SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 21
Descargar para leer sin conexión
มีนาคม 2559 l ปีที่ 2 ฉบับที่ 2
CHATHAM HOUSE การวางแผนด้านนวัตกรรมของจีนที่มุ่งสู่ความสาเร็จด้านสิ่งแวดล้อม
BROOKINGS  จีนในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ของโลก
World
Think Tank
Monitor
ปีที่ 2 ฉบับที่ 10
พฤศจิกายน 2559
Ü  อินเดียคิดอย่างไรกับ One Belt One Road 
      บทเรียนจากการเลือกตั้งอเมริกา
กับหนังสือเพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
ฤาทรัมป์ จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ตุรกี – สหรัฐ
โมเดลการขจัดความยากจนของจีน : การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น
 สิ่งที่ต้องรู้ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
บทบรรณาธิการ
สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ในช่วงเวลาที่คนไทยยังอยู่ในห้วงความอาลัยอยู่นั้น สถานการณ์
ระหว่างประเทศก็ยังคงเปลี่ยนผันไปมากมายเช่นเคย ที่จับตากันมากที่สุดหนีไม่พ้นการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ผลออกมาชนิดที่ทาลายความคาดหมายของทุกสานักโพล ทุก
นักวิชาการ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ ชัยชนะของทรัมป์คราวนี้ยิ่ง
ตอกย้ากระแสเฟื่องฟูของฝ่ายขวาในการเมืองของตะวันตก ต่อเนื่องจาก Brexit ของสหราช
อาณาจักรเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับกระแสบูรพาภิวัตน์ซึ่งเป็นความสนใจหลักของ
สถาบันคลังปัญญาฯ ที่ว่าตะวันออกรุ่งเรือง ในขณะที่ตะวันตกเสื่อมถอย ทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง
และสังคม
World Think Tank Monitor ฉบับนี้จึงติดตามเรื่องนัยยะหลังการเลือกตั้งอเมริกาเป็นหลัก
ซึ่งนอกเหนือจากการนาเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบจากผลการเลือกตั้งสหรัฐกับภูมิภาคต่างๆ
ของสถาบันคลังความคิดชั้นนาอย่าง Brookings, Carnegie Endowment for International Peace,
แล้ว สถาบันคลังปัญญาฯ มีความภูมิใจนาเสนอ หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศ
ประชาธิปไตยไทย ของ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันฯ ซึ่งเป็นการทบทวนความ
เข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยเสียใหม่ว่ามิใช่ต้องตามตะวันตกที่เป็นอุดมคติเท่านั้น แต่เป็นเช่น
ระบอบการเมืองอื่นๆ ของสังคมมนุษย์ ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงไปตามกาลเทศะ ตามยุคสมัยและ
สังคมด้วย พร้อมกันนี้ได้กวาดตาดูแนวทางปฏิรูปประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก เพื่อ
หาทางออกในการปรับปรุงประชาธิปไตยของไทยให้มีคุณภาพต่อไป
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สารบัญ
หน้า
บทบรรณาธิการ
CHATHAM HOUSE สิ่งที่ต้องรู้ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย 1
BROOKINGS INSTITUTION
โมเดลการขจัดความยากจนของจีน : การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น 4
BROOKINGS INSTITUTION
ความคิดเห็นจากนักวิชาการของ Brookings ภายหลังผลการเลือกตั้งสหรัฐ 7
BROOKINGS INDIA
อินเดียคิดอย่างไรกับ One Belt One Road 10
CARNEGIE ENDOWMENT FOR INTERNATIONAL PEACE
ฤาทรัมป์ จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ตุรกี – สหรัฐ? 12
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
บทเรียนจากการเลือกตั้งอเมริกา
กับหนังสือเพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย 15
1
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
CHATHAM HOUSE
สิ่งที่ต้องรู้
ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย
เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สถาบัน
Chatham House โดย Dr. Nigel Gould-Davies
ได้เผยแพร่บทความซึ่งวิเคราะห์ถึงอนาคตของ
ประเทศไทยภายหลังการสวรรคตของ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระมหากษัตริย์ลาดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี โดย
ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่าการเปลี่ยนผ่าน
ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
เป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์มานานถึง 70 ปี ตลอดรัช
สมัยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นมากมาย ทั้ง
ด้านเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนความขัดแย้งใน
2
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ภูมิภาค พระองค์มีบทบาทในการพัฒนาประเทศอยู่ไม่
น้อย โดยเฉพาะการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคน
ไทยในถิ่นทุรกันดาร จนได้รับการขนานนามว่า “บิดา
ของชาติไทย” (Father of the Nation) ผู้เป็นส่วน
สาคัญในการนาพาประเทศไทยสู่ความทันสมัย ด้วย
เหตุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
9 จึงมิได้มีฐานะเป็นเพียงสถาบันเชิงสัญลักษณ์
สาหรับคนไทยเท่านั้น แต่ยังมีพระบารมีและคุณความ
ดีด้านศีลธรรมที่ส่งผลให้พระองค์มีบทบาทเหนือกว่าที่
รัฐธรรมนูญกาหนดไว้ คนไทยจานวนมากเทิดทูนและ
จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งขอบเขตของ
อานาจดังกล่าวยังคงไม่ชัดเจนและไม่เป็นที่คุ้นเคยใน
สายตาโลกตะวันตก
อย่างไรก็ดี หลังจากพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคต สมเด็จพระบรม
โอรสาธิราช เจ้าฟ้ ามหาวชิราลงกรณ สยาม
มกุฎราชกุมาร ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร
ตั้งแต่ พ.ศ.2515 ก็ยังมิได้ทรงขึ้นรับตาแหน่งกษัตริย์
พระองค์ใหม่โดยทันที แต่มีรับสั่งขอเวลาสักระยะเพื่อ
แสดงความเสียใจร่วมกับประชาชนชาวไทยก่อน โดย
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ขึ้นเป็น
เป็นผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวระหว่างรอ
การขึ้นครองราชย์
ผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ
มีผู้สังเกตการณ์จานวนไม่น้อยกังวลเกี่ยวกับ
ความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงที่จะเกิดกับคนไทย
จากการสูญเสียกษัตริย์อันเป็นที่รัก แต่คนไทยทั่ว
ทั้งประเทศก็ร่วมแสดงความอาลัยและไว้ทุกข์อย่าง
สงบ ส่วนที่โดดเด่นที่สุดในสายตาของ Chatham
House คงไม่พ้นประเด็นเรื่องการแสดงออกของคน
รุ่นใหม่ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับรัชกาลที่ 9 เบาบางกว่า
คนรุ่นก่อนที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 9 ประกอบพระราชกรณียกิจและปรากฎ
พระองค์ต่อหน้าสาธารณชนอยู่บ่อยครั้ง แต่กลับมี
คนหนุ่มสาวจานวนมากมาร่วมส่งเสด็จในพิธีเชิญ
พระบรมศพ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการ
ผสมผสานที่ดีของสิ่งดั้งเดิมกับความทันสมัยใน
สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทว่า
ในบางกรณีก็มีคนจานวนหนึ่งที่ข่มขู่คุกคามผู้ที่ไม่
ไว้ทุกข์หรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่ง
รัฐบาลได้ออกมาต่อต้านการกระทาละเมิดสิทธิ
มนุษยชนดังกล่าว
สาหรับด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ต่างๆ ยังคงดาเนินไปตามปกติ ยกเว้นธุรกิจบาง
ประเภทที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงและการโฆษณา
ที่จาเป็นต้องระงับหรือถ่ายทอดอย่างจากัดในช่วงที
มีการไว้ทุกข์
แนวโน้มอนาคตของประเทศไทยบนเส้นทาง
แห่งการเปลี่ยนผ่าน
ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่มาพร้อมกับความ
สูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศไทย Dr. Nigel Gould-
Davies ได้ตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง
ที่จ ะ เ กิด ขึ้น ภ า ย ห ลัง ก า ร ส ว ร ร ค ต ข อ ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ไว้ 3
ประเด็น ดังต่อไปนี้
1. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทย
ที่เพิ่งได้รับการเห็นชอบจากการลงประชามติโดย
ประชาชนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจะมีผลอย่าง
เป็นทางการเมื่อมีการนาขึ้นกราบบังคมทูลต่อ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
เพื่อทรงลงพระนามาภิไธย ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้น
ภายในเดือนพฤศจิกายน
2. การเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะนาพาประเทศไทย
กลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย ได้ถูกกาหนดไว้
ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี
2017
3
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
3. การกลับสู่ภาวะปกติของการเมืองไทยถือ
เป็นการทดสอบความสามารถของกลุ่มการเมืองขั้ว
ตรงข้ามรัฐบาลอีกครั้ง ในช่วงของการไว้ทุกข์ กลุ่ม
การเมืองต่างๆ ได้ระงับการเคลื่อนไหวลงเป็นการ
ชั่วคราว แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายการเมืองของกลุ่มคนเสื้อ
แดงก็ได้เตรียมความพร้อมสาหรับการเลือกตั้งและ
กิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นภายหลัง
ประเทศมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปีหน้า
เอกสารอ้างอิง
Nigel Gould-Davies. What to Know About
Thailand’s Royal Transition. Chatham house.
ออนไลน์ https://www.chathamhouse.org/expert/
comment/what-know-about-thailand-s-royal-
transition
4
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
BROOKINGS INSTITUTION
สถาบัน Brookings ได้เผยแพร่ผลงานเรื่อง
Ending poverty : What should we learn and not
learn from China? ว่าด้วยเรื่องของการขจัดความ
ยากจนของโลกโดยมีจีนเป็นตัวอย่าง ซึ่งจีนถือเป็น
ประเทศที่ประสบความสาเร็จมากที่สุดในโลกในการ
กาจัดความยากจน โดยจีนเพียงประเทศเดียว
สามารถลดความยากจนคิดเป็นสัดส่วนได้ 3 จาก 4
ส่วนของโลก ในเวลาเพียง 1 ชั่วอายุคน สามารถ
เปลี่ยนตนเองจากประเทศสังคมนิยมล้าหลัง ที่จนกว่า
บังคลาเทศและชาด (ประเทศในแอฟริกา) ในปี 1980
ให้กลายเป็นประเทศที่ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น
อันดับ 2 ของโลกได้ในปัจจุบัน แต่ก็เป็นความจริงที่ว่า
จีนยังคงมีความเหลื่อมล้าอีกมาก อีกหลายชีวิตไม่ได้
ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเจริญขึ้นของจีน แต่อย่าง
โมเดลการขจัดความยากจนของจีน : การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น
5
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
น้อยที่สุดการที่สามารถยกระดับให้คน 700 ล้านคน พ้น
จากความยากจนได้ ก็ถือเป็นความสาเร็จอันยิ่งใหญ่ที่
ไม่มีใครเคยทาได้มาก่อนแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้จีนจะประสบความสาเร็จด้าน
การขจัดความยากจน แต่ประชาคมโลกก็ไม่เต็มใจและ
ไม่สนใจที่จะนาบทเรียนความสาเร็จของจีนมาใช้นัก
เหตุผลหลักเพราะจีนปกครองโดยระบอบเผด็จการ ซึ่ง
ชาติตะวันตกมองว่าผิดปกติในระบอบโลกที่เป็น
ประชาธิปไตยและทุนนิยมตะวันตกนี้ แต่จะเป็นสิ่งที่น่า
เสียดายมากหากเราไม่ศึกษาประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่
ของจีน และในการศึกษาบทเรียนจากจีน เราต้องรู้ว่า
อะไรควรศึกษาเป็นเยี่ยงอย่างและอะไรไม่ควรที่จะทา
ตาม
งานชิ้นนี้ ได้นาเสนอสิ่งที่ควรและไม่ควรเรียนรู้
จากจีน โดยสิ่งที่ไม่ควรเรียนรู้ คือ ประเทศกาลังพัฒนา
ไม่ควรใช้รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการเหมือนจีน
เผด็จการนั้นดีในการทาบางอย่างให้สาเร็จ (สามารถทา
ได้อย่างรวดเร็ว) เพราะผู้นาสามารถตัดสินใจได้ทันที
แต่ถ้าตัดสินใจพลาด อาจนาไปสู่หายนะได้
ส่วนสิ่งที่เราควรเรียนรู้จากบทเรียนของจีน คือ
ภายใต้ภาพลักษณ์เผด็จการที่คนทั่วโลกต่างหวาดกลัว
จีนมีการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่ง
มักจะซ่อนอยู่ในสาขาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระดับ
ท้องถิ่น และในสังคมชั้นรากหญ้า การทางานเป็นแบบ
ล่างขึ้นบน(Bottom-up) ไม่ใช่ทาจากส่วนกลาง นี่คือสิ่ง
ที่ทาให้จีนหลุดพ้นจากความยากจนได้
ในขณะที่คนทั่วไปมักมีมุมมองว่าประเทศจีน
เป็นเผด็จการ แต่ตรงกันข้าม จีนเป็นประเทศที่มี
การกระจายอานาจมากที่สุดในโลก ประธานาธิบดี
จะมีหน้าที่สร้างวิสัยทัศน์ มองภาพในมุมกว้าง
ในขณะที่ผู้ที่ลงมือทาและพัฒนาจริงๆ จะอยู่ในระดับ
ท้องถิ่น ซึ่งคนในพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับท้องถิ่นจะ
เป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนและนัก
ลงทุน
หัวใจหลักของโมเดลการใช้พื้นที่ทางานนี้ คือ
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่มีความ
กระตือรือร้นที่จะพัฒนาระบบตลาด และเพื่อที่จะให้
เข้าใจ เราต้องย้อนไปดูประวัติศาสตร์ ในอดีตที่ผ่าน
มาของเมืองชายฝั่งทะเลที่ร่ารวยของจีน ที่วันนี้เมือง
เหล่านี้สามารถหลุดพ้นความจนมาได้นั้น จีนใช้
วิธีการเริ่มสร้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอย่างเป็น
ทางการ กาจัดการทุจริต และจ้างเจ้าหน้าที่ด้าน
เทคนิค เช่นเดียวกับในสิงคโปร์ หรือไม่? คาตอบคือ
ไม่ จีนไม่ได้ทาแบบนั้น แต่สิ่งที่จีนทาคือเริ่มพัฒนา
โดยการใช้ทรัพยากรที่มีในขณะนั้นอย่างดีที่สุด
โดยเฉพาะทรัพยากรคน ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของพรรค
คอมมิวนิสต์จะถูกส่งออกไปเหมือนผึ้งงานเพื่อเสาะ
แสวงหานักลงทุน และเมื่อเศรษฐกิจท้องถิ่นโตขึ้น
เป้าหมายการพัฒนาก็เปลี่ยนไป จากต้องการนัก
ลงทุนจานวนมาก กลายเป็นต้องการนักลงทุนที่มี
คุณภาพเท่านั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบตลาดไม่จาเป็นต้องเกิด
จากการสร้างการปกครองแบบธรรมาภิบาลตาม
ความหมายของตะวันตกเสมอไป ประเทศจีนไม่ได้
เริ่มพัฒนาประเทศโดยสร้างระบอบการปกครองแบบ
ธรรมาภิบาลตามแบบตะวันตก ที่มีหลักสาคัญอยู่ที่
การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก โปร่งใส
ตรวจสอบได้ แต่พัฒนาตามแบบฉบับของตน ทาให้
เกิดระบบตลาดและสามารถพัฒนาประเทศของตนได้
6
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ซึ่งบทเรียนนี้ไม่ได้นาเสนอเพื่อให้ประเทศอื่นๆ ลอก
เลียนวิธีการเติบโตของจีน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าประเทศที่
ยังประสบปัญหาความยากจน จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์
จากคุณสมบัติของตนที่ไม่เหมือนคนอื่น เพื่อเริ่มพัฒนา
ไปตามวิถีที่เหมาะสมกับตน มากกว่าการทาตามแบบ
ฉบับประเทศที่ร่ารวยแล้ว
นอกจากประเทศจีนแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ ที่
ผู้ประกอบการท้องถิ่นเป็นผู้ลงมือทาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง เช่น ในไนจีเรีย ผู้สร้างภาพยนตร์ท้องถิ่น
ใช้ประโยชน์จากการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นช่องทางการจัด
จาหน่าย ทาให้ภาพยนตร์ของพวกเขาขายได้อย่าง
รวดเร็ว และในอินโดนีเซีย เกิดธุรกิจท้องถิ่นชื่อว่า Hail-
a-ride (ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง) ซึ่งได้รับการตอบรับ
อย่างดีจากเมืองที่ขาดการจัดการด้านการขนส่ง
คมนาคมที่ดี
ประเทศยากจนยังมีอีกมาก ความยากจนนั้น
อาจเกิดจากการมีสถาบันที่ไม่ดี มีการทุจริตและมี
รัฐบาลที่อ่อนแอ แต่สิ่งที่เราต้องทาความเข้าใจคือ เรา
จะประสบความสาเร็จได้อย่างไรภายใต้สภาวะไม่ดีที่
เผชิญ เราจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างไร และเรา
จะมีวิธีอย่างไรในการยกระดับความรู้ในท้องถิ่นเพื่อต่อสู้
กับความท้าทายที่กาลังเผชิญ
Yuen Yuen Ang. Ending poverty: What should
we learn and not learn from China? Brookings
Institution. https://www.brookings.edu/blog/future-
development/2016/11/07/ending-poverty-what-
should-we-learn-and-not-learn-from-china/
7
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
BROOKINGS INSTITUTION
หลังจากผลการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา
ออกมาว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ เฉือนชนะ นางฮิลลารี
คลินตัน ไปแบบเฉียดฉิว นักวิชาการของสถาบัน Brook-
ings ที่เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ก็ได้ออกมาแสดงความ
คิดเห็นมากมาย แต่สถาบันคลังปัญญาฯ จะขอนาเสนอ
เฉพาะความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเอเชีย ดังนี้
Richard Bush ผู้อานวยการของศูนย์นโยบาย
เอเชียศึกษา และ John L, Thronton นักวิชาอาวุโส
ด้านนโยบายต่างประเทศของศูนย์จีนศึกษา ได้ออกมา
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อันดับแรก ผู้นา
ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ควรสร้าง
ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับทรัมป์และคณะที่ปรึกษาของเขา
ผู้นาที่รู้จักกันย่อมเข้าใจการกาหนดนโยบายต่อฝั่งตรง
ข้าม ถ้าผู้นาประเทศในเอเชียเข้าใจแนวคิดของทรัมป์
และคณะที่ปรึกษาของเขา จะรู้ว่าควรสร้างความร่วมมือ
กันอย่างไรและมีจุดใดที่ต้องระวัง ซึ่งจะช่วยทาให้ไม่เกิด
ความคิดเห็นจากนักวิชาการของ Brookings
ภายหลังผลการเลือกตั้งสหรัฐ
8
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปัญหาในอนาคตและจะมีรากฐานสาหรับความสัมพันธ์
อันดีด้วย
พวกเขายังบอกอีกว่า เกาหลีเหนือเป็นกรณีที่น่า
กังวลใจที่สุด สหรัฐ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ควรร่วมมือ
กันเพื่อเตรียมรับมือและเตรียมการตอบโต้กับสิ่งที่อาจ
เกิดในอนาคต หากไม่มีการตระเตรียมที่ดี จะส่งผลให้
การกาหนดทิศทางของพฤติกรรมของเกาหลีเหนือใน
อนาคตเป็นไปได้อย่างยากลาบากและอาจเกิด
สถานการณ์ลาบากใจระหว่างสหรัฐ จีน เกาหลีใต้ และ
ญี่ปุ่นมากขึ้น
ด้าน David Dollar นักวิชาการอาวุโสด้าน
เศรษฐกิจโลกและการพัฒนาของศูนย์จีนศึกษา และ
John L, Thronton ได้แสดงความคิดเห็นว่า ทรัมป์ ควร
จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและประเทศเอเชีย
แปซิฟิก การผงาดขึ้นมาของจีนเป็นเหตุการณ์ที่สาคัญ
มากในประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ซึ่งสหรัฐสามารถเลือกแนว
ทางการดาเนินนโยบายได้สองทาง อย่างแรก คือดาเนิน
ความสัมพันธ์แบบ win-win-win ระหว่างสหรัฐ จีน และ
ประเทศที่กาลังเจริญขึ้นมา หรืออย่างที่สอง คือใช้ระบบ
พันธมิตร และสถาบันทางเศรษฐกิจและระเบียบ
เศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยมอื่นๆ ที่สหรัฐสร้างขึ้นหลัง
สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเครื่องมือในการกาหนดผลลัพธ์
ให้เป็นไปในทิศทางที่สหรัฐต้องการ
การเลือกตั้งครั้งนี้มีการโต้เถียงกันอย่างมาก ว่าสหรัฐ
ควรจะแบกรับภาระการเป็นผู้คุ้มครองโลกต่อไปหรือ
ควรจะให้ประเทศที่ได้รับการปกป้องจากสหรัฐเริ่ม
รับผิดชอบตนเองบ้างได้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีคาถาม
เกิดขึ้นอีกว่า สหรัฐยังควรที่จะเป็นผู้ดารงรักษาระบอบ
การค้าเสรีอยู่อีกต่อไปหรือไม่ ซึ่งในเอเชียแปซิฟิกเริ่มมี
การพูดกันอย่างหนาหูว่าสหรัฐจะถอนตัวออกจาก
เศรษฐกิจและภาระหน้าที่ต่างๆ ในโลก ซึ่ง David Dol-
lar และ John L, Thronton มีค วามคิดเ ห็นว่า
ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐไม่ควรจะทิ้งเอเชีย และ
การเดินทางเยือนครั้งแรกสาหรับทรัมป์ในเอเชียควรมี
เป้าหมายเพื่อสนับสนุนความเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น
เกาหลีใต้และสิงคโปร์ เพื่อทาให้ประเทศเหล่านี้มั่นใจว่า
สหรัฐจะไม่ถอนตัวออกจากเอเชียทั้งในด้านความมั่นคง
ทางการทหารและเศรษฐกิจ
สหรัฐควรสร้างความร่วมมืออย่างลึกซึ้งกับ
ประเทศเอเชียแปซิฟิกและยุโรปที่มีแนวคิดทางด้าน
เศรษฐกิจเหมือนกัน ที่ผ่านมา TPP ถูกประชาสัมพันธ์
ไปในทิศทางที่ผิดและคงยากมากถ้าจะดึงกลับมาทา
ใหม่ แต่ถึงอย่างนั้น สหรัฐควรสร้างกรอบความร่วมมือ
ที่มีลักษณะคล้าย TPP ขึ้นมาใหม่ โดยเน้นทางด้านการ
ลงทุน รัฐวิสาหกิจ แรงงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น
การกระตุ้นให้จีนต้องเร่งปฏิรูปและยกระดับมาตรฐาน
ของตนให้เท่ากับมาตรฐานที่สหรัฐตั้งไว้
พวกเขาได้เสนอทางออกสาหรับสหรัฐว่า การที่
สหรัฐใช้การกาหนดกาแพงภาษีที่สูงลิ่วเป็นเครื่องมือใน
การทาสงครามการค้ากับจีน รวมไปถึงการที่ตราหน้า
จีนว่าเป็นประเทศที่ชอบควบคุมค่าเงินนั้นเป็นสิ่งที่ไม่
น่าทา การทาแบบนี้อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐ
หากสหรัฐต้องการที่จะรับมือกับการเติบโตขึ้นของจีน
ได้อย่างดี สหรัฐต้องสร้างพันธมิตรทางการทหารและ
รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกับประเทศที่มี
แนวคิดทางเศรษฐกิจที่ไปในทิศทางเดียวกัน ผลลัพธ์
น่าจะออกมาในทิศทางที่ดีกว่าแน่นอน
9
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
เอกสารอ้างอิง
Daniel L. Byman, Dany Bahar, Sarah Yerkes, Pavel
K. Baev, Dhruva Jaishankar, Richard C. Bush, Dan
Arbell, David Dollar, Elizabeth Ferris, Ranj Alaaldin,
Beverley Milton-Edwards, Federica Saini Fasanotti,
Bruce Riedel, Robert L. McKenzie, Matteo
Garavoglia, Natan Sachs, Kemal Kirisci, Ted Pic-
cone, Philippe Le Corre, and Jessica Brandt. Ex-
perts weigh in: What this election means for U.S.
foreign policy and next steps. Brookings Institu-
tion. https://www.brookings.edu/blog/order-from-
chaos/2016/11/09/experts-weigh-in-what-this-
election-means-for-u-s-foreign-policy-and-next-
steps/
10
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
BROOKINGS INDIA
ในยุคบูรพาภิวัตน์ที่เอเชียรุ่งเรืองขึ้นมานี้ เอเชียมี
การสร้างโครงการเชื่อมโยง (Connectivity) ขนานใหญ่
ในภูมิภาคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างกายภาพ
สถาบัน กฎหมายข้อระเบียบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือ
ทางรถไฟ ถนน สะพาน ไม่ว่าจะต่อเชื่อมดินแดนหรือ
น่านน้า ซึ่งยุทธศาสตร์ Connectivity หลักของเอเชียนั้น
ก็หนีไม่พ้น One Belt One Road ของจีนที่เชื่อมโยง
ทางบกจากจีน สู่เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และเอเชีย
ใต้ ไปยังยุโรป ส่วนทางทะเลเชื่อมจากมหาสมุทร
แปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ต่อไปยังยุโรป และเลยไป
จนถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก
เมื่อเดือนมีนาคม 2559 ที่ผ่านมา Brookings
Institution India ได้เผยแพร่บทความเรื่อง
What India thinks about China’s One Belt, One
Road initiative (but doesn’t explicitly say) โดย
Tanvi Madan กล่าวถึงมุมมองที่อินเดียมีต่อมหา
ยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน โดยดูจาก
คากล่าวของบุคคลระดับสูงในวงการต่างประเทศของ
อินเดียในวาระต่างๆ ได้แก่ รัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่า
การ และปลัดกระทรวงต่างการประเทศอินเดียซึ่งแม้
ไม่ได้ออกมาต่อต้านหรือปฏิเสธโครงการ OBOR
โดยตรง แต่ก็แสดงให้เห็นมุมมองทางการของอินเดียที่
ไม่ไว้ใจและระแวดระวัง OBOR ของจีน
ถึงปัจจุบัน แม้อินเดียไม่ได้ออกมาสนับสนุนหรือ
เข้าร่วมกับยุทธศาสตร์ OBOR เต็มตัวอย่างเป็น
ทางการ แต่ก็ไม่ได้ต่อต้านอย่างเป็นทางการเช่นกัน
เพราะอินเดียเองเข้าเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้ง
อินเดียคิดอย่างไรกับ One Belt One Road
11
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ธนาคาร AIIB สถาบันทางการเงินที่มารองรับการ
ก่อสร้าง One Belt One Road ของจีนเช่นกัน
อย่างไรก็ดี อินเดียก็ไม่มีแนวโน้มที่จะออกมา
สนับสนุน OBOR อย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้
เหตุผลหนึ่งที่สาคัญคือ เพราะอินเดียมีความกังวลต่อ
OBOR โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียงเศรษฐกิจจีน-
ปากีสถาน ซึ่งเป็นส่วนสาคัญของยุทธศาสตร์ OBOR
ที่เชื่อมจีนกับมหาสมุทรอินเดียผ่านดินแดนของ
ปากีสถาน และผ่านส่วนหนึ่งที่เป็นดินแดนที่อินเดีย
อ้างสิทธิ์นอกจากนี้ อินเดียกล่าวว่าจีนทา OBOR ไป
ในทางที่ไม่ปรึกษาประเทศอื่นๆ เท่าที่ควร กลายเป็น
โครงการแบบตัดสินใจฝ่ายเดียว (Unilateral) เป็น
โครงการของจีนมากกว่าที่จะปรึกษาร่วมกันประเทศที่
เกี่ยวข้อง และระแวงว่าจีนจะใช้ OBOR เป็นเครื่องมือ
เพิ่มอานาจทางภูมิรัฐศาสตร์-ภูมิเศรษฐกิจในภูมิภาค
มากกว่าแค่เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม แม้ในทางการต่างประเทศ
อินเดียจะแสดงความระแวงระวังว่าจีนจะใช้ OBOR
มาครอบงาเอเชียและโลก แต่ในอินเดียเองก็มีความ
ตระหนักกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า การจะโน้มน้าวให้
ประเทศอื่นๆ ออกห่างจาก OBOR ได้นั้น อินเดีย
จาต้องมีโครงการทางเลือกหรือข้อเสนออื่นอันเป็น
รูปธรรมมาทดแทนโอกาสที่ประเทศอื่นๆ จะได้รับ
จาก OBOR ด้วย การให้แต่เพียงตัวเลือกที่เป็น
กรอบคิดนามธรรม เช่นกล่าวว่า อินเดียใช้แนวทางที่
เปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมมากกว่า (จีน) ในการเดิน
กรอบความร่วมมือพหุภาคีนั้นคงไม่พอ
เอกสารอ้างอิง
Tanvi Madan. What India thinks about
China’s One Belt, One Road initiative (but
doesn’t explicitly say). Brookings India.
ออนไลน์ https://www.brookings.edu/blog/order-
from-chaos/2016/03/14/what-india-thinks-about-
chinas-one-belt-one-road-initiative-but-doesnt-
explicitly-say/
12
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
CARNEGIE Endowment
for International Peace
ฤาทรัมป์ จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ตุรกี – สหรัฐ?
แม้ว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้ง
ล่าสุดได้สร้างความหวั่นวิตกแก่ชาติต่างๆ ในกลุ่ม
NATO อย่างมาก เนื่องจากว่าที่ประธานาธิบดี โดนัล
ทรัมป์ เป็นผู้นาที่มีภาพลักษณ์ขัดแย้งกับวัฒนธรรม
ประชาธิปไตยในหลายประเด็นกลับถูกเลือกสรรผ่าน
ระบบประชาธิปไตยในประเทศที่ยึดถือระบอบ
ประชาธิปไตย แต่สาหรับตุรกีแล้วนี่เป็นโอกาสอันดีที่
ทาให้พวกเขาเกิดความมั่นใจในรูปแบบการเมืองการ
ปก ค รอ ง ขอ ง ต น ม า กขึ้น เ พ รา ะ ตุ ร กีถู ก
วิพากษ์วิจารณ์จากสหรัฐมาตลอดว่าไม่เป็น
ประชาธิปไตย แต่สหรัฐเองกลับมีผู้นาที่ไม่เคารพ
ค่านิยมประชาธิปไตยเช่นกัน ตุรกียังประเมินด้วยว่า
“ประชาธิปไตย” และ “หลักนิติรัฐ” จะกลายเป็น
ประเด็นที่สหรัฐหยิบยกมาพาดพิงกิจการภายในของ
ตนน้อยลง อีกทั้งให้ความร่วมมือในการส่งตัว
ฟัตฮุลลอฮ กุเลน ผู้ที่ถูกทางการตุรกีกล่าวหาว่าอยู่
เบื้องหลังการก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกรกฎาคมที่
ผ่านมากลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย
ของตุรกี และสุดท้ายยอมรับบทบาทของตุรกีในฐานะ
ผู้เสริมสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาค
ตะวันออกกลางซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ในภาวะไร้
ระเบียบมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามหากว่าการ
13
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ประเมินทั้งสามประเด็นจะเป็นไปตามที่คาดการณ์
แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติจะยังคงมีความ
ตึงเครียดอยู่ไม่น้อยด้วยปัจจัยความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง
ในภูมิภาคต่อไปนี้
ระเบียบความมั่นคงของ NATO และภาคพื้น
แอตแลนติก
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาสหรัฐ
ขยายอิทธิพลทางทหารของตนไปทั่วโลก โดยใน
ภูมิภาค NATO และภาคพื้นแอตแลนติกนั้นสหรัฐมี
ความโดดเด่นมากที่สุด แต่แนวนโยบายต่างประเทศ
ซึ่งว่าที่ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ได้ชูขึ้นเพื่อหา
เสียงมาตลอด คือการปลีกตัวจากการยุ่งเกี่ยวกิจการ
ภายนอกและหันมาเสริมสร้างความมั่นคงภายใน
หาก ทรัมป์ ได้ดาเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้
นอกจากจะทาให้ NATO สูญเสียความมั่นคงโดยตรง
แล้ว ยังมีแนวโน้มว่าจะนามาสู่ความแตกแยกแบ่งฝัก
แบ่งฝ่าย เนื่องจากการลดบทบาทของสหรัฐอาจ
ละเมิด มาตรา 5 แห่งสนธิสัญญา NATO ที่ระบุว่า
ชาติสมาชิกต้องร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของกัน
และกัน ทาให้ชาติสมาชิกอื่นไม่มั่นใจว่าจะได้รับ
ความช่วยเหลือเมื่อยามจาเป็น ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มี
ผลประโยชน์ใดที่จะต้องให้ความร่วมมือกับ NATO
อีก นอกจากนี้ความตึงเครียดที่มีต่อรัสเซียใน
ประเด็นอาวุธนิวเคลียร์และแคว้นไครเมียได้สะท้อน
ว่าอิทธิพลของ NATO ได้ถดถอยลงไปมากอยู่แล้ว
และหากรัสเซียจะขยายอานาจมายังภูมิภาคยุโรป
ตะวันออกอีก NATO ในยุคที่สหรัฐลดบทบาทย่อม
ไม่อาจต้านรัสเซียได้แน่นอน
อิหร่าน
อิหร่านยินยอมต่อแผนปฏิบัติการร่วมแบบ
เบ็ดเสร็จ (JCPOA) ด้วยการลดศักยภาพของ
โครงการนิวเคลียร์ของตนให้เหลือเพียงด้านพลังงาน
เท่านั้น ซึ่งรัฐบาลโอบามาได้ชูความสาเร็จนี้เป็น
ผลงานสาคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ
แต่ทรัมป์เคยหาเสียงในหลายวาระด้วยกันว่า
แผนปฏิบัติการนี้จะถูกทบทวนใหม่ ซึ่งหากแผนนี้ถูก
ล้มเลิกไปย่อมมีความเสี่ยงว่าอิหร่านอาจเพิ่ม
ศักยภาพนิวเคลียร์เพื่อผลิตอาวุธอีกครั้ง แน่นอนว่า
ความตึงเครียดทางทหารจะเกิดขึ้นกับสหรัฐเอง
รวมถึงอิสราเอลและกลุ่มรัฐ GCC (รัฐรอบอ่าว
เปอร์เซีย) ที่มีความขัดแย้งต่ออิหร่านในประเด็นอื่น
อยู่แล้วด้วย ทาให้ตุรกีในฐานะที่เป็นแนวหน้าของ
ประเทศซุนนีย่อมไม่นิ่งเฉยกับอิหร่านที่ก่อความ
ขัดแย้งทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งภาพอนาคต
เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากสหรัฐจะยังยืนยันใน
แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม ฉะนั้น ตุรกีย่อมไม่
พอใจอย่างมากหากสหรัฐจุดชนวนที่กาลังจะดับนี้อีก
ครั้ง
อิสราเอล
ปัญหาอันซับซ้อนของภูมิภาคตะวันออกกลาง
อาจปะทุหนักขึ้นจากการที่ ทรัมป์ ประกาศสนับสนุน
อิสราเอลอย่างไร้ขีดจากัด และรับรองเยรูซาเล็มใน
ฐานะเมืองหลวงของอิสราเอลด้วยการย้ายสถานทูต
สหรัฐฯ ประจาอิสราเอลจากกรุงเทลอาวีฟมายัง
เยรูซาเล็ม ที่สาคัญไปกว่านั้นเขายังชูนโยบายยกเลิก
แนวทางรัฐคู่ขนาน (two-state solution) อัน
14
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
หมายถึงการที่สหรัฐรับรองทั้งอิสราเอลและ
ปาเลสไตน์ ที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ยึดเป็น
จุดยืนมาตลอด หากอิสราเอลดาเนินนโยบายที่แข็ง
กร้าวที่เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายของทรัมป์ ย่อม
นามาสู่วงจรความขัดแย้งที่มีต่อฮามาสหรือฮิส
บุลลอฮที่เกิดขึ้นและสงบลงเป็นระยะ ฉะนั้น เลี่ยง
ไม่ได้ที่รัฐบาลตุรกีภายใต้พรรค AKP ซึ่งมีจุดยืน
สนับสนุนปาเลสไตน์อย่างหนักแน่นจะไม่พอใจต่อ
อิสราเอลรวมถึงสหรัฐด้วย
บทสรุป
อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ภาพอนาคตโดยยึด
ตามกรอบซึ่งว่าที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ เคยหาเสียง
ไว้นั้นยังไม่มีความแน่นอนเท่าใดนัก เพราะท้ายที่สุด
แล้วแนวนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ยังขึ้นอยู่กับผู้
กาหนดนโยบายกลุ่มอื่นๆ เช่น คณะรัฐมนตรี
โดยเฉพาะหากประธานาธิบดีเป็นผู้ที่ขาด
ประสบการณ์ในเรื่องนโยบายต่างประเทศแล้ว ย่อม
ถูกชี้นาจากข้อเสนอของผู้มีบทบาทในกระทรวงการ
ต่างประเทศและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิได้
ง่าย ฉะนั้น การก้าวสู่ตาแหน่งของผู้มีบทบาทในทั้ง
สองกระทรวงนี้ย่อมมีความสาคัญต่อการกาหนด
นโยบายต่างประเทศสหรัฐเป็นอย่างมากด้วย
เอกสารอ้างอิง
Sinan Ülgen. Is Trump Good for the Turkey-
U.S. Relationship?. Carnegie Endowment for
International Peace. ออนไลน์ : http://
carnegieeurope.eu/2016/11/12/is-trump-good-for
-turkey-u.s.-relationship-pub-66122
15
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
บทเรียนจากการเลือกตั้งอเมริกา
กับหนังสือเพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
“เดิมนั้น โลกคิดว่ามีแต่ประเทศประชาธิปไตย
เกิดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย ละตินอเมริกา และ
แอฟริกาเท่านั้น ที่ต้องปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือ
ปฏิรูปประชาธิปไตยของตน ส่วนประชาธิปไตยที่
พัฒนามาถึงขั้นของตะวันตกแล้ว ถึงจะมีปัญหา
อย่างไรก็ไม่ต้องห่วงไปแก้ไขปรับปรุงเท่าไร
ประชาธิปไตยตะวันตกนั้นแก้ไขตัวเองได้ ผู้เลือกตั้ง
จะหย่อนบัตรล้มรัฐบาลที่ผลงานไม่ดี แล้วเลือกผลงาน
ใหม่ที่ผลงานน่าจะดีกว่าเข้ามาได้เสมอหรือในเวลาไม่
นานนัก อย่างไรก็ดี ในช่วง 5-10 ปีหลังมานี้ เริ่มจะ
ยอมรับกันว่าประชาธิปไตยตะวันตกอาจจะแก้ไข
ตัวเองไม่ได้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจระบบตลาดหรือ
ระบบทุนนิยมแบบตะวันตกก็อาจแก้ไขตัวเองไม่ได้
เช่นกัน”
นี่คือเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือเรื่อง เพ่ง
ประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตย หนังสือเล่ม
ล่าสุดของ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ตีพิมพ์เมื่อ
ต้นปี 2559 ข้อความนี้น่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจน
มากขึ้น ภายหลังที่เราได้เห็นการเลือกตั้ง
ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งผ่านพ้นไป และชัย
ชนะของโดนัลด์ ทรัมป์
16
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
แม้จะพูดกันมานานแล้วว่า ประชาธิปไตย
ของประเทศที่ยกตนเป็น “ต้นแบบ” เป็นครู และ
ส่งออกประชาธิปไตยทั่วโลก อย่างสหรัฐอเมริกา
นั้นมีปัญหา แต่ก็คงไม่มีครั้งใดที่จะชัดเจนเท่าครั้ง
นี้ เพราะคุณภาพของผู้ท้าชิงตาแหน่ ง
ประธานาธิบดีทั้งคลินตันและทรัมป์นั้นถูกตั้ง
คาถามกันมากยิ่งกว่าครั้งใด ทั้งคู่ต่างพัวพันไป
ด้วยข้อครหา และที่สาคัญทั้งคู่ต่างอ่อน
ประสบการณ์ทางการเมือง ทางสาธารณะ
ทางการบริหารชาติบ้านเมือง ก่อนที่จะลงสมัคร
ตาแหน่งประธานาธิบดีฮิลลารีคืออดีตสตรี
หมายเลข 1 ที่เข้ามาดารงตาแหน่งรัฐมนตรี
ต่างประเทศเพียง 4 ปี ส่วนทรัมป์คือนักธุรกิจ
อย่างไรก็ดี คุณภาพตัวบุคคลไม่ใช่เรื่อง
เดียว เพราะยังยอมรับกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า
ปัญหาการเมือง รวมถึงเศรษฐกิจของสหรัฐนั้น
เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย กล่าวโดยรวบรัดคือ
การเมืองอเมริกาในปัจจุบันเป็นเรื่องระหว่างเดโม
แครตและรีพับลิกัน ซึ่งทั้งสองพรรคต่างถูก
ครอบงาไปด้วยทุน กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มธุรกิจ
ที่มีอิทธิพลในการกาหนดทิศทางของสหรัฐ
มากมายมหาศาล กลุ่มทุนเหล่านี้ค้าจุนพรรค
การเมืองและผู้สมัครประธานาธิบดีอย่างอุ่นหนา
ฝาคั่งทั้งสองฝ่าย ทาให้นโยบายหรือร่างกฎหมาย
ใดไม่ว่าจากฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติที่ขัด
ผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ก็ยากเหลือเกินที่จะ
ปฏิบัติหรือผ่านออกมาบังคับใช้ได้สาเร็จ จึงไม่ผิด
ที่จะกล่าวว่า ผู้ที่มีอานาจมากกว่าประธานาธิบดี
สหรัฐ คือนายทุนนั่นเอง
นอกจากปัญหาเชิงบุคคล และทุนครอบงา
แล้ว เมื่อนามาใช้ในความเป็นจริง ระบอบ
ประชาธิปไตย (Democracy) ของสหรัฐ รวมทั้ง
ของหลายประเทศตะวันตกและประเทศที่รับเอา
ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้ ยัง
กลายสภาพเป็นระบอบ ค้าน อธิปไตย
(Vetocracy) คือ เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบ
แบ่งฝ่าย ในการเลือกตั้งมีฝ่ายที่ชนะกับฝ่ายที่แพ้
(ซึ่งหลายครั้งแพ้ชนะกันไม่เท่าใด) เมื่อฝ่ายชนะ
ขึ้นบริหารประเทศ ฝ่ายที่แพ้ก็จะค้านเสมอไป
เช่น ในสหรัฐ หากรีพับลิกันได้บริหารประเทศ จะ
ออกนโยบาย เสนอร่างกฎหมายอะไร เดโมแครต
ก็จะค้านทุกสิ่ง เช่นเดียวกันเมื่อเดโมแครตเป็น
รัฐบาล รีพับลิกันก็จะค้านแทบทุกอย่าง ผลคือ
ไม่ว่าใครขึ้นมาบริหารประเทศก็บริหารประเทศ
ไม่ได้ราบรื่น ผลักดันอะไรไม่เป็นผล สถานการณ์
นี้ คนไทยเข้าใจได้ไม่ยาก จากวิกฤตที่พรรค
การเมืองสองพรรคใหญ่ของเรา และมวลชนที่
สนับสนุน ต่างออกมาค้านทุกสิ่งที่รัฐบาลฝ่ายตรง
ข้ามทา โดยไม่คานึงถึงประโยชน์ของสาธารณะ
ภายใต้วิกฤตของระบอบประชาธิปไตยนี้
เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
ชวนผู้อ่านหาทางออกในการปรับปรุงแก้ไข
ระบอบประชาธิปไตย โดยการเปิดมุมมอง
ทบทวนความเข้าใจต่อระบอบ “ประชาธิปไตย”
เช่น ความจริงว่าประชาธิปไตยไม่ได้เป็นระบอบ
ที่ตะวันตกผูกขาดเป็นเจ้าของเพียงอย่างเดียว
แต่ยังมีพัฒนาการมาในสังคมอื่นๆ ของโลกด้วย
สังคมที่ไม่ใช่ตะวันตกจึงไม่ได้มีปมด้อยที่จะใช้
ประชาธิปไตยไม่ได้หรือได้ผลน้อยกว่าใน
17
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ตะวันตก นอกจากนี้ยังได้สารวจแนวทางการ
ปฏิรูปประชาธิปไตยในสังคมต่างๆ ของโลก เพื่อ
นามาปรับปรุง ชดเชยข้อบกพร่องของการใช้
ร ะ บ อ บ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย แ บ บ ตั ว แ ท น
(Representative Democracy) เพียงอย่างเดียว
เช่น การใช้ระบอบ Civic Republicanism ในสเปน
การสร้างประชาธิปไตยแบบ Consociational มา
แทนแบบ Partisan Democracy ในหลายประเทศ
กระแสความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบขงจื่อ และ
Intelligent Democracy เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทาง
ในการคิดปฏิรูประบอบประชาธิปไตยของไทย
ต่อไป
18
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ที่ปรึกษา: ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: คุณยุวดี คาดการณ์ไกล
เรียบเรียง: นางสาวจุฑามาศ พูลสวัสดิ์
นางสาวปลายฟ้า บุนนาค
นายปาณัท ทองพ่วง
นายอุสมาน วาจิ
ภาพปก: http://www.chinausfocus.com/wp-content/uploads/2016/09/G20-bridge.jpg
ปีที่เผยแพร่: พฤศจิกายน 2559
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว
เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064

Más contenido relacionado

Destacado

Destacado (19)

ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
ผู้นำทางความคิด 2015 : เสียงที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก
 
แนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทย
แนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทยแนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทย
แนวคิด "เกษตรกรรมยุคใหม่" : ทางออกและโอกาสของเกษตรกรไทย
 
World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559
World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559
World Think Tank Monitors l กรกฎาคม 2559
 
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
World Think Tank Monitors l เมษายน 2559
 
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
World Think Tank Monitors l พฤษภาคม 2559
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมืองเบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
เบื้องหลังรัฐประหารตุรกีกับการต่อสู้ทางการเมือง
 
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
World Think Tank Monitors l สิงหาคม 2559
 
การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...
การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...
การวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นประเทศ "อำนาจขนาดกลาง" กรณีศึกษาประเทศอ...
 
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
World Think Tank Monitors l มิถุนายน 2559
 
ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์
ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์
ยะลา...เมืองยุคใหม่กับทิศทางการพัฒนาเชื่อมโยงภูมิภาคโลกมาเลย์
 
บทบาทตุรกีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทบาทตุรกีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้บทบาทตุรกีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
บทบาทตุรกีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
"หลั่นล้า" อีโคโนมี อีกหนึ่งทางเลือกแห่งอนาคตไทย
"หลั่นล้า" อีโคโนมี อีกหนึ่งทางเลือกแห่งอนาคตไทย"หลั่นล้า" อีโคโนมี อีกหนึ่งทางเลือกแห่งอนาคตไทย
"หลั่นล้า" อีโคโนมี อีกหนึ่งทางเลือกแห่งอนาคตไทย
 
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก เอเชียต...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก เอเชียต...ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก เอเชียต...
ขบวนการรัฐอิสลาม (Islamic; IS) ในฐานะตัวแสดงระหว่างประเทศ : นัยต่อโลก เอเชียต...
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
 
ทฤษฎีการวิเคราะห์ชนชั้น อธิบายการเลือกตั้งของอเมริกาในครั้งนี้ได้หรือไม่
ทฤษฎีการวิเคราะห์ชนชั้น อธิบายการเลือกตั้งของอเมริกาในครั้งนี้ได้หรือไม่ทฤษฎีการวิเคราะห์ชนชั้น อธิบายการเลือกตั้งของอเมริกาในครั้งนี้ได้หรือไม่
ทฤษฎีการวิเคราะห์ชนชั้น อธิบายการเลือกตั้งของอเมริกาในครั้งนี้ได้หรือไม่
 
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
ทรัมป์กับบูรพาภิวัตน์
 
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทยบทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
บทวิจารณ์หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย
 
70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก
70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก
70 ปี ของ ร.9 : 70 ปีของโลก
 

Similar a World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559

ครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อ
ครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อ
ครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อ
guidekik
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
Tum Meng
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
Ning Rommanee
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
Ning Rommanee
 
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
Yota Bhikkhu
 

Similar a World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559 (12)

รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
ประเทศจีน
ประเทศจีน ประเทศจีน
ประเทศจีน
 
ครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อ
ครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อ
ครั้งที่ 1 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เขาค้อ
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากลเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากล
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมชหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช
 
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
ภาษากับการสื่อสารในยุคปัจจุบัน 3
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 

Más de Klangpanya

การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
Klangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
Klangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
Klangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

Más de Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 

World Think Tank Monitors l พฤศจิกายน 2559

  • 1. มีนาคม 2559 l ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 CHATHAM HOUSE การวางแผนด้านนวัตกรรมของจีนที่มุ่งสู่ความสาเร็จด้านสิ่งแวดล้อม BROOKINGS  จีนในฐานะผู้ลงทุนรายใหญ่ของโลก World Think Tank Monitor ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 พฤศจิกายน 2559 Ü  อินเดียคิดอย่างไรกับ One Belt One Road        บทเรียนจากการเลือกตั้งอเมริกา กับหนังสือเพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย ฤาทรัมป์ จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ตุรกี – สหรัฐ โมเดลการขจัดความยากจนของจีน : การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น  สิ่งที่ต้องรู้ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย
  • 2. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต บทบรรณาธิการ สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน ในช่วงเวลาที่คนไทยยังอยู่ในห้วงความอาลัยอยู่นั้น สถานการณ์ ระหว่างประเทศก็ยังคงเปลี่ยนผันไปมากมายเช่นเคย ที่จับตากันมากที่สุดหนีไม่พ้นการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ผลออกมาชนิดที่ทาลายความคาดหมายของทุกสานักโพล ทุก นักวิชาการ โดนัลด์ ทรัมป์ กลายเป็นว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ ชัยชนะของทรัมป์คราวนี้ยิ่ง ตอกย้ากระแสเฟื่องฟูของฝ่ายขวาในการเมืองของตะวันตก ต่อเนื่องจาก Brexit ของสหราช อาณาจักรเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับกระแสบูรพาภิวัตน์ซึ่งเป็นความสนใจหลักของ สถาบันคลังปัญญาฯ ที่ว่าตะวันออกรุ่งเรือง ในขณะที่ตะวันตกเสื่อมถอย ทั้งทางเศรษฐกิจการเมือง และสังคม World Think Tank Monitor ฉบับนี้จึงติดตามเรื่องนัยยะหลังการเลือกตั้งอเมริกาเป็นหลัก ซึ่งนอกเหนือจากการนาเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบจากผลการเลือกตั้งสหรัฐกับภูมิภาคต่างๆ ของสถาบันคลังความคิดชั้นนาอย่าง Brookings, Carnegie Endowment for International Peace, แล้ว สถาบันคลังปัญญาฯ มีความภูมิใจนาเสนอ หนังสือ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศ ประชาธิปไตยไทย ของ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ประธานสถาบันฯ ซึ่งเป็นการทบทวนความ เข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยเสียใหม่ว่ามิใช่ต้องตามตะวันตกที่เป็นอุดมคติเท่านั้น แต่เป็นเช่น ระบอบการเมืองอื่นๆ ของสังคมมนุษย์ ที่ต้องพัฒนาปรับปรุงไปตามกาลเทศะ ตามยุคสมัยและ สังคมด้วย พร้อมกันนี้ได้กวาดตาดูแนวทางปฏิรูปประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลก เพื่อ หาทางออกในการปรับปรุงประชาธิปไตยของไทยให้มีคุณภาพต่อไป ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ
  • 3. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สารบัญ หน้า บทบรรณาธิการ CHATHAM HOUSE สิ่งที่ต้องรู้ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย 1 BROOKINGS INSTITUTION โมเดลการขจัดความยากจนของจีน : การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น 4 BROOKINGS INSTITUTION ความคิดเห็นจากนักวิชาการของ Brookings ภายหลังผลการเลือกตั้งสหรัฐ 7 BROOKINGS INDIA อินเดียคิดอย่างไรกับ One Belt One Road 10 CARNEGIE ENDOWMENT FOR INTERNATIONAL PEACE ฤาทรัมป์ จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ตุรกี – สหรัฐ? 12 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ บทเรียนจากการเลือกตั้งอเมริกา กับหนังสือเพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย 15
  • 4. 1 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต CHATHAM HOUSE สิ่งที่ต้องรู้ ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สถาบัน Chatham House โดย Dr. Nigel Gould-Davies ได้เผยแพร่บทความซึ่งวิเคราะห์ถึงอนาคตของ ประเทศไทยภายหลังการสวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ลาดับที่เก้าแห่งราชวงศ์จักรี โดย ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ชัดเจนนักว่าการเปลี่ยนผ่าน ครั้งนี้จะเป็นอย่างไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์มานานถึง 70 ปี ตลอดรัช สมัยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขึ้นมากมาย ทั้ง ด้านเศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนความขัดแย้งใน
  • 5. 2 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ภูมิภาค พระองค์มีบทบาทในการพัฒนาประเทศอยู่ไม่ น้อย โดยเฉพาะการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคน ไทยในถิ่นทุรกันดาร จนได้รับการขนานนามว่า “บิดา ของชาติไทย” (Father of the Nation) ผู้เป็นส่วน สาคัญในการนาพาประเทศไทยสู่ความทันสมัย ด้วย เหตุดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จึงมิได้มีฐานะเป็นเพียงสถาบันเชิงสัญลักษณ์ สาหรับคนไทยเท่านั้น แต่ยังมีพระบารมีและคุณความ ดีด้านศีลธรรมที่ส่งผลให้พระองค์มีบทบาทเหนือกว่าที่ รัฐธรรมนูญกาหนดไว้ คนไทยจานวนมากเทิดทูนและ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งขอบเขตของ อานาจดังกล่าวยังคงไม่ชัดเจนและไม่เป็นที่คุ้นเคยใน สายตาโลกตะวันตก อย่างไรก็ดี หลังจากพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคต สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เจ้าฟ้ ามหาวชิราลงกรณ สยาม มกุฎราชกุมาร ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นมกุฎราชกุมาร ตั้งแต่ พ.ศ.2515 ก็ยังมิได้ทรงขึ้นรับตาแหน่งกษัตริย์ พระองค์ใหม่โดยทันที แต่มีรับสั่งขอเวลาสักระยะเพื่อ แสดงความเสียใจร่วมกับประชาชนชาวไทยก่อน โดย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ขึ้นเป็น เป็นผู้สาเร็จราชการแทนพระองค์ชั่วคราวระหว่างรอ การขึ้นครองราชย์ ผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้สังเกตการณ์จานวนไม่น้อยกังวลเกี่ยวกับ ความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงที่จะเกิดกับคนไทย จากการสูญเสียกษัตริย์อันเป็นที่รัก แต่คนไทยทั่ว ทั้งประเทศก็ร่วมแสดงความอาลัยและไว้ทุกข์อย่าง สงบ ส่วนที่โดดเด่นที่สุดในสายตาของ Chatham House คงไม่พ้นประเด็นเรื่องการแสดงออกของคน รุ่นใหม่ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับรัชกาลที่ 9 เบาบางกว่า คนรุ่นก่อนที่ได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ประกอบพระราชกรณียกิจและปรากฎ พระองค์ต่อหน้าสาธารณชนอยู่บ่อยครั้ง แต่กลับมี คนหนุ่มสาวจานวนมากมาร่วมส่งเสด็จในพิธีเชิญ พระบรมศพ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการ ผสมผสานที่ดีของสิ่งดั้งเดิมกับความทันสมัยใน สังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทว่า ในบางกรณีก็มีคนจานวนหนึ่งที่ข่มขู่คุกคามผู้ที่ไม่ ไว้ทุกข์หรือดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่ง รัฐบาลได้ออกมาต่อต้านการกระทาละเมิดสิทธิ มนุษยชนดังกล่าว สาหรับด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ต่างๆ ยังคงดาเนินไปตามปกติ ยกเว้นธุรกิจบาง ประเภทที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิงและการโฆษณา ที่จาเป็นต้องระงับหรือถ่ายทอดอย่างจากัดในช่วงที มีการไว้ทุกข์ แนวโน้มอนาคตของประเทศไทยบนเส้นทาง แห่งการเปลี่ยนผ่าน ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่มาพร้อมกับความ สูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศไทย Dr. Nigel Gould- Davies ได้ตั้งข้อสังเกตถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ที่จ ะ เ กิด ขึ้น ภ า ย ห ลัง ก า ร ส ว ร ร ค ต ข อ ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ไว้ 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้ 1. การประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทย ที่เพิ่งได้รับการเห็นชอบจากการลงประชามติโดย ประชาชนเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจะมีผลอย่าง เป็นทางการเมื่อมีการนาขึ้นกราบบังคมทูลต่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อทรงลงพระนามาภิไธย ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้น ภายในเดือนพฤศจิกายน 2. การเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะนาพาประเทศไทย กลับคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตย ได้ถูกกาหนดไว้ ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2017
  • 6. 3 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 3. การกลับสู่ภาวะปกติของการเมืองไทยถือ เป็นการทดสอบความสามารถของกลุ่มการเมืองขั้ว ตรงข้ามรัฐบาลอีกครั้ง ในช่วงของการไว้ทุกข์ กลุ่ม การเมืองต่างๆ ได้ระงับการเคลื่อนไหวลงเป็นการ ชั่วคราว แต่อย่างไรก็ดี ฝ่ายการเมืองของกลุ่มคนเสื้อ แดงก็ได้เตรียมความพร้อมสาหรับการเลือกตั้งและ กิจกรรมทางการเมืองอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ประเทศมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปีหน้า เอกสารอ้างอิง Nigel Gould-Davies. What to Know About Thailand’s Royal Transition. Chatham house. ออนไลน์ https://www.chathamhouse.org/expert/ comment/what-know-about-thailand-s-royal- transition
  • 7. 4 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต BROOKINGS INSTITUTION สถาบัน Brookings ได้เผยแพร่ผลงานเรื่อง Ending poverty : What should we learn and not learn from China? ว่าด้วยเรื่องของการขจัดความ ยากจนของโลกโดยมีจีนเป็นตัวอย่าง ซึ่งจีนถือเป็น ประเทศที่ประสบความสาเร็จมากที่สุดในโลกในการ กาจัดความยากจน โดยจีนเพียงประเทศเดียว สามารถลดความยากจนคิดเป็นสัดส่วนได้ 3 จาก 4 ส่วนของโลก ในเวลาเพียง 1 ชั่วอายุคน สามารถ เปลี่ยนตนเองจากประเทศสังคมนิยมล้าหลัง ที่จนกว่า บังคลาเทศและชาด (ประเทศในแอฟริกา) ในปี 1980 ให้กลายเป็นประเทศที่ มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับ 2 ของโลกได้ในปัจจุบัน แต่ก็เป็นความจริงที่ว่า จีนยังคงมีความเหลื่อมล้าอีกมาก อีกหลายชีวิตไม่ได้ ไม่ได้รับผลประโยชน์จากการเจริญขึ้นของจีน แต่อย่าง โมเดลการขจัดความยากจนของจีน : การกระจายอานาจสู่ท้องถิ่น
  • 8. 5 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต น้อยที่สุดการที่สามารถยกระดับให้คน 700 ล้านคน พ้น จากความยากจนได้ ก็ถือเป็นความสาเร็จอันยิ่งใหญ่ที่ ไม่มีใครเคยทาได้มาก่อนแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้จีนจะประสบความสาเร็จด้าน การขจัดความยากจน แต่ประชาคมโลกก็ไม่เต็มใจและ ไม่สนใจที่จะนาบทเรียนความสาเร็จของจีนมาใช้นัก เหตุผลหลักเพราะจีนปกครองโดยระบอบเผด็จการ ซึ่ง ชาติตะวันตกมองว่าผิดปกติในระบอบโลกที่เป็น ประชาธิปไตยและทุนนิยมตะวันตกนี้ แต่จะเป็นสิ่งที่น่า เสียดายมากหากเราไม่ศึกษาประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ ของจีน และในการศึกษาบทเรียนจากจีน เราต้องรู้ว่า อะไรควรศึกษาเป็นเยี่ยงอย่างและอะไรไม่ควรที่จะทา ตาม งานชิ้นนี้ ได้นาเสนอสิ่งที่ควรและไม่ควรเรียนรู้ จากจีน โดยสิ่งที่ไม่ควรเรียนรู้ คือ ประเทศกาลังพัฒนา ไม่ควรใช้รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการเหมือนจีน เผด็จการนั้นดีในการทาบางอย่างให้สาเร็จ (สามารถทา ได้อย่างรวดเร็ว) เพราะผู้นาสามารถตัดสินใจได้ทันที แต่ถ้าตัดสินใจพลาด อาจนาไปสู่หายนะได้ ส่วนสิ่งที่เราควรเรียนรู้จากบทเรียนของจีน คือ ภายใต้ภาพลักษณ์เผด็จการที่คนทั่วโลกต่างหวาดกลัว จีนมีการปรับตัวและความคิดสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่ง มักจะซ่อนอยู่ในสาขาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระดับ ท้องถิ่น และในสังคมชั้นรากหญ้า การทางานเป็นแบบ ล่างขึ้นบน(Bottom-up) ไม่ใช่ทาจากส่วนกลาง นี่คือสิ่ง ที่ทาให้จีนหลุดพ้นจากความยากจนได้ ในขณะที่คนทั่วไปมักมีมุมมองว่าประเทศจีน เป็นเผด็จการ แต่ตรงกันข้าม จีนเป็นประเทศที่มี การกระจายอานาจมากที่สุดในโลก ประธานาธิบดี จะมีหน้าที่สร้างวิสัยทัศน์ มองภาพในมุมกว้าง ในขณะที่ผู้ที่ลงมือทาและพัฒนาจริงๆ จะอยู่ในระดับ ท้องถิ่น ซึ่งคนในพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับท้องถิ่นจะ เป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชนและนัก ลงทุน หัวใจหลักของโมเดลการใช้พื้นที่ทางานนี้ คือ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและผู้ประกอบการที่มีความ กระตือรือร้นที่จะพัฒนาระบบตลาด และเพื่อที่จะให้ เข้าใจ เราต้องย้อนไปดูประวัติศาสตร์ ในอดีตที่ผ่าน มาของเมืองชายฝั่งทะเลที่ร่ารวยของจีน ที่วันนี้เมือง เหล่านี้สามารถหลุดพ้นความจนมาได้นั้น จีนใช้ วิธีการเริ่มสร้างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอย่างเป็น ทางการ กาจัดการทุจริต และจ้างเจ้าหน้าที่ด้าน เทคนิค เช่นเดียวกับในสิงคโปร์ หรือไม่? คาตอบคือ ไม่ จีนไม่ได้ทาแบบนั้น แต่สิ่งที่จีนทาคือเริ่มพัฒนา โดยการใช้ทรัพยากรที่มีในขณะนั้นอย่างดีที่สุด โดยเฉพาะทรัพยากรคน ดังนั้น เจ้าหน้าที่ของพรรค คอมมิวนิสต์จะถูกส่งออกไปเหมือนผึ้งงานเพื่อเสาะ แสวงหานักลงทุน และเมื่อเศรษฐกิจท้องถิ่นโตขึ้น เป้าหมายการพัฒนาก็เปลี่ยนไป จากต้องการนัก ลงทุนจานวนมาก กลายเป็นต้องการนักลงทุนที่มี คุณภาพเท่านั้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ระบบตลาดไม่จาเป็นต้องเกิด จากการสร้างการปกครองแบบธรรมาภิบาลตาม ความหมายของตะวันตกเสมอไป ประเทศจีนไม่ได้ เริ่มพัฒนาประเทศโดยสร้างระบอบการปกครองแบบ ธรรมาภิบาลตามแบบตะวันตก ที่มีหลักสาคัญอยู่ที่ การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบตะวันตก โปร่งใส ตรวจสอบได้ แต่พัฒนาตามแบบฉบับของตน ทาให้ เกิดระบบตลาดและสามารถพัฒนาประเทศของตนได้
  • 9. 6 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งบทเรียนนี้ไม่ได้นาเสนอเพื่อให้ประเทศอื่นๆ ลอก เลียนวิธีการเติบโตของจีน แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าประเทศที่ ยังประสบปัญหาความยากจน จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์ จากคุณสมบัติของตนที่ไม่เหมือนคนอื่น เพื่อเริ่มพัฒนา ไปตามวิถีที่เหมาะสมกับตน มากกว่าการทาตามแบบ ฉบับประเทศที่ร่ารวยแล้ว นอกจากประเทศจีนแล้ว ยังมีประเทศอื่นๆ ที่ ผู้ประกอบการท้องถิ่นเป็นผู้ลงมือทาให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง เช่น ในไนจีเรีย ผู้สร้างภาพยนตร์ท้องถิ่น ใช้ประโยชน์จากการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นช่องทางการจัด จาหน่าย ทาให้ภาพยนตร์ของพวกเขาขายได้อย่าง รวดเร็ว และในอินโดนีเซีย เกิดธุรกิจท้องถิ่นชื่อว่า Hail- a-ride (ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง) ซึ่งได้รับการตอบรับ อย่างดีจากเมืองที่ขาดการจัดการด้านการขนส่ง คมนาคมที่ดี ประเทศยากจนยังมีอีกมาก ความยากจนนั้น อาจเกิดจากการมีสถาบันที่ไม่ดี มีการทุจริตและมี รัฐบาลที่อ่อนแอ แต่สิ่งที่เราต้องทาความเข้าใจคือ เรา จะประสบความสาเร็จได้อย่างไรภายใต้สภาวะไม่ดีที่ เผชิญ เราจะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้อย่างไร และเรา จะมีวิธีอย่างไรในการยกระดับความรู้ในท้องถิ่นเพื่อต่อสู้ กับความท้าทายที่กาลังเผชิญ Yuen Yuen Ang. Ending poverty: What should we learn and not learn from China? Brookings Institution. https://www.brookings.edu/blog/future- development/2016/11/07/ending-poverty-what- should-we-learn-and-not-learn-from-china/
  • 10. 7 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต BROOKINGS INSTITUTION หลังจากผลการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา ออกมาว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ เฉือนชนะ นางฮิลลารี คลินตัน ไปแบบเฉียดฉิว นักวิชาการของสถาบัน Brook- ings ที่เชี่ยวชาญทางด้านต่างๆ ก็ได้ออกมาแสดงความ คิดเห็นมากมาย แต่สถาบันคลังปัญญาฯ จะขอนาเสนอ เฉพาะความคิดเห็นที่เกี่ยวกับเอเชีย ดังนี้ Richard Bush ผู้อานวยการของศูนย์นโยบาย เอเชียศึกษา และ John L, Thronton นักวิชาอาวุโส ด้านนโยบายต่างประเทศของศูนย์จีนศึกษา ได้ออกมา แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า อันดับแรก ผู้นา ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย ควรสร้าง ความสัมพันธ์ส่วนตัวกับทรัมป์และคณะที่ปรึกษาของเขา ผู้นาที่รู้จักกันย่อมเข้าใจการกาหนดนโยบายต่อฝั่งตรง ข้าม ถ้าผู้นาประเทศในเอเชียเข้าใจแนวคิดของทรัมป์ และคณะที่ปรึกษาของเขา จะรู้ว่าควรสร้างความร่วมมือ กันอย่างไรและมีจุดใดที่ต้องระวัง ซึ่งจะช่วยทาให้ไม่เกิด ความคิดเห็นจากนักวิชาการของ Brookings ภายหลังผลการเลือกตั้งสหรัฐ
  • 11. 8 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ปัญหาในอนาคตและจะมีรากฐานสาหรับความสัมพันธ์ อันดีด้วย พวกเขายังบอกอีกว่า เกาหลีเหนือเป็นกรณีที่น่า กังวลใจที่สุด สหรัฐ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ควรร่วมมือ กันเพื่อเตรียมรับมือและเตรียมการตอบโต้กับสิ่งที่อาจ เกิดในอนาคต หากไม่มีการตระเตรียมที่ดี จะส่งผลให้ การกาหนดทิศทางของพฤติกรรมของเกาหลีเหนือใน อนาคตเป็นไปได้อย่างยากลาบากและอาจเกิด สถานการณ์ลาบากใจระหว่างสหรัฐ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่นมากขึ้น ด้าน David Dollar นักวิชาการอาวุโสด้าน เศรษฐกิจโลกและการพัฒนาของศูนย์จีนศึกษา และ John L, Thronton ได้แสดงความคิดเห็นว่า ทรัมป์ ควร จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและประเทศเอเชีย แปซิฟิก การผงาดขึ้นมาของจีนเป็นเหตุการณ์ที่สาคัญ มากในประวัติศาสตร์ช่วงนี้ ซึ่งสหรัฐสามารถเลือกแนว ทางการดาเนินนโยบายได้สองทาง อย่างแรก คือดาเนิน ความสัมพันธ์แบบ win-win-win ระหว่างสหรัฐ จีน และ ประเทศที่กาลังเจริญขึ้นมา หรืออย่างที่สอง คือใช้ระบบ พันธมิตร และสถาบันทางเศรษฐกิจและระเบียบ เศรษฐกิจโลกแบบทุนนิยมอื่นๆ ที่สหรัฐสร้างขึ้นหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นเครื่องมือในการกาหนดผลลัพธ์ ให้เป็นไปในทิศทางที่สหรัฐต้องการ การเลือกตั้งครั้งนี้มีการโต้เถียงกันอย่างมาก ว่าสหรัฐ ควรจะแบกรับภาระการเป็นผู้คุ้มครองโลกต่อไปหรือ ควรจะให้ประเทศที่ได้รับการปกป้องจากสหรัฐเริ่ม รับผิดชอบตนเองบ้างได้แล้ว นอกจากนี้ ยังมีคาถาม เกิดขึ้นอีกว่า สหรัฐยังควรที่จะเป็นผู้ดารงรักษาระบอบ การค้าเสรีอยู่อีกต่อไปหรือไม่ ซึ่งในเอเชียแปซิฟิกเริ่มมี การพูดกันอย่างหนาหูว่าสหรัฐจะถอนตัวออกจาก เศรษฐกิจและภาระหน้าที่ต่างๆ ในโลก ซึ่ง David Dol- lar และ John L, Thronton มีค วามคิดเ ห็นว่า ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐไม่ควรจะทิ้งเอเชีย และ การเดินทางเยือนครั้งแรกสาหรับทรัมป์ในเอเชียควรมี เป้าหมายเพื่อสนับสนุนความเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้และสิงคโปร์ เพื่อทาให้ประเทศเหล่านี้มั่นใจว่า สหรัฐจะไม่ถอนตัวออกจากเอเชียทั้งในด้านความมั่นคง ทางการทหารและเศรษฐกิจ สหรัฐควรสร้างความร่วมมืออย่างลึกซึ้งกับ ประเทศเอเชียแปซิฟิกและยุโรปที่มีแนวคิดทางด้าน เศรษฐกิจเหมือนกัน ที่ผ่านมา TPP ถูกประชาสัมพันธ์ ไปในทิศทางที่ผิดและคงยากมากถ้าจะดึงกลับมาทา ใหม่ แต่ถึงอย่างนั้น สหรัฐควรสร้างกรอบความร่วมมือ ที่มีลักษณะคล้าย TPP ขึ้นมาใหม่ โดยเน้นทางด้านการ ลงทุน รัฐวิสาหกิจ แรงงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น การกระตุ้นให้จีนต้องเร่งปฏิรูปและยกระดับมาตรฐาน ของตนให้เท่ากับมาตรฐานที่สหรัฐตั้งไว้ พวกเขาได้เสนอทางออกสาหรับสหรัฐว่า การที่ สหรัฐใช้การกาหนดกาแพงภาษีที่สูงลิ่วเป็นเครื่องมือใน การทาสงครามการค้ากับจีน รวมไปถึงการที่ตราหน้า จีนว่าเป็นประเทศที่ชอบควบคุมค่าเงินนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ น่าทา การทาแบบนี้อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐ หากสหรัฐต้องการที่จะรับมือกับการเติบโตขึ้นของจีน ได้อย่างดี สหรัฐต้องสร้างพันธมิตรทางการทหารและ รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นกับประเทศที่มี แนวคิดทางเศรษฐกิจที่ไปในทิศทางเดียวกัน ผลลัพธ์ น่าจะออกมาในทิศทางที่ดีกว่าแน่นอน
  • 12. 9 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เอกสารอ้างอิง Daniel L. Byman, Dany Bahar, Sarah Yerkes, Pavel K. Baev, Dhruva Jaishankar, Richard C. Bush, Dan Arbell, David Dollar, Elizabeth Ferris, Ranj Alaaldin, Beverley Milton-Edwards, Federica Saini Fasanotti, Bruce Riedel, Robert L. McKenzie, Matteo Garavoglia, Natan Sachs, Kemal Kirisci, Ted Pic- cone, Philippe Le Corre, and Jessica Brandt. Ex- perts weigh in: What this election means for U.S. foreign policy and next steps. Brookings Institu- tion. https://www.brookings.edu/blog/order-from- chaos/2016/11/09/experts-weigh-in-what-this- election-means-for-u-s-foreign-policy-and-next- steps/
  • 13. 10 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต BROOKINGS INDIA ในยุคบูรพาภิวัตน์ที่เอเชียรุ่งเรืองขึ้นมานี้ เอเชียมี การสร้างโครงการเชื่อมโยง (Connectivity) ขนานใหญ่ ในภูมิภาคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างกายภาพ สถาบัน กฎหมายข้อระเบียบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือ ทางรถไฟ ถนน สะพาน ไม่ว่าจะต่อเชื่อมดินแดนหรือ น่านน้า ซึ่งยุทธศาสตร์ Connectivity หลักของเอเชียนั้น ก็หนีไม่พ้น One Belt One Road ของจีนที่เชื่อมโยง ทางบกจากจีน สู่เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และเอเชีย ใต้ ไปยังยุโรป ส่วนทางทะเลเชื่อมจากมหาสมุทร แปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย ต่อไปยังยุโรป และเลยไป จนถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก เมื่อเดือนมีนาคม 2559 ที่ผ่านมา Brookings Institution India ได้เผยแพร่บทความเรื่อง What India thinks about China’s One Belt, One Road initiative (but doesn’t explicitly say) โดย Tanvi Madan กล่าวถึงมุมมองที่อินเดียมีต่อมหา ยุทธศาสตร์ One Belt One Road ของจีน โดยดูจาก คากล่าวของบุคคลระดับสูงในวงการต่างประเทศของ อินเดียในวาระต่างๆ ได้แก่ รัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่า การ และปลัดกระทรวงต่างการประเทศอินเดียซึ่งแม้ ไม่ได้ออกมาต่อต้านหรือปฏิเสธโครงการ OBOR โดยตรง แต่ก็แสดงให้เห็นมุมมองทางการของอินเดียที่ ไม่ไว้ใจและระแวดระวัง OBOR ของจีน ถึงปัจจุบัน แม้อินเดียไม่ได้ออกมาสนับสนุนหรือ เข้าร่วมกับยุทธศาสตร์ OBOR เต็มตัวอย่างเป็น ทางการ แต่ก็ไม่ได้ต่อต้านอย่างเป็นทางการเช่นกัน เพราะอินเดียเองเข้าเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้ง อินเดียคิดอย่างไรกับ One Belt One Road
  • 14. 11 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ธนาคาร AIIB สถาบันทางการเงินที่มารองรับการ ก่อสร้าง One Belt One Road ของจีนเช่นกัน อย่างไรก็ดี อินเดียก็ไม่มีแนวโน้มที่จะออกมา สนับสนุน OBOR อย่างเป็นทางการในเร็ววันนี้ เหตุผลหนึ่งที่สาคัญคือ เพราะอินเดียมีความกังวลต่อ OBOR โดยเฉพาะอย่างยิ่งระเบียงเศรษฐกิจจีน- ปากีสถาน ซึ่งเป็นส่วนสาคัญของยุทธศาสตร์ OBOR ที่เชื่อมจีนกับมหาสมุทรอินเดียผ่านดินแดนของ ปากีสถาน และผ่านส่วนหนึ่งที่เป็นดินแดนที่อินเดีย อ้างสิทธิ์นอกจากนี้ อินเดียกล่าวว่าจีนทา OBOR ไป ในทางที่ไม่ปรึกษาประเทศอื่นๆ เท่าที่ควร กลายเป็น โครงการแบบตัดสินใจฝ่ายเดียว (Unilateral) เป็น โครงการของจีนมากกว่าที่จะปรึกษาร่วมกันประเทศที่ เกี่ยวข้อง และระแวงว่าจีนจะใช้ OBOR เป็นเครื่องมือ เพิ่มอานาจทางภูมิรัฐศาสตร์-ภูมิเศรษฐกิจในภูมิภาค มากกว่าแค่เพื่อสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม แม้ในทางการต่างประเทศ อินเดียจะแสดงความระแวงระวังว่าจีนจะใช้ OBOR มาครอบงาเอเชียและโลก แต่ในอินเดียเองก็มีความ ตระหนักกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า การจะโน้มน้าวให้ ประเทศอื่นๆ ออกห่างจาก OBOR ได้นั้น อินเดีย จาต้องมีโครงการทางเลือกหรือข้อเสนออื่นอันเป็น รูปธรรมมาทดแทนโอกาสที่ประเทศอื่นๆ จะได้รับ จาก OBOR ด้วย การให้แต่เพียงตัวเลือกที่เป็น กรอบคิดนามธรรม เช่นกล่าวว่า อินเดียใช้แนวทางที่ เปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมมากกว่า (จีน) ในการเดิน กรอบความร่วมมือพหุภาคีนั้นคงไม่พอ เอกสารอ้างอิง Tanvi Madan. What India thinks about China’s One Belt, One Road initiative (but doesn’t explicitly say). Brookings India. ออนไลน์ https://www.brookings.edu/blog/order- from-chaos/2016/03/14/what-india-thinks-about- chinas-one-belt-one-road-initiative-but-doesnt- explicitly-say/
  • 15. 12 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต CARNEGIE Endowment for International Peace ฤาทรัมป์ จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ตุรกี – สหรัฐ? แม้ว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้ง ล่าสุดได้สร้างความหวั่นวิตกแก่ชาติต่างๆ ในกลุ่ม NATO อย่างมาก เนื่องจากว่าที่ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ เป็นผู้นาที่มีภาพลักษณ์ขัดแย้งกับวัฒนธรรม ประชาธิปไตยในหลายประเด็นกลับถูกเลือกสรรผ่าน ระบบประชาธิปไตยในประเทศที่ยึดถือระบอบ ประชาธิปไตย แต่สาหรับตุรกีแล้วนี่เป็นโอกาสอันดีที่ ทาให้พวกเขาเกิดความมั่นใจในรูปแบบการเมืองการ ปก ค รอ ง ขอ ง ต น ม า กขึ้น เ พ รา ะ ตุ ร กีถู ก วิพากษ์วิจารณ์จากสหรัฐมาตลอดว่าไม่เป็น ประชาธิปไตย แต่สหรัฐเองกลับมีผู้นาที่ไม่เคารพ ค่านิยมประชาธิปไตยเช่นกัน ตุรกียังประเมินด้วยว่า “ประชาธิปไตย” และ “หลักนิติรัฐ” จะกลายเป็น ประเด็นที่สหรัฐหยิบยกมาพาดพิงกิจการภายในของ ตนน้อยลง อีกทั้งให้ความร่วมมือในการส่งตัว ฟัตฮุลลอฮ กุเลน ผู้ที่ถูกทางการตุรกีกล่าวหาว่าอยู่ เบื้องหลังการก่อรัฐประหารเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ ผ่านมากลับเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย ของตุรกี และสุดท้ายยอมรับบทบาทของตุรกีในฐานะ ผู้เสริมสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในภูมิภาค ตะวันออกกลางซึ่งเป็นภูมิภาคที่อยู่ในภาวะไร้ ระเบียบมาโดยตลอด อย่างไรก็ตามหากว่าการ
  • 16. 13 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินทั้งสามประเด็นจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองชาติจะยังคงมีความ ตึงเครียดอยู่ไม่น้อยด้วยปัจจัยความสัมพันธ์ที่ขัดแย้ง ในภูมิภาคต่อไปนี้ ระเบียบความมั่นคงของ NATO และภาคพื้น แอตแลนติก นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาสหรัฐ ขยายอิทธิพลทางทหารของตนไปทั่วโลก โดยใน ภูมิภาค NATO และภาคพื้นแอตแลนติกนั้นสหรัฐมี ความโดดเด่นมากที่สุด แต่แนวนโยบายต่างประเทศ ซึ่งว่าที่ประธานาธิบดี โดนัล ทรัมป์ ได้ชูขึ้นเพื่อหา เสียงมาตลอด คือการปลีกตัวจากการยุ่งเกี่ยวกิจการ ภายนอกและหันมาเสริมสร้างความมั่นคงภายใน หาก ทรัมป์ ได้ดาเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ นอกจากจะทาให้ NATO สูญเสียความมั่นคงโดยตรง แล้ว ยังมีแนวโน้มว่าจะนามาสู่ความแตกแยกแบ่งฝัก แบ่งฝ่าย เนื่องจากการลดบทบาทของสหรัฐอาจ ละเมิด มาตรา 5 แห่งสนธิสัญญา NATO ที่ระบุว่า ชาติสมาชิกต้องร่วมเสริมสร้างความมั่นคงของกัน และกัน ทาให้ชาติสมาชิกอื่นไม่มั่นใจว่าจะได้รับ ความช่วยเหลือเมื่อยามจาเป็น ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มี ผลประโยชน์ใดที่จะต้องให้ความร่วมมือกับ NATO อีก นอกจากนี้ความตึงเครียดที่มีต่อรัสเซียใน ประเด็นอาวุธนิวเคลียร์และแคว้นไครเมียได้สะท้อน ว่าอิทธิพลของ NATO ได้ถดถอยลงไปมากอยู่แล้ว และหากรัสเซียจะขยายอานาจมายังภูมิภาคยุโรป ตะวันออกอีก NATO ในยุคที่สหรัฐลดบทบาทย่อม ไม่อาจต้านรัสเซียได้แน่นอน อิหร่าน อิหร่านยินยอมต่อแผนปฏิบัติการร่วมแบบ เบ็ดเสร็จ (JCPOA) ด้วยการลดศักยภาพของ โครงการนิวเคลียร์ของตนให้เหลือเพียงด้านพลังงาน เท่านั้น ซึ่งรัฐบาลโอบามาได้ชูความสาเร็จนี้เป็น ผลงานสาคัญของนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ แต่ทรัมป์เคยหาเสียงในหลายวาระด้วยกันว่า แผนปฏิบัติการนี้จะถูกทบทวนใหม่ ซึ่งหากแผนนี้ถูก ล้มเลิกไปย่อมมีความเสี่ยงว่าอิหร่านอาจเพิ่ม ศักยภาพนิวเคลียร์เพื่อผลิตอาวุธอีกครั้ง แน่นอนว่า ความตึงเครียดทางทหารจะเกิดขึ้นกับสหรัฐเอง รวมถึงอิสราเอลและกลุ่มรัฐ GCC (รัฐรอบอ่าว เปอร์เซีย) ที่มีความขัดแย้งต่ออิหร่านในประเด็นอื่น อยู่แล้วด้วย ทาให้ตุรกีในฐานะที่เป็นแนวหน้าของ ประเทศซุนนีย่อมไม่นิ่งเฉยกับอิหร่านที่ก่อความ ขัดแย้งทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งภาพอนาคต เหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากสหรัฐจะยังยืนยันใน แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม ฉะนั้น ตุรกีย่อมไม่ พอใจอย่างมากหากสหรัฐจุดชนวนที่กาลังจะดับนี้อีก ครั้ง อิสราเอล ปัญหาอันซับซ้อนของภูมิภาคตะวันออกกลาง อาจปะทุหนักขึ้นจากการที่ ทรัมป์ ประกาศสนับสนุน อิสราเอลอย่างไร้ขีดจากัด และรับรองเยรูซาเล็มใน ฐานะเมืองหลวงของอิสราเอลด้วยการย้ายสถานทูต สหรัฐฯ ประจาอิสราเอลจากกรุงเทลอาวีฟมายัง เยรูซาเล็ม ที่สาคัญไปกว่านั้นเขายังชูนโยบายยกเลิก แนวทางรัฐคู่ขนาน (two-state solution) อัน
  • 17. 14 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต หมายถึงการที่สหรัฐรับรองทั้งอิสราเอลและ ปาเลสไตน์ ที่กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ยึดเป็น จุดยืนมาตลอด หากอิสราเอลดาเนินนโยบายที่แข็ง กร้าวที่เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายของทรัมป์ ย่อม นามาสู่วงจรความขัดแย้งที่มีต่อฮามาสหรือฮิส บุลลอฮที่เกิดขึ้นและสงบลงเป็นระยะ ฉะนั้น เลี่ยง ไม่ได้ที่รัฐบาลตุรกีภายใต้พรรค AKP ซึ่งมีจุดยืน สนับสนุนปาเลสไตน์อย่างหนักแน่นจะไม่พอใจต่อ อิสราเอลรวมถึงสหรัฐด้วย บทสรุป อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ภาพอนาคตโดยยึด ตามกรอบซึ่งว่าที่ประธานาธิบดี ทรัมป์ เคยหาเสียง ไว้นั้นยังไม่มีความแน่นอนเท่าใดนัก เพราะท้ายที่สุด แล้วแนวนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯ ยังขึ้นอยู่กับผู้ กาหนดนโยบายกลุ่มอื่นๆ เช่น คณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะหากประธานาธิบดีเป็นผู้ที่ขาด ประสบการณ์ในเรื่องนโยบายต่างประเทศแล้ว ย่อม ถูกชี้นาจากข้อเสนอของผู้มีบทบาทในกระทรวงการ ต่างประเทศและกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิได้ ง่าย ฉะนั้น การก้าวสู่ตาแหน่งของผู้มีบทบาทในทั้ง สองกระทรวงนี้ย่อมมีความสาคัญต่อการกาหนด นโยบายต่างประเทศสหรัฐเป็นอย่างมากด้วย เอกสารอ้างอิง Sinan Ülgen. Is Trump Good for the Turkey- U.S. Relationship?. Carnegie Endowment for International Peace. ออนไลน์ : http:// carnegieeurope.eu/2016/11/12/is-trump-good-for -turkey-u.s.-relationship-pub-66122
  • 18. 15 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ บทเรียนจากการเลือกตั้งอเมริกา กับหนังสือเพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย “เดิมนั้น โลกคิดว่ามีแต่ประเทศประชาธิปไตย เกิดใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเอเชีย ละตินอเมริกา และ แอฟริกาเท่านั้น ที่ต้องปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือ ปฏิรูปประชาธิปไตยของตน ส่วนประชาธิปไตยที่ พัฒนามาถึงขั้นของตะวันตกแล้ว ถึงจะมีปัญหา อย่างไรก็ไม่ต้องห่วงไปแก้ไขปรับปรุงเท่าไร ประชาธิปไตยตะวันตกนั้นแก้ไขตัวเองได้ ผู้เลือกตั้ง จะหย่อนบัตรล้มรัฐบาลที่ผลงานไม่ดี แล้วเลือกผลงาน ใหม่ที่ผลงานน่าจะดีกว่าเข้ามาได้เสมอหรือในเวลาไม่ นานนัก อย่างไรก็ดี ในช่วง 5-10 ปีหลังมานี้ เริ่มจะ ยอมรับกันว่าประชาธิปไตยตะวันตกอาจจะแก้ไข ตัวเองไม่ได้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจระบบตลาดหรือ ระบบทุนนิยมแบบตะวันตกก็อาจแก้ไขตัวเองไม่ได้ เช่นกัน” นี่คือเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือเรื่อง เพ่ง ประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตย หนังสือเล่ม ล่าสุดของ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ตีพิมพ์เมื่อ ต้นปี 2559 ข้อความนี้น่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจน มากขึ้น ภายหลังที่เราได้เห็นการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งผ่านพ้นไป และชัย ชนะของโดนัลด์ ทรัมป์
  • 19. 16 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต แม้จะพูดกันมานานแล้วว่า ประชาธิปไตย ของประเทศที่ยกตนเป็น “ต้นแบบ” เป็นครู และ ส่งออกประชาธิปไตยทั่วโลก อย่างสหรัฐอเมริกา นั้นมีปัญหา แต่ก็คงไม่มีครั้งใดที่จะชัดเจนเท่าครั้ง นี้ เพราะคุณภาพของผู้ท้าชิงตาแหน่ ง ประธานาธิบดีทั้งคลินตันและทรัมป์นั้นถูกตั้ง คาถามกันมากยิ่งกว่าครั้งใด ทั้งคู่ต่างพัวพันไป ด้วยข้อครหา และที่สาคัญทั้งคู่ต่างอ่อน ประสบการณ์ทางการเมือง ทางสาธารณะ ทางการบริหารชาติบ้านเมือง ก่อนที่จะลงสมัคร ตาแหน่งประธานาธิบดีฮิลลารีคืออดีตสตรี หมายเลข 1 ที่เข้ามาดารงตาแหน่งรัฐมนตรี ต่างประเทศเพียง 4 ปี ส่วนทรัมป์คือนักธุรกิจ อย่างไรก็ดี คุณภาพตัวบุคคลไม่ใช่เรื่อง เดียว เพราะยังยอมรับกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปัญหาการเมือง รวมถึงเศรษฐกิจของสหรัฐนั้น เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย กล่าวโดยรวบรัดคือ การเมืองอเมริกาในปัจจุบันเป็นเรื่องระหว่างเดโม แครตและรีพับลิกัน ซึ่งทั้งสองพรรคต่างถูก ครอบงาไปด้วยทุน กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มธุรกิจ ที่มีอิทธิพลในการกาหนดทิศทางของสหรัฐ มากมายมหาศาล กลุ่มทุนเหล่านี้ค้าจุนพรรค การเมืองและผู้สมัครประธานาธิบดีอย่างอุ่นหนา ฝาคั่งทั้งสองฝ่าย ทาให้นโยบายหรือร่างกฎหมาย ใดไม่ว่าจากฝ่ายบริหารหรือนิติบัญญัติที่ขัด ผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ก็ยากเหลือเกินที่จะ ปฏิบัติหรือผ่านออกมาบังคับใช้ได้สาเร็จ จึงไม่ผิด ที่จะกล่าวว่า ผู้ที่มีอานาจมากกว่าประธานาธิบดี สหรัฐ คือนายทุนนั่นเอง นอกจากปัญหาเชิงบุคคล และทุนครอบงา แล้ว เมื่อนามาใช้ในความเป็นจริง ระบอบ ประชาธิปไตย (Democracy) ของสหรัฐ รวมทั้ง ของหลายประเทศตะวันตกและประเทศที่รับเอา ระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้ ยัง กลายสภาพเป็นระบอบ ค้าน อธิปไตย (Vetocracy) คือ เป็นระบอบประชาธิปไตยแบบ แบ่งฝ่าย ในการเลือกตั้งมีฝ่ายที่ชนะกับฝ่ายที่แพ้ (ซึ่งหลายครั้งแพ้ชนะกันไม่เท่าใด) เมื่อฝ่ายชนะ ขึ้นบริหารประเทศ ฝ่ายที่แพ้ก็จะค้านเสมอไป เช่น ในสหรัฐ หากรีพับลิกันได้บริหารประเทศ จะ ออกนโยบาย เสนอร่างกฎหมายอะไร เดโมแครต ก็จะค้านทุกสิ่ง เช่นเดียวกันเมื่อเดโมแครตเป็น รัฐบาล รีพับลิกันก็จะค้านแทบทุกอย่าง ผลคือ ไม่ว่าใครขึ้นมาบริหารประเทศก็บริหารประเทศ ไม่ได้ราบรื่น ผลักดันอะไรไม่เป็นผล สถานการณ์ นี้ คนไทยเข้าใจได้ไม่ยาก จากวิกฤตที่พรรค การเมืองสองพรรคใหญ่ของเรา และมวลชนที่ สนับสนุน ต่างออกมาค้านทุกสิ่งที่รัฐบาลฝ่ายตรง ข้ามทา โดยไม่คานึงถึงประโยชน์ของสาธารณะ ภายใต้วิกฤตของระบอบประชาธิปไตยนี้ เพ่งประชาธิปไตยโลก พิศประชาธิปไตยไทย ชวนผู้อ่านหาทางออกในการปรับปรุงแก้ไข ระบอบประชาธิปไตย โดยการเปิดมุมมอง ทบทวนความเข้าใจต่อระบอบ “ประชาธิปไตย” เช่น ความจริงว่าประชาธิปไตยไม่ได้เป็นระบอบ ที่ตะวันตกผูกขาดเป็นเจ้าของเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีพัฒนาการมาในสังคมอื่นๆ ของโลกด้วย สังคมที่ไม่ใช่ตะวันตกจึงไม่ได้มีปมด้อยที่จะใช้ ประชาธิปไตยไม่ได้หรือได้ผลน้อยกว่าใน
  • 20. 17 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ตะวันตก นอกจากนี้ยังได้สารวจแนวทางการ ปฏิรูปประชาธิปไตยในสังคมต่างๆ ของโลก เพื่อ นามาปรับปรุง ชดเชยข้อบกพร่องของการใช้ ร ะ บ อ บ ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย แ บ บ ตั ว แ ท น (Representative Democracy) เพียงอย่างเดียว เช่น การใช้ระบอบ Civic Republicanism ในสเปน การสร้างประชาธิปไตยแบบ Consociational มา แทนแบบ Partisan Democracy ในหลายประเทศ กระแสความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบขงจื่อ และ Intelligent Democracy เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทาง ในการคิดปฏิรูประบอบประชาธิปไตยของไทย ต่อไป
  • 21. 18 สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ปรึกษา: ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: คุณยุวดี คาดการณ์ไกล เรียบเรียง: นางสาวจุฑามาศ พูลสวัสดิ์ นางสาวปลายฟ้า บุนนาค นายปาณัท ทองพ่วง นายอุสมาน วาจิ ภาพปก: http://www.chinausfocus.com/wp-content/uploads/2016/09/G20-bridge.jpg ปีที่เผยแพร่: พฤศจิกายน 2559 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-930-0026 โทรสาร 02-930-0064