SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 18
Descargar para leer sin conexión
2
การสร้างเศรษฐกิจ
ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ
(Monopoly by Nature)
อรอนงค์ นิธิภาคย์
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
3
ผู้เขียน : อรอนงค์ นิธิภาคย์
บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
ปก : ณัฐธิดา เย็นบารุง
รูปเล่ม : ณัฐธิดา เย็นบารุง
ปีที่เผยแพร่ : ธันวาคม พ.ศ. 2561
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI)
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4
สารบัญ
1. บทนา ........................................................................................................................................5
2. เมือง : ชุมชนขนาดใหญ่.............................................................................................................6
3. หลักในการสร้างเศรษฐกิจเมือง...................................................................................................6
4. แนวคิดการผูกขาดทางธรรมชาติ...................................................................................................8
5. การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature) เพื่อสร้างเศรษฐกิจเมือง...................9
6. วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการใช้การผูกขาดของธรรมชาติ ..................................................9
7. ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการผูกขาดของธรรมชาติ...................................................10
8. สรุป .........................................................................................................................................18
5
การสร้างเศรษฐกิจด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ1
(Monopoly by Nature)
อรอนงค์ นิธิภาคย์2
1. บทนา
ปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยนาไปสู่การกระจุกตัวของความมั่งคั่ง จากการจัด
อันดับความเหลื่อมล้าของโลก CS Global Wealth Report 2016 พบว่าใน 140 ประเทศ ประเทศไทย
ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก เป็นรองประเทศรัสเซียและอินเดีย หมายความว่าประเทศไทยมี
ประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันมากหรือมีความเหลื่อมล้าเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ประเทศไทยมี
คนรวยร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินถึงร้อยละ 58 ของประเทศ ในขณะที่คนที่เหลืออีกร้อยละ 99 ถือ
ครองทรัพย์สินของประเทศรวมกันร้อยละ 42 ของประเทศ สมมติว่า หากประเทศไทยสร้างรายได้ขึ้นมา
ได้ 100 บาท และมีประชากรในประเทศอยู่ 100 คน คนรวย 1 คนจะได้เงินไป 58 บาท ในขณะคนที่
เหลืออีก 99 คน จะได้เงินรวมกันเพียง 42 บาท เมื่อหารแล้วเท่ากับว่าคน 99 ที่เหลือได้เงินไม่ถึงครึ่ง
บาท
ในสังคมทุนนิยมนั้น ปัจจัยชี้ขาดความมั่งคั่งขึ้นอยู่กับการถือครองกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต
ตามหลักเศรษฐศาสตร์ปัจจัยการผลิตประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน ใครถือครองปัจจัย
การผลิตมาก คนนั้นก็จะมีโอกาสมั่งคั่งมาก ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเดินอยู่บนฐานของ
การกระจุกตัวปัจจัยการผลิตส่วนอยู่ใหญ่ในกลุ่มคนไม่กี่คน จึงนามาสู่ความเหลื่อมล้าอันดับที่ 1 ของโลก
ในขณะที่ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้าสูง ประเทศกาลังเผชิญกับการลงทุนจากต่างประเทศ มี
กลุ่มทุนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาแสวงหาความมั่งคั่งในประเทศไทย อาทิเช่น คนจีนที่แห่มาลงทุนในที่ดินและ
ฐานทรัพยากรของไทย เห็นได้จากข่าวที่จีนต้องการทาการเช่าที่ดินบริเวณภาคอีสานเพื่อปลูกสมุนไพร
จาหน่ายในตลาดโลกด้วยงบลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท หรือการขอเช่าพื้นที่สวนยางกว่า 2 หมื่นไร่
เพื่อผลิตเวชสาอาง จะเห็นได้ว่า ความต้องการลงทุนของจีน ไม่ได้หยุดอยู่แค่อุตสาหกรรม แต่จีน
ต้องการลงทุนในทุนทางธรรมชาติของไทยอีกด้วย ซึ่งทุนทางธรรมชาติอาจเป็นทุนก้อนสุดท้ายของคน
ในท้องถิ่น ที่ชาวบ้านสามารถเป็นเจ้าของร่วมกันได้ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ได้จุดประกาย
แนวคิด “การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติเพื่อสร้างเศรษฐกิจเมือง/ชุมชน” เพื่อให้ประเทศได้
ใช้ทุนก้อนสุดท้ายของคนไทยที่อยู่ในมือทุกคน ให้เกิดประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชุมชน
หรือเมืองที่กาลังจะเติบโต เป็นฐานที่ยึดโยง และสร้างความมั่งคั่งให้แก่ชาวบ้าน
1
ถอดความโดยนางสาวฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม เรียบเรียงโดยนางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง ผู้ช่วยวิจัยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต จากการบรรยายในงานสัมมนาหลักสูตร “ผู้สร้างบ้านแปงเมือง” เรื่อง การใช้จิตวิญญาณและอัตลักษณ์เมือง เพื่อสร้าง
สังคมและเศรษฐกิจเมืองแบบเกื้อกูลและยั่งยืน จัดโดย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 22 ตุลาคม
2561 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมรามาการ์เด้นส์ หลักสี่ กทม.
2
อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
6
2. เมือง : ชุมชนขนาดใหญ่
“เมือง” ในวิกิพีเดีย หมายถึง ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าผู้ปกครอง เนื่องจากในสมัยก่อนจะมี
กาแพงล้อมเพื่อป้องกันฆ่าศึก ส่วน “ชุมชน” ตามคานิยามของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) คือ
กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างปกติและต่อเนื่อง อยู่ในบริเวณ
เดียวกันหรือมีอาชีพเดียวกัน หากดูคาสาคัญจะพบคาว่า “อยู่ในพื้นที่เดียวกัน” และ “สื่อสารกัน” คาว่า
พื้นที่ เหนือพื้นดินมีทรัพยากรคืออากาศ คลื่น บนพื้นดินมีพืช สัตว์ ส่วนใต้ดินมีแร่ธาตุ ในทาง
เศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นทุนทางธรรมชาติ ที่สามารถสร้างให้เกิดการผูกขาดกับคนที่อยู่ในบริเวณนั้นได้
คาว่า สื่อสารกัน คือ เมื่อกลุ่มคนที่มาอยู่รวมกัน มีความสนใจเหมือนกัน ประกอบกิจกรรมร่วมกัน ได้
ประกอบสร้างและหล่อหลอมธรรมชาติทางสังคมของคนไทยขึ้นมา กลายเป็นทุนประเภทหนึ่งที่หยิบมา
สร้างการผูกขาดได้ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ดังนั้น คาว่าธรรมชาติไม่ได้หมายถึงสิ่งที่พระ
เจ้าสร้าง แต่ยังหมายรวมไปถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการหล่อหลอมร่วมกันของคนในสังคม สิ่งเหล่านี้
ทั้งทุนทางธรรมชาติและทุนทางวัฒนธรรมจะเป็นฐานสาคัญของการสร้างการผูกขาดได้
3. หลักในการสร้างเศรษฐกิจเมือง
เศรษฐกิจในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ
1. การบริโภค ชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เริ่มต้นที่การบริโภค มนุษย์เมื่อเริ่มปฏิสนธิในครรภ์
มารดาหนึ่งวัน ก็เริ่มต้นชีวิตด้วยการบริโภคอาหารและอากาศจากแม่ผ่านสายสะดือ ดังนั้นชีวิต
มนุษย์ทุกคนจึงนับหนึ่งที่การบริโภค
2. การผลิต เมื่อเราโตขึ้น มนุษย์มีความต้องการมากขึ้น มนุษย์จึงต้องทาการผลิต เพื่อนาไป
อุปโภคบริโภคสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง การผลิตตามความหมายทางเศรษฐกิจ
การเมือง คือ การใช้พลังแรงกายและสมองของมนุษย์ แปรธรรมชาติให้เป็นผลผลิตที่ใช้อุปโภค
บริโภคได้
3. การแลกเปลี่ยน แต่เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถผลิตทุกอย่างที่ตนเองต้องการได้ จึงต้องนา
ผลผลิตของตนเองไปแลกเปลี่ยนกับผลผลิตของผู้อื่น เพื่อมาบาบัดความต้องการของตน ทาให้
ตนเองมีความพอใจสูงขึ้น การแลกเปลี่ยนจึงได้เริ่มขึ้น
4. การวิภาคกรรม หรือการแบ่งปันค่าตอบแทน เนื่องจากในกระบวนการผลิตสมัยใหม่
จาเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิตของผู้อื่น เช่น แรงงาน จึงต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของ
ปัจจัยการผลิต ในข้อนี้ จึงเกิดการวิภาคกรรมขึ้น ซึ่งก็คือ การแบ่งปันค่าตอบแทน หรือการ
กระจายรายได้
ดังนั้น หากจะสร้างเศรษฐกิจเมือง ต้องพัฒนา 4 ปัจจัย ตามปัจจัยข้างต้น ดังนี้
1. การบริโภค ถ้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทใดที่ผลิตและถูกบริโภคด้วยความนิยมของคนใน
ชุมชน จะเป็นการช่วยสร้างมาตรฐานให้แก่สินค้า เช่น น้าตาลสดเมืองเพชรของแท้ ต้องมีกลิ่น
7
ความหอมหวาน หรือรสชาติอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ความนิยมในการบริโภคของครัวเรือน
และชุมชน ยังมีส่วนช่วยในแง่การตลาดโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ สินค้าที่ชุมชนนิยมบริโภค จะ
ช่วยขยายวงการบริโภคออกไป ผ่านธรรมเนียมการต้อนรับแขกของคนไทย ที่มักจะนาของดีมา
รับแขก ที่เชิญชวนให้คนนอกชุมชนได้หยิบจับ ทดลองใช้สินค้า เท่ากับเป็นการแนะนา สร้าง
ความรู้จักสินค้าไปในตัว ซึ่งจะทาให้การบริโภค สามารถขยายวงออกไปเรื่อย ๆ จากครอบครัวสู่
ชุมชน จากชุมชนเรา สู่ชุมชนใกล้เคียง สู่ตาบล อาเภอ จังหวัด ประเทศ หรือทั่วโลก ทั้งนี้การ
บริโภคเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้
2. การผลิต การผลิตประเภทใดที่สามารถสร้างเศรษฐกิจได้ มักจะต้องเป็นการผลิตที่สร้างผลผลิต
ที่มีประโยชน์ใช้สอย มีคุณค่า ต่อชีวิตของคนในชุมชนก่อน (หรือมีมูลค่าใช้สอย) ซึ่งประโยชน์ใช้
สอยนี้ สามารถนาไปสร้างมูลค่าแลกเปลี่ยนได้ต่อไป การที่ชุมชนผลิตผลผลิตที่มีประโยชน์ใช้
สอยต่อชีวิตของตนเองก่อน นั่นหมายความว่า แม้จะขายนอกชุมชนไม่ได้ (แลกเปลี่ยนไม่ได้)
สินค้าดังกล่าวยังนามาใช้บาบัดความต้องการของคนในชุมชนได้(ยังมีตลาดภายใน) แต่หาก
นาไปขายนอกชุมชนได้ ก็จะเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ชุมชน เราจะพบตัวอย่างของเกษตรกร ที่ผลิต
พืชเชิงเดี่ยว และใช้สอยในชุมชนโดยตรงไม่ได้ เช่น ปาล์ม เมื่อไม่สามารถนามาแปรรูปและใช้
ประโยชน์เองได้ จึงต้องนาไปขาย เมื่อขายไม่ได้หรือขายแล้วขาดทุน จึงประสบปัญหามาก เป็น
ต้น
3. การแลกเปลี่ยน เราจะพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนที่เสมอภาค เราแบ่งการ
แลกเปลี่ยนออกเป็น 2 ระดับ คือ การแลกเปลี่ยนแบบเกื้อกูล จะเป็นการแลกเปลี่ยนกับเพื่อน
บ้านหรือคนในชุมชน ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนเพื่อสะสมความมั่งคั่ง แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อ
แบ่งปัน จัดสรรให้คนในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้า ราคาที่ขายจะสูงกว่าต้นทุนไม่มากนัก
(ตลาดท้องถิ่น) และการแลกเปลี่ยนอีกระดับคือ การแลกเปลี่ยนเพื่อแสวงหากาไร การ
แลกเปลี่ยนประเภทนี้ ที่จะถูกใช้เป็นกลไกแสวงหาความมั่งคั่ง ราคาจะแพงกว่าตลาดท้องถิ่น
เน้นตลาดระดับประเทศหรือในต่างประเทศ
4. การวิภาคกรรม หรือการแบ่งปันค่าตอบแทน คือ การจ่ายค่าตอบแทนการผลิตให้เป็นไปตาม
สิทธิ์ที่ควรจะได้รับตามการถือครองปัจจัยการผลิต แต่ถ้าทุนหลักที่นามาใช้เป็นทุนทาง
ธรรมชาติภายในชุมชน ทุกคนในชุมชนก็ควรจะได้ประโยชน์ร่วมกัน และได้รับการแบ่งปัน
ค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม เป้าหมายของการแบ่งปันค่าตอบแทน ก็คือ การแบ่งปันที่เป็นธรรม
ซึ่งในบางครั้ง การได้มาซึ่งการแบ่งปันที่เป็นธรรม จาเป็นต้องอาศัยอานาจต่อรอง
โดยปกติแล้วเมืองประกอบด้วยชุมชน ภายในชุมชนประกอบด้วยครอบครัว ครอบครัวก็จะ
ประกอบไปด้วยคน ในการบริโภคจึงควรมองการบริโภคของคนในครอบครัวเป็นอันดับแรก สมมติว่า
เราอยู่ในครอบครัวที่แม่ประกอบอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลกนี้และทุกคนลงความเห็นว่า
เป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยมาก ในวัฒนธรรมไทยเมื่อเราบริโภคเสร็จแล้วมีเหลือมากพอก็จะเกิดการ
แบ่งปันให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นการขยายการบริโภคผ่านทางวัฒนธรรม เช่น งานบุญ ซึ่งการเผยแพร่
8
อาหารของเรานั้นถูกสืบสานผ่านทางวัฒนธรรมที่ถูกขยายผล ฉะนั้น ถ้าเราไปพัฒนาการบริโภคของ
ชุมชนให้ก้าวสู่การบริโภคระดับประเทศจะต้องมีเส้นทางที่ขยายผลิตภัณฑ์นั้นออกไป
4. แนวคิดการผูกขาดทางธรรมชาติ3
การจะศึกษาเรื่องการผูกขาดของธรรมชาติเพื่อสร้างเศรษฐกิจเมือง สามารถประยุกต์ร่วมกับ
แนวคิดการผูกขาดตามหลักเศรษฐศาสตร์ โดยการผูกขาดในทางเศรษฐศาสตร์ คือ
1. สินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีจานวนผู้ผลิตหรือผู้จาหน่ายน้อยราย ถ้ามีผู้ขายรายเดียว ในทาง
เศรษฐศาสตร์เรียกว่า Monopoly หากมีผู้ขายสองราย เรียกว่า Duopoly และหากมีผู้ขาย
มากกว่าสองราย จะเรียกว่า Oligopoly หากผู้ผลิตหรือผู้จาหน่ายน้อยรายรวมกลุ่มกันเพื่อ
ผลประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม จะเรียกว่า Cartel หมายความว่า สินค้าใดมีผู้ผลิตหรือผู้ขายน้อย ก็
จะสามารถสร้างอานาจผูกขาดได้
2. สินค้าหรือบริการนั้นสามารถสร้างกาไรในระยะยาวได้ เนื่องจากมีผู้ผลิตน้อยราย การผูกขาด
สามารถสร้างกาไรระยะยาวให้แก่ผู้ผูกขาดได้ หมายความว่า หากเปลี่ยนการผูกขาดจากคน ๆ
เดียวเป็นชุมชนผูกขาด ชุมชนก็จะสามารถหากาไรในระยะยาวได้
3. มีกาแพงหรืออุปสรรคที่กีดกันไม่ให้ผู้แข่งรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งขันได้ หรือได้รับสิทธิ
บางอย่างในการครอบครองปัจจัยการผลิต หากชุมชนสามารถผูกขาดทรัพยากรธรรมชาติหรือ
ทุนทางสังคมประเภทใดประเภทหนึ่งได้ ชาวบ้านของชุมชนนั้นๆ ก็จะได้ประโยชน์ในระยะยาว
และสืบเนื่องต่อไปได้
นอกจากนี้ ความสามารถในการผูกขาด ขึ้นอยู่กับ
1. ความสามารถในการควบคุมปัจจัยการผลิตที่สาคัญไว้ได้ ถ้าผู้ใดควบคุมปัจจัยการผลิตสาคัญได้
คนนั้นก็ผูกขาดตลาดได้
2. ความสามารถในการประกอบการที่ทาให้เกิดการประหยัดจากขนาด (economy of scale) เป็น
การผลิตครั้งละมากๆ ที่ทาให้สามารถผลิตด้วยต้นทุนที่ต่าที่สุด และสามารถขายราคาถูกลงได้
เป็นเหตุให้ครองส่วนแบ่งตลาดหรือกลายเป็นเจ้าตลาดในที่สุด ทางเศรษฐศาสตร์เรียก
ความสามารถในลักษณะนี้ว่า ทาให้เกิดการผูกขาดโดยธรรมชาติ(natural monopoly) อาทิ
กิจการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น (แต่ไม่ใช่เป็นการผูกขาดของธรรมชาติ monopoly by
nature)
3
คาว่า “การผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by nature)” เป็นศัพท์บัญญัติของ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และ อ.อรอนงค์ นิธิภาคย์ ที่ไม่ได้ปรากฏ
อยู่ในตาราทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการผูกขาดที่มีอยู่จริง โดยเป็นการผูกขาดที่เกิดจากการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่น มีลักษณะ
เฉพาะถิ่น หรือเป็นการผูกขาดจากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือจากสิ่งบ่งชี้ทางสังคม และเป็นศัพท์บัญญัติเพื่อให้แตกต่างจากคาว่า “การผูกขาดโดย
ธรรมชาติ (natural monopoly)” ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติในทางเศรษฐศาสตร์ ที่หมายถึง การผูกขาดที่เกิดจากลักษณะของการประกอบการ ที่สามารถทา
การผลิตครั้งละมากๆ จนทาให้เกิดการประหยัดต้นทุน หรือสามารถทาการผลิตได้ต้นทุนต่ามาก จนสามารถขายได้ในราคาที่ถูกสุดในตลาด ทาให้ผู้ผลิต
รายนี้สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดได้มากสุด จนกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดในที่สุด
9
3. การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร ในทางเศรษฐกิจชุมชน/เมือง ถ้าชุมชนสามารถนาสินค้า
ไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร หรือทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical
Indications: GI) การผูกขาดก็สามารถเกิดขึ้นกับชุมชนได้
4. การที่รัฐบาลให้อานาจผูกขาด เพื่อควบคุมสินค้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ
และความมั่นคง เช่น สุรา ล็อตเตอรี่ เป็นต้น
5. การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature) เพื่อสร้างเศรษฐกิจ
เมือง
การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติ มีหลักการดังต่อไปนี้
1. การมีทรัพยากรธรรมชาติ หรือธรรมชาติที่เกิดจากการหล่อหลอมของสังคมหนึ่ง ๆ ที่มีอัต
ลักษณ์โดดเด่น ซึ่งชุมชนมีอยู่เพียงแห่งเดียว ที่อื่นไม่มี หรือมีก็ไม่ดีเท่า
2. นาธรรมชาติเหล่านั้นที่มีคุณค่าในตัวเอง มาแปรเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value)
เป็นสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะจาเพาะ มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือทางสังคม
3. ทาการเผยแพร่ให้สังคมรู้จักคุณค่าและนาไปใช้ประโยชน์ต่อชีวิต จิตใจ และสังคม เพื่อให้เกิด
การบริโภคภายในและนอกชุมชน
4. ปัจจัยสาคัญที่สุดที่จะทาให้การผูกขาดของธรรมชาติ สร้างประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจชุมชน หรือ
เมืองก็คือ การให้ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพยากรที่มีลักษณะผูกขาดของธรรมชาติ
มิใช่ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน นาไปสู่การแบ่งปัน
ค่าตอบแทนที่ทั่วถึงเป็นธรรม
6. วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการใช้การผูกขาดของธรรมชาติ
1. ค้นหาลักษณะผูกขาดของธรรมขาติของแต่ละพื้นที่ อาจจะอยู่ในรูปสิ่งของ สัตว์ คน สถานที่
ประเพณี ฯลฯ
2. เก็บรวบรวมข้อมูล อาจเป็นการทางานร่วมกันระหว่างชาวบ้าน โดยเฉพาะปราชญ์ชาวบ้านหรือ
ผู้ที่มีภูมิปัญญาในชุมชน NGO นักวิจัย หรือนักวิชาการ
3. พัฒนาลักษณะผูกขาดของธรรมชาติให้มีคุณค่าและมีมูลค่า ให้กลายเป็นสินค้าและบริการ ซึ่ง
จาเป็นต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัย และงานวิชาการ
4. เผยแพร่และทาการตลาด พัฒนาข้อมูลจากงานวิจัย ให้มีเรื่องเล่า (story) เกี่ยวกับสินค้านั้นๆ
เพื่อให้สังคมวงกว้างและผู้บริโภคตระหนักรู้ อยากทดลอง อยากใช้ อยากซื้อสินค้า
5. สิ่งใดที่สามารถจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI โดยชุมชน ก็ให้รีบจดทะเบียน
10
6. สิ่งใดที่เป็นแกนหลักหรือเป็นต้นน้าของผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง (มี linkage สูง) กล่าวคือ เป็น
ทรัพยากรที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการได้หลากหลาย สิ่งนั้นต้องหยิบยกขึ้นมา พัฒนา
ให้เป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชน
7. ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการผูกขาดของธรรมชาติ
ตัวอย่างในต่างประเทศ
 การสร้างเรื่องเล่าให้สินค้า : กรณีข้าวพันธุ์โคชิ ฮิคาริ ของญี่ปุ่น
ข้าวโคชิ ฮิคาริเป็นข้าวพันธุ์ premium ของจังหวัดนิงาตะ เป็นข้าวที่มีราคาแพงที่สุดใน
โลก โดยข้าวโคชิ ฮิคาริ 2 กิโลกรัม มีราคาประมาณ 500 บาท เหตุที่ข้าวพันธุ์นี้มีราคาแพง
เนื่องจากมีการสร้างเรื่องเล่าให้สินค้าเกี่ยวกับกระบวนการปลูกที่ใช้น้าจากการละลายของหิมะ
บนเทือกเขาฟูจิ นามาจัดใส่ลงบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้ดูดี การสร้างเรื่องเล่าให้สินค้าทาให้
ผู้บริโภครู้สึกดี อยากลองบริโภค นอกเหนือไปจากการบริโภคเพื่ออิ่มท้อง
รูปที่ 1: ข้าวพันธุ์โคชิ ฮิคาริ ของประเทศญี่ปุ่น
ที่มา: อรอนงค์ นิธิภาคย์ (2561)
 หนึ่งเอกลักษณ์ สร้างได้หลายผลผลิต : กรณีต้นบาวบับ (Baobab) ในหมู่เกาะ
มาดากัสการ์
ต้นบาวบับ หรือคนไทยเรียกว่า “ต้นมหาสมบัติ” มีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ กระจายอยู่
ประมาณ 2-3 ประเทศ โดยจานวน 6 สายพันธุ์ อยู่ที่หมู่เกาะมาดากัสการ์ในทวีปแอฟริกา ต้น
บาวบับเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุมากถึง 6,000 ปี เป็นต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น คือ
ลาต้นอวบอ้วนและสูงใหญ่ ต้นที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสารวจได้มีขนาดเส้นรอบวง 47 เมตร มีกิ่งก้าน
11
ไม่มาก และอยู่เฉพาะส่วนบนของลาต้น บางคนเรียกต้นบาวบับว่า “ต้นไม้ปีศาจ” เพราะเมื่อใบ
ร่วง กิ่งก้านจะดูหยิก ๆ งอๆ เหมือนต้นไม้ที่หงายท้อง เอารากชี้ฟ้า บางคนเรียกผลบาวบับว่า
“ลูกหนูตาย” เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับหนูถูกห้อยหัว นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ที่สามารถกัก
เก็บน้าได้มากสุดถึง 120,000 ลิตร แห้งแล้งอย่างไรก็ไม่ตาย
แต่เดิมคนท้องถิ่นในมาดากัสการ์เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากต้นบาวบับ คือ ส่วนเปลือก
สามารถนามาทาผ้า กระดาษ เชือก แห ส่วนผลเป็นยาแก้ปวดท้อง ส่วนผงแป้งภายในผล
บาวบับนามาทาเป็นโจ๊ก
ด้วยลักษณะพิเศษของต้นไม้ชนิดนี้ คนท้องถิ่นเริ่มใช้ประโยชน์โดยการขุดโพรงเพื่อเข้า
ไปอยู่อาศัย พัฒนาดงบาวบับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใช้โพรงในต้นบาวบับเป็นที่พัก เป็น
ร้านอาหาร ทาเป็นห้องน้า คนที่มาเที่ยวก็อยากจะมาลองอยู่ลองสัมผัสกับต้นไม้นี้
เมื่อชาวตะวันตกเข้าไปศึกษาวิจัยโดยใช้ฐานความรู้จากคนในท้องถิ่นจึงพบว่า ผลของ
บาวบับมีวิตามินซีสูงกว่าส้ม 6 เท่า มีสาร antioxidant ช่วยแก้โรคมะเร็ง เป็นยาแก้ปวดท้อง ใน
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการนาผงแป้งขาว ๆ ในผลบาวบับไปทาเป็น super food ให้แก่
นักกีฬา บ้างนาไปเป็นส่วนประกอบของขนม ผงแป้งบาวบับ 240 กรัม มีราคา 560 บาท ใน
ยุโรปได้รับความนิยมอย่างมาก มักถูกใช้แทนแป้งข้าวโพด รับประทานต้านมะเร็ง ทาให้เป็น
เหตุผลหนึ่งที่ทาให้ผงบาวบับมีราคาสูง ชาวตะวันตกจึงจ้างผู้หญิงในจังหวัดลิมโปโป ประเทศ
แอฟริกาใต้ไปเก็บผลบาวบับทุกเช้า แล้วนาเอามาจาหน่าย
จากที่กล่าวมาในข้างต้น พบว่า ต้นบาวบับเป็นต้นไม้ที่มีเพียงหนึ่งเอกลักษณ์ แต่ผลิต
สินค้าได้หลากหลาย แต่เดิมชาวมาดากัสการ์ใช้ผลเป็นอาหาร ใบเป็นยา เปลือกเอามาทอแห
ทาเป็นอวน แม้ว่าจะลอกเปลือกออกมา ต้นบาวบับก็จะงอกมาใหม่ ต่อมามีการพัฒนาอัตลักษณ์
ของบาวบับให้กลายเป็นสินค้าหลากหลายดังนี้ หนึ่ง ใช้เป็นอาหาร ยา และเครื่องสาอาง
ชาวตะวันตกนามาต่อยอดเป็นยา เมล็ดเอาไปสกัดทาน้ามันเป็นเครื่องสาอาง นาผงบาวบับ
พัฒนาเป็น super food สอง การพัฒนาดงบาวบับให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ผ่านการสร้าง
เรื่องราวเป็นฉากหนึ่งในการ์ตูนดิสนีย์เรื่อง The Lion King และฉากหนึ่งในนิยายเรื่อง The
Little Prince ทาให้คนเรียนรู้เพราะมันมี story ของมันเอง และสามเกิดอาชีพที่สาคัญถัดมาคือ
อาชีพอนุรักษ์ต้นบาวบับ โดยทุก ๆ 1 เซนติเมตรที่ต้นบาวบับโตขึ้น คนดูแลจะได้รับเงินจานวน
21 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้เกิดการผูกขาดโดยธรรมชาติยังดารงอยู่
12
รูปที่ 2: ต้นบาวบับ (Baobab) ในหมู่เกาะมาดากัสการ์ และผลิตภัณฑ์จากต้นบาวบับ
ที่มา: www.winner.tv, www.pantip.com, www.newtv.co.th
ตัวอย่างในประเทศไทย
 เมืองพัทลุง : ข้าวสังหยดอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ และพัฒนาต่อยอดอัตลักษณ์ผ่าน
วิธีการผลิต วิธีการบริโภคของเครือข่ายนาข้าวคุณธรรมจังหวัดพัทลุง
อัตลักษณ์ของข้าวสังหยด คือ เมล็ดข้าวจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนแดงอ่อนๆ ถึงแดงเข้ม
เมล็ดเล็กเรียว ท้ายงอน เวลาหุงสุกเมล็ดข้าวจะนุ่มมาก หอม หุงขึ้นหม้อ แม้ว่าตั้งไว้จนเย็นก็
ยังคงนุ่มอยู่ มีความคงตัวของเมล็ดข้าวสูง เป็นข้าวที่มีรสชาติดีจนถึงขนาดกล่าวขวัญกันว่า ต้อง
สั่งให้หยุดกิน และเพี้ยนคาว่า “สั่งหยุด” กลายเป็นชื่อข้าว “สังหยด” นอกจากความอร่อยยังมี
คุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ อีกทั้งยังย่อยง่ายช่วยให้ระบบขับถ่ายดีลาไส้ไม่ต้อง
ทางานหนัก เหมาะสาหรับผู้สูงอายุ เพราะมีกากใยมาก ทั้งนี้ข้าวสังหยดพัทลุงได้รับการขึ้น
ทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว
แม้ว่าข้าวสังหยดพัทลุงจะมีอัตลัษณ์ทางภูมิศาสตร์อยู่แล้ว แต่กลุ่มนาข้าวคุณธรรม
จังหวัดพัทลุง ยังได้พัฒนาอัตลักษณ์ให้กับข้าวสายพันธุ์นี้ ด้วยวิธีการผลิตที่มีลักษณะโดดเด่น
กล่าวคือ ข้าวของชาวนากลุ่มนี้ถูกเลี้ยงด้วยน้าที่มาจากน้าตกลานหม่อมจุ้ย ที่มีต้นกาเนิดมาจาก
เทือกเขาบรรทัด และจุลินทรีย์ที่อยู่ตามขอนไม้ผุ ๆ ริมน้าตกลานหม่อมจุ้ยจะถูกเก็บเพื่อมาทา
เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีจะได้มาจากกระบวนการย่อยของจุลินทรีย์เฉพาะถิ่น เมื่อใช้
จุลินทรีย์มาย่อยฟางข้าวในนา ทาให้ต้นทุนในการปลูกข้าวสังหยดแบบอินทรีย์ สามารถลด
ต้นทุนได้ถึง 3,000-4,000 บาทต่อไร่ ในส่วนของการไล่หนูจะใช้กาบมะพร้าวที่มีลักษณะคล้ายงู
มาปักบนที่นา เมื่อหนูเห็นจะคิดว่าเป็นงูก็จะหนีไป และด้วยสภาพภูมิอากาศที่มีฤดูฝน 8 เดือน
13
ฤดูร้อนเพียง 4 เดือน ข้าวจึงมีลักษณะของลาต้นที่สูงเพราะหากไม่สูงจะโดนน้าท่วมตาย ซึ่งเป็น
ลักษณะจาเพาะทางภูมิศาสตร์ของข้าวทางภาคใต้ เนื่องจากต้นข้าวมีลักษณะสูงจึงต้องใช้แกละ
เก็บข้าวซึ่งเป็นอุปกรณ์เกี่ยวข้าวชนิดหนึ่ง เมื่อเก็บข้าวด้วยแกละจะไม่มีซังติดมาด้วย มีเพียงแค่
คอรวงข้าว นับเป็นวิถีการปลูกที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวนาในพื้นที่นี้
นอกจากนี้มีการทดลองโดยการนาพันธุ์ข้าวจาก 4 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ และพัทลุง มาปลูกในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น นาข้าวสังหยดพัทลุงไปปลูก
ที่ประจวบคีรีขันธ์ นาข้าวหอมมะลิแดงที่สุพรรณบุรีมาปลูกที่เพชรบุรี และนาผลผลิตที่ได้เข้า
ห้องทดลอง ปรากฏว่าแร่ธาตุในข้าวที่สาคัญ คือ เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และสังกะสี นั้น
ข้าวสังหยดที่ปลูกที่พัทลุงมีแร่ธาตุสาคัญ สูงกว่าข้าวสังหยดที่ปลูกจากที่อื่น นี่คือสิ่งที่ทาให้
ข้าวสังหยดมีอัตลักษณ์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่แตกต่างจากที่อื่น
เรื่องที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ การวิธีการหุงข้าวก็สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้กับ
สินค้าได้ เช่น การหุงข้าวของชาวนาพัทลุง ที่นาข้าวไปหุงด้วยกระบอกไม้ไผ่กับใบเร็ดหรือใบ
นมวัว ซึ่งเป็นวิธีการหุงแบบทางภาคใต้ที่มีลักษณะเฉพาะ จะเป็นได้ข้าวสุกที่อร่อยมากยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า ข้าวสังหยดพัทลุง มีอัตลักษณ์โดดเด่นจากการเป็นพืชที่มีสิ่งบ่งชี้ทาง
ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสร้างอัตลักษณ์เพิ่มเติมให้กับข้าวสายพันธุ์นี้ได้ ด้วยวิธีการปลูกที่
แตกต่าง วิธีการหุงข้าวที่แตกต่าง ทั้งหมดจึงเป็นอัตลักษณ์ที่สามารถสร้างการผูกขาดของ
ธรรมชาติให้กับชาวนาที่ผลิตข้าวสังหยดพัทลุงได้
รูปที่ 3: วิธีการพัฒนาข้าวสังข์หยด
ที่มา: อรอนงค์ นิธิภาคย์ (2561)
14
 เมืองพบพระ จังหวัดตาก : กัญชง หนึ่งอัตลักษณ์ สร้างได้หลายสินค้า
กัญชงเป็นพืชวงศ์เดียวกันกัญชา ที่มีสาร THC และ CDB สามารถใช้รักษามะเร็งได้
โดยในกัญชาจะมีสาร THC สูงช่วยในการรักษามะเร็ง ส่วนกัญชงจะลักษณะโดดเด่นคือ มีสาร
CDB สูงซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยลดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลาย ทาให้คนไข้กินได้นอนหลับ
การที่กัญชงมีสาร CDB สูง ก็เนื่องจากปลูกอยู่ในพื้นที่สูง โดยเฉพาะอาเภอพบพระ จังหวัดตาก
ที่สูงจากน้าทะเลถึง 260 – 1,700 เมตร นอกจากนี้กัญชงยังมีลักษณะโดดเด่นอีกประการหนึ่ง
คือ มีเส้นใยที่เหนียว ยาว เชื้อราไม่ขึ้น ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากกัญชงด้วยการนาเส้นใยมาทอ
ผ้าส่งโครงการหลวง
กัญชงมีความผูกพันกับชีวิตประจาวันของชาวบ้าน(ชาวเขาเผ่าแม้ว)ตั้งแต่เกิดจนตาย
พวกเขาใช้กัญชงในการผูกสายรกเด็กแรกเกิด และเมื่อเสียชีวิตศพจะถูกสวมด้วยชุดที่ทอจากใย
กัญชง ชาวบ้านใช้ความเชื่อและวัฒนธรรมในการป้องกันมิให้คนในชุมชน นากัญชงไปใช้เป็นยา
เสพติด ด้วยการสร้างความเชื่อที่จะห้ามไม่ให้คนเข้าพื้นที่ปลูกเด็ดขาดเมื่อกัญชงเริ่มออกดอก
จากคุณสมบัติเด่นข้างต้นมีการต่อยอดพัฒนากัญชงดังนี้ รองเท้ายี่ห้อดังอย่าง Nike รุ่น
Hemp นั้นถูกทอมาจากใยกัญชง มีคุณสมบัติพิเศษคือแม้ว่าไม่ทาความสะอาด ราก็ไม่ขึ้น ไม่มี
กลิ่นอับ มีการนาใยกัญชงไปต่อยอดโดยทาเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน ชิ้นส่วนในรถยนต์
เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด อิฐจากใยกัญชง หรือชุดทหารในประเทศจีนที่ส่วนหนึ่งผลิตมาจากผ้ากัญชง
มีการนาเมล็ดกัญชงมาสกัดน้ามันที่มีวิตามิน B3 และ B6 เราจะเห็นได้ว่ากัญชงเป็นพืชที่มี
ความเชื่อมโยงที่สามารถนาไปสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ค่อนข้างสูง (linkages สูง)
รูปที่ 4: ผลิตภัณฑ์จากกัญชง
ที่มา: โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ
15
 เมืองน้าผุด จังหวัดตรัง : ลูกประ
ต้นลูกประมีความสูงถึง 10 เมตร เป็นต้นไม้เฉพาะถิ่นที่พบมากที่สุดในจังหวัดตรัง
บริเวณบ้านน้าผุด ลูกประสามารถนามาแปรรูปด้วยการดองเป็นของทานเล่นได้ รสชาติของลูก
ประคล้ายแมคคาเดเมีย แต่มีขนาดใหญ่กว่า นอกจากนี้ยังสามารถนามาเป็นวัตถุดิบในการทา
น้าพริกได้ ลูกประดิบมีราคาลูกละ 1 บาท ชาวบ้านเก็บได้วันละ 20-50 กิโลกรัม สร้างรายได้วัน
ละ 200-500 บาท หากนาไปดองจะมีราคากิโลกรัมละ 100 บาท และหากนาไปคั่วจะเพิ่มมูลค่า
เป็นกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งลูกประสามารถนามาประกอบอาหารได้หลายประเภท เราสามารถ
นามาต่อยอดทาเป็นลูกประชุบช็อคโกแลต เป็นอาหารว่างทานเล่นได้
รูปที่ 5: ต้นลูกประ ลูกประ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลูกประ
ที่มา: https://m.mgronline.com/south/detail/9570000137538
นอกจากตัวอย่างการสร้างการผูกขาดโดยธรรมชาติที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่าง ๆ
อาทิ
 การสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีสัตว์
ยกตัวอย่าง ปลาลาพัน เป็นปลาดุกสายพันธุ์หนึ่งที่พบได้เฉพาะบริเวณป่าพรุภาคใต้
ลาตัวสีน้าตาล มีเส้นประตามตัว หัวเล็ก เนื้ออร่อยกว่าปลาดุกอุยและปลาดุกรัสเซีย ปัจจุบันปลา
ลาพันใกล้ศูนย์พันธุ์แล้ว ปลาชนิดนี้มักอาศัยอยู่ตามโขนหินในป่าพุทางภาคใต้ ขนาดตัวยาว 30-
60 เซนติเมตร หนังมีความหนา นามาทาปลาดุกฟูดี ตัวขนาด 60 เซนติเมตร มีราคาสูงกว่า
1,000 บาท ถ้าป่าพรุภาคใต้สามารถอนุรักษ์ปลาชนิดนี้ไว้ได้ จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นมา
ได้อีก หรือวัวชน โดยการแข่งวัวชนเป็นงานแข่งขันที่นิยมในภาคใต้ การพนันวัวชนนัดใหญ่มี
มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เราสามารถพัฒนาวัวชนให้ต่อยอดไปสู่สินค้าและบริการอื่นๆ ได้ เช่น
การสร้างกีฬาวัวชนโดยพิจารณาถึงการคุ้มครองสัตว์ โดยพัฒนาเป็นเทศกาลวัวชนให้เหมือน
16
เทศกาลวัวกระทิงในสเปน เป็นต้น หรือการพัฒนาการสร้างอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในกีฬา
วัวกระทิง เช่น การสร้างนวมให้วัว เป็นต้น หรือการต่อยอดพัฒนาการผลิตเนื้อวัวชนชั้นดี
เนื่องจากวัวชนถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีการและอาหารที่มีคุณภาพ เป็นต้น
รูปที่ 6: (รูปบนจากซ้ายไปขวา) ปลาลาพัน, ปลาดุกรัสเซีย (รูปล่าง) วัวชน
ที่มา: www.youtube.com
 การสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีสถานที่
บ้านคีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนนิยมไปเที่ยวมาก เพราะ
เป็นพื้นที่ ท่ามกลางเทือกเขา มีป่าไม้และสายน้า พืชพรรณธรรมชาติที่สมบูรณ์ อากาศบริสุทธิ์
ทาให้เกิดธุรกิจ homestay ร้านกาแฟต่าง ๆ สะพานไม้ 100 ปี ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็น
สะพานไม้ที่สร้างมากว่า 100 ปี การที่มีอายุเก่าแก่ได้สร้างเป็นลักษณะเด่นขึ้นมา หากต้องการ
ต่อยอดก็สามารถทาได้ สะพานนี้ถูกใช้ในชีวิตประจาวันของคนในชุมชน เนื่องจากเป็นสะพานที่
ใช้เดินผ่านนาซึ่งเชื่อมต่อกับเขื่อนลาแซะ เมื่อเดินไปเรื่อย ๆ จะพบกับพืชพันธุ์ต่าง ๆ รอบ ๆ
สะพาน จานวนมาก
17
รูปที่ 7: (รูปบนลงล่าง) บ้านคีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช, สะพานไม้ 100 ปี ครบุรี จ.นครราชสีมา
ที่มา: www.paiduaykan.com
 การสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีงานศิลปหัตถกรรม
อาทิ เครื่องประดับที่แฝงความเชื่อทางศาสนา เช่น กาไรหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม
กาไร สแตนเลสหลวงพ่อรวย วัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยปกติเครื่องเงินมีราคาสูง
อยู่แล้ว เมื่อผนวกความเชื่อทางศาสนาจะทาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ใน
รูปแบบหนึ่ง หรือ เครื่องทองสุโขทัย ที่ราคาสูงกว่าทองที่เยาวราช เพราะมีความวิจริตงดงาม
มาก เช่น ปิ่นปักผม รัดเกล้า กาไร สร้อยคอ เป็นต้น เครื่องทองสุโขทัย มีลักษณะจาเพาะได้โดย
อาศัยงานศิลปะสมัยสุโขทัย ประกอบกับการเล่าเรื่องยุคสมัยดังกล่าวที่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทาง
เศรษฐกิจ สังคม และศิลปหัตถกรรม
รูปที่ 8: (รูปบนจากซ้ายไปขวา) กาไรหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, กาไรสแตนเลสหลวงพ่อรวย วัดตะโก (รูปล่าง) เครื่องทองสุโขทัย
ที่มา: http://www.guaranteepra.com, somsamai gold
18
 ตัวอย่างการสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีประเพณี
ยกตัวอย่าง งานสารทเดือนสิบ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีเฉพาะภาคใต้เท่านั้น เป็นพิธี
ทาบุญให้กับบรรพบุรุษที่เสียไปแล้ว ซึ่งขนมราได้ถือกาเนิดขึ้นมาจากความเชื่อผ่านประเพณีนี้
หรือ งานฉลากย้อม จ.ลาพูน เป็นงานบุญชนิดหนึ่งทางภาคเหนือ เป็นการทาบุญและยังเป็น
การสอนให้รู้จักอดออม เพื่อนาเงินมาทาบุญ แล้วยังแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงบ้านใดมีฝีมือในการ
ทางานหัตถกรรม มีการแต่งโครงกล่าวถึงคุณงามความดีของเจ้าของฉลากย้อม(ต้นบุญ) เรียกว่า
การแต่งกะโลง ต้องมีคนอ่านกะโลง คนใดแต่งเพราะ อ่านเพราะ จะมีค่าตัวแพง เป็นต้น งาน
ประเพณีทั้งสองมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น เราสามารถนางานประเพณีดังกล่าว พัฒนาสร้างสินค้า
หรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกันได้
รูปที่ 9: (รูปบนจากซ้ายไปขวา) งานสารทเดือนสิบ จ.นครราชสีมา, ขนมรา (รูปล่าง) งานฉลากย้อม จ.ลาพูน
ที่มา: https://hilight.kapook.com, www.sac.or.th
8. สรุป
จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นมีทุนทางธรรมชาติที่สามารถสร้างการผูกขาด
ได้เป็นจานวนไม่น้อย หากถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ทุกคนใน
ชุมชนจะได้รับและถูกแบ่งปันให้เท่าเทียมและเป็นธรรมแล้ว สินค้าหรือบริการที่มีคุณค่าและมีลักษณะ
จาเพาะนั้นยังเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของร่วมกันได้อีกด้วย เพียงแต่คนในชุมชนต้องค้นหา
ทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์โดยนาภูมิปัญญาในชุมชนที่ได้สั่งสมมาประยุกต์ การทาให้คนในสังคมรู้จัก
สินค้าและประโยชน์โดยการสร้างเรื่องราวให้สินค้า และหากทรัพยากรนั้นนามาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์
ต่อเนื่องได้ ก็สามารถนาทรัพยากรนั้นเป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชนที่ยั่งยืนในอนาคตได้ มีคนเคยกล่าว
ว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้จากธรรมชาติ การผลิตที่สาคัญไม่ใช่การผลิตเพื่อเอาชนะธรรมชาติ
แต่เป็นการผลิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ จะเป็นการผลิตที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
Nattakorn Sunkdon
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พัน พัน
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
Nattakorn Sunkdon
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
suchinmam
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
พัน พัน
 
6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
krupeem
 
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
Pannatut Pakphichai
 
ตัวอย่างรายงานโครงงาน
ตัวอย่างรายงานโครงงานตัวอย่างรายงานโครงงาน
ตัวอย่างรายงานโครงงาน
Thanawadee Prim
 
2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ
Kunlaya Kamwut
 

La actualidad más candente (20)

ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
 
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โครงงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
งานนำเสนอไอเอสสสสสสสสสส
งานนำเสนอไอเอสสสสสสสสสสงานนำเสนอไอเอสสสสสสสสสส
งานนำเสนอไอเอสสสสสสสสสส
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
ตัวอย่างแผนธุรกิจการทำร้านดอกไม้(Flower shop)
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติกโครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
โครงงานการประดิษฐ์กระถางจากขวดพลาสติก
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 หลักการผลิตสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
ใบ000
ใบ000ใบ000
ใบ000
 
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
เครื่องชี้วัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
 
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
หน่วยที่ 2 ค่านิยมเรื่องเพศตามวัฒนธรรม
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
แก๊ส
แก๊ส แก๊ส
แก๊ส
 
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทาน
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทานบทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทาน
บทที่ 3 ความยืดหยุ่นของอุปสงค์อุปทาน
 
หน่วยที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภค หน่วยที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยที่ 3 การคุ้มครองผู้บริโภค
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
ตัวอย่างรายงานโครงงาน
ตัวอย่างรายงานโครงงานตัวอย่างรายงานโครงงาน
ตัวอย่างรายงานโครงงาน
 
2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ2 ระบบเศรษฐกิจ
2 ระบบเศรษฐกิจ
 

Similar a การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)

สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
jirapom
 
บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...
บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...
บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...
freelance
 
สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53
สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53
สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53
Link Standalone
 
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่นการวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
Korawan Sangkakorn
 
แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
 แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม: แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
FURD_RSU
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือ
boomlonely
 
นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Suriyakan Yunin
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลาทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
FURD_RSU
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
FURD_RSU
 
Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2
tongsuchart
 
โครงการ การออม
โครงการ การออมโครงการ การออม
โครงการ การออม
zeenwine
 

Similar a การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature) (20)

สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...
บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...
บ้านแม่จ่อย --ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพีย...
 
สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53
สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53
สถาบันพระมหากษัตริย์กับความมั่นคงแห่งชาติ มิย53
 
ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....
ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....
ท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ ....
 
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่นการวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
การวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาท้องถิ่น
 
แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
 แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม: แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
แนวทางการกำหนดนโยบายพัฒนาเมืองบนฐานของทุนทางสังคม:
 
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
ชุมชนเข้มแข็งญี่ปุ่น in jp1
 
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุยโครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
โครงงานกระตุ้นชุมชน เพิ่มจิตอาสาพัฒนาวัดบ้านกุดนางทุย
 
พัฒนาชุมชน
พัฒนาชุมชนพัฒนาชุมชน
พัฒนาชุมชน
 
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการบทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
บทความวิชาการ โยนิโสมนสิการ
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือ
 
นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นำเสนอปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
Se appl chapter 1
Se appl chapter 1Se appl chapter 1
Se appl chapter 1
 
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลาทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
 
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
การสร้างหลั่นล้าอีโคโนมี ด้วยการขับเคลื่อนสังคมบนฐานเศรษฐกิจวัฒนธรรมของพื้นที่
 
Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2
 
บ้านม้าป่า --เชื่อมโยงชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไป...
บ้านม้าป่า --เชื่อมโยงชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไป...บ้านม้าป่า --เชื่อมโยงชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไป...
บ้านม้าป่า --เชื่อมโยงชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไป...
 
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดินอาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
อาจารย์นิรันดร์ กุลฑานันท์ แทนคุณแผ่นดิน
 
โครงการ การออม
โครงการ การออมโครงการ การออม
โครงการ การออม
 

Más de FURD_RSU

เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 

Más de FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)

  • 1.
  • 2. 2 การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature) อรอนงค์ นิธิภาคย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 3. 3 ผู้เขียน : อรอนงค์ นิธิภาคย์ บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม ปก : ณัฐธิดา เย็นบารุง รูปเล่ม : ณัฐธิดา เย็นบารุง ปีที่เผยแพร่ : ธันวาคม พ.ศ. 2561 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. 4 สารบัญ 1. บทนา ........................................................................................................................................5 2. เมือง : ชุมชนขนาดใหญ่.............................................................................................................6 3. หลักในการสร้างเศรษฐกิจเมือง...................................................................................................6 4. แนวคิดการผูกขาดทางธรรมชาติ...................................................................................................8 5. การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature) เพื่อสร้างเศรษฐกิจเมือง...................9 6. วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการใช้การผูกขาดของธรรมชาติ ..................................................9 7. ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการผูกขาดของธรรมชาติ...................................................10 8. สรุป .........................................................................................................................................18
  • 5. 5 การสร้างเศรษฐกิจด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ1 (Monopoly by Nature) อรอนงค์ นิธิภาคย์2 1. บทนา ปัจจุบันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยนาไปสู่การกระจุกตัวของความมั่งคั่ง จากการจัด อันดับความเหลื่อมล้าของโลก CS Global Wealth Report 2016 พบว่าใน 140 ประเทศ ประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก เป็นรองประเทศรัสเซียและอินเดีย หมายความว่าประเทศไทยมี ประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันมากหรือมีความเหลื่อมล้าเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ประเทศไทยมี คนรวยร้อยละ 1 ถือครองทรัพย์สินถึงร้อยละ 58 ของประเทศ ในขณะที่คนที่เหลืออีกร้อยละ 99 ถือ ครองทรัพย์สินของประเทศรวมกันร้อยละ 42 ของประเทศ สมมติว่า หากประเทศไทยสร้างรายได้ขึ้นมา ได้ 100 บาท และมีประชากรในประเทศอยู่ 100 คน คนรวย 1 คนจะได้เงินไป 58 บาท ในขณะคนที่ เหลืออีก 99 คน จะได้เงินรวมกันเพียง 42 บาท เมื่อหารแล้วเท่ากับว่าคน 99 ที่เหลือได้เงินไม่ถึงครึ่ง บาท ในสังคมทุนนิยมนั้น ปัจจัยชี้ขาดความมั่งคั่งขึ้นอยู่กับการถือครองกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ตามหลักเศรษฐศาสตร์ปัจจัยการผลิตประกอบไปด้วย 3 ปัจจัย คือ ที่ดิน ทุน แรงงาน ใครถือครองปัจจัย การผลิตมาก คนนั้นก็จะมีโอกาสมั่งคั่งมาก ซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเดินอยู่บนฐานของ การกระจุกตัวปัจจัยการผลิตส่วนอยู่ใหญ่ในกลุ่มคนไม่กี่คน จึงนามาสู่ความเหลื่อมล้าอันดับที่ 1 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้าสูง ประเทศกาลังเผชิญกับการลงทุนจากต่างประเทศ มี กลุ่มทุนกลุ่มใหม่ที่เข้ามาแสวงหาความมั่งคั่งในประเทศไทย อาทิเช่น คนจีนที่แห่มาลงทุนในที่ดินและ ฐานทรัพยากรของไทย เห็นได้จากข่าวที่จีนต้องการทาการเช่าที่ดินบริเวณภาคอีสานเพื่อปลูกสมุนไพร จาหน่ายในตลาดโลกด้วยงบลงทุนกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท หรือการขอเช่าพื้นที่สวนยางกว่า 2 หมื่นไร่ เพื่อผลิตเวชสาอาง จะเห็นได้ว่า ความต้องการลงทุนของจีน ไม่ได้หยุดอยู่แค่อุตสาหกรรม แต่จีน ต้องการลงทุนในทุนทางธรรมชาติของไทยอีกด้วย ซึ่งทุนทางธรรมชาติอาจเป็นทุนก้อนสุดท้ายของคน ในท้องถิ่น ที่ชาวบ้านสามารถเป็นเจ้าของร่วมกันได้ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ได้จุดประกาย แนวคิด “การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติเพื่อสร้างเศรษฐกิจเมือง/ชุมชน” เพื่อให้ประเทศได้ ใช้ทุนก้อนสุดท้ายของคนไทยที่อยู่ในมือทุกคน ให้เกิดประโยชน์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้กับชุมชน หรือเมืองที่กาลังจะเติบโต เป็นฐานที่ยึดโยง และสร้างความมั่งคั่งให้แก่ชาวบ้าน 1 ถอดความโดยนางสาวฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม เรียบเรียงโดยนางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง ผู้ช่วยวิจัยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต จากการบรรยายในงานสัมมนาหลักสูตร “ผู้สร้างบ้านแปงเมือง” เรื่อง การใช้จิตวิญญาณและอัตลักษณ์เมือง เพื่อสร้าง สังคมและเศรษฐกิจเมืองแบบเกื้อกูลและยั่งยืน จัดโดย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 22 ตุลาคม 2561 ณ ห้องลีลาวดี โรงแรมรามาการ์เด้นส์ หลักสี่ กทม. 2 อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • 6. 6 2. เมือง : ชุมชนขนาดใหญ่ “เมือง” ในวิกิพีเดีย หมายถึง ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเจ้าผู้ปกครอง เนื่องจากในสมัยก่อนจะมี กาแพงล้อมเพื่อป้องกันฆ่าศึก ส่วน “ชุมชน” ตามคานิยามของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) คือ กลุ่มคนที่มีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกัน มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างปกติและต่อเนื่อง อยู่ในบริเวณ เดียวกันหรือมีอาชีพเดียวกัน หากดูคาสาคัญจะพบคาว่า “อยู่ในพื้นที่เดียวกัน” และ “สื่อสารกัน” คาว่า พื้นที่ เหนือพื้นดินมีทรัพยากรคืออากาศ คลื่น บนพื้นดินมีพืช สัตว์ ส่วนใต้ดินมีแร่ธาตุ ในทาง เศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นทุนทางธรรมชาติ ที่สามารถสร้างให้เกิดการผูกขาดกับคนที่อยู่ในบริเวณนั้นได้ คาว่า สื่อสารกัน คือ เมื่อกลุ่มคนที่มาอยู่รวมกัน มีความสนใจเหมือนกัน ประกอบกิจกรรมร่วมกัน ได้ ประกอบสร้างและหล่อหลอมธรรมชาติทางสังคมของคนไทยขึ้นมา กลายเป็นทุนประเภทหนึ่งที่หยิบมา สร้างการผูกขาดได้ เช่น วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ดังนั้น คาว่าธรรมชาติไม่ได้หมายถึงสิ่งที่พระ เจ้าสร้าง แต่ยังหมายรวมไปถึงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการหล่อหลอมร่วมกันของคนในสังคม สิ่งเหล่านี้ ทั้งทุนทางธรรมชาติและทุนทางวัฒนธรรมจะเป็นฐานสาคัญของการสร้างการผูกขาดได้ 3. หลักในการสร้างเศรษฐกิจเมือง เศรษฐกิจในความหมายทางเศรษฐศาสตร์ประกอบด้วย 4 ปัจจัย คือ 1. การบริโภค ชีวิตทางเศรษฐกิจของมนุษย์ เริ่มต้นที่การบริโภค มนุษย์เมื่อเริ่มปฏิสนธิในครรภ์ มารดาหนึ่งวัน ก็เริ่มต้นชีวิตด้วยการบริโภคอาหารและอากาศจากแม่ผ่านสายสะดือ ดังนั้นชีวิต มนุษย์ทุกคนจึงนับหนึ่งที่การบริโภค 2. การผลิต เมื่อเราโตขึ้น มนุษย์มีความต้องการมากขึ้น มนุษย์จึงต้องทาการผลิต เพื่อนาไป อุปโภคบริโภคสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง การผลิตตามความหมายทางเศรษฐกิจ การเมือง คือ การใช้พลังแรงกายและสมองของมนุษย์ แปรธรรมชาติให้เป็นผลผลิตที่ใช้อุปโภค บริโภคได้ 3. การแลกเปลี่ยน แต่เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถผลิตทุกอย่างที่ตนเองต้องการได้ จึงต้องนา ผลผลิตของตนเองไปแลกเปลี่ยนกับผลผลิตของผู้อื่น เพื่อมาบาบัดความต้องการของตน ทาให้ ตนเองมีความพอใจสูงขึ้น การแลกเปลี่ยนจึงได้เริ่มขึ้น 4. การวิภาคกรรม หรือการแบ่งปันค่าตอบแทน เนื่องจากในกระบวนการผลิตสมัยใหม่ จาเป็นต้องใช้ปัจจัยการผลิตของผู้อื่น เช่น แรงงาน จึงต้องมีการจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของ ปัจจัยการผลิต ในข้อนี้ จึงเกิดการวิภาคกรรมขึ้น ซึ่งก็คือ การแบ่งปันค่าตอบแทน หรือการ กระจายรายได้ ดังนั้น หากจะสร้างเศรษฐกิจเมือง ต้องพัฒนา 4 ปัจจัย ตามปัจจัยข้างต้น ดังนี้ 1. การบริโภค ถ้าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทใดที่ผลิตและถูกบริโภคด้วยความนิยมของคนใน ชุมชน จะเป็นการช่วยสร้างมาตรฐานให้แก่สินค้า เช่น น้าตาลสดเมืองเพชรของแท้ ต้องมีกลิ่น
  • 7. 7 ความหอมหวาน หรือรสชาติอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ความนิยมในการบริโภคของครัวเรือน และชุมชน ยังมีส่วนช่วยในแง่การตลาดโดยอัตโนมัติ กล่าวคือ สินค้าที่ชุมชนนิยมบริโภค จะ ช่วยขยายวงการบริโภคออกไป ผ่านธรรมเนียมการต้อนรับแขกของคนไทย ที่มักจะนาของดีมา รับแขก ที่เชิญชวนให้คนนอกชุมชนได้หยิบจับ ทดลองใช้สินค้า เท่ากับเป็นการแนะนา สร้าง ความรู้จักสินค้าไปในตัว ซึ่งจะทาให้การบริโภค สามารถขยายวงออกไปเรื่อย ๆ จากครอบครัวสู่ ชุมชน จากชุมชนเรา สู่ชุมชนใกล้เคียง สู่ตาบล อาเภอ จังหวัด ประเทศ หรือทั่วโลก ทั้งนี้การ บริโภคเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ 2. การผลิต การผลิตประเภทใดที่สามารถสร้างเศรษฐกิจได้ มักจะต้องเป็นการผลิตที่สร้างผลผลิต ที่มีประโยชน์ใช้สอย มีคุณค่า ต่อชีวิตของคนในชุมชนก่อน (หรือมีมูลค่าใช้สอย) ซึ่งประโยชน์ใช้ สอยนี้ สามารถนาไปสร้างมูลค่าแลกเปลี่ยนได้ต่อไป การที่ชุมชนผลิตผลผลิตที่มีประโยชน์ใช้ สอยต่อชีวิตของตนเองก่อน นั่นหมายความว่า แม้จะขายนอกชุมชนไม่ได้ (แลกเปลี่ยนไม่ได้) สินค้าดังกล่าวยังนามาใช้บาบัดความต้องการของคนในชุมชนได้(ยังมีตลาดภายใน) แต่หาก นาไปขายนอกชุมชนได้ ก็จะเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ชุมชน เราจะพบตัวอย่างของเกษตรกร ที่ผลิต พืชเชิงเดี่ยว และใช้สอยในชุมชนโดยตรงไม่ได้ เช่น ปาล์ม เมื่อไม่สามารถนามาแปรรูปและใช้ ประโยชน์เองได้ จึงต้องนาไปขาย เมื่อขายไม่ได้หรือขายแล้วขาดทุน จึงประสบปัญหามาก เป็น ต้น 3. การแลกเปลี่ยน เราจะพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนที่เสมอภาค เราแบ่งการ แลกเปลี่ยนออกเป็น 2 ระดับ คือ การแลกเปลี่ยนแบบเกื้อกูล จะเป็นการแลกเปลี่ยนกับเพื่อน บ้านหรือคนในชุมชน ไม่ใช่การแลกเปลี่ยนเพื่อสะสมความมั่งคั่ง แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อ แบ่งปัน จัดสรรให้คนในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงสินค้า ราคาที่ขายจะสูงกว่าต้นทุนไม่มากนัก (ตลาดท้องถิ่น) และการแลกเปลี่ยนอีกระดับคือ การแลกเปลี่ยนเพื่อแสวงหากาไร การ แลกเปลี่ยนประเภทนี้ ที่จะถูกใช้เป็นกลไกแสวงหาความมั่งคั่ง ราคาจะแพงกว่าตลาดท้องถิ่น เน้นตลาดระดับประเทศหรือในต่างประเทศ 4. การวิภาคกรรม หรือการแบ่งปันค่าตอบแทน คือ การจ่ายค่าตอบแทนการผลิตให้เป็นไปตาม สิทธิ์ที่ควรจะได้รับตามการถือครองปัจจัยการผลิต แต่ถ้าทุนหลักที่นามาใช้เป็นทุนทาง ธรรมชาติภายในชุมชน ทุกคนในชุมชนก็ควรจะได้ประโยชน์ร่วมกัน และได้รับการแบ่งปัน ค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียม เป้าหมายของการแบ่งปันค่าตอบแทน ก็คือ การแบ่งปันที่เป็นธรรม ซึ่งในบางครั้ง การได้มาซึ่งการแบ่งปันที่เป็นธรรม จาเป็นต้องอาศัยอานาจต่อรอง โดยปกติแล้วเมืองประกอบด้วยชุมชน ภายในชุมชนประกอบด้วยครอบครัว ครอบครัวก็จะ ประกอบไปด้วยคน ในการบริโภคจึงควรมองการบริโภคของคนในครอบครัวเป็นอันดับแรก สมมติว่า เราอยู่ในครอบครัวที่แม่ประกอบอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนบนโลกนี้และทุกคนลงความเห็นว่า เป็นอาหารที่มีรสชาติอร่อยมาก ในวัฒนธรรมไทยเมื่อเราบริโภคเสร็จแล้วมีเหลือมากพอก็จะเกิดการ แบ่งปันให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นการขยายการบริโภคผ่านทางวัฒนธรรม เช่น งานบุญ ซึ่งการเผยแพร่
  • 8. 8 อาหารของเรานั้นถูกสืบสานผ่านทางวัฒนธรรมที่ถูกขยายผล ฉะนั้น ถ้าเราไปพัฒนาการบริโภคของ ชุมชนให้ก้าวสู่การบริโภคระดับประเทศจะต้องมีเส้นทางที่ขยายผลิตภัณฑ์นั้นออกไป 4. แนวคิดการผูกขาดทางธรรมชาติ3 การจะศึกษาเรื่องการผูกขาดของธรรมชาติเพื่อสร้างเศรษฐกิจเมือง สามารถประยุกต์ร่วมกับ แนวคิดการผูกขาดตามหลักเศรษฐศาสตร์ โดยการผูกขาดในทางเศรษฐศาสตร์ คือ 1. สินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีจานวนผู้ผลิตหรือผู้จาหน่ายน้อยราย ถ้ามีผู้ขายรายเดียว ในทาง เศรษฐศาสตร์เรียกว่า Monopoly หากมีผู้ขายสองราย เรียกว่า Duopoly และหากมีผู้ขาย มากกว่าสองราย จะเรียกว่า Oligopoly หากผู้ผลิตหรือผู้จาหน่ายน้อยรายรวมกลุ่มกันเพื่อ ผลประโยชน์สูงสุดของกลุ่ม จะเรียกว่า Cartel หมายความว่า สินค้าใดมีผู้ผลิตหรือผู้ขายน้อย ก็ จะสามารถสร้างอานาจผูกขาดได้ 2. สินค้าหรือบริการนั้นสามารถสร้างกาไรในระยะยาวได้ เนื่องจากมีผู้ผลิตน้อยราย การผูกขาด สามารถสร้างกาไรระยะยาวให้แก่ผู้ผูกขาดได้ หมายความว่า หากเปลี่ยนการผูกขาดจากคน ๆ เดียวเป็นชุมชนผูกขาด ชุมชนก็จะสามารถหากาไรในระยะยาวได้ 3. มีกาแพงหรืออุปสรรคที่กีดกันไม่ให้ผู้แข่งรายอื่นสามารถเข้ามาแข่งขันได้ หรือได้รับสิทธิ บางอย่างในการครอบครองปัจจัยการผลิต หากชุมชนสามารถผูกขาดทรัพยากรธรรมชาติหรือ ทุนทางสังคมประเภทใดประเภทหนึ่งได้ ชาวบ้านของชุมชนนั้นๆ ก็จะได้ประโยชน์ในระยะยาว และสืบเนื่องต่อไปได้ นอกจากนี้ ความสามารถในการผูกขาด ขึ้นอยู่กับ 1. ความสามารถในการควบคุมปัจจัยการผลิตที่สาคัญไว้ได้ ถ้าผู้ใดควบคุมปัจจัยการผลิตสาคัญได้ คนนั้นก็ผูกขาดตลาดได้ 2. ความสามารถในการประกอบการที่ทาให้เกิดการประหยัดจากขนาด (economy of scale) เป็น การผลิตครั้งละมากๆ ที่ทาให้สามารถผลิตด้วยต้นทุนที่ต่าที่สุด และสามารถขายราคาถูกลงได้ เป็นเหตุให้ครองส่วนแบ่งตลาดหรือกลายเป็นเจ้าตลาดในที่สุด ทางเศรษฐศาสตร์เรียก ความสามารถในลักษณะนี้ว่า ทาให้เกิดการผูกขาดโดยธรรมชาติ(natural monopoly) อาทิ กิจการไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น (แต่ไม่ใช่เป็นการผูกขาดของธรรมชาติ monopoly by nature) 3 คาว่า “การผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by nature)” เป็นศัพท์บัญญัติของ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และ อ.อรอนงค์ นิธิภาคย์ ที่ไม่ได้ปรากฏ อยู่ในตาราทางเศรษฐศาสตร์ เป็นการผูกขาดที่มีอยู่จริง โดยเป็นการผูกขาดที่เกิดจากการครอบครองทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่น มีลักษณะ เฉพาะถิ่น หรือเป็นการผูกขาดจากสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือจากสิ่งบ่งชี้ทางสังคม และเป็นศัพท์บัญญัติเพื่อให้แตกต่างจากคาว่า “การผูกขาดโดย ธรรมชาติ (natural monopoly)” ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติในทางเศรษฐศาสตร์ ที่หมายถึง การผูกขาดที่เกิดจากลักษณะของการประกอบการ ที่สามารถทา การผลิตครั้งละมากๆ จนทาให้เกิดการประหยัดต้นทุน หรือสามารถทาการผลิตได้ต้นทุนต่ามาก จนสามารถขายได้ในราคาที่ถูกสุดในตลาด ทาให้ผู้ผลิต รายนี้สามารถครอบครองส่วนแบ่งตลาดได้มากสุด จนกลายเป็นผู้ผูกขาดตลาดในที่สุด
  • 9. 9 3. การเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร ในทางเศรษฐกิจชุมชน/เมือง ถ้าชุมชนสามารถนาสินค้า ไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร หรือทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) การผูกขาดก็สามารถเกิดขึ้นกับชุมชนได้ 4. การที่รัฐบาลให้อานาจผูกขาด เพื่อควบคุมสินค้า ที่อาจส่งผลกระทบต่อสวัสดิภาพ สวัสดิการ และความมั่นคง เช่น สุรา ล็อตเตอรี่ เป็นต้น 5. การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature) เพื่อสร้างเศรษฐกิจ เมือง การค้นหาการผูกขาดของธรรมชาติ มีหลักการดังต่อไปนี้ 1. การมีทรัพยากรธรรมชาติ หรือธรรมชาติที่เกิดจากการหล่อหลอมของสังคมหนึ่ง ๆ ที่มีอัต ลักษณ์โดดเด่น ซึ่งชุมชนมีอยู่เพียงแห่งเดียว ที่อื่นไม่มี หรือมีก็ไม่ดีเท่า 2. นาธรรมชาติเหล่านั้นที่มีคุณค่าในตัวเอง มาแปรเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic Value) เป็นสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะจาเพาะ มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หรือทางสังคม 3. ทาการเผยแพร่ให้สังคมรู้จักคุณค่าและนาไปใช้ประโยชน์ต่อชีวิต จิตใจ และสังคม เพื่อให้เกิด การบริโภคภายในและนอกชุมชน 4. ปัจจัยสาคัญที่สุดที่จะทาให้การผูกขาดของธรรมชาติ สร้างประโยชน์ให้แก่เศรษฐกิจชุมชน หรือ เมืองก็คือ การให้ชุมชนเป็นเจ้าของร่วมกันในทรัพยากรที่มีลักษณะผูกขาดของธรรมชาติ มิใช่ให้เอกชนรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน นาไปสู่การแบ่งปัน ค่าตอบแทนที่ทั่วถึงเป็นธรรม 6. วิธีการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการใช้การผูกขาดของธรรมชาติ 1. ค้นหาลักษณะผูกขาดของธรรมขาติของแต่ละพื้นที่ อาจจะอยู่ในรูปสิ่งของ สัตว์ คน สถานที่ ประเพณี ฯลฯ 2. เก็บรวบรวมข้อมูล อาจเป็นการทางานร่วมกันระหว่างชาวบ้าน โดยเฉพาะปราชญ์ชาวบ้านหรือ ผู้ที่มีภูมิปัญญาในชุมชน NGO นักวิจัย หรือนักวิชาการ 3. พัฒนาลักษณะผูกขาดของธรรมชาติให้มีคุณค่าและมีมูลค่า ให้กลายเป็นสินค้าและบริการ ซึ่ง จาเป็นต้องอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น งานวิจัย และงานวิชาการ 4. เผยแพร่และทาการตลาด พัฒนาข้อมูลจากงานวิจัย ให้มีเรื่องเล่า (story) เกี่ยวกับสินค้านั้นๆ เพื่อให้สังคมวงกว้างและผู้บริโภคตระหนักรู้ อยากทดลอง อยากใช้ อยากซื้อสินค้า 5. สิ่งใดที่สามารถจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI โดยชุมชน ก็ให้รีบจดทะเบียน
  • 10. 10 6. สิ่งใดที่เป็นแกนหลักหรือเป็นต้นน้าของผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง (มี linkage สูง) กล่าวคือ เป็น ทรัพยากรที่สามารถพัฒนาเป็นสินค้าหรือบริการได้หลากหลาย สิ่งนั้นต้องหยิบยกขึ้นมา พัฒนา ให้เป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชน 7. ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองจากการผูกขาดของธรรมชาติ ตัวอย่างในต่างประเทศ  การสร้างเรื่องเล่าให้สินค้า : กรณีข้าวพันธุ์โคชิ ฮิคาริ ของญี่ปุ่น ข้าวโคชิ ฮิคาริเป็นข้าวพันธุ์ premium ของจังหวัดนิงาตะ เป็นข้าวที่มีราคาแพงที่สุดใน โลก โดยข้าวโคชิ ฮิคาริ 2 กิโลกรัม มีราคาประมาณ 500 บาท เหตุที่ข้าวพันธุ์นี้มีราคาแพง เนื่องจากมีการสร้างเรื่องเล่าให้สินค้าเกี่ยวกับกระบวนการปลูกที่ใช้น้าจากการละลายของหิมะ บนเทือกเขาฟูจิ นามาจัดใส่ลงบรรจุภัณฑ์ (Packaging) ให้ดูดี การสร้างเรื่องเล่าให้สินค้าทาให้ ผู้บริโภครู้สึกดี อยากลองบริโภค นอกเหนือไปจากการบริโภคเพื่ออิ่มท้อง รูปที่ 1: ข้าวพันธุ์โคชิ ฮิคาริ ของประเทศญี่ปุ่น ที่มา: อรอนงค์ นิธิภาคย์ (2561)  หนึ่งเอกลักษณ์ สร้างได้หลายผลผลิต : กรณีต้นบาวบับ (Baobab) ในหมู่เกาะ มาดากัสการ์ ต้นบาวบับ หรือคนไทยเรียกว่า “ต้นมหาสมบัติ” มีทั้งหมด 8 สายพันธุ์ กระจายอยู่ ประมาณ 2-3 ประเทศ โดยจานวน 6 สายพันธุ์ อยู่ที่หมู่เกาะมาดากัสการ์ในทวีปแอฟริกา ต้น บาวบับเป็นพันธุ์ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุมากถึง 6,000 ปี เป็นต้นไม้ที่มีลักษณะโดดเด่น คือ ลาต้นอวบอ้วนและสูงใหญ่ ต้นที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสารวจได้มีขนาดเส้นรอบวง 47 เมตร มีกิ่งก้าน
  • 11. 11 ไม่มาก และอยู่เฉพาะส่วนบนของลาต้น บางคนเรียกต้นบาวบับว่า “ต้นไม้ปีศาจ” เพราะเมื่อใบ ร่วง กิ่งก้านจะดูหยิก ๆ งอๆ เหมือนต้นไม้ที่หงายท้อง เอารากชี้ฟ้า บางคนเรียกผลบาวบับว่า “ลูกหนูตาย” เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับหนูถูกห้อยหัว นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้ที่สามารถกัก เก็บน้าได้มากสุดถึง 120,000 ลิตร แห้งแล้งอย่างไรก็ไม่ตาย แต่เดิมคนท้องถิ่นในมาดากัสการ์เรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากต้นบาวบับ คือ ส่วนเปลือก สามารถนามาทาผ้า กระดาษ เชือก แห ส่วนผลเป็นยาแก้ปวดท้อง ส่วนผงแป้งภายในผล บาวบับนามาทาเป็นโจ๊ก ด้วยลักษณะพิเศษของต้นไม้ชนิดนี้ คนท้องถิ่นเริ่มใช้ประโยชน์โดยการขุดโพรงเพื่อเข้า ไปอยู่อาศัย พัฒนาดงบาวบับเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ใช้โพรงในต้นบาวบับเป็นที่พัก เป็น ร้านอาหาร ทาเป็นห้องน้า คนที่มาเที่ยวก็อยากจะมาลองอยู่ลองสัมผัสกับต้นไม้นี้ เมื่อชาวตะวันตกเข้าไปศึกษาวิจัยโดยใช้ฐานความรู้จากคนในท้องถิ่นจึงพบว่า ผลของ บาวบับมีวิตามินซีสูงกว่าส้ม 6 เท่า มีสาร antioxidant ช่วยแก้โรคมะเร็ง เป็นยาแก้ปวดท้อง ใน การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก มีการนาผงแป้งขาว ๆ ในผลบาวบับไปทาเป็น super food ให้แก่ นักกีฬา บ้างนาไปเป็นส่วนประกอบของขนม ผงแป้งบาวบับ 240 กรัม มีราคา 560 บาท ใน ยุโรปได้รับความนิยมอย่างมาก มักถูกใช้แทนแป้งข้าวโพด รับประทานต้านมะเร็ง ทาให้เป็น เหตุผลหนึ่งที่ทาให้ผงบาวบับมีราคาสูง ชาวตะวันตกจึงจ้างผู้หญิงในจังหวัดลิมโปโป ประเทศ แอฟริกาใต้ไปเก็บผลบาวบับทุกเช้า แล้วนาเอามาจาหน่าย จากที่กล่าวมาในข้างต้น พบว่า ต้นบาวบับเป็นต้นไม้ที่มีเพียงหนึ่งเอกลักษณ์ แต่ผลิต สินค้าได้หลากหลาย แต่เดิมชาวมาดากัสการ์ใช้ผลเป็นอาหาร ใบเป็นยา เปลือกเอามาทอแห ทาเป็นอวน แม้ว่าจะลอกเปลือกออกมา ต้นบาวบับก็จะงอกมาใหม่ ต่อมามีการพัฒนาอัตลักษณ์ ของบาวบับให้กลายเป็นสินค้าหลากหลายดังนี้ หนึ่ง ใช้เป็นอาหาร ยา และเครื่องสาอาง ชาวตะวันตกนามาต่อยอดเป็นยา เมล็ดเอาไปสกัดทาน้ามันเป็นเครื่องสาอาง นาผงบาวบับ พัฒนาเป็น super food สอง การพัฒนาดงบาวบับให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ผ่านการสร้าง เรื่องราวเป็นฉากหนึ่งในการ์ตูนดิสนีย์เรื่อง The Lion King และฉากหนึ่งในนิยายเรื่อง The Little Prince ทาให้คนเรียนรู้เพราะมันมี story ของมันเอง และสามเกิดอาชีพที่สาคัญถัดมาคือ อาชีพอนุรักษ์ต้นบาวบับ โดยทุก ๆ 1 เซนติเมตรที่ต้นบาวบับโตขึ้น คนดูแลจะได้รับเงินจานวน 21 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้เกิดการผูกขาดโดยธรรมชาติยังดารงอยู่
  • 12. 12 รูปที่ 2: ต้นบาวบับ (Baobab) ในหมู่เกาะมาดากัสการ์ และผลิตภัณฑ์จากต้นบาวบับ ที่มา: www.winner.tv, www.pantip.com, www.newtv.co.th ตัวอย่างในประเทศไทย  เมืองพัทลุง : ข้าวสังหยดอัตลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ และพัฒนาต่อยอดอัตลักษณ์ผ่าน วิธีการผลิต วิธีการบริโภคของเครือข่ายนาข้าวคุณธรรมจังหวัดพัทลุง อัตลักษณ์ของข้าวสังหยด คือ เมล็ดข้าวจะมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนแดงอ่อนๆ ถึงแดงเข้ม เมล็ดเล็กเรียว ท้ายงอน เวลาหุงสุกเมล็ดข้าวจะนุ่มมาก หอม หุงขึ้นหม้อ แม้ว่าตั้งไว้จนเย็นก็ ยังคงนุ่มอยู่ มีความคงตัวของเมล็ดข้าวสูง เป็นข้าวที่มีรสชาติดีจนถึงขนาดกล่าวขวัญกันว่า ต้อง สั่งให้หยุดกิน และเพี้ยนคาว่า “สั่งหยุด” กลายเป็นชื่อข้าว “สังหยด” นอกจากความอร่อยยังมี คุณค่าทางโภชนาการที่สูงกว่าพันธุ์อื่นๆ อีกทั้งยังย่อยง่ายช่วยให้ระบบขับถ่ายดีลาไส้ไม่ต้อง ทางานหนัก เหมาะสาหรับผู้สูงอายุ เพราะมีกากใยมาก ทั้งนี้ข้าวสังหยดพัทลุงได้รับการขึ้น ทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แล้ว แม้ว่าข้าวสังหยดพัทลุงจะมีอัตลัษณ์ทางภูมิศาสตร์อยู่แล้ว แต่กลุ่มนาข้าวคุณธรรม จังหวัดพัทลุง ยังได้พัฒนาอัตลักษณ์ให้กับข้าวสายพันธุ์นี้ ด้วยวิธีการผลิตที่มีลักษณะโดดเด่น กล่าวคือ ข้าวของชาวนากลุ่มนี้ถูกเลี้ยงด้วยน้าที่มาจากน้าตกลานหม่อมจุ้ย ที่มีต้นกาเนิดมาจาก เทือกเขาบรรทัด และจุลินทรีย์ที่อยู่ตามขอนไม้ผุ ๆ ริมน้าตกลานหม่อมจุ้ยจะถูกเก็บเพื่อมาทา เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีจะได้มาจากกระบวนการย่อยของจุลินทรีย์เฉพาะถิ่น เมื่อใช้ จุลินทรีย์มาย่อยฟางข้าวในนา ทาให้ต้นทุนในการปลูกข้าวสังหยดแบบอินทรีย์ สามารถลด ต้นทุนได้ถึง 3,000-4,000 บาทต่อไร่ ในส่วนของการไล่หนูจะใช้กาบมะพร้าวที่มีลักษณะคล้ายงู มาปักบนที่นา เมื่อหนูเห็นจะคิดว่าเป็นงูก็จะหนีไป และด้วยสภาพภูมิอากาศที่มีฤดูฝน 8 เดือน
  • 13. 13 ฤดูร้อนเพียง 4 เดือน ข้าวจึงมีลักษณะของลาต้นที่สูงเพราะหากไม่สูงจะโดนน้าท่วมตาย ซึ่งเป็น ลักษณะจาเพาะทางภูมิศาสตร์ของข้าวทางภาคใต้ เนื่องจากต้นข้าวมีลักษณะสูงจึงต้องใช้แกละ เก็บข้าวซึ่งเป็นอุปกรณ์เกี่ยวข้าวชนิดหนึ่ง เมื่อเก็บข้าวด้วยแกละจะไม่มีซังติดมาด้วย มีเพียงแค่ คอรวงข้าว นับเป็นวิถีการปลูกที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวนาในพื้นที่นี้ นอกจากนี้มีการทดลองโดยการนาพันธุ์ข้าวจาก 4 จังหวัด คือ สุพรรณบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และพัทลุง มาปลูกในแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น นาข้าวสังหยดพัทลุงไปปลูก ที่ประจวบคีรีขันธ์ นาข้าวหอมมะลิแดงที่สุพรรณบุรีมาปลูกที่เพชรบุรี และนาผลผลิตที่ได้เข้า ห้องทดลอง ปรากฏว่าแร่ธาตุในข้าวที่สาคัญ คือ เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม และสังกะสี นั้น ข้าวสังหยดที่ปลูกที่พัทลุงมีแร่ธาตุสาคัญ สูงกว่าข้าวสังหยดที่ปลูกจากที่อื่น นี่คือสิ่งที่ทาให้ ข้าวสังหยดมีอัตลักษณ์หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่แตกต่างจากที่อื่น เรื่องที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ การวิธีการหุงข้าวก็สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้กับ สินค้าได้ เช่น การหุงข้าวของชาวนาพัทลุง ที่นาข้าวไปหุงด้วยกระบอกไม้ไผ่กับใบเร็ดหรือใบ นมวัว ซึ่งเป็นวิธีการหุงแบบทางภาคใต้ที่มีลักษณะเฉพาะ จะเป็นได้ข้าวสุกที่อร่อยมากยิ่งขึ้น สรุปได้ว่า ข้าวสังหยดพัทลุง มีอัตลักษณ์โดดเด่นจากการเป็นพืชที่มีสิ่งบ่งชี้ทาง ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้เรายังสร้างอัตลักษณ์เพิ่มเติมให้กับข้าวสายพันธุ์นี้ได้ ด้วยวิธีการปลูกที่ แตกต่าง วิธีการหุงข้าวที่แตกต่าง ทั้งหมดจึงเป็นอัตลักษณ์ที่สามารถสร้างการผูกขาดของ ธรรมชาติให้กับชาวนาที่ผลิตข้าวสังหยดพัทลุงได้ รูปที่ 3: วิธีการพัฒนาข้าวสังข์หยด ที่มา: อรอนงค์ นิธิภาคย์ (2561)
  • 14. 14  เมืองพบพระ จังหวัดตาก : กัญชง หนึ่งอัตลักษณ์ สร้างได้หลายสินค้า กัญชงเป็นพืชวงศ์เดียวกันกัญชา ที่มีสาร THC และ CDB สามารถใช้รักษามะเร็งได้ โดยในกัญชาจะมีสาร THC สูงช่วยในการรักษามะเร็ง ส่วนกัญชงจะลักษณะโดดเด่นคือ มีสาร CDB สูงซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยลดความเครียด ช่วยให้ผ่อนคลาย ทาให้คนไข้กินได้นอนหลับ การที่กัญชงมีสาร CDB สูง ก็เนื่องจากปลูกอยู่ในพื้นที่สูง โดยเฉพาะอาเภอพบพระ จังหวัดตาก ที่สูงจากน้าทะเลถึง 260 – 1,700 เมตร นอกจากนี้กัญชงยังมีลักษณะโดดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ มีเส้นใยที่เหนียว ยาว เชื้อราไม่ขึ้น ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากกัญชงด้วยการนาเส้นใยมาทอ ผ้าส่งโครงการหลวง กัญชงมีความผูกพันกับชีวิตประจาวันของชาวบ้าน(ชาวเขาเผ่าแม้ว)ตั้งแต่เกิดจนตาย พวกเขาใช้กัญชงในการผูกสายรกเด็กแรกเกิด และเมื่อเสียชีวิตศพจะถูกสวมด้วยชุดที่ทอจากใย กัญชง ชาวบ้านใช้ความเชื่อและวัฒนธรรมในการป้องกันมิให้คนในชุมชน นากัญชงไปใช้เป็นยา เสพติด ด้วยการสร้างความเชื่อที่จะห้ามไม่ให้คนเข้าพื้นที่ปลูกเด็ดขาดเมื่อกัญชงเริ่มออกดอก จากคุณสมบัติเด่นข้างต้นมีการต่อยอดพัฒนากัญชงดังนี้ รองเท้ายี่ห้อดังอย่าง Nike รุ่น Hemp นั้นถูกทอมาจากใยกัญชง มีคุณสมบัติพิเศษคือแม้ว่าไม่ทาความสะอาด ราก็ไม่ขึ้น ไม่มี กลิ่นอับ มีการนาใยกัญชงไปต่อยอดโดยทาเป็นเสื้อเกราะกันกระสุน ชิ้นส่วนในรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด อิฐจากใยกัญชง หรือชุดทหารในประเทศจีนที่ส่วนหนึ่งผลิตมาจากผ้ากัญชง มีการนาเมล็ดกัญชงมาสกัดน้ามันที่มีวิตามิน B3 และ B6 เราจะเห็นได้ว่ากัญชงเป็นพืชที่มี ความเชื่อมโยงที่สามารถนาไปสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ค่อนข้างสูง (linkages สูง) รูปที่ 4: ผลิตภัณฑ์จากกัญชง ที่มา: โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงพบพระ
  • 15. 15  เมืองน้าผุด จังหวัดตรัง : ลูกประ ต้นลูกประมีความสูงถึง 10 เมตร เป็นต้นไม้เฉพาะถิ่นที่พบมากที่สุดในจังหวัดตรัง บริเวณบ้านน้าผุด ลูกประสามารถนามาแปรรูปด้วยการดองเป็นของทานเล่นได้ รสชาติของลูก ประคล้ายแมคคาเดเมีย แต่มีขนาดใหญ่กว่า นอกจากนี้ยังสามารถนามาเป็นวัตถุดิบในการทา น้าพริกได้ ลูกประดิบมีราคาลูกละ 1 บาท ชาวบ้านเก็บได้วันละ 20-50 กิโลกรัม สร้างรายได้วัน ละ 200-500 บาท หากนาไปดองจะมีราคากิโลกรัมละ 100 บาท และหากนาไปคั่วจะเพิ่มมูลค่า เป็นกิโลกรัมละ 120 บาท ซึ่งลูกประสามารถนามาประกอบอาหารได้หลายประเภท เราสามารถ นามาต่อยอดทาเป็นลูกประชุบช็อคโกแลต เป็นอาหารว่างทานเล่นได้ รูปที่ 5: ต้นลูกประ ลูกประ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากลูกประ ที่มา: https://m.mgronline.com/south/detail/9570000137538 นอกจากตัวอย่างการสร้างการผูกขาดโดยธรรมชาติที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่าง ๆ อาทิ  การสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีสัตว์ ยกตัวอย่าง ปลาลาพัน เป็นปลาดุกสายพันธุ์หนึ่งที่พบได้เฉพาะบริเวณป่าพรุภาคใต้ ลาตัวสีน้าตาล มีเส้นประตามตัว หัวเล็ก เนื้ออร่อยกว่าปลาดุกอุยและปลาดุกรัสเซีย ปัจจุบันปลา ลาพันใกล้ศูนย์พันธุ์แล้ว ปลาชนิดนี้มักอาศัยอยู่ตามโขนหินในป่าพุทางภาคใต้ ขนาดตัวยาว 30- 60 เซนติเมตร หนังมีความหนา นามาทาปลาดุกฟูดี ตัวขนาด 60 เซนติเมตร มีราคาสูงกว่า 1,000 บาท ถ้าป่าพรุภาคใต้สามารถอนุรักษ์ปลาชนิดนี้ไว้ได้ จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นมา ได้อีก หรือวัวชน โดยการแข่งวัวชนเป็นงานแข่งขันที่นิยมในภาคใต้ การพนันวัวชนนัดใหญ่มี มูลค่ากว่า 30 ล้านบาท เราสามารถพัฒนาวัวชนให้ต่อยอดไปสู่สินค้าและบริการอื่นๆ ได้ เช่น การสร้างกีฬาวัวชนโดยพิจารณาถึงการคุ้มครองสัตว์ โดยพัฒนาเป็นเทศกาลวัวชนให้เหมือน
  • 16. 16 เทศกาลวัวกระทิงในสเปน เป็นต้น หรือการพัฒนาการสร้างอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในกีฬา วัวกระทิง เช่น การสร้างนวมให้วัว เป็นต้น หรือการต่อยอดพัฒนาการผลิตเนื้อวัวชนชั้นดี เนื่องจากวัวชนถูกเลี้ยงดูด้วยวิธีการและอาหารที่มีคุณภาพ เป็นต้น รูปที่ 6: (รูปบนจากซ้ายไปขวา) ปลาลาพัน, ปลาดุกรัสเซีย (รูปล่าง) วัวชน ที่มา: www.youtube.com  การสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีสถานที่ บ้านคีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่คนนิยมไปเที่ยวมาก เพราะ เป็นพื้นที่ ท่ามกลางเทือกเขา มีป่าไม้และสายน้า พืชพรรณธรรมชาติที่สมบูรณ์ อากาศบริสุทธิ์ ทาให้เกิดธุรกิจ homestay ร้านกาแฟต่าง ๆ สะพานไม้ 100 ปี ครบุรี จ.นครราชสีมา เป็น สะพานไม้ที่สร้างมากว่า 100 ปี การที่มีอายุเก่าแก่ได้สร้างเป็นลักษณะเด่นขึ้นมา หากต้องการ ต่อยอดก็สามารถทาได้ สะพานนี้ถูกใช้ในชีวิตประจาวันของคนในชุมชน เนื่องจากเป็นสะพานที่ ใช้เดินผ่านนาซึ่งเชื่อมต่อกับเขื่อนลาแซะ เมื่อเดินไปเรื่อย ๆ จะพบกับพืชพันธุ์ต่าง ๆ รอบ ๆ สะพาน จานวนมาก
  • 17. 17 รูปที่ 7: (รูปบนลงล่าง) บ้านคีรีวงศ์ จ.นครศรีธรรมราช, สะพานไม้ 100 ปี ครบุรี จ.นครราชสีมา ที่มา: www.paiduaykan.com  การสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีงานศิลปหัตถกรรม อาทิ เครื่องประดับที่แฝงความเชื่อทางศาสนา เช่น กาไรหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม กาไร สแตนเลสหลวงพ่อรวย วัดตะโก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยปกติเครื่องเงินมีราคาสูง อยู่แล้ว เมื่อผนวกความเชื่อทางศาสนาจะทาให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ใน รูปแบบหนึ่ง หรือ เครื่องทองสุโขทัย ที่ราคาสูงกว่าทองที่เยาวราช เพราะมีความวิจริตงดงาม มาก เช่น ปิ่นปักผม รัดเกล้า กาไร สร้อยคอ เป็นต้น เครื่องทองสุโขทัย มีลักษณะจาเพาะได้โดย อาศัยงานศิลปะสมัยสุโขทัย ประกอบกับการเล่าเรื่องยุคสมัยดังกล่าวที่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปหัตถกรรม รูปที่ 8: (รูปบนจากซ้ายไปขวา) กาไรหลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม, กาไรสแตนเลสหลวงพ่อรวย วัดตะโก (รูปล่าง) เครื่องทองสุโขทัย ที่มา: http://www.guaranteepra.com, somsamai gold
  • 18. 18  ตัวอย่างการสร้างการผูกขาดของธรรมชาติ กรณีประเพณี ยกตัวอย่าง งานสารทเดือนสิบ จ.นครศรีธรรมราช ที่มีเฉพาะภาคใต้เท่านั้น เป็นพิธี ทาบุญให้กับบรรพบุรุษที่เสียไปแล้ว ซึ่งขนมราได้ถือกาเนิดขึ้นมาจากความเชื่อผ่านประเพณีนี้ หรือ งานฉลากย้อม จ.ลาพูน เป็นงานบุญชนิดหนึ่งทางภาคเหนือ เป็นการทาบุญและยังเป็น การสอนให้รู้จักอดออม เพื่อนาเงินมาทาบุญ แล้วยังแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงบ้านใดมีฝีมือในการ ทางานหัตถกรรม มีการแต่งโครงกล่าวถึงคุณงามความดีของเจ้าของฉลากย้อม(ต้นบุญ) เรียกว่า การแต่งกะโลง ต้องมีคนอ่านกะโลง คนใดแต่งเพราะ อ่านเพราะ จะมีค่าตัวแพง เป็นต้น งาน ประเพณีทั้งสองมีลักษณะเฉพาะท้องถิ่น เราสามารถนางานประเพณีดังกล่าว พัฒนาสร้างสินค้า หรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกันได้ รูปที่ 9: (รูปบนจากซ้ายไปขวา) งานสารทเดือนสิบ จ.นครราชสีมา, ขนมรา (รูปล่าง) งานฉลากย้อม จ.ลาพูน ที่มา: https://hilight.kapook.com, www.sac.or.th 8. สรุป จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยนั้นมีทุนทางธรรมชาติที่สามารถสร้างการผูกขาด ได้เป็นจานวนไม่น้อย หากถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ทุกคนใน ชุมชนจะได้รับและถูกแบ่งปันให้เท่าเทียมและเป็นธรรมแล้ว สินค้าหรือบริการที่มีคุณค่าและมีลักษณะ จาเพาะนั้นยังเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของร่วมกันได้อีกด้วย เพียงแต่คนในชุมชนต้องค้นหา ทรัพยากรที่เป็นอัตลักษณ์โดยนาภูมิปัญญาในชุมชนที่ได้สั่งสมมาประยุกต์ การทาให้คนในสังคมรู้จัก สินค้าและประโยชน์โดยการสร้างเรื่องราวให้สินค้า และหากทรัพยากรนั้นนามาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ ต่อเนื่องได้ ก็สามารถนาทรัพยากรนั้นเป็นฐานเศรษฐกิจของชุมชนที่ยั่งยืนในอนาคตได้ มีคนเคยกล่าว ว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้จากธรรมชาติ การผลิตที่สาคัญไม่ใช่การผลิตเพื่อเอาชนะธรรมชาติ แต่เป็นการผลิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ จะเป็นการผลิตที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพที่สุด