SlideShare a Scribd company logo
1 of 10
Download to read offline
บทที่ 1
                                                                                                                    บทนํา

1.1 บทนํา
        การจัดตาราง (Scheduling) เปนกระบวนการตัดสินใจอยางหนึ่งที่มีความสําคัญอยางมากตอทั้ง
อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ [104, 148] โดยที่ผลลัพธของกระบวนการตัดสินใจในที่นี้ก็
คื อ ตารางหรื อ กํ า หนดการ (Schedule) สํ า หรั บ กิ จ กรรมที่ ห ลากหลาย ในป จ จุ บั น พบว า องค ก รทั้ ง ใน
ภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการไดนําเอาทฤษฎีการจัดตารางมาประยุกตใชกับกิจกรรมตางๆ ขององคกร
อยางแพรหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานใหสูงขึ้น เชน การผลิต การบริการ การจัดซื้อ การขนสง
การกระจายสินคา การประมวลผลในระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร และการสื่อสาร เปนตน

          “การจัดตาราง” หมายถึง การจัดสรรทรัพยากร (Resource) ที่มีอยูอยางจํากัด ใหกับภารกิจ
(Task) ที่กําหนดใหจํานวนหนึ่ง ภายใตระยะเวลาที่กําหนดให เพื่อที่จะทําใหองคกรสามารถบรรลุถึงเปาหมาย
(Goal) หรือวัตถุประสงค (Objective) สูงสุดที่องคกรกําหนดเอาไวที่เวลานั้นได [6] การจัดตารางจะทําให
ทราบวา เราจะตองการใชแตละทรัพยากรเมื่อใด เพื่อที่จะผลิตชิ้นงานหรือใหบริการตามที่ตองการ และการจัด
ตารางจะเกิดขึ้นในขั้นตอนสุดทายของการวางแผนกอนที่การผลิตจริงจะเริ่มตนขึ้น

           คําวา “ทรัพยากร” หมายถึง คนงาน พนักงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ สถานที่ หรือสิ่งของ
ตางๆ ที่ มีอ ยูเป นจํ านวนจํ ากัด ซึ่ง สามารถนํ าไปใช ในการทํ าใหเกิ ดผลผลิ ต หรือการบริก ารที่ ตอ งการได
เนื่ อ งจากความจํ า กั ด ของทรั พ ยากรที่ ต อ งใช ร ว มกั น นี้ เ อง จึ ง ทํ า ให เ กิ ด การแย ง ชิ ง ทรั พ ยากรขึ้ น ดั ง นั้ น
ทรัพยากรจึงตองถูกจัดสรรอยางเหมาะสมตามลําดับความสําคัญใหกับกิจกรรมตางๆ ที่ตองการใชทรัพยากร
ดังกลาวที่เวลาเดียวกัน ตัวอยางเชน เครื่องจักรที่ใชในการผลิตชิ้นงาน โตะและเกาอี้สําหรับใหลูกคานั่ง
รั บ ประทานอาหารในภั ต ตาคาร แพทย ห รื อ พยาบาลในโรงพยาบาล ห อ งเรี ย นในอาคารเรี ย นรวมของ
มหาวิทยาลัย ลานบินของสนามบิน คนงานในสถานที่กอสราง หรือหนวยประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร
เปนตน นอกจากนี้แลวจํานวนของทรัพยากรที่มีอยูอาจจะใชระบุถึงความสามารถในการสรางผลผลิตไดอีก
ดวย เชน เครื่องจักร 1 เครื่องสามารถผลิตชิ้นงานได 100 ชิ้น/ชั่วโมง ถาโรงงานแหงหนึ่งซื้อเครื่องจักรชนิด
เดียวกันนี้มา 5 เครื่อง โรงงานแหงนี้ก็จะมีความสามารถในการผลิตเทากับ 500 ชิ้น/ชั่วโมง เปนตน
2 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน


         ในขณะที่ “งาน (Job)” อาจจะประกอบดวยภารกิจพื้นฐานจํานวนหนึ่ง ที่มีความสัมพันธกันในดาน
ของลําดับกอนหลัง (Precedence Relationship) ซึ่งในบางครั้งเราจะเรียกภารกิจพื้นฐานเหลานี้วา “การ
ดําเนินงาน (Operation)” โดยที่ตัวอยางของการดําเนินงานอาจจะหมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานในโรงงาน
ขั้นตอนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ขั้นตอนการจัดซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการนําเครื่องบินขึ้นหรือลงจอดบนลาน
บิน ขั้นตอนของกิจกรรมในโครงการกอสราง หรือการทํางานตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร เปนตน

          ทฤษฎีการจัดตารางเกี่ยวของกับการสรางและพัฒนาแบบจําลองทางคณิตศาสตร และการหาเทคนิค
ที่เหมาะสมในการแกปญหาการจัดตาราง ซึ่งจะตองอาศัยความรูทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมกันกับ
การวิเคราะหเชิงปริมาณที่จะเปนเครื่องมือ สําหรับชวยในการหาคําตอบ โดยแนวทางดั งกลาวนี้จะแปลง
โครงสรางของปญหาการจัดตารางไปสูรูปแบบของสมการทางคณิตศาสตรที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการนี้จะ
เกี่ยวของกับการแปลงเปาหมายและความมีอยูอยางจํากัดของทรัพยากรในดานตางๆ ที่เกี่ยวของกับการ
ตัดสินใจ ไปสูฟงกชันวัตถุประสงค (Objective Function) และขอจํากัด (Constraint) ตางๆ ซึ่งจะเขียนขึ้นมา
อยางชัดเจนในรูปแบบของสมการทางคณิตศาสตร

          ในทางทฤษฎีฟงกชันวัตถุประสงคของการจัดตารางควรจะประกอบดวยคาใชจาย (Cost) ทั้งหมดที่
เกิดขึ้นในระบบ ซึ่งคาใชจายเหลานี้จะไดรับผลกระทบโดยตรงจากการตัดสินใจจัดตารางในครั้งนี้ อยางไรก็
ตาม ในทางปฏิบัติแล วคาใช จายดั งกลาวอาจจะวัดออกมาเปน ตัวเลขไดยากมาก ดังนั้น แทนที่จ ะแสดง
ฟงกชันวัตถุประสงคในรูปของคาใชจาย เราจะใชเปาหมาย 3 รูปแบบหลักในการตัดสินใจที่เกี่ยวของกับการ
จัดตารางแทน นั่นคือ ประสิทธิภาพในการใชสอยทรัพยากร (Resource Utilization) ความรวดเร็วในการ
สนองตอบตออุปสงค และการสงมอบที่ตรงเวลา นอกจากนั้นแลวเรายังอาจจะใชตัววัดสมรรถนะของระบบตัว
อื่นๆ แทนตัววัดที่เกิดจากคาใชจายของระบบไดดวยเชนกัน ตัวอยางเชน เวลาเดินเปลา (Idle Time) ของ
เครื่องจักร เวลารอคอยของงาน หรือเวลาสาย (Lateness) ของงาน ซึ่งรายละเอียดจะกลาวถึงในบทถัดไป ใน
การจัดตารางนั้น ขอจํากัดพื้นฐาน 2 ประเภทที่พบเสมอก็คือ

    1. ขอจํากัดดานทรัพยากร (Resource Constraint) : เกี่ยวของกับการที่ทรัพยากรมีความสามารถใน
       การทํางานอยางจํากัดที่ขณะใดขณะหนึ่ง เชน เครื่องจักรเครื่องหนึ่งสามารถทํางานไดกับชิ้นงาน
       เพียงชิ้นงานเดียวเทานั้นที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ทันตแพทยสามารถทําฟนใหกับคนไขเพียงหนึ่งราย
       เทานั้นที่เวลาใดเวลาหนึ่ง
    2. ขอจํากัดดานเทคโนโลยี (Technological Constraint) : เกี่ยวของกับความจํากัดในดานลําดับ
       กอนหลังของการทํางาน (Precedence Constraint) เชน เราจะตองทํางานขั้นตอนแรกบนชิ้นงานชิ้น
       หนึ่งใหแลวเสร็จกอนที่จะเริ่มตนทํางานขั้นตอนที่ 2 บนชิ้นงานชิ้นเดียวกันนั้นได หรือพนักงานคนที่
       หนึ่งตองทํางานขั้นตอนแรกใหเสร็จกอน แลวจึงสงชิ้นงานที่ทําเสร็จแลวไปใหกับพนักงานคนถัดไป
       เพื่อทํางานขั้นตอนที่สองตอไป
บทนํา 3


          ดังนั้น ตารางที่เปนไปไดจริง (Feasible Schedule) ซึ่งเปนผลลัพธของการแกปญหาการจัดตาราง
จะตองปฏิบัติตามเงื่อนไขของขอจํากัดทั้งสองที่กลาวมา เพื่อทําใหสามารถตอบ 2 คําถามหลักที่เกี่ยวของกับ
การจัดตารางได กลาวคือ (1) เราจะใชทรัพยากรตัวไหนจากทรัพยากรหลายตัวที่มีอยูและมีความพรอมใชงาน
เพื่อทํางานที่กําหนดให ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร (Allocation) หรือการโหลดงาน
(Loading) (รูปที่ 1.1a) และ (2) เราจะลงมือทํางานแตละงานเมื่อใด ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการ
จัดลําดับงาน (Sequencing) และการจัดตาราง (Scheduling) (รูปที่ 1.1b)

                                                     M1


                          งาน                                                    งาน
                                                     M2                                         M1

                        แถวคอย                                                  แถวคอย
                                                                                             เครื่องจักร
                                                      M3


                                                  เครื่องจักร

              (a) การจัดสรรทรัพยากร (เลือกเครื่องจักรที่จะทํางาน)   (b) การจัดลําดับและจัดตารางใหกบงานบนแถวคอย
                                                                                                   ั
                                      รูปที่ 1.1 ประเภทของปญหาการจัดตาราง

           ในทางปฏิบัติ พบวาปญหาการจัดตารางบางครั้งอาจจะเกี่ยวของกับการตัดสินใจเพียงประเภทเดียว
ก็ได ทั้งนี้ขึ้น อยูกับคุณลักษณะของระบบและปญหาที่ กําลังพิจารณาอยู เชน ในการทํางานอยางหนึ่งใน
โรงงาน พบวามีเครื่องจักรที่สามารถทํางานนี้ไดเพียงเครื่องจักรเดียวเทานั้น ดังนั้น การตัดสินใจเกี่ยวกับการ
จัดสรรทรัพยากรจึงไมเกิดขึ้น เนื่องจากไมสามารถเลือกทํางานนี้ บนเครื่องจักรอื่นได จะมีก็แตการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการจัดลําดับงานที่เหมาะสมเพื่อปอนใหเครื่องจักรเครื่องนี้เทานั้น หรือในทางตรงกันขาม การทํางาน
อีก ประเภทหนึ่ ง สามารถที่ จ ะทํ า ไดบ นหลายเครื่ อ งจัก ร แต เ มื่ อ ได จั ดสรรงานและป อ นงานเหล า นี้ ใ ห กั บ
เครื่องจักรเครื่องใดเครื่องหนึ่งแลว จะไมมีการเปลี่ยนแปลงลําดับของงานที่ อยูบนแถวคอยหนาเครื่องจักรอีก
โดยถื อ เอาลํ า ดั บ ของการจั ด สรรงานให กั บ เครื่ อ งจั ก รเป น ลํ า ดั บ ของงานบนแถวคอยเลย เนื่ อ งจากการ
เปลี่ยนแปลงดังกลาวอาจจะกอใหเกิดความยุงยากและสับสนในการทํางานของคนงานเปนอันมาก ดังนั้น การ
ตัดสินใจในกรณีเชนนี้ก็จะจํากัดอยูเฉพาะที่เกี่ยวของกับการจัดสรรทรัพยากรเทานั้น

        ทฤษฎีการจัดตารางจะเสนอแนะเทคนิคเปนจํานวนมาก ที่เปน ประโยชนตอการแกปญหาการจัด
ตาราง เชน เทคนิคการหาคาที่เหมาะสมที่สุดเชิงการจัด (Combinatorial Optimization) ฮิวริสติก (Heuristic)
คอมพิวเตอรซิมูเลชัน (Simulation) การวิเคราะหโครงขาย (Network) หรือเมตาฮิวริสติก (Meta-Heuristic)
4 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน


เปนตน การเลือกใชเทคนิคที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นอยูกับความซับซอนของปญหา ธรรมชาติของแบบจําลอง และ
ฟงกชันวัตถุประสงค รวมทั้งปจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เชน เวลา คาใชจาย ในบางกรณีผูจัดตารางอาจพบวา มี
เทคนิคหลายอยางที่สามารถนํามาใชในการแกปญหาที่กําลังสนใจอยูได ซึ่ง ในกรณีนี้ผูจัดตารางจะตองอาศัย
ทั้งความรูและประสบการณในการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมมาใช เพื่อใหไดมาซึ่งตารางที่มีฟงกชันวัตถุประสงค
ดีที่สุด และใชเวลาในการหาคําตอบนอยที่สุด ดังนั้น ทฤษฎีการจัดตารางนอกจากจะเกี่ยวของกับการสราง
แบบจําลองที่เหมาะสมแลว ยังเกี่ยวของกับการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการแกปญหาอีกดวย



1.2 ตัวอยางการประยุกตทฤษฎีการจัดตารางในทางธุรกิจ
         ตัวอย างต อไปนี้ แสดงใหเ ห็นถึ งบทบาทของการจั ดตารางที่มีต อธุร กิจ ทั้งในดา นอุต สาหกรรม
การผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ ซึ่งจะแสดงใหเห็นถึงความสําคัญของการนําเอาทฤษฎีการจัดตารางมา
ประยุกตใชเพื่อทําใหเกิดประโยชนสูงสุดตอการดําเนินงานขององคกร [103, 104]

           ตัวอยางที่ 1.2.1 : โรงงานผลิตถุงกระดาษ (อุตสาหกรรมการผลิต)
           โรงงานผลิ ต ถุ ง กระดาษแห ง หนึ่ ง ผลิ ต ถุ ง กระดาษสํ า หรั บ ใส ปู น ซี เ มนต ถ า น อาหารสั ต ว และ
ผลิตภัณฑอื่นๆ ที่เกี่ยวกับถุงกระดาษอีกหลายประเภท วัตถุดิบที่ใชสําหรับโรงงานแหงนี้ก็คือ กระดาษที่ซื้อ
มาเปนมวน ขั้นตอนการผลิตมีดังนี้ หลังจากมวนกระดาษถูกนํามาตัดเปนแผนจนไดตามขนาดที่ตองการแลว
ประกอบดวย 3 ขั้นตอนหลัก คือ พิมพตราบริษัท ทากาวที่ดานขางของถุง และเย็บปดที่ปลายดานหนึ่งหรือ
ทั้งสองดานของถุง ในแตละขั้นตอนการผลิตโรงงานแหงนี้มีเครื่องจักรเปนจํานวนมากที่สามารถนํา มาใชใน
การผลิตได และเครื่องจักรเหลานี้อาจจะมีคุณสมบัติที่ไมเหมือนกันก็ได กลาวคือ เครื่องจักรแตละเครื่อง
อาจจะมีความแตกตางกันบางเล็กนอยในดานของความเร็วในการผลิต จํานวนของสีที่สามารถพิมพได หรือ
ขนาดของถุงที่สามารถผลิตได เปนตน คําสั่งผลิตจะระบุถึงจํานวนของถุงที่จะผลิตในแตละประเภทและเวลา
สงมอบที่สัญญาไวกับลูกคา เวลาที่ใชในการผลิตในแตละขั้นตอนจะเปนสัดสวนโดยตรงกับขนาดของคําสั่งซื้อ
(จํานวนของถุงกระดาษ) การสงมอบงานลาชาจะทําใหโรงงานตองเสียคาปรับ และเสียชื่อเสียง ซึ่งคาปรับนี้
ขึ้นอยูกับความสําคัญของลูกคาและความลาชาในการสงมอบ ดังนั้น วัตถุประสงคของระบบจัดตารางสําหรับ
โรงงานแหงนี้คือ การหาตารางการผลิตที่ทําใหผลรวมของคาปรับทั้งหมดมีคานอยที่สุด นอกจากนั้นแลวเมื่อ
เครื่องจักรเปลี่ยนการผลิตจากถุงชนิดหนึ่งไปเปนอีกชนิดหนึ่ง จะตองมีการปรับตั้งเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งเวลาใน
การปรับตั้งนี้จะขึ้นกับความคลายคลึงกันของคําสั่งผลิตที่ตามมา เชน จํานวนของสีที่ใชรวมกัน ความแตกตาง
ของขนาดถุง ดังนั้น วัตถุประสงคอีกประการหนึ่งก็คือ การจัดลําดับของงานเพื่อทําใหเวลาสูญเสียที่เกิดจาก
การปรับตั้งเครื่องจักรมีคานอยที่สุด
บทนํา 5


           ตัวอยางที่ 1.2.2 : โรงงานผลิตอุปกรณเซมิคอนดักเตอร (อุตสาหกรรมการผลิต)
           หนวยความจําและไมโครโพรเซสเซอร เปนอุ ปกรณเซมิคอนดักเตอรอยางหนึ่ง ที่ตองผลิตโดย
โรงงานที่มีความชํานาญพิเศษ กระบวนผลิตหลักประกอบดวย 4 ขั้นตอน คือ ปลูกแผนเวเฟอร ทดสอบแผน
เวเฟอร การประกอบ และการทดสอบ จากขั้นตอนทั้ง 4 ดังกลาวนี้ พบวาขั้นตอนการปลูกแผนเวเฟอรเปน
ขั้นตอนที่สําคัญและซับซอนที่สุด แผนเวเฟอรที่ปลูกเรียบรอยแลวจะถูกสงไปยังขั้นตอนถัดไปเปนรุน (Lot)
เครื่องจักรบางเครื่องอาจจะตองถูกปรับตั้งกอนที่จะทํางานกับแผนเวเฟอรที่ปอนเขามาได เวลาที่ใชในการ
ปรับตั้งขึ้นอยูกับความแตกตางของลักษณะ หรือรูปทรงของรุนที่เพิ่งทําเสร็จ กับ รุนใหมที่กําลังจะเริ่มทําการ
ผลิต จํานวนคําสั่งผลิต ทั้งหมดในระบบจะมีคา อยูประมาณหลักรอย แตละคําสั่งผลิตจะมีเวลาปลอยงาน
(Release Date) และเวลาสงมอบเปนของตัวเอง วัตถุประสงคในการจัดตารางสําหรับโรงงานประเภทนี้คือ
การสงมอบผลิตภัณฑที่ตรงตามกําหนดเวลาใหไดมากที่สุด นอกจากนั้นยังตองทําใหเกิดผลผลิตมากที่สุดอีก
ดวย สํ าหรับเปาหมายประการหลั ง นี้ สามารถทํา ใหเกิ ดขึ้นได โดยสร างระบบการทํ างานใหมีการใชสอย
เครื่องจักรและอุปกรณใหมากที่สุด โดยเฉพาะกับเครื่องจักรที่เปนคอขวด (Bottleneck) ในระบบผลิต ดังนั้น
การลดเวลาเดินเปลาของเครื่องจักรและการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรประเภทนี้ จึงเปนสิ่งที่จําเปนตอการเพิ่ม
ผลผลิตของโรงงานเปนอยางมาก

           ตัวอยางที่ 1.2.3 : โรงงานประกอบรถยนต (อุตสาหกรรมการผลิต)
           ในสายการประกอบรถยนตสายหนึ่ง โดยมากจะมีการผลิตรถยนตหลายโมเดลที่แตกตางกัน ซึ่ง
โมเดลทั้งหมดนี้จะถูกจัดอยูในตระกูล (Family) ของรถยนต ซึ่งมีอยูเปนจํานวนไมมากนัก ตัวอยางเชน โมเดล
ที่อยูในตระกูลหนึ่ง อาจจะประกอบดวยรุนที่มี 2 ประตู รุนที่เปนรถเกงสองตอนที่มี 4 ประตู ซึ่งในแตละรุน
อาจจะมีสีและทางเลือกที่แตกตางกันได เชน เกียรมือหรือเกียรอัตโนมัติ หลังคาแบบธรรมดาหรือหลังคาแบบ
เปดรับแสงอาทิตยได สําหรับโรงงานประเภทนี้คอขวดของสายการผลิตอาจจะเกิดขึ้นไดหลายแหง ซึ่งคอขวด
ในที่นี้อาจหมายถึงเครื่องจักรหรือกระบวนการที่มีการทํางานชาที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องจักรหรือกระบวนการ
อื่น และคอขวดนี้เองจะเปนตัวกําหนดอัตราการผลิตของสายการผลิตทั้งหมด ยกตัวอยางเชน โรงพนสีซึ่งทุก
ครั้งที่มีการเปลี่ยนสีรถยนตจากสีหนึ่งไปเปนอีกสีหนึ่ง จะตองมีการลางทําความสะอาดปนพนสีทุกครั้ง ซึ่ง
กระบวนการนี้ในบางครั้งใชเวลานานมาก ดังนั้น วัตถุประสงคในการจัดตารางสําหรับโรงงานประเภทนี้ก็คือ
การประกอบรถยนต ใ ห ไ ด ม ากที่ สุ ด ซึ่ ง ทํ า ได โ ดยการเรี ย งลํ า ดั บ ของรถยนต ที่ จ ะผลิ ต ให เ กิ ด ภาระงาน
(Workload) ในแตละสถานีงานใหมีความสมดุลกันไดมากที่สุด

         ตัวอยางที่ 1.2.4 : ระบบการจองรถยนต (อุตสาหกรรมการบริการ)
         เอเยนตรถเชาสวนมากจะพยายามรักษาความหลากหลายของรถยนตที่เปดใหเชาใหมากที่ สุดเทาที่
จะทําได ดังนั้น เขาจะเตรียมรถไวหลายขนาดเพื่อใหลูกคามีโอกาสไดเลือกตามวัตถุประสงคในการใชงาน
เชน รถขนาดใหญ รถขนาดกลาง และรถขนาดเล็ก ลูกคาบางรายอาจจะมีความยืดหยุนไดบางในเรื่องของ
ชนิดหรือยี่หอของรถยนตที่จะเชา แตในขณะที่บางรายอาจจะระบุช นิดหรือยี่หอของรถที่ตองการเชา อยาง
6 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน


ชัดเจน เมื่ อมีลูกคาเขามาจองรถเพื่อเชา ไปใชงานในชวงเวลาที่กําหนดใหชวงเวลาหนึ่ง เอเยนตจะตอ ง
ตัดสินใจวา เขาจะจองรถใหกับลูกคารายนี้ดีหรือไม เนื่องจากวาเขาอาจไดรับผลประโยชนมากกวาก็ไดถาเขา
ปฏิเสธลูกคารายนี้ ทั้งนี้เพราะลูกคารายนี้จะขอเชารถเพียงชวงสั้นๆ เทานั้น เชน วันเดียว และเขาคอนขางจะ
มั่นใจวา เขามีโอกาสที่จะใหลูกคารายอื่นเชารถคันเดียวกันนี้เปนระยะเวลาที่นานกวาได ดังนั้น วัตถุประสงค
ของเอเยนตรถเชาก็คือ การหาจํานวนของวันที่มากที่สุดที่รถยนตที่มีอยูจะถูกเชาออกไปใชงาน

           ตัวอยางที่ 1.2.5 : โครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร (อุตสาหกรรมการบริการ)
           พิจารณาโครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอรขนาดใหญแหงหนึ่ง ซึ่งจะตองมีการจัดซื้อ ติดตั้ง และ
ทดสอบระบบคอมพิวเตอรจนกระทั่งระบบสามารถดําเนินการไดอยางมีประสิทธิ ภาพ โครงการเชนนี้จะมีงาน
ที่เกี่ยวของเปนจํานวนมาก เชน การประเมินและคัดเลือกฮารดแวร การพัฒนาซอฟตแวร การจัดหาและ
ฝกอบรมพนักงาน การทดสอบระบบ และการแกไขขอบกพรองในระบบ ซึ่งในแตละงานจะมีความสัมพันธใน
ดานของลําดับกอนหลังของงานอยู กลาวคือ งานบางอยางอาจจะทําไปพรอมๆ กันได แตในขณะที่งานบาง
งานไมสามารถเริ่มตนไดถางานกอนหนานี้บางอยางยังทําไมเสร็จ วัตถุประสงคในการจัดตารางสําหรับปญหา
ประเภทนี้ก็คือ การทําใหโครงการเสร็จภายในเวลาที่นอยที่สุด ในที่นี้การจัดตารางไมเพียงแตจะเปนการแสดง
ใหเห็นถึงแนวทางในการบริหารโครงการเทานั้น ยังชวยใหเราสามารถประมาณเวลาเสร็จสิ้นของโครงการได
อีกดวย นอกจากนั้นแลวยังทําใหทราบถึงสายงานวิกฤติ (Critical Path) และกิจกรรมวิกฤติ (Critical Activity)
ของโครงการ ซึ่งสามารถนํามาใชในการติดตามและควบคุมความกาวหนาของกิจกรรมตางๆ ในโครงการได
อยางมีประสิทธิภาพอีกดวย

           ตัวอยางที่ 1.2.6 : การจัดตารางเวรของพยาบาล (อุตสาหกรรมการบริการ)
           โรงพยาบาลทุกแหงจะมีความตองการพยาบาลที่แตกตางกันไปในแตละวัน ตัวอยางเชน จํานวน
ความตองการของพยาบาลในวันธรรมดาจะมากกวาในชวงสุดสัปดาห และในชวงของเวรเชาและเวรบายจะใช
พยาบาลจํานวนมากกวาในชวงของเวรดึก นอกจากนั้นแลวยังมีขอจํากัดในดานอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาอีก เชน
กฎหมายแรงงาน ขอตกลงที่ใหไวกับสหภาพ หรือแมแตขอจํากัดสวนบุคคลของพยาบาล ดังนั้น รูปแบบของ
การจัดเวรการทํางานใหกับพยาบาลอาจจะมีไดหลายรูปแบบดวยกัน ซึ่งแตละรูปแบบอาจจะมีคาใชจายที่
แตกตางกันได วัตถุประสงคในการจัดตารางเวรของพยาบาลก็คือ การจัดสรรเวรใหกับ พยาบาลแตละคน โดย
มีคาใชจายที่ต่ําที่สุด ซึ่งทําใหในแตละเวรมีจํานวนพยาบาลเปนไปตามความตองการ ไมขัดกับกฎหมายและ
ขอตกลงที่กําหนดเอาไว นอกจากนั้นแลวยังเปนไปตามขอจํากัด สวนบุคคลตางๆ ที่ถูกรองขออีกดวย เชน
พยาบาลบางคนไมขอขึ้นเวรในวันหยุด บางคนไมขอขึ้นเวรเชาเนื่องจากจะตองไปเรียนเพิ่มเติม

        จากตัวอยางที่กลาวมาแลวขางตนจะเห็นวา การจัดตารางเปนกระบวนการตัดสินใจที่มีความสําคัญ
อยางมากตอทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ นอกจากนั้นยังพบวา ปญหาการจัดตาราง
บางประเภทจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตเปนสวนมาก เชน การจัดตารางสายการประกอบ แต ในทาง
บทนํา 7


ตรงกันขาม ปญหาบางประเภทจะเกิดขึ้นมากในอุตสาหกรรมการบริการ เชน ระบบการจองทรัพยากร แตก็
ยังมีปญหาการจัดตารางอีกเปนจํานวนมากที่อาจจะเกิดขึ้นไดทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการ
บริการ เชน การจัดตารางแบบงานตามงาน (Job Shop Scheduling) ซึ่งสามารถนําไปประยุกตใชไดกับทั้งใน
โรงงานและในโรงพยาบาล


1.3 แผนภูมิแกนต
          พจนานุกรม American Heritage [127] ไดอธิบาย “แผนภูมิแกนต (Gantt Chart)” วาหมายถึง
แผนภูมิที่ใชอธิบายกระบวนการทํางานตางๆ ที่มีความสัมพันธกับเวลา ซึ่ง นิยมใชในการวางแผนและ
ติดตามความกาวหนาของโครงการ แผนภูมิแกนตไดถูกพัฒนาขึ้นประมาณ ค.ศ. 1917 โดย Henry L.
Gantt วิศวกรและนักประดิษฐชาวอเมริกัน ผูซึ่งริเริ่มในดานการจัดการโครงการ และเปนหนึ่งในผูบุกเบิก
ทางด า นวิ ท ยาการจั ด การ Gantt มี ค วามสนใจอย า งมากในด า นการเพิ่ ม ผลิ ต ภาพของคนงานและ
ประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม เขาไดคิดคนระบบการประเมินโบนัสของพนักงานขึ้น โดยผูจัดการจะเพิ่ม
เงินคาจางใหกับพนักงาน เพื่อจูงใจใหพวกเขาทํางานอยางมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งการประเมินผลการ
ทํางานจะพิจารณาจากแผนภูมิที่เราเรียกวา แผนภูมิแกนต นั่นเอง

         Gantt ไดใชความรูความสามารถของเขาชวยบริษัท Bethlehem Steel จนกลายเปนผูนําในธุรกิจ
ด า นการผลิ ต เหล็ ก ต อ มาเขาได เ ข า ทํ า งานให กั บ รั ฐ บาลสหรั ฐ ฯ โดยช ว ยปรั บ ปรุ ง โรงงานผลิ ต เรื อ ใน
สงครามโลกครั้งที่ 1 ใหมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไดนําเอาแผนภูมิแกนต ไปใชในโครงการ
กอสรางภายในประเทศเปนจํานวนมาก ตัวอยางเชน เขื่อนฮูเวอร (Hoover) และระบบทางหลวงระหวางรัฐ
จนถึงปจจุบันนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังคงนําเอาแผนภูมิแกนตมาใชเปนหนึ่งในเครื่องมือการจัดการที่สําคัญใน
กระทรวงตางๆ

          แผนภูมิแกนตเปนหนึ่งในเครื่องมือชวยทางกราฟกที่เกาแกที่สุด ใชงานงายที่สุด แพรหลายที่สุด
และมีประโยชนที่สุด ในการที่จะทําใหผูตัดสินใจเกิดความเขาใจเกี่ยวกับลําดับของงาน และสถานะของการ
ดําเนินงาน นอกจากนั้นยังแสดงใหเห็นถึงความสัมพันธของกิจกรรมตางๆ ที่เกิดขึ้นในตารางอีกดวย รูปแบบ
พื้นฐานของแผนภูมิแกนตอาจจะแสดงในลักษณะของกราฟที่จะแสดงใหเห็นถึงการจัดสรรทรัพยากรใหกบงาน        ั
ตางๆ ภายใตเวลาที่กําหนดให โดยที่แผนภูมิแกนตจะแสดงทรัพยากรอยูในแนวแกนตั้ง (แกน Y) ซึ่งถา
จํานวนของทรัพยากรมีมากกวา 1 ตัว ก็ใหวางทรัพยากรเรียงซอนกันขึ้นไปในแนวตั้ง สวนเวลาจะแสดงอยูใน
แนวแกนนอน (แกน X) สเกลของเวลาที่ใชอาจจะอยูในหนวยของวินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน หรือป ก็ได
แลวแตความเหมาะสม โดยใหพิจารณาจากหนวยเวลาที่นอยที่สุดของงานทั้งหมดที่กําลังพิจารณาอยู เชน ถา
งานที่ใชเวลานอยที่สุดมีหนวยเปนนาที สเกลของเวลาที่ใชในแผนภูมิแกนตก็ควรจะมีหนวยเปนนาทีเชนกัน
8 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน


           ตัวอยางเชน แผนกปมขึ้นรูปโลหะของโรงงานผลิตผลิตภัณฑจากโลหะแผนแหงหนึ่งมีการผลิตตาม
คําสั่งซื้อของลูกคาไดรับคําสั่งผลิตจากแผนกวางแผนการผลิตมา 3 งาน หลังจากที่หัว หนาแผนกปมขึ้นรูป
โลหะไดตรวจสอบขั้นตอนการผลิตในรายละเอียดจากมาตรฐานคูมือปฏิบัติงานของโรงงานแลว พบวางานทั้ง
3 มีเสนทางการไหลของงาน และเวลาดําเนินงานบนแตละเครื่องจักรดังแสดงในตารางที่ 1.1 นอกจากนั้นยัง
ปรากฏดวยวา เวลาสงมอบของงาน 1 กระชั้นกวางาน 2 และของงาน 2 กระชั้นกวางาน 3 ดังนั้น เขาจึง
ตัดสินใจสั่งผลิตชิ้นงานตามลําดับความกระชั้นของเวลาสงมอบงาน ซึ่งทําใหไดลําดับการผลิตคือ งาน 1, 2
และ 3 ตามลําดับ จากการตัดสินใจครั้งนี้ทําใหไดหนึ่งในแผนภูมิแกนตจากทั้งหมดที่เปนไปไดดังแสดงในรูปที่
1.2 ขอดีของแผนภูมิแกนตรูปแบบพื้นฐานนี้ คือ ทําใหเราทราบวาที่เวลาใดเวลาหนึ่งทรัพยากรไดถูกจัดสรร
ใหกับงานใดอยู เชน ที่เวลา 5 หนวย เครื่องจักร 1 กําลังทํางาน 1 อยู นอกจากนั้นยังทําใหทราบถึงภาระงาน
(Workload) และอัตราการใชสอยทรัพยากร (Utilization) อีกดวย

                                  ตารางที่ 1.1 เวลาดําเนินงานเสนทางการไหลของงาน

               งาน                                 ลําดับของงานการดําเนินงาน
                                            ลําดับที่ 1                      ลําดับที่ 2
                 1                เครื่องจักร 1, 7 หนวยเวลา       เครื่องจักร 2, 8 หนวยเวลา
                 2                เครื่องจักร 2, 4 หนวยเวลา       เครื่องจักร 1, 5 หนวยเวลา
                 3                เครื่องจักร 1, 6 หนวยเวลา       เครื่องจักร 2, 4 หนวยเวลา




        เครื่องจักร 2     2                         1                3

                                                                          ตัวเลขแสดงงาน
        เครื่องจักร 1         1                 2         3               (ในที่นี้คืองาน 3)


                                     5         10         15        20         เวลา

       รูปที่ 1.2 แผนภูมิแกนตแสดงตารางสําหรับ 2 เครื่องจักร 3 งาน โดยที่เครื่องจักรอยูในแกนตั้ง

         แผนภูมิแกนตอาจจะสรางขึ้นในลักษณะของกราฟที่ แสดงใหเห็นถึงแตละงานที่ไดรับการจัดสรร
ใหกับทรัพยากรตางๆ ภายใตเวลาที่กําหนดใหก็ได แผนภูมิแกนตในลักษณะนี้จะแสดงงานเรียงซอนกันอยูใน
แกนตั้ง (แกน Y) ดังแสดงในรูปที่ 1.3 ขอดีของแผนภูมิแกนตรูปแบบนี้คือ ทําใหเราทราบวา ที่เวลาใดเวลา
บทนํา 9


หนึ่งแตละงานไดรับการจัดสรรอยูบนทรัพยากรใด เชน ที่เวลา 10 หนวย การดําเนินงานลําดับที่ 2 ของงาน 1
กําลังทําอยูบนเครื่องจักร 2 นอกจากนั้นยังทําใหเราทราบถึงเวลารอคอยของแตละงาน รวมถึงเวลาเริ่มตนและ
เวลาสิ้นสุดของแตละการดําเนินงานในแตละงานอีกดวย ซึ่งจะมีประโยชนอยางมากในการติดตามและควบคุม
งาน [118]



             งาน 3                                         1               2


             งาน 2          2               1

                                                               ตัวเลขแสดงทรัพยากร
             งาน 1              1                    2         (ในที่นี้คือเครื่องจักร 2)


                                    5           10        15             20          เวลา

           รูปที่ 1.3 แผนภูมิแกนตแสดงตารางสําหรับ 2 เครื่องจักร 3 งาน โดยที่งานอยูในแกนตั้ง

         แผนภู มิ แ กนต สามารถแสดงถึ ง ความสัม พั น ธ ข องการดํ าเนิ น งานต า งๆ ของงานจํ า นวนหนึ่ ง ที่
กํา หนดให บ นทรั พ ยากรที่ มี อ ยู ซึ่ ง การดํ า เนิ น งานเหล า นี้จ ะถู ก แสดงออกมาในรู ป แบบทางกราฟ ก การ
พิจารณาแผนภูมิแกนตจะทําใหเราสามารถหาขอสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมของตารางที่กําลังพิจารณาอยูได
ในขณะที่การสลับตําแหนงขององคประกอบดานกราฟก (ในที่นี้หมายถึงการดําเนินงานตางๆ ของงานแตละ
งาน เชน การสลับลําดับของการดําเนินงานของงานหนึ่งไปไวกอนหนาการดําเนินงานของอีกงานหนึ่ง) จะทํา
ใหเราทราบถึงขอมูลเชิงเปรียบเทียบระหวางตารางเดิมกับตารางทางเลือกอื่นๆ ที่อาจจะเปนไปได แตทวา
วิธีการสลับลําดับของการดําเนินงานดวยมือแบบนี้จะเปนไปไดเฉพาะกับกรณีที่จํานวนของงานและทรัพยากร
มีไมมากเทานั้น ในทางปฏิบัติเราจะใชคอมพิวเตอรเขามาชวยเพื่อความรวดเร็วในหาคําตอบ และเรียกการจัด
ตารางลักษณะเชนนี้วา “การจัดตารางแบบโตตอบ (Interactive Scheduling)” [35, 36] ซึ่งหลังจากผูจัดตาราง
ปอนขอมูลที่จําเปนเขาไปในเครื่องคอมพิวเตอรแลว คอมพิวเตอรก็จะสรางตารางเริ่มตนใหตามขั้นตอนวิธี
(Algorithm) ที่กําหนดไว เชน เรียงลําดับงานตามกําหนดสงมอบ จากนั้นผูจัดตารางก็จะสลับตําแหนงของงาน
หรือการดําเนินงานบนแผนภูมิแกนต แลวคอมพิวเตอรก็จะสรางตารางใหม พรอมกับคํานวณคําตอบใหมที่ได
จากตารางดังกลาวให ผูจัดตารางจะทําซ้ําขั้นตอนดังกลาวจนกวาจะไดคําตอบที่พอใจ นอกจากนั้นการจัด
ตารางแบบโตตอบยังสามารถชวยในการจัดการกับความไมแนนอนที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ การผลิตไดอยางมี
ประสิทธิภาพอีกดวย [143] เชน เมื่อเกิดเครื่องจักรเสียขึ้น ผูจัดตารางสามารถที่จะปรับตารางการผลิตไดโดย
10 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน


โอนงานปจจุบันที่ตองใชเครื่องจักรที่เสียอยูไปใหกับเครื่องจักรอื่นที่สามารถทํางานดังกลาวได นอกจากนั้น ผู
จัดตารางยังสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางเลือกตางๆ ที่เปนไปไดกอนที่จะตัดสินใจปรับตาราง
ซึงการผนวกความรูและประสบการณของผูจัดตารางเขาไปในขณะจัดตารางแบบโตตอบนี้ จะชวยเพิ่มโอกาส
  ่
ในการสรางตารางผลลัพธที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกวาตารางเริ่มตนและสามารถนําไปใชจริงในทางปฏิบัติได
แผนภู มิ แ กนต ยั ง อาจจะใช ใ นการแสดงให เ ห็ น ถึ ง ความแตกต า งระหว า งตารางที่ ว างแผนเอาไว กั บ
ความกาวหนาจริงของงานที่เกิดขึ้นได และเราอาจจะเพิ่มสัญลักษณแบบตางๆ เขาไปในแผนภูมิแกนตเพื่อ
แสดงใหเห็นถึงกิจกรรมที่สําคัญตางๆ ที่เกิดขึ้นอยางชัดเจน ดังแสดงในรูปที่ 1.4

                                                  เวลาปจจุบัน             แผนการดําเนินงาน

           ทรัพยากร 2          2                                  1                 3
                           M           2             1
           ทรัพยากร 1              1                     2            3
                                                 T
                                   1                2
                                       การดําเนินงานจริง

                                           5                 10       15          20          เวลา

       รูปที่ 1.4 แผนภูมิแกนตที่เพิ่มสัญลักษณตางๆ เขาไปเพื่อระบุถงกิจกรรมที่สําคัญที่เกิดขึ้น [91]
                                                                     ึ

         ตัวอยางของสัญลักษณที่อาจจะนํามาใชแสดงสถานะตางๆ ของเหตุการณที่เกิดขึ้นได เชน

      แสดงการเริ่มตนและสิ้นสุดของการดําเนินงาน
      แสดงความกาวหนาของการดําเนินงานจริง
      แสดงเวลาปจจุบัน
    M แสดงความลาชาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดวัตถุดบ ิ
    R แสดงความลาชาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการซอมเครื่องจักร
    T แสดงความลาชาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการซอมเครื่องมือ
    A แสดงการขาดงานของคนงาน
    P แสดงการบํารุงรักษาที่ไดวางแผนไว

        จากแผนภูมิแกนตในรูปที่ 1.4 การดําเนินงานที่ 1 ของงาน 2 ตามแผนควรจะเริ่มตนตั้งแตเวลา 0
หนวย แตในความเปนจริงตองถูกเลื่อนออกไป 2 หนวยเวลาเนื่องจากขาดวัตถุดิบ นอกจากสัญลักษณตางๆ

More Related Content

Similar to 9789740329992

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศPaweena Kittitongchaikul
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศPaweena Kittitongchaikul
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5krunuy5
 
9789740328766
97897403287669789740328766
9789740328766CUPress
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมnuknook
 
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศMeaw Sukee
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมnuknook
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศPaweena Kittitongchaikul
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมPassawan' Koohar
 

Similar to 9789740329992 (20)

Sallai pro
Sallai proSallai pro
Sallai pro
 
Project Sky
Project SkyProject Sky
Project Sky
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
Line Balancing
Line BalancingLine Balancing
Line Balancing
 
Lb2
Lb2Lb2
Lb2
 
9789740328766
97897403287669789740328766
9789740328766
 
9789740328766
97897403287669789740328766
9789740328766
 
11
1111
11
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอม
 
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอม
 
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
งานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอมงานนำเสนอ1 คอม
งานนำเสนอ1 คอม
 
Problem solution
Problem solutionProblem solution
Problem solution
 

More from CUPress

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737CUPress
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560CUPress
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478CUPress
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270CUPress
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102CUPress
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096CUPress
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072CUPress
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027CUPress
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914CUPress
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907CUPress
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686CUPress
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457CUPress
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440CUPress
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389CUPress
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280CUPress
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365CUPress
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303CUPress
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242CUPress
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235CUPress
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099CUPress
 

More from CUPress (20)

9789740337737
97897403377379789740337737
9789740337737
 
9789740337560
97897403375609789740337560
9789740337560
 
9789740337478
97897403374789789740337478
9789740337478
 
9789740337270
97897403372709789740337270
9789740337270
 
9789740337102
97897403371029789740337102
9789740337102
 
9789740337096
97897403370969789740337096
9789740337096
 
9789740337072
97897403370729789740337072
9789740337072
 
9789740337027
97897403370279789740337027
9789740337027
 
9789740336914
97897403369149789740336914
9789740336914
 
9789740336907
97897403369079789740336907
9789740336907
 
9789740336686
97897403366869789740336686
9789740336686
 
9789740336457
97897403364579789740336457
9789740336457
 
9789740336440
97897403364409789740336440
9789740336440
 
9789740336389
97897403363899789740336389
9789740336389
 
9789740336280
97897403362809789740336280
9789740336280
 
9789740336365
97897403363659789740336365
9789740336365
 
9789740336303
97897403363039789740336303
9789740336303
 
9789740336242
97897403362429789740336242
9789740336242
 
9789740336235
97897403362359789740336235
9789740336235
 
9789740336099
97897403360999789740336099
9789740336099
 

9789740329992

  • 1. บทที่ 1 บทนํา 1.1 บทนํา การจัดตาราง (Scheduling) เปนกระบวนการตัดสินใจอยางหนึ่งที่มีความสําคัญอยางมากตอทั้ง อุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ [104, 148] โดยที่ผลลัพธของกระบวนการตัดสินใจในที่นี้ก็ คื อ ตารางหรื อ กํ า หนดการ (Schedule) สํ า หรั บ กิ จ กรรมที่ ห ลากหลาย ในป จ จุ บั น พบว า องค ก รทั้ ง ใน ภาคอุตสาหกรรมและภาคการบริการไดนําเอาทฤษฎีการจัดตารางมาประยุกตใชกับกิจกรรมตางๆ ขององคกร อยางแพรหลาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางานใหสูงขึ้น เชน การผลิต การบริการ การจัดซื้อ การขนสง การกระจายสินคา การประมวลผลในระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร และการสื่อสาร เปนตน “การจัดตาราง” หมายถึง การจัดสรรทรัพยากร (Resource) ที่มีอยูอยางจํากัด ใหกับภารกิจ (Task) ที่กําหนดใหจํานวนหนึ่ง ภายใตระยะเวลาที่กําหนดให เพื่อที่จะทําใหองคกรสามารถบรรลุถึงเปาหมาย (Goal) หรือวัตถุประสงค (Objective) สูงสุดที่องคกรกําหนดเอาไวที่เวลานั้นได [6] การจัดตารางจะทําให ทราบวา เราจะตองการใชแตละทรัพยากรเมื่อใด เพื่อที่จะผลิตชิ้นงานหรือใหบริการตามที่ตองการ และการจัด ตารางจะเกิดขึ้นในขั้นตอนสุดทายของการวางแผนกอนที่การผลิตจริงจะเริ่มตนขึ้น คําวา “ทรัพยากร” หมายถึง คนงาน พนักงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ สถานที่ หรือสิ่งของ ตางๆ ที่ มีอ ยูเป นจํ านวนจํ ากัด ซึ่ง สามารถนํ าไปใช ในการทํ าใหเกิ ดผลผลิ ต หรือการบริก ารที่ ตอ งการได เนื่ อ งจากความจํ า กั ด ของทรั พ ยากรที่ ต อ งใช ร ว มกั น นี้ เ อง จึ ง ทํ า ให เ กิ ด การแย ง ชิ ง ทรั พ ยากรขึ้ น ดั ง นั้ น ทรัพยากรจึงตองถูกจัดสรรอยางเหมาะสมตามลําดับความสําคัญใหกับกิจกรรมตางๆ ที่ตองการใชทรัพยากร ดังกลาวที่เวลาเดียวกัน ตัวอยางเชน เครื่องจักรที่ใชในการผลิตชิ้นงาน โตะและเกาอี้สําหรับใหลูกคานั่ง รั บ ประทานอาหารในภั ต ตาคาร แพทย ห รื อ พยาบาลในโรงพยาบาล ห อ งเรี ย นในอาคารเรี ย นรวมของ มหาวิทยาลัย ลานบินของสนามบิน คนงานในสถานที่กอสราง หรือหนวยประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร เปนตน นอกจากนี้แลวจํานวนของทรัพยากรที่มีอยูอาจจะใชระบุถึงความสามารถในการสรางผลผลิตไดอีก ดวย เชน เครื่องจักร 1 เครื่องสามารถผลิตชิ้นงานได 100 ชิ้น/ชั่วโมง ถาโรงงานแหงหนึ่งซื้อเครื่องจักรชนิด เดียวกันนี้มา 5 เครื่อง โรงงานแหงนี้ก็จะมีความสามารถในการผลิตเทากับ 500 ชิ้น/ชั่วโมง เปนตน
  • 2. 2 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน ในขณะที่ “งาน (Job)” อาจจะประกอบดวยภารกิจพื้นฐานจํานวนหนึ่ง ที่มีความสัมพันธกันในดาน ของลําดับกอนหลัง (Precedence Relationship) ซึ่งในบางครั้งเราจะเรียกภารกิจพื้นฐานเหลานี้วา “การ ดําเนินงาน (Operation)” โดยที่ตัวอยางของการดําเนินงานอาจจะหมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานในโรงงาน ขั้นตอนการบํารุงรักษาเครื่องจักร ขั้นตอนการจัดซื้อวัตถุดิบ ขั้นตอนการนําเครื่องบินขึ้นหรือลงจอดบนลาน บิน ขั้นตอนของกิจกรรมในโครงการกอสราง หรือการทํางานตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร เปนตน ทฤษฎีการจัดตารางเกี่ยวของกับการสรางและพัฒนาแบบจําลองทางคณิตศาสตร และการหาเทคนิค ที่เหมาะสมในการแกปญหาการจัดตาราง ซึ่งจะตองอาศัยความรูทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมกันกับ การวิเคราะหเชิงปริมาณที่จะเปนเครื่องมือ สําหรับชวยในการหาคําตอบ โดยแนวทางดั งกลาวนี้จะแปลง โครงสรางของปญหาการจัดตารางไปสูรูปแบบของสมการทางคณิตศาสตรที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการนี้จะ เกี่ยวของกับการแปลงเปาหมายและความมีอยูอยางจํากัดของทรัพยากรในดานตางๆ ที่เกี่ยวของกับการ ตัดสินใจ ไปสูฟงกชันวัตถุประสงค (Objective Function) และขอจํากัด (Constraint) ตางๆ ซึ่งจะเขียนขึ้นมา อยางชัดเจนในรูปแบบของสมการทางคณิตศาสตร ในทางทฤษฎีฟงกชันวัตถุประสงคของการจัดตารางควรจะประกอบดวยคาใชจาย (Cost) ทั้งหมดที่ เกิดขึ้นในระบบ ซึ่งคาใชจายเหลานี้จะไดรับผลกระทบโดยตรงจากการตัดสินใจจัดตารางในครั้งนี้ อยางไรก็ ตาม ในทางปฏิบัติแล วคาใช จายดั งกลาวอาจจะวัดออกมาเปน ตัวเลขไดยากมาก ดังนั้น แทนที่จ ะแสดง ฟงกชันวัตถุประสงคในรูปของคาใชจาย เราจะใชเปาหมาย 3 รูปแบบหลักในการตัดสินใจที่เกี่ยวของกับการ จัดตารางแทน นั่นคือ ประสิทธิภาพในการใชสอยทรัพยากร (Resource Utilization) ความรวดเร็วในการ สนองตอบตออุปสงค และการสงมอบที่ตรงเวลา นอกจากนั้นแลวเรายังอาจจะใชตัววัดสมรรถนะของระบบตัว อื่นๆ แทนตัววัดที่เกิดจากคาใชจายของระบบไดดวยเชนกัน ตัวอยางเชน เวลาเดินเปลา (Idle Time) ของ เครื่องจักร เวลารอคอยของงาน หรือเวลาสาย (Lateness) ของงาน ซึ่งรายละเอียดจะกลาวถึงในบทถัดไป ใน การจัดตารางนั้น ขอจํากัดพื้นฐาน 2 ประเภทที่พบเสมอก็คือ 1. ขอจํากัดดานทรัพยากร (Resource Constraint) : เกี่ยวของกับการที่ทรัพยากรมีความสามารถใน การทํางานอยางจํากัดที่ขณะใดขณะหนึ่ง เชน เครื่องจักรเครื่องหนึ่งสามารถทํางานไดกับชิ้นงาน เพียงชิ้นงานเดียวเทานั้นที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ทันตแพทยสามารถทําฟนใหกับคนไขเพียงหนึ่งราย เทานั้นที่เวลาใดเวลาหนึ่ง 2. ขอจํากัดดานเทคโนโลยี (Technological Constraint) : เกี่ยวของกับความจํากัดในดานลําดับ กอนหลังของการทํางาน (Precedence Constraint) เชน เราจะตองทํางานขั้นตอนแรกบนชิ้นงานชิ้น หนึ่งใหแลวเสร็จกอนที่จะเริ่มตนทํางานขั้นตอนที่ 2 บนชิ้นงานชิ้นเดียวกันนั้นได หรือพนักงานคนที่ หนึ่งตองทํางานขั้นตอนแรกใหเสร็จกอน แลวจึงสงชิ้นงานที่ทําเสร็จแลวไปใหกับพนักงานคนถัดไป เพื่อทํางานขั้นตอนที่สองตอไป
  • 3. บทนํา 3 ดังนั้น ตารางที่เปนไปไดจริง (Feasible Schedule) ซึ่งเปนผลลัพธของการแกปญหาการจัดตาราง จะตองปฏิบัติตามเงื่อนไขของขอจํากัดทั้งสองที่กลาวมา เพื่อทําใหสามารถตอบ 2 คําถามหลักที่เกี่ยวของกับ การจัดตารางได กลาวคือ (1) เราจะใชทรัพยากรตัวไหนจากทรัพยากรหลายตัวที่มีอยูและมีความพรอมใชงาน เพื่อทํางานที่กําหนดให ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากร (Allocation) หรือการโหลดงาน (Loading) (รูปที่ 1.1a) และ (2) เราจะลงมือทํางานแตละงานเมื่อใด ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับการ จัดลําดับงาน (Sequencing) และการจัดตาราง (Scheduling) (รูปที่ 1.1b) M1 งาน งาน M2 M1 แถวคอย แถวคอย เครื่องจักร M3 เครื่องจักร (a) การจัดสรรทรัพยากร (เลือกเครื่องจักรที่จะทํางาน) (b) การจัดลําดับและจัดตารางใหกบงานบนแถวคอย ั รูปที่ 1.1 ประเภทของปญหาการจัดตาราง ในทางปฏิบัติ พบวาปญหาการจัดตารางบางครั้งอาจจะเกี่ยวของกับการตัดสินใจเพียงประเภทเดียว ก็ได ทั้งนี้ขึ้น อยูกับคุณลักษณะของระบบและปญหาที่ กําลังพิจารณาอยู เชน ในการทํางานอยางหนึ่งใน โรงงาน พบวามีเครื่องจักรที่สามารถทํางานนี้ไดเพียงเครื่องจักรเดียวเทานั้น ดังนั้น การตัดสินใจเกี่ยวกับการ จัดสรรทรัพยากรจึงไมเกิดขึ้น เนื่องจากไมสามารถเลือกทํางานนี้ บนเครื่องจักรอื่นได จะมีก็แตการตัดสินใจ เกี่ยวกับการจัดลําดับงานที่เหมาะสมเพื่อปอนใหเครื่องจักรเครื่องนี้เทานั้น หรือในทางตรงกันขาม การทํางาน อีก ประเภทหนึ่ ง สามารถที่ จ ะทํ า ไดบ นหลายเครื่ อ งจัก ร แต เ มื่ อ ได จั ดสรรงานและป อ นงานเหล า นี้ ใ ห กั บ เครื่องจักรเครื่องใดเครื่องหนึ่งแลว จะไมมีการเปลี่ยนแปลงลําดับของงานที่ อยูบนแถวคอยหนาเครื่องจักรอีก โดยถื อ เอาลํ า ดั บ ของการจั ด สรรงานให กั บ เครื่ อ งจั ก รเป น ลํ า ดั บ ของงานบนแถวคอยเลย เนื่ อ งจากการ เปลี่ยนแปลงดังกลาวอาจจะกอใหเกิดความยุงยากและสับสนในการทํางานของคนงานเปนอันมาก ดังนั้น การ ตัดสินใจในกรณีเชนนี้ก็จะจํากัดอยูเฉพาะที่เกี่ยวของกับการจัดสรรทรัพยากรเทานั้น ทฤษฎีการจัดตารางจะเสนอแนะเทคนิคเปนจํานวนมาก ที่เปน ประโยชนตอการแกปญหาการจัด ตาราง เชน เทคนิคการหาคาที่เหมาะสมที่สุดเชิงการจัด (Combinatorial Optimization) ฮิวริสติก (Heuristic) คอมพิวเตอรซิมูเลชัน (Simulation) การวิเคราะหโครงขาย (Network) หรือเมตาฮิวริสติก (Meta-Heuristic)
  • 4. 4 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน เปนตน การเลือกใชเทคนิคที่เหมาะสมนั้นจะขึ้นอยูกับความซับซอนของปญหา ธรรมชาติของแบบจําลอง และ ฟงกชันวัตถุประสงค รวมทั้งปจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวของ เชน เวลา คาใชจาย ในบางกรณีผูจัดตารางอาจพบวา มี เทคนิคหลายอยางที่สามารถนํามาใชในการแกปญหาที่กําลังสนใจอยูได ซึ่ง ในกรณีนี้ผูจัดตารางจะตองอาศัย ทั้งความรูและประสบการณในการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมมาใช เพื่อใหไดมาซึ่งตารางที่มีฟงกชันวัตถุประสงค ดีที่สุด และใชเวลาในการหาคําตอบนอยที่สุด ดังนั้น ทฤษฎีการจัดตารางนอกจากจะเกี่ยวของกับการสราง แบบจําลองที่เหมาะสมแลว ยังเกี่ยวของกับการเลือกเทคนิคที่เหมาะสมในการแกปญหาอีกดวย 1.2 ตัวอยางการประยุกตทฤษฎีการจัดตารางในทางธุรกิจ ตัวอย างต อไปนี้ แสดงใหเ ห็นถึ งบทบาทของการจั ดตารางที่มีต อธุร กิจ ทั้งในดา นอุต สาหกรรม การผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ ซึ่งจะแสดงใหเห็นถึงความสําคัญของการนําเอาทฤษฎีการจัดตารางมา ประยุกตใชเพื่อทําใหเกิดประโยชนสูงสุดตอการดําเนินงานขององคกร [103, 104] ตัวอยางที่ 1.2.1 : โรงงานผลิตถุงกระดาษ (อุตสาหกรรมการผลิต) โรงงานผลิ ต ถุ ง กระดาษแห ง หนึ่ ง ผลิ ต ถุ ง กระดาษสํ า หรั บ ใส ปู น ซี เ มนต ถ า น อาหารสั ต ว และ ผลิตภัณฑอื่นๆ ที่เกี่ยวกับถุงกระดาษอีกหลายประเภท วัตถุดิบที่ใชสําหรับโรงงานแหงนี้ก็คือ กระดาษที่ซื้อ มาเปนมวน ขั้นตอนการผลิตมีดังนี้ หลังจากมวนกระดาษถูกนํามาตัดเปนแผนจนไดตามขนาดที่ตองการแลว ประกอบดวย 3 ขั้นตอนหลัก คือ พิมพตราบริษัท ทากาวที่ดานขางของถุง และเย็บปดที่ปลายดานหนึ่งหรือ ทั้งสองดานของถุง ในแตละขั้นตอนการผลิตโรงงานแหงนี้มีเครื่องจักรเปนจํานวนมากที่สามารถนํา มาใชใน การผลิตได และเครื่องจักรเหลานี้อาจจะมีคุณสมบัติที่ไมเหมือนกันก็ได กลาวคือ เครื่องจักรแตละเครื่อง อาจจะมีความแตกตางกันบางเล็กนอยในดานของความเร็วในการผลิต จํานวนของสีที่สามารถพิมพได หรือ ขนาดของถุงที่สามารถผลิตได เปนตน คําสั่งผลิตจะระบุถึงจํานวนของถุงที่จะผลิตในแตละประเภทและเวลา สงมอบที่สัญญาไวกับลูกคา เวลาที่ใชในการผลิตในแตละขั้นตอนจะเปนสัดสวนโดยตรงกับขนาดของคําสั่งซื้อ (จํานวนของถุงกระดาษ) การสงมอบงานลาชาจะทําใหโรงงานตองเสียคาปรับ และเสียชื่อเสียง ซึ่งคาปรับนี้ ขึ้นอยูกับความสําคัญของลูกคาและความลาชาในการสงมอบ ดังนั้น วัตถุประสงคของระบบจัดตารางสําหรับ โรงงานแหงนี้คือ การหาตารางการผลิตที่ทําใหผลรวมของคาปรับทั้งหมดมีคานอยที่สุด นอกจากนั้นแลวเมื่อ เครื่องจักรเปลี่ยนการผลิตจากถุงชนิดหนึ่งไปเปนอีกชนิดหนึ่ง จะตองมีการปรับตั้งเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งเวลาใน การปรับตั้งนี้จะขึ้นกับความคลายคลึงกันของคําสั่งผลิตที่ตามมา เชน จํานวนของสีที่ใชรวมกัน ความแตกตาง ของขนาดถุง ดังนั้น วัตถุประสงคอีกประการหนึ่งก็คือ การจัดลําดับของงานเพื่อทําใหเวลาสูญเสียที่เกิดจาก การปรับตั้งเครื่องจักรมีคานอยที่สุด
  • 5. บทนํา 5 ตัวอยางที่ 1.2.2 : โรงงานผลิตอุปกรณเซมิคอนดักเตอร (อุตสาหกรรมการผลิต) หนวยความจําและไมโครโพรเซสเซอร เปนอุ ปกรณเซมิคอนดักเตอรอยางหนึ่ง ที่ตองผลิตโดย โรงงานที่มีความชํานาญพิเศษ กระบวนผลิตหลักประกอบดวย 4 ขั้นตอน คือ ปลูกแผนเวเฟอร ทดสอบแผน เวเฟอร การประกอบ และการทดสอบ จากขั้นตอนทั้ง 4 ดังกลาวนี้ พบวาขั้นตอนการปลูกแผนเวเฟอรเปน ขั้นตอนที่สําคัญและซับซอนที่สุด แผนเวเฟอรที่ปลูกเรียบรอยแลวจะถูกสงไปยังขั้นตอนถัดไปเปนรุน (Lot) เครื่องจักรบางเครื่องอาจจะตองถูกปรับตั้งกอนที่จะทํางานกับแผนเวเฟอรที่ปอนเขามาได เวลาที่ใชในการ ปรับตั้งขึ้นอยูกับความแตกตางของลักษณะ หรือรูปทรงของรุนที่เพิ่งทําเสร็จ กับ รุนใหมที่กําลังจะเริ่มทําการ ผลิต จํานวนคําสั่งผลิต ทั้งหมดในระบบจะมีคา อยูประมาณหลักรอย แตละคําสั่งผลิตจะมีเวลาปลอยงาน (Release Date) และเวลาสงมอบเปนของตัวเอง วัตถุประสงคในการจัดตารางสําหรับโรงงานประเภทนี้คือ การสงมอบผลิตภัณฑที่ตรงตามกําหนดเวลาใหไดมากที่สุด นอกจากนั้นยังตองทําใหเกิดผลผลิตมากที่สุดอีก ดวย สํ าหรับเปาหมายประการหลั ง นี้ สามารถทํา ใหเกิ ดขึ้นได โดยสร างระบบการทํ างานใหมีการใชสอย เครื่องจักรและอุปกรณใหมากที่สุด โดยเฉพาะกับเครื่องจักรที่เปนคอขวด (Bottleneck) ในระบบผลิต ดังนั้น การลดเวลาเดินเปลาของเครื่องจักรและการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรประเภทนี้ จึงเปนสิ่งที่จําเปนตอการเพิ่ม ผลผลิตของโรงงานเปนอยางมาก ตัวอยางที่ 1.2.3 : โรงงานประกอบรถยนต (อุตสาหกรรมการผลิต) ในสายการประกอบรถยนตสายหนึ่ง โดยมากจะมีการผลิตรถยนตหลายโมเดลที่แตกตางกัน ซึ่ง โมเดลทั้งหมดนี้จะถูกจัดอยูในตระกูล (Family) ของรถยนต ซึ่งมีอยูเปนจํานวนไมมากนัก ตัวอยางเชน โมเดล ที่อยูในตระกูลหนึ่ง อาจจะประกอบดวยรุนที่มี 2 ประตู รุนที่เปนรถเกงสองตอนที่มี 4 ประตู ซึ่งในแตละรุน อาจจะมีสีและทางเลือกที่แตกตางกันได เชน เกียรมือหรือเกียรอัตโนมัติ หลังคาแบบธรรมดาหรือหลังคาแบบ เปดรับแสงอาทิตยได สําหรับโรงงานประเภทนี้คอขวดของสายการผลิตอาจจะเกิดขึ้นไดหลายแหง ซึ่งคอขวด ในที่นี้อาจหมายถึงเครื่องจักรหรือกระบวนการที่มีการทํางานชาที่สุดเมื่อเทียบกับเครื่องจักรหรือกระบวนการ อื่น และคอขวดนี้เองจะเปนตัวกําหนดอัตราการผลิตของสายการผลิตทั้งหมด ยกตัวอยางเชน โรงพนสีซึ่งทุก ครั้งที่มีการเปลี่ยนสีรถยนตจากสีหนึ่งไปเปนอีกสีหนึ่ง จะตองมีการลางทําความสะอาดปนพนสีทุกครั้ง ซึ่ง กระบวนการนี้ในบางครั้งใชเวลานานมาก ดังนั้น วัตถุประสงคในการจัดตารางสําหรับโรงงานประเภทนี้ก็คือ การประกอบรถยนต ใ ห ไ ด ม ากที่ สุ ด ซึ่ ง ทํ า ได โ ดยการเรี ย งลํ า ดั บ ของรถยนต ที่ จ ะผลิ ต ให เ กิ ด ภาระงาน (Workload) ในแตละสถานีงานใหมีความสมดุลกันไดมากที่สุด ตัวอยางที่ 1.2.4 : ระบบการจองรถยนต (อุตสาหกรรมการบริการ) เอเยนตรถเชาสวนมากจะพยายามรักษาความหลากหลายของรถยนตที่เปดใหเชาใหมากที่ สุดเทาที่ จะทําได ดังนั้น เขาจะเตรียมรถไวหลายขนาดเพื่อใหลูกคามีโอกาสไดเลือกตามวัตถุประสงคในการใชงาน เชน รถขนาดใหญ รถขนาดกลาง และรถขนาดเล็ก ลูกคาบางรายอาจจะมีความยืดหยุนไดบางในเรื่องของ ชนิดหรือยี่หอของรถยนตที่จะเชา แตในขณะที่บางรายอาจจะระบุช นิดหรือยี่หอของรถที่ตองการเชา อยาง
  • 6. 6 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน ชัดเจน เมื่ อมีลูกคาเขามาจองรถเพื่อเชา ไปใชงานในชวงเวลาที่กําหนดใหชวงเวลาหนึ่ง เอเยนตจะตอ ง ตัดสินใจวา เขาจะจองรถใหกับลูกคารายนี้ดีหรือไม เนื่องจากวาเขาอาจไดรับผลประโยชนมากกวาก็ไดถาเขา ปฏิเสธลูกคารายนี้ ทั้งนี้เพราะลูกคารายนี้จะขอเชารถเพียงชวงสั้นๆ เทานั้น เชน วันเดียว และเขาคอนขางจะ มั่นใจวา เขามีโอกาสที่จะใหลูกคารายอื่นเชารถคันเดียวกันนี้เปนระยะเวลาที่นานกวาได ดังนั้น วัตถุประสงค ของเอเยนตรถเชาก็คือ การหาจํานวนของวันที่มากที่สุดที่รถยนตที่มีอยูจะถูกเชาออกไปใชงาน ตัวอยางที่ 1.2.5 : โครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร (อุตสาหกรรมการบริการ) พิจารณาโครงการติดตั้งระบบคอมพิวเตอรขนาดใหญแหงหนึ่ง ซึ่งจะตองมีการจัดซื้อ ติดตั้ง และ ทดสอบระบบคอมพิวเตอรจนกระทั่งระบบสามารถดําเนินการไดอยางมีประสิทธิ ภาพ โครงการเชนนี้จะมีงาน ที่เกี่ยวของเปนจํานวนมาก เชน การประเมินและคัดเลือกฮารดแวร การพัฒนาซอฟตแวร การจัดหาและ ฝกอบรมพนักงาน การทดสอบระบบ และการแกไขขอบกพรองในระบบ ซึ่งในแตละงานจะมีความสัมพันธใน ดานของลําดับกอนหลังของงานอยู กลาวคือ งานบางอยางอาจจะทําไปพรอมๆ กันได แตในขณะที่งานบาง งานไมสามารถเริ่มตนไดถางานกอนหนานี้บางอยางยังทําไมเสร็จ วัตถุประสงคในการจัดตารางสําหรับปญหา ประเภทนี้ก็คือ การทําใหโครงการเสร็จภายในเวลาที่นอยที่สุด ในที่นี้การจัดตารางไมเพียงแตจะเปนการแสดง ใหเห็นถึงแนวทางในการบริหารโครงการเทานั้น ยังชวยใหเราสามารถประมาณเวลาเสร็จสิ้นของโครงการได อีกดวย นอกจากนั้นแลวยังทําใหทราบถึงสายงานวิกฤติ (Critical Path) และกิจกรรมวิกฤติ (Critical Activity) ของโครงการ ซึ่งสามารถนํามาใชในการติดตามและควบคุมความกาวหนาของกิจกรรมตางๆ ในโครงการได อยางมีประสิทธิภาพอีกดวย ตัวอยางที่ 1.2.6 : การจัดตารางเวรของพยาบาล (อุตสาหกรรมการบริการ) โรงพยาบาลทุกแหงจะมีความตองการพยาบาลที่แตกตางกันไปในแตละวัน ตัวอยางเชน จํานวน ความตองการของพยาบาลในวันธรรมดาจะมากกวาในชวงสุดสัปดาห และในชวงของเวรเชาและเวรบายจะใช พยาบาลจํานวนมากกวาในชวงของเวรดึก นอกจากนั้นแลวยังมีขอจํากัดในดานอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาอีก เชน กฎหมายแรงงาน ขอตกลงที่ใหไวกับสหภาพ หรือแมแตขอจํากัดสวนบุคคลของพยาบาล ดังนั้น รูปแบบของ การจัดเวรการทํางานใหกับพยาบาลอาจจะมีไดหลายรูปแบบดวยกัน ซึ่งแตละรูปแบบอาจจะมีคาใชจายที่ แตกตางกันได วัตถุประสงคในการจัดตารางเวรของพยาบาลก็คือ การจัดสรรเวรใหกับ พยาบาลแตละคน โดย มีคาใชจายที่ต่ําที่สุด ซึ่งทําใหในแตละเวรมีจํานวนพยาบาลเปนไปตามความตองการ ไมขัดกับกฎหมายและ ขอตกลงที่กําหนดเอาไว นอกจากนั้นแลวยังเปนไปตามขอจํากัด สวนบุคคลตางๆ ที่ถูกรองขออีกดวย เชน พยาบาลบางคนไมขอขึ้นเวรในวันหยุด บางคนไมขอขึ้นเวรเชาเนื่องจากจะตองไปเรียนเพิ่มเติม จากตัวอยางที่กลาวมาแลวขางตนจะเห็นวา การจัดตารางเปนกระบวนการตัดสินใจที่มีความสําคัญ อยางมากตอทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการบริการ นอกจากนั้นยังพบวา ปญหาการจัดตาราง บางประเภทจะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมการผลิตเปนสวนมาก เชน การจัดตารางสายการประกอบ แต ในทาง
  • 7. บทนํา 7 ตรงกันขาม ปญหาบางประเภทจะเกิดขึ้นมากในอุตสาหกรรมการบริการ เชน ระบบการจองทรัพยากร แตก็ ยังมีปญหาการจัดตารางอีกเปนจํานวนมากที่อาจจะเกิดขึ้นไดทั้งในอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมการ บริการ เชน การจัดตารางแบบงานตามงาน (Job Shop Scheduling) ซึ่งสามารถนําไปประยุกตใชไดกับทั้งใน โรงงานและในโรงพยาบาล 1.3 แผนภูมิแกนต พจนานุกรม American Heritage [127] ไดอธิบาย “แผนภูมิแกนต (Gantt Chart)” วาหมายถึง แผนภูมิที่ใชอธิบายกระบวนการทํางานตางๆ ที่มีความสัมพันธกับเวลา ซึ่ง นิยมใชในการวางแผนและ ติดตามความกาวหนาของโครงการ แผนภูมิแกนตไดถูกพัฒนาขึ้นประมาณ ค.ศ. 1917 โดย Henry L. Gantt วิศวกรและนักประดิษฐชาวอเมริกัน ผูซึ่งริเริ่มในดานการจัดการโครงการ และเปนหนึ่งในผูบุกเบิก ทางด า นวิ ท ยาการจั ด การ Gantt มี ค วามสนใจอย า งมากในด า นการเพิ่ ม ผลิ ต ภาพของคนงานและ ประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม เขาไดคิดคนระบบการประเมินโบนัสของพนักงานขึ้น โดยผูจัดการจะเพิ่ม เงินคาจางใหกับพนักงาน เพื่อจูงใจใหพวกเขาทํางานอยางมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งการประเมินผลการ ทํางานจะพิจารณาจากแผนภูมิที่เราเรียกวา แผนภูมิแกนต นั่นเอง Gantt ไดใชความรูความสามารถของเขาชวยบริษัท Bethlehem Steel จนกลายเปนผูนําในธุรกิจ ด า นการผลิ ต เหล็ ก ต อ มาเขาได เ ข า ทํ า งานให กั บ รั ฐ บาลสหรั ฐ ฯ โดยช ว ยปรั บ ปรุ ง โรงงานผลิ ต เรื อ ใน สงครามโลกครั้งที่ 1 ใหมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไดนําเอาแผนภูมิแกนต ไปใชในโครงการ กอสรางภายในประเทศเปนจํานวนมาก ตัวอยางเชน เขื่อนฮูเวอร (Hoover) และระบบทางหลวงระหวางรัฐ จนถึงปจจุบันนี้รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ยังคงนําเอาแผนภูมิแกนตมาใชเปนหนึ่งในเครื่องมือการจัดการที่สําคัญใน กระทรวงตางๆ แผนภูมิแกนตเปนหนึ่งในเครื่องมือชวยทางกราฟกที่เกาแกที่สุด ใชงานงายที่สุด แพรหลายที่สุด และมีประโยชนที่สุด ในการที่จะทําใหผูตัดสินใจเกิดความเขาใจเกี่ยวกับลําดับของงาน และสถานะของการ ดําเนินงาน นอกจากนั้นยังแสดงใหเห็นถึงความสัมพันธของกิจกรรมตางๆ ที่เกิดขึ้นในตารางอีกดวย รูปแบบ พื้นฐานของแผนภูมิแกนตอาจจะแสดงในลักษณะของกราฟที่จะแสดงใหเห็นถึงการจัดสรรทรัพยากรใหกบงาน ั ตางๆ ภายใตเวลาที่กําหนดให โดยที่แผนภูมิแกนตจะแสดงทรัพยากรอยูในแนวแกนตั้ง (แกน Y) ซึ่งถา จํานวนของทรัพยากรมีมากกวา 1 ตัว ก็ใหวางทรัพยากรเรียงซอนกันขึ้นไปในแนวตั้ง สวนเวลาจะแสดงอยูใน แนวแกนนอน (แกน X) สเกลของเวลาที่ใชอาจจะอยูในหนวยของวินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน หรือป ก็ได แลวแตความเหมาะสม โดยใหพิจารณาจากหนวยเวลาที่นอยที่สุดของงานทั้งหมดที่กําลังพิจารณาอยู เชน ถา งานที่ใชเวลานอยที่สุดมีหนวยเปนนาที สเกลของเวลาที่ใชในแผนภูมิแกนตก็ควรจะมีหนวยเปนนาทีเชนกัน
  • 8. 8 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน ตัวอยางเชน แผนกปมขึ้นรูปโลหะของโรงงานผลิตผลิตภัณฑจากโลหะแผนแหงหนึ่งมีการผลิตตาม คําสั่งซื้อของลูกคาไดรับคําสั่งผลิตจากแผนกวางแผนการผลิตมา 3 งาน หลังจากที่หัว หนาแผนกปมขึ้นรูป โลหะไดตรวจสอบขั้นตอนการผลิตในรายละเอียดจากมาตรฐานคูมือปฏิบัติงานของโรงงานแลว พบวางานทั้ง 3 มีเสนทางการไหลของงาน และเวลาดําเนินงานบนแตละเครื่องจักรดังแสดงในตารางที่ 1.1 นอกจากนั้นยัง ปรากฏดวยวา เวลาสงมอบของงาน 1 กระชั้นกวางาน 2 และของงาน 2 กระชั้นกวางาน 3 ดังนั้น เขาจึง ตัดสินใจสั่งผลิตชิ้นงานตามลําดับความกระชั้นของเวลาสงมอบงาน ซึ่งทําใหไดลําดับการผลิตคือ งาน 1, 2 และ 3 ตามลําดับ จากการตัดสินใจครั้งนี้ทําใหไดหนึ่งในแผนภูมิแกนตจากทั้งหมดที่เปนไปไดดังแสดงในรูปที่ 1.2 ขอดีของแผนภูมิแกนตรูปแบบพื้นฐานนี้ คือ ทําใหเราทราบวาที่เวลาใดเวลาหนึ่งทรัพยากรไดถูกจัดสรร ใหกับงานใดอยู เชน ที่เวลา 5 หนวย เครื่องจักร 1 กําลังทํางาน 1 อยู นอกจากนั้นยังทําใหทราบถึงภาระงาน (Workload) และอัตราการใชสอยทรัพยากร (Utilization) อีกดวย ตารางที่ 1.1 เวลาดําเนินงานเสนทางการไหลของงาน งาน ลําดับของงานการดําเนินงาน ลําดับที่ 1 ลําดับที่ 2 1 เครื่องจักร 1, 7 หนวยเวลา เครื่องจักร 2, 8 หนวยเวลา 2 เครื่องจักร 2, 4 หนวยเวลา เครื่องจักร 1, 5 หนวยเวลา 3 เครื่องจักร 1, 6 หนวยเวลา เครื่องจักร 2, 4 หนวยเวลา เครื่องจักร 2 2 1 3 ตัวเลขแสดงงาน เครื่องจักร 1 1 2 3 (ในที่นี้คืองาน 3) 5 10 15 20 เวลา รูปที่ 1.2 แผนภูมิแกนตแสดงตารางสําหรับ 2 เครื่องจักร 3 งาน โดยที่เครื่องจักรอยูในแกนตั้ง แผนภูมิแกนตอาจจะสรางขึ้นในลักษณะของกราฟที่ แสดงใหเห็นถึงแตละงานที่ไดรับการจัดสรร ใหกับทรัพยากรตางๆ ภายใตเวลาที่กําหนดใหก็ได แผนภูมิแกนตในลักษณะนี้จะแสดงงานเรียงซอนกันอยูใน แกนตั้ง (แกน Y) ดังแสดงในรูปที่ 1.3 ขอดีของแผนภูมิแกนตรูปแบบนี้คือ ทําใหเราทราบวา ที่เวลาใดเวลา
  • 9. บทนํา 9 หนึ่งแตละงานไดรับการจัดสรรอยูบนทรัพยากรใด เชน ที่เวลา 10 หนวย การดําเนินงานลําดับที่ 2 ของงาน 1 กําลังทําอยูบนเครื่องจักร 2 นอกจากนั้นยังทําใหเราทราบถึงเวลารอคอยของแตละงาน รวมถึงเวลาเริ่มตนและ เวลาสิ้นสุดของแตละการดําเนินงานในแตละงานอีกดวย ซึ่งจะมีประโยชนอยางมากในการติดตามและควบคุม งาน [118] งาน 3 1 2 งาน 2 2 1 ตัวเลขแสดงทรัพยากร งาน 1 1 2 (ในที่นี้คือเครื่องจักร 2) 5 10 15 20 เวลา รูปที่ 1.3 แผนภูมิแกนตแสดงตารางสําหรับ 2 เครื่องจักร 3 งาน โดยที่งานอยูในแกนตั้ง แผนภู มิ แ กนต สามารถแสดงถึ ง ความสัม พั น ธ ข องการดํ าเนิ น งานต า งๆ ของงานจํ า นวนหนึ่ ง ที่ กํา หนดให บ นทรั พ ยากรที่ มี อ ยู ซึ่ ง การดํ า เนิ น งานเหล า นี้จ ะถู ก แสดงออกมาในรู ป แบบทางกราฟ ก การ พิจารณาแผนภูมิแกนตจะทําใหเราสามารถหาขอสรุปเกี่ยวกับพฤติกรรมของตารางที่กําลังพิจารณาอยูได ในขณะที่การสลับตําแหนงขององคประกอบดานกราฟก (ในที่นี้หมายถึงการดําเนินงานตางๆ ของงานแตละ งาน เชน การสลับลําดับของการดําเนินงานของงานหนึ่งไปไวกอนหนาการดําเนินงานของอีกงานหนึ่ง) จะทํา ใหเราทราบถึงขอมูลเชิงเปรียบเทียบระหวางตารางเดิมกับตารางทางเลือกอื่นๆ ที่อาจจะเปนไปได แตทวา วิธีการสลับลําดับของการดําเนินงานดวยมือแบบนี้จะเปนไปไดเฉพาะกับกรณีที่จํานวนของงานและทรัพยากร มีไมมากเทานั้น ในทางปฏิบัติเราจะใชคอมพิวเตอรเขามาชวยเพื่อความรวดเร็วในหาคําตอบ และเรียกการจัด ตารางลักษณะเชนนี้วา “การจัดตารางแบบโตตอบ (Interactive Scheduling)” [35, 36] ซึ่งหลังจากผูจัดตาราง ปอนขอมูลที่จําเปนเขาไปในเครื่องคอมพิวเตอรแลว คอมพิวเตอรก็จะสรางตารางเริ่มตนใหตามขั้นตอนวิธี (Algorithm) ที่กําหนดไว เชน เรียงลําดับงานตามกําหนดสงมอบ จากนั้นผูจัดตารางก็จะสลับตําแหนงของงาน หรือการดําเนินงานบนแผนภูมิแกนต แลวคอมพิวเตอรก็จะสรางตารางใหม พรอมกับคํานวณคําตอบใหมที่ได จากตารางดังกลาวให ผูจัดตารางจะทําซ้ําขั้นตอนดังกลาวจนกวาจะไดคําตอบที่พอใจ นอกจากนั้นการจัด ตารางแบบโตตอบยังสามารถชวยในการจัดการกับความไมแนนอนที่อาจจะเกิดขึ้นในพื้นที่ การผลิตไดอยางมี ประสิทธิภาพอีกดวย [143] เชน เมื่อเกิดเครื่องจักรเสียขึ้น ผูจัดตารางสามารถที่จะปรับตารางการผลิตไดโดย
  • 10. 10 เทคนิคการจัดตารางการดําเนินงาน โอนงานปจจุบันที่ตองใชเครื่องจักรที่เสียอยูไปใหกับเครื่องจักรอื่นที่สามารถทํางานดังกลาวได นอกจากนั้น ผู จัดตารางยังสามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางเลือกตางๆ ที่เปนไปไดกอนที่จะตัดสินใจปรับตาราง ซึงการผนวกความรูและประสบการณของผูจัดตารางเขาไปในขณะจัดตารางแบบโตตอบนี้ จะชวยเพิ่มโอกาส ่ ในการสรางตารางผลลัพธที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกวาตารางเริ่มตนและสามารถนําไปใชจริงในทางปฏิบัติได แผนภู มิ แ กนต ยั ง อาจจะใช ใ นการแสดงให เ ห็ น ถึ ง ความแตกต า งระหว า งตารางที่ ว างแผนเอาไว กั บ ความกาวหนาจริงของงานที่เกิดขึ้นได และเราอาจจะเพิ่มสัญลักษณแบบตางๆ เขาไปในแผนภูมิแกนตเพื่อ แสดงใหเห็นถึงกิจกรรมที่สําคัญตางๆ ที่เกิดขึ้นอยางชัดเจน ดังแสดงในรูปที่ 1.4 เวลาปจจุบัน แผนการดําเนินงาน ทรัพยากร 2 2 1 3 M 2 1 ทรัพยากร 1 1 2 3 T 1 2 การดําเนินงานจริง 5 10 15 20 เวลา รูปที่ 1.4 แผนภูมิแกนตที่เพิ่มสัญลักษณตางๆ เขาไปเพื่อระบุถงกิจกรรมที่สําคัญที่เกิดขึ้น [91] ึ ตัวอยางของสัญลักษณที่อาจจะนํามาใชแสดงสถานะตางๆ ของเหตุการณที่เกิดขึ้นได เชน แสดงการเริ่มตนและสิ้นสุดของการดําเนินงาน แสดงความกาวหนาของการดําเนินงานจริง แสดงเวลาปจจุบัน M แสดงความลาชาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการขาดวัตถุดบ ิ R แสดงความลาชาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการซอมเครื่องจักร T แสดงความลาชาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการซอมเครื่องมือ A แสดงการขาดงานของคนงาน P แสดงการบํารุงรักษาที่ไดวางแผนไว จากแผนภูมิแกนตในรูปที่ 1.4 การดําเนินงานที่ 1 ของงาน 2 ตามแผนควรจะเริ่มตนตั้งแตเวลา 0 หนวย แตในความเปนจริงตองถูกเลื่อนออกไป 2 หนวยเวลาเนื่องจากขาดวัตถุดิบ นอกจากสัญลักษณตางๆ