SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 5
Descargar para leer sin conexión
คู่มือชีวิต ตอน 40
อาสาฬหบูชา (2) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมที่ขับเคลื่อนโลก
โดย นพพร เทพสิทธา
เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1154 วันที่ 11 กรกฎาคม 2557
เมื่อ 2,602 ปีก่อน ในวันเพ็ญเดือน 8 2 เดือนหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงแสดง
ธรรมครั้งแรก โปรดปัญจวัคคีย์ ด้วยพระธรรมที่เรียกว่า “พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ซึ่ง
หมายถึง พระธรรมเทศนาว่าด้วยการหมุนวงล้อแห่งธรรม หรือ พระธรรมจักร ให้
ขับเคลื่อนไปข้างหน้า เป็นผลให้ท่านโกณฑัญญะ บรรลุธรรมขั้นต้น (โสดาบัน) และ ขอ
อุปสมบทจากพระพุทธเจ้า เป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา เกิด พระรัตนตรัย ได้แก่
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบถ้วนในพระพุทธศาสนา เป็นครั้งแรก
พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงถือเป็ น พระธรรม หรือ คาสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า ที่มีความสาคัญอย่างยิ่ง เป็ นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกอย่างดี
แล้ว ให้เป็นพระธรรมบทแรกสาหรับหมุนกงล้อแห่งพระธรรม ประกาศให้โลกได้รับรู้
ว่า บัดนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ด้วยการตรัสรู้ธรรมที่ให้ผลในการดับทุกข์ได้จริง
และ พระองค์ก็ทรงเผยแพร่ธรรมนั้นเพื่อคุณประโยชน์แก่โลก ผู้ที่เข้าใจและน้อม
นาไปปฏิบัติ สามารถบรรลุธรรมตามพระองค์ได้จริงเช่นกัน
พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นธรรมที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และนามาปฏิบัติ
ได้อย่างไม่จากัดกาล สิ่งแวดล้อม คน และ เรื่องราว ถ้าเข้าใจหลักการและความหมาย
อย่างถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง
รอบแล้วรอบเล่า
สรุปเนื้อหาของ พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นประเด็นๆ ดังนี้
ประการที่ 1 เรื่อง ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรา เริ่มศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยการมีความเข้าใจที่
ถูกต้องและเดินอยู่บน ทางสายกลาง ไม่หมกมุ่นยึดติด ไม่อยากมีอยากเป็นอยากได้ สิ่งที่
เป็นของคู่กันและตรงกันข้าม ด้านใดด้านหนึ่งแบบสุดโต่ง แต่ต้องเข้าใจทั้งสองด้านอย่างดี รู้จัก
เลือกใช้แต่ละด้านอย่างเหมาะสม เหมือนเหรียญมีสองด้าน เมื่อขึ้นมาใช้ ไม่ว่าหงายด้านไหน
ขึ้น อีกด้านหนึ่งก็ยังอยู่เสมอ ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลาหงายขึ้นมาให้เห็น
พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ดารงชีวิต ทางาน หรือ มุ่งค้นหาความจริงของชีวิต โดยไม่ปล่อย
ตัวให้หลงระเริงอยู่กับความสุขความเพลิดเพลินที่เกิดจากการบริโภคทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
และ จิตใจ อย่างไม่รู้จักพอ ไม่มีสติ และ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ทาอะไรที่ทรมานร่างกายและ
จิตใจ จนเกินไป โดยไม่เกิดคุณค่าอะไรกับชีวิต รวมถึงการทางาน การใช้ร่างกายที่หักโหมเป็น
โทษต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยไม่รู้จักวางแผนจัดการและประมาณตนเอง
การเข้าใจทางสายกลาง ก็คือ การเข้าใจเรื่องทวินิยม เช่น เรื่องโลกธรรม 8 (ลาภ-เสื่อม
ลาภ ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์) อย่างที่หลวงพ่อชา สุภัทโท เคยสอนไว้ว่า “ถ้าเรา
อยากได้ยาว ก็จะรู้สึกว่าอันนี้สั้นไป ถ้าอยากไปเร็ว ก็จะรู้สึกว่าที่ทาอยู่เป็นอยู่นี้ช้าไป
ถ้าไม่มีความอยาก ก็จะไม่รู้สึกยาว-สั้น ช้า-เร็ว”
เมื่อใดที่สุขมากๆ ก็ให้พึงระวังว่า มีโอกาสที่ทุกข์มากๆจะตามมา เพราะ ถ้าสุขมากๆได้
ก็ต้องมีทุกข์มากๆได้เช่นกัน ถ้าไม่อยากทุกข์มาก ก็ต้องไม่ปล่อยให้สุขมาก มาครอบงาจิตใจเรา
จนอยากจะได้แต่สุขมากๆ เรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ให้พิจารณาในทานองเดียวกัน
ดังนั้น ถ้าเข้าใจทวินิยมเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง ก็จะเข้าใจเรื่องทางสาย
กลางได้ทั้งหมด
สิ่งที่เป็นของคู่กันและตรงกันข้ามนี้ นอกจากเกิดขึ้นเพราะความรู้สึกนึกคิด ความ
ยึดติดของเราแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้น สร้างขึ้นจากสิ่งเราที่เรียนรู้จากธรรมชาติ เช่น วัตถุ
นิยม-จิตนิยม, วิทยาศาสตร์-ศิลปะศาสตร์, Hard Skill-Soft Skill, Tangible Value-Intangible
Value ฯลฯ และ ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นปกติในธรรมชาติ เช่น กาย-ใจ, รูป-นาม, กลางคืน-
กลางวัน, ของแข็ง-ของเหลว, สสาร-พลังงาน, ขั้วบวก-ขั้วลบ, 0-1 ฯลฯ ซึ่งเต๋า เรียกรวมๆว่า
หยิน-หยาง
การเข้าใจความจริงของธรรมชาติ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็ นของคู่
กันและตรงกันข้ามนี้ ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่อการเข้าใจชีวิต ยังให้ประโยชน์มหาศาล
ทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่อง ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ E = MC2 หรือ เรื่อง Digital
ที่ทาให้โลกวิวัฒนาการมาเป็นโลกยุค IT ที่ไร้พรมแดนในปัจจุบัน
ดังนั้น เรื่อง ทางสายกลาง ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา จึงเป็นความจริง ที่เป็นกฎของ
ธรรมชาติ เช่นเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ และ ทฤษฎีในการบริหารจัดการทั้งหลาย ที่เราควร
น้อมนามาใช้ในชีวิตประจาวัน และ การทางาน เพราะจะให้ประโยชน์และเกิดคุณค่ามหาศาล
ได้เช่นกัน
ประการที่สอง เรื่อง กฎของเหตุและผล
ในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนเราว่า เมื่อมีทุกข์ ย่อมมีเหตุของ
ทุกข์ ถ้าต้องการดับทุกข์ ก็ต้องมีหนทางอันเป็นเหตุให้ดับทุกข์ได้
พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ให้เราเห็นกฎของธรรมชาติอีกข้อหนึ่งที่ชัดเจนมาก ก็คือ
กฎของเหตุและผล ซึ่งเป็นกฎพื้นฐานของธรรมชาติ
พระธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอน เป็นความจริงของธรรมชาติ มีอยู่แล้วในธรรมชาติ
พระองค์ไม่ได้คิดขึ้นมาใหม่ พระธรรมจึงเป็นเช่นเดียวกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายค้นพบ
จากธรรมชาติ
พระพุทธเจ้าทรงทาให้เราเข้าใจหลักการสาคัญที่ว่า สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น ไม่ว่าทาง
กายหรือทางใจ ย่อมเป็นผลมาจากเหตุออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างทั้งสิ้น อยู่ที่
เราจะมีปัญญา รู้หรือไม่รู้ และ หากจะดับผลดังกล่าว ก็ต้องหาเหตุให้พบก่อน และดับที่เหตุ
นั้น ผลจึงจะดับลงหรือหมดไป เช่นเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ที่บอกเราว่า แรงกระทา
เท่ากับแรงย้อนกลับ (Action = Reaction) หรือ คติพจน์ทั่วไปที่เราเคยได้ยินได้ฟัง เช่น
ทากรรมใดไว้ ก็จะได้รับผลแห่งกรรมที่ทานั้นเสมอ
ไม่มีสิ่งใดที่ได้มา โดยไม่เสียไป ไม่มีสิ่งใดที่เสียไป โดยไม่ได้มา
ทาแค่ไหนก็ได้แค่นั้น ถ้าหวังจะให้ได้มากกว่าเหตุที่ทา ย่อมเป็นไปไม่ได้
ทาเต็มที่แล้ว ทาไมไม่ได้ผลอย่างที่ทา ก็เพราะ ยังมีเหตุอื่นที่เราไม่รู้
คนคานวณ ไม่สู้ฟ้ าลิขิต เหนือฟ้ ายังมีฟ้ า ฯลฯ
ดังนั้น เมื่อเราทาสิ่งใดอย่างเต็มที่แล้ว ดีที่สุดแล้ว ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องผลว่าจะดีหรือ
เลวอย่างไร เพราะ ผลย่อมออกมาเท่ากับเหตุที่เราทา นอกเสียจากมีเหตุอื่นที่เราไม่สามารถ
ควบคุมได้ ซึ่งก็ถือว่า เป็นเรื่องสุดวิสัย ไม่สามารถทาอะไรได้มากไปกว่านี้แล้ว ทุกข์ใจไปก็ไม่มี
ประโยชน์ หรือ จะไปอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยก็ป่วยการ
พระพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่า เป็นศาสนาแห่งปัญญา และ เป็นศาสนาที่ต้องลง
มือทาด้วยตนเอง ใครทา คนนั้นได้ ซึ่งชาวพุทธต้องเข้าใจเรื่อง “กฎแห่งกรรม” และ หลักการ
“ตนเป็นที่พึ่งของตน” จึงจะเรียกว่า เป็นชาวพุทธที่แท้จริง
นอกจากนี้กฎของเหตุและผล จะทาให้เราเข้าใจว่า ทุกคนมีทางเดินของตนเอง มี
เส้นทางชีวิตเฉพาะของตน ต่างคนต่างมีที่มาที่ไปต่างกัน จะให้เขาเหมือนเรา หรือ เราเหมือน
เขา ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะ ทุกสิ่งที่เป็นล้วนเกิดมาจากเหตุที่แตกต่างกันไป การกระทาของ
แต่ละคน ก็เกิดจากเหตุที่แตกต่างกัน ถ้าเราเข้าใจกฎข้อนี้เราก็จะมีสติ วางอุเบกขาได้ง่าย เมื่อ
เจอสิ่งที่ไม่ถูกใจ หรือ คนอื่นทาให้เราไม่พอใจ ชีวิตเราก็จะมีความสุขมากขึ้น
ธรรมะเพียง 2 ประการจาก พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่กล่าวมาข้างต้น ทา
ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา เป็น วิทยาศาสตร์ของ
ชีวิต เป็นความจริงของธรรมชาติ เป็นกฎของธรรมชาติ สามารถนามาประยุกต์ใช้ให้
เกิดคุณประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ได้อย่างดีทุกยุคทุกสมัย หากเราเข้าใจอย่าง
ถูกต้องและนามาใช้ด้วยปัญญา
ในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ยังมีธรรมะอีก 2 ประการ คือ เรื่อง อริยสัจจ์ 4 และ การ
หมุนกงล้อแห่งพระธรรม ซึ่งจะขอกล่าวในตอนต่อไป

Más contenido relacionado

Destacado (13)

Christchurch Cathedral
 Christchurch Cathedral  Christchurch Cathedral
Christchurch Cathedral
 
Early Settlers
Early Settlers Early Settlers
Early Settlers
 
H.españa . Museo Canario. Luna Medina y Karina Hdez 2.A
H.españa . Museo Canario. Luna Medina y Karina Hdez 2.AH.españa . Museo Canario. Luna Medina y Karina Hdez 2.A
H.españa . Museo Canario. Luna Medina y Karina Hdez 2.A
 
Introducción
IntroducciónIntroducción
Introducción
 
Era digital
Era digitalEra digital
Era digital
 
Composicion
ComposicionComposicion
Composicion
 
Presentación
PresentaciónPresentación
Presentación
 
Folha 245
Folha 245Folha 245
Folha 245
 
832 3044-1-pb
832 3044-1-pb832 3044-1-pb
832 3044-1-pb
 
Casa Ferreira - Institucional
Casa Ferreira - InstitucionalCasa Ferreira - Institucional
Casa Ferreira - Institucional
 
Apresentação apartamento savassi 3 quartos com área priv.
Apresentação apartamento savassi 3 quartos com área priv.Apresentação apartamento savassi 3 quartos com área priv.
Apresentação apartamento savassi 3 quartos com área priv.
 
Estrucuturasde interaccion
Estrucuturasde interaccionEstrucuturasde interaccion
Estrucuturasde interaccion
 
Semana 8
Semana 8Semana 8
Semana 8
 

Más de Taweedham Dhamtawee

2015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 5
2015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 52015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 5
2015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 5Taweedham Dhamtawee
 
2014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v2
2014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v22014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v2
2014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v2Taweedham Dhamtawee
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตTaweedham Dhamtawee
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีTaweedham Dhamtawee
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตTaweedham Dhamtawee
 
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมTaweedham Dhamtawee
 

Más de Taweedham Dhamtawee (7)

2015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 5
2015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 52015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 5
2015-01-09 คู่มือชีวิต ตอน 65 เนกขัมมะ การออกบวช ตอน 5
 
Exim CG Corner 2557-12
Exim CG Corner 2557-12Exim CG Corner 2557-12
Exim CG Corner 2557-12
 
2014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v2
2014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v22014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v2
2014-01-22 พุทธศาสนา 3.0 กับ CEO ทางธรรม v2
 
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโตประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสีธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ธรรมะเสวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
 
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรมธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
ธรรมะเสวนา พระพุทธและพระธรรม
 

คู่มือชีวิต ตอน 40 2014-07-11 อาสาฬหบูชา (2) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมที่ขับเคลื่อนโลก

  • 1. คู่มือชีวิต ตอน 40 อาสาฬหบูชา (2) ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระธรรมที่ขับเคลื่อนโลก โดย นพพร เทพสิทธา เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ 1154 วันที่ 11 กรกฎาคม 2557 เมื่อ 2,602 ปีก่อน ในวันเพ็ญเดือน 8 2 เดือนหลังจากตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงแสดง ธรรมครั้งแรก โปรดปัญจวัคคีย์ ด้วยพระธรรมที่เรียกว่า “พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ซึ่ง หมายถึง พระธรรมเทศนาว่าด้วยการหมุนวงล้อแห่งธรรม หรือ พระธรรมจักร ให้ ขับเคลื่อนไปข้างหน้า เป็นผลให้ท่านโกณฑัญญะ บรรลุธรรมขั้นต้น (โสดาบัน) และ ขอ อุปสมบทจากพระพุทธเจ้า เป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา เกิด พระรัตนตรัย ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครบถ้วนในพระพุทธศาสนา เป็นครั้งแรก พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร จึงถือเป็ น พระธรรม หรือ คาสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า ที่มีความสาคัญอย่างยิ่ง เป็ นพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงเลือกอย่างดี แล้ว ให้เป็นพระธรรมบทแรกสาหรับหมุนกงล้อแห่งพระธรรม ประกาศให้โลกได้รับรู้ ว่า บัดนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ด้วยการตรัสรู้ธรรมที่ให้ผลในการดับทุกข์ได้จริง และ พระองค์ก็ทรงเผยแพร่ธรรมนั้นเพื่อคุณประโยชน์แก่โลก ผู้ที่เข้าใจและน้อม นาไปปฏิบัติ สามารถบรรลุธรรมตามพระองค์ได้จริงเช่นกัน พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นธรรมที่ทุกคนสามารถเรียนรู้และนามาปฏิบัติ ได้อย่างไม่จากัดกาล สิ่งแวดล้อม คน และ เรื่องราว ถ้าเข้าใจหลักการและความหมาย อย่างถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรม มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง รอบแล้วรอบเล่า สรุปเนื้อหาของ พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นประเด็นๆ ดังนี้
  • 2. ประการที่ 1 เรื่อง ทางสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เรา เริ่มศึกษาและปฏิบัติธรรมด้วยการมีความเข้าใจที่ ถูกต้องและเดินอยู่บน ทางสายกลาง ไม่หมกมุ่นยึดติด ไม่อยากมีอยากเป็นอยากได้ สิ่งที่ เป็นของคู่กันและตรงกันข้าม ด้านใดด้านหนึ่งแบบสุดโต่ง แต่ต้องเข้าใจทั้งสองด้านอย่างดี รู้จัก เลือกใช้แต่ละด้านอย่างเหมาะสม เหมือนเหรียญมีสองด้าน เมื่อขึ้นมาใช้ ไม่ว่าหงายด้านไหน ขึ้น อีกด้านหนึ่งก็ยังอยู่เสมอ ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ยังไม่ถึงเวลาหงายขึ้นมาให้เห็น พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ดารงชีวิต ทางาน หรือ มุ่งค้นหาความจริงของชีวิต โดยไม่ปล่อย ตัวให้หลงระเริงอยู่กับความสุขความเพลิดเพลินที่เกิดจากการบริโภคทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และ จิตใจ อย่างไม่รู้จักพอ ไม่มีสติ และ ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ทาอะไรที่ทรมานร่างกายและ จิตใจ จนเกินไป โดยไม่เกิดคุณค่าอะไรกับชีวิต รวมถึงการทางาน การใช้ร่างกายที่หักโหมเป็น โทษต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยไม่รู้จักวางแผนจัดการและประมาณตนเอง การเข้าใจทางสายกลาง ก็คือ การเข้าใจเรื่องทวินิยม เช่น เรื่องโลกธรรม 8 (ลาภ-เสื่อม ลาภ ยศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์) อย่างที่หลวงพ่อชา สุภัทโท เคยสอนไว้ว่า “ถ้าเรา อยากได้ยาว ก็จะรู้สึกว่าอันนี้สั้นไป ถ้าอยากไปเร็ว ก็จะรู้สึกว่าที่ทาอยู่เป็นอยู่นี้ช้าไป ถ้าไม่มีความอยาก ก็จะไม่รู้สึกยาว-สั้น ช้า-เร็ว” เมื่อใดที่สุขมากๆ ก็ให้พึงระวังว่า มีโอกาสที่ทุกข์มากๆจะตามมา เพราะ ถ้าสุขมากๆได้ ก็ต้องมีทุกข์มากๆได้เช่นกัน ถ้าไม่อยากทุกข์มาก ก็ต้องไม่ปล่อยให้สุขมาก มาครอบงาจิตใจเรา จนอยากจะได้แต่สุขมากๆ เรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ให้พิจารณาในทานองเดียวกัน ดังนั้น ถ้าเข้าใจทวินิยมเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างแจ่มแจ้ง ก็จะเข้าใจเรื่องทางสาย กลางได้ทั้งหมด สิ่งที่เป็นของคู่กันและตรงกันข้ามนี้ นอกจากเกิดขึ้นเพราะความรู้สึกนึกคิด ความ ยึดติดของเราแล้ว ยังเป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้น สร้างขึ้นจากสิ่งเราที่เรียนรู้จากธรรมชาติ เช่น วัตถุ
  • 3. นิยม-จิตนิยม, วิทยาศาสตร์-ศิลปะศาสตร์, Hard Skill-Soft Skill, Tangible Value-Intangible Value ฯลฯ และ ก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วเป็นปกติในธรรมชาติ เช่น กาย-ใจ, รูป-นาม, กลางคืน- กลางวัน, ของแข็ง-ของเหลว, สสาร-พลังงาน, ขั้วบวก-ขั้วลบ, 0-1 ฯลฯ ซึ่งเต๋า เรียกรวมๆว่า หยิน-หยาง การเข้าใจความจริงของธรรมชาติ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เป็ นของคู่ กันและตรงกันข้ามนี้ ไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ต่อการเข้าใจชีวิต ยังให้ประโยชน์มหาศาล ทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น เรื่อง ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ E = MC2 หรือ เรื่อง Digital ที่ทาให้โลกวิวัฒนาการมาเป็นโลกยุค IT ที่ไร้พรมแดนในปัจจุบัน ดังนั้น เรื่อง ทางสายกลาง ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา จึงเป็นความจริง ที่เป็นกฎของ ธรรมชาติ เช่นเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ และ ทฤษฎีในการบริหารจัดการทั้งหลาย ที่เราควร น้อมนามาใช้ในชีวิตประจาวัน และ การทางาน เพราะจะให้ประโยชน์และเกิดคุณค่ามหาศาล ได้เช่นกัน ประการที่สอง เรื่อง กฎของเหตุและผล ในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนเราว่า เมื่อมีทุกข์ ย่อมมีเหตุของ ทุกข์ ถ้าต้องการดับทุกข์ ก็ต้องมีหนทางอันเป็นเหตุให้ดับทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้ให้เราเห็นกฎของธรรมชาติอีกข้อหนึ่งที่ชัดเจนมาก ก็คือ กฎของเหตุและผล ซึ่งเป็นกฎพื้นฐานของธรรมชาติ พระธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอน เป็นความจริงของธรรมชาติ มีอยู่แล้วในธรรมชาติ พระองค์ไม่ได้คิดขึ้นมาใหม่ พระธรรมจึงเป็นเช่นเดียวกับสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายค้นพบ จากธรรมชาติ พระพุทธเจ้าทรงทาให้เราเข้าใจหลักการสาคัญที่ว่า สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้น ไม่ว่าทาง กายหรือทางใจ ย่อมเป็นผลมาจากเหตุออย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างทั้งสิ้น อยู่ที่
  • 4. เราจะมีปัญญา รู้หรือไม่รู้ และ หากจะดับผลดังกล่าว ก็ต้องหาเหตุให้พบก่อน และดับที่เหตุ นั้น ผลจึงจะดับลงหรือหมดไป เช่นเดียวกับกฎทางวิทยาศาสตร์ที่บอกเราว่า แรงกระทา เท่ากับแรงย้อนกลับ (Action = Reaction) หรือ คติพจน์ทั่วไปที่เราเคยได้ยินได้ฟัง เช่น ทากรรมใดไว้ ก็จะได้รับผลแห่งกรรมที่ทานั้นเสมอ ไม่มีสิ่งใดที่ได้มา โดยไม่เสียไป ไม่มีสิ่งใดที่เสียไป โดยไม่ได้มา ทาแค่ไหนก็ได้แค่นั้น ถ้าหวังจะให้ได้มากกว่าเหตุที่ทา ย่อมเป็นไปไม่ได้ ทาเต็มที่แล้ว ทาไมไม่ได้ผลอย่างที่ทา ก็เพราะ ยังมีเหตุอื่นที่เราไม่รู้ คนคานวณ ไม่สู้ฟ้ าลิขิต เหนือฟ้ ายังมีฟ้ า ฯลฯ ดังนั้น เมื่อเราทาสิ่งใดอย่างเต็มที่แล้ว ดีที่สุดแล้ว ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องผลว่าจะดีหรือ เลวอย่างไร เพราะ ผลย่อมออกมาเท่ากับเหตุที่เราทา นอกเสียจากมีเหตุอื่นที่เราไม่สามารถ ควบคุมได้ ซึ่งก็ถือว่า เป็นเรื่องสุดวิสัย ไม่สามารถทาอะไรได้มากไปกว่านี้แล้ว ทุกข์ใจไปก็ไม่มี ประโยชน์ หรือ จะไปอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยก็ป่วยการ พระพุทธศาสนา จึงได้ชื่อว่า เป็นศาสนาแห่งปัญญา และ เป็นศาสนาที่ต้องลง มือทาด้วยตนเอง ใครทา คนนั้นได้ ซึ่งชาวพุทธต้องเข้าใจเรื่อง “กฎแห่งกรรม” และ หลักการ “ตนเป็นที่พึ่งของตน” จึงจะเรียกว่า เป็นชาวพุทธที่แท้จริง นอกจากนี้กฎของเหตุและผล จะทาให้เราเข้าใจว่า ทุกคนมีทางเดินของตนเอง มี เส้นทางชีวิตเฉพาะของตน ต่างคนต่างมีที่มาที่ไปต่างกัน จะให้เขาเหมือนเรา หรือ เราเหมือน เขา ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะ ทุกสิ่งที่เป็นล้วนเกิดมาจากเหตุที่แตกต่างกันไป การกระทาของ แต่ละคน ก็เกิดจากเหตุที่แตกต่างกัน ถ้าเราเข้าใจกฎข้อนี้เราก็จะมีสติ วางอุเบกขาได้ง่าย เมื่อ เจอสิ่งที่ไม่ถูกใจ หรือ คนอื่นทาให้เราไม่พอใจ ชีวิตเราก็จะมีความสุขมากขึ้น
  • 5. ธรรมะเพียง 2 ประการจาก พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ที่กล่าวมาข้างต้น ทา ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา เป็น วิทยาศาสตร์ของ ชีวิต เป็นความจริงของธรรมชาติ เป็นกฎของธรรมชาติ สามารถนามาประยุกต์ใช้ให้ เกิดคุณประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น ได้อย่างดีทุกยุคทุกสมัย หากเราเข้าใจอย่าง ถูกต้องและนามาใช้ด้วยปัญญา ในพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ยังมีธรรมะอีก 2 ประการ คือ เรื่อง อริยสัจจ์ 4 และ การ หมุนกงล้อแห่งพระธรรม ซึ่งจะขอกล่าวในตอนต่อไป