SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
การลงทุนในรูปแบบต่างๆ
ในฐานะผู้บริโภคสามารถนาเงินออมของตนไปลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์
ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของการลงทุนและผลตอบแทนที่อาจ
ได้รับ ดังนี้
1. การฝากเงินกับธนาคาร ถือว่าเป็นการลงทุนที่มั่นคงมาก ผู้บริโภค
สามารถฝากเงินประเภทต่าง ๆ กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารออมสิน
เป็นการใช้เงินออมลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนแน่นอนและไม่เสี่ยงภัย
จานวนเงินออมจะมียอดสูงขึ้นตลอดเวลา การฝากเงินกับธนาคาร ทาได้
หลายประเภท คือ
• 1.1) ประเภทสะสมทรัพย์ แต่ละธนาคารจะเรียกชื่อบัญชีเงินฝากประเภทนี้
แตกต่างกัน เช่น สินมัธยัสถ์ สินทวี ฯลฯ เป็นการฝากเงินที่มีกําหนดและจํานวน
เงินฝาก แต่ละงวดแน่นอนโดยเมื่อครบกําหนดเวลา 5 ปี 10 ปี 20 ปี จึงจะถอน
เงินคืนพร้อมทั้งต้น และดอกเบี้ยได้ตามอัตราและยอดเงินเป้าหมายที่กําหนดไว้
• 1. 2) ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารออมสินเรียกเงินฝากประเภทนี้ว่า ประเภท เผื่อ
เรียก สามารถฝากและถอนเงินได้ตามความต้องการ การฝากเงินประเภทนี้จะ
ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่กําหนด
1.3) ประเภทฝากประจํา เป็นการฝากที่กําหนดเวลาฝากและดอกเบี้ยไว้ให้ทราบ
แน่นอน โดยปกติธนาคารกําหนดไว้ 3 ระยะ คือ
• (1) ฝากประจํา 3 เดือน เป็นการฝากที่มีกําหนดระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไปจึงจะ
ถอนคืนได้ และกําหนดวงเงินไว้ครั้งละไม่ต่ํากว่า 1,000 บาท เงินฝากประเภท
นี้มีเฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น
(2) ฝากประจํา 6 เดือน กําหนดเวลาฝากเงินไม่ต่ํากว่า 6 เดือน
(3) ฝากประจํา 12 เดือน สําหรับผู้มีความสามารถในการออมและต้องการได้
ประโยชน์จากดอกเบี้ยในอัตราสูง เมื่อฝากครบกําหนด 12 เดือนจึงจะได้รับ
ดอกเบี้ย
• 2. การฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่น
สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจประเภทเงินทุน ได้แก่ บริษัทเงินทุน บริษัท
เครดิตฟองซิเอร์ ทรัสต์ เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัดบริษัท
เงินทุนแตกต่างกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คือ บริษัทเงินทุนจัดหาทุนเพื่อบุคคลอื่น
ซึ่งกระทําโดยการกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป วิธีการกู้ยืมที่กฎหมายกําหนดให้
ปฏิบัติ บริษัทเงินทุนต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้บริโภคที่นําเงินมาฝากเป็น
หลักฐานในการกู้ยืม ส่วนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นสถาบันการเงินที่ดําเนินธุรกิจ
เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือรับซื้อฝาก
อสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก
การฝากเงินสถาบันการเงินทั้ง 2 รูปแบบนี้ แม้ว่าผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนสูง
กว่าธนาคารพาณิชย์ แต่ความนิยมในการใช้บริการฝากเงินกับธนาคารยังสูงอยู่
ทั้งนี้เพราะ
• ก. บริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เริ่มมีบทบาทในตลาด
การเงินของไทยไม่นาน ประชาชนจึงไม่เชื่อมั่นในความมั่นคงของบริษัทเงินทุน
เท่าธนาคารพาณิชย์
ข. โดยวิธีปฏิบัติ ธนาคารพาณิชย์จะนําเงินฝากไปลงทุนต่อเฉพาะในกรณีที่มีความ
เสี่ยงน้อย และการให้กู้เงินของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นการให้กู้ระยะสั้น
และมีหลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ค้ําประกัน นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยัง
มีสาขามากสามารถรวบรวม เงินฝากได้ง่ายและจํานวนมาก แต่บริษัทเงินทุนให้
กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมระยะยาวทําให้ มีความเสี่ยงสูง ในภาวะเศรษฐกิจที่
ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าของเงินลดลง และประชาชนผู้ซื้อ
ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องการเงินคืนเพื่อนําไปลงทุนอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
เช่น ซื้อที่ดิน ทองคํา ฯลฯ
• ค. บริษัทเงินทุนมักนําเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุนเช่น ที่ดิน อาคาร
ร้านค้า ฯลฯ ถ้าราคาหลักทรัพย์ตกต่ําก็อาจประสบภาวะล้มเหลวต้องเลิกล้มกิจการ
ไปในที่สุด ผู้ฝากเงินก็อาจไม่ได้รับทุนคืน และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ก็จะต้อง
ล้มละลายเช่นเดียวกัน
• 3. การซื้อสลากออมสินพิเศษ เป็นการออมทรัพย์ที่ดีประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้บริโภคซื้อ
สลากอมสินพิเศษจากธนาคารออมสินเท่าใดก็ได้ ธนาคารออมสินจะออกสลาก
ออมสินพิเศษเป็นหลักฐานในการฝากเงินให้ สลากหน่วยหนึ่ง มีราคา 50 บาท
ผู้บริโภคมีโอกาส 2 ชั้น คือ ผู้ฝากมีสิทธิถูกรางวัลสลากออมสินพิเศษถึง 35 ครั้ง
ซึ่งจะมีการออกรางวัลเดือนละครั้ง และเมื่อครบกําหนด 3 ปี ผู้บริโภคจะได้รับ
เงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราที่กําหนดไว้
• 4. การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ถือว่าการลงทุนออมทรัพย์ที่มั่นคงและให้ผลตอบแทน
แน่นอน มีการเสี่ยงภัยน้อยที่สุดทั้งยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ พันธบัตรรัฐบาลเป็น
ตราสารที่รัฐบาลค้ําประกัน มีหลายชนิด ซึ่งกําหนดเวลาไถ่ถอนคืนให้แก่
ประชาชนที่ซื้อเพื่อการออมทรัพย์ระยะยาวและจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ 6 เดือน ต่อครั้ง
ตลาดอายุของพันธบัตรฉบับนั้น ๆ ผู้บริโภคสามารถเรียกเงินคืนได้เมื่อต้องการ
หรือเมื่อครบกําหนด
• 5. การทําประกันชีวิต การทําประกันชีวิตช่วยให้สามารถออมทรัพย์หรือสะสม
ทรัพย์ได้ทุก ๆ ปี เป็นประจํา ช่วยให้รู้จักประหยัดเพื่อชีวิตอนาคตข้างหน้าโดยมี
กําหนดเวลาที่แน่นอนและมีระเบียบแบบแผนในการสะสมทรัพย์อย่างดียิ่ง
6. การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์คือ ตลาดซื้อขายหุ้น เป็นคํา
เฉพาะมิได้หมายถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่หมายถึงกิจการธุรกิจหรือสถาบันที่
ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่ซื้อ
ขายกัน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และพันธบัตรรัฐบาล
• 1) แหล่งซื้อขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์มี 2 แหล่ง
คือ
• (1) ตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (Primary Market) เป็นแหล่งที่มีการ
เสนอขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป เมื่อธุรกิจและ
อุตสาหกรรมต้องการขยายทุนเพิ่มการเสนอขายหุ้นอาจทําโดยบริษัทผู้ออก
หลักทรัพย์นั้น หรือบริษัทที่ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ และราคาที่เสนอขายก็อาจสูง
กว่ามูลค่าที่ตราไว้ก็ได้ เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ออมทรัพย์ใหม่ในราคาต่ํากว่า
มูลค่าที่ตราไว้
• (2) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ (Secondary Market) เป็นแหล่งที่มี
การติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเคยผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว การซื้อ
ขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเพียงการติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ถือหลักทรัพย์
กับบุคคลอื่นที่ต้องการหลักทรัพย์นั้น ซึ่งเป็นเพียงการโอนกรรมสิทธิ์ใน
หลักทรัพย์ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
• 2) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการตกลงกันเอง
ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย หรือกระทําผ่านสถาบันธุรกิจหลักทรัพย์ แต่การติดต่อซื้อ
ขายกันเองก็ดีหรือซื้อขายผ่านตัวแทนก็ดี อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ฝ่ายผู้ซื้อ
หรือฝ่ายผู้ขายหรือทั้งสองฝ่าย รัฐบาลจึงดําริจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ
ไทยขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 62 ถ.รัชดาภิเษก
เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะเป็นแหล่งกลางให้บริษัทสมาชิกที่เป็น
ตัวแทนใน การซื้อขายหลักทรัพย์มาตกลงทําการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทที่
ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณายินยอมให้ทําการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ได้
การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รัฐบาลมีความมุ่งหมายเพื่อควบคุม
สถานภาพของธุรกิจหลักทรัพย์ให้มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือ ให้ทําการซื้อขาย
หลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนในราคายุติธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง ขึ้นลง
อย่างฮวบฮาบ
• 3) วิธีซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่ผู้บริโภคจะเอาเงินออมไปลงทุนซื้อ
หลักทรัพย์ ควรจะศึกษาก่อนว่าผู้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่ได้แก่บุคคลใดบ้าง
• (1) บุคคลที่ซื้อขายหุ้น ผู้ที่ซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทนในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งตาม
วัตถุประสงค์ของผู้ซื้อหุ้นได้ 2 ประเภท คือ
• ผู้ลงทุน จะซื้อหลักทรัพย์และถือหลักทรัพย์ไว้เป็นระยะยาวเพื่อหวังเงินปันผล
ดอกเบี้ย หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่พึงได้จากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์นั้น ๆ
• นักเก็งกําไร จะซื้อหลักทรัพย์และถือหลักทรัพย์ไว้เป็นระยะสั้น ๆ หรือเพียง
ผ่านมือเท่านั้น โดยมากจะรีบขายทันทีถ้าได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อไว้ หรือจะรีบ
ขายเมื่อเห็นว่าไม่มีทางได้รับกําไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือให้ตนเอง
ขาดทุนน้อยที่สุด
• การซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริโภคจะต้องไปติดต่อกับบริษัทที่ทํา
หน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้น บริษัทที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน
ตลาดหลักทรัพย์เรียกว่าโบรกเกอร์ (Broker) บริษัทเหล่านี้จดทะเบียนเป็น
บริษัทสมาชิกของ ตลาดหลักทรัพย์ และมีบริษัทอื่นที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขาย
หุ้นเช่นเดียวกัน แต่มิได้เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ เรียกว่า
• ซับโบรกเกอร์ (Sub broker) จะติดต่อให้โบรกเกอร์ ซื้อขายหุ้นให้อีกทอด
หนึ่ง
• การขายหุ้น ผู้บริโภคที่ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าประสงค์จะขายหุ้นเนื่องจาก
เห็นว่าได้ราคาสูงหรือมีความจําเป็นเร่งด่วนต้องใช้เงินสดเพื่อทําประโยชน์อย่าง
อื่น ก็เสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ การเสนอขายต้องระบุราคาขายลงไป
ตายตัว เช่น ราคาหุ้นละ 350 บาท หรือระบุราคาขายเป็นช่วงก็ได้ บริษัทก็จะไป
เสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ตามจํานวนและราคาหุ้นที่ผู้บริโภคต้องการขาย เมื่อ
ขายได้แล้วก็แจ้งให้ทราบ ผู้บริโภคก็ต้องส่งมอบใบหุ้นให้บริษัทพร้อมกับลงนาม
ในตราสารเพื่อการโอนหุ้น หลังจากนั้นบริษัทก็จะจ่ายชําระค่าหุ้นที่ขายได้ ในการ
นี้จะต้องชําระค่าธรรมเนียมในการให้บริการในฐานะตัวแทนขายให้แก่บริษัท
สมาชิกและชําระค่าภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายในอัตราที่รัฐบาลกําหนดไว้รวมกัน
เท่ากับร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดในราคาที่ขายได้

More Related Content

What's hot

ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
hackinteach
 
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
อำพร มะนูรีม
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
คนสวย ฉัน
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
Guntima NaLove
 
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
Pannaray Kaewmarueang
 
ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56
ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56
ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56
Dpc Phitsanulok
 
โครงงานแบดมินตัน
โครงงานแบดมินตันโครงงานแบดมินตัน
โครงงานแบดมินตัน
Supakit10
 
แผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยา
แผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยาแผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยา
แผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยา
naipingpun
 
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
Passakorn Hara
 

What's hot (20)

ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้
 
Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy Clinical practice guidelines for epilepsy
Clinical practice guidelines for epilepsy
 
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้าแบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
แบบประเมินสภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า
 
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาลทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
ทฤษฏีการสูงอายุและการประยุกต์ใช้ทางการพยาบาล
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
7เทคนิคบริหารโครงการด้วยcpm pert
7เทคนิคบริหารโครงการด้วยcpm pert7เทคนิคบริหารโครงการด้วยcpm pert
7เทคนิคบริหารโครงการด้วยcpm pert
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
 
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่มรายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
รายงานทางวิชาการเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม
 
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตกการขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก
 
ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56
ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56
ผลงานนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยในการทำงานในโรงพยาบาล56
 
การประยุกต์ใช้ดนตรีในงานอื่นๆ
การประยุกต์ใช้ดนตรีในงานอื่นๆการประยุกต์ใช้ดนตรีในงานอื่นๆ
การประยุกต์ใช้ดนตรีในงานอื่นๆ
 
โครงงานแบดมินตัน
โครงงานแบดมินตันโครงงานแบดมินตัน
โครงงานแบดมินตัน
 
แผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยา
แผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยาแผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยา
แผ่นพับทัศนศึกษาอยุธยา
 
คู่มือธุรกิจให้บริการความงาม (Beauty)
คู่มือธุรกิจให้บริการความงาม (Beauty) คู่มือธุรกิจให้บริการความงาม (Beauty)
คู่มือธุรกิจให้บริการความงาม (Beauty)
 
ตัวอย่าง 5 บท โครงงานคอมฯ
ตัวอย่าง 5 บท โครงงานคอมฯตัวอย่าง 5 บท โครงงานคอมฯ
ตัวอย่าง 5 บท โครงงานคอมฯ
 
การเขียนวันที่ (date) ในภาษาอังกฤษ
การเขียนวันที่ (date) ในภาษาอังกฤษการเขียนวันที่ (date) ในภาษาอังกฤษ
การเขียนวันที่ (date) ในภาษาอังกฤษ
 
โครงงานเสพติด (ใหม่)
โครงงานเสพติด (ใหม่)โครงงานเสพติด (ใหม่)
โครงงานเสพติด (ใหม่)
 
โครงงานลูกอมสมุนไพร
โครงงานลูกอมสมุนไพรโครงงานลูกอมสมุนไพร
โครงงานลูกอมสมุนไพร
 
Rdu hospital mar_9_2015
Rdu hospital mar_9_2015Rdu hospital mar_9_2015
Rdu hospital mar_9_2015
 
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
 

การลงทุนในรูปแบบต่างๆ

  • 1. การลงทุนในรูปแบบต่างๆ ในฐานะผู้บริโภคสามารถนาเงินออมของตนไปลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของการลงทุนและผลตอบแทนที่อาจ ได้รับ ดังนี้ 1. การฝากเงินกับธนาคาร ถือว่าเป็นการลงทุนที่มั่นคงมาก ผู้บริโภค สามารถฝากเงินประเภทต่าง ๆ กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารออมสิน เป็นการใช้เงินออมลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนแน่นอนและไม่เสี่ยงภัย จานวนเงินออมจะมียอดสูงขึ้นตลอดเวลา การฝากเงินกับธนาคาร ทาได้ หลายประเภท คือ
  • 2. • 1.1) ประเภทสะสมทรัพย์ แต่ละธนาคารจะเรียกชื่อบัญชีเงินฝากประเภทนี้ แตกต่างกัน เช่น สินมัธยัสถ์ สินทวี ฯลฯ เป็นการฝากเงินที่มีกําหนดและจํานวน เงินฝาก แต่ละงวดแน่นอนโดยเมื่อครบกําหนดเวลา 5 ปี 10 ปี 20 ปี จึงจะถอน เงินคืนพร้อมทั้งต้น และดอกเบี้ยได้ตามอัตราและยอดเงินเป้าหมายที่กําหนดไว้ • 1. 2) ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารออมสินเรียกเงินฝากประเภทนี้ว่า ประเภท เผื่อ เรียก สามารถฝากและถอนเงินได้ตามความต้องการ การฝากเงินประเภทนี้จะ ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่กําหนด 1.3) ประเภทฝากประจํา เป็นการฝากที่กําหนดเวลาฝากและดอกเบี้ยไว้ให้ทราบ แน่นอน โดยปกติธนาคารกําหนดไว้ 3 ระยะ คือ
  • 3. • (1) ฝากประจํา 3 เดือน เป็นการฝากที่มีกําหนดระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไปจึงจะ ถอนคืนได้ และกําหนดวงเงินไว้ครั้งละไม่ต่ํากว่า 1,000 บาท เงินฝากประเภท นี้มีเฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น (2) ฝากประจํา 6 เดือน กําหนดเวลาฝากเงินไม่ต่ํากว่า 6 เดือน (3) ฝากประจํา 12 เดือน สําหรับผู้มีความสามารถในการออมและต้องการได้ ประโยชน์จากดอกเบี้ยในอัตราสูง เมื่อฝากครบกําหนด 12 เดือนจึงจะได้รับ ดอกเบี้ย
  • 4. • 2. การฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่น สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจประเภทเงินทุน ได้แก่ บริษัทเงินทุน บริษัท เครดิตฟองซิเอร์ ทรัสต์ เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัดบริษัท เงินทุนแตกต่างกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คือ บริษัทเงินทุนจัดหาทุนเพื่อบุคคลอื่น ซึ่งกระทําโดยการกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป วิธีการกู้ยืมที่กฎหมายกําหนดให้ ปฏิบัติ บริษัทเงินทุนต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้บริโภคที่นําเงินมาฝากเป็น หลักฐานในการกู้ยืม ส่วนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นสถาบันการเงินที่ดําเนินธุรกิจ เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือรับซื้อฝาก อสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก การฝากเงินสถาบันการเงินทั้ง 2 รูปแบบนี้ แม้ว่าผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนสูง กว่าธนาคารพาณิชย์ แต่ความนิยมในการใช้บริการฝากเงินกับธนาคารยังสูงอยู่ ทั้งนี้เพราะ
  • 5. • ก. บริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เริ่มมีบทบาทในตลาด การเงินของไทยไม่นาน ประชาชนจึงไม่เชื่อมั่นในความมั่นคงของบริษัทเงินทุน เท่าธนาคารพาณิชย์ ข. โดยวิธีปฏิบัติ ธนาคารพาณิชย์จะนําเงินฝากไปลงทุนต่อเฉพาะในกรณีที่มีความ เสี่ยงน้อย และการให้กู้เงินของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นการให้กู้ระยะสั้น และมีหลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ค้ําประกัน นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยัง มีสาขามากสามารถรวบรวม เงินฝากได้ง่ายและจํานวนมาก แต่บริษัทเงินทุนให้ กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมระยะยาวทําให้ มีความเสี่ยงสูง ในภาวะเศรษฐกิจที่ ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าของเงินลดลง และประชาชนผู้ซื้อ ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องการเงินคืนเพื่อนําไปลงทุนอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ซื้อที่ดิน ทองคํา ฯลฯ
  • 6. • ค. บริษัทเงินทุนมักนําเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุนเช่น ที่ดิน อาคาร ร้านค้า ฯลฯ ถ้าราคาหลักทรัพย์ตกต่ําก็อาจประสบภาวะล้มเหลวต้องเลิกล้มกิจการ ไปในที่สุด ผู้ฝากเงินก็อาจไม่ได้รับทุนคืน และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ก็จะต้อง ล้มละลายเช่นเดียวกัน
  • 7. • 3. การซื้อสลากออมสินพิเศษ เป็นการออมทรัพย์ที่ดีประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้บริโภคซื้อ สลากอมสินพิเศษจากธนาคารออมสินเท่าใดก็ได้ ธนาคารออมสินจะออกสลาก ออมสินพิเศษเป็นหลักฐานในการฝากเงินให้ สลากหน่วยหนึ่ง มีราคา 50 บาท ผู้บริโภคมีโอกาส 2 ชั้น คือ ผู้ฝากมีสิทธิถูกรางวัลสลากออมสินพิเศษถึง 35 ครั้ง ซึ่งจะมีการออกรางวัลเดือนละครั้ง และเมื่อครบกําหนด 3 ปี ผู้บริโภคจะได้รับ เงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราที่กําหนดไว้
  • 8. • 4. การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ถือว่าการลงทุนออมทรัพย์ที่มั่นคงและให้ผลตอบแทน แน่นอน มีการเสี่ยงภัยน้อยที่สุดทั้งยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ พันธบัตรรัฐบาลเป็น ตราสารที่รัฐบาลค้ําประกัน มีหลายชนิด ซึ่งกําหนดเวลาไถ่ถอนคืนให้แก่ ประชาชนที่ซื้อเพื่อการออมทรัพย์ระยะยาวและจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ 6 เดือน ต่อครั้ง ตลาดอายุของพันธบัตรฉบับนั้น ๆ ผู้บริโภคสามารถเรียกเงินคืนได้เมื่อต้องการ หรือเมื่อครบกําหนด
  • 9. • 5. การทําประกันชีวิต การทําประกันชีวิตช่วยให้สามารถออมทรัพย์หรือสะสม ทรัพย์ได้ทุก ๆ ปี เป็นประจํา ช่วยให้รู้จักประหยัดเพื่อชีวิตอนาคตข้างหน้าโดยมี กําหนดเวลาที่แน่นอนและมีระเบียบแบบแผนในการสะสมทรัพย์อย่างดียิ่ง 6. การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์คือ ตลาดซื้อขายหุ้น เป็นคํา เฉพาะมิได้หมายถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่หมายถึงกิจการธุรกิจหรือสถาบันที่ ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่ซื้อ ขายกัน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และพันธบัตรรัฐบาล
  • 10. • 1) แหล่งซื้อขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์มี 2 แหล่ง คือ • (1) ตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (Primary Market) เป็นแหล่งที่มีการ เสนอขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป เมื่อธุรกิจและ อุตสาหกรรมต้องการขยายทุนเพิ่มการเสนอขายหุ้นอาจทําโดยบริษัทผู้ออก หลักทรัพย์นั้น หรือบริษัทที่ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ และราคาที่เสนอขายก็อาจสูง กว่ามูลค่าที่ตราไว้ก็ได้ เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ออมทรัพย์ใหม่ในราคาต่ํากว่า มูลค่าที่ตราไว้
  • 11. • (2) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ (Secondary Market) เป็นแหล่งที่มี การติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเคยผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว การซื้อ ขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเพียงการติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ถือหลักทรัพย์ กับบุคคลอื่นที่ต้องการหลักทรัพย์นั้น ซึ่งเป็นเพียงการโอนกรรมสิทธิ์ใน หลักทรัพย์ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
  • 12. • 2) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการตกลงกันเอง ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย หรือกระทําผ่านสถาบันธุรกิจหลักทรัพย์ แต่การติดต่อซื้อ ขายกันเองก็ดีหรือซื้อขายผ่านตัวแทนก็ดี อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ฝ่ายผู้ซื้อ หรือฝ่ายผู้ขายหรือทั้งสองฝ่าย รัฐบาลจึงดําริจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ ไทยขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 62 ถ.รัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะเป็นแหล่งกลางให้บริษัทสมาชิกที่เป็น ตัวแทนใน การซื้อขายหลักทรัพย์มาตกลงทําการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทที่ ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณายินยอมให้ทําการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ได้ การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รัฐบาลมีความมุ่งหมายเพื่อควบคุม สถานภาพของธุรกิจหลักทรัพย์ให้มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือ ให้ทําการซื้อขาย หลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนในราคายุติธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง ขึ้นลง อย่างฮวบฮาบ
  • 13. • 3) วิธีซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่ผู้บริโภคจะเอาเงินออมไปลงทุนซื้อ หลักทรัพย์ ควรจะศึกษาก่อนว่าผู้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่ได้แก่บุคคลใดบ้าง • (1) บุคคลที่ซื้อขายหุ้น ผู้ที่ซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทนในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งตาม วัตถุประสงค์ของผู้ซื้อหุ้นได้ 2 ประเภท คือ • ผู้ลงทุน จะซื้อหลักทรัพย์และถือหลักทรัพย์ไว้เป็นระยะยาวเพื่อหวังเงินปันผล ดอกเบี้ย หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่พึงได้จากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์นั้น ๆ • นักเก็งกําไร จะซื้อหลักทรัพย์และถือหลักทรัพย์ไว้เป็นระยะสั้น ๆ หรือเพียง ผ่านมือเท่านั้น โดยมากจะรีบขายทันทีถ้าได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อไว้ หรือจะรีบ ขายเมื่อเห็นว่าไม่มีทางได้รับกําไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือให้ตนเอง ขาดทุนน้อยที่สุด
  • 14. • การซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริโภคจะต้องไปติดต่อกับบริษัทที่ทํา หน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้น บริษัทที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์เรียกว่าโบรกเกอร์ (Broker) บริษัทเหล่านี้จดทะเบียนเป็น บริษัทสมาชิกของ ตลาดหลักทรัพย์ และมีบริษัทอื่นที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขาย หุ้นเช่นเดียวกัน แต่มิได้เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ เรียกว่า • ซับโบรกเกอร์ (Sub broker) จะติดต่อให้โบรกเกอร์ ซื้อขายหุ้นให้อีกทอด หนึ่ง
  • 15. • การขายหุ้น ผู้บริโภคที่ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าประสงค์จะขายหุ้นเนื่องจาก เห็นว่าได้ราคาสูงหรือมีความจําเป็นเร่งด่วนต้องใช้เงินสดเพื่อทําประโยชน์อย่าง อื่น ก็เสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ การเสนอขายต้องระบุราคาขายลงไป ตายตัว เช่น ราคาหุ้นละ 350 บาท หรือระบุราคาขายเป็นช่วงก็ได้ บริษัทก็จะไป เสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ตามจํานวนและราคาหุ้นที่ผู้บริโภคต้องการขาย เมื่อ ขายได้แล้วก็แจ้งให้ทราบ ผู้บริโภคก็ต้องส่งมอบใบหุ้นให้บริษัทพร้อมกับลงนาม ในตราสารเพื่อการโอนหุ้น หลังจากนั้นบริษัทก็จะจ่ายชําระค่าหุ้นที่ขายได้ ในการ นี้จะต้องชําระค่าธรรมเนียมในการให้บริการในฐานะตัวแทนขายให้แก่บริษัท สมาชิกและชําระค่าภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายในอัตราที่รัฐบาลกําหนดไว้รวมกัน เท่ากับร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดในราคาที่ขายได้