SlideShare a Scribd company logo
1 of 26
Download to read offline
1 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
Omeka Portable สื่อเรียนรู้การพัฒนาระบบนาเสนอผลงานผ่านเว็บ
Omeka ซอฟต์แวร์กลุ่มโอเพนซอร์สที่ถูกออกแบบมาให้รองรับการนาเสนอผลงานลักษณะ
ต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ สามารถประยุกต์ใช้กับงานได้หลายลักษณะ ทั้งการนาเสนอข้อมูลของห้องสมุด
ข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ ผลงานวิชาการ หรือนิทรรศการต่างๆ จึงเป็นซอฟต์แวร์กลุ่ม web-publishing
platform ที่ประกอบด้วยความสามารถของชุดโปรแกรมถึง 3 ชุดคือ Web Content Management,
Collections Management และ Archival Digital Collections Systems
โปรแกรม Omeka ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก พร้อมด้วยฟังก์ชันตามเทคโนโลยี
เว็บ 2.0 รองรับข้อมูลได้ทั้งบรรณานุกรมเอกสาร แฟ้มเอกสารแนบทั้งในฟอร์แมต .doc, .docx, .pdf,
.zip แฟ้มภาพดิจิทัลต่างๆ และแฟ้มสื่อมัลติมีเดียทั้งเสียงและวิดีโอ โดยใช้มาตรฐานการลงรายการของ
Dublin Core และสามารถเชื่อมข้อมูลได้สะดวกด้วย OAI-PMH รวมทั้งการส่ง Feed ข้อมูลในรูปแบบ
Atom, DCMESXML, JSON และ RSS2
Omeka มีให้เลือกใช้งานหลายลักษณะได้แก่ Omeka.org เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์สที่อนุญาต
ให้ดาวน์โหลดต้นฉบับไปติดตั้งใช้งานบนเครื่องแม่ข่ายเว็บ Omeka.net บริการการใช้งานพร้อมพื้นที่
ฟรี ที่สมัครเป็นสมาชิกได้ง่าย และพร้อมใช้งานได้ทันที รวมทั้ง Omeka Portable ซึ่งเป็นชุดโปรแกรม
Omeka ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานบน XAMPP อันเป็นโปรแกรมจาลองเครื่องแม่ข่ายเว็บที่ทางานบน
ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ดังนั้น Omeka Portable จึงนับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถนามา
ศึกษาทดลองได้ง่าย สะดวก สามารถประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนในหลายหัวข้อ เช่น การบริหาร
จัดการเมทาดาทา โดยเฉพาะ Dublin Core การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัล การพัฒนาระบบจดหมายเหตุ
ดิจิทัล การพัฒนาคลังภาพดิจิทัล การพัฒนาสื่อนิทรรศการออนไลน์ การพัฒนาคลังผลงานวิชาการ
ระบบเปิด
การใช้งาน Omeka Portable ทาได้โดยการเข้าสู่เว็บไซต์ https://code.google.com/p/omk-
portable/ แล้วดาวน์โหลดต้นฉบับโปรแกรม ซึ่งมีชื่อแฟ้มโปรแกรมต้นฉบับคือ xampp.zip
รูปที่ 1
2 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
เมื่อดาวน์โหลดต้นฉบับโปรแกรมแล้ว ให้ Unzip จะได้โฟลเดอร์ชื่อเดียวกัน เมื่อเข้าสู่โฟลเดอร์
จะปรากฏโฟลเดอร์และโปรแกรมต้นฉบับ Omeka Portable ดังนี้
รูปที่ 2
โปรแกรม Omeka Portable เป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้สะดวก สามารถ Unzip แล้วใช้งานได้
ทันที หรือจะคัดลอกไปไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพาเช่น USB Drive เพื่อทางานต่อไป
การเรียกใช้งานโปรแกรม
การเรียกใช้งานโปรแกรม กรณีที่เป็นการเรียกใช้งานครั้งแรกให้เริ่มจากการปรับระบบ
XAMPP ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการที่ใช้งานโดยดับเบิลคลิกโปรแกรม
setup_xampp.bat
3 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 3
จากรูปให้กดปุ่มตัวเลข 1 เพื่อเลือกคาสั่ง Refresh now! จากนั้นรอโปรแกรมปรับ
สภาพแวดล้อมการทางาน เมื่อโปรแกรมปรับสภาพแวดล้อมการทางานเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่มใดๆ
เพื่อปิดจอภาพการปรับสภาพแวดล้อมการทางานของ XAMPP
รูปที่ 4
การเรียกใช้งานจะเริ่มด้วยการเรียกใช้งานโปรแกรมจาลองเครื่องแม่ข่ายเว็บ Apache และ
โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL ผ่านโปรแกรม xampp-control.exe เมื่อดับเบิ้ลคลิกจะปรากฏ
จอภาพการทางาน ดังนี้
4 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 5
จากภาพแสดงว่าโปรแกรม Apache และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL พร้อมทางาน
คลิกปุ่ม Admin ของ Apache เพื่อเปิดหน้าเว็บเบราว์เซอร์
รูปที่ 6
5 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
การเข้าสู่ Omeka Portable ทาได้โดยการเปลี่ยน URL จาก http://localhost/xampp/ เป็น
http://localhost/omeka2
รูปที่ 7
การทางานในโหมดผู้ดูแลระบบ
หน้าเว็บที่ปรากฏดังรูปที่ 7 เป็นหน้าเว็บส่วนติดต่อผู้ใช้ของ Omeka ทั้งนี้การเข้าไปปรับแต่ง
หน้าเว็บตลอดทั้งการเข้าไปทางานกับเอกสาร จะเข้าสู่หน้าเว็บส่วนทางานของผู้ดูแลระบบ (Admin) ซึ่ง
มี URL ดังนี้ http://localhost/omeka2/admin
6 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 8
บัญชีผู้ดูแลระบบให้ระบุเป็น admin และรหัสผ่านคือ kos2012 ซึ่งจะปรากฏส่วนการทางาน
ของผู้ดูแลระบบ ดังนี้
รูปที่ 9
จากภาพจะปรากฏส่วนการทางาน 3 ส่วนหลักคือ
 เมนูด้านข้างซ้ายที่ประกอบด้วยคาสั่ง Dashboard, Items, Collections, Item Types และ
Tags
 เมนูด้านบนที่ประกอบด้วยคาสั่ง Plugins, Appearance, Users, Settings, Logout
 พื้นที่การทางานหลัก
7 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
การปรับแต่งบัญชีผู้ดูแลระบบ
คาสั่งแรกที่ขอแนะนาคือ การแก้ไขรหัสผ่านและปรับข้อมูลบัญชีผู้ดูแลระบบ โดยคลิกเมนู
User จะปรากฏส่วนการทางาน ดังนี้
รูปที่ 10
จอภาพการทางานกับผู้ใช้ จะปรากฏบัญชีผู้ใช้ของระบบ 1 บัญชี คือ admin ให้คลิกปุ่ม Edit
เพื่อเข้าสู่จอภาพแก้ไข
รูปที่ 11
8 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รายการที่ควรปรับแต่งได้แก่
 Real Name ป้อนชื่อ นามสกุลจริงของผู้ดูแลระบบ
 Email ป้อนอีเมลของผู้ดูแลระบบ
 Change Password ป้ อนอีเมลใหม่ของผู้ดูแลระบบ
เมื่อปรับแก้ไขข้อมูลแล้วคลิกปุ่ม Save Changes และ Save Password เพื่อบันทึกการแก้ไข
การปรับแต่งเว็บไซต์
เมื่อปรับแต่งบัญชีผู้ดูแลระบบแล้ว ขั้นถัดไปควรปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับระบบที่
นาเสนอ ตัวอย่างต้องการสร้างคลังผลงานดิจิทัล (Digital Collection) สามารถทาได้โดยคลิกเมนู
Settings
รูปที่ 12
9 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
ทั้งนี้มีรายการที่ต้องปรับ ดังนี้
 Administrator Email ป้อนอีเมลของผู้ดูแลระบบ
 Site Title ระบุชื่อเว็บไซต์ แนะนาให้ระบุเป็นภาษาอังกฤษที่สื่อ
ความหมายชัดเจน สามารถต่อด้วยภาษาไทยที่กระชับ
 Site Description พิมพ์คาอธิบาย หรือข้อความแนะนาเว็บไซต์หรือระบบ
 Site Copyright Information พิมพ์ข้อความอธิบายสัญญาอนุญาตการใช้งาน เช่น สงวน
ลิขสิทธิ์ หรือสัญญาอนุญาตครีแอทิฟคอมมอนส์
 Site Author Information ระบุข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของเว็บไซต์หรือระบบ
 Tag Delimiter ระบุเครื่องหมายที่ใช้เป็นตัวคั่นของ Tag แนะนาให้ใช้คงเดิม
คือ เครื่องหมายคอมม่า ,
 ImageMagick Directory Path ระบุพาทของโปรแกรม ImageMagick ทั้งนี้จะอธิบาย
รายละเอียดในการพัฒนาคลังภาพดิจิทัล คลังสื่อนิทรรศการต่อไป
รูปที่ 13
เมื่อป้อนข้อมูลดังรายละเอียดข้างต้น คลิกปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกข้อมูล
10 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
การบริหารจัดการเอกสารดิจิทัล
ตัวอย่างการใช้งาน Omeka ตัวอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัล โดยมีขั้นตอน ดังนี้
1. การสร้าง Collections เช่น Collection เอกสารประกอบการสอน Collection สไลด์
Collection บทความทางวิชาการ Collection หนังสือ/คู่มือ
2. การนาเข้าเอกสารดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยการลงรายการเอกสารดิจิทัล โดย Omeka ใช้เมทา
ดาทาชุด Dublin Core รวมทั้งสามารถเลือกที่จะแนบแฟ้มเอกสารดิจิทัลได้ตามต้องการ
การสร้าง Collections
ขั้นตอนแรกของการพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัล คือ การสร้าง Collection ให้กับระบบ ทั้งนี้
สามารถสร้าง Collection ได้มากกว่า 1 ชุด เช่น Collection เอกสารประกอบการสอน Collection สไลด์
Collection บทความทางวิชาการ Collection หนังสือ/คู่มือ
การสร้าง Collection ทาได้โดยคลิกเมนู Collections
รูปที่ 14
จากจอภาพการทางานกับ Collections ให้คลิกปุ่ม Add a Collection เพื่อสร้าง Collection ที่
ต้องการ เช่น
 Collection เอกสารประกอบการสอน
 Collection สไลด์
 Collection บทความทางวิชาการ
 Collection หนังสือ/คู่มือ
11 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 15
12 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
Omeka จะให้ป้ อนข้อมูลเกี่ยวกับ Collection ด้วยเมทาดาทาชุด Dublin Core ดังนี้
Title:
A name given to the resource
ชื่อ Collection
ให้กาหนดด้วยชื่อที่สื่อความหมายชัดเจน ไม่ยาวมาก เช่น
“สไลด์” หรือ “เอกสารประกอบการบรรยาย”
Subject:
The topic of the resource
หัวเรื่อง หรือหมวดหมู่ Collection
แนะนาให้เลือกใช้คาจากศัพท์ควบคุม (controlled
vocabulary) หรือคาจากหมวดหมู่ที่เป็นทางการ เช่น
“การศึกษา” หรือ “ห้องสมุด”
Description:
An account of the resource
คาอธิบายเกี่ยวกับ Collection
สามารถเลือกใช้จากบทคัดย่อ เนื้อหาจากสารบัญ และ
ข้อความพรรณนาเกี่ยวกับ Collection
Creator:
An entity primarily responsible
for making the resource
ชื่อเจ้าของผลงานใน Collection รวมทั้งชื่อหน่วยงาน
กรณีที่เป็นชื่อบุคคล ควรระบุด้วยนามสกุลตามด้วยชื่อตัว
เช่น “อรุณพิบูลย์บุญเลิศ” หรือ
“อรุณพิบูลย์บุญเลิศ, เจตจานงนุช บุญเกียรติ”
กรณีที่เป็นชื่อหน่วยงานให้ระบุหน่วยงานหลัก สามารถ
ตามด้วยหน่วยงานรอง โดยปิดท้ายหน่วยงานหลักด้วย
เครื่องหมายจุดและช่องว่าง เช่น
“สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
Source:
A related resource from which
the described resource is
derived
ต้นแหล่งข้อมูล ในรูปแบบทางการ เช่น
“Image from page 54 of the 1922 edition of Romeo and
Juliet”
Publisher:
An entity responsible for
making the resource available
สานักพิมพ์หรือหน่วยงานที่ผลิต/จัดทาสารสนเทศ กรณีที่
ข้อมูลซ้ากับ Creator ไม่ต้องป้ อนในรายการนี้
13 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
Date:
A point or period of time
associated with an event in the
lifecycle of the resource
ปีที่ผลิตหรือเผยแพร่ ในรูปแบบ YYYY-MM-DD (ISO
86011
) โดยระบุในรูปของปี ค.ศ. เท่านั้น เช่น
“1998-02-16”
Contributor:
An entity responsible for
making contributions to the
resource
บุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนร่วมสร้างเนื้อหาของผลงาน
Rights:
Information about rights held
in and over the resource
ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิ์การใช้งาน
โดยสามารถระบุได้ทั้งข้อความเช่น
“Access limited to members” หรือ
URL ที่ชี้ไปยังสิทธิ์ เช่น
“http://dublincore.org/about/copyright/#copyright”
Relation:
A related resource
แหล่งข้อมูลหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ความเกี่ยวข้อง
สามารถมีได้หลายลักษณะเช่น เช่น ความต้องเพิ่มระบบ
เพิ่ม การอ้างอิง เป็นส่วนหนึ่งของ หรือรุ่นของ
Title="Candle in the Wind"
Date="1997"
Creator="John, Elton"
Relation="Elton John's 1976 song Candle in the Wind"
Relationship described is IsVersionOf.
Format:
The file format, physical
medium, or dimensions of the
resource
การอธิบายลักษณะรูปร่างของทรัพยากรสารนิเทศเชิง
กายภาพและดิจิทัล2
Title="Dublin Core icon"
Type="Image"
Format="image/gif"
Format="4 kB"
1
http://www.w3.org/TR/NOTE-datetime
2
http://www.iana.org/assignments/media-types
14 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
หรือ
Title="The Bronco Buster"
Type="Physical object"
Format="bronze"
Format="22 in."
Language:
A language of the resource
ภาษาที่ใช้ในการเรียบเรียงข้อมูล ใช้ตามแบบ RFC 30663
รหัสพยัญชนะ 2 ตัว เช่น en สาหรับภาษาอังกฤษ th
สาหรับภาษาไทย อาจจะตามด้วยประเทศ 2 ตัวตามแบบ
ISO 6394
เช่น “en-US” หรือจะใช้วิธีอธิบาย เช่น
“Primarily English, with some abstracts also in French.”
Type:
The nature or genre of the
resource
ประเภทของข้อมูล แนะนาให้ระบุตามศัพท์ควบคุม
DCMIType vocabulary5
เช่น “Image” หรือ “Text”
Identifier:
An unambiguous reference to
the resource within a given
context
ข้อมูลบ่งชี้ถึงแหล่งข้อมูล/ข้อมูล เช่น ISBN, URI
Coverage:
The spatial or temporal topic
of the resource, the spatial
applicability of the resource, or
the jurisdiction under which
the resource is relevant
ระยะเวลาหรือขอบเขตเนื้อหา เช่น
Coverage="1995-1996"
Coverage="Boston, MA"
Coverage="17th century"
Coverage="Upstate New York"
การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ Collection ไม่จาเป็นต้องระบุครบทุกรายการ ตัวอย่างเช่น ต้องการ
สร้าง Collection สไลด์
3
http://www.ietf.org/rfc/rfc3066.txt
4
http://xml.coverpages.org/iso639a.html
5
http://dublincore.org/documents/dcmi-type-vocabulary/
15 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 16
เมื่อระบุรายการสาคัญเกี่ยวกับ Collection แล้วให้คลิกตัวเลือก Public เพื่อให้ Collection นี้
เผยแพร่ต่อสาธารณะ และตัวเลือก Featured เพื่อให้ Collections นี้แสดงในหน้าแรกของเว็บ จากนั้นจึง
คลิกปุ่ม Add Collection
รูปที่ 17
16 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
Collection ที่สร้างจะแสดงเป็นรายการ การแก้ไขทาได้โดยคลิกปุ่ม Edit ใต้ชื่อ Collection จะ
เข้าสู่จอภาพการแก้ไข Collection
รูปที่ 18
ประเภทข้อมูล (Item Types)
เมื่อสร้าง Collections แล้วขั้นถัดไปเป็นการกาหนดประเภทข้อมูลหรือ Item Types เช่นข้อมูล
ประเภทเอกสาร ข้อมูลประเภทภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อเชิงโต้ตอบ สื่อประเภทเสียง เว็บไซต์
เหตุการณ์ บุคคล หรือไฮเปอร์ลิงก์
ทั้งนี้ Omeka ได้กาหนดประเภทข้อมูลไว้เบื้องต้น จากเมนู Item Types
17 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 19
ประเภทข้อมูลที่ Omeka กาหนดสามารถเข้าไปแก้ไขชื่อ คาอธิบายได้ตามต้องการ รวมทั้ง
สามารถสร้างใหม่ได้โดยคลิกปุ่ม Add an Item Type
รูปที่ 20
18 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
ประเภทข้อมูลที่สร้างใหม่ ยังสามารถกาหนดรายการข้อมูล (Elements) ได้อิสระ โดยจะเลือก
จากรายการข้อมูลที่มีอยู่เดิม (Existing) หรือจะกาหนดใหม่ก็ได้(New)
รูปที่ 21
เมื่อระบุข้อมูลเกี่ยวกับ Item Type แล้วให้คลิกปุ่ม Add Item Type
รูปที่ 22
ประเภทข้อมูลที่สร้าง สามารถแก้ไขหรือลบได้ด้วยปุ่มควบคุม Edit หรือ Delete
19 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
การนาเข้าข้อมูล
เมื่อสร้าง Collection และ Item Type ได้ตรงตามข้อมูลที่ต้องการนาเข้า ขั้นถัดไปจะเป็นการ
ทางานกับข้อมูลรายรายการ โดยคลิกเลือกเมนู Items
รูปที่ 23
จากนั้นคลิกปุ่ม Add an Item จะปรากฏจอภาพเพื่อกาหนดรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้
รูปที่ 24
จากจอภาพนาเข้าข้อมูล จะมีแท็บรายการย่อย ได้แก่
Dublin Core จอภาพป้ อนรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล โดยใช้เมทาดาทา Dublin
Core ซึ่งมีรายละเอียดเหมือนกับการสร้าง Collection ที่ได้แนะนาไปก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมีรายการ
เลือก Public สาหรับเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ และ Featured เพื่อเลือกแสดงข้อมูลในหน้าแรกของ
เว็บ รวมทั้งตัวเลือกเลือก Collection
ตัวอย่าง ต้องการนาเข้าข้อมูลสาหรับสไลด์เรื่อง การบริหารห้องสมุดอย่างรู้เท่าทันเทคโนโลยี
ดิจิทัล โดยบุญเลิศ อรุณพิบูลย์เป็นการนาเสนอในงานประชุมวิชาการของชมรมห้องสมุดเฉพาะ ณ
โรงแรมมารวย วันที่ 2 กันยายน 2556
20 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 25
21 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
Item Type Metadata จอภาพเลือกประเภทข้อมูล
เมื่อระบุข้อมูลเมทาดาทา Dublin Core และเลือก Collection แล้ว ขั้นถัดไปเป็นการเลือก
ประเภทข้อมูล จากแท็บ Item Type Metadata
รูปที่ 26
Files จอภาพนาเข้าแฟ้มเอกสารดิจิทัล
เมื่อระบุข้อมูลเมทาดาทา Dublin Core เลือก Collection และประเภทข้อมูลแล้ว ขั้นถัดไปจะ
เป็นการแนบแฟ้มเอกสารดิจิทัล (หากมี)
รูปที่ 27
Tags จอภาพป้ อนป้ ายกากับหรือ Tag
ขั้นสุดท้าย จะเป็นการกาหนดป้ ายกากับ หรือ Tag ให้กับข้อมูล ทั้งนี้สามารถกาหนดป้ ายกากับ
ได้มากกว่า 1 รายการ
22 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 28
เมื่อดาเนินการได้ครบทุกรายการ หรือตามที่ต้องการ ให้คลิกปุ่ม Add Item จะปรากฏข้อมูลที่
นาเข้าดังนี้
รูปที่ 29
ทั้งนี้ถ้ากลับไปหน้าเว็บสาหรับผู้ใช้ จะปรากฏการแสดงผล ดังนี้
รูปที่ 30
และเมื่อข้อมูลที่สนใจ จะแสดงรายการข้อมูล ดังนี้
23 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
รูปที่ 31
24 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
เพียงไม่กี่ขั้นตอนของ Omeka ก็สามารถพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลได้ง่ายๆ ตามมาตรฐานการลง
รายการ Dubline Core รองรับการแนบแฟ้มเอกสารดิจิทัลเพื่อการบริการเอกสารฉบับเต็ม
ไม่เพียงเท่านี้ Omeka ยังมีความสามารถอื่นๆ อีกหลายด้าน โดยเฉพาะการทางานบนมาตรฐาน
การเชื่อมโยง OAI-PMH ซึ่งจะนาเสนอในโอกาสต่อไป
25 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร
แหล่งข้อมูล
Diane Hillmann. 2013. “Using Dublin Core - The Elements.” Accessed October 8.
http://dublincore.org/documents/usageguide/elements.shtml.
Roy Rosenzweig Center for History and New Media,. 2013. “Documentation – Omeka.” Accessed
October 8. http://omeka.org/codex/Documentation.
สารบัญ
Omeka Portable สื่อเรียนรู้การพัฒนาระบบนาเสนอผลงานผ่านเว็บ.......................................................1
การเรียกใช้งานโปรแกรม........................................................................................................................2
การทางานในโหมดผู้ดูแลระบบ..............................................................................................................5
การปรับแต่งบัญชีผู้ดูแลระบบ...........................................................................................................7
การปรับแต่งเว็บไซต์.........................................................................................................................8
การบริหารจัดการเอกสารดิจิทัล............................................................................................................10
การสร้าง Collections.......................................................................................................................10
ประเภทข้อมูล (Item Types)............................................................................................................16
การนาเข้าข้อมูล...............................................................................................................................19
แหล่งข้อมูล ...........................................................................................................................................25

More Related Content

What's hot

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558Utai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
บทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศบทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
บทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศwilaiporntoey
 
ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา
ซอฟต์แวร์ทางการศึกษาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา
ซอฟต์แวร์ทางการศึกษาjintana_pai
 
สื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
สื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสารสื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
สื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสารKhunakon Thanatee
 
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คtumetr1
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นSutthiluck Kaewboonrurn
 
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยาการบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยาPain clinic pnk
 
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการโครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการpeepee kullabut
 
Operating System Chapter 5
Operating System Chapter 5Operating System Chapter 5
Operating System Chapter 5Nuth Otanasap
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมSupaporn Khiewwan
 
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์Krusine soyo
 
ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)
ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)
ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)Namchai
 
การพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพการพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพMediaDonuts
 
Challenge Based Learning(CBL) : การเรียนรู้บนความท้าทาย :
Challenge Based Learning(CBL)  : การเรียนรู้บนความท้าทาย :Challenge Based Learning(CBL)  : การเรียนรู้บนความท้าทาย :
Challenge Based Learning(CBL) : การเรียนรู้บนความท้าทาย :DrDanai Thienphut
 
หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2อรยา ม่วงมนตรี
 
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)Dr.Kridsanapong Lertbumroongchai
 
โครงร่างสัมมนา
โครงร่างสัมมนาโครงร่างสัมมนา
โครงร่างสัมมนาAo Krubz
 

What's hot (20)

แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558
แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบบีและซีเรื้อรัง ในประเทศไทย ปี 2558
 
บทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
บทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศบทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
บทที่ 1 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ
 
ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา
ซอฟต์แวร์ทางการศึกษาซอฟต์แวร์ทางการศึกษา
ซอฟต์แวร์ทางการศึกษา
 
สื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
สื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสารสื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
สื่อการเรียน เรื่อง พัฒนาการของการติดต่อสื่อสาร
 
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทคัดย่อเล่มโปรเจ็ค
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้น
 
(16 มิ.ย. 56) service profile update
(16 มิ.ย. 56) service profile update(16 มิ.ย. 56) service profile update
(16 มิ.ย. 56) service profile update
 
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยาการบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
การบรรเทาความปวดด้วยวิธีไม่ใช้ยา
 
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการโครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
โครงงานเรื่อง ระบบปฎิบัติการ
 
Operating System Chapter 5
Operating System Chapter 5Operating System Chapter 5
Operating System Chapter 5
 
Chapter 4 empathize
Chapter 4 empathizeChapter 4 empathize
Chapter 4 empathize
 
การเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรมการเขียนบรรณานุกรม
การเขียนบรรณานุกรม
 
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)
ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)
ความรู้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Computing Fundamental)
 
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)
ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of multiple intelligences)
 
การพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพการพัฒนาบุคลิกภาพ
การพัฒนาบุคลิกภาพ
 
Challenge Based Learning(CBL) : การเรียนรู้บนความท้าทาย :
Challenge Based Learning(CBL)  : การเรียนรู้บนความท้าทาย :Challenge Based Learning(CBL)  : การเรียนรู้บนความท้าทาย :
Challenge Based Learning(CBL) : การเรียนรู้บนความท้าทาย :
 
หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
หน่วยที่ 2 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2
 
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
การปฏิสัมพันธ์และโมเดลปฏิสัมพันธ์ (Interaction and Interactive Model)
 
โครงร่างสัมมนา
โครงร่างสัมมนาโครงร่างสัมมนา
โครงร่างสัมมนา
 

Similar to Digital Collection with Omeka

Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรมLesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรมErrorrrrr
 
เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010
เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010 เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010
เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010 kanidta vatanyoo
 
Basic Windows 7 Application for KKU. Staff
Basic Windows 7 Application for KKU. StaffBasic Windows 7 Application for KKU. Staff
Basic Windows 7 Application for KKU. StaffKrit Kamtuo
 
53011220049
5301122004953011220049
53011220049zapzaax2
 
53011220049
5301122004953011220049
53011220049zapzaax2
 
ใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้น
ใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้นใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้น
ใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้นNattapon
 
53011220049
5301122004953011220049
53011220049zapzaax2
 

Similar to Digital Collection with Omeka (20)

PKP Open Harvester Software
PKP Open Harvester SoftwarePKP Open Harvester Software
PKP Open Harvester Software
 
omeka-portable-startup
omeka-portable-startupomeka-portable-startup
omeka-portable-startup
 
53011220073
5301122007353011220073
53011220073
 
53011220085
5301122008553011220085
53011220085
 
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรมLesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
Lesson 1 แนะนำการใช้โปรแกรม
 
เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010
เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010 เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010
เอกสารประกอบการเรียน โปรแกรม Microsoft Excel 2010
 
Openbiblio hotri
Openbiblio hotriOpenbiblio hotri
Openbiblio hotri
 
MediaWiki
MediaWikiMediaWiki
MediaWiki
 
53011220073
5301122007353011220073
53011220073
 
53011220073
5301122007353011220073
53011220073
 
53011220073
5301122007353011220073
53011220073
 
Presentation 2
Presentation 2Presentation 2
Presentation 2
 
Basic Windows 7 Application for KKU. Staff
Basic Windows 7 Application for KKU. StaffBasic Windows 7 Application for KKU. Staff
Basic Windows 7 Application for KKU. Staff
 
Endnote
EndnoteEndnote
Endnote
 
Endnote
EndnoteEndnote
Endnote
 
53011220049
5301122004953011220049
53011220049
 
53011220049
5301122004953011220049
53011220049
 
ใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้น
ใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้นใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้น
ใบความรู้ที่ 1 การใช้งานโปรแกรม visual studio 2010 เบื้องต้น
 
53011220049
5301122004953011220049
53011220049
 
Cms
CmsCms
Cms
 

More from Boonlert Aroonpiboon (20)

Excel quiz
Excel quizExcel quiz
Excel quiz
 
Scival for Research Performance
Scival for Research PerformanceScival for Research Performance
Scival for Research Performance
 
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-420190726 icde-session-chularat-nstda-4
20190726 icde-session-chularat-nstda-4
 
20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup20190409 social-media-backup
20190409 social-media-backup
 
20190220 open-library
20190220 open-library20190220 open-library
20190220 open-library
 
20190220 digital-archives
20190220 digital-archives20190220 digital-archives
20190220 digital-archives
 
OER KKU Library
OER KKU LibraryOER KKU Library
OER KKU Library
 
Museum digital-code
Museum digital-codeMuseum digital-code
Museum digital-code
 
OER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success StoryOER MOOC - Success Story
OER MOOC - Success Story
 
LAM Code of conduct
LAM Code of conductLAM Code of conduct
LAM Code of conduct
 
RLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOCRLPD - OER MOOC
RLPD - OER MOOC
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
New Technology for Information Services
New Technology for Information ServicesNew Technology for Information Services
New Technology for Information Services
 
digital law for GLAM
digital law for GLAMdigital law for GLAM
digital law for GLAM
 
20180919 digital-collections
20180919 digital-collections20180919 digital-collections
20180919 digital-collections
 
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
Field-Weighted Citation Impact (FWCI)
 
20180828 digital-archives
20180828 digital-archives20180828 digital-archives
20180828 digital-archives
 
Local Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How toLocal Wisdom Information : How to
Local Wisdom Information : How to
 
201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup201403 etda-library-settup
201403 etda-library-settup
 
201403 etda-library
201403 etda-library201403 etda-library
201403 etda-library
 

Digital Collection with Omeka

  • 1. 1 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร Omeka Portable สื่อเรียนรู้การพัฒนาระบบนาเสนอผลงานผ่านเว็บ Omeka ซอฟต์แวร์กลุ่มโอเพนซอร์สที่ถูกออกแบบมาให้รองรับการนาเสนอผลงานลักษณะ ต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ สามารถประยุกต์ใช้กับงานได้หลายลักษณะ ทั้งการนาเสนอข้อมูลของห้องสมุด ข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ ผลงานวิชาการ หรือนิทรรศการต่างๆ จึงเป็นซอฟต์แวร์กลุ่ม web-publishing platform ที่ประกอบด้วยความสามารถของชุดโปรแกรมถึง 3 ชุดคือ Web Content Management, Collections Management และ Archival Digital Collections Systems โปรแกรม Omeka ถูกออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย สะดวก พร้อมด้วยฟังก์ชันตามเทคโนโลยี เว็บ 2.0 รองรับข้อมูลได้ทั้งบรรณานุกรมเอกสาร แฟ้มเอกสารแนบทั้งในฟอร์แมต .doc, .docx, .pdf, .zip แฟ้มภาพดิจิทัลต่างๆ และแฟ้มสื่อมัลติมีเดียทั้งเสียงและวิดีโอ โดยใช้มาตรฐานการลงรายการของ Dublin Core และสามารถเชื่อมข้อมูลได้สะดวกด้วย OAI-PMH รวมทั้งการส่ง Feed ข้อมูลในรูปแบบ Atom, DCMESXML, JSON และ RSS2 Omeka มีให้เลือกใช้งานหลายลักษณะได้แก่ Omeka.org เป็นโปรแกรมโอเพนซอร์สที่อนุญาต ให้ดาวน์โหลดต้นฉบับไปติดตั้งใช้งานบนเครื่องแม่ข่ายเว็บ Omeka.net บริการการใช้งานพร้อมพื้นที่ ฟรี ที่สมัครเป็นสมาชิกได้ง่าย และพร้อมใช้งานได้ทันที รวมทั้ง Omeka Portable ซึ่งเป็นชุดโปรแกรม Omeka ที่ติดตั้งพร้อมใช้งานบน XAMPP อันเป็นโปรแกรมจาลองเครื่องแม่ข่ายเว็บที่ทางานบน ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ดังนั้น Omeka Portable จึงนับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถนามา ศึกษาทดลองได้ง่าย สะดวก สามารถประยุกต์ใช้ประกอบการเรียนในหลายหัวข้อ เช่น การบริหาร จัดการเมทาดาทา โดยเฉพาะ Dublin Core การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัล การพัฒนาระบบจดหมายเหตุ ดิจิทัล การพัฒนาคลังภาพดิจิทัล การพัฒนาสื่อนิทรรศการออนไลน์ การพัฒนาคลังผลงานวิชาการ ระบบเปิด การใช้งาน Omeka Portable ทาได้โดยการเข้าสู่เว็บไซต์ https://code.google.com/p/omk- portable/ แล้วดาวน์โหลดต้นฉบับโปรแกรม ซึ่งมีชื่อแฟ้มโปรแกรมต้นฉบับคือ xampp.zip รูปที่ 1
  • 2. 2 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร เมื่อดาวน์โหลดต้นฉบับโปรแกรมแล้ว ให้ Unzip จะได้โฟลเดอร์ชื่อเดียวกัน เมื่อเข้าสู่โฟลเดอร์ จะปรากฏโฟลเดอร์และโปรแกรมต้นฉบับ Omeka Portable ดังนี้ รูปที่ 2 โปรแกรม Omeka Portable เป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้สะดวก สามารถ Unzip แล้วใช้งานได้ ทันที หรือจะคัดลอกไปไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบพกพาเช่น USB Drive เพื่อทางานต่อไป การเรียกใช้งานโปรแกรม การเรียกใช้งานโปรแกรม กรณีที่เป็นการเรียกใช้งานครั้งแรกให้เริ่มจากการปรับระบบ XAMPP ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการที่ใช้งานโดยดับเบิลคลิกโปรแกรม setup_xampp.bat
  • 3. 3 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 3 จากรูปให้กดปุ่มตัวเลข 1 เพื่อเลือกคาสั่ง Refresh now! จากนั้นรอโปรแกรมปรับ สภาพแวดล้อมการทางาน เมื่อโปรแกรมปรับสภาพแวดล้อมการทางานเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่มใดๆ เพื่อปิดจอภาพการปรับสภาพแวดล้อมการทางานของ XAMPP รูปที่ 4 การเรียกใช้งานจะเริ่มด้วยการเรียกใช้งานโปรแกรมจาลองเครื่องแม่ข่ายเว็บ Apache และ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL ผ่านโปรแกรม xampp-control.exe เมื่อดับเบิ้ลคลิกจะปรากฏ จอภาพการทางาน ดังนี้
  • 4. 4 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 5 จากภาพแสดงว่าโปรแกรม Apache และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL พร้อมทางาน คลิกปุ่ม Admin ของ Apache เพื่อเปิดหน้าเว็บเบราว์เซอร์ รูปที่ 6
  • 5. 5 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร การเข้าสู่ Omeka Portable ทาได้โดยการเปลี่ยน URL จาก http://localhost/xampp/ เป็น http://localhost/omeka2 รูปที่ 7 การทางานในโหมดผู้ดูแลระบบ หน้าเว็บที่ปรากฏดังรูปที่ 7 เป็นหน้าเว็บส่วนติดต่อผู้ใช้ของ Omeka ทั้งนี้การเข้าไปปรับแต่ง หน้าเว็บตลอดทั้งการเข้าไปทางานกับเอกสาร จะเข้าสู่หน้าเว็บส่วนทางานของผู้ดูแลระบบ (Admin) ซึ่ง มี URL ดังนี้ http://localhost/omeka2/admin
  • 6. 6 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 8 บัญชีผู้ดูแลระบบให้ระบุเป็น admin และรหัสผ่านคือ kos2012 ซึ่งจะปรากฏส่วนการทางาน ของผู้ดูแลระบบ ดังนี้ รูปที่ 9 จากภาพจะปรากฏส่วนการทางาน 3 ส่วนหลักคือ  เมนูด้านข้างซ้ายที่ประกอบด้วยคาสั่ง Dashboard, Items, Collections, Item Types และ Tags  เมนูด้านบนที่ประกอบด้วยคาสั่ง Plugins, Appearance, Users, Settings, Logout  พื้นที่การทางานหลัก
  • 7. 7 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร การปรับแต่งบัญชีผู้ดูแลระบบ คาสั่งแรกที่ขอแนะนาคือ การแก้ไขรหัสผ่านและปรับข้อมูลบัญชีผู้ดูแลระบบ โดยคลิกเมนู User จะปรากฏส่วนการทางาน ดังนี้ รูปที่ 10 จอภาพการทางานกับผู้ใช้ จะปรากฏบัญชีผู้ใช้ของระบบ 1 บัญชี คือ admin ให้คลิกปุ่ม Edit เพื่อเข้าสู่จอภาพแก้ไข รูปที่ 11
  • 8. 8 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รายการที่ควรปรับแต่งได้แก่  Real Name ป้อนชื่อ นามสกุลจริงของผู้ดูแลระบบ  Email ป้อนอีเมลของผู้ดูแลระบบ  Change Password ป้ อนอีเมลใหม่ของผู้ดูแลระบบ เมื่อปรับแก้ไขข้อมูลแล้วคลิกปุ่ม Save Changes และ Save Password เพื่อบันทึกการแก้ไข การปรับแต่งเว็บไซต์ เมื่อปรับแต่งบัญชีผู้ดูแลระบบแล้ว ขั้นถัดไปควรปรับแต่งเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับระบบที่ นาเสนอ ตัวอย่างต้องการสร้างคลังผลงานดิจิทัล (Digital Collection) สามารถทาได้โดยคลิกเมนู Settings รูปที่ 12
  • 9. 9 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร ทั้งนี้มีรายการที่ต้องปรับ ดังนี้  Administrator Email ป้อนอีเมลของผู้ดูแลระบบ  Site Title ระบุชื่อเว็บไซต์ แนะนาให้ระบุเป็นภาษาอังกฤษที่สื่อ ความหมายชัดเจน สามารถต่อด้วยภาษาไทยที่กระชับ  Site Description พิมพ์คาอธิบาย หรือข้อความแนะนาเว็บไซต์หรือระบบ  Site Copyright Information พิมพ์ข้อความอธิบายสัญญาอนุญาตการใช้งาน เช่น สงวน ลิขสิทธิ์ หรือสัญญาอนุญาตครีแอทิฟคอมมอนส์  Site Author Information ระบุข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของเว็บไซต์หรือระบบ  Tag Delimiter ระบุเครื่องหมายที่ใช้เป็นตัวคั่นของ Tag แนะนาให้ใช้คงเดิม คือ เครื่องหมายคอมม่า ,  ImageMagick Directory Path ระบุพาทของโปรแกรม ImageMagick ทั้งนี้จะอธิบาย รายละเอียดในการพัฒนาคลังภาพดิจิทัล คลังสื่อนิทรรศการต่อไป รูปที่ 13 เมื่อป้อนข้อมูลดังรายละเอียดข้างต้น คลิกปุ่ม Save Changes เพื่อบันทึกข้อมูล
  • 10. 10 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร การบริหารจัดการเอกสารดิจิทัล ตัวอย่างการใช้งาน Omeka ตัวอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัล โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. การสร้าง Collections เช่น Collection เอกสารประกอบการสอน Collection สไลด์ Collection บทความทางวิชาการ Collection หนังสือ/คู่มือ 2. การนาเข้าเอกสารดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วยการลงรายการเอกสารดิจิทัล โดย Omeka ใช้เมทา ดาทาชุด Dublin Core รวมทั้งสามารถเลือกที่จะแนบแฟ้มเอกสารดิจิทัลได้ตามต้องการ การสร้าง Collections ขั้นตอนแรกของการพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัล คือ การสร้าง Collection ให้กับระบบ ทั้งนี้ สามารถสร้าง Collection ได้มากกว่า 1 ชุด เช่น Collection เอกสารประกอบการสอน Collection สไลด์ Collection บทความทางวิชาการ Collection หนังสือ/คู่มือ การสร้าง Collection ทาได้โดยคลิกเมนู Collections รูปที่ 14 จากจอภาพการทางานกับ Collections ให้คลิกปุ่ม Add a Collection เพื่อสร้าง Collection ที่ ต้องการ เช่น  Collection เอกสารประกอบการสอน  Collection สไลด์  Collection บทความทางวิชาการ  Collection หนังสือ/คู่มือ
  • 11. 11 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 15
  • 12. 12 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร Omeka จะให้ป้ อนข้อมูลเกี่ยวกับ Collection ด้วยเมทาดาทาชุด Dublin Core ดังนี้ Title: A name given to the resource ชื่อ Collection ให้กาหนดด้วยชื่อที่สื่อความหมายชัดเจน ไม่ยาวมาก เช่น “สไลด์” หรือ “เอกสารประกอบการบรรยาย” Subject: The topic of the resource หัวเรื่อง หรือหมวดหมู่ Collection แนะนาให้เลือกใช้คาจากศัพท์ควบคุม (controlled vocabulary) หรือคาจากหมวดหมู่ที่เป็นทางการ เช่น “การศึกษา” หรือ “ห้องสมุด” Description: An account of the resource คาอธิบายเกี่ยวกับ Collection สามารถเลือกใช้จากบทคัดย่อ เนื้อหาจากสารบัญ และ ข้อความพรรณนาเกี่ยวกับ Collection Creator: An entity primarily responsible for making the resource ชื่อเจ้าของผลงานใน Collection รวมทั้งชื่อหน่วยงาน กรณีที่เป็นชื่อบุคคล ควรระบุด้วยนามสกุลตามด้วยชื่อตัว เช่น “อรุณพิบูลย์บุญเลิศ” หรือ “อรุณพิบูลย์บุญเลิศ, เจตจานงนุช บุญเกียรติ” กรณีที่เป็นชื่อหน่วยงานให้ระบุหน่วยงานหลัก สามารถ ตามด้วยหน่วยงานรอง โดยปิดท้ายหน่วยงานหลักด้วย เครื่องหมายจุดและช่องว่าง เช่น “สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” Source: A related resource from which the described resource is derived ต้นแหล่งข้อมูล ในรูปแบบทางการ เช่น “Image from page 54 of the 1922 edition of Romeo and Juliet” Publisher: An entity responsible for making the resource available สานักพิมพ์หรือหน่วยงานที่ผลิต/จัดทาสารสนเทศ กรณีที่ ข้อมูลซ้ากับ Creator ไม่ต้องป้ อนในรายการนี้
  • 13. 13 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร Date: A point or period of time associated with an event in the lifecycle of the resource ปีที่ผลิตหรือเผยแพร่ ในรูปแบบ YYYY-MM-DD (ISO 86011 ) โดยระบุในรูปของปี ค.ศ. เท่านั้น เช่น “1998-02-16” Contributor: An entity responsible for making contributions to the resource บุคคลหรือหน่วยงานที่มีส่วนร่วมสร้างเนื้อหาของผลงาน Rights: Information about rights held in and over the resource ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิ์การใช้งาน โดยสามารถระบุได้ทั้งข้อความเช่น “Access limited to members” หรือ URL ที่ชี้ไปยังสิทธิ์ เช่น “http://dublincore.org/about/copyright/#copyright” Relation: A related resource แหล่งข้อมูลหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ความเกี่ยวข้อง สามารถมีได้หลายลักษณะเช่น เช่น ความต้องเพิ่มระบบ เพิ่ม การอ้างอิง เป็นส่วนหนึ่งของ หรือรุ่นของ Title="Candle in the Wind" Date="1997" Creator="John, Elton" Relation="Elton John's 1976 song Candle in the Wind" Relationship described is IsVersionOf. Format: The file format, physical medium, or dimensions of the resource การอธิบายลักษณะรูปร่างของทรัพยากรสารนิเทศเชิง กายภาพและดิจิทัล2 Title="Dublin Core icon" Type="Image" Format="image/gif" Format="4 kB" 1 http://www.w3.org/TR/NOTE-datetime 2 http://www.iana.org/assignments/media-types
  • 14. 14 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร หรือ Title="The Bronco Buster" Type="Physical object" Format="bronze" Format="22 in." Language: A language of the resource ภาษาที่ใช้ในการเรียบเรียงข้อมูล ใช้ตามแบบ RFC 30663 รหัสพยัญชนะ 2 ตัว เช่น en สาหรับภาษาอังกฤษ th สาหรับภาษาไทย อาจจะตามด้วยประเทศ 2 ตัวตามแบบ ISO 6394 เช่น “en-US” หรือจะใช้วิธีอธิบาย เช่น “Primarily English, with some abstracts also in French.” Type: The nature or genre of the resource ประเภทของข้อมูล แนะนาให้ระบุตามศัพท์ควบคุม DCMIType vocabulary5 เช่น “Image” หรือ “Text” Identifier: An unambiguous reference to the resource within a given context ข้อมูลบ่งชี้ถึงแหล่งข้อมูล/ข้อมูล เช่น ISBN, URI Coverage: The spatial or temporal topic of the resource, the spatial applicability of the resource, or the jurisdiction under which the resource is relevant ระยะเวลาหรือขอบเขตเนื้อหา เช่น Coverage="1995-1996" Coverage="Boston, MA" Coverage="17th century" Coverage="Upstate New York" การระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ Collection ไม่จาเป็นต้องระบุครบทุกรายการ ตัวอย่างเช่น ต้องการ สร้าง Collection สไลด์ 3 http://www.ietf.org/rfc/rfc3066.txt 4 http://xml.coverpages.org/iso639a.html 5 http://dublincore.org/documents/dcmi-type-vocabulary/
  • 15. 15 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 16 เมื่อระบุรายการสาคัญเกี่ยวกับ Collection แล้วให้คลิกตัวเลือก Public เพื่อให้ Collection นี้ เผยแพร่ต่อสาธารณะ และตัวเลือก Featured เพื่อให้ Collections นี้แสดงในหน้าแรกของเว็บ จากนั้นจึง คลิกปุ่ม Add Collection รูปที่ 17
  • 16. 16 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร Collection ที่สร้างจะแสดงเป็นรายการ การแก้ไขทาได้โดยคลิกปุ่ม Edit ใต้ชื่อ Collection จะ เข้าสู่จอภาพการแก้ไข Collection รูปที่ 18 ประเภทข้อมูล (Item Types) เมื่อสร้าง Collections แล้วขั้นถัดไปเป็นการกาหนดประเภทข้อมูลหรือ Item Types เช่นข้อมูล ประเภทเอกสาร ข้อมูลประเภทภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว สื่อเชิงโต้ตอบ สื่อประเภทเสียง เว็บไซต์ เหตุการณ์ บุคคล หรือไฮเปอร์ลิงก์ ทั้งนี้ Omeka ได้กาหนดประเภทข้อมูลไว้เบื้องต้น จากเมนู Item Types
  • 17. 17 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 19 ประเภทข้อมูลที่ Omeka กาหนดสามารถเข้าไปแก้ไขชื่อ คาอธิบายได้ตามต้องการ รวมทั้ง สามารถสร้างใหม่ได้โดยคลิกปุ่ม Add an Item Type รูปที่ 20
  • 18. 18 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร ประเภทข้อมูลที่สร้างใหม่ ยังสามารถกาหนดรายการข้อมูล (Elements) ได้อิสระ โดยจะเลือก จากรายการข้อมูลที่มีอยู่เดิม (Existing) หรือจะกาหนดใหม่ก็ได้(New) รูปที่ 21 เมื่อระบุข้อมูลเกี่ยวกับ Item Type แล้วให้คลิกปุ่ม Add Item Type รูปที่ 22 ประเภทข้อมูลที่สร้าง สามารถแก้ไขหรือลบได้ด้วยปุ่มควบคุม Edit หรือ Delete
  • 19. 19 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร การนาเข้าข้อมูล เมื่อสร้าง Collection และ Item Type ได้ตรงตามข้อมูลที่ต้องการนาเข้า ขั้นถัดไปจะเป็นการ ทางานกับข้อมูลรายรายการ โดยคลิกเลือกเมนู Items รูปที่ 23 จากนั้นคลิกปุ่ม Add an Item จะปรากฏจอภาพเพื่อกาหนดรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้ รูปที่ 24 จากจอภาพนาเข้าข้อมูล จะมีแท็บรายการย่อย ได้แก่ Dublin Core จอภาพป้ อนรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล โดยใช้เมทาดาทา Dublin Core ซึ่งมีรายละเอียดเหมือนกับการสร้าง Collection ที่ได้แนะนาไปก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมีรายการ เลือก Public สาหรับเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ และ Featured เพื่อเลือกแสดงข้อมูลในหน้าแรกของ เว็บ รวมทั้งตัวเลือกเลือก Collection ตัวอย่าง ต้องการนาเข้าข้อมูลสาหรับสไลด์เรื่อง การบริหารห้องสมุดอย่างรู้เท่าทันเทคโนโลยี ดิจิทัล โดยบุญเลิศ อรุณพิบูลย์เป็นการนาเสนอในงานประชุมวิชาการของชมรมห้องสมุดเฉพาะ ณ โรงแรมมารวย วันที่ 2 กันยายน 2556
  • 20. 20 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 25
  • 21. 21 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร Item Type Metadata จอภาพเลือกประเภทข้อมูล เมื่อระบุข้อมูลเมทาดาทา Dublin Core และเลือก Collection แล้ว ขั้นถัดไปเป็นการเลือก ประเภทข้อมูล จากแท็บ Item Type Metadata รูปที่ 26 Files จอภาพนาเข้าแฟ้มเอกสารดิจิทัล เมื่อระบุข้อมูลเมทาดาทา Dublin Core เลือก Collection และประเภทข้อมูลแล้ว ขั้นถัดไปจะ เป็นการแนบแฟ้มเอกสารดิจิทัล (หากมี) รูปที่ 27 Tags จอภาพป้ อนป้ ายกากับหรือ Tag ขั้นสุดท้าย จะเป็นการกาหนดป้ ายกากับ หรือ Tag ให้กับข้อมูล ทั้งนี้สามารถกาหนดป้ ายกากับ ได้มากกว่า 1 รายการ
  • 22. 22 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 28 เมื่อดาเนินการได้ครบทุกรายการ หรือตามที่ต้องการ ให้คลิกปุ่ม Add Item จะปรากฏข้อมูลที่ นาเข้าดังนี้ รูปที่ 29 ทั้งนี้ถ้ากลับไปหน้าเว็บสาหรับผู้ใช้ จะปรากฏการแสดงผล ดังนี้ รูปที่ 30 และเมื่อข้อมูลที่สนใจ จะแสดงรายการข้อมูล ดังนี้
  • 23. 23 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร รูปที่ 31
  • 24. 24 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร เพียงไม่กี่ขั้นตอนของ Omeka ก็สามารถพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลได้ง่ายๆ ตามมาตรฐานการลง รายการ Dubline Core รองรับการแนบแฟ้มเอกสารดิจิทัลเพื่อการบริการเอกสารฉบับเต็ม ไม่เพียงเท่านี้ Omeka ยังมีความสามารถอื่นๆ อีกหลายด้าน โดยเฉพาะการทางานบนมาตรฐาน การเชื่อมโยง OAI-PMH ซึ่งจะนาเสนอในโอกาสต่อไป
  • 25. 25 | คลังเอกสารดิจิทัลด้วย Omeka: บุญเลิศ อรุณพิบูลย์, ขันธ์ศิริ อาทร แหล่งข้อมูล Diane Hillmann. 2013. “Using Dublin Core - The Elements.” Accessed October 8. http://dublincore.org/documents/usageguide/elements.shtml. Roy Rosenzweig Center for History and New Media,. 2013. “Documentation – Omeka.” Accessed October 8. http://omeka.org/codex/Documentation.
  • 26. สารบัญ Omeka Portable สื่อเรียนรู้การพัฒนาระบบนาเสนอผลงานผ่านเว็บ.......................................................1 การเรียกใช้งานโปรแกรม........................................................................................................................2 การทางานในโหมดผู้ดูแลระบบ..............................................................................................................5 การปรับแต่งบัญชีผู้ดูแลระบบ...........................................................................................................7 การปรับแต่งเว็บไซต์.........................................................................................................................8 การบริหารจัดการเอกสารดิจิทัล............................................................................................................10 การสร้าง Collections.......................................................................................................................10 ประเภทข้อมูล (Item Types)............................................................................................................16 การนาเข้าข้อมูล...............................................................................................................................19 แหล่งข้อมูล ...........................................................................................................................................25