SlideShare a Scribd company logo
Enviar búsqueda
Cargar
Iniciar sesión
Registrarse
Dasta4 masterplanchapter1
Denunciar
SukhothaiA
Seguir
17 de Jun de 2015
•
0 recomendaciones
•
261 vistas
Dasta4 masterplanchapter1
17 de Jun de 2015
•
0 recomendaciones
•
261 vistas
SukhothaiA
Seguir
Denunciar
Gobierno y org. sin ánimo de lucro
Dasta4 masterplanchapter1
1 de 4
Descargar ahora
1
de
4
Recomendados
อยุธยา เมืองมรดกโลก
Taraya Srivilas
442 vistas
•
3 diapositivas
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในประเทศไทย
Aunaun Hoom
1.9K vistas
•
5 diapositivas
Social media to sell to other businesses
Brainstorm Digital
431 vistas
•
59 diapositivas
Towards the Digital Research Enterprise
Philip Bourne
904 vistas
•
16 diapositivas
iCAMPResearchPaper_ObjectRecognition (2)
Moniroth Suon
135 vistas
•
11 diapositivas
Veterans%2520Call_About%2520Us (1)
Angel Gonzalez
126 vistas
•
10 diapositivas
Más contenido relacionado
Destacado
cardio_gg-17102016072220
Gianluca Gorlani
70 vistas
•
3 diapositivas
Visualizing the Structural Variome (VMLS-Eurovis 2013)
Jan Aerts
945 vistas
•
26 diapositivas
ITSecurity_DDOS_Mitigation
R. Blake Martin
434 vistas
•
24 diapositivas
Employee Selection
Ashish Chaulagain
11.1K vistas
•
39 diapositivas
Civilizacion egipcia
evassm
402 vistas
•
7 diapositivas
Big Data in Biomedicine – An NIH Perspective
Philip Bourne
1.4K vistas
•
36 diapositivas
Destacado
(11)
cardio_gg-17102016072220
Gianluca Gorlani
•
70 vistas
Visualizing the Structural Variome (VMLS-Eurovis 2013)
Jan Aerts
•
945 vistas
ITSecurity_DDOS_Mitigation
R. Blake Martin
•
434 vistas
Employee Selection
Ashish Chaulagain
•
11.1K vistas
Civilizacion egipcia
evassm
•
402 vistas
Big Data in Biomedicine – An NIH Perspective
Philip Bourne
•
1.4K vistas
K to 12 TLE Curriculum Guide for Household Services
Dr. Joy Kenneth Sala Biasong
•
28K vistas
LUVRules Social Purpose Grant
Infinity Hospitality & Entertainment International
•
543 vistas
Employee Selection Systems
Infinity Hospitality & Entertainment International
•
1.1K vistas
Restaurant Revenue Forecasting
Infinity Hospitality & Entertainment International
•
1.8K vistas
A Business Plan On Catering Services (Wholesome Catering Services)
Sneha J Chouhan
•
55.8K vistas
Dasta4 masterplanchapter1
1.
1-1 บทที่ 1 บทนํา 1.1 หลักการและเหตุผล สุโขทัยเคยเป็นราชธานีของไทย
มีความเจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการปกครอง ศาสนา และเศรษฐกิจ อารยธรรมความเจริญของอาณาจักรสุโขทัย ยังปรากฏให้เห็นจากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่เหลือตกทอด มาถึงปัจจุบันนี้ ในการประชุม ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย เมื่อ พ.ศ. 2534 คณะกรรมการมรดกโลกแห่ง อนุสัญญาคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่ง สหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร เป็นมรดกโลก ทางวัฒนธรรม เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฏแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น นับเป็นตัวแทน ของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกําเนิดของการสร้างประเทศ กรมศิลปากร ได้ทําการบูรณะโบราณสถานทั้ง 3 แห่ง โดยได้ประกาศขึ้นทะเบียนบริเวณเมืองเก่า สุโขทัยเป็นเขตโบราณสถาน เมื่อ พ.ศ. 2518 มีพื้นที่ประมาณ 70 ตารางกิโลเมตร หรือ 43,750 ไร่ ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน ประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 สําหรับอุทยาน ประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยตั้งอยู่ที่ตําบลศรีสัชนาลัย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตรหรือ 28,000 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 และอุทยาน ประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอําเภอเมือง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ําปิง กรมศิลปากรได้กําหนด เขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,114 ไร่ แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกําแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกําแพงเมือง หรือที่เรียก กันว่า “เขตอรัญญิก” พื้นที่ 1,611 ไร่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยานประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2534 อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมีส่วนสําคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การอนุรักษ์โบราณสถานกับการพัฒนาชุมชนภายในเขตโบราณสถานและชุมชนโดยรอบ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบ ต่อโบราณสถานและสภาพแวดล้อม โดยขาดการบูรณาการในการบริหารการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในอนาคตอาจจะ ส่งผลให้โบราณสถานได้รับความเสียหาย และไม่อาจจะดํารงรักษาไว้ได้ หากมิได้กําหนดแผนแม่บทในการ บริหารการพัฒนาที่ถูกต้องและเหมาะสม
2.
บทที่ 1 บทนํา 1-2 องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) หรือ อพท. ร่วมกับ จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกําแพงเพชร ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลกของไทย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร ได้ดําเนินการศึกษาความเหมาะสมกับการประกาศพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร เสนอคณะกรรมการบริหาร การพัฒนาพื้นที่เศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (กพท.) นําเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554 ให้ความเห็นชอบการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษฯ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารการ พัฒนาพื้นที่พิเศษ เป็นไปตามแนวทางการประกาศพื้นที่พิเศษฯ อพท. จึงได้จัดทําโครงการจัดทําแผนแม่บทบูรณาการ บริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร ตามนโยบายของรัฐบาลในการปรับปรุงการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเป็นต้นแบบ การบริหารการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และมรดกโลกของประเทศไทย อพท. ได้ว่าจ้างบริษัท เทสโก้ จํากัด เป็นผู้ดําเนินการศึกษา โครงการจัดทําแผนแม่บทบูรณาการการ บริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร ตามสัญญาจ้างเลขที่ 4/2555 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 1.2 วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอื่นของรัฐและภาคีต่างๆ สําหรับ การอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ทั้ง 3 แห่ง ตามแนวทางของการบริหารจัดการแหล่งมรดกโลก 2) เพื่อสร้างต้นแบบในการบริหารการพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สําหรับแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ และเป็นมรดกโลกของไทย 3) เพื่อจัดทําแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืนสําหรับอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร ให้สอดคล้องกับข้อผูกพันของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก 1.3 พื้นที่ดําเนินงาน พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร แสดงดัง รูปที่ 1.3-1 1.4 ขอบเขตการดําเนินงาน ในการจัดทําแผนแม่บทครอบคลุมพื้นที่ศึกษา มีลักษณะเป็นแผนงานในระยะยาว (ปีที่ 1-10) และ จัดทําแผนปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย การกําหนดโครงการและกิจกรรมต่างๆ โดยวิเคราะห์จัดลําดับความสําคัญ และความจําเป็นเร่งด่วน เพื่อจัดทําเป็นแผนงานโครงการระยะที่ 1 แผนงานโครงการระยะปานกลาง และ แผนงานโครงการในระยะยาว ครอบคลุมสาระสําคัญในการดําเนินงาน ดังนี้
3.
บทที่ 1 บทนํา 1-3 รูปที่
1.3-1 แสดงที่ตั้งของพื้นที่ดําเนินงาน
4.
บทที่ 1 บทนํา 1-4 1)
การอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ทั้งสามแห่งในเชิงวิชาการด้านโบราณคดี เพื่อการฟื้นฟู บูรณะแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ตามข้อผูกพันของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก 2) การจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีการทับซ้อนกันของพื้นที่ตั้งชุมชนกับอุทยานประวัติศาสตร์ การปรับปรุงพื้นที่ภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ และการปรับปรุงภูมิทัศน์สภาพแวดล้อมโดยรอบ เพื่อวางผัง พื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่พัฒนา โดยจัดทําแผนผังทางเลือก (Alternative Plan) 3) การมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาทําความเข้าใจและแก้ไขปัญหาเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเน้นกระบวนการสร้าง องค์ความรู้เพื่อการบริหารการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 4) การบริหารจัดการพื้นที่แหล่งมรดกโลก โครงสร้างการบริหารจัดการ องค์กรที่เกี่ยวข้อง ภารกิจ อํานาจหน้าที่รับผิดชอบขององค์กรเหล่านั้น วิธีการประสานงานระหว่างหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพและ สามารถนําแผนไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 5) การส่งเสริมการลงทุนพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การส่งเสริมการ ประกอบอาชีพของชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว การ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจ การให้บริการนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ การพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานการให้บริการ และการสร้างมาตรการจูงใจให้เกิดการพัฒนากิจกรรมท่องเที่ยว และดูแลรักษา สภาพแวดล้อม 6) การส่งเสริมการตลาด โดยมีแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว ให้กับอุทยานฯ การสร้างเรื่องราวในลักษณะภาพยนตร์ ละคร และสารคดีประวัติศาสตร์สุโขทัย การสร้าง ศูนย์บริการข้อมูลด้านการท่องเที่ยว การดําเนินกลยุทธ์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ การสร้างความร่วมมือ ระหว่างกลุ่มธุรกิจต่างๆ และการศึกษากลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Markent Segment) ของแหล่งมรดกโลก 7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอํานวยความสะดวก เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองและ การอนุรักษ์โบราณสถานควบคู่กัน โดยคํานึงถึงเกณฑ์ขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ทุกด้าน และกําหนดตัวชี้วัดมาตรฐานการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism Standard Indicators) 8) การประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ เพื่อให้มีการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร การแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง โดยดําเนินการ - การสํารวจความคิดเห็น ซึ่งอาจทําโดยการสัมภาษณ์รายบุคคล การเปิดให้แสดงความคิดเห็น ทางช่องทางต่างๆ เช่น ระบบเครือข่ายสารสนเทศ ไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร - การเปิดโอกาสให้ประชาชนมารับข้อมูล และแสดงความคิดเห็นต่อ อพท. โดยจัดให้มีการ ประชุม โดยเฉพาะการประชุมปรึกษาหารือ ซึ่งอาจทําโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีประกอบกัน ได้แก่ การประชาพิจารณ์ การอภิปรายสาธารณะ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การประชุมเชิงปฏิบัติการ การ ประชุมระดับตัวแทนของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย และการจัดประชุมใหญ่อย่างน้อย 3 ครั้ง โดยเชิญผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง องค์กร ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ ประชาชน และสื่อมวลชน เป็นต้น - สรุปผลการประชาสัมพันธ์ และรับฟังความคิดเห็น เพื่อประมวลผลการแสดงความคิดเห็น และให้นําเสนอและรายงานทุกฝ่าย