SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 14
Descargar para leer sin conexión
Guideline1:แนวทางการดูแลรักษาความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด
Guidelines for Management of Dyslipidemia
พญ. คุณหญิงพึงใจ งามอุโฆษ นพ. บรรหาร กออนันตกูล
นพ. ปยะมิตร ศรีธรา นพ. เกรียงไกร เฮงรัศมี
นพ. กัมมันต พันธุมจินดา นพ. สามารถ นิธินันทน
นพ. สุรัตน โคมินทร นพ. มนตชัย ชาลาประวรรต
นพ. วิทยา ศรีดามา นพ. เพชร รอดอารีย
นพ. ชัยชาญ ดีโรจนวงศ พญ. วรรณี นิธิยานันท
นิยามของระดับไขมันผิดปกติในเลือด (dyslipidemia)
ระดับไขมันผิดปกติในเลือด เปนภาวะที่รางกายมีระดับไขมันในเลือดตางไปจากเกณฑที่เหมาะสม เปนผล
ใหเสี่ยงตอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) และทําใหเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovas-
cular diseases) ตามมา ที่พบบอยคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) โรคหลอดเลือดสมอง
(cerebrovascular disease) และโรคหลอดเลือดแดงสวนปลาย (peripheral arterial disease) ความผิดปกติของ
ระดับไขมันในเลือดมีไดหลายรูปแบบไดแก
1. ระดับโคเลสเตอรอลรวม (total cholesterol, TC) สูงในเลือด
2. ระดับ low density lipoprotein-cholesterol (LDL-C) สูงในเลือด
3. ระดับ high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) ตํ่าในเลือด
4. ระดับไตรกลีเซอไรด (triglyceride, TG) สูงในเลือด
5. ระดับไขมันผิดปกติแบบใดแบบหนึ่งรวมกัน 2 อยางขึ้นไป
ผูที่มีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดเพียงอยางเดียวมีอัตราเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเชนกัน แตผูที่
มีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดควบคูกับระดับ HDL-C ตํ่าในเลือด มีอัตราเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น
เนื่องจากภาวะนี้ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณลักษณะของ LDL ที่เปน small dense LDL
Metabolic syndrome เปนกลุมอาการซึ่งประกอบดวยลักษณะอวนลงพุง (abdominal obesity),
atherogenic dyslipidemia (ระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดและระดับ HDL-C ตํ่าในเลือด โดยระดับโคเลสเตอรอล
รวม หรือ LDL-C อาจปกติหรือสูง และเปน small dense LDL particles), ความดันโลหิตสูง, ภาวะดื้ออินซูลินโดย
ระดับนํ้าตาลในเลือดปกติหรือสูง (insulin resistance with or without glucose intolerance) รวมทั้ง prothrombotic
และ proinflammatory states ในปจจุบันจําเปนที่จะตองวินิจฉัยและรักษา metabolic syndrome อยางจริงจัง เนื่อง
จากมีอัตราเสี่ยงตอการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น และเปนกลุมเปาหมายของการรักษาที่สําคัญรองจากกลุมที่มี
ระดับ LDL-C สูงในเลือดเพียงอยางเดียว
เกณฑที่ใชตัดสินระดับไขมันผิดปกติในเลือด
การศึกษาทางวิทยาการระบาดพบวา ผูที่มีความเสี่ยงนอยตอการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น ควรมีระดับ
ไขมันในเลือดดังนี้คือ TC <200 มก/ดล, LDL-C<100 มก/ดล, HDL-C ≥40 มก/ดล และ TG <150 มก/ดล นอกจากนี้
2
ควรมีอัตราสวน TC/ HDL-C <4.5 และ LDL-C/HDL-C < 3.0 ตารางที่ 1 แสดงถึงเกณฑที่ใชตัดสินภาวะระดับไขมัน
ผิดปกติในเลือด และความรุนแรงของความผิดปกติ ซึ่งกําหนดโดย National Cholesterol Education Program
(NCEP)1
ตารางที่ 1. เกณฑตัดสินภาวะผิดปกติของระดับไขมันในเลือด
ระดับไขมัน (มก/ดล) ความหมายทางคลินิก
LDL cholesterol
<100 เหมาะสม
100-129 ใกลเคียงคาเหมาะสม (ยอมรับได)
130-159 กํ้ากึ่ง
160-189 สูง
>190 สูงมาก
Total cholesterol
<200 เหมาะสม
200-239 กํ้ากึ่ง
>240 สูง
HDL cholesterol
<40 ตํ่า
>60 สูง
Triglyceride
<150 เหมาะสม
150-199 กํ้ากึ่ง
200-499 สูง
>500 สูงมาก
การสํารวจหาบุคคลที่มีภาวะไขมันผิดปกติในเลือด
ภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเปนปจจัยเสี่ยงสําคัญอยางหนึ่งของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเฉพาะอยาง
ยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะฉะนั้นตองทราบวาควรจะเริ่มตรวจหาภาวะไขมันผิดปกติในเลือดในประชากรกลุมใด
เมื่ออายุเทาใด และตรวจอะไรบาง มีรายละเอียดดังนี้
ประชากรกลุมที่ควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือด
ประชากรกลุมที่มีความเสี่ยงสูง เปนกลุมที่ควรไดรับการตรวจประเมินระดับไขมันในเลือด ไดแก
1. ผูปวยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอด
เลือดแดงสวนปลาย
2. ผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตอไปนี้
. อายุเพิ่มขึ้นคือ ผูชายอายุ >45 ป ผูหญิงอายุ >55 ป
3
. ประวัติครอบครัวคือ พี่นองหรือพอแมเปนโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผูชายเปนเมื่ออายุ <55 ป ผู
หญิงเปนเมื่ออายุ <65 ป
. โรคเบาหวาน
. ความดันโลหิตสูง >140/90 มม.ปรอท หรือไดรับยาลดความดันโลหิตอยู
. สูบบุหรี่
ผูที่มีโรคหรือภาวะที่พบความผิดปกติของไขมันในเลือดที่เสี่ยงตอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ไดแก
โรคอวน หรือภาวะนํ้าหนักเกิน (BMI >25 kg/m2
) รวมทั้งโรคไตที่เปนกลุมอาการเนโฟรติกและไตวายเรื้อรัง ควรไดรับ
การตรวจคัดกรองเชนกัน
3. ผูที่ตรวจรางกายพบลักษณะที่บงชี้วาระดับไขมันผิดปกติในเลือดไดแก corneal arcus, เอ็นรอยหวาย
หนาและแข็ง, tendon xanthoma, xanthelesma, palmar xanthoma, eruptive xanthoma
ควรตรวจเมื่อใด
การตรวจคัดกรองประชากรกลุมที่มีความเสี่ยงขางตน สามารถตรวจวัดระดับไขมันในเลือดไดทุกเมื่อ ทุก
เพศ และทุกวัย
การตรวจคัดกรองในประชากรทั่วไปคือประชากรกลุมที่ไมมีความเสี่ยงที่ระบุขางตน ควรจะทําในผูที่อาศัยใน
เขตเมืองที่มีอายุตั้งแต 35 ปขึ้นไป2, 3
ควรตรวจระดับไขมันอะไรบาง
1. โดยทั่วไปในผูที่มีปจจัยเสี่ยงและผูปวยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ควรตรวจระดับ TC, TG และ
HDL-C โดยกอนเจาะเลือดตองงดอาหาร ยกเวนนํ้าเปลา 9-12 ชั่วโมง คาที่ไดนํามาคํานวณหาระดับ
LDL-C จากสมการ2
LDL-C = TC - TG - HDL-C โดยระดับไตรกลีเซอไรดตองนอยกวา 400
5
มก/ดล ถาผลอยูในเกณฑปกติควรตรวจซํ้าทุก 1-3 ป
2. ในผูที่ไมมีปจจัยเสี่ยง แตมีอายุ 35 ปขึ้นไป ถาเปนไปไดควรตรวจทั้ง 3 อยางดังเชน ขอ 1 แตถาผูที่รับ
การตรวจเลือดไมไดอดอาหาร ใหตรวจเฉพาะ TC และ HDL-C ถาระดับอยูในเกณฑผิดปกติ จําเปน
ตองตรวจซํ้าโดยตรวจครบทั้ง 3 อยางเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา ถาระดับอยูในเกณฑปกติ ควร
ตรวจซํ้าทุก 5 ป เพื่อเฝาดูความเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด
การวัดระดับไขมันเลือด
การเตรียมตัวกอนเจาะเลือด
1. งดอาหารประมาณ 9-12 ชั่วโมง โดยใหดื่มนํ้าเปลาได
2. รับประทานอาหารดังเชนที่รับประทานอยูประจํา เปนระยะ 3 สัปดาหกอนการเจาะเลือด
3. ผูที่ตั้งครรภ ผูที่ปวยหนัก เชน ไดรับอุบัติเหตุอยางรุนแรง, ผูปวยหลังผาตัด, ผูปวยที่มีอาการติดเชื้อ การ
ตรวจไขมันในเลือดอาจไดผลที่คลาดเคลื่อน ควรตรวจเมื่อภาวะดังกลาวหายไปแลว 12 สัปดาห
4. ผูปวยที่มีการตายของกลามเนื้อหัวใจอยางเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) ควรเจาะภายใน
12 ชั่วโมงแรก หรือ 6 สัปดาหหลัง acute myocardial infarction จึงจะไดคาที่เปนจริง อยางไรก็ตาม
ผลที่เจาะไดในระยะเฉียบพลันแตพนระยะ 12 ชั่วโมงยังมีประโยชน ถาหากระดับไขมันสูงกวามาตร
ฐาน แสดงวาผูปวยมีระดับไขมันสูงในเลือดจริง สามารถใหการรักษาไดโดยไมตองรอเปนระยะเวลาถึง
6 สัปดาห
4
5. ผูปวยที่มีโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดทันที(ภายใน 48 ชั่วโมง) หรือ
12 สัปดาหหลังจากนั้น4
เทคนิคการเจาะเลือดและการตรวจวัดระดับไขมัน
1. ควรใหผูปวยอยูในทานั่งอยางนอย 5 นาที กอนเจาะ เพราะการเปลี่ยนทาจะทําให plasma volume
เปลี่ยนแปลง และผลที่ไดจะคลาดเคลื่อน
2. ควรเก็บเลือดที่ไดในหลอดที่ไมใสสารปองกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อที่จะใหไดเปนระดับไขมันในซีรั่ม
แตหากจําเปนก็อาจใชหลอดที่มีสารปองกันการแข็งตัวของเลือดได คาที่ไดจะเปนระดับไขมันในพลาส
มา ซึ่งจะตํ่ากวาใน serum ประมาณรอยละ 3
3. ควรสงเลือดไปตรวจในหองปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเชื่อถือได คือมี quality assurance และ quality
control ที่ตรวจสอบมาตรฐานของระดับโคเลสเตอรอลหลายๆ ระดับ โดยเฉพาะในระดับโคเลสเตอรอล
ตั้งแต 100 มก/ดล ถึง 300 มก/ดล โดยใชวิธีเอนไซมาติก
สาเหตุของภาวะไขมันผิดปกติในเลือด
ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดแบงไดเปน 3 กลุม5,6
ตามสาเหตุที่ทําใหเกิดขึ้นดังนี้
1. ไขมันผิดปกติในเลือดปฐมภูมิ (primary dyslipidemia)
2. ไขมันผิดปกติในเลือดทุติยภูมิ (seconary dyslipidemia)
3. ไขมันผิดปกติในเลือดจากอาหาร (dietary dyslipidemia)
ไขมันผิดปกติในเลือดปฐมภูมิ
ภาวะนี้เปนความผิดปกติจากสาเหตุทางพันธุกรรม โรคที่พบบอยในกลุมนี้คือ polygenic hypercholeste-
rolemia, familial hypercholesterolemia (FH) และ familial combined hyperlipidemia
ไขมันผิดปกติในเลือดทุติยภูมิ
ภาวะนี้เกิดจากโรคทางกายหรือยาบางชนิดที่มีผลตอกระบวนการสรางและ/หรือสลาย lipoprotein ทําให
ระดับไขมันผิดปกติในเลือด โดยสาเหตุที่ทําให LDL-C สูงไดแก hypothyroidism, cholestasis, nephrotic
syndrome, ยาบางชนิดเชน thiazides, progestogens, cyclosporine สาเหตุที่พบบอยที่ทําใหระดับไตรกลีเซอไรด
ในเลือดสูงไดแก โรคเบาหวาน โรคอวน ไตวาย การดื่มสุรา การตั้งครรภ ภาวะเครียด และยาบางชนิดเชน estrogen,
beta-blockers, glucocorticoids, thiazides, protease inhibitors สาเหตุที่ทําให HDL-C ในเลือดตํ่า ไดแก โรค
เบาหวาน โรคอวน การสูบบุหรี่ และยา anabolic steroids, testosterone, progestogen, beta-blockers เปนตน
ไขมันผิดปกติในเลือดจากอาหาร
การบริโภคอาหารที่กอใหเกิดภาวะ LDL-C ในเลือดสูง คือ อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงและ/หรือกรดไขมัน
อิ่มตัวมากไดแก ไขมันสัตว หมูสามชั้น เนย เนื้อสัตวที่มีมันมาก หนังสัตว ไสกรอก ไขแดง เครื่องในสัตว หอย
นางรม และ กะทิ เปนตน อาหารที่กอใหเกิดภาวะไตรกลีเซอไรดในเลือดสูงไดแก การรับประทานอาหารที่ใหพลังงาน
เกินความตองการของรางกาย การรับประทานอาหารที่มีคารโบไฮเดรต โดยเฉพาะนํ้าตาลฟรุกโทสและซูโครสสูง การ
ดื่มสุรา เปนตน
5
แนวทางการคนหาสาเหตุของภาวะไขมันผิดปกติในเลือด5,6
การซักประวัติ
ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง
กอนวัยอันควร ไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดแดงสวนปลายอุดตัน ประวัติโรค
ประจําตัว เชน โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคทัยรอยด ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน การดื่มสุรา การ
สูบบุหรี่ การออกกําลังกาย และการใชยาตางๆ
การตรวจรางกาย
บันทึกนํ้าหนักตัวและความสูง เพื่อคํานวณหา body mass index (BMI) โดยใชนํ้าหนักตัวเปนกิโลกรัม หาร
ดวยกําลังสองของความสูงเปนเมตร, ตรวจหา tendon xanthoma, การหนาตัวของ archiles tendon, xanthelasma,
corneal arcus, palmar xanthoma, eruptive xanthoma อาการแสดงของตอมธัยรอยดทํางานตํ่า ภาวะบวม รวม
ถึงการตรวจ reflex
การตรวจทางหองปฏิบัติการ
ควรตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ไดแก plasma glucose, การทํางานของตอมธัยรอยด (TSH), การ
ทํางานของตับ, creatinine, urine protein
การจัดระดับความเสี่ยงเพื่อควบคุมภาวะไขมันผิดปกติในเลือด (Risk stratification)
ระดับความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มี 3 ลําดับ1
ซึ่งมีผลตอการกําหนดระดับ LDL-C ที่พึง
มีในเลือด หากมีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดรวมดวย (>200 มก/ดล) ใหใชระดับ non-HDL-C แทน ระดับ non-
HDL-C คือคา total cholesterol ลบดวย HDL-C (ตารางที่ 2)
ระดับ 1 เปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไดแกผูที่เปนโรคหลอดเลือดหัวใจอยู
แลว และผูที่มีโรคอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงเทียบเทากับเปนโรคหลอดเลือดหัวใจไดแก
- โรคเบาหวาน
- Ischemic stroke ที่เกิดจากหลอดเลือด carotid artery, transient ischemic attack
- Symptomatic peripheral arterial disease
- Abdominal aortic aneurysm
ในกลุมนี้ระดับไขมันที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C <100 มก/ดล หรือ non-HDL-C <130 มก/ดล
ตารางที่ 2. ระดับไขมันที่พึงมีในเลือดตามระดับความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง
ระดับ LDL-C ที่
พึงมีในเลือด
(มก/ดล)
ระดับ TG ที่
พึงมีในเลือด
(มก/ดล)
ระดับ HDL-C ที่
พึงมีในเลือด
(มก/ดล)
ระดับ non-HDL-C
ที่พึงมีในเลือด*
(มก/ดล)
เปนโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ
เปนโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเทา
<100 <150 >40 <130
มีปจจัยเสี่ยง 2 ขอขึ้นไป <130 <150 >40 <160
มีปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ <160 <150 >40 <190
* ระดับ non-HDL-C ใชในกรณีที่ TG>200 มก/ดล
6
ระดับ 2 เปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงปานกลางในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไดแกผูที่มีปจจัยเสี่ยงตั้งแต 2
ขอขึ้นไป ปจจัยเสี่ยงที่สําคัญ ไมรวม LDL-C ไดแก
- สูบบุหรี่
- ความดันโลหิตสูง (ความดัน >140/90 mmHg หรือ ไดรับยาลดความดันโลหิต)
- HDL-C ตํ่า (< 40 มก./ดล)
- มีประวัติครอบครัวเปนโรคหลอดเลือดหัวใจ ผูชายเปนอายุนอยกวา 55 ป, ผูหญิงเปนอายุนอยกวา 65 ป
- อายุ ผูชายมากกวาหรือเทากับ 45 ป, ผูหญิงมากกวาหรือเทากับ 55 ป
ในกลุมนี้ไขมันระดับที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C <130 มก/ดล หรือ non-HDL-C <160 มก/ดล
ระดับ 3 เปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงนอยในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไดแกผูที่มีปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ ซึ่ง
เปนปจจัยเสี่ยงเชนเดียวกับระดับ 2 ในกลุมนี้ไขมันระดับที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C <160 มก/ดล หรือ non-HDL-C
<190 มก/ดล
ทั้งในระดับ 2 และ ระดับ 3 หากคา HDL-C >60 มก/ดล นับปจจัยเสี่ยงลดลง 1 ขอ
เปาหมายของการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
LDL-C ใชเปนเปาหมายสําหรับการกําหนดการรักษา1,7
โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต (Total
Lifestyle Change, TLC) และการรักษาดวยยาในลําดับความเสี่ยงที่แตกตางกัน
ตารางที่ 3. เปาหมายการรักษาและการกําหนดการรักษาตามลําดับความเสี่ยง
ลําดับความเสี่ยง LDL-C เปาหมาย
(มก/ดล)
ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนให
การรักษาโดยการปรับ
เปลี่ยนพฤติกรรม (มก/ดล)
ระดับ LDL-C ที่พิจารณา
ใหการรักษาดวยยา
(มก/ดล)
เปนโรคหลอดเลือด
หัวใจหรือเปนโรคที่มี
ความเสี่ยงเทียบเทา
<100 >100 >130
(100-129 ใหยาไดหากเปน
โรคหลอดเลือดหัวใจ )
* ปจจัยเสี่ยง 2 ขอขึ้นไป <130 >130 >160
* ปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ <160 >160 >190
* กรณีที่ HDL-C >60 มก/ดล นับปจจัยเสี่ยงลดลง 1 ขอ อนึ่งในประชากรไทยอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจตํ่ากวาประชากรใน
ประเทศแถบตะวันตก ดังนั้นประโยชนจากการใชยาในกลุมนี้อาจไมคุมคา
ในผูปวยที่เปนโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเทา การรักษาจัดเปนการปองกันทุติยภูมิ
(secondary prevention) ระดับเปาหมายของ LDL-C ในเลือดคือ นอยกวา 100 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนให
การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต คือ ระดับมากกวาหรือเทากับ 100 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่
พิจารณาใหการรักษาดวยยาคือระดับมากกวาหรือเทากับ 130 มก/ดล ผูที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหากระดับ LDL-C
อยูระหวาง 100-129 มก/ดล ควรพิจารณาใหยา ผูที่มีโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเทาโรคหลอดเลือดหัวใจพิจารณาใหยา
ตามความเหมาะสม
7
ในผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยง 2 ขอขึ้นไป การรักษาจัดเปนการปองกันปฐมภูมิ (primary prevention) แกผูที่มี
ความเสี่ยงสูงปานกลาง ระดับเปาหมายของ LDL-C ในเลือดคือ นอยกวา 130 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนใหการ
รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิตคือ ระดับมากกวาหรือเทากับ 130 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่
พิจารณาใหการรักษาดวยยาคือระดับมากกวาหรือเทากับ 160 มก/ดล
ในผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ การรักษาจัดเปนการปองกันปฐมภูมิแกผูที่มีความเสี่ยงสูงไมมาก ระดับเปา
หมายของ LDL-C ในเลือดคือ นอยกวา 160 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนใหการรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การดําเนินชีวิตคือ ระดับมากกวาหรือเทากับ 160 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่พิจารณาใหการรักษาดวยยาคือระดับมาก
กวาหรือเทากับ 190 มก/ดล
การปองกันทุติยภูมิไดประโยชนและเปนที่ยอมรับ8,9
การควบคุมใหระดับไขมันอยูในเกณฑที่ตองการมักจํา
เปนตองใชทั้งอาหารและยาลดไขมัน แตถาเปนการปองกันปฐมภูมิ การรักษาควรเนนหนักไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติ
กรรม การควบคุมอาหาร และการออกกําลังกาย หากระดับไขมันเกินเปาหมายเพียงเล็กนอย ยังไมจําเปนที่จะตองใช
ยาลดไขมันเสมอไป เนื่องจากในประชากรไทยอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจตํ่ากวาประชากรในประเทศแถบ
ตะวันตก ดังนั้นประโยชนจากการใชยาในกลุมที่มีความเสี่ยงสูงปานกลางและสูงไมมาก อาจไมคุมคาเพียงพอ
กรณีที่มีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดรวมดวย (>200 มก/ดล) ใหใชระดับ non-HDL-C เปนเปาหมาย
แทนการใชระดับ LDL-C โดย non-HDL-C จะมีคามากกวา LDL-C 30 มก/ดล ในทุกเปาหมาย
การรักษา
ประกอบดวย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต และการใหยาลดระดับไขมันเมื่อจําเปน1,2
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต (Total Lifestyle Change, TLC)
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต หมายถึงการกําจัดปจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการดําเนินชีวิตประจําวัน
ใหหมดสิ้นไป ไดแก การสูบบุหรี่ การนั่งการยืนอยูกับที่เปนสวนใหญในแตละวัน (sedentary life) ความเครียด รวม
กับการออกกําลังกาย และการรับประทานอาหารอยางถูกตอง
การสูบบุหรี่ ทําใหระดับ HDL-C ลดลง เปนอันตรายตอ endothelial cell และมีผลตอการเกิดลิ่มเลือดใน
หลอดเลือดแดง (thrombus) รวมทั้งทําใหเกร็ดเลือดจับตัวกัน10,11
การออกกําลังกาย อยางสมํ่าเสมอและพียงพอมีประโยชนมาก เพราะทําใหภาวะดื้ออินสุลินลดลง12
ทําให
ไขมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กลาวคือลดระดับไตรกลีเซอไรด และโคเลสเตอรอล เพิ่มระดับ HDL-C และมีผล
ตอ mononuclear cell ทําใหเซลลลดการหลั่ง cytokines ที่กระตุนขบวนการ atherosclerosis13
นอกจากนี้การออก
กําลังกายยังเปนวิธีการสําคัญในการลดและควบคุมนํ้าหนัก
กอนใหผูปวยออกกําลังกายควรตรวจสุขภาพกอน โดยเฉพาะผูปวยสูงอายุ หรือ ผูปวยที่เปนเบาหวานหรือ
ความดันโลหิตสูง ตองทดสอบระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูวามีโรคหรือภาวะที่เสี่ยงหรือเปนอุปสรรคตอการออก
กําลังกายหรือไม และจัดโปรแกรมการออกกําลังกายใหเหมาะสม ขอพึงปฏิบัติสําหรับการออกกําลังกายที่สําคัญ คือ
เริ่มออกกําลังกายแตนอยและคอยๆ เพิ่มขึ้น การออกกําลังกายที่ถูกตองประกอบดวย มีความสมํ่าเสมอ(frequency)
คือทุกวันหรือวันเวนวัน หรืออยางนอยสัปดาหละ 3 ครั้ง ระยะเวลาออกกําลัง (duration) นานเพียงพอ คือครั้งละ 30-
45 นาที ความหนักของการออกกําลังกาย (intensity) พอเหมาะ ซึ่งในทางปฏิบัติใชอัตราเตนของหัวใจเปนเกณฑ โดย
ออกกําลังใหไดอัตราเตนของหัวใจเปนรอยละ 60-85 ของอัตราเตนหัวใจสูงสุด อัตราเตนหัวใจสูงสุดไดจากการ
8
คํานวณโดยลบอายุเปนปออกจาก 220 การกําหนดอัตราเตนหัวใจระหวางออกกําลังกายขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานของ
ผูปวย การออกกําลังกายทุกครั้งตองมีการอุนเครื่อง (warm up) กอนออกกําลังกาย และการผอนคลาย (cool down)
หลังการออกกําลังกาย
การรับประทานอาหารที่ถูกตอง หมายถึงรับประทานอาหารที่มีพลังงานพอเหมาะ และมีอาหารหลักครบ
ทุกหมู โดยมีสัดสวนและปริมาณโคเลสเตอรอลที่เหมาะสม1,2
ซึ่งมีหลักการคือ
1. ปริมาณอาหารหรือพลังงาน (kilocalories) ตอวันพอเหมาะ ทําใหนํ้าหนักตัวอยูในเกณฑมาตรฐาน
2. ปริมาณไขมันตอวันใหพลังงานรอยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมด โดยตองคํานึงถึงประเภทของไขมันที่
ใช คือ ใหเปนกรดไขมันอิ่มตัวไมเกินรอยละ 7 ของพลังงานทั้งหมด เปนกรดไขมันไมอิ่มตัวหลายตําแหนงไมเกินรอย
ละ 10 ที่เหลือเปนกรดไขมันไมอิ่มตัวหนึ่งตําแหนง ดังนั้นควรปรุงอาหารดวยนํ้ามันพืชที่สกัดจากถั่วเหลือง ขาวโพด
เมล็ดดอกทานตะวัน หรือ เมล็ดดอกคําฝอย รําขาว มะกอก
นอกจากนี้ตองหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงดวยการทอด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใชไขมันที่ไดรับการแปรรูปใหแข็ง
เชน เนยเทียม (margarine) เนยขาว (shortening) โดยเฉพาะอยางยิ่งที่ทําจากนํ้ามันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เชน นํ้า
มันมะพราว นํ้ามันปาลม เพราะไขมันแปรรูปเหลานี้จะมี trans fatty acids สูง ปริมาณ trans fatty acids ที่รับ
ประทานจะทําใหระดับ LDL เพิ่มขึ้นเปนสัดสวนกัน14
3. ปริมาณโปรตีน ใหพลังงานรอยละ 12-15 ของพลังงานทั้งหมด
อาหารประเภทโปรตีนไดแกเนื้อสัตวและถั่ว ประเภทเนื้อสัตวยึดหลักดังนี้
ตองงด เครื่องในสัตวและหนังสัตวทุกชนิด ไมวาจะปรุงในรูปแบบใดๆ
ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานเล็กนอยเปนครั้งคราว
อาหารทะเล เชน กุง ปู ปลาหมึก เนื้อสัตวติดมันและหนัง ไขแดง และ เนื้อสัตวแปร
รูป เชน ไสกรอกทุกชนิด, แฮม, โบโลนยา, แหนม, หมูยอ, กุนเชียง
รับประทานไดประจํา
เนื้อปลาทุกชนิด ไก เปด หมู เนื้อ ที่ไมติดหนังและมัน ปริมาณที่ควรรับประทาน คือ
วันละ 2-4 ขีด (200-400 กรัม)หรือเนื้อสัตวสุก 4-6 ชอนโตะตอมื้อ ขึ้นกับนํ้าหนักตัว
และระดับไขมันในเลือด
4. มีโคเลสเตอรอลไมเกิน 200-300 มก/วัน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและระดับไขมันในเลือด
5. พลังงานที่เหลือ (รอยละ 55-65 ของพลังงานทั้งหมด) ไดจากคารโบไฮเดรท คือ อาหารประเภทแปง ซึ่ง
ควรเปนคารโบไอเดรทเชิงซอน ไดแก ธัญญพืชหรือขาว ถั่วชนิดตางๆ เนื่องจากจะใหทั้งใยอาหาร(dietary fiber) และ
โปรตีน ควรหลีกเลี่ยงการใชนํ้าตาลหรืออาหารที่มีนํ้าตาลปริมาณสูง
6. รับประทานผักปริมาณมาก และผลไมทุกมื้อ เพื่อใหไดใยอาหารมากพอ
7. ดื่มแอลกอฮอลไดบาง ไมควรเกิน 6 สวนตอสัปดาห (แอลกอฮอลหนึ่งสวนไดแก วิสกี้ 1½ ออนซ หรือ
เบียร 12 ออนซ หรือ ไวน 4 ออนซ) ยกเวนผูที่มีระดับไตรกลีเซอไรดในเลือดสูง หามดื่มแอลกอฮอล
การรักษาโดยการใชยา
หลังจากไดขจัดสาเหตุของระดับไขมันสูงในเลือด รวมทั้งใหการรักษาโดยการควบคุมอาหารและการออก
กําลังกายเปนระยะเวลา 3 – 6 เดือนแลว ระดับไขมันในเลือดยังสูงเกินเปาหมายที่กําหนดไว จึงพิจารณาใชยาเพื่อ
ชวยลดความผิดปกติของระดับไขมัน1,2
การเลือกยา หากเลือกไมถูกตองจะทําใหเสียคาใชจายมากโดยผลลัพธไมดี
ในปจจุบันยาลดไขมันที่ใชมีหลายกลุม15,16,17
(ตารางที่ 4, 5) ไดแก chelating agent (resin) ซึ่งไมถูกดูดซึมเขาราง
9
กาย ทําหนาที่ดึงโคเลสเตอรอลออก โดยยับยั้งการดูดซึมนํ้าดีกลับ ยาที่ลดการสรางโคเลสเตอรอล คือ statins และ
ยาที่เพิ่มการเผาผลาญโคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด ไดแก statins, fibrates และ nicotinic acid สวน
probucol นั้น เพิ่มการเผาผลาญโคเลสเตอรอลโดยไมมีผลตอไตรกลีเซอไรด การใชยาที่เหมาะสมนั้นตองพิจารณา
ชนิดและความรุนแรงของระดับไขมันที่ผิดปกติในเลือด แนวทางการเลือกใชยาแสดงไวในตารางที่ 4 สําหรับประสิทธิ
ภาพของยาชนิดตางๆแสดงไวในตารางที่ 5
ตารางที่ 4. การเลือกใชยาเพื่อลดระดับไขมันในเลือดตามรูปแบบไขมันที่ผิดปกติ
ชนิดและระดับไขมันสูงในเลือด กลุมยาที่เลือกใช ยากลุมที่อาจใชทดแทนได
LDL-C TC TG
130 - 190 200 – 400 ปกติ - Statins - Fibrates
มก/ดล มก/ดล - Bile acid sequestrant - Nicotinic acid analogue
- Nicotinic acid - Probucol
สูงไมเกิน - Statins + Fibrates - Fibrates
400 มก/ดล - Nicotinic acid - Nicotinic acid analogue
สูงเกิน 400
มก/ดล
- Fibrates + Statins - Nicotinic acid analogue +
Statins
- Nicotinic acid + Statins - Fish oil concentrate + Statins
เกิน 190
มก/ดล
เกิน 400
มก/ดล
ปกติ - Statins + Bile acid
sequestrant
- Statins + Probucol
เกิน 200
มก/ดล
- Statins + Fibrates
- Statins + Nicotinic
acid
- Statins + Nicotinic acid
analogue
ตํ่ากวา /เทา
กับ 130
มก/ดล
ตํ่ากวา /เทา
กับ 200
มก/ดล
สูงเกิน 400
มก/ดล
- Fibrates
- Nicotinic acid
- Nicotinic acid analogue
+ หมายถึงใชกลุมใดกลุมหนึ่งโดยเลือกกลุมหนาเปนหลัก หรือใชรวมกัน
แมวายากลุม statins จัดเปนยาที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด สําหรับผูที่มีระดับ TC สูง แตสําหรับผูที่เปน combined
hyperlipidemia คือ TC และ TG สูงรวมกัน ยากลุม fibrates และ nicotinic acid หรือ analogue จะไดผลดี การใช
statins จะมีผลตอ TG นอย (ตารางที่ 5) ในระยะหลังพบวา fish oil ขนาดสูงสามารถลด TG ไดดีมาก18,19
โดย
เฉพาะที่เปน fish oil concentrate ซึ่งใชเปนยา จะมีความบริสุทธิ์ของ n-3 fatty acids สูงถึงรอยละ 84 เมื่อเทียบกับ
fish oil ทั่วไป ซึ่งมี n-3 fatty acids ประมาณรอยละ 30 และมีโคเลสเตอรอลปนอยู
ในการเลือกใชยานั้นจําเปนตองระวังอาการไมพึงประสงค17
ซึ่งบางครั้งอาจเปนปญหาสุขภาพได แมวายา
สวนใหญทําใหเกิดอาการแนนทอง, คลื่นไส, ทองเสีย แตบางชนิด (resin) ทําใหเกิดอาการทองผูกไดมาก บางชนิด
(statins, fibrates) ทําใหตับอักเสบ หรือปวดเมื่อยกลามเนื้อจนเดินไมไหว โดยเฉพาะเมื่อใชในผูปวยที่มีปญหาตับ
10
และไตทํางานไมดี หรือมีการใชยารวมกันในขนาดสูง แมวาผลขางเคียงของยา statins จะเปน class effect แตใน
ยากลุมนี้ยังมีรายละเอียดในเมตะบอลิสมตางกัน20,21
เชน พบวา fluvastatin ถูกเผาผลาญผาน cytochrome P450
subtype 2C9 ซึ่งตางจากตัวอื่นๆที่เผาผลาญผาน cytochrome P450 3A4 เปนสวนใหญ จึงทําใหปญหา drug
interaction นอยลง และนาจะมีผลดีกับผูปวยที่ตองกินยาหลายๆชนิด สวน fish oil concentrate ทําให platelet
aggregration ลดลง18
เกิดจํ้าเลือดงาย โดยเฉพาะหากใชรวมกับ aspirin หรือยาที่ตาน platelet aggregration
อาการไมพึงประสงคที่พบบอยจากการใช nicotinic acid และ analogue คือ อาการคัน และ flushing เนื่องจากยามี
ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดจึงทําใหเกิด flushing ดังนั้นหากไดอธิบายใหผูปวยเขาใจผลขางเคียงนี้กอนใชยา จะทําใหการ
ยอมรับยาดีขึ้น การใช nicotinic acid นอกจากไดผลดีแลว ยังมีราคาถูกดวย
ตารางที่ 5. ประสิทธิภาพของยาชนิดตางๆ ตอระดับไขมันในเลือด
ชนิดของยา ขนาดเม็ด วิธีใช การเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด (%)
(มก.) (ตอวัน) TC LDL-C HDL-C TG
HMG CoAR inhibitors 16 - 50 18 - 50 3 - 16 5 - 30
Atorvastatin 10, 20 5 – 80 q pm. 29 - 50 29 - 50 3 - 8 13 - 30
Fluvastatin 20, 40, 80 20 – 80 q pm. 17 - 24 24 - 36 7 - 16 7 - 25
Simvastatin 10, 20, 40, 80 5 – 80 q pm. 28 - 36 28 - 40 6 - 12 9 - 19
Pravastatin 5, 10, 40 5 – 40 q pm. 16 - 25 18 - 28 5 - 16 5 - 11
Fibric acids 10 - 20 10 - 20 7 - 25 20 - 50
Bezafibrate 200, 400 R 200 tid, 400 R OD 10 - 20 10 - 15 10 - 25 20 - 25
Fenofibrate 100, 300,
200 M
300/d, 200 M OD 17 - 20 10 - 20 7 - 15 25 - 45
Gemfibrozil 300, 600, 900 300 – 600 bid
900 OD
10 - 15 10 - 15 11 - 20 35 - 50
Nicotinic acid and analogue 3 - 19 5 - 25 10 - 25 21 - 30
Nicotinic acid 50 25– 750 tid, qid* 3 - 19 10 - 25 10 - 25 25 - 30
Acipimox 250 250 bid - tid 3 - 10 5 -14 18 - 22 21 - 28
Bile acid sequestrant (resin)
Cholestyramine 4 กรัม 4 – 8 กรัม, OD-tid 10 – 15 15 - 30 3 – 5 อาจเพิ่ม
เล็กนอย
Biphenolic group
Probucol 250 250 – 500 bid 10 – 15 10 - 15 ลดลง 20
-25
ไมเปลี่ยน
Omega- 3 fatty acids
Fish oil
capsule
EPA+DHA
840
1680 bid อาจเพิ่ม
เล็กนอย
อาจเพิ่ม
เล็กนอย
0 - 9 3 - 52
* พบผลขางเคียงของยาไดบอย เริ่มใหจํานวนนอยแลวคอยๆเพิ่มขึ้น
11
เมื่อใชยา ผูปวยจําเปนตองปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต ควบคุมอาหาร และ ออก
กําลังกายอยางตอเนื่อง หากยาตัวใดตัวหนึ่งที่ใหอยูไมสามารถลดระดับไขมันในเลือดลงถึงเปาหมายที่ตั้งไว แมจะ
เพิ่มขนาดยาเต็มที่แลวก็ตาม แพทยสามารถเสริมยาชนิดที่สองซึ่งมิใชกลุมเดียวกันกับยาตัวแรก15
(ตารางที่ 4) เมื่อ
ผลเลือดดีขึ้นควรพิจารณาวาอาจจะลดขนาดยาตัวใดตัวหนึ่งลงไดหรือไม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลียงโอกาสเกิดอาการไมพึง
ประสงคจากยา ยากลุม bile acid sequestrant และ fish oil concentrate เปนยาที่คอนขางปลอดภัยที่จะใชรวมกับ
ยาอื่น15,22
การใชยารวมกันหลายชนิดตองพิจารณาอยางรอบคอบ
การติดตามการรักษาผูปวยที่มีภาวะไขมันผิดปกติในเลือด
กอนที่จะใหยาลดระดับไขมันในเลือดควรตรวจการทํางานของตับและไตกอน ถาระดับ transaminase มีคา
มากกวา 3 เทาของเกณฑสูงสุดของคาปกติ (upper limit of normal) ไมควรใชยาในกลุม statins และ fibrates ถา
ระดับ creatinine มีคามากกวา 2.0 มก/ดล การใชยาในกลุม fibrates ตองลดขนาดที่ใชลง เนื่องจากยาในกลุมดัง
กลาวมีการทําลายที่ไต หากระดับ creatinine มีคามากกวา 4 มก/ดล ไมควรใชยาในกลุม fibrates เลย
การติดตามระดับไขมันในเลือดหลังการรักษา ควรทําหลังใหการรักษาแลวประมาณ 6-12 สัปดาห ตอจาก
นั้นควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือดทุกตัวทุก 3 - 6 เดือนตามความเหมาะสม
เมื่อเริ่มรักษาดวยยาในกลุม statins หรือ fibrates ควรตรวจระดับ transaminase หลังจากที่ไดรับยาไปแลว
6-12 สัปดาห เพื่อเฝาดูอาการไมพึงประสงคจากยาดังกลาว ถาอยูในเกณฑปกติ ควรติดตามเปนระยะๆ ปละ 1-2
ครั้งแมจะมีขอมูลวาการใชยาระยะยาวมีความปลอดภัย9
กรณีที่ใชยาขนาดสูง หรือ ใชยา 2 ชนิดขึ้นไปรวมกัน ควรติด
ตามทุก 3 – 6 เดือนหรือตามความเหมาะสม เมื่อพบระดับ transaminase เพิ่มขึ้นเกิน 3 เทาของเกณฑสูงสุดของคา
ปกติ ใหหยุดยา หากมีอาการปวดเมื่อยกลามเนื้อควรตรวจระดับ CPK ดวย ถามีคามากกวา 10 เทา บงชี้วาเกิด
myopathy ซึ่งอาจรุนแรงขึ้นเปน rhabdomyolysis จําเปนตองหยุดยาเชนกัน
ในกรณีที่ตองใช statin รวมกับ fibrate ผูปวยควรมีการทํางานของตับและไตที่อยูในเกณฑปกติคือระดับ
transaminases และ creatinine อยูในเกณฑปกติ และควรติดตามระดับ SGOT, SGPT และ CPK ทุก 1-2 เดือน
ในระยะ 6 เดือนแรก เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิด rhabdomyolysis และ hepatitis ได
ความรูสําหรับประชาชนเกี่ยวกับภาวะระดับไขมันผิดปกติในเลือด
ไขมันในเลือดคืออะไร?
ไขมันเปนสารอาหารจําเปนที่รางกายใชเปนพลังงาน, สรางฮอรโมนและวิตามินบางชนิด ไขมันในเลือดมา
จากอาหารที่รับประทานและรางกายสรางขึ้น ไขมันรวมตัวอยูกับโปรตีนเปนอณูไขมันโปรตีน การวัดระดับไขมันใน
เลือด วัดเปนระดับโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด ซึ่งระดับโคเลสเตอรอลวัดแบงยอยไปตามหนาที่จําเพาะ ระดับ
ไขมันในเลือดที่ตรวจวัดคือ
1. ระดับโคเลสเตอรอลรวม
2. ระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL–C คือโคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนตํ่า)
3. ระดับ เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C คือโคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนสูง)
4. ระดับไตรกลีเซอไรด
12
โคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนตํ่าถูกนําไปสูอวัยวะตางๆ และผนังหลอดเลือดทั่วรางกาย
หากมีจํานวนมากจะเกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดและอุดตันหลอดเลือดได ทําใหเกิดโรคหัวใจและหลอด
เลือดไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกลามเนื้อหัวใจตาย โรคอัมพฤกษ อัมพาต โรคหลอดเลือดสวนปลายอุดตัน
เชนที่ขา ดังนั้น แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล จึงเปน “ไขมันไมดี” จําเปนตองไดการรักษาหากระดับ แอล ดี แอล
โคเลสเตอรอลสูงในเลือด
โคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนสูง เปนโคเลสเตอรอลที่ถูกลําเลียงออกจากอวัยวะตางๆ
และผนังหลอดเลือด ทําใหลดการอุดตันของหลอดเลือด ดังนั้นเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล จึงจัดเปน”ไขมันดี” การมี
ระดับเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงในเลือดชวยลดการอุดตันของหลอดเลือด
จะทราบไดอยางไรวาระดับไขมันในเลือดผิดปกติ?
การตรวจระดับไขมันในเลือดจะบอกไดชัดเจนวาระดับไขมันในเลือดผิดปกติหรือไม ทําไดโดยเจาะเลือดใน
ตอนเชาหลังจากงดอาหารเปนเวลา 12 ชั่วโมง แตสามารถดื่มนํ้าเปลาได ระดับไขมันในเลือดที่พึงมี หรืออยูในเกณฑ
มาตรฐาน หรือเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนอย คือ
โคเลสเตอรอลรวม นอยกวา 200 มก/ดล
แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล นอยกวา 100 มก/ดล
เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล มากกวา 40 มก/ดล
ไตรกลีเซอไรด นอยกวา 200 มก/ดล
ถาระดับไขมันในเลือดเบี่ยงเบนไปจากเกณฑดังกลาว จะเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและหลอด
เลือด ยิ่งเบี่ยงเบนมากก็จะเพิ่มความเสี่ยงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับปจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของแตละบุคคลดวย
ผูใดควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือด?
ผูที่มีความเสี่ยงสูงและควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือดคือ
1. ผูที่ปวยเปนโรคหัวใจและหลอดเลือดอยูแลว ไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกลามเนื้อหัวใจตาย
โรคอัมพฤกษ อัมพาต โรคหลอดเลือดสวนปลายอุดตัน
2. ผูที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
2.1ผูชายอายุมากกวา 45 ป, ผูหญิงอายุมากกวา 55 ป
2.2มีสมาชิกในครอบครัวเปนโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเสียชีวิตกะทันหัน โดยผูชายเปนเมื่ออายุ <55
ป ผูหญิงเปนเมื่ออายุ <65 ป
2.3มีความดันโลหิตสูง , เปนเบาหวาน หรือ สูบบุหรี่
3. มีโรคที่เกี่ยวของกับระดับไขมันผิดปกติ เชน โรคอวน โรคไตวายเรื้อรัง หรือกลุมอาการบวมจากโรคไต
4. มีการตรวจพบลักษณะที่บงชี้วามีระดับไขมันสูงในเลือด เชน กอนไขมัน ที่บริเวณเสนเอ็นที่ขอศอก เอ็น
รอยหวาย หรือกอนไขมันใตผิวหนังที่มีลักษณะคลายหัวสิวบริเวณหลังและสะโพก
หากตรวจแลวพบวาระดับไขมันอยูในเกณฑปกติควรตรวจซํ้าทุก 1-3 ป สําหรับประชาชนที่อาศัยอยูในเขต
เมืองควรตรวจระดับไขมันในเลือดตั้งแตอายุ 35 ป และควรไดรับการตรวจซํ้าทุก 5 ป
อะไรคือสาเหตุของระดับไขมันในเลือดผิดปกติ?
ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ อาจเกิดจากปจจัยภายในตัวเอง เชน พันธุกรรม หรือความเจ็บปวยบางประการ
ไดแกโรคเบาหวาน, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคตับ, ขาดธัยรอยดฮอรโมน หรือจากยา เชน ยาลดความดันบางชนิด
ยากลุมสเตียรอยด และที่สําคัญคือ ไขมันในเลือดผิดปกติจากการบริโภคอาหารไมเหมาะสม อาหารที่ทําใหระดับ
13
โคเลสเตอรอลสูงในเลือดไดแก อาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลมาก และ/หรือ มีไขมันอิ่มตัวมาก ไดแก กะทิ, มันหมู,
เนย, หนังสัตว, ไขแดง และเครื่องในสัตว สวนอาหารที่ทําใหไตรกรีเซอไรดสูงไดแก อาหารที่ใหพลังงานเกินความจํา
เปน การรับประทานนํ้าตาลมาก และการดื่มสุรา
จะรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติไดอยางไร?
การรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเริ่มดวย การรักษาที่ไมตองใชยา รวมกับการใชยาเมื่อมีความจําเปน
การรักษาที่ไมตองใชยา ประกอบดวย การงดสูบบุหรี่ การควบคุมนํ้าหนักตัว การผอนคลายความเครียด
การออกกําลังกาย และการรับประทานอาหารอยางถูกตอง ซึ่งเปนพื้นฐานสําคัญของการปองกันและการรักษาภาวะ
ไขมันผิดปกติในเลือด ควรปฏิบัติตามที่แพทยและนักโภชนาการแนะนําอยางเครงคัดและตอเนื่อง ถาการรักษาโดยไม
ตองใชยาไมไดผล จึงใชยารวมดวย
แพทยจะเปนผูพิจารณาเลือกยาที่เหมาะสมใหเปนรายๆ ไป จะมีการปรับขนาดยาจนกระทั่งสามารถควบคุม
ระดับไขมันในเลือดไดตามเปาหมาย นอกจากนี้แพทยจําเปนตองใหการรักษาภาวะเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและ
หลอดเลือดอื่นๆ เชน ความดันโลหิตสูง เบาหวานรวมไปดวย
เอกสารอางอิง
1. Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults. Executive
summary of the third report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) expert panel on
detection, evaluation, and treatment of high blood cholesterol in adults (adult treatment panel III);
JAMA 2001; 285: 2486-97.
2. วิชัย ตันไพจิตร. การวินิจฉัยและการบําบัดภาวะความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด. โภชนศาสตรคลินิก
2540; 1: 1-22.
3. Bhuripanyo K, Leowattana W, Ruangratanaamporn O, Mahanonda N, Sriratanasathavorn C,
Chotinaiwattarakul C, et al. Are routine checkups necessary? : the Shinawatra’s employee study. J
Med Assoc Thai 2000; 83 (Suppl 2): S163-S171.
4. Butterworth R, Marshall W, Bath P. Changes in serum lipid measmements following acute ischemic
stroke. Cerebrovascu Dis 1997; 7: 10-13.
5. Ginsberg HN, Goldberg IJ. Disorders of lipoprotein metabolism. In: Harrison’s Principle of Internal
Medicine, 15th
ed, Braunwald E, Fauci A, Kasper DL, et al, eds . New York, McGraw-Hill, 2001: 2245
–57.
6. Goldstein JL, et al. Familial hypercholesterolemia. In: The Matabolic and Molecular Basis of Inherited
Disease, 8th
ed. Scriver CR, et al, eds. New York, McGraw-Hill, 2001: 2863-913.
7. Smith SC, Blair SN, Bonow RO, et al. AHA/ACC guidelines for preventing heart attack and death in
patients with atherosclerotic cardiovascular disease: 2001 update. Circulation 2001; 104: 1577-9.
8. Tonkin AM. Clinical relevance of statins: their role in secondary prevention. Atherosclerosis 2001;
Suppl 2: 21-25.
14
9. Heart Protection Study Collaborative Group. MRC/BHF Heart Protection Study of cholesterol lowering
with simvastatin in 20536 high-risk individuals: a randomized placebo-controlled trial. Lancet 2002;
360: 7-22.
10. Newby DE, Wright RA, Labinjoh C, et al. Endothelial dysfunction, impaired endogenous fibrinolysis
and cigarette smoking : a mechanism for arterial thrombosis and myocardial infarction. Circulation
1999; 99: 1411-1415.
11. Fusegawa Y, Goto S, Handa S, Kawada T, Ando T. Platelet spontaneous aggregation in pleatelet-
rich plasma is increased in habitual smokers. Thromb Res 1999; 93: 271-278.
12. Wojtaszewski JFP, Goodyear LJ. Cellular effects of exercise to promote muscle insulin sensitivity.
Curr Opin Endocrinol Diabetes 1999; 6: 129-134.
13. Smith JK, Dykes R, Douglas JE, Krishnaswamy G, Berk S. Long-term exercise and atherogenic
activity of blood mononuclear cells in persons at risk of developing ischemic heart disease. JAMA
1999; 281: 1722-7.
14. Lichtenstein AH, Ausman LM, Jalbert SM, Schaefer EJ. Effects of different forms of dietary
hydrogenated fats on serum lipoprotein cholesterol levels. N Engl J Med 1999; 340: 1933- 40.
15. Knopp RH. Drug treatment of lipid disorders. N Engl J Med 1999; 341: 498-511.
16. สุรัตน โคมินทร. Appropriate use of hypolipemic agents. ใน: โรคตอมไรทอและเมตาบอลิสมสําหรับเวช
ปฏิบัติ 3. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. โครงการตําราจุฬาอายุรศาสตร, ยูนิตี้ พับลิเคชั่น, กรุงเทพฯ 2541: 144
–56.
17. Witzum JL. Drugs used in the treatment of hyperlipoproteinemias. In: Goodman and Gilman’s The
pharmacological basis of therapeutics 9th ed. Hardman JG, Limbird LE, et al, eds. New York, NK.
McGraw-Hill 1996: 875-97.
18. Nestel PJ. Effects of n-3 fatty acids on lipid metabolism. Ann Rev Nutr 1990; 10: 149-167.
19. Harris WS, Ginsberg HN, Arunkul N, et al. Safety and efficacy of Omacor in severe
hypertriglyceridaemia. J Cardiovasc Risk 1997; 4: 385-91.
20. Corsini A, et al. New insights into the pharmacodynamic and pharmacokinetic properties of statins.
Pharmacology & Therapeutics. 1999; 84: 413-28.
21. Elizabeth LM. Update: Clinical significant CYP - 450 drug interactions. Pharmacotherapy 1998; 18: 84
–112.
22. Contacos C, Baber PY, Sullivan OR. Effect of pravastatin and omega-3 fatty acids on plasma lipids
and lipoproteins in patients with combined hyperlipidemia. Arterioscl Thromb 1993; 18: 1755-62.

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพUtai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานUtai Sukviwatsirikul
 
งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานMuay Muay Somruthai
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจtechno UCH
 
Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05
Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05
Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05Utai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงTuang Thidarat Apinya
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์Utai Sukviwatsirikul
 
ตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาทตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาทCotton On
 
TAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine EmergencyTAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine Emergencytaem
 
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงคู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงUtai Sukviwatsirikul
 
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Diseaseโรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney DiseaseCAPD AngThong
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนUtai Sukviwatsirikul
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลChutchavarn Wongsaree
 

La actualidad más candente (20)

วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพวิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
วิธีอ่านผลตรวจสุขภาพ
 
ยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานยารักษาโรคเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวาน
 
งานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวานงานนำเสนอเบาหวาน
งานนำเสนอเบาหวาน
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555
แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาโรคเกาต์ (Guideline for management of gout)2555
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาโรคไต
 
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วน
โครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วนโครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วน
โครงงานคอมพิวเตอร์ โรคอ้วน
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05
Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05
Principles of Pharmacotherapy in Dyslipidemia 56 01 05
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
Genogram
GenogramGenogram
Genogram
 
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
ความรู้พื้นฐานเรื่องโรคเบาหวาน โดย พ.ญ. พรรณทิพย์ ตันติวงษ์
 
ตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาทตรวจร่างกายระบบประสาท
ตรวจร่างกายระบบประสาท
 
TAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine EmergencyTAEM10: Endocrine Emergency
TAEM10: Endocrine Emergency
 
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูงคู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
คู่มือการจ่ายยาที่มีความเสี่ยงสูง
 
Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017Guideline diabetes-care-2017
Guideline diabetes-care-2017
 
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Diseaseโรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
โรคไตเรื้อรัง Chronic Kidney Disease
 
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
 
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาลการอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
การอ่านเเละเเปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เต้นผิดจังหวะสำหรับพยาบาล
 

Destacado

Food for CVD
Food for CVDFood for CVD
Food for CVDPha C
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Lipoproteins
LipoproteinsLipoproteins
Lipoproteinsnj1992
 
Dyslipidemia
DyslipidemiaDyslipidemia
DyslipidemiaRisho1012
 
Pharmacogenetics and individual variation of drug response
Pharmacogenetics and individual variation of drug responsePharmacogenetics and individual variation of drug response
Pharmacogenetics and individual variation of drug responseNarasimha Kumar G V
 
Dyslipidemia guidelines
Dyslipidemia guidelinesDyslipidemia guidelines
Dyslipidemia guidelinesAinshamsCardio
 
Pharmacogenetics and Pharmacogenomics
Pharmacogenetics and PharmacogenomicsPharmacogenetics and Pharmacogenomics
Pharmacogenetics and PharmacogenomicsDr. Prashant Shukla
 
Hyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemia
Hyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemiaHyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemia
Hyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemiaakbar siddiq
 
Therapeutic drug monitoring
Therapeutic drug monitoringTherapeutic drug monitoring
Therapeutic drug monitoringUrmila Aswar
 
Lipoprotein metabolism, Shariq
Lipoprotein metabolism, ShariqLipoprotein metabolism, Shariq
Lipoprotein metabolism, Shariqsharimycin
 

Destacado (20)

Food for CVD
Food for CVDFood for CVD
Food for CVD
 
Guidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemiaGuidelines for management of dyslipidemia
Guidelines for management of dyslipidemia
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงของไทย ปี 2558
 
Pharmacogenetics
PharmacogeneticsPharmacogenetics
Pharmacogenetics
 
Lipoproteins
LipoproteinsLipoproteins
Lipoproteins
 
Atherosclerosis
AtherosclerosisAtherosclerosis
Atherosclerosis
 
Dyslipidemia
DyslipidemiaDyslipidemia
Dyslipidemia
 
Pharmacogenetics and individual variation of drug response
Pharmacogenetics and individual variation of drug responsePharmacogenetics and individual variation of drug response
Pharmacogenetics and individual variation of drug response
 
Pharmacogenetics
PharmacogeneticsPharmacogenetics
Pharmacogenetics
 
Dyslipidemia
DyslipidemiaDyslipidemia
Dyslipidemia
 
Dyslipidemia guidelines
Dyslipidemia guidelinesDyslipidemia guidelines
Dyslipidemia guidelines
 
Pharmacogenetics and Pharmacogenomics
Pharmacogenetics and PharmacogenomicsPharmacogenetics and Pharmacogenomics
Pharmacogenetics and Pharmacogenomics
 
Pharmacogenetics Ppt
Pharmacogenetics PptPharmacogenetics Ppt
Pharmacogenetics Ppt
 
Pharmacogenomics
PharmacogenomicsPharmacogenomics
Pharmacogenomics
 
Hyperlipidemia
Hyperlipidemia Hyperlipidemia
Hyperlipidemia
 
Pharmacogenetics
PharmacogeneticsPharmacogenetics
Pharmacogenetics
 
Dyslipidemia
DyslipidemiaDyslipidemia
Dyslipidemia
 
Hyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemia
Hyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemiaHyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemia
Hyperlipidemia and drug therapy for hyperlipidemia
 
Therapeutic drug monitoring
Therapeutic drug monitoringTherapeutic drug monitoring
Therapeutic drug monitoring
 
Lipoprotein metabolism, Shariq
Lipoprotein metabolism, ShariqLipoprotein metabolism, Shariq
Lipoprotein metabolism, Shariq
 

Similar a Guidelines for management of dyslipidemia

โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)Wan Ngamwongwan
 
Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02vora kun
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงappcheeze
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานweerawatkatsiri
 
โรคอ้วน007
โรคอ้วน007โรคอ้วน007
โรคอ้วน007Anirut007
 
สุขศึกษา
สุขศึกษาสุขศึกษา
สุขศึกษาdragon2477
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน 54321_
 
เรื่องโรคเบาหวาน
เรื่องโรคเบาหวานเรื่องโรคเบาหวาน
เรื่องโรคเบาหวาน54321_
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558Utai Sukviwatsirikul
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานweerawatkatsiri
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงklomza501
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษาKasipat_Nalinthom
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษาKasipat_Nalinthom
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษาKasipat_Nalinthom
 
เธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆ
เธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆเธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆ
เธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆApisit Khongsamut
 

Similar a Guidelines for management of dyslipidemia (20)

โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
โรคที่เกิดจากสูบบุหรี่ (1)
 
Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02Diabetic mellitus 02
Diabetic mellitus 02
 
Hypertension
HypertensionHypertension
Hypertension
 
2008guideline ht
2008guideline ht2008guideline ht
2008guideline ht
 
2008guideline ht
2008guideline ht2008guideline ht
2008guideline ht
 
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูงงานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
งานสุขะ เรื่อง ความดันโลหิตสูง
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
โรคอ้วน007
โรคอ้วน007โรคอ้วน007
โรคอ้วน007
 
สุขศึกษา
สุขศึกษาสุขศึกษา
สุขศึกษา
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
เรื่องโรคเบาหวาน
เรื่องโรคเบาหวานเรื่องโรคเบาหวาน
เรื่องโรคเบาหวาน
 
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
Thai guidelines on the treatment of hypertension 2015
 
Thai guideline on the hypertension 2015
Thai  guideline on the hypertension 2015Thai  guideline on the hypertension 2015
Thai guideline on the hypertension 2015
 
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูง 2558
 
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน
 
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษา
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษา
 
งานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษางานวิชาสุขศึกษา
งานวิชาสุขศึกษา
 
เธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆ
เธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆเธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆ
เธชเธกเธธเธ™เน„เธžเธฃเน„เธ—เธข เน‚เธฃเธ„เธซเธฑเธงเนƒเธˆ
 

Más de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)Utai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

Más de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

Guidelines for management of dyslipidemia

  • 1. Guideline1:แนวทางการดูแลรักษาความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด Guidelines for Management of Dyslipidemia พญ. คุณหญิงพึงใจ งามอุโฆษ นพ. บรรหาร กออนันตกูล นพ. ปยะมิตร ศรีธรา นพ. เกรียงไกร เฮงรัศมี นพ. กัมมันต พันธุมจินดา นพ. สามารถ นิธินันทน นพ. สุรัตน โคมินทร นพ. มนตชัย ชาลาประวรรต นพ. วิทยา ศรีดามา นพ. เพชร รอดอารีย นพ. ชัยชาญ ดีโรจนวงศ พญ. วรรณี นิธิยานันท นิยามของระดับไขมันผิดปกติในเลือด (dyslipidemia) ระดับไขมันผิดปกติในเลือด เปนภาวะที่รางกายมีระดับไขมันในเลือดตางไปจากเกณฑที่เหมาะสม เปนผล ใหเสี่ยงตอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) และทําใหเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovas- cular diseases) ตามมา ที่พบบอยคือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) และโรคหลอดเลือดแดงสวนปลาย (peripheral arterial disease) ความผิดปกติของ ระดับไขมันในเลือดมีไดหลายรูปแบบไดแก 1. ระดับโคเลสเตอรอลรวม (total cholesterol, TC) สูงในเลือด 2. ระดับ low density lipoprotein-cholesterol (LDL-C) สูงในเลือด 3. ระดับ high density lipoprotein cholesterol (HDL-C) ตํ่าในเลือด 4. ระดับไตรกลีเซอไรด (triglyceride, TG) สูงในเลือด 5. ระดับไขมันผิดปกติแบบใดแบบหนึ่งรวมกัน 2 อยางขึ้นไป ผูที่มีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดเพียงอยางเดียวมีอัตราเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเชนกัน แตผูที่ มีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดควบคูกับระดับ HDL-C ตํ่าในเลือด มีอัตราเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาวะนี้ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณลักษณะของ LDL ที่เปน small dense LDL Metabolic syndrome เปนกลุมอาการซึ่งประกอบดวยลักษณะอวนลงพุง (abdominal obesity), atherogenic dyslipidemia (ระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดและระดับ HDL-C ตํ่าในเลือด โดยระดับโคเลสเตอรอล รวม หรือ LDL-C อาจปกติหรือสูง และเปน small dense LDL particles), ความดันโลหิตสูง, ภาวะดื้ออินซูลินโดย ระดับนํ้าตาลในเลือดปกติหรือสูง (insulin resistance with or without glucose intolerance) รวมทั้ง prothrombotic และ proinflammatory states ในปจจุบันจําเปนที่จะตองวินิจฉัยและรักษา metabolic syndrome อยางจริงจัง เนื่อง จากมีอัตราเสี่ยงตอการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น และเปนกลุมเปาหมายของการรักษาที่สําคัญรองจากกลุมที่มี ระดับ LDL-C สูงในเลือดเพียงอยางเดียว เกณฑที่ใชตัดสินระดับไขมันผิดปกติในเลือด การศึกษาทางวิทยาการระบาดพบวา ผูที่มีความเสี่ยงนอยตอการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น ควรมีระดับ ไขมันในเลือดดังนี้คือ TC <200 มก/ดล, LDL-C<100 มก/ดล, HDL-C ≥40 มก/ดล และ TG <150 มก/ดล นอกจากนี้
  • 2. 2 ควรมีอัตราสวน TC/ HDL-C <4.5 และ LDL-C/HDL-C < 3.0 ตารางที่ 1 แสดงถึงเกณฑที่ใชตัดสินภาวะระดับไขมัน ผิดปกติในเลือด และความรุนแรงของความผิดปกติ ซึ่งกําหนดโดย National Cholesterol Education Program (NCEP)1 ตารางที่ 1. เกณฑตัดสินภาวะผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ระดับไขมัน (มก/ดล) ความหมายทางคลินิก LDL cholesterol <100 เหมาะสม 100-129 ใกลเคียงคาเหมาะสม (ยอมรับได) 130-159 กํ้ากึ่ง 160-189 สูง >190 สูงมาก Total cholesterol <200 เหมาะสม 200-239 กํ้ากึ่ง >240 สูง HDL cholesterol <40 ตํ่า >60 สูง Triglyceride <150 เหมาะสม 150-199 กํ้ากึ่ง 200-499 สูง >500 สูงมาก การสํารวจหาบุคคลที่มีภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ภาวะไขมันผิดปกติในเลือดเปนปจจัยเสี่ยงสําคัญอยางหนึ่งของภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โดยเฉพาะอยาง ยิ่งโรคหลอดเลือดหัวใจ เพราะฉะนั้นตองทราบวาควรจะเริ่มตรวจหาภาวะไขมันผิดปกติในเลือดในประชากรกลุมใด เมื่ออายุเทาใด และตรวจอะไรบาง มีรายละเอียดดังนี้ ประชากรกลุมที่ควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือด ประชากรกลุมที่มีความเสี่ยงสูง เปนกลุมที่ควรไดรับการตรวจประเมินระดับไขมันในเลือด ไดแก 1. ผูปวยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็งไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอด เลือดแดงสวนปลาย 2. ผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตอไปนี้ . อายุเพิ่มขึ้นคือ ผูชายอายุ >45 ป ผูหญิงอายุ >55 ป
  • 3. 3 . ประวัติครอบครัวคือ พี่นองหรือพอแมเปนโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยผูชายเปนเมื่ออายุ <55 ป ผู หญิงเปนเมื่ออายุ <65 ป . โรคเบาหวาน . ความดันโลหิตสูง >140/90 มม.ปรอท หรือไดรับยาลดความดันโลหิตอยู . สูบบุหรี่ ผูที่มีโรคหรือภาวะที่พบความผิดปกติของไขมันในเลือดที่เสี่ยงตอการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ไดแก โรคอวน หรือภาวะนํ้าหนักเกิน (BMI >25 kg/m2 ) รวมทั้งโรคไตที่เปนกลุมอาการเนโฟรติกและไตวายเรื้อรัง ควรไดรับ การตรวจคัดกรองเชนกัน 3. ผูที่ตรวจรางกายพบลักษณะที่บงชี้วาระดับไขมันผิดปกติในเลือดไดแก corneal arcus, เอ็นรอยหวาย หนาและแข็ง, tendon xanthoma, xanthelesma, palmar xanthoma, eruptive xanthoma ควรตรวจเมื่อใด การตรวจคัดกรองประชากรกลุมที่มีความเสี่ยงขางตน สามารถตรวจวัดระดับไขมันในเลือดไดทุกเมื่อ ทุก เพศ และทุกวัย การตรวจคัดกรองในประชากรทั่วไปคือประชากรกลุมที่ไมมีความเสี่ยงที่ระบุขางตน ควรจะทําในผูที่อาศัยใน เขตเมืองที่มีอายุตั้งแต 35 ปขึ้นไป2, 3 ควรตรวจระดับไขมันอะไรบาง 1. โดยทั่วไปในผูที่มีปจจัยเสี่ยงและผูปวยที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ควรตรวจระดับ TC, TG และ HDL-C โดยกอนเจาะเลือดตองงดอาหาร ยกเวนนํ้าเปลา 9-12 ชั่วโมง คาที่ไดนํามาคํานวณหาระดับ LDL-C จากสมการ2 LDL-C = TC - TG - HDL-C โดยระดับไตรกลีเซอไรดตองนอยกวา 400 5 มก/ดล ถาผลอยูในเกณฑปกติควรตรวจซํ้าทุก 1-3 ป 2. ในผูที่ไมมีปจจัยเสี่ยง แตมีอายุ 35 ปขึ้นไป ถาเปนไปไดควรตรวจทั้ง 3 อยางดังเชน ขอ 1 แตถาผูที่รับ การตรวจเลือดไมไดอดอาหาร ใหตรวจเฉพาะ TC และ HDL-C ถาระดับอยูในเกณฑผิดปกติ จําเปน ตองตรวจซํ้าโดยตรวจครบทั้ง 3 อยางเพื่อการวินิจฉัยและการรักษา ถาระดับอยูในเกณฑปกติ ควร ตรวจซํ้าทุก 5 ป เพื่อเฝาดูความเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด การวัดระดับไขมันเลือด การเตรียมตัวกอนเจาะเลือด 1. งดอาหารประมาณ 9-12 ชั่วโมง โดยใหดื่มนํ้าเปลาได 2. รับประทานอาหารดังเชนที่รับประทานอยูประจํา เปนระยะ 3 สัปดาหกอนการเจาะเลือด 3. ผูที่ตั้งครรภ ผูที่ปวยหนัก เชน ไดรับอุบัติเหตุอยางรุนแรง, ผูปวยหลังผาตัด, ผูปวยที่มีอาการติดเชื้อ การ ตรวจไขมันในเลือดอาจไดผลที่คลาดเคลื่อน ควรตรวจเมื่อภาวะดังกลาวหายไปแลว 12 สัปดาห 4. ผูปวยที่มีการตายของกลามเนื้อหัวใจอยางเฉียบพลัน (acute myocardial infarction) ควรเจาะภายใน 12 ชั่วโมงแรก หรือ 6 สัปดาหหลัง acute myocardial infarction จึงจะไดคาที่เปนจริง อยางไรก็ตาม ผลที่เจาะไดในระยะเฉียบพลันแตพนระยะ 12 ชั่วโมงยังมีประโยชน ถาหากระดับไขมันสูงกวามาตร ฐาน แสดงวาผูปวยมีระดับไขมันสูงในเลือดจริง สามารถใหการรักษาไดโดยไมตองรอเปนระยะเวลาถึง 6 สัปดาห
  • 4. 4 5. ผูปวยที่มีโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดทันที(ภายใน 48 ชั่วโมง) หรือ 12 สัปดาหหลังจากนั้น4 เทคนิคการเจาะเลือดและการตรวจวัดระดับไขมัน 1. ควรใหผูปวยอยูในทานั่งอยางนอย 5 นาที กอนเจาะ เพราะการเปลี่ยนทาจะทําให plasma volume เปลี่ยนแปลง และผลที่ไดจะคลาดเคลื่อน 2. ควรเก็บเลือดที่ไดในหลอดที่ไมใสสารปองกันการแข็งตัวของเลือด เพื่อที่จะใหไดเปนระดับไขมันในซีรั่ม แตหากจําเปนก็อาจใชหลอดที่มีสารปองกันการแข็งตัวของเลือดได คาที่ไดจะเปนระดับไขมันในพลาส มา ซึ่งจะตํ่ากวาใน serum ประมาณรอยละ 3 3. ควรสงเลือดไปตรวจในหองปฏิบัติการที่มีมาตรฐานเชื่อถือได คือมี quality assurance และ quality control ที่ตรวจสอบมาตรฐานของระดับโคเลสเตอรอลหลายๆ ระดับ โดยเฉพาะในระดับโคเลสเตอรอล ตั้งแต 100 มก/ดล ถึง 300 มก/ดล โดยใชวิธีเอนไซมาติก สาเหตุของภาวะไขมันผิดปกติในเลือด ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดแบงไดเปน 3 กลุม5,6 ตามสาเหตุที่ทําใหเกิดขึ้นดังนี้ 1. ไขมันผิดปกติในเลือดปฐมภูมิ (primary dyslipidemia) 2. ไขมันผิดปกติในเลือดทุติยภูมิ (seconary dyslipidemia) 3. ไขมันผิดปกติในเลือดจากอาหาร (dietary dyslipidemia) ไขมันผิดปกติในเลือดปฐมภูมิ ภาวะนี้เปนความผิดปกติจากสาเหตุทางพันธุกรรม โรคที่พบบอยในกลุมนี้คือ polygenic hypercholeste- rolemia, familial hypercholesterolemia (FH) และ familial combined hyperlipidemia ไขมันผิดปกติในเลือดทุติยภูมิ ภาวะนี้เกิดจากโรคทางกายหรือยาบางชนิดที่มีผลตอกระบวนการสรางและ/หรือสลาย lipoprotein ทําให ระดับไขมันผิดปกติในเลือด โดยสาเหตุที่ทําให LDL-C สูงไดแก hypothyroidism, cholestasis, nephrotic syndrome, ยาบางชนิดเชน thiazides, progestogens, cyclosporine สาเหตุที่พบบอยที่ทําใหระดับไตรกลีเซอไรด ในเลือดสูงไดแก โรคเบาหวาน โรคอวน ไตวาย การดื่มสุรา การตั้งครรภ ภาวะเครียด และยาบางชนิดเชน estrogen, beta-blockers, glucocorticoids, thiazides, protease inhibitors สาเหตุที่ทําให HDL-C ในเลือดตํ่า ไดแก โรค เบาหวาน โรคอวน การสูบบุหรี่ และยา anabolic steroids, testosterone, progestogen, beta-blockers เปนตน ไขมันผิดปกติในเลือดจากอาหาร การบริโภคอาหารที่กอใหเกิดภาวะ LDL-C ในเลือดสูง คือ อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงและ/หรือกรดไขมัน อิ่มตัวมากไดแก ไขมันสัตว หมูสามชั้น เนย เนื้อสัตวที่มีมันมาก หนังสัตว ไสกรอก ไขแดง เครื่องในสัตว หอย นางรม และ กะทิ เปนตน อาหารที่กอใหเกิดภาวะไตรกลีเซอไรดในเลือดสูงไดแก การรับประทานอาหารที่ใหพลังงาน เกินความตองการของรางกาย การรับประทานอาหารที่มีคารโบไฮเดรต โดยเฉพาะนํ้าตาลฟรุกโทสและซูโครสสูง การ ดื่มสุรา เปนตน
  • 5. 5 แนวทางการคนหาสาเหตุของภาวะไขมันผิดปกติในเลือด5,6 การซักประวัติ ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง กอนวัยอันควร ไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดแดงสวนปลายอุดตัน ประวัติโรค ประจําตัว เชน โรคเบาหวาน โรคไต โรคตับ โรคทัยรอยด ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน การดื่มสุรา การ สูบบุหรี่ การออกกําลังกาย และการใชยาตางๆ การตรวจรางกาย บันทึกนํ้าหนักตัวและความสูง เพื่อคํานวณหา body mass index (BMI) โดยใชนํ้าหนักตัวเปนกิโลกรัม หาร ดวยกําลังสองของความสูงเปนเมตร, ตรวจหา tendon xanthoma, การหนาตัวของ archiles tendon, xanthelasma, corneal arcus, palmar xanthoma, eruptive xanthoma อาการแสดงของตอมธัยรอยดทํางานตํ่า ภาวะบวม รวม ถึงการตรวจ reflex การตรวจทางหองปฏิบัติการ ควรตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ไดแก plasma glucose, การทํางานของตอมธัยรอยด (TSH), การ ทํางานของตับ, creatinine, urine protein การจัดระดับความเสี่ยงเพื่อควบคุมภาวะไขมันผิดปกติในเลือด (Risk stratification) ระดับความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มี 3 ลําดับ1 ซึ่งมีผลตอการกําหนดระดับ LDL-C ที่พึง มีในเลือด หากมีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดรวมดวย (>200 มก/ดล) ใหใชระดับ non-HDL-C แทน ระดับ non- HDL-C คือคา total cholesterol ลบดวย HDL-C (ตารางที่ 2) ระดับ 1 เปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไดแกผูที่เปนโรคหลอดเลือดหัวใจอยู แลว และผูที่มีโรคอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงเทียบเทากับเปนโรคหลอดเลือดหัวใจไดแก - โรคเบาหวาน - Ischemic stroke ที่เกิดจากหลอดเลือด carotid artery, transient ischemic attack - Symptomatic peripheral arterial disease - Abdominal aortic aneurysm ในกลุมนี้ระดับไขมันที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C <100 มก/ดล หรือ non-HDL-C <130 มก/ดล ตารางที่ 2. ระดับไขมันที่พึงมีในเลือดตามระดับความเสี่ยง ระดับความเสี่ยง ระดับ LDL-C ที่ พึงมีในเลือด (มก/ดล) ระดับ TG ที่ พึงมีในเลือด (มก/ดล) ระดับ HDL-C ที่ พึงมีในเลือด (มก/ดล) ระดับ non-HDL-C ที่พึงมีในเลือด* (มก/ดล) เปนโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือ เปนโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเทา <100 <150 >40 <130 มีปจจัยเสี่ยง 2 ขอขึ้นไป <130 <150 >40 <160 มีปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ <160 <150 >40 <190 * ระดับ non-HDL-C ใชในกรณีที่ TG>200 มก/ดล
  • 6. 6 ระดับ 2 เปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงปานกลางในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไดแกผูที่มีปจจัยเสี่ยงตั้งแต 2 ขอขึ้นไป ปจจัยเสี่ยงที่สําคัญ ไมรวม LDL-C ไดแก - สูบบุหรี่ - ความดันโลหิตสูง (ความดัน >140/90 mmHg หรือ ไดรับยาลดความดันโลหิต) - HDL-C ตํ่า (< 40 มก./ดล) - มีประวัติครอบครัวเปนโรคหลอดเลือดหัวใจ ผูชายเปนอายุนอยกวา 55 ป, ผูหญิงเปนอายุนอยกวา 65 ป - อายุ ผูชายมากกวาหรือเทากับ 45 ป, ผูหญิงมากกวาหรือเทากับ 55 ป ในกลุมนี้ไขมันระดับที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C <130 มก/ดล หรือ non-HDL-C <160 มก/ดล ระดับ 3 เปนกลุมที่มีความเสี่ยงสูงนอยในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ไดแกผูที่มีปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ ซึ่ง เปนปจจัยเสี่ยงเชนเดียวกับระดับ 2 ในกลุมนี้ไขมันระดับที่พึงมีในเลือด คือ LDL-C <160 มก/ดล หรือ non-HDL-C <190 มก/ดล ทั้งในระดับ 2 และ ระดับ 3 หากคา HDL-C >60 มก/ดล นับปจจัยเสี่ยงลดลง 1 ขอ เปาหมายของการรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ LDL-C ใชเปนเปาหมายสําหรับการกําหนดการรักษา1,7 โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต (Total Lifestyle Change, TLC) และการรักษาดวยยาในลําดับความเสี่ยงที่แตกตางกัน ตารางที่ 3. เปาหมายการรักษาและการกําหนดการรักษาตามลําดับความเสี่ยง ลําดับความเสี่ยง LDL-C เปาหมาย (มก/ดล) ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนให การรักษาโดยการปรับ เปลี่ยนพฤติกรรม (มก/ดล) ระดับ LDL-C ที่พิจารณา ใหการรักษาดวยยา (มก/ดล) เปนโรคหลอดเลือด หัวใจหรือเปนโรคที่มี ความเสี่ยงเทียบเทา <100 >100 >130 (100-129 ใหยาไดหากเปน โรคหลอดเลือดหัวใจ ) * ปจจัยเสี่ยง 2 ขอขึ้นไป <130 >130 >160 * ปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ <160 >160 >190 * กรณีที่ HDL-C >60 มก/ดล นับปจจัยเสี่ยงลดลง 1 ขอ อนึ่งในประชากรไทยอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจตํ่ากวาประชากรใน ประเทศแถบตะวันตก ดังนั้นประโยชนจากการใชยาในกลุมนี้อาจไมคุมคา ในผูปวยที่เปนโรคหลอดเลือดหัวใจหรือมีโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเทา การรักษาจัดเปนการปองกันทุติยภูมิ (secondary prevention) ระดับเปาหมายของ LDL-C ในเลือดคือ นอยกวา 100 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนให การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต คือ ระดับมากกวาหรือเทากับ 100 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่ พิจารณาใหการรักษาดวยยาคือระดับมากกวาหรือเทากับ 130 มก/ดล ผูที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจหากระดับ LDL-C อยูระหวาง 100-129 มก/ดล ควรพิจารณาใหยา ผูที่มีโรคที่มีความเสี่ยงเทียบเทาโรคหลอดเลือดหัวใจพิจารณาใหยา ตามความเหมาะสม
  • 7. 7 ในผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยง 2 ขอขึ้นไป การรักษาจัดเปนการปองกันปฐมภูมิ (primary prevention) แกผูที่มี ความเสี่ยงสูงปานกลาง ระดับเปาหมายของ LDL-C ในเลือดคือ นอยกวา 130 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนใหการ รักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิตคือ ระดับมากกวาหรือเทากับ 130 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่ พิจารณาใหการรักษาดวยยาคือระดับมากกวาหรือเทากับ 160 มก/ดล ในผูปวยที่มีปจจัยเสี่ยง 0-1 ขอ การรักษาจัดเปนการปองกันปฐมภูมิแกผูที่มีความเสี่ยงสูงไมมาก ระดับเปา หมายของ LDL-C ในเลือดคือ นอยกวา 160 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่เริ่มตนใหการรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การดําเนินชีวิตคือ ระดับมากกวาหรือเทากับ 160 มก/ดล ระดับ LDL-C ที่พิจารณาใหการรักษาดวยยาคือระดับมาก กวาหรือเทากับ 190 มก/ดล การปองกันทุติยภูมิไดประโยชนและเปนที่ยอมรับ8,9 การควบคุมใหระดับไขมันอยูในเกณฑที่ตองการมักจํา เปนตองใชทั้งอาหารและยาลดไขมัน แตถาเปนการปองกันปฐมภูมิ การรักษาควรเนนหนักไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติ กรรม การควบคุมอาหาร และการออกกําลังกาย หากระดับไขมันเกินเปาหมายเพียงเล็กนอย ยังไมจําเปนที่จะตองใช ยาลดไขมันเสมอไป เนื่องจากในประชากรไทยอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจตํ่ากวาประชากรในประเทศแถบ ตะวันตก ดังนั้นประโยชนจากการใชยาในกลุมที่มีความเสี่ยงสูงปานกลางและสูงไมมาก อาจไมคุมคาเพียงพอ กรณีที่มีระดับไตรกลีเซอไรดสูงในเลือดรวมดวย (>200 มก/ดล) ใหใชระดับ non-HDL-C เปนเปาหมาย แทนการใชระดับ LDL-C โดย non-HDL-C จะมีคามากกวา LDL-C 30 มก/ดล ในทุกเปาหมาย การรักษา ประกอบดวย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต และการใหยาลดระดับไขมันเมื่อจําเปน1,2 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต (Total Lifestyle Change, TLC) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต หมายถึงการกําจัดปจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการดําเนินชีวิตประจําวัน ใหหมดสิ้นไป ไดแก การสูบบุหรี่ การนั่งการยืนอยูกับที่เปนสวนใหญในแตละวัน (sedentary life) ความเครียด รวม กับการออกกําลังกาย และการรับประทานอาหารอยางถูกตอง การสูบบุหรี่ ทําใหระดับ HDL-C ลดลง เปนอันตรายตอ endothelial cell และมีผลตอการเกิดลิ่มเลือดใน หลอดเลือดแดง (thrombus) รวมทั้งทําใหเกร็ดเลือดจับตัวกัน10,11 การออกกําลังกาย อยางสมํ่าเสมอและพียงพอมีประโยชนมาก เพราะทําใหภาวะดื้ออินสุลินลดลง12 ทําให ไขมันเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กลาวคือลดระดับไตรกลีเซอไรด และโคเลสเตอรอล เพิ่มระดับ HDL-C และมีผล ตอ mononuclear cell ทําใหเซลลลดการหลั่ง cytokines ที่กระตุนขบวนการ atherosclerosis13 นอกจากนี้การออก กําลังกายยังเปนวิธีการสําคัญในการลดและควบคุมนํ้าหนัก กอนใหผูปวยออกกําลังกายควรตรวจสุขภาพกอน โดยเฉพาะผูปวยสูงอายุ หรือ ผูปวยที่เปนเบาหวานหรือ ความดันโลหิตสูง ตองทดสอบระบบหัวใจและหลอดเลือด เพื่อดูวามีโรคหรือภาวะที่เสี่ยงหรือเปนอุปสรรคตอการออก กําลังกายหรือไม และจัดโปรแกรมการออกกําลังกายใหเหมาะสม ขอพึงปฏิบัติสําหรับการออกกําลังกายที่สําคัญ คือ เริ่มออกกําลังกายแตนอยและคอยๆ เพิ่มขึ้น การออกกําลังกายที่ถูกตองประกอบดวย มีความสมํ่าเสมอ(frequency) คือทุกวันหรือวันเวนวัน หรืออยางนอยสัปดาหละ 3 ครั้ง ระยะเวลาออกกําลัง (duration) นานเพียงพอ คือครั้งละ 30- 45 นาที ความหนักของการออกกําลังกาย (intensity) พอเหมาะ ซึ่งในทางปฏิบัติใชอัตราเตนของหัวใจเปนเกณฑ โดย ออกกําลังใหไดอัตราเตนของหัวใจเปนรอยละ 60-85 ของอัตราเตนหัวใจสูงสุด อัตราเตนหัวใจสูงสุดไดจากการ
  • 8. 8 คํานวณโดยลบอายุเปนปออกจาก 220 การกําหนดอัตราเตนหัวใจระหวางออกกําลังกายขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานของ ผูปวย การออกกําลังกายทุกครั้งตองมีการอุนเครื่อง (warm up) กอนออกกําลังกาย และการผอนคลาย (cool down) หลังการออกกําลังกาย การรับประทานอาหารที่ถูกตอง หมายถึงรับประทานอาหารที่มีพลังงานพอเหมาะ และมีอาหารหลักครบ ทุกหมู โดยมีสัดสวนและปริมาณโคเลสเตอรอลที่เหมาะสม1,2 ซึ่งมีหลักการคือ 1. ปริมาณอาหารหรือพลังงาน (kilocalories) ตอวันพอเหมาะ ทําใหนํ้าหนักตัวอยูในเกณฑมาตรฐาน 2. ปริมาณไขมันตอวันใหพลังงานรอยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมด โดยตองคํานึงถึงประเภทของไขมันที่ ใช คือ ใหเปนกรดไขมันอิ่มตัวไมเกินรอยละ 7 ของพลังงานทั้งหมด เปนกรดไขมันไมอิ่มตัวหลายตําแหนงไมเกินรอย ละ 10 ที่เหลือเปนกรดไขมันไมอิ่มตัวหนึ่งตําแหนง ดังนั้นควรปรุงอาหารดวยนํ้ามันพืชที่สกัดจากถั่วเหลือง ขาวโพด เมล็ดดอกทานตะวัน หรือ เมล็ดดอกคําฝอย รําขาว มะกอก นอกจากนี้ตองหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงดวยการทอด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใชไขมันที่ไดรับการแปรรูปใหแข็ง เชน เนยเทียม (margarine) เนยขาว (shortening) โดยเฉพาะอยางยิ่งที่ทําจากนํ้ามันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก เชน นํ้า มันมะพราว นํ้ามันปาลม เพราะไขมันแปรรูปเหลานี้จะมี trans fatty acids สูง ปริมาณ trans fatty acids ที่รับ ประทานจะทําใหระดับ LDL เพิ่มขึ้นเปนสัดสวนกัน14 3. ปริมาณโปรตีน ใหพลังงานรอยละ 12-15 ของพลังงานทั้งหมด อาหารประเภทโปรตีนไดแกเนื้อสัตวและถั่ว ประเภทเนื้อสัตวยึดหลักดังนี้ ตองงด เครื่องในสัตวและหนังสัตวทุกชนิด ไมวาจะปรุงในรูปแบบใดๆ ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานเล็กนอยเปนครั้งคราว อาหารทะเล เชน กุง ปู ปลาหมึก เนื้อสัตวติดมันและหนัง ไขแดง และ เนื้อสัตวแปร รูป เชน ไสกรอกทุกชนิด, แฮม, โบโลนยา, แหนม, หมูยอ, กุนเชียง รับประทานไดประจํา เนื้อปลาทุกชนิด ไก เปด หมู เนื้อ ที่ไมติดหนังและมัน ปริมาณที่ควรรับประทาน คือ วันละ 2-4 ขีด (200-400 กรัม)หรือเนื้อสัตวสุก 4-6 ชอนโตะตอมื้อ ขึ้นกับนํ้าหนักตัว และระดับไขมันในเลือด 4. มีโคเลสเตอรอลไมเกิน 200-300 มก/วัน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและระดับไขมันในเลือด 5. พลังงานที่เหลือ (รอยละ 55-65 ของพลังงานทั้งหมด) ไดจากคารโบไฮเดรท คือ อาหารประเภทแปง ซึ่ง ควรเปนคารโบไอเดรทเชิงซอน ไดแก ธัญญพืชหรือขาว ถั่วชนิดตางๆ เนื่องจากจะใหทั้งใยอาหาร(dietary fiber) และ โปรตีน ควรหลีกเลี่ยงการใชนํ้าตาลหรืออาหารที่มีนํ้าตาลปริมาณสูง 6. รับประทานผักปริมาณมาก และผลไมทุกมื้อ เพื่อใหไดใยอาหารมากพอ 7. ดื่มแอลกอฮอลไดบาง ไมควรเกิน 6 สวนตอสัปดาห (แอลกอฮอลหนึ่งสวนไดแก วิสกี้ 1½ ออนซ หรือ เบียร 12 ออนซ หรือ ไวน 4 ออนซ) ยกเวนผูที่มีระดับไตรกลีเซอไรดในเลือดสูง หามดื่มแอลกอฮอล การรักษาโดยการใชยา หลังจากไดขจัดสาเหตุของระดับไขมันสูงในเลือด รวมทั้งใหการรักษาโดยการควบคุมอาหารและการออก กําลังกายเปนระยะเวลา 3 – 6 เดือนแลว ระดับไขมันในเลือดยังสูงเกินเปาหมายที่กําหนดไว จึงพิจารณาใชยาเพื่อ ชวยลดความผิดปกติของระดับไขมัน1,2 การเลือกยา หากเลือกไมถูกตองจะทําใหเสียคาใชจายมากโดยผลลัพธไมดี ในปจจุบันยาลดไขมันที่ใชมีหลายกลุม15,16,17 (ตารางที่ 4, 5) ไดแก chelating agent (resin) ซึ่งไมถูกดูดซึมเขาราง
  • 9. 9 กาย ทําหนาที่ดึงโคเลสเตอรอลออก โดยยับยั้งการดูดซึมนํ้าดีกลับ ยาที่ลดการสรางโคเลสเตอรอล คือ statins และ ยาที่เพิ่มการเผาผลาญโคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด ไดแก statins, fibrates และ nicotinic acid สวน probucol นั้น เพิ่มการเผาผลาญโคเลสเตอรอลโดยไมมีผลตอไตรกลีเซอไรด การใชยาที่เหมาะสมนั้นตองพิจารณา ชนิดและความรุนแรงของระดับไขมันที่ผิดปกติในเลือด แนวทางการเลือกใชยาแสดงไวในตารางที่ 4 สําหรับประสิทธิ ภาพของยาชนิดตางๆแสดงไวในตารางที่ 5 ตารางที่ 4. การเลือกใชยาเพื่อลดระดับไขมันในเลือดตามรูปแบบไขมันที่ผิดปกติ ชนิดและระดับไขมันสูงในเลือด กลุมยาที่เลือกใช ยากลุมที่อาจใชทดแทนได LDL-C TC TG 130 - 190 200 – 400 ปกติ - Statins - Fibrates มก/ดล มก/ดล - Bile acid sequestrant - Nicotinic acid analogue - Nicotinic acid - Probucol สูงไมเกิน - Statins + Fibrates - Fibrates 400 มก/ดล - Nicotinic acid - Nicotinic acid analogue สูงเกิน 400 มก/ดล - Fibrates + Statins - Nicotinic acid analogue + Statins - Nicotinic acid + Statins - Fish oil concentrate + Statins เกิน 190 มก/ดล เกิน 400 มก/ดล ปกติ - Statins + Bile acid sequestrant - Statins + Probucol เกิน 200 มก/ดล - Statins + Fibrates - Statins + Nicotinic acid - Statins + Nicotinic acid analogue ตํ่ากวา /เทา กับ 130 มก/ดล ตํ่ากวา /เทา กับ 200 มก/ดล สูงเกิน 400 มก/ดล - Fibrates - Nicotinic acid - Nicotinic acid analogue + หมายถึงใชกลุมใดกลุมหนึ่งโดยเลือกกลุมหนาเปนหลัก หรือใชรวมกัน แมวายากลุม statins จัดเปนยาที่ออกฤทธิ์ดีที่สุด สําหรับผูที่มีระดับ TC สูง แตสําหรับผูที่เปน combined hyperlipidemia คือ TC และ TG สูงรวมกัน ยากลุม fibrates และ nicotinic acid หรือ analogue จะไดผลดี การใช statins จะมีผลตอ TG นอย (ตารางที่ 5) ในระยะหลังพบวา fish oil ขนาดสูงสามารถลด TG ไดดีมาก18,19 โดย เฉพาะที่เปน fish oil concentrate ซึ่งใชเปนยา จะมีความบริสุทธิ์ของ n-3 fatty acids สูงถึงรอยละ 84 เมื่อเทียบกับ fish oil ทั่วไป ซึ่งมี n-3 fatty acids ประมาณรอยละ 30 และมีโคเลสเตอรอลปนอยู ในการเลือกใชยานั้นจําเปนตองระวังอาการไมพึงประสงค17 ซึ่งบางครั้งอาจเปนปญหาสุขภาพได แมวายา สวนใหญทําใหเกิดอาการแนนทอง, คลื่นไส, ทองเสีย แตบางชนิด (resin) ทําใหเกิดอาการทองผูกไดมาก บางชนิด (statins, fibrates) ทําใหตับอักเสบ หรือปวดเมื่อยกลามเนื้อจนเดินไมไหว โดยเฉพาะเมื่อใชในผูปวยที่มีปญหาตับ
  • 10. 10 และไตทํางานไมดี หรือมีการใชยารวมกันในขนาดสูง แมวาผลขางเคียงของยา statins จะเปน class effect แตใน ยากลุมนี้ยังมีรายละเอียดในเมตะบอลิสมตางกัน20,21 เชน พบวา fluvastatin ถูกเผาผลาญผาน cytochrome P450 subtype 2C9 ซึ่งตางจากตัวอื่นๆที่เผาผลาญผาน cytochrome P450 3A4 เปนสวนใหญ จึงทําใหปญหา drug interaction นอยลง และนาจะมีผลดีกับผูปวยที่ตองกินยาหลายๆชนิด สวน fish oil concentrate ทําให platelet aggregration ลดลง18 เกิดจํ้าเลือดงาย โดยเฉพาะหากใชรวมกับ aspirin หรือยาที่ตาน platelet aggregration อาการไมพึงประสงคที่พบบอยจากการใช nicotinic acid และ analogue คือ อาการคัน และ flushing เนื่องจากยามี ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดจึงทําใหเกิด flushing ดังนั้นหากไดอธิบายใหผูปวยเขาใจผลขางเคียงนี้กอนใชยา จะทําใหการ ยอมรับยาดีขึ้น การใช nicotinic acid นอกจากไดผลดีแลว ยังมีราคาถูกดวย ตารางที่ 5. ประสิทธิภาพของยาชนิดตางๆ ตอระดับไขมันในเลือด ชนิดของยา ขนาดเม็ด วิธีใช การเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือด (%) (มก.) (ตอวัน) TC LDL-C HDL-C TG HMG CoAR inhibitors 16 - 50 18 - 50 3 - 16 5 - 30 Atorvastatin 10, 20 5 – 80 q pm. 29 - 50 29 - 50 3 - 8 13 - 30 Fluvastatin 20, 40, 80 20 – 80 q pm. 17 - 24 24 - 36 7 - 16 7 - 25 Simvastatin 10, 20, 40, 80 5 – 80 q pm. 28 - 36 28 - 40 6 - 12 9 - 19 Pravastatin 5, 10, 40 5 – 40 q pm. 16 - 25 18 - 28 5 - 16 5 - 11 Fibric acids 10 - 20 10 - 20 7 - 25 20 - 50 Bezafibrate 200, 400 R 200 tid, 400 R OD 10 - 20 10 - 15 10 - 25 20 - 25 Fenofibrate 100, 300, 200 M 300/d, 200 M OD 17 - 20 10 - 20 7 - 15 25 - 45 Gemfibrozil 300, 600, 900 300 – 600 bid 900 OD 10 - 15 10 - 15 11 - 20 35 - 50 Nicotinic acid and analogue 3 - 19 5 - 25 10 - 25 21 - 30 Nicotinic acid 50 25– 750 tid, qid* 3 - 19 10 - 25 10 - 25 25 - 30 Acipimox 250 250 bid - tid 3 - 10 5 -14 18 - 22 21 - 28 Bile acid sequestrant (resin) Cholestyramine 4 กรัม 4 – 8 กรัม, OD-tid 10 – 15 15 - 30 3 – 5 อาจเพิ่ม เล็กนอย Biphenolic group Probucol 250 250 – 500 bid 10 – 15 10 - 15 ลดลง 20 -25 ไมเปลี่ยน Omega- 3 fatty acids Fish oil capsule EPA+DHA 840 1680 bid อาจเพิ่ม เล็กนอย อาจเพิ่ม เล็กนอย 0 - 9 3 - 52 * พบผลขางเคียงของยาไดบอย เริ่มใหจํานวนนอยแลวคอยๆเพิ่มขึ้น
  • 11. 11 เมื่อใชยา ผูปวยจําเปนตองปฏิบัติตัวเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดําเนินชีวิต ควบคุมอาหาร และ ออก กําลังกายอยางตอเนื่อง หากยาตัวใดตัวหนึ่งที่ใหอยูไมสามารถลดระดับไขมันในเลือดลงถึงเปาหมายที่ตั้งไว แมจะ เพิ่มขนาดยาเต็มที่แลวก็ตาม แพทยสามารถเสริมยาชนิดที่สองซึ่งมิใชกลุมเดียวกันกับยาตัวแรก15 (ตารางที่ 4) เมื่อ ผลเลือดดีขึ้นควรพิจารณาวาอาจจะลดขนาดยาตัวใดตัวหนึ่งลงไดหรือไม ทั้งนี้เพื่อหลีกเลียงโอกาสเกิดอาการไมพึง ประสงคจากยา ยากลุม bile acid sequestrant และ fish oil concentrate เปนยาที่คอนขางปลอดภัยที่จะใชรวมกับ ยาอื่น15,22 การใชยารวมกันหลายชนิดตองพิจารณาอยางรอบคอบ การติดตามการรักษาผูปวยที่มีภาวะไขมันผิดปกติในเลือด กอนที่จะใหยาลดระดับไขมันในเลือดควรตรวจการทํางานของตับและไตกอน ถาระดับ transaminase มีคา มากกวา 3 เทาของเกณฑสูงสุดของคาปกติ (upper limit of normal) ไมควรใชยาในกลุม statins และ fibrates ถา ระดับ creatinine มีคามากกวา 2.0 มก/ดล การใชยาในกลุม fibrates ตองลดขนาดที่ใชลง เนื่องจากยาในกลุมดัง กลาวมีการทําลายที่ไต หากระดับ creatinine มีคามากกวา 4 มก/ดล ไมควรใชยาในกลุม fibrates เลย การติดตามระดับไขมันในเลือดหลังการรักษา ควรทําหลังใหการรักษาแลวประมาณ 6-12 สัปดาห ตอจาก นั้นควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือดทุกตัวทุก 3 - 6 เดือนตามความเหมาะสม เมื่อเริ่มรักษาดวยยาในกลุม statins หรือ fibrates ควรตรวจระดับ transaminase หลังจากที่ไดรับยาไปแลว 6-12 สัปดาห เพื่อเฝาดูอาการไมพึงประสงคจากยาดังกลาว ถาอยูในเกณฑปกติ ควรติดตามเปนระยะๆ ปละ 1-2 ครั้งแมจะมีขอมูลวาการใชยาระยะยาวมีความปลอดภัย9 กรณีที่ใชยาขนาดสูง หรือ ใชยา 2 ชนิดขึ้นไปรวมกัน ควรติด ตามทุก 3 – 6 เดือนหรือตามความเหมาะสม เมื่อพบระดับ transaminase เพิ่มขึ้นเกิน 3 เทาของเกณฑสูงสุดของคา ปกติ ใหหยุดยา หากมีอาการปวดเมื่อยกลามเนื้อควรตรวจระดับ CPK ดวย ถามีคามากกวา 10 เทา บงชี้วาเกิด myopathy ซึ่งอาจรุนแรงขึ้นเปน rhabdomyolysis จําเปนตองหยุดยาเชนกัน ในกรณีที่ตองใช statin รวมกับ fibrate ผูปวยควรมีการทํางานของตับและไตที่อยูในเกณฑปกติคือระดับ transaminases และ creatinine อยูในเกณฑปกติ และควรติดตามระดับ SGOT, SGPT และ CPK ทุก 1-2 เดือน ในระยะ 6 เดือนแรก เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิด rhabdomyolysis และ hepatitis ได ความรูสําหรับประชาชนเกี่ยวกับภาวะระดับไขมันผิดปกติในเลือด ไขมันในเลือดคืออะไร? ไขมันเปนสารอาหารจําเปนที่รางกายใชเปนพลังงาน, สรางฮอรโมนและวิตามินบางชนิด ไขมันในเลือดมา จากอาหารที่รับประทานและรางกายสรางขึ้น ไขมันรวมตัวอยูกับโปรตีนเปนอณูไขมันโปรตีน การวัดระดับไขมันใน เลือด วัดเปนระดับโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด ซึ่งระดับโคเลสเตอรอลวัดแบงยอยไปตามหนาที่จําเพาะ ระดับ ไขมันในเลือดที่ตรวจวัดคือ 1. ระดับโคเลสเตอรอลรวม 2. ระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล (LDL–C คือโคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนตํ่า) 3. ระดับ เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL-C คือโคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนสูง) 4. ระดับไตรกลีเซอไรด
  • 12. 12 โคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนตํ่าถูกนําไปสูอวัยวะตางๆ และผนังหลอดเลือดทั่วรางกาย หากมีจํานวนมากจะเกิดการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดและอุดตันหลอดเลือดได ทําใหเกิดโรคหัวใจและหลอด เลือดไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกลามเนื้อหัวใจตาย โรคอัมพฤกษ อัมพาต โรคหลอดเลือดสวนปลายอุดตัน เชนที่ขา ดังนั้น แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล จึงเปน “ไขมันไมดี” จําเปนตองไดการรักษาหากระดับ แอล ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงในเลือด โคเลสเตอรอลในอณูไขมันโปรตีนความหนาแนนสูง เปนโคเลสเตอรอลที่ถูกลําเลียงออกจากอวัยวะตางๆ และผนังหลอดเลือด ทําใหลดการอุดตันของหลอดเลือด ดังนั้นเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล จึงจัดเปน”ไขมันดี” การมี ระดับเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอลสูงในเลือดชวยลดการอุดตันของหลอดเลือด จะทราบไดอยางไรวาระดับไขมันในเลือดผิดปกติ? การตรวจระดับไขมันในเลือดจะบอกไดชัดเจนวาระดับไขมันในเลือดผิดปกติหรือไม ทําไดโดยเจาะเลือดใน ตอนเชาหลังจากงดอาหารเปนเวลา 12 ชั่วโมง แตสามารถดื่มนํ้าเปลาได ระดับไขมันในเลือดที่พึงมี หรืออยูในเกณฑ มาตรฐาน หรือเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนอย คือ โคเลสเตอรอลรวม นอยกวา 200 มก/ดล แอล ดี แอล โคเลสเตอรอล นอยกวา 100 มก/ดล เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล มากกวา 40 มก/ดล ไตรกลีเซอไรด นอยกวา 200 มก/ดล ถาระดับไขมันในเลือดเบี่ยงเบนไปจากเกณฑดังกลาว จะเพิ่มความเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและหลอด เลือด ยิ่งเบี่ยงเบนมากก็จะเพิ่มความเสี่ยงยิ่งขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับปจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของแตละบุคคลดวย ผูใดควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือด? ผูที่มีความเสี่ยงสูงและควรไดรับการตรวจระดับไขมันในเลือดคือ 1. ผูที่ปวยเปนโรคหัวใจและหลอดเลือดอยูแลว ไดแก โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกลามเนื้อหัวใจตาย โรคอัมพฤกษ อัมพาต โรคหลอดเลือดสวนปลายอุดตัน 2. ผูที่มีความเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด 2.1ผูชายอายุมากกวา 45 ป, ผูหญิงอายุมากกวา 55 ป 2.2มีสมาชิกในครอบครัวเปนโรคหลอดเลือดหัวใจหรือเสียชีวิตกะทันหัน โดยผูชายเปนเมื่ออายุ <55 ป ผูหญิงเปนเมื่ออายุ <65 ป 2.3มีความดันโลหิตสูง , เปนเบาหวาน หรือ สูบบุหรี่ 3. มีโรคที่เกี่ยวของกับระดับไขมันผิดปกติ เชน โรคอวน โรคไตวายเรื้อรัง หรือกลุมอาการบวมจากโรคไต 4. มีการตรวจพบลักษณะที่บงชี้วามีระดับไขมันสูงในเลือด เชน กอนไขมัน ที่บริเวณเสนเอ็นที่ขอศอก เอ็น รอยหวาย หรือกอนไขมันใตผิวหนังที่มีลักษณะคลายหัวสิวบริเวณหลังและสะโพก หากตรวจแลวพบวาระดับไขมันอยูในเกณฑปกติควรตรวจซํ้าทุก 1-3 ป สําหรับประชาชนที่อาศัยอยูในเขต เมืองควรตรวจระดับไขมันในเลือดตั้งแตอายุ 35 ป และควรไดรับการตรวจซํ้าทุก 5 ป อะไรคือสาเหตุของระดับไขมันในเลือดผิดปกติ? ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ อาจเกิดจากปจจัยภายในตัวเอง เชน พันธุกรรม หรือความเจ็บปวยบางประการ ไดแกโรคเบาหวาน, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคตับ, ขาดธัยรอยดฮอรโมน หรือจากยา เชน ยาลดความดันบางชนิด ยากลุมสเตียรอยด และที่สําคัญคือ ไขมันในเลือดผิดปกติจากการบริโภคอาหารไมเหมาะสม อาหารที่ทําใหระดับ
  • 13. 13 โคเลสเตอรอลสูงในเลือดไดแก อาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลมาก และ/หรือ มีไขมันอิ่มตัวมาก ไดแก กะทิ, มันหมู, เนย, หนังสัตว, ไขแดง และเครื่องในสัตว สวนอาหารที่ทําใหไตรกรีเซอไรดสูงไดแก อาหารที่ใหพลังงานเกินความจํา เปน การรับประทานนํ้าตาลมาก และการดื่มสุรา จะรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติไดอยางไร? การรักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเริ่มดวย การรักษาที่ไมตองใชยา รวมกับการใชยาเมื่อมีความจําเปน การรักษาที่ไมตองใชยา ประกอบดวย การงดสูบบุหรี่ การควบคุมนํ้าหนักตัว การผอนคลายความเครียด การออกกําลังกาย และการรับประทานอาหารอยางถูกตอง ซึ่งเปนพื้นฐานสําคัญของการปองกันและการรักษาภาวะ ไขมันผิดปกติในเลือด ควรปฏิบัติตามที่แพทยและนักโภชนาการแนะนําอยางเครงคัดและตอเนื่อง ถาการรักษาโดยไม ตองใชยาไมไดผล จึงใชยารวมดวย แพทยจะเปนผูพิจารณาเลือกยาที่เหมาะสมใหเปนรายๆ ไป จะมีการปรับขนาดยาจนกระทั่งสามารถควบคุม ระดับไขมันในเลือดไดตามเปาหมาย นอกจากนี้แพทยจําเปนตองใหการรักษาภาวะเสี่ยงตอการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดอื่นๆ เชน ความดันโลหิตสูง เบาหวานรวมไปดวย เอกสารอางอิง 1. Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults. Executive summary of the third report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) expert panel on detection, evaluation, and treatment of high blood cholesterol in adults (adult treatment panel III); JAMA 2001; 285: 2486-97. 2. วิชัย ตันไพจิตร. การวินิจฉัยและการบําบัดภาวะความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด. โภชนศาสตรคลินิก 2540; 1: 1-22. 3. Bhuripanyo K, Leowattana W, Ruangratanaamporn O, Mahanonda N, Sriratanasathavorn C, Chotinaiwattarakul C, et al. Are routine checkups necessary? : the Shinawatra’s employee study. J Med Assoc Thai 2000; 83 (Suppl 2): S163-S171. 4. Butterworth R, Marshall W, Bath P. Changes in serum lipid measmements following acute ischemic stroke. Cerebrovascu Dis 1997; 7: 10-13. 5. Ginsberg HN, Goldberg IJ. Disorders of lipoprotein metabolism. In: Harrison’s Principle of Internal Medicine, 15th ed, Braunwald E, Fauci A, Kasper DL, et al, eds . New York, McGraw-Hill, 2001: 2245 –57. 6. Goldstein JL, et al. Familial hypercholesterolemia. In: The Matabolic and Molecular Basis of Inherited Disease, 8th ed. Scriver CR, et al, eds. New York, McGraw-Hill, 2001: 2863-913. 7. Smith SC, Blair SN, Bonow RO, et al. AHA/ACC guidelines for preventing heart attack and death in patients with atherosclerotic cardiovascular disease: 2001 update. Circulation 2001; 104: 1577-9. 8. Tonkin AM. Clinical relevance of statins: their role in secondary prevention. Atherosclerosis 2001; Suppl 2: 21-25.
  • 14. 14 9. Heart Protection Study Collaborative Group. MRC/BHF Heart Protection Study of cholesterol lowering with simvastatin in 20536 high-risk individuals: a randomized placebo-controlled trial. Lancet 2002; 360: 7-22. 10. Newby DE, Wright RA, Labinjoh C, et al. Endothelial dysfunction, impaired endogenous fibrinolysis and cigarette smoking : a mechanism for arterial thrombosis and myocardial infarction. Circulation 1999; 99: 1411-1415. 11. Fusegawa Y, Goto S, Handa S, Kawada T, Ando T. Platelet spontaneous aggregation in pleatelet- rich plasma is increased in habitual smokers. Thromb Res 1999; 93: 271-278. 12. Wojtaszewski JFP, Goodyear LJ. Cellular effects of exercise to promote muscle insulin sensitivity. Curr Opin Endocrinol Diabetes 1999; 6: 129-134. 13. Smith JK, Dykes R, Douglas JE, Krishnaswamy G, Berk S. Long-term exercise and atherogenic activity of blood mononuclear cells in persons at risk of developing ischemic heart disease. JAMA 1999; 281: 1722-7. 14. Lichtenstein AH, Ausman LM, Jalbert SM, Schaefer EJ. Effects of different forms of dietary hydrogenated fats on serum lipoprotein cholesterol levels. N Engl J Med 1999; 340: 1933- 40. 15. Knopp RH. Drug treatment of lipid disorders. N Engl J Med 1999; 341: 498-511. 16. สุรัตน โคมินทร. Appropriate use of hypolipemic agents. ใน: โรคตอมไรทอและเมตาบอลิสมสําหรับเวช ปฏิบัติ 3. วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ. โครงการตําราจุฬาอายุรศาสตร, ยูนิตี้ พับลิเคชั่น, กรุงเทพฯ 2541: 144 –56. 17. Witzum JL. Drugs used in the treatment of hyperlipoproteinemias. In: Goodman and Gilman’s The pharmacological basis of therapeutics 9th ed. Hardman JG, Limbird LE, et al, eds. New York, NK. McGraw-Hill 1996: 875-97. 18. Nestel PJ. Effects of n-3 fatty acids on lipid metabolism. Ann Rev Nutr 1990; 10: 149-167. 19. Harris WS, Ginsberg HN, Arunkul N, et al. Safety and efficacy of Omacor in severe hypertriglyceridaemia. J Cardiovasc Risk 1997; 4: 385-91. 20. Corsini A, et al. New insights into the pharmacodynamic and pharmacokinetic properties of statins. Pharmacology & Therapeutics. 1999; 84: 413-28. 21. Elizabeth LM. Update: Clinical significant CYP - 450 drug interactions. Pharmacotherapy 1998; 18: 84 –112. 22. Contacos C, Baber PY, Sullivan OR. Effect of pravastatin and omega-3 fatty acids on plasma lipids and lipoproteins in patients with combined hyperlipidemia. Arterioscl Thromb 1993; 18: 1755-62.