Se ha denunciado esta presentación.
Se está descargando tu SlideShare. ×

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio
Anuncio

Eche un vistazo a continuación

1 de 21 Anuncio

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

Descargar para leer sin conexión

นางสาว ชฎาพร เกษมมัสสุ ม6/7 เลขที่10

นางสาว ชฎาพร เกษมมัสสุ ม6/7 เลขที่10

Anuncio
Anuncio

Más Contenido Relacionado

Presentaciones para usted (20)

Anuncio

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

  1. 1. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดทำโดย นางสาว ชฎาพร นามสกุล เกษมมัสสุ ม 6/7 เลขที่ 10 อาจาร์ยผู้สอน อ . อินทิรา รัตนานันท์
  2. 2. ความหมายของการท่องเที่ยว ... <ul><li>คำว่า ท่องเที่ยว คือการเดินทางท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เป็นสากล ๓ ประการดังนี้ </li></ul><ul><li>  ๑ . เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว </li></ul><ul><li>  ๒ . เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ </li></ul><ul><li>  ๓ . เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้ </li></ul><ul><li>นักท่องเที่ยว จะนำเงินไปใช้จ่ายเป็น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางเพื่อชมสถานที่ต่างๆ  ค่าซื้อของฝากของที่ระลึก และอื่นๆ อีกจำนวนมาก เงินของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ และนักท่องเที่ยวชาวไทย จะกระจายไปสู่กลุ่มอาชีพต่างๆ ทุกอาชีพ </li></ul><ul><li>การเดินทางท่องเที่ยวเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด ได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม ได้พบเห็นภูมิประเทศที่แปลกตา และได้สร้างสัมพันธ์กับคนต่างถิ่นด้วย การคมนาคมสะดวก ธุรกิจต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางมากมายธุรกิจต่างๆ ก่อให้เกิดงานอาชีพใหม่ การกระจายเงินตรา ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ </li></ul>
  3. 3. ประวัติ ททท . <ul><li>การส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดขึ้นโดยพระดำริของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ได้มีการส่งเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองไทยไปเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา ใน พ . ศ . 2467 ได้มีการจัดตั้งแผนกโฆษณาของการรถไฟขึ้น ทำหน้าที่รับรอง และ ให้ความสะดวก แก่นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาประเทศไทย รวมทั้งการโฆษณาเผยแพร่ประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรมรถไฟ เชิงสะพานนพวงศ์ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งที่สถานีรถไฟหัวลำโพง เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงย้ายไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพาณิชย์ และคมนาคม งานด้านส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้ย้ายไปอยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ และคมนาคมด้วย แต่ยังคงทำงานร่วมกับกรมรถไฟ มีสำนักงานตั้งที่ถนนเจริญกรุง หน้าไปรษณีย์กลาง </li></ul>
  4. 4. ไทยเที่ยวไทย ... <ul><li>การส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เริ่มขึ้นอย่างชัดเจนใน พ . ศ . 2479 เมื่อ กระทรวงเศรษฐการ เสนอโครงการบำรุงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศสยามต่อคณะรัฐมนตรี โดยเสนอแผนและวัตถุประสงค์ของการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 3 ประการ คือ              1. งานโฆษณาชักชวนนักท่องเที่ยว              2. งานรับรองนักท่องเที่ยว              3. งานบำรุงสถานที่ท่องเที่ยวและที่พัก </li></ul>
  5. 5. <ul><li>ในการเสนอโครงการนี้ กระทรวงเศรษฐการได้เสนอให้จัดเป็นรูปของสมาคมการท่องเที่ยว คณะรัฐมนตรีประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2479 มีมติรับหลักการของการบำรุงอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่ไม่รับหลักการในการจัดตั้งให้เป็นรูปสมาคม ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ดำเนินงานโดยให้กระทรวงเศรษฐการ เป็นเจ้าของเรื่อง กระทรวงเศรษฐการได้มอบงานนี้ให้กรมพาณิชย์ เป็นผู้จัดทำเพราะกรมพาณิชย์มีแผนกส่งเสริมพาณิชย์ และท่องเที่ยวอยู่กระทรวงเศรษฐการได้ดำเนินการเรื่องนี้ต่อมาจนเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น และสำนักงานถูกระเบิด จึงเลิกกิจการไปชั่วคราว </li></ul>
  6. 6. <ul><li>เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2492 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเห็นควรปรับปรุงหน่วยงานท่องเที่ยวขึ้นใหม่ จึงได้มีมติให้กรมโฆษณา การยกร่างโครงการปรับปรุงหน่วยงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ในการประชุม เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2492 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมโฆษณาการพิจารณาส่งเสริมการท่องเที่ยว กรมโฆษณาการได้ทำความตกลงกับกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ขอโอนกิจการส่งเสริมการท่องเที่ยว จากกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมมาอยู่กับกรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี และให้เรียกส่วนงานนี้ว่า &quot; สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว &quot; ใช้งบประมาณของกรมโฆษณาการเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายของสำนักงานนี้ ต่อมากรมโฆษณาการได้พิจารณาเห็นว่ากิจการส่งเสริมการท่องเที่ยวกำลังตื่นตัวในประเทศไทยมาก จึงได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีฐานะเทียบเท่ากอง เรียกว่า &quot; สำนักงานท่องเที่ยว &quot; โดยพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมโฆษณาการในสำนักนายกรัฐมนตรี พ . ศ . 2493  </li></ul>
  7. 7. <ul><li>ใน พ . ศ . 2501 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ไปพักรักษาตัวอยู่ ณ โรงพยาบาลวอลเตอร์รีด สหรัฐอเมริกา ได้ศึกษากิจการท่องเที่ยวด้วยความสนใจ และได้ดำริที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศอย่างจริงจัง ในปีต่อมาเมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งส่วนราชการ กรมประชาสัมพันธ์ พ . ศ . 2502 โดยตัด &quot; สำนักงานท่องเที่ยว &quot; ออก แล้วจัดตั้งขึ้นเป็นองค์การอิสระ เรียกว่า &quot; องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย &quot; มีชื่อย่อว่า &quot; อ . ส . ท .&quot; โดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ . ศ . 2502  </li></ul>
  8. 8. <ul><li>ในระยะแรกสถานที่ทำการขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้อาศัย อาคารของกรมประชาสัมพันธ์เป็นสำนักงาน ต่อมาได้ย้ายมาเปิดดำเนินงาน ณ สำนักงานถนนศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2503 ได้ประกอบพิธีเปิด &quot; องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย &quot; เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2503 </li></ul>
  9. 9. <ul><li>องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ . ศ . 2502 นั้น มีหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวดเร็ว จำเป็นต้องปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของ อ . ส . ท . ให้มีขอบเขตการปฏิบัติงานกว้างขวางยิ่งขึ้นทั้งในด้านการพัฒนา อนุรักษ์ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และ การส่งเสริมเผยแพร่ จึงได้มีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้ หน่วยงานการท่องเที่ยวของรัฐ มีอำนาจหน้าที่และรับผิดชอบในการพัฒนาส่งเสริมเผยแพร่ และ ดำเนินกิจการ เพื่อเป็นการริเริ่มให้มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนคุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวด้วย สภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งทำหน้าที่รัฐสภาในการประชุมครั้งที่ 41 วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2522 ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ แล้วปรากฏว่า ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบธุรกิจ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไม่ผ่านการพิจารณา ส่วนพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ผ่านการพิจารณาประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 4 พฤษภาคม 2522 จัดตั้ง &quot; การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย &quot; ขึ้น มีชื่อย่อว่า &quot; ททท .&quot; </li></ul>
  10. 10. กรอบนโยบายของคณะกรรมการ ททท . พ . ศ . 2550 – 2554 <ul><li>ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวมีบทบาทในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของไทย และเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ     </li></ul><ul><li>ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน โดยเน้นการขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ ทั้งในพื้นที่ใหม่และในตลาดเฉพาะกลุ่ม ภายใต้การสร้างความเข้มแข็งของตราสินค้า ( Brand) ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง   </li></ul><ul><li>ส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย โดยเน้นการประสานงานระหว่างเครือข่ายภาครัฐกับภาคเอกชน กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ประโยชน์ทั้งต่อสถาบันครอบครัวและต่อสังคมโดยรวม  อันจะนำไปสู่การสร้างและกระตุ้นจิตสำนึกรักษาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้เกิดความรักและภาคภูมิใจในเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย   </li></ul><ul><li>ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กระจายตัวสู่แหล่งท่องเที่ยวรองมากขึ้น เพื่อสร้างสมดุล  ระหว่างพื้นที่ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจังหวัดและข้ามภูมิภาค    </li></ul>
  11. 11. <ul><li>ส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านโดยการทำการตลาดร่วมกัน   เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวทั้งภายในภูมิภาคและภายนอกภูมิภาค   อันจะนำ ไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐานร่วมกันอย่างเป็นระบบ   และช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของภูมิภาคนี้ในตลาดท่องเที่ยวโลก    </li></ul><ul><li>มุ่งพัฒนาองค์กร ระบบบริหารจัดการ และเสริมสร้างบุคลากรให้มีทักษะและขีดความสามารถทางการตลาดท่องเที่ยว  เพื่อให้เป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อน  ( Driving Force)  ที่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงาน    และมีศักยภาพทางการแข่งขันระดับนานาชาติภายใต้   หลักธรรมาภิบาล รวมทั้งพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรในบทบาทเชิงวิชาการและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการตลาด   </li></ul><ul><li>พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยว ( e - Tourism) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ประเทศไทย และเสริมสร้างศักยภาพในการส่งเสริมการตลาดผ่านสื่อสารสนเทศ   </li></ul><ul><li>ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว  โดยประสานความร่วมมือและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว กับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน </li></ul>
  12. 12. ความสำคัญของการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศ  .. <ul><li>๑ . ก่อให้เกิดรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก </li></ul><ul><li>  ๒ . รายได้จากการท่องเที่ยวจะมีผลทบทวีคูณ ในการสร้างรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น </li></ul><ul><li>  ๓ . การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการหมุนเวียนและการกระจายรายได้ไปสู่ภูมิภาค </li></ul><ul><li>  ๔ . การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดผลดีในรูปการผลิตสินค้าพื้นเมือง สินค้าของที่ระลึก ตลอดจนบริการในท้องถิ่น </li></ul><ul><li>  ๕ . การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สิ้นเปลื้องวัตถุดิบ ผลผลิตขายได้ทุกเวลา </li></ul><ul><li>  ๖ . การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดการว่างงาน ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น </li></ul>
  13. 13. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยว <ul><li>ปัจจัยภายใน </li></ul><ul><li>๑ . ทรัพยากรการท่องเที่ยว </li></ul><ul><li>๑ . ๑ประเภทธรรมชาติ มีความสวยงามตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา น้ำตก ถ้ำ เขตรักษาพันธุ์สัตว์อุทยานแห่งชาติ </li></ul><ul><li>  ๑ . ๒ ประเภทประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสถาน และศาสนา ได้แก่ โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน </li></ul><ul><li>  ๑ . ๓ ประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม รูปแบบในลักษณะพิธี งานประเพณี ความเป็นอยู่ วิถีชีวิต </li></ul><ul><li>๒ . ความปลอดภัย นักท่องเที่ยวจะคำนึงถึงความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นสำคัญ </li></ul><ul><li>๓ . โครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกหลัก เช่น ถนน สะพาน สนามบิน สถานีรถโดยสาร ไฟฟ้า ประปา ระบบสื่อสารที่ทันสมัย </li></ul>
  14. 14. <ul><li>ปัจจัยภายนอก .. </li></ul><ul><li>1 สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของโลก สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเดินทางท่องเที่ยวจะอ่อนตัวลง </li></ul><ul><li>  ๒ . ความนิยมในการท่องเที่ยว </li></ul><ul><li>  ๓ . การขยายเส้นทางคมนาคม เช่น ท่าอากาศยานเครื่องบิน ส่งผลให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยและประหยัด </li></ul><ul><li>  ๔ . การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง การท่องเที่ยวจึงมีบทบาทมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนอย่างยิ่ง </li></ul>
  15. 15. การพัฒนาการท่องเที่ยว ... <ul><li>๑ . สำรวจ ค้นหา สถานที่ และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน รวบรวมข้อมูล เส้นทาง ประวัติ ความสำคัญ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ </li></ul><ul><li>  ๒ . วางแผนพัฒนาปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว สร้างจิตสำนึกทำแผนพัฒนาทุกด้าน การอนุรักษ์ การป้องกันทรัพยากรการท่องเที่ยว และสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมด้านนันทนาการตามแหล่งท่องเที่ยว และการบริหารพัฒนาบุคลากร </li></ul><ul><li>  ๓ . จัดให้มีการดูแลรักษาความปลอดภัยในแหล่งท่องเที่ยว วางระบบในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินและสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะที่พัก อาหาร และเครื่องดื่ม </li></ul><ul><li>  ๔ . การบริการและการจัดการแหล่งท่องเที่ยว ดูแลบริการสาธารณะทุกด้านรวมทั้งระบบการจัดเก็บหรือทำลายขยะ การบำบัดน้ำเสีย การจัดเก็บผลประโยชน์ การจัดทำของที่ระลึกชุมชน การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว เช่น อาสาสมัครประจำท้องถิ่น ที่พักอาศัยของนักท่องเที่ยว </li></ul><ul><li>  ๕ . การทำประชาสัมพันธ์และการตลาดการท่องเที่ยว เผยแพร่ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวให้แก่สาธารณชนผ่านสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร จดหมาย แผ่นพับ ฯลฯ </li></ul>
  16. 16. คำจำกัดความของนักท่องเที่ยว ... <ul><li>นักท่องเที่ยว หรือ บุคคลที่มิได้มีที่พำนักอาศัยถาวรในราชอาณาจักรไทย เดินทางเข้ามาเพื่อพักผ่อน เยี่ยมญาติมิตร ศึกษาหาความรู้ การกีฬา การศาสนา ติดต่อธุรกิจหรือประกอบภารกิจใดๆ ทั้งนี้ต้องมิได้รับค่าจ้างในการประกอบภารกิจนั้นจากผู้ใดในราชอาณาจักรไทย และเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยแค่ครั้งละอย่างน้อย ๑ คืน แต่ไม่เกิน ๖๐ วัน </li></ul>
  17. 17. คำจำกัดความ ... <ul><li>คำจำกัดความนี้เป็นคำจำกัดความที่ใช้กันทั่วโลก โดยยึดตามข้อกำหนดขององค์การท่องเที่ยวโลก ( WTO) ผู้ที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามคำจำกัดความนี้ จะถูกคัดออกไม่นับว่าเป็นนักท่องเที่ยว จะถือเป็นผู้โดยสารเท่านั้น </li></ul><ul><li>การนับจำนวนนักท่องเที่ยว จะนับจดจากบัตรเข้าเมือง ซึ่งควบคุมโดยกองตรวจคนเข้าเมือง จะทำการนับจดทุกบัตร จากทุกด่านที่เป็นจุดเข้าเมืองของประเทศไทย นับตั้งแต่ ดอนเมือง ภูเก็ต เชียงใหม่ หาดใหญ่และชายแดนทุกจุด ข้อมูลทั้งหมดจะถูกบันทึกลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการประมวลผลและสุดท้ายได้นำผลเข้าที่ประชุมในคณะอนุกรรมการสถิติและวิจัยทางการท่องเที่ยว ก่อนที่จะนำออกเผยแพร่ทั่วไป </li></ul>
  18. 18. คำนวณรายได้ <ul><li>การคำนวณทางรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีวิธีคิดคำนวณ จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแต่ละปี และคูณด้วยจำนวนวันพักเฉลี่ย และคูณด้วยค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยว ซึ่งในส่วนของค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยนั้น พบว่านักท่องเที่ยวให้ความสนใจใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ตามลำดับความสำคัญดังนี้ </li></ul><ul><li>๑ . ค่าใช้สอยเกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒๗ - ๓๐ </li></ul><ul><li>  ๒ . ค่าที่พักเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๒๖ </li></ul><ul><li>  ๓ . ค่าอาหารและเครื่องดื่มเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๗ </li></ul><ul><li>  ๔ . ค่าบริการขนส่งเฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๕ </li></ul><ul><li>  ๕ . ค่าบริการบันเทิงต่างๆ เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๑๐ </li></ul><ul><li>  ๖ . อื่นๆ เฉลี่ยประมาณร้อยละ ๓ </li></ul>
  19. 19. ประโยชน์จากการท่องเที่ยว ... <ul><li>การท่องเที่ยวส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความภูมิใจของชุมชน </li></ul><ul><li>การท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเรียนรู้คุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อรายได้ การท่องเที่ยวกระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกของท้องถิ่นและของชาติยังผลให้เกิดความใส่ในการอนุรักษ์ การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในด้านการดำเนินงาน และ การพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเงื่อนไขสำคัญในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่หลากหลายอย่างยั่งยืน สิ่งเหล่านี้เป็นผลลัพธ์ด้านบวกที่เกิดจากการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ ในทางที่เหมาะสม สิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน ที่มีทัศนคติเชิงบวก ย่อมก่อให้เกิดแรงสนับสนุนที่มากกว่าและโอกาสที่ดีกว่า ในการพัฒนาและดำเนินการทางการท่องเที่ยว ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาชุมชน ให้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการตัดสินใจเพื่อพิจารณา ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว ระบบนิเวศน์ และ ความเสมอภาคของชุมชน </li></ul>
  20. 20. ส่งเสริม .. <ul><li>การส่งเสริมท่องเที่ยวช่วยให้เกิดการพัฒนาบริการ และ สิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ให้กับชุมชน รวมทั้งนำคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสู่ชุมชน ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนาการท่องเที่ยว อาทิ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงระบบสาธราณสุขและการขนส่ง การมีแหล่งสันทนาการและการกีฬาแห่งใหม่ การมีร้านอาหาร และ พื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้น รวมถึงการมีตัวเลือกจำนวนมากของสินค้าและอาหารที่มีคุณภาพ </li></ul>

×