครองอเมริกาใต้ตอนกลาง ตอน ตะวันตก และตอนใต้ เป็นอาณานิคมได้เกือบหมด ส่วนโปรตุเกสได้บราซิลทาง ตะวันออกไป สเปนมีวิธีล่าอาณานิคมที่มีประสิทธิภาพมาก ซึ่งนายพลกอร์เตส ขัดเกลาจนสมบูรณ์เป็นครั้งแรกในเม็กซิโก วิธีนี้ตั้งอยู่บนข้อสังเกตว่าชาวสเปน จะก�าราบชาวพื้นเมืองได้ดีที่สุดเมื่อจับตัวผู้น�าไว้ ยุทธวิธีนี้ท�าให้ชาวสเปนยึด
  • 18. 22 กู้วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก ทรัพย์ที่ผู้น�าสะสมมาได้ และบังคับคนพื้นเมืองให้ถวายบรรณาการกับอาหาร ให้ ขั้นถัดไปชาวสเปนก็ตั้งตนเป็นชนชั้นสูงใหม่ในสังคมพื้นเมืองดังกล่าว แล้ว ยึดระบบเก็บภาษี บรรณาการ และระบบบังคับใช้แรงงานที่มีอยู่แต่เดิมเสีย เมื่อกอร์เตสกับพวกมาถึงเมืองหลวงของชาวแอซเท็กในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1519 มอกเตซูมา จักรพรรดิแห่งแอซเท็กได้ออกมาต้อนรับ ชาวสเปนอย่างสันติตามค�าแนะน�าของเหล่าที่ปรึกษา ส่วนเหตุการณ์ถัดจาก นั้นไป เบร์นาดิโน เดซาอากุน นักบวชคณะฟรันซิสกันได้อธิบายไว้ในบันทึก ฟลอเรนไทน์ของเขา ที่รวบรวมขึ้นหลังปี 1545 ดังนี้ [ใน]ทันใด พวกเขา[ชาวสเปน] ก็คุมตัวมอกเตซูมาไว้แน่นหนา... ก่อน ปืนแต่ละกระบอกจะลั่นกระสุน... ความหวาดกลัวโรยลงคลุม ราว ทุกคนกลืนหัวใจตนลงท้องไป ยังไม่ทันมืดก็มีความพรั่นพรึง ตกตะลึง หวาดวิตก ผู้คนพากันตะลึงงัน เมื่อขึ้นวันใหม่ [ชาวสเปน]ก็ประกาศทุกสิ่งอันที่พวกเขาต้องการ: ตอติญ่าขาวนวล, ไก่งวงตัวเมียย่าง, ไข่, น�้าจืด, ไม้, ฟืน, ถ่าน... ซึ่ง มอกเตซูมาก็น�ามาให้ และเมื่อชาวสเปนกินอยู่สบายดีแล้ว พวกเขาก็สอบมอกเตซูมา ถึงสมบัติทั้งหลายในนคร... พวกเขาต้องการทองค�าอย่างออกนอก หน้า มอกเตซูมาก็น�าทางชาวสเปนไป พวกเขาล้อมเขาไว้... ต่างก็ ตรึงร่าง ฉวยร่างเขา เมื่อพวกเขาไปถึงคลังตรงที่เรียกว่าเตโอกัลโก พวกเขาก็ให้น�าสิ่ง เลอเลิศทุกสิ่งมา ทั้งมงกุฎขนนกเควทซัล อุปกรณ์ต่างๆ เกราะต่างๆ แผ่นกลมท�าจากทองค�า... ห่วงจมูกทองค�า ก�าไลขาทองค�า ก�าไลแขน ทองค�า ที่คาดหน้าผากทองค�า พวกเขาแงะทองออกมา... จุดไฟโดยไม่รอช้า... เผาสิ่งมีค่าทั้ง หลายมอดไหม้หมด ชาวสเปนขึ้นรูปทองค�าเป็นแท่ง... ชาวสเปน เหยียบย�่าไปทุกหนแห่ง... พวกเขาช่วงชิงทุกสิ่ง ทุกสิ่งที่พวกเขาเห็น ว่ามีค่า
  • 19. บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 23บดินทร์ พรวิลาวัณย์ แปล 23 แล้วพวกเขาก็ไปยังคลังเก็บส่วนตัวของมอกเตซูมา... ตรงที่เรียก ว่าโตโตกัลโก... พวกเขาน�าสมบัติ[ของมอกเตซูมา]เองออกมา... ของ มีค่าทั้งหลายทั้งปวง สร้อยคอประดับจี้, ก�าไลแขนประดับกระจุกขน นกเควทซัล ก�าไลแขนทองค�า ก�าไลข้อมือ แถบคาดทองค�าประดับ เปลือกหอย... และมงกุฎเทอร์คอยซ์ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงความเป็นผู้น�า พวกเขายึดสิ่งเหล่านั้นไปทั้งหมด ภารกิจน�าก�าลังทหารพิชิตแอซเท็กสิ้นสุดลงในปี 1521 หลังจากนั้น กอร์เตสก็ขึ้นเป็นข้าหลวงผู้ปกครองจังหวัดนิวสเปน เขาเริ่มแบ่งทรัพยากรที่ มีค่าที่สุดคือประชากรพื้นเมือง ผ่านสถาบันที่เรียกว่า เอนโกเมียนดา สถาบัน ดังกล่าวเริ่มปรากฏครั้งแรกเมื่อสเปนยึดตอนใต้คืนจากชาวอาหรับมัวร์ใน ศตวรรษที่สิบห้า ทว่าในโลกใหม่สถาบันนี้ร้ายกาจขึ้นมาก คือกลายเป็นการ จัดสรรชาวพื้นเมืองให้จ่ายบรรณาการและมอบแรงงาน ให้กับชาวสเปนผู้มี ต�าแหน่งเป็นเอนโกเมนเดโร แลกกับการที่เอนโกเมนเดโรมีหน้าที่พาพวกเขา เข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ บาร์โตโลเม เดลาสกาซัส เป็นนักบวชคณะดอมินิกันและนักวิจารณ์ ระบบอาณานิคมของสเปนรายแรกและหนึ่งในรายที่หัวรุนแรงที่สุด เขามาถึง เกาะฮิสปานิโอลาในปกครองของสเปนเมื่อปี 1502 กับกองเรือที่น�าโดย ข้าหลวงปกครองคนใหม่คือ นิโกลัส เดโอบันโด เมื่อเขาเห็นภาพการทารุณ กรรมและเอาเปรียบคนพื้นเมืองทุกวัน เขาก็ตาสว่างและเป็นเดือดเป็นร้อนใจ ขึ้นเรื่อยๆ เขาเป็นบาทหลวงร่วมภารกิจพิชิตคิวบาของสเปน แถมยังได้รับ เอนโกเมียนดาไว้คอยรับใช้ด้วย แต่เขากลับสละสิทธิ์นั้น แล้วหันมาเริ่มรณรงค์ เพื่อปฏิรูปสถาบันอาณานิคมของสเปนเสียใหม่ เขาเขียนหนังสือขึ้นในปี 1542 ชื่อว่า บันทึกฉบับย่อว่าด้วยการท�าลายล้างหมู่เกาะอินดีส์ (A Short Account of the Destruction of the Indies) ซึ่งโจมตีการปกครองอันป่าเถื่อนของ สเปนอย่างรุนแรง เขากล่าวไว้ดังนี้