SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 30
สื่อการสอน เรื่อง คำราชาศัพท์
        		คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ขุนนาง ข้าราชการ สุภาพชน ความหมายของคำราชาศัพท์
        	ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไทเพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วงปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น พระสหาย สมเด็จ เสด็จ บังคม เสวยราชย์ เป็นต้น         	บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยานำภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์         	และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกกล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤตไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัยจึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นคงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว คำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
	ตามที่หลายคนคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องของในรั้วในวัง เป็นเรื่องของผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนั้น ทำให้คิดต่อไปอีกว่า คำราชาศัพท์เป็นเรื่องยากซึ่งเมื่อก่อนอาจเป็นจริง แต่ปัจจุบันคำราชาศัพท์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว แม้มิได้ใช้มากเท่ากับภาษาสามัญที่ใช้อยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันแต่ทุกคน โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาก็ต้องมีโอกาสที่จะสัมผัสกับคำราชาศัพท์ทุกวัน ไม่โดยตรงก็โดยทางอ้อม โดยเฉพาะทางสื่อมวลชน       		การเรียนรู้วิธีใช้คำราชาศัพท์นั้น กล่าวโดยสรุป ต้องเรียนรู้ใน 2 ประการ คือ เรียนรู้คำ ประการหนึ่งกับ เรียนรู้วิธี อีกประการหนึ่ง เรียนรู้คำ คือ ต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์ เรียนรู้วิธี คือ ต้องเรียนรู้วิธีหรือเรียนรู้ธรรมเนียมการใช้คำราชาศัพท์ การเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับพระราชอิสริยศักดิ์พระบรมราชวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า
ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา นำหน้าด้วยคำ“พระราช” เช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ เป็นต้น
[object Object]
คำนามที่เป็นชื่อสิ่งไม่สำคัญและคำนั้นมักเป็นคำไทย นำหน้าด้วยคำว่า “ต้น” เช่น ม้าต้น เรือนต้น และนำหน้าด้วย “หลวง” เช่น รถหลวง สวนหลวง ส่วน “หลวง”ที่แปลว่าใหญ่ไม่จัดว่าเป็นราชาศัพท์ นอกจากคำว่า “ต้น” และ “หลวง” ประกอบท้ายคำแล้ว บางคำยังประกอบคำอื่นๆ อีก เช่น เรือพระที่นั่ง ม้าทรง ของเสวย ห้องบรรทม ,[object Object]
ภาษาเขมร 	ในสมัยโบราณชาติขอม (เขมรในปัจจุบันนี้) เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มีอารายธรรม มีความเจริญสูงสุด พระเจ้าแผ่นดินของขอมอยู่ในฐานะสมมุติเทพ  ทำให้ยอมรับว่าภาษาขอมนั้นย่อมจะต้องสูงส่งไปด้วย  จึงเกิดมีการเรียนรู้ภาษาขอมกันมากขึ้น ได้ใช้ในทางคาถาอาคม นิยมว่าเป็นของอันศักดิ์สิทธิ์  ยกย่องว่าเป็นของสูงเช่นเดียวกันศาสนา ไทยจึงนำเอาภาษาขอมมาใช้เป็นคำราชาศัพท์เพื่อให้สมเกียรติแก่พระเจ้าแผ่นดิน ภาษาไทย 	โดยปกติภาษาไทยจะไม่นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์แต่จะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อเอาไปนำหน้าภาษาอื่น  เช่น มีพระดำรัส เป็นพระราชโอรส น้ำจัณฑ์ หรือใช้วิธีปรุงแต่งคำขึ้น เช่น พระที่นั่ง ช้างทรง เป็นต้น  ภาษาอื่น ๆ 	คำราชาศัพท์ที่นำมาจากภาษาอื่นนั้นน้อยมากแต่ก็มีมาประปราย เช่น พระสุหร่าย  จากภาษาเปอร์เซีย  พระเก้าอี้  จากภาษาจีน
ศัพท์สำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ “พระ” นำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำนาม
หมวดขัตติยตระกูล
หมวดเครื่องใช้
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำสรรพนาม บุรุษที่ 1
บุรุษที่ 2 ,[object Object],[object Object]
คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา เป็นคำแสดงอาการ แบ่งเป็น 4 ชนิด กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส,เสด็จ,กริ้ว,ประชวร,ประสูติ, เสวย,ถวาย,บรรทม,โปรด,ทรงดนตรี(เล่นดนตรี) ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง  ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์    เช่น มีพระราชดำริ มีพระบรมราชโองการ ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ เช่น เสด็จกลับ
คำกริยาที่ประสมขึ้นใช้เป็นราชาศัพท์ตามลำดับชั้นบุคคล
ราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์    		   การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่า นั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์ ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็ เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้ เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะคือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วย"สมเด็จพระ" พระราชาคณะชั้นรอง พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า พระราชาคณะชั้นสามัญ พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน  พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
ศัพท์สำหรับพระภิกษุที่พบบ่อย
ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์ เพราะเหตุที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของ ประเทศมาแต่โบราณ พระเจ้าแผ่นดินทรงใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแนบแน่นประการหนึ่ง คำราชาศัพท์นั้นเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันดีทางด้านการใช้ภาษาไทยประการหนึง และการอ่านหรือศึกษาวรรณคดีก็ดี การรับสารสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้ล้วนต้องมีคำราชาศัพท์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมออีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเรียนรู้คำราชาศัพท์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทาง อ้อมมากมาย ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้
	1. ประโยชน์จากการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง ที่เรียกว่าใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องนั้น คือ ถูกต้องตามบุคคลที่ใช้ว่าบุคคลใดควรใช้ราชาศัพท์ขั้นไหน อย่างไร ประการหนึ่ง ถูกต้องตามโอกาส คือ โอกาสใดใชคำราชาศัพท์หรือไม่เพียงใด ประการหนึ่ง และถูกต้องตามวิธีการใช้คือ ใช้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยมนั้นก็อีกประการหนึ่ง การใช้ราชาศัพท์ต้องใช้ทั้งความรุ้และประสบการณ์เป็นดุลยพินิจให้ถูกต้อง 	2. ประโยชน์จากการเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ เช่น วรรณกรรมทั่วไป วรรณคดี หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนสิ่งบันเทิงทั้งหลาย มีภาพยนต์ ละคร โขน ลิเก เป็นต้น เพราะการรับรู้ รับฟัง บางครั้งต้องมีสิ่งที่เรียกว่า คำราชาศัพท์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ประโยชน์ทางตรง
เป็นประโยชน์ผลพลอยได้ แม้ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าหรือไม่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ตาม คือ เมื่อรู้คำราชาศัพท์ดี ถูกต้อง ฟังหรืออ่านเรื่องราวที่มีคำราชาศัพท์เข้าใจผลประโยชน์พลอยได้ ก็จะเกิดขึ้นเสมอ ดังนี้ ๑. ธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงานของชาติไว้ คือ รักษาให้คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ ถือเป็นการธำรงรักษาวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ ๒. เพิ่มความมีเสน่ห์ในตัวบุคคล คือ บุคคลผู้รู้และใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้อง เป็นการแสดงออกซึ่งความมีวัฒนธรรมอันดีงามทางภาษา ประโยชน์โดยทางอ้อม
แบบทดสอบเรื่องคำราชาศัพท์ คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ๑. คำว่า “นอน” สำหรับพระภิกษุ ใช้ว่าอย่างไร 	       ก. พักผ่อน		  ข. ทำวัตร	           ค. จำวัด        		  ง. บรรทม ๒. “คุณพ่อไม่อยู่ _____ ไป _____ พระที่วัด  ค่ะ” ควรเติมคำข้อใด 		ก. เขา – เชิญ        ข. ท่าน – นิมนต์ 		ค. แก – นิมนต์               	ง. ท่าน – เรียนเชิญ ๓. “พระสงฆ์รูปนี้ ______มาหลายวันแล้ว” ควรเติมคำในข้อใด 		ก. อาพาธ             	ข. เจ็บ          ค. ป่วย            		ง. ประชวร
๔. คำในข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์ 		ก.เสด็จ                         ข. บรรทม 		ค. ประสูติ                      ง. อาตมา   ๕. ข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์ 		ก. เสวย                          	ข. ทรงบาตร         	ค. อาราธนา        		ง. พระนาสิก ๖. คำราชาศัพท์ข้อใด ไม่ใช่ ราชาศัพท์หมวดร่างกาย 		ก. พระโอษฐ์                     ข. พระเนตร 		ค. พระชงฆ์                      ง. พระอัยกา
๗ . คำราชาศัพท์ข้อใดใช้ ทรง นำหน้า ก. ทรงตรัส                    ข. ทรงผนวช ค. ทรงเสด็จ                   ง. ทรงบรรทม ๘. คำสุภาพข้อใดใช้ไม่ถูกต้อง ก. กระบือ – วัว            ข. วานร – ลิง ค. วิฬาร – แมว           ง. ปลาหาง – ปลาช่อน ๙. คำราชาศัพท์ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. พระนาภี – สะดือข. พระฉาย – กระจก ค. พระฤทัย – ใจง. พระหัตถ์ – แขน ๑๐. ข้อใดเป็นคำสุภาพของ ผักกระเฉด ก. ผักทอดยอด       ข. ผักรู้นอน		 ค. ผักไห่                 ง. ผักสามหาว
๑๑. ข้อความตอนใดใช้ราชาศัพท์ผิด             (๑) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกช่อฟ้า ณ วัดสีมาราม (๒) หลังจากเสด็จพระดำเนินกลับจากการแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังไกลกังวล (๓) จากนั้นเสด็จออกให้ลูกเสือชาวบ้านจากทั่วประเทศเฝ้าฯ (๔) และทรงพระดำเนินชมนิทรรศการ "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"  	ก. ตอนที่ (๑) 			ข. ตอนที่ (๒)  	ค. ตอนที่ (๓) 			ง.ตอนที่ (๔) ๑๒. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง  ก.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกระแสพระราชดำรัสแก่คณะผู้พิพากษาใหม่ที่    เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาเริงพระราชวังไกลกังวล ข. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จออกแทนพระองค์พระราชทาน    พระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้า ค.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จฯ เป็นประธานเปิดการแสดงของยอดมายากล เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ง.พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาได้สำเร็จการศึกษาเป็นองค์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว
๑๓. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง            สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมงกุฎราชกุมาร.......นำ......ทั้งสองไปเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ  	ก. เสด็จ ฯ ราชอาคันตุกะ   	ข. ทรงดำเนิน พระราชอาคันตุกะ   	ค. ทรงพระดำเนิน พระราชอาคันตุกะ   	ง. เสด็จพระดำเนิน ราชอาคันตุกะ  ๑๔. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง  ก. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ     จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ข. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ในห้องทรงงาน  ค. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงขอบพระทัยประชาชนที่มารับเสด็จ  ง.ปีนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมพรรษา 4 รอบ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ.นวลพรรณ ตาวงศ์ สนับสนุนจากกลุ่มผลิตสื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 คู่มือภาษาไทย ม.3 ท305-ท306 ภาคเรียนที่ 1-2 ,ประสงค์ และ นันทพร พวงแก้ว , สำนักพิมพ์ประสานมิตร , กทม. 2530  ติวเข้มภาษาไทย ม.3,อ.ปราณี แสงอากาศ , อ.ขวัญใจ ถาวรประเสริฐ หนังสือแบบฝึกหัดภาษาไทย ทักษสัมพันธ์ เล่ม 2 ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ 2 รหัสวิชา ท204 ,อ.สุกัญญา ศักดิ์ประสิทธิ์ , อ.อังสนา วิบูลย์ชาติ , อ.ผุสสดี ธุวังควัฒน์ , อ.วรากร ใจดี , - , กทม. 2542  หนังสือหลักการใช้ภาษาไทย กลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 3 หลักสูตรขั้นพื้นฐาน 25,สนีย์ วิลาวรรณ, สุระ ดามาพงษ์, ชัยวัฒน์ สีแก้ว 44  ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร, หลักราชาศัพท์ (ฉบับสมบูรณ์), กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๖ . บรรณานุกรม
ไทยครูเนื้อ

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นPrasit Koeiklang
 
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)kruteerapongbakan
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1Gawewat Dechaapinun
 
Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431vanichar
 
1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)
1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)
1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)Tongsamut vorasan
 
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์Marr Ps
 
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทยหน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทยWilawun Wisanuvekin
 
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทยคำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทยพัน พัน
 
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์Marr Ps
 
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยGawewat Dechaapinun
 
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยssuser456899
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยพัน พัน
 
ใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
ใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
ใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศssuser456899
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีพัน พัน
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลยแบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลยRuangrat Watthanasaowalak
 

La actualidad más candente (18)

ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้นไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
ไวยากรณ์บาลีเบื้องต้น
 
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทยภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
ภาษาบาลีสันสกฤตที่เกี่ยวกับภาษาไทย
 
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
ใบความรู้ภาษาไทย( คำภาษาบาลีสันสกฤต)
 
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
เพาเวอพอย ภาษาบาลี 1
 
Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431
 
1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)
1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)
1 14+ประมวลปัญหาและเฉลายบาลีไวยาการณ์+(สำหรับเปรียญธรรมตรี)
 
ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2ระดับภาษา 2
ระดับภาษา 2
 
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์
 
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทยหน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
หน่วยที่ 3 ภาษาบาลีและสัสกฤตในภาษาไทย
 
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทยคำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
คำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
 
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์
 
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทยบทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
บทที่ 6 การใช้ภาษาบาลีและการใช้คำภาษาบาลีในภาษาไทย
 
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทย
 
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทยคำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
คำบาลี สันสกฤตในภาษาไทย
 
ใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
ใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
ใบงานคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ
 
คำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลีคำยืมภาษาบาลี
คำยืมภาษาบาลี
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลยแบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
แบบฝึกรวม ไม่มีเฉลย
 

Destacado

ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทยข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทยSuriyawaranya Asatthasonthi
 
Power point คำราชาศัพท์
Power  point  คำราชาศัพท์Power  point  คำราชาศัพท์
Power point คำราชาศัพท์Jazz Kanok-orn Busaparerk
 
วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้Diiz Yokiiz
 
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1ไอ่ฝ้าย ผีบ้า
 
ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54
ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54
ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54Wonder Juey
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6teerachon
 
ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551
ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551
ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551Atthaphon45614
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6teerachon
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7Nongkran Jarurnphong
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓Nongkran Jarurnphong
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙Nongkran Jarurnphong
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)Nongkran Jarurnphong
 

Destacado (17)

ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทยข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทย
ข้อสอบพร้อมเฉลยอย่างละเอียด O net - ภาษาไทย
 
Power point คำราชาศัพท์
Power  point  คำราชาศัพท์Power  point  คำราชาศัพท์
Power point คำราชาศัพท์
 
วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
วิธีการสอนโดยใช้ศูนย์การเรียนรู้
 
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1
ข้อสอบ O net ภาษาต่างประเทศ ม.6 ชุด 1
 
ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54
ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54
ข้อสอบ ภาษาไทย O net '54
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(หลักภาษา) ม.6
 
ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551
ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551
ข้อสอบโควตา มช วิชาภาษาไทย ปี 2551
 
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6แบบทดสอบ  ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
แบบทดสอบ ภาษาไทย(วรรณคดี) ม.6
 
O-net ภาษาอังกฤษ 2559
O-net ภาษาอังกฤษ 2559O-net ภาษาอังกฤษ 2559
O-net ภาษาอังกฤษ 2559
 
O-net วิทยาศาสตร์ 2559
O-net วิทยาศาสตร์ 2559O-net วิทยาศาสตร์ 2559
O-net วิทยาศาสตร์ 2559
 
ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7ประโยคตามเจตนา 7
ประโยคตามเจตนา 7
 
กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑กลุ่มที่ ๑
กลุ่มที่ ๑
 
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓ประโยคความรวม กลุ่ม๓
ประโยคความรวม กลุ่ม๓
 
กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒กลุ่มที่ ๒
กลุ่มที่ ๒
 
Flickr
FlickrFlickr
Flickr
 
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
ชนิดของประโยคแบ่งตามเจตนา ๕ ๙
 
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
งานนำเสนอ1ภาษาไทย(ประโยคความรวม) (2)
 

Similar a ไทยครูเนื้อ

Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431vanichar
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตphornphan1111
 
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยครูเจริญศรี
 
โครงงานคำควบกล้ำ
โครงงานคำควบกล้ำโครงงานคำควบกล้ำ
โครงงานคำควบกล้ำkruying pornprasartwittaya
 
การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์
การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์
การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์Piyarerk Bunkoson
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยKittitus Sa-admoang
 
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์surang1
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์Gawewat Dechaapinun
 
Kam
KamKam
Kamsa
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษาsukuman139
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้duangchan
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิTongsamut vorasan
 

Similar a ไทยครูเนื้อ (20)

99
9999
99
 
Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431Dj 255420school1611edocs00431
Dj 255420school1611edocs00431
 
คำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤตคำบาลีสันสกฤต
คำบาลีสันสกฤต
 
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทยอิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
อิทธิพลของภาษาต่างประเทศในภาษาไทย
 
โครงงานคำควบกล้ำ
โครงงานคำควบกล้ำโครงงานคำควบกล้ำ
โครงงานคำควบกล้ำ
 
การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์
การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์
การใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์และการไม่ใช้คำว่า “ทรง” ในคำราชาศัพท์
 
T4
T4T4
T4
 
T4
T4T4
T4
 
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
บทที่่ ๒ การสัมพันธ์ไทย
 
sapphanamracha
sapphanamrachasapphanamracha
sapphanamracha
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์คำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์
 
บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์บทที่ 2 นามศัพท์
บทที่ 2 นามศัพท์
 
Kam
KamKam
Kam
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
Korat
KoratKorat
Korat
 
หลักภาษา
หลักภาษาหลักภาษา
หลักภาษา
 
การสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทยการสร้างคำในภาษาไทย
การสร้างคำในภาษาไทย
 
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
คำสมาสศาสตร์ต้องรู้
 
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
1 01+บาลีไวยกรณ์+สมัญญาภิธานและสนธิ
 

ไทยครูเนื้อ

  • 2.          คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของ ไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงใน ความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทย โดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ขุนนาง ข้าราชการ สุภาพชน ความหมายของคำราชาศัพท์
  • 3.          ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไทเพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วงปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น พระสหาย สมเด็จ เสด็จ บังคม เสวยราชย์ เป็นต้น          บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยานำภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์          และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกกล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤตไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัยจึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นคงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว คำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด
  • 4. ตามที่หลายคนคิดว่าคำราชาศัพท์เป็นเรื่องของในรั้วในวัง เป็นเรื่องของผู้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทนั้น ทำให้คิดต่อไปอีกว่า คำราชาศัพท์เป็นเรื่องยากซึ่งเมื่อก่อนอาจเป็นจริง แต่ปัจจุบันคำราชาศัพท์เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว แม้มิได้ใช้มากเท่ากับภาษาสามัญที่ใช้อยู่ในการดำรงชีวิตประจำวันแต่ทุกคน โดยเฉพาะผู้มีการศึกษาก็ต้องมีโอกาสที่จะสัมผัสกับคำราชาศัพท์ทุกวัน ไม่โดยตรงก็โดยทางอ้อม โดยเฉพาะทางสื่อมวลชน        การเรียนรู้วิธีใช้คำราชาศัพท์นั้น กล่าวโดยสรุป ต้องเรียนรู้ใน 2 ประการ คือ เรียนรู้คำ ประการหนึ่งกับ เรียนรู้วิธี อีกประการหนึ่ง เรียนรู้คำ คือ ต้องเรียนรู้คำราชาศัพท์ เรียนรู้วิธี คือ ต้องเรียนรู้วิธีหรือเรียนรู้ธรรมเนียมการใช้คำราชาศัพท์ การเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์
  • 5. คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ลำดับพระราชอิสริยศักดิ์พระบรมราชวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว , สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี , สมเด็จพระบรมราชชนนี , สมเด็จพระยุพราช , สมเด็จพระสยามบรมราชกุมารี สมเด็จเจ้าฟ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า
  • 6. ราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์ คำนามที่เป็นชื่อสิ่งของสำคัญที่ควรยกย่อง มีคำเติมหน้า ได้แก่ พระบรมมหาราช พระบรมมหา พระบรมราช พระบรม พระอัคราช พระอัคร และพระมหา เช่น พระบรมมหาราชวัง พระบรมมหาชนกพระบรมราชชนนี พระบรมราชวงศ์ พระบรมอัฐิ พระบรมโอรสาธิราช พระอัครชายา พระมหาปราสาท พระมหาเศวตฉัตร เป็นต้น คำนามเป็นชื่อสิ่งสำคัญรองลงมา นำหน้าด้วยคำ“พระราช” เช่น พระราชวังพระราชวงศ์ พระราชทรัพย์ เป็นต้น
  • 7.
  • 8.
  • 9. ภาษาเขมร ในสมัยโบราณชาติขอม (เขมรในปัจจุบันนี้) เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มีอารายธรรม มีความเจริญสูงสุด พระเจ้าแผ่นดินของขอมอยู่ในฐานะสมมุติเทพ  ทำให้ยอมรับว่าภาษาขอมนั้นย่อมจะต้องสูงส่งไปด้วย  จึงเกิดมีการเรียนรู้ภาษาขอมกันมากขึ้น ได้ใช้ในทางคาถาอาคม นิยมว่าเป็นของอันศักดิ์สิทธิ์  ยกย่องว่าเป็นของสูงเช่นเดียวกันศาสนา ไทยจึงนำเอาภาษาขอมมาใช้เป็นคำราชาศัพท์เพื่อให้สมเกียรติแก่พระเจ้าแผ่นดิน ภาษาไทย โดยปกติภาษาไทยจะไม่นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์แต่จะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อเอาไปนำหน้าภาษาอื่น  เช่น มีพระดำรัส เป็นพระราชโอรส น้ำจัณฑ์ หรือใช้วิธีปรุงแต่งคำขึ้น เช่น พระที่นั่ง ช้างทรง เป็นต้น  ภาษาอื่น ๆ คำราชาศัพท์ที่นำมาจากภาษาอื่นนั้นน้อยมากแต่ก็มีมาประปราย เช่น พระสุหร่าย  จากภาษาเปอร์เซีย  พระเก้าอี้  จากภาษาจีน
  • 10. ศัพท์สำหรับเจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ คือตั้งแต่สมเด็จพระบรมราชินีลงไปถึงหม่อมเจ้า ใช้พระราชนำหน้า เช่น พระราชเสาวนีย์ พระราชประวัติ พระราชดำรัส พระราชกุศล พระราโชวาท พระราโชบาย เป็นต้น ใช้พระนำหน้า เช่น พระเศียร พระองค์ พระหัตถ์ พระทัย พระบาท เว้นแต่หม่อมเจ้าไม่ใช้ “พระ” นำหน้า ใช้ว่า เศียร องค์ หัตถ์ หทัย บาท เป็นต้น คำนามราชาศัพท์สำหรับเจ้านายอยู่ในตัว ไม่ต้องใช้คำนำหน้าหรือคำต่อท้าย เช่น วัง ตำหนัก ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  • 15.
  • 16. คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา คำราชาศัพท์ที่ใช้เป็นคำกริยา เป็นคำแสดงอาการ แบ่งเป็น 4 ชนิด กริยาที่เป็นราชาศัพท์ในตัวเอง เช่น ตรัส,เสด็จ,กริ้ว,ประชวร,ประสูติ, เสวย,ถวาย,บรรทม,โปรด,ทรงดนตรี(เล่นดนตรี) ใช้ทรงนำหน้ากริยาธรรมดา เช่น ทรงฟัง ห้ามใช้ทรงนำหน้ากริยาที่มีนามราชาศัพท์ เช่น มีพระราชดำริ มีพระบรมราชโองการ ใช้เสด็จนำหน้ากริยาบางคำ เช่น เสด็จกลับ
  • 18. ราชาศัพท์สำหรับพระภิกษุสงฆ์        การใช้คำพูดกับพระภิกษุทรงสมณศักดิ์ ที่ผิดกันมากคือชั้นสมเด็จพระราชาคณะเห็นจะเป็นเพราะมีคำว่า "สมเด็จ" นำหน้าจึงเข้าใจว่าต้องใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งผิด ความจริงแล้ว พระภิกษุทรงสมณศักดิ์ที่ต้องใช้ราชาศัพท์มีเฉพาะเพียงสมเด็จพระสังฆราชเท่า นั้น เว้นแต่พระภิกษุรูปนั้นๆ ท่านจะมีฐานันดรศักดิ์ทางพระราชวงศ์ ไทยเรามีคำพูดที่ใช้กับพระภิกษุโดยเฉพาะอยู่ประเภทหนึ่งบางทีก็ เป็นคำที่พระภิกษุเป็นผู้ใช้เอง ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักกันหมดแล้ว เช่น คำว่า อาตมาภาพ หรืออาตมา มีความหมายเท่ากับ ฉัน บางคำก็ทั้งท่านใช้เองและเราใช้กับท่าน เช่น คำว่า ฉัน หมายถึง กิน เป็นต้น การพูดกับพระภิกษุต้องมีสัมมาคารวะ สำรวม ไม่ใช้ถ้อยคำที่เป็นไปในทำนองพูดเล่นหรือพูดพล่อยๆ ซึ่งจะเป็นการขาดความเคารพไปสำหรับพระภิกษุ เราจำเป็นต้องทราบราชทินนาม เรียกว่า พระภิกษุผู้ทรงสมณศักดิ์ ของพระภิกษุเรียงลำดับได้ดังนี้ เพื่อที่จะได้ใช้ได้อย่างถูกต้อง
  • 19. สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะคือ พระภิกษุที่มีราชทินนามนำหน้าด้วย"สมเด็จพระ" พระราชาคณะชั้นรอง พระราชาคณะชั้นธรรม พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ธรรม" นำหน้า พระราชาคณะชั้นเทพ พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "เทพ" นำหน้า พระราชาคณะชั้นราช พระราชาคณะชั้นนี้มักมีคำว่า "ราช" นำหน้า พระราชาคณะชั้นสามัญ พระครูสัญญาบัติ , พระครูชั้นประทวน พระเปรียญตั้งแต่ 3-9
  • 21. ประโยชน์ของการเรียนรู้คำราชาศัพท์ เพราะเหตุที่ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันที่สูงสุดของ ประเทศมาแต่โบราณ พระเจ้าแผ่นดินทรงใกล้ชิดกับประชาชนอย่างแนบแน่นประการหนึ่ง คำราชาศัพท์นั้นเป็นแบบอย่างวัฒนธรรมอันดีทางด้านการใช้ภาษาไทยประการหนึง และการอ่านหรือศึกษาวรรณคดีก็ดี การรับสารสื่อมวลชนในปัจจุบันก็ดี เหล่านี้ล้วนต้องมีคำราชาศัพท์เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมออีกประการหนึ่ง ดังนั้นการเรียนรู้คำราชาศัพท์จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทาง อ้อมมากมาย ดังจะเห็นได้ดังต่อไปนี้
  • 22. 1. ประโยชน์จากการใช้คำราชาศัพท์ถูกต้อง ที่เรียกว่าใช้คำราชาศัพท์ถูกต้องนั้น คือ ถูกต้องตามบุคคลที่ใช้ว่าบุคคลใดควรใช้ราชาศัพท์ขั้นไหน อย่างไร ประการหนึ่ง ถูกต้องตามโอกาส คือ โอกาสใดใชคำราชาศัพท์หรือไม่เพียงใด ประการหนึ่ง และถูกต้องตามวิธีการใช้คือ ใช้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยมนั้นก็อีกประการหนึ่ง การใช้ราชาศัพท์ต้องใช้ทั้งความรุ้และประสบการณ์เป็นดุลยพินิจให้ถูกต้อง 2. ประโยชน์จากการเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าจากการอ่านหนังสือประเภทต่างๆ เช่น วรรณกรรมทั่วไป วรรณคดี หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ทั้งหลาย โทรทัศน์ วิทยุ ตลอดจนสิ่งบันเทิงทั้งหลาย มีภาพยนต์ ละคร โขน ลิเก เป็นต้น เพราะการรับรู้ รับฟัง บางครั้งต้องมีสิ่งที่เรียกว่า คำราชาศัพท์ร่วมอยู่ด้วยเสมอ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ประโยชน์ทางตรง
  • 23. เป็นประโยชน์ผลพลอยได้ แม้ตั้งเป้าหมายไว้ล่วงหน้าหรือไม่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ตาม คือ เมื่อรู้คำราชาศัพท์ดี ถูกต้อง ฟังหรืออ่านเรื่องราวที่มีคำราชาศัพท์เข้าใจผลประโยชน์พลอยได้ ก็จะเกิดขึ้นเสมอ ดังนี้ ๑. ธำรงรักษาวัฒนธรรมอันดีงานของชาติไว้ คือ รักษาให้คงอยู่ไม่เสื่อมสูญ ถือเป็นการธำรงรักษาวัฒนธรรมและความมั่นคงของประเทศชาติ ๒. เพิ่มความมีเสน่ห์ในตัวบุคคล คือ บุคคลผู้รู้และใช้คำราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้อง เป็นการแสดงออกซึ่งความมีวัฒนธรรมอันดีงามทางภาษา ประโยชน์โดยทางอ้อม
  • 24. แบบทดสอบเรื่องคำราชาศัพท์ คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ๑. คำว่า “นอน” สำหรับพระภิกษุ ใช้ว่าอย่างไร ก. พักผ่อน ข. ทำวัตร ค. จำวัด ง. บรรทม ๒. “คุณพ่อไม่อยู่ _____ ไป _____ พระที่วัด ค่ะ” ควรเติมคำข้อใด ก. เขา – เชิญ ข. ท่าน – นิมนต์ ค. แก – นิมนต์ ง. ท่าน – เรียนเชิญ ๓. “พระสงฆ์รูปนี้ ______มาหลายวันแล้ว” ควรเติมคำในข้อใด ก. อาพาธ ข. เจ็บ ค. ป่วย ง. ประชวร
  • 25. ๔. คำในข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์ ก.เสด็จ ข. บรรทม ค. ประสูติ ง. อาตมา   ๕. ข้อใดไม่ใช่คำราชาศัพท์ สำหรับพระมหากษัตริย์ ก. เสวย ข. ทรงบาตร ค. อาราธนา ง. พระนาสิก ๖. คำราชาศัพท์ข้อใด ไม่ใช่ ราชาศัพท์หมวดร่างกาย ก. พระโอษฐ์ ข. พระเนตร ค. พระชงฆ์ ง. พระอัยกา
  • 26. ๗ . คำราชาศัพท์ข้อใดใช้ ทรง นำหน้า ก. ทรงตรัส ข. ทรงผนวช ค. ทรงเสด็จ ง. ทรงบรรทม ๘. คำสุภาพข้อใดใช้ไม่ถูกต้อง ก. กระบือ – วัว ข. วานร – ลิง ค. วิฬาร – แมว ง. ปลาหาง – ปลาช่อน ๙. คำราชาศัพท์ข้อใดไม่ถูกต้อง ก. พระนาภี – สะดือข. พระฉาย – กระจก ค. พระฤทัย – ใจง. พระหัตถ์ – แขน ๑๐. ข้อใดเป็นคำสุภาพของ ผักกระเฉด ก. ผักทอดยอด ข. ผักรู้นอน ค. ผักไห่ ง. ผักสามหาว
  • 27. ๑๑. ข้อความตอนใดใช้ราชาศัพท์ผิด (๑) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธียกช่อฟ้า ณ วัดสีมาราม (๒) หลังจากเสด็จพระดำเนินกลับจากการแปรพระราชฐาน ณ พระราชวังไกลกังวล (๓) จากนั้นเสด็จออกให้ลูกเสือชาวบ้านจากทั่วประเทศเฝ้าฯ (๔) และทรงพระดำเนินชมนิทรรศการ "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" ก. ตอนที่ (๑) ข. ตอนที่ (๒) ค. ตอนที่ (๓) ง.ตอนที่ (๔) ๑๒. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ได้ถูกต้อง ก.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกระแสพระราชดำรัสแก่คณะผู้พิพากษาใหม่ที่ เข้าเฝ้าฯ ณ ศาลาเริงพระราชวังไกลกังวล ข. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จออกแทนพระองค์พระราชทาน พระบรมราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่าง ๆ เข้าเฝ้า ค.พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จฯ เป็นประธานเปิดการแสดงของยอดมายากล เดวิด คอปเปอร์ฟิลด์ ง.พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาได้สำเร็จการศึกษาเป็นองค์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว
  • 28. ๑๓. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมงกุฎราชกุมาร.......นำ......ทั้งสองไปเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ก. เสด็จ ฯ ราชอาคันตุกะ ข. ทรงดำเนิน พระราชอาคันตุกะ ค. ทรงพระดำเนิน พระราชอาคันตุกะ ง. เสด็จพระดำเนิน ราชอาคันตุกะ ๑๔. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง ก. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนพระองค์ในห้องทรงงาน ค. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงขอบพระทัยประชาชนที่มารับเสด็จ ง.ปีนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมพรรษา 4 รอบ
  • 29. ขอขอบคุณข้อมูลจาก อ.นวลพรรณ ตาวงศ์ สนับสนุนจากกลุ่มผลิตสื่อและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 2 คู่มือภาษาไทย ม.3 ท305-ท306 ภาคเรียนที่ 1-2 ,ประสงค์ และ นันทพร พวงแก้ว , สำนักพิมพ์ประสานมิตร , กทม. 2530 ติวเข้มภาษาไทย ม.3,อ.ปราณี แสงอากาศ , อ.ขวัญใจ ถาวรประเสริฐ หนังสือแบบฝึกหัดภาษาไทย ทักษสัมพันธ์ เล่ม 2 ชั้น ม.2 ภาคเรียนที่ 2 รหัสวิชา ท204 ,อ.สุกัญญา ศักดิ์ประสิทธิ์ , อ.อังสนา วิบูลย์ชาติ , อ.ผุสสดี ธุวังควัฒน์ , อ.วรากร ใจดี , - , กทม. 2542 หนังสือหลักการใช้ภาษาไทย กลุ่มการเรียนรู้ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 3 หลักสูตรขั้นพื้นฐาน 25,สนีย์ วิลาวรรณ, สุระ ดามาพงษ์, ชัยวัฒน์ สีแก้ว 44 ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร, หลักราชาศัพท์ (ฉบับสมบูรณ์), กรุงเทพฯ : รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๖ . บรรณานุกรม