SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 26
Descargar para leer sin conexión
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน
ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ
ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ดร.สารสิน วีระผล
อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล
คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย
ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ดร.สารสิน วีระผล
อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล
คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย
เนื้อหาถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยาย
โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล และคุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย
ในเวทีสาธารณะเรื่อง อนาคตจีน : รุ่งหรือร่วง
จัดโดย สถาบันจีน-ไทย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558
และ จากการบรรยายของ ดร.สารสิน วีระผล
ในเวที Ambassadors’ Forum ครั้งที่ 1 เรื่อง ยุทธศาสตร์ของไทยต่อดุลแห่งอานาจใหม่ในศตวรรษที่ 21
จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับ สถาบันการทูตและการต่างประเทศ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558
สรุปและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ที่ปรึกษา : ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่: มีนาคม 2561
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต
จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
1
ความคิดและยุทธศาสตร์การเมืองจีน
ในยุคปัจจุบัน1
ประเทศจีนใหม่ไม่เหมือนจีนเก่า ประเทศและสังคมจีนมีพลวัตและการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
เป็นลาดับขั้น ก่อนที่เราจะไปทาความรู้จักกับสาระของนโยบาย หรือจะเรียกว่า ยุทธศาสตร์ หรือ “มหา
ยุทธศาสตร์” BRI ของจีน การทาความเข้าใจความคิดและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองจีนโดยเฉพาะ
ในยุคปัจจุบัน การเข้าใจสภาพแวดล้อมและบริบทของจีนที่คิด BRI ขึ้นมารวมทั้งข้อมูลรายละเอียดที่ทา
ให้เข้าใจจีนมากขึ้นทั้งในมิติการเมือง อุดมการณ์ เศรษฐกิจ สังคม เข้าใจความแตกต่างของภาคส่วน
ต่างๆ ที่รวมเป็นจีน ทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจจะช่วยให้เราเข้าใจความสาคัญ
และตาแหน่งแห่งที่ของ “มหายุทธศาสตร์” นี้ในสังคมจีนได้ดียิ่งขึ้น
เมื่อพูดถึงจีนใหม่ในปัจจุบันก็ไม่ได้หมายความถึงจีนในยุคเหมาที่เทียบกับจีนยุคเก่าคือยุค
ราชวงศ์ และก็ไม่ได้หมายถึงจีนสมัยปฏิรูปประเทศเป็นทุนนิยมในยุคเติ้ง เพราะนั่นก็คือจีนเก่าไปแล้ว
จีนใหม่ในที่นี้คือ จีนในยุคที่มีประธานาธิบดีชื่อ สีจิ้นผิง ซึ่งเป็นยุคที่สังคมจีนเดินมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่
สาคัญอีกครั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ
ความคิดและยุทธศาสตร์การเมืองจีนในยุคปัจจุบัน
ขนาดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีนมีขนาดใหญ่มาก ดูจากมูลค้าการค้าระหว่างกัน2
และการที่ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลตามเมืองต่างๆ ของจีนมากมาย ขนาดความสัมพันธ์นี้
ชัดเจนว่าจะขยายขึ้นอีกมากในอนาคต แต่สิ่งที่ประเทศไทยจะ “ตกม้าตาย” คือการขาดบุคลากรที่ใช้
ภาษาจีนได้ ซึ่งปัจจุบันมีน้อยมากไม่เพียงพอกับความต้องการ ตรงนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสาร
ระหว่างกันต่อไป ดังนั้นสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ
การทูตของมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรเร่งรับคนที่มีความรู้ภาษาจีนให้เข้ามาเรียนด้านนี้
1 ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยาย โดย อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจา
ประเทศจีน ในเวทีสาธารณะเรื่อง อนาคตจีน: รุ่งหรือร่วง จัดโดย สถาบันจีน-ไทย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ณ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 8.30 - 12.00 น.
2 จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ไทย ในปี 2559 จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันคิดเป็นร้อย
ละ 16 ของมูลค่าทั้งหมดของการค้าไทยกับต่างประเทศ ดู http://www2.ops3.moc.go.th/
2
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เข้ามาเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2012 แต่เป็นอย่างเป็นทางการคือได้รับ
การรับรองจากสมัชชาใหญ่ของพรรคก็ในปี 2013 และหากไม่มีอะไรผิดพลาดจะดารงตาแหน่งไปจนถึงปี
2023 สีจิ้นผิงถูกนับว่าเป็น ผู้นาจีนรุ่นที่ 5 (นับเฉพาะผู้นาสูงสุดหรือ Paramount Leader) ต่อจากเหมา
เจ๋อตง เติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน และหูจิ่นเทา
ช่วงเวลาที่สีจิ้นผิงเข้ามาเป็นประธานาธิบดีนั้นเป็นช่วงสาคัญมาก คือเป็นจุดเริ่มของการพัฒนา
แบบทุนนิยมทางเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของจีน ซึ่งแตกต่างมากจากช่วงระยะแรกคือสามสิบปีก่อนหน้า
นี้
1. การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองจีนระยะที่ 1: “ปฏิรูป-เปิ ดประเทศ” (ก่ายเก๋อ-คายฟั่ง)
1979-2011
ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยุคเติ้งเสี่ยวผิงปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่แบบช็อคโลกด้วยการเปลี่ยน
จากระบอบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง มาสู่ระบอบเศรษฐกิจแบบตลาดหรือทุนนิยมนับแต่ปี
1979 นั้น มีหลักการอยู่ที่การ “ปฏิรูปและเปิ ดประเทศ” (ก่ายเก๋อ-คายฟั่ง) นับแต่นั้นมาสามทศวรรษ
จีนก็เน้นเศรษฐกิจแบบ labor-Intensive คือทาตัวเป็น โรงงานโลก กดค่าแรงในประเทศให้ถูกเพื่อดึงดูด
ทุน วิทยาการความรู้และเทคโนโลยีจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากตะวันตก และเป็นผู้ผลิตสินค้าป้อนโลก
รายใหญ่ที่สุด กล่าวคือ การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนสามสิบปีที่ผ่านมาเป็นแบบเน้นปริมาณมากกว่า
คุณภาพ เพื่อเร่งพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะความเจริญทางวัตถุให้วิ่งทันตะวันตกให้เร็วที่สุด ถึงปัจจุบัน
จีนก็ทาได้จริงตามเป้าหมายดังกล่าว คือเป็นเศรษฐกิจอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐ3 เป็นเจ้าหนี้
สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มาถึงจุดนี้ จีนก็ได้ทบทวนบทเรียนและผลข้างเคียงของยุทธศาสตร์ระยะแรกที่ผ่าน
มา ที่สาคัญมีดังนี้
 ความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจในประเทศ ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยหรือค่า Gini
coefficiency ในปัจจุบันนั้นสูงจนถึงระดับเดียวกับเมื่อเกิดการปฏิวัติปี 1949
 ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ทั้งหยั่งรากลึกและขยายวงกว้างไปทุกภาคส่วน ทั้งพรรค รัฐ และเอกชน
 ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
ปัญหาใหญ่ทั้งสามนี้ จีนเปรียบเป็น “กระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยาก” เป็นราคาที่จีนต้องจ่ายเพื่อแลก
มากับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดที่สร้างความพิศวงให้ทั่วโลก ที่สามารถสร้างอัตราการเติบโต
ได้ต่อเนื่องเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีมาตลอดหลายทศวรรษ ซึ่งไม่มีใครทาได้มาก่อน
3 จากข้อมูลสถิติของธนาคารโลกในปี 2017 เศรษฐกิจจีนเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ ถ้าคิดจาก GDP ที่เป็นจานวน
เงิน แต่ถ้าคิดจาก GDP (PPP) หรือกาลังซื้อจริง เศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกแล้ว ดู
http://databank.worldbank.org/data/download/GDP.pdf และ
http://databank.worldbank.org/data/download/GDP_PPP.pdf
3
2 การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองจีนระยะที่ 2: “ปฏิรูป-สร้างนวัตกรรม” (ก่ายเก๋อ-ช่วงซิน)
2012 - ปัจจุบัน
การพัฒนาระยะนี้เปรียบเสมือน anti-thesis ของตาราการพัฒนาเศรษฐกิจจีนยุคก่อนหน้า ด้วย
ผู้นาพรรคคอมมิวนิสต์จีนปัจจุบันเล็งเห็นว่าปัญหาใหญ่ทั้งสามประการที่กล่าวมาจะสร้างผลสะเทือนต่อ
ความชอบธรรม (legitimacy) ในการปกครองแผ่นดินจีนของพรรคอย่างรุนแรงที่สุด หากยังปล่อยให้
ดาเนินไปโดยไม่จัดการเด็ดขาด ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดของแผนพัฒนาระยะที่สองนี้ จึง
จาเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาความชอบธรรมที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบอยู่
 ปัญหาเรื่องความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องดิ้นรนหนักขึ้นทุกวันกับการอธิบายสภาวะ
dilemma ที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างอุดมการณ์สังคมนิยมมาร์กซิสม์ - เหมาอิสม์ที่พรรคในยุคเหมา
เคยใช้เป็นรากฐานในการอ้างความชอบธรรมครองแผ่นดินจีนหลังปี 1949 กับสภาพความเป็นจริงของ
การพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด ที่มาเปลี่ยนในยุคเติ้ง เติ้งเสี่ยวผิงได้เผชิญและผ่านภาวะนี้มาแล้วด้วย
วาทกรรม “แมวสีไหนถ้าจับหนูได้ ก็เป็นแมวที่ดี” อันโด่งดัง อย่างไรก็ตาม พรรคยุคสีจิ้นผิงกาลังเผชิญ
กับสภาวะเดียวกัน แต่หนักหนากว่า เพราะอุดมการณ์กับความเป็นจริงนี้ถ่างห่างกันมากขึ้นมากจากยุค
เติ้ง ในปัจจุบัน จีนมีชนชั้นกลางที่เป็นพลเมืองเน็ต (netizen) กว่า 600 ล้านคน มีเมืองทันสมัยมากมาย
ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมเต็มตัวกว่ายุคเปิดประเทศใหม่ๆ มาก แต่สิ่งที่ยังเหมือนเดิมมาตั้งแต่สมัย
เหมาคือระบอบการเมืองที่พรรคเดียวครองอานาจเบ็ดเสร็จ
ทั้งนี้ วิเคราะห์ได้ว่า ฐานความชอบธรรมหลักที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้อ้างปกครองแผ่นดินจีน
ในแต่ละยุค มีดังนี้
 ยุคเหมา อยู่ที่ อุดมการณ์สังคมนิยมแบบมาร์กซิสม์ - เหมาอิสม์ กล่าวคือ ความเสมอภาค
ทางเศรษฐกิจ
 ยุคเติ้ง ฐานความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนยุคนี้เปลี่ยนมายึดโยงอยู่
กับ ประสิทธิภาพของพรรคในการบริหารประเทศ (performance-based ruling
legitimacy) โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
อย่างไม่หยุดยั้ง หรือการสร้างสังคมที่เจริญทางวัตถุ สร้างเศรษฐกิจให้เติบโต คนมีงานทา กินดี
อยู่ดี หรือที่ภาษาจีนเรียกว่าสังคม “เสี่ยวคัง” ดังนั้นวาทกรรมที่พรรคชูขึ้นมาเป็น “อุดมการณ์
ร่วม” ของชาวจีนจึงเปลี่ยนจากความเสมอภาคเท่าเทียมทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มาเป็น
การมุ่งสู่ความมั่งคั่งร่ารวยของชาติ
 ยุคสี เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสาคัญอีกครั้งของพรรคและของประเทศจีน เพราะความเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับปีละเกิน
10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีกลายเป็นเรื่องปกติสาหรับชาวจีนมากว่าสามสิบปีแล้ว ยิ่งในขณะนี้
เศรษฐกิจจีนไม่ดีเหมือนเก่า คือไม่สามารถยืนระยะการเติบโตได้มากเท่าเดิม ในปี 2012 ที่สีเข้า
4
รับตาแหน่ง การเติบโตของ GDP จีนตกมาสู่ราว 7- 8 เปอร์เซ็นต์ ตลาดการเงินจีนก็ตกลงอย่าง
มาก ทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินหยวน แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามใช้มาตรการต่างๆ ยับยั้งแล้ว
ความสามารถของพรรคในการสร้างสังคม “เสี่ยวคัง” ให้คนจีนจึงทาได้ไม่ดีเหมือนก่อน และถึง
จะทาได้ดี ลาพังสิ่งนี้ก็ไม่เพียงพออีกต่อไปที่จะยืนยันความชอบธรรมการปกครองให้พรรค
พรรคยุคสีจึงต้องหันมาพึ่งวาทกรรมชาตินิยมจีน ซึ่งอาจแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก คือวาท
กรรมที่ว่ามีแต่พรรคคอมมิวนิสต์ที่รวมจีนเป็นหนึ่งเดียวได้ ความแตกแยกของจีนที่ผ่านมาแต่ละ
ครั้งล้วนนามาซึ่งความเสียหายมหาศาล ส่วนที่สอง คือการที่พรรคสัญญาว่าจะพาจีนกลับสู่ความ
ยิ่งใหญ่ในอดีต นั่นคือกลับไปเป็นศูนย์กลางอานาจโลก
นอกจากจะต้องมุ่งสร้างภารกิจใหม่ด้านชาตินิยม อีกด้านหนึ่งเพื่อรักษาความชอบธรรม
ที่ยังเหลืออยู่เอาไว้ พรรคยุคสีก็ยังต้องพยายาม “ขบกระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยาก” อันเป็น
ผลข้างเคียงทางลบจากการพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมา ได้แก่การจัดการกับปัญหาใหญ่สาม
ประการที่กล่าวถึงข้างต้น คือ ความเหลื่อมล้าภายในประเทศ การคอร์รัปชั่น และปัญหา
สิ่งแวดล้อมให้จงได้ นี่จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์การพัฒนาจีนระยะที่สอง ซึ่งประจวบกับการ
ขึ้นสู่อานาจของสีจิ้นผิง
 สาระสาคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดของจีนระยะที่ 2
ดังที่กล่าวไป คาสาคัญของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระยะนี้คือ “การ
ปฏิรูปและนวัตกรรม” (ก่ายเก๋อ-ช่วงซิน) หลักการสาคัญคือ เน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพมากกว่าเชิง
ปริมาณ (ซึ่งจีนใช้คาว่าการปฏิรูปจะผันมาสู่น่านน้าลึก) ดังเช่นในระยะที่ผ่านมา (ซึ่งจะเห็นต่อไปว่าสอด
รับกับการแก้ปัญหาใหญ่ทั้งสามข้างต้นด้วย)
 เศรษฐกิจจีนต่อจากนี้จะไม่มุ่งไปในทิศทางของ “โรงงานอุตสาหกรรม” โลกอีกต่อไป
เศรษฐกิจจีนจะไม่พึ่งพาการส่งออกหรือดึงดูดการลงทุนต่างชาติมากเช่นในอดีต เพราะ
ปัจจุบันจีนมีทุน เทคโนโลยี และองค์ความรู้แบบตะวันตกทัดเทียมตะวันตกเองแล้ว จีนใน
วันนี้ออกไปลงทุนนอกประเทศมากกว่าที่ต่างชาติมาลงทุนในจีน
 เศรษฐกิจจีนจะหันกลับมาให้ความสาคัญกับตลาดภายในประเทศเป็นหลักแทนการพึ่งพา
ตลาดโลก โดยมีมาตรการเช่นการสร้างเขตเศรษฐกิจปลอดภาษี (Free trade area) แบบ
เดียวกับฮ่องกงขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้
 รัฐบาลตั้งเป้าจะพัฒนาประเทศจีนให้มีความเป็นเมือง (Urbanization) ให้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
ภายในปี 2020 ซึ่งจะตอบรับกับการขยายตลาดและกาลังซื้อในประเทศให้เติบโต
 รัฐบาลจะปราบคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง เพราะคอร์รัปชั่นที่ระบาดมากในประเทศจีนทุกวันนี้
ตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับสูงของพรรค (เช่น กรณีป๋ อซีไหล โจวหย่งคัง) ถือเป็น “วิกฤต
ศรัทธา” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งรัฐบาลและพรรคยุคสีจิ้นผิงก็ได้ประกาศและพยายาม
ดาเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ปัญหาคอร์รัปชั่นระบาดหนัก
5
ในจีนต้องถือว่าเป็นผลพวงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสร้างขึ้นมาเองจากการผสมระบอบ
การเมืองแบบพรรคเดียวเข้ากับระบอบเศรษฐกิจตลาดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การ
จัดการสังคมของมนุษยชาติ
มีคาในภาษาจีน 4 คาที่นิยามอนาคตจีนในแผนพัฒนาระยะที่สองยุคสีจิ้นผิง ดังนี้
 อ้ายกว๋อ (nationalism) พรรคคอมมิวนิสต์จะเล่นบทบาทผู้พิทักษ์แผ่นดินจีนมิให้ใครมาย่ายี
เอาเปรียบได้อีก รวมทั้งการให้ความสาคัญกับเรื่องบูรณภาพแห่งดินแดนเหนือสิ่งอื่นใด อย่าง
น้อยก็ในระดับหนึ่ง เช่นเรื่องการจัดการกับชาวอุยกูร์ในซินเจียง ที่ผู้นาที่ปักกิ่งต้องแสดงความ
เด็ดขาด
 ช่วงซิน (Innovation) จีนจากนี้วางยุทธศาสตร์ของตนว่าจะไม่เป็นประเทศที่ไปลอกเลียน
ความรู้ สินค้า เทคโนโลยีของต่างชาติเหมือนในอดีตอีกต่อไป แต่จีนจะเน้นการสร้างและแผ่
ขยายองค์ความรู้ นวัตกรรมของจีนเอง นอกจากนี้ ในมิติการลงทุนจากต่างชาติ คาว่าช่วงซิน
ก็ยังหมายความว่าเวลานี้จีนไม่สนใจการดึงดูดการลงทุนจากภายนอกที่ไม่มีการถ่ายทอด
นวัตกรรม ความรู้ใหม่ๆ ที่จีนยังไม่มีอีกต่อไป
 เปาหรง (ปรองดอง) พรรคคอมมิวนิสต์จีนในวันนี้ต้องหันมาสร้างวาทกรรมการปรองดอง ทั้ง
ปรองดองระหว่างชนชั้น คือคนรวย-คนจน ที่การพัฒนายุคเติ้งได้สร้างขึ้นมาและขยายกว้างขึ้น
ตลอดสามสิบปีที่ผ่านมา กับการปรองดองระหว่างชนชาติ คือระหว่างชาวจีนฮั่นกับชาติพันธุ์
ต่างๆ ในแผ่นดินจีน โดยเฉพาะที่มีปัญหามากคือทิเบตและซินเจียง แต่มีข้อที่ต้องระวังไว้ว่า
เวลาที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้คาว่า “ปรองดอง” ทางชาติพันธุ์ มักหมายถึงการพยายามผสม
กลมกลืนทางวัฒนธรรม (assimilation) ชาวจีนฮั่นลงไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นเหตุสร้างความไม่พอใจ
ให้แก่คนชาติพันธุ์อื่น
 โห้วเต๋อ (ธรรมาภิบาล) มาตรการที่เห็นชัดคือการพยายามปราบคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังตั้งแต่
สีจิ้นผิงเข้าสู่อานาจ โดยจัดการกับบุคคลระดับสูงของพรรค เช่น ป๋ อซีไหล (Bo Xilai) อดีต
สมาชิกคณะกรรมการกรมการเมือง และโจวหย่งคัง (Zhou Yongkang) หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
จีนเป็นต้น นอกจากนี้ สีจิ้นผิงยังพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของพรรคและรัฐที่ฟุ่มเฟือยและ
เต็มไปด้วยอภิสิทธิ์ให้ดีขึ้น ด้วยการจากัดเรื่องเหล่านี้ลง เช่น กาหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐและพรรค
ทานอาหารอย่างประหยัด ข้อนี้สีจิ้นผิงให้ความสาคัญมากเพราะถือบทเรียนจากพรรค
คอมมิวนิสต์โซเวียตที่เต็มไปด้วยอภิสิทธิ์และการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจนเป็นสาเหตุหนึ่ง
ที่ทาให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา พรรคเสียความชอบธรรมในการปกครอง และระบอบสังคมนิยม
โซเวียตล่มสลายในท้ายสุด ผู้นาจีนเวลานี้รู้ว่าหาก “ชาระหรือสังคายนาพรรค” ให้สะอาดไม่ได้
สุดท้ายพรรคจะสูญเสียศรัทธาจากชาวจีนและความชอบธรรมที่จะปกครองจีนไปแน่นอน แต่
ตลกร้ายสาหรับพรรคคือ การชาระพรรคให้สะอาดอย่างแท้จริงนั้น อาจสร้างผลสะเทือนรุนแรง
จนพรรคล่มสลายไปได้ด้วยเช่นกัน
6
โดยสรุป สภาวการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนในยุคสีจิ้นผิงนี้เป็นช่วงที่จีนเข้าสู่ “ช่วง
เปลี่ยนผ่าน” อีกครั้งหนึ่ง ที่สาคัญไม่แพ้สมัยที่เติ้งเปลี่ยนจากจีนของเหมามาสู่จีนทุนนิยมในต้นทศวรรษ
1980 คาถามคือ จีนในยุคสีจิ้นผิงจะผ่านช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไปได้ราบรื่นเพียงใด โดยมีเดิมพันไม่น้อยไป
กว่าการคงอยู่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะผู้ครองแผ่นดินจีนเลย
สิ่งที่สาคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ เมื่อเรารู้จุดตายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าคือการรักษา
ความชอบธรรมในการปกครองของตน ด้วยการ “ต้อง” ทาให้จีนยิ่งใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจให้
ได้แล้ว เราก็จะสามารถกาหนดท่าทีหรือยุทธศาสตร์การต่างประเทศของเรากับจีนให้เป็นไปในเชิงรุก
และให้ได้ประโยชน์ที่ควรได้ มากกว่าจะสัมพันธ์แบบตั้งรับ เช่น ขอให้แพนด้าอยู่ประเทศไทยต่อไป
ตัวอย่างเช่น กรณีโครงการ Belt and Road ถ้ามองในมุมข้างต้นก็คือภารกิจการสร้างความ
ยิ่งใหญ่ของจีนด้านการต่างประเทศ และเป็นการสร้างความยิ่งใหญ่ของจีนทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ
ไปพร้อมกัน ตลอดเส้นทางทางบกและทางทะเล Belt and Road และโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบนี้ จึง
เป็น “ความจาเป็น” ของรัฐบาลจีนที่ต้องทาให้สาเร็จลุล่วง
ในส่วนที่เกี่ยวกับไทย เช่น การสร้างรถไฟจีนเชื่อมมาสู่ไทยก็เป็นสิ่งที่จีนต้องทา เพื่อเชื่อมต่อ
เส้นทาง BRI กับ ASEAN และเป็นโอกาสของจีนที่จะ “แสดง” เทคโนโลยีรถไฟให้ชาวโลกเห็นด้วย
ดังนั้น ไทยจึงไม่ต้องกลัวว่าจีนจะไม่มา และไม่ควรไปยอมตกลงแบบเสียเปรียบกับจีน เช่น ยอมซื้อ
รถไฟแพงหรือยอมให้กรรมสิทธิ์ที่ดินริมทางรถไฟตกเป็นของจีน เป็นต้น
7
ความคิดและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจจีน
ในยุคปัจจุบัน4
ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน
ในปี 2015 ตลาดหุ้นจีนตกลงไปราว 40 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลลดค่าเงินหยวน ดัชนีความเหลื่อมล้า
(Gini coefficiency) ในประเทศพุ่งสูงถึง 0.47 (ครั้งก่อนที่สูงเท่านี้คือช่วงก่อนปี 1949 ซึ่งปฏิกิริยาของจีน
คือการปฏิวัติ) จีนเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ถูกทาลายและมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ
คาถามจึงไม่ใช่ว่าเศรษฐกิจจีนตอนนี้อยู่ในช่วงขาลงใช่หรือไม่ แต่คาถามคือจะลงหนักหรือลงเบา (soft
or hard landing?) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะจัดการได้ดีแค่ไหน แต่ก่อนที่จะถึงตรงนั้น สิ่งที่เราควรหัน
กลับไปมองคือเศรษฐกิจจีนมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
เหตุอยู่ที่จีนไม่ได้มีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยเวินเจียเป่า
(Wen Jiabao) คือราว 15 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่เวินเจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ 10 ปี เขาทาการ
ปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองอย่างจริงจังน้อยมาก ไม่ได้มีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปัจจัยพื้นฐานเช่น
ไฟฟ้า ประปา น้ามัน ถ่านหิน ในระดับที่มีนัยยะสาคัญ ภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจจีนยังคงตกอยู่
ภายใต้การควบคุมสั่งการจากพรรค ผ่านโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจจีนที่ยังมีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เล่น
ส่วนใหญ่ การบริหารจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าเอกชนและล้าหลัง ทั้งยังเป็นช่องทางเอื้อต่อการคอร์รัปชั่น
และความไม่โปร่งใสในการบริหาร เพราะคนของพรรคและรัฐก็ยังผูกขาดตาแหน่งบริหารในรัฐวิสาหกิจ
เหล่านี้ การปราบคอร์รัปชั่นที่สีจิ้นผิงลุกขึ้นมาทานั้นก็ทาจริง เพียงแต่ว่านี่ไม่ใช่การปฏิรูปที่แท้จริง แต่
เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นทางของการคอร์รัปชั่นในจีนก็คือการที่อานาจทางการเมืองยังอยู่
ในมือคนส่วนน้อย และคนส่วนน้อยที่มีอานาจทางการเมืองนั้นก็เข้ามาผูกขาดระบบเศรษฐกิจ นี่คือผล
โดยตรงของการสร้างระบบเศรษฐกิจการเมืองลูกผสมขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกสมัยเติ้ง ซึ่งไม่ว่าจะ
เรียกว่า “ระบอบสังคมนิยมแบบจีน” (Socialism with Chinese characteristics) “ระบอบทุนนิยมที่กากับ
โดยรัฐ (state capitalism)” หรือ “ระบอบทุนนิยมทางเศรษฐกิจ อานาจนิยมทางการเมือง” ก็ตาม
ตัวอย่างเช่น การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลบอกว่าจะทานั้น (คือให้มีน้อยลง สนับสนุนให้เอกชน
มีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้น) ก็ทาไปอย่างแกนๆ คือลดจานวนรัฐวิสาหกิจได้จริง แต่ลดด้วยวิธีการ
ควบรวม ดังนั้น โดยสรุป 15 ปีที่ผ่านมาการปฏิรูปแบบจริงจังจึงลดลงอย่างชัดเจน ถ้าเทียบกับยุคจูหรงจี
4
ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยายของคุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอานวยการบริษัท Strategy613 ในเวที
สาธารณะเรื่อง อนาคตจีน: รุ่งหรือร่วง จัดโดย สถาบันจีน-ไทย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้าน
ยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ณ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม
2558
8
การที่รัฐบาลไม่ปฏิรูปใน 15 ปีนี้นั้น สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นความจาเป็นของรัฐบาลจีนยุคนั้น
เพราะยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลจีนช่วงทศวรรษ 2000 (ช่วงเวินเจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี) เป็น
ยุทธศาสตร์แบบ “ปั่นจักรยานขึ้นเขา” คือ การปั่นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุดในเชิง
ปริมาณ เพื่อจัดการกับปัญหาหลักทางเศรษฐกิจขณะนั้น อันได้แก่ 1. ปัญหาคนว่างงาน 2. ปัญหาหนี้
เสีย (NPL) ในภาคการธนาคารจีน (ที่เคยสูงถึงราว 40%) และ 3. ปัญหาเงินเฟ้อ
ปัญหาที่สะสมมาของเศรษฐกิจจีนในช่วงราว 15 ปีที่ว่านี้ อาจแบ่งเป็นสองระยะ คือ ช่วงที่
เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง กับช่วงที่เริ่มประสบปัญหา (ภาพที่ 1, 2)
ภาพที่ 1 ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจจีนในช่วงราว 15 ปีที่ผ่านมา (1)
9
ภาพที่ 2 ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจจีนในช่วงราว 15 ปีที่ผ่านมา (2)
ระยะแรก ช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง คือตั้งแต่ปี 1997 (คือหลังวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย)
ถึงปี 2003 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนถูกทาให้โตแบบปั่นจักรยานขึ้นเขา ในความหมายคือโตในอัตราที่เพิ่ม
มากขึ้นเรื่อยๆ และหยุดโตไม่ได้ เพื่อเร่งหนีจากปัญหาสองสามประการหลักดังกล่าวให้ทัน นี่เป็นยุทธวิธี
แก้ปัญหาของจีนในตอนนั้น ซึ่งก็ถือว่าประสบความสาเร็จ เพราะเมื่อถึงปี 2003 ขนาดของเศรษฐกิจจีนก็
ขยายตัวขึ้นมาก จนถึงขั้นที่ว่าสามารถส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดโลกของสินค้าตัวใดที่จีนซื้อให้แพง
ขึ้น หรือสินค้าตัวใดที่จีนผลิตออกมาขาย ให้ถูกลงได้ นั่นหมายความว่าเมื่อถึงปี 2003 เศรษฐกิจจีน
พัฒนามาจนถึงขั้นที่มีทั้งกาลังซื้อและกาลังการผลิตภายในประเทศอย่างมหาศาล และสามารถรักษา
อัตราเติบโตไว้ในช่วง 8-12 เปอร์เซ็นต์ต่อปีมาได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2010
ระยะที่สอง ปัญหาที่สะสมเริ่มเผยตัว หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เกิดในสหรัฐและลามสู่โลก
ระบบเศรษฐกิจจีนก็เริ่มเข้าสู่ช่วงใช้หนี้มากขึ้น ราวปี 2008 - 2009 เกิดเหตุการณ์ที่รัฐใช้เงินภาษีเข้าไป
อุ้ม (bail out) ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทากันมาในโลก คือรัฐบาลจีนใช้เงิน 4 ล้านล้านหยวน และในเวลา
เดียวกันพวกธนาคารจีนก็เพิ่มวงเงินสินเชื่อถึง 18 ล้านล้านหยวน ดังนั้นตัวที่เข้ามาช่วยดึงเศรษฐกิจจีน
ไว้ในตอนนั้นจริงๆ แล้วจึงมาจากเงินของบรรดาธนาคารมากกว่าเงินของรัฐ ซึ่งเป็นวิธีจัดการเศรษฐกิจ
แบบจีนๆ ซึ่งคิดง่ายๆ ว่า เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหา ภาคธนาคารมีเงินช่วยได้ก็เข้ามาช่วย เมื่อไรที่ภาค
ธนาคารแย่บ้าง ก็ค่อยเข้าไปช่วยธนาคาร อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ตอนนั้น ภาคการธนาคารของจีนก็เริ่มมี
ปัญหาแล้ว
10
ประเด็นสาคัญอยู่ที่ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นไปที่การปั่นตัวเลขการเติบโตเชิง
ปริมาณเป็นหลักในช่วงเวลา 15 ปี ยุคเวินเจียเป่านี้ ส่งผลให้จีน “จาเป็น” ที่จะไม่ทาหรือชะลอ
การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อเหตุผลต่างๆ เช่น รักษาอัตราการจ้างงาน การเติบโตทาง
เศรษฐกิจในระยะสั้นที่จาเป็นต้องโตไม่หยุดยั้ง รวมทั้งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนส่วนตัวของผู้นา
พรรคและรัฐในโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังมีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เล่นหลักนี้ด้วย
โดยสรุป ผลจากการไม่ปฏิรูปที่ผ่านมา ทาให้
 ทุนส่วนใหญ่ยังคงถูกรัฐบาลจัดสรรให้กับรัฐวิสาหกิจทั้งที่มีประสิทธิภาพและไม่มี
ประสิทธิภาพ รัฐวิสาหกิจจานวนมากก็ขาดทุน แทนที่จะนาไปสนับสนุนภาคเอกชนที่มีการ
บริหารที่ “มีประสิทธิภาพ” และ “แข่งขันได้” มากกว่า
 ประชาชนยังคงไม่ค่อยมีทางเลือกในการลงทุน อันสืบเนื่องมาจากในระบบเศรษฐกิจมีแต่
รัฐวิสาหกิจของรัฐที่ไม่ค่อยน่าลงทุน ทางเลือกเท่าที่คนจีนมีในการลงทุนก็คือเอาเงินไปใส่ใน
ธนาคารของรัฐ ตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ นี่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทาให้ราคาตลาด
อสังหาริมทรัพย์ขึ้น เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ลง คนก็ถอนเงินจากอสังหาริมทรัพย์ไปลงใน
ตลาดหุ้น หุ้นจีนก็ขึ้น อีกส่วนหนึ่งรัฐบาลก็ใช้มาตรการผลักดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นด้วย เพื่อระดม
ทุนไปให้กับรัฐวิสาหกิจ เพราะรัฐบาลไม่สามารถระดมทุนจากธนาคารได้อีกแล้ว แล้วหลังจาก
หุ้นจีนขึ้นสูงสุดในเดือนมิถุนายน ปี 2012 ราคาก็เริ่มลง รัฐบาลก็เข้าไปอุ้มโดยใช้เงิน 2.5 แสน
ล้านเหรียญสหรัฐ (แต่ราคาก็ยังตกลงไป 40 เปอร์เซ็นต์อย่างที่กล่าวไป)
สรุปคือ การไม่ปฏิรูประบบทั้งหมดที่กล่าวมา ทาให้ (ดูภาพที่ 3 )
1. หนี้สาธารณะ (หนี้ต่อ GDP) ของจีนสูงขึ้นมากและสูงขึ้นเร็ว จนทาให้จีนมีหนี้สาธารณะพอๆ
กับสหรัฐ แต่หนี้ของจีนแพงกว่าสหรัฐเกือบเท่าตัว
2. เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจจานวนมาก (ซึ่งมักเป็นคนของพรรค) “ปล่อยเกียร์ว่าง”
ไม่กล้าเสนอแนะนโยบาย ปรับปรุงอะไรใหม่ๆ โดยเฉพาะหลังจากนโยบายปราบคอร์รัปชั่นของ
สีจิ้นผิง
3. เมื่อตลาดหุ้นร่วงด้วย รัฐบาลก็เสียช่องทางสุดท้ายในการระดมทุนไปอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ
จากสภาวการณ์เศรษฐกิจจีนขณะนี้ จึงน่าตั้งคาถามว่า
1. มาตรการปฏิรูปของรัฐบาลยุคสีจิ้นผิง ซึ่งตั้งใจจะมาปฏิรูป จะออกผลได้ทันก่อนฟองสบู่จะแตก
หรือไม่
2. ผลกระทบจาก NPL ขณะนี้ ซึ่งถือเป็นระลอกแรก จะส่งผลสะเทือนมากน้อยเพียงใด ถึงขนาด
ทาให้ธนาคารแก้ปัญหาไม่ได้ และเลิกปล่อยกู้ให้แก่บรรดาธุรกิจที่ยังไม่ล้มในระลอกแรก อันจะ
11
นาไปสู่การเกิด NPL ระลอกสองเมื่อธุรกิจพวกนี้ล้ม (ซึ่งจะเป็นระลอกที่ใหญ่กว่าครั้งแรกมาก)
หรือไม่ การวิเคราะห์ในข้อนี้เทียบมาจากประสบการณ์ที่ได้จับตาความเป็นไปของ NPL ตอน
วิกฤตเศรษฐกิจปี ค.ศ.1997)
ภาพที่ 3 ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจจีนและคาถามต่ออนาคต
จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้กับเศรษฐกิจจีน
รัฐบาลจีนต้องพยายามช่วยเศรษฐกิจมากขึ้น ด้วยวิธีการเช่น
 ลดอัตราดอกเบี้ย
 ดึงเงินทุนสารองจากธนาคารชาติมาช่วย ซึ่งเงินคงคลังยังสามารถดึงได้อีกมาก แต่ปัญหาคือ
ธนาคารอาจจะไม่ยอมปล่อยเงินออกมาให้รัฐบาล ถ้าวัตถุประสงค์คือเพื่อไปอุ้มบริษัทหรือ
รัฐวิสาหกิจ เท่ากับว่าถึงมีเงินคงคลังมากก็ไม่ช่วยอะไรกับเศรษฐกิจจีน ถ้าธนาคารไม่ยอม
ปล่อยออกมา
12
 ลดค่าเงินหยวน ซึ่งยังลดได้อีกมาก แต่เพื่อเลี่ยงปัญหาปฏิกิริยาประท้วงจากสหรัฐอเมริกา
รัฐบาลอาจเลือกใช้วิธีคืนภาษี (VAT rebate) แก่ผู้ส่งออกของตน ซึ่งให้ผลเท่ากับการลดค่าเงิน
คือ เพิ่มศักยภาพให้ผู้ส่งออกจีนแข่งขันกับต่างชาติได้มากขึ้น
 เลิกหรือระงับการปฏิรูปบางเรื่อง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ควรทาในระยะยาว แต่การปฏิรูปบางเรื่อง
ถ้าทาในบริบทของเศรษฐกิจจีนที่พื้นฐานหลายตัวง่อยเปลี้ยไปแล้วในตอนนี้ จะยิ่งทาให้ลดอัตรา
การเติบโต เรื่องเหล่านี้ควรทาตั้งแต่ในสมัยเวินเจียเป่า เพราะทาได้โดยที่จะไม่กระทบการ
เติบโตมากนัก เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจหลายตัวของจีนตอนนั้นยังดี หรือถึงทาให้ลดก็ยังมี
ช่องว่างให้อัตราเติบโตลดลงมาแบบรับได้ เพราะตอนนั้นมีอัตราเติบโต 12 เปอร์เซ็นต์
อย่างไรก็ตาม สิ่งสาคัญที่คนยังไม่ค่อยตระหนักเมื่อมองภาพเศรษฐกิจจีนในภาวะ “ขา
ลง” นี้คือ จีนเวลานี้เข้าสู่ช่วงที่ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว จีนไม่ได้ต้องการอัตราการเติบโตของ
GDP แต่ละปีที่สูงเหมือนก่อน เพราะอย่าลืมว่า แต่ก่อนการเร่งและรักษาอัตรา GDP ให้โตต่อเนื่องนั้น
ก็เพื่อจะขยายฐานเศรษฐกิจให้กว้างออก เพื่อสร้างงาน เพื่อหนีจากปัญหาคนว่างงานที่เป็นความกังวล
ใหญ่ที่สุดของพรรคยุคนั้น (ราว 15 ปีที่ผ่านมา เพราะถ้าคนว่างงานมาก ความชอบธรรมในการปกครอง
ของพรรคที่ยึดกับการสร้างความ “กินดีอยู่ดี” ก็สั่นคลอน)
ในปัจจุบันแม้อัตราประชากรยังเพิ่มขึ้น แต่จานวนคนวัยแรงงานของจีนเริ่มลดลงแล้วประมาณ
3-4 ล้านคนต่อปี ปัญหาคนว่างงานจึงไม่ใช่ความกังวลอันดับหนึ่งของพรรคอีกต่อไป ดังนั้น โจทย์ทาง
เศรษฐกิจในยุคสีจิ้นผิงจึงเปลี่ยนมาเน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงคุณภาพ พัฒนาเศรษฐกิจเชิงลึก หรือ
ในคาของพรรคคือ “นาการปฏิรูปมาสู่น่านน้าลึก”
จีน ณ วันนี้ต้องการอัตราการเติบโตราว 8% ต่อปี ที่ต้องการถึง 8% ขณะที่ประเทศอื่นๆ โตได้
3-4 % คนก็พอใจแล้ว ก็เพราะจีนยังติดปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะสะสมมหาศาลที่กล่าวไป ถ้าไม่ติดเรื่อง
หนี้ รัฐบาลจีนก็สามารถกาหนดอัตราเติบโตไว้ที่ 3-4% ก็สามารถอยู่ได้สบายๆ เพราะไม่มีปัญหาเรื่อง
คนว่างงานแล้ว
ดังนั้น หากจีนผ่านปัญหาเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้แล้ว จีนก็จะสามารถทาการปฏิรูปเศรษฐกิจใน
หลายๆ เรื่องที่เขาต้องการทา เพราะควรจะทามาเมื่อหลายปีก่อนได้ แต่ในช่วงนี้ประเด็นว่าจะผ่านได้
หรือไม่ได้อยู่ที่ว่าธนาคารจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคาสั่งของรัฐบาลให้ปล่อยกู้ในภาวะเศรษฐกิจ
ที่ชะลอตัว ซึ่งต้องอาศัยความกล้าของธนาคารเหล่านี้ หากกล้าปล่อยเงินกู้ให้ธุรกิจ (หรือ
รัฐวิสาหกิจ) ที่ดูแล้วไม่น่าจะไปรอด แต่รัฐบาลสั่งให้ปล่อย เศรษฐกิจก็อาจจะฟื้น แต่ถ้าไม่กล้า ซึ่ง
แนวโน้มก็เป็นในทางนี้ เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่รัฐจีนต่างกลัวปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่นจากนโยบายปราบ
คอร์รัปชั่นของสี เลยไม่กล้าลงมือทาอะไรที่เสี่ยงมากนัก) ธุรกิจที่ดูน่าจะล้มเหล่านี้ ก็จะล้มจริงแน่นอน
เมื่อไม่สามารถหาทุนมาต่อชีวิตได้ แล้วคราวนี้ ปัญหาเรื่อง NPL ระลอกใหญ่ก็จะตามมา และคนที่จะล้ม
ต่อก็คือกลุ่มธนาคารเอง (เหมือนสหรัฐในปี 2008) โดยเฉพาะธนาคารขนาดเล็กๆ และเมื่อธนาคารพวกนี้
เริ่มล้ม ก็จะทาให้ธนาคารอื่นๆ ระวังการปล่อยกู้แก่ธุรกิจมากขึ้นไปอีก นี่จึงกลายเป็นวงจรปัญหาที่มี
แนวโน้มจะนาไปสู่วิกฤตของเศรษฐกิจจีนในอนาคตอันใกล้ (ภาพที่ 4)
13
ภาพที่ 4 มาตรการแก้ไขเศรษฐกิจตกต่าที่รัฐบาลจีนน่าจะทาจากนี้
และวิกฤตระลอกสองที่อาจเกิดตามมา
หากเกิด “วิกฤต” ขึ้นมาจริงแล้ว จะเกิดอะไรต่อไป
ผลระยะสั้น
 อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะลดลงอีก
 นายทุนจีน ทั้งที่เป็นบริษัทและเป็นนักลงทุนปัจเจก ที่ยังมีทุนและต้องการลงทุน ก็จะยิ่งไม่รู้ว่า
จะไปลงทุนที่ช่องทางใดดี เพราะรัฐบาลก็ยังมีมาตรการควบคุมเรื่องการนาเงินเข้า-ออกประเทศ
อยู่พอสมควร ตลาดอสังหาริมทรัพย์กับตลาดหุ้นในประเทศก็เสี่ยงเกินไปแล้วในเวลานี้ เพราะใน
เวลาเศรษฐกิจขาลง ภาคการเงินต้องระวัง “การตื่นตระหนก (panic)” ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริง
หรือไม่จริงไม่สาคัญ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วตลาดเงินร่วงแน่นอน
เรื่องการตื่นตระหนกของนักลงทุนจีน จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวที่น่าห่วงว่าจะทา
ให้ปัญหาในภาคการเงินของจีนลามออกนอกประเทศ คือทาให้นักลงทุนต่างชาติที่ถือหุ้น
14
จีนล้มไปด้วย เพราะโดยธรรมชาติตลาดทุนของจีนนั้นปิดอยู่แล้ว เพราะมีการควบคุมของรัฐกั้น
อยู่ ไม่เหมือนกับตลาดทุนสหรัฐที่เมื่อมีปัญหาก็จะกระจายลามไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เพราะ
เมื่อดูตัวเลข เวลานี้แม้ตลาดหุ้นจีนติดลบไปถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสามอาทิตย์แรกที่
ติดลบ ตลาดหุ้นโลกไม่ได้รับผลกระทบปรับขึ้นหรือลดลงเลย เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่ค่อย
กังวล เทียบกับกรณีประเทศกรีซซึ่งขนาดเศรษฐกิจเล็กมากเมื่อเทียบกับจีน แต่เมื่อเกิดปัญหา
ขึ้นมา นักลงทุนต่างชาติเป็นกังวลมากกว่า อย่างน้อยในระยะแรกๆ เพราะตลาดกรีซเชื่อมโยง
อย่างเสรีกับตลาดโลกมากกว่าจีนมาก
ผลระยะยาว (ภาพที่ 5)
 ตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนต้องเปลี่ยน จากตัวแบบที่เน้นอัตราเติบโตเชิงปริมาณสูงและ
เร็ว มาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และมองผลในระยะยาวมากขึ้น ทั้งในเรื่องคุณภาพชีวิต
คน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
 ระบบที่พึ่งการลงทุน การผลิตเพื่อส่งออก ต้องเปลี่ยนเป็นระบบที่พึ่งการใช้จ่ายบริโภคใน
ประเทศมากขึ้น
 การผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งเคยเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล
สาหรับจีนที่จะลงทุนทา ก็ควรจะลดลง เพราะจีนไม่ได้อยู่ในช่วงเร่งสร้างปัจจัยพื้นฐานของ
ประเทศแล้ว อีกทั้งอุตสาหกรรมหนักทาลายสิ่งแวดล้อมมาก ในทานองนี้ หลายอย่างที่จีนเคย
ทาก็ควรจะเลิกทาไปตามบริบทที่เปลี่ยนไป
 การปรับตัวเหล่านี้จะส่งผลให้อัตราเติบโตเศรษฐกิจของจีนลดลง แต่เป็นการลดที่เป็นไปตาม
ธรรมชาติ เพราะเศรษฐกิจจีนพัฒนามาสู่อีกขั้นหนึ่งแล้ว
15
ภาพที่ 5 การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจีนนับจากนี้ในระยะยาว
2. อนาคตการลงทุนของจีนในประเทศไทย
การลงทุนของจีนในต่างประเทศนั้น เป็นโอกาสที่มาจากการชะลอตัวภายในประเทศของ
จีนเอง เพราะก่อนหน้านี้ การลงทุนของจีนในต่างประเทศนั้นมีน้อยเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจใหญ่อื่นของ
โลก เช่น ญี่ปุ่นหรือสหรัฐ เป็นเพราะถูกรัฐสั่งให้ออกไปเสียมากในรูปของรัฐวิสาหกิจ นักลงทุนจีนหรือ
บริษัทเอกชนไม่ค่อยออกไปลงทุนต่างประเทศมากนัก เพราะเหตุผลหลายประการ เช่น โครงสร้างการ
บริหารของบริษัทจีนมีลักษณะของตัวเอง (เช่น มีบอร์ดบริหารควบคุมหลายระดับ ทั้งระดับบริษัท ระดับ
บอร์ดภายนอก และบอร์ดของพรรค เป็นต้น) การทางานของจีนมักช้าเพราะติดระบบราชการหลายขั้น
ทีมงานเอกชนจีนไม่ค่อยมีลักษณะ “อินเตอร์” นัก มีคนเก่งจานวนน้อยที่จะใช้ภาษาอังกฤษ (แม้อาจจะ
พอใช้ได้) ยกเว้นคนรุ่นใหม่ (ภาพที่ 6)
16
ภาพที่ 6 ข้อด้อยของการลงทุนจากจีนสู่ต่างชาติ ในอดีตและปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปนักลงทุนเอกชนจีนจะต้องการออกมาลงทุนนอกประเทศจีนเองมาก
ยิ่งขึ้น รวมทั้งในประเทศไทย เพราะเศรษฐกิจจีนมีปัญหาอย่างที่กล่าวไป นักลงทุนไม่มีช่องทางที่ดีพอใน
การลงทุนในประเทศ เพราะไม่ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลาดทุน ล้วนมีความเสี่ยงมาก และสภาวะ
เศรษฐกิจจีนขณะนี้ อย่างที่กล่าวไป ก็ยังอยู่ในช่วงดู “ทิศทางลม” ว่าจะถลาลงสู่ “วิกฤต” ครั้งใหญ่ หรือ
จะผ่านช่วงชะลอตัวนี้ไปอย่างไม่เจ็บตัวมากนัก
ควบคู่ไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ไม่น่าลงทุน ยุทธศาสตร์การต่างประเทศของ
รัฐบาลสีจิ้นผิงก็เป็นแรงขับสาคัญยิ่งที่เปิดทางให้นักลงทุนเอกชนจีนจะออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
นั่นคือ กรอบยุทธศาสตร์ One Belt One Road หนึ่งถนนทางบก และหนึ่งเส้นทางเดินเรือ ที่จะเชื่อม
จีนสู่ตะวันตก และเหล่าประเทศรายทาง ซึ่งถือเป็น กรอบยุทธศาสตร์ที่ดูดีที่สุดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา
เพราะเป็นทางออกสาหรับทั้งรัฐบาลและเอกชนจีนแบบ “ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว” (ดูภาพที่ 7)
 ประเทศจีนจะได้ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ออกนอกประเทศ
มากขึ้น ตั้งแต่เอเชียกลาง เอเชียใต้ สู่ยุโรป
 จีนจะได้ใช้โอกาสนี้ระบายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของจีนที่ over supply ออกภายนอก
โดยเฉพาะสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ระบายรถไฟและเทคโนโลยีระบบรางของจีนมาขายให้
ประเทศไทย ซึ่งผลที่ได้กลับมาคือการแก้ปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลังของประเทศ
เพื่อนบ้านรายรอบจีน จากที่เคยเป็นอุปสรรค จะทาให้การเชื่อมต่อขนส่ง ทั้งคนและของจากจีน
ออกสู่ตลาดภายนอกได้สะดวกขึ้นมาก ซึ่งหมายถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของจีนที่เพิ่มขึ้นในตลาด
ใหม่ๆ เหล่านี้ด้วย
17
 จีนได้โอกาส Recycle พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (US treasury bond) ที่ถือเอาไว้มหาศาลโดยไม่
เกิดประโยชน์ เอามาลงในโครงการลงทุนในต่างประเทศ
 ธนาคาร AIIB และ Silk Road Fund ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของ OBOR นั้น สาหรับจีนเป็นวิธี
“แปลง” พันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่มากเกินไปเป็นโครงการลงทุน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน และ
โดยเฉพาะ “การสร้างถนน” ในการนี้ ประเทศที่น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากทุกประเทศใน
โลกจากสองกองทุนนี้ก็คือ ประเทศไทย
 การที่จีนออกสู่โลกภายใต้ธง One Belt One Road ที่รัฐบาลเดินนาและเอกชนยินดีเดินตามนี้
เป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้สกุลเงินหยวน (RMB) ถูกใช้เป็นสกุลเงินสากล ซึ่งเป็นนโยบาย
หลักของรัฐบาลจีนเวลานี้อยู่แล้ว
ภาพที่ 7 โครงการ One Belt One Road กระตุ้นการลงทุนของจีนในต่างประเทศ
3. อนาคตการลงทุนของไทยในประเทศจีน
ภาพรวมคือ นักลงทุนไทยที่ต้องการเข้าไปลงทุนในจีนต้องตระหนักว่าวันนี้จีนมาถึงจุดเปลี่ยน
ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกครั้ง นั่นคือ จีนวางยุทธศาสตร์ให้ตนเป็น “ตลาดโลก” มิใช่ “โรงงานของโลก”
เช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป จากกรอบนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมแบบเก่าจะไม่ได้รับความสนใจจากจีนอีก
ต่อไป เช่น อุตสาหกรรมหนักที่ทาลายสิ่งแวดล้อมหรือใช้พลังงานสิ้นเปลืองในการผลิต จาพวกการ
18
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมที่ป้อนธุรกิจเหล่านี้อีกทอด เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ถ่านหิน
หรือการลงทุนในสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งจาเป็นพื้นฐานสาหรับมนุษย์ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง การ
ลงทุนในธุรกิจพวกนี้จึงเป็นอดีต หรือกาลังจะกลายเป็นอดีต ไม่ใช่อนาคต
อนาคตของเศรษฐกิจจีน คือ เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ สิ่งสาคัญที่จีนให้ความสาคัญที่สุดคือ
“นวัตกรรมใหม่” การลงทุนจากต่างชาติที่จะมีอนาคตในจีน ล้วนต้องตอบคาถามให้ได้ว่าจะมอบ
นวัตกรรมใหม่อะไรที่จีนยังไม่มีให้ได้ จึงจะได้รับความสนใจจากจีน การลงทุนที่น่าจะมีอนาคตในจีน
ต่อไป เช่น การลงทุนในธุรกิจจาพวกที่เน้นเทคโนโลยีขั้นสูง ธุรกิจดิจิทัล industry 4.0 การค้าแบบ
E-commerce (ซึ่งเป็นที่นิยมมากของตลาดผู้บริโภคชาวจีน) ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจด้านบริการ ด้าน
สุขภาพ และด้านการศึกษา รวมถึง ธุรกิจที่ผลิตสินค้าที่คนจีน “ขาดไม่ได้” เช่น อาหาร บุหรี่ เป็นต้น
(ภาพที่ 8)
ภาพที่ 8 ธุรกิจที่มีอนาคต “สดใส” และ “ไม่สดใส” สาหรับการลงทุนในจีนนับจากนี้
นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคานึงในการเข้าไปทาธุรกิจในจีน นับจากนี้ มีดังต่อไปนี้ (ภาพที่ 9, 10)
 จะต้องเพิ่มความสาคัญเรื่องการปรับให้มีความโปร่งใสและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย
ของรัฐบาลจีน
 สัมพันธภาพที่ดีกับพรรคและรัฐยังเป็นปัจจัยสาคัญในการทาธุรกิจในจีน
19
 ตระหนักถึง “ลักษณะเฉพาะตัว” ของทัศนคติต่อเรื่อง “คู่ค้า (partnership)” แบบจีน ที่
ต่างจากตะวันตกที่เน้นยึดหลักตามสัญญาลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด ขณะที่วงการธุรกิจ
จีนจะเน้น “สัญญาใจ” มากกว่า การทาให้ “ได้ใจ” กันจึงมีความสาคัญสาหรับการทาธุรกิจกับ
คู่ค้าคนจีน เมื่อ “ไว้ใจ” กันแล้ว การทาธุรกิจร่วมกันก็จะสะดวกสบายแบบ “หยวนๆ” ได้
 อย่าไว้ใจข้อมูล โดยเฉพาะตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนประกาศออกมา
 รัฐวิสาหกิจจะมีเสถียรภาพมากกว่าภาคเอกชน และบริษัทใหญ่สายป่านยาวก็จะมีโอกาสอยู่รอด
มากกว่า SMEs ในสภาวะทางเศรษฐกิจช่วงนี้
ภาพที่ 9 ข้อคานึงสาหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนในจีน (1)
20
ภาพที่ 10 ข้อคานึงสาหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนในจีน (2)
21
ความคิดและยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน
ในปัจจุบัน
แกนหลักของยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงเติ้งเสี่ยวผิงเปิดประเทศถึงขณะนี้ ชัดเจน
ว่าอยู่ที่การสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือเรียกได้ว่าจีนเอาการทูต การเมืองมารับใช้เป้าหมาย
ทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความมั่งคั่งร่ารวยจึงครองความสาคัญสูงสุดใน
วาระแห่งชาติจีนนับแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา
เมื่อดูยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีนให้ชัดขึ้น คาที่ช่วยให้เห็นภาพมากคือ ในขณะที่อเมริกายึด
หลัก Have Gun No Trouble มาแต่โบราณถึงปัจจุบัน ต้องการอะไรก็ใช้กาลังที่เหนือกว่าของตนบังคับ
คนอื่นลง แต่จีนในเวลานี้ใช้หลัก Have Yuan No Trouble คือใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนาในการทาการ
ต่างประเทศ ในการผูกสัมพันธ์ทางการเมืองกับนานาประเทศ ในการไปสร้างอิทธิพลและความนิยมใน
ประเทศอื่น เช่น ในแอฟริกา จีนเป็นที่ต้อนรับมาก เพราะไม่มีใครพร้อมให้ทุนและความรู้แก่แอฟริกา
เท่ากับจีนแล้วในเวลานี้ และสาหรับเอเชียกลางเรื่อยไปถึงเยอรมัน และอาเซียนเรื่อยไปถึงเอเชียใต้ จีนก็
มียุทธศาสตร์ One Belt One Road หนึ่งเส้นทางทางบก หนึ่งเส้นทางทางทะเล เป็นโอกาสทาง
เศรษฐกิจให้เช่นกัน และจีนก็ไปลงทุนมหาศาลในอังกฤษ และประเทศยุโรปอื่นๆ กล่าวได้ว่าเวลานี้ถนน
ทุกสายมุ่งสู่จีน ใครก็ตามที่อยากมีโอกาสทางเศรษฐกิจในโลกเวลานี้ต้องเข้าหาจีน มหาวิทยาลัยชื่อดังใน
สหรัฐ ในอังกฤษ ต่างไปเปิดสาขาในจีน มุ่งเอานักศึกษาจีนเป็นลูกค้าหลัก จีนขยายการค้าทั้งทางบก
ทางน้า ทางอากาศ ทางอากาศก็คือการค้าผ่านอินเทอร์เน็ต (E-commerce) ซึ่งจีนก็พัฒนาจนมีระบบ
ดังกล่าวที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยสรุป เวลานี้จีนไปไหนในโลกก็พูดภาษาเงิน ภาษาเศรษฐกิจเป็น
หลัก
จีนในเวลานี้ยังเป็นจีนที่ยอมรับ “ความปกติแบบใหม่ (New Normal)” ด้วย คือเป็นจีนที่
ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก และพร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นี้ ไม่
ปฏิเสธวิธีการอะไรจากอุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองอีกต่อไป จีนเวลานี้รับหมดทุกอย่างที่ใช้
แล้วดี ทุกอย่างที่ทาแล้วพาจีนไปสู่เป้าหมายคือความมั่งคั่งได้ โดยไม่สนใจว่านั่นเป็นของตะวันตก นี่เป็น
ของอเมริกา หรือเป็นทุนนิยมหรือไม่ เช่น E-commerce และเทคโนโลยี cyber จีนก็พัฒนาจนสู้สหรัฐได้
นวัตกรรมอะไรที่ใหม่ที่คนอื่นทาได้ดีกว่าจีน จีนก็ซื้อ จีนก็เอามาศึกษาหมด เช่น จีนเพิ่งซื้อต้นแบบ
เครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียที่ยังไม่ออกจาหน่าย
ภายในจีนเองก็เปลี่ยน ปัจจุบันนายทุนชั้นนาของจีนไม่เพียงแต่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกพรรค
คอมมิวนิสต์ แต่เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการกลางพรรคได้แล้ว คาว่า ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (market
economy) ที่ก่อนหน้านี้ต้องพ่วงคาว่า with Chinese characteristics เวลาก็นี้ไม่ต้องแล้ว สรุปคือจีน
พร้อมจะเรียนรู้ทุกแบบ จากทุกฝ่าย เป็น pragmatism ที่สุด ควานหาความรู้ทั่วโลก เอาความรู้
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

Más contenido relacionado

Similar a ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...Klangpanya
 
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...Klangpanya
 
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนKlangpanya
 
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreenNSTDA THAILAND
 
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561Klangpanya
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางUSMAN WAJI
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางKlangpanya
 
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี Klangpanya
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนKlangpanya
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยKlangpanya
 
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559Klangpanya
 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนKlangpanya
 
การจัดการศึกษาของจีน
การจัดการศึกษาของจีนการจัดการศึกษาของจีน
การจัดการศึกษาของจีนPhakawat Owat
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศโลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศKlangpanya
 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนKlangpanya
 

Similar a ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ (20)

ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ... ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
ประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่สุดที่จีนได้รับจากการปฏิรูป (ด้านเศรษฐกิจและการบริหารภ...
 
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
ผู้นำจีนคณะใหม่หลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ครั้งที่ 19 : บทเรีย...
 
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีนข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
ข้อเสนอนโยบาย One belt one road ของจีน
 
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
20100618 research-strengthen-thailand-fullscreen
 
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
World Think Tank Monitor มีนาคม 2561
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลางบทบาทของจีนในเอเชียกลาง
บทบาทของจีนในเอเชียกลาง
 
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
จากแร้นแค้นสู่มั่งคั่ง ย้อนมองเศรษฐกิจจีนรอบ 40 ปี
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัฒน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
World Think Tank Monitors l มีนาคม 2559
 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
 
การจัดการศึกษาของจีน
การจัดการศึกษาของจีนการจัดการศึกษาของจีน
การจัดการศึกษาของจีน
 
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
World Think Thank Monitors กรกฎาคม พ.ศ.2558
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
V 289
V 289V 289
V 289
 
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศโลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
โลกหลังโควิด-19: บริบทใหม่ในมุมมองไทยและต่างประเทศ
 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
 

Más de Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 

Más de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 

ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ

  • 1. ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดร.สารสิน วีระผล อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย
  • 2. ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดร.สารสิน วีระผล อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล คุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย เนื้อหาถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยาย โดย ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล และคุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย ในเวทีสาธารณะเรื่อง อนาคตจีน : รุ่งหรือร่วง จัดโดย สถาบันจีน-ไทย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 และ จากการบรรยายของ ดร.สารสิน วีระผล ในเวที Ambassadors’ Forum ครั้งที่ 1 เรื่อง ยุทธศาสตร์ของไทยต่อดุลแห่งอานาจใหม่ในศตวรรษที่ 21 จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับ สถาบันการทูตและการต่างประเทศ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2558 สรุปและเรียบเรียง : ปาณัท ทองพ่วง บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ที่ปรึกษา : ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อานวยการผลิตโดย : สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่เผยแพร่: มีนาคม 2561 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขต จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. 1 ความคิดและยุทธศาสตร์การเมืองจีน ในยุคปัจจุบัน1 ประเทศจีนใหม่ไม่เหมือนจีนเก่า ประเทศและสังคมจีนมีพลวัตและการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เป็นลาดับขั้น ก่อนที่เราจะไปทาความรู้จักกับสาระของนโยบาย หรือจะเรียกว่า ยุทธศาสตร์ หรือ “มหา ยุทธศาสตร์” BRI ของจีน การทาความเข้าใจความคิดและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองจีนโดยเฉพาะ ในยุคปัจจุบัน การเข้าใจสภาพแวดล้อมและบริบทของจีนที่คิด BRI ขึ้นมารวมทั้งข้อมูลรายละเอียดที่ทา ให้เข้าใจจีนมากขึ้นทั้งในมิติการเมือง อุดมการณ์ เศรษฐกิจ สังคม เข้าใจความแตกต่างของภาคส่วน ต่างๆ ที่รวมเป็นจีน ทั้งพรรคคอมมิวนิสต์ รัฐบาล ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจจะช่วยให้เราเข้าใจความสาคัญ และตาแหน่งแห่งที่ของ “มหายุทธศาสตร์” นี้ในสังคมจีนได้ดียิ่งขึ้น เมื่อพูดถึงจีนใหม่ในปัจจุบันก็ไม่ได้หมายความถึงจีนในยุคเหมาที่เทียบกับจีนยุคเก่าคือยุค ราชวงศ์ และก็ไม่ได้หมายถึงจีนสมัยปฏิรูปประเทศเป็นทุนนิยมในยุคเติ้ง เพราะนั่นก็คือจีนเก่าไปแล้ว จีนใหม่ในที่นี้คือ จีนในยุคที่มีประธานาธิบดีชื่อ สีจิ้นผิง ซึ่งเป็นยุคที่สังคมจีนเดินมาถึงจุดเปลี่ยนผ่านที่ สาคัญอีกครั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการต่างประเทศ ความคิดและยุทธศาสตร์การเมืองจีนในยุคปัจจุบัน ขนาดความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและจีนมีขนาดใหญ่มาก ดูจากมูลค้าการค้าระหว่างกัน2 และการที่ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตและกงสุลตามเมืองต่างๆ ของจีนมากมาย ขนาดความสัมพันธ์นี้ ชัดเจนว่าจะขยายขึ้นอีกมากในอนาคต แต่สิ่งที่ประเทศไทยจะ “ตกม้าตาย” คือการขาดบุคลากรที่ใช้ ภาษาจีนได้ ซึ่งปัจจุบันมีน้อยมากไม่เพียงพอกับความต้องการ ตรงนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันต่อไป ดังนั้นสถาบันการศึกษาของไทย โดยเฉพาะภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและ การทูตของมหาวิทยาลัยต่างๆ ควรเร่งรับคนที่มีความรู้ภาษาจีนให้เข้ามาเรียนด้านนี้ 1 ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยาย โดย อดีตเอกอัครราชทูตวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจา ประเทศจีน ในเวทีสาธารณะเรื่อง อนาคตจีน: รุ่งหรือร่วง จัดโดย สถาบันจีน-ไทย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ณ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 8.30 - 12.00 น. 2 จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์ไทย ในปี 2559 จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างกันคิดเป็นร้อย ละ 16 ของมูลค่าทั้งหมดของการค้าไทยกับต่างประเทศ ดู http://www2.ops3.moc.go.th/
  • 4. 2 ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เข้ามาเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2012 แต่เป็นอย่างเป็นทางการคือได้รับ การรับรองจากสมัชชาใหญ่ของพรรคก็ในปี 2013 และหากไม่มีอะไรผิดพลาดจะดารงตาแหน่งไปจนถึงปี 2023 สีจิ้นผิงถูกนับว่าเป็น ผู้นาจีนรุ่นที่ 5 (นับเฉพาะผู้นาสูงสุดหรือ Paramount Leader) ต่อจากเหมา เจ๋อตง เติ้งเสี่ยวผิง เจียงเจ๋อหมิน และหูจิ่นเทา ช่วงเวลาที่สีจิ้นผิงเข้ามาเป็นประธานาธิบดีนั้นเป็นช่วงสาคัญมาก คือเป็นจุดเริ่มของการพัฒนา แบบทุนนิยมทางเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของจีน ซึ่งแตกต่างมากจากช่วงระยะแรกคือสามสิบปีก่อนหน้า นี้ 1. การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองจีนระยะที่ 1: “ปฏิรูป-เปิ ดประเทศ” (ก่ายเก๋อ-คายฟั่ง) 1979-2011 ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยุคเติ้งเสี่ยวผิงปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่แบบช็อคโลกด้วยการเปลี่ยน จากระบอบเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง มาสู่ระบอบเศรษฐกิจแบบตลาดหรือทุนนิยมนับแต่ปี 1979 นั้น มีหลักการอยู่ที่การ “ปฏิรูปและเปิ ดประเทศ” (ก่ายเก๋อ-คายฟั่ง) นับแต่นั้นมาสามทศวรรษ จีนก็เน้นเศรษฐกิจแบบ labor-Intensive คือทาตัวเป็น โรงงานโลก กดค่าแรงในประเทศให้ถูกเพื่อดึงดูด ทุน วิทยาการความรู้และเทคโนโลยีจากต่างชาติ โดยเฉพาะจากตะวันตก และเป็นผู้ผลิตสินค้าป้อนโลก รายใหญ่ที่สุด กล่าวคือ การพัฒนาเศรษฐกิจของจีนสามสิบปีที่ผ่านมาเป็นแบบเน้นปริมาณมากกว่า คุณภาพ เพื่อเร่งพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะความเจริญทางวัตถุให้วิ่งทันตะวันตกให้เร็วที่สุด ถึงปัจจุบัน จีนก็ทาได้จริงตามเป้าหมายดังกล่าว คือเป็นเศรษฐกิจอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐ3 เป็นเจ้าหนี้ สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มาถึงจุดนี้ จีนก็ได้ทบทวนบทเรียนและผลข้างเคียงของยุทธศาสตร์ระยะแรกที่ผ่าน มา ที่สาคัญมีดังนี้  ความเหลื่อมล้าทางเศรษฐกิจในประเทศ ช่องว่างระหว่างคนจนและคนรวยหรือค่า Gini coefficiency ในปัจจุบันนั้นสูงจนถึงระดับเดียวกับเมื่อเกิดการปฏิวัติปี 1949  ปัญหาคอร์รัปชั่นที่ทั้งหยั่งรากลึกและขยายวงกว้างไปทุกภาคส่วน ทั้งพรรค รัฐ และเอกชน  ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาใหญ่ทั้งสามนี้ จีนเปรียบเป็น “กระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยาก” เป็นราคาที่จีนต้องจ่ายเพื่อแลก มากับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดที่สร้างความพิศวงให้ทั่วโลก ที่สามารถสร้างอัตราการเติบโต ได้ต่อเนื่องเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีมาตลอดหลายทศวรรษ ซึ่งไม่มีใครทาได้มาก่อน 3 จากข้อมูลสถิติของธนาคารโลกในปี 2017 เศรษฐกิจจีนเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ ถ้าคิดจาก GDP ที่เป็นจานวน เงิน แต่ถ้าคิดจาก GDP (PPP) หรือกาลังซื้อจริง เศรษฐกิจจีนมีขนาดใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกแล้ว ดู http://databank.worldbank.org/data/download/GDP.pdf และ http://databank.worldbank.org/data/download/GDP_PPP.pdf
  • 5. 3 2 การพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองจีนระยะที่ 2: “ปฏิรูป-สร้างนวัตกรรม” (ก่ายเก๋อ-ช่วงซิน) 2012 - ปัจจุบัน การพัฒนาระยะนี้เปรียบเสมือน anti-thesis ของตาราการพัฒนาเศรษฐกิจจีนยุคก่อนหน้า ด้วย ผู้นาพรรคคอมมิวนิสต์จีนปัจจุบันเล็งเห็นว่าปัญหาใหญ่ทั้งสามประการที่กล่าวมาจะสร้างผลสะเทือนต่อ ความชอบธรรม (legitimacy) ในการปกครองแผ่นดินจีนของพรรคอย่างรุนแรงที่สุด หากยังปล่อยให้ ดาเนินไปโดยไม่จัดการเด็ดขาด ดังนั้น ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดของแผนพัฒนาระยะที่สองนี้ จึง จาเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาความชอบธรรมที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบอยู่  ปัญหาเรื่องความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ต้องไม่ลืมว่า ปัจจุบันพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องดิ้นรนหนักขึ้นทุกวันกับการอธิบายสภาวะ dilemma ที่ถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ระหว่างอุดมการณ์สังคมนิยมมาร์กซิสม์ - เหมาอิสม์ที่พรรคในยุคเหมา เคยใช้เป็นรากฐานในการอ้างความชอบธรรมครองแผ่นดินจีนหลังปี 1949 กับสภาพความเป็นจริงของ การพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาด ที่มาเปลี่ยนในยุคเติ้ง เติ้งเสี่ยวผิงได้เผชิญและผ่านภาวะนี้มาแล้วด้วย วาทกรรม “แมวสีไหนถ้าจับหนูได้ ก็เป็นแมวที่ดี” อันโด่งดัง อย่างไรก็ตาม พรรคยุคสีจิ้นผิงกาลังเผชิญ กับสภาวะเดียวกัน แต่หนักหนากว่า เพราะอุดมการณ์กับความเป็นจริงนี้ถ่างห่างกันมากขึ้นมากจากยุค เติ้ง ในปัจจุบัน จีนมีชนชั้นกลางที่เป็นพลเมืองเน็ต (netizen) กว่า 600 ล้านคน มีเมืองทันสมัยมากมาย ระบบเศรษฐกิจที่เป็นทุนนิยมเต็มตัวกว่ายุคเปิดประเทศใหม่ๆ มาก แต่สิ่งที่ยังเหมือนเดิมมาตั้งแต่สมัย เหมาคือระบอบการเมืองที่พรรคเดียวครองอานาจเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้ วิเคราะห์ได้ว่า ฐานความชอบธรรมหลักที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้อ้างปกครองแผ่นดินจีน ในแต่ละยุค มีดังนี้  ยุคเหมา อยู่ที่ อุดมการณ์สังคมนิยมแบบมาร์กซิสม์ - เหมาอิสม์ กล่าวคือ ความเสมอภาค ทางเศรษฐกิจ  ยุคเติ้ง ฐานความชอบธรรมในการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนยุคนี้เปลี่ยนมายึดโยงอยู่ กับ ประสิทธิภาพของพรรคในการบริหารประเทศ (performance-based ruling legitimacy) โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน อย่างไม่หยุดยั้ง หรือการสร้างสังคมที่เจริญทางวัตถุ สร้างเศรษฐกิจให้เติบโต คนมีงานทา กินดี อยู่ดี หรือที่ภาษาจีนเรียกว่าสังคม “เสี่ยวคัง” ดังนั้นวาทกรรมที่พรรคชูขึ้นมาเป็น “อุดมการณ์ ร่วม” ของชาวจีนจึงเปลี่ยนจากความเสมอภาคเท่าเทียมทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มาเป็น การมุ่งสู่ความมั่งคั่งร่ารวยของชาติ  ยุคสี เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสาคัญอีกครั้งของพรรคและของประเทศจีน เพราะความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจระดับปีละเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีกลายเป็นเรื่องปกติสาหรับชาวจีนมากว่าสามสิบปีแล้ว ยิ่งในขณะนี้ เศรษฐกิจจีนไม่ดีเหมือนเก่า คือไม่สามารถยืนระยะการเติบโตได้มากเท่าเดิม ในปี 2012 ที่สีเข้า
  • 6. 4 รับตาแหน่ง การเติบโตของ GDP จีนตกมาสู่ราว 7- 8 เปอร์เซ็นต์ ตลาดการเงินจีนก็ตกลงอย่าง มาก ทั้งตลาดหุ้นและค่าเงินหยวน แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามใช้มาตรการต่างๆ ยับยั้งแล้ว ความสามารถของพรรคในการสร้างสังคม “เสี่ยวคัง” ให้คนจีนจึงทาได้ไม่ดีเหมือนก่อน และถึง จะทาได้ดี ลาพังสิ่งนี้ก็ไม่เพียงพออีกต่อไปที่จะยืนยันความชอบธรรมการปกครองให้พรรค พรรคยุคสีจึงต้องหันมาพึ่งวาทกรรมชาตินิยมจีน ซึ่งอาจแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก คือวาท กรรมที่ว่ามีแต่พรรคคอมมิวนิสต์ที่รวมจีนเป็นหนึ่งเดียวได้ ความแตกแยกของจีนที่ผ่านมาแต่ละ ครั้งล้วนนามาซึ่งความเสียหายมหาศาล ส่วนที่สอง คือการที่พรรคสัญญาว่าจะพาจีนกลับสู่ความ ยิ่งใหญ่ในอดีต นั่นคือกลับไปเป็นศูนย์กลางอานาจโลก นอกจากจะต้องมุ่งสร้างภารกิจใหม่ด้านชาตินิยม อีกด้านหนึ่งเพื่อรักษาความชอบธรรม ที่ยังเหลืออยู่เอาไว้ พรรคยุคสีก็ยังต้องพยายาม “ขบกระดูกชิ้นใหญ่ที่เคี้ยวยาก” อันเป็น ผลข้างเคียงทางลบจากการพัฒนาประเทศในระยะที่ผ่านมา ได้แก่การจัดการกับปัญหาใหญ่สาม ประการที่กล่าวถึงข้างต้น คือ ความเหลื่อมล้าภายในประเทศ การคอร์รัปชั่น และปัญหา สิ่งแวดล้อมให้จงได้ นี่จึงเป็นที่มาของยุทธศาสตร์การพัฒนาจีนระยะที่สอง ซึ่งประจวบกับการ ขึ้นสู่อานาจของสีจิ้นผิง  สาระสาคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดของจีนระยะที่ 2 ดังที่กล่าวไป คาสาคัญของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระยะนี้คือ “การ ปฏิรูปและนวัตกรรม” (ก่ายเก๋อ-ช่วงซิน) หลักการสาคัญคือ เน้นการพัฒนาเชิงคุณภาพมากกว่าเชิง ปริมาณ (ซึ่งจีนใช้คาว่าการปฏิรูปจะผันมาสู่น่านน้าลึก) ดังเช่นในระยะที่ผ่านมา (ซึ่งจะเห็นต่อไปว่าสอด รับกับการแก้ปัญหาใหญ่ทั้งสามข้างต้นด้วย)  เศรษฐกิจจีนต่อจากนี้จะไม่มุ่งไปในทิศทางของ “โรงงานอุตสาหกรรม” โลกอีกต่อไป เศรษฐกิจจีนจะไม่พึ่งพาการส่งออกหรือดึงดูดการลงทุนต่างชาติมากเช่นในอดีต เพราะ ปัจจุบันจีนมีทุน เทคโนโลยี และองค์ความรู้แบบตะวันตกทัดเทียมตะวันตกเองแล้ว จีนใน วันนี้ออกไปลงทุนนอกประเทศมากกว่าที่ต่างชาติมาลงทุนในจีน  เศรษฐกิจจีนจะหันกลับมาให้ความสาคัญกับตลาดภายในประเทศเป็นหลักแทนการพึ่งพา ตลาดโลก โดยมีมาตรการเช่นการสร้างเขตเศรษฐกิจปลอดภาษี (Free trade area) แบบ เดียวกับฮ่องกงขึ้นที่นครเซี่ยงไฮ้  รัฐบาลตั้งเป้าจะพัฒนาประเทศจีนให้มีความเป็นเมือง (Urbanization) ให้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2020 ซึ่งจะตอบรับกับการขยายตลาดและกาลังซื้อในประเทศให้เติบโต  รัฐบาลจะปราบคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง เพราะคอร์รัปชั่นที่ระบาดมากในประเทศจีนทุกวันนี้ ตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับสูงของพรรค (เช่น กรณีป๋ อซีไหล โจวหย่งคัง) ถือเป็น “วิกฤต ศรัทธา” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งรัฐบาลและพรรคยุคสีจิ้นผิงก็ได้ประกาศและพยายาม ดาเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม ปัญหาคอร์รัปชั่นระบาดหนัก
  • 7. 5 ในจีนต้องถือว่าเป็นผลพวงที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสร้างขึ้นมาเองจากการผสมระบอบ การเมืองแบบพรรคเดียวเข้ากับระบอบเศรษฐกิจตลาดเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การ จัดการสังคมของมนุษยชาติ มีคาในภาษาจีน 4 คาที่นิยามอนาคตจีนในแผนพัฒนาระยะที่สองยุคสีจิ้นผิง ดังนี้  อ้ายกว๋อ (nationalism) พรรคคอมมิวนิสต์จะเล่นบทบาทผู้พิทักษ์แผ่นดินจีนมิให้ใครมาย่ายี เอาเปรียบได้อีก รวมทั้งการให้ความสาคัญกับเรื่องบูรณภาพแห่งดินแดนเหนือสิ่งอื่นใด อย่าง น้อยก็ในระดับหนึ่ง เช่นเรื่องการจัดการกับชาวอุยกูร์ในซินเจียง ที่ผู้นาที่ปักกิ่งต้องแสดงความ เด็ดขาด  ช่วงซิน (Innovation) จีนจากนี้วางยุทธศาสตร์ของตนว่าจะไม่เป็นประเทศที่ไปลอกเลียน ความรู้ สินค้า เทคโนโลยีของต่างชาติเหมือนในอดีตอีกต่อไป แต่จีนจะเน้นการสร้างและแผ่ ขยายองค์ความรู้ นวัตกรรมของจีนเอง นอกจากนี้ ในมิติการลงทุนจากต่างชาติ คาว่าช่วงซิน ก็ยังหมายความว่าเวลานี้จีนไม่สนใจการดึงดูดการลงทุนจากภายนอกที่ไม่มีการถ่ายทอด นวัตกรรม ความรู้ใหม่ๆ ที่จีนยังไม่มีอีกต่อไป  เปาหรง (ปรองดอง) พรรคคอมมิวนิสต์จีนในวันนี้ต้องหันมาสร้างวาทกรรมการปรองดอง ทั้ง ปรองดองระหว่างชนชั้น คือคนรวย-คนจน ที่การพัฒนายุคเติ้งได้สร้างขึ้นมาและขยายกว้างขึ้น ตลอดสามสิบปีที่ผ่านมา กับการปรองดองระหว่างชนชาติ คือระหว่างชาวจีนฮั่นกับชาติพันธุ์ ต่างๆ ในแผ่นดินจีน โดยเฉพาะที่มีปัญหามากคือทิเบตและซินเจียง แต่มีข้อที่ต้องระวังไว้ว่า เวลาที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนใช้คาว่า “ปรองดอง” ทางชาติพันธุ์ มักหมายถึงการพยายามผสม กลมกลืนทางวัฒนธรรม (assimilation) ชาวจีนฮั่นลงไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นเหตุสร้างความไม่พอใจ ให้แก่คนชาติพันธุ์อื่น  โห้วเต๋อ (ธรรมาภิบาล) มาตรการที่เห็นชัดคือการพยายามปราบคอร์รัปชั่นอย่างจริงจังตั้งแต่ สีจิ้นผิงเข้าสู่อานาจ โดยจัดการกับบุคคลระดับสูงของพรรค เช่น ป๋ อซีไหล (Bo Xilai) อดีต สมาชิกคณะกรรมการกรมการเมือง และโจวหย่งคัง (Zhou Yongkang) หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง จีนเป็นต้น นอกจากนี้ สีจิ้นผิงยังพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของพรรคและรัฐที่ฟุ่มเฟือยและ เต็มไปด้วยอภิสิทธิ์ให้ดีขึ้น ด้วยการจากัดเรื่องเหล่านี้ลง เช่น กาหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐและพรรค ทานอาหารอย่างประหยัด ข้อนี้สีจิ้นผิงให้ความสาคัญมากเพราะถือบทเรียนจากพรรค คอมมิวนิสต์โซเวียตที่เต็มไปด้วยอภิสิทธิ์และการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูงจนเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทาให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา พรรคเสียความชอบธรรมในการปกครอง และระบอบสังคมนิยม โซเวียตล่มสลายในท้ายสุด ผู้นาจีนเวลานี้รู้ว่าหาก “ชาระหรือสังคายนาพรรค” ให้สะอาดไม่ได้ สุดท้ายพรรคจะสูญเสียศรัทธาจากชาวจีนและความชอบธรรมที่จะปกครองจีนไปแน่นอน แต่ ตลกร้ายสาหรับพรรคคือ การชาระพรรคให้สะอาดอย่างแท้จริงนั้น อาจสร้างผลสะเทือนรุนแรง จนพรรคล่มสลายไปได้ด้วยเช่นกัน
  • 8. 6 โดยสรุป สภาวการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของจีนในยุคสีจิ้นผิงนี้เป็นช่วงที่จีนเข้าสู่ “ช่วง เปลี่ยนผ่าน” อีกครั้งหนึ่ง ที่สาคัญไม่แพ้สมัยที่เติ้งเปลี่ยนจากจีนของเหมามาสู่จีนทุนนิยมในต้นทศวรรษ 1980 คาถามคือ จีนในยุคสีจิ้นผิงจะผ่านช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ไปได้ราบรื่นเพียงใด โดยมีเดิมพันไม่น้อยไป กว่าการคงอยู่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในฐานะผู้ครองแผ่นดินจีนเลย สิ่งที่สาคัญที่สุดของเรื่องนี้คือ เมื่อเรารู้จุดตายของพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าคือการรักษา ความชอบธรรมในการปกครองของตน ด้วยการ “ต้อง” ทาให้จีนยิ่งใหญ่ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจให้ ได้แล้ว เราก็จะสามารถกาหนดท่าทีหรือยุทธศาสตร์การต่างประเทศของเรากับจีนให้เป็นไปในเชิงรุก และให้ได้ประโยชน์ที่ควรได้ มากกว่าจะสัมพันธ์แบบตั้งรับ เช่น ขอให้แพนด้าอยู่ประเทศไทยต่อไป ตัวอย่างเช่น กรณีโครงการ Belt and Road ถ้ามองในมุมข้างต้นก็คือภารกิจการสร้างความ ยิ่งใหญ่ของจีนด้านการต่างประเทศ และเป็นการสร้างความยิ่งใหญ่ของจีนทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ ไปพร้อมกัน ตลอดเส้นทางทางบกและทางทะเล Belt and Road และโครงการต่างๆ ภายใต้กรอบนี้ จึง เป็น “ความจาเป็น” ของรัฐบาลจีนที่ต้องทาให้สาเร็จลุล่วง ในส่วนที่เกี่ยวกับไทย เช่น การสร้างรถไฟจีนเชื่อมมาสู่ไทยก็เป็นสิ่งที่จีนต้องทา เพื่อเชื่อมต่อ เส้นทาง BRI กับ ASEAN และเป็นโอกาสของจีนที่จะ “แสดง” เทคโนโลยีรถไฟให้ชาวโลกเห็นด้วย ดังนั้น ไทยจึงไม่ต้องกลัวว่าจีนจะไม่มา และไม่ควรไปยอมตกลงแบบเสียเปรียบกับจีน เช่น ยอมซื้อ รถไฟแพงหรือยอมให้กรรมสิทธิ์ที่ดินริมทางรถไฟตกเป็นของจีน เป็นต้น
  • 9. 7 ความคิดและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจจีน ในยุคปัจจุบัน4 ภาพรวมเศรษฐกิจจีนในปัจจุบัน ในปี 2015 ตลาดหุ้นจีนตกลงไปราว 40 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลลดค่าเงินหยวน ดัชนีความเหลื่อมล้า (Gini coefficiency) ในประเทศพุ่งสูงถึง 0.47 (ครั้งก่อนที่สูงเท่านี้คือช่วงก่อนปี 1949 ซึ่งปฏิกิริยาของจีน คือการปฏิวัติ) จีนเผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ถูกทาลายและมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ คาถามจึงไม่ใช่ว่าเศรษฐกิจจีนตอนนี้อยู่ในช่วงขาลงใช่หรือไม่ แต่คาถามคือจะลงหนักหรือลงเบา (soft or hard landing?) ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะจัดการได้ดีแค่ไหน แต่ก่อนที่จะถึงตรงนั้น สิ่งที่เราควรหัน กลับไปมองคือเศรษฐกิจจีนมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? เหตุอยู่ที่จีนไม่ได้มีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่แท้จริงอย่างชัดเจน ตั้งแต่สมัยเวินเจียเป่า (Wen Jiabao) คือราว 15 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่เวินเจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรีประมาณ 10 ปี เขาทาการ ปฏิรูปเศรษฐกิจการเมืองอย่างจริงจังน้อยมาก ไม่ได้มีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจในปัจจัยพื้นฐานเช่น ไฟฟ้า ประปา น้ามัน ถ่านหิน ในระดับที่มีนัยยะสาคัญ ภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจจีนยังคงตกอยู่ ภายใต้การควบคุมสั่งการจากพรรค ผ่านโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจจีนที่ยังมีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เล่น ส่วนใหญ่ การบริหารจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าเอกชนและล้าหลัง ทั้งยังเป็นช่องทางเอื้อต่อการคอร์รัปชั่น และความไม่โปร่งใสในการบริหาร เพราะคนของพรรคและรัฐก็ยังผูกขาดตาแหน่งบริหารในรัฐวิสาหกิจ เหล่านี้ การปราบคอร์รัปชั่นที่สีจิ้นผิงลุกขึ้นมาทานั้นก็ทาจริง เพียงแต่ว่านี่ไม่ใช่การปฏิรูปที่แท้จริง แต่ เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะต้นทางของการคอร์รัปชั่นในจีนก็คือการที่อานาจทางการเมืองยังอยู่ ในมือคนส่วนน้อย และคนส่วนน้อยที่มีอานาจทางการเมืองนั้นก็เข้ามาผูกขาดระบบเศรษฐกิจ นี่คือผล โดยตรงของการสร้างระบบเศรษฐกิจการเมืองลูกผสมขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกสมัยเติ้ง ซึ่งไม่ว่าจะ เรียกว่า “ระบอบสังคมนิยมแบบจีน” (Socialism with Chinese characteristics) “ระบอบทุนนิยมที่กากับ โดยรัฐ (state capitalism)” หรือ “ระบอบทุนนิยมทางเศรษฐกิจ อานาจนิยมทางการเมือง” ก็ตาม ตัวอย่างเช่น การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลบอกว่าจะทานั้น (คือให้มีน้อยลง สนับสนุนให้เอกชน มีบทบาทในเศรษฐกิจมากขึ้น) ก็ทาไปอย่างแกนๆ คือลดจานวนรัฐวิสาหกิจได้จริง แต่ลดด้วยวิธีการ ควบรวม ดังนั้น โดยสรุป 15 ปีที่ผ่านมาการปฏิรูปแบบจริงจังจึงลดลงอย่างชัดเจน ถ้าเทียบกับยุคจูหรงจี 4 ถอดความและเรียบเรียงจากการบรรยายของคุณโจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอานวยการบริษัท Strategy613 ในเวที สาธารณะเรื่อง อนาคตจีน: รุ่งหรือร่วง จัดโดย สถาบันจีน-ไทย แห่งมหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้าน ยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ณ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2558
  • 10. 8 การที่รัฐบาลไม่ปฏิรูปใน 15 ปีนี้นั้น สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นความจาเป็นของรัฐบาลจีนยุคนั้น เพราะยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของรัฐบาลจีนช่วงทศวรรษ 2000 (ช่วงเวินเจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี) เป็น ยุทธศาสตร์แบบ “ปั่นจักรยานขึ้นเขา” คือ การปั่นอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจให้ได้มากที่สุดในเชิง ปริมาณ เพื่อจัดการกับปัญหาหลักทางเศรษฐกิจขณะนั้น อันได้แก่ 1. ปัญหาคนว่างงาน 2. ปัญหาหนี้ เสีย (NPL) ในภาคการธนาคารจีน (ที่เคยสูงถึงราว 40%) และ 3. ปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาที่สะสมมาของเศรษฐกิจจีนในช่วงราว 15 ปีที่ว่านี้ อาจแบ่งเป็นสองระยะ คือ ช่วงที่ เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง กับช่วงที่เริ่มประสบปัญหา (ภาพที่ 1, 2) ภาพที่ 1 ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจจีนในช่วงราว 15 ปีที่ผ่านมา (1)
  • 11. 9 ภาพที่ 2 ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจจีนในช่วงราว 15 ปีที่ผ่านมา (2) ระยะแรก ช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่อง คือตั้งแต่ปี 1997 (คือหลังวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย) ถึงปี 2003 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจจีนถูกทาให้โตแบบปั่นจักรยานขึ้นเขา ในความหมายคือโตในอัตราที่เพิ่ม มากขึ้นเรื่อยๆ และหยุดโตไม่ได้ เพื่อเร่งหนีจากปัญหาสองสามประการหลักดังกล่าวให้ทัน นี่เป็นยุทธวิธี แก้ปัญหาของจีนในตอนนั้น ซึ่งก็ถือว่าประสบความสาเร็จ เพราะเมื่อถึงปี 2003 ขนาดของเศรษฐกิจจีนก็ ขยายตัวขึ้นมาก จนถึงขั้นที่ว่าสามารถส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดโลกของสินค้าตัวใดที่จีนซื้อให้แพง ขึ้น หรือสินค้าตัวใดที่จีนผลิตออกมาขาย ให้ถูกลงได้ นั่นหมายความว่าเมื่อถึงปี 2003 เศรษฐกิจจีน พัฒนามาจนถึงขั้นที่มีทั้งกาลังซื้อและกาลังการผลิตภายในประเทศอย่างมหาศาล และสามารถรักษา อัตราเติบโตไว้ในช่วง 8-12 เปอร์เซ็นต์ต่อปีมาได้อย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2010 ระยะที่สอง ปัญหาที่สะสมเริ่มเผยตัว หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เกิดในสหรัฐและลามสู่โลก ระบบเศรษฐกิจจีนก็เริ่มเข้าสู่ช่วงใช้หนี้มากขึ้น ราวปี 2008 - 2009 เกิดเหตุการณ์ที่รัฐใช้เงินภาษีเข้าไป อุ้ม (bail out) ที่ใหญ่ที่สุดที่เคยทากันมาในโลก คือรัฐบาลจีนใช้เงิน 4 ล้านล้านหยวน และในเวลา เดียวกันพวกธนาคารจีนก็เพิ่มวงเงินสินเชื่อถึง 18 ล้านล้านหยวน ดังนั้นตัวที่เข้ามาช่วยดึงเศรษฐกิจจีน ไว้ในตอนนั้นจริงๆ แล้วจึงมาจากเงินของบรรดาธนาคารมากกว่าเงินของรัฐ ซึ่งเป็นวิธีจัดการเศรษฐกิจ แบบจีนๆ ซึ่งคิดง่ายๆ ว่า เมื่อเศรษฐกิจมีปัญหา ภาคธนาคารมีเงินช่วยได้ก็เข้ามาช่วย เมื่อไรที่ภาค ธนาคารแย่บ้าง ก็ค่อยเข้าไปช่วยธนาคาร อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ตอนนั้น ภาคการธนาคารของจีนก็เริ่มมี ปัญหาแล้ว
  • 12. 10 ประเด็นสาคัญอยู่ที่ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจแบบเน้นไปที่การปั่นตัวเลขการเติบโตเชิง ปริมาณเป็นหลักในช่วงเวลา 15 ปี ยุคเวินเจียเป่านี้ ส่งผลให้จีน “จาเป็น” ที่จะไม่ทาหรือชะลอ การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อเหตุผลต่างๆ เช่น รักษาอัตราการจ้างงาน การเติบโตทาง เศรษฐกิจในระยะสั้นที่จาเป็นต้องโตไม่หยุดยั้ง รวมทั้งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนส่วนตัวของผู้นา พรรคและรัฐในโครงสร้างเศรษฐกิจที่ยังมีรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เล่นหลักนี้ด้วย โดยสรุป ผลจากการไม่ปฏิรูปที่ผ่านมา ทาให้  ทุนส่วนใหญ่ยังคงถูกรัฐบาลจัดสรรให้กับรัฐวิสาหกิจทั้งที่มีประสิทธิภาพและไม่มี ประสิทธิภาพ รัฐวิสาหกิจจานวนมากก็ขาดทุน แทนที่จะนาไปสนับสนุนภาคเอกชนที่มีการ บริหารที่ “มีประสิทธิภาพ” และ “แข่งขันได้” มากกว่า  ประชาชนยังคงไม่ค่อยมีทางเลือกในการลงทุน อันสืบเนื่องมาจากในระบบเศรษฐกิจมีแต่ รัฐวิสาหกิจของรัฐที่ไม่ค่อยน่าลงทุน ทางเลือกเท่าที่คนจีนมีในการลงทุนก็คือเอาเงินไปใส่ใน ธนาคารของรัฐ ตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์ นี่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทาให้ราคาตลาด อสังหาริมทรัพย์ขึ้น เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ลง คนก็ถอนเงินจากอสังหาริมทรัพย์ไปลงใน ตลาดหุ้น หุ้นจีนก็ขึ้น อีกส่วนหนึ่งรัฐบาลก็ใช้มาตรการผลักดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นด้วย เพื่อระดม ทุนไปให้กับรัฐวิสาหกิจ เพราะรัฐบาลไม่สามารถระดมทุนจากธนาคารได้อีกแล้ว แล้วหลังจาก หุ้นจีนขึ้นสูงสุดในเดือนมิถุนายน ปี 2012 ราคาก็เริ่มลง รัฐบาลก็เข้าไปอุ้มโดยใช้เงิน 2.5 แสน ล้านเหรียญสหรัฐ (แต่ราคาก็ยังตกลงไป 40 เปอร์เซ็นต์อย่างที่กล่าวไป) สรุปคือ การไม่ปฏิรูประบบทั้งหมดที่กล่าวมา ทาให้ (ดูภาพที่ 3 ) 1. หนี้สาธารณะ (หนี้ต่อ GDP) ของจีนสูงขึ้นมากและสูงขึ้นเร็ว จนทาให้จีนมีหนี้สาธารณะพอๆ กับสหรัฐ แต่หนี้ของจีนแพงกว่าสหรัฐเกือบเท่าตัว 2. เจ้าหน้าที่รัฐและผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจจานวนมาก (ซึ่งมักเป็นคนของพรรค) “ปล่อยเกียร์ว่าง” ไม่กล้าเสนอแนะนโยบาย ปรับปรุงอะไรใหม่ๆ โดยเฉพาะหลังจากนโยบายปราบคอร์รัปชั่นของ สีจิ้นผิง 3. เมื่อตลาดหุ้นร่วงด้วย รัฐบาลก็เสียช่องทางสุดท้ายในการระดมทุนไปอุดหนุนรัฐวิสาหกิจ จากสภาวการณ์เศรษฐกิจจีนขณะนี้ จึงน่าตั้งคาถามว่า 1. มาตรการปฏิรูปของรัฐบาลยุคสีจิ้นผิง ซึ่งตั้งใจจะมาปฏิรูป จะออกผลได้ทันก่อนฟองสบู่จะแตก หรือไม่ 2. ผลกระทบจาก NPL ขณะนี้ ซึ่งถือเป็นระลอกแรก จะส่งผลสะเทือนมากน้อยเพียงใด ถึงขนาด ทาให้ธนาคารแก้ปัญหาไม่ได้ และเลิกปล่อยกู้ให้แก่บรรดาธุรกิจที่ยังไม่ล้มในระลอกแรก อันจะ
  • 13. 11 นาไปสู่การเกิด NPL ระลอกสองเมื่อธุรกิจพวกนี้ล้ม (ซึ่งจะเป็นระลอกที่ใหญ่กว่าครั้งแรกมาก) หรือไม่ การวิเคราะห์ในข้อนี้เทียบมาจากประสบการณ์ที่ได้จับตาความเป็นไปของ NPL ตอน วิกฤตเศรษฐกิจปี ค.ศ.1997) ภาพที่ 3 ปัญหาสะสมของเศรษฐกิจจีนและคาถามต่ออนาคต จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้กับเศรษฐกิจจีน รัฐบาลจีนต้องพยายามช่วยเศรษฐกิจมากขึ้น ด้วยวิธีการเช่น  ลดอัตราดอกเบี้ย  ดึงเงินทุนสารองจากธนาคารชาติมาช่วย ซึ่งเงินคงคลังยังสามารถดึงได้อีกมาก แต่ปัญหาคือ ธนาคารอาจจะไม่ยอมปล่อยเงินออกมาให้รัฐบาล ถ้าวัตถุประสงค์คือเพื่อไปอุ้มบริษัทหรือ รัฐวิสาหกิจ เท่ากับว่าถึงมีเงินคงคลังมากก็ไม่ช่วยอะไรกับเศรษฐกิจจีน ถ้าธนาคารไม่ยอม ปล่อยออกมา
  • 14. 12  ลดค่าเงินหยวน ซึ่งยังลดได้อีกมาก แต่เพื่อเลี่ยงปัญหาปฏิกิริยาประท้วงจากสหรัฐอเมริกา รัฐบาลอาจเลือกใช้วิธีคืนภาษี (VAT rebate) แก่ผู้ส่งออกของตน ซึ่งให้ผลเท่ากับการลดค่าเงิน คือ เพิ่มศักยภาพให้ผู้ส่งออกจีนแข่งขันกับต่างชาติได้มากขึ้น  เลิกหรือระงับการปฏิรูปบางเรื่อง ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ควรทาในระยะยาว แต่การปฏิรูปบางเรื่อง ถ้าทาในบริบทของเศรษฐกิจจีนที่พื้นฐานหลายตัวง่อยเปลี้ยไปแล้วในตอนนี้ จะยิ่งทาให้ลดอัตรา การเติบโต เรื่องเหล่านี้ควรทาตั้งแต่ในสมัยเวินเจียเป่า เพราะทาได้โดยที่จะไม่กระทบการ เติบโตมากนัก เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจหลายตัวของจีนตอนนั้นยังดี หรือถึงทาให้ลดก็ยังมี ช่องว่างให้อัตราเติบโตลดลงมาแบบรับได้ เพราะตอนนั้นมีอัตราเติบโต 12 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม สิ่งสาคัญที่คนยังไม่ค่อยตระหนักเมื่อมองภาพเศรษฐกิจจีนในภาวะ “ขา ลง” นี้คือ จีนเวลานี้เข้าสู่ช่วงที่ไม่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว จีนไม่ได้ต้องการอัตราการเติบโตของ GDP แต่ละปีที่สูงเหมือนก่อน เพราะอย่าลืมว่า แต่ก่อนการเร่งและรักษาอัตรา GDP ให้โตต่อเนื่องนั้น ก็เพื่อจะขยายฐานเศรษฐกิจให้กว้างออก เพื่อสร้างงาน เพื่อหนีจากปัญหาคนว่างงานที่เป็นความกังวล ใหญ่ที่สุดของพรรคยุคนั้น (ราว 15 ปีที่ผ่านมา เพราะถ้าคนว่างงานมาก ความชอบธรรมในการปกครอง ของพรรคที่ยึดกับการสร้างความ “กินดีอยู่ดี” ก็สั่นคลอน) ในปัจจุบันแม้อัตราประชากรยังเพิ่มขึ้น แต่จานวนคนวัยแรงงานของจีนเริ่มลดลงแล้วประมาณ 3-4 ล้านคนต่อปี ปัญหาคนว่างงานจึงไม่ใช่ความกังวลอันดับหนึ่งของพรรคอีกต่อไป ดังนั้น โจทย์ทาง เศรษฐกิจในยุคสีจิ้นผิงจึงเปลี่ยนมาเน้นที่การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงคุณภาพ พัฒนาเศรษฐกิจเชิงลึก หรือ ในคาของพรรคคือ “นาการปฏิรูปมาสู่น่านน้าลึก” จีน ณ วันนี้ต้องการอัตราการเติบโตราว 8% ต่อปี ที่ต้องการถึง 8% ขณะที่ประเทศอื่นๆ โตได้ 3-4 % คนก็พอใจแล้ว ก็เพราะจีนยังติดปัญหาเรื่องหนี้สาธารณะสะสมมหาศาลที่กล่าวไป ถ้าไม่ติดเรื่อง หนี้ รัฐบาลจีนก็สามารถกาหนดอัตราเติบโตไว้ที่ 3-4% ก็สามารถอยู่ได้สบายๆ เพราะไม่มีปัญหาเรื่อง คนว่างงานแล้ว ดังนั้น หากจีนผ่านปัญหาเศรษฐกิจช่วงนี้ไปได้แล้ว จีนก็จะสามารถทาการปฏิรูปเศรษฐกิจใน หลายๆ เรื่องที่เขาต้องการทา เพราะควรจะทามาเมื่อหลายปีก่อนได้ แต่ในช่วงนี้ประเด็นว่าจะผ่านได้ หรือไม่ได้อยู่ที่ว่าธนาคารจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อคาสั่งของรัฐบาลให้ปล่อยกู้ในภาวะเศรษฐกิจ ที่ชะลอตัว ซึ่งต้องอาศัยความกล้าของธนาคารเหล่านี้ หากกล้าปล่อยเงินกู้ให้ธุรกิจ (หรือ รัฐวิสาหกิจ) ที่ดูแล้วไม่น่าจะไปรอด แต่รัฐบาลสั่งให้ปล่อย เศรษฐกิจก็อาจจะฟื้น แต่ถ้าไม่กล้า ซึ่ง แนวโน้มก็เป็นในทางนี้ เพราะปัจจุบันเจ้าหน้าที่รัฐจีนต่างกลัวปัญหาเรื่องคอร์รัปชั่นจากนโยบายปราบ คอร์รัปชั่นของสี เลยไม่กล้าลงมือทาอะไรที่เสี่ยงมากนัก) ธุรกิจที่ดูน่าจะล้มเหล่านี้ ก็จะล้มจริงแน่นอน เมื่อไม่สามารถหาทุนมาต่อชีวิตได้ แล้วคราวนี้ ปัญหาเรื่อง NPL ระลอกใหญ่ก็จะตามมา และคนที่จะล้ม ต่อก็คือกลุ่มธนาคารเอง (เหมือนสหรัฐในปี 2008) โดยเฉพาะธนาคารขนาดเล็กๆ และเมื่อธนาคารพวกนี้ เริ่มล้ม ก็จะทาให้ธนาคารอื่นๆ ระวังการปล่อยกู้แก่ธุรกิจมากขึ้นไปอีก นี่จึงกลายเป็นวงจรปัญหาที่มี แนวโน้มจะนาไปสู่วิกฤตของเศรษฐกิจจีนในอนาคตอันใกล้ (ภาพที่ 4)
  • 15. 13 ภาพที่ 4 มาตรการแก้ไขเศรษฐกิจตกต่าที่รัฐบาลจีนน่าจะทาจากนี้ และวิกฤตระลอกสองที่อาจเกิดตามมา หากเกิด “วิกฤต” ขึ้นมาจริงแล้ว จะเกิดอะไรต่อไป ผลระยะสั้น  อัตราเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะลดลงอีก  นายทุนจีน ทั้งที่เป็นบริษัทและเป็นนักลงทุนปัจเจก ที่ยังมีทุนและต้องการลงทุน ก็จะยิ่งไม่รู้ว่า จะไปลงทุนที่ช่องทางใดดี เพราะรัฐบาลก็ยังมีมาตรการควบคุมเรื่องการนาเงินเข้า-ออกประเทศ อยู่พอสมควร ตลาดอสังหาริมทรัพย์กับตลาดหุ้นในประเทศก็เสี่ยงเกินไปแล้วในเวลานี้ เพราะใน เวลาเศรษฐกิจขาลง ภาคการเงินต้องระวัง “การตื่นตระหนก (panic)” ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องจริง หรือไม่จริงไม่สาคัญ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วตลาดเงินร่วงแน่นอน เรื่องการตื่นตระหนกของนักลงทุนจีน จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวที่น่าห่วงว่าจะทา ให้ปัญหาในภาคการเงินของจีนลามออกนอกประเทศ คือทาให้นักลงทุนต่างชาติที่ถือหุ้น
  • 16. 14 จีนล้มไปด้วย เพราะโดยธรรมชาติตลาดทุนของจีนนั้นปิดอยู่แล้ว เพราะมีการควบคุมของรัฐกั้น อยู่ ไม่เหมือนกับตลาดทุนสหรัฐที่เมื่อมีปัญหาก็จะกระจายลามไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว เพราะ เมื่อดูตัวเลข เวลานี้แม้ตลาดหุ้นจีนติดลบไปถึง 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสามอาทิตย์แรกที่ ติดลบ ตลาดหุ้นโลกไม่ได้รับผลกระทบปรับขึ้นหรือลดลงเลย เพราะนักลงทุนต่างชาติไม่ค่อย กังวล เทียบกับกรณีประเทศกรีซซึ่งขนาดเศรษฐกิจเล็กมากเมื่อเทียบกับจีน แต่เมื่อเกิดปัญหา ขึ้นมา นักลงทุนต่างชาติเป็นกังวลมากกว่า อย่างน้อยในระยะแรกๆ เพราะตลาดกรีซเชื่อมโยง อย่างเสรีกับตลาดโลกมากกว่าจีนมาก ผลระยะยาว (ภาพที่ 5)  ตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนต้องเปลี่ยน จากตัวแบบที่เน้นอัตราเติบโตเชิงปริมาณสูงและ เร็ว มาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และมองผลในระยะยาวมากขึ้น ทั้งในเรื่องคุณภาพชีวิต คน ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม  ระบบที่พึ่งการลงทุน การผลิตเพื่อส่งออก ต้องเปลี่ยนเป็นระบบที่พึ่งการใช้จ่ายบริโภคใน ประเทศมากขึ้น  การผลิต โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งเคยเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผล สาหรับจีนที่จะลงทุนทา ก็ควรจะลดลง เพราะจีนไม่ได้อยู่ในช่วงเร่งสร้างปัจจัยพื้นฐานของ ประเทศแล้ว อีกทั้งอุตสาหกรรมหนักทาลายสิ่งแวดล้อมมาก ในทานองนี้ หลายอย่างที่จีนเคย ทาก็ควรจะเลิกทาไปตามบริบทที่เปลี่ยนไป  การปรับตัวเหล่านี้จะส่งผลให้อัตราเติบโตเศรษฐกิจของจีนลดลง แต่เป็นการลดที่เป็นไปตาม ธรรมชาติ เพราะเศรษฐกิจจีนพัฒนามาสู่อีกขั้นหนึ่งแล้ว
  • 17. 15 ภาพที่ 5 การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจจีนนับจากนี้ในระยะยาว 2. อนาคตการลงทุนของจีนในประเทศไทย การลงทุนของจีนในต่างประเทศนั้น เป็นโอกาสที่มาจากการชะลอตัวภายในประเทศของ จีนเอง เพราะก่อนหน้านี้ การลงทุนของจีนในต่างประเทศนั้นมีน้อยเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจใหญ่อื่นของ โลก เช่น ญี่ปุ่นหรือสหรัฐ เป็นเพราะถูกรัฐสั่งให้ออกไปเสียมากในรูปของรัฐวิสาหกิจ นักลงทุนจีนหรือ บริษัทเอกชนไม่ค่อยออกไปลงทุนต่างประเทศมากนัก เพราะเหตุผลหลายประการ เช่น โครงสร้างการ บริหารของบริษัทจีนมีลักษณะของตัวเอง (เช่น มีบอร์ดบริหารควบคุมหลายระดับ ทั้งระดับบริษัท ระดับ บอร์ดภายนอก และบอร์ดของพรรค เป็นต้น) การทางานของจีนมักช้าเพราะติดระบบราชการหลายขั้น ทีมงานเอกชนจีนไม่ค่อยมีลักษณะ “อินเตอร์” นัก มีคนเก่งจานวนน้อยที่จะใช้ภาษาอังกฤษ (แม้อาจจะ พอใช้ได้) ยกเว้นคนรุ่นใหม่ (ภาพที่ 6)
  • 18. 16 ภาพที่ 6 ข้อด้อยของการลงทุนจากจีนสู่ต่างชาติ ในอดีตและปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม จากนี้ไปนักลงทุนเอกชนจีนจะต้องการออกมาลงทุนนอกประเทศจีนเองมาก ยิ่งขึ้น รวมทั้งในประเทศไทย เพราะเศรษฐกิจจีนมีปัญหาอย่างที่กล่าวไป นักลงทุนไม่มีช่องทางที่ดีพอใน การลงทุนในประเทศ เพราะไม่ว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลาดทุน ล้วนมีความเสี่ยงมาก และสภาวะ เศรษฐกิจจีนขณะนี้ อย่างที่กล่าวไป ก็ยังอยู่ในช่วงดู “ทิศทางลม” ว่าจะถลาลงสู่ “วิกฤต” ครั้งใหญ่ หรือ จะผ่านช่วงชะลอตัวนี้ไปอย่างไม่เจ็บตัวมากนัก ควบคู่ไปกับสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศที่ไม่น่าลงทุน ยุทธศาสตร์การต่างประเทศของ รัฐบาลสีจิ้นผิงก็เป็นแรงขับสาคัญยิ่งที่เปิดทางให้นักลงทุนเอกชนจีนจะออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น นั่นคือ กรอบยุทธศาสตร์ One Belt One Road หนึ่งถนนทางบก และหนึ่งเส้นทางเดินเรือ ที่จะเชื่อม จีนสู่ตะวันตก และเหล่าประเทศรายทาง ซึ่งถือเป็น กรอบยุทธศาสตร์ที่ดูดีที่สุดในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นทางออกสาหรับทั้งรัฐบาลและเอกชนจีนแบบ “ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว” (ดูภาพที่ 7)  ประเทศจีนจะได้ขยายอิทธิพลทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ออกนอกประเทศ มากขึ้น ตั้งแต่เอเชียกลาง เอเชียใต้ สู่ยุโรป  จีนจะได้ใช้โอกาสนี้ระบายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของจีนที่ over supply ออกภายนอก โดยเฉพาะสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ระบายรถไฟและเทคโนโลยีระบบรางของจีนมาขายให้ ประเทศไทย ซึ่งผลที่ได้กลับมาคือการแก้ปัญหาระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าหลังของประเทศ เพื่อนบ้านรายรอบจีน จากที่เคยเป็นอุปสรรค จะทาให้การเชื่อมต่อขนส่ง ทั้งคนและของจากจีน ออกสู่ตลาดภายนอกได้สะดวกขึ้นมาก ซึ่งหมายถึงโอกาสทางเศรษฐกิจของจีนที่เพิ่มขึ้นในตลาด ใหม่ๆ เหล่านี้ด้วย
  • 19. 17  จีนได้โอกาส Recycle พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (US treasury bond) ที่ถือเอาไว้มหาศาลโดยไม่ เกิดประโยชน์ เอามาลงในโครงการลงทุนในต่างประเทศ  ธนาคาร AIIB และ Silk Road Fund ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของ OBOR นั้น สาหรับจีนเป็นวิธี “แปลง” พันธบัตรสหรัฐที่มีอยู่มากเกินไปเป็นโครงการลงทุน โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน และ โดยเฉพาะ “การสร้างถนน” ในการนี้ ประเทศที่น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดจากทุกประเทศใน โลกจากสองกองทุนนี้ก็คือ ประเทศไทย  การที่จีนออกสู่โลกภายใต้ธง One Belt One Road ที่รัฐบาลเดินนาและเอกชนยินดีเดินตามนี้ เป็นโอกาสดีในการส่งเสริมให้สกุลเงินหยวน (RMB) ถูกใช้เป็นสกุลเงินสากล ซึ่งเป็นนโยบาย หลักของรัฐบาลจีนเวลานี้อยู่แล้ว ภาพที่ 7 โครงการ One Belt One Road กระตุ้นการลงทุนของจีนในต่างประเทศ 3. อนาคตการลงทุนของไทยในประเทศจีน ภาพรวมคือ นักลงทุนไทยที่ต้องการเข้าไปลงทุนในจีนต้องตระหนักว่าวันนี้จีนมาถึงจุดเปลี่ยน ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกครั้ง นั่นคือ จีนวางยุทธศาสตร์ให้ตนเป็น “ตลาดโลก” มิใช่ “โรงงานของโลก” เช่นที่ผ่านมาอีกต่อไป จากกรอบนี้ การลงทุนในอุตสาหกรรมแบบเก่าจะไม่ได้รับความสนใจจากจีนอีก ต่อไป เช่น อุตสาหกรรมหนักที่ทาลายสิ่งแวดล้อมหรือใช้พลังงานสิ้นเปลืองในการผลิต จาพวกการ
  • 20. 18 ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมที่ป้อนธุรกิจเหล่านี้อีกทอด เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ถ่านหิน หรือการลงทุนในสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งจาเป็นพื้นฐานสาหรับมนุษย์ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ก่อสร้าง การ ลงทุนในธุรกิจพวกนี้จึงเป็นอดีต หรือกาลังจะกลายเป็นอดีต ไม่ใช่อนาคต อนาคตของเศรษฐกิจจีน คือ เศรษฐกิจแบบสร้างสรรค์ สิ่งสาคัญที่จีนให้ความสาคัญที่สุดคือ “นวัตกรรมใหม่” การลงทุนจากต่างชาติที่จะมีอนาคตในจีน ล้วนต้องตอบคาถามให้ได้ว่าจะมอบ นวัตกรรมใหม่อะไรที่จีนยังไม่มีให้ได้ จึงจะได้รับความสนใจจากจีน การลงทุนที่น่าจะมีอนาคตในจีน ต่อไป เช่น การลงทุนในธุรกิจจาพวกที่เน้นเทคโนโลยีขั้นสูง ธุรกิจดิจิทัล industry 4.0 การค้าแบบ E-commerce (ซึ่งเป็นที่นิยมมากของตลาดผู้บริโภคชาวจีน) ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจด้านบริการ ด้าน สุขภาพ และด้านการศึกษา รวมถึง ธุรกิจที่ผลิตสินค้าที่คนจีน “ขาดไม่ได้” เช่น อาหาร บุหรี่ เป็นต้น (ภาพที่ 8) ภาพที่ 8 ธุรกิจที่มีอนาคต “สดใส” และ “ไม่สดใส” สาหรับการลงทุนในจีนนับจากนี้ นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคานึงในการเข้าไปทาธุรกิจในจีน นับจากนี้ มีดังต่อไปนี้ (ภาพที่ 9, 10)  จะต้องเพิ่มความสาคัญเรื่องการปรับให้มีความโปร่งใสและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามนโยบาย ของรัฐบาลจีน  สัมพันธภาพที่ดีกับพรรคและรัฐยังเป็นปัจจัยสาคัญในการทาธุรกิจในจีน
  • 21. 19  ตระหนักถึง “ลักษณะเฉพาะตัว” ของทัศนคติต่อเรื่อง “คู่ค้า (partnership)” แบบจีน ที่ ต่างจากตะวันตกที่เน้นยึดหลักตามสัญญาลายลักษณ์อักษรอย่างเคร่งครัด ขณะที่วงการธุรกิจ จีนจะเน้น “สัญญาใจ” มากกว่า การทาให้ “ได้ใจ” กันจึงมีความสาคัญสาหรับการทาธุรกิจกับ คู่ค้าคนจีน เมื่อ “ไว้ใจ” กันแล้ว การทาธุรกิจร่วมกันก็จะสะดวกสบายแบบ “หยวนๆ” ได้  อย่าไว้ใจข้อมูล โดยเฉพาะตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่รัฐบาลจีนประกาศออกมา  รัฐวิสาหกิจจะมีเสถียรภาพมากกว่าภาคเอกชน และบริษัทใหญ่สายป่านยาวก็จะมีโอกาสอยู่รอด มากกว่า SMEs ในสภาวะทางเศรษฐกิจช่วงนี้ ภาพที่ 9 ข้อคานึงสาหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้าไปลงทุนในจีน (1)
  • 23. 21 ความคิดและยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน ในปัจจุบัน แกนหลักของยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีน ตั้งแต่ช่วงเติ้งเสี่ยวผิงเปิดประเทศถึงขณะนี้ ชัดเจน ว่าอยู่ที่การสนองการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือเรียกได้ว่าจีนเอาการทูต การเมืองมารับใช้เป้าหมาย ทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างความมั่งคั่งร่ารวยจึงครองความสาคัญสูงสุดใน วาระแห่งชาติจีนนับแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เมื่อดูยุทธศาสตร์การต่างประเทศจีนให้ชัดขึ้น คาที่ช่วยให้เห็นภาพมากคือ ในขณะที่อเมริกายึด หลัก Have Gun No Trouble มาแต่โบราณถึงปัจจุบัน ต้องการอะไรก็ใช้กาลังที่เหนือกว่าของตนบังคับ คนอื่นลง แต่จีนในเวลานี้ใช้หลัก Have Yuan No Trouble คือใช้เศรษฐกิจเป็นตัวนาในการทาการ ต่างประเทศ ในการผูกสัมพันธ์ทางการเมืองกับนานาประเทศ ในการไปสร้างอิทธิพลและความนิยมใน ประเทศอื่น เช่น ในแอฟริกา จีนเป็นที่ต้อนรับมาก เพราะไม่มีใครพร้อมให้ทุนและความรู้แก่แอฟริกา เท่ากับจีนแล้วในเวลานี้ และสาหรับเอเชียกลางเรื่อยไปถึงเยอรมัน และอาเซียนเรื่อยไปถึงเอเชียใต้ จีนก็ มียุทธศาสตร์ One Belt One Road หนึ่งเส้นทางทางบก หนึ่งเส้นทางทางทะเล เป็นโอกาสทาง เศรษฐกิจให้เช่นกัน และจีนก็ไปลงทุนมหาศาลในอังกฤษ และประเทศยุโรปอื่นๆ กล่าวได้ว่าเวลานี้ถนน ทุกสายมุ่งสู่จีน ใครก็ตามที่อยากมีโอกาสทางเศรษฐกิจในโลกเวลานี้ต้องเข้าหาจีน มหาวิทยาลัยชื่อดังใน สหรัฐ ในอังกฤษ ต่างไปเปิดสาขาในจีน มุ่งเอานักศึกษาจีนเป็นลูกค้าหลัก จีนขยายการค้าทั้งทางบก ทางน้า ทางอากาศ ทางอากาศก็คือการค้าผ่านอินเทอร์เน็ต (E-commerce) ซึ่งจีนก็พัฒนาจนมีระบบ ดังกล่าวที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก โดยสรุป เวลานี้จีนไปไหนในโลกก็พูดภาษาเงิน ภาษาเศรษฐกิจเป็น หลัก จีนในเวลานี้ยังเป็นจีนที่ยอมรับ “ความปกติแบบใหม่ (New Normal)” ด้วย คือเป็นจีนที่ ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก และพร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวหน้าในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่นี้ ไม่ ปฏิเสธวิธีการอะไรจากอุดมการณ์หรือความเชื่อทางการเมืองอีกต่อไป จีนเวลานี้รับหมดทุกอย่างที่ใช้ แล้วดี ทุกอย่างที่ทาแล้วพาจีนไปสู่เป้าหมายคือความมั่งคั่งได้ โดยไม่สนใจว่านั่นเป็นของตะวันตก นี่เป็น ของอเมริกา หรือเป็นทุนนิยมหรือไม่ เช่น E-commerce และเทคโนโลยี cyber จีนก็พัฒนาจนสู้สหรัฐได้ นวัตกรรมอะไรที่ใหม่ที่คนอื่นทาได้ดีกว่าจีน จีนก็ซื้อ จีนก็เอามาศึกษาหมด เช่น จีนเพิ่งซื้อต้นแบบ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ล่าสุดของรัสเซียที่ยังไม่ออกจาหน่าย ภายในจีนเองก็เปลี่ยน ปัจจุบันนายทุนชั้นนาของจีนไม่เพียงแต่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกพรรค คอมมิวนิสต์ แต่เข้าไปอยู่ในคณะกรรมการกลางพรรคได้แล้ว คาว่า ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (market economy) ที่ก่อนหน้านี้ต้องพ่วงคาว่า with Chinese characteristics เวลาก็นี้ไม่ต้องแล้ว สรุปคือจีน พร้อมจะเรียนรู้ทุกแบบ จากทุกฝ่าย เป็น pragmatism ที่สุด ควานหาความรู้ทั่วโลก เอาความรู้