SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 115
การใช้โปรแกรมกราฟิกส์
รหัส 2201-2419
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
หน่วยที่ 1 ทฤษีคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง
รูปกราฟต่าง ๆ เช่นกราฟแท่ง หรือกราฟเส้น เป็นต้น แต่
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (Computer Graphic) มิได้หมายถึงเพียงแต่
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงกราฟเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการใช้
คอมพิวเตอร์ในการทํางานเกี่ยวกับรูปภาพทุกรูปแบบ จากเทคนิค
การสร้างภาพหลากหลายวิธี แม้กระทั่งการนําตัวอักษรหลาย ๆ
แบบมาประกอบกันเป็นรูปภาพ ก็ถือว่าเป็นงานด้านกราฟิกส์ด้วย
เช่นกัน
ที่มาของคําว่า กราฟิก
 กราฟิกส์มาจากภาษากรีก คือ
Graphikos หมายถึง การวาดเขียนและการเขียนภาพ
Graphein หมายถึง การเขียน
ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG)
หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกส์โดย
ใช้คอมพิวเตอร์ (ซึ่งโดยมากจะเป็นการแสดงออกทาง
จอภาพ และเครื่องพิมพ์ชนิดต่างๆ)
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์กับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง
ๆ
1. คอมพิวเตอร์กราฟิกส์กับการออกแบบ
2. กราฟและแผนภาพ
3. ภาพศิลป์
4. ภาพเคลื่อนไหว
5. อิมเมจโปรเซสซิงค์
ประเภทของระบบกราฟิกส์
1. เท็กซ์โหมด (Text Mode)
2. กราฟิกส์โหมด (Graphic Mode)
เท็กซ์โหมด (Text Mode)
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะแสดงผลในโหมดนี้ได้ โดยการนํา
ตัวอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ ที่มีอยู่ในหน่วยความจําของ
คอมพิวเตอร์มาแสดงที่จอภาพตามคําสั่ง แต่เนื่องจากตัวอักษร
ตัวเลขและเครื่องหมายที่มีอยู่ ถูกกําหนดรูปร่างไว้แน่นอนแล้ว
และมีจํานวนจํากัด จึงไม่สามารถนํามาประกอบกันให้เกิดเป็นภาพ
ต่างๆ ที่ถูกต้องสวยงามได้เท่าที่ควร โดยผลลัพธ์ที่แสดงออกมาทาง
จอภาพนั้น จะมีลักษณะเป็นแถวของตัวอักษรจํานวน 25 แถว แต่ละ
แถวมีข้อความไม่เกิน 80 ตัวอักษร
กราฟิกส์โหมด (Graphic Mode)
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลเป็ นพิกเซลได้
จํานวนมาก จึงได้มีการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้สําหรับ
ควบคุมการแสดงผลที่จอภาพ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า ระบบกราฟิกส์
ระบบกราฟิกส์มีหลายชนิด เช่น ซีจีเอ (CGA) อีจีเอ (EGA) วีจีเอ
(VGA) เฮอร์คิวลีส (Hercules) ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการ
แสดงพิกเซลได้แตกต่างกันคือ ตั้งแต่ขนาด 320 x 200 พิกเซล ถึง
1024 x 786
รูปแบบของภาพ
รูปภาพกราฟิกส์โดยทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ
คือ
1. ภาพกราฟิกส์แบบราสเตอร์ (Raster)
2. ภาพกราฟิกส์แบบเวกเตอร์ (Vector)
หลักการทํางานของภาพกราฟิกส์แบบเรสเตอร์คือ การสร้างภาพโดยใช้จุดสีเล็ก ๆ จํานวนมากซึ่งเรียกว่า
พิกเซล (Pixcel) ภายในแต่ละพิกเซลจะมีองค์ประกอบที่ใช้ในการแสดง
สี รูปทรง รูปแบบไฟล์ เราเรียกองค์ประกอบของพิกเซลเหล่านี้ว่า บิต
(Bit) ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสวยงามกว่าภาพกราฟิกส์แบบ
เวกเตอร์ ทําให้เทคนิคการสร้างภาพแบบราสเตอร์นิยมนํามาใช้กับงาน
ภาพที่ต้องการความละเอียดมาก ๆ เช่น ภาพถ่าย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น
ตามมาก็คือเมื่อภาพมีความละเอียดมาก ๆ ขนาดของภาพจะใหญ่ตามไป
ด้วย ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิ กส์ประเภทราสเตอร์ เช่น Adobe
Photoshop, Fractal Design Painter, Paint Shop Pro, L-View เป็นต้น
หลักการทํางานของภาพกราฟิกส์แบบเวกเตอร์คือ การสร้างภาพโดยอาศัยการวาดเส้น และสร้างรูปทรง
ของภาพโดยการคํานวณจากจุด และสมการทางคณิตศาสตร์ ข้อดีคือ
ภาพเวกเตอร์จะมีความละเอียดในการแสดงสูงมาก ไม่ว่าจะย่อหรือขยาย
จะไม่ทําให้รูปภาพเพี้ยนไปจากเดิม แต่การแสดงผลจะช้ามากเมื่อเทียบ
กับภาพแบบราสเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกส์ประเภทเวกเตอร์ เช่น
Adobe Illustrator, Macromedia Freehand, Corel Draw, Light Wave,
Text3D, Maya, Macromedia Flash เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างกราฟิกส์แบบ 2 มิติ และ 3
มิติงานคอมพิวเเตอร์กราฟิกส์โดยทั่วไป สามารถสร้างภาพกราฟิกส์
ได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ กล่าวคือ ภาพกราฟิกส์ที่เป็น 2 มิติ นั้นจะ
สามารถแสดงผลได้เพียงมิติด้านกว้างและยาวเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับการ
วาดภาพบนกระดาษโดยทั่วไป ในขณะที่ภาพกราฟิกส์แบบ 3 มิติ นั้น
จะสามารถแสดงผลงานได้ทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึก ทําให้ภาพ
มีความน่าสนใจ และมีรายละเอียดของชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วย
ความละเอียดที่มีมากจึงส่งผลให้ขนาดของไฟล์ภาพประเภท 3 มิติ มี
ขนาดใหญ่ตามไปด้วย จึงจําเป็นต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มี
ประสิทธิภาพควบคู่ไปกับขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ๆ
ประเภทและคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิกส์ แบบเรสเตอร์
 .PSD
 .BMP
 .TIF
 .JPG
 .PNG
 .PCX Z
 .RAW
 แบบเวกเตอร์
 .SVG
 .DXF
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องาน
กราฟิกส์
ฮาร์ดแวร์ คุณสมบัติ
ซีพียู (CPU) ควรมีความเร็วอย่างน้อย 1 GHz
โดยอาจจะใช้ของอินเทลหรือเอเอ็มดี
ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของ
ผู้ใช้และงบประมาณ เพราะต่างก็มี
ข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป
เมนบอร์ด (Main board) ควรมีสล็อตแบบ AGP และสล็อต
แบบ PCI ตามมาตรฐานของ ATX
ไม่ควรใช้เมนบอร์ดที่มีการ Built-in
ที่รวมเอาชิปเซ็ตการ์ดแสดงผลและ
ซาวด์การ์ดไว้รวมกัน
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องาน
กราฟิกส์
ฮาร์ดแวร์ คุณสมบัติ
แรม (RAM) ควรมีขนาด 512 MB เป็นอย่างตํ่า
จอภาพ (Monitor) ควรมีขนาดเป็นอย่างตํ่า 17 นิ้ว และ
ใช้ความละเอียดที่ 1,024 x 768
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) มีขนาดอย่างน้อย 40 GB และใช้
ความเร็วแบบ 7,200 รอบ เพื่อช่วยให้
การทํางานเร็วมากขึ้น
การ์ดแสดงผล (Monitor Card) มีหน่วยความจําตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป
พิกเซล (Pixel)
เป็นคําย่อมาจาก Picture Element หรือองค์ประกอบของ
รูปภาพ คือ หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของ Bitmap Graphic รูปร่างของ
พิกเซลมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส และขนาดของพิกเซลขึ้นอยู่กับ
จํานวนพิกเซลที่ประกอบกันเป็นภาพนั้นขึ้นมา
ความละเอียดของภาพ (Image Resolution)
โดยปกติจะมีการวัดค่าความละเอียดของภาพ (Resolution)
เป็นจํานวนพิกเซลต่อนิ้ว ค่าตัวเลขของ Resolution นี้หมายถึง ใน
1 นิ้ว จะมีจํานวนพิเซลทั้งหมดเท่าไร ถ้าทราบขนาดความกว้างและ
ความยาวของภาพแล้ว ก็จะสามารถระบุได้ว่า มีจํานวนพิกเซลใน
ภาพทั้งหมดเท่าไร เช่น ถ้าภาพรูปหนึ่งมีขนาด 1 x 1 นิ้ว และมีค่า
Resolution 8 พิกเซลต่อนิ้ว แสดงว่าภาพรูปนี้มีจํานวนพิกเซล
ทั้งหมด 64 พิกเซล เป็นต้น
ความจุของสี (Color Capability)
ความจุของสี หมายถึง จํานวนบิตข้อมูลที่เก็บรายละเอียด
เกี่ยวกับสีของพิกเซลหนึ่ง ๆ โดยเป็นค่าจํานวนบิตที่มากที่สุดที่
พิกเซลอันนั้นเก็บได้ ใน Photoshop เรียกว่า Color Mode ซึ่ง
หมายถึง จํานวนบิตที่มากที่สุดที่สามารถบันทึกลงในไฟล์ได้
บิต (Bit)
ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง หน่วยความจําที่มีขนาดเล็กที่สุดของ
คอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยตัวเลข 2 จํานวน คือ 0 และ 1 โดยจํานวนบิตที่ใช้ในแต่
ละพิกเซล เรียกว่า ความลึกของบิต (Bit Depth)
จํานวนบิตเก็บข้อมูล
/ พิกเซล
สีที่ได้
1 บิต
2 บิต
4 บิต
8 บิต
24 บิต
21 = 2 สี
22 = 4 สี
24 = 16 สี
28 = 256 สี
224 = 16.7 ล้านสี
ระบบสี (Color Model)ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการ
แสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมี
ลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย
บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดํา" หากสีทุกสี
แสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สี
ขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่
มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การ
แสดงสี
การผสมกันของแม่สีทั้งสาม1. ถ้าแม่สีมีค่าเท่ากัน มาผสมกันเป็นคู่ จะได้ผลดังนี้
2. ถ้าแม่สีมีค่าเท่ากัน มาผสมทั้ง 3 สี จะได้ผลดังนี้
3. ถ้าแม่สีมีค่าไม่เท่ากัน ผสมกัน จะได้สีต่างๆ กันไป เช่น
หน่วยที่ 2
พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe Photoshop
ความสามารถใหม่ของ Adobe PhotoshopCS5
1. Complex selections สามารถสร้าง selection ได้ง่ายและทําได้มากขึ้น เมื่อต้องทํากับภาพที่
ซับซ้อน เช่น ภาพเส้นผมที่ต้องการเปลี่ยนสีแบ็คกราวด์ สามารถทําได้โดยอัตโนมัติด้วยเครื่องมือ
selection edges และ สร้าง masks ด้วย new refinement tools
2. Content-Aware Fill เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายบางส่วนของภาพหรือวัตถุในภาพ คําสั่งนี้จะช่วย
เกลี่ยพื้นที่ที่วัตถุถูกยกออก ด้วยการจัดการแสง เงา และสิ่งรบกวนต่างๆ ให้ภาพดูแนบเนียนอย่าง
กลมกลืนกันมาก
3. Extraordinary painting effects n สามารถใช้Mixer Brush ในการลงสีได้อย่างเป็นธรรมชาติ ให้
ความรู้สึกเหมือนกับกําลังวาดภาพบนผืนผ้าใบเสมือนจริง และ Bristle Tips จะช่วยในเรื่องเลือก
พื้นผิวและการลงนํ้าหนัก
ความสามารถใหม่ของ Adobe PhotoshopCS5
4. 3D extrusions with Adobe Repousse สร้างโลโก้ในรูปแบบ 3D และอาร์ตเวิร์คที่มีหลาย text
layer, selection, path หรือ layer mask ได้ด้วย Adobe Repousse ที่ทําได้ทั้งบิด หมุน นูน
เอียง ช่วยเรื่องออกแบบได้มากขึ้น
5. Puppet Warp คําสั่งนี้เมื่อกําหนดจุดในตําแหน่งที่เหมาะสม ช่วยขยับส่วนที่ต้องการในรูปได้
เช่น การยกแขน
6. State-of-the-art raw image processing เมื่อใช้ plug-inAdobe Photoshop Camera Raw 6 จะช่วย
กําจัดสิ่งรบกวนต่างๆ แต่ยังคงรักษาสีและรายละเอียด เพิ่มเกรนให้ภาพดูเป็นออร์แกนิคมาก
ขึ้น ตกแต่งขอบภาพได้ง่ายขึ้น
7. Superior HDR imaging สร้างภาพเหนือจริงประเภท HDR ได้ง่ายขึ้น ด้วย tone mapping และ
adjustments แม้จะเป็นภาพ single-exposure ก็ตาม
ความสามารถใหม่ของ Adobe PhotoshopCS5
8. Enhanced 3D realism and rich materials พัฒนาการออกแบบและสร้างเงาในงาน
3D ได้ง่ายขึ้น ด้วยพื้นฐานของแสงและวัตถุเหมือนแก้วและโลหะ จําแนก
ความแตกต่างระหว่างจุดโฟกัสใน 3D ได้ด้วยการปรับระยะของ depth of field
9. Efficient workflow มีเครื่องมือใหม่ๆ ช่วยในการทํางานไม่ตํ่ากว่า 12 ชนิด ที่
ใช้ได้โดยอัตโนมัติ เช่น การเลือกสีจาก onscreen การปรับ opacity จาก
หลายเลเยอร์ในครั้งเดียว และอื่นๆ อีกมากมาย
ความสามารถใหม่ของ Adobe PhotoshopCS5
10. Faster performance across platforms ทํางานด้วยความเร็วที่มากขึ้นในการ
จัดการภาพจํานวนมากและภาพที่ใหญ่มากๆ ในแพลตฟอร์มที่ 64-bitสําหรับ
คอมพิวเตอร์ Mac OS 64-bit และ Windows7 หรือ Windows Vista ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับ RAM, ไดรฟเวอร์ และปัจจัยอื่นๆ ด้วย
11. Better media management ง่ายและยืดหยุ่นในการจัดการและส่งต่อไปยังสื่อ
ต่างๆ โดยผ่านทาง Adobe Mini Bridge ใน Photoshop
องค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรม
Menu Bar Options Bar
Toolbox
Panel
Application Bar
ตัวอย่าง เครื่องมือที่น่าสนใจ
Marquee Tool
เป็นการเลือกแบบ
สี่เหลี่ยมผืนผ้า,วงกลม
, แถวขนาด 1 พิกเซลส์
หรือคอลัมน์ 1 พิกเซลส์
Move Tool
ใช้เพื่อเลื่อนส่วนที่เลือก
หรือไว้เลื่อน Layer และ
Guide ต่างๆ
Lasso Tool
จะใช้เพื่อสร้าง
Selection แบบอิสระ,
แบบ Polygonal (ตาม
จุดที่คลิก) และ
Magnetic (ดึงเข้าหา
ขอบรูปภาพ)
Magic Wand Tool
ใช้เลือกพื้นที่บริเวณที่มี
สีเดียวกัน
ตัวอย่าง เครื่องมือที่น่าสนใจ
Crop Tool
ใช้ในการเลือก
บางส่วนของรูปภาพ
Slice Tool
ใช้ในการสร้าง Slice
Slice Selection Tool
ใช้เลือก Slice ที่คุณ
สร้างขึ้นมา
Healing Brush Tool
ใช้ในการระบายสี เพื่อ
ซ่อมแซมรูปภาพให้
สมบูรณ์แบบ
พาเลท
คือ ที่รวบรวมคุณสมบัติการทํางานของเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งสามารถ
ปรับแต่งการใช้งานได้โดยง่าย โดยไม่ต้องเปิดหาที่แถบคําสั่งอีกต่อไป
ทั้งนี้พาเลทแต่ละชนิดมีคุณลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น พาเลท
Color พาเลท Navigator พาเลท Layers พาเลท History เป็นต้น
การเคลื่อนย้ายพาเลตต์
1. คลิกเมาส์ค้างไว้บนแท็บของพาเลทที่ต้องการ
2. แดรกเมาส์ลากพาเลทนั้นไปยังตําแหน่งที่ต้องการ
3. สังเกตผลลัพธ์ พาเลทนั้นจะเคลื่อนย้ายไปยังตําแหน่งที่
ต้องการ
การบันทึก Workspace ไว้ใช้งาน
Workspace คือ พื้นที่ในการทํางานของโปรแกรม Photoshop โดยเมื่อทํา
การปรับแต่งพาเลทตามความต้องการแล้ว ผู้ใช้สามารถบันทึกการจัดวาง
ตําแหน่งของพาเลทไว้ใช้ในครั้งต่อไปได้ โดยมีวิธีการดังนี้
1. จัดรูปแบบพาเลทการทํางานตามความต้องการ
2. คลิกเมนู Windows > Workspace > Save Workspace…
3. หน้าต่าง Workspace จะปรากฏขึ้น จากนั้นให้พิมพ์ชื่อ Workspace ที่
ต้องการ เสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Save
การสร้างไฟล์ใหม่
การเปิดไฟล์ภาพ
การย่อ-ขยายภาพ
คลิกไอคอน ZoomTool ที่อยู่ใน Toolbox
การย่อ-ขยายขนาดของรูปภาพ
1. จากภาพที่ลากมาวางไว้ในไฟล์ที่สร้างไว้ ให้
คลิกเมนู Edit > Free Transform จะ
สังเกตได้ว่า ที่ รูปภาพจะมีกรอบสี่เหลี่ยม
เล็กๆเกิดขึ้น
2. เลื่อนเมาส์ไปบริเวณจุดสี่เหลี่ยมด้านล่างขวา
ของภาพจนเกิดเป็นรูปลูกศร
3. แดรกเมาส์ย่อหรือขยายภาพตามความต้องการ
การคัดลอกรูปภาพ (Copy)
1. กดปุ่ม <Ctrl> ที่เลเยอร์ของรูปภาพ สังเกตรูปภาพจะมีเส้นปะ
เกิดขึ้นล้อมรอบรูปภาพนั้น
2. คลิกเมนู Edit > Copy เพื่อคัดลอกรูปภาพ
3. คลิกเมนู Edit > Paste เพื่อวางรูปภาพที่คัดลอกไว้
4. สังเกตจะมีเลเยอร์ของรูปภาพที่คัดลอกเพิ่มมาอีก 1 เลเยอร์
5. ทดลองแดรกเมาส์ลากภาพเพื่อจัดวางในตําแหน่งที่ต้องการ
การบันทึกไฟล์รูปภาพ (Save)
 *.PSD (Photoshop File) เป็นไฟล์พื้นฐานของโปรแกรม Photoshop สามารถจัดเก็บการทํางาน
แบบเลเยอร์ไว้ได้ ซึ่งทําให้เกิดข้อดี คือ สามารถนําไฟล์ชิ้นงานที่สร้างไว้มาปรับปรุงแก้ไขได้
ตลอดเวลา
 *.BMP (Bitmap File) เป็นไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ Windows มีความละเอียดของ
ภาพสูงมาก
 *.TIF (Tagged Image File) เป็นไฟล์ที่สามารถเก็บรายละเอียดของงานได้สูงมาก ใช้ได้ทั้งใน
เครื่อง PC และเครื่อง MAC ส่วนใหญ่ใช้ในงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ เช่น PageMaker หรือ
QuarkXpress เป็นต้น
 *.GIF (Graphic Interchange File) เป็นไฟล์ที่ใช้กันมากในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี
ความสามารถในการบีบอัดข้อมูลไว้ได้มาก เหมาะกับภาพแบบลายเส้น หรือแบบเวคเตอร์
 *.JPG (Joint Photographic Experts Group) เป็นไฟล์ที่สามารถบีบอัดข้อมูลไว้ได้มากอีกชนิด
หนึ่ง นิยมใช้กับภาพที่มีรายละเอียดมาก ๆ และเหมาะกับงานทางด้านการจัดทําเว็บไซต์เนื่องจาก
ไฟล์มีขนาดเล็ก
ความละเอียดของภาพ (Resolution)
Resolution คือ ค่าความละเอียดของไฟล์ภาพหนึ่ง ๆ ซึ่ง
กําหนดเป็นจํานวนเม็ดสี (pixels) ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของ
ภาพ ตัวอย่างเช่น หากภาพนั้นมีค่า Resolution = 100
pixels/inches แสดงว่าในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของภาพนั้น
ประกอบด้วยเม็ดสีจํานวน 100 เม็ดสี เป็นต้น
หน่วยที่ 3
การเทสีและการสร้าง Background
การเทสีและการสร้าง Background
การสร้างพื้นหลัง หรือการกําหนด Background ของภาพ มีเทคนิค
การสร้างได้หลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้งาน
สําหรับโปรแกรม Photoshop CS สามารถใช้งานสีได้ถึง 2 สีพร้อม ๆกัน
โดยสามารถคลิกเลือกสีเก็บไว้เพื่อความสะดวกในการสลับการใช้งาน ซึ่ง
เรียกสีแรกที่ปรากฏในการทํางานต่าง ๆ เช่น การระบายสีว่า “สีโฟร์
กราวน์” (Foreground Color) และสีที่ 2 ที่เก็บไว้ใช้ว่า “สีแบ็คกราวน์”
(Background)
การเทสีและการสร้าง Background
Foreground Color คลิกเพื่อสลับสี
Background Color
∆ แสดงการใช้งานสีโฟร์กราวน์ และสีแบ็คกราวน์
การกําหนดสีโดยใช้คีย์ลัด
1. กดปุ่ม <Alt + Delete> เพื่อเปลี่ยนสีของ Foreground
2. กดปุ่ม <Ctrl + Delete> เพื่อเปลี่ยนสีของ Background
การไล่เฉดสีด้วย Gradient Tool
Linear Gradient Redial Gradient Angle Gradient
Reflected Gradient Diamond Gradient
การใช้ Brush Tool
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการระบายสี มี
ลักษณะคล้ายกับพู่กันสามารถเปลี่ยนขนาด
และลักษณะของหัวแปรงได้ ผู้ใช้สามารถ
นํามาตกแต่งแบ็คกราวน์ให้ดูสวยงามหรือมี
ลักษณะพิเศษตามที่ต้องการได้ การใช้
Brush Tool มีขั้นตอนดังนี้
การกําหนดสีโดยใช้ Paint Bucket Tool
 Paint Bucket Tool เป็นเครื่องมือที่ใช้ใน
การเปลี่ยนสีโดยอาศัยค่าสีที่ใกล้เคียงกัน
เช่น ถ้าคลิกเลือกสีเหลืองเพื่อเทสีลงใน
บริเวณสีส้ม สีที่เคยเป็นสีส้ม
การใช้ Pencil Tool
คือ เครื่องมือการตกแต่งภาพหรือพื้น
หลังของภาพชนิดหนึ่ง มีลักษณะการทํางาน
คล้ายกับการใช้ Brush Tool เพียงแต่
ลักษณะของเส้นจะแตกต่างกัน กล่าวคือ
Pencil Tool จะมีขอบเส้นที่คมและชัดเจน
ส่วน Brush Tool จะมีขอบเส้นที่เบลอ
การใช้ Custom Shape Tool
 Custom Shape Tool เป็น
เครื่องมือที่ช่วยในการตกแต่ง
ภาพให้มีความสวยงามมาก
ยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถเลือก
สัญลักษณ์ต่างๆจาก Custom
Shape Tool จากขั้นตอนง่าย ๆ
ดังนี้
ตัวอย่าง Shape Tool
หน่วยที่ 4 การเลือกพื้นที่ในการทํางาน
การเลือกพื้นที่ในการทํางาน (Selcect)
 การเลือกพื้นที่การทํางาน เป็นการกําหนดขอบเขตพื้นที่การทํางานบน
รูปภาพหรือชิ้นงานที่ต้องการทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คัดลอก ลบ
หรือแก้ไข เป็นต้น ซึ่งการเลือกพื้นที่การทํางานถือว่าเป็นสิ่งที่สําคัญ
เพราะไม่ว่าจะทําอะไรเกี่ยวกับภาพก็จําเป็นต้องทําการเลือกพื้นที่การ
ทํางานเสียก่อน ซึ่งการเลือกพื้นที่การทํางานสามารถทําได้หลายวิธี
คําสั่งพื้นฐานของ Selection
 All กําหนดพื้นที่ Selection โดยใช้พื้นที่ของรูปภาพทั้งหมด
 Deselect ยกเลิกการกําหนดพื้นที่ Selection
 Reselect ย้อนกลับไปกําหนดพื้นที่ Selection หลังจากได้ยกเลิกไป
 Inverse เป็นการเปลี่ยนพื้นที่ของ Selection จากที่กําหนดไว้ให้เป็น
พื้นที่ตรงข้าม
การเลือกพื้นที่การทํางานด้วย Marquee Tool
 Rectangular Marquee Tool กําหนดขอบเขตพื้นที่แบบสี่เหลี่ยม
 Elliptical Marquee Tool กําหนดขอบเขตพื้นที่แบบวงกลมหรือวงรี
 Single Row Marquee Tool กําหนดขอบเขตพื้นที่แบบเส้นตรงใน
แนวนอน
 Single Column Marquee Tool กําหนดขอบเขตพื้นที่แบบเส้นตรงใน
แนวตั้ง
วิธีการเลือกพื้นที่
1. คลิกเมนู File > Open… เพื่อเปิดไฟล์ภาพที่ต้องการ
2. คลิกเลือกเครื่องมือแบบ Rectangular Marquee Tool
3. แดรกเมาส์ล้อมรอบบริเวณที่ต้องการเลือกพื้นที่
4. หลักจากนั้นถ้าต้องการทํางานอย่างใดอย่างหนึ่งกับพื้นที่ที่เลือกไว้ก็
สามารถดําเนินการได้ทันที
ตัวอย่างการใช้เครื่องมือเลือกพื้นที่
การปรับเปลี่ยนพื้นที่ของการเลือก
 บางครั้งการวางตําแหน่งการเลือกพื้นที่การทํางานอาจไม่ได้ขนาดของ
พื้นที่ตรงตามความต้องการ ผู้ใช้จึงสามารถยกเลิกการเลือกพื้นที่จากเมนู
Select > Deselect ได้ ซึ่งถ้าต้องยกเลิกอยู่บ่อยครั้งก็ทําให้เสียเวลามาก
พอสมควร ดังนั้นการขยายหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ของการเลือกจะช่วยให้
การทํางานมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น การปรับเปลี่ยนพื้นที่ของ
การเลือกสามารถทําได้ดังนี้
การใช้ Transform เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ Selection
 คลิกที่เมนูคําสั่ง Edit ที่แถบ Menu bar จากนั้นเลือกคําสั่ง Transform
 Again กลับสู่รูปแบบเดิมก่อนหน้านี้ 1 ขั้น
 Scale ปรับเปลี่ยนแบบ Scale ตามแนวตั้ง แนวนอนและแนวทแยง
 Rotate หมุนพื้นที่ที่เลือก
 Skew ปิดเกลียวพื้นที่เลือก
 Distort การบิดเบือนพื้นที่เลือก
 Perspective ปรับขนาดของพื้นที่เลือกให้มีลักษณะการมองแบบ
Perspective (แบบมีมิติ ความกว้าง ความยาว ความลึก)
การกําหนดค่า Feather
 ภายหลังจากการกําหนดพื้นที่การเลือกเรียบร้อยแล้ว จะพบว่า
เส้นขอบของภาพที่เกิดจากการเลือกมีลักษณะขอบคม ใน
บางครั้งเพื่อให้เส้นขอบดูสวยงามมากยิ่งขึ้นก็อาจใช้คุณสมบัติ
ของ Feather ซึ่งจะทําให้เส้นขอบกลายเป็นขอบฟุ้งขึ้นมาได้
การเลือกพื้นที่การทํางานด้วย Lasso Tool
 คือ เครื่องมือที่ใช้เลือกพื้นที่การทํางานแบบอิสระ กล่าวคือ ผู้ใช้
สามารถแดรกเมาส์เลือกพื้นที่การทํางานเป็นรูปอะไรก็ได้ทั้งนี้ ผู้ใช้
จะต้องอาศัยความชํานาญในการใช้เมาส์บังคับขอบเขตพื้นที่การ
ทํางานที่ต้องการ
การเลือกพื้นที่การทํางานด้วย Magnetic Lasso Tool
 คือ เครื่องมือการเลือกแบบอิสระ โดยจะเลือกพื้นที่ขอบเขตการ
ทํางานบริเวณที่มีจุดตัดกันของสีในภาพ มีลักษณะคล้ายแม่เหล็กโดย
จะดูดเข้าหาตําแหน่งขอบสีที่เลือกไว้ ดังนั้น เครื่องมือการเลือกแบบ
นี้จึงไม่เหมาะกับภาพที่มีสีใกล้เคียงกันมาก เพราะขอบเขตการเลือก
พื้นที่ที่ได้จะไม่สามารถกําหนดได้ตามความต้องการ
การเลือกพื้นที่การทํางานด้วย Magic Wand Tool
 คือ เครื่องมือการเลือกแบบอิสระ โดยจะเลือก
พื้นที่ขอบเขตการทํางานบริเวณที่มีสีใกล้เคียง
กัน เหมาะกับการเลือกพื้นที่ของภาพที่มีสี
แตกต่างกัน มีขั้นตอนการเลือกดังนี้
หน่วยที่ 5 การประดิษฐ์ตัวอักษร
การประดิษฐ์ตัวอักษร
ตัวอักษรที่ใช้งานในโปรแกรม Adobe Photoshop สามารถแบ่ง
ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ตัวอักษรที่สามารถปรับขนาดได้ (Outline Type)
และตัวอักษรที่ไม่สามารถปรับขนาดได้ (Bitmap Type) ซึ่งตัวอักษรแต่ละ
ประเภทเหล่านี้มีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน
ตัวอักษรแบบปรับขนาดได้ (Outline Type) หรือ
แบบเวคเตอร์ (Vector Type)
 ตัวอักษรแบบปรับขนาดได้(Outline Type) นั้นมีการจัดเก็บข้อมูล
ในลักษณะของการประมวลผลแบบสูตรคณิตศาสตร์ ทําให้
ตัวอักษรที่ได้คมชัด ไม่มีรอยหยัก สามารถปรับเปลี่ยนฟอนต์หรือ
ขนาดของตัวอักษรได้ตลอดเวลา แต่ข้อเสียที่สําคัญคือไม่สามารถ
นําตัวอักษรประเภทนี้ไปใช้งานร่วมกับฟิลเตอร์ (Filter) ได้
ตัวอักษรแบบปรับขนาดไม่ได้ (Bitmap Type)
 ตัวอักษรแบบปรับขนาดไม่ได้ (Bitmap Type) นั้น มีการจัดเก็บ
ข้อมูลในลักษณะของจุดพิกเซลเล็ก ๆ เรียงต่อๆ กัน ดังนั้นเมื่อมี
การย่อหรือขยายตัวอักษรจะทําให้เกิดรอยหยัก หรือตัวอักษรไม่
คมชัด และไม่สามารถแก้ไข ข้ออความได้เหมือนกับตัวอักษร
แบบปรับขนาดได้ แต่ตัวอักษรประเภทนี้ก็สามารถใช้งานร่วมกับ
ฟิลเตอร์ได้
เครื่องมือการสร้างตัวอักษร
> Horizontal Type Tool คือ เครื่องมือการสร้างตัวอักษรแบบแนวนอน
> Vertical Type Tool คือ เครื่องมือการสร้างตัวอักษรแบบแนวตั้ง
> Horizontal Type Mask Tool คือ เครื่องมือการสร้าง Select ที่ตัวอักษรในแนวนอน
> Vertical Type Mask Tool 1 คือ เครื่องมือการสร้าง Select ที่ตัวอักษรในแนวตั้ง
รูปแบบการสร้างตัวอักษร
1. ข้อความแบบ Point Type คือ ข้อความที่มีขนาดสั้นหรือมีตัวอักษรเพียง
1 บรรทัด แต่ละบรรทัดเป็นอิสระต่อกัน โดยความยาวของตัวอักษร
ขึ้นอยู่กับตัวอักษรที่พิมพ์
2. ข้อความแบบ Paragraph Type คือ ข้อความที่มีความยาวหลายบรรทัด
โดยข้อความทั้งหมดจะอยู่ในขอบเขตเดียวกัน
ตัวอย่างรูปแบบข้อความ
ตัวอย่างข้อความแบบ Point Type ตัวอย่างข้อความแบบ Paragraph Type
การใช้ตัวอักษรแบบปรับขนาดได้ (Outline Type)
 การใช้ตัวอักษรแบบ Outline Type แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
ตัวอักษรแบบแนวนอน (Horizontal Type Tool) และตัวอักษรแบบ
แนวตั้ง (Vertical Type Tool) ซึ่งการสร้างตัวอักษรแต่ละแบบ
เหล่านี้ โปรแกรมจะทําการสร้าง เลเยอร์ขึ้นมาใหม่โดย
อัตโนมัติทันที และใช้ในการบรรจุตัวอักษรหรือข้อความได้เท่านั้น
ตัวอย่างการใช้Layer Style
การใช้ตัวอักษรแบบปรับขนาดไม่ได้ (Bitmap Type)
 การสร้างตัวอักษรแบบ Bitmap Type นั้น โปรแกรมจะสร้าง
ตัวอักษรขึ้นมาในรูปของ Selection ซึ่งสามารถทําได้ทั้งในแนวตั้ง
และแนวนอน นอกจากนั้นยังสามารถตกแต่งข้อความได้ แต่ไม่
สามารถแก้ไขข้อความได้
ตัวอย่าง Warp Text
ตัวอย่างการตกแต่งตัวอักษรโดยใช้รูปภาพ
ตัวอย่างการใช้ข้อความกับรูปภาพ
หน่วยที่ 6
พาเลตต์เลเยอร์ (Palette Layer)
ความหมายของเลเยอร์ (Layer)
 เลเยอร์เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของ
การทํางานกับโปรแกรมกราฟฟิ กส์
หลักการทํางานพื้นฐานเหมือนกับการวาง
แผ่นใสซ้อนทับกันไปเรื่อย ๆ จนเกิดเป็น
ภาพกราฟิกส์ที่สมบูรณ์
แสดงองค์ประกอบของพาเลทเลเยอร์
BlendingOption (แต่งสีภาพ)
แสดงการซ่อนเลเยอร์
ปรับค่าความโปร่งใส
เลเยอร์ที่ถูกเลือกให้ทํางาน
เลเยอร์ Background
ในการสร้างไฟล์ใหม่หรือเปิ ดภาพขึ้นมาทุกครั้งจะสังเกตได้ว่า
โปรแกรมจะสร้างเลเยอร์ขึ้นมา 1 เลเยอร์โดยอัตโนมัติเสมอ โดยเลเยอร์
นั้นเรียกว่า “เลเยอร์ Background”
การปรับค่าความโปร่งใส (Opacity) ให้กับเลเยอร์
 ที่พาเลทเลเยอร์มีเครื่องมือพิเศษที่ช่วยในการปรับค่าความโปร่งใส (Opacity)
ให้กับเลเยอร์แต่ละเลเยอร์ได้ เพื่อช่วยให้ภาพที่ได้มีจุดเน้น หรือคุณลักษณะพิเศษ
เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้ โดยถ้าค่า Opacity มีค่ามาก ความโปร่งใส
ของเลเยอร์นั้นก็จะยิ่งมีค่ามากตามไปด้วย
การเพิ่มเลเยอร์
การคัดลอกเลเยอร์
การใช้ Layer Mask
 ในการใช้ภาพจากเลเยอร์ร่วมกันบางครั้งอาจทําให้ภาพอีกเลเยอร์หนึ่ง
ซ้อนทับหรือบังภาพอีกเลเยอร์หนึ่ง ดังนั้นถ้าต้องการให้ทั้ง 2 เลเยอร์ไม่
ซ้อนทับกันก็อาจใช้วิธีลบภาพบนเลเยอร์บางส่วนทิ้งไป ซึ่งจะทําให้ภาพ
ต้นฉบับเสียหายตามไปด้วย ดังนั้นการใช้ Layer Mask จะช่วยทําให้ภาพ
ไม่ซ้อนทับกันและภาพต้นฉบับยังคงเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร
การใช้ Blending Option
 Blending เป็นเครื่องมือผสมสีของภาพชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ที่พาเลท Layer ทํา
ให้สีของภาพที่ได้มีลักษณะแตกต่างออกไปจากเดิม
หน่วยที่ 7 การปรับแต่งสีของภาพถ่าย
การปรับภาพสีให้เป็นภาพขาวดํา
ภาพสีแต่ละภาพสามารถเปลี่ยนเป็นภาพขาวดําได้จากเมนู
Image > Mode > Grayscale โดยมีขั้นตอนดังนี้
ตัวอย่าง
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพที่เปลี่ยนเป็นโหมด Grayscale
การปรับภาพขาวดําให้เป็นแบบทูโทน
 ภาพทูโทน หรือภาพที่มี 2 สี เป็นภาพที่มีลักษณะแปลกใหม่ไปจากเดิม
โดยภาพที่จะสามารถนํามาตกแต่งให้เป็นแบบทูโทนนั้น จะต้องแปลงให้
อยู่ในรูปของภาพแบบขาวดํา (Grayscale) เสียก่อน
ตัวอย่าง
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพที่เปลี่ยนเป็นโหมด Grayscale
ตัวอย่าง
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพที่เปลี่ยนเป็นโหมด Duotone
การปรับแสงสว่างให้กับภาพ
 การถ่ายภาพบางครั้งรูปภาพที่ได้จะมืดเนื่องจากความสว่างไม่เพียงพอใน
ขณะที่ถ่ายภาพนั้น ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือ Protoshop ปรับค่าแสง
สว่างของภาพได้จากเมนู Image > Adjustments…
ตัวอย่าง
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพที่ปรับ Auto Levels
∆ ภาพปกติ ∆ Auto Contrast ∆ Auto Color
การปรับโทนสีด้วย Curves
ตัวอย่าง
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพหลังปรับด้วย Curves
การแทนที่สีเดิมด้วยสีใหม่ที่ต้องการด้วย Replace Color
∆ ภาพต้นฉบับ
∆ ภาพหลังปรับด้วย Replace Color
หน่วยที่ 8 การตกแต่งภาพถ่าย
การตกแต่งภาพถ่าย
 การตกแต่งภาพถ่ายนับได้ว่าโปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมที่ได้รับ
ความนิยมมากที่สุดโปรแกรมหนึ่ง เนื่องจากมีความสามารถหลากหลาย
และมีเครื่องมือช่วยเหลือให้การทํางานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว
ซึ่งการ ตกแต่งภาพถ่ายที่มีการใช้งานกันมากได้แก่ การลบริ้วรอย การ
ปรับความคมชัด การปรับสีผิว และการโคลนนิ่งภาพเป็นต้น ดังนั้นใน
บทเรียนนี้จะกล่าวถึงการตกแต่งภาพถ่ายอย่างง่าย
การลบจุดตําหนิบางจุดบนภาพถ่าย Healing Brush Tool
 Brush Tool ซึ่งสามารถลบรอยด่างดําหรือจุดตําหนิ
บนภาพให้มีความสวยงามขึ้นได้ โดยการนําสี
บริเวณที่ใกล้เคียงมาปิดบังส่วนที่ต้องการทําให้
หายไป
การลบจุดตําหนิด้วย Stamp Tool
 Stamp Tool เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ลบจุด
ตําหนิหรือริ้วรอยรุ่นแรก ๆ โดยอาศัยหลักการ
ขั้นพื้นฐานคือการคัดลอกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งบน
ภาพมาวางทับบนพื้นที่อีกจุดหนึ่งบนภาพ
การลบจุดตําหนิด้วย Spot Healing Brush
 Spot Healing Brush เป็นเครื่องมือลบรอยตําหนิแบบพิเศษที่เพิ่ม
เข้ามาใน CS2 ช่วยให้การทํางานสะดวกไม่ยุ่งยากเหมือนกับ
Stamp หรือ Healing Brush กล่าวคือ เพียงแค่คลิกเลือก Spot
Healing Brush แล้วนํามาคลิกบริเวณจุดที่มีรอยตําหนิเท่านั้น
โปรแกรมก็จะจัดการเกลี่ยพื้นสีและลบรอยตําหนิให้โดย
อัตโนมัติ
ตัวอย่าง
การลบตาแดงด้วย Red Eye Tool
 ในการถ่ายภาพบางครั้งจะพบว่า ปัญหากวนใจที่พบมากปัญหาหนึ่ง
คือภาพตาแดงซึ่งเกิดจากแสงสะท้อน ดังนั้นโปรแกรม
Photoshop จึงพัฒนาเครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหาตาแดงโดยใช้ Red
Eye Tool
ตัวอย่าง
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพหลังปรับแต่ง
การสร้างความโดดเด่นให้กับภาพ
 ถ้าต้องการตกแต่งให้ภาพบางส่วนมีความ
โดดเด่นมากยิ่งขึ้น สามารถทําได้โดยอาศัย
เครื่องมือ Blur Tool
∆ ภาพต้นฉบับ ∆ ภาพหลังปรับแต่ง
การเพิ่มพื้นที่สว่างให้กับภาพ
 จากการถ่ายภาพบางครั้งบางส่วนของภาพมีจุดมืด
บางจุดทําให้ภาพไม่สวยงาม สามารถแก้ไขได้
โดยอาศัยเครื่องมือ Dodge Tool
∆ ภาพขณะดําเนินการ ∆ ภาพหลังปรับแต่ง
การเปลี่ยนฉากหลังของภาพ
การตกแต่งภาพโดยใช้ Filter
 ฟิลเตอร์ (Filter) คือการตกแต่งภาพด้วยเทคนิคพิเศษ ที่สามารถ
ปรับเปลี่ยนรูปแบบของภาพตามความต้องการของงาน
ตัวอย่าง Filter ที่น่าสนใจ
การปรับขนาดของภาพ (Image Size)
 Image Size คือการ ลด/
ข ย า ย รู ป ภ า พ โ ด ย
สามารถใช้คําสั่งนี้ได้
จากเมนู Image >
Image Size…
การตัดเฉพาะบางส่วนของรูปภาพ
 การตัดเฉพาะบางส่วนของรูปภาพสามารถทําได้โดยการใช้เครื่องมือ
Selection สร้างขอบเขตพื้นที่ล้อมรอบส่วนของภาพที่ต้องการ ซึ่ง
วิธีการใช้งาน Selection มีหลากหลายวิธีดังที่ได้กล่าวมาแล้วจาก
บทเรียนที่ผ่านมา สําหรับตัวอย่างที่จะกล่าวดังต่อไปนี้จะใช้
เครื่องมือ Elliptical Marquee Tool และ Custom Shape Tool
Elliptical Marquee Tool
Custom Shape Tool
การตัดกรอบของรูป (Crop)
 การ Crop คือ การตัดกรอบภาพเฉพาะที่ต้องการ นอกจากรูปภาพจะมีขนาด
เล็กเกินไปแล้ว บางครั้งรูปภาพก็มีขนาดใหญ่เกินไปได้เช่นกัน เราสามารถ
ตัดกรอบภาพ (Cropping) ให้เหลือเฉพาะที่ต้องการ

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop cs
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop csคู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop cs
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop cssamnaknit
 
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1Thanawat Boontan
 
การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5
การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5
การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5Rattapadol Gunhakoon
 
ใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshop
ใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshopใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshop
ใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshopNoofang DarkAnegl
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop cs
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop csความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop cs
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop csไกรลาศ จิบจันทร์
 
ใบงานที่7
ใบงานที่7ใบงานที่7
ใบงานที่7juice1414
 
รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6
รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6
รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6Khon Kaen University
 
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555เบญญาภา ตนกลาย
 
คู่มือการใช้งาน Photoshop cs
คู่มือการใช้งาน Photoshop csคู่มือการใช้งาน Photoshop cs
คู่มือการใช้งาน Photoshop cssurachet179
 
Computer&creation of art
Computer&creation of artComputer&creation of art
Computer&creation of artbeverza
 
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5JoyCe Zii Zii
 

La actualidad más candente (16)

คู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop cs
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop csคู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop cs
คู่มือการใช้งานโปรแกรม Photoshop cs
 
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1
พื้นฐาน Adobe Flash CS3 ตอนที่1
 
การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5
การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5
การใช้งานเบื้องต้น Adobe photoshop cs5
 
ใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshop
ใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshopใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshop
ใบความรู้ที่ 1 ประวัติความเป็นมาphotoshop
 
Adobe flash-คู่มือ-สำหรับครู
Adobe flash-คู่มือ-สำหรับครูAdobe flash-คู่มือ-สำหรับครู
Adobe flash-คู่มือ-สำหรับครู
 
Adobe Flash CS3
Adobe Flash CS3Adobe Flash CS3
Adobe Flash CS3
 
Hanfbookflash8
Hanfbookflash8Hanfbookflash8
Hanfbookflash8
 
สอบก่อนเรียน
สอบก่อนเรียนสอบก่อนเรียน
สอบก่อนเรียน
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop cs
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop csความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop cs
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม Adobe photoshop cs
 
ใบงานที่7
ใบงานที่7ใบงานที่7
ใบงานที่7
 
รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6
รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6
รู้จักโปรแกรม Adobe Photoshop CS6
 
Photoshop cs3
Photoshop cs3Photoshop cs3
Photoshop cs3
 
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555
แนวข้อสอบคอมพิวเตอร์กราฟิก ปี 2555
 
คู่มือการใช้งาน Photoshop cs
คู่มือการใช้งาน Photoshop csคู่มือการใช้งาน Photoshop cs
คู่มือการใช้งาน Photoshop cs
 
Computer&creation of art
Computer&creation of artComputer&creation of art
Computer&creation of art
 
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ 5
 

Similar a การใช้โปรแกรมกราฟิกส์.1

%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี
%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี
%80ตอร์กราฟิกบุตรวดีwichuda hokaew
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกvorravan
 
01 intro computergraphic
01 intro computergraphic01 intro computergraphic
01 intro computergraphicpisandesign
 
Adobe indesign
Adobe indesignAdobe indesign
Adobe indesignkrujew
 
ประเภทของภาพกราฟฟิค
ประเภทของภาพกราฟฟิคประเภทของภาพกราฟฟิค
ประเภทของภาพกราฟฟิคwattikorn_080
 
การสอนครั้งที่ 2 intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
การสอนครั้งที่ 2   intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกการสอนครั้งที่ 2   intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
การสอนครั้งที่ 2 intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกjibbie23
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1jibbie23
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1jibbie23
 
สแกนเนอร์ที่เหมาะกับOa
สแกนเนอร์ที่เหมาะกับOaสแกนเนอร์ที่เหมาะกับOa
สแกนเนอร์ที่เหมาะกับOaGhost-king Gosleeping
 
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกschool
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1jibbie23
 
ใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก
ใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก
ใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกวาสนา ใจสุยะ
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3arachaporn
 

Similar a การใช้โปรแกรมกราฟิกส์.1 (20)

%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี
%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี
%80ตอร์กราฟิกบุตรวดี
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
 
01 intro computergraphic
01 intro computergraphic01 intro computergraphic
01 intro computergraphic
 
Adobe indesign
Adobe indesignAdobe indesign
Adobe indesign
 
ประเภท
ประเภทประเภท
ประเภท
 
ประเภทของภาพกราฟฟิค
ประเภทของภาพกราฟฟิคประเภทของภาพกราฟฟิค
ประเภทของภาพกราฟฟิค
 
Graphic
GraphicGraphic
Graphic
 
การสอนครั้งที่ 2 intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
การสอนครั้งที่ 2   intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกการสอนครั้งที่ 2   intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
การสอนครั้งที่ 2 intro ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
สแกนเนอร์ที่เหมาะกับOa
สแกนเนอร์ที่เหมาะกับOaสแกนเนอร์ที่เหมาะกับOa
สแกนเนอร์ที่เหมาะกับOa
 
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
ใบงาน7
ใบงาน7ใบงาน7
ใบงาน7
 
ใบงาน7
ใบงาน7ใบงาน7
ใบงาน7
 
ใบงาน7
ใบงาน7ใบงาน7
ใบงาน7
 
ใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก
ใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิกใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก
ใบความรู้ที่ 4โปรแกรมสำหรับงานกราฟิก
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
 
EbookPictureFormat
EbookPictureFormatEbookPictureFormat
EbookPictureFormat
 
Storyboard
StoryboardStoryboard
Storyboard
 

การใช้โปรแกรมกราฟิกส์.1