SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 170
Descargar para leer sin conexión
ผู้บัญชาการเหตุการณ์
aระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ระบบบัญชาการเหตุการณ์
กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของ
ประเทศไทย
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ระบบบัญชาการเหตุการณ์
กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
เรียบเรียง	 ร้อยตรีพงศธร  ศิริสาคร	
	 	 ศูนย์อ�ำนวยการบรรเทาสาธารณภัย
	 	 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  กระทรวงมหาดไทย
ISBN   	 	 978-974-458-557-8
พิมพ์ครั้งที่ 1  	 กันยายน  2559
จ�ำนวน 		 1,000	 เล่ม
จัดพิมพ์โดย 	 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
	 	 3/12 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
	 	 โทรศัพท์ 0 2637 3000  สายด่วนนิรภัย 1784
	 	 www. disaster.go.th
พิมพ์ที่  		 บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จ�ำกัด
	 	 53/1  หมู่ 7  ถนนสวนหลวงร่วมใจ  ต�ำบลสวนหลวง
	 	 อ�ำเภอกระทุ่มแบน  จังหวัดสมุทรสาคร  74110
	 	 โทรศัพท์ 0 2813 7378   โทรสาร 0 2813 7378
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ก
โลกปัจจุบันก�ำลังเผชิญกับปัญหาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งทวี	
ความรุนแรงและก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สาเหตุ
ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการพัฒนา
ด้านต่าง ๆ ที่ไม่ค�ำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ท�ำให้ส่งผลกระทบเชิงลบสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
รวมถึงการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550เป็นกฎหมายเฉพาะในการจัดการความเสี่ยง
จากสาธารณภัย เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดเอกภาพในการอ�ำนวยการและบริหารจัดการ
ในการปฏิบัติงานการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยกอปรกับคณะรัฐมนตรี
มีมติอนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เมื่อ
วันที่ 31 มีนาคม 2558 เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแผนแม่บท (Master Plan)
ในการจัดการสาธารณภัย โดยใช้เป็นกรอบและทิศทางในการปฏิบัติงานด้าน
สาธารณภัยให้แก่ประเทศไทย
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันในการรองรับ	
และรับมือในการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศอย่างมีมาตรฐานและ	
เป็นระบบในการจัดการสาธารณภัยทั้ง 4 ระดับ ตามแผนการป้องกันและบรรเทา	
สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะ
หน่วยงานกลางของรัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ	
จึงได้จัดท�ำหนังสือระบบบัญชาการเหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
ของประเทศไทยขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident
Command System : ICS) เป็นเครื่องมือที่ใช้สั่งการ ควบคุม และประสาน
ความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน และเป็นระบบ
ปฏิบัติการในการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อให้สามารถปกป้องชีวิต
ค�ำน�ำ
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทยข
ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีเอกภาพและปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง
มีประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยคาดหวังว่าหนังสือระบบบัญชาการ
เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทยเล่มนี้ จะเป็นแนวทาง
ปฏิบัติให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน และภาคเอกชนสามารถปรับใช้ระบบ
บัญชาการเหตุการณ์ให้เป็นระบบมาตรฐานของประเทศต่อไป
	 	 	 	 	 (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ)
	 	 	 	 อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
	 	 	 	 	     ผู้อ�ำนวยการกลาง
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ค
ในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย ระบบการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน
ที่มีเอกภาพในการประสานงานอย่างสอดคล้อง ถือว่าเป็นปฏิบัติการที่มี	
ความส�ำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นระยะที่ระบบจะสามารถบริหารจัดการ	
ให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติ หรือระบบจะพ่ายแพ้ต่อความรุนแรงของ
ผลกระทบจนไม่สามารถรับมือได้การปฏิบัติงานนี้จึงต้องอาศัยหน่วยงานจ�ำนวน
มากเข้าปฏิบัติการร่วมกันภายใต้กรอบการปฏิบัติงานเดียวกันที่เรียกว่า“ระบบ
บัญชาการเหตุการณ์” ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบให้มีมาตรฐานการใช้ร่วมกัน
ในระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการสร้างเอกภาพในการปฏิบัติงานข้ามสายงาน
ภายในพื้นที่ และเมื่อต้องรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน
การเขียนหนังสือคู่มือการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์นั้น ต้องอาศัย	
ผู้ที่มีหลักการทางวิชาการในการท�ำความเข้าใจระบบในบริบทของการบริหาร
จัดการของประเทศไทย และประสบการณ์การปฏิบัติงานในการอธิบาย	
ความเชื่อมโยงของระบบเชิงพื้นที่ ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้ที่มีทั้งหลักวิชาและ
ประสบการณ์ เชิงปฏิบัติการในพื้นที่มาอย่างยาวนาน และเผชิญหน้ากับ	
โจทย์ยากๆ ในแต่ละครั้งที่ปฏิบัติงาน จึงท�ำให้การถ่ายทอดเนื้อหาและ	
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์เป็นไปอย่างมีระบบ เข้าใจง่าย
รวมทั้งยังประยุกต์ใช้การอธิบายเข้าสู่ระบบของประเทศไทยได้อย่างชัดเจนท�ำให้
หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์กับผู้ปฏิบัติงานในการศึกษาท�ำความเข้าใจการใช้ระบบ
บัญชาการเหตุการณ์เป็นอย่างสูงและยังมีคุณูปการต่อแวดวงวิชาการที่ต้องการ
รูปธรรมของการใช้ระบบงานที่ออกแบบเพื่อการบูรณาการอย่างเป็นระบบด้วย
	 	 	 	 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวิดา กมลเวชช
	 	 	 	   รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์
	 	 	 	          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ค�ำนิยม
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทยง
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย จ
	 หน้า
ค�ำน�ำ	 ก
ค�ำนิยม	 ค
สารบัญ	 จ
บทน�ำ	 1
ภาพรวมระบบการบัญชาการเหตุการณ์	 11
โครงสร้างองค์กร หน้าที่ และความรับผิดชอบ	 39
กระบวนการวางแผน	 69
องค์กรปฏิบัติการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกัน	 89
และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
บรรณานุกรม	 115
ภาคผนวก: แบบฟอร์มที่ส�ำคัญในระบบบัญชาการเหตุการณ์	 117
คณะที่ปรึกษาและผู้จัดท�ำ	 160
สารบัญ
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
บทน�ำ
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
3ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
การจัดการในภาวะฉุกเฉิน เป็นการจัดการ (Management) ที่แตกต่าง
จากการจัดการในรูปแบบปกติทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถใช้ทฤษฎีการจัดการทั่วไป	
มาใช้ในการจัดการในภาวะฉุกเฉินได้ เนื่องจากในภาวะฉุกเฉินมีตัวแปรที่	
ไม่เหมือนการจัดการในภาวะปกติ คือเป็นการจัดการสถานการณ์ที่มีความสลับ
ซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลอดเวลา ระยะเวลาในการจัดการ	
มีอยู่อย่างจ�ำกัด ต้องท�ำงานอย่างรวดเร็วแข่งกับเวลาเพื่อรักษาชีวิตของผู้ประสบภัย
และควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในวงจ�ำกัด อีกทั้งยังต้องตัดสินใจบนพื้นฐาน
ข้อมูลที่มีจ�ำกัด และในบ่อยครั้งเป็นข้อมูลที่มีความขัดแย้งกันเอง ข้อส�ำคัญ	
อีกประการหนึ่งคือการจัดการในภาวะฉุกเฉินจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลาย
หน่วยงานเข้ามาร่วมในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งที่มีอ�ำนาจหน้าที่
ตามระเบียบ กฎหมาย เฉพาะของแต่ละหน่วย ทั้งที่เป็นหน่วยงานทางวิชาการ
หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ไม่มีโครงสร้างการบังคับบัญชา
หรือการประสานงานระหว่างกันในภาวะปกติ
ประเด็นเหล่านี้ เป็นความท้าทายต่อการจัดการของ “นักจัดการ
ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Manager)” อย่างมาก จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง	
ส�ำหรับการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่จะต้องจัดท�ำแผนการเตรียมความพร้อม
แผนปฏิบัติการแผนเผชิญเหตุ การเตรียมการด้านทรัพยากร การท�ำความตกลง
ความเข้าใจระหว่างหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับรวมทั้งจัดให้มีการฝึก
ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลัก
และหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนโดยต้องเป็นที่เข้าใจร่วมกันว่าในการ
ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการจัดการในภาวะฉุกเฉินนั้น ไม่ว่าความรุนแรงจะอยู่ใน	
ระดับใดจะต้องใช้ขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเสมอเพื่อให้หน่วยงาน	
และผู้เผชิญเหตุ(FirstResponders)มีความคุ้นเคยและเข้าใจมาตรฐานขั้นตอน
บทน�ำ
4 บทน�ำ
การปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่า Standard Operating Procedure (SOP) ไว้ตั้งแต่
ในภาวะปกติเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุจากหน่วยงานต่างๆสามารถเข้าเผชิญ
กับเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
หลักการส�ำคัญในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
1. มาตรฐานการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
เป็นมาตรฐานการจัดการที่เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อให้	
ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่มีหน้าที่
หรือความสามารถในการเข้าร่วมปฏิบัติงานเผชิญเหตุในภาวะฉุกเฉิน สามารถ
ร่วมกันท�ำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นยุติและกลับคืนสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ไม่ว่า
เหตุการณ์นั้นจะมีการจัดการในระดับขนาดเล็กน้อย (ระดับท้องถิ่น) ขนาดเล็ก
(ระดับอ�ำเภอ) ขนาดกลาง (ระดับจังหวัด) หรือขนาดใหญ่อย่างยิ่ง (ระดับชาติ)
ซึ่งต้องมีการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้รูปแบบ ระบบและความเข้าใจ	
ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น มาตรฐานในการจัดการในภาวะฉุกเฉินคือ	
ความสามารถในการจัดการร่วมกันทั้งในด้านการสั่งการควบคุมมอบหมายภารกิจ	
สนับสนุนทรัพยากร และการบูรณาการการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน	
ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อพื้นที่และภารกิจระหว่างกันได้ทันที ภายใต้โครงสร้าง
องค์กร กระบวนงานและขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบ ทรัพยากร สัญลักษณ์
การสื่อสารที่มีมาตรฐานแบบเดียวกัน โดยการน�ำระบบบัญชาการเหตุการณ์
(Incident Command System : ICS) มาใช้กับหน่วยงาน
5ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
2. เอกภาพในการจัดการ
เป็นการจัดการในการเผชิญเหตุที่ทุกหน่วยมีการปฏิบัติที่เป็นไป	
ในทิศทางเดียวกัน โดยนักจัดการภาวะฉุกเฉิน ซึ่งก็คือผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมาย
(รวมถึงเจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้ง) จะสามารถจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน
ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้ จ�ำเป็นต้องมีการก�ำหนดสายและล�ำดับการ
บังคับบัญชา (span of control) ที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ว่าจะ	
รับหน้าที่ภารกิจจากผู้ใด หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานหลักในการเผชิญเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้น หน่วยงานใดท�ำหน้าที่สนับสนุน รวมทั้งการแบ่งความรับผิดชอบ	
ต่อสถานการณ์นั้น ๆ
การท�ำให้มีเอกภาพในการจัดการต้องมีการก�ำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์
ยุทธวิธีเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนซึ่งจะท�ำให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ	
ที่เข้าร่วมในการเผชิญเหตุ สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้	
อย่างรวดเร็ว ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
ในประเทศไทยมีการใช้ค�ำว่า Single command อย่างแพร่หลาย ท�ำให้
หลายคนแปลความหมายว่าเป็นการสั่งการเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด
เนื่องจากค�ำว่า Single Command คือการรวบรวมการสั่งการให้เกิดความเป็น
หนึ่งเดียวเนื่องจากเวลาเกิดสาธารณภัยจะมีการทับซ้อนของกฎหมายระเบียบ	
และอ�ำนาจในการดูแลพื้นที่เสมอ ซึ่งอาจท�ำให้มีผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมาย	
ต่อเหตุการณ์ที่เกิดหลายคน จึงจ�ำเป็นต้องให้เกิดข้อสั่งการที่มีความชัดเจน	
เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งก็คือความเป็นเอกภาพในการจัดการ
3. ความยืดหยุ่นของโครงสร้างองค์กรการจัดการในภาวะฉุกเฉิน
โครงสร้างองค์กรการจัดการในภาวะฉุกเฉิน จะมีคุณลักษณะพิเศษ	
ที่แตกต่างจากโครงสร้างองค์กรในภาวะปกติ เพราะจะปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว
ในภาวะกดดัน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความรุนแรงของแต่ละเหตุการณ์ และ
ทรัพยากรในการปฏิบัติงานที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงจ�ำเป็นที่จะต้องสามารถปรับตัว
6 บทน�ำ
ตามสถานการณ์ของแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเภทและขนาดของภัย
ซึ่งจะท�ำให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบ ทั้งนี้
การจัดองค์กรในภาวะฉุกเฉิน(ขนาดใหญ่)จะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานจ�ำนวนมาก
ทั้งในระดับท้องถิ่น อ�ำเภอ จังหวัด ภูมิภาค ส่วนกลาง ภาคเอกชน และองค์กร	
ระหว่างประเทศ ที่เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่และ	
เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การปฏิบัติงานร่วมกันของหลายหน่วยงานมีอ�ำนาจ	
ตามกฎหมายหลายฉบับจ�ำเป็นต้องใช้หลักความยืดหยุ่นในการประสานการปฏิบัติ
และมอบหมายความรับผิดชอบไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า
เช่น วาตภัย สึนามิ หรือไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น
การจัดการในภาวะฉุกเฉินตามแผนการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศไทยรวมถึงการจัดการ
ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ก�ำหนด
ให้ทุกหน่วยงานใช้กรอบการปฏิบัติตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
แห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยมอบหมายให้
1. กระทรวงกรมองค์กรและหน่วยงานภาครัฐรัฐวิสาหกิจจังหวัดอ�ำเภอ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่น ๆ ปฏิบัติการ
ให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
2. ส�ำนักงบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น	
พิจารณาให้ความส�ำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและลดผลกระทบ	
การเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุ และการจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมถึง
การฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
7ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
3. หน่วยงานแต่ละระดับ จัดท�ำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตร์และ
บรรจุแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจ�ำปีด้วย
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 แบ่งระดับ
การจัดการสาธารณภัย ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ (2 ระดับ) ระดับ
จังหวัด และระดับพื้นที่ (อ�ำเภอและท้องถิ่น) ได้แก่
ระดับอ�ำเภอ และท้องถิ่น
ระดับ 1 สาธารณภัยขนาดเล็ก มีผู้อ�ำนวยการอ�ำเภอ (นายอ�ำเภอ) รับผิดชอบ
และปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตอ�ำเภอของตน	
และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อ�ำนวยการจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย และให้	
ผู้อ�ำนวยการท้องถิ่น (ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่) มีหน้าที่
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน และมีหน้าที่ช่วยเหลือ	
ผู้อ�ำนวยการจังหวัดและผู้อ�ำนวยการอ�ำเภอตามที่ได้รับมอบหมาย
กรุงเทพมหานคร:ให้ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานคร(ผู้อ�ำนวยการเขต)	
รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขต	
ของตน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานครตามที่ได้รับ	
มอบหมาย
ระดับจังหวัด
ระดับ2สาธารณภัยขนาดกลางมีผู้อ�ำนวยการจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด)
รับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตจังหวัดโดยมีนายกองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดเป็นรองผู้อ�ำนวยการจังหวัด
กรุงเทพมหานคร : มีผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร) รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขต
กรุงเทพมหานคร
8 บทน�ำ
ระดับชาติ  แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ
ระดับ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ มีผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย	
แห่งชาติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ท�ำหน้าที่ควบคุม ก�ำกับ	
บังคับบัญชา สั่งการ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร	
โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองผู้บัญชาการ
ระดับ 4 สาธารณภัยขนาดร้ายแรงอย่างยิ่ง มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายก
รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเข้าท�ำหน้าที่สั่งการ ก�ำกับ ควบคุมการปฏิบัติของ
ผู้บัญชาการ ผู้อ�ำนวยการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินตามแผนการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ได้ก�ำหนด
แนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน โดยก�ำหนดให้ “ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน
และภาคเอกชนใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์(IncidentCommandSystem)
เป็นระบบมาตรฐานของประเทศไทยในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน”และยังได้น�ำ
แนวความคิดในการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่เป็นสากลมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบท
ของประเทศไทย และก�ำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน ดังนี้
1. การจัดตั้งองค์กรปฏิบัติในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ได้แก่
- ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (การจัดการ
สาธารณภัยระดับ 1)
- ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อ�ำเภอ (การจัดการสาธารณภัยระดับ 1)
- ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด (การจัดการสาธารณภัยระดับ 2)
9ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
- ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัดและกองอ�ำนวยการป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัยกลาง:กอปภ.ก.(การจัดการสาธารณภัยระดับ3และ4)
- กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ : บกปภ.ช.
(จัดตั้งขึ้นตลอดเวลา แต่จะเริ่มสถาปนา (Activate) โครงสร้างต่าง ๆ เป็นล�ำดับ
ขึ้นไปตามความรุนแรงของสถานการณ์)
2. แนวทางปฏิบัติระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command
System)
3. แนวทางการก�ำกับ และควบคุมพื้นที่ (Area Command)
4. แนวทางการสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน(สปฉ.)(Emergency
Support Function : ESF)
5. แนวทางปฏิบัติในการสนับสนุนการจัดการเหตุการณ์ (Incident	
Management Assistance Team : IMAT)
หลักการ แนวความคิด และแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ สามารถน�ำมาใช้	
ในการจัดการสาธารณภัยได้ในทุกประเภทภัย(AllHazard)ตามที่ระบุในเหตุผล	
การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550	
ที่ต้องการให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานในการอ�ำนวยการและบริหารจัดการ	
เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
10 บทน�ำ
ระดับการจัดการสาธารณภัยแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ.2558
ระดับการจัดการผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมายพ.ร.บ.ปภ.50
1สาธารณภัยขนาดเล็กผู้อ�ำนวยการอ�ำเภอผู้อ�ำนวยการท้องถิ่นและ/หรือ
ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานคร
มาตรา18,19,36
2สาธารณภัยขนาดกลางผู้อ�ำนวยการจังหวัด/ผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานครมาตรา15,32
3สาธารณภัยขนาดใหญ่ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติมาตรา13
4สาธารณภัยขนาด
ร้ายแรงอย่างยิ่ง
นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายมาตรา31
11ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ภาพรวม
ระบบบัญชาการเหตุการณ์
ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
13ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ภาพรวม
ระบบบัญชาการเหตุการณ์
แนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงของการปรับเปลี่ยนหลักการและแนวคิด
ในการจัดการสาธารณภัยอีกครั้งหนึ่ง จากแนวคิดการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
(Civil Defense) ที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 - 2522 มาเป็นการจัดการสาธารณภัย
(Disaster Management) ในห้วงปี พ.ศ. 2545 และเปลี่ยนมาเป็นการจัดการ
ความเสี่ยงจากสาธารณภัย(DisasterRiskManagement)ในปี2558ตามกรอบ
Sendai Framework for DRR 2015-2030 ดังปรากฏในแผนการป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย แบ่งช่วงการปฏิบัติออกเป็น 3
ช่วง คือ 1) ช่วงการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Reduction)	
ได้รวมภารกิจการป้องกัน (Prevention) การลดผลกระทบ (Mitigation) และ
การเตรียมความพร้อม (Preparedness) ไว้ในช่วงเดียวกัน 2) ช่วงการจัดการ	
ในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Management) และ 3) ช่วงการฟื้นฟู (Recovery)
โดยมีการฟื้นสภาพ (Rehabilitation) การซ่อมสร้าง (Reconstruction) และ
การท�ำให้ดีกว่าเดิมและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer)
เป็นหลักการส�ำคัญ
14 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
วงจรการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
DisasterRiskReduction
ฟื้นฟูบูรณะ
Recovery
BuildBackBetter&Safer
ฟื้นคืนสภาพ
และสร้างใหม่
Rehabilitationand
Reconstruction
ป้องกันและ
ลดผลกระทบ
Prevenetion
andMitigation
เผชิญเหตุ
Response
เตรียมความพร้อม
Preparedness
การจัดการภาวะฉุกเฉิน
EmergencyManagement
สาธารณภัย
Disaster
15ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ประเทศไทยกับระบบบัญชาการเหตุการณ์
ประเทศไทยมีความพยายามในการน�ำแนวคิดระบบบัญชาการเหตุการณ์
มาใช้ในการจัดการในภาวะฉุกเฉินมากกว่า15ปีซึ่งปรากฏในแผนการป้องกันภัย	
ฝ่ายพลเรือนแห่งชาติพ.ศ.2545และกรมควบคุมมลพิษได้ก�ำหนดเป็นแนวปฏิบัติ
ในเอกสารคู่มือปฏิบัติการภาคสนาม ส�ำหรับผู้บัญชาการ ณ ที่เกิดเหตุอุบัติภัย	
สารเคมี นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 4392 (พ.ศ. 2555) เรื่องก�ำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม	
การจัดการภาวะฉุกเฉิน ข้อก�ำหนดส�ำหรับการสั่งการและควบคุม (ISO 22320)
อย่างไรก็ตาม ยังเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์	
ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุ (First Responder) ว่าเป็นระบบส�ำหรับผู้บังคับ
บัญชาใช้ในการจัดการสาธารณภัย และไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุ	
ซึ่งแท้จริงแล้วกลับตรงกันข้าม ระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นระบบที่ใช้
ณ ที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุที่ไปถึงที่เกิดเหตุเป็นล�ำดับแรก ก็คือ	
ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนแรกของเหตุการณ์นั้น มีหน้าที่สถาปนาระบบการสั่งการ	
และเผชิญเหตุตามความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และศักยภาพของทรัพยากร	
ที่มีอยู่ในขณะนั้นหากสามารถควบคุมสถานการณ์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้	
เหตุการณ์นั้นก็ยุติลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่หากเกินขีดความสามารถ	
ก็จะมีการประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม และอาจมีผู้ที่
มีความเหมาะสมหรือประสบการณ์มากกว่าเข้ามาร่วมเผชิญเหตุก็สามารถที่จะ
โอนการบังคับบัญชาสั่งการไปยังบุคคลผู้นั้นให้ท�ำหน้าที่ในการเป็นผู้บัญชาการ
เหตุการณ์ล�ำดับต่อไปขณะเดียวกันเมื่อมีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นโครงสร้างองค์กร
ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ก็จะขยายตัวออกไปตามสถานการณ์ด้วยเช่นกัน
ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจ�ำในระบบบัญชาการเหตุการณ์
16 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
แต่ในช่วงกว่า 15 ปี ที่ผ่านมา ไม่มีการก�ำหนดแนวทางการจัดการใน
ภาวะฉุกเฉินที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันระหว่างส่วนราชการ หน่วยงาน	
ของรัฐ และภาคเอกชน ไว้ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
ที่ชัดเจน ท�ำให้เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย โดยเฉพาะที่เป็นภัยขนาดใหญ่ เช่น
เหตุการณ์มหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ความเข้าใจผิดเหล่านี้เป็นข้อจ�ำกัดอุปสรรค
ส�ำคัญที่ท�ำให้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ไม่เป็นที่แพร่หลายภายในส่วนราชการ
หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ในการประสานการเผชิญเหตุร่วมกัน คงมี
บางส่วนราชการบางหน่วยงานของรัฐน�ำมาใช้ภายในหน่วยงานของตนเองเช่น
กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ การท่าเรือแห่งประเทศไทย แต่ก็ยัง	
ไม่สามารถน�ำมาใช้เป็นมาตรฐานร่วมกันได้ เป็นต้น
ระบบบัญชาการเหตุการณ์
คือ ระบบที่ใช้เพื่อสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือของแต่ละ
หน่วยงานในการจัดการในภาวะฉุกเฉินอีกทั้งยังท�ำหน้าที่ในการระดมทรัพยากร
ไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อจัดการเหตุฉุกเฉิน ให้สามารถช่วยเหลือชีวิต ทรัพย์สินและ
สภาวะแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความเป็นมาของระบบบัญชาการเหตุการณ์
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มจาก
- ปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) จากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งใหญ่ทางตอนใต้	
ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย กินเวลา 13 วัน มีผู้เสียชีวิต 16 ราย อาคารบ้านเรือน	
ถูกท�ำลายไปกว่า700หลังพื้นที่ป่ากว่า300ล้านไร่ได้รับความเสียหายคิดเป็น
มูลค่าความเสียหายมากกว่า18ล้านเหรียญสหรัฐถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานจ�ำนวน
มากเข้าร่วมปฏิบัติการเผชิญเหตุอย่างสุดความสามารถ แต่ก็ปรากฏปัญหา
17ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ในการประสานงาน การสื่อสาร และการสนับสนุนทรัพยากร ที่ไม่มีมาตรฐาน
ขาดเอกภาพ และขาดแผนปฏิบัติการ
- ปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) รัฐสภาสหรัฐอเมริกา อนุมัติงบประมาณ	
ให้กรมป่าไม้ (U.S. Forest Service) พัฒนาระบบการประสานงานระหว่าง	
หน่วยงานและการสนับสนุนทรัพยากรการเผชิญเหตุให้มีประสิทธิภาพซึ่งระบบ
นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า FIRESCOPE : Fire fighting Resources Organized
for Potencial Emergencies
- ปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) จัดตั้งทีมเทคนิค FIRESCOPE เพื่อศึกษา
ค้นคว้าและออกแบบระบบ ผลผลิตที่ส�ำคัญคือ การออกแบบระบบ 2 ระบบ
ได้แก่ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) และ
ระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงาน (Multi - Agency Coordination
System : MACS)
- ปี พ.ศ. 2517 - 2522 (ค.ศ. 1974 - 1982) มีการใช้ระบบบัญชาการ
เหตุการณ์ในการเผชิญเหตุไฟป่าระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย
ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการพัฒนาระบบให้สามารถใช้ในการปฏิบัติงาน
ประสานงานระหว่างหน่วยงานระดับภาค (Regional) และระดับประเทศ	
จนกระทั่งน�ำไปบรรจุอยู่ใน “ระบบการประสานการจัดการเหตุการณ์ระหว่าง
หน่วยงานระดับประเทศ” (National Interagency Incident Management
System: NIIMS)
- ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ได้รับการพัฒนา
ปรับปรุงจากประสบการณ์การปฏิบัติงานเผชิญเหตุจริงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
จากระบบที่ต้องการน�ำมาใช้ในเหตุการณ์ไฟป่า พัฒนาจนเป็นระบบที่สามารถ	
น�ำไปจัดการภาวะฉุกเฉินได้กับทุกประเภทภัย (All Hazard) ถึงแม้จะมีหน่วยงาน	
จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและมลรัฐรับเอาระบบบัญชาการ
เหตุการณ์ไปใช้เป็นระบบมาตรฐานในการจัดการภาวะฉุกเฉิน แต่ก็ยังไม่มีผล
18 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
บังคับใช้กับทุกมลรัฐทั่วประเทศ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 9/11ที่มลรัฐนิวยอร์ก
จึงได้มีค�ำสั่งประธานาธิบดีเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิที่5และ8(Homeland
Security Presidential Directive : HSPD 5 & 8) ให้ทุกหน่วยงานทุกระดับ	
ในประเทศ ใช้ “ระบบการจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ” (National Incident	
Management System : NIMS) ซึ่งมีระบบบัญชาการเหตุการณ์เป็น	
องค์ประกอบ1ใน5องค์ประกอบได้แก่  1) การเตรียมความพร้อม  2) การสื่อสาร	
และการจัดการข้อมูล ข่าวสาร 3) การจัดการทรัพยากร 4) การสั่งการและ	
การจัดการ และ 5) ความต่อเนื่องในการจัดการและบ�ำรุงรักษา
เป้าประสงค์ของการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์
1) ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ทั้งหมด
2) บรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธวิธี
3) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของระบบบัญชาการเหตุการณ์
1) สามารถใช้ในการจัดการเหตุฉุกเฉินได้ทุกรูปแบบ ทุกประเภท ทุกขนาด
และยังใช้ในการจัดการเหตุการณ์ที่ไม่ฉุกเฉินได้ด้วย เช่น การจัดการประชุม
สัมมนา การฝึกอบรม การจัดงานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงต่าง ๆ เป็นต้น
2) เสริมสร้างการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ
รวดเร็ว ภายใต้โครงสร้างการจัดการเหตุการณ์เดียวกัน (Common Management
Structure)
3) ให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรและการบริหารแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
ในภาคสนาม
4) ลดการท�ำงานที่ซ�้ำซ้อน ท�ำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและ
ประหยัด
19ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
หลักการพื้นฐานของระบบบัญชาการเหตุการณ์
(Basic Feature of ICS)
ลักษณะเฉพาะในการจัดการของระบบบัญชาการเหตุการณ์ มีทั้งสิ้น 14
ประการ ซึ่งแต่ละประการต่างสนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งให้กับทั้งระบบ
ในภาพรวมดังนี้
1. การใช้ศัพท์มาตรฐาน (Common Terminology)
การใช้ศัพท์มาตรฐาน เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง
หน่วยงานที่ดีที่สุด
ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน เราไม่มีเวลาที่จะมาเรียนรู้ ภาษา ค�ำศัพท์
สัญลักษณ์ใหม่ๆของแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นค�ำศัพท์ทางเทคนิคศัพท์ที่ใช้	
เฉพาะภายในหน่วยงาน หรือรหัสวิทยุ ซึ่งจะท�ำให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล
ความเข้าใจระหว่างกันมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน�ำมาซึ่งการรับมอบภารกิจ
ในการปฏิบัติงานเกิดความสับสนขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่มักจะมี	
ความเข้าใจในการใช้ค�ำศัพท์ที่ไม่ตรงกันหรือต้องมีการแปลความหมายอยู่	
ค่อนข้างมาก เช่น คนไทยไม่เคยเรียกผงซักฟอก แต่จะเรียกว่า “แฟ๊บ” แต่มี	
ความหมายว่า “ผงซักฟอก” เราเรียกก๊าซ เติมรถยนต์ว่า “NGV” แต่เรา
หมายความว่า“CNG”เพราะNGVมาจากค�ำว่าNaturalGasVehicleหมายถึง	
รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่ CNG: Compress Natural Gas เป็นก๊าซที่ใช้
ในรถยนต์ เป็นต้น
20 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
ค�ำศัพท์มาตรฐานที่ระบบบัญชาการเหตุการณ์ใช้ร่วมกันในทุกหน่วยงานได้แก่ชื่อเรียกโครงสร้างต�ำแหน่ง
โครงสร้างต�ำแหน่งต�ำแหน่งสนับสนุน
ต�ำแหน่ง
(ภาษาอังกฤษ)
บัญชาการผู้บัญชาการเหตุการณ์รองผู้บัญชาการIncidentCommand
เจ้าหน้าที่สนับสนุน
การบัญชาการ
เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยCommandStaff
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหัวหน้าส่วนรองหัวหน้าส่วนGeneralStaff
แผนกหัวหน้าแผนกรองหัวหน้าแผนกBranch
กลุ่มพื้นที่/กลุ่มภารกิจหัวหน้ารองหัวหน้าDivisionorGroup
ชุดปฏิบัติการหัวหน้าชุดผู้ช่วยหัวหน้าชุดUnit
21ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
2. โครงสร้างองค์กรแบบโมดูลาร์ (Modular Organization)
โครงสร้างองค์กรแบบโมดูลาร์ เป็นลักษณะเด่นของระบบบัญชาการ
เหตุการณ์ เพื่อให้องค์กรมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม
สถานการณ์ความจ�ำเป็นของแต่ละเหตุการณ์มีรูปแบบที่ขยายตัวจากบนลงล่าง	
(Top Down) สามารถปรับเปลี่ยนขยายหรือลดขนาดได้ตามความเหมาะสม	
ของภัยแต่ละประเภท และความซับซ้อนของแต่ละเหตุการณ์ โครงสร้างองค์กร
แบบนี้จึงมีความคล่องตัวสูงท�ำให้ประสานการท�ำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
ได้อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจาก
1) วัตถุประสงค์ของแต่ละเหตุการณ์เป็นปัจจัยก�ำหนดจ�ำนวน	
ขนาดและโครงสร้างขององค์กร
2) การแต่งตั้งต�ำแหน่งต่าง ๆ ในโครงสร้างระบบบัญชาการ
เหตุการณ์จะแต่งตั้งขึ้นตามความจ�ำเป็นของแต่ละเหตุการณ์เท่านั้น เป็นไปตาม
หน้าที่ภารกิจที่ต้องการจะปฏิบัติ และสามารถยุบเลิกได้เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหรือ
หมดความต้องการ
3) โครงสร้างในแต่ละส่วนที่จัดตั้งขึ้นจะต้องมีผู้รับผิดชอบชัดเจน
ไม่มีการสวมหมวกหลายใบในระบบบัญชาการเหตุการณ์
4) โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบเฉพาะกิจเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะออกจากหน้าที่ความรับผิดชอบประจ�ำ มาสวมบทบาท
หน้าที่ภายใต้โครงสร้างในระบบบัญชาการเหตุการณ์และขึ้นการบังคับบัญชากับ
ผู้บัญชาการเหตุการณ์โดยตรงเช่นหัวหน้าหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อ�ำนวยการส่วนปฏิบัติการ
มีหัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลท�ำหน้าที่หัวหน้าชุดพยาบาลฉุกเฉิน	
ภายใต้การบัญชาการเหตุการณ์ของนายอ�ำเภอ และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็จะ	
กลับไปปฏิบัติหน้าที่ตามต้นสังกัดของตนตามเดิม ดังนั้น ภายใต้โครงสร้างแบบ
โมดูลาร์ จึงไม่มีโครงสร้างที่ก�ำหนดไว้เป็นการตายตัว
22 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
ลักษณะโครงสร้างแบบ top down
หมายถึง เมื่อชุดปฏิบัติการชุดแรกที่ไปถึง	
ที่เกิดเหตุจะเป็นผู้สถาปนาระบบบัญชาการ
เหตุการณ์ โดยเข้าท�ำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการ
เหตุการณ์ และเริ่มการปฏิบัติงานในการ
ระงับเหตุเท่าที่สามารถกระท�ำได้ หรือเท่าที่มี
ทรัพยากรอยู่ในขณะนั้น เมื่อมีชุดปฏิบัติการ
ชุดอื่นเข้ามาถึงที่เกิดเหตุ จะเกิดการสั่งการ
แบ่งมอบภารกิจ จัดล�ำดับการบังคับบัญชา
หรือจะมีการโอนการบังคับบัญชาให้กับ	
ชุดปฏิบัติการที่เข้ามาใหม่ (ถ้ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับเหตุการณ์มากกว่า	
ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) และจะมีการด�ำเนินการไปในลักษณะนี้จนกว่า
เหตุการณ์จะสิ้นสุด
3. การจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objective)
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นระบบที่ถูกออกแบบมาส�ำหรับการ
จัดการในภาวะฉุกเฉิน ใช้จัดการ ณ ที่เกิดเหตุโดยเฉพาะ แต่สามารถน�ำไปใช้	
ในการจัดการกิจกรรมที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น การจัดการประชุม สัมมนา
หรืองานรื่นเริงต่างๆได้และยังสามารถน�ำหลักการไปใช้ในการปฏิบัติงานภายใน
ของกองอ�ำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์
ได้ในทุกระดับ รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินอื่น ๆ (Emergency Operation
Center) ได้เช่นกัน
ในการจัดการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องมีการก�ำหนดวัตถุประสงค์
(แนวทางในการปฏิบัติ) โดยการจัดล�ำดับความส�ำคัญในการปฏิบัติงานในแต่ละ
ห้วงเวลาปฏิบัติงาน (Operation Period) ไว้อย่างชัดเจน (โดยปกติจะก�ำหนด
23ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
ห้วงเวลาละ 24 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซับซ้อน และจ�ำนวนทรัพยากร
ของแต่ละเหตุการณ์)ดังนั้นทุกเหตุการณ์ต้องมีการก�ำหนดวัตถุประสงค์แนวทาง
การปฏิบัติที่ชัดเจน และต้องมีการสื่อสารแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบตลอดเวลา
ขั้นตอนส�ำคัญในการก�ำหนดวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
หลัก ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : ท�ำความเข้าใจนโยบายและแนวทางของหน่วยงาน
(Understand agency policy and direction)
ขั้นตอนที่ 2 : ประเมินสถานการณ์ (Assess Incident Situation)
ขั้นตอนที่ 3 : ก�ำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการกับเหตุการณ์	
(Establish Incident Objectives)
ขั้นตอนที่ 4 : เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้
ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด (Select appropriate strategy or strategies to
achieve objectives)
ขั้นตอนที่5  :ด�ำเนินการตามยุทธวิธี(Performtacticaldirection)
ขั้นตอนที่ 6 : ติดตามผลการด�ำเนินการ
ข้อควรพิจารณาในการจัดล�ำดับความส�ำคัญในการก�ำหนดวัตถุประสงค์
3 ประการ คือ
1. ความปลอดภัยในชีวิต (Life Safety)
2. การควบคุมสถานการณ์ (Incident Stability)
3. การรักษาสภาพแวดล้อม (Property Preservation)
24 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
ถึงแม้ว่าการรักษาความปลอดภัยในชีวิตจะถูกก�ำหนดเป็นล�ำดับแรก	
แต่ในบางสถานการณ์ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องค�ำนึงถึงความสามารถในการ
ปฏิบัติงานและทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งอาจจ�ำเป็นต้องเลือกการควบคุมสถานการณ์
ไม่ให้ลุกลามออกไปจนท�ำให้มีผู้ประสบภัยบาดเจ็บ เสียชีวิต เพิ่มขึ้นอีกเป็น
จ�ำนวนมาก อีกทั้งยังต้องเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมไม่ให้เกิดผลกระทบ	
กับสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นการสร้างสถานการณ์ใหม่ขึ้นได้ เช่น การดับเพลิง
สารเคมีบางประเภทโดยการใช้น�้ำฉีดท�ำให้สารเคมีไหลลงสู่แหล่งน�้ำ ท่อระบายน�้ำ	
เป็นเหตุให้เกิดปัญหากับราษฎรตามเส้นทางไหลของน�้ำตามมา เป็นต้น
เครื่องมือที่จะช่วยให้การก�ำหนดวัตถุประสงค์ ให้มีความเป็นรูปธรรม
สามารถวัดผลส�ำเร็จได้ คือการก�ำหนดวัตถุประสงค์แบบ “S-M-A-R-T
Objective”
S : Specific (ชัดเจน) เป็นการก�ำหนดเป้าหมายการปฏิบัติที่ชัดเจน
โดยหลีกเลี่ยงการใช้ค�ำศัพท์ที่เป็นนามธรรม เช่น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
คุณภาพ ซึ่งแต่ละบุคคลมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
M : Measureable (วัดได้) ก�ำหนดหน่วยนับที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์
ของการปฏิบัติได้
A : Achievable/Attainable (ท�ำได้) เป็นการก�ำหนดภารกิจ	
ที่สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนั้น
R : Realistic/Relevant (สมเหตุสมผล) เป็นไปตามองค์ความรู้	
ในการจัดการภัยแต่ละชนิดไม่ตั้งสมมติฐานเกินกว่าที่จะท�ำได้
T : Timeline (ระยะเวลา) ก�ำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานที่เหมาะสม	
ไม่นานเกินไปหรือสั้นเกินไป เนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินมีการเปลี่ยนแปลง
ตลอดเวลา จนเจ้าหน้าที่ต้องเร่งปฏิบัติงาน เพราะจะท�ำให้เกิดความผิดพลาด
น�ำไปสู่การบาดเจ็บได้
25ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
4. แผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan)
ทุกเหตุการณ์ในระบบบัญชาการเหตุการณ์เมื่อก�ำหนดวัตถุประสงค์แล้ว
จะต้องมีการก�ำหนดแผนเผชิญเหตุขึ้นทุกครั้งซึ่งในเหตุการณ์ขนาดเล็กที่ใช้เวลา
ไม่เกิน 6 ชั่วโมง โดยปกติจะไม่ได้จัดท�ำเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่ก�ำหนด	
ขั้นตอนการปฏิบัติโดยผู้บัญชาการเหตุการณ์ ใน 4 ประเด็น ได้แก่
1) สิ่งที่จะต้องท�ำ (What must be done?)
2) ใครรับผิดชอบ (Who is Responsible?)
3) จะสื่อสารข้อมูลกันอย่างไร (How information be communicate?)
4) การปฏิบัติหากมีผู้ได้รับบาดเจ็บ (What should be done if
someone is injured?)
แต่หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการจัดการ
มากกว่าเหตุการณ์ปกติ และมีการจัดตั้งส่วนอ�ำนวยการขึ้น จะต้องมีการจัดท�ำ
แผนเผชิญเหตุเป็นลายลักษณ์อักษร
แผนเผชิญเหตุในระบบบัญชาการเหตุการณ์จึงเป็นแผนที่ไม่ได้มีการ
จัดท�ำไว้เป็นการล่วงหน้าเหมือนแผนปฏิบัติการอื่น ๆ แต่จะถูกก�ำหนดหรือ
จัดท�ำเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว โดยที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์จะรวบรวมข้อมูล
สถานการณ์ แนวโน้ม และทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนั้น มาเป็นองค์ประกอบ
ส�ำคัญเพื่อก�ำหนดแนวทางและความมุ่งหมายในการปฏิบัติออกมาเป็นแผน	
เผชิญเหตุ มีสาระส�ำคัญ ได้แก่
1) วัตถุประสงค์ของเหตุการณ์ (Incident Objectives)
2) รายละเอียดภารกิจ และยุทธวิธีที่ต้องด�ำเนินการ รวมถึงก�ำหนด
ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
3) ห้วงเวลาปฏิบัติงาน (Operation Period)
26 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
5. ช่วงการควบคุม (Span of Control)
หมายถึง สิ่งซึ่งแสดงให้ทราบว่าผู้บังคับ
บัญชาคนหนึ่ง มีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด	
มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน มีหน่วยงานอยู่ในความควบคุม
รับผิดชอบกี่หน่วยงาน มีทรัพยากรที่ต้องจัดการ	
กี่ประเภท/ชนิด (kind/type) ทั้งนี้เนื่องจากผู้บังคับ
บัญชาหรือหัวหน้าจะต้องสามารถก�ำกับดูแลควบคุม	
การปฏิบัติงาน จัดการทรัพยากร ตลอดจนสื่อสารกับ	
ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างทั่วถึง การสั่งการในการ	
ปฏิบัติงานจึงจะมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ช่วงของการควบคุมจึงเป็นหัวใจส�ำคัญ	
ในการจัดการเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพ
ช่วงการควบคุมขึ้นอยู่กับปัจจัยส�ำคัญ 3 ประการ
1) ประเภทและขนาดของเหตุการณ์
2) ปัจจัยความเสี่ยงอันตราย และความปลอดภัย
3) จ�ำนวนทรัพยากรและผู้ปฏิบัติงาน
ช่วงการควบคุมที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง3-7แต่ช่วงของการควบคุม
ที่เหมาะสมที่สุดคือ 5 ดังนั้น ภายใต้โครงสร้างองค์กรที่ยืด หด ได้แบบโมดูลาร์
ไม่ว่าจะเป็นการขยายขนาดของโครงสร้างให้ใหญ่ขึ้นหรือลดขนาดให้เล็กลงก็ตาม
จะต้องรักษาระดับของช่วงการควบคุมให้เหมาะสมตลอดเวลา
6. พื้นที่ปฏิบัติงานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวก (Incident Facilities)
สถานที่ปฏิบัติงานหลักในระบบบัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งเมื่อเห็น
สัญลักษณ์ หรือการเรียกชื่อสถานที่เหล่านี้ จะท�ำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจ
ได้ทันทีว่าสถานที่เหล่านี้มีภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างไร จัดตั้ง
เพื่อวัตถุประสงค์ใด และอาจบ่งบอกถึงขนาดและความรุนแรงของเหตุการณ์	
ได้ด้วย ประกอบด้วย
27ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
1) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command Post: ICP)	
สถานที่ที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ใช้ในการบัญชาการ	
เหตุการณ์ จัดตั้งขึ้น ณ พื้นที่เกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น	
เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบส�ำคัญที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์	
จะต้องสถาปนาระบบบัญชาการเหตุการณ์ (สั่งการ) เพื่อประสาน	
การปฏิบัติ โดยจะต้องก�ำหนดล�ำดับการบังคับบัญชา และระบบการสื่อสาร	
ในที่เกิดเหตุที่ชัดเจน วิธีการส�ำคัญประการหนึ่งในการสถาปนาระบบสั่งการ
คือ การจัดตั้งสถานที่ที่เป็น “ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์” เพื่อใช้ในการสั่งการ
ก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานในภาพรวม ในแต่ละเหตุการณ์จะต้องมีการจัดตั้ง
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ และจัดตั้งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าเหตุการณ์	
ดังกล่าวจะเป็นการสนธิก�ำลังจากหลายหน่วยงานมาร่วมปฏิบัติงาน และมีการ
จัดโครงสร้างที่เรียกว่า “การบัญชาการร่วม” ก็ตาม
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อาจเป็นสถานที่ชั่วคราว เช่น ใต้ต้นไม้
เต็นท์ ศาลา อาคาร หรือยานพาหนะ ก็ได้ แต่ควรเป็นสถานที่ที่สามารถ
สังเกตการณ์พื้นที่เกิดเหตุ ควบคุม ดูแล ก�ำกับ และสั่งการการปฏิบัติงานได้
สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีระบบการสื่อสาร และควรอยู่ภายในบริเวณที่ใกล้เคียง
กับจุดเกิดเหตุมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องอยู่ภายนอกเขตอันตราย หรือ
บริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ เช่น จัดตั้งอยู่เหนือลม
2) จุดระดมทรัพยากร (Staging Area : S)
สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่รวมของทรัพยากรที่
“พร้อมปฏิบัติงาน” เพื่อรอรับมอบหมายภารกิจออกปฏิบัติงาน	
จุดระดมทรัพยากรอาจจัดตั้งได้มากกว่า 1 แห่ง ขึ้นอยู่กับ
ขนาด จ�ำนวนของทรัพยากร และสภาพภูมิประเทศ ในกรณีที่
สถานการณ์ขยายตัวลุกลามจ�ำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น	
อาจมีการก�ำหนดจุดระดมทรัพยากรหลายแห่งเพื่อให้สะดวกแก่การเข้าปฏิบัติงาน
28 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์
ก็ได้ แต่การจัดตั้งจุดระดมทรัพยากรแต่ละแห่งจะต้องมีการแต่งตั้งผู้จัดการ
(Staging Area Manager) เพื่อท�ำหน้าที่ควบคุม ดูแล ทรัพยากรในจุดระดม
ทรัพยากรเสมอ
สถานที่ที่ตั้งของจุดระดมทรัพยากร ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณ	
ที่เกิดเหตุ เพื่อให้สามารถส่งทรัพยากรเข้าปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว	
ทันเวลาแต่ควรมีระยะห่างพอสมควรเพื่อความปลอดภัยและพ้นจากผลกระทบ
ของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
ปัจจัยที่เป็นข้อพิจารณาส�ำคัญในการเลือกและก�ำหนดสถานที่ตั้ง
ของจุดระดมทรัพยากร ได้แก่
ก. ระยะห่างจากพื้นที่เกิดเหตุ โดยหลักการจุดระดมทรัพยากร	
ไม่ควรตั้งอยู่ห่างจากสถานที่เกิดเหตุ ในระยะเวลาเดินทางเกิน 5 นาที ซึ่งอาจ
เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับแต่ละเหตุการณ์ แต่ทั้งนี้ควรอยู่ใกล้กับพื้นที่
ปฏิบัติงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ข.เส้นทางในการเข้าถึงพื้นที่ (AccessRoutes)ถนนที่เป็นเส้นทาง
เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุเป็นถนนประเภทใดรองรับรถยนต์ขนาดหนักได้กี่ตันมีเส้นทาง
ส�ำรองหรือไม่ หากเป็นเส้นทางเล็กเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อาจก�ำหนด	
ให้เป็นถนนเดินรถทางเดียว (one way)
ค.ขนาดพื้นที่ต้องมีพื้นที่บริเวณที่กว้างเพียงพอที่จะสามารถรองรับ
ทรัพยากรที่มีอยู่ได้ รวมถึงการจัดการพื้นที่ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันควรมี
พื้นที่กว้างเหลือพอที่จะท�ำการขยายบริเวณออกไปได้ถ้าหากสถานการณ์ขยายตัว	
และต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น
ง. ความปลอดภัย มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ไฟฟ้า
ส่องสว่าง ป้ายสัญญาณจราจร และอื่น ๆ
จุดระดมทรัพยากรอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ
ของผู้อ�ำนวยการส่วนปฏิบัติการ
29ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย
3) ฐานปฏิบัติการ (Base: B)
สถานที่ส�ำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อ�ำนวย
การปฏิบัติงาน (General Staff) ได้แก่ส่วนอ�ำนวยการ	
ส่วนสนับสนุนและเจ้าหน้าที่บังคับบัญชา(CommandStaff)
ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่เกิดเหตุ การจัดตั้ง “ฐานปฏิบัติการ”	
เพื่อเป็นสถานที่ในการให้บริการและสนับสนุนข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ	
ในเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์จะมี “ฐานปฏิบัติการ” เพียงแห่งเดียว เช่นเดียวกับ	
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (ICP) รวมทั้งอาจมีการตั้งชื่อให้กับฐานปฏิบัติการ	
ตามสถานที่เกิดเหตุก็ได้
4) แคมป์ (Camp : C)
พื้นที่ส�ำหรับใช้ในการสนับสนุนเสบียงอาหาร
ที่พัก สุขภัณฑ์ สถานพยาบาล แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน	
อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนสนับสนุน อาจใช้เป็นสถานที่	
ในการซ่อมบ�ำรุงยานพาหนะและเก็บรักษาทรัพยากรอื่น ๆ ด้วย
แคมป์อาจตั้งขึ้นได้หลายแห่งในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งต้องมี	
การจัดตั้งผู้จัดการแคมป์ ท�ำหน้าที่รับผิดชอบการจัดการภายในแคมป์ใน	
ภาพรวม(การตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวส�ำหรับผู้ประสบภัยเป็นความรับผิดชอบของ	
ส่วนปฏิบัติการ)
5) ฐานเฮลิคอปเตอร์ (Helibase) และลานจอดเฮลิคอปเตอร์
(Helispot)
ฐานเฮลิคอปเตอร์  (Helibase)เป็นสถานที่
ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศเป็นฐานจอดเฮลิคอปเตอร์
ระยะยาว เพื่อเติมน�้ำมันเชื้อเพลิง ซ่อมบ�ำรุง จอดขณะที่ไม่มี
การปฏิบัติการทางอากาศ (เปรียบเสมือนอู่รถยนต์)
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ
ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

มาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา
มาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษามาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา
มาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษาYui Yuyee
 
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpmการจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ DdpmPongsatorn Sirisakorn
 
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560KiiKz Krittiya
 
หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งMapowzee Dahajee
 
การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoon
การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoonการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoon
การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet SriangkoonSuradet Sriangkoon
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)yahapop
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม IsSasiyada Promsuban
 
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยคู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยSupakarn Yimchom
 
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Safety โดยสถาบัน...
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  Safety โดยสถาบัน...แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  Safety โดยสถาบัน...
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Safety โดยสถาบัน...Suradet Sriangkoon
 
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยPoramate Minsiri
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 Yanee Tongmanee
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำsedwong Pam
 
หน่วยย่อยที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
หน่วยย่อยที่ 2  แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาหน่วยย่อยที่ 2  แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
หน่วยย่อยที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาkrupornpana55
 
โครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริง
โครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริงโครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริง
โครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริงWichai Likitponrak
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินpupphawittayacom
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมwangasom
 
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...Suradet Sriangkoon
 

La actualidad más candente (20)

มาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา
มาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษามาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา
มาตรการรักษาความปลอดภัยและแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานศึกษา
 
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpmการจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
การจัดทำแผนเผชิญเหตุ Ddpm
 
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
Powerpoint นำเสนอการประเมินวิทยฐานะครูชำนาญการ (คศ.2) - 15/09/2560
 
หนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่งหนังสือนำส่ง
หนังสือนำส่ง
 
การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoon
การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoonการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoon
การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับน้องๆหน้างาน - Suradet Sriangkoon
 
Ppt.trigger tool
Ppt.trigger toolPpt.trigger tool
Ppt.trigger tool
 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและ ฟื้นคืนชีพ (CPR)
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Isหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
หน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ ภาคผนวก บรรณานุกรม Is
 
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยคู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัย
 
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Safety โดยสถาบัน...
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  Safety โดยสถาบัน...แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน  Safety โดยสถาบัน...
แนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Safety โดยสถาบัน...
 
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หลักการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
 
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57 งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
งานสอนปฐมพยาบาล อฉช 57
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
 
หน่วยย่อยที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
หน่วยย่อยที่ 2  แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยาหน่วยย่อยที่ 2  แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
หน่วยย่อยที่ 2 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
 
หน้าปก
หน้าปกหน้าปก
หน้าปก
 
โครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริง
โครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริงโครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริง
โครงงานประดิษฐ์ระดับนำ้จริง
 
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมินคำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
คำกล่าวต้อนรับคณะกรรมการประเมิน
 
โครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถมโครงสร้างหลักสูตรประถม
โครงสร้างหลักสูตรประถม
 
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน Prevention โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเ...
 

Destacado

การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท.
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท. การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท.
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท. Pongsatorn Sirisakorn
 
แผน ปภ.ชาติ 58 upload
แผน ปภ.ชาติ 58 uploadแผน ปภ.ชาติ 58 upload
แผน ปภ.ชาติ 58 uploadPongsatorn Sirisakorn
 
การจัดทำแผนดับเพลิง
การจัดทำแผนดับเพลิงการจัดทำแผนดับเพลิง
การจัดทำแผนดับเพลิง9tong30
 
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMSระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMSPongsatorn Sirisakorn
 
สัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
สัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
สัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนPongsatorn Sirisakorn
 
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShareSlideShare
 
What to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShareWhat to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShareSlideShare
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareSlideShare
 
การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด
การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด
การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด Pongsatorn Sirisakorn
 
ประสบการณ์การใช้ Ics ในไทย
ประสบการณ์การใช้ Ics ในไทยประสบการณ์การใช้ Ics ในไทย
ประสบการณ์การใช้ Ics ในไทยPongsatorn Sirisakorn
 
วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ
วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ
วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการChlong Chai
 
แนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราว
แนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราวแนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราว
แนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราวPoramate Minsiri
 
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติเพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติJune Fghijklmnopqrsteovl
 
หลักการสงคราม
หลักการสงครามหลักการสงคราม
หลักการสงครามminiindy
 
วิชากองทัพบก
วิชากองทัพบกวิชากองทัพบก
วิชากองทัพบกminiindy
 

Destacado (20)

ICS for Senior Officials
ICS for Senior Officials ICS for Senior Officials
ICS for Senior Officials
 
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท.
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท. การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท.
การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย สำหรับ อปท.
 
SME Buisness Continuity Thai
SME Buisness Continuity Thai SME Buisness Continuity Thai
SME Buisness Continuity Thai
 
แผน ปภ.ชาติ 58 upload
แผน ปภ.ชาติ 58 uploadแผน ปภ.ชาติ 58 upload
แผน ปภ.ชาติ 58 upload
 
การจัดทำแผนดับเพลิง
การจัดทำแผนดับเพลิงการจัดทำแผนดับเพลิง
การจัดทำแผนดับเพลิง
 
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMSระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
ระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินสหรัฐอเมริกา NIMS
 
สัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
สัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนสัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
สัญญลักษณ์การป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
 
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
2015 Upload Campaigns Calendar - SlideShare
 
What to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShareWhat to Upload to SlideShare
What to Upload to SlideShare
 
Getting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShareGetting Started With SlideShare
Getting Started With SlideShare
 
การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด
การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด
การเขียนแผนปฏิบัติการ ระดับจังหวัด
 
ประสบการณ์การใช้ Ics ในไทย
ประสบการณ์การใช้ Ics ในไทยประสบการณ์การใช้ Ics ในไทย
ประสบการณ์การใช้ Ics ในไทย
 
Thailand floods ics report 2011
Thailand floods ics report 2011Thailand floods ics report 2011
Thailand floods ics report 2011
 
British embassy thanks
British embassy thanksBritish embassy thanks
British embassy thanks
 
วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ
วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการวิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ
วิเคราะห์พื้นที่ปฏิบัติการ
 
แนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราว
แนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราวแนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราว
แนวทางการจัดตั้งศูนย์พักพิงชุมชนชั่วคราว
 
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติเพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
เพาเวอพ้อยภัยพิบัติ
 
หลักการสงคราม
หลักการสงครามหลักการสงคราม
หลักการสงคราม
 
แผน ปภ.ชาติ 2558
แผน ปภ.ชาติ 2558แผน ปภ.ชาติ 2558
แผน ปภ.ชาติ 2558
 
วิชากองทัพบก
วิชากองทัพบกวิชากองทัพบก
วิชากองทัพบก
 

ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศ

  • 3. ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ระบบบัญชาการเหตุการณ์ กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย เรียบเรียง ร้อยตรีพงศธร ศิริสาคร ศูนย์อ�ำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ISBN 978-974-458-557-8 พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2559 จ�ำนวน 1,000 เล่ม จัดพิมพ์โดย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย 3/12 ถนนอู่ทองนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทรศัพท์ 0 2637 3000 สายด่วนนิรภัย 1784 www. disaster.go.th พิมพ์ที่ บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จ�ำกัด 53/1 หมู่ 7 ถนนสวนหลวงร่วมใจ ต�ำบลสวนหลวง อ�ำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110 โทรศัพท์ 0 2813 7378 โทรสาร 0 2813 7378
  • 4. ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ก โลกปัจจุบันก�ำลังเผชิญกับปัญหาสาธารณภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งทวี ความรุนแรงและก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สาเหตุ ส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับการพัฒนา ด้านต่าง ๆ ที่ไม่ค�ำนึงถึงความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ท�ำให้ส่งผลกระทบเชิงลบสร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยพ.ศ.2550เป็นกฎหมายเฉพาะในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดเอกภาพในการอ�ำนวยการและบริหารจัดการ ในการปฏิบัติงานการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยกอปรกับคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 เมื่อ วันที่ 31 มีนาคม 2558 เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแผนแม่บท (Master Plan) ในการจัดการสาธารณภัย โดยใช้เป็นกรอบและทิศทางในการปฏิบัติงานด้าน สาธารณภัยให้แก่ประเทศไทย ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันในการรองรับ และรับมือในการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศอย่างมีมาตรฐานและ เป็นระบบในการจัดการสาธารณภัยทั้ง 4 ระดับ ตามแผนการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะ หน่วยงานกลางของรัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ จึงได้จัดท�ำหนังสือระบบบัญชาการเหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ของประเทศไทยขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายให้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) เป็นเครื่องมือที่ใช้สั่งการ ควบคุม และประสาน ความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน และเป็นระบบ ปฏิบัติการในการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อให้สามารถปกป้องชีวิต ค�ำน�ำ
  • 5. ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทยข ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างมีเอกภาพและปฏิบัติงานได้อย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพมากยิ่ง ๆ ขึ้นไป กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยคาดหวังว่าหนังสือระบบบัญชาการ เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทยเล่มนี้ จะเป็นแนวทาง ปฏิบัติให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน และภาคเอกชนสามารถปรับใช้ระบบ บัญชาการเหตุการณ์ให้เป็นระบบมาตรฐานของประเทศต่อไป (นายฉัตรชัย พรหมเลิศ) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้อ�ำนวยการกลาง
  • 6. ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ค ในการจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย ระบบการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน ที่มีเอกภาพในการประสานงานอย่างสอดคล้อง ถือว่าเป็นปฏิบัติการที่มี ความส�ำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นระยะที่ระบบจะสามารถบริหารจัดการ ให้สถานการณ์กลับคืนสู่ภาวะปกติ หรือระบบจะพ่ายแพ้ต่อความรุนแรงของ ผลกระทบจนไม่สามารถรับมือได้การปฏิบัติงานนี้จึงต้องอาศัยหน่วยงานจ�ำนวน มากเข้าปฏิบัติการร่วมกันภายใต้กรอบการปฏิบัติงานเดียวกันที่เรียกว่า“ระบบ บัญชาการเหตุการณ์” ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบให้มีมาตรฐานการใช้ร่วมกัน ในระดับสากล เพื่อประโยชน์ในการสร้างเอกภาพในการปฏิบัติงานข้ามสายงาน ภายในพื้นที่ และเมื่อต้องรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน การเขียนหนังสือคู่มือการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์นั้น ต้องอาศัย ผู้ที่มีหลักการทางวิชาการในการท�ำความเข้าใจระบบในบริบทของการบริหาร จัดการของประเทศไทย และประสบการณ์การปฏิบัติงานในการอธิบาย ความเชื่อมโยงของระบบเชิงพื้นที่ ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้ที่มีทั้งหลักวิชาและ ประสบการณ์ เชิงปฏิบัติการในพื้นที่มาอย่างยาวนาน และเผชิญหน้ากับ โจทย์ยากๆ ในแต่ละครั้งที่ปฏิบัติงาน จึงท�ำให้การถ่ายทอดเนื้อหาและ รายละเอียดเกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์เป็นไปอย่างมีระบบ เข้าใจง่าย รวมทั้งยังประยุกต์ใช้การอธิบายเข้าสู่ระบบของประเทศไทยได้อย่างชัดเจนท�ำให้ หนังสือเล่มนี้มีประโยชน์กับผู้ปฏิบัติงานในการศึกษาท�ำความเข้าใจการใช้ระบบ บัญชาการเหตุการณ์เป็นอย่างสูงและยังมีคุณูปการต่อแวดวงวิชาการที่ต้องการ รูปธรรมของการใช้ระบบงานที่ออกแบบเพื่อการบูรณาการอย่างเป็นระบบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทวิดา กมลเวชช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ค�ำนิยม
  • 8. ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย จ หน้า ค�ำน�ำ ก ค�ำนิยม ค สารบัญ จ บทน�ำ 1 ภาพรวมระบบการบัญชาการเหตุการณ์ 11 โครงสร้างองค์กร หน้าที่ และความรับผิดชอบ 39 กระบวนการวางแผน 69 องค์กรปฏิบัติการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกัน 89 และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 บรรณานุกรม 115 ภาคผนวก: แบบฟอร์มที่ส�ำคัญในระบบบัญชาการเหตุการณ์ 117 คณะที่ปรึกษาและผู้จัดท�ำ 160 สารบัญ
  • 12. 3ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย การจัดการในภาวะฉุกเฉิน เป็นการจัดการ (Management) ที่แตกต่าง จากการจัดการในรูปแบบปกติทั่ว ๆ ไป ไม่สามารถใช้ทฤษฎีการจัดการทั่วไป มาใช้ในการจัดการในภาวะฉุกเฉินได้ เนื่องจากในภาวะฉุกเฉินมีตัวแปรที่ ไม่เหมือนการจัดการในภาวะปกติ คือเป็นการจัดการสถานการณ์ที่มีความสลับ ซับซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ตลอดเวลา ระยะเวลาในการจัดการ มีอยู่อย่างจ�ำกัด ต้องท�ำงานอย่างรวดเร็วแข่งกับเวลาเพื่อรักษาชีวิตของผู้ประสบภัย และควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในวงจ�ำกัด อีกทั้งยังต้องตัดสินใจบนพื้นฐาน ข้อมูลที่มีจ�ำกัด และในบ่อยครั้งเป็นข้อมูลที่มีความขัดแย้งกันเอง ข้อส�ำคัญ อีกประการหนึ่งคือการจัดการในภาวะฉุกเฉินจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลาย หน่วยงานเข้ามาร่วมในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งที่มีอ�ำนาจหน้าที่ ตามระเบียบ กฎหมาย เฉพาะของแต่ละหน่วย ทั้งที่เป็นหน่วยงานทางวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ ไม่มีโครงสร้างการบังคับบัญชา หรือการประสานงานระหว่างกันในภาวะปกติ ประเด็นเหล่านี้ เป็นความท้าทายต่อการจัดการของ “นักจัดการ ภาวะฉุกเฉิน (Emergency Manager)” อย่างมาก จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่ง ส�ำหรับการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่จะต้องจัดท�ำแผนการเตรียมความพร้อม แผนปฏิบัติการแผนเผชิญเหตุ การเตรียมการด้านทรัพยากร การท�ำความตกลง ความเข้าใจระหว่างหน่วยงานและผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับรวมทั้งจัดให้มีการฝึก ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลัก และหน่วยงานที่มีบทบาทในการสนับสนุนโดยต้องเป็นที่เข้าใจร่วมกันว่าในการ ปฏิบัติงานตามขั้นตอนการจัดการในภาวะฉุกเฉินนั้น ไม่ว่าความรุนแรงจะอยู่ใน ระดับใดจะต้องใช้ขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกันเสมอเพื่อให้หน่วยงาน และผู้เผชิญเหตุ(FirstResponders)มีความคุ้นเคยและเข้าใจมาตรฐานขั้นตอน บทน�ำ
  • 13. 4 บทน�ำ การปฏิบัติงาน หรือที่เรียกว่า Standard Operating Procedure (SOP) ไว้ตั้งแต่ ในภาวะปกติเพื่อให้เจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุจากหน่วยงานต่างๆสามารถเข้าเผชิญ กับเหตุการณ์ในภาวะฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ หลักการส�ำคัญในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน 1. มาตรฐานการจัดการในภาวะฉุกเฉิน เป็นมาตรฐานการจัดการที่เป็นระบบเดียวกันทั้งประเทศ เพื่อให้ ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ หรือความสามารถในการเข้าร่วมปฏิบัติงานเผชิญเหตุในภาวะฉุกเฉิน สามารถ ร่วมกันท�ำให้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นยุติและกลับคืนสู่สภาวะปกติได้โดยเร็ว ไม่ว่า เหตุการณ์นั้นจะมีการจัดการในระดับขนาดเล็กน้อย (ระดับท้องถิ่น) ขนาดเล็ก (ระดับอ�ำเภอ) ขนาดกลาง (ระดับจังหวัด) หรือขนาดใหญ่อย่างยิ่ง (ระดับชาติ) ซึ่งต้องมีการจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้รูปแบบ ระบบและความเข้าใจ ที่มีมาตรฐานเดียวกัน ดังนั้น มาตรฐานในการจัดการในภาวะฉุกเฉินคือ ความสามารถในการจัดการร่วมกันทั้งในด้านการสั่งการควบคุมมอบหมายภารกิจ สนับสนุนทรัพยากร และการบูรณาการการติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อพื้นที่และภารกิจระหว่างกันได้ทันที ภายใต้โครงสร้าง องค์กร กระบวนงานและขั้นตอนการปฏิบัติ รูปแบบ ทรัพยากร สัญลักษณ์ การสื่อสารที่มีมาตรฐานแบบเดียวกัน โดยการน�ำระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) มาใช้กับหน่วยงาน
  • 14. 5ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 2. เอกภาพในการจัดการ เป็นการจัดการในการเผชิญเหตุที่ทุกหน่วยมีการปฏิบัติที่เป็นไป ในทิศทางเดียวกัน โดยนักจัดการภาวะฉุกเฉิน ซึ่งก็คือผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมาย (รวมถึงเจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้ง) จะสามารถจัดการกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้ จ�ำเป็นต้องมีการก�ำหนดสายและล�ำดับการ บังคับบัญชา (span of control) ที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ว่าจะ รับหน้าที่ภารกิจจากผู้ใด หน่วยงานใดเป็นหน่วยงานหลักในการเผชิญเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น หน่วยงานใดท�ำหน้าที่สนับสนุน รวมทั้งการแบ่งความรับผิดชอบ ต่อสถานการณ์นั้น ๆ การท�ำให้มีเอกภาพในการจัดการต้องมีการก�ำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ ยุทธวิธีเพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนซึ่งจะท�ำให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมในการเผชิญเหตุ สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ อย่างรวดเร็ว ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ในประเทศไทยมีการใช้ค�ำว่า Single command อย่างแพร่หลาย ท�ำให้ หลายคนแปลความหมายว่าเป็นการสั่งการเพียงคนเดียว ซึ่งเป็นการเข้าใจที่ผิด เนื่องจากค�ำว่า Single Command คือการรวบรวมการสั่งการให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียวเนื่องจากเวลาเกิดสาธารณภัยจะมีการทับซ้อนของกฎหมายระเบียบ และอ�ำนาจในการดูแลพื้นที่เสมอ ซึ่งอาจท�ำให้มีผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมาย ต่อเหตุการณ์ที่เกิดหลายคน จึงจ�ำเป็นต้องให้เกิดข้อสั่งการที่มีความชัดเจน เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งก็คือความเป็นเอกภาพในการจัดการ 3. ความยืดหยุ่นของโครงสร้างองค์กรการจัดการในภาวะฉุกเฉิน โครงสร้างองค์กรการจัดการในภาวะฉุกเฉิน จะมีคุณลักษณะพิเศษ ที่แตกต่างจากโครงสร้างองค์กรในภาวะปกติ เพราะจะปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว ในภาวะกดดัน มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความรุนแรงของแต่ละเหตุการณ์ และ ทรัพยากรในการปฏิบัติงานที่มีอยู่ในขณะนั้น จึงจ�ำเป็นที่จะต้องสามารถปรับตัว
  • 15. 6 บทน�ำ ตามสถานการณ์ของแต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเภทและขนาดของภัย ซึ่งจะท�ำให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์นั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เป็นระบบ ทั้งนี้ การจัดองค์กรในภาวะฉุกเฉิน(ขนาดใหญ่)จะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานจ�ำนวนมาก ทั้งในระดับท้องถิ่น อ�ำเภอ จังหวัด ภูมิภาค ส่วนกลาง ภาคเอกชน และองค์กร ระหว่างประเทศ ที่เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่และ เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การปฏิบัติงานร่วมกันของหลายหน่วยงานมีอ�ำนาจ ตามกฎหมายหลายฉบับจ�ำเป็นต้องใช้หลักความยืดหยุ่นในการประสานการปฏิบัติ และมอบหมายความรับผิดชอบไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะมีการแจ้งเตือนล่วงหน้า เช่น วาตภัย สึนามิ หรือไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหว เป็นต้น การจัดการในภาวะฉุกเฉินตามแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศไทยรวมถึงการจัดการ ในภาวะฉุกเฉิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2558 ก�ำหนด ให้ทุกหน่วยงานใช้กรอบการปฏิบัติตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ พ.ศ. 2558 โดยมอบหมายให้ 1. กระทรวงกรมองค์กรและหน่วยงานภาครัฐรัฐวิสาหกิจจังหวัดอ�ำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่น ๆ ปฏิบัติการ ให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 2. ส�ำนักงบประมาณหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พิจารณาให้ความส�ำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการป้องกันและลดผลกระทบ การเตรียมความพร้อม การเผชิญเหตุ และการจัดการในภาวะฉุกเฉิน รวมถึง การฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
  • 16. 7ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 3. หน่วยงานแต่ละระดับ จัดท�ำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตร์และ บรรจุแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจ�ำปีด้วย แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 แบ่งระดับ การจัดการสาธารณภัย ออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ ระดับชาติ (2 ระดับ) ระดับ จังหวัด และระดับพื้นที่ (อ�ำเภอและท้องถิ่น) ได้แก่ ระดับอ�ำเภอ และท้องถิ่น ระดับ 1 สาธารณภัยขนาดเล็ก มีผู้อ�ำนวยการอ�ำเภอ (นายอ�ำเภอ) รับผิดชอบ และปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตอ�ำเภอของตน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อ�ำนวยการจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย และให้ ผู้อ�ำนวยการท้องถิ่น (ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งพื้นที่) มีหน้าที่ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตน และมีหน้าที่ช่วยเหลือ ผู้อ�ำนวยการจังหวัดและผู้อ�ำนวยการอ�ำเภอตามที่ได้รับมอบหมาย กรุงเทพมหานคร:ให้ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานคร(ผู้อ�ำนวยการเขต) รับผิดชอบและปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขต ของตน และมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานครตามที่ได้รับ มอบหมาย ระดับจังหวัด ระดับ2สาธารณภัยขนาดกลางมีผู้อ�ำนวยการจังหวัด(ผู้ว่าราชการจังหวัด) รับผิดชอบการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตจังหวัดโดยมีนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดเป็นรองผู้อ�ำนวยการจังหวัด กรุงเทพมหานคร : มีผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร) รับผิดชอบในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขต กรุงเทพมหานคร
  • 17. 8 บทน�ำ ระดับชาติ แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ มีผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แห่งชาติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย) ท�ำหน้าที่ควบคุม ก�ำกับ บังคับบัญชา สั่งการ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทั่วราชอาณาจักร โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นรองผู้บัญชาการ ระดับ 4 สาธารณภัยขนาดร้ายแรงอย่างยิ่ง มีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายก รัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเข้าท�ำหน้าที่สั่งการ ก�ำกับ ควบคุมการปฏิบัติของ ผู้บัญชาการ ผู้อ�ำนวยการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินตามแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ได้ก�ำหนด แนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน โดยก�ำหนดให้ “ทุกส่วนราชการ หน่วยงาน และภาคเอกชนใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์(IncidentCommandSystem) เป็นระบบมาตรฐานของประเทศไทยในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน”และยังได้น�ำ แนวความคิดในการจัดการในภาวะฉุกเฉินที่เป็นสากลมาปรับใช้ให้เข้ากับบริบท ของประเทศไทย และก�ำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน ดังนี้ 1. การจัดตั้งองค์กรปฏิบัติในการจัดการในภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ - ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (การจัดการ สาธารณภัยระดับ 1) - ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อ�ำเภอ (การจัดการสาธารณภัยระดับ 1) - ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด (การจัดการสาธารณภัยระดับ 2)
  • 18. 9ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย - ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้าจังหวัดและกองอ�ำนวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยกลาง:กอปภ.ก.(การจัดการสาธารณภัยระดับ3และ4) - กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ : บกปภ.ช. (จัดตั้งขึ้นตลอดเวลา แต่จะเริ่มสถาปนา (Activate) โครงสร้างต่าง ๆ เป็นล�ำดับ ขึ้นไปตามความรุนแรงของสถานการณ์) 2. แนวทางปฏิบัติระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) 3. แนวทางการก�ำกับ และควบคุมพื้นที่ (Area Command) 4. แนวทางการสนับสนุนการปฏิบัติงานในภาวะฉุกเฉิน(สปฉ.)(Emergency Support Function : ESF) 5. แนวทางปฏิบัติในการสนับสนุนการจัดการเหตุการณ์ (Incident Management Assistance Team : IMAT) หลักการ แนวความคิด และแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ สามารถน�ำมาใช้ ในการจัดการสาธารณภัยได้ในทุกประเภทภัย(AllHazard)ตามที่ระบุในเหตุผล การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ที่ต้องการให้เกิดเอกภาพและมาตรฐานในการอ�ำนวยการและบริหารจัดการ เกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • 19. 10 บทน�ำ ระดับการจัดการสาธารณภัยแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพ.ศ.2558 ระดับการจัดการผู้มีอ�ำนาจตามกฎหมายพ.ร.บ.ปภ.50 1สาธารณภัยขนาดเล็กผู้อ�ำนวยการอ�ำเภอผู้อ�ำนวยการท้องถิ่นและ/หรือ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานคร มาตรา18,19,36 2สาธารณภัยขนาดกลางผู้อ�ำนวยการจังหวัด/ผู้อ�ำนวยการกรุงเทพมหานครมาตรา15,32 3สาธารณภัยขนาดใหญ่ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติมาตรา13 4สาธารณภัยขนาด ร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายมาตรา31
  • 22. 13ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ภาพรวม ระบบบัญชาการเหตุการณ์ แนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ประเทศไทย ได้ก้าวเข้าสู่ช่วงของการปรับเปลี่ยนหลักการและแนวคิด ในการจัดการสาธารณภัยอีกครั้งหนึ่ง จากแนวคิดการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (Civil Defense) ที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2482 - 2522 มาเป็นการจัดการสาธารณภัย (Disaster Management) ในห้วงปี พ.ศ. 2545 และเปลี่ยนมาเป็นการจัดการ ความเสี่ยงจากสาธารณภัย(DisasterRiskManagement)ในปี2558ตามกรอบ Sendai Framework for DRR 2015-2030 ดังปรากฏในแผนการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย แบ่งช่วงการปฏิบัติออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) ช่วงการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย (Disaster Risk Reduction) ได้รวมภารกิจการป้องกัน (Prevention) การลดผลกระทบ (Mitigation) และ การเตรียมความพร้อม (Preparedness) ไว้ในช่วงเดียวกัน 2) ช่วงการจัดการ ในภาวะฉุกเฉิน (Emergency Management) และ 3) ช่วงการฟื้นฟู (Recovery) โดยมีการฟื้นสภาพ (Rehabilitation) การซ่อมสร้าง (Reconstruction) และ การท�ำให้ดีกว่าเดิมและปลอดภัยกว่าเดิม (Build Back Better and Safer) เป็นหลักการส�ำคัญ
  • 24. 15ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ประเทศไทยกับระบบบัญชาการเหตุการณ์ ประเทศไทยมีความพยายามในการน�ำแนวคิดระบบบัญชาการเหตุการณ์ มาใช้ในการจัดการในภาวะฉุกเฉินมากกว่า15ปีซึ่งปรากฏในแผนการป้องกันภัย ฝ่ายพลเรือนแห่งชาติพ.ศ.2545และกรมควบคุมมลพิษได้ก�ำหนดเป็นแนวปฏิบัติ ในเอกสารคู่มือปฏิบัติการภาคสนาม ส�ำหรับผู้บัญชาการ ณ ที่เกิดเหตุอุบัติภัย สารเคมี นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4392 (พ.ศ. 2555) เรื่องก�ำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การจัดการภาวะฉุกเฉิน ข้อก�ำหนดส�ำหรับการสั่งการและควบคุม (ISO 22320) อย่างไรก็ตาม ยังเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับระบบบัญชาการเหตุการณ์ ในกลุ่มเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุ (First Responder) ว่าเป็นระบบส�ำหรับผู้บังคับ บัญชาใช้ในการจัดการสาธารณภัย และไม่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุ ซึ่งแท้จริงแล้วกลับตรงกันข้าม ระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นระบบที่ใช้ ณ ที่เกิดเหตุ โดยเจ้าหน้าที่ผู้เผชิญเหตุที่ไปถึงที่เกิดเหตุเป็นล�ำดับแรก ก็คือ ผู้บัญชาการเหตุการณ์คนแรกของเหตุการณ์นั้น มีหน้าที่สถาปนาระบบการสั่งการ และเผชิญเหตุตามความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และศักยภาพของทรัพยากร ที่มีอยู่ในขณะนั้นหากสามารถควบคุมสถานการณ์และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ เหตุการณ์นั้นก็ยุติลง และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่หากเกินขีดความสามารถ ก็จะมีการประสานงานเพื่อขอรับการสนับสนุนทรัพยากรเพิ่มเติม และอาจมีผู้ที่ มีความเหมาะสมหรือประสบการณ์มากกว่าเข้ามาร่วมเผชิญเหตุก็สามารถที่จะ โอนการบังคับบัญชาสั่งการไปยังบุคคลผู้นั้นให้ท�ำหน้าที่ในการเป็นผู้บัญชาการ เหตุการณ์ล�ำดับต่อไปขณะเดียวกันเมื่อมีทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นโครงสร้างองค์กร ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ก็จะขยายตัวออกไปตามสถานการณ์ด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นประจ�ำในระบบบัญชาการเหตุการณ์
  • 25. 16 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ แต่ในช่วงกว่า 15 ปี ที่ผ่านมา ไม่มีการก�ำหนดแนวทางการจัดการใน ภาวะฉุกเฉินที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันระหว่างส่วนราชการ หน่วยงาน ของรัฐ และภาคเอกชน ไว้ในแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ที่ชัดเจน ท�ำให้เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย โดยเฉพาะที่เป็นภัยขนาดใหญ่ เช่น เหตุการณ์มหาอุทกภัย พ.ศ. 2554 ความเข้าใจผิดเหล่านี้เป็นข้อจ�ำกัดอุปสรรค ส�ำคัญที่ท�ำให้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ไม่เป็นที่แพร่หลายภายในส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ในการประสานการเผชิญเหตุร่วมกัน คงมี บางส่วนราชการบางหน่วยงานของรัฐน�ำมาใช้ภายในหน่วยงานของตนเองเช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร กรมควบคุมมลพิษ การท่าเรือแห่งประเทศไทย แต่ก็ยัง ไม่สามารถน�ำมาใช้เป็นมาตรฐานร่วมกันได้ เป็นต้น ระบบบัญชาการเหตุการณ์ คือ ระบบที่ใช้เพื่อสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือของแต่ละ หน่วยงานในการจัดการในภาวะฉุกเฉินอีกทั้งยังท�ำหน้าที่ในการระดมทรัพยากร ไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อจัดการเหตุฉุกเฉิน ให้สามารถช่วยเหลือชีวิต ทรัพย์สินและ สภาวะแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความเป็นมาของระบบบัญชาการเหตุการณ์ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเริ่มจาก - ปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) จากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งใหญ่ทางตอนใต้ ของมลรัฐแคลิฟอร์เนีย กินเวลา 13 วัน มีผู้เสียชีวิต 16 ราย อาคารบ้านเรือน ถูกท�ำลายไปกว่า700หลังพื้นที่ป่ากว่า300ล้านไร่ได้รับความเสียหายคิดเป็น มูลค่าความเสียหายมากกว่า18ล้านเหรียญสหรัฐถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานจ�ำนวน มากเข้าร่วมปฏิบัติการเผชิญเหตุอย่างสุดความสามารถ แต่ก็ปรากฏปัญหา
  • 26. 17ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ในการประสานงาน การสื่อสาร และการสนับสนุนทรัพยากร ที่ไม่มีมาตรฐาน ขาดเอกภาพ และขาดแผนปฏิบัติการ - ปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) รัฐสภาสหรัฐอเมริกา อนุมัติงบประมาณ ให้กรมป่าไม้ (U.S. Forest Service) พัฒนาระบบการประสานงานระหว่าง หน่วยงานและการสนับสนุนทรัพยากรการเผชิญเหตุให้มีประสิทธิภาพซึ่งระบบ นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่า FIRESCOPE : Fire fighting Resources Organized for Potencial Emergencies - ปี พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) จัดตั้งทีมเทคนิค FIRESCOPE เพื่อศึกษา ค้นคว้าและออกแบบระบบ ผลผลิตที่ส�ำคัญคือ การออกแบบระบบ 2 ระบบ ได้แก่ ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System : ICS) และ ระบบการประสานงานระหว่างหน่วยงาน (Multi - Agency Coordination System : MACS) - ปี พ.ศ. 2517 - 2522 (ค.ศ. 1974 - 1982) มีการใช้ระบบบัญชาการ เหตุการณ์ในการเผชิญเหตุไฟป่าระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย ในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการพัฒนาระบบให้สามารถใช้ในการปฏิบัติงาน ประสานงานระหว่างหน่วยงานระดับภาค (Regional) และระดับประเทศ จนกระทั่งน�ำไปบรรจุอยู่ใน “ระบบการประสานการจัดการเหตุการณ์ระหว่าง หน่วยงานระดับประเทศ” (National Interagency Incident Management System: NIIMS) - ปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ.2001) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงจากประสบการณ์การปฏิบัติงานเผชิญเหตุจริงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จากระบบที่ต้องการน�ำมาใช้ในเหตุการณ์ไฟป่า พัฒนาจนเป็นระบบที่สามารถ น�ำไปจัดการภาวะฉุกเฉินได้กับทุกประเภทภัย (All Hazard) ถึงแม้จะมีหน่วยงาน จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นและมลรัฐรับเอาระบบบัญชาการ เหตุการณ์ไปใช้เป็นระบบมาตรฐานในการจัดการภาวะฉุกเฉิน แต่ก็ยังไม่มีผล
  • 27. 18 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ บังคับใช้กับทุกมลรัฐทั่วประเทศ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 9/11ที่มลรัฐนิวยอร์ก จึงได้มีค�ำสั่งประธานาธิบดีเพื่อความมั่นคงแห่งมาตุภูมิที่5และ8(Homeland Security Presidential Directive : HSPD 5 & 8) ให้ทุกหน่วยงานทุกระดับ ในประเทศ ใช้ “ระบบการจัดการเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ” (National Incident Management System : NIMS) ซึ่งมีระบบบัญชาการเหตุการณ์เป็น องค์ประกอบ1ใน5องค์ประกอบได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การสื่อสาร และการจัดการข้อมูล ข่าวสาร 3) การจัดการทรัพยากร 4) การสั่งการและ การจัดการ และ 5) ความต่อเนื่องในการจัดการและบ�ำรุงรักษา เป้าประสงค์ของการใช้ระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1) ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ทั้งหมด 2) บรรลุวัตถุประสงค์เชิงยุทธวิธี 3) ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของระบบบัญชาการเหตุการณ์ 1) สามารถใช้ในการจัดการเหตุฉุกเฉินได้ทุกรูปแบบ ทุกประเภท ทุกขนาด และยังใช้ในการจัดการเหตุการณ์ที่ไม่ฉุกเฉินได้ด้วย เช่น การจัดการประชุม สัมมนา การฝึกอบรม การจัดงานเลี้ยงหรืองานรื่นเริงต่าง ๆ เป็นต้น 2) เสริมสร้างการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบ รวดเร็ว ภายใต้โครงสร้างการจัดการเหตุการณ์เดียวกัน (Common Management Structure) 3) ให้การสนับสนุนด้านทรัพยากรและการบริหารแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในภาคสนาม 4) ลดการท�ำงานที่ซ�้ำซ้อน ท�ำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและ ประหยัด
  • 28. 19ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย หลักการพื้นฐานของระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Basic Feature of ICS) ลักษณะเฉพาะในการจัดการของระบบบัญชาการเหตุการณ์ มีทั้งสิ้น 14 ประการ ซึ่งแต่ละประการต่างสนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งให้กับทั้งระบบ ในภาพรวมดังนี้ 1. การใช้ศัพท์มาตรฐาน (Common Terminology) การใช้ศัพท์มาตรฐาน เป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง หน่วยงานที่ดีที่สุด ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน เราไม่มีเวลาที่จะมาเรียนรู้ ภาษา ค�ำศัพท์ สัญลักษณ์ใหม่ๆของแต่ละหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นค�ำศัพท์ทางเทคนิคศัพท์ที่ใช้ เฉพาะภายในหน่วยงาน หรือรหัสวิทยุ ซึ่งจะท�ำให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ความเข้าใจระหว่างกันมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนน�ำมาซึ่งการรับมอบภารกิจ ในการปฏิบัติงานเกิดความสับสนขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่มักจะมี ความเข้าใจในการใช้ค�ำศัพท์ที่ไม่ตรงกันหรือต้องมีการแปลความหมายอยู่ ค่อนข้างมาก เช่น คนไทยไม่เคยเรียกผงซักฟอก แต่จะเรียกว่า “แฟ๊บ” แต่มี ความหมายว่า “ผงซักฟอก” เราเรียกก๊าซ เติมรถยนต์ว่า “NGV” แต่เรา หมายความว่า“CNG”เพราะNGVมาจากค�ำว่าNaturalGasVehicleหมายถึง รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ในขณะที่ CNG: Compress Natural Gas เป็นก๊าซที่ใช้ ในรถยนต์ เป็นต้น
  • 29. 20 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ ค�ำศัพท์มาตรฐานที่ระบบบัญชาการเหตุการณ์ใช้ร่วมกันในทุกหน่วยงานได้แก่ชื่อเรียกโครงสร้างต�ำแหน่ง โครงสร้างต�ำแหน่งต�ำแหน่งสนับสนุน ต�ำแหน่ง (ภาษาอังกฤษ) บัญชาการผู้บัญชาการเหตุการณ์รองผู้บัญชาการIncidentCommand เจ้าหน้าที่สนับสนุน การบัญชาการ เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยCommandStaff เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหัวหน้าส่วนรองหัวหน้าส่วนGeneralStaff แผนกหัวหน้าแผนกรองหัวหน้าแผนกBranch กลุ่มพื้นที่/กลุ่มภารกิจหัวหน้ารองหัวหน้าDivisionorGroup ชุดปฏิบัติการหัวหน้าชุดผู้ช่วยหัวหน้าชุดUnit
  • 30. 21ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 2. โครงสร้างองค์กรแบบโมดูลาร์ (Modular Organization) โครงสร้างองค์กรแบบโมดูลาร์ เป็นลักษณะเด่นของระบบบัญชาการ เหตุการณ์ เพื่อให้องค์กรมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม สถานการณ์ความจ�ำเป็นของแต่ละเหตุการณ์มีรูปแบบที่ขยายตัวจากบนลงล่าง (Top Down) สามารถปรับเปลี่ยนขยายหรือลดขนาดได้ตามความเหมาะสม ของภัยแต่ละประเภท และความซับซ้อนของแต่ละเหตุการณ์ โครงสร้างองค์กร แบบนี้จึงมีความคล่องตัวสูงท�ำให้ประสานการท�ำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ได้อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจาก 1) วัตถุประสงค์ของแต่ละเหตุการณ์เป็นปัจจัยก�ำหนดจ�ำนวน ขนาดและโครงสร้างขององค์กร 2) การแต่งตั้งต�ำแหน่งต่าง ๆ ในโครงสร้างระบบบัญชาการ เหตุการณ์จะแต่งตั้งขึ้นตามความจ�ำเป็นของแต่ละเหตุการณ์เท่านั้น เป็นไปตาม หน้าที่ภารกิจที่ต้องการจะปฏิบัติ และสามารถยุบเลิกได้เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจหรือ หมดความต้องการ 3) โครงสร้างในแต่ละส่วนที่จัดตั้งขึ้นจะต้องมีผู้รับผิดชอบชัดเจน ไม่มีการสวมหมวกหลายใบในระบบบัญชาการเหตุการณ์ 4) โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบเฉพาะกิจเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานจะออกจากหน้าที่ความรับผิดชอบประจ�ำ มาสวมบทบาท หน้าที่ภายใต้โครงสร้างในระบบบัญชาการเหตุการณ์และขึ้นการบังคับบัญชากับ ผู้บัญชาการเหตุการณ์โดยตรงเช่นหัวหน้าหน่วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับมอบหมายให้เป็นผู้อ�ำนวยการส่วนปฏิบัติการ มีหัวหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต�ำบลท�ำหน้าที่หัวหน้าชุดพยาบาลฉุกเฉิน ภายใต้การบัญชาการเหตุการณ์ของนายอ�ำเภอ และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจก็จะ กลับไปปฏิบัติหน้าที่ตามต้นสังกัดของตนตามเดิม ดังนั้น ภายใต้โครงสร้างแบบ โมดูลาร์ จึงไม่มีโครงสร้างที่ก�ำหนดไว้เป็นการตายตัว
  • 31. 22 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ ลักษณะโครงสร้างแบบ top down หมายถึง เมื่อชุดปฏิบัติการชุดแรกที่ไปถึง ที่เกิดเหตุจะเป็นผู้สถาปนาระบบบัญชาการ เหตุการณ์ โดยเข้าท�ำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการ เหตุการณ์ และเริ่มการปฏิบัติงานในการ ระงับเหตุเท่าที่สามารถกระท�ำได้ หรือเท่าที่มี ทรัพยากรอยู่ในขณะนั้น เมื่อมีชุดปฏิบัติการ ชุดอื่นเข้ามาถึงที่เกิดเหตุ จะเกิดการสั่งการ แบ่งมอบภารกิจ จัดล�ำดับการบังคับบัญชา หรือจะมีการโอนการบังคับบัญชาให้กับ ชุดปฏิบัติการที่เข้ามาใหม่ (ถ้ามีคุณสมบัติเหมาะสมกับเหตุการณ์มากกว่า ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น) และจะมีการด�ำเนินการไปในลักษณะนี้จนกว่า เหตุการณ์จะสิ้นสุด 3. การจัดการโดยยึดวัตถุประสงค์ (Management by Objective) ระบบบัญชาการเหตุการณ์ เป็นระบบที่ถูกออกแบบมาส�ำหรับการ จัดการในภาวะฉุกเฉิน ใช้จัดการ ณ ที่เกิดเหตุโดยเฉพาะ แต่สามารถน�ำไปใช้ ในการจัดการกิจกรรมที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เช่น การจัดการประชุม สัมมนา หรืองานรื่นเริงต่างๆได้และยังสามารถน�ำหลักการไปใช้ในการปฏิบัติงานภายใน ของกองอ�ำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ได้ในทุกระดับ รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินอื่น ๆ (Emergency Operation Center) ได้เช่นกัน ในการจัดการเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต้องมีการก�ำหนดวัตถุประสงค์ (แนวทางในการปฏิบัติ) โดยการจัดล�ำดับความส�ำคัญในการปฏิบัติงานในแต่ละ ห้วงเวลาปฏิบัติงาน (Operation Period) ไว้อย่างชัดเจน (โดยปกติจะก�ำหนด
  • 32. 23ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย ห้วงเวลาละ 24 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความซับซ้อน และจ�ำนวนทรัพยากร ของแต่ละเหตุการณ์)ดังนั้นทุกเหตุการณ์ต้องมีการก�ำหนดวัตถุประสงค์แนวทาง การปฏิบัติที่ชัดเจน และต้องมีการสื่อสารแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบตลอดเวลา ขั้นตอนส�ำคัญในการก�ำหนดวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน หลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 : ท�ำความเข้าใจนโยบายและแนวทางของหน่วยงาน (Understand agency policy and direction) ขั้นตอนที่ 2 : ประเมินสถานการณ์ (Assess Incident Situation) ขั้นตอนที่ 3 : ก�ำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดการกับเหตุการณ์ (Establish Incident Objectives) ขั้นตอนที่ 4 : เลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ ตามวัตถุประสงค์ที่ก�ำหนด (Select appropriate strategy or strategies to achieve objectives) ขั้นตอนที่5 :ด�ำเนินการตามยุทธวิธี(Performtacticaldirection) ขั้นตอนที่ 6 : ติดตามผลการด�ำเนินการ ข้อควรพิจารณาในการจัดล�ำดับความส�ำคัญในการก�ำหนดวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. ความปลอดภัยในชีวิต (Life Safety) 2. การควบคุมสถานการณ์ (Incident Stability) 3. การรักษาสภาพแวดล้อม (Property Preservation)
  • 33. 24 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ ถึงแม้ว่าการรักษาความปลอดภัยในชีวิตจะถูกก�ำหนดเป็นล�ำดับแรก แต่ในบางสถานการณ์ผู้บัญชาการเหตุการณ์ต้องค�ำนึงถึงความสามารถในการ ปฏิบัติงานและทรัพยากรที่มีอยู่ซึ่งอาจจ�ำเป็นต้องเลือกการควบคุมสถานการณ์ ไม่ให้ลุกลามออกไปจนท�ำให้มีผู้ประสบภัยบาดเจ็บ เสียชีวิต เพิ่มขึ้นอีกเป็น จ�ำนวนมาก อีกทั้งยังต้องเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมไม่ให้เกิดผลกระทบ กับสภาพแวดล้อมที่อาจเป็นการสร้างสถานการณ์ใหม่ขึ้นได้ เช่น การดับเพลิง สารเคมีบางประเภทโดยการใช้น�้ำฉีดท�ำให้สารเคมีไหลลงสู่แหล่งน�้ำ ท่อระบายน�้ำ เป็นเหตุให้เกิดปัญหากับราษฎรตามเส้นทางไหลของน�้ำตามมา เป็นต้น เครื่องมือที่จะช่วยให้การก�ำหนดวัตถุประสงค์ ให้มีความเป็นรูปธรรม สามารถวัดผลส�ำเร็จได้ คือการก�ำหนดวัตถุประสงค์แบบ “S-M-A-R-T Objective” S : Specific (ชัดเจน) เป็นการก�ำหนดเป้าหมายการปฏิบัติที่ชัดเจน โดยหลีกเลี่ยงการใช้ค�ำศัพท์ที่เป็นนามธรรม เช่น ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุณภาพ ซึ่งแต่ละบุคคลมีเกณฑ์ที่แตกต่างกัน เป็นต้น M : Measureable (วัดได้) ก�ำหนดหน่วยนับที่สามารถวัดผลสัมฤทธิ์ ของการปฏิบัติได้ A : Achievable/Attainable (ท�ำได้) เป็นการก�ำหนดภารกิจ ที่สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนั้น R : Realistic/Relevant (สมเหตุสมผล) เป็นไปตามองค์ความรู้ ในการจัดการภัยแต่ละชนิดไม่ตั้งสมมติฐานเกินกว่าที่จะท�ำได้ T : Timeline (ระยะเวลา) ก�ำหนดระยะเวลาการปฏิบัติงานที่เหมาะสม ไม่นานเกินไปหรือสั้นเกินไป เนื่องจากสถานการณ์ฉุกเฉินมีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา จนเจ้าหน้าที่ต้องเร่งปฏิบัติงาน เพราะจะท�ำให้เกิดความผิดพลาด น�ำไปสู่การบาดเจ็บได้
  • 34. 25ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 4. แผนเผชิญเหตุ (Incident Action Plan) ทุกเหตุการณ์ในระบบบัญชาการเหตุการณ์เมื่อก�ำหนดวัตถุประสงค์แล้ว จะต้องมีการก�ำหนดแผนเผชิญเหตุขึ้นทุกครั้งซึ่งในเหตุการณ์ขนาดเล็กที่ใช้เวลา ไม่เกิน 6 ชั่วโมง โดยปกติจะไม่ได้จัดท�ำเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่ก�ำหนด ขั้นตอนการปฏิบัติโดยผู้บัญชาการเหตุการณ์ ใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) สิ่งที่จะต้องท�ำ (What must be done?) 2) ใครรับผิดชอบ (Who is Responsible?) 3) จะสื่อสารข้อมูลกันอย่างไร (How information be communicate?) 4) การปฏิบัติหากมีผู้ได้รับบาดเจ็บ (What should be done if someone is injured?) แต่หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องใช้เวลาและทรัพยากรในการจัดการ มากกว่าเหตุการณ์ปกติ และมีการจัดตั้งส่วนอ�ำนวยการขึ้น จะต้องมีการจัดท�ำ แผนเผชิญเหตุเป็นลายลักษณ์อักษร แผนเผชิญเหตุในระบบบัญชาการเหตุการณ์จึงเป็นแผนที่ไม่ได้มีการ จัดท�ำไว้เป็นการล่วงหน้าเหมือนแผนปฏิบัติการอื่น ๆ แต่จะถูกก�ำหนดหรือ จัดท�ำเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว โดยที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์จะรวบรวมข้อมูล สถานการณ์ แนวโน้ม และทรัพยากรที่มีอยู่ในขณะนั้น มาเป็นองค์ประกอบ ส�ำคัญเพื่อก�ำหนดแนวทางและความมุ่งหมายในการปฏิบัติออกมาเป็นแผน เผชิญเหตุ มีสาระส�ำคัญ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของเหตุการณ์ (Incident Objectives) 2) รายละเอียดภารกิจ และยุทธวิธีที่ต้องด�ำเนินการ รวมถึงก�ำหนด ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน 3) ห้วงเวลาปฏิบัติงาน (Operation Period)
  • 35. 26 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ 5. ช่วงการควบคุม (Span of Control) หมายถึง สิ่งซึ่งแสดงให้ทราบว่าผู้บังคับ บัญชาคนหนึ่ง มีขอบเขตความรับผิดชอบเพียงใด มีผู้ใต้บังคับบัญชากี่คน มีหน่วยงานอยู่ในความควบคุม รับผิดชอบกี่หน่วยงาน มีทรัพยากรที่ต้องจัดการ กี่ประเภท/ชนิด (kind/type) ทั้งนี้เนื่องจากผู้บังคับ บัญชาหรือหัวหน้าจะต้องสามารถก�ำกับดูแลควบคุม การปฏิบัติงาน จัดการทรัพยากร ตลอดจนสื่อสารกับ ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างทั่วถึง การสั่งการในการ ปฏิบัติงานจึงจะมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ช่วงของการควบคุมจึงเป็นหัวใจส�ำคัญ ในการจัดการเหตุการณ์ที่มีประสิทธิภาพ ช่วงการควบคุมขึ้นอยู่กับปัจจัยส�ำคัญ 3 ประการ 1) ประเภทและขนาดของเหตุการณ์ 2) ปัจจัยความเสี่ยงอันตราย และความปลอดภัย 3) จ�ำนวนทรัพยากรและผู้ปฏิบัติงาน ช่วงการควบคุมที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง3-7แต่ช่วงของการควบคุม ที่เหมาะสมที่สุดคือ 5 ดังนั้น ภายใต้โครงสร้างองค์กรที่ยืด หด ได้แบบโมดูลาร์ ไม่ว่าจะเป็นการขยายขนาดของโครงสร้างให้ใหญ่ขึ้นหรือลดขนาดให้เล็กลงก็ตาม จะต้องรักษาระดับของช่วงการควบคุมให้เหมาะสมตลอดเวลา 6. พื้นที่ปฏิบัติงานและสิ่งอ�ำนวยความสะดวก (Incident Facilities) สถานที่ปฏิบัติงานหลักในระบบบัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งเมื่อเห็น สัญลักษณ์ หรือการเรียกชื่อสถานที่เหล่านี้ จะท�ำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนเข้าใจ ได้ทันทีว่าสถานที่เหล่านี้มีภารกิจ หน้าที่ และความรับผิดชอบอย่างไร จัดตั้ง เพื่อวัตถุประสงค์ใด และอาจบ่งบอกถึงขนาดและความรุนแรงของเหตุการณ์ ได้ด้วย ประกอบด้วย
  • 36. 27ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 1) ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command Post: ICP) สถานที่ที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ใช้ในการบัญชาการ เหตุการณ์ จัดตั้งขึ้น ณ พื้นที่เกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบส�ำคัญที่ผู้บัญชาการเหตุการณ์ จะต้องสถาปนาระบบบัญชาการเหตุการณ์ (สั่งการ) เพื่อประสาน การปฏิบัติ โดยจะต้องก�ำหนดล�ำดับการบังคับบัญชา และระบบการสื่อสาร ในที่เกิดเหตุที่ชัดเจน วิธีการส�ำคัญประการหนึ่งในการสถาปนาระบบสั่งการ คือ การจัดตั้งสถานที่ที่เป็น “ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์” เพื่อใช้ในการสั่งการ ก�ำกับดูแลการปฏิบัติงานในภาพรวม ในแต่ละเหตุการณ์จะต้องมีการจัดตั้ง ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ และจัดตั้งเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ ดังกล่าวจะเป็นการสนธิก�ำลังจากหลายหน่วยงานมาร่วมปฏิบัติงาน และมีการ จัดโครงสร้างที่เรียกว่า “การบัญชาการร่วม” ก็ตาม ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ อาจเป็นสถานที่ชั่วคราว เช่น ใต้ต้นไม้ เต็นท์ ศาลา อาคาร หรือยานพาหนะ ก็ได้ แต่ควรเป็นสถานที่ที่สามารถ สังเกตการณ์พื้นที่เกิดเหตุ ควบคุม ดูแล ก�ำกับ และสั่งการการปฏิบัติงานได้ สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีระบบการสื่อสาร และควรอยู่ภายในบริเวณที่ใกล้เคียง กับจุดเกิดเหตุมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องอยู่ภายนอกเขตอันตราย หรือ บริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ เช่น จัดตั้งอยู่เหนือลม 2) จุดระดมทรัพยากร (Staging Area : S) สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่รวมของทรัพยากรที่ “พร้อมปฏิบัติงาน” เพื่อรอรับมอบหมายภารกิจออกปฏิบัติงาน จุดระดมทรัพยากรอาจจัดตั้งได้มากกว่า 1 แห่ง ขึ้นอยู่กับ ขนาด จ�ำนวนของทรัพยากร และสภาพภูมิประเทศ ในกรณีที่ สถานการณ์ขยายตัวลุกลามจ�ำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น อาจมีการก�ำหนดจุดระดมทรัพยากรหลายแห่งเพื่อให้สะดวกแก่การเข้าปฏิบัติงาน
  • 37. 28 ภาพรวมระบบบัญชาการเหตุการณ์ ก็ได้ แต่การจัดตั้งจุดระดมทรัพยากรแต่ละแห่งจะต้องมีการแต่งตั้งผู้จัดการ (Staging Area Manager) เพื่อท�ำหน้าที่ควบคุม ดูแล ทรัพยากรในจุดระดม ทรัพยากรเสมอ สถานที่ที่ตั้งของจุดระดมทรัพยากร ควรจะตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณ ที่เกิดเหตุ เพื่อให้สามารถส่งทรัพยากรเข้าปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันเวลาแต่ควรมีระยะห่างพอสมควรเพื่อความปลอดภัยและพ้นจากผลกระทบ ของเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ปัจจัยที่เป็นข้อพิจารณาส�ำคัญในการเลือกและก�ำหนดสถานที่ตั้ง ของจุดระดมทรัพยากร ได้แก่ ก. ระยะห่างจากพื้นที่เกิดเหตุ โดยหลักการจุดระดมทรัพยากร ไม่ควรตั้งอยู่ห่างจากสถานที่เกิดเหตุ ในระยะเวลาเดินทางเกิน 5 นาที ซึ่งอาจ เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติขึ้นอยู่กับแต่ละเหตุการณ์ แต่ทั้งนี้ควรอยู่ใกล้กับพื้นที่ ปฏิบัติงานมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข.เส้นทางในการเข้าถึงพื้นที่ (AccessRoutes)ถนนที่เป็นเส้นทาง เข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุเป็นถนนประเภทใดรองรับรถยนต์ขนาดหนักได้กี่ตันมีเส้นทาง ส�ำรองหรือไม่ หากเป็นเส้นทางเล็กเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อาจก�ำหนด ให้เป็นถนนเดินรถทางเดียว (one way) ค.ขนาดพื้นที่ต้องมีพื้นที่บริเวณที่กว้างเพียงพอที่จะสามารถรองรับ ทรัพยากรที่มีอยู่ได้ รวมถึงการจัดการพื้นที่ส�ำหรับเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันควรมี พื้นที่กว้างเหลือพอที่จะท�ำการขยายบริเวณออกไปได้ถ้าหากสถานการณ์ขยายตัว และต้องการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น ง. ความปลอดภัย มีมาตรการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ ไฟฟ้า ส่องสว่าง ป้ายสัญญาณจราจร และอื่น ๆ จุดระดมทรัพยากรอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ ของผู้อ�ำนวยการส่วนปฏิบัติการ
  • 38. 29ระบบบัญชาการณ์เหตุการณ์กับการจัดการในภาวะฉุกเฉินของประเทศไทย 3) ฐานปฏิบัติการ (Base: B) สถานที่ส�ำหรับปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อ�ำนวย การปฏิบัติงาน (General Staff) ได้แก่ส่วนอ�ำนวยการ ส่วนสนับสนุนและเจ้าหน้าที่บังคับบัญชา(CommandStaff) ที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ที่เกิดเหตุ การจัดตั้ง “ฐานปฏิบัติการ” เพื่อเป็นสถานที่ในการให้บริการและสนับสนุนข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นๆ ในเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์จะมี “ฐานปฏิบัติการ” เพียงแห่งเดียว เช่นเดียวกับ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (ICP) รวมทั้งอาจมีการตั้งชื่อให้กับฐานปฏิบัติการ ตามสถานที่เกิดเหตุก็ได้ 4) แคมป์ (Camp : C) พื้นที่ส�ำหรับใช้ในการสนับสนุนเสบียงอาหาร ที่พัก สุขภัณฑ์ สถานพยาบาล แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนสนับสนุน อาจใช้เป็นสถานที่ ในการซ่อมบ�ำรุงยานพาหนะและเก็บรักษาทรัพยากรอื่น ๆ ด้วย แคมป์อาจตั้งขึ้นได้หลายแห่งในเหตุการณ์เดียวกัน ซึ่งต้องมี การจัดตั้งผู้จัดการแคมป์ ท�ำหน้าที่รับผิดชอบการจัดการภายในแคมป์ใน ภาพรวม(การตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวส�ำหรับผู้ประสบภัยเป็นความรับผิดชอบของ ส่วนปฏิบัติการ) 5) ฐานเฮลิคอปเตอร์ (Helibase) และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ (Helispot) ฐานเฮลิคอปเตอร์ (Helibase)เป็นสถานที่ ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศเป็นฐานจอดเฮลิคอปเตอร์ ระยะยาว เพื่อเติมน�้ำมันเชื้อเพลิง ซ่อมบ�ำรุง จอดขณะที่ไม่มี การปฏิบัติการทางอากาศ (เปรียบเสมือนอู่รถยนต์)