SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 25
1
บทที่ 1 ทำควำมรู้จักกับปรัชญำ
( โดย อ.แนน สรณีย์ สายศร)
ก่อนอื่น....ก่อนที่ฉันจะพาคุณมาทาความรู้จักกับปรัชญา ฉันคิดว่าสิ่งที่จาเป็นแรกสุด ก็คือ
อาจจะต้องถามคุณก่อนว่า......คุณรู้จักตัวเองหรือยัง ? ....ตั้งแต่เกิดมา คุณเคยได้ตั้งคาถามง่ายๆ เหล่านี้กับ
ตัวเองบ้างหรือไม่....แน่นอน ฉันไม่ได้ถามคุณว่า ทฤษฎีสัมพันธภาพหรือนิพพาน คืออะไร เพราะฉันเองก็ไม่รู้
เหมือนกัน....แต่คาถามที่ฉันจะถามคุณต่อไปนี้ ได้เคยทาให้ฉันได้ค้นพบความหมายอะไรบางอย่างที่ไม่เคยมี
มาก่อนในชีวิต...... “ชีวิต คือ อะไร?” “เรำเกิดมำทำไม และจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ?” “อะไร คือ สิ่งที่
ดีและมีค่ำที่สุด ที่ชีวิตควรแสวงหำ ?” ฯลฯ คาถามเหล่านี้ฉันอยากจะให้คุณคิดใคร่ครวญมันดูดีๆ บางคน
อาจจะคิดว่า คาถามเหล่านี้ ช่างเป็นคาถามที่ง่ายดายเหลือเกิน ง่ายเกินกว่าที่จะมาเสียเวลาคิด จนกระทั่ง
กว่าจะรู้ตัวอีกที คนที่คิดเช่นนั้นก็อาจจะต้องจากโลกนี้ไปเสียแล้ว ก่อนที่จะรู้ตัวด้วยซ้าว่า อะไร คือ สิ่งที่มีค่า
และอะไร คือ ความสุขสาหรับเขา ฉันเองก็อาจจะเคยมีความคิดคล้ายกันนี้ ที่ไม่คิดจะใส่ใจใยดีกับคาถามที่
จืดชืดเหล่านั้น แต่ยังโชคดีที่ฉันเผอิญลองคิดเล่นๆ ว่า “นั่นสิ ฉันเกิดมำทำไม?” แล้วความคิดที่กาลังโลด
แล่นไปในช่วงขณะนั้น ก็ตอบกลับมาว่า “เกิดมาเพื่อ แก่ เจ็บ และตายไปไงหล่ะ” คาตอบนี้ทาให้ฉันรู้สึกตกใจ
เป็นอย่างยิ่งว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ฉันไม่เคยแสวงหาคุณค่าใดๆ ให้ตนเองเลย ตอบไม่ได้ด้วยซ้าว่า ฉันมีชีวิต
อยู่ทุกๆวันนี้เพื่ออะไร รู้เพียงแต่ว่า ต้องตื่นนอน กิน ทางาน กิน แล้วก็นอน แล้วก็ตื่นมาใหม่ อยู่ไปวันๆ กับ
รอยตีนกาที่เพิ่มขึ้นและร่างกายที่อ่อนแอลงตามวัย....ในวินาทีแห่งความสับสนนั้น ฉันเริ่มคลี่คลายและ
ตระหนักรู้ว่า การตั้งคาถามกับชีวิตมีคุณค่าเช่นนี้เอง อย่างน้อย ก็ทาให้ฉันได้กลับมาเป็นตัวของตัวเอง หยุด
พักจากกิจกรรมประจาวันต่างๆ ที่ทาให้ชีวิตฉันต้องเหนื่อยตลอดเวลา แล้วหันกลับมาศึกษาถึงชีวิตด้านในของ
ตนเอง....กลับมาดูแลและถามไถ่ถึงคุณค่าและความต้องการที่แท้จริงของชีวิต หรือ พูดง่ายๆ กำรตั้งคำถำม
และพยำยำมหำคำตอบให้กับคำถำมแห่งชีวิตเหล่ำนี้ ก็คือ กำรหันกลับมำแสวงหำควำมหมำยและ
คุณค่ำของชีวิต เพื่อที่เรำจะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่ำงคนที่รู้จัก เข้ำใจ และสำมำรถพัฒนำชีวิตของ
ตนไปในวิถีทำงที่ถูกต้อง มีควำมสุข และไม่เป็นทุกข์ได้อย่ำงแท้จริง....แล้วคุณหล่ะ รู้สึกเหมือนฉันบ้าง
หรือเปล่า....
“..ถึงแม้จะรู้ว่าวิชาปรัชญาสอนให้คนเรารู้จักตั้งคาถาม และค้นหาคาตอบ แต่ในวัยที่
ชีวิตราบเรียบ ไร้อุปสรรค คาถามมักไม่มีความจาเป็น ต่อเมื่อชีวิตพบผ่านความขรุขระ พบ
พานความโศกเศร้า คาถามและความสงสัยต่างๆ ดูจะพากันประดังประเดเข้ามา..”
ณิพรรณ กุลประสูติ
2
ชีวิตของมนุษย์ในทุกวันนี้ อยู่ในยุคแห่งความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์มีความ
สะดวกสบายมากขึ้นจากวัตถุสิ่งของต่างๆที่ช่วยอานวยความสะดวก จนมนุษย์คิดไปว่าสิ่งเหล่านี้คือความสุข
ยิ่งมีพร้อมทางวัตถุ เงินทอง มากเท่าไหร่ นั่นก็คือที่สุดแห่งความสุข เป็นที่สุดแห่งความปรารถนา แต่การที่จะ
ให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งเหล่านั้น มนุษย์ก็ต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจในการทางาน หาเงิน โดยวางแผนการ
ประกอบอาชีพตั้งแต่อยู่ในวัยเรียน หลายคนเลือกเรียนในสาขาที่จะสามารถจบไปประกอบอาชีพที่มั่งคั่ง มั่นคง
ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองไม่ได้ชอบ เมื่อเรียนจบแล้ว ก็มุมานะทางานอย่างเต็มที่ เพื่อให้เงินในบัญชีธนาคารเพิ่มขึ้น และ
ทาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนไม่เคยหยุดที่จะถามตนเองว่า เหนื่อยไหม? พอใจในชีวิตหรือยัง? หรือมันเป็นความสุข
หรือสิ่งที่ชีวิตเราต้องการแน่หรือ? มนุษย์ถูกกงล้อแห่งควำมเคยชิน สะบัดหมุนไปตำมค่ำนิยมของสังคม
จนเขำคิดว่ำควำมเคยชินนั้น คือ ตัวเขำ คือ ชีวิตของเขำ แต่แท้จริงแล้ว เรำเคยหยุดคิดในบำงขณะ
แห่งชีวิตบ้ำงหรือไม่ว่ำ......ฉันจะเรียนหรือทำงำนไปเพื่ออะไร? ทำไมฉันจะต้องทำงำนหรือมีชีวิตใน
แบบที่ฉันไม่ชอบด้วย? ทำไมคนในสังคมรวมทั้งตัวฉันจึงคิดว่ำเงินสำคัญกว่ำควำมดี มันถูกแล้ว
หรือ? ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มั่งคั่ง จริงหรือ และควำมสุข คือ ควำมพอใจในวัตถุเท่ำนั้นหรือ? ......ถ้า
เพียงเราลองหยุดกระแสแห่งความเคยชินไว้สักครู่ หันมาทบทวนชีวิตของเราที่กาลังดาเนินอยู่และถามคาถาม
เหล่านี้อย่างจริงจัง บางทีเราอาจจะพบว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหยุด....หยุด เพื่อที่จะเดินต่อ...เดินไปบน
หนทางที่แท้จริงของเรา...เดินไปอย่างเปี่ยมไปด้วยความหมายในคุณค่าแห่งชีวิตที่ตนค้นพบ....เดินไปบน
เส้นทางแห่งความจริง ความรู้ ความดี และความงาม.....เดินไปบนถนนแห่งเสรีภาพอย่างคนที่เปี่ยมไปด้วย
การตระหนักรู้ในตนอย่างแท้จริง....และการเดินทางครั้งใหม่นี้กระมัง ที่จะทาให้คุณได้รู้จักตัวเองและซึ้งถึง
ความหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง....
“.....ไม่ว่ามนุษย์จะเจริญก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตาม มนุษย์ก็ยัง
จาเป็นต้องตอบคาถามตนเองให้ได้ว่าชีวิตคืออะไร ? ควรให้ชีวิตเป็นไปอย่างไร?
ไม่เช่นนั้นแล้วชีวิตก็จะไร้ความหมายและคุณค่าโดยสิ้นเชิง”
ดวงดำว กีรติกำนนท์
คุณอาจจะสงสัยว่า ที่ฉันพูดมาเสียยืดยาว และแนะนาให้คุณตั้งคาถามกับชีวิต มันเกี่ยว
อะไรกับวิชาปรัชญาซึ่งเราจะเรียนกันด้วย...อีกสักครู่ ฉันจะเฉลยให้ฟัง...แต่ก่อนอื่น คุณคงจะสงสัยเหมือนกัน
ใช่ไหมว่า
ปรัชญำ คือ อะไร ?
มีเนื้อหำเกี่ยวกับอะไร ?
จะเรียนปรัชญำไปทำไม ?
เรียนไปแล้วได้อะไร ?
ไม่เสียเวลำและค่ำหน่วยกิตโดยเปล่ำประโยชน์หรือ ?....
3
ในคาถามแรกที่ว่า “ปรัชญา คือ อะไร ?” คุณมีความคิดคล้ายๆ แบบนี้บ้างหรือไม่ว่า....
- ปรัชญา คือ ความคิดเพ้อฝันของคนบ๊องๆ บวมๆ ?
- ปรัชญา คือ ทฤษฎีนอกโลกที่สูงส่งยากแก่การเข้าใจ ?
- ปรัชญา คือ วิชาที่มีแต่ตัวหนังสือมีตาราหนาๆ ต้องท่องจาน่าเบื่อหน่าย?
- ปรัชญา คือ วิชาสาหรับคนหน้าแก่และหัวโบราณทึนทึก ?
- ปรัชญาเป็นวิชาที่ไม่เห็นให้ประโยชน์อะไร....ว๊า...น่าเบื่อซะไม่มี......
ดังนั้น...”ปรัชญา จึงเป็นวิชาที่ไม่น่าเรียนด้วยประการทั้งปวง” (..จริงหรือ ?)
ขอเวลาเดี๋ยว อย่าเพิ่งตัดสินวิชาปรัชญาซะแย่ขนาดนั้น ถ้าจะบอกว่า......แท้จริงแล้ว
”ปรัชญำ ก็คือ ชีวิต และความคิด ของคุณ นั่นแหละ และคุณทุกคนก็มีควำมเป็นนักปรัชญำอยู่ใน
ตัว........ดังนั้น ปรัชญำจึงไม่ใช่เรื่องนอกโลก แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตและกำรใช้ชีวิตของคุณ
.........คุณจะเชื่อหรือไม่ ?....
คุณไม่จาเป็นต้องเชื่อ...แต่ก็อย่าเพิ่งปิดใจตัวเองในการที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่คุณไม่คุ้นเคย
ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และใกล้หัวใจของคุณ......เพราะ จริงๆ แล้ว ปรัชญำ เป็นควำมพยำยำมของมนุษย์
เรำในกำรที่จะตอบคำถำมเกี่ยวกับชีวิตและโลกที่เรำอยู่ โดยเริ่มต้นมำจำกควำมสงสัยต่อตัวเรำเอง
ต่อโลก และต่อสิ่งต่ำงๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น สงสัยว่ำ ชีวิต คือ อะไร โลกมำจำกไหน และเรำควรจะ
ใช้ชีวิตอย่ำงไรให้อยู่ดี มีสุข เป็นต้น จำกนั้น เมื่อมนุษย์สงสัย จึงตั้งคำถำม และพยำยำมแสวงหำ
คำตอบ โดยกำรใช้ควำมคิดด้วยเหตุผล ****ทั้งกระบวนกำรคิด และคำตอบที่ได้จำกกำรใช้
ควำมสำมำรถในกำรคิดด้วยเหตุผลของเรำนี้เอง คือ ปรัชญำ .....เห็นไหมคะว่ำ “ปรัชญำ” ก็คือ กำร
ใช้ควำมคิด และหำคำตอบให้กับชีวิตของเรำ มิใช่เรื่องไกลตัว หรือ ไกลหัวใจแต่อย่างใด ****ความรู้ทุก
อย่าง และทุกการกระทาของเรา ล้วนเริ่มต้นมาจากการคิดทั้งนั้น ดังนั้น การคิดให้เป็น การคิดให้ถูกต้อง และ
การไม่ลืมที่จะคิดในเรื่องคุณค่าแห่งชีวิตนั้น จึงเป็นหน้าที่ของปรัชญา ที่จะรับใช้ ต่อผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา และ
เริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตที่ไร้แก่นสาร
จากนี้ไป ถ้าคุณอยากรู้จักปรัชญามากกว่านี้ ก็ขอเชิญคุณเดินทางเข้ามาสู่โลกแห่งปรัชญา
ไปกับพวกเรา แล้วคุณจะรู้ว่า ชีวิตไม่จาเป็นต้องคิดเหมือนคนอื่น และที่สาคัญ คุณจะรู้ว่า ชีวิตไม่ใช่บะหมี่
กึ่งสำเร็จรูปที่จะต้องมีรสชำติเหมือนๆ กัน แต่คุณสำมำรถสร้ำงรสชำติแห่งชีวิตของคุณขึ้นมำได้
ด้วยกำรตั้งคำถำม เพื่อแสวงหำจุดยืน และเลือกทำงเดินของชีวิตด้วยตัวคุณเองอย่ำงมีอุดมคติและมี
คุณค่ำอย่ำงแท้จริง
1. ควำมหมำยของ “ปรัชญำ”
1.1 ควำมหมำยตำมรูปศัพท์
คาว่า “ปรัชญา” ในภาษาไทย แปลว่า “ควำมรอบรู้” เป็นศัพท์บัญญัติใช้กับคาว่า
“PHILOSOPHY” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “PHILOS (LOVE) + SOPHIA
(WISDOM) ซึ่งแปลว่า “รักในควำมรู้” (LOVE OF WISDOM) หรือ “ควำมรัก อันเป็นพลังผลักดันให้
แสวงหำควำมรอบรู้” หรือ “รักที่จะมีควำมรู้” นั่นเอง
4
****ปรัชญาเป็นเรื่องของความรู้ …..
ทั้งการแสวงหาความรู้ (Seeking Wisdom)
และความรู้ที่ค้นพบแล้ว (“Wisdom Sought”)
1. ในขั้นแสวงหา..มนุษย์มีความสงสัย จึงตั้งคาถาม แล้วคิดหาคาตอบอย่างมีเหตุผล เรียก
ขั้นนี้ว่า “การคิดแบบปรัชญา”
2. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการแสวงหา นั่นคือ ในที่สุดมนุษย์ก็ได้ค้นพบคาตอบเกี่ยวกับ
ความจริง ซึ่งเรียกว่า “ความรู้เชิงปรัชญา” (พระราชวรมุนี, 2544: 3-5)
นักปรัชญาจิตนิยมสมัยกรีกโบราณ เช่น โสคราตีส เพลโต และ อริสโตเติล ได้ให้
นิยาม “ความรู้” ในทางปรัชญาไว้ว่า หมายถึง “การรู้จักตัวเอง” (to know thyself) และการที่จะรู้จักตัวเองได้
อย่างแท้จริง ก็ต้องหมั่นสารวจตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ดังที่โสคราตีสกล่าวไว้ว่า “ชีวิตที่ไม่มีการสารวจ
ตรวจสอบไม่มีค่าควรแก่การดารงอยู่” ( a life without examination is not worth living ) (สุจิตรา, 2545: 150)
1.2 ควำมหมำยตำมลักษณะเนื้อหำ
“ปรัชญำ” คือ กำรแสวงหำควำมรู้หรือควำมจริงเกี่ยวกับชีวิต มนุษย์ โลก และ
ธรรมชำติ อย่ำงลึกซึ้ง โดยกำรคิดด้วยเหตุผล เช่น การแสวงหาคาตอบว่า....ความจริงของชีวิตและโลก
คือ อะไร ,เรารู้ความจริงได้อย่างไร และเราจะควรใช้ชีวิตอย่างไรดีให้สมกับการเป็นมนุษย์ เป็นต้น
1.3 ควำมหมำยตำมกำรใช้
“ปรัชญำ” หมำยถึง แนวควำมคิด คติ ควำมเชื่อ หรือ ข้อคิดต่ำงๆ ใน
ชีวิตประจำวัน เช่น.. “ระยะทางนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรก”, “ความเพียรเป็นศัตรูแล้วเป็นมิตร ความ
เกียจคร้านป็นมิตร แล้วเป็นศัตรู” , หากคิดจะรัก ต้องรักด้วยปัญญา ถ้ารักอย่างหลงใหล ผลคือโง่และเจ็บปวด”
หรือ ถ้ามองในแง่มุมของสังคมศาสตร์ “ปรัชญา” อาจจะหมายถึง ระบบแห่งหลักคิด
ของมนุษย์กลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ณ สมัยใด สมัยหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความเป็นอยู่ของมนุษย์ตามกาล
สมัยนั้นๆ (สมัคร บุราวาส, 2544: 8)
2. มูลเหตุของกำรเกิดปรัชญำ
2.1 มนุษย์มีควำมสำมำรถในกำรคิด
มูลเหตุสาคัญที่ทาให้ “ปรัชญา” เกิดขึ้น ก็คือ กำรที่มนุษย์มีควำมสำมำรถในกำรคิด
อริสโตเติล (Aristotle 384-322 BC.) นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกตะวันตก กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็น
สัตว์รู้คิด” (Man is a thinking animal) หมายความว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย
แต่มนุษย์ก็แตกต่างจากสัตว์โลกทั้งหลายตรงที่รู้จักคิด หรือ มีความสามรถในการคิด ในขณะที่สัตว์อื่นๆ ไม่มี
ความสามารถดังกล่าว
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “ปรัชญำ” เริ่มต้นมำจำกควำมสงสัยต่อ โลก ต่อตัวเรำเอง
ต่อสิ่งต่ำงๆ ที่อยู่รอบตัว ทั้งนี้เพรำะมนุษย์มีควำมสำมำรถในกำรคิด
5
สิ่งที่มนุษย์สงสัยนั้น มีมากมาย เช่น
เราเกิดมาทาไม / ทาไมเราต้องตายด้วย จะมีชีวิตเป็นอมตะไม่ได้หรือ / พระเจ้า
และจิตวิญญาณมีจริงหรือไม่ /
โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและเกิดมาจากไหน/เราจะเชื่อสิ่งที่เห็นได้หรือไม่ /เมื่อมนุษย์
เราตายแล้วจะเป็นอย่างไรและไปอยู่ที่ไหน / บาป บุญ คุณ โทษ นรก สวรรค์ มีจริง
หรือไม่ / ความดีคืออะไร/นิพพานมีจริงหรือไม่/เราจะพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร /
โลกนี้มีความเป็นธรรมหรือไม่/ รักแท้เป็นเช่นใด มีอยู่จริงหรือไม่ / เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
สิ่งไหนดีหรือชั่ว /เราควรจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร/ เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร มีจุดหมาย
อย่างไร?และสุดท้ายถ้าต้องเลือกระหว่างความสุขส่วนตัวกับความสุขส่วนรวม เราจะ
ตัดสินใจอย่างไร เป็นต้น
…..และเมื่อมนุษย์สงสัย หรือเกิดควำมอยำกรู้อยำกเห็น........เขำจึง
ตั้งคำถำมและ....พยำยำมแสวงหำคำตอบโดยกำรใช้ควำมคิดด้วยเหตุผล...ซึ่งอำจจะเป็นแค่คำตอบ
เพื่อสนองควำมอยำกรู้ (อะไร ทำไม) หรืออำจจะเป็นคำตอบเพื่อเป็นแนวทำงในกำรใช้ชีวิตหรือ
แก้ปัญหำชีวิตก็ได้ (อย่ำงไร).......ปรัชญำ......จึงเกิดขึ้นด้วยประกำรฉะนี้
....เห็นไหมว่า ปรัชญาไม่ใช่เรื่องไกลตัว .......ปรัชญาแนบเนื่องกับชีวิตประจาวันของ
มนุษยชาติอย่างแยกไม่ออก จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด..ถ้าจะมีคนที่ไม่ยอมรับปรัชญา...แต่กลับพูดและคิด
อย่างปรัชญาอยู่บ่อยๆ
อาจกล่าวได้ว่า นักปรัชญา คือ คนที่คิดอย่างปรัชญา จุดเริ่มต้นแห่งความคิดของเขา
ไม่ได้พิเศษพิศดารอะไร เพราะคนธรรมดาส่วนมากก็ล้วนมีศักยภาพในการคิดแบบปรัชญาอยู่ในตัวอยู่แล้ว วัย
เด็กของทุกคนเป็นช่วงเวลาที่แววนักปรัชญาปรากฏ เด็กมีความไร้เดียงสา แต่ความไร้เดียงสาก็ต้องจากเด็กไป
สักวัน เมื่อถูกพลังอันหนึ่งในใจของเด็กขับไล่ไป พลังอันนั้น คือ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiousity) เมื่อเด็ก
ออกไปเผชิญโลกกว้าง สิ่งแปลกใหม่เร้าความสนใจของเด็ก แกจึงอยากเรียนรู้ เด็กจะตั้งปัญหาถาม
ตลอดเวลาว่า นั่นอะไร นี่อะไร เด็กถาม เพราะมีความอยากรู้อยากเห็น.....ควำมอยำกรู้อยำกเห็นในวัยเด็ก
นี่เองเป็นบ่อเกิดของควำมคิดแบบปรัชญำ และกำรซักถำม ก็เป็นลักษณะของนักปรัชญำ ทั้งนี้
เพรำะนักปรัชญำทำตัวเป็นเด็กต่อโลกเสมอ เขำสำนึกว่ำตัวเองยังต้องเรียนรู้อีกมำกนัก ดังที่
โสครำตีส นักปรัชญำกรีกโบรำณ กล่ำวว่ำ “หนึ่งเดียวที่ข้ำพเจ้ำรู้ คือ รู้ว่ำ ข้ำพเจ้ำไม่รู้อะไร”
นักปรัชญาสนใจถามปัญหาทุกชนิด เขาอยากรู้ไปสารพัด ทั้งนี้ เพราะนักปรัชญาสามารถรักษาความอยากรู้
อยากเห็นให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ดังที่เพลโต กล่าวไว้ว่า “ควำมใฝ่รู้เป็นอำรมณ์ของนักปรัชญำ ปรัชญำ
เริ่มต้นที่ควำมใฝ่รู้ (wonder)”
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า คนทั่วไปไม่ค่อยสนใจต่อความอยากรู้อยากเห็นของตน เขา
สงสัยแล้วไม่ถามหรืออยากรู้แล้วไม่เรียน ดูประหนึ่งว่ายิ่งโตขึ้น คนเราก็ยิ่งลดความอยากรู้อยากเห็นลง ทั้งนี้
6
ไม่ใช่เพราะเรารอบรู้จนหมดสงสัย แต่เนื่องจากเราไม่มีเวลาว่างสาหรับจัดการกับความสงสัยกันมากกว่า เวลา
ส่วนมากของเราหมดไปกับการงานอาชีพและความบันเทิง อารยธรรมใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ เพราะคนมีเวลาว่าง
สาหรับคิด ตราบใดที่คนเรายังกระเสือกกระสนเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ตราบนั้นจิตใจจะมีความวิตกกังวลจนไม่
มีเวลาคิด...เวลาว่างและสมาธิ เป็นสิ่งสาคัญและจาเป็นต่อการคิดค้นหาความรู้เชิงปรัชญาและพัฒนาศาสตร์
ทั้งหลาย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนเราโดยทั่วไป จะไม่ช่างสงสัยเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กระนั้น
คนเราก็ยังมีธาตุของความอยากรู้อยากเห็นอยู่ในหัวใจ เราอยากรู้ว่า ตายแล้วไปไหน
...นรก สวรรค์มีจริงหรือไม่....ความดีคืออะไร....รักแท้เป็นเช่นใด...เราอยากทราบ
คาตอบสาหรับปัญหาเหล่านี้และอื่นๆ เราต้องการคาตอบเพื่อสนองความอยากรู้
อยากเห็น ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพ และเมื่อเรารู้คาตอบแล้ว เราก็จะนามาสร้างเป็นกรอบในการตีความ
ปรากฏการณ์เพื่อกาหนดแนวทางในการการดาเนินชีวิตของเรา ดังนั้น เราจึงพยายามรวบรวมคาตอบต่อ
ปัญหาเหล่านี้ทีละเล็กทีละน้อยจากการถามผู้รู้บ้าง จากการอ่านหนังสือบ้าง หรือจากประสบการณ์ของตนเอง
บ้าง แล้วในที่สุดเราก็สรุปเป็นคาตอบให้กับตัวเอง ถ้าเราพอใจคาตอบเหล่านั้น เราก็รับเป็นทัศนะประจาใจ
เมื่อคนอื่นคัดค้านทัศนะของเรา เราก็พร้อมที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนทัศนะเหล่านั้น....ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า
กระบวนกำรแก้ปัญหำที่เริ่มต้นด้วยควำมสงสัยใฝ่รู้ แล้วค้นคิดอย่ำงมีเหตุผลเพื่อแสวงหำคำตอบ
นี่เองเป็นควำมคิดแบบปรัชญำ แต่คนธรรมดายังไม่ใช่นักปรัชญา เพราะยังคิดไม่เป็นระบบ อันเนื่องมาจาก
ขาดเครื่องมือในการคิด การคิดแบบปรัชญาต้องอาศัยเครื่องมือสาหรับคิดที่เรียกว่า “ตรรกศาสตร์” หรือ
กฎเกณฑ์การใช้เหตุผลที่ถูกต้อง (พระราชวรมุนี, 2544: 5-7)
2.2 กำรเกิดขึ้นของควำมคิดทำงปรัชญำและวิชำปรัชญำ
ความคิดทางปรัชญา เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ มนุษย์ยุคแรกสุด คือ มนุษย์ยุคดึกดา
บรรพ์ คือ กาเนิดมาไม่ต่ากว่า 2 ล้านปีมาแล้ว โดยปรัชญาในยุคนั้น เรียกได้ว่าเป็นปรัชญายุคดึกดาบรรพ์ โดย
มนุษย์ยังมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาใกล้ชิดอยู่กับธรรมชาติ และประสบกับภัยธรรมชาติที่คุกคามอยู่เสมอ ดังนั้นจึงคาด
กันว่า ปัญหาปรัชญาของคนในยุคนั้น ก็คือ ปัญหาแห่งความพิศวงที่ว่า ภัยธรรมชาติเหล่านี้มาจากไหน? และ
จะแก้ไขได้อย่างไร? และคาดว่าคาตอบในเบื้องต้น ก็คือ เชื่อกันว่า ภัยธรรมชาติต้องเกิดจากอานาจเหนือ
ธรรมชาติ หรือปวงเทพผู้มีฤทธานุภาพ และก่อเกิดเป็นพิธีบวงสรวงและศาสนาตามมา
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปรัชญาจะเกิดมาพร้อมมนุษย์ นับเป็นล้านๆปีมาแล้ว แต่วิชา
ปรัชญานั้นเพิ่งมีขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปีมานี้เองเพราะก่อนหน้านั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดพอที่จะให้ศึกษาได้
ดังที่ได้กล่าวแล้ว่า วิชาปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ความอยากรู้อยากเห็นทาให้เกิดการ
ซักไซ้ไล่เลียงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและวิชาปรัชญาก็เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้
หลักฐานแรกที่ทาให้เกิดวิชาปรัชญาขึ้นมา ได้แก่ คัมภีร์พระเวทของอินเดีย ซึ่ง
เกิดขึ้นสมัยก่อนพุทธกาลประมาณ 1,000 ปี แต่เพิ่งมาจดจารึกขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรในยุคหลังซึ่งเข้าใจว่า
เป็นสมัยหลังพุทธกาล วิชาปรัชญาจึงเกิดขึ้นมาประมาณ 3,000-3,500 ปีมานี้ คัมภีร์พระเวทมีประมาณ
3,500 ปีมาแล้ว คนอินเดียถือว่า คัมภีร์พระเวทไม่ใช่ผลงานที่เรียบเรียงขึ้นโดยมนุษย์ หากเป็นพระวจนะของ
7
พระเจ้า ที่เปิดเผยแก่ฤาษีผู้มีบุญญาธิการ และได้รับการสั่งสอนสืบทอดกันต่อมาแก่พวกพราหมณ์ในอินเดีย
โดยในคัมภีร์จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของเทพเจ้ารวมทั้งการสร้างและคุ้มครองโลกของเทพเจ้า มีบท
สรรเสริญและอ้อนวอนขอพรจากเทพเจ้า รวมทั้งมีการแสดงวิธีประกอบประเพณีทางศาสนาไว้ด้วย
ส่วนทางตะวันตกนั้น หลักฐานที่ก่อให้เกิดวิชาปรัชญาขึ้น ได้แก่ คำสอนของทำเลส
(Thales 624-550 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งเป็นนักปรัชญากรีกคนแรกที่กล้าปฏิวัติความคิดของคนใน
สังคมโดยพยายามอธิบายเรื่องของจักรวาลอย่างมีกฎเกณฑ์โดยไม่อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติ
ทาเลสได้เขียนหนังสือไว้หรือไม่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ลูกศิษย์ของเขาได้บันทึกคาสอนไว้
และได้มีหลักฐานเหลือมาให้เราศึกษาได้จนถึงทุกวันนี้ และด้วยเหตุนี้ทาเลสจึงได้รับการยก
ย่องว่าเป็นบิดำแห่งวิชำปรัชญำ (Father of Philosophy)และเป็นแรงบันดาลใจสาคัญแก่นัก
คิดตะวันตกในรุ่นต่อ ๆมา (สุจิตรา, 2545: 4-5)
3. ลักษณะทั่วไปของปรัชญำ
1. ปรัชญำพยำยำมเรียนรู้ทุกสิ่ง ศึกษำทุกเรื่องเท่ำที่สติปัญญำของมนุษย์จะอำนวย
โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและโลก วิทยาการเกือบทุกสาขาในปัจจุบันเคยสังกัดอยู่กับปรัชญามาก่อน
ปรัชญาจึงได้ชื่อว่า “มำรดำของศำสตร์ทั้งหลำย”
อาจกล่าวได้ว่า เมื่อโลกยังมีแง่มุมลึกลับอยู่อีกเท่าใด นักปรัชญาก็จะเรียนรู้อีกเท่านั้น ในสมัย
โบราณ นักปรัชญาเป็นผู้ค้นพบวิทยาการสาขาใหม่ให้แก่โลก แต่หลังจากการค้นพบแล้ว นักปรัชญาก็ปล่อยให้
ผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการสาขานั้นๆ ค้นคว้าเรื่องนั้นต่อไป ตนเองก็จะหันไปสารวจวิทยาการด้านอื่น การค้นคว้า
ของนักปรัชญาไม่เคยถึงจุดจบ นักปรัชญาเป็นเสมือนนักสารวจ ผู้ไม่ยอมตั้งหลักแหล่ง เขาจะสารวจไปเรื่อย
จนกว่าจะรู้จุดจบของจักรวาล นักปรัชญาจึงเป็นผู้บุกเบิกทางปัญญา ส่วนวิชาปรัชญาก็คือ บันทึกการบุกเบิก
สารวจความลับของจักรวาล
ปรัชญาสนใจศึกษาทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าสิ่งนั้นจะ
สามารถนาไปปฏิบัติได้หรือเปล่า ถ้าเป็นแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ จะเรียกว่า “ปรัชญาชีวิต”
คาว่า “นักปรัชญำ” หรือ “Philosopher” เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว นัก
ปรัชญากรีกชื่อ พิธากอรัส เป็นผู้ใช้คานี้เป็นคนแรก ชาวกรีกยุคนั้นเรียกนักปราชญ์ราชบัณฑิต
ว่า sophoi (ผู้รอบรู้) พิธากอรัสรู้สึกว่าคานี้สูงส่งเกินไป จึงคิดคาผสมขึ้นว่า Philosophoi
แปลว่า ผู้รักความรอบรู้ (Lover of Wisdom) สาหรับใช้เรียกท่านผู้คงแก่เรียนหรือนักวิชาการ
สมัยนั้น เพราะนักปรัชญายุคนั้นรอบรู้วิทยาการหลายสาขา และวิทยาการเหล่านั้นยังไม่มีชื่อ
เฉพาะว่า วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ฯลฯ แต่เรียกรวมกันว่า ปรัชญา (Philosophy)
ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาในสมัยโบราณจึงเป็นชื่อรวมของวิทยาการหลายแขนง เพราะปรัชญา
หมายถึง ความรักในความรู้ วิทยาการใดให้ความรู้ วิทยาการนั้นเป็นปรัชญา ศาสตร์ต่างๆ ได้ถูกรวมเป็นส่วน
หนึ่งของวิชาปรัชญาอยู่นานนับศตวรรษ จนกระทั่งศาสตร์ทั้งหลายค่อยแยกตัวออกจากปรัชญาไปทีละศาสตร์
8
วิชำกำร หรือ ควำมรู้ใดที่เกิดจำกกำรคิดค้นด้วยเหตุผล คือ ปรัชญำ แต่ถ้ำศำสตร์ใด ได้รับกำร
พัฒนำจนเกินขอบเขตของควำมคิด และมีวิธีกำรหำควำมรู้เป็นของตนเอง (ที่นอกเหนือจากการคิดด้วย
เหตุผล) รวมทั้งมีเนื้อหำที่เชื่อกันว่ำแน่นอนตำยตัวพอสมควรแล้ว ศำสตร์หรือวิชำนั้นก็จะแยกจำก
ปรัชญำ กลำยเป็นศำสตร์เฉพำะของตนไป เช่น ศาสนา และคณิตศาสตร์ได้แยกออกจากวิชาปรัชญาใน
สมัยกรีก , วิทยาศาสตร์แยกตัวออกมาในระหว่างสมัยฟื้นฟูและต้นสมัยใหม่ , สังคมศาสตร์แยกออกมาใน
ปลายศตวรรษที่ 19 และจิตวิทยา ได้แยกตัวออกมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงได้
ชื่อว่าเป็น “มารดาของศาสตร์ทั้งหลาย” (พระราชวรมุนี, 2544: 3-5)
2. ปรัชญำมีลักษณะวิพำกษ์ วิชาปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ บางที
ความอยากรู้อยากเห็นนั้น เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการความรู้เพื่อที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของชีวิต เช่น เรา
อยากรู้ว่า ทาอย่างไรพืชผักที่ปลูกไว้จึงจะให้ผลผลิตมากๆ แต่บางทีความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ก็มิได้
เกิดขึ้นเพราะความต้องการอย่างนั้น ทาเลส บิดาของปรัชญา อยากรู้ธาตุแท้ของโลก เพียงเพราะต้องการรู้
โดยมิได้หวังผลอะไรเป็นกิจจะลักษณะ ความอยากรู้อยากเห็นและการซักไซ้ไล่เลียงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด
เป็นธรรมชาติอันหนึ่งของคนเรา และวิชาปรัชญาก็ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้
ปรัชญำจะซักถำมทุกอย่ำงที่จะซักได้ เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญำที่จะ
วิพำกษ์วิจำรณ์ทุกสิ่งทุกอย่ำง ดังเช่น โดยทั่วไปเราเชื่อว่า สิ่งที่เราเห็นและจับต้องได้เท่านั้นที่เป็นจริง แต่เพล
โต (Plato 427-347 ก่อน ค.ศ.) ได้วิพากษ์ความเชื่ออันนี้โดยใช้เหตุผลชี้แจง อธิบาย จนผู้อ่านงานของเพลโต
หลายคน อาจจะเริ่มสงสัยความเชื่อเดิมของตนว่าจะเป็นจริงหรือไม่ หรือว่า “โลกของแบบ” (World of Form)
ของเพลโต เป็นจริงกว่า เนื่องจากปรัชญามีลักษณะวิพากษ์ และในการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ก็จาเป็นอยู่เองที่
จะต้องทาให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อและความรู้สึกดั้งเดิมของผู้อ่าน ทั้งนี้มิได้หมายความว่า
ผู้อ่านจะต้องมารับความเชื่อใหม่ อาจจะยังคงไว้ซึ่งความเชื่อเดิมให้รัดกุมยิ่งขึ้น
3. ปัญหำปรัชญำเป็นปัญหำพื้นฐำนของชีวิต ถ้าเรากล่าวว่าปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหา
พื้นฐานกว่าปัญหาที่สอง หมายความว่า มติหรือทัศนะที่เรามีต่อปัญหาที่หนึ่งนั้นส่งผลกระทบ
ต่อปัญหาเรื่องอื่นๆ มากกว่าปัญหาที่สอง สมมติเราถามปัญหาที่สองว่า คนเราควรแสวงหา
อะไรในชีวิต? ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐานเพราะ ทัศนะที่เรามีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกาหนด
การศึกษาของเรา แต่ปัญหานี้ยังมีลักษณะพื้นฐานน้อยกว่าปัญหาที่หนึ่ง เช่น ปัญหาว่าจิต
หรือวิญญาณของมนุษย์มีหรือไม่?
ปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานกว่า ก็เพราะว่ามติที่มีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกาหนดของปัญหา
ที่สอง และยังเป็นตัวกาหนดเรื่องอื่นด้วย เช่น อิสรภาพของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และ
สิ่งไร้ชีวิต และปัญหาเรื่องความรู้ของมนุษย์ เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราเชื่อว่า จิตหรือวิญาณมีอยู่จริง และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจาก
ร่างกาย ความเห็นของเราเกี่ยวกับความหมายของชีวิตก็จะออกมาในรูปปัญญานิยม หรือ วิมุตินิยม หลัก
ศีลธรรมของเราก็จะมีลักษณะเหมือนของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant 1724-1804) ทฤษฎีความรู้
9
ของเราจะเป็นแบบเหตุผลนิยม (Rationalism) ถ้าเราไม่เห็นด้วยอย่างนี้แสดงว่าความเห็นของเราขัดแย้งกัน
ดังนั้นปัญหาพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยทาให้ความคิดของเราเป็นระบบยิ่งขึ้น และสามารถค้นพบจุดยืนของเราได้
4. ปรัชญำแสวงหำโลกทัศน์ การโต้แย้งเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานนั้น เราไม่สามารถจะตัดสิน
ให้เด็ดขาดลงไปได้ว่า ฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาสาคัญ ทั้งนี้เพราะว่าทรรศนะที่เรามีต่อ
ปัญหาเหล่านี้จะเป็นฐานที่ทาให้ทัศนะของเราในเรื่องโลก มนุษย์ สังคม และความหมายของชีวิตเป็นไปในอีก
แนวทางหนึ่ง
เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ทัศนะใดถูก ทัศนะใดผิด เราจึง
จาต้องยึดอันใดอันหนึ่งด้วยความเชื่อ ความเชื่อของคนๆ หนึ่งนั้นมีมากมายหลาย
เรื่อง เช่น ศีลธรรม ค่าของชีวิต อุดมการณ์ทางการเมือง ศาสนา ศิลปะ ฯลฯ ในเรื่อง
ต่างๆ เหล่านี้ บางทีเราพิสูจน์ไม่ได้ เราจาต้องเชื่อ ตอนนี้ปรัชญาจะเข้ามามีส่วน คือ
ปรัชญาจะช่วยทาให้ความเชื่อของเราเป็นระบบ กล่าวคือ ช่วยทาให้ความเชื่อในเรื่อง
ต่างๆ ของเราสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน และความเชื่อของเรา
จะกลมกลืนกันได้ก็ต่อเมื่อ มีหลักบางหลัก เป็นจุดร่วมกัน นั่นคือ เราจะต้องมี
ทัศนะ เป็นพื้นฐานรองรับความเชื่อเหล่านั้น วิชาปรัชญาพยายามที่จะให้พื้นฐานอันนี้
แก่เรา นั่นก็หมายความว่า ปรัชญาช่วยให้เราแสวงหาโลกทัศน์
“โลกทัศน์” คือ ความเชื่ออันเป็นระบบ ในวิถีชีวิตของคนๆ หนึ่ง เขาอาจพูด คิด ทาอะไรต่อ
อะไรหลายอย่าง แต่ถ้าเขาเป็นคนคงเส้นคงวา ความหลากหลายนี้จะเป็นเพียงภาพสะท้อนของทัศนะพื้นฐาน
อันเดียวกัน ทัศนะพื้นฐานนี้แหละคือโลกทัศน์ของเราที่ชัดขึ้น ทั้งนี้ก็โดยการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และการ
ถกเถียงปัญหาอันเป็นพื้นฐาน
โลกทัศน์ เป็นตัวกาหนดทิศทางของชีวิตแต่ละคน และเป็นตัวกาหนดทิศทางของสังคมมนุษย์
ด้วย ถ้าเราเห็นเรื่อลาหนึ่งกาลังแล่นอยู่ในทะเล ปัจจัยที่อธิบายการแล่นของลาเรือนี้มีสองอย่างคือ (1)
เครื่องยนต์ทาให้แล่นไปได้ (2) จุดหมายปลายทางที่เรือจะแล่นไป ถ้าไม่มีสองอย่างนี้พร้อมกัน การแล่นของเรือ
ก็คงไม่เกิดขึ้น ชีวิตมนุษย์ก็เช่นกัน ในการเดินทางของนาวาชีวิต ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือน
เครื่องยนต์ แต่สิ่งที่กาหนดทิศทาง คือ โลกทัศน์ ซึ่งจะเป็นตัวชี้ทาง ความรู้เป็นแรงผลักดันให้เคลื่อนไป ดังนั้น
จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ใดที่ไม่มีโลกทัศน์ (สุจิตรา, 2545: 7-9)
5. ควำมรู้เชิงปรัชญำ เป็นควำมรู้แบบปลำยเปิด (Open Ended) ที่ไม่มีคำตอบที่
แน่นอนตำยตัว ดังเราจะพบว่า โสคราตีส เสนอปรัชญาไว้อย่างหนึ่ง ต่อมาศิษย์ของท่านชื่อเพลโตได้พัฒนา
ปรัชญานั้นต่อไป และอริสโตเติล ผู้เป็นศิษย์ของเพลโต ก็ออกมาวิจารณ์อาจารย์ของตนแล้วเสนอแนวคิดใหม่
ต่อไป องค์ความรู้ทางปรัชญาที่ดูเหมือนจะจบบริบูรณ์ที่นักปรัชญาคนหนึ่ง ก็กลับถูกนักปรัชญารุ่นหลังพัฒนา
ต่อไป เราจะไม่พบปรากฏการณ์เหล่านี้ในวงการศาสนา แต่เมื่อใดที่ความรู้เชิงปรัชญาได้รับการพิสูจน์ด้วย
วิธีการทางคณิตศาสตร์ หรือ การสังเกตทดลอง เมื่อนั้นความรู้นั้นก็จะแยกจากปรัชญาและกลายเป็นศาสตร์
แขนงใหม่
10
6. ควำมรู้เชิงปรัชญำ เป็นควำมรู้ขั้นทัศนะส่วนตัว หรือ กำรเก็งควำมจริง ชื่อว่าเป็น
“โลกทัศน์” (World View) ซึ่งเป็นความเข้าใจโลก และชีวิตจากมุมมองของปัจเจกชน มนุษย์ทุกคนล้วนมี
โลกทัศน์ประจาตัว โลกทัศน์ของใครก็เป็นปรัชญาของคนนั้น ดังที่ ฮักซ์เลย์ กล่าวว่า “มนุษย์ดาเนินชีวิตไปตาม
ปรัชญาชีวิตและโลกทัศน์ของเขา นี่เป็นเรื่องจริงแม้กับคนที่ไม่มีหัวคิด เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่โดยไม่
มีอภิปรัชญา” กล่าวได้ว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็มีปรัชญาประจาใจด้วยกันทั้งนั้น แม้กระทั่งชาวบ้านก็มีปรัชญา
ชาวบ้าน แต่เป็นปรัชญาที่ขาดระบบ แท้ที่จริงปรัชญาได้ก่อตัวในความคิดของชาวบ้านมานานก่อนหน้าที่นัก
ปรัชญาจะพัฒนาให้เป็นระบบ โดยทั่วไปเรานิยมเรียกปรัชญาชาวบ้านว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” (พระราชวร
มุนี, 2544: 9)
7. วิชำปรัชญำเป็นเรื่องของกำรคิดอย่ำงมีเหตุผลและเป็นระบบ ทาให้สามารถมองเห็น
ปัญหาและคาตอบที่คนทั่วไปมองไม่เห็น แต่วิชาปรัชญาก็มิได้มีหน้าที่ตัดสินว่าลัทธิความเชื่อใดถูกต้องหรือ
ผิดพลาด แต่จะทาให้ผู้เรียนเข้าใจว่าแต่ละลัทธิมีเหตุผลของตนเองอย่างไร เช่น จิตนิยม (Idealism) เป็นลัทธิ
ที่เชื่อว่าสิ่งแท้จริงสูงสุดมีลักษณะเป็นจิต เพราะจิตเป็นต้นกาเนิดของจักรวาล ขณะที่สสารนิยม (Materialism)
เชื่อว่าสิ่งแท้จริงสูงสุดมีลักษณะเป็นสสาร เพราะสสารเป็นต้นกาเนิดของทุกสิ่ง ดังนี้เป็นต้น
ส่วนการจะตัดสินว่าลัทธิใดถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรเป็นเรื่องของผู้เรียนที่จะใช้
วิจารณญาณของตน ทั้งนี้เพราะ ******ปรัชญำ มิได้สอนให้ เชื่อ แต่สอนให้รู้จัก คิด
4. ขอบข่ำยของวิชำปรัชญำ
ปรัชญา ก็คือ ความพยายามของมนุษย์เราในการแสวงหาความหมายและคุณค่าแห่งชีวิตด้วย
การคิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล โดยจะมีขอบข่ายในการศึกษาอย่างกว้างๆ เพื่อหาคาตอบให้ได้ว่า
- ความจริง คือ อะไร (ฉันคือใคร? และอยู่ที่ไหน?)
- เรารู้ความจริงนั้นได้อย่างไร (ฉันรู้จักและเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างไร?)
- เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไรให้สอดคล้องกับความจริงนั้น (ฉันควรดาเนินชีวิตอย่างไรดี?)
ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้ก็คือปรัชญา สาขาอภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ ตามลาดับ ดัง
จะได้ศึกษาต่อไป
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สรรพวิทยาการสมัยโบราณรวมเข้าเป็นเนื้อหาของปรัชญา จนเนื้อหา
ของปรัชญากรีกไม่มีขอบเขตจากัด เพราะครอบคลุมวิทยาการทุกสาขา ต่อมาเมื่อวิทยาการต่างๆ พัฒนาจน
แยกเป็นวิชาอิสระ วิทยาการที่เหลืออยู่จึงเป็นเนื้อหาสาคัญของวิชาปรัชญาสมัยปัจจุบัน เนื้อหาแท้ๆที่
เหลืออยู่นั้นเรียกว่า “ปรัชญำบริสุทธิ์” (Pure Philosophy) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 สาขาวิชา คือ อภิปรัชญำ
(Metaphysics) ญำณวิทยำ (Epistemology) จริยศำสตร์ (Ethics) สุนทรียศำสตร์ (Aesthetics) และ
ตรรกศำสตร์ (Logic) ซึ่งแต่ละสาขามีเนื้อหาดังต่อไปนี้
11
4.1) อภิปรัชญำ (Metaphysics)
อภิปรัชญำ จัดเป็นสำขำที่เก่ำแก่ที่สุดของปรัชญำ ซึ่งทำกำรศึกษำว่ำ “ควำม
จริงคืออะไร” จากความเข้าใจที่ว่าภาพที่ปรากฏแก่สายตาทุกวันเป็นปรากฏการณ์พื้นผิวที่ซ่อนความจริงไว้
เบื้องหลัง อภิปรัชญาจึงทาหน้าที่แยกประสบการณ์ออกจากความจริง แม่น้าที่เห็นว่านิ่ง แต่ในความจริง
อาจจะกาลังไหลเชี่ยวในส่วนลึก ดังนั้นนักปรัชญาจึงสงสัยว่า โลกที่ปรากฏแก่สายตาเรานี้เป็นความจริงสูงสุด
แล้วหรือ หรือว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์หน้าฉากที่มีความจริงสูงสุดซ่อนอยู่เบื้องหลัง
นักปรัชญาตั้งสมมุติฐานว่ามีความจริงสูงสุดอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ธรรมชาติ แล้ว
เริ่มศึกษากันว่า ความจริงสูงสุดนั้นคืออะไร ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ “ความจริง” นี้เอง เรียกว่า “อภิปรัชญา”
เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว นักปรัชญาได้สอบสวนหาส่วนประกอบดั้งเดิมที่สุดของ
จักรวาล สาระดั้งเดิมหรือปฐมธาตุนั้นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล นักปรัชญาได้ค้นพบความจริงสูงสุด
แตกต่างกันไป ซึ่งพอจะสรุปทัศนะได้ 3 กลุ่ม คือ
1. สสารนิยม (Materialism) ถือว่า ความจริงแท้ของจักรวาล คือ สสารหรือ พลังงาน
ไม่ใช่จิต
2. จิตนิยม (Idealism) ถือว่า ความจริงสูงสุด คือ จิต สสารเป็นเพียงผลผลิตของจิต
3. ธรรมชาตินิยม (Naturalism) ถือว่า ความจริงแท้ของจักรวาล คือ สิ่งธรรมชาติ ที่
ดารงอยู่ในระบบอวกาศและเวลา และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับลงโดยสาเหตุ ซึ่ง
เป็นแนวคิดที่ประนีประนอมระหว่างสสารนิยมและจิตนิยม
4.2) ญำณวิทยำ (Epistemology)
ญำณวิทยำ คือ ทฤษฎีควำมรู้ (Theory of knowledge) ที่ศึกษำว่ำ เรำรู้ควำม
จริงได้อย่ำงไร ดังนั้น ญาณวิทยาจึงสัมพันธ์กับอภิปรัชญา ญาณวิทยาตอบปัญหาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้และ
มาตรการตัดสินความถูกผิดของความรู้
นักปรัชญาตะวันตก กล่าวถึงที่มาและบ่อเกิดของความรู้ไว้ 3 ทาง คือ
1. ผัสสะ (Sensation) คือ ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การเห็น การได้
ยิน การได้กลิ่น การรู้รส และ การสัมผัส
2. เหตุผล (Reason) คือ ความรู้ที่เกิดจากการคิดตามหลักเหตุผลในใจ
3. อัชฌัติกญาณ (Intuition) คือ ความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง ถ้าเป็นความรู้จาก
ญาณวิเศษ เรียกว่า การตรัสรู้ (Enlightenment) ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจ
ของพระเจ้า ก็เรียกว่า วิวรณ์ (Revealation)
ปัญหาที่ตามมาก็คือว่า บ่อเกิดของความรู้ทางไหนเล่า จึงให้ความรู้ที่ถูกต้องตาม
ความเป็นจริง ในเรื่องนี้นักปรัชญามีความเห็นแตกแยกกันเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ลัทธิประสบการณ์นิยม (Empiricism) ถือว่า ประสาทสัมผัสเป็นมาตรการตัดสิน
ความจริง
2. ลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism) ถือว่า เหตุผลเป็นมาตรการตัดสินความจริง
12
3. ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม (Intuitionism) ถือว่า อัชฌัตติกญาณ เป็นมาตรการ
ตัดสินความจริง
4.3 ) จริยศำสตร์ (Ethics)
จริยศำสตร์ เป็นสำขำที่ศึกษำเกี่ยวกับคุณค่ำของพฤติกรรมมนุษย์ทั้งที่มี
ควำมสัมพันธ์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะศึกษาว่า
1. อะไร คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา อะไรควรเป็นอุดมคติของชีวิต?
2. อะไรคือเกณฑ์ตัดสินว่า สิ่งใดหรือการกระทาใด เป็นสิ่งที่ดี ชั่ว ถูก หรือผิด?
3. ความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด มีจริงหรือไม่ และมีอยู่อย่างไร?
4.4 ) สุนทรียศำสตร์ (Aesthetic)
สุนทรียศำสตร์ คือ สำขำปรัชญำที่ว่ำด้วยควำมงำมและสิ่งที่งำมทั้งในงำน
ศิลปะและในธรรมชำติ เช่น ศึกษาว่าความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียะมีอยู่จริงหรือไม่ อย่างไร อะไรควร
เป็นมาตรการตัดสินว่าสิ่งใดงามหรือไม่งาม ศิลปะคืออะไร และศิลปะควรเกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือไม่ เป็นต้น
4.5 ) ตรรกศำสตร์ (Logic)
ตรรกศำสตร์ คือวิชำที่ว่ำด้วยกฎเกณฑ์กำรใช้เหตุผลอย่ำงถูกต้อง นักปรัชญา
เป็นผู้คิดอย่างมีเหตุผล ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาเพื่อใช้ค้นคิดและพิสูจน์ความรู้ทาง
ปรัชญา ซึ่งตรรกศาสตร์เป็นเรื่องของการใช้เหตุผลในภาษาโดยมีกฎเกณฑ์สาหรับตรวจสอบว่า การให้เหตุผล
เช่นไรจึงจะสมเหตุสมผล และเช่นไรที่ไม่สมเหตุสมผล หรือ จุดบกพร่องในการใช้เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงเป็น
เช่นใด เป็นต้น
อาจกล่าวได้ว่า นอกจากปรัชญาบริสุทธิ์ทั้ง 5 สาขานี้แล้ว นักปรัชญายังต้องการภาพรวมของ
จักรวาล เขาจึงทาหน้าที่ของการรวบรวมผลการศึกษาของวิทยาการที่แยกเป็นวิชาอิสระไปแล้วเอามาวิเคราะห์
และสังเคราะห์ กล่าวคือ วิทยำกำรแต่ละสำขำค้นคว้ำได้ผลสรุปอะไรออกมำ นักปรัชญำจะเก็บผล
กำรศึกษำมำตีควำมและกำหนดค่ำ ยิ่งไปกว่ำนั้น หำกยังมีประเด็นอะไรที่วิทยำกำรเหล่ำนั้นหำ
คำตอบไม่ได้ นักปรัชญำจะช่วยตั้งปัญหำและแสวงหำคำตอบเพื่อแนวทำงแห่งกำรขบคิดกันต่อไป
ปรัชญำที่ทำหน้ำที่อย่ำงนี้ มีชื่อว่ำ “ปรัชญำประยุกต์” (Applied Philosophy) เนื่องเพราะนักปรัชญา
นาเอาปรัชญาบริสุทธิ์ไปประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานสนับสนุนการสร้างแนวคิดเพื่อชีวิตและสังคม หรือ การศึกษา
วิเคราะห์ผลสรุปของวิทยาการสาขาต่างๆ ดังนั้นปรัชญาประยุกต์จึงมีสาขามากมายตามจานวนวิทยาการและ
กิจกรรมที่นักปรัชญาเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ปรัชญาการศึกษา, ปรัชญาประวัติศาสตร์, ปรัชญาวิทยาศาสตร์,
ปรัชญาการเมือง, ปรัชญาศาสนา, ปรัชญาจิต, ปรัชญาชีวิต เป็นต้น (พระราชวรมุนี, 2544: 11-16)
5. แนวทำงกำรศึกษำปรัชญำ
1. เรียนในแง่ที่วิชำปรัชญำเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศำสตร์โลก โดยให้ผู้เรียนสนใจและจดจาว่า
ในแต่ละยุคนักปรัชญาสนใจปัญหาอะไร และได้แสดงความเห็นต่อปัญหาเหล่านั้นไว้อย่างไร ดังจะเห็นได้จาก
วิวัฒนาการความคิดปรัชญาอย่างย่อ ดังต่อไปนี้
13
1) มนุษย์ดึกดาบรรพ์ เริ่มมีคาถามว่าภัยธรรมชาติมาจากไหนและ จะแก้ไขได้อย่างไร จนพบ
คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางว่า ภัยธรรมชาติมาจากน้าพระทัยของเบื้องบน ซึ่งเป็นอานาจลึกลับใน
ธรรมชาติ จะแก้ไขได้ก็ต้องเอาใจเบื้องบน เอาใจเบื้องบนได้สาเร็จจะมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
2) มนุษย์โบราณ เริ่มมีปัญหาว่า เราจะอธิบายเหตุการณ์ทั้งหลายในธรรมชาติ (รวมทั้งภัย
ธรรมชาติด้วย) โดยไม่ต้องอ้างเบื้องบนจะได้ไหม คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ได้” โดยอ้างกฎ
ธรรมชาติที่ตายตัว ไม่เข้าใครออกใคร เรามีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้โดยรู้และทาตามกฎธรรมชาติ
3) มนุษย์ยุคกลาง เริ่มมีปัญหาว่า เราจะมีความสุขสมบูรณ์แบบโดยอาศัยกฎธรรมชาติได้
หรือไม่ คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ไม่ได้” เพราะความสุขสมบูรณ์แบบและถาวรจะมีแต่ในโลก
หน้าเท่านั้น เราจึงต้องสละความสุขไม่สมบูรณ์ในโลกนี้เพื่อแลกกับความสุขสมบูรณ์แบบในโลกหน้า
4) มนุษย์สมัยใหม่ เริ่มมีปัญหาว่า เราจะมีความสุขสมบูรณ์แบบในโลกนี้ไม่ได้เชียวหรือ
คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ได้” โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์สาหรับค้นคว้าและแก้ปัญหาทุก
อย่างของมนุษย์
5) มนุษย์ปัจจุบัน เริ่มมีปัญหาว่า เราจะแก้ปัญหาที่เทคโนโลยีปัจจุบันสร้างสะสมไว้จนอาจจะ
ทาลายทุกสิ่งทุกอย่างได้หรือไม่ คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ได้” โดยอาศัยปรัชญาโลกาภิวัตน์ที่ใช้
วิจารณญาณอย่างแท้จริง คือ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสรุปสู่การปฏิบัติที่ไม่เข้าข้างตนเอง หรือเห็นแก่พวก
เท่านั้น แต่เพื่อความสุขของทุกคนอย่างแท้จริงตามวิสัยของแต่ละคน (กีรติ, 2546: 65-66)
จากวิวัฒนาการความคิดที่ยกมาข้างต้น จะเห็นว่า เป้ำหมำยของมนุษย์ทุกยุคทุก
สมัยล้วนมุ่งสู่จุดเดียวกัน คือ หลีกเลี่ยงควำมทุกข์ แสวงหำควำมสุข ต่ำงกันที่
ปัญหำที่เห็นและคำตอบที่พอใจ และนี่เองเป็นหน้ำที่ของปรัชญำที่จะถำมและ
ตอบเพื่อหำแนวทำงชีวิตที่ดีกว่ำ
2. เรียนในแง่ที่วิชำปรัชญำ คือเครื่องมือสำหรับกระตุ้นควำมคิด ฝึกคิดวิเคราะห์วิจารณ์เนื้อหา
ปรัชญาสานักต่างๆ ดังคากล่าวของคุณวิจิตร เกิดวิสิษฐ์ ที่ว่า
“ปรัชญา เป็น เรื่องของการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ หน้าที่ของมันก็คือ สอนให้รู้จักคิด รู้จัก
พินิจพิเคราะห์ พิจารณาปัญหาในหลายๆ แง่มุม.....ปรัชญามิได้สอนให้จดจาคารมของเมธีใดๆ เราศึกษา
ปรัชญาของคนอื่นก็เพื่อมาไตร่ตรอง และสร้าง “ปรัชญาของเรา” ขึ้นใหม่...เพื่อจะทาให้ตนเอง เป็นอิสระทาง
ความคิดอย่างแท้จริง”
และคากล่าวของอิมมานูเอล ค้านท์ ที่มีต่อลูกศิษย์ว่า
“ท่านจะไม่ได้ศึกษาปรัชญาจากฉันหรอก....นอกจากให้รู้จักคิด ปรัชญาไม่ใช่การจดจาความคิด แต่
เป็นวิธีการคิด....จงคิดด้วยตนเอง แสวงหาปรัชญาให้แก่ตนเอง และยืนอยู่บนขาของตนเอง”
6. ประโยชน์และคุณค่ำของกำรศึกษำปรัชญำ (เรียนปรัชญำไปทำไม?)
1. เพื่อให้ผู้ศึกษา สามารถมองเห็นปัญหาที่ยังเป็นปัญหาอย่างกว้างๆ และมองเห็นคาตอบ
ต่างๆที่เป็นไปได้ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
14
2. เพื่อให้ผู้ศึกษา รู้จักฝึกหัด การคิดวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลในเรื่องต่างๆ และรู้จักสงสัย
และตั้งคาถามในเรื่องต่างๆได้อย่างมีเหตุผล ปรัชญาจะช่วยให้เราคิดได้เป็นระบบขึ้น การศึกษาแนวคิดของนัก
ปรัชญาต่างๆ ที่มีต่อปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่าง ความเหมือน หรือความหลากหลาย สามารถที่
จะเป็นตัวชี้นาให้ผู้ที่สนใจ ศึกษา จัดระบบความคิดของตัวเองได้ แม้แต่ความไม่สมเหตุสมผลของความคิด
ทางปรัชญาสมัยก่อน ทาให้ผู้ที่ศึกษามองเห็นและพยายามคิด จากจุดนี้จะค่อยๆ พัฒนาให้เพิ่มพูนสมรรถภาพ
ในการคิดได้ (ศิริวรรณ, 2545: 11)
3. เพื่อให้ผู้ศึกษา รู้จักที่จะเป็นตัวของตัวเองในการคิดด้วยเหตุผล มีความเชื่อมั่นในการใช้
ศักยภาพทางความคิดด้วยเหตุผลของตนเองและกล้าที่จะแสดงออกมา
4. เพื่อให้ผู้ศึกษา ฝึกหัดเป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลของผู้อื่น
แม้จะไม่ตรงกับทัศนะของตน
5.เพื่อให้ผู้ศึกษา สามารถนาเอาแง่คิดของปรัชญาในเรื่องต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการ
ดาเนินชีวิตหรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ในเรื่องนี้อาจกล่าวได้ว่า ความคิดกับการกระทา
มักจะควบคู่กันเสมอ แนวทางการดาเนินชีวิตหลายๆทางที่น่าสนใจ และทาให้มนุษย์มี
ความสุขได้มาจากนักปรัชญาหลายท่าน อย่างที่ใกล้ตัวที่สุด คือ เจ้าชายสิทธัตถะ หรือ
พระพุทธเจ้าของเรา ก็เป็นนักปรัชญาคนหนึ่ง ความคิดของท่านถือเป็นหลักปฏิบัติของชาว
พุทธทั่วโลก
หรือหากเริ่มจากตัวเราเอง คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่า แนวทางในการดาเนินชีวิตของเราจะมี
“ปรัชญาชีวิต” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ บางคนถือว่า “ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว” หรือบางคนอาจะถือว่า “ทาดีได้
ดีมีที่ไหน ทาชั่วได้ดีมีถมไป” ความเชื่อถือดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวและแนวทางในการดาเนิน
ชีวิตของแต่ละคน การศึกษาปรัชญาจะเพิ่มแนวความคิดไม่ให้แคบ ทาให้เราเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้น เข้าใจโลก
เข้าใจมนุษย์คนอื่นๆ และจะทาให้เราทราบว่า เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้สมกับความเป็นมนุษย์ (ศิริวรรณ,
2545: 11-12) และที่สาคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ ปรัชญาอาจจะช่วยให้เราสามารถค้นพบค้นพบ “จุดยืน”
(โลกทัศน์) และ ความหมายของชีวิตตนเองได้ในที่สุด
6. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษา เข้าใจปัญหาและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและรู้วิธี
แก้ปัญหา
7. ความรู้จากการศึกษาปรัชญาทั้งในแง่ขององค์ความรู้และวิธีการ สามารถเป็นกุญแจที่จะไข
ไปสู่ความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆได้
**อย่างไรก็ตาม วิธีที่น่าจะดีที่สุดที่จะบอกว่าเรียนปรัชญาแล้วได้ประโยชน์อะไร ก็คือ.......
ลองถามตัวของคุณเองหลังจากได้เรียนปรัชญาอย่างตั้งใจแล้ว........
7. “ปรัชญำ” กับกำรรู้จักและเข้ำใจมนุษย์ รวมทั้งควำมหมำยของชีวิต
เป็นอย่างไรบ้างคะ จากที่ได้ศึกษาผ่านมา คุณพอจะรู้จักและสนิทกับ “ปรัชญา” มากขึ้นหรือ
ยัง ถ้าจะให้ฉันสรุปให้คุณฟังอีกครั้ง ก็คงจะบอกผ่านข้อความที่ว่า....
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา
ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
Padvee Academy
 
การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัย
การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัยการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัย
การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัย
NU
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
thnaporn999
 
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศบทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
Srion Janeprapapong
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
Suphot Chaichana
 
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
Kobwit Piriyawat
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
thnaporn999
 
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏพุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
CUPress
 

La actualidad más candente (20)

ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญาประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
ประวัติและวิวัฒนาการแนวความคิดทางปรัชญา
 
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไรบทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
บทที่ 2 ปรัชญาคืออะไร
 
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialismความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
 
ปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้นปรัชญาเบื้องต้น
ปรัชญาเบื้องต้น
 
การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัย
การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัยการตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัย
การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบอัตนัย
 
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญา
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศบทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
บทที่ 2 ทักษะการรู้สารสนเทศ
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญาวิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
วิชาพุทธปรัชญา : พื้นฐานพุทธปรัชญา
 
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้
 
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
คำนำ สารบัญ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่มที่...
 
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์  พิริยะวัฒน์
แฟ้มสะสมผลงานดีเด่นระดับปริญญาเอก นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
 
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
พุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์
 
ศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบ
 
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะพุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
พุทธศาสนามหายาน ตอน นิกายมาธยมิกะ
 
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย  ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religion) สังคมศึกษา ม.ปลาย
 
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏพุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
พุทธอภิปรัชญา ความจริงเกี่ยวกับจักรวาล โลก มนุษย์และสังสารวัฏ
 
มงคล38
มงคล38มงคล38
มงคล38
 
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
 

Similar a ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา

ผู้นำสี่ทิศ
ผู้นำสี่ทิศผู้นำสี่ทิศ
ผู้นำสี่ทิศ
Sutharat Sukvasana
 
Six Thinking Hats.
Six Thinking Hats.Six Thinking Hats.
Six Thinking Hats.
guest657867
 
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยมปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยม
Padvee Academy
 
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิเวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
libteral
 
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิเวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
libteral
 
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdfการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
JenjiraTipyan
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
Kobwit Piriyawat
 

Similar a ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา (20)

ผู้นำสี่ทิศ
ผู้นำสี่ทิศผู้นำสี่ทิศ
ผู้นำสี่ทิศ
 
ผู้นำสี่ทิศ
ผู้นำสี่ทิศผู้นำสี่ทิศ
ผู้นำสี่ทิศ
 
Six Thinking Hats.
Six Thinking Hats.Six Thinking Hats.
Six Thinking Hats.
 
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยมปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยม
ปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism ตอน ทัศนะต่อโลกของปรัชญาอัตถิภาวนิยม
 
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิเวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
 
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิตกลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
กลุ่มน้องเต่าชิกูเมะ --มนุษยกับการแสวงหาความจริงและความหมายของชีวิต
 
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิเวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
เวลามีปัญหาชีวิต ให้นั่งสมาธิปฎิบัติธรรมดูสิ
 
แนวคิดดีๆ 15 ข้อ
แนวคิดดีๆ 15 ข้อแนวคิดดีๆ 15 ข้อ
แนวคิดดีๆ 15 ข้อ
 
01 dreams list
01 dreams list01 dreams list
01 dreams list
 
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdfการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
 
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
เอกสารประกอบการเรียนการสอนทฤษฎีความรู้ Tok วิทยาศาสตร์ ม.1 ขึ้นเว็บไซต์
 
23 06-10
23 06-1023 06-10
23 06-10
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 
Thinking
ThinkingThinking
Thinking
 
Thinking
 Thinking Thinking
Thinking
 
งานคอมเฟินแอ้น
งานคอมเฟินแอ้นงานคอมเฟินแอ้น
งานคอมเฟินแอ้น
 
ค้นหาตัวเอง Mbti
ค้นหาตัวเอง Mbtiค้นหาตัวเอง Mbti
ค้นหาตัวเอง Mbti
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
 

Más de Padvee Academy

หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]
หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]
หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]
Padvee Academy
 
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)
Padvee Academy
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
Padvee Academy
 
ปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิตปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิต
Padvee Academy
 
5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์
5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์
5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์
Padvee Academy
 
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
Padvee Academy
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
Padvee Academy
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
Padvee Academy
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
Padvee Academy
 

Más de Padvee Academy (20)

หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]
หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]
หนังสือสอนใช้ WordPress สำหรับผู้เริ่มต้น [ฉบับ E-book]
 
Onpage stucture checklist
Onpage stucture checklist Onpage stucture checklist
Onpage stucture checklist
 
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)
ปรัชญาอัตถิภาวนิยมของ ฌอง ปอล ซาร์ต (Jean paul sartre)
 
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดียปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาทั่วไป ตอน ปรัชญาอินเดีย
 
ปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิตปรัชญากับวิถีชีวิต
ปรัชญากับวิถีชีวิต
 
5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์
5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์
5 ขั้นตอนที่ต้องรู้ก่อนทำเว็บไซต์
 
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส  ฮอบส์ (Thomas hobbes)
สรุปเนื้อหา ปรัชญาเบื้องต้น ตอน โทมัส ฮอบส์ (Thomas hobbes)
 
วิเคราะห์ปรัชญาขงจื๊อ
วิเคราะห์ปรัชญาขงจื๊อวิเคราะห์ปรัชญาขงจื๊อ
วิเคราะห์ปรัชญาขงจื๊อ
 
ปรัชญาหยางจื๊อ (Yang tzu)
ปรัชญาหยางจื๊อ (Yang  tzu)ปรัชญาหยางจื๊อ (Yang  tzu)
ปรัชญาหยางจื๊อ (Yang tzu)
 
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhismพระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
พระพุทธศาสนาวัชรยาน Vajrayana Buddhism
 
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhismพุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
พุทธศาสนามหายาน นิกายสุขาวดี | Pure Land Buddhism
 
Timeline : history of philosophy
Timeline : history of philosophyTimeline : history of philosophy
Timeline : history of philosophy
 
Timeline : A History of Eastern Philosophy
Timeline : A History of Eastern PhilosophyTimeline : A History of Eastern Philosophy
Timeline : A History of Eastern Philosophy
 
รูปภาพ Infographic สรุปแนวคิดที่สำคัญทาง จริยศาสตร์
รูปภาพ Infographic สรุปแนวคิดที่สำคัญทาง จริยศาสตร์รูปภาพ Infographic สรุปแนวคิดที่สำคัญทาง จริยศาสตร์
รูปภาพ Infographic สรุปแนวคิดที่สำคัญทาง จริยศาสตร์
 
เทพเจ้ากรีกและโรมัน (The greek and roman gods Infographic)
เทพเจ้ากรีกและโรมัน (The greek and roman gods Infographic)เทพเจ้ากรีกและโรมัน (The greek and roman gods Infographic)
เทพเจ้ากรีกและโรมัน (The greek and roman gods Infographic)
 
ศิลปะแห่งความรัก
ศิลปะแห่งความรักศิลปะแห่งความรัก
ศิลปะแห่งความรัก
 
ความฉลาดทางอารมณ์และการพัฒนาจิตใจ
ความฉลาดทางอารมณ์และการพัฒนาจิตใจความฉลาดทางอารมณ์และการพัฒนาจิตใจ
ความฉลาดทางอารมณ์และการพัฒนาจิตใจ
 
รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...
รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...
รากฐานแห่งอภิปรัชญาของศีลธรรม โดย ค้านท์ (Kants groundwork of the metaphysics...
 
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
สัทธรรมปุณฑริกสูตร (The Lotus of The True Law)
 
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communicationธรรมนิเทศ Dhamma Communication
ธรรมนิเทศ Dhamma Communication
 

ปรัชญาทั่วไป ตอน ทำความรู้จักกับปรัชญา

  • 1. 1 บทที่ 1 ทำควำมรู้จักกับปรัชญำ ( โดย อ.แนน สรณีย์ สายศร) ก่อนอื่น....ก่อนที่ฉันจะพาคุณมาทาความรู้จักกับปรัชญา ฉันคิดว่าสิ่งที่จาเป็นแรกสุด ก็คือ อาจจะต้องถามคุณก่อนว่า......คุณรู้จักตัวเองหรือยัง ? ....ตั้งแต่เกิดมา คุณเคยได้ตั้งคาถามง่ายๆ เหล่านี้กับ ตัวเองบ้างหรือไม่....แน่นอน ฉันไม่ได้ถามคุณว่า ทฤษฎีสัมพันธภาพหรือนิพพาน คืออะไร เพราะฉันเองก็ไม่รู้ เหมือนกัน....แต่คาถามที่ฉันจะถามคุณต่อไปนี้ ได้เคยทาให้ฉันได้ค้นพบความหมายอะไรบางอย่างที่ไม่เคยมี มาก่อนในชีวิต...... “ชีวิต คือ อะไร?” “เรำเกิดมำทำไม และจะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ?” “อะไร คือ สิ่งที่ ดีและมีค่ำที่สุด ที่ชีวิตควรแสวงหำ ?” ฯลฯ คาถามเหล่านี้ฉันอยากจะให้คุณคิดใคร่ครวญมันดูดีๆ บางคน อาจจะคิดว่า คาถามเหล่านี้ ช่างเป็นคาถามที่ง่ายดายเหลือเกิน ง่ายเกินกว่าที่จะมาเสียเวลาคิด จนกระทั่ง กว่าจะรู้ตัวอีกที คนที่คิดเช่นนั้นก็อาจจะต้องจากโลกนี้ไปเสียแล้ว ก่อนที่จะรู้ตัวด้วยซ้าว่า อะไร คือ สิ่งที่มีค่า และอะไร คือ ความสุขสาหรับเขา ฉันเองก็อาจจะเคยมีความคิดคล้ายกันนี้ ที่ไม่คิดจะใส่ใจใยดีกับคาถามที่ จืดชืดเหล่านั้น แต่ยังโชคดีที่ฉันเผอิญลองคิดเล่นๆ ว่า “นั่นสิ ฉันเกิดมำทำไม?” แล้วความคิดที่กาลังโลด แล่นไปในช่วงขณะนั้น ก็ตอบกลับมาว่า “เกิดมาเพื่อ แก่ เจ็บ และตายไปไงหล่ะ” คาตอบนี้ทาให้ฉันรู้สึกตกใจ เป็นอย่างยิ่งว่า ตลอดชีวิตที่ผ่านมา ฉันไม่เคยแสวงหาคุณค่าใดๆ ให้ตนเองเลย ตอบไม่ได้ด้วยซ้าว่า ฉันมีชีวิต อยู่ทุกๆวันนี้เพื่ออะไร รู้เพียงแต่ว่า ต้องตื่นนอน กิน ทางาน กิน แล้วก็นอน แล้วก็ตื่นมาใหม่ อยู่ไปวันๆ กับ รอยตีนกาที่เพิ่มขึ้นและร่างกายที่อ่อนแอลงตามวัย....ในวินาทีแห่งความสับสนนั้น ฉันเริ่มคลี่คลายและ ตระหนักรู้ว่า การตั้งคาถามกับชีวิตมีคุณค่าเช่นนี้เอง อย่างน้อย ก็ทาให้ฉันได้กลับมาเป็นตัวของตัวเอง หยุด พักจากกิจกรรมประจาวันต่างๆ ที่ทาให้ชีวิตฉันต้องเหนื่อยตลอดเวลา แล้วหันกลับมาศึกษาถึงชีวิตด้านในของ ตนเอง....กลับมาดูแลและถามไถ่ถึงคุณค่าและความต้องการที่แท้จริงของชีวิต หรือ พูดง่ายๆ กำรตั้งคำถำม และพยำยำมหำคำตอบให้กับคำถำมแห่งชีวิตเหล่ำนี้ ก็คือ กำรหันกลับมำแสวงหำควำมหมำยและ คุณค่ำของชีวิต เพื่อที่เรำจะได้ใช้ชีวิตที่เหลืออยู่อย่ำงคนที่รู้จัก เข้ำใจ และสำมำรถพัฒนำชีวิตของ ตนไปในวิถีทำงที่ถูกต้อง มีควำมสุข และไม่เป็นทุกข์ได้อย่ำงแท้จริง....แล้วคุณหล่ะ รู้สึกเหมือนฉันบ้าง หรือเปล่า.... “..ถึงแม้จะรู้ว่าวิชาปรัชญาสอนให้คนเรารู้จักตั้งคาถาม และค้นหาคาตอบ แต่ในวัยที่ ชีวิตราบเรียบ ไร้อุปสรรค คาถามมักไม่มีความจาเป็น ต่อเมื่อชีวิตพบผ่านความขรุขระ พบ พานความโศกเศร้า คาถามและความสงสัยต่างๆ ดูจะพากันประดังประเดเข้ามา..” ณิพรรณ กุลประสูติ
  • 2. 2 ชีวิตของมนุษย์ในทุกวันนี้ อยู่ในยุคแห่งความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์มีความ สะดวกสบายมากขึ้นจากวัตถุสิ่งของต่างๆที่ช่วยอานวยความสะดวก จนมนุษย์คิดไปว่าสิ่งเหล่านี้คือความสุข ยิ่งมีพร้อมทางวัตถุ เงินทอง มากเท่าไหร่ นั่นก็คือที่สุดแห่งความสุข เป็นที่สุดแห่งความปรารถนา แต่การที่จะ ให้ได้มาซึ่งความมั่งคั่งเหล่านั้น มนุษย์ก็ต้องทุ่มเทแรงกาย แรงใจในการทางาน หาเงิน โดยวางแผนการ ประกอบอาชีพตั้งแต่อยู่ในวัยเรียน หลายคนเลือกเรียนในสาขาที่จะสามารถจบไปประกอบอาชีพที่มั่งคั่ง มั่นคง ทั้งๆที่รู้ว่าตัวเองไม่ได้ชอบ เมื่อเรียนจบแล้ว ก็มุมานะทางานอย่างเต็มที่ เพื่อให้เงินในบัญชีธนาคารเพิ่มขึ้น และ ทาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนไม่เคยหยุดที่จะถามตนเองว่า เหนื่อยไหม? พอใจในชีวิตหรือยัง? หรือมันเป็นความสุข หรือสิ่งที่ชีวิตเราต้องการแน่หรือ? มนุษย์ถูกกงล้อแห่งควำมเคยชิน สะบัดหมุนไปตำมค่ำนิยมของสังคม จนเขำคิดว่ำควำมเคยชินนั้น คือ ตัวเขำ คือ ชีวิตของเขำ แต่แท้จริงแล้ว เรำเคยหยุดคิดในบำงขณะ แห่งชีวิตบ้ำงหรือไม่ว่ำ......ฉันจะเรียนหรือทำงำนไปเพื่ออะไร? ทำไมฉันจะต้องทำงำนหรือมีชีวิตใน แบบที่ฉันไม่ชอบด้วย? ทำไมคนในสังคมรวมทั้งตัวฉันจึงคิดว่ำเงินสำคัญกว่ำควำมดี มันถูกแล้ว หรือ? ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มั่งคั่ง จริงหรือ และควำมสุข คือ ควำมพอใจในวัตถุเท่ำนั้นหรือ? ......ถ้า เพียงเราลองหยุดกระแสแห่งความเคยชินไว้สักครู่ หันมาทบทวนชีวิตของเราที่กาลังดาเนินอยู่และถามคาถาม เหล่านี้อย่างจริงจัง บางทีเราอาจจะพบว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหยุด....หยุด เพื่อที่จะเดินต่อ...เดินไปบน หนทางที่แท้จริงของเรา...เดินไปอย่างเปี่ยมไปด้วยความหมายในคุณค่าแห่งชีวิตที่ตนค้นพบ....เดินไปบน เส้นทางแห่งความจริง ความรู้ ความดี และความงาม.....เดินไปบนถนนแห่งเสรีภาพอย่างคนที่เปี่ยมไปด้วย การตระหนักรู้ในตนอย่างแท้จริง....และการเดินทางครั้งใหม่นี้กระมัง ที่จะทาให้คุณได้รู้จักตัวเองและซึ้งถึง ความหมายของการมีชีวิตอยู่อย่างแท้จริง.... “.....ไม่ว่ามนุษย์จะเจริญก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตาม มนุษย์ก็ยัง จาเป็นต้องตอบคาถามตนเองให้ได้ว่าชีวิตคืออะไร ? ควรให้ชีวิตเป็นไปอย่างไร? ไม่เช่นนั้นแล้วชีวิตก็จะไร้ความหมายและคุณค่าโดยสิ้นเชิง” ดวงดำว กีรติกำนนท์ คุณอาจจะสงสัยว่า ที่ฉันพูดมาเสียยืดยาว และแนะนาให้คุณตั้งคาถามกับชีวิต มันเกี่ยว อะไรกับวิชาปรัชญาซึ่งเราจะเรียนกันด้วย...อีกสักครู่ ฉันจะเฉลยให้ฟัง...แต่ก่อนอื่น คุณคงจะสงสัยเหมือนกัน ใช่ไหมว่า ปรัชญำ คือ อะไร ? มีเนื้อหำเกี่ยวกับอะไร ? จะเรียนปรัชญำไปทำไม ? เรียนไปแล้วได้อะไร ? ไม่เสียเวลำและค่ำหน่วยกิตโดยเปล่ำประโยชน์หรือ ?....
  • 3. 3 ในคาถามแรกที่ว่า “ปรัชญา คือ อะไร ?” คุณมีความคิดคล้ายๆ แบบนี้บ้างหรือไม่ว่า.... - ปรัชญา คือ ความคิดเพ้อฝันของคนบ๊องๆ บวมๆ ? - ปรัชญา คือ ทฤษฎีนอกโลกที่สูงส่งยากแก่การเข้าใจ ? - ปรัชญา คือ วิชาที่มีแต่ตัวหนังสือมีตาราหนาๆ ต้องท่องจาน่าเบื่อหน่าย? - ปรัชญา คือ วิชาสาหรับคนหน้าแก่และหัวโบราณทึนทึก ? - ปรัชญาเป็นวิชาที่ไม่เห็นให้ประโยชน์อะไร....ว๊า...น่าเบื่อซะไม่มี...... ดังนั้น...”ปรัชญา จึงเป็นวิชาที่ไม่น่าเรียนด้วยประการทั้งปวง” (..จริงหรือ ?) ขอเวลาเดี๋ยว อย่าเพิ่งตัดสินวิชาปรัชญาซะแย่ขนาดนั้น ถ้าจะบอกว่า......แท้จริงแล้ว ”ปรัชญำ ก็คือ ชีวิต และความคิด ของคุณ นั่นแหละ และคุณทุกคนก็มีควำมเป็นนักปรัชญำอยู่ใน ตัว........ดังนั้น ปรัชญำจึงไม่ใช่เรื่องนอกโลก แต่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตและกำรใช้ชีวิตของคุณ .........คุณจะเชื่อหรือไม่ ?.... คุณไม่จาเป็นต้องเชื่อ...แต่ก็อย่าเพิ่งปิดใจตัวเองในการที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่คุณไม่คุ้นเคย ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และใกล้หัวใจของคุณ......เพราะ จริงๆ แล้ว ปรัชญำ เป็นควำมพยำยำมของมนุษย์ เรำในกำรที่จะตอบคำถำมเกี่ยวกับชีวิตและโลกที่เรำอยู่ โดยเริ่มต้นมำจำกควำมสงสัยต่อตัวเรำเอง ต่อโลก และต่อสิ่งต่ำงๆ ที่อยู่รอบตัว เช่น สงสัยว่ำ ชีวิต คือ อะไร โลกมำจำกไหน และเรำควรจะ ใช้ชีวิตอย่ำงไรให้อยู่ดี มีสุข เป็นต้น จำกนั้น เมื่อมนุษย์สงสัย จึงตั้งคำถำม และพยำยำมแสวงหำ คำตอบ โดยกำรใช้ควำมคิดด้วยเหตุผล ****ทั้งกระบวนกำรคิด และคำตอบที่ได้จำกกำรใช้ ควำมสำมำรถในกำรคิดด้วยเหตุผลของเรำนี้เอง คือ ปรัชญำ .....เห็นไหมคะว่ำ “ปรัชญำ” ก็คือ กำร ใช้ควำมคิด และหำคำตอบให้กับชีวิตของเรำ มิใช่เรื่องไกลตัว หรือ ไกลหัวใจแต่อย่างใด ****ความรู้ทุก อย่าง และทุกการกระทาของเรา ล้วนเริ่มต้นมาจากการคิดทั้งนั้น ดังนั้น การคิดให้เป็น การคิดให้ถูกต้อง และ การไม่ลืมที่จะคิดในเรื่องคุณค่าแห่งชีวิตนั้น จึงเป็นหน้าที่ของปรัชญา ที่จะรับใช้ ต่อผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา และ เริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตที่ไร้แก่นสาร จากนี้ไป ถ้าคุณอยากรู้จักปรัชญามากกว่านี้ ก็ขอเชิญคุณเดินทางเข้ามาสู่โลกแห่งปรัชญา ไปกับพวกเรา แล้วคุณจะรู้ว่า ชีวิตไม่จาเป็นต้องคิดเหมือนคนอื่น และที่สาคัญ คุณจะรู้ว่า ชีวิตไม่ใช่บะหมี่ กึ่งสำเร็จรูปที่จะต้องมีรสชำติเหมือนๆ กัน แต่คุณสำมำรถสร้ำงรสชำติแห่งชีวิตของคุณขึ้นมำได้ ด้วยกำรตั้งคำถำม เพื่อแสวงหำจุดยืน และเลือกทำงเดินของชีวิตด้วยตัวคุณเองอย่ำงมีอุดมคติและมี คุณค่ำอย่ำงแท้จริง 1. ควำมหมำยของ “ปรัชญำ” 1.1 ควำมหมำยตำมรูปศัพท์ คาว่า “ปรัชญา” ในภาษาไทย แปลว่า “ควำมรอบรู้” เป็นศัพท์บัญญัติใช้กับคาว่า “PHILOSOPHY” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “PHILOS (LOVE) + SOPHIA (WISDOM) ซึ่งแปลว่า “รักในควำมรู้” (LOVE OF WISDOM) หรือ “ควำมรัก อันเป็นพลังผลักดันให้ แสวงหำควำมรอบรู้” หรือ “รักที่จะมีควำมรู้” นั่นเอง
  • 4. 4 ****ปรัชญาเป็นเรื่องของความรู้ ….. ทั้งการแสวงหาความรู้ (Seeking Wisdom) และความรู้ที่ค้นพบแล้ว (“Wisdom Sought”) 1. ในขั้นแสวงหา..มนุษย์มีความสงสัย จึงตั้งคาถาม แล้วคิดหาคาตอบอย่างมีเหตุผล เรียก ขั้นนี้ว่า “การคิดแบบปรัชญา” 2. เป็นผลสืบเนื่องมาจากการแสวงหา นั่นคือ ในที่สุดมนุษย์ก็ได้ค้นพบคาตอบเกี่ยวกับ ความจริง ซึ่งเรียกว่า “ความรู้เชิงปรัชญา” (พระราชวรมุนี, 2544: 3-5) นักปรัชญาจิตนิยมสมัยกรีกโบราณ เช่น โสคราตีส เพลโต และ อริสโตเติล ได้ให้ นิยาม “ความรู้” ในทางปรัชญาไว้ว่า หมายถึง “การรู้จักตัวเอง” (to know thyself) และการที่จะรู้จักตัวเองได้ อย่างแท้จริง ก็ต้องหมั่นสารวจตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ดังที่โสคราตีสกล่าวไว้ว่า “ชีวิตที่ไม่มีการสารวจ ตรวจสอบไม่มีค่าควรแก่การดารงอยู่” ( a life without examination is not worth living ) (สุจิตรา, 2545: 150) 1.2 ควำมหมำยตำมลักษณะเนื้อหำ “ปรัชญำ” คือ กำรแสวงหำควำมรู้หรือควำมจริงเกี่ยวกับชีวิต มนุษย์ โลก และ ธรรมชำติ อย่ำงลึกซึ้ง โดยกำรคิดด้วยเหตุผล เช่น การแสวงหาคาตอบว่า....ความจริงของชีวิตและโลก คือ อะไร ,เรารู้ความจริงได้อย่างไร และเราจะควรใช้ชีวิตอย่างไรดีให้สมกับการเป็นมนุษย์ เป็นต้น 1.3 ควำมหมำยตำมกำรใช้ “ปรัชญำ” หมำยถึง แนวควำมคิด คติ ควำมเชื่อ หรือ ข้อคิดต่ำงๆ ใน ชีวิตประจำวัน เช่น.. “ระยะทางนับหมื่นลี้ ต้องเริ่มต้นจากก้าวแรก”, “ความเพียรเป็นศัตรูแล้วเป็นมิตร ความ เกียจคร้านป็นมิตร แล้วเป็นศัตรู” , หากคิดจะรัก ต้องรักด้วยปัญญา ถ้ารักอย่างหลงใหล ผลคือโง่และเจ็บปวด” หรือ ถ้ามองในแง่มุมของสังคมศาสตร์ “ปรัชญา” อาจจะหมายถึง ระบบแห่งหลักคิด ของมนุษย์กลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง ณ สมัยใด สมัยหนึ่ง และเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความเป็นอยู่ของมนุษย์ตามกาล สมัยนั้นๆ (สมัคร บุราวาส, 2544: 8) 2. มูลเหตุของกำรเกิดปรัชญำ 2.1 มนุษย์มีควำมสำมำรถในกำรคิด มูลเหตุสาคัญที่ทาให้ “ปรัชญา” เกิดขึ้น ก็คือ กำรที่มนุษย์มีควำมสำมำรถในกำรคิด อริสโตเติล (Aristotle 384-322 BC.) นักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของโลกตะวันตก กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็น สัตว์รู้คิด” (Man is a thinking animal) หมายความว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย แต่มนุษย์ก็แตกต่างจากสัตว์โลกทั้งหลายตรงที่รู้จักคิด หรือ มีความสามรถในการคิด ในขณะที่สัตว์อื่นๆ ไม่มี ความสามารถดังกล่าว ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า “ปรัชญำ” เริ่มต้นมำจำกควำมสงสัยต่อ โลก ต่อตัวเรำเอง ต่อสิ่งต่ำงๆ ที่อยู่รอบตัว ทั้งนี้เพรำะมนุษย์มีควำมสำมำรถในกำรคิด
  • 5. 5 สิ่งที่มนุษย์สงสัยนั้น มีมากมาย เช่น เราเกิดมาทาไม / ทาไมเราต้องตายด้วย จะมีชีวิตเป็นอมตะไม่ได้หรือ / พระเจ้า และจิตวิญญาณมีจริงหรือไม่ / โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและเกิดมาจากไหน/เราจะเชื่อสิ่งที่เห็นได้หรือไม่ /เมื่อมนุษย์ เราตายแล้วจะเป็นอย่างไรและไปอยู่ที่ไหน / บาป บุญ คุณ โทษ นรก สวรรค์ มีจริง หรือไม่ / ความดีคืออะไร/นิพพานมีจริงหรือไม่/เราจะพ้นจากความทุกข์ได้อย่างไร / โลกนี้มีความเป็นธรรมหรือไม่/ รักแท้เป็นเช่นใด มีอยู่จริงหรือไม่ / เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สิ่งไหนดีหรือชั่ว /เราควรจะเชื่อหรือไม่เชื่ออะไร/ เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไร มีจุดหมาย อย่างไร?และสุดท้ายถ้าต้องเลือกระหว่างความสุขส่วนตัวกับความสุขส่วนรวม เราจะ ตัดสินใจอย่างไร เป็นต้น …..และเมื่อมนุษย์สงสัย หรือเกิดควำมอยำกรู้อยำกเห็น........เขำจึง ตั้งคำถำมและ....พยำยำมแสวงหำคำตอบโดยกำรใช้ควำมคิดด้วยเหตุผล...ซึ่งอำจจะเป็นแค่คำตอบ เพื่อสนองควำมอยำกรู้ (อะไร ทำไม) หรืออำจจะเป็นคำตอบเพื่อเป็นแนวทำงในกำรใช้ชีวิตหรือ แก้ปัญหำชีวิตก็ได้ (อย่ำงไร).......ปรัชญำ......จึงเกิดขึ้นด้วยประกำรฉะนี้ ....เห็นไหมว่า ปรัชญาไม่ใช่เรื่องไกลตัว .......ปรัชญาแนบเนื่องกับชีวิตประจาวันของ มนุษยชาติอย่างแยกไม่ออก จึงมิใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด..ถ้าจะมีคนที่ไม่ยอมรับปรัชญา...แต่กลับพูดและคิด อย่างปรัชญาอยู่บ่อยๆ อาจกล่าวได้ว่า นักปรัชญา คือ คนที่คิดอย่างปรัชญา จุดเริ่มต้นแห่งความคิดของเขา ไม่ได้พิเศษพิศดารอะไร เพราะคนธรรมดาส่วนมากก็ล้วนมีศักยภาพในการคิดแบบปรัชญาอยู่ในตัวอยู่แล้ว วัย เด็กของทุกคนเป็นช่วงเวลาที่แววนักปรัชญาปรากฏ เด็กมีความไร้เดียงสา แต่ความไร้เดียงสาก็ต้องจากเด็กไป สักวัน เมื่อถูกพลังอันหนึ่งในใจของเด็กขับไล่ไป พลังอันนั้น คือ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiousity) เมื่อเด็ก ออกไปเผชิญโลกกว้าง สิ่งแปลกใหม่เร้าความสนใจของเด็ก แกจึงอยากเรียนรู้ เด็กจะตั้งปัญหาถาม ตลอดเวลาว่า นั่นอะไร นี่อะไร เด็กถาม เพราะมีความอยากรู้อยากเห็น.....ควำมอยำกรู้อยำกเห็นในวัยเด็ก นี่เองเป็นบ่อเกิดของควำมคิดแบบปรัชญำ และกำรซักถำม ก็เป็นลักษณะของนักปรัชญำ ทั้งนี้ เพรำะนักปรัชญำทำตัวเป็นเด็กต่อโลกเสมอ เขำสำนึกว่ำตัวเองยังต้องเรียนรู้อีกมำกนัก ดังที่ โสครำตีส นักปรัชญำกรีกโบรำณ กล่ำวว่ำ “หนึ่งเดียวที่ข้ำพเจ้ำรู้ คือ รู้ว่ำ ข้ำพเจ้ำไม่รู้อะไร” นักปรัชญาสนใจถามปัญหาทุกชนิด เขาอยากรู้ไปสารพัด ทั้งนี้ เพราะนักปรัชญาสามารถรักษาความอยากรู้ อยากเห็นให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ดังที่เพลโต กล่าวไว้ว่า “ควำมใฝ่รู้เป็นอำรมณ์ของนักปรัชญำ ปรัชญำ เริ่มต้นที่ควำมใฝ่รู้ (wonder)” แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า คนทั่วไปไม่ค่อยสนใจต่อความอยากรู้อยากเห็นของตน เขา สงสัยแล้วไม่ถามหรืออยากรู้แล้วไม่เรียน ดูประหนึ่งว่ายิ่งโตขึ้น คนเราก็ยิ่งลดความอยากรู้อยากเห็นลง ทั้งนี้
  • 6. 6 ไม่ใช่เพราะเรารอบรู้จนหมดสงสัย แต่เนื่องจากเราไม่มีเวลาว่างสาหรับจัดการกับความสงสัยกันมากกว่า เวลา ส่วนมากของเราหมดไปกับการงานอาชีพและความบันเทิง อารยธรรมใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ เพราะคนมีเวลาว่าง สาหรับคิด ตราบใดที่คนเรายังกระเสือกกระสนเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ตราบนั้นจิตใจจะมีความวิตกกังวลจนไม่ มีเวลาคิด...เวลาว่างและสมาธิ เป็นสิ่งสาคัญและจาเป็นต่อการคิดค้นหาความรู้เชิงปรัชญาและพัฒนาศาสตร์ ทั้งหลาย อย่างไรก็ตาม แม้ว่าคนเราโดยทั่วไป จะไม่ช่างสงสัยเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ กระนั้น คนเราก็ยังมีธาตุของความอยากรู้อยากเห็นอยู่ในหัวใจ เราอยากรู้ว่า ตายแล้วไปไหน ...นรก สวรรค์มีจริงหรือไม่....ความดีคืออะไร....รักแท้เป็นเช่นใด...เราอยากทราบ คาตอบสาหรับปัญหาเหล่านี้และอื่นๆ เราต้องการคาตอบเพื่อสนองความอยากรู้ อยากเห็น ไม่ใช่เพื่อประกอบอาชีพ และเมื่อเรารู้คาตอบแล้ว เราก็จะนามาสร้างเป็นกรอบในการตีความ ปรากฏการณ์เพื่อกาหนดแนวทางในการการดาเนินชีวิตของเรา ดังนั้น เราจึงพยายามรวบรวมคาตอบต่อ ปัญหาเหล่านี้ทีละเล็กทีละน้อยจากการถามผู้รู้บ้าง จากการอ่านหนังสือบ้าง หรือจากประสบการณ์ของตนเอง บ้าง แล้วในที่สุดเราก็สรุปเป็นคาตอบให้กับตัวเอง ถ้าเราพอใจคาตอบเหล่านั้น เราก็รับเป็นทัศนะประจาใจ เมื่อคนอื่นคัดค้านทัศนะของเรา เราก็พร้อมที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนทัศนะเหล่านั้น....ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า กระบวนกำรแก้ปัญหำที่เริ่มต้นด้วยควำมสงสัยใฝ่รู้ แล้วค้นคิดอย่ำงมีเหตุผลเพื่อแสวงหำคำตอบ นี่เองเป็นควำมคิดแบบปรัชญำ แต่คนธรรมดายังไม่ใช่นักปรัชญา เพราะยังคิดไม่เป็นระบบ อันเนื่องมาจาก ขาดเครื่องมือในการคิด การคิดแบบปรัชญาต้องอาศัยเครื่องมือสาหรับคิดที่เรียกว่า “ตรรกศาสตร์” หรือ กฎเกณฑ์การใช้เหตุผลที่ถูกต้อง (พระราชวรมุนี, 2544: 5-7) 2.2 กำรเกิดขึ้นของควำมคิดทำงปรัชญำและวิชำปรัชญำ ความคิดทางปรัชญา เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ มนุษย์ยุคแรกสุด คือ มนุษย์ยุคดึกดา บรรพ์ คือ กาเนิดมาไม่ต่ากว่า 2 ล้านปีมาแล้ว โดยปรัชญาในยุคนั้น เรียกได้ว่าเป็นปรัชญายุคดึกดาบรรพ์ โดย มนุษย์ยังมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาใกล้ชิดอยู่กับธรรมชาติ และประสบกับภัยธรรมชาติที่คุกคามอยู่เสมอ ดังนั้นจึงคาด กันว่า ปัญหาปรัชญาของคนในยุคนั้น ก็คือ ปัญหาแห่งความพิศวงที่ว่า ภัยธรรมชาติเหล่านี้มาจากไหน? และ จะแก้ไขได้อย่างไร? และคาดว่าคาตอบในเบื้องต้น ก็คือ เชื่อกันว่า ภัยธรรมชาติต้องเกิดจากอานาจเหนือ ธรรมชาติ หรือปวงเทพผู้มีฤทธานุภาพ และก่อเกิดเป็นพิธีบวงสรวงและศาสนาตามมา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปรัชญาจะเกิดมาพร้อมมนุษย์ นับเป็นล้านๆปีมาแล้ว แต่วิชา ปรัชญานั้นเพิ่งมีขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปีมานี้เองเพราะก่อนหน้านั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดพอที่จะให้ศึกษาได้ ดังที่ได้กล่าวแล้ว่า วิชาปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ ความอยากรู้อยากเห็นทาให้เกิดการ ซักไซ้ไล่เลียงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและวิชาปรัชญาก็เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ หลักฐานแรกที่ทาให้เกิดวิชาปรัชญาขึ้นมา ได้แก่ คัมภีร์พระเวทของอินเดีย ซึ่ง เกิดขึ้นสมัยก่อนพุทธกาลประมาณ 1,000 ปี แต่เพิ่งมาจดจารึกขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรในยุคหลังซึ่งเข้าใจว่า เป็นสมัยหลังพุทธกาล วิชาปรัชญาจึงเกิดขึ้นมาประมาณ 3,000-3,500 ปีมานี้ คัมภีร์พระเวทมีประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว คนอินเดียถือว่า คัมภีร์พระเวทไม่ใช่ผลงานที่เรียบเรียงขึ้นโดยมนุษย์ หากเป็นพระวจนะของ
  • 7. 7 พระเจ้า ที่เปิดเผยแก่ฤาษีผู้มีบุญญาธิการ และได้รับการสั่งสอนสืบทอดกันต่อมาแก่พวกพราหมณ์ในอินเดีย โดยในคัมภีร์จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของเทพเจ้ารวมทั้งการสร้างและคุ้มครองโลกของเทพเจ้า มีบท สรรเสริญและอ้อนวอนขอพรจากเทพเจ้า รวมทั้งมีการแสดงวิธีประกอบประเพณีทางศาสนาไว้ด้วย ส่วนทางตะวันตกนั้น หลักฐานที่ก่อให้เกิดวิชาปรัชญาขึ้น ได้แก่ คำสอนของทำเลส (Thales 624-550 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งเป็นนักปรัชญากรีกคนแรกที่กล้าปฏิวัติความคิดของคนใน สังคมโดยพยายามอธิบายเรื่องของจักรวาลอย่างมีกฎเกณฑ์โดยไม่อ้างสิ่งเหนือธรรมชาติ ทาเลสได้เขียนหนังสือไว้หรือไม่ ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ลูกศิษย์ของเขาได้บันทึกคาสอนไว้ และได้มีหลักฐานเหลือมาให้เราศึกษาได้จนถึงทุกวันนี้ และด้วยเหตุนี้ทาเลสจึงได้รับการยก ย่องว่าเป็นบิดำแห่งวิชำปรัชญำ (Father of Philosophy)และเป็นแรงบันดาลใจสาคัญแก่นัก คิดตะวันตกในรุ่นต่อ ๆมา (สุจิตรา, 2545: 4-5) 3. ลักษณะทั่วไปของปรัชญำ 1. ปรัชญำพยำยำมเรียนรู้ทุกสิ่ง ศึกษำทุกเรื่องเท่ำที่สติปัญญำของมนุษย์จะอำนวย โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและโลก วิทยาการเกือบทุกสาขาในปัจจุบันเคยสังกัดอยู่กับปรัชญามาก่อน ปรัชญาจึงได้ชื่อว่า “มำรดำของศำสตร์ทั้งหลำย” อาจกล่าวได้ว่า เมื่อโลกยังมีแง่มุมลึกลับอยู่อีกเท่าใด นักปรัชญาก็จะเรียนรู้อีกเท่านั้น ในสมัย โบราณ นักปรัชญาเป็นผู้ค้นพบวิทยาการสาขาใหม่ให้แก่โลก แต่หลังจากการค้นพบแล้ว นักปรัชญาก็ปล่อยให้ ผู้เชี่ยวชาญในวิทยาการสาขานั้นๆ ค้นคว้าเรื่องนั้นต่อไป ตนเองก็จะหันไปสารวจวิทยาการด้านอื่น การค้นคว้า ของนักปรัชญาไม่เคยถึงจุดจบ นักปรัชญาเป็นเสมือนนักสารวจ ผู้ไม่ยอมตั้งหลักแหล่ง เขาจะสารวจไปเรื่อย จนกว่าจะรู้จุดจบของจักรวาล นักปรัชญาจึงเป็นผู้บุกเบิกทางปัญญา ส่วนวิชาปรัชญาก็คือ บันทึกการบุกเบิก สารวจความลับของจักรวาล ปรัชญาสนใจศึกษาทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าสิ่งนั้นจะ สามารถนาไปปฏิบัติได้หรือเปล่า ถ้าเป็นแนวคิดเพื่อการปฏิบัติ จะเรียกว่า “ปรัชญาชีวิต” คาว่า “นักปรัชญำ” หรือ “Philosopher” เกิดขึ้นเมื่อประมาณสองพันห้าร้อยปีมาแล้ว นัก ปรัชญากรีกชื่อ พิธากอรัส เป็นผู้ใช้คานี้เป็นคนแรก ชาวกรีกยุคนั้นเรียกนักปราชญ์ราชบัณฑิต ว่า sophoi (ผู้รอบรู้) พิธากอรัสรู้สึกว่าคานี้สูงส่งเกินไป จึงคิดคาผสมขึ้นว่า Philosophoi แปลว่า ผู้รักความรอบรู้ (Lover of Wisdom) สาหรับใช้เรียกท่านผู้คงแก่เรียนหรือนักวิชาการ สมัยนั้น เพราะนักปรัชญายุคนั้นรอบรู้วิทยาการหลายสาขา และวิทยาการเหล่านั้นยังไม่มีชื่อ เฉพาะว่า วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ฯลฯ แต่เรียกรวมกันว่า ปรัชญา (Philosophy) ด้วยเหตุนี้ ปรัชญาในสมัยโบราณจึงเป็นชื่อรวมของวิทยาการหลายแขนง เพราะปรัชญา หมายถึง ความรักในความรู้ วิทยาการใดให้ความรู้ วิทยาการนั้นเป็นปรัชญา ศาสตร์ต่างๆ ได้ถูกรวมเป็นส่วน หนึ่งของวิชาปรัชญาอยู่นานนับศตวรรษ จนกระทั่งศาสตร์ทั้งหลายค่อยแยกตัวออกจากปรัชญาไปทีละศาสตร์
  • 8. 8 วิชำกำร หรือ ควำมรู้ใดที่เกิดจำกกำรคิดค้นด้วยเหตุผล คือ ปรัชญำ แต่ถ้ำศำสตร์ใด ได้รับกำร พัฒนำจนเกินขอบเขตของควำมคิด และมีวิธีกำรหำควำมรู้เป็นของตนเอง (ที่นอกเหนือจากการคิดด้วย เหตุผล) รวมทั้งมีเนื้อหำที่เชื่อกันว่ำแน่นอนตำยตัวพอสมควรแล้ว ศำสตร์หรือวิชำนั้นก็จะแยกจำก ปรัชญำ กลำยเป็นศำสตร์เฉพำะของตนไป เช่น ศาสนา และคณิตศาสตร์ได้แยกออกจากวิชาปรัชญาใน สมัยกรีก , วิทยาศาสตร์แยกตัวออกมาในระหว่างสมัยฟื้นฟูและต้นสมัยใหม่ , สังคมศาสตร์แยกออกมาใน ปลายศตวรรษที่ 19 และจิตวิทยา ได้แยกตัวออกมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปรัชญาจึงได้ ชื่อว่าเป็น “มารดาของศาสตร์ทั้งหลาย” (พระราชวรมุนี, 2544: 3-5) 2. ปรัชญำมีลักษณะวิพำกษ์ วิชาปรัชญาเกิดจากความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ บางที ความอยากรู้อยากเห็นนั้น เกิดขึ้นเพราะมนุษย์ต้องการความรู้เพื่อที่จะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของชีวิต เช่น เรา อยากรู้ว่า ทาอย่างไรพืชผักที่ปลูกไว้จึงจะให้ผลผลิตมากๆ แต่บางทีความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ก็มิได้ เกิดขึ้นเพราะความต้องการอย่างนั้น ทาเลส บิดาของปรัชญา อยากรู้ธาตุแท้ของโลก เพียงเพราะต้องการรู้ โดยมิได้หวังผลอะไรเป็นกิจจะลักษณะ ความอยากรู้อยากเห็นและการซักไซ้ไล่เลียงไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีสิ้นสุด เป็นธรรมชาติอันหนึ่งของคนเรา และวิชาปรัชญาก็ได้เกิดขึ้นเพราะเหตุนี้ ปรัชญำจะซักถำมทุกอย่ำงที่จะซักได้ เหตุผลเป็นเครื่องมือของนักปรัชญำที่จะ วิพำกษ์วิจำรณ์ทุกสิ่งทุกอย่ำง ดังเช่น โดยทั่วไปเราเชื่อว่า สิ่งที่เราเห็นและจับต้องได้เท่านั้นที่เป็นจริง แต่เพล โต (Plato 427-347 ก่อน ค.ศ.) ได้วิพากษ์ความเชื่ออันนี้โดยใช้เหตุผลชี้แจง อธิบาย จนผู้อ่านงานของเพลโต หลายคน อาจจะเริ่มสงสัยความเชื่อเดิมของตนว่าจะเป็นจริงหรือไม่ หรือว่า “โลกของแบบ” (World of Form) ของเพลโต เป็นจริงกว่า เนื่องจากปรัชญามีลักษณะวิพากษ์ และในการวิพากษ์วิจารณ์นั้น ก็จาเป็นอยู่เองที่ จะต้องทาให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อความเชื่อและความรู้สึกดั้งเดิมของผู้อ่าน ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ผู้อ่านจะต้องมารับความเชื่อใหม่ อาจจะยังคงไว้ซึ่งความเชื่อเดิมให้รัดกุมยิ่งขึ้น 3. ปัญหำปรัชญำเป็นปัญหำพื้นฐำนของชีวิต ถ้าเรากล่าวว่าปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหา พื้นฐานกว่าปัญหาที่สอง หมายความว่า มติหรือทัศนะที่เรามีต่อปัญหาที่หนึ่งนั้นส่งผลกระทบ ต่อปัญหาเรื่องอื่นๆ มากกว่าปัญหาที่สอง สมมติเราถามปัญหาที่สองว่า คนเราควรแสวงหา อะไรในชีวิต? ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐานเพราะ ทัศนะที่เรามีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกาหนด การศึกษาของเรา แต่ปัญหานี้ยังมีลักษณะพื้นฐานน้อยกว่าปัญหาที่หนึ่ง เช่น ปัญหาว่าจิต หรือวิญญาณของมนุษย์มีหรือไม่? ปัญหาที่หนึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานกว่า ก็เพราะว่ามติที่มีต่อปัญหานี้จะเป็นตัวกาหนดของปัญหา ที่สอง และยังเป็นตัวกาหนดเรื่องอื่นด้วย เช่น อิสรภาพของมนุษย์ ความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์ และ สิ่งไร้ชีวิต และปัญหาเรื่องความรู้ของมนุษย์ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราเชื่อว่า จิตหรือวิญาณมีอยู่จริง และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่แตกต่างจาก ร่างกาย ความเห็นของเราเกี่ยวกับความหมายของชีวิตก็จะออกมาในรูปปัญญานิยม หรือ วิมุตินิยม หลัก ศีลธรรมของเราก็จะมีลักษณะเหมือนของ อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant 1724-1804) ทฤษฎีความรู้
  • 9. 9 ของเราจะเป็นแบบเหตุผลนิยม (Rationalism) ถ้าเราไม่เห็นด้วยอย่างนี้แสดงว่าความเห็นของเราขัดแย้งกัน ดังนั้นปัญหาพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยทาให้ความคิดของเราเป็นระบบยิ่งขึ้น และสามารถค้นพบจุดยืนของเราได้ 4. ปรัชญำแสวงหำโลกทัศน์ การโต้แย้งเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานนั้น เราไม่สามารถจะตัดสิน ให้เด็ดขาดลงไปได้ว่า ฝ่ายใดผิดฝ่ายใดถูก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาสาคัญ ทั้งนี้เพราะว่าทรรศนะที่เรามีต่อ ปัญหาเหล่านี้จะเป็นฐานที่ทาให้ทัศนะของเราในเรื่องโลก มนุษย์ สังคม และความหมายของชีวิตเป็นไปในอีก แนวทางหนึ่ง เมื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ทัศนะใดถูก ทัศนะใดผิด เราจึง จาต้องยึดอันใดอันหนึ่งด้วยความเชื่อ ความเชื่อของคนๆ หนึ่งนั้นมีมากมายหลาย เรื่อง เช่น ศีลธรรม ค่าของชีวิต อุดมการณ์ทางการเมือง ศาสนา ศิลปะ ฯลฯ ในเรื่อง ต่างๆ เหล่านี้ บางทีเราพิสูจน์ไม่ได้ เราจาต้องเชื่อ ตอนนี้ปรัชญาจะเข้ามามีส่วน คือ ปรัชญาจะช่วยทาให้ความเชื่อของเราเป็นระบบ กล่าวคือ ช่วยทาให้ความเชื่อในเรื่อง ต่างๆ ของเราสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน และความเชื่อของเรา จะกลมกลืนกันได้ก็ต่อเมื่อ มีหลักบางหลัก เป็นจุดร่วมกัน นั่นคือ เราจะต้องมี ทัศนะ เป็นพื้นฐานรองรับความเชื่อเหล่านั้น วิชาปรัชญาพยายามที่จะให้พื้นฐานอันนี้ แก่เรา นั่นก็หมายความว่า ปรัชญาช่วยให้เราแสวงหาโลกทัศน์ “โลกทัศน์” คือ ความเชื่ออันเป็นระบบ ในวิถีชีวิตของคนๆ หนึ่ง เขาอาจพูด คิด ทาอะไรต่อ อะไรหลายอย่าง แต่ถ้าเขาเป็นคนคงเส้นคงวา ความหลากหลายนี้จะเป็นเพียงภาพสะท้อนของทัศนะพื้นฐาน อันเดียวกัน ทัศนะพื้นฐานนี้แหละคือโลกทัศน์ของเราที่ชัดขึ้น ทั้งนี้ก็โดยการวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ และการ ถกเถียงปัญหาอันเป็นพื้นฐาน โลกทัศน์ เป็นตัวกาหนดทิศทางของชีวิตแต่ละคน และเป็นตัวกาหนดทิศทางของสังคมมนุษย์ ด้วย ถ้าเราเห็นเรื่อลาหนึ่งกาลังแล่นอยู่ในทะเล ปัจจัยที่อธิบายการแล่นของลาเรือนี้มีสองอย่างคือ (1) เครื่องยนต์ทาให้แล่นไปได้ (2) จุดหมายปลายทางที่เรือจะแล่นไป ถ้าไม่มีสองอย่างนี้พร้อมกัน การแล่นของเรือ ก็คงไม่เกิดขึ้น ชีวิตมนุษย์ก็เช่นกัน ในการเดินทางของนาวาชีวิต ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปรียบเสมือน เครื่องยนต์ แต่สิ่งที่กาหนดทิศทาง คือ โลกทัศน์ ซึ่งจะเป็นตัวชี้ทาง ความรู้เป็นแรงผลักดันให้เคลื่อนไป ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีผู้ใดที่ไม่มีโลกทัศน์ (สุจิตรา, 2545: 7-9) 5. ควำมรู้เชิงปรัชญำ เป็นควำมรู้แบบปลำยเปิด (Open Ended) ที่ไม่มีคำตอบที่ แน่นอนตำยตัว ดังเราจะพบว่า โสคราตีส เสนอปรัชญาไว้อย่างหนึ่ง ต่อมาศิษย์ของท่านชื่อเพลโตได้พัฒนา ปรัชญานั้นต่อไป และอริสโตเติล ผู้เป็นศิษย์ของเพลโต ก็ออกมาวิจารณ์อาจารย์ของตนแล้วเสนอแนวคิดใหม่ ต่อไป องค์ความรู้ทางปรัชญาที่ดูเหมือนจะจบบริบูรณ์ที่นักปรัชญาคนหนึ่ง ก็กลับถูกนักปรัชญารุ่นหลังพัฒนา ต่อไป เราจะไม่พบปรากฏการณ์เหล่านี้ในวงการศาสนา แต่เมื่อใดที่ความรู้เชิงปรัชญาได้รับการพิสูจน์ด้วย วิธีการทางคณิตศาสตร์ หรือ การสังเกตทดลอง เมื่อนั้นความรู้นั้นก็จะแยกจากปรัชญาและกลายเป็นศาสตร์ แขนงใหม่
  • 10. 10 6. ควำมรู้เชิงปรัชญำ เป็นควำมรู้ขั้นทัศนะส่วนตัว หรือ กำรเก็งควำมจริง ชื่อว่าเป็น “โลกทัศน์” (World View) ซึ่งเป็นความเข้าใจโลก และชีวิตจากมุมมองของปัจเจกชน มนุษย์ทุกคนล้วนมี โลกทัศน์ประจาตัว โลกทัศน์ของใครก็เป็นปรัชญาของคนนั้น ดังที่ ฮักซ์เลย์ กล่าวว่า “มนุษย์ดาเนินชีวิตไปตาม ปรัชญาชีวิตและโลกทัศน์ของเขา นี่เป็นเรื่องจริงแม้กับคนที่ไม่มีหัวคิด เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะมีชีวิตอยู่โดยไม่ มีอภิปรัชญา” กล่าวได้ว่า มนุษย์ทุกคนต่างก็มีปรัชญาประจาใจด้วยกันทั้งนั้น แม้กระทั่งชาวบ้านก็มีปรัชญา ชาวบ้าน แต่เป็นปรัชญาที่ขาดระบบ แท้ที่จริงปรัชญาได้ก่อตัวในความคิดของชาวบ้านมานานก่อนหน้าที่นัก ปรัชญาจะพัฒนาให้เป็นระบบ โดยทั่วไปเรานิยมเรียกปรัชญาชาวบ้านว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” (พระราชวร มุนี, 2544: 9) 7. วิชำปรัชญำเป็นเรื่องของกำรคิดอย่ำงมีเหตุผลและเป็นระบบ ทาให้สามารถมองเห็น ปัญหาและคาตอบที่คนทั่วไปมองไม่เห็น แต่วิชาปรัชญาก็มิได้มีหน้าที่ตัดสินว่าลัทธิความเชื่อใดถูกต้องหรือ ผิดพลาด แต่จะทาให้ผู้เรียนเข้าใจว่าแต่ละลัทธิมีเหตุผลของตนเองอย่างไร เช่น จิตนิยม (Idealism) เป็นลัทธิ ที่เชื่อว่าสิ่งแท้จริงสูงสุดมีลักษณะเป็นจิต เพราะจิตเป็นต้นกาเนิดของจักรวาล ขณะที่สสารนิยม (Materialism) เชื่อว่าสิ่งแท้จริงสูงสุดมีลักษณะเป็นสสาร เพราะสสารเป็นต้นกาเนิดของทุกสิ่ง ดังนี้เป็นต้น ส่วนการจะตัดสินว่าลัทธิใดถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรเป็นเรื่องของผู้เรียนที่จะใช้ วิจารณญาณของตน ทั้งนี้เพราะ ******ปรัชญำ มิได้สอนให้ เชื่อ แต่สอนให้รู้จัก คิด 4. ขอบข่ำยของวิชำปรัชญำ ปรัชญา ก็คือ ความพยายามของมนุษย์เราในการแสวงหาความหมายและคุณค่าแห่งชีวิตด้วย การคิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล โดยจะมีขอบข่ายในการศึกษาอย่างกว้างๆ เพื่อหาคาตอบให้ได้ว่า - ความจริง คือ อะไร (ฉันคือใคร? และอยู่ที่ไหน?) - เรารู้ความจริงนั้นได้อย่างไร (ฉันรู้จักและเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างไร?) - เราควรจะใช้ชีวิตอย่างไรให้สอดคล้องกับความจริงนั้น (ฉันควรดาเนินชีวิตอย่างไรดี?) ซึ่งทั้ง 3 ประเด็นนี้ก็คือปรัชญา สาขาอภิปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ ตามลาดับ ดัง จะได้ศึกษาต่อไป ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า สรรพวิทยาการสมัยโบราณรวมเข้าเป็นเนื้อหาของปรัชญา จนเนื้อหา ของปรัชญากรีกไม่มีขอบเขตจากัด เพราะครอบคลุมวิทยาการทุกสาขา ต่อมาเมื่อวิทยาการต่างๆ พัฒนาจน แยกเป็นวิชาอิสระ วิทยาการที่เหลืออยู่จึงเป็นเนื้อหาสาคัญของวิชาปรัชญาสมัยปัจจุบัน เนื้อหาแท้ๆที่ เหลืออยู่นั้นเรียกว่า “ปรัชญำบริสุทธิ์” (Pure Philosophy) ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 สาขาวิชา คือ อภิปรัชญำ (Metaphysics) ญำณวิทยำ (Epistemology) จริยศำสตร์ (Ethics) สุนทรียศำสตร์ (Aesthetics) และ ตรรกศำสตร์ (Logic) ซึ่งแต่ละสาขามีเนื้อหาดังต่อไปนี้
  • 11. 11 4.1) อภิปรัชญำ (Metaphysics) อภิปรัชญำ จัดเป็นสำขำที่เก่ำแก่ที่สุดของปรัชญำ ซึ่งทำกำรศึกษำว่ำ “ควำม จริงคืออะไร” จากความเข้าใจที่ว่าภาพที่ปรากฏแก่สายตาทุกวันเป็นปรากฏการณ์พื้นผิวที่ซ่อนความจริงไว้ เบื้องหลัง อภิปรัชญาจึงทาหน้าที่แยกประสบการณ์ออกจากความจริง แม่น้าที่เห็นว่านิ่ง แต่ในความจริง อาจจะกาลังไหลเชี่ยวในส่วนลึก ดังนั้นนักปรัชญาจึงสงสัยว่า โลกที่ปรากฏแก่สายตาเรานี้เป็นความจริงสูงสุด แล้วหรือ หรือว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์หน้าฉากที่มีความจริงสูงสุดซ่อนอยู่เบื้องหลัง นักปรัชญาตั้งสมมุติฐานว่ามีความจริงสูงสุดอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ธรรมชาติ แล้ว เริ่มศึกษากันว่า ความจริงสูงสุดนั้นคืออะไร ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ “ความจริง” นี้เอง เรียกว่า “อภิปรัชญา” เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว นักปรัชญาได้สอบสวนหาส่วนประกอบดั้งเดิมที่สุดของ จักรวาล สาระดั้งเดิมหรือปฐมธาตุนั้นเองที่เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล นักปรัชญาได้ค้นพบความจริงสูงสุด แตกต่างกันไป ซึ่งพอจะสรุปทัศนะได้ 3 กลุ่ม คือ 1. สสารนิยม (Materialism) ถือว่า ความจริงแท้ของจักรวาล คือ สสารหรือ พลังงาน ไม่ใช่จิต 2. จิตนิยม (Idealism) ถือว่า ความจริงสูงสุด คือ จิต สสารเป็นเพียงผลผลิตของจิต 3. ธรรมชาตินิยม (Naturalism) ถือว่า ความจริงแท้ของจักรวาล คือ สิ่งธรรมชาติ ที่ ดารงอยู่ในระบบอวกาศและเวลา และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและดับลงโดยสาเหตุ ซึ่ง เป็นแนวคิดที่ประนีประนอมระหว่างสสารนิยมและจิตนิยม 4.2) ญำณวิทยำ (Epistemology) ญำณวิทยำ คือ ทฤษฎีควำมรู้ (Theory of knowledge) ที่ศึกษำว่ำ เรำรู้ควำม จริงได้อย่ำงไร ดังนั้น ญาณวิทยาจึงสัมพันธ์กับอภิปรัชญา ญาณวิทยาตอบปัญหาว่าด้วยบ่อเกิดความรู้และ มาตรการตัดสินความถูกผิดของความรู้ นักปรัชญาตะวันตก กล่าวถึงที่มาและบ่อเกิดของความรู้ไว้ 3 ทาง คือ 1. ผัสสะ (Sensation) คือ ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การเห็น การได้ ยิน การได้กลิ่น การรู้รส และ การสัมผัส 2. เหตุผล (Reason) คือ ความรู้ที่เกิดจากการคิดตามหลักเหตุผลในใจ 3. อัชฌัติกญาณ (Intuition) คือ ความรู้ที่ผุดขึ้นในใจโดยตรง ถ้าเป็นความรู้จาก ญาณวิเศษ เรียกว่า การตรัสรู้ (Enlightenment) ถ้าเป็นความรู้ที่ได้จากการดลใจ ของพระเจ้า ก็เรียกว่า วิวรณ์ (Revealation) ปัญหาที่ตามมาก็คือว่า บ่อเกิดของความรู้ทางไหนเล่า จึงให้ความรู้ที่ถูกต้องตาม ความเป็นจริง ในเรื่องนี้นักปรัชญามีความเห็นแตกแยกกันเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1. ลัทธิประสบการณ์นิยม (Empiricism) ถือว่า ประสาทสัมผัสเป็นมาตรการตัดสิน ความจริง 2. ลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism) ถือว่า เหตุผลเป็นมาตรการตัดสินความจริง
  • 12. 12 3. ลัทธิอัชฌัตติกญาณนิยม (Intuitionism) ถือว่า อัชฌัตติกญาณ เป็นมาตรการ ตัดสินความจริง 4.3 ) จริยศำสตร์ (Ethics) จริยศำสตร์ เป็นสำขำที่ศึกษำเกี่ยวกับคุณค่ำของพฤติกรรมมนุษย์ทั้งที่มี ควำมสัมพันธ์ต่อตนเองและผู้อื่น โดยจะศึกษาว่า 1. อะไร คือ สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรแสวงหา อะไรควรเป็นอุดมคติของชีวิต? 2. อะไรคือเกณฑ์ตัดสินว่า สิ่งใดหรือการกระทาใด เป็นสิ่งที่ดี ชั่ว ถูก หรือผิด? 3. ความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด มีจริงหรือไม่ และมีอยู่อย่างไร? 4.4 ) สุนทรียศำสตร์ (Aesthetic) สุนทรียศำสตร์ คือ สำขำปรัชญำที่ว่ำด้วยควำมงำมและสิ่งที่งำมทั้งในงำน ศิลปะและในธรรมชำติ เช่น ศึกษาว่าความงามหรือคุณค่าทางสุนทรียะมีอยู่จริงหรือไม่ อย่างไร อะไรควร เป็นมาตรการตัดสินว่าสิ่งใดงามหรือไม่งาม ศิลปะคืออะไร และศิลปะควรเกี่ยวข้องกับศีลธรรมหรือไม่ เป็นต้น 4.5 ) ตรรกศำสตร์ (Logic) ตรรกศำสตร์ คือวิชำที่ว่ำด้วยกฎเกณฑ์กำรใช้เหตุผลอย่ำงถูกต้อง นักปรัชญา เป็นผู้คิดอย่างมีเหตุผล ดังนั้นตรรกศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือของนักปรัชญาเพื่อใช้ค้นคิดและพิสูจน์ความรู้ทาง ปรัชญา ซึ่งตรรกศาสตร์เป็นเรื่องของการใช้เหตุผลในภาษาโดยมีกฎเกณฑ์สาหรับตรวจสอบว่า การให้เหตุผล เช่นไรจึงจะสมเหตุสมผล และเช่นไรที่ไม่สมเหตุสมผล หรือ จุดบกพร่องในการใช้เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงเป็น เช่นใด เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่า นอกจากปรัชญาบริสุทธิ์ทั้ง 5 สาขานี้แล้ว นักปรัชญายังต้องการภาพรวมของ จักรวาล เขาจึงทาหน้าที่ของการรวบรวมผลการศึกษาของวิทยาการที่แยกเป็นวิชาอิสระไปแล้วเอามาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ กล่าวคือ วิทยำกำรแต่ละสำขำค้นคว้ำได้ผลสรุปอะไรออกมำ นักปรัชญำจะเก็บผล กำรศึกษำมำตีควำมและกำหนดค่ำ ยิ่งไปกว่ำนั้น หำกยังมีประเด็นอะไรที่วิทยำกำรเหล่ำนั้นหำ คำตอบไม่ได้ นักปรัชญำจะช่วยตั้งปัญหำและแสวงหำคำตอบเพื่อแนวทำงแห่งกำรขบคิดกันต่อไป ปรัชญำที่ทำหน้ำที่อย่ำงนี้ มีชื่อว่ำ “ปรัชญำประยุกต์” (Applied Philosophy) เนื่องเพราะนักปรัชญา นาเอาปรัชญาบริสุทธิ์ไปประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานสนับสนุนการสร้างแนวคิดเพื่อชีวิตและสังคม หรือ การศึกษา วิเคราะห์ผลสรุปของวิทยาการสาขาต่างๆ ดังนั้นปรัชญาประยุกต์จึงมีสาขามากมายตามจานวนวิทยาการและ กิจกรรมที่นักปรัชญาเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น ปรัชญาการศึกษา, ปรัชญาประวัติศาสตร์, ปรัชญาวิทยาศาสตร์, ปรัชญาการเมือง, ปรัชญาศาสนา, ปรัชญาจิต, ปรัชญาชีวิต เป็นต้น (พระราชวรมุนี, 2544: 11-16) 5. แนวทำงกำรศึกษำปรัชญำ 1. เรียนในแง่ที่วิชำปรัชญำเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศำสตร์โลก โดยให้ผู้เรียนสนใจและจดจาว่า ในแต่ละยุคนักปรัชญาสนใจปัญหาอะไร และได้แสดงความเห็นต่อปัญหาเหล่านั้นไว้อย่างไร ดังจะเห็นได้จาก วิวัฒนาการความคิดปรัชญาอย่างย่อ ดังต่อไปนี้
  • 13. 13 1) มนุษย์ดึกดาบรรพ์ เริ่มมีคาถามว่าภัยธรรมชาติมาจากไหนและ จะแก้ไขได้อย่างไร จนพบ คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางว่า ภัยธรรมชาติมาจากน้าพระทัยของเบื้องบน ซึ่งเป็นอานาจลึกลับใน ธรรมชาติ จะแก้ไขได้ก็ต้องเอาใจเบื้องบน เอาใจเบื้องบนได้สาเร็จจะมีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า 2) มนุษย์โบราณ เริ่มมีปัญหาว่า เราจะอธิบายเหตุการณ์ทั้งหลายในธรรมชาติ (รวมทั้งภัย ธรรมชาติด้วย) โดยไม่ต้องอ้างเบื้องบนจะได้ไหม คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ได้” โดยอ้างกฎ ธรรมชาติที่ตายตัว ไม่เข้าใครออกใคร เรามีความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้าได้โดยรู้และทาตามกฎธรรมชาติ 3) มนุษย์ยุคกลาง เริ่มมีปัญหาว่า เราจะมีความสุขสมบูรณ์แบบโดยอาศัยกฎธรรมชาติได้ หรือไม่ คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ไม่ได้” เพราะความสุขสมบูรณ์แบบและถาวรจะมีแต่ในโลก หน้าเท่านั้น เราจึงต้องสละความสุขไม่สมบูรณ์ในโลกนี้เพื่อแลกกับความสุขสมบูรณ์แบบในโลกหน้า 4) มนุษย์สมัยใหม่ เริ่มมีปัญหาว่า เราจะมีความสุขสมบูรณ์แบบในโลกนี้ไม่ได้เชียวหรือ คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ได้” โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์สาหรับค้นคว้าและแก้ปัญหาทุก อย่างของมนุษย์ 5) มนุษย์ปัจจุบัน เริ่มมีปัญหาว่า เราจะแก้ปัญหาที่เทคโนโลยีปัจจุบันสร้างสะสมไว้จนอาจจะ ทาลายทุกสิ่งทุกอย่างได้หรือไม่ คาตอบที่พอใจกันอย่างกว้างขวางก็คือ “ได้” โดยอาศัยปรัชญาโลกาภิวัตน์ที่ใช้ วิจารณญาณอย่างแท้จริง คือ วิเคราะห์ ประเมินค่า และสรุปสู่การปฏิบัติที่ไม่เข้าข้างตนเอง หรือเห็นแก่พวก เท่านั้น แต่เพื่อความสุขของทุกคนอย่างแท้จริงตามวิสัยของแต่ละคน (กีรติ, 2546: 65-66) จากวิวัฒนาการความคิดที่ยกมาข้างต้น จะเห็นว่า เป้ำหมำยของมนุษย์ทุกยุคทุก สมัยล้วนมุ่งสู่จุดเดียวกัน คือ หลีกเลี่ยงควำมทุกข์ แสวงหำควำมสุข ต่ำงกันที่ ปัญหำที่เห็นและคำตอบที่พอใจ และนี่เองเป็นหน้ำที่ของปรัชญำที่จะถำมและ ตอบเพื่อหำแนวทำงชีวิตที่ดีกว่ำ 2. เรียนในแง่ที่วิชำปรัชญำ คือเครื่องมือสำหรับกระตุ้นควำมคิด ฝึกคิดวิเคราะห์วิจารณ์เนื้อหา ปรัชญาสานักต่างๆ ดังคากล่าวของคุณวิจิตร เกิดวิสิษฐ์ ที่ว่า “ปรัชญา เป็น เรื่องของการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ หน้าที่ของมันก็คือ สอนให้รู้จักคิด รู้จัก พินิจพิเคราะห์ พิจารณาปัญหาในหลายๆ แง่มุม.....ปรัชญามิได้สอนให้จดจาคารมของเมธีใดๆ เราศึกษา ปรัชญาของคนอื่นก็เพื่อมาไตร่ตรอง และสร้าง “ปรัชญาของเรา” ขึ้นใหม่...เพื่อจะทาให้ตนเอง เป็นอิสระทาง ความคิดอย่างแท้จริง” และคากล่าวของอิมมานูเอล ค้านท์ ที่มีต่อลูกศิษย์ว่า “ท่านจะไม่ได้ศึกษาปรัชญาจากฉันหรอก....นอกจากให้รู้จักคิด ปรัชญาไม่ใช่การจดจาความคิด แต่ เป็นวิธีการคิด....จงคิดด้วยตนเอง แสวงหาปรัชญาให้แก่ตนเอง และยืนอยู่บนขาของตนเอง” 6. ประโยชน์และคุณค่ำของกำรศึกษำปรัชญำ (เรียนปรัชญำไปทำไม?) 1. เพื่อให้ผู้ศึกษา สามารถมองเห็นปัญหาที่ยังเป็นปัญหาอย่างกว้างๆ และมองเห็นคาตอบ ต่างๆที่เป็นไปได้ของสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้น
  • 14. 14 2. เพื่อให้ผู้ศึกษา รู้จักฝึกหัด การคิดวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุผลในเรื่องต่างๆ และรู้จักสงสัย และตั้งคาถามในเรื่องต่างๆได้อย่างมีเหตุผล ปรัชญาจะช่วยให้เราคิดได้เป็นระบบขึ้น การศึกษาแนวคิดของนัก ปรัชญาต่างๆ ที่มีต่อปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่าง ความเหมือน หรือความหลากหลาย สามารถที่ จะเป็นตัวชี้นาให้ผู้ที่สนใจ ศึกษา จัดระบบความคิดของตัวเองได้ แม้แต่ความไม่สมเหตุสมผลของความคิด ทางปรัชญาสมัยก่อน ทาให้ผู้ที่ศึกษามองเห็นและพยายามคิด จากจุดนี้จะค่อยๆ พัฒนาให้เพิ่มพูนสมรรถภาพ ในการคิดได้ (ศิริวรรณ, 2545: 11) 3. เพื่อให้ผู้ศึกษา รู้จักที่จะเป็นตัวของตัวเองในการคิดด้วยเหตุผล มีความเชื่อมั่นในการใช้ ศักยภาพทางความคิดด้วยเหตุผลของตนเองและกล้าที่จะแสดงออกมา 4. เพื่อให้ผู้ศึกษา ฝึกหัดเป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลของผู้อื่น แม้จะไม่ตรงกับทัศนะของตน 5.เพื่อให้ผู้ศึกษา สามารถนาเอาแง่คิดของปรัชญาในเรื่องต่างๆไปประยุกต์ใช้ในการ ดาเนินชีวิตหรือการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ในเรื่องนี้อาจกล่าวได้ว่า ความคิดกับการกระทา มักจะควบคู่กันเสมอ แนวทางการดาเนินชีวิตหลายๆทางที่น่าสนใจ และทาให้มนุษย์มี ความสุขได้มาจากนักปรัชญาหลายท่าน อย่างที่ใกล้ตัวที่สุด คือ เจ้าชายสิทธัตถะ หรือ พระพุทธเจ้าของเรา ก็เป็นนักปรัชญาคนหนึ่ง ความคิดของท่านถือเป็นหลักปฏิบัติของชาว พุทธทั่วโลก หรือหากเริ่มจากตัวเราเอง คงจะไม่มีใครปฏิเสธว่า แนวทางในการดาเนินชีวิตของเราจะมี “ปรัชญาชีวิต” เป็นแนวทางในการปฏิบัติ บางคนถือว่า “ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว” หรือบางคนอาจะถือว่า “ทาดีได้ ดีมีที่ไหน ทาชั่วได้ดีมีถมไป” ความเชื่อถือดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติตัวและแนวทางในการดาเนิน ชีวิตของแต่ละคน การศึกษาปรัชญาจะเพิ่มแนวความคิดไม่ให้แคบ ทาให้เราเข้าใจตัวเองได้ดีขึ้น เข้าใจโลก เข้าใจมนุษย์คนอื่นๆ และจะทาให้เราทราบว่า เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้สมกับความเป็นมนุษย์ (ศิริวรรณ, 2545: 11-12) และที่สาคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ ปรัชญาอาจจะช่วยให้เราสามารถค้นพบค้นพบ “จุดยืน” (โลกทัศน์) และ ความหมายของชีวิตตนเองได้ในที่สุด 6. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ศึกษา เข้าใจปัญหาและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและรู้วิธี แก้ปัญหา 7. ความรู้จากการศึกษาปรัชญาทั้งในแง่ขององค์ความรู้และวิธีการ สามารถเป็นกุญแจที่จะไข ไปสู่ความรู้ในศาสตร์สาขาอื่นๆได้ **อย่างไรก็ตาม วิธีที่น่าจะดีที่สุดที่จะบอกว่าเรียนปรัชญาแล้วได้ประโยชน์อะไร ก็คือ....... ลองถามตัวของคุณเองหลังจากได้เรียนปรัชญาอย่างตั้งใจแล้ว........ 7. “ปรัชญำ” กับกำรรู้จักและเข้ำใจมนุษย์ รวมทั้งควำมหมำยของชีวิต เป็นอย่างไรบ้างคะ จากที่ได้ศึกษาผ่านมา คุณพอจะรู้จักและสนิทกับ “ปรัชญา” มากขึ้นหรือ ยัง ถ้าจะให้ฉันสรุปให้คุณฟังอีกครั้ง ก็คงจะบอกผ่านข้อความที่ว่า....