SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 57
Descargar para leer sin conexión
1
ผู้นาจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
จัดโดย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
2
ผู้นาจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
: บทเรียน และทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นาเสนอ
ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล
รศ.ดร. Yu Qun
อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สงวนบรรพ์ (ผู้ดาเนินรายการ)
จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
วันที่ 11 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กทม.
ที่ปรึกษา : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ถอดความและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง ปลายฟ้า บุนนาค อุสมาน วาจิ ณัฐธิดา เย็นบารุง
และอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปี ที่เผยแพร่: มกราคม 2561
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม.
10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
สารบัญ
หน้า
บทนา
ทิศทางของจีน โลก และไทย ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
โดย ศ.ดร.สุรเกียรติ์เสถียรไทย 1
คณะผู้นาชุดใหม่ กับทิศทางของจีน ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19
โดย อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล 17
หลัก 9 ประการของประเทศจีน
ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19
โดย รศ.ดร. Yu Qun 26
บทอภิปราย 35
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 51
2
บทนา
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวที Think Tank ครั้งที่ 14 เรื่อง ผู้นาจีนคณะใหม่หลังการ
ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 : บทเรียน และทิศทางต่อโลกและไทย ณ
โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กทม. โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ
จากหลากหลายวงการและสาขาอาชีพที่เชี่ยวชาญและมีความสนใจเรื่องจีนเข้าร่วมระดมสมองเพื่อ
วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลก จีน และไทย ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรค
คอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19
ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทํารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่
เป็นความรู้สู่ผู้กําหนดและตัดสินใจทางนโยบาย ภาคส่วนต่างๆ นิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มี
ความสนใจเรื่องจีน
1
ทิศทางของจีน โลก และไทย
ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย
(APRC)
อดีตรองนายกรัฐมนตรีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
2
ทิศทางสาคัญของจีน โลก และไทย
ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19
ประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้คือผู้นําจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์
จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียน และทิศทางต่อโลกและไทย ซึ่งผมจะเน้นในเรื่องทิศทางต่อโลกและไทยเป็น
หลัก
1.ทิศทางสาคัญของจีน
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สาระสําคัญที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงพูดในการประชุมสมัชชาครั้ง
ที่ 19 นั้น ถ้าจะสรุปสั้นๆ ประเด็นสําคัญมีดังนี้
1. ต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น ถือว่าเป็นสิ่งที่คุกคามประเทศใหญ่หลวงมาก
2. Belt and Road Initiative: BRI (หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง) ถือว่าเป็นงานสําคัญ เป็นการสร้าง
โครงสร้างที่เปิดจีนสู่ภายนอกทั้งทางบกและทางทะเล ช่วยส่งเสริมให้นักลงทุนจีนและต่างชาติ เข้ามามี
ความร่วมมือต่างๆ
3. ประเด็นที่จีนเน้นมากในการประชุมครั้งนี้และเน้นอยู่เสมอ คือ จีนไม่ได้ต้องการจะเป็นเจ้าโลก
(Hegemon) ไม่ได้ต้องการขยายอิทธิพลใดๆ ผ่านการพัฒนาทั้งหลาย ไม่ทําลายผลประโยชน์ของ
ประเทศอื่นๆ เพื่อการพัฒนาของตนเองอย่างเด็ดขาด การพัฒนาของจีนจะไม่คุกคามกับประเทศใดไม่ว่า
จะพัฒนาขึ้นไปถึงระดับใด ซึ่งขณะนี้ จีนเป็นที่สองของโลก ในแง่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ
(Gross Domestic Product: GDP) แต่ถ้าคิดตามอํานาจซื้อที่เป็นจริง (Purchasing Power Parity: PPP)
ถือว่าจีนนําอเมริกาไปแล้วเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา (2014)
4. จีนเน้นเรื่องการศึกษาที่เข้มแข็ง ภารกิจด้านการศึกษาจึงมีความสําคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งผม
คิดว่าสําคัญ และเชื่อมโยงกับเรื่องการพัฒนาและการต่างประเทศ
5. เน้นระบบสาธารณสุขและการพยาบาลขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนเข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุ (Aging Society) ในเอเชียก็มี ไทย จีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และถึงแม้
3
จีนจะมีคนยากจนอยู่มาก แต่ถ้าดูรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของจีนก็สูงกว่าไทย เพราะฉะนั้น ใน 4
ประเทศที่กล่าวมา ประเทศไทยน่าสนใจที่สุด เพราะอยู่ในสังคมผู้สูงอายุแล้ว และมีรายได้ต่อหัวตํ่าที่สุด
อีกด้วย คือแก่แล้วแต่ยังไม่ทันรวย ซึ่งทั้งจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เขาก็มีวิธีแก้ปัญหาตามแบบของเขา แต่เรา
จะรับมือแบบใดนั้น ผมยังไม่ค่อยเห็นชัด
6. จีนเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสีเขียว (Green) ทั้งหลาย ไม่ว่า Green Consumption หรือ
Green Production อะไรที่เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมจีนในปัจจุบันจะให้ความสําคัญอย่างมาก
7. จีนตั้งเป้าหมายให้เป็นดินแดนแห่งนวัตกรรม (Innovation) เน้นในเรื่องของนวัตกรรม ความ
สร้างสรรค์ (Creativity) และการวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) ยกตัวอย่างเช่น
บริษัท Huawei มีนักวิจัยอยู่แปดหมื่นคน สีจิ้นผิงบอกว่าจีนจะเน้นในเรื่องของนวัตกรรม
8. สีจิ้นผิงกล่าวถึงเรื่อง 1 ประเทศ 2 ระบบสําหรับมาเก๊าและฮ่องกง และกล่าวถึงหลักการจีน
เดียว
9. สีจิ้นผิงพูดถึงความสําคัญของรัฐธรรมนูญ ให้ความสําคัญกับพรรคคอมมิวนิสต์
10. สีจิ้นผิงตั้งเป้าจะปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัย ภายในปี 2035
สรุปง่ายๆ คือมีความมั่นใจที่จะนาจีนไปสู่ความยิ่งใหญ่ เป็นสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์หรือ
เอกลักษณ์ของจีน
ผมจําได้ว่าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผม ในฐานะกรรมการ BOAO FORUM FOR ASIA ได้พบกับท่านสี
จิ้นผิง ท่านได้บอกมาเลยว่าจีนจะเป็นสังคมเสี่ยวคัง (Moderately prosperous Nation) จีนจะไม่เติบโต
อย่างหวือหวาเป็น Double Digit อย่างที่คนต้องการ แต่จะคงอัตราการเติบโตในระดับ 6% กว่าๆ ซึ่ง
ท่านก็ทําให้เห็นมาตลอด และให้ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่มีวันล่มสลาย (Like the sky, it will
never fall) แล้วท่านสียังกล่าวต่อว่าคนหลายคนเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจจีนเติบโตเพียง 6% กว่าๆ จะ
เพียงพอหรือไม่ ท่านกล่าวว่า อย่าลืมว่าการเติบโต 6% ของจีน เท่ากับขนาด GDP ของอินโดนีเซีย ซึ่ง
เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในอาเซียน (ไทยเป็นที่สอง) นั่นคือทิศทางซึ่งผมคิดว่าเป็นความต่อเนื่องทาง
นโยบายของสีจิ้นผิง ตั้งแต่ก่อนจะมีการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ผ่านมานี้ ซึ่งผมขอหยิบยก 2-3
ประเด็นมาพูดเพื่อชวนคิด
4
ทิศทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเศรษฐกิจในประเทศ
ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ : เดินหน้าเปิ ดเสรีต่อไป
ผ่าน Belt and Road Initiative
เมื่อพิจารณาจากนโยบายและยุทธศาสตร์ของจีนที่ทํามาตลอดจนถึงการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 19 ประเด็นแรกผมคิดว่าในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศและในประเทศ
จีนจะเน้นการเดินหน้าเปิ ดเสรีต่อไป ทั้งด้านการค้า การเงิน และการลงทุน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจาก
การเน้นเดินหน้า BRI ต่อไป สีจิ้นผิงอธิบายคําว่า Silk Road เอาไว้ดี เพราะหลายท่านคงจําได้ว่าครั้ง
แรกจีนเรียกว่า Land Silk Road และ Maritime Silk Road ถามว่าเหตุใดจึงเรียกชื่อต่างกัน ก็เพราะ
แนวคิดนี้มันเกิดขึ้นมาจากสองกระทรวงซึ่งเรียกชื่อต่างกันและชื่อก็ยาวมาก จึงย่อให้เหลือชื่อเดียวคือ
One Belt One Road หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งผมเคยบอกทางจีนว่าหากเรียกว่า One Belt One
Road ตะวันตกฟังแล้วเข้าใจยาก แต่ ณ วันที่ยังเรียกว่า Land Silk Road และ Maritime Silk Road
ท่านสีจิ้นผิงก็อธิบายไว้ว่า ที่เรียกว่าเส้นทางสายไหมใหม่ทั้งทางบกและทางทะเล เพราะว่าเมื่อหลายร้อย
ปีที่แล้ว เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่จีนติดต่อกับตะวันตก เพราะฉะนั้น เมื่อนําคําว่าเส้นทางสายไหม
กลับมาใช้เป็นการส่งสัญญาณว่าจีนต้องการที่จะติดต่อสื่อสารกับตะวันตก
หลังจากที่สีจิ้นผิงประกาศที่คาซัคสถานในปี 2013 ว่าจะมีเส้นทางสายไหมทางบก (Land Silk
Road) และในเดือนตุลาคมปีเดียวกันท่านก็มากล่าวที่อินโดนีเซียพูดถึงเส้นทางสายไหมทางทะเล
(Maritime Silk Road) ผ่านไป 4 ปี ถึงพฤษภาคม 2017 มีการประชุม Silk Road Summit หลายคนที่
ไม่ได้ติดตามใกล้ชิดก็นึกว่านี่เป็นการประกาศยุทธศาสตร์ของจีน แต่ความจริงไม่ใช่การประกาศ
ยุทธศาสตร์ของจีน เพราะยุทธศาสตร์นั้นประกาศไปแล้วตั้งแต่ปี 2013 ส่วนการประชุมเมื่อเดือน
พฤษภาคม 2017 เป็นการประกาศความสําเร็จของ BRI ไทยเราเริ่มมารู้จักยุทธศาสตร์ BRI ของจีนก็ใน
ตอนนั้นเพราะจีนเขาไม่ได้เชิญผู้นําของเราเข้าร่วม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะทําให้คนไทยพูดกันถึง
เรื่องนี้และให้ความสําคัญมากขึ้นมาก ที่ผ่านมา ทางจีนก็มักจะบ่นกับผมอยู่เนืองๆ ว่าเหตุใดคนไทยหรือ
เจ้าหน้าที่ไทยไม่ค่อยสนใจยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเท่าที่ควร เพราะฉะนั้น เมื่อการประชุม
เดือนพฤษภาคม 2017 เป็นการประกาศความสําเร็จของ BRI ในสุนทรพจน์ของสีจิ้นผิงในการประชุมนั้น
จึงพูดขอบคุณประเทศต่างๆ เช่น ขอบคุณลาวที่ทําโครงการสําเร็จถึงตรงไหน ขอบคุณตุรกี ขอบคุณ
ประเทศนั้นประเทศนี้ ที่ทําให้โครงการ BRI เชื่อมโยงกันได้ตลอด เพราะ ณ วันนั้น มีความคืบหน้าของ
BRI เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ เช่น มีการอัพเกรดทางรถไฟในอัลแบเนียแล้ว มีการเปิดเส้นทางรถไฟ
(ไม่ใช่ความเร็วสูง) เชื่อมจากจีนไปยังลอนดอนแล้ว และมีการเปิดทางรถไฟที่สามารถเดินทางไปยัง
สเปนจากทางซินเกียงของจีนได้แล้ว เพราะฉะนั้น การประชุมเมื่อพฤษภาคม 2017 จึงเป็นการประกาศ
5
ความสําเร็จขั้นแรก และเชิญผู้นํา 28 ประเทศไปร่วมประชุม มีรัฐมนตรีไปร่วมประชุมประมาณ 90 ท่าน
ของไทยเองก็ไป 5-6 ท่าน และยังเชิญภาคประชาสังคม ภาควิชาการที่ส่งตัวแทนไปประชุมด้วย
เพราะฉะนั้น เรื่อง BRI นี้จึงเป็นนโยบายที่จีนดําเนินมาแล้ว และจะเดินต่อไป รวมทั้งเข้ามาเกี่ยวข้องกับ
ประเทศไทยในส่วนที่จะมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมจากจีน ผ่านภาคอีสานเข้ามา และอนาคตคงจะลงไป
ถึงภาคใต้ ซึ่งมาเลเซียและสิงคโปร์ก็ได้เตรียมรอที่จะเชื่อมกับเส้นนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว
ผ่านสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ตั้งโดยจีน
แน่นอนว่า BRI เป็นทางหนึ่งที่จะดัน surplus ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอิฐ หิน ปูน ทราย และ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินของจีน ออกสู่ภายนอกประเทศ เป็นการเชื่อมจีนกับโลกภายนอก และมีการตั้ง
ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) ซึ่ง
เวลานี้มีประเทศร่วมก่อตั้งจํานวนมาก และมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกถึง 58 ประเทศแล้ว ถ้า
โลกนี้หมุนกลับไปก่อนหนังสือบูรพาภิวัตน์ของท่านอาจารย์เอนกจะออกมา ใครมาเสนอแนวคิดเรื่องตั้ง
Development Bank อื่นที่ไม่ใช่ตะวันตก ก็คงจะถูกสถาบันต่างๆ ในระบบ Bretton Woods โดยเฉพาะ
ประเทศตะวันตกถล่มตายไป อาจจํากันได้ว่า ครั้งหนึ่ง Eisuke Sakakibara รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น เคยเสนอว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund
: IMF) ไม่ตอบสนองต่อวิกฤตการเงินของเอเชีย ควรจะมี AMF : Asian Monetary Fund ขนาดแม้จะ
เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นก็ยังถูกบีบให้ลาออก เพราะ IMF กับ World Bank ใช้
ระบบ Weighted Voting ประเทศใหญ่ๆ อย่างอเมริกา ยกมือทีนับ 20 แต้ม ขณะที่ประเทศกําลังพัฒนา
ต้องรวมกันหลายประเทศถึงจะนับ 1 แต้ม เพราะฉะนั้น ระบบ Weighted Voting ซึ่งไม่ใช้ระบบหนึ่ง
ประเทศหนึ่งโหวต เป็นโครงสร้างของสถาบันในระบบ Bretton Woods ที่ใครจะไปแตะไม่ได้
แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป บูรพาภิวัตน์เกิดขึ้น จีนมีบทบาทในฐานะผู้นํามากขึ้น จีนมีเศรษฐกิจ
ที่เข้มแข็งขึ้น เมื่อจีนกับรัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และบราซิล รวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ BRICS
และประกาศตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank: NDB) ขึ้นมา World Bank และ
IMF บอกเป็นสิ่งที่ดี พอจีนตั้ง AIIB ขึ้นมา ทั้ง ADB (Asian Development Bank) และ World Bank
บอกเป็นสิ่งที่ดี หลายคนสงสัยว่าเหตุใดในเมื่อมี ADB อยู่แล้ว ต้องตั้ง AIIB ขึ้นมา ซึ่งคําตอบก็ค่อนข้าง
ชัดเจนอยู่แล้วว่าเพราะผู้สนับสนุน (sponsor) หลักของ ADB เป็นญี่ปุ่น ประธาน ADB ทุกคนต้องเป็น
คนญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าจีนคงมองว่ามันอาจจะไม่ตรงตามนโยบายที่อยากจะพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานของจีนนัก มีคนมาถามผมหลายคนว่ามี ADB มี World Bank อยู่แล้ว การมี AIIB จะทําให้
ซํ้าซ้อนกันไหม ผมตอบว่าเอเชียยังมีความต้องการการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมหาศาล
ก็เลยตอบเขาเหล่านั้นไปว่ายิ่งมีมากยิ่งดี (the more the merrier) แล้วถ้าใครอยากจะตั้งมาขึ้นมาอีกก็ยิ่ง
ดี
6
หลังจาก AIIB ตั้งขึ้นไม่เท่าไร นายกรัฐมนตรีอาเบะ (Shinzo Abe) ก็เอาความช่วยเหลือต่างๆ ที่
ญี่ปุ่นเคยให้ในเอเชียมารวมกันแล้วเรียกว่า Abe Initiative เมื่อ AIIB เริ่มต้นด้วยเงินทุนหนึ่งแสนล้าน
เหรียญสหรัฐ อาเบะก็ประกาศว่าเงินทุนตั้งต้นของ Abe Initiative จะเริ่มที่หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นล้านเหรียญ
สหรัฐ ก็ต้องมีการขับเคี่ยวกันเล็กน้อยเสมอระหว่างพี่ใหญ่แห่งเอเชียทั้งจีนและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม AIIB
ของจีนเป็น fresh money ไม่ได้เอาของเก่ามารวมเหมือน Abe Initiative ประเทศไทยก็ร่วมเป็นสมาชิก
ก่อตั้งตั้งแต่ต้น อเมริกากับญี่ปุ่นก็พยายามลากขา AIIB อยู่แต่ไม่สําเร็จ เพราะแม้แต่สิงคโปร์ที่เป็นเพื่อน
สนิทของอเมริกาก็ยังเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งของ AIIB ด้วยซํ้าไป อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรสนิทกับอเมริกา
ที่สุดก็ยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง AIIB เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส
ด้วย ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2017 แคนาดาก็เข้าร่วมใน AIIB อีก AIIB จากนี้ก็คงจะเดินต่อไปควบคู่ไป
กับ BRI
ผมเคยได้คุยกับ Jin Liqun ประธานของ AIIB หลายครั้ง รู้จักกันมาก่อนนานเพราะท่านเคยเป็น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของจีน ท่านก็บอกชัดเจนว่า AIIB จะไม่ช่วยสนับสนุนทางการ
การเงินแก่โครงการพัฒนาในประเทศจีน จะสนับสนุนการเงินแก่โครงการพัฒนานอกประเทศจีนเท่านั้น
มีข้อยกเว้นเล็กน้อยในกรณีที่โครงการนั้นมีส่วนที่จะต้องเชื่อมโยงกับถนน ทางรถไฟ หรือเส้นทาง
คมนาคมที่ออกไปจากพรมแดนของจีน ก็จะเข้าไปทําตรงนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จีนต้องการแสดงให้เห็น
อย่างชัดเจนว่า AIIB ไม่ได้ระดมเงินประเทศอื่นมาเพื่อพัฒนาในประเทศจีน แต่เพื่อประโยชน์ของ
ประเทศอื่นๆ กว่า 60-70 ประเทศที่อยู่ในเส้นทางที่ BRI จะผ่านไป
ผ่านการเพิ่มบทบาทของเงินหยวนในเวทีโลก
เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกเรื่องที่ผมคิดว่าต้องดําเนินต่อไปคือ การเพิ่มบทบาทของเงิน
หยวนในเวทีโลก จีนได้พูดเอาไว้ชัดเจนว่าจะทําให้เงินหยวนนี้มีบทบาททางด้านต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
จีนพยายามทําให้เงินหยวนเพิ่มสัดส่วนในอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International Currency)
มากขึ้น จากแทบจะไม่มีเลย เวลานี้ขึ้นเป็น 2.8% หลายท่านอาจคิดว่า 2.8 % นั้นน้อยมาก แต่ถ้ามองไป
ที่เงินเยนญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคย ปัจจุบันสัดส่วนของเงินเยนญี่ปุ่นใน International Currency อยู่ที่เพียง
2.76% เท่านั้น ดอลลาร์สหรัฐมากที่สุด 44% ยูโร 27% เพราะฉะนั้น จีนบอกว่า ค้าขายกับจีนให้ใช้เงิน
หยวน แต่หลายประเทศก็บอกว่าถ้าค้าขายกับจีนได้เงินหยวนมาแล้วจะไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ ได้
อย่างไร เพราะค้าขายกับประเทศอื่นต้องใช้ดอลลาร์สหรัฐ จีนก็บอกว่าไม่เป็นไร จีนจะไปตั้งธนาคาร
ICBC (Industrial and Commercial Bank of China) ให้ ถ้าได้เงินหยวนมาแล้วอยากได้ดอลลาร์สหรัฐก็
เอาไปแลกที่ธนาคารนี้ได้ จีนใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้นในการตั้งธนาคาร ICBC ในประเทศไทย แล้ว
ให้วงเงินไว้เล็กน้อยประมาณสามแสนกว่าล้านบาท และ ธนาคาร ICBC ก็เกิดขึ้นทั่วโลก นี่ถือเป็น
ความสําเร็จสําคัญในเรื่องค่าเงินของจีน
7
การที่เงินหยวนมีบทบาทเป็นเงินระหว่างประเทศมากขึ้นนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าจะมีผลในเชิง
เศรษฐศาสตร์การเมืองสูงมาก เราพูดกันเสมอว่าสหรัฐเป็นประเทศที่จะพิมพ์เงินดอลลาร์เท่าไรก็ได้
เพราะใครๆ ก็อยากจะถือเอาไว้ ถ้าในอนาคต 10 ปีข้างหน้า คนใช้เงินหยวนมากขึ้น จาก 2.8% สมมติ
ขึ้นเป็น 10% สิ่งที่คนพูดกันมาตลอดว่าสหรัฐพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเท่าไรก็มีคนถือก็อาจจะไม่จริงอีก
ต่อไป ถ้ามองในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นี่เป็นสิ่งที่อเมริกาน่าจะกลัวที่สุด พอๆ กับการคุกคาม
ทางไซเบอร์ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ความต้องการเงินดอลลาร์ของสหรัฐลดลง นั่นเป็นสิ่งที่กระทบหม้อแกง
ของสหรัฐที่ใหญ่ที่สุด
นอกจากจะผลักดันให้เงินหยวนมีสัดส่วนเป็นอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International
Payment Currency) มากขึ้นแล้ว ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศจีนได้พูดเอาไว้เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ว่าไม่ควรจะ
มีเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นสกุลเงินของเงินทุนสํารองระหว่างประเทศ (Global Reserve Currency)
ซึ่งการออกมากล่าวเช่นนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศจีนก็คงจะถูกถล่มไป แต่ในกรณี
นี้ ผู้ว่าการธนาคาร IMF ก็ออกมาสนับสนุนว่าเป็นความคิดที่ดี ควรจะมีสกุลเงินอื่นด้วย ซึ่งเหลือเชื่อมาก
ที่วันนี้ IMF เห็นด้วย
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า Special Drawing Rights คือตะกร้าเงินของ IMF ที่มีเอาไว้ให้ประเทศ
ต่างๆ กู้ยืมในยามที่สกุลเงินของตนมีปัญหา อย่างตอนปี 1997 (พ.ศ.2540) ที่ประเทศไทยมีปัญหา เราก็
ไปกู้จาก IMF มา 17,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในตะกร้าเงินนี้จะมีหลายๆ สกุลเงินเพื่อให้ไม่แกว่ง
มาก สัดส่วนของเงินสกุลต่างๆ ใน Special Drawing Rights ในปัจจุบันนั้น มีดังนี้ ดอลลาร์สหรัฐ 41%
ยูโร 30.9% ส่วนหยวน 10.9% ในขณะที่เยนญี่ปุ่นอยู่ที่ 8% ปอนด์อังกฤษ 8% สัดส่วน 10.9% ของ
หยวนที่ได้มานี้ ก็ได้จากการที่ IMF ไปดึงโควตาของปอนด์กับเยนมาให้จีน คงจํากันได้ว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้ว
ค่าเงินหยวนมีการขยับขึ้นลงอยู่ช่วงหนึ่ง เดี๋ยวแข็งเดี๋ยวอ่อน คนก็นึกว่าทําอะไรกัน ถูกโจมตีค่าเงินหรือ
เปล่า ความจริงเกิดจากการที่จีนพยายามปรับกับเงินสกุลอื่นๆ ให้เป็นสากล จนในที่สุดแล้ว ใน Special
Drawing Rights เงินหยวนเข้าไปมีสัดส่วนได้ขนาดที่กล่าวมา
เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าจีนประสบความสําเร็จในการทําให้เงินของตนได้รับการยอมรับในทาง
สากลมากยิ่งขึ้นสองประการคือ หนึ่งคือประสบความสาเร็จในการให้เงินหยวนเป็น International
Payment/Trading Currency ถึงแม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นก็ตาม และสองคือสามารถทาให้เงิน
หยวนเป็นส่วนหนึ่งของเงินสารองระหว่างประเทศที่ยอมรับโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(โดยมติของบอร์ด IMF)
ผ่านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจต่างๆ
นอกจากนี้ จีนก็จะดาเนินการเรื่องการเปิ ดเสรีในลักษณะของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
ด้วย เริ่มตั้งแต่ความร่วมมือแม่โขง-ลานช้าง ที่มีพม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และจีน ทั้งๆ ที่ใน
8
ภูมิภาคนี้ก็มีความร่วมมือโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง (GMS :
Greater Mekong Subregion) อยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า GMS มี ADB ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็น
ผู้สนับสนุน เป็นเจ้าภาพ มีความร่วมมือประเทศลุ่มนํ้าโขงกับญี่ปุ่น (Japan-Mekong Cooperation) เป็น
ความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับทุกประเทศที่ติดลุ่มนํ้าโขง ยกเว้นจีน คือกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และ
เวียดนาม แล้วก็ยังมีความริเริ่มสหรัฐ-ประเทศลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง (US-Lower Mekong Initiative) เพราะ
อเมริกาก็อยากมีพรมแดนติดแม่นํ้าโขงด้วย ก็เป็นความร่วมมือระหว่างอเมริกากับทุกประเทศที่ติดแม่นํ้า
โขงยกเว้นจีน คือกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบาย engage and contain
จีนของโอบามา คือมียุทธศาสตร์ว่าถ้าหาก contain จีนไม่สําเร็จแล้ว ก็ขอ engage ด้วย จีนทําอะไรก็ขอ
ทําด้วย จีนอยู่ใน East Asia Summit สหรัฐก็ขออยู่ด้วย จีนมามีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศลุ่มแม่นํ้า
โขง อเมริกาก็มามี US-Lower Mekong Initiative และในความร่วมมือที่ทั้งญี่ปุ่นกับอเมริกาทํากับ
ประเทศลุ่มแม่นํ้าโขง ก็มีทุกประเทศลุ่มนํ้าโขง ยกเว้นจีน เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนจึงเสนอกรอบความร่วมมือ
ขึ้นมาใหม่เป็นแม่โขง-ลานช้าง คือเป็นประเทศลุ่มแม่นํ้าโขงกับจีนเท่านั้น ไม่มีมหาอํานาจอื่นเข้ามา
เกี่ยวข้อง และนอกจากนั้น จีนก็ดําเนินการต่อในนโยบายเรื่อง Greater Bay Area ที่รวบรวมเอากวางตุ้ง
ฮ่องกง มาเก๊า และเมืองท่าสําคัญอื่นๆ ในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่ง
Greater Bay Area เป็นพื้นที่ที่ในเวลานี้จีนบอกว่าพร้อมที่จะพูดคุยร่วมมือเรา
ราวเดือนที่แล้ว ผมได้คุยกับ CY Leung อดีตผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ท่านเล่าให้ฟังว่า
นอกจากสะพานและอุโมงค์ที่จะเชื่อมฮ่องกง มาเก๊า กวางตุ้ง จูไห่แล้ว ยังมีอีกทางอีกสองเส้นที่ไปอยู่ใน
แผ่นดินใหญ่และจะเชื่อมลงมาถึงเวียดนาม เข้ามาที่ลาวและไทย เพราะฉะนั้นต่อไปจะสามารถเดินทาง
จากฮ่องกงมาถึงอาเซียนได้ภายใน 20 ชั่วโมง
สําหรับการเชื่อมโยงจีนเข้ากับอาเซียน ไม่ว่าจะผ่านความร่วมมือเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (Pan -
Beibu Gulf Economic Cooperation) ที่มอบหมายให้มณฑลกวางสี กวางตุ้ง และไหหลํา เป็น 3 มณฑล
ที่จะเชื่อมโยงกับประเทศไทย ตามหลัก 1 แกน 2 ปีก เชื่อมโยงจากเมืองหนานหนิงซึ่งเป็นเมืองหลวง
ของกวางสี ไปที่สิงคโปร์เป็นแกน ส่วนปีกซ้าย ปีกขวาเชื่อมกับอาเซียน ซึ่งก็ยังคงอยู่และคงจะดําเนิน
ต่อไป ส่วนความร่วมมือการประชุม (Asia Cooperation Dialogue : ACD) ก็จะยังดําเนินการต่อไป
ทางด้านเศรษฐกิจ จีนก็ดําเนินการในเรื่องความร่วมมือ RCEP (Regional Comprehensive
Economic Partnership) ซึ่งสําหรับผมถือว่าเป็นปัจจุบัน ผมคิดว่าเรื่อง ASEAN integration เป็นเรื่อง
ของอดีต ปัจจุบันคือ RCEP และเวลานี้สําหรับ TPP คิดว่าคงจะไปไม่รอด ตอนประชุม APEC ที่
เวียดนาม เวียดนามก็พยายามเรียกประชุมประเทศที่ยังหลงเหลืออยู่ใน TPP แต่ในที่สุดการประชุมก็ล่ม
เพราะพี่ใหญ่คือสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีทรัมป์ไม่เอาด้วย เพราะทรัมป์จะยึดหลัก America First
เพราะฉะนั้น เมื่อ TPP ที่แข่งกันอยู่กับ RCEP ไม่เกิดขึ้น สีจิ้นผิงจึงเสนอตอนที่จีนเป็นเจ้าภาพการ
ประชุม APEC 2015 บอกว่าอย่ามาแข่งกันเลย เอามารวมกันเลยให้หมดจะดีกว่า ซึ่งสีจิ้นผิงเรียกว่า
9
FTAAP (Free Trade Area of Asia-Pacific) ก็จะมีทั้งสมาชิกของ RCEP ซึ่งก็คืออาเซียน 10 ประเทศ
และอินเดีย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในแปซิฟิก ไมว่าจะเป็นเปรู
เม็กซิโก ชิลี อเมริกา แคนาดา ฯลฯ รวมเข้ามาหมด เป็นเขตการค้าเสรีที่จะใหญ่ที่สุดในโลก
ผมว่าสีจิ้นผิงฉลาดมาก เพราะท่านบอกว่าท่านไม่ได้เป็นคนเสนอความคิดนี้ แต่ญี่ปุ่นเป็นคน
เสนอเป็นคนแรกในการประชุม APEC ที่โยโกฮามา ท่านเพียงแต่เอาความคิดนี้มารื้อฟื้น (rejuvenate)
อเมริกาก็ค้านความคิดนี้อยู่คนเดียวในการประชุมเอเปคที่ปักกิ่ง ในที่สุดก็ไม่สําเร็จ สุดท้าย 21 เขต
เศรษฐกิจ ยกเว้นสหรัฐกับญี่ปุ่น ก็เห็นชอบให้มีการศึกษาเรื่องการตั้ง FTAAP เมื่อต่อมาทรัมป์ขึ้นเป็น
ประธานาธิบดี ก็มีการประชุม APEC ครั้งถัดมาที่เปรู ก่อนครั้งล่าสุดนี้ ตอนนั้น สีจิ้นผิงก็เหมือนกับ
เรียกว่าได้ทีขี่แพะไล่ เพราะเวลานั้น ทั้งอาเบะและโอบามาก็กําลังกังวลและเป็นห่วงมากในอนาคตของ
เศรษฐกิจเสรี เพราะเริ่มมีกระแสต้านโลกาภิวัตน์ขึ้นมา สีจิ้นผิงจึงยก FTAAP ขึ้นมาว่าจากที่ได้มีการ
พูดคุยกันแล้วที่การประชุมเอเปคที่ปักกิ่งและเวลานี้ได้ทําการศึกษาเสร็จแล้ว ยิ่งในเวลาที่โลกเป็นแบบนี้
เรายิ่งต้องเดินเข้าไปสู่ FTAAP (Free Trade Area of Asia-Pacific) ให้เร็วขึ้น
เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่กล่าวมาของจีน ไม่ว่าจะเป็น BRI, AIIB, การส่งเสริม
บทบาทเงินหยวนในสากล และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จีนทาและจะทากับ
ภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าแม่โขง-ลานช้าง RCEP และ FTAAP เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าจีนจะยังคง
ดาเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิ ดต่อไป ในขณะที่สหรัฐค่อนข้างจะเน้นทิศทางต่อต้านโลกาภิ
วัตน์ ส่วนในยุโรป ฝ่ายขวาจัดก็มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในอังกฤษ (Brexit) และแม้จะไม่ได้
ขึ้นมาเป็นรัฐบาลเองทั้งหมด แต่ก็เข้าไปอยู่ในสภา มีอิทธิพลต่อรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะ
เป็นในฝรั่งเศส หรือเยอรมัน
สีจิ้นผิงบอกว่าจะเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสําคัญ สิ่งที่น่าสังเกตคือว่า
แม้จีนจะเดินหน้าเรื่องเปิ ดเศรษฐกิจของตนสู่โลก (open economy) แต่ขณะเดียวกันจีนก็เน้น
เศรษฐกิจภายในประเทศด้วย ไม่ว่าการมุ่งขจัดความยากจน ส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ เพรา
ฉะนั้น ที่สีจิ้นผิงประกาศเอาไว้ก่อนหน้านั้นเรื่อง Made in China 2025 ผมคิดว่ายังคงอยู่ ถ้ามองใน
ภาพใหญ่เหมือนทั้งสองทิศทางของจีนนี้ขัดกัน มีทั้ง open economy มีทั้ง Made in China
เรื่อง Made in China 2025 ข้อสังเกตที่สาคัญคือ ที่เราพึ่งตลาดจีนกันอยู่ในอาเซียนมา
จาก Supply Chain กล่าวคือไทยผลิตของอย่างหนึ่งส่งไปฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ส่งไปจีน ฟิ ลิปปิ นส์
ผลิตของอย่างหนึ่งส่งมาไทย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิด Made in China ขึ้นมา จีนจะกลายเป็นผู้ผลิต
ของ Intermediate Goods ไม่ได้เป็นผู้บริโภคอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะฉะนั้น Supply Chain ใน
อาเซียนอาจจะหายไป การค้าระหว่างประเทศในหมู่อาเซียนจะกลายเป็นการค้าภายในของจีน
ซึ่งผมคิดว่าอาเซียนน่าจะคิดถึงประเด็นนี้
10
สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงเล็กน้อยในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเศรษฐกิจภายในประเทศของ
จีน คือการที่จีนบอกว่าจะไม่รุกรานใคร การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนจะไม่แทรกแซง ไม่ครองโลก ผมคิด
ว่าอันนี้มีความสําคัญในสิ่งที่จีนตั้งใจ จําได้ตั้งแต่สมัยจูหรงจี (Zhu Rongji) เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านพูด
กับผมเองว่า เหตุใดหลายประเทศในอาเซียนยังระแวงอยู่อีกว่า FTA กับจีนจะมาตักตวงผลประโยชน์
จากประเทศเหล่านี้ ท่านก็ชี้ให้เห็นว่าการที่ไทยทํา FTA กับจีน ไทยจะได้ผลประโยชน์อะไรบ้าง มาถึงสี
จิ้นผิงท่านก็เล่าให้ฟังว่ามีผู้ใหญ่ทางตะวันตกมาพบกับท่าน ท่านก็รับที่มหาศาลาประชาชน เบื้องหลัง
เป็นภาพกําแพงเมืองจีน แขกจากตะวันตกท่านนั้นก็ถามว่าเหตุใดต้องมีภาพกําแพงเมืองจีนอยู่ข้างหลัง
สีจิ้นผิงก็อธิบายว่า กําแพงเมืองจีนเป็นสัญลักษณ์ว่าจีนทําอย่างเดียวคือปกป้องไม่ให้คนมารุกรานจีน
แต่จีนนั้นไม่เคยไปรุกรานใครและไม่เคยเอาใครเป็นเมืองขึ้น จีนนั้นมักจะพูดอยู่เสมอถึงเจิ้งเหอ (Zheng
He) ที่เดินเรือผ่านมาในภูมิภาคนี้เมื่อ 600 ปีที่แล้ว เรือสองหมื่นลําขึ้นฝั่งที่เวียดนาม ผ่านลาว ไทย มาที่
วัดพนัญเชิง ลงไปที่ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อออกทะเลอันดามัน (ซึ่งประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยเขียนเรื่อง
พวกนี้) และไม่เคยจะเอาดินแดนของใครมาเป็นของตน แต่ตรงนี้ผมคิดว่าคงจะเป็นความลําบากของจีน
ต่อไปในอนาคต เพราะประเทศตะวันตก แม้กระทั่งประเทศในเอเชียเองก็ยังไม่ค่อยวางใจว่า BRI ของ
จีนต้องการอะไร ยังไม่มั่นใจว่า BRI จีนจะใช้วิธีบีบบังคับ (impose on policy) หรือไม่ ถึงแม้จีนบอกว่า
ถ้าไทยไม่อยากทําเส้นทางรถไฟก็ไม่ว่าอะไร แล้วแต่ไทย แต่หลายคนก็บอกว่าไม่ว่าอย่างไรจีนก็ต้องทํา
ผ่านไทย มิฉะนั้น การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างคุนหมิง-สิงคโปร์ก็จะไม่เกิดขึ้น ความเชื่อมโยงทาง
กายภาพของ BRI ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่วนตะวันตกเอง ท่านอดีตเอกอัครราชทูตอเมริกาก็พูดเอาไว้ชัดเจนว่า
สิ่งที่อเมริกาประสาทเสียที่สุดในเวลานี้ก็คือ อเมริกาไม่เคยเป็นที่สอง ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ที่
อเมริกาเอาชนะอังกฤษเป็นต้นมา ก็ไม่เคยเป็นที่สอง และเวลานี้ก็กําลังประสบปัญหาใหญ่เพราะไม่เคย
เป็นที่สอง (a problem of being number two) และเป็นที่สองที่ไม่รู้ว่าที่หนึ่งกําลังคิดอะไรอยู่ด้วย
เพราะฉะนั้น ความสั่นไหวของอเมริกา ยุโรป และบางประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียใต้ ต่อ
จีนจะยังอยู่ต่อไป แม้ส่วนตัวผมจะเชื่อว่าความตั้งใจในการดําเนินทิศทางเปิดเศรษฐกิจเสรีของจีนเป็น
ความตั้งใจที่ดี แต่ก็คิดว่าความอ่อนไหวต่อจีนนี้จะยังเป็นปัญหาสําหรับจีนต่อไปอย่างน้อยอีก 5 ปี
ข้างหน้า
2.ทิศทางสาคัญของโลก
การเกิดขึ้นของ Disruptive Technology
อย่างเช่นการเกิดขึ้นของ 3D Printing ซึ่งเวลานี้สามารถทําแก้ว คาน ตึก แม้แต่ปืนได้แล้ว ซึ่ง
จีนก็เดินไปทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือเรื่อง automation ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นแนวคิด
11
เดิมที่เราเรียกว่า Offshore Investment คือการที่ประเทศพัฒนาแล้วไปลงทุนในประเทศกําลังพัฒนา
เพราะต้องการแรงงานราคาถูก เพื่อผลิตของบางอย่างแล้วส่งกลับไปในประเทศพัฒนาแล้วจะค่อยๆ
หายไป ตอนนี้สิ่งที่มาทดแทนคือสิ่งเขาเรียกกันว่า Re-shoring investment ประเทศพัฒนาแล้วกลับไป
ลงทุนในประเทศตัวเองได้ เพราะอาศัยเทคโนโลยีช่วย สามารถนําเครื่อง 3D Printing ไปตั้งผลิตที่
ประเทศกําลังพัฒนาได้เลย เพราะฉะนั้น การค้าระหว่างประเทศตรงนี้ส่วนหนึ่งก็จะหายไป นั่นคือผลของ
Disruptive Technology ที่เกิดขึ้น
ทิศทางของมหาอานาจอื่นๆ ที่มีบทบาทอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อาเซียน
เราลองมาดูเรื่องยุทธศาสตร์กันสั้นๆ ว่าจากนโยบายและการประชุมพรรคของจีน กระทบอะไร
อาเซียนบ้าง อาเซียนมียุทธศาสตร์อยู่ประมาณ 3-4 เรื่องใหญ่ๆ 1.การบูรณาการของชาติอาเซียน
(ASEAN integration) หรือการบรรลุเป้าหมายประชาคมอาเซียน 2.การเชื่อมโยงทางกายภาพและอื่นๆ
ของอาเซียน (ASEAN connectivity) ซึ่งข้อนี้คงจะไปกันได้กับ BRI แม้บางประเทศในอาเซียนอาจจะ
ชอบ BRI มากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่หลายเส้นใน BRI ทางใต้ที่ลงมาในอาเซียนก็ทับกับเส้นทางการ
เชื่อมโยงของ ASEAN Connectivity อยู่ ซึ่งผมคิดว่าจีนค่อนข้างฉลาด เพราะ BRI เส้นใต้ที่เชื่อมมาทาง
อาเซียนนั้นสร้างขึ้นบนหลักการ ASEAN Connectivity ซึ่งอาเซียนมีมาก่อนที่จีนจะประกาศ BRI ในปี
2013 นานแล้ว เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง Ayeyawady -
Chao Praya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เราทําสะพานเชื่อมข้ามแม่นํ้า
โขง เชื่อมลาว เชื่อมกัมพูชา พม่า อะไรแบบนี้อาเซียนเราทํามากว่า 10 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่อง
Connectivity ก็คงจะไม่ขัดกัน และอาเซียนพลัส ไม่ว่าอาเซียน+1 อาเซียน+3 หรืออาเซียน+6 ที่เรียกว่า
East Asia Summit (EAS) ก็คงไม่ขัดกัน เพราะจีนก็เข้าร่วมด้วยกับทุกๆ อาเซียนพลัส ทั้งการประชุม
รัฐมนตรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (PMC) ทั้ง ASEAN Regional Forum (ARF)
นอกจากนี้ อาเซียนมียุทธศาสตร์อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ ASEAN Centrality คืออาเซียน
ต้องอยู่ในฐานะคนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทั้งหลายในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้
แม้กระทั่ง RCEP อาเซียนก็บอกว่าเป็นสิ่งที่อาเซียนคิดขึ้น แม้ว่า East Asia Summit ที่ตอนนี้มีอเมริกา
และรัสเซีย อาเซียนก็ถือว่าอาเซียนเป็นศูนย์กลาง Goh Chok Tong อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เคย
กล่าวว่าอาเซียนเป็นลําเรือบิน ปีกซ้ายเป็นอินเดีย ปีกขวาเป็นจีน แต่ยังขาดหาง เพราะฉะนั้น อาเซียน
ต้องมีออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ความคิดนี้ทําให้มีการริเริ่ม East Asia Summit (EAS) ขึ้นมา แต่
ภายหลังมาเจอนโยบาย engage and contain จีนของโอบามา สหรัฐอเมริกาสมัยฮิลลารี คลินตันเป็น
รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศก็ต้องการมาร่วมอยู่ใน EAS ด้วย ในที่สุด อาเซียนก็ต้องรับอเมริกา
12
เข้ามาอยู่ใน EAS อาเซียนก็เลยแก้ลําด้วยการรับรัสเซียเข้ามาด้วย EAS จึงเป็นเวทีการประชุมสุดยอด
เอเชียตะวันออกที่แปลกมาก มีทั้งอินเดีย อเมริกา และรัสเซีย
ดังนั้น ในยามที่จีนออกยุทธศาสตร์มาจํานวนมาก ไม่ว่าจะเป็น BRI Pan-Beibu ไม่ว่าจะ
สนับสนุนให้เกิด RCEP หรือ FTAAP ก็ต้องมาพิจารณาดูว่าทําให้ ASEAN Centrality หายไปหรือไม่
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนยังอยู่หรือไม่ ผู้นําประเทศอาเซียนยังคุยเรื่องยุทธศาสตร์กัน
ยังมีความไว้วางใจใกล้ชิดกันอยู่หรือเปล่า ปัญหาทะเลจีนใต้ หรือล่าสุดปัญหายะไข่ที่ตกลงกันไม่ได้ใน
การประชุมสุดยอดอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ ทําให้อาเซียนแตกร้าวหรือไม่ เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ ASEAN
Centrality ถูกกระทบหรือไม่
ญี่ปุ่น
สําหรับยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของญี่ปุ่น มี Abe Initiative และเมื่อปีที่แล้วญี่ปุ่นจับมือกับ
อินเดียและเสนอการเชื่อมโยงใหม่ขึ้นมาเรียกว่า AAGC (Asia-Africa Growth Corridor) (ดูภาพที่ 1)
เชื่อมแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน แล้วญี่ปุ่นก็เข้าไปแย่งโครงการ
ต่างๆ ของจีน เช่น โครงการสร้างเส้นทางรถไฟในอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซียซึ่งจีนได้ทําอยู่แล้ว
ซึ่งก็มีที่แย่งสําเร็จทําให้ประเทศเหล่านั้นยกเลิกสัญญากับจีนมาทํากับญี่ปุ่นบ้างก็มี นายกรัฐมนตรีอาเบะ
ประกาศ AAGC ในช่วงเดียวกับที่สีจิ้นผิง ประชุม Belt and Road Summit ในช่วงพฤษภาคม 2017
ภาพที่ 1 การเชื่อมโยงในยุทธศาสตร์ Asia-Africa Growth Corridor
ที่มาภาพ https://i.ytimg.com/vi/LH-rPgIzpZQ/maxresdefault.jpg
13
สหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกา อันนี้ใหม่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสังเกตที่สุดว่าใน Joint Statement ของ
ประธานาธิบดีทรัมป์และนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ ทั้งหมดผมสนใจที่เดียวคือ มีการใช้คําว่า อินโด-
แปซิฟิก (Indo-Pacific) สองครั้งใน Joint Statement นี้ เพราะฉะนั้น นี่คือยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐที่จะ
เรียกเขตแถบนี้ใหม่ ไม่เรียกว่า เอเชียแปซิฟิก หรืออาเซียนพลัส หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่
เรียกว่าภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Region) ผมเข้าใจว่าแรกๆ สหรัฐไม่ได้อยากที่จะรวม
ปากีสถานเข้ามาด้วยซํ้า เพราะทราบกันดีว่าอินเดียกับปากีสถานมีส่วนหนึ่งของ BRI ที่สําคัญ ที่เรียกว่า
CPEC (China-Pakistan Economic Corridor) ที่เชื่อมเมืองท่ากวาดาร์ (Gwadar) ของปากีสถานที่เป็น
ทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ขึ้นไปถึงเมืองคัชการ์ (Kashgar) มณฑลซินเกียงของจีน อันเป็นการเปิด
ภาคตะวันตกของจีนออกสู่ทะเลโดยไม่ต้องผ่านอินเดีย ผ่านการเชื่อมต่อทั้งท่อนํ้ามัน ท่อก๊าซธรรมชาติ
ทางรถไฟ และอื่นๆ อีกต่างๆ นานา เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก จึงไม่เข้าไปแตะปากีสถาน
ในขณะเดียวกันก็ต้าน BRI ทั้งหมด ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกจึงเป็นเสมือนเหมือนก้อนใหญ่ๆ ที่เป็น
ยุทธศาสตร์ต้าน BRI อยู่ นี่คือการตอบโต้ BRI ของสหรัฐอย่างเงียบๆ (ดูภาพที่ 2)แม้ว่าเราจะบอก
ว่าทรัมป์ไม่มีทิศทาง ไม่มีที่ปรึกษา แต่ผมมองอีกทางว่ายุทธศาสตร์การต่างประเทศทรัมป์เป็น New
Look Diplomacy เขาใช้การไม่มียุทธศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญ ใช้วิธีไม่มีนโยบายเป็นนโยบายที่
สําคัญ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผลประโยชน์
ภาพที่ 2 ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก
ที่มา https://www.coral-reef-info.com/image-files/Indo-Pacific-map.png
14
และในการประชุม EAS เมื่อเดือนที่แล้ว ก็เกิดการประชุมอันใหม่ขึ้นมาที่ประหลาดมาก เรียกว่า
Quad Summit หรือการประชุมสุดยอด 4 ประเทศ มีทรัมป์ อาเบะ โมดี และเทิร์นบุลล์ ผู้นําอเมริกา
ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลียตามลําดับ ประชุมกันเรื่องยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ซึ่งน่าสนใจมากว่า
ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก นั้นรวมขึ้นไปถึงเอเชียตะวันออก แต่รวมแค่ญี่ปุ่นคนเดียว มันเหมือนกับไม่มี
จีนอยู่ตรงนั้น (ส่วนเกาหลีใต้อาจจะรู้สึกว่าเล็กเกินไป) แล้วก็มีเอเชียใต้ โดยมีพี่ใหญ่คืออินเดีย ไม่มี
ปากีสถาน และไม่มีอาเซียน แต่ใน Joint Statement กับเรากล่าวถึงภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกสองครั้ง แต่
จับออสเตรเลียขึ้นมา ดังนั้น Quad Summit เหมือนกับพยายามจะตรึงอะไรบางอย่าง คล้ายจะส่ง
สัญญาณว่านี่คือทิศทางที่จะตอบสนองต่อการขยายยุทธศาสตร์ของจีน จากทั้งหมดที่กล่าวมาคําถามคือ
แล้วไทยอยู่ที่ใด
3. เงื่อนไขในการกาหนดยุทธศาสตร์ของไทย
ประการแรก เวลานี้เรากําลังอยู่ในโลกที่มี กระแสต้านโลกาภิวัตน์ (anti-globalization) เห็น
ได้จากนโยบาย American First กระแสขวาจัดในยุโรป หรือ Brexit แต่ขณะเดียวกัน เราก็มีเอเชียที่เดิม
จะไม่ค่อยเอาโลกาภิวัตน์ กลับกลายมาเป็นคนที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์ จีนหรือหลายประเทศในเอเชีย
แม้กระทั่งอินเดีย เคยต่อต้านการเปิดเสรี แต่เวลานี้กลับกลายมาเป็นประเทศที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์ แต่
ผมไม่ค่อยอยากจะเรียกว่า Globalization (โลกาภิวัตน์) ผมอยากจะเรียกว่า Globalism เพราะ
Globalization ก็มีด้านมืดของมันที่คนยากคนจนตามไม่ทัน และประเทศหลายประเทศก็เข็ด แต่สําหรับ
Globalism คือการเป็นโลกที่ยังเปิด ยัง engage กันอยู่ ผมคิดว่ามันยังมีอยู่ ผมคิดว่าจีนไม่ได้อยากจะ
เป็น Hegemon ตามที่เห็น แต่จีนก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกตัวเองว่าเป็นอะไร แต่ผมขอตั้งชื่อให้จีนเป็น
Connector โดยผ่าน BRI AIIB RCEP FTAAP ข้อตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคี และผ่านความสัมพันธ์
ทั้งหลาย เมื่อจีนเป็นประเทศใหญ่และมีนโยบายขนาดนี้ ก็ต้องเรียกว่าจีนเป็น The Great Connector (ผู้
เชื่อมโยงที่ยิ่งใหญ่) ในโลกของ Globalism
ประการที่สอง นอกจากกระแส anti-Globalization แล้ว ในตะวันตกเรากําลังมีการทูตใน
ลักษณะใหม่ๆ (New Look Diplomacy) นําโดยทรัมป์ ที่พยายามจะดึงบางประเทศมาร่วม ซึ่งอย่าไป
ประมาทว่าท่านจะดึงไม่สําเร็จ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย หรือญี่ปุ่น ให้มาเดินในการทูตแบบใหม่ๆ
ประการที่สาม คือเรากําลังเห็นยุทธศาสตร์ของมหาอานาจต่างๆ เข้ามาพัวพันอยู่ในอนุ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมีนัยสาคัญ และประการสุดท้ายคือเรากําลังพบการ
เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี มี disruptive technology เช่นเรื่อง 3D Printing และ disruptive technology นี้
เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (anti-Globalization) และในประเทศที่ pro-Globalism
15
พร้อมๆ กัน ประเทศทั้งสองกลุ่มนี้ มีนวัตกรรมที่นําประเทศไทยและประเทศอาเซียนไปอย่างมากมาย
มหาศาล อาจจะยกเว้นสิงคโปร์ประเทศเดียว
ทิศทางของไทย : ควรเริ่มต้นที่การศึกษา
เพราะฉะนั้น ในการมองว่าเราควรจะอยู่ในส่วนใดของยุทธศาสตร์จีน จะอยู่ตรงไหนของ
ยุทธศาสตร์มหาอํานาจ ผมคิดว่าเราต้องกลับมาดูที่การศึกษาของไทย ไม่ว่าเราจะเป็น anti-
Globalization หรือ pro-Globalism เราจะไปทางนวัตกรรมหรือเปล่า ถ้าเราจะไปทางนวัตกรรมเพื่อให้
ออกจากสิ่งที่เรียกว่ากับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ก็ต้องถามว่าอะไรเป็น
พื้นฐานของนวัตกรรม ซึ่งก็คือความรู้ (knowledge) แล้วอะไรเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ ก็ต้องตอบว่า
การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยการวิจัยและพัฒนาถึงจะมีองค์ความรู้
และถึงจะมีนวัตกรรม และเมื่อถามต่อไปว่าอะไรคือพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนา ก็คือทุน ประเทศไทย
มีงบ R&D ประมาณ 0.4% ของ GDP แบ่งเป็น เอกชน 0.2% ภาครัฐ 0.2% และของภาครัฐก็ไม่เคยใช้
หมด สิงคโปร์มีประมาณ 2% ของ GDP สิงคโปร์ จีนมีประมาณ 2% ของ GDP จีน (ซึ่งเป็น GDP ที่
ใหญ่อันดับสองของโลก) เพราะฉะนั้น ถ้าเราบอกว่าจะไปทางนวัตกรรม แต่เราไม่มี (requirement) ของ
นวัตกรรมเลย คือไม่มีทุน ซึ่งก็ทําให้ไม่มี R&D เพียงพอ แล้วก็ไม่มีองค์ความรู้ แล้วก็ไปไม่ถึงนวัตกรรม
เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่าจะออกจาก middle income trap ด้วยนวัตกรรม ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปได้อย่างไร
หรือทางที่สองเราต้องวางตัวเป็น technology user ซึ่งแม้แต่สิงคโปร์ที่เขานําหน้าเราอยู่ เขายัง
บอกเลยว่าเขาวางตัวเองเป็น technology user เป้าหมายของสิงคโปร์คือเป็นสังคมที่พร้อมต่ออนาคต
(Future Ready Society) ในเดือนมกราคม 2018 สิงคโปร์จะเป็นประธานอาเซียน อดีตนายกรัฐมนตรี
Goh Chok Tong กล่าวว่าสิงคโปร์จะนําอาเซียนให้เป็น Future Ready Society ให้เป็น smart ASEAN
ในเมื่อสิงคโปร์บอกว่าตนเองจะเป็นประเทศผู้ใช้นวัตกรรม แล้วถามว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ใช้
นวัตกรรมบ้างหรือไม่ ถ้าจะเป็นผู้ใช้นวัตกรรม เราต้องผลิตวิศวกรสายอาชีพ (practical engineers) และ
บัณฑิตสายวิชาชีพ (practical graduates) คือ ปวช. และ ปวส.
ในโลกของ disruptive technology นิยามของคําว่านักเรียนเปลี่ยนไปแล้ว นักเรียนไม่ใช่เฉพาะ
นักเรียนในโรงเรียน และนักศึกษา แต่รวมทั้งผู้บริหารภาครัฐ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารในหน่วยงาน
ราชการ และยิ่งในสังคมผู้สูงอายุอย่างประเทศไทย คนที่เป็นผู้สูงอายุแล้วต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่
ตลาดแรงงานใหม่ ประเทศสิงคโปร์แก้ปัญหาแบบคนรวย คือ ผู้สูงอายุที่เข้ามาฝึกอบรมใหม่ ตาม
ระยะเวลา 6-8 เดือน ในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่อง Internet of Things (IoT) หรือ Automation ให้ 500
เหรียญ เป็นแรงจูงใจ แต่ไทยเราจะแก้ปัญหาอย่างไร จะขยายอายุเกษียณหรือไม่ อันนี้เราก็ยังไม่ชัด
เพราะเรายังพูดกันเรื่องปฏิรูปการศึกษาอยู่ เรายังพูดกันถึง 5 แท่งอยู่ ผมเคยเสนอว่าเหตุใดเราไม่คิด
16
ใหม่ว่าถ้าเราต้องการเห็นประเทศไทยอีก 5 ปีข้างหน้า ที่มีบัณฑิตสายอาชีพเป็น technology user มี
หลักสูตรลัด (short courses) เราคิดแบบนี้ดีกว่าว่าสมมติวันนี้ไม่มีกระทรวงศึกษาเลยแม้แต่แท่งเดียว
แล้วเราต้องการกี่แท่ง อาจจะตอบว่าต้องการห้าแท่งดีแล้ว ต้องการเจ็ดแท่ง หรือไม่ต้องการสักแท่ง
สิงคโปร์เขาให้กระทรวงศึกษาของเขาทํางานกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ทํางานกับ
มหาวิทยาลัย Nanyang ใครเก่งเรื่อง Automation ใครเก่งเรื่องอะไร ให้มาทําหลักสูตรได้ ระยะเวลาจะ
เป็น 6 เดือน 8 เดือน หรือ 1 ปี จะมีปริญญาหรือไม่มีไม่สําคัญ
แต่หากเราเป็นผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) ไม่สําเร็จ เป็นผู้ใช้นวัตกรรม (Technology user) ก็
ยังไม่เดินหน้าทําให้สําเร็จ ก็มีทางเดียวคือต้อง ready made ต้องเดินตามพระราชวิเทโศบายของรัชกาล
ที่ 5 คือ นําเข้าคนเก่งเข้ามาทํา เอามหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้ามาตั้ง เอาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้า
มา แต่เวลานี้ผมก็ยังไม่เห็นว่าเราจะไปทางใด ซึ่งอันนี้มันเกี่ยวโยงกัน เพราะเวลาจีนเขาพูดถึงนโยบาย
เศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เขาพูดถึงเรื่องการศึกษา นวัตกรรม เวลาที่เขาพูดนั้นเขาไม่ได้
เพิ่งจะเริ่มทํา แต่เขาทํามาแล้ว 5 ปี หรือ 10 ปีแล้วด้วยซํ้า หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ใน
เยอรมนีและประเทศต่างๆ ก็เป็นผลของการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่กําลังเกิดดอกออกผล ขณะที่ไทยเรา
กําลังจะพูดถึงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ตรงกับปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งที่ 4 ที่เราเรียกกันว่า 4.0 แต่ถ้า
ทั้งการศึกษาและกฎหมายของเรายัง 0.4 อยู่ เราจะข้ามตรงนี้ไปได้อย่างไร และนอกจากเราแล้ว
อาเซียน อาจจะยกเว้นสิงคโปร์ จะเคลื่อนอย่างไร ท่ามกลางยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอํานาจที่เคลื่อน
เร็วขนาดนี้ โดยที่มี Disruptive Technology เป็นตัวแทรกทั้งฝ่าย anti-globalization และ pro-globalism
ผมขอฝากไว้ว่าอยากให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการของไทยได้ร่วมกันคิดตรงนี้ ผมคิดว่าการที่
ประเทศไทยจะรอดหรือไม่รอด ไม่ได้ชี้ขาดที่เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ได้ชี้ขาดที่การเมืองเพราะก็คงขัดแย้งกัน
ต่อไป แต่ผมคิดว่าอยู่ที่เรื่องการศึกษา ถ้าเรายังไม่ยกเครื่องการศึกษา ซึ่งหมายความรวมถึงการศึกษา
ในทุกๆ เรื่อง ไม่ใช่เพียงมหาวิทยาลัย แต่เป็นการเรียนรู้ทั้งหมด ถ้าเราไม่ยกเครื่องการเรียนรู้ของ
ประเทศ เราก็คงจะไปไม่รอด
***
17
คณะผู้นาชุดใหม่ กับทิศทางของจีน
ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19
อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล
อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจาประเทศจีน
18
คณะผู้นาชุดใหม่ กับทิศทางของจีน
ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่
พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19
ในทศวรรษ 1950-60 จีนใช้ทฤษฎีสามโลก (Three World Theory) ของเหมาเจ๋อตุงในการสร้าง
แนวร่วมในทางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการใช้การเมืองในการสร้างแนวร่วมอย่างชัดเจน โดยจีนแบ่ง
ประเทศอย่างอเมริกาเป็นอภิมหาอํานาจ จัดเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง ประเทศแถบยุโรปเป็นโลกที่สอง
และตัวเองเป็นโลกที่สาม มาถึงยุคนี้ จีนใช้พลังทางเศรษฐกิจที่ตนมีอยู่มากเป็นตัวเชื่อมโยงแนวร่วม โดย
ใช้หลักการของการเอื้อประโยชน์ร่วมกัน ในรอบ 60 ปีของการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
นี่ถือเป็นยุคที่สองที่สําคัญที่สุดนับจากยุคที่จีนใช้การเมืองเชื่อมโยงตนกับโลกมาสู่ยุคที่ใช้พลังทาง
เศรษฐกิจเชื่อมโยง
มีการพูดกันว่า ในยุคแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน เหมาเจ๋อตุงบอกว่า จีนลุกขึ้นมาแล้ว
(站起来) พอมาถึงยุคเติ้งเสี่ยวผิง เติ้งบอกว่า จีนรวยขึ้นมาแล้ว (富起来) พอมาถึงยุคสี
จิ้นผิง สีบอกว่า จีนเข้มแข็งขึ้นมาแล้ว (强起来) ทําให้เห็นภาพว่าขณะนี้เป็นยุคที่จีนกําลังพูดถึง
ความเข้มแข็งของตนเอง ผ่านยุคที่พูดถึงความรํ่ารวยแล้ว ด้วยหลักนี้เราคงอธิบายอะไรได้มากมาย
วิเคราะห์คณะผู้นาชุดใหม่ของจีนภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรค
คอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19
สีจิ้นผิง (Xi Jinping) นั้น “เป็น” การเมืองมาก การคาดเดาของสื่อต่อเรื่องการประชุมสมัชชา
ใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 19 บางครั้งก็ผิด แต่อย่างเรื่องการไม่ตั้งทายาททางการเมือง อันนี้ก็ถูก
เพราะไม่ตั้งจริง ในคณะกรรมการประจํากรมการเมืองทั้ง 7 คนก็ไม่มีใครเป็นทายาททางการเมืองได้
เพราะว่าพอถึงปี 2022 ที่สีจิ้นผิงหมดวาระ ทั้ง 7 คนก็จะอายุเกินเกณฑ์ที่จะดํารงตําแหน่งต่อไปอีกสิบปี
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 7 คนนี้ก็ไม่ได้น่าเกลียดอย่างที่ตะวันตกมองไว้ สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง (Li Keqiang) ก็
ยังอยู่เหมือนเดิม สีจิ้นผิงก็ไม่ได้เล่นงานหรือเอาหลี่เค่อเฉียงออกอย่างที่มีการวิจารณ์กัน แล้วก็ไม่ได้เอา
หวังฉีซาน (Wang Qishan) มือปราบคอร์รัปชั่นของท่านมาแทน หวังฉีซานในวัย 69 ปี ก็พ้นจาก
คณะกรรมการประจํากรมการเมืองไปด้วยเกณฑ์อายุ สีจิ้นผิงเกิดปี 1953 หลี่เค่อเฉียงเกิดปี 1955
สมาชิกคณะกรรมการประจํากรมการเมืองอีกท่านคือ Han Zheng อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์
ประจําเซี่ยงไฮ้ ก็ถือว่าได้เอาคนของ Jiang Zemin คือสายเซี่ยงไฮ้ อีกคนหนึ่งคือท่านวัง หยาง (Wang
Yang) ก็ถือว่าได้เอาคนของสันนิบาตเยาวชนพรรค (Youth League) มาร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ทั้งสองคน
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...Klangpanya
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559Klangpanya
 
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทPanda Jing
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559Klangpanya
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางUSMAN WAJI
 
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558 World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558 Klangpanya
 
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560Klangpanya
 

La actualidad más candente (11)

รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...
รายงานการประชุมเวทียุทธศาสตร์ครั้งที่ 7 เรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทย : พึ่งพิงเศรษ...
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
 
๠นวบ ลย-+Cà¹-หม_ม
๠นวบ ลย-+Cà¹-หม_ม๠นวบ ลย-+Cà¹-หม_ม
๠นวบ ลย-+Cà¹-หม_ม
 
more then
more thenmore then
more then
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
 
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาทอีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
อีบุ๊ค หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
 
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
World Think Tank Monitors l ตุลาคม 2559
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558 World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
World Think Tank Monitors ครั้งที่ 7 ประจำเดือนธันวาคม 2558
 
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
World Think Tank Monitor ฉบับที่ 25 ประจำเดือนกันยายน 2560
 

Similar a ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย

ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...Klangpanya
 
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561Klangpanya
 
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี Klangpanya
 
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศโลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศKlangpanya
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนKlangpanya
 
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...Klangpanya
 
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน Klangpanya
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากลเส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากลKlangpanya
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"Klangpanya
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศKlangpanya
 
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559Klangpanya
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564ประพันธ์ เวารัมย์
 
20160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-1220160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-12Invest Ment
 

Similar a ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย (17)

ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
 
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
 
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
 
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศโลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
รายงานเวทีวิชาการ เรื่อง ประสบการณ์ประชาธิปไตยจีน
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากลเส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
เส้นทางการพัฒนาประเทศจีน และความหมายทางสากล
 
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
ปักกิ่ง "นครแห่งอนาคต"
 
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ 10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
10 เป้าหมายปฏิรูปการเมือง พลิกโฉมประเทศ
 
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
 
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564
 
20160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-1220160122 ratchakitcha-12
20160122 ratchakitcha-12
 

Más de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 

Más de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 

ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียนและทิศทางต่อโลกและไทย

  • 2. 2 ผู้นาจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียน และทิศทางต่อโลกและไทย ผู้นาเสนอ ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล รศ.ดร. Yu Qun อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สงวนบรรพ์ (ผู้ดาเนินรายการ) จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 11 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กทม. ที่ปรึกษา : ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ถอดความและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง ปลายฟ้า บุนนาค อุสมาน วาจิ ณัฐธิดา เย็นบารุง และอรุณ สถิตพงศ์สถาพร อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปี ที่เผยแพร่: มกราคม 2561 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 สารบัญ หน้า บทนา ทิศทางของจีน โลก และไทย ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 โดย ศ.ดร.สุรเกียรติ์เสถียรไทย 1 คณะผู้นาชุดใหม่ กับทิศทางของจีน ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19 โดย อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล 17 หลัก 9 ประการของประเทศจีน ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19 โดย รศ.ดร. Yu Qun 26 บทอภิปราย 35 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 51
  • 4. 2
  • 5. บทนา เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2560 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวที Think Tank ครั้งที่ 14 เรื่อง ผู้นาจีนคณะใหม่หลังการ ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 : บทเรียน และทิศทางต่อโลกและไทย ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กทม. โดยมีนักคิด นักยุทธศาสตร์ นักนโยบาย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลากหลายวงการและสาขาอาชีพที่เชี่ยวชาญและมีความสนใจเรื่องจีนเข้าร่วมระดมสมองเพื่อ วิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้มใหม่ของโลก จีน และไทย ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรค คอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ จึงได้จัดทํารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่ เป็นความรู้สู่ผู้กําหนดและตัดสินใจทางนโยบาย ภาคส่วนต่างๆ นิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มี ความสนใจเรื่องจีน
  • 6. 1 ทิศทางของจีน โลก และไทย ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 ศ.ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย (APRC) อดีตรองนายกรัฐมนตรีอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • 7. 2 ทิศทางสาคัญของจีน โลก และไทย ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 ประเด็นที่เราจะพูดกันในวันนี้คือผู้นําจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ จีน ครั้งที่ 19 : บทเรียน และทิศทางต่อโลกและไทย ซึ่งผมจะเน้นในเรื่องทิศทางต่อโลกและไทยเป็น หลัก 1.ทิศทางสาคัญของจีน อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า สาระสําคัญที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงพูดในการประชุมสมัชชาครั้ง ที่ 19 นั้น ถ้าจะสรุปสั้นๆ ประเด็นสําคัญมีดังนี้ 1. ต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชั่น ถือว่าเป็นสิ่งที่คุกคามประเทศใหญ่หลวงมาก 2. Belt and Road Initiative: BRI (หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง) ถือว่าเป็นงานสําคัญ เป็นการสร้าง โครงสร้างที่เปิดจีนสู่ภายนอกทั้งทางบกและทางทะเล ช่วยส่งเสริมให้นักลงทุนจีนและต่างชาติ เข้ามามี ความร่วมมือต่างๆ 3. ประเด็นที่จีนเน้นมากในการประชุมครั้งนี้และเน้นอยู่เสมอ คือ จีนไม่ได้ต้องการจะเป็นเจ้าโลก (Hegemon) ไม่ได้ต้องการขยายอิทธิพลใดๆ ผ่านการพัฒนาทั้งหลาย ไม่ทําลายผลประโยชน์ของ ประเทศอื่นๆ เพื่อการพัฒนาของตนเองอย่างเด็ดขาด การพัฒนาของจีนจะไม่คุกคามกับประเทศใดไม่ว่า จะพัฒนาขึ้นไปถึงระดับใด ซึ่งขณะนี้ จีนเป็นที่สองของโลก ในแง่ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) แต่ถ้าคิดตามอํานาจซื้อที่เป็นจริง (Purchasing Power Parity: PPP) ถือว่าจีนนําอเมริกาไปแล้วเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา (2014) 4. จีนเน้นเรื่องการศึกษาที่เข้มแข็ง ภารกิจด้านการศึกษาจึงมีความสําคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งผม คิดว่าสําคัญ และเชื่อมโยงกับเรื่องการพัฒนาและการต่างประเทศ 5. เน้นระบบสาธารณสุขและการพยาบาลขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุ (Aging Society) ในเอเชียก็มี ไทย จีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว และถึงแม้
  • 8. 3 จีนจะมีคนยากจนอยู่มาก แต่ถ้าดูรายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรของจีนก็สูงกว่าไทย เพราะฉะนั้น ใน 4 ประเทศที่กล่าวมา ประเทศไทยน่าสนใจที่สุด เพราะอยู่ในสังคมผู้สูงอายุแล้ว และมีรายได้ต่อหัวตํ่าที่สุด อีกด้วย คือแก่แล้วแต่ยังไม่ทันรวย ซึ่งทั้งจีน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เขาก็มีวิธีแก้ปัญหาตามแบบของเขา แต่เรา จะรับมือแบบใดนั้น ผมยังไม่ค่อยเห็นชัด 6. จีนเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสีเขียว (Green) ทั้งหลาย ไม่ว่า Green Consumption หรือ Green Production อะไรที่เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมจีนในปัจจุบันจะให้ความสําคัญอย่างมาก 7. จีนตั้งเป้าหมายให้เป็นดินแดนแห่งนวัตกรรม (Innovation) เน้นในเรื่องของนวัตกรรม ความ สร้างสรรค์ (Creativity) และการวิจัยและพัฒนา (Research & Development : R&D) ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Huawei มีนักวิจัยอยู่แปดหมื่นคน สีจิ้นผิงบอกว่าจีนจะเน้นในเรื่องของนวัตกรรม 8. สีจิ้นผิงกล่าวถึงเรื่อง 1 ประเทศ 2 ระบบสําหรับมาเก๊าและฮ่องกง และกล่าวถึงหลักการจีน เดียว 9. สีจิ้นผิงพูดถึงความสําคัญของรัฐธรรมนูญ ให้ความสําคัญกับพรรคคอมมิวนิสต์ 10. สีจิ้นผิงตั้งเป้าจะปรับปรุงกองทัพให้มีความทันสมัย ภายในปี 2035 สรุปง่ายๆ คือมีความมั่นใจที่จะนาจีนไปสู่ความยิ่งใหญ่ เป็นสังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์หรือ เอกลักษณ์ของจีน ผมจําได้ว่าเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผม ในฐานะกรรมการ BOAO FORUM FOR ASIA ได้พบกับท่านสี จิ้นผิง ท่านได้บอกมาเลยว่าจีนจะเป็นสังคมเสี่ยวคัง (Moderately prosperous Nation) จีนจะไม่เติบโต อย่างหวือหวาเป็น Double Digit อย่างที่คนต้องการ แต่จะคงอัตราการเติบโตในระดับ 6% กว่าๆ ซึ่ง ท่านก็ทําให้เห็นมาตลอด และให้ความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจีนจะไม่มีวันล่มสลาย (Like the sky, it will never fall) แล้วท่านสียังกล่าวต่อว่าคนหลายคนเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจจีนเติบโตเพียง 6% กว่าๆ จะ เพียงพอหรือไม่ ท่านกล่าวว่า อย่าลืมว่าการเติบโต 6% ของจีน เท่ากับขนาด GDP ของอินโดนีเซีย ซึ่ง เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่สุดในอาเซียน (ไทยเป็นที่สอง) นั่นคือทิศทางซึ่งผมคิดว่าเป็นความต่อเนื่องทาง นโยบายของสีจิ้นผิง ตั้งแต่ก่อนจะมีการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ผ่านมานี้ ซึ่งผมขอหยิบยก 2-3 ประเด็นมาพูดเพื่อชวนคิด
  • 9. 4 ทิศทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเศรษฐกิจในประเทศ ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ : เดินหน้าเปิ ดเสรีต่อไป ผ่าน Belt and Road Initiative เมื่อพิจารณาจากนโยบายและยุทธศาสตร์ของจีนที่ทํามาตลอดจนถึงการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 19 ประเด็นแรกผมคิดว่าในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศและในประเทศ จีนจะเน้นการเดินหน้าเปิ ดเสรีต่อไป ทั้งด้านการค้า การเงิน และการลงทุน ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจาก การเน้นเดินหน้า BRI ต่อไป สีจิ้นผิงอธิบายคําว่า Silk Road เอาไว้ดี เพราะหลายท่านคงจําได้ว่าครั้ง แรกจีนเรียกว่า Land Silk Road และ Maritime Silk Road ถามว่าเหตุใดจึงเรียกชื่อต่างกัน ก็เพราะ แนวคิดนี้มันเกิดขึ้นมาจากสองกระทรวงซึ่งเรียกชื่อต่างกันและชื่อก็ยาวมาก จึงย่อให้เหลือชื่อเดียวคือ One Belt One Road หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งผมเคยบอกทางจีนว่าหากเรียกว่า One Belt One Road ตะวันตกฟังแล้วเข้าใจยาก แต่ ณ วันที่ยังเรียกว่า Land Silk Road และ Maritime Silk Road ท่านสีจิ้นผิงก็อธิบายไว้ว่า ที่เรียกว่าเส้นทางสายไหมใหม่ทั้งทางบกและทางทะเล เพราะว่าเมื่อหลายร้อย ปีที่แล้ว เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่จีนติดต่อกับตะวันตก เพราะฉะนั้น เมื่อนําคําว่าเส้นทางสายไหม กลับมาใช้เป็นการส่งสัญญาณว่าจีนต้องการที่จะติดต่อสื่อสารกับตะวันตก หลังจากที่สีจิ้นผิงประกาศที่คาซัคสถานในปี 2013 ว่าจะมีเส้นทางสายไหมทางบก (Land Silk Road) และในเดือนตุลาคมปีเดียวกันท่านก็มากล่าวที่อินโดนีเซียพูดถึงเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road) ผ่านไป 4 ปี ถึงพฤษภาคม 2017 มีการประชุม Silk Road Summit หลายคนที่ ไม่ได้ติดตามใกล้ชิดก็นึกว่านี่เป็นการประกาศยุทธศาสตร์ของจีน แต่ความจริงไม่ใช่การประกาศ ยุทธศาสตร์ของจีน เพราะยุทธศาสตร์นั้นประกาศไปแล้วตั้งแต่ปี 2013 ส่วนการประชุมเมื่อเดือน พฤษภาคม 2017 เป็นการประกาศความสําเร็จของ BRI ไทยเราเริ่มมารู้จักยุทธศาสตร์ BRI ของจีนก็ใน ตอนนั้นเพราะจีนเขาไม่ได้เชิญผู้นําของเราเข้าร่วม ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะทําให้คนไทยพูดกันถึง เรื่องนี้และให้ความสําคัญมากขึ้นมาก ที่ผ่านมา ทางจีนก็มักจะบ่นกับผมอยู่เนืองๆ ว่าเหตุใดคนไทยหรือ เจ้าหน้าที่ไทยไม่ค่อยสนใจยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเท่าที่ควร เพราะฉะนั้น เมื่อการประชุม เดือนพฤษภาคม 2017 เป็นการประกาศความสําเร็จของ BRI ในสุนทรพจน์ของสีจิ้นผิงในการประชุมนั้น จึงพูดขอบคุณประเทศต่างๆ เช่น ขอบคุณลาวที่ทําโครงการสําเร็จถึงตรงไหน ขอบคุณตุรกี ขอบคุณ ประเทศนั้นประเทศนี้ ที่ทําให้โครงการ BRI เชื่อมโยงกันได้ตลอด เพราะ ณ วันนั้น มีความคืบหน้าของ BRI เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ เช่น มีการอัพเกรดทางรถไฟในอัลแบเนียแล้ว มีการเปิดเส้นทางรถไฟ (ไม่ใช่ความเร็วสูง) เชื่อมจากจีนไปยังลอนดอนแล้ว และมีการเปิดทางรถไฟที่สามารถเดินทางไปยัง สเปนจากทางซินเกียงของจีนได้แล้ว เพราะฉะนั้น การประชุมเมื่อพฤษภาคม 2017 จึงเป็นการประกาศ
  • 10. 5 ความสําเร็จขั้นแรก และเชิญผู้นํา 28 ประเทศไปร่วมประชุม มีรัฐมนตรีไปร่วมประชุมประมาณ 90 ท่าน ของไทยเองก็ไป 5-6 ท่าน และยังเชิญภาคประชาสังคม ภาควิชาการที่ส่งตัวแทนไปประชุมด้วย เพราะฉะนั้น เรื่อง BRI นี้จึงเป็นนโยบายที่จีนดําเนินมาแล้ว และจะเดินต่อไป รวมทั้งเข้ามาเกี่ยวข้องกับ ประเทศไทยในส่วนที่จะมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมจากจีน ผ่านภาคอีสานเข้ามา และอนาคตคงจะลงไป ถึงภาคใต้ ซึ่งมาเลเซียและสิงคโปร์ก็ได้เตรียมรอที่จะเชื่อมกับเส้นนี้ไว้เรียบร้อยแล้ว ผ่านสถาบันการเงินระหว่างประเทศที่ตั้งโดยจีน แน่นอนว่า BRI เป็นทางหนึ่งที่จะดัน surplus ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอิฐ หิน ปูน ทราย และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินของจีน ออกสู่ภายนอกประเทศ เป็นการเชื่อมจีนกับโลกภายนอก และมีการตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) ซึ่ง เวลานี้มีประเทศร่วมก่อตั้งจํานวนมาก และมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกถึง 58 ประเทศแล้ว ถ้า โลกนี้หมุนกลับไปก่อนหนังสือบูรพาภิวัตน์ของท่านอาจารย์เอนกจะออกมา ใครมาเสนอแนวคิดเรื่องตั้ง Development Bank อื่นที่ไม่ใช่ตะวันตก ก็คงจะถูกสถาบันต่างๆ ในระบบ Bretton Woods โดยเฉพาะ ประเทศตะวันตกถล่มตายไป อาจจํากันได้ว่า ครั้งหนึ่ง Eisuke Sakakibara รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น เคยเสนอว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ไม่ตอบสนองต่อวิกฤตการเงินของเอเชีย ควรจะมี AMF : Asian Monetary Fund ขนาดแม้จะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นก็ยังถูกบีบให้ลาออก เพราะ IMF กับ World Bank ใช้ ระบบ Weighted Voting ประเทศใหญ่ๆ อย่างอเมริกา ยกมือทีนับ 20 แต้ม ขณะที่ประเทศกําลังพัฒนา ต้องรวมกันหลายประเทศถึงจะนับ 1 แต้ม เพราะฉะนั้น ระบบ Weighted Voting ซึ่งไม่ใช้ระบบหนึ่ง ประเทศหนึ่งโหวต เป็นโครงสร้างของสถาบันในระบบ Bretton Woods ที่ใครจะไปแตะไม่ได้ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป บูรพาภิวัตน์เกิดขึ้น จีนมีบทบาทในฐานะผู้นํามากขึ้น จีนมีเศรษฐกิจ ที่เข้มแข็งขึ้น เมื่อจีนกับรัสเซีย อินเดีย แอฟริกาใต้ และบราซิล รวมตัวกันเป็นกลุ่มเศรษฐกิจ BRICS และประกาศตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank: NDB) ขึ้นมา World Bank และ IMF บอกเป็นสิ่งที่ดี พอจีนตั้ง AIIB ขึ้นมา ทั้ง ADB (Asian Development Bank) และ World Bank บอกเป็นสิ่งที่ดี หลายคนสงสัยว่าเหตุใดในเมื่อมี ADB อยู่แล้ว ต้องตั้ง AIIB ขึ้นมา ซึ่งคําตอบก็ค่อนข้าง ชัดเจนอยู่แล้วว่าเพราะผู้สนับสนุน (sponsor) หลักของ ADB เป็นญี่ปุ่น ประธาน ADB ทุกคนต้องเป็น คนญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าจีนคงมองว่ามันอาจจะไม่ตรงตามนโยบายที่อยากจะพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานของจีนนัก มีคนมาถามผมหลายคนว่ามี ADB มี World Bank อยู่แล้ว การมี AIIB จะทําให้ ซํ้าซ้อนกันไหม ผมตอบว่าเอเชียยังมีความต้องการการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกมหาศาล ก็เลยตอบเขาเหล่านั้นไปว่ายิ่งมีมากยิ่งดี (the more the merrier) แล้วถ้าใครอยากจะตั้งมาขึ้นมาอีกก็ยิ่ง ดี
  • 11. 6 หลังจาก AIIB ตั้งขึ้นไม่เท่าไร นายกรัฐมนตรีอาเบะ (Shinzo Abe) ก็เอาความช่วยเหลือต่างๆ ที่ ญี่ปุ่นเคยให้ในเอเชียมารวมกันแล้วเรียกว่า Abe Initiative เมื่อ AIIB เริ่มต้นด้วยเงินทุนหนึ่งแสนล้าน เหรียญสหรัฐ อาเบะก็ประกาศว่าเงินทุนตั้งต้นของ Abe Initiative จะเริ่มที่หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นล้านเหรียญ สหรัฐ ก็ต้องมีการขับเคี่ยวกันเล็กน้อยเสมอระหว่างพี่ใหญ่แห่งเอเชียทั้งจีนและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม AIIB ของจีนเป็น fresh money ไม่ได้เอาของเก่ามารวมเหมือน Abe Initiative ประเทศไทยก็ร่วมเป็นสมาชิก ก่อตั้งตั้งแต่ต้น อเมริกากับญี่ปุ่นก็พยายามลากขา AIIB อยู่แต่ไม่สําเร็จ เพราะแม้แต่สิงคโปร์ที่เป็นเพื่อน สนิทของอเมริกาก็ยังเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งของ AIIB ด้วยซํ้าไป อังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรสนิทกับอเมริกา ที่สุดก็ยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้ง AIIB เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปอย่างเยอรมนีและฝรั่งเศส ด้วย ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2017 แคนาดาก็เข้าร่วมใน AIIB อีก AIIB จากนี้ก็คงจะเดินต่อไปควบคู่ไป กับ BRI ผมเคยได้คุยกับ Jin Liqun ประธานของ AIIB หลายครั้ง รู้จักกันมาก่อนนานเพราะท่านเคยเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังของจีน ท่านก็บอกชัดเจนว่า AIIB จะไม่ช่วยสนับสนุนทางการ การเงินแก่โครงการพัฒนาในประเทศจีน จะสนับสนุนการเงินแก่โครงการพัฒนานอกประเทศจีนเท่านั้น มีข้อยกเว้นเล็กน้อยในกรณีที่โครงการนั้นมีส่วนที่จะต้องเชื่อมโยงกับถนน ทางรถไฟ หรือเส้นทาง คมนาคมที่ออกไปจากพรมแดนของจีน ก็จะเข้าไปทําตรงนั้นด้วย เพราะฉะนั้น จีนต้องการแสดงให้เห็น อย่างชัดเจนว่า AIIB ไม่ได้ระดมเงินประเทศอื่นมาเพื่อพัฒนาในประเทศจีน แต่เพื่อประโยชน์ของ ประเทศอื่นๆ กว่า 60-70 ประเทศที่อยู่ในเส้นทางที่ BRI จะผ่านไป ผ่านการเพิ่มบทบาทของเงินหยวนในเวทีโลก เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศอีกเรื่องที่ผมคิดว่าต้องดําเนินต่อไปคือ การเพิ่มบทบาทของเงิน หยวนในเวทีโลก จีนได้พูดเอาไว้ชัดเจนว่าจะทําให้เงินหยวนนี้มีบทบาททางด้านต่างประเทศมากยิ่งขึ้น จีนพยายามทําให้เงินหยวนเพิ่มสัดส่วนในอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International Currency) มากขึ้น จากแทบจะไม่มีเลย เวลานี้ขึ้นเป็น 2.8% หลายท่านอาจคิดว่า 2.8 % นั้นน้อยมาก แต่ถ้ามองไป ที่เงินเยนญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคย ปัจจุบันสัดส่วนของเงินเยนญี่ปุ่นใน International Currency อยู่ที่เพียง 2.76% เท่านั้น ดอลลาร์สหรัฐมากที่สุด 44% ยูโร 27% เพราะฉะนั้น จีนบอกว่า ค้าขายกับจีนให้ใช้เงิน หยวน แต่หลายประเทศก็บอกว่าถ้าค้าขายกับจีนได้เงินหยวนมาแล้วจะไปค้าขายกับประเทศอื่นๆ ได้ อย่างไร เพราะค้าขายกับประเทศอื่นต้องใช้ดอลลาร์สหรัฐ จีนก็บอกว่าไม่เป็นไร จีนจะไปตั้งธนาคาร ICBC (Industrial and Commercial Bank of China) ให้ ถ้าได้เงินหยวนมาแล้วอยากได้ดอลลาร์สหรัฐก็ เอาไปแลกที่ธนาคารนี้ได้ จีนใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้นในการตั้งธนาคาร ICBC ในประเทศไทย แล้ว ให้วงเงินไว้เล็กน้อยประมาณสามแสนกว่าล้านบาท และ ธนาคาร ICBC ก็เกิดขึ้นทั่วโลก นี่ถือเป็น ความสําเร็จสําคัญในเรื่องค่าเงินของจีน
  • 12. 7 การที่เงินหยวนมีบทบาทเป็นเงินระหว่างประเทศมากขึ้นนี้อย่างที่ทราบกันดีว่าจะมีผลในเชิง เศรษฐศาสตร์การเมืองสูงมาก เราพูดกันเสมอว่าสหรัฐเป็นประเทศที่จะพิมพ์เงินดอลลาร์เท่าไรก็ได้ เพราะใครๆ ก็อยากจะถือเอาไว้ ถ้าในอนาคต 10 ปีข้างหน้า คนใช้เงินหยวนมากขึ้น จาก 2.8% สมมติ ขึ้นเป็น 10% สิ่งที่คนพูดกันมาตลอดว่าสหรัฐพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเท่าไรก็มีคนถือก็อาจจะไม่จริงอีก ต่อไป ถ้ามองในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ นี่เป็นสิ่งที่อเมริกาน่าจะกลัวที่สุด พอๆ กับการคุกคาม ทางไซเบอร์ เพราะเมื่อไรก็ตามที่ความต้องการเงินดอลลาร์ของสหรัฐลดลง นั่นเป็นสิ่งที่กระทบหม้อแกง ของสหรัฐที่ใหญ่ที่สุด นอกจากจะผลักดันให้เงินหยวนมีสัดส่วนเป็นอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ (International Payment Currency) มากขึ้นแล้ว ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศจีนได้พูดเอาไว้เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ว่าไม่ควรจะ มีเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐที่เป็นสกุลเงินของเงินทุนสํารองระหว่างประเทศ (Global Reserve Currency) ซึ่งการออกมากล่าวเช่นนี้ ถ้าเป็นสมัยก่อน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศจีนก็คงจะถูกถล่มไป แต่ในกรณี นี้ ผู้ว่าการธนาคาร IMF ก็ออกมาสนับสนุนว่าเป็นความคิดที่ดี ควรจะมีสกุลเงินอื่นด้วย ซึ่งเหลือเชื่อมาก ที่วันนี้ IMF เห็นด้วย เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า Special Drawing Rights คือตะกร้าเงินของ IMF ที่มีเอาไว้ให้ประเทศ ต่างๆ กู้ยืมในยามที่สกุลเงินของตนมีปัญหา อย่างตอนปี 1997 (พ.ศ.2540) ที่ประเทศไทยมีปัญหา เราก็ ไปกู้จาก IMF มา 17,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในตะกร้าเงินนี้จะมีหลายๆ สกุลเงินเพื่อให้ไม่แกว่ง มาก สัดส่วนของเงินสกุลต่างๆ ใน Special Drawing Rights ในปัจจุบันนั้น มีดังนี้ ดอลลาร์สหรัฐ 41% ยูโร 30.9% ส่วนหยวน 10.9% ในขณะที่เยนญี่ปุ่นอยู่ที่ 8% ปอนด์อังกฤษ 8% สัดส่วน 10.9% ของ หยวนที่ได้มานี้ ก็ได้จากการที่ IMF ไปดึงโควตาของปอนด์กับเยนมาให้จีน คงจํากันได้ว่าเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ค่าเงินหยวนมีการขยับขึ้นลงอยู่ช่วงหนึ่ง เดี๋ยวแข็งเดี๋ยวอ่อน คนก็นึกว่าทําอะไรกัน ถูกโจมตีค่าเงินหรือ เปล่า ความจริงเกิดจากการที่จีนพยายามปรับกับเงินสกุลอื่นๆ ให้เป็นสากล จนในที่สุดแล้ว ใน Special Drawing Rights เงินหยวนเข้าไปมีสัดส่วนได้ขนาดที่กล่าวมา เพราะฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าจีนประสบความสําเร็จในการทําให้เงินของตนได้รับการยอมรับในทาง สากลมากยิ่งขึ้นสองประการคือ หนึ่งคือประสบความสาเร็จในการให้เงินหยวนเป็น International Payment/Trading Currency ถึงแม้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นก็ตาม และสองคือสามารถทาให้เงิน หยวนเป็นส่วนหนึ่งของเงินสารองระหว่างประเทศที่ยอมรับโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (โดยมติของบอร์ด IMF) ผ่านการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจต่างๆ นอกจากนี้ จีนก็จะดาเนินการเรื่องการเปิ ดเสรีในลักษณะของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ด้วย เริ่มตั้งแต่ความร่วมมือแม่โขง-ลานช้าง ที่มีพม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และจีน ทั้งๆ ที่ใน
  • 13. 8 ภูมิภาคนี้ก็มีความร่วมมือโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง (GMS : Greater Mekong Subregion) อยู่แล้ว แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีว่า GMS มี ADB ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็น ผู้สนับสนุน เป็นเจ้าภาพ มีความร่วมมือประเทศลุ่มนํ้าโขงกับญี่ปุ่น (Japan-Mekong Cooperation) เป็น ความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับทุกประเทศที่ติดลุ่มนํ้าโขง ยกเว้นจีน คือกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และ เวียดนาม แล้วก็ยังมีความริเริ่มสหรัฐ-ประเทศลุ่มนํ้าโขงตอนล่าง (US-Lower Mekong Initiative) เพราะ อเมริกาก็อยากมีพรมแดนติดแม่นํ้าโขงด้วย ก็เป็นความร่วมมือระหว่างอเมริกากับทุกประเทศที่ติดแม่นํ้า โขงยกเว้นจีน คือกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบาย engage and contain จีนของโอบามา คือมียุทธศาสตร์ว่าถ้าหาก contain จีนไม่สําเร็จแล้ว ก็ขอ engage ด้วย จีนทําอะไรก็ขอ ทําด้วย จีนอยู่ใน East Asia Summit สหรัฐก็ขออยู่ด้วย จีนมามีความร่วมมือกับกลุ่มประเทศลุ่มแม่นํ้า โขง อเมริกาก็มามี US-Lower Mekong Initiative และในความร่วมมือที่ทั้งญี่ปุ่นกับอเมริกาทํากับ ประเทศลุ่มแม่นํ้าโขง ก็มีทุกประเทศลุ่มนํ้าโขง ยกเว้นจีน เมื่อเป็นเช่นนี้ จีนจึงเสนอกรอบความร่วมมือ ขึ้นมาใหม่เป็นแม่โขง-ลานช้าง คือเป็นประเทศลุ่มแม่นํ้าโขงกับจีนเท่านั้น ไม่มีมหาอํานาจอื่นเข้ามา เกี่ยวข้อง และนอกจากนั้น จีนก็ดําเนินการต่อในนโยบายเรื่อง Greater Bay Area ที่รวบรวมเอากวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า และเมืองท่าสําคัญอื่นๆ ในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจใหม่ ซึ่ง Greater Bay Area เป็นพื้นที่ที่ในเวลานี้จีนบอกว่าพร้อมที่จะพูดคุยร่วมมือเรา ราวเดือนที่แล้ว ผมได้คุยกับ CY Leung อดีตผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ท่านเล่าให้ฟังว่า นอกจากสะพานและอุโมงค์ที่จะเชื่อมฮ่องกง มาเก๊า กวางตุ้ง จูไห่แล้ว ยังมีอีกทางอีกสองเส้นที่ไปอยู่ใน แผ่นดินใหญ่และจะเชื่อมลงมาถึงเวียดนาม เข้ามาที่ลาวและไทย เพราะฉะนั้นต่อไปจะสามารถเดินทาง จากฮ่องกงมาถึงอาเซียนได้ภายใน 20 ชั่วโมง สําหรับการเชื่อมโยงจีนเข้ากับอาเซียน ไม่ว่าจะผ่านความร่วมมือเศรษฐกิจรอบอ่าวเป่ยปู้ (Pan - Beibu Gulf Economic Cooperation) ที่มอบหมายให้มณฑลกวางสี กวางตุ้ง และไหหลํา เป็น 3 มณฑล ที่จะเชื่อมโยงกับประเทศไทย ตามหลัก 1 แกน 2 ปีก เชื่อมโยงจากเมืองหนานหนิงซึ่งเป็นเมืองหลวง ของกวางสี ไปที่สิงคโปร์เป็นแกน ส่วนปีกซ้าย ปีกขวาเชื่อมกับอาเซียน ซึ่งก็ยังคงอยู่และคงจะดําเนิน ต่อไป ส่วนความร่วมมือการประชุม (Asia Cooperation Dialogue : ACD) ก็จะยังดําเนินการต่อไป ทางด้านเศรษฐกิจ จีนก็ดําเนินการในเรื่องความร่วมมือ RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งสําหรับผมถือว่าเป็นปัจจุบัน ผมคิดว่าเรื่อง ASEAN integration เป็นเรื่อง ของอดีต ปัจจุบันคือ RCEP และเวลานี้สําหรับ TPP คิดว่าคงจะไปไม่รอด ตอนประชุม APEC ที่ เวียดนาม เวียดนามก็พยายามเรียกประชุมประเทศที่ยังหลงเหลืออยู่ใน TPP แต่ในที่สุดการประชุมก็ล่ม เพราะพี่ใหญ่คือสหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดีทรัมป์ไม่เอาด้วย เพราะทรัมป์จะยึดหลัก America First เพราะฉะนั้น เมื่อ TPP ที่แข่งกันอยู่กับ RCEP ไม่เกิดขึ้น สีจิ้นผิงจึงเสนอตอนที่จีนเป็นเจ้าภาพการ ประชุม APEC 2015 บอกว่าอย่ามาแข่งกันเลย เอามารวมกันเลยให้หมดจะดีกว่า ซึ่งสีจิ้นผิงเรียกว่า
  • 14. 9 FTAAP (Free Trade Area of Asia-Pacific) ก็จะมีทั้งสมาชิกของ RCEP ซึ่งก็คืออาเซียน 10 ประเทศ และอินเดีย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในแปซิฟิก ไมว่าจะเป็นเปรู เม็กซิโก ชิลี อเมริกา แคนาดา ฯลฯ รวมเข้ามาหมด เป็นเขตการค้าเสรีที่จะใหญ่ที่สุดในโลก ผมว่าสีจิ้นผิงฉลาดมาก เพราะท่านบอกว่าท่านไม่ได้เป็นคนเสนอความคิดนี้ แต่ญี่ปุ่นเป็นคน เสนอเป็นคนแรกในการประชุม APEC ที่โยโกฮามา ท่านเพียงแต่เอาความคิดนี้มารื้อฟื้น (rejuvenate) อเมริกาก็ค้านความคิดนี้อยู่คนเดียวในการประชุมเอเปคที่ปักกิ่ง ในที่สุดก็ไม่สําเร็จ สุดท้าย 21 เขต เศรษฐกิจ ยกเว้นสหรัฐกับญี่ปุ่น ก็เห็นชอบให้มีการศึกษาเรื่องการตั้ง FTAAP เมื่อต่อมาทรัมป์ขึ้นเป็น ประธานาธิบดี ก็มีการประชุม APEC ครั้งถัดมาที่เปรู ก่อนครั้งล่าสุดนี้ ตอนนั้น สีจิ้นผิงก็เหมือนกับ เรียกว่าได้ทีขี่แพะไล่ เพราะเวลานั้น ทั้งอาเบะและโอบามาก็กําลังกังวลและเป็นห่วงมากในอนาคตของ เศรษฐกิจเสรี เพราะเริ่มมีกระแสต้านโลกาภิวัตน์ขึ้นมา สีจิ้นผิงจึงยก FTAAP ขึ้นมาว่าจากที่ได้มีการ พูดคุยกันแล้วที่การประชุมเอเปคที่ปักกิ่งและเวลานี้ได้ทําการศึกษาเสร็จแล้ว ยิ่งในเวลาที่โลกเป็นแบบนี้ เรายิ่งต้องเดินเข้าไปสู่ FTAAP (Free Trade Area of Asia-Pacific) ให้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่กล่าวมาของจีน ไม่ว่าจะเป็น BRI, AIIB, การส่งเสริม บทบาทเงินหยวนในสากล และกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่จีนทาและจะทากับ ภูมิภาคต่างๆ ไม่ว่าแม่โขง-ลานช้าง RCEP และ FTAAP เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่าจีนจะยังคง ดาเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิ ดต่อไป ในขณะที่สหรัฐค่อนข้างจะเน้นทิศทางต่อต้านโลกาภิ วัตน์ ส่วนในยุโรป ฝ่ายขวาจัดก็มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในอังกฤษ (Brexit) และแม้จะไม่ได้ ขึ้นมาเป็นรัฐบาลเองทั้งหมด แต่ก็เข้าไปอยู่ในสภา มีอิทธิพลต่อรัฐบาลมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะ เป็นในฝรั่งเศส หรือเยอรมัน สีจิ้นผิงบอกว่าจะเน้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสําคัญ สิ่งที่น่าสังเกตคือว่า แม้จีนจะเดินหน้าเรื่องเปิ ดเศรษฐกิจของตนสู่โลก (open economy) แต่ขณะเดียวกันจีนก็เน้น เศรษฐกิจภายในประเทศด้วย ไม่ว่าการมุ่งขจัดความยากจน ส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ เพรา ฉะนั้น ที่สีจิ้นผิงประกาศเอาไว้ก่อนหน้านั้นเรื่อง Made in China 2025 ผมคิดว่ายังคงอยู่ ถ้ามองใน ภาพใหญ่เหมือนทั้งสองทิศทางของจีนนี้ขัดกัน มีทั้ง open economy มีทั้ง Made in China เรื่อง Made in China 2025 ข้อสังเกตที่สาคัญคือ ที่เราพึ่งตลาดจีนกันอยู่ในอาเซียนมา จาก Supply Chain กล่าวคือไทยผลิตของอย่างหนึ่งส่งไปฟิ ลิปปิ นส์ ฟิ ลิปปิ นส์ส่งไปจีน ฟิ ลิปปิ นส์ ผลิตของอย่างหนึ่งส่งมาไทย เพราะฉะนั้นเมื่อเกิด Made in China ขึ้นมา จีนจะกลายเป็นผู้ผลิต ของ Intermediate Goods ไม่ได้เป็นผู้บริโภคอย่างเดียวอีกต่อไป เพราะฉะนั้น Supply Chain ใน อาเซียนอาจจะหายไป การค้าระหว่างประเทศในหมู่อาเซียนจะกลายเป็นการค้าภายในของจีน ซึ่งผมคิดว่าอาเซียนน่าจะคิดถึงประเด็นนี้
  • 15. 10 สิ่งที่อยากจะกล่าวถึงเล็กน้อยในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศและเศรษฐกิจภายในประเทศของ จีน คือการที่จีนบอกว่าจะไม่รุกรานใคร การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนจะไม่แทรกแซง ไม่ครองโลก ผมคิด ว่าอันนี้มีความสําคัญในสิ่งที่จีนตั้งใจ จําได้ตั้งแต่สมัยจูหรงจี (Zhu Rongji) เป็นนายกรัฐมนตรี ท่านพูด กับผมเองว่า เหตุใดหลายประเทศในอาเซียนยังระแวงอยู่อีกว่า FTA กับจีนจะมาตักตวงผลประโยชน์ จากประเทศเหล่านี้ ท่านก็ชี้ให้เห็นว่าการที่ไทยทํา FTA กับจีน ไทยจะได้ผลประโยชน์อะไรบ้าง มาถึงสี จิ้นผิงท่านก็เล่าให้ฟังว่ามีผู้ใหญ่ทางตะวันตกมาพบกับท่าน ท่านก็รับที่มหาศาลาประชาชน เบื้องหลัง เป็นภาพกําแพงเมืองจีน แขกจากตะวันตกท่านนั้นก็ถามว่าเหตุใดต้องมีภาพกําแพงเมืองจีนอยู่ข้างหลัง สีจิ้นผิงก็อธิบายว่า กําแพงเมืองจีนเป็นสัญลักษณ์ว่าจีนทําอย่างเดียวคือปกป้องไม่ให้คนมารุกรานจีน แต่จีนนั้นไม่เคยไปรุกรานใครและไม่เคยเอาใครเป็นเมืองขึ้น จีนนั้นมักจะพูดอยู่เสมอถึงเจิ้งเหอ (Zheng He) ที่เดินเรือผ่านมาในภูมิภาคนี้เมื่อ 600 ปีที่แล้ว เรือสองหมื่นลําขึ้นฝั่งที่เวียดนาม ผ่านลาว ไทย มาที่ วัดพนัญเชิง ลงไปที่ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อออกทะเลอันดามัน (ซึ่งประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยเขียนเรื่อง พวกนี้) และไม่เคยจะเอาดินแดนของใครมาเป็นของตน แต่ตรงนี้ผมคิดว่าคงจะเป็นความลําบากของจีน ต่อไปในอนาคต เพราะประเทศตะวันตก แม้กระทั่งประเทศในเอเชียเองก็ยังไม่ค่อยวางใจว่า BRI ของ จีนต้องการอะไร ยังไม่มั่นใจว่า BRI จีนจะใช้วิธีบีบบังคับ (impose on policy) หรือไม่ ถึงแม้จีนบอกว่า ถ้าไทยไม่อยากทําเส้นทางรถไฟก็ไม่ว่าอะไร แล้วแต่ไทย แต่หลายคนก็บอกว่าไม่ว่าอย่างไรจีนก็ต้องทํา ผ่านไทย มิฉะนั้น การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างคุนหมิง-สิงคโปร์ก็จะไม่เกิดขึ้น ความเชื่อมโยงทาง กายภาพของ BRI ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่วนตะวันตกเอง ท่านอดีตเอกอัครราชทูตอเมริกาก็พูดเอาไว้ชัดเจนว่า สิ่งที่อเมริกาประสาทเสียที่สุดในเวลานี้ก็คือ อเมริกาไม่เคยเป็นที่สอง ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ที่ อเมริกาเอาชนะอังกฤษเป็นต้นมา ก็ไม่เคยเป็นที่สอง และเวลานี้ก็กําลังประสบปัญหาใหญ่เพราะไม่เคย เป็นที่สอง (a problem of being number two) และเป็นที่สองที่ไม่รู้ว่าที่หนึ่งกําลังคิดอะไรอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น ความสั่นไหวของอเมริกา ยุโรป และบางประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอเชียใต้ ต่อ จีนจะยังอยู่ต่อไป แม้ส่วนตัวผมจะเชื่อว่าความตั้งใจในการดําเนินทิศทางเปิดเศรษฐกิจเสรีของจีนเป็น ความตั้งใจที่ดี แต่ก็คิดว่าความอ่อนไหวต่อจีนนี้จะยังเป็นปัญหาสําหรับจีนต่อไปอย่างน้อยอีก 5 ปี ข้างหน้า 2.ทิศทางสาคัญของโลก การเกิดขึ้นของ Disruptive Technology อย่างเช่นการเกิดขึ้นของ 3D Printing ซึ่งเวลานี้สามารถทําแก้ว คาน ตึก แม้แต่ปืนได้แล้ว ซึ่ง จีนก็เดินไปทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือเรื่อง automation ค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นแนวคิด
  • 16. 11 เดิมที่เราเรียกว่า Offshore Investment คือการที่ประเทศพัฒนาแล้วไปลงทุนในประเทศกําลังพัฒนา เพราะต้องการแรงงานราคาถูก เพื่อผลิตของบางอย่างแล้วส่งกลับไปในประเทศพัฒนาแล้วจะค่อยๆ หายไป ตอนนี้สิ่งที่มาทดแทนคือสิ่งเขาเรียกกันว่า Re-shoring investment ประเทศพัฒนาแล้วกลับไป ลงทุนในประเทศตัวเองได้ เพราะอาศัยเทคโนโลยีช่วย สามารถนําเครื่อง 3D Printing ไปตั้งผลิตที่ ประเทศกําลังพัฒนาได้เลย เพราะฉะนั้น การค้าระหว่างประเทศตรงนี้ส่วนหนึ่งก็จะหายไป นั่นคือผลของ Disruptive Technology ที่เกิดขึ้น ทิศทางของมหาอานาจอื่นๆ ที่มีบทบาทอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาเซียน เราลองมาดูเรื่องยุทธศาสตร์กันสั้นๆ ว่าจากนโยบายและการประชุมพรรคของจีน กระทบอะไร อาเซียนบ้าง อาเซียนมียุทธศาสตร์อยู่ประมาณ 3-4 เรื่องใหญ่ๆ 1.การบูรณาการของชาติอาเซียน (ASEAN integration) หรือการบรรลุเป้าหมายประชาคมอาเซียน 2.การเชื่อมโยงทางกายภาพและอื่นๆ ของอาเซียน (ASEAN connectivity) ซึ่งข้อนี้คงจะไปกันได้กับ BRI แม้บางประเทศในอาเซียนอาจจะ ชอบ BRI มากน้อยเพียงใดก็ตาม แต่หลายเส้นใน BRI ทางใต้ที่ลงมาในอาเซียนก็ทับกับเส้นทางการ เชื่อมโยงของ ASEAN Connectivity อยู่ ซึ่งผมคิดว่าจีนค่อนข้างฉลาด เพราะ BRI เส้นใต้ที่เชื่อมมาทาง อาเซียนนั้นสร้างขึ้นบนหลักการ ASEAN Connectivity ซึ่งอาเซียนมีมาก่อนที่จีนจะประกาศ BRI ในปี 2013 นานแล้ว เช่น ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง Ayeyawady - Chao Praya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เราทําสะพานเชื่อมข้ามแม่นํ้า โขง เชื่อมลาว เชื่อมกัมพูชา พม่า อะไรแบบนี้อาเซียนเราทํามากว่า 10 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่อง Connectivity ก็คงจะไม่ขัดกัน และอาเซียนพลัส ไม่ว่าอาเซียน+1 อาเซียน+3 หรืออาเซียน+6 ที่เรียกว่า East Asia Summit (EAS) ก็คงไม่ขัดกัน เพราะจีนก็เข้าร่วมด้วยกับทุกๆ อาเซียนพลัส ทั้งการประชุม รัฐมนตรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (PMC) ทั้ง ASEAN Regional Forum (ARF) นอกจากนี้ อาเซียนมียุทธศาสตร์อีกประการหนึ่งที่น่าสนใจคือ ASEAN Centrality คืออาเซียน ต้องอยู่ในฐานะคนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทั้งหลายในอนุภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ แม้กระทั่ง RCEP อาเซียนก็บอกว่าเป็นสิ่งที่อาเซียนคิดขึ้น แม้ว่า East Asia Summit ที่ตอนนี้มีอเมริกา และรัสเซีย อาเซียนก็ถือว่าอาเซียนเป็นศูนย์กลาง Goh Chok Tong อดีตนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เคย กล่าวว่าอาเซียนเป็นลําเรือบิน ปีกซ้ายเป็นอินเดีย ปีกขวาเป็นจีน แต่ยังขาดหาง เพราะฉะนั้น อาเซียน ต้องมีออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ความคิดนี้ทําให้มีการริเริ่ม East Asia Summit (EAS) ขึ้นมา แต่ ภายหลังมาเจอนโยบาย engage and contain จีนของโอบามา สหรัฐอเมริกาสมัยฮิลลารี คลินตันเป็น รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศก็ต้องการมาร่วมอยู่ใน EAS ด้วย ในที่สุด อาเซียนก็ต้องรับอเมริกา
  • 17. 12 เข้ามาอยู่ใน EAS อาเซียนก็เลยแก้ลําด้วยการรับรัสเซียเข้ามาด้วย EAS จึงเป็นเวทีการประชุมสุดยอด เอเชียตะวันออกที่แปลกมาก มีทั้งอินเดีย อเมริกา และรัสเซีย ดังนั้น ในยามที่จีนออกยุทธศาสตร์มาจํานวนมาก ไม่ว่าจะเป็น BRI Pan-Beibu ไม่ว่าจะ สนับสนุนให้เกิด RCEP หรือ FTAAP ก็ต้องมาพิจารณาดูว่าทําให้ ASEAN Centrality หายไปหรือไม่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของอาเซียนยังอยู่หรือไม่ ผู้นําประเทศอาเซียนยังคุยเรื่องยุทธศาสตร์กัน ยังมีความไว้วางใจใกล้ชิดกันอยู่หรือเปล่า ปัญหาทะเลจีนใต้ หรือล่าสุดปัญหายะไข่ที่ตกลงกันไม่ได้ใน การประชุมสุดยอดอาเซียนที่ฟิลิปปินส์ ทําให้อาเซียนแตกร้าวหรือไม่ เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์ ASEAN Centrality ถูกกระทบหรือไม่ ญี่ปุ่น สําหรับยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของญี่ปุ่น มี Abe Initiative และเมื่อปีที่แล้วญี่ปุ่นจับมือกับ อินเดียและเสนอการเชื่อมโยงใหม่ขึ้นมาเรียกว่า AAGC (Asia-Africa Growth Corridor) (ดูภาพที่ 1) เชื่อมแอฟริกา เอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่นเข้าด้วยกัน แล้วญี่ปุ่นก็เข้าไปแย่งโครงการ ต่างๆ ของจีน เช่น โครงการสร้างเส้นทางรถไฟในอินเดีย ศรีลังกา และอินโดนีเซียซึ่งจีนได้ทําอยู่แล้ว ซึ่งก็มีที่แย่งสําเร็จทําให้ประเทศเหล่านั้นยกเลิกสัญญากับจีนมาทํากับญี่ปุ่นบ้างก็มี นายกรัฐมนตรีอาเบะ ประกาศ AAGC ในช่วงเดียวกับที่สีจิ้นผิง ประชุม Belt and Road Summit ในช่วงพฤษภาคม 2017 ภาพที่ 1 การเชื่อมโยงในยุทธศาสตร์ Asia-Africa Growth Corridor ที่มาภาพ https://i.ytimg.com/vi/LH-rPgIzpZQ/maxresdefault.jpg
  • 18. 13 สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา อันนี้ใหม่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสังเกตที่สุดว่าใน Joint Statement ของ ประธานาธิบดีทรัมป์และนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ ทั้งหมดผมสนใจที่เดียวคือ มีการใช้คําว่า อินโด- แปซิฟิก (Indo-Pacific) สองครั้งใน Joint Statement นี้ เพราะฉะนั้น นี่คือยุทธศาสตร์ใหม่ของสหรัฐที่จะ เรียกเขตแถบนี้ใหม่ ไม่เรียกว่า เอเชียแปซิฟิก หรืออาเซียนพลัส หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ เรียกว่าภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Region) ผมเข้าใจว่าแรกๆ สหรัฐไม่ได้อยากที่จะรวม ปากีสถานเข้ามาด้วยซํ้า เพราะทราบกันดีว่าอินเดียกับปากีสถานมีส่วนหนึ่งของ BRI ที่สําคัญ ที่เรียกว่า CPEC (China-Pakistan Economic Corridor) ที่เชื่อมเมืองท่ากวาดาร์ (Gwadar) ของปากีสถานที่เป็น ทางออกสู่มหาสมุทรอินเดีย ขึ้นไปถึงเมืองคัชการ์ (Kashgar) มณฑลซินเกียงของจีน อันเป็นการเปิด ภาคตะวันตกของจีนออกสู่ทะเลโดยไม่ต้องผ่านอินเดีย ผ่านการเชื่อมต่อทั้งท่อนํ้ามัน ท่อก๊าซธรรมชาติ ทางรถไฟ และอื่นๆ อีกต่างๆ นานา เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก จึงไม่เข้าไปแตะปากีสถาน ในขณะเดียวกันก็ต้าน BRI ทั้งหมด ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกจึงเป็นเสมือนเหมือนก้อนใหญ่ๆ ที่เป็น ยุทธศาสตร์ต้าน BRI อยู่ นี่คือการตอบโต้ BRI ของสหรัฐอย่างเงียบๆ (ดูภาพที่ 2)แม้ว่าเราจะบอก ว่าทรัมป์ไม่มีทิศทาง ไม่มีที่ปรึกษา แต่ผมมองอีกทางว่ายุทธศาสตร์การต่างประเทศทรัมป์เป็น New Look Diplomacy เขาใช้การไม่มียุทธศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญ ใช้วิธีไม่มีนโยบายเป็นนโยบายที่ สําคัญ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ ภาพที่ 2 ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่มา https://www.coral-reef-info.com/image-files/Indo-Pacific-map.png
  • 19. 14 และในการประชุม EAS เมื่อเดือนที่แล้ว ก็เกิดการประชุมอันใหม่ขึ้นมาที่ประหลาดมาก เรียกว่า Quad Summit หรือการประชุมสุดยอด 4 ประเทศ มีทรัมป์ อาเบะ โมดี และเทิร์นบุลล์ ผู้นําอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลียตามลําดับ ประชุมกันเรื่องยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ซึ่งน่าสนใจมากว่า ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก นั้นรวมขึ้นไปถึงเอเชียตะวันออก แต่รวมแค่ญี่ปุ่นคนเดียว มันเหมือนกับไม่มี จีนอยู่ตรงนั้น (ส่วนเกาหลีใต้อาจจะรู้สึกว่าเล็กเกินไป) แล้วก็มีเอเชียใต้ โดยมีพี่ใหญ่คืออินเดีย ไม่มี ปากีสถาน และไม่มีอาเซียน แต่ใน Joint Statement กับเรากล่าวถึงภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกสองครั้ง แต่ จับออสเตรเลียขึ้นมา ดังนั้น Quad Summit เหมือนกับพยายามจะตรึงอะไรบางอย่าง คล้ายจะส่ง สัญญาณว่านี่คือทิศทางที่จะตอบสนองต่อการขยายยุทธศาสตร์ของจีน จากทั้งหมดที่กล่าวมาคําถามคือ แล้วไทยอยู่ที่ใด 3. เงื่อนไขในการกาหนดยุทธศาสตร์ของไทย ประการแรก เวลานี้เรากําลังอยู่ในโลกที่มี กระแสต้านโลกาภิวัตน์ (anti-globalization) เห็น ได้จากนโยบาย American First กระแสขวาจัดในยุโรป หรือ Brexit แต่ขณะเดียวกัน เราก็มีเอเชียที่เดิม จะไม่ค่อยเอาโลกาภิวัตน์ กลับกลายมาเป็นคนที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์ จีนหรือหลายประเทศในเอเชีย แม้กระทั่งอินเดีย เคยต่อต้านการเปิดเสรี แต่เวลานี้กลับกลายมาเป็นประเทศที่สนับสนุนโลกาภิวัตน์ แต่ ผมไม่ค่อยอยากจะเรียกว่า Globalization (โลกาภิวัตน์) ผมอยากจะเรียกว่า Globalism เพราะ Globalization ก็มีด้านมืดของมันที่คนยากคนจนตามไม่ทัน และประเทศหลายประเทศก็เข็ด แต่สําหรับ Globalism คือการเป็นโลกที่ยังเปิด ยัง engage กันอยู่ ผมคิดว่ามันยังมีอยู่ ผมคิดว่าจีนไม่ได้อยากจะ เป็น Hegemon ตามที่เห็น แต่จีนก็ยังไม่รู้ว่าจะเรียกตัวเองว่าเป็นอะไร แต่ผมขอตั้งชื่อให้จีนเป็น Connector โดยผ่าน BRI AIIB RCEP FTAAP ข้อตกลงการค้าเสรีแบบทวิภาคี และผ่านความสัมพันธ์ ทั้งหลาย เมื่อจีนเป็นประเทศใหญ่และมีนโยบายขนาดนี้ ก็ต้องเรียกว่าจีนเป็น The Great Connector (ผู้ เชื่อมโยงที่ยิ่งใหญ่) ในโลกของ Globalism ประการที่สอง นอกจากกระแส anti-Globalization แล้ว ในตะวันตกเรากําลังมีการทูตใน ลักษณะใหม่ๆ (New Look Diplomacy) นําโดยทรัมป์ ที่พยายามจะดึงบางประเทศมาร่วม ซึ่งอย่าไป ประมาทว่าท่านจะดึงไม่สําเร็จ เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย หรือญี่ปุ่น ให้มาเดินในการทูตแบบใหม่ๆ ประการที่สาม คือเรากําลังเห็นยุทธศาสตร์ของมหาอานาจต่างๆ เข้ามาพัวพันอยู่ในอนุ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมีนัยสาคัญ และประการสุดท้ายคือเรากําลังพบการ เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี มี disruptive technology เช่นเรื่อง 3D Printing และ disruptive technology นี้ เกิดขึ้นทั้งในประเทศที่ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (anti-Globalization) และในประเทศที่ pro-Globalism
  • 20. 15 พร้อมๆ กัน ประเทศทั้งสองกลุ่มนี้ มีนวัตกรรมที่นําประเทศไทยและประเทศอาเซียนไปอย่างมากมาย มหาศาล อาจจะยกเว้นสิงคโปร์ประเทศเดียว ทิศทางของไทย : ควรเริ่มต้นที่การศึกษา เพราะฉะนั้น ในการมองว่าเราควรจะอยู่ในส่วนใดของยุทธศาสตร์จีน จะอยู่ตรงไหนของ ยุทธศาสตร์มหาอํานาจ ผมคิดว่าเราต้องกลับมาดูที่การศึกษาของไทย ไม่ว่าเราจะเป็น anti- Globalization หรือ pro-Globalism เราจะไปทางนวัตกรรมหรือเปล่า ถ้าเราจะไปทางนวัตกรรมเพื่อให้ ออกจากสิ่งที่เรียกว่ากับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ก็ต้องถามว่าอะไรเป็น พื้นฐานของนวัตกรรม ซึ่งก็คือความรู้ (knowledge) แล้วอะไรเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้ ก็ต้องตอบว่า การวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ด้วยการวิจัยและพัฒนาถึงจะมีองค์ความรู้ และถึงจะมีนวัตกรรม และเมื่อถามต่อไปว่าอะไรคือพื้นฐานของการวิจัยและพัฒนา ก็คือทุน ประเทศไทย มีงบ R&D ประมาณ 0.4% ของ GDP แบ่งเป็น เอกชน 0.2% ภาครัฐ 0.2% และของภาครัฐก็ไม่เคยใช้ หมด สิงคโปร์มีประมาณ 2% ของ GDP สิงคโปร์ จีนมีประมาณ 2% ของ GDP จีน (ซึ่งเป็น GDP ที่ ใหญ่อันดับสองของโลก) เพราะฉะนั้น ถ้าเราบอกว่าจะไปทางนวัตกรรม แต่เราไม่มี (requirement) ของ นวัตกรรมเลย คือไม่มีทุน ซึ่งก็ทําให้ไม่มี R&D เพียงพอ แล้วก็ไม่มีองค์ความรู้ แล้วก็ไปไม่ถึงนวัตกรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเราคิดว่าจะออกจาก middle income trap ด้วยนวัตกรรม ก็ยังไม่รู้ว่าจะไปได้อย่างไร หรือทางที่สองเราต้องวางตัวเป็น technology user ซึ่งแม้แต่สิงคโปร์ที่เขานําหน้าเราอยู่ เขายัง บอกเลยว่าเขาวางตัวเองเป็น technology user เป้าหมายของสิงคโปร์คือเป็นสังคมที่พร้อมต่ออนาคต (Future Ready Society) ในเดือนมกราคม 2018 สิงคโปร์จะเป็นประธานอาเซียน อดีตนายกรัฐมนตรี Goh Chok Tong กล่าวว่าสิงคโปร์จะนําอาเซียนให้เป็น Future Ready Society ให้เป็น smart ASEAN ในเมื่อสิงคโปร์บอกว่าตนเองจะเป็นประเทศผู้ใช้นวัตกรรม แล้วถามว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ใช้ นวัตกรรมบ้างหรือไม่ ถ้าจะเป็นผู้ใช้นวัตกรรม เราต้องผลิตวิศวกรสายอาชีพ (practical engineers) และ บัณฑิตสายวิชาชีพ (practical graduates) คือ ปวช. และ ปวส. ในโลกของ disruptive technology นิยามของคําว่านักเรียนเปลี่ยนไปแล้ว นักเรียนไม่ใช่เฉพาะ นักเรียนในโรงเรียน และนักศึกษา แต่รวมทั้งผู้บริหารภาครัฐ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารในหน่วยงาน ราชการ และยิ่งในสังคมผู้สูงอายุอย่างประเทศไทย คนที่เป็นผู้สูงอายุแล้วต้องเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ ตลาดแรงงานใหม่ ประเทศสิงคโปร์แก้ปัญหาแบบคนรวย คือ ผู้สูงอายุที่เข้ามาฝึกอบรมใหม่ ตาม ระยะเวลา 6-8 เดือน ในเรื่องต่างๆ เช่น เรื่อง Internet of Things (IoT) หรือ Automation ให้ 500 เหรียญ เป็นแรงจูงใจ แต่ไทยเราจะแก้ปัญหาอย่างไร จะขยายอายุเกษียณหรือไม่ อันนี้เราก็ยังไม่ชัด เพราะเรายังพูดกันเรื่องปฏิรูปการศึกษาอยู่ เรายังพูดกันถึง 5 แท่งอยู่ ผมเคยเสนอว่าเหตุใดเราไม่คิด
  • 21. 16 ใหม่ว่าถ้าเราต้องการเห็นประเทศไทยอีก 5 ปีข้างหน้า ที่มีบัณฑิตสายอาชีพเป็น technology user มี หลักสูตรลัด (short courses) เราคิดแบบนี้ดีกว่าว่าสมมติวันนี้ไม่มีกระทรวงศึกษาเลยแม้แต่แท่งเดียว แล้วเราต้องการกี่แท่ง อาจจะตอบว่าต้องการห้าแท่งดีแล้ว ต้องการเจ็ดแท่ง หรือไม่ต้องการสักแท่ง สิงคโปร์เขาให้กระทรวงศึกษาของเขาทํางานกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ทํางานกับ มหาวิทยาลัย Nanyang ใครเก่งเรื่อง Automation ใครเก่งเรื่องอะไร ให้มาทําหลักสูตรได้ ระยะเวลาจะ เป็น 6 เดือน 8 เดือน หรือ 1 ปี จะมีปริญญาหรือไม่มีไม่สําคัญ แต่หากเราเป็นผู้สร้างนวัตกรรม (Innovator) ไม่สําเร็จ เป็นผู้ใช้นวัตกรรม (Technology user) ก็ ยังไม่เดินหน้าทําให้สําเร็จ ก็มีทางเดียวคือต้อง ready made ต้องเดินตามพระราชวิเทโศบายของรัชกาล ที่ 5 คือ นําเข้าคนเก่งเข้ามาทํา เอามหาวิทยาลัยต่างประเทศเข้ามาตั้ง เอาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้า มา แต่เวลานี้ผมก็ยังไม่เห็นว่าเราจะไปทางใด ซึ่งอันนี้มันเกี่ยวโยงกัน เพราะเวลาจีนเขาพูดถึงนโยบาย เศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เขาพูดถึงเรื่องการศึกษา นวัตกรรม เวลาที่เขาพูดนั้นเขาไม่ได้ เพิ่งจะเริ่มทํา แต่เขาทํามาแล้ว 5 ปี หรือ 10 ปีแล้วด้วยซํ้า หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคที่ 4 ใน เยอรมนีและประเทศต่างๆ ก็เป็นผลของการวิจัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ที่กําลังเกิดดอกออกผล ขณะที่ไทยเรา กําลังจะพูดถึงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ตรงกับปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งที่ 4 ที่เราเรียกกันว่า 4.0 แต่ถ้า ทั้งการศึกษาและกฎหมายของเรายัง 0.4 อยู่ เราจะข้ามตรงนี้ไปได้อย่างไร และนอกจากเราแล้ว อาเซียน อาจจะยกเว้นสิงคโปร์ จะเคลื่อนอย่างไร ท่ามกลางยุทธศาสตร์ของประเทศมหาอํานาจที่เคลื่อน เร็วขนาดนี้ โดยที่มี Disruptive Technology เป็นตัวแทรกทั้งฝ่าย anti-globalization และ pro-globalism ผมขอฝากไว้ว่าอยากให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการของไทยได้ร่วมกันคิดตรงนี้ ผมคิดว่าการที่ ประเทศไทยจะรอดหรือไม่รอด ไม่ได้ชี้ขาดที่เรื่องเศรษฐกิจ ไม่ได้ชี้ขาดที่การเมืองเพราะก็คงขัดแย้งกัน ต่อไป แต่ผมคิดว่าอยู่ที่เรื่องการศึกษา ถ้าเรายังไม่ยกเครื่องการศึกษา ซึ่งหมายความรวมถึงการศึกษา ในทุกๆ เรื่อง ไม่ใช่เพียงมหาวิทยาลัย แต่เป็นการเรียนรู้ทั้งหมด ถ้าเราไม่ยกเครื่องการเรียนรู้ของ ประเทศ เราก็คงจะไปไม่รอด ***
  • 22. 17 คณะผู้นาชุดใหม่ กับทิศทางของจีน ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19 อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจาประเทศจีน
  • 23. 18 คณะผู้นาชุดใหม่ กับทิศทางของจีน ภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่ พรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 19 ในทศวรรษ 1950-60 จีนใช้ทฤษฎีสามโลก (Three World Theory) ของเหมาเจ๋อตุงในการสร้าง แนวร่วมในทางระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นการใช้การเมืองในการสร้างแนวร่วมอย่างชัดเจน โดยจีนแบ่ง ประเทศอย่างอเมริกาเป็นอภิมหาอํานาจ จัดเป็นประเทศโลกที่หนึ่ง ประเทศแถบยุโรปเป็นโลกที่สอง และตัวเองเป็นโลกที่สาม มาถึงยุคนี้ จีนใช้พลังทางเศรษฐกิจที่ตนมีอยู่มากเป็นตัวเชื่อมโยงแนวร่วม โดย ใช้หลักการของการเอื้อประโยชน์ร่วมกัน ในรอบ 60 ปีของการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน นี่ถือเป็นยุคที่สองที่สําคัญที่สุดนับจากยุคที่จีนใช้การเมืองเชื่อมโยงตนกับโลกมาสู่ยุคที่ใช้พลังทาง เศรษฐกิจเชื่อมโยง มีการพูดกันว่า ในยุคแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน เหมาเจ๋อตุงบอกว่า จีนลุกขึ้นมาแล้ว (站起来) พอมาถึงยุคเติ้งเสี่ยวผิง เติ้งบอกว่า จีนรวยขึ้นมาแล้ว (富起来) พอมาถึงยุคสี จิ้นผิง สีบอกว่า จีนเข้มแข็งขึ้นมาแล้ว (强起来) ทําให้เห็นภาพว่าขณะนี้เป็นยุคที่จีนกําลังพูดถึง ความเข้มแข็งของตนเอง ผ่านยุคที่พูดถึงความรํ่ารวยแล้ว ด้วยหลักนี้เราคงอธิบายอะไรได้มากมาย วิเคราะห์คณะผู้นาชุดใหม่ของจีนภายหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรค คอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 สีจิ้นผิง (Xi Jinping) นั้น “เป็น” การเมืองมาก การคาดเดาของสื่อต่อเรื่องการประชุมสมัชชา ใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ครั้งที่ 19 บางครั้งก็ผิด แต่อย่างเรื่องการไม่ตั้งทายาททางการเมือง อันนี้ก็ถูก เพราะไม่ตั้งจริง ในคณะกรรมการประจํากรมการเมืองทั้ง 7 คนก็ไม่มีใครเป็นทายาททางการเมืองได้ เพราะว่าพอถึงปี 2022 ที่สีจิ้นผิงหมดวาระ ทั้ง 7 คนก็จะอายุเกินเกณฑ์ที่จะดํารงตําแหน่งต่อไปอีกสิบปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น 7 คนนี้ก็ไม่ได้น่าเกลียดอย่างที่ตะวันตกมองไว้ สีจิ้นผิงกับหลี่เค่อเฉียง (Li Keqiang) ก็ ยังอยู่เหมือนเดิม สีจิ้นผิงก็ไม่ได้เล่นงานหรือเอาหลี่เค่อเฉียงออกอย่างที่มีการวิจารณ์กัน แล้วก็ไม่ได้เอา หวังฉีซาน (Wang Qishan) มือปราบคอร์รัปชั่นของท่านมาแทน หวังฉีซานในวัย 69 ปี ก็พ้นจาก คณะกรรมการประจํากรมการเมืองไปด้วยเกณฑ์อายุ สีจิ้นผิงเกิดปี 1953 หลี่เค่อเฉียงเกิดปี 1955 สมาชิกคณะกรรมการประจํากรมการเมืองอีกท่านคือ Han Zheng อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ประจําเซี่ยงไฮ้ ก็ถือว่าได้เอาคนของ Jiang Zemin คือสายเซี่ยงไฮ้ อีกคนหนึ่งคือท่านวัง หยาง (Wang Yang) ก็ถือว่าได้เอาคนของสันนิบาตเยาวชนพรรค (Youth League) มาร่วมด้วย อย่างไรก็ดี ทั้งสองคน