SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 30
Descargar para leer sin conexión
บทที่ 8
การสังเกตพฤติกรรมเด็ก
แผนการเรียนรู้ประจาบท
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เพื่อให้เข้าใจความหมาย และความสาคัญของการสังเกต
2. เพื่อให้เข้าใจประเภทของการสังเกต
3. เพื่อให้เข้าใจเทคนิควิธีการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
4. เพื่อให้สามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยได้
2. สาระการเรียนรู้
1. ความหมายของการสังเกต
2. ประเภทของการสังเกต
3. หลักในการสังเกต
4. เทคนิคที่ใช้ในการสังเกต
5. พฤติกรรมที่ควรสังเกต
6. คุณค่าประโยชน์และการสังเกต
7. ข้อจากัดของการสังเกต
8. ข้อควรคานึงในการสังเกต
9. ลักษณะของผู้สังเกตที่ดี
10. การบันทึกการสังเกต
11. การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
12. ตัวอย่างการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
3. กิจกรรมการเรียนรู้
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน
3. อภิปราย ซักถาม หลังจากการศึกษาเอกสารประกอบการสอน
4. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างการสังเกต พร้อมกับนาเสนอผล
การวิเคราะห์
5. ให้นักศึกษาบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กจากสถานการณ์จริงคนละ 1 กรณี
พร้อมนาเสนอ
196
6. ทดสอบหลังเรียน
4. สื่อการเรียนการสอน
1. เอกสารประกอบการสอน
2. สื่อ วีดีทัศน์ (Power point)
3. เว็บไชต์ ที่เกี่ยวข้อง
4. ตัวอย่างการสังเกต
5. การประเมินผล
1. ผลการทดสอบก่อน – หลัง
2. ความถูกต้องชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหา
3. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมจากการสังเกต
4. การนาเสนอผลงานการศึกษาพฤติกรรมเด็ก
197
บทที่ 8
การสังเกต
การสังเกต (Observation) นับว่าเป็นทักษะที่สาคัญสาหรับครูปฐมวัยที่จะต้องใช้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะครูจะต้องใช้ทักษะการสังเกตตลอดทั้งวันในการสังเกตเด็ก
นอกจากนี้การสังเกตยังเป็นทักษะกลวิธีที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
รายบุคคลแบบดั้งเดิม และใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่ง ผู้ทาการศึกษารายกรณีไม่ว่าจะเป็นครู
อาจารย์ ผู้แนะแนว หรือผู้ให้คาปรึกษาย่อมต้องทาการสังเกตบุคคลไม่ว่าจะมองแบบผิว
เผิน หรือมองแบบพินิจพิเคราะห์ จากการมองดูนั้นจะสามารถพิจารณาและตัดสินใจได้ว่า
บุคคลนั้น ๆ เป็นคน อย่างไร เช่น เอาใจใส่ในการทางาน ตั้งใจทางาน หรือตรงต่อเวลา เป็น
ต้น แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินไปตามลักษณะและสภาพที่เห็นนั้นอาจผิดก็ได้ ถ้าการมองดู
นั้นขาดความอดทนและใช้เวลาไม่นานนัก การสังเกตจะมีประโยชน์ต่อผู้ทาการศึกษามาก
หรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าได้ใช้กลวิธีใน การสังเกตอย่างมีระบบระเบียบหรือไม่ เพราะถ้าหากมี
การใช้วิธีการสังเกตอย่างมีระบบระเบียบ ย่อมจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจผู้ถูกศึกษา
ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการสังเกตอย่างมีระบบระเบียบชัดเจนขึ้น ผู้เขียนขอ
แยกหัวข้อเกี่ยวกับการสังเกต
ดังนี้
1. ความหมายของการสังเกต
2. ประเภทของการสังเกต
3. หลักในการสังเกต
4. เทคนิคที่ใช้ในการสังเกต
5. พฤติกรรมที่ควรสังเกต
6. คุณค่าประโยชน์และการสังเกต
7. ข้อจากัดของการสังเกต
8. ข้อควรคานึงในการสังเกต
9. ลักษณะของผู้สังเกตที่ดี
10. การบันทึกการสังเกต
11. การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
12. ตัวอย่างการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
198
1. ความหมายของการสังเกต
การรับรู้ด้วยตานาไปสู่การเรียนรู้ด้วยการมองเห็น ทาให้เกิดพฤติกรรมขึ้นใน
รูปแบบต่าง ๆ กัน ดังนั้นตาจึงเป็นแหล่งรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ และส่งผ่านไปยังสมอง ทาให้
เกิดผลต่อการแสดงพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งการรับรู้และความเข้าใจในพฤติกรรมของ
บุคคลอื่นที่แสดงออกมา ดังนั้นตาจึงเป็นกลไกที่นามาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต ซึ่งไม่
ต้องลงทุนหรือจัดหา เพียงแต่นามาใช้ศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่ถูกศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่
กาหนดไว้ และการสังเกตมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด อยู่บน
แนวปฏิบัติที่ว่า สิ่งที่ได้รับจากการสังเกตนาไปสู่การเกิดความเข้าใจในตัวเขามากขึ้นหรือไม่
และความเข้าใจนี้จะเป็นแนวทางให้สามารถแนะนาช่วยเหลือเขาผู้นั้นให้ดีขึ้นได้อย่างไร
เกี่ยวกับการสังเกตมีผู้ให้ความหมายดังนี้
บัญญัติ ชานาญกิจ (2542 : 68) การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่าง
ใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรง
กับวัตถุ เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของสิ่งที่ทาการสังเกต
โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป อาจใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกตด้วยก็ได้ ข้อมูล
ที่ได้อาจจะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
ยุทธ ไกยวรรณ์ (2545 : 157) วิธีการสังเกต หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์หรือปรากฏการณ์
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ และสุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ (2548 : 170 - 171) การสังเกต
หมายถึง การสังเกตพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราได้รู้ถึงพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไป ของคนที่
ต้องการจะศึกษา การสังเกตพฤติกรรมนี้ควรกระทาโดยที่ให้เจ้าตัวไม่รู้สึกว่ากาลังถูกสนใจ
พรรณี ลีกิจวัฒนะ (2553 : 183) การสังเกต หมายถึง วิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เป็น
เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย โดยการใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกต แล้วผู้สังเกตเป็น
ฝ่ายบันทึกสิ่งที่สังเกตได้อาจบันทึกได้หลายวิธี เช่น การเขียน การบันทึกเสียงด้วยเครื่อง
บันทึกเสียง การบันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยกล้องถ่ายภาพ หรือกล้องวีดิโอวิธีการสังเกต
เหมาะสาหรับการศึกษาพฤติกรรมและปรากฏการณ์ต่าง ๆ
กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551 : 228) การสังเกตเป็นเครื่องมือประเมินสาคัญสาหรับ
การประเมินการเรียนสิ่งที่ครูสังเกตมี 2 ประการ คือ
1. สังเกตพฤติกรรมเด็ก ในขณะทากิจกรรมเด็กจะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็น
การกระทา ความพอใจ ความโกรธ ล้วนเป็นการแสดงออกของเด็ก
199
2. สังเกตผลการกระทา เป็นการแสดงถึงการถ่ายทอดความรู้ความคิดออกมา
รูปธรรม
กล่าวโดยสรุปการสังเกต หมายถึง วิธีการศึกษาบุคคลด้วยการมองและการเฝ้าดู
พฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ในสถานการณ์ปกติ หรือสถานการณ์
ที่กาหนดขึ้นโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้น ๆ เพียงแต่เฝ้าดูหรือแอบดูไม่ให้เขารู้ตัว
และพยายามจดจาพฤติกรรมที่เขาแสดงออกให้เห็นนั้นไว้แล้วนามาทาการบันทึกลงใน
ระเบียน พฤติการณ์เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่จะนาไปวิเคราะห์ในการศึกษารายกรณี
ต่อไป
2. ประเภทการสังเกต
การสังเกตแบ่งเป็นหลายประเภทตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. ประเภทจุดมุ่งหมาย แยกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 สังเกตเพื่อให้ความช่วยเหลือทันที การสังเกตเพื่อให้ความช่วยเหลือทันที
อาจสังเกตในขณะที่ผู้ถูกศึกษากาลังทากิจกรรมอยู่ เช่น กาลังเรียน หรือกาลังทางาน หาก
พบว่ามี พฤติกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นการขาดความสนใจก็จะได้รับการดึงให้เขา
กลับมาสนใจในกิจกรรมที่ทาอยู่ในขณะนั้นทันที
1.2 การสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูล การสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูลถือว่าเป็น
การรวบรวมข้อมูลในรายละเอียดไว้เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย และเข้าใจ
พฤติกรรมของผู้ถูกศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อให้การช่วยเหลือให้ได้ตรงจุด เพราะถ้าข้อมูลและ
รายละเอียดของแต่ละบุคคลไม่สมบูรณ์เพียงพอ การให้การช่วยเหลือจะเป็นไปด้วย
ความยากลาบากหรืออาจไม่ได้ ผลเลย
2. ประเภทการจดบันทึก จาแนกเป็น 2 ชนิดคือ
2.1 สังเกตโดยไม่มีการจดบันทึก การสังเกตชนิดนี้ผู้สังเกตไม่ได้จดบันทึกสิ่งที่
พบเห็นจากผู้ที่ถูกศึกษาไว้ เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่ค่อนข้างปกติ ไม่มีอะไรเด่น
หรือบ่งชี้ว่ามีปัญหาอย่างรุนแรง แต่จะแปลความหมายของพฤติกรรมการสังเกตและให้
ความช่วยเหลือในขณะนั้นโดยทันที และประเมินสถานการณ์ไว้เลยว่าเขาได้ปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมแล้ว จึงไม่จาเป็นต้องการทาบันทึกข้อมูลไว้ เพื่อเป็นการลดภาระที่มีอยู่มากแล้ว
ให้น้อยลง
2.2 สังเกตโดยการจดบันทึก ผู้สังเกตควรพิจารณาแล้วว่า พฤติกรรมที่พบ
เห็นค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าปกติ และต้องดูแลติดตามหาข้อมูล
รายละเอียดมากกว่าการสังเกตในระยะเวลานั้น ๆ จึงต้องทาการบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตไว้
200
เพื่อช่วยเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ซึ่งจะนาไปสู่ความเข้าใจ และเป็นไป
ตามลาดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง
3. ประเภทลักษณะการสังเกต แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
3.1 สังเกตอย่างไม่เป็นทางการ การสังเกตอย่างไม่เป็นทางการนี้ เป็น
การสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกศึกษาโดยไม่มีการควบคุมองค์ประกอบใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น
เวลาหรือ สถานการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นธรรมชาติและเป็นประจา เช่น พฤติกรรม
การทากิจกรรม ต่าง ๆ หรือการเล่น หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้อื่น
3.2 สังเกตโดยการกาหนดช่วงเวลาการสังเกต การสังเกตโดยการกาหนด
ช่วงเวลาในการสังเกต เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตจะทาการกาหนดเวลาล่วงหน้าจะสังเกต
พฤติกรรมเมื่อไร ใช้เวลาเท่าใด การสังเกตชนิดนี้ทาให้ผู้สังเกตได้มีโอกาสรู้จักพฤติกรรม
ของ ผู้ถูกศึกษาได้ครอบคลุมและมากกว่า ซึ่งจะทาให้การบันทึกพฤติกรรมได้ละเอียด
มากกว่าการสังเกตพฤติกรรมน้อยครั้ง เพราะผู้สังเกตสามารถใช้เวลาได้นานเท่าที่ต้องการ
3.3 สังเกตโดยเลือกสังเกตเฉพาะสถานการณ์ที่ต้องการ การสังเกตโดย
การเลือกสังเกตเฉพาะสถานการณ์ที่ต้องการนั้น เป็นวิธีที่ผู้สังเกตเลือกสถานการณ์ที่คาด
ว่าจะทาให้เกิดการรู้และเข้าใจตัวผู้ถูกศึกษานั้นได้ดีขึ้น เช่น การสังเกตพฤติกรรมในขณะที่
กาลังเรียน หรือกาลังทางาน หรือกาลังเล่นกีฬากับเพื่อน ๆ เป็นต้น
4. ประเภทสถานการณ์ แยกได้เป็น 2 ชนิดคือ
4.1 สังเกตชนิดที่ไม่ควบคุมสถานการณ์ การสังเกตชนิดนี้ผู้สังเกตจะเฝ้าดู
พฤติกรรมในการทากิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจาวันอย่างอิสระ ในขณะที่เด็กไม่ได้
ระมัดระวังกิริยามารยาท โดยผู้สังเกตจะไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆทั้งสิ้น
4.2 สังเกตโดยการควบคุมสถานการณ์ การสังเกตชนิดนี้เป็นการสังเกต
พฤติกรรมของผู้ถูกศึกษาที่มีต่อกิจกรรมที่ผู้สังเกตเป็นผู้สร้างขึ้นมาและจะสังเกตดูว่าจะมี
ปฏิกิริยาต่อ สถานการณ์นั้นอย่างไร เช่น กาหนดบทบาทให้เขาแสดง หรือกาหนดให้เขามี
ทางเลือกหลาย ๆ ทางเพราะการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมเป็นการบ่ง
ชี้ให้เห็นเจตคติที่มีต่อ สิ่งนั้น ๆ
3. หลักในการสังเกต
การสังเกตนับว่าเป็นกลวิธีในการศึกษารายกรณีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ และทุกคนก็
รู้จักกันดีแต่การจะให้ได้ผลของการสังเกตเป็นที่เชื่อถือได้นั้น ต้องได้รับการฝึกฝนมากพอ
จนเกิดทักษะการฝึกฝนสังเกตอยู่เสมอนั้นจะช่วยให้ผู้สังเกตเกิดความสามารถในการสังเกต
เห็นได้อย่าง ถูกต้องแม่นยา การฝึกการสังเกตโดยสังเกตบุคคลประมาณ 2 – 3 คน ได้
201
ร่วมกันสังเกตอย่างต่อเนื่อง และมีการนาผลของการสังเกตมาทาการเปรียบเทียบกันจะ
ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ผู้สังเกตได้อย่างมากเพราะทาให้ผู้สังเกตทราบถึงความบกพร่อง
และความก้าวหน้าเกี่ยวกับกลวิธีการสังเกตของตน การสังเกตที่ดีและเกิดประโยชน์ควรมี
หลักการในการสังเกตดังต่อไปนี้
1. กาหนดสิ่งที่จะสังเกตให้ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มสังเกตในแต่ละครั้งในการสังเกต แต่
ละครั้งผู้สังเกตจะต้องถามตนเองก่อนว่าต้องการทราบเกี่ยวกับอะไรด้านใด และสิ่งที่
ต้องการทราบนั้นจะช่วยให้เข้าใจผู้ถูกสังเกตได้ดีขึ้นหรือไม่ และจะนาความเข้าใจมา
ช่วยเหลือเขาให้ดีขึ้นได้อย่างไร
2. ผู้ศึกษาจะต้องสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ และ
สิ่งแวดล้อมด้วยเสมอเพราะการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาย่อมมีความสัมพันธ์
กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม เช่น การทางานของบุคคลที่อยู่ในห้องแคบ ๆ และอากาศ
ร้อนอบอ้าว พฤติกรรมที่แสดงออกของเขาจะออกมาในลักษณะที่ไม่ดีนัก อาจจะมี
การแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ซึ่งผู้ศึกษาจะนาไปบันทึกว่าเขาเป็นคนมีพฤติกรรมไม่ดี จึงไม่
ถูกต้อง เพราะลักษณะห้องแคบ ๆ และอากาศร้อนอบอ้าวนั้นใครก็ตาม ไม่ว่าจะปกติ
หรือไม่ปกติจะมีลักษณะอาการแบบเดียวกัน
3. ควรการสังเกต ผู้ถูกศึกษาเพียงคนเดียว หรือรายเดียวในการสังเกตแต่ละครั้ง
เพราะการสังเกตบุคคลคนเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ จะมีโอกาสได้ศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
และถูกต้อง แต่ถ้าพยายามสังเกตในจานวนมากผู้สังเกตจะพยายามสังเกตในข้อที่เด่นชัด
ของเขาซึ่งจะทาให้มองข้ามรายละเอียดที่สาคัญ ๆ ไปได้
4. ควรสังเกตผู้ถูกศึกษาในขณะทากิจกรรมปกติ เช่น ขณะทากิจกรรมในกลุ่ม
หรือกาลังนั่งดูการแข่งขันกีฬา เป็นต้น เพราะพฤติกรรมปกติย่อมมีความสาคัญกว่า
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เฉพาะ และจะช่วยให้ผู้ศึกษาสังเกตสามารถทานาย
พฤติกรรมของเขาในอนาคตได้ดีที่สุด เช่น ในสถานการณ์ปกติ ภายในห้องทางานและ
ห้องพักผ่อน ขณะที่ทากิจกรรมกับเพื่อนตามปกติ เพราะในสถานการณ์ปกติจะทาให้เห็น
พฤติกรรมและตัวตนของเขาอย่างชัดเจน
5. สังเกตเป็นระยะเวลายาวนาน ผู้สังเกตจาเป็นต้องใช้เวลาสังเกตผู้ถูกศึกษาเป็น
ระยะเวลาหลาย ๆ วัน เพราะมนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ในแต่ละวันแตกต่างกันไป บางวันที่มี
เหตุการณ์ทาให้กลัวบางวันจะตื่นเต้นดีใจ หรือบางวันอาจจะเศร้าเสียใจ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้
ล้วนเป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลงในภาวะปกติทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ทาการสังเกตพึงจะต้อง
ระลึกถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ จึงต้องสังเกตให้นานพอสมควร อาจจะเป็นระยะเวลานานถึง
202
3 เดือน หรือ 1 ภาคเรียน แล้วจึงนาผลการสังเกตที่ได้บันทึกไว้มาพิจารณาลงความเห็น
เกี่ยวกับบทสรุปพฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับของเขาที่แสดงออกเสมอ
6. การสังเกตจะต้องพยายามสังเกตบุคคลอื่นด้วย ในการสังเกตไม่ควรสังเกต
เฉพาะผู้ที่ถูกศึกษาเท่านั้น เพราะอาจทาให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว
7. สังเกตผู้ถูกศึกษาในสถานการณ์วิกฤติซึ่งผิดแผกไปจากสถานการณ์ปกติบ้าง
เพราะบางทีอาจจะช่วยให้ผู้สังเกตทราบข้อมูลบางอย่างที่อยู่ในตัวเขาหรือทราบบุคลิกภาพ
ของเด็กที่แท้จริงบางประการได้
8. สังเกตผู้ถูกศึกษานั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการกระทาหรือพฤติกรรม
ของเขาที่มองเห็น การมองเห็นนั้นบางครั้งอาจจะมองเห็นบิดเบือนจากความเป็นจริงได้ จึง
ควรมี ผู้สังเกตหลาย ๆ คน จะเป็นการช่วยป้องกันข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดความลาเอียง
หรืออคติของ ผู้สังเกต เพราะผู้สังเกตคนหนึ่งอาจจะมองไม่เห็นความสาคัญของ
พฤติกรรมนั้นจึงไม่บันทึกไว้ แต่สาหรับผู้สังเกตอีกคนหนึ่งคิดว่าสิ่งที่ตนมองเห็นมี
ความสาคัญจึงจดบันทึกไว้โดยละเอียด เมื่อผู้สังเกตมีการประชุมกันและนาบันทึกเกี่ยวกับ
พฤติกรรมนั้นมาช่วยกันในการพิจารณาแบบบันทึกที่แท้จริงของเขา จะทาให้ได้ข้อมูลที่
ละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้น
9. ควรสังเกตพฤติกรรมด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวในการสังเกตแต่ละครั้ง
เช่น ความสามารถในการทางาน ทักษะในการเข้าสังคม บุคลิกภาพเฉพาะตัว การควบคุม
อารมณ์ เป็นต้น ซึ่งผู้ศึกษาหรือผู้สังเกตกาหนดลงไปให้ชัดเจนว่าจะสังเกตเขาในด้านใด จะ
ช่วยให้ผู้สังเกตไม่เกิดความสับสน และจะช่วยให้เกิดความแม่นยาในการสังเกตมากยิ่งขึ้น
10. ผู้สังเกตจะต้องพยายามฝึกฝนตนเองไม่ให้เกิดความลาเอียง ต้องทาใจให้
เที่ยงตรงที่สุดในการสังเกต และไม่ใช้เจตคติหรือใช้ความคิดเห็นของตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง
เลย เช่น การมีรูปร่างหน้าตาสวยหรือหล่อ แต่งกายสะอาด สิ่งเหล่านี้อาจจะมีอิทธิพลต่อ
การสังเกตได้
11. การสังเกตที่มีประโยชน์และคุณค่า ควรมีการบันทึกการสังเกต ไว้อย่างถูกต้อง
เพื่อเป็นหลักฐานในการคิดค้นหาสาเหตุแห่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และคิดหาทางช่วยเหลือ
เด็กให้ได้ต่อไป เพราะถ้าสังเกตแล้วไม่ได้บันทึกและให้ข้อมูลได้ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียด
พอ ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ การสังเกตก็ไร้คุณค่า
12. การสังเกตที่ดีจะต้องตรวจสอบผลที่ได้ด้วยเครื่องมือวัดที่แน่นอนชนิดอื่นๆ
ประกอบเสมอ ทั้งนี้เพราะทาให้ได้ข้อมูลที่มีความเชื่อมั่นได้มากขึ้น
13. ควรสังเกตผู้ถูกศึกษาหลาย ๆ ครั้งในสถานการณ์ที่ต่างกัน เช่น ในขณะอยู่ใน
ห้องรับแขก ในโรงอาหาร หรือในห้องทางาน ให้ครอบคลุมสถานที่ที่บ้านและชุมชน สังเกต
203
เขาที่อยู่กับคนอื่นที่มีอายุน้อยกว่า และคนที่มีอายุมากกว่า เพื่อช่วยให้เห็นพฤติกรรมที่
แท้จริงของเขา
14. ผู้สังเกตต้องระลึกอยู่เสมอว่า การสังเกตเพียงครั้งเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการที่
จะช่วยให้เกิดการรู้และเข้าใจเขาได้อย่างถูกต้อง และตรงกับความเป็นจริง จึงต้องสังเกต
หลาย ๆ ครั้ง เพื่อนาข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บสะสมได้นั้น มาประมวลกันเข้าจึงจะช่วยให้เข้าใจ
เขาได้อย่างถูกต้องแม่นยา
4. เทคนิคที่ใช้ในการสังเกต
เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในการสังเกต ผู้สังเกตควรมีเทคนิคที่จะนามาใช้ใน
การสังเกต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะก่อนการสังเกต
1.1 ก่อนสังเกตผู้สังเกตต้องเตรียมตัวโดยการศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับ
การสังเกตก่อนล่วงหน้าตามลาดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.1.1 กาหนดวัตถุประสงค์ในการสังเกตให้ชัดเจนว่าจะสังเกตในเรื่องอะไร
1.1.2 ในการสังเกตนั้นจะสังเกตในด้านใดบ้าง
1.1.3 จะต้องเตรียมการบันทึกการสังเกตอย่างเป็นระเบียบ เช่น ใช้ระเบียน
พฤติการณ์เพื่อจะรวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วน รวดเร็ว และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่
ตั้งไว้
1.1.4 หากจาเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกตต้องเตรียมเครื่องมือที่
ใช้ในการสังเกตให้พร้อมด้วยและควรศึกษาด้วยว่าเครื่องมือที่ใช้ควรเป็นเครื่องมือชนิดใดที่
เหมาะสมในการสังเกตแต่ละเรื่อง และแต่ละด้าน
1.2 ผู้สังเกตต้องเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อมในเรื่องต่อไปนี้
1.2.1 การเตรียมระเบียนพฤติการณ์ หรือแบบบันทึกการสังเกตให้ละเอียด
เพื่อให้ครอบคุลมพฤติกรรมการสังเกตให้มากที่สุด และทาให้เสียเวลาในการบันทึกน้อย
ที่สุด
1.2.2 การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่คาดว่าจะใช้ในการสังเกต เช่น กล้อง
ถ่ายรูป หรือเครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น ตรวจสอบสภาพให้พร้อมก่อนที่จะใช้งาน และให้มี
ภาพและเสียงอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพดี
1.3 ผู้สังเกตต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะไปสังเกตในเบื้องต้น เพราะความรู้
เบื้องต้นจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ได้พบเห็นเร็วขึ้น นอกจากนี้จะทาให้เกิดความสะดวกต่อ
การตีความหมายของพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น
204
1.3.1 การศึกษาเรื่องที่จะออกไปสังเกตว่าจะให้ข้อมูลได้เพียงพอที่จะให้
เกิดความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของรายกรณีที่ศึกษาหรือไม่
1.3.2 การศึกษาถึงเรื่องที่จะไปสังเกตว่ามีลักษณะอาการอย่างไรที่แสดง
ถึงความสาคัญมากหรือน้อย ลักษณะอาการอย่างไรที่แสดงถึงความผิดปกติเหล่านี้
เป็นต้น
2. ระยะที่ทาการสังเกต
2.1 ผู้สังเกตต้องทาการสังเกตเฉพาะเรื่องตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้เท่านั้น และ
พยายามตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อจะได้ประเด็นที่ตรงกับพฤติกรรมที่ต้องการ และไม่
เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ ประการสาคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องหาเวลาบันทึกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ
การสังเกตไว้พอสังเขปด้วย
2.2 ผู้สังเกตต้องมีการสังเกตรายกรณีที่ถูกศึกษาหลายสถานการณ์ และ
หลาย ๆ ครั้ง โดยมีระยะเวลาที่สังเกตต่อเนื่องกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเชื่อมั่น
2.3 ผู้สังเกตต้องรักษาความเที่ยงตรงในการสังเกตและบันทึกการสังเกตตาม
พฤติกรรมที่มองเห็นทุกประการ โดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็นหรืออคติลงไปในบันทึกนั้น และ
นอกจากนี้ต้องพยายามมองแง่ดีไว้ก่อนเสมอ
2.4 ผู้สังเกตต้องสังเกตอย่างมีระบบระเบียบ คือ มีลาดับขั้นตอนในการสังเกต
และต้องสังเกตอย่างละเอียดทุกแง่มุม
2.5 ในกรณีที่ผู้สังเกตต้องใช้เครื่องมือในการบันทึกการสังเกต ต้องดาเนินการ
ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบทุกครั้ง และพยายามบันทึกสิ่งที่สังเกตให้ละเอียด
2.6 ในกรณีที่ผู้สังเกตจะเข้าไปร่วมในกิจกรรมกับผู้ถูกสังเกต และสังเกตไป
ด้วยในขณะเดียวกัน ผู้สังเกตจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้สึกว่าเป็น
กันเอง
5. พฤติกรรมที่ควรสังเกต
เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายกรณีที่ถูก
ศึกษาด้วยวิธีการสังเกต ผู้สังเกตควรเลือกพฤติกรรมที่จะให้ข้อมูลได้อย่างชัดเจนและ
สะดวกใน การสังเกตดังต่อไปนี้
1. พฤติกรรมที่มีการทาซ้า ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะพฤติกรรมดังกล่าวนี้จะแสดง
ถึงอุปนิสัยใจคอ หรือคุณลักษณะของรายกรณีที่ถูกศึกษาเป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งที่ได้จาก
พฤติกรรมนี้ย่อมช่วยให้ผู้สังเกตเกิดความเข้าใจในบุคลิกภาพเฉพาะตนของผู้ถูกสังเกต
205
2. พฤติกรรมที่แปลกไปจากธรรมชาติ หรือเป็นการกระทาที่เกิดขึ้นโดยมิได้
คาดหมายมาก่อน เช่น ปกติจะมีท่าทางคล่อง กระฉับกระเฉง แต่กลับกลายเป็นคนซึม ไม่
กระตือรือร้น แสดงอาการเบื่อหน่าย จนเปลี่ยนไปเป็นคนละคน
3. พฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เต็มใจ หรือไม่สามารถเผชิญกับ
สถานภาพตามความเป็นจริง เช่น ไม่ยอมรับว่าคนที่ตนรักได้เสียชีวิตไปแล้ว และยังคง
แสดงให้เห็นว่ายังมีกิจกรรมร่วมกับเขาอยู่
4. พฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับที่แท้จริง ผู้สังเกตจะทราบได้จากพฤติกรรมที่ราย
กรณีแสดงออกมาในสถานการณ์ที่เป็นปกติ ซึ่งสามารถสังเกตในโอกาสต่าง ๆ ได้
ตลอดเวลา แต่ถ้าได้สังเกตในสถานที่ต่าง ๆ กันไปก็จะทาให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ในการที่จะทา
ให้ได้พฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับที่แท้จริงของเขานั้น ผู้สังเกตจะต้องแน่ใจว่าสถานการณ์
และกิจกรรมที่ทาหรือร่วมกระทาอยู่นั้นไม่แตกต่างจากปกติ
5. พฤติกรรมทางสังคม ทางอารมณ์ และทางด้านอื่น ๆ ที่เป็นในแนวทางที่
เกี่ยวกับความก้าวหน้าของรายที่ถูกศึกษา เช่น การแสวงหาความพอใจเมื่อได้รับคาชมเชย
เป็นต้น
6. องค์ประกอบทางด้านกายภาพ เช่น รูปร่างหน้าตา ความสะอาด สุขภาพ
อนามัย การขาดสารอาหาร ความบกพร่องทางการได้ยิน ความบกพร่องทางการพูด
ความบกพร่องทางการมองเห็น และความบกพร่องทางด้านร่างกายอื่น ๆ ที่อาจสังเกตเห็น
ได้ยาก ที่ต้องได้รับ การวินิจฉัยจากแพทย์และพยาบาลก็ควรได้รับการสังเกต
7. ความสามารถในการเรียนและอุปนิสัยในการทางาน เช่น ความสามารถใน
การอ่านอย่างรวดเร็วและการเข้าใจความหมาย ความสามารถในการคิดคานวณตัวเลข
ความสามารถในการคิดได้อย่างแจ่มชัดและถูกต้อง ตลอดจนทักษะความสามารถพิเศษใน
ด้านศิลปะ การดนตรี หรือกีฬา ก็ควรได้รับการสังเกตเช่นเดียวกัน
8. การสังเกตที่สาคัญอื่น ๆ ได้แก่ ปฏิกิริยาของรายกรณีที่ถูกศึกษาเมื่อประสบกับ
ความยากลาบาก ความล้มเหลว ความสาเร็จ คอยสังเกตดูว่าเขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านี้
อย่างไร เช่น ความอึดอัด ความคับข้องใจ และจะต้องใช้เวลาในการสังเกตต่อไปใน
ช่วงเวลาหนึ่งจะเห็นวิธีการแก้ปัญหาของเขา เมื่อถึงจุดนี้ผู้สังเกตก็จะสามารถช่วยให้เขา
เรียนรู้ที่จะเผชิญกับความล้มเหลวอย่างมีแบบแผน โดยการรู้เท่าทันกับสิ่งนั้นมากกว่าที่จะ
เก็บมาเป็นความครุ่นคิดให้เกิดความวิตกกังวลใจ จนทาให้ไม่สบายใจได้
นอกจากพฤติกรรมที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการวิจัยที่เสนอแนะพฤติกรรมโดยทั่วไปที่
ผู้สังเกตควรทาการสังเกต คือ พฤติกรรมที่มีแนวโน้มทางบุคลิกภาพในทางบวก ได้แก่
206
ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการปรับตัว ความสัมพันธ์กับ
ผู้อื่น ความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นต้น
6. คุณค่าและประโยชน์ของการสังเกต
คุณค่าและประโยชน์ของการสังเกตในการเก็บข้อมูลของรายกรณีที่ถูกศึกษาจะมี
มากน้อยเพียงใดนั้นอยู่ที่ผู้ทาการศึกษาจะมีประสบการณ์หรือความชานาญหรือไม่เพียงใด
ถ้ามีการสังเกตด้วยคุณลักษณะดังกล่าวก็จะช่วยให้การสังเกตมีคุณค่าและประโยชน์หลาย
ประการดังต่อไปนี้
1. การสังเกตช่วยให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมอันแท้จริงของรายกรณีที่ถูกศึกษา
เพราะการสังเกตจะทาให้เขาไม่รู้สึกตัว ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงเป็นธรรมชาติ
ของเขาอย่างแท้จริง โดยปกติบุคคลที่รู้ตัวว่ามีคนมองอยู่หรือสังเกตอยู่เขาจะระวัง
อากัปกิริยาที่แสดงออกและจะปกปิดซ่อนเร้นความจริงบางประการก็ได้
2. การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการศึกษารายกรณีที่ไม่สามารถเก็บ
รวบรวม ข้อมูลได้จากวิธีการอื่น ในการศึกษารายกรณีนั้นแม้จะมีความพยายามและ
ความรอบคอบเพียงใดก็ตาม ผู้ทาการศึกษาคงไม่สามารถรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้
โดยสมบูรณ์ เพราะวิธีการต่าง ๆ ไม่ช่วยให้ทราบและเข้าใจรายละเอียดในทุกแง่มุม เช่น
การทาสังคมมิติ ให้ข้อมูลเพียงเห็นการมีความสัมพันธ์ทางสังคมของเขาเท่านั้น แต่ไม่
สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการแสดงออกทางอารมณ์ของเขา หรือการปรับตัวของเขาใน
ขณะที่อยู่ในกลุ่มเพื่อน เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องใช้การสังเกตเข้าช่วย เช่น สังเกตปฏิกิริยาของ
เขาที่มีต่อความสมหวังและผิดหวัง การรู้ถึงพฤติกรรมของเขาในขณะที่ทากิจกรรมกับกลุ่ม
ที่มีเพื่อนต่างเพศอยู่ด้วย ก็ไม่สามารถเก็บรวบรวมได้ จากเครื่องมือและวิธีการอื่น ๆ
3. การสังเกตเป็นการเลือกเฟ้น เนื่องจากผู้สังเกตไม่อาจรายงานการกระทาทุก
อย่างของรายกรณีที่ถูกศึกษาทั้งหมด เพื่อประหยัดเวลาและแรงงานของผู้ทาการศึกษา จึง
จาเป็นต้องเลือกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่คิดว่าสาคัญเท่านั้น และมีประโยชน์ต่อการเข้าใจเขา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้คาปรึกษา หรือให้ความช่วยเหลืออย่าง
ถูกต้องและเหมาะสม
4. การสังเกตช่วยให้ผู้สังเกตเกิดความงอกงาม เนื่องจากมีประสบการณ์ใน
การสังเกตแล้ว และหากได้มีการสังเกตเป็นรายกรณีที่ถูกศึกษารายอื่น ๆ ก็จะทาให้เกิด
ทักษะ ดังนั้นผลที่ได้นอกจากจะมีทักษะในการสังเกตดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เข้าใจบุคคลบาง
คนดียิ่งขึ้นอีกด้วย
207
5. การสังเกตช่วยทาให้ผู้ทาการศึกษาเข้าใจรายกรณีที่ถูกศึกษามากขึ้น จากข้อมูล
จะทาให้เกิดความเข้าใจในตัวของเขาอย่างแท้จริง จนทาให้สามารถพิจารณาแนวทางใน
การให้ความช่วยเหลือเขาได้ โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณและใช้เวลามากนัก เพราะวิธี
การสังเกตไม่ได้ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ นอกจากตาและหูเท่านั้น
7. ข้อจากัดในการสังเกต
การสังเกตเป็นเพียงกลวิธีหนึ่งที่ทาให้ผู้ศึกษารายกรณีได้ข้อมูลของรายกรณีที่ถูก
ศึกษา เพื่อทาให้เกิดความเข้าใจและหาแนวทางช่วยเหลือเขาได้ถูกต้องและเหมาะสม
อย่างไรก็ตามการสังเกตก็มีข้อจากัดบางประการที่ผู้ทาการศึกษาต้องตระหนักและต้อง
ระมัดระวังในการใช้กลวิธีการสังเกตดังต่อไปนี้
1. ผู้ทาการศึกษารายกรณีอาจจะได้ตัวอย่างพฤติกรรมของรายกรณีที่ถูกศึกษา
เป็นส่วนน้อย เนื่องจากการสังเกตทุก ๆ สิ่งที่เขาแสดงออกนั้นต้องใช้เวลามาก การสังเกต
ทุก ๆ สิ่งที่เขากระทาหรือพูดย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องตัดสินให้แน่ใจว่าพฤติกรรมอะไรบ้าง
ที่สาคัญที่ควรทาการสังเกต การที่จะทาให้ข้อสังเกตของผู้สังเกตเพียงคนเดียวได้รับ
ความเชื่อถือก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทาการศึกษาจึงควรขอให้บุคคลอื่นช่วยในการสังเกต ผลของ
การสังเกตจากผู้สังเกตหลาย ๆ คน นั้นนามารวบรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ ผู้ทา
การศึกษามองเห็นพฤติกรรมของรายกรณีที่ถูกศึกษาชัดเจนยิ่งขึ้น
2. ผู้สังเกตอาจจะมีความลาเอียงซึ่งจะทาให้เกิดความผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริง
อาจจะทาให้เกิดความล้มเหลวในการสังเกตได้ เนื่องจากผู้สังเกตที่ปล่อยให้เกิด
ความลาเอียงหรืออคติที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความรู้สึกส่วนตัว ก็มักจะทาให้การสังเกตอยู่
ในขอบเขตจากัด และมีผลทาให้พฤติกรรมที่ได้จากการสังเกตเกิดความผิดพลาดไปจาก
ความเป็นจริง ดังนั้นผู้ทาการศึกษาจะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้มีความเที่ยงตรงที่สุด
เท่าที่จะทาได้ ไม่ยึดถือเกี่ยวกับความเชื่อ เช่น มีความเชื่อว่าคนผอมจะเป็นคนเงียบเฉย ไม่
ค่อยแสดงออก จึงเป็นไปได้ที่ผู้สังเกตจะมองไม่เห็นคนผอมแสดงออก หรือการมีความรู้สึก
ที่ผู้สังเกตมีต่อผู้ถูกสังเกต เช่น ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีย่อมมีแนวโน้มทาให้ผู้สังเกตมองเห็นใน
ลักษณะที่ดี และมองข้ามลักษณะที่ไม่ดีไป
ดังนั้นการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตจึงต้องระวังอคติเหล่านี้ในการตีความ
การสังเกตรายกรณีที่ศึกษาต่าง ๆ จะต้องคานึงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบเหล่านี้ การมี
อคติในการสังเกตนั้นผู้ทาการสังเกตอาจไม่ทราบ นอกจากนี้การสารวจตัวเองอยู่เสมอ มี
การฝึก การสังเกตเสมอ จะสามารถลดความลาเอียงได้บ้าง ผู้สังเกตอาจจะควบคุมผลของ
208
การลาเอียงได้มากโดยการขจัดข้อความที่แสดงถึงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้สังเกตออก
จากบันทึกการสังเกต
3. ผู้สังเกตอาจจะไม่มีความแม่นยา หมายถึง อาจจะแปลความหมายของ
พฤติกรรมที่ได้จากการสังเกตอย่างผิด ๆ และความไม่ถูกต้องในการบันทึก อาจจะเป็น
ปัญหาหนึ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ในการสังเกต เพื่อการขจัดความไม่แม่นยาให้หมดไป เมื่อมี
ข้อสังเกตใดที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมโดยทั่วไปของรายกรณีที่ถูกศึกษา ผู้ทาการศึกษา
ต้องทาการตรวจสอบต่อไปอีก เช่น มีการพูดคุยกัน การเพิ่มระยะเวลาในการศึกษามากขึ้น
การกาหนดสถานการณ์ใน การสังเกต หรือ พฤติกรรมให้เฉพาะลงไปอีก เป็นต้น
4. ผู้สังเกตอาจจะมีความลาบากในการที่จะทาให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนสังเกต
เนื่องจากการบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นนั้นต้องอาศัยการเขียนบรรยายจึงอาจจะทาให้เกิด
ความรู้สึกยากลาบากในการที่จะบรรยายสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ละเอียดได้ ผู้ทา
การศึกษาจึงมักเขียนรายงานเฉพาะพฤติกรรมที่รายกรณีที่ถูกศึกษาแสดงออกมาเท่านั้น
เพื่อช่วยให้คนอื่นเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองการสังเกต จึงควรเขียนเหตุการณ์พร้อม
สถานการณ์และพฤติกรรมที่สังเกตเห็นให้รายละเอียดมากที่สุด ผู้สังเกตที่ได้รับการฝึกฝน
มาแล้วเป็นอย่างดี จะสามารถบันทึกรายละเอียดที่สาคัญ ๆ ซึ่งจะช่วยให้มีการตีความ
เหตุการณ์นั้นได้ถูกต้องด้วย
8. ข้อคานึงถึงในการบันทึกการสังเกต
การบันทึกการสังเกตเพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์และเพื่อให้รายงานการสังเกตมี
ความแม่นยา เที่ยงตรง เชื่อถือได้ ผู้สังเกตควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรดาเนินการบันทึกทีหลังจากที่ได้ทาการสังเกตเสร็จแล้วทุกครั้ง เพราะถ้า
ปล่อยทิ้งไว้ให้นานผู้สังเกตอาจจะลืมข้อมูลหรือรายละเอียดบางอย่างของเหตุการณ์ได้
2. ควรทาการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาไม่ควรเพิ่มเติม
ความคิดเห็นลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมของรายกรณีที่แสดงออกมา
3. ควรบันทึกเหตุการณ์ทั้งในด้านดีและด้านไม่ดีของผู้ถูกสังเกต เพื่อช่วยให้
มองเห็นบุคลิกภาพที่แท้จริงของรายกรณี
4. ควรรวบรวมผลการสังเกตพฤติกรรมของรายกรณีที่ถูกศึกษาเอาไว้ให้มาก ๆ
ก่อนที่จะตีความสรุปเป็นข้อยุติเกี่ยวกับตัวเขา
209
5. ข้อเสนอแนะที่ผู้สังเกตให้เอาไว้อาจจะมีในเรื่องเกี่ยวกับการช่วยเหลือรายกรณี
ที่ถูกศึกษาและควรจะได้เขียนแยกออกไปอีกตอนหนึ่งจากพฤติกรรมของเขา เพื่อป้องกัน
การเข้าใจผิดจากบุคคลอื่น ๆ ที่มาอ่านรายงานการสังเกต
9. ลักษณะของผู้สังเกตที่ดี
การสังเกตจะได้รับความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ เมื่อผู้สังเกตใช้กลวิธีการสังเกต
ตาม หลักการที่ถูกต้อง นอกจากนี้ผู้สังเกตควรเพิ่มความสามารถและพัฒนาลักษณะที่
เหมาะสมดัง ต่อไปนี้
1. ผู้สังเกตต้องเป็นคนช่างสังเกตและมีความละเอียดรอบคอบ ในเวลาที่มองอะไรก็
ต้องมองให้ละเอียด ไม่มองผ่านตาไปเฉย ๆ นอกจากนี้การสังเกตต้องให้ผู้ถูกสังเกตอยู่ใน
ลักษณะที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุดโดยที่เขาไม่รู้ตัว
2. ผู้สังเกตต้องมีความเฉลียวฉลาดและไหวพริบ ต้องทราบว่าสิ่งไหนควรทา
การสังเกตหรือไม่ควรเสียเวลาไปโดยไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นมาเลย
3. ผู้สังเกตต้องมีประสบการณ์และผ่านการอบรมพร้อมได้รับการฝึกฝนด้วยเป็น
อย่างดี เพราะการขาดประสบการณ์และฝึกฝนมาน้อย จะทาให้เข้าใจเหตุการณ์หรือ
พฤติกรรมที่ต้องทาการสังเกตและข้อมูลที่ได้มานั้นคลาดเคลื่อนไป
4. ผู้สังเกตต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องที่จะทาการสังเกต
และต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมในด้านความรู้และเครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนกลวิธีสังเกต
มีการวางแผนอย่างรอบคอบ มีระบบที่ดีอย่างต่อเนื่อง
5. ผู้สังเกตต้องมีความจาค่อนข้างดีเพราะต้องจดจาในพฤติกรรมที่เห็นตลอดเวลา
ที่ทาการสังเกต แล้วจึงจะทาการบันทึกหรือทาระเบียนพฤติการณ์ได้ ถ้าความจาไม่ดีก็
อาจจะลืมและทาให้ผลการสังเกตไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร
6. ผู้สังเกตต้องเป็นคนชอบการจดบันทึกและมีการจดบันทึกผลการสังเกตได้อย่าง
ละเอียดครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด จึงควรต้องมีการเตรียมการ หรือการวางแผนล่วงหน้าใน
เรื่องการออกแบบบันทึก และมีการกาหนดเครื่องมือที่คาดว่าจะใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้
ได้ผลที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
7. ผู้สังเกตต้องมีความสุภาพอ่อนน้อม พูดจาดี มีสัมมาคารวะ ปรับตัวได้ดี และมี
มนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะต้องเข้าไปร่วมสังเกตกับบุคคลอื่น
8. ผู้สังเกตต้องมีความกระตือรือร้น แสดงให้เห็นว่ามีความใฝ่รู้และต้องการพัฒนา
ตนเองในการศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา
210
9. ผู้สังเกตที่ดีต้องไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวในการตัดสินใจทางาน แต่ตัดสิน
จากการใช้เหตุผลเป็นเกณฑ์
10. ผู้สังเกตต้องมีความเป็นกลาง ไม่ลาเอียง หรือมีอคติ และต้องพร้อมที่จะ
ยอมรับการเปลี่ยนความคิดเดิม เมื่อมีเหตุผลใหม่ที่เหมาะสมกว่า
11. ผู้สังเกตต้องมีสุขภาพดี มีความอดทนสูง เพราะต้องมีการรอคอย ซึ่งอาจจะใช้
เวลานานกว่าที่คาดคิดไว้ นอกจากนี้ต้องมีความอดทนต่อการเริ่มสังเกตใหม่ หากเกิด
ความผิดพลาด หรือไม่ประสบผลสาเร็จในครั้งแรก
12. ผู้สังเกตต้องเป็นผู้มีประสาท ตา หู และประสาทอื่น ๆ ดี มีความรู้ทั่วไปอย่าง
กว้างขวาง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักพลิกแพลงเพื่อความเหมาะสมจะก่อประโยชน์
ได้มากขึ้น และสามารถแยกแยะสิ่งสาคัญหรือไม่สาคัญออกจากกันได้
13. ผู้สังเกตต้องมีความสามารถแปลความหรือตีความหมายของพฤติกรรม หรือ
วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตได้อย่างเหมาะสม ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
และสามารถที่จะสรุปข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องชัดเจน
10. การบันทึกการสังเกต
การบันทึกการสังเกตควรรีบจัดทาหลังการสังเกตได้เสร็จสิ้นลงแล้วเป็นการบันทึก
เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวรายกรณีที่ถูกศึกษาต่อไป การบันทึกการสังเกตมีการจาแนก3
แบบคือ
1. แบบพรรณาความ (Behavior Description) เป็นการจดบันทึกเรื่องราวเป็น
ถ้อยคาตามที่ผู้สังเกตพบเห็น การบันทึกสังเกตแบบนี้ผู้สังเกตต้องถามตนเองว่าจะบันทึก
อะไรบ้าง และจะบันทึกอย่างไร ไม่ว่าผู้สังเกตจะเขียนบันทึกในลักษณะใดก็ตาม สิ่งที่ต้อง
บันทึก ได้แก่
1.1 พฤติกรรมที่เด็กชอบแสดงออกในสถานการณ์นั้น ๆ
1.2 ความหมายของพฤติกรรมนั้น ๆ
1.3 ข้อเสนอแนะที่ผู้สังเกตอาจจะมีในการช่วยเหลือเด็กหรือแก้ไขพฤติกรรมนั้น
1.4 ในการบันทึกเรื่องราวแต่ละคนควรบันทึกแยกกัน เพราะถ้าเขียนปะปนกัน
แล้วอาจจะทาให้ผู้อื่นมาอ่านรายงานการสังเกตเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของ
เด็กที่แสดงออกมาได้
2. การบันทึกการสังเกตโดยการใช้ระเบียนพฤติการณ์ หมายถึง ระเบียบที่บันทึก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะเป็นครั้งคราว
211
3. การบันทึกการสังเกตโดยการใช้เครื่องมือมาตราส่วนประมาณค่า เป็นวิธี
การบันทึกการสังเกตโดยการประเมินผลของผู้สังเกต เป็นการตัดสินว่ารายกรณีที่ถูกศึกษา
ที่ครูทาการสังเกตโดยการประเมินผลของผู้สังเกต ว่ามีคุณลักษณะที่ครูต้องการสังเกต
มากน้อยเพียงไร
แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแบบฟอร์มการสังเกตแบบพรรณความเพื่อให้เห็นเป็น
แนวทางในการบันทึกการสังเกต รูปแบบการสังเกตความจริงแล้ว ผู้สังเกตสามารถ
ออกแบบเองได้เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และการบันทึกที่สะดวกให้ได้ข้อมูลตามที่
ต้องการ และสะต่อการใช้งานได้รับข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการศึกษา แต่อย่างไร
ก็ตามรูปแบบการสังเกต ควรจะมีข้อมูลพื้นฐานที่ครบถ้วน จุดประสงค์ชัดเจน และมีหัวข้อ
ที่จาเป็น เพื่อให้การสังเกตมีความสมบูรณ์ที่สามารถนาข้อมูลไปใช้ในอนาคตได้จริง ดัง
ตัวอย่างรูปแบบการบันทึกการสังเกตเชิงพรรณนาความต่อไปนี้
ตัวอย่างแบบบันทึกการสังเกตแบบพรรณนาความ
บันทึกการสังเกต
ครั้งที่……..
ชื่อ – สกุล ผู้ถูกสังเกต………………………………………..………… โรงเรียน ………………………………………
วันที่……………… เดือน …………………………… พ.ศ. ……………….……….. เวลา …………………น.
สถานที่สังเกต
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………….…
กิจกรรม………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………..…………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………....
วัตถุประสงค์การสังเกต
1. ………………………………………………………….……………………………………..………………………..
2. ……………………………………………………………………………………………………………………….….
3. ……………………………………………………………………………………………..……………………………
4. ……………………………………………………………………………………………………………………………
212
พฤติกรรมที่แสดงออก
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
การตีความหมายของพฤติกรรม
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ข้อเสนอแนะของผู้สังเกตในการให้คาปรึกษาและการช่วยเหลือ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สรุปผลการสังเกต
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………ผู้สังเกต
(………..………………………….)
ตาแหน่ง………..………………………………….
วัน........... เดือน................... ปี............
213
11. การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย
การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยมีความสาคัญเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่ง
จะต้องเริ่มต้นให้ดีเป็นพิเศษ เพราะว่าเป็นระยะนิสัยต่าง ๆ ของเด็กกาลังเริ่มตั้งต้น
พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในระยะนี้นาน ๆ เข้าจะกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเด็กจนโต ดังนั้น
การดาเนินการแก้ไขจะต้องรีบทาในระยะเริ่มต้น ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมใดที่เด็กแสดงออก
ในทางที่ไม่ดีงามควรได้แก้ไขเสียตั้งแต่เริ่มต้นนี้ ครูปฐมวัยจะต้องรู้จักสังเกตเด็ก ไม่ควรมุ่ง
สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว ควรจะได้ศึกษาเด็กเพื่อเข้าใจเด็กและช่วยพัฒนาให้ดีขึ้นก่อนที่
จะสายเกินแก้ ดังนั้น ครูปฐมวัยจึงจาเป็นต้องทราบถึงข้อดีข้อเสียในการสังเกตเด็ก
ตลอดจนวิธีการสังเกตเด็กเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2539 : 354 – 356)
ประโยชน์ของการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
การศึกษาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยมีประโยชน์ทั้งต่อตัวเด็กโดยตรง ต่อครูผู้สอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกตจะทาให้ผู้สอนมีข้อมูลที่สามารถนาไปใช้ใน
การส่งเสริมพัฒนาเด็ก หรือนาไปแก้ปัญหาให้กับเด็กปฐมวัยได้ตรงกับสภาพจริงในเรื่องนี้
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (2539 : 345) ได้กล่าว ถึงประโยชน์ ของการสังเกต
พฤติกรรมเด็กดังนี้
1. ครูปฐมวัยได้ศึกษาเกี่ยวกับเด็กในสภาพที่การกระทาของเด็กเป็นไปตาม
ธรรมชาติมากกว่าเสแสร้งเพราะครูปฐมวัยสังเกตเด็กตลอดเวลาทั้งเวลาเล่นและทางาน
นับตั้งแต่เช้าเด็กเข้าสถานศึกษาตลอดจนถึงเวลาเด็กกลับบ้านในเวลาเย็น
2. การสังเกตเป็นวิธีการที่สามารถนาไปใช้กับเด็กทุกสภาพการณ์และกับเด็กทุก
ระดับอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนเด็กเล็กจนถึงวัยรุ่น
3. วิธีสังเกตโดยไม่ใช้เครื่องมือใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นพิเศษ เพียงแต่ใช้ความสนใจ
ความสามารถในตัวครูปฐมวัยเองและต้องใช้เวลาด้วย
4. ครูปฐมวัยสามารถสังเกตเห็นผลของความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ
เด็กได้ พฤติกรรมของเด็กจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมซึ่งมีทั้งคน สถานที่ และ
เหตุการณ์
5. ครูปฐมวัยมีโอกาสศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เมื่อครูได้สังเกต
เด็กแล้วศึกษาหาสาเหตุ จะทราบได้ว่าพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเช่นนี้มีสาเหตุซึ่งเป็นที่มา
214
ทาให้ปรากฏผลให้เห็น เมื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลจะช่วยให้การแก้ปัญหา
ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้การสังเกตได้ข้อเท็จจริงเร็วขึ้น
6. การสังเกตมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจของครูปฐมวัยเกี่ยวกับความประพฤติ
ของเด็ก และทาให้เกิดความเข้าใจในตัวเด็กดีขึ้น
7. วิธีการสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลบางประการซึ่งไม่สามารถจะหามาได้โดยวิธีอื่น ๆ
8. การสังเกตเด็กเป็นระยะเวลานาน ๆ หลาย ๆ วัน หลายสัปดาห์ หลายเดือนแล้ว
มีการบันทึกพฤติกรรมของเด็กไว้ จะช่วยให้ครูปฐมวัยได้รับประโยชน์ในการศึกษา
พัฒนาการเด็ก
ดังนั้นในการสังเกตเด็กปฐมวัยนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย มิใช่จะมีข้อดีเพียงอย่าง
เดียว เพื่อให้ครูปฐมวัยโดยระมัดระวังในเรื่องการสังเกตพฤติกรรมเด็กให้ประสบผลสาเร็จ
ที่สมบูรณ์ จึงควรทราบข้อเสียในการสังเกตเด็กปฐมวัยไว้ดังต่อไปนี้คือ
ข้อควรระวังในการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
1. การศึกษาเด็กโดยวิธีการสังเกตจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความชานาญของ
ผู้สังเกตก่อนที่จะปฏิบัติได้ผลดีจริง ๆ ผู้สังเกตจะต้องมีประสบการณ์มากพอสมควรและ
เคยศึกษาเด็กโดยวิธีสังเกตจะต้องมีประสบการณ์มากพอสมควรและเคยศึกษาเด็กโดยวิธี
สังเกตมาแล้วเป็นระยะเวลายาวนาน
2. การสังเกตพฤติกรรมเด็กเป็นวิธีใช้เวลามากและต้องทาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
หลายวัน หลายสัปดาห์ และหลายเดือน เพื่อให้ได้ผลอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงต้องเสียเวลา
รอคอยเป็นเวลายาวนาน
3. ผู้สังเกตจะต้องทาใจเป็นกลางและมีความยุติธรรมในการพิจาณาผลจาก
การสังเกต ถ้าผู้สังเกตมีอคติอยู่ก่อนแล้วก็จะทาให้ผลจากการสังเกตนั้นไขว้เขวและ
คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้
เมื่อครูปฐมวัยได้ทราบถึงประโยชน์และข้อควรระวังในการสังเกตพฤติกรรมของ
เด็กปฐมวัยแล้ว ก็ควรจะได้ศึกษาหาวิธีการที่จะช่วยให้สังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย
ได้ผลดีต่อไป การรู้จักเด็กแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งจาเป็นที่สุด ครูปฐมวัยควรศึกษาและทา
ความเข้าใจเด็กแต่ละบุคคลเป็นราย ๆ ไป เด็กทุกคนไม่มีใครเหมือนใคร มักจะแตกต่างกัน
เป็นรายบุคคล ควรสืบถึงประวัติครอบครัว พ่อแม่ สิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นครูปฐมวัย
จะต้องเป็นคนช่างสังเกตถึงเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของเด็กที่น่าสังเกตซึ่งพอจะสรุปได้
ดังต่อไปนี้
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55
บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
pacharawalee
 
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
Decode Ac
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
Yanee Chaiwongsa
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
Gob Chantaramanee
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
สมศรี หอมเนียม
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
พัน พัน
 
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
Maikeed Tawun
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
ssuser858855
 
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
NU
 

La actualidad más candente (20)

แบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงานแบบประเมินผลชิ้นงาน
แบบประเมินผลชิ้นงาน
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
บทที่ 7 พัฒนาการเด็ก และความต้องการของเด็ก 55
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
ประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัยประวัติผู้วิจัย
ประวัติผู้วิจัย
 
เพลงนันทนาการ
เพลงนันทนาการเพลงนันทนาการ
เพลงนันทนาการ
 
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา   พาสะอาดโครงงานจิตอาสา   พาสะอาด
โครงงานจิตอาสา พาสะอาด
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป4
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป4แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป4
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด มาตราตัวสะกด ป4
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียนแบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
แบบประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมต่อต้านยาไอซ์ในโรงเรียน
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงาน
 
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการแบบประเมินทักษะกระบวนการ
แบบประเมินทักษะกระบวนการ
 
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
เฉลยแบบฝึกหัดหน่วยที่ 4
 
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
แบบฝึกหัดการหาสัดส่วนจีโนไทป์ฟีโนไทป์
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
๒การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษา
 

Destacado

Destacado (6)

แบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆแบบประเมินต่างๆ
แบบประเมินต่างๆ
 
แบบบันทึกพฤติกกรรม 2556
แบบบันทึกพฤติกกรรม 2556แบบบันทึกพฤติกกรรม 2556
แบบบันทึกพฤติกกรรม 2556
 
สังเกตชั้นเรียน
สังเกตชั้นเรียนสังเกตชั้นเรียน
สังเกตชั้นเรียน
 
ข้อมูลนิเทศการสอนแทปเล็ต รร บ้านเวียงหงษ์ล้านนา
ข้อมูลนิเทศการสอนแทปเล็ต รร บ้านเวียงหงษ์ล้านนาข้อมูลนิเทศการสอนแทปเล็ต รร บ้านเวียงหงษ์ล้านนา
ข้อมูลนิเทศการสอนแทปเล็ต รร บ้านเวียงหงษ์ล้านนา
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
 
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
เกณฑ์การประเมินรูบริคส์
 

Similar a บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55

บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
nan1799
 
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
nan1799
 
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
Bert Nangngam
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
maymymay
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
maymymay
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
maymymay
 
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกตศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
orawan chaiyakhan
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
pajyeeb
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
pajyeeb
 
บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑
Tuk Diving
 
การแบ่งส่วนตลาด1
การแบ่งส่วนตลาด1การแบ่งส่วนตลาด1
การแบ่งส่วนตลาด1
Sarawut Messi Single
 
เบนด รา 2 เสร จ
เบนด รา 2 เสร จเบนด รา 2 เสร จ
เบนด รา 2 เสร จ
sofia-m15
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
Rorsed Mardra
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
Sasipron Tosuk
 

Similar a บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55 (20)

บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
 
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
บทที่ 8 การวัดเเละการประเมินผลการเรียนรู้
 
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
บทที่8การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
การวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผลการวัดผลและประเมินผล
การวัดผลและประเมินผล
 
บทที่๘
บทที่๘บทที่๘
บทที่๘
 
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกตศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
ศาสตราจารย์บันดูรา การเรียนรู้โดยการสังเกต
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
Metacognition
MetacognitionMetacognition
Metacognition
 
บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑บทที่5 ส่วนที่ ๑
บทที่5 ส่วนที่ ๑
 
การแบ่งส่วนตลาด1
การแบ่งส่วนตลาด1การแบ่งส่วนตลาด1
การแบ่งส่วนตลาด1
 
บทที่๘
บทที่๘บทที่๘
บทที่๘
 
บทที่๘
บทที่๘บทที่๘
บทที่๘
 
เบนด รา 2 เสร จ
เบนด รา 2 เสร จเบนด รา 2 เสร จ
เบนด รา 2 เสร จ
 
เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1เฟียเจท์ 1
เฟียเจท์ 1
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 

Más de Decode Ac

บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
Decode Ac
 
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
Decode Ac
 
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
Decode Ac
 
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
Decode Ac
 
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
Decode Ac
 
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
Decode Ac
 
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
Decode Ac
 

Más de Decode Ac (10)

บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
บทที่ 10 บุคลิกภาพของครูปฐมวัย 55
 
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
บทที่ 6 การจัดการศึกษาปฐมวัยในปัจจุบัน 55
 
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
บทที่ 5 ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกาปฐมวัยในประเทศไทย 55
 
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
บทที่ 4 การจัดการศึกษาปฐมวัยในเอเชีย 55
 
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
 
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีของนักการศึกษา 55
 
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
บทที่ 1 ความรู้พื้นฐาน ความหมาย ความสำคัญ 55
 
Chapter 3
Chapter 3Chapter 3
Chapter 3
 
Chapter 2
Chapter 2Chapter 2
Chapter 2
 
Chapter 1
Chapter 1Chapter 1
Chapter 1
 

บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก 55

  • 1. บทที่ 8 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก แผนการเรียนรู้ประจาบท 1. จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้เข้าใจความหมาย และความสาคัญของการสังเกต 2. เพื่อให้เข้าใจประเภทของการสังเกต 3. เพื่อให้เข้าใจเทคนิควิธีการสังเกตพฤติกรรมเด็ก 4. เพื่อให้สามารถสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยได้ 2. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของการสังเกต 2. ประเภทของการสังเกต 3. หลักในการสังเกต 4. เทคนิคที่ใช้ในการสังเกต 5. พฤติกรรมที่ควรสังเกต 6. คุณค่าประโยชน์และการสังเกต 7. ข้อจากัดของการสังเกต 8. ข้อควรคานึงในการสังเกต 9. ลักษณะของผู้สังเกตที่ดี 10. การบันทึกการสังเกต 11. การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย 12. ตัวอย่างการสังเกตพฤติกรรมเด็ก 3. กิจกรรมการเรียนรู้ 1. ทดสอบก่อนเรียน 2. ศึกษาเอกสารประกอบการสอน 3. อภิปราย ซักถาม หลังจากการศึกษาเอกสารประกอบการสอน 4. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มศึกษาวิเคราะห์ตัวอย่างการสังเกต พร้อมกับนาเสนอผล การวิเคราะห์ 5. ให้นักศึกษาบันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กจากสถานการณ์จริงคนละ 1 กรณี พร้อมนาเสนอ
  • 2. 196 6. ทดสอบหลังเรียน 4. สื่อการเรียนการสอน 1. เอกสารประกอบการสอน 2. สื่อ วีดีทัศน์ (Power point) 3. เว็บไชต์ ที่เกี่ยวข้อง 4. ตัวอย่างการสังเกต 5. การประเมินผล 1. ผลการทดสอบก่อน – หลัง 2. ความถูกต้องชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหา 3. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมจากการสังเกต 4. การนาเสนอผลงานการศึกษาพฤติกรรมเด็ก
  • 3. 197 บทที่ 8 การสังเกต การสังเกต (Observation) นับว่าเป็นทักษะที่สาคัญสาหรับครูปฐมวัยที่จะต้องใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะครูจะต้องใช้ทักษะการสังเกตตลอดทั้งวันในการสังเกตเด็ก นอกจากนี้การสังเกตยังเป็นทักษะกลวิธีที่ใช้ในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น รายบุคคลแบบดั้งเดิม และใช้กันมากที่สุดวิธีหนึ่ง ผู้ทาการศึกษารายกรณีไม่ว่าจะเป็นครู อาจารย์ ผู้แนะแนว หรือผู้ให้คาปรึกษาย่อมต้องทาการสังเกตบุคคลไม่ว่าจะมองแบบผิว เผิน หรือมองแบบพินิจพิเคราะห์ จากการมองดูนั้นจะสามารถพิจารณาและตัดสินใจได้ว่า บุคคลนั้น ๆ เป็นคน อย่างไร เช่น เอาใจใส่ในการทางาน ตั้งใจทางาน หรือตรงต่อเวลา เป็น ต้น แต่อย่างไรก็ตามการตัดสินไปตามลักษณะและสภาพที่เห็นนั้นอาจผิดก็ได้ ถ้าการมองดู นั้นขาดความอดทนและใช้เวลาไม่นานนัก การสังเกตจะมีประโยชน์ต่อผู้ทาการศึกษามาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับว่าได้ใช้กลวิธีใน การสังเกตอย่างมีระบบระเบียบหรือไม่ เพราะถ้าหากมี การใช้วิธีการสังเกตอย่างมีระบบระเบียบ ย่อมจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจผู้ถูกศึกษา ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับการสังเกตอย่างมีระบบระเบียบชัดเจนขึ้น ผู้เขียนขอ แยกหัวข้อเกี่ยวกับการสังเกต ดังนี้ 1. ความหมายของการสังเกต 2. ประเภทของการสังเกต 3. หลักในการสังเกต 4. เทคนิคที่ใช้ในการสังเกต 5. พฤติกรรมที่ควรสังเกต 6. คุณค่าประโยชน์และการสังเกต 7. ข้อจากัดของการสังเกต 8. ข้อควรคานึงในการสังเกต 9. ลักษณะของผู้สังเกตที่ดี 10. การบันทึกการสังเกต 11. การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย 12. ตัวอย่างการสังเกตพฤติกรรมเด็ก
  • 4. 198 1. ความหมายของการสังเกต การรับรู้ด้วยตานาไปสู่การเรียนรู้ด้วยการมองเห็น ทาให้เกิดพฤติกรรมขึ้นใน รูปแบบต่าง ๆ กัน ดังนั้นตาจึงเป็นแหล่งรับรู้ข้อมูลต่าง ๆ และส่งผ่านไปยังสมอง ทาให้ เกิดผลต่อการแสดงพฤติกรรมของตนเอง รวมทั้งการรับรู้และความเข้าใจในพฤติกรรมของ บุคคลอื่นที่แสดงออกมา ดังนั้นตาจึงเป็นกลไกที่นามาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสังเกต ซึ่งไม่ ต้องลงทุนหรือจัดหา เพียงแต่นามาใช้ศึกษาพฤติกรรมของผู้ที่ถูกศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่ กาหนดไว้ และการสังเกตมีคุณค่ามากน้อยเพียงใด ได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด อยู่บน แนวปฏิบัติที่ว่า สิ่งที่ได้รับจากการสังเกตนาไปสู่การเกิดความเข้าใจในตัวเขามากขึ้นหรือไม่ และความเข้าใจนี้จะเป็นแนวทางให้สามารถแนะนาช่วยเหลือเขาผู้นั้นให้ดีขึ้นได้อย่างไร เกี่ยวกับการสังเกตมีผู้ให้ความหมายดังนี้ บัญญัติ ชานาญกิจ (2542 : 68) การสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่าง ใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย เข้าไปสัมผัสโดยตรง กับวัตถุ เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งรายละเอียดของสิ่งที่ทาการสังเกต โดยไม่ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป อาจใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกตด้วยก็ได้ ข้อมูล ที่ได้อาจจะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ยุทธ ไกยวรรณ์ (2545 : 157) วิธีการสังเกต หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าของผู้สังเกต เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์หรือปรากฏการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ และสุวิทย์ หิรัณยกาณฑ์ (2548 : 170 - 171) การสังเกต หมายถึง การสังเกตพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราได้รู้ถึงพฤติกรรมโดยทั่ว ๆ ไป ของคนที่ ต้องการจะศึกษา การสังเกตพฤติกรรมนี้ควรกระทาโดยที่ให้เจ้าตัวไม่รู้สึกว่ากาลังถูกสนใจ พรรณี ลีกิจวัฒนะ (2553 : 183) การสังเกต หมายถึง วิธีการอย่างหนึ่งที่ใช้เป็น เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย โดยการใช้ประสาทสัมผัสของผู้สังเกต แล้วผู้สังเกตเป็น ฝ่ายบันทึกสิ่งที่สังเกตได้อาจบันทึกได้หลายวิธี เช่น การเขียน การบันทึกเสียงด้วยเครื่อง บันทึกเสียง การบันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยกล้องถ่ายภาพ หรือกล้องวีดิโอวิธีการสังเกต เหมาะสาหรับการศึกษาพฤติกรรมและปรากฏการณ์ต่าง ๆ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551 : 228) การสังเกตเป็นเครื่องมือประเมินสาคัญสาหรับ การประเมินการเรียนสิ่งที่ครูสังเกตมี 2 ประการ คือ 1. สังเกตพฤติกรรมเด็ก ในขณะทากิจกรรมเด็กจะถ่ายทอดความรู้สึกออกมาเป็น การกระทา ความพอใจ ความโกรธ ล้วนเป็นการแสดงออกของเด็ก
  • 5. 199 2. สังเกตผลการกระทา เป็นการแสดงถึงการถ่ายทอดความรู้ความคิดออกมา รูปธรรม กล่าวโดยสรุปการสังเกต หมายถึง วิธีการศึกษาบุคคลด้วยการมองและการเฝ้าดู พฤติกรรมที่แสดงออกมาในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ในสถานการณ์ปกติ หรือสถานการณ์ ที่กาหนดขึ้นโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้น ๆ เพียงแต่เฝ้าดูหรือแอบดูไม่ให้เขารู้ตัว และพยายามจดจาพฤติกรรมที่เขาแสดงออกให้เห็นนั้นไว้แล้วนามาทาการบันทึกลงใน ระเบียน พฤติการณ์เพื่อเก็บรวบรวมไว้เป็นข้อมูลที่จะนาไปวิเคราะห์ในการศึกษารายกรณี ต่อไป 2. ประเภทการสังเกต การสังเกตแบ่งเป็นหลายประเภทตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ 1. ประเภทจุดมุ่งหมาย แยกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 สังเกตเพื่อให้ความช่วยเหลือทันที การสังเกตเพื่อให้ความช่วยเหลือทันที อาจสังเกตในขณะที่ผู้ถูกศึกษากาลังทากิจกรรมอยู่ เช่น กาลังเรียน หรือกาลังทางาน หาก พบว่ามี พฤติกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งอาจเป็นการขาดความสนใจก็จะได้รับการดึงให้เขา กลับมาสนใจในกิจกรรมที่ทาอยู่ในขณะนั้นทันที 1.2 การสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูล การสังเกตเพื่อรวบรวมข้อมูลถือว่าเป็น การรวบรวมข้อมูลในรายละเอียดไว้เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย และเข้าใจ พฤติกรรมของผู้ถูกศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อให้การช่วยเหลือให้ได้ตรงจุด เพราะถ้าข้อมูลและ รายละเอียดของแต่ละบุคคลไม่สมบูรณ์เพียงพอ การให้การช่วยเหลือจะเป็นไปด้วย ความยากลาบากหรืออาจไม่ได้ ผลเลย 2. ประเภทการจดบันทึก จาแนกเป็น 2 ชนิดคือ 2.1 สังเกตโดยไม่มีการจดบันทึก การสังเกตชนิดนี้ผู้สังเกตไม่ได้จดบันทึกสิ่งที่ พบเห็นจากผู้ที่ถูกศึกษาไว้ เพราะเป็นการสังเกตพฤติกรรมที่ค่อนข้างปกติ ไม่มีอะไรเด่น หรือบ่งชี้ว่ามีปัญหาอย่างรุนแรง แต่จะแปลความหมายของพฤติกรรมการสังเกตและให้ ความช่วยเหลือในขณะนั้นโดยทันที และประเมินสถานการณ์ไว้เลยว่าเขาได้ปรับเปลี่ยน พฤติกรรมแล้ว จึงไม่จาเป็นต้องการทาบันทึกข้อมูลไว้ เพื่อเป็นการลดภาระที่มีอยู่มากแล้ว ให้น้อยลง 2.2 สังเกตโดยการจดบันทึก ผู้สังเกตควรพิจารณาแล้วว่า พฤติกรรมที่พบ เห็นค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้ระยะเวลายาวนานกว่าปกติ และต้องดูแลติดตามหาข้อมูล รายละเอียดมากกว่าการสังเกตในระยะเวลานั้น ๆ จึงต้องทาการบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตไว้
  • 6. 200 เพื่อช่วยเก็บรายละเอียดให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทาได้ซึ่งจะนาไปสู่ความเข้าใจ และเป็นไป ตามลาดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง 3. ประเภทลักษณะการสังเกต แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 3.1 สังเกตอย่างไม่เป็นทางการ การสังเกตอย่างไม่เป็นทางการนี้ เป็น การสังเกตพฤติกรรมของผู้ถูกศึกษาโดยไม่มีการควบคุมองค์ประกอบใด ๆ ไม่ว่าจะเป็น เวลาหรือ สถานการณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นธรรมชาติและเป็นประจา เช่น พฤติกรรม การทากิจกรรม ต่าง ๆ หรือการเล่น หรือการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้อื่น 3.2 สังเกตโดยการกาหนดช่วงเวลาการสังเกต การสังเกตโดยการกาหนด ช่วงเวลาในการสังเกต เป็นการสังเกตที่ผู้สังเกตจะทาการกาหนดเวลาล่วงหน้าจะสังเกต พฤติกรรมเมื่อไร ใช้เวลาเท่าใด การสังเกตชนิดนี้ทาให้ผู้สังเกตได้มีโอกาสรู้จักพฤติกรรม ของ ผู้ถูกศึกษาได้ครอบคลุมและมากกว่า ซึ่งจะทาให้การบันทึกพฤติกรรมได้ละเอียด มากกว่าการสังเกตพฤติกรรมน้อยครั้ง เพราะผู้สังเกตสามารถใช้เวลาได้นานเท่าที่ต้องการ 3.3 สังเกตโดยเลือกสังเกตเฉพาะสถานการณ์ที่ต้องการ การสังเกตโดย การเลือกสังเกตเฉพาะสถานการณ์ที่ต้องการนั้น เป็นวิธีที่ผู้สังเกตเลือกสถานการณ์ที่คาด ว่าจะทาให้เกิดการรู้และเข้าใจตัวผู้ถูกศึกษานั้นได้ดีขึ้น เช่น การสังเกตพฤติกรรมในขณะที่ กาลังเรียน หรือกาลังทางาน หรือกาลังเล่นกีฬากับเพื่อน ๆ เป็นต้น 4. ประเภทสถานการณ์ แยกได้เป็น 2 ชนิดคือ 4.1 สังเกตชนิดที่ไม่ควบคุมสถานการณ์ การสังเกตชนิดนี้ผู้สังเกตจะเฝ้าดู พฤติกรรมในการทากิจกรรมที่เป็นกิจวัตรประจาวันอย่างอิสระ ในขณะที่เด็กไม่ได้ ระมัดระวังกิริยามารยาท โดยผู้สังเกตจะไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆทั้งสิ้น 4.2 สังเกตโดยการควบคุมสถานการณ์ การสังเกตชนิดนี้เป็นการสังเกต พฤติกรรมของผู้ถูกศึกษาที่มีต่อกิจกรรมที่ผู้สังเกตเป็นผู้สร้างขึ้นมาและจะสังเกตดูว่าจะมี ปฏิกิริยาต่อ สถานการณ์นั้นอย่างไร เช่น กาหนดบทบาทให้เขาแสดง หรือกาหนดให้เขามี ทางเลือกหลาย ๆ ทางเพราะการตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมเป็นการบ่ง ชี้ให้เห็นเจตคติที่มีต่อ สิ่งนั้น ๆ 3. หลักในการสังเกต การสังเกตนับว่าเป็นกลวิธีในการศึกษารายกรณีที่ง่ายต่อการปฏิบัติ และทุกคนก็ รู้จักกันดีแต่การจะให้ได้ผลของการสังเกตเป็นที่เชื่อถือได้นั้น ต้องได้รับการฝึกฝนมากพอ จนเกิดทักษะการฝึกฝนสังเกตอยู่เสมอนั้นจะช่วยให้ผู้สังเกตเกิดความสามารถในการสังเกต เห็นได้อย่าง ถูกต้องแม่นยา การฝึกการสังเกตโดยสังเกตบุคคลประมาณ 2 – 3 คน ได้
  • 7. 201 ร่วมกันสังเกตอย่างต่อเนื่อง และมีการนาผลของการสังเกตมาทาการเปรียบเทียบกันจะ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ผู้สังเกตได้อย่างมากเพราะทาให้ผู้สังเกตทราบถึงความบกพร่อง และความก้าวหน้าเกี่ยวกับกลวิธีการสังเกตของตน การสังเกตที่ดีและเกิดประโยชน์ควรมี หลักการในการสังเกตดังต่อไปนี้ 1. กาหนดสิ่งที่จะสังเกตให้ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มสังเกตในแต่ละครั้งในการสังเกต แต่ ละครั้งผู้สังเกตจะต้องถามตนเองก่อนว่าต้องการทราบเกี่ยวกับอะไรด้านใด และสิ่งที่ ต้องการทราบนั้นจะช่วยให้เข้าใจผู้ถูกสังเกตได้ดีขึ้นหรือไม่ และจะนาความเข้าใจมา ช่วยเหลือเขาให้ดีขึ้นได้อย่างไร 2. ผู้ศึกษาจะต้องสังเกตพฤติกรรมที่เกิดขึ้นควบคู่ไปกับสถานการณ์ต่าง ๆ และ สิ่งแวดล้อมด้วยเสมอเพราะการที่บุคคลแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ออกมาย่อมมีความสัมพันธ์ กับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อม เช่น การทางานของบุคคลที่อยู่ในห้องแคบ ๆ และอากาศ ร้อนอบอ้าว พฤติกรรมที่แสดงออกของเขาจะออกมาในลักษณะที่ไม่ดีนัก อาจจะมี การแสดงอารมณ์ฉุนเฉียว ซึ่งผู้ศึกษาจะนาไปบันทึกว่าเขาเป็นคนมีพฤติกรรมไม่ดี จึงไม่ ถูกต้อง เพราะลักษณะห้องแคบ ๆ และอากาศร้อนอบอ้าวนั้นใครก็ตาม ไม่ว่าจะปกติ หรือไม่ปกติจะมีลักษณะอาการแบบเดียวกัน 3. ควรการสังเกต ผู้ถูกศึกษาเพียงคนเดียว หรือรายเดียวในการสังเกตแต่ละครั้ง เพราะการสังเกตบุคคลคนเดียวในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ จะมีโอกาสได้ศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน และถูกต้อง แต่ถ้าพยายามสังเกตในจานวนมากผู้สังเกตจะพยายามสังเกตในข้อที่เด่นชัด ของเขาซึ่งจะทาให้มองข้ามรายละเอียดที่สาคัญ ๆ ไปได้ 4. ควรสังเกตผู้ถูกศึกษาในขณะทากิจกรรมปกติ เช่น ขณะทากิจกรรมในกลุ่ม หรือกาลังนั่งดูการแข่งขันกีฬา เป็นต้น เพราะพฤติกรรมปกติย่อมมีความสาคัญกว่า พฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์เฉพาะ และจะช่วยให้ผู้ศึกษาสังเกตสามารถทานาย พฤติกรรมของเขาในอนาคตได้ดีที่สุด เช่น ในสถานการณ์ปกติ ภายในห้องทางานและ ห้องพักผ่อน ขณะที่ทากิจกรรมกับเพื่อนตามปกติ เพราะในสถานการณ์ปกติจะทาให้เห็น พฤติกรรมและตัวตนของเขาอย่างชัดเจน 5. สังเกตเป็นระยะเวลายาวนาน ผู้สังเกตจาเป็นต้องใช้เวลาสังเกตผู้ถูกศึกษาเป็น ระยะเวลาหลาย ๆ วัน เพราะมนุษย์ทุกคนมีอารมณ์ในแต่ละวันแตกต่างกันไป บางวันที่มี เหตุการณ์ทาให้กลัวบางวันจะตื่นเต้นดีใจ หรือบางวันอาจจะเศร้าเสียใจ ซึ่งอารมณ์เหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องของความเปลี่ยนแปลงในภาวะปกติทั้งสิ้น ดังนั้นผู้ทาการสังเกตพึงจะต้อง ระลึกถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ จึงต้องสังเกตให้นานพอสมควร อาจจะเป็นระยะเวลานานถึง
  • 8. 202 3 เดือน หรือ 1 ภาคเรียน แล้วจึงนาผลการสังเกตที่ได้บันทึกไว้มาพิจารณาลงความเห็น เกี่ยวกับบทสรุปพฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับของเขาที่แสดงออกเสมอ 6. การสังเกตจะต้องพยายามสังเกตบุคคลอื่นด้วย ในการสังเกตไม่ควรสังเกต เฉพาะผู้ที่ถูกศึกษาเท่านั้น เพราะอาจทาให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว 7. สังเกตผู้ถูกศึกษาในสถานการณ์วิกฤติซึ่งผิดแผกไปจากสถานการณ์ปกติบ้าง เพราะบางทีอาจจะช่วยให้ผู้สังเกตทราบข้อมูลบางอย่างที่อยู่ในตัวเขาหรือทราบบุคลิกภาพ ของเด็กที่แท้จริงบางประการได้ 8. สังเกตผู้ถูกศึกษานั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการกระทาหรือพฤติกรรม ของเขาที่มองเห็น การมองเห็นนั้นบางครั้งอาจจะมองเห็นบิดเบือนจากความเป็นจริงได้ จึง ควรมี ผู้สังเกตหลาย ๆ คน จะเป็นการช่วยป้องกันข้อบกพร่องที่อาจจะเกิดความลาเอียง หรืออคติของ ผู้สังเกต เพราะผู้สังเกตคนหนึ่งอาจจะมองไม่เห็นความสาคัญของ พฤติกรรมนั้นจึงไม่บันทึกไว้ แต่สาหรับผู้สังเกตอีกคนหนึ่งคิดว่าสิ่งที่ตนมองเห็นมี ความสาคัญจึงจดบันทึกไว้โดยละเอียด เมื่อผู้สังเกตมีการประชุมกันและนาบันทึกเกี่ยวกับ พฤติกรรมนั้นมาช่วยกันในการพิจารณาแบบบันทึกที่แท้จริงของเขา จะทาให้ได้ข้อมูลที่ ละเอียดกว้างขวางยิ่งขึ้น 9. ควรสังเกตพฤติกรรมด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวในการสังเกตแต่ละครั้ง เช่น ความสามารถในการทางาน ทักษะในการเข้าสังคม บุคลิกภาพเฉพาะตัว การควบคุม อารมณ์ เป็นต้น ซึ่งผู้ศึกษาหรือผู้สังเกตกาหนดลงไปให้ชัดเจนว่าจะสังเกตเขาในด้านใด จะ ช่วยให้ผู้สังเกตไม่เกิดความสับสน และจะช่วยให้เกิดความแม่นยาในการสังเกตมากยิ่งขึ้น 10. ผู้สังเกตจะต้องพยายามฝึกฝนตนเองไม่ให้เกิดความลาเอียง ต้องทาใจให้ เที่ยงตรงที่สุดในการสังเกต และไม่ใช้เจตคติหรือใช้ความคิดเห็นของตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เลย เช่น การมีรูปร่างหน้าตาสวยหรือหล่อ แต่งกายสะอาด สิ่งเหล่านี้อาจจะมีอิทธิพลต่อ การสังเกตได้ 11. การสังเกตที่มีประโยชน์และคุณค่า ควรมีการบันทึกการสังเกต ไว้อย่างถูกต้อง เพื่อเป็นหลักฐานในการคิดค้นหาสาเหตุแห่งพฤติกรรมที่เกิดขึ้น และคิดหาทางช่วยเหลือ เด็กให้ได้ต่อไป เพราะถ้าสังเกตแล้วไม่ได้บันทึกและให้ข้อมูลได้ไม่ชัดเจน ไม่มีรายละเอียด พอ ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ การสังเกตก็ไร้คุณค่า 12. การสังเกตที่ดีจะต้องตรวจสอบผลที่ได้ด้วยเครื่องมือวัดที่แน่นอนชนิดอื่นๆ ประกอบเสมอ ทั้งนี้เพราะทาให้ได้ข้อมูลที่มีความเชื่อมั่นได้มากขึ้น 13. ควรสังเกตผู้ถูกศึกษาหลาย ๆ ครั้งในสถานการณ์ที่ต่างกัน เช่น ในขณะอยู่ใน ห้องรับแขก ในโรงอาหาร หรือในห้องทางาน ให้ครอบคลุมสถานที่ที่บ้านและชุมชน สังเกต
  • 9. 203 เขาที่อยู่กับคนอื่นที่มีอายุน้อยกว่า และคนที่มีอายุมากกว่า เพื่อช่วยให้เห็นพฤติกรรมที่ แท้จริงของเขา 14. ผู้สังเกตต้องระลึกอยู่เสมอว่า การสังเกตเพียงครั้งเดียวนั้นไม่เพียงพอต่อการที่ จะช่วยให้เกิดการรู้และเข้าใจเขาได้อย่างถูกต้อง และตรงกับความเป็นจริง จึงต้องสังเกต หลาย ๆ ครั้ง เพื่อนาข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บสะสมได้นั้น มาประมวลกันเข้าจึงจะช่วยให้เข้าใจ เขาได้อย่างถูกต้องแม่นยา 4. เทคนิคที่ใช้ในการสังเกต เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในการสังเกต ผู้สังเกตควรมีเทคนิคที่จะนามาใช้ใน การสังเกต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1. ระยะก่อนการสังเกต 1.1 ก่อนสังเกตผู้สังเกตต้องเตรียมตัวโดยการศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับ การสังเกตก่อนล่วงหน้าตามลาดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.1.1 กาหนดวัตถุประสงค์ในการสังเกตให้ชัดเจนว่าจะสังเกตในเรื่องอะไร 1.1.2 ในการสังเกตนั้นจะสังเกตในด้านใดบ้าง 1.1.3 จะต้องเตรียมการบันทึกการสังเกตอย่างเป็นระเบียบ เช่น ใช้ระเบียน พฤติการณ์เพื่อจะรวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วน รวดเร็ว และถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ ตั้งไว้ 1.1.4 หากจาเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยในการสังเกตต้องเตรียมเครื่องมือที่ ใช้ในการสังเกตให้พร้อมด้วยและควรศึกษาด้วยว่าเครื่องมือที่ใช้ควรเป็นเครื่องมือชนิดใดที่ เหมาะสมในการสังเกตแต่ละเรื่อง และแต่ละด้าน 1.2 ผู้สังเกตต้องเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อมในเรื่องต่อไปนี้ 1.2.1 การเตรียมระเบียนพฤติการณ์ หรือแบบบันทึกการสังเกตให้ละเอียด เพื่อให้ครอบคุลมพฤติกรรมการสังเกตให้มากที่สุด และทาให้เสียเวลาในการบันทึกน้อย ที่สุด 1.2.2 การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่คาดว่าจะใช้ในการสังเกต เช่น กล้อง ถ่ายรูป หรือเครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น ตรวจสอบสภาพให้พร้อมก่อนที่จะใช้งาน และให้มี ภาพและเสียงอย่างชัดเจนและมีประสิทธิภาพดี 1.3 ผู้สังเกตต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะไปสังเกตในเบื้องต้น เพราะความรู้ เบื้องต้นจะช่วยให้เข้าใจในสิ่งที่ได้พบเห็นเร็วขึ้น นอกจากนี้จะทาให้เกิดความสะดวกต่อ การตีความหมายของพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น
  • 10. 204 1.3.1 การศึกษาเรื่องที่จะออกไปสังเกตว่าจะให้ข้อมูลได้เพียงพอที่จะให้ เกิดความเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของรายกรณีที่ศึกษาหรือไม่ 1.3.2 การศึกษาถึงเรื่องที่จะไปสังเกตว่ามีลักษณะอาการอย่างไรที่แสดง ถึงความสาคัญมากหรือน้อย ลักษณะอาการอย่างไรที่แสดงถึงความผิดปกติเหล่านี้ เป็นต้น 2. ระยะที่ทาการสังเกต 2.1 ผู้สังเกตต้องทาการสังเกตเฉพาะเรื่องตามที่ตั้งจุดประสงค์ไว้เท่านั้น และ พยายามตัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป เพื่อจะได้ประเด็นที่ตรงกับพฤติกรรมที่ต้องการ และไม่ เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ ประการสาคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องหาเวลาบันทึกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ การสังเกตไว้พอสังเขปด้วย 2.2 ผู้สังเกตต้องมีการสังเกตรายกรณีที่ถูกศึกษาหลายสถานการณ์ และ หลาย ๆ ครั้ง โดยมีระยะเวลาที่สังเกตต่อเนื่องกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเชื่อมั่น 2.3 ผู้สังเกตต้องรักษาความเที่ยงตรงในการสังเกตและบันทึกการสังเกตตาม พฤติกรรมที่มองเห็นทุกประการ โดยไม่ต้องใส่ความคิดเห็นหรืออคติลงไปในบันทึกนั้น และ นอกจากนี้ต้องพยายามมองแง่ดีไว้ก่อนเสมอ 2.4 ผู้สังเกตต้องสังเกตอย่างมีระบบระเบียบ คือ มีลาดับขั้นตอนในการสังเกต และต้องสังเกตอย่างละเอียดทุกแง่มุม 2.5 ในกรณีที่ผู้สังเกตต้องใช้เครื่องมือในการบันทึกการสังเกต ต้องดาเนินการ ด้วยความระมัดระวังและรอบคอบทุกครั้ง และพยายามบันทึกสิ่งที่สังเกตให้ละเอียด 2.6 ในกรณีที่ผู้สังเกตจะเข้าไปร่วมในกิจกรรมกับผู้ถูกสังเกต และสังเกตไป ด้วยในขณะเดียวกัน ผู้สังเกตจะต้องสร้างสัมพันธภาพที่ดี ให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรู้สึกว่าเป็น กันเอง 5. พฤติกรรมที่ควรสังเกต เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรายกรณีที่ถูก ศึกษาด้วยวิธีการสังเกต ผู้สังเกตควรเลือกพฤติกรรมที่จะให้ข้อมูลได้อย่างชัดเจนและ สะดวกใน การสังเกตดังต่อไปนี้ 1. พฤติกรรมที่มีการทาซ้า ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง เพราะพฤติกรรมดังกล่าวนี้จะแสดง ถึงอุปนิสัยใจคอ หรือคุณลักษณะของรายกรณีที่ถูกศึกษาเป็นอย่างดี ดังนั้นสิ่งที่ได้จาก พฤติกรรมนี้ย่อมช่วยให้ผู้สังเกตเกิดความเข้าใจในบุคลิกภาพเฉพาะตนของผู้ถูกสังเกต
  • 11. 205 2. พฤติกรรมที่แปลกไปจากธรรมชาติ หรือเป็นการกระทาที่เกิดขึ้นโดยมิได้ คาดหมายมาก่อน เช่น ปกติจะมีท่าทางคล่อง กระฉับกระเฉง แต่กลับกลายเป็นคนซึม ไม่ กระตือรือร้น แสดงอาการเบื่อหน่าย จนเปลี่ยนไปเป็นคนละคน 3. พฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เต็มใจ หรือไม่สามารถเผชิญกับ สถานภาพตามความเป็นจริง เช่น ไม่ยอมรับว่าคนที่ตนรักได้เสียชีวิตไปแล้ว และยังคง แสดงให้เห็นว่ายังมีกิจกรรมร่วมกับเขาอยู่ 4. พฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับที่แท้จริง ผู้สังเกตจะทราบได้จากพฤติกรรมที่ราย กรณีแสดงออกมาในสถานการณ์ที่เป็นปกติ ซึ่งสามารถสังเกตในโอกาสต่าง ๆ ได้ ตลอดเวลา แต่ถ้าได้สังเกตในสถานที่ต่าง ๆ กันไปก็จะทาให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ในการที่จะทา ให้ได้พฤติกรรมที่เป็นแบบฉบับที่แท้จริงของเขานั้น ผู้สังเกตจะต้องแน่ใจว่าสถานการณ์ และกิจกรรมที่ทาหรือร่วมกระทาอยู่นั้นไม่แตกต่างจากปกติ 5. พฤติกรรมทางสังคม ทางอารมณ์ และทางด้านอื่น ๆ ที่เป็นในแนวทางที่ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของรายที่ถูกศึกษา เช่น การแสวงหาความพอใจเมื่อได้รับคาชมเชย เป็นต้น 6. องค์ประกอบทางด้านกายภาพ เช่น รูปร่างหน้าตา ความสะอาด สุขภาพ อนามัย การขาดสารอาหาร ความบกพร่องทางการได้ยิน ความบกพร่องทางการพูด ความบกพร่องทางการมองเห็น และความบกพร่องทางด้านร่างกายอื่น ๆ ที่อาจสังเกตเห็น ได้ยาก ที่ต้องได้รับ การวินิจฉัยจากแพทย์และพยาบาลก็ควรได้รับการสังเกต 7. ความสามารถในการเรียนและอุปนิสัยในการทางาน เช่น ความสามารถใน การอ่านอย่างรวดเร็วและการเข้าใจความหมาย ความสามารถในการคิดคานวณตัวเลข ความสามารถในการคิดได้อย่างแจ่มชัดและถูกต้อง ตลอดจนทักษะความสามารถพิเศษใน ด้านศิลปะ การดนตรี หรือกีฬา ก็ควรได้รับการสังเกตเช่นเดียวกัน 8. การสังเกตที่สาคัญอื่น ๆ ได้แก่ ปฏิกิริยาของรายกรณีที่ถูกศึกษาเมื่อประสบกับ ความยากลาบาก ความล้มเหลว ความสาเร็จ คอยสังเกตดูว่าเขามีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านี้ อย่างไร เช่น ความอึดอัด ความคับข้องใจ และจะต้องใช้เวลาในการสังเกตต่อไปใน ช่วงเวลาหนึ่งจะเห็นวิธีการแก้ปัญหาของเขา เมื่อถึงจุดนี้ผู้สังเกตก็จะสามารถช่วยให้เขา เรียนรู้ที่จะเผชิญกับความล้มเหลวอย่างมีแบบแผน โดยการรู้เท่าทันกับสิ่งนั้นมากกว่าที่จะ เก็บมาเป็นความครุ่นคิดให้เกิดความวิตกกังวลใจ จนทาให้ไม่สบายใจได้ นอกจากพฤติกรรมที่กล่าวมาแล้ว ยังมีการวิจัยที่เสนอแนะพฤติกรรมโดยทั่วไปที่ ผู้สังเกตควรทาการสังเกต คือ พฤติกรรมที่มีแนวโน้มทางบุคลิกภาพในทางบวก ได้แก่
  • 12. 206 ความรับผิดชอบ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการปรับตัว ความสัมพันธ์กับ ผู้อื่น ความมั่นคงทางอารมณ์ เป็นต้น 6. คุณค่าและประโยชน์ของการสังเกต คุณค่าและประโยชน์ของการสังเกตในการเก็บข้อมูลของรายกรณีที่ถูกศึกษาจะมี มากน้อยเพียงใดนั้นอยู่ที่ผู้ทาการศึกษาจะมีประสบการณ์หรือความชานาญหรือไม่เพียงใด ถ้ามีการสังเกตด้วยคุณลักษณะดังกล่าวก็จะช่วยให้การสังเกตมีคุณค่าและประโยชน์หลาย ประการดังต่อไปนี้ 1. การสังเกตช่วยให้เห็นตัวอย่างพฤติกรรมอันแท้จริงของรายกรณีที่ถูกศึกษา เพราะการสังเกตจะทาให้เขาไม่รู้สึกตัว ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออกมาจึงเป็นธรรมชาติ ของเขาอย่างแท้จริง โดยปกติบุคคลที่รู้ตัวว่ามีคนมองอยู่หรือสังเกตอยู่เขาจะระวัง อากัปกิริยาที่แสดงออกและจะปกปิดซ่อนเร้นความจริงบางประการก็ได้ 2. การสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการศึกษารายกรณีที่ไม่สามารถเก็บ รวบรวม ข้อมูลได้จากวิธีการอื่น ในการศึกษารายกรณีนั้นแม้จะมีความพยายามและ ความรอบคอบเพียงใดก็ตาม ผู้ทาการศึกษาคงไม่สามารถรวบรวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ โดยสมบูรณ์ เพราะวิธีการต่าง ๆ ไม่ช่วยให้ทราบและเข้าใจรายละเอียดในทุกแง่มุม เช่น การทาสังคมมิติ ให้ข้อมูลเพียงเห็นการมีความสัมพันธ์ทางสังคมของเขาเท่านั้น แต่ไม่ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการแสดงออกทางอารมณ์ของเขา หรือการปรับตัวของเขาใน ขณะที่อยู่ในกลุ่มเพื่อน เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องใช้การสังเกตเข้าช่วย เช่น สังเกตปฏิกิริยาของ เขาที่มีต่อความสมหวังและผิดหวัง การรู้ถึงพฤติกรรมของเขาในขณะที่ทากิจกรรมกับกลุ่ม ที่มีเพื่อนต่างเพศอยู่ด้วย ก็ไม่สามารถเก็บรวบรวมได้ จากเครื่องมือและวิธีการอื่น ๆ 3. การสังเกตเป็นการเลือกเฟ้น เนื่องจากผู้สังเกตไม่อาจรายงานการกระทาทุก อย่างของรายกรณีที่ถูกศึกษาทั้งหมด เพื่อประหยัดเวลาและแรงงานของผู้ทาการศึกษา จึง จาเป็นต้องเลือกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่คิดว่าสาคัญเท่านั้น และมีประโยชน์ต่อการเข้าใจเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อการให้คาปรึกษา หรือให้ความช่วยเหลืออย่าง ถูกต้องและเหมาะสม 4. การสังเกตช่วยให้ผู้สังเกตเกิดความงอกงาม เนื่องจากมีประสบการณ์ใน การสังเกตแล้ว และหากได้มีการสังเกตเป็นรายกรณีที่ถูกศึกษารายอื่น ๆ ก็จะทาให้เกิด ทักษะ ดังนั้นผลที่ได้นอกจากจะมีทักษะในการสังเกตดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เข้าใจบุคคลบาง คนดียิ่งขึ้นอีกด้วย
  • 13. 207 5. การสังเกตช่วยทาให้ผู้ทาการศึกษาเข้าใจรายกรณีที่ถูกศึกษามากขึ้น จากข้อมูล จะทาให้เกิดความเข้าใจในตัวของเขาอย่างแท้จริง จนทาให้สามารถพิจารณาแนวทางใน การให้ความช่วยเหลือเขาได้ โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณและใช้เวลามากนัก เพราะวิธี การสังเกตไม่ได้ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ นอกจากตาและหูเท่านั้น 7. ข้อจากัดในการสังเกต การสังเกตเป็นเพียงกลวิธีหนึ่งที่ทาให้ผู้ศึกษารายกรณีได้ข้อมูลของรายกรณีที่ถูก ศึกษา เพื่อทาให้เกิดความเข้าใจและหาแนวทางช่วยเหลือเขาได้ถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตามการสังเกตก็มีข้อจากัดบางประการที่ผู้ทาการศึกษาต้องตระหนักและต้อง ระมัดระวังในการใช้กลวิธีการสังเกตดังต่อไปนี้ 1. ผู้ทาการศึกษารายกรณีอาจจะได้ตัวอย่างพฤติกรรมของรายกรณีที่ถูกศึกษา เป็นส่วนน้อย เนื่องจากการสังเกตทุก ๆ สิ่งที่เขาแสดงออกนั้นต้องใช้เวลามาก การสังเกต ทุก ๆ สิ่งที่เขากระทาหรือพูดย่อมเป็นไปไม่ได้ จึงต้องตัดสินให้แน่ใจว่าพฤติกรรมอะไรบ้าง ที่สาคัญที่ควรทาการสังเกต การที่จะทาให้ข้อสังเกตของผู้สังเกตเพียงคนเดียวได้รับ ความเชื่อถือก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทาการศึกษาจึงควรขอให้บุคคลอื่นช่วยในการสังเกต ผลของ การสังเกตจากผู้สังเกตหลาย ๆ คน นั้นนามารวบรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้ ผู้ทา การศึกษามองเห็นพฤติกรรมของรายกรณีที่ถูกศึกษาชัดเจนยิ่งขึ้น 2. ผู้สังเกตอาจจะมีความลาเอียงซึ่งจะทาให้เกิดความผิดพลาดไปจากข้อเท็จจริง อาจจะทาให้เกิดความล้มเหลวในการสังเกตได้ เนื่องจากผู้สังเกตที่ปล่อยให้เกิด ความลาเอียงหรืออคติที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความรู้สึกส่วนตัว ก็มักจะทาให้การสังเกตอยู่ ในขอบเขตจากัด และมีผลทาให้พฤติกรรมที่ได้จากการสังเกตเกิดความผิดพลาดไปจาก ความเป็นจริง ดังนั้นผู้ทาการศึกษาจะต้องควบคุมจิตใจตนเองให้มีความเที่ยงตรงที่สุด เท่าที่จะทาได้ ไม่ยึดถือเกี่ยวกับความเชื่อ เช่น มีความเชื่อว่าคนผอมจะเป็นคนเงียบเฉย ไม่ ค่อยแสดงออก จึงเป็นไปได้ที่ผู้สังเกตจะมองไม่เห็นคนผอมแสดงออก หรือการมีความรู้สึก ที่ผู้สังเกตมีต่อผู้ถูกสังเกต เช่น ผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาดีย่อมมีแนวโน้มทาให้ผู้สังเกตมองเห็นใน ลักษณะที่ดี และมองข้ามลักษณะที่ไม่ดีไป ดังนั้นการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตจึงต้องระวังอคติเหล่านี้ในการตีความ การสังเกตรายกรณีที่ศึกษาต่าง ๆ จะต้องคานึงถึงอิทธิพลขององค์ประกอบเหล่านี้ การมี อคติในการสังเกตนั้นผู้ทาการสังเกตอาจไม่ทราบ นอกจากนี้การสารวจตัวเองอยู่เสมอ มี การฝึก การสังเกตเสมอ จะสามารถลดความลาเอียงได้บ้าง ผู้สังเกตอาจจะควบคุมผลของ
  • 14. 208 การลาเอียงได้มากโดยการขจัดข้อความที่แสดงถึงความคิดเห็นส่วนตัวของผู้สังเกตออก จากบันทึกการสังเกต 3. ผู้สังเกตอาจจะไม่มีความแม่นยา หมายถึง อาจจะแปลความหมายของ พฤติกรรมที่ได้จากการสังเกตอย่างผิด ๆ และความไม่ถูกต้องในการบันทึก อาจจะเป็น ปัญหาหนึ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ในการสังเกต เพื่อการขจัดความไม่แม่นยาให้หมดไป เมื่อมี ข้อสังเกตใดที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมโดยทั่วไปของรายกรณีที่ถูกศึกษา ผู้ทาการศึกษา ต้องทาการตรวจสอบต่อไปอีก เช่น มีการพูดคุยกัน การเพิ่มระยะเวลาในการศึกษามากขึ้น การกาหนดสถานการณ์ใน การสังเกต หรือ พฤติกรรมให้เฉพาะลงไปอีก เป็นต้น 4. ผู้สังเกตอาจจะมีความลาบากในการที่จะทาให้ผู้อื่นเข้าใจในสิ่งที่ตนสังเกต เนื่องจากการบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นนั้นต้องอาศัยการเขียนบรรยายจึงอาจจะทาให้เกิด ความรู้สึกยากลาบากในการที่จะบรรยายสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมให้ละเอียดได้ ผู้ทา การศึกษาจึงมักเขียนรายงานเฉพาะพฤติกรรมที่รายกรณีที่ถูกศึกษาแสดงออกมาเท่านั้น เพื่อช่วยให้คนอื่นเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองการสังเกต จึงควรเขียนเหตุการณ์พร้อม สถานการณ์และพฤติกรรมที่สังเกตเห็นให้รายละเอียดมากที่สุด ผู้สังเกตที่ได้รับการฝึกฝน มาแล้วเป็นอย่างดี จะสามารถบันทึกรายละเอียดที่สาคัญ ๆ ซึ่งจะช่วยให้มีการตีความ เหตุการณ์นั้นได้ถูกต้องด้วย 8. ข้อคานึงถึงในการบันทึกการสังเกต การบันทึกการสังเกตเพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์และเพื่อให้รายงานการสังเกตมี ความแม่นยา เที่ยงตรง เชื่อถือได้ ผู้สังเกตควรปฏิบัติดังนี้ 1. ควรดาเนินการบันทึกทีหลังจากที่ได้ทาการสังเกตเสร็จแล้วทุกครั้ง เพราะถ้า ปล่อยทิ้งไว้ให้นานผู้สังเกตอาจจะลืมข้อมูลหรือรายละเอียดบางอย่างของเหตุการณ์ได้ 2. ควรทาการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมาไม่ควรเพิ่มเติม ความคิดเห็นลงไปในรายละเอียดเกี่ยวกับพฤติกรรมของรายกรณีที่แสดงออกมา 3. ควรบันทึกเหตุการณ์ทั้งในด้านดีและด้านไม่ดีของผู้ถูกสังเกต เพื่อช่วยให้ มองเห็นบุคลิกภาพที่แท้จริงของรายกรณี 4. ควรรวบรวมผลการสังเกตพฤติกรรมของรายกรณีที่ถูกศึกษาเอาไว้ให้มาก ๆ ก่อนที่จะตีความสรุปเป็นข้อยุติเกี่ยวกับตัวเขา
  • 15. 209 5. ข้อเสนอแนะที่ผู้สังเกตให้เอาไว้อาจจะมีในเรื่องเกี่ยวกับการช่วยเหลือรายกรณี ที่ถูกศึกษาและควรจะได้เขียนแยกออกไปอีกตอนหนึ่งจากพฤติกรรมของเขา เพื่อป้องกัน การเข้าใจผิดจากบุคคลอื่น ๆ ที่มาอ่านรายงานการสังเกต 9. ลักษณะของผู้สังเกตที่ดี การสังเกตจะได้รับความสาเร็จตามวัตถุประสงค์ เมื่อผู้สังเกตใช้กลวิธีการสังเกต ตาม หลักการที่ถูกต้อง นอกจากนี้ผู้สังเกตควรเพิ่มความสามารถและพัฒนาลักษณะที่ เหมาะสมดัง ต่อไปนี้ 1. ผู้สังเกตต้องเป็นคนช่างสังเกตและมีความละเอียดรอบคอบ ในเวลาที่มองอะไรก็ ต้องมองให้ละเอียด ไม่มองผ่านตาไปเฉย ๆ นอกจากนี้การสังเกตต้องให้ผู้ถูกสังเกตอยู่ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติให้มากที่สุดโดยที่เขาไม่รู้ตัว 2. ผู้สังเกตต้องมีความเฉลียวฉลาดและไหวพริบ ต้องทราบว่าสิ่งไหนควรทา การสังเกตหรือไม่ควรเสียเวลาไปโดยไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นมาเลย 3. ผู้สังเกตต้องมีประสบการณ์และผ่านการอบรมพร้อมได้รับการฝึกฝนด้วยเป็น อย่างดี เพราะการขาดประสบการณ์และฝึกฝนมาน้อย จะทาให้เข้าใจเหตุการณ์หรือ พฤติกรรมที่ต้องทาการสังเกตและข้อมูลที่ได้มานั้นคลาดเคลื่อนไป 4. ผู้สังเกตต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องที่จะทาการสังเกต และต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมในด้านความรู้และเครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนกลวิธีสังเกต มีการวางแผนอย่างรอบคอบ มีระบบที่ดีอย่างต่อเนื่อง 5. ผู้สังเกตต้องมีความจาค่อนข้างดีเพราะต้องจดจาในพฤติกรรมที่เห็นตลอดเวลา ที่ทาการสังเกต แล้วจึงจะทาการบันทึกหรือทาระเบียนพฤติการณ์ได้ ถ้าความจาไม่ดีก็ อาจจะลืมและทาให้ผลการสังเกตไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร 6. ผู้สังเกตต้องเป็นคนชอบการจดบันทึกและมีการจดบันทึกผลการสังเกตได้อย่าง ละเอียดครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด จึงควรต้องมีการเตรียมการ หรือการวางแผนล่วงหน้าใน เรื่องการออกแบบบันทึก และมีการกาหนดเครื่องมือที่คาดว่าจะใช้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ ได้ผลที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง 7. ผู้สังเกตต้องมีความสุภาพอ่อนน้อม พูดจาดี มีสัมมาคารวะ ปรับตัวได้ดี และมี มนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะต้องเข้าไปร่วมสังเกตกับบุคคลอื่น 8. ผู้สังเกตต้องมีความกระตือรือร้น แสดงให้เห็นว่ามีความใฝ่รู้และต้องการพัฒนา ตนเองในการศึกษาหาความรู้ให้ทันสมัยตลอดเวลา
  • 16. 210 9. ผู้สังเกตที่ดีต้องไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกส่วนตัวในการตัดสินใจทางาน แต่ตัดสิน จากการใช้เหตุผลเป็นเกณฑ์ 10. ผู้สังเกตต้องมีความเป็นกลาง ไม่ลาเอียง หรือมีอคติ และต้องพร้อมที่จะ ยอมรับการเปลี่ยนความคิดเดิม เมื่อมีเหตุผลใหม่ที่เหมาะสมกว่า 11. ผู้สังเกตต้องมีสุขภาพดี มีความอดทนสูง เพราะต้องมีการรอคอย ซึ่งอาจจะใช้ เวลานานกว่าที่คาดคิดไว้ นอกจากนี้ต้องมีความอดทนต่อการเริ่มสังเกตใหม่ หากเกิด ความผิดพลาด หรือไม่ประสบผลสาเร็จในครั้งแรก 12. ผู้สังเกตต้องเป็นผู้มีประสาท ตา หู และประสาทอื่น ๆ ดี มีความรู้ทั่วไปอย่าง กว้างขวาง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักพลิกแพลงเพื่อความเหมาะสมจะก่อประโยชน์ ได้มากขึ้น และสามารถแยกแยะสิ่งสาคัญหรือไม่สาคัญออกจากกันได้ 13. ผู้สังเกตต้องมีความสามารถแปลความหรือตีความหมายของพฤติกรรม หรือ วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตได้อย่างเหมาะสม ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด และสามารถที่จะสรุปข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องชัดเจน 10. การบันทึกการสังเกต การบันทึกการสังเกตควรรีบจัดทาหลังการสังเกตได้เสร็จสิ้นลงแล้วเป็นการบันทึก เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวรายกรณีที่ถูกศึกษาต่อไป การบันทึกการสังเกตมีการจาแนก3 แบบคือ 1. แบบพรรณาความ (Behavior Description) เป็นการจดบันทึกเรื่องราวเป็น ถ้อยคาตามที่ผู้สังเกตพบเห็น การบันทึกสังเกตแบบนี้ผู้สังเกตต้องถามตนเองว่าจะบันทึก อะไรบ้าง และจะบันทึกอย่างไร ไม่ว่าผู้สังเกตจะเขียนบันทึกในลักษณะใดก็ตาม สิ่งที่ต้อง บันทึก ได้แก่ 1.1 พฤติกรรมที่เด็กชอบแสดงออกในสถานการณ์นั้น ๆ 1.2 ความหมายของพฤติกรรมนั้น ๆ 1.3 ข้อเสนอแนะที่ผู้สังเกตอาจจะมีในการช่วยเหลือเด็กหรือแก้ไขพฤติกรรมนั้น 1.4 ในการบันทึกเรื่องราวแต่ละคนควรบันทึกแยกกัน เพราะถ้าเขียนปะปนกัน แล้วอาจจะทาให้ผู้อื่นมาอ่านรายงานการสังเกตเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมของ เด็กที่แสดงออกมาได้ 2. การบันทึกการสังเกตโดยการใช้ระเบียนพฤติการณ์ หมายถึง ระเบียบที่บันทึก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะเป็นครั้งคราว
  • 17. 211 3. การบันทึกการสังเกตโดยการใช้เครื่องมือมาตราส่วนประมาณค่า เป็นวิธี การบันทึกการสังเกตโดยการประเมินผลของผู้สังเกต เป็นการตัดสินว่ารายกรณีที่ถูกศึกษา ที่ครูทาการสังเกตโดยการประเมินผลของผู้สังเกต ว่ามีคุณลักษณะที่ครูต้องการสังเกต มากน้อยเพียงไร แต่ในที่นี้ขอยกตัวอย่างแบบฟอร์มการสังเกตแบบพรรณความเพื่อให้เห็นเป็น แนวทางในการบันทึกการสังเกต รูปแบบการสังเกตความจริงแล้ว ผู้สังเกตสามารถ ออกแบบเองได้เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน และการบันทึกที่สะดวกให้ได้ข้อมูลตามที่ ต้องการ และสะต่อการใช้งานได้รับข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นที่ต้องการศึกษา แต่อย่างไร ก็ตามรูปแบบการสังเกต ควรจะมีข้อมูลพื้นฐานที่ครบถ้วน จุดประสงค์ชัดเจน และมีหัวข้อ ที่จาเป็น เพื่อให้การสังเกตมีความสมบูรณ์ที่สามารถนาข้อมูลไปใช้ในอนาคตได้จริง ดัง ตัวอย่างรูปแบบการบันทึกการสังเกตเชิงพรรณนาความต่อไปนี้ ตัวอย่างแบบบันทึกการสังเกตแบบพรรณนาความ บันทึกการสังเกต ครั้งที่…….. ชื่อ – สกุล ผู้ถูกสังเกต………………………………………..………… โรงเรียน ……………………………………… วันที่……………… เดือน …………………………… พ.ศ. ……………….……….. เวลา …………………น. สถานที่สังเกต ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………….… กิจกรรม……………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………..………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………….... วัตถุประสงค์การสังเกต 1. ………………………………………………………….……………………………………..……………………….. 2. ……………………………………………………………………………………………………………………….…. 3. ……………………………………………………………………………………………..…………………………… 4. ……………………………………………………………………………………………………………………………
  • 18. 212 พฤติกรรมที่แสดงออก ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… การตีความหมายของพฤติกรรม ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ข้อเสนอแนะของผู้สังเกตในการให้คาปรึกษาและการช่วยเหลือ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… สรุปผลการสังเกต ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………ผู้สังเกต (………..………………………….) ตาแหน่ง………..…………………………………. วัน........... เดือน................... ปี............
  • 19. 213 11. การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัยมีความสาคัญเพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่ง จะต้องเริ่มต้นให้ดีเป็นพิเศษ เพราะว่าเป็นระยะนิสัยต่าง ๆ ของเด็กกาลังเริ่มตั้งต้น พฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในระยะนี้นาน ๆ เข้าจะกลายเป็นนิสัยที่ติดตัวเด็กจนโต ดังนั้น การดาเนินการแก้ไขจะต้องรีบทาในระยะเริ่มต้น ถ้าเห็นว่าพฤติกรรมใดที่เด็กแสดงออก ในทางที่ไม่ดีงามควรได้แก้ไขเสียตั้งแต่เริ่มต้นนี้ ครูปฐมวัยจะต้องรู้จักสังเกตเด็ก ไม่ควรมุ่ง สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว ควรจะได้ศึกษาเด็กเพื่อเข้าใจเด็กและช่วยพัฒนาให้ดีขึ้นก่อนที่ จะสายเกินแก้ ดังนั้น ครูปฐมวัยจึงจาเป็นต้องทราบถึงข้อดีข้อเสียในการสังเกตเด็ก ตลอดจนวิธีการสังเกตเด็กเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช (2539 : 354 – 356) ประโยชน์ของการสังเกตพฤติกรรมเด็ก การศึกษาพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยมีประโยชน์ทั้งต่อตัวเด็กโดยตรง ต่อครูผู้สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกตจะทาให้ผู้สอนมีข้อมูลที่สามารถนาไปใช้ใน การส่งเสริมพัฒนาเด็ก หรือนาไปแก้ปัญหาให้กับเด็กปฐมวัยได้ตรงกับสภาพจริงในเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช (2539 : 345) ได้กล่าว ถึงประโยชน์ ของการสังเกต พฤติกรรมเด็กดังนี้ 1. ครูปฐมวัยได้ศึกษาเกี่ยวกับเด็กในสภาพที่การกระทาของเด็กเป็นไปตาม ธรรมชาติมากกว่าเสแสร้งเพราะครูปฐมวัยสังเกตเด็กตลอดเวลาทั้งเวลาเล่นและทางาน นับตั้งแต่เช้าเด็กเข้าสถานศึกษาตลอดจนถึงเวลาเด็กกลับบ้านในเวลาเย็น 2. การสังเกตเป็นวิธีการที่สามารถนาไปใช้กับเด็กทุกสภาพการณ์และกับเด็กทุก ระดับอายุ ตั้งแต่เด็กอ่อนเด็กเล็กจนถึงวัยรุ่น 3. วิธีสังเกตโดยไม่ใช้เครื่องมือใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นพิเศษ เพียงแต่ใช้ความสนใจ ความสามารถในตัวครูปฐมวัยเองและต้องใช้เวลาด้วย 4. ครูปฐมวัยสามารถสังเกตเห็นผลของความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อ เด็กได้ พฤติกรรมของเด็กจะเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมซึ่งมีทั้งคน สถานที่ และ เหตุการณ์ 5. ครูปฐมวัยมีโอกาสศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เมื่อครูได้สังเกต เด็กแล้วศึกษาหาสาเหตุ จะทราบได้ว่าพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกเช่นนี้มีสาเหตุซึ่งเป็นที่มา
  • 20. 214 ทาให้ปรากฏผลให้เห็น เมื่อทราบความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลจะช่วยให้การแก้ปัญหา ได้ง่ายขึ้น และช่วยให้การสังเกตได้ข้อเท็จจริงเร็วขึ้น 6. การสังเกตมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจของครูปฐมวัยเกี่ยวกับความประพฤติ ของเด็ก และทาให้เกิดความเข้าใจในตัวเด็กดีขึ้น 7. วิธีการสังเกตช่วยให้ได้ข้อมูลบางประการซึ่งไม่สามารถจะหามาได้โดยวิธีอื่น ๆ 8. การสังเกตเด็กเป็นระยะเวลานาน ๆ หลาย ๆ วัน หลายสัปดาห์ หลายเดือนแล้ว มีการบันทึกพฤติกรรมของเด็กไว้ จะช่วยให้ครูปฐมวัยได้รับประโยชน์ในการศึกษา พัฒนาการเด็ก ดังนั้นในการสังเกตเด็กปฐมวัยนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย มิใช่จะมีข้อดีเพียงอย่าง เดียว เพื่อให้ครูปฐมวัยโดยระมัดระวังในเรื่องการสังเกตพฤติกรรมเด็กให้ประสบผลสาเร็จ ที่สมบูรณ์ จึงควรทราบข้อเสียในการสังเกตเด็กปฐมวัยไว้ดังต่อไปนี้คือ ข้อควรระวังในการสังเกตพฤติกรรมเด็ก 1. การศึกษาเด็กโดยวิธีการสังเกตจะได้ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความชานาญของ ผู้สังเกตก่อนที่จะปฏิบัติได้ผลดีจริง ๆ ผู้สังเกตจะต้องมีประสบการณ์มากพอสมควรและ เคยศึกษาเด็กโดยวิธีสังเกตจะต้องมีประสบการณ์มากพอสมควรและเคยศึกษาเด็กโดยวิธี สังเกตมาแล้วเป็นระยะเวลายาวนาน 2. การสังเกตพฤติกรรมเด็กเป็นวิธีใช้เวลามากและต้องทาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ หลายวัน หลายสัปดาห์ และหลายเดือน เพื่อให้ได้ผลอย่างแท้จริง ดังนั้น จึงต้องเสียเวลา รอคอยเป็นเวลายาวนาน 3. ผู้สังเกตจะต้องทาใจเป็นกลางและมีความยุติธรรมในการพิจาณาผลจาก การสังเกต ถ้าผู้สังเกตมีอคติอยู่ก่อนแล้วก็จะทาให้ผลจากการสังเกตนั้นไขว้เขวและ คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ เมื่อครูปฐมวัยได้ทราบถึงประโยชน์และข้อควรระวังในการสังเกตพฤติกรรมของ เด็กปฐมวัยแล้ว ก็ควรจะได้ศึกษาหาวิธีการที่จะช่วยให้สังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัย ได้ผลดีต่อไป การรู้จักเด็กแต่ละคนนั้นเป็นสิ่งจาเป็นที่สุด ครูปฐมวัยควรศึกษาและทา ความเข้าใจเด็กแต่ละบุคคลเป็นราย ๆ ไป เด็กทุกคนไม่มีใครเหมือนใคร มักจะแตกต่างกัน เป็นรายบุคคล ควรสืบถึงประวัติครอบครัว พ่อแม่ สิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นครูปฐมวัย จะต้องเป็นคนช่างสังเกตถึงเหตุการณ์หรือพฤติกรรมของเด็กที่น่าสังเกตซึ่งพอจะสรุปได้ ดังต่อไปนี้