SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 12
Descargar para leer sin conexión
1
แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ
ชาตรี ประกิตนนทการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
………………………………………….
บทความนี้นาเสนอครั้งแรกในงานประชุมวิชาการนานาชาติ
การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมทั้งถิ่นอย่างยั่งยืน ในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์
จัดโดย ICOMOS Thailand ณ โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี
ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2549
พื้นที่ป้อมมหากาฬ: จากปัญหาการอนุรักษ์สู่ปัญหาทางการเมือง
พื้นที่ป้อมมหากาฬ เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งในเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนามากที่สุด
แห่งหนึ่งในยุคปัจจุบัน ความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นความขัดแย้งในระดับ “กรอบแนวคิด” ที่ต่างกันระหว่าง
ภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่ ภาครัฐมุ่งปรับปรุงพื้นที่ตามกรอบแนวคิด แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และ
พัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (สวนสาธารณะ) และเน้นการเปิดมุมมองสู่
โบราณสถานระดับชาติ โดยอาศัยอานาจตามข้อกฏหมายที่แข็งกระด้างเป็นเครื่องมือในการจัดการ
ปัญหา1 ส่วนชาวบ้าน เน้นประเด็น “ความเป็นชุมชน” และ “สิทธิมนุษยชน” เพื่ออ้างสิทธิในการอยู่
อาศัย โดยมี “กระแสสังคม” เป็นเครื่องมือสาคัญในการต่อสู้และกดดันภาครัฐ ภายใต้ความช่วยเหลือของ
นักวิชาการและองค์กร NGOs ต่างๆ
ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีความพยายามหลายครั้งจากภาครัฐที่
จะเข้ามารื้อไล่ย้ายชุมชนทั้งหมดออกไป ซึ่งนามาสู่การตอบโต้ที่แข็งกร้าวจากชุมชน เช่น ปิดทางเข้าออก
พื้นที่ป้อมมหากาฬ และร้องเรียนศาลปกครอง เป็นต้น จากความขัดแย้งทางความคิดในเรื่องการอนุรักษ์
และพัฒนาพื้นที่ สถานการณ์ได้พัฒนาตัวเองไปสู่ระดับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่มี
ความซับซ้อนมากขึ้น มากจนเสมือนว่าจะหาทางประนีประนอมกันไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการปิด
ป้ายประกาศกาหนดการเข้ารื้อย้ายชุมชนอย่างเด็ดขาดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่
นามาสู่ความตึงเครียดครั้งสาคัญบนพื้นที่แห่งนี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนกาหนดเส้นตายดังกล่าวจะมาถึง ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ภายใต้แรงกดดัน
ทางสังคมและการเมือง ก็ได้มีความพยายามในการปรับแนวคิดในการมองพื้นที่ป้อมมหากาฬใหม่ ซึ่ง
แตกต่างจากแนวคิดของภาครัฐทุกหน่วยงานที่ผ่านมา จนนามาสู่การว่าจ้าง มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ามา
เพื่อทาวิจัยนาเสนอทิศทางใหม่ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ทาการ
ลงนามข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกับชุมชนเพื่อร่วมกันหาทางออกภายใต้คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลากร
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “โครงการวิจัยเพื่อจัดทาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และ
พัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ”
1
ข้อกฏหมายสาคัญที่เป็นเหตุผลหลักของภาครัฐในการเข้ามาจัดการพื้นที่คือ พระราชกฤษฎีกากาหนดเขตที่ดินใน
บริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535
2
4 แนวคิดการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬที่ผ่านมา
ปัญหาสาคัญของพื้นที่ป้อมมหากาฬที่ผ่านมา เป็นปัญหาในระดับ “กรอบแนวคิด” ที่มองการพัฒนาพื้นที่
ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้แตกต่างกัน สรุปได้อย่างกว้างๆ เป็น 4 แนวทางสาคัญ ดังต่อไปนี้
กรอบแนวคิดแบบกรุงเทพมหานคร (กรอบความคิดแบบภาครัฐ) เนื้อหาหลักๆ เป็นอันหนึ่งอัน
เดียวกับแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ของ “คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์”
ประเด็นสาคัญคือ มุ่งอนุรักษ์และปรับปรุงพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ให้ย้อนกลับไปมีบรรยากาศในสมัย
รัชกาลที่ 52 พร้อมๆ ไปกับความพยายามที่จะลดจานวนคนที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่ (แต่กลับเน้นเพิ่ม
ปริมาณนักท่องเที่ยว)
ในขณะเดียวกันก็เน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (สวนสาธารณะ) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อ
เปิดมุมมองโบราณสถานสาคัญ และเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งพื้นที่ป้อม
มหากาฬได้ถูกออกแบบวางผังไว้เพื่อทาหน้าที่เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก (pocket park)
แม้ว่าเป้าหมายของแนวคิดนี้ถือว่ามีเจตนาดี แต่ก็มีจุดด้อยสาคัญคือ เป็นการพัฒนาพื้นที่เมือง
แบบแช่แข็งความเปลี่ยนแปลง ละเลยความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ที่ซ้อนทับอยู่บนพื้นที่เมืองอย่าง
หลากหลาย มุ่งเน้นแต่รักษาโบราณสถานเป็นหลัก และไล่คนออกจากเมือง ซึ่งหากพิจารณาในกรอบ
แนวคิดทางวิชาการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดและ
เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็ยกเลิกวิธีการดังกล่าวไปเกือบจะหมดสิ้นแล้ว เพราะงานวิชาการปัจจุบันตระหนักดีว่า
วิธีการข้างต้นนั้นขาดมุมมองในเชิงวิถีชีวิตของเมืองที่ต้องมี “คน” เป็นส่วนประกอบสาคัญ มิใช่มีแต่
สิ่งก่อสร้างที่แห้งแล้งไร้ชีวิตพียงอย่างเดียว
กรอบแนวคิดแบบกรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนฐานที่มองว่าคนเป็นตัวปัญหาในการอนุรักษ์
โบราณสถานจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อข้อเท็จจริงทางวิชาการในโลกปัจจุบันอีกต่อไป
การดึงดันตามแนวทางดังกล่าวที่คิดขึ้นมาตั้งแต่ 20-30 ปีก่อน ย่อมมีแต่จะนาพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ที่เต็ม
ไปด้วยประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ไปสู่เมืองที่ไร้ชีวิต เมืองที่มากด้วยนักท่องเที่ยวตอนกลางวันแต่ร้างผู้คนตอน
กลางคืน เมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวและซากอาคารแต่ปราศจากซึ่งวิญญาณของความเป็นเมืองเก่า
2
ดูรายละเอียดแนวคิดดังกล่าวใน “รื้อฟื้นชุมชนเก่า,” สารคดี ปีที่ 17 ฉบับที่ 204 (กุมภาพันธ์ 2545).
ทัศนียภาพบริเวณป้อมมหากาฬและพื้นที่เกี่ยวเนื่องตามโครงการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุง
รัตนโกสินทร์
3
กรอบแนวคิดแบบเน้นสิทธิชุมชน กรอบแนวคิดนี้มุ่งให้ความสาคัญไปที่วิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัย
อยู่ในพื้นที่ มองความเข้มแข็งของชุมชนว่าเป็นสิ่งสาคัญ “ความเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง” เป็นคุณค่าในตัว
ของมันเองโดยไม่จาเป็นต้องอ้างอิงคุณค่าอื่นใดอีก ชาวบ้าน (โดยเฉพาะคนจน) ควรจะมีสิทธิที่จะอยู่
อาศัยในพื้นที่ใจกลางเมืองได้ มองว่าผู้คนสามารถอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้โดยไม่จาเป็นต้องทาลายซึ่ง
กันและกัน มองการพัฒนาพื้นที่แบบกรุงเทพมหานครว่าเป็นการลิดรอนและละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของ
ความเป็นมนุษย์
ด้วยแนวคิดแบบนี้จึงนามาสู่การเสนอทางออกของพื้นที่ในลักษณะ Land sharing ที่ขอแบ่งปันพื้นที่ป้อม
มหากาฬ 1 ไร่จากภาครัฐเพื่อจัดสร้างเป็นที่พักอาศัยของชาวบ้านในชุมชน3
จุดด้อยสาคัญของกรอบแนวคิดนี้คือ ความไม่สนใจในประวัติศาสตร์ของพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เท่าที่ควร แม้ว่า
จะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเสมือนให้ความสนใจอยู่บ้าง เช่น การให้ความสาคัญกับบ้านโบราณและอาชีพเชิง
วัฒนธรรมภายในชุมชน แต่ก็มักผิวเผินหรือเป็นส่วนประกอบย่อยเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากภายหลังจากที่มีการรื้อบ้าน
โบราณหนึ่งหลังลงไปในราวปี 2547 แนวโน้มท่าทีของชุมชนก็มีการปรับลดบทบาทความสาคัญในประเด็นเรื่องบ้าน
โบราณลง
แม้ว่าแนวคิดนี้จะมีมุมมองว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับโบราณสถานอย่างเกื้อหนุนส่งเสริมกันและกันได้ แต่ก็ขาด
รูปธรรมของแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน อีกทั้งบางสิ่งที่นาเสนอก็ขัดกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และโบราณสถานเสียเอง
อีกด้วย
กรอบแนวคิดแบบนักประวัติศาสตร์/นักอนุรักษ์ กรอบแนวคิดนี้เน้นความสาคัญไปที่คุณค่าทาง
ประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้จากัดเงื่อนเวลาเพียงสมัยรัชกาลที่ 5 แบบแนวคิดแรก โดยให้ความสาคัญกับ
ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและหลากหลายมากกว่า อาทิ ประวัติศาสตร์นอกระบบราชการ ประวัติศาสตร์
ชุมชน ประวัติศาสตร์ของคนเล็กคนน้อยในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความสาคัญกับศิลปวัฒนธรรม
ในทุกๆ ด้านไม่เฉพาะเพียงศิลปวัฒนธรรมแบบชนชั้นสูงเท่านั้น
3
ประวัติชุมชนป้อมมหากาฬ รวบรวมโดยคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนป้อมมหากาฬ (เอกสารอัดสาเนา).
แนวคิด LAND SHARING ของชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬที่ผ่านมา
4
อย่างไรก็ตามกรอบแนวคิดดังกล่าวก็ยังไม่เคยได้รับการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงแต่อย่างใด
อาจจะเป็นเพราะจุดด้อยสาคัญของกรอบแนวคิดนี้คือ การนาเสนอแนวทางแบบนักวิชาการที่แม้ว่าจะดี
แต่มักขาดกลุ่มบุคคลที่จะแปรเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าวไปสู่รูปธรรมของการปฏิบัติที่ลงในรายละเอียดที่
ชัดเจนเป็นไปได้จริง อีกทั้งบางครั้งมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมและ
ประวัติศาสตร์ก็โน้มนาไปในลักษณะอุดมคติมากเกินไป
กรอบแนวคิดแบบนักออกแบบชุมชนเมือง กลุ่มนี้ เสมือนว่าควรเป็นกลุ่มที่ต้องรับภาระหน้าที่
ในการเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยตรง เป็นกลุ่มที่กล่าวอ้างและถือครองวิชาชีพทางด้านการพัฒนา
เมืองมาโดยตลอด แนวทางมักเน้นการปรับปรุงสภาพกายภาพของพื้นที่ให้มีศักยภาพมากขึ้นในแง่การใช้
งาน ปรับปรุงสาธารณูปโภคสาธารณูปการ เน้นความสวยงามเป็นด้านหลัก
จุดด้อยสาคัญของกลุ่มแนวคิดนี้คือ แม้จะเป็นนักออกแบบและนักวางผังชุมชนเมืองโดยตรง แต่
ส่วนมากของแนวทางที่ผ่านมา มักจะขาดพื้นฐานความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งของพื้นที่ของท้องถิ่น
หรือแม้แต่ของประเทศไทยเอง การแก้ปัญหานิยมอ้างอิงกรอบวิธีคิดและทฤษฎีจากตาราวิชาการตะวันตก
โดยขาดความเข้าใจในบริบทเฉพาะถิ่น เน้นเฉพาะมิติเชิงกายภาพและภาพลักษณ์ที่สวยงามเพียงอย่าง
เดียว ดังนั้นรูปแบบและแนวทางออกในการพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬเท่าที่ผ่านมาของแนวทางนี้จึงยังดู
เป็นอุดมคติสุดทางไปอีกแบบหนึ่งและยังไม่เคยเป็นที่ยอมรับนาไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังแต่อย่างใด
ชุมชนบ้านไม้โบราณ: ข้อเสนอใหม่ต่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่
จากการวิเคราะห์จุดด้อยจุดเด่นของกรอบแนวคิดที่ผ่านมาทั้งหมด คณะผู้วิจัยฯ ได้ทาการศึกษาหาทิศทาง
ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬรูปแบบใหม่โดยเน้น มิติทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ
วิถีชีวิตชุมชน มาผสมผสานกันเป็นแกนกลางของแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ ภายใต้แนวคิดเรื่อง ชุมชน
บ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ”
สภาพทางกายภาพภายในชุมชนป้อมมหากาฬปัจจุบันจะถูกมองไปในลักษณะไม่สู้ดีนัก ตาม
กรอบเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ที่เน้นความเจริญทางวัตถุประเภท ถนน ทางด่วน และ
สวนสาธารณะที่ไม่มีคนใช้เป็นด้านหลัก แต่สิ่งหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญของ
พื้นที่นี้คือ ความสืบเนื่องของ ความเป็น “ชุมชนบ้านไม้ชานกาแพงพระนคร” ที่อาจจะกล่าวได้ว่า
สมบูรณ์มากที่สุดเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลืออยู่ภายในเกาะรัตนโกสินทร์
ซ้าย: แผนที่ป้อมมหากาฬ พื้นที่ชานกาแพงพระนครแห่งสุดท้าย สองภาพขวา: บ้านไม้โบราณภายในพื้นที่ชุมชน
ป้อมมหากาฬ
5
ชุมชนป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่บนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “ชานกาแพงพระนคร” (พื้นที่
ระหว่างกาแพงเมืองกาคูเมือง) พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอย่างหนาแน่นมาแต่
โบราณ และเป็นลักษณะของพื้นที่เมืองโบราณในอดีตที่สืบทอดต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงการออกแบบ
เมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ ลักษณะเฉพาะของชุมชนชานกาแพงพระนครเช่นนี้ ไม่หลงเหลือในเมืองแห่งใด
อีกแล้ว ยกเว้นที่ป้อมมหากาฬแห่งนี้เท่านั้น นอกจากนี้ พื้นที่ป้อมมหากาฬ ยังคงหลงเหลือรูปแบบ
บ้านเรือนเก่าแก่ ทั้งในยุคที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการอยู่อาศัยในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ที่คนไทยยังอยู่เรือน
ไทยใต้ถุนสูง จนมาถึงเรือนไม้ทรงฝรั่งปั้นหยาหรือเรือนแบบขนมปังขิงในสมัยรัชกาลที่ 5-7 ซึ่งสะท้อน
รสนิยมแบบตะวันตกที่แพร่หลายในยุคดังกล่าว หรือแม้กระทั่งบ้านไม้ในยุคหลังจากนั้นที่มีอายุ 50 ปีลง
มาจนกระทั่งถึงบ้านไม้ในสมัยปัจจุบัน
ด้วยกายภาพของพื้นที่ที่อยู่ระหว่างกลางระหว่างคูเมืองกับกาแพงเมืองซึ่งมีทางเชื่อมออกสู่พื้นที่
ภายนอกได้จากช่องประตูเพียงสี่ช่องเท่านั้น แน่นอนย่อมทาให้ชุมชนแห่งนี้เป็นพื้นที่ปิดล้อมที่ถูกมองข้าม
ไปจากการพัฒนาในเชิงกายภาพของพื้นที่เมืองที่เน้นแต่เชิงวัตถุไปได้ ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี เพราะทาให้อย่าง
น้อยก็เป็นการปกป้องให้ชุมชนป้อมมหากาฬยังคงดารงการอยู่อาศัยภายในบ้านไม้ทั้งแบบโบราณและ
แบบร่วมสมัยชนิดที่ไม่จาเป็นต้องมีรั้วกาแพงมาแบ่งแยกครอบครัวได้ ไม่ว่าลักษณะดังกล่าวจะดีหรือไม่ก็
ตามในมุมมองของนักพัฒนาเมืองสมัยใหม่ แต่ในเชิงการอนุรักษ์แล้ว ชุมชนบ้านไม้ป้อมมหากาฬแห่งนี้ได้
ทาหน้าที่เสมือนกระจกที่สะท้อนให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของการอยู่อาศัยของคนไทยในอดีตจวบจน
ปัจจุบัน
ด้วยเหตุนี้การอนุรักษ์รักษาชุมชนบ้านไม้ป้อมมหากาฬไว้ย่อมเป็นเสมือนการรักษา
ประวัติศาสตร์การอยู่อาศัยของชาวบ้านที่สาคัญชิ้นหนึ่งของเกาะรัตนโกสินทร์เอาไว้ พื้นที่ดังกล่าวเป็น
เสมือน “พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต” ที่จัดแสดงบ้านเรือนไม้โบราณและการอยู่อาศัยของคนไทยในช่วง
ร้อยกว่าปีที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี และเป็น “แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์
วัฒนธรรม” ภายในพื้นที่เพียงไม่กี่ไร่
และด้วยกรอบแนวคิดดังกล่าวนี้ คณะวิจัยฯ เชื่อว่า โครงการชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ
จะไม่เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จืดชืดไร้ชีวิตเหมือนเช่นพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมไทย แต่จะเป็น
พิพิธภัณฑ์ต้นแบบที่มีชีวิต มีรากทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผนวกเข้ากับประวัติศาสตร์
วัฒนธรรมของพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย อาทิ การเป็นชุมชนต้นกาเนิดลิเกแห่งแรกในสยาม4
ชุมชนทาเครื่องดนตรีไทยมาแต่โบราณ ชุมชนศิลปหัตถกรรมต่างๆ เช่น กรงนก ฤาษีดัดตนดินเผา สาย
รัดประคด เป็นต้น ก็จะทาให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่เกิดขึ้นจากชุมชน ดูแลด้วยชุมชน
และมีความเป็นชุมชนอย่างแท้จริง5
4
ดูรายละเอียดใน สุรพล วิรุฬรักษ์, วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477 (กรุงเทพฯ,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541).
5
รายละเอียดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และ มรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ โปรดดูใน ชาตรี ประกิตนนทการ และคณะ,
โครงการวิจัยเพื่อจัดทาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” (กรุงเทพฯ:
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549), หน้า 3/1-3/27.
6
การสร้างความมีส่วนร่วม: หัวใจของการอนุรักษ์และพัฒนา
เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสาเร็จของโครงการ คณะวิจัยฯ ให้ความสาคัญมากกับกระบวนการได้มาซึ่งทางออกของ
งานวิจัย ซึ่งหัวใจของระเบียบวิธีวิจัยในงานชิ้นนี้ ได้เน้นไปที่กระบวนการ 3 ประการดังต่อไปนี้
ประการแรก ให้ความสาคัญกับ “บริบทเฉพาะของพื้นที่” มากกว่า “บริบทมาตรฐาน” เพื่อนามา
สู่การดาเนินการในรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ป้อมมหากาฬ มากกว่าที่จะดาเนินการในรูปแบบแบบ
มาตรฐานทั่วไป อาทิ เรื่องสวนสาธารณะ คณะวิจัยฯ จะศึกษาบริบทเฉพาะของพื้นที่เพื่อให้ได้มาซึ่ง
รูปแบบสวนสาธารณะที่เหมาะกับพื้นที่ป้อมมหากาฬ มากว่าการดาเนินการออกแบบสวนสาธารณะแบบ
มาตรฐาน
ประการสอง เน้นประสานการนาเสนอทางออกทั้งในแบบ “บนลงล่าง” (Top-down process)
และ “ล่างขึ้นบน” (Bottom-up process) โดยในกระบวนการวิจัยจะรวบรวมความต้องการหรือนโยบาย
จากภาครัฐที่มีต่อพื้นที่มาผสานกับความคิดของชาวบ้านในพื้นที่ จากนั้นนามาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อ
หาทางออกที่เหมาะสม ทั้งนี้จะเน้นการลงพื้นที่ภาคสนามและจัดเวทีการมีส่วนร่วมแบบกลุ่มย่อยเป็น
สาคัญ
ประการสาม เน้นการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม เพราะพื้นที่ป้อมมหากาฬไม่ใช่พื้นที่ของรัฐ
หรือของชุมชนป้อมมหากาฬเท่านั้น แต่เป็นของสังคมโดยรวม โดยผ่านกระบวนการจัดเวทีประชาพิจารณ์
สาธารณะ
กระบวนการดังกล่าวอยู่ภายใต้แนวคิดเรื่อง “การมีส่วนร่วม” อย่างกว้างขวางและจริงจัง ซึ่ง
คณะวิจัยฯ ให้ความสาคัญในการมีส่วนร่วมของคน 3 กลุ่มหลัก คือ หนึ่ง ชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้
ได้รับผลกระทบโดยตรง สอง กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ และสาม ภาคประชาสังคมที่สนใจ
ด้านการพัฒนาพื้นที่เมือง
การมีส่วนร่วมในชุมชน คณะวิจัยฯ ได้เชิญตัวแทนชุมชนมาร่วมอยู่ในคณะทางาน ในการร่วมกัน
วางแผนและออกแบบการทางานวิจัยโดยตลอด และในทุกขั้นตอนของการวิจัย ชาวบ้านทั้งหมดในพื้นที่
จะได้รับรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอผ่านเวทีประชุมร่วมกันในรูปแบบต่างๆ ไม่ต่ากว่า 30 ครั้ง
การมีส่วนร่วมกับกรุงเทพมหานคร คณะวิจัยฯ ได้ทาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับข้าราชการ
การเมืองและข้าราชการประจาของกรุงเทพมหานครโดยตลอด โดยดาเนินการใน 2 ลักษณะคือ หนึ่ง ผ่าน
เวทีประชาพิจารณ์สาธารณะ และสอง ผ่านการประชุมกลุ่มย่อยระหว่างคณะวิจัยฯ กับระดับผู้บริหารของ
กรุงเทพมหานคร และระดับข้าราชการประจาผู้ซึ่งทาหน้าที่ปฏิบัติการโดยตรง
การมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคม คณะวิจัยฯ ได้เชิญนักนักวิชาการ นักกฎหมายอิสระ
นักพัฒนาเอกชน เครือข่ายองค์กรชาวบ้าน เข้ามาร่วมในการให้ความเห็นต่อเนื้อหาการทางานและร่วมกัน
จัดกระบวนการทางานในชุมชนเป็นระยะๆ
ประเด็นข้อกฏหมาย
ปัญหาสาคัญที่สร้างความกังวลแก่สังคมมากที่สุดคือ การทาตามแผนที่คณะวิจัยฯ นาเสนอ (ดูในห้อข้อ
แผนแม่บทฯ) จะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากไม่สามารถคลี่ปมทางกฏหมายได้ ก็ไม่สามารถจะ
ดาเนินการใดๆ ต่อไปได้เลย ซึ่งประเด็นนี้ คณะวิจัยฯ ได้ตั้งคณะทางานด้านกฎหมายขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่ง
7
ประกอบด้วยนักฏหมายและนักวิชาการทางกฎหมายหลายท่าน และจากการศึกษา สรุปได้ว่ามีข้อ
กฎหมาย 3 ประการที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้6
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดิน กรณีป้อมมหากาฬ มีเงื่อนกฎหมายที่สาคัญที่สุดคือ พระ
ราชกฤษฎีกากาหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร
กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ซึ่งจากการศึกษา สามารถตีความสถานะทางกฏหมายของพระราชกฤษฎีกา
ฯ ได้เป็น 2 แนวทางคือ หนึ่ง ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมายเวนคืน และสอง มีสถานะเป็นกฏหมายเวนคืน
แล้ว
แนวทางแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีบทบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 49 ว่า
“.....การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ
......” ดังนั้นคณะวิจัยฯ มีความเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ พ.ศ. 2535 ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย
เวนคืน เนื่องจาก การเวนคืนจะต้องออกเป็น “พระราชบัญญัติเวนคืน” เท่านั้น ซึ่งในกรณีพื้นที่ป้อม
มหากาฬ เป็นเพียงการประกาศเพื่อกาหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะทาการเวนคืน มิใช้
“พระราชบัญญัติ” ที่มีสถานะทางกฏหมายแต่อย่างใด ที่สาคัญ คาจากัดความของคาว่า “เวนคืน” ใน
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติว่า “.....เวนคืน
หมายความว่า บังคับเวนคืนที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น.....” ซึ่งหมายความว่า การเวนคืน จะต้อง
เป็นการบังคับให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ โดยอาศัยผลของกฎหมาย แต่กรณีที่ดินภายในบริเวณป้อมมหากาฬ
นี้ ที่ดินทุกแปลงล้วนตกเป็นของรัฐโดยการทาสัญญาซื้อขายปกติ มิใช่เป็นการบังคับเวนคืนให้ตกเป็นของ
รัฐโดยการออกกฎหมายแต่อย่างใด
ด้วยเหตุนี้ หากตีความตามแนวทางแรก ที่ดินภายในพื้นที่ป้อมมหากาฬ จึงไม่จาเป็นที่จะต้อง
พัฒนาไปตามที่พระราชกฤาฎีกาฯ บอกไว้ กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ สามารถพัฒนาที่ดิน
ตามที่เห็นควรว่าเหมาะสมได้โดยอิสระ
แนวทางที่สอง มีความเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ พ.ศ. 2535 มีสถานะเป็นกฎหมาย
เวนคืนแล้ว ดังนั้นที่ดินที่ได้มาจึงถือเป็นการได้มาโดยการเวนคืน ซึ่งหากมองในมุมนี้ ประเด็นสาคัญคือ สิ่ง
ที่คณะวิจัยฯ นาเสนอทั้งหมดจะต้องไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ที่พระราชกฤษฎีกาฯ ระบุไว้ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็น
คือ หนึ่ง เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานสาคัญของชาติ และสอง เพื่อจัดทาเป็นสวนสาธารณะ
ในประเด็นแรก เรื่องการอนุรักษ์ คณะทางานทางกฎหมายมีความเห็นว่า สิ่งที่คณะวิจัยฯ
นาเสนอ ล้วนส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความคิดเรื่องการอนุรักษ์บ้านไม้โบราณ
และชุมชนชานกาแพงพระนครที่เหลือเพียงแห่งสุดท้าย หรือการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ความเป็น
แหล่งกาเนิดลิเกแห่งแรก ซึ่งนอกจากจะไม่ได้เป็นการทาลายโบราณสถานแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้
โบราณสถานสาคัญคือ ป้อมมหากาฬและกาแพงเมืองมีความสมบูรณ์ในแง่ประวัติศาสตร์มากขึ้น
ในประเด็นที่สอง เรื่องจัดทาสวนสาธารณะ คณะทางานทางกฏหมายเห็นว่า ตามแผนแม่บทที่
คณะวิจัยฯ เสนอให้มีการอนุรักษ์บ้านไม้โบราณและชุมชนชานกาแพงพระนครไว้ โดยไม่ได้ทาเป็น
สวนสาธารณะทั้งหมดนั้นสามารถทาได้ เนื่องจากเคยมีคาพิพากษาฎีกา เป็นบรรทัดฐานไว้ว่า ไม่
จาเป็นต้องใช้ที่ดินตามที่มีการระบุไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพียงแต่ขอให้อยู่ใน
6
ดูรายละเอียดใน ชาตรี ประกิตนนทการ และคณะ, โครงการวิจัยเพื่อจัดทาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา
ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ”, หน้า 5/1 – 5/4.
8
ลักษณะที่เสริมสร้างให้การใช้ที่ดินตามเป้าหมายการเวนคืนมีความเหมาะสมมากขึ้น7 ดังนั้น เมื่อย้อนกลับ
มาดูแผนแม่บทฯ ที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอรูปแบบของสวนสาธารณะรูปแบบใหม่ โดยเป็นสวนสาธารณะที่
ทาหน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตและมีชุมชนอยู่ร่วมด้วยนั้น รูปแบบดังกล่าว คณะทางานทาง
กฎหมายเห็นว่า สามารถส่งเสริมคุณค่าทางประวัติศาสตร์และคุณค่าของสวนสาธารณะให้มีเพิ่มมากขึ้น
ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการขัดแย้งกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2535 แต่อย่างใด
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถาน หลายฝ่ายกังวลว่า โครงการที่คณะวิจัยฯ จะจัดทาขึ้นนั้นมี
การรักษาอาคารบ้านไม้เอาไว้หลายหลังซึ่งอาจจะผิด พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ม.7 ทวิ ที่บัญญัติไว้
ว่า “.....ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารภายในเขตของโบราณสถานซึ่งอธิบดีได้ประกาศขึ้นทะเบียน เว้นแต่
จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบ.....ดี” แต่จากการศึกษาพบว่า กรณีที่จะเข้าองค์ประกอบตาม ม.7
ทวิ ต้องเป็นกรณีที่มีการกันเขตที่ดินโดยอธิบดีกรมศิลปากรและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เท่านั้น เช่น กรณีประตูเมืองเก่าบริเวณวัดบวรนิเวศ ที่มีการกันเขตชัดเจนออกมายังถนนสาธารณะ แต่ใน
กรณีป้อมมหากาฬไม่ได้มีการกันเขตดังกล่าว โดยเป็นการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเฉพาะตัวป้อมและ
กาแพงเมืองเท่านั้น ดังนั้นที่ดินบริเวณชานกาแพงพระนครป้อมมหากาฬและพื้นที่ชุมชนจึงไม่ใช่ที่
โบราณสถาน ไม่เข้าองค์ประกอบตาม ม.7 ทวิ แต่อย่างใด
ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่สาธารณะ ประเด็นนี้มีความเกี่ยวข้องกับการที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอว่า
พื้นที่ป้อมมหากาฬจาเป็นจะต้องมีชุมชนและคนอาศัยอยู่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดชุมชน
ประวัติศาสตร์ชานกาแพงพระนครที่เหลือสมบูรณ์อยู่เพียงแห่งเดียว ซึ่งการดารงอยู่ของคนภายในพื้นที่
ทาให้เกิดข้อกังวลว่า ที่ดินพื้นที่ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานครได้จัดซื้อ (หรือเวนคืน) มาเพื่อจัดทาเป็น
สวนสาธารณะ ดังนั้น ที่ดินในบริเวณดังกล่าว จึงถือเป็น สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน “สาหรับพลเมืองใช้
ประโยชน์ร่วมกัน” การให้บุคคลได้อยู่อาศัยในลักษณะถาวรย่อมไม่อาจทาได้
กรณีนี้คณะทางานทางกฏมายเห็นว่า กรุงเทพมหานครสามารถดาเนินการตามโครงการที่
คณะวิจัยฯ นาเสนอได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขในประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ กรุงเทพมหานคร
สามารถเสนอกฎหมายเปลี่ยนสภาพ จากที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภท “พลเมืองใช้ประโยชน์
ร่วมกัน” เป็นประเภท “สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ” และดาเนินการตามโครงการนี้
ต่อไปได้ ภายใต้กรอบอานาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในแนวทางแรก
จากประเด็นทางกฎหมายทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา สรุปปัญหาข้อกฎหมายได้ว่า โครงการชุมชน
บ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” เป็นโครงการที่กรุงเทพมหานครสามารถดาเนินการได้ ภายใต้กรอบ
อานาจหน้าที่ที่กฎหมายให้อานาจไว้ โดยไม่มีส่วนใดขัดต่อกฎหมายทั้งสิ้น
7
ดูใน คาพิพากษาฎีกาที่ 2032/2492 ซึ่งมีกรณีว่า มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินเพื่อทาถนน แต่เจ้าหน้าที่กลับ
ทาส่วนหนึ่งเป็นถนนคอนกรีต และปราบพื้นที่ปลูกต้นไม้ ติดตั้งเสาไฟฟ้า ฯลฯ โดยไม่ได้ทาเป็นถนนทั้งหมด ซึ่งศาลฏี
การได้พิพากษาว่า กรณีนี้ได้ใช้ที่ดินตามพระราชบัญญัติเวนคืนแล้ว
9
ใครมีสิทธิอยู่อาศัย: ปัญหาที่อ่อนไหวของพื้นที่
ประเด็นการอยู่อาศัยของคนภายในพื้นที่ เป็นปัญหาสาคัญและอ่อนไหวอย่างยิ่ง หากข้อเสนอไม่รัดกุมจะ
นามาซึ่งปัญหาและความขัดแย้งที่อาจจะขยายตัวเป็นปัญหาทางการเมืองได้
ข้อมูลภายในพื้นที่ป้อมมหากาฬ ณ ปัจจุบัน มีผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น 270 คน คิดเป็น 71 ครอบครัว
เป็นผู้หญิง 130 คน ผู้ชาย 140 คน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก เป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ดั้งเดิมจาก
รุ่นพ่อแม่ อายุการอยู่อาศัยมากกว่า 30 ปี มีจานวน 38 ครอบครัว กลุ่มสอง เป็นคนที่อยู่อาศัยระหว่าง
10 – 30 ปี มีจานวน 21 ครอบครัว กลุ่มสามคือ คนที่อยู่อาศัยใหม่มี 12 ครอบครัว อายุการอยู่อาศัยต่า
กว่า 10 ปี จานวนบ้านทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่มี 47 หลังคาเรือน จาแนกเป็นเจ้าของบ้าน 22 หลังคาเรือน
บ้านเช่าและผู้อาศัย 25 หลังคาเรือน
จากการศึกษาได้นามาซึ่งข้อสรุปเกี่ยวกับสถานภาพและเกณฑ์การอยู่อาศัยของชุมชนในพื้นที่ได้
5 ประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง สถานะของชาวบ้านทุกคนในปัจจุบันถือว่าเป็นผู้บุกรุก ไม่มีสิทธิในที่ดินและตัว
บ้านแต่อย่างใดแล้ว แต่โครงการที่คณะวิจัยฯ นาเสนอนั้น มีสถานะเสมือนเป็นโครงการอนุรักษ์และ
พัฒนารูปแบบใหม่ที่กรุงเทพมหานครจัดทาขึ้น โดยคานึงถึงประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม เป็น
หัวใจหลักของพื้นที่ ทั้งนี้จะให้ความสาคัญแก่ชาวบ้านและชุมชน กรุงเทพมหานครจะอนุญาติให้มีการอยู่
อาศัยของชุมชนต่อไปได้ โดยถือว่าชุมชนเป็นส่วนสาคัญในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่นี้ต่อไปในอนาคต
ประการที่สอง เกณฑ์คัดเลือกคนเข้าร่วมโครงการ จะเน้นหัวใจสาคัญที่การเสียสละในการทา
กิจกรรมต่างๆภายในพื้นที่ (ตามที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอไว้) โดยจะไม่ได้ให้ความสาคัญกับความยาวนาน
ของการอยู่อาศัยแต่อย่างใด แต่เน้นไปที่ความรักในพื้นที่และความเสียสละเป็นสาคัญ ชาวบ้านเก่าแก่ใน
พื้นที่ อาจจะไม่ได้รับการอนุญาติให้เข้าร่วมโครงการก็ได้ หากไม่ร่วมทากิจกรรมของชุมชนและไม่ร่วมทา
กิจกรรมของโครงการ ที่สาคัญ ผู้มีสิทธิเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ จะต้องไม่มีที่ดินและบ้านภายนอกพื้นที่ป้อม
มหากาฬโดยเด็ดขาด8
ประการที่สาม สิทธิการอยู่อาศัยของคน จะไม่ใช่รูปแบบการเช่า แต่สิทธิการอยู่อาศัยจะขึ้นอยู่
กับการปฏิบัติตาม “เงื่อนไข” และ “ข้อบังคับองค์กรชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ” 9 ที่ได้จัดทาขึ้น
ภายใต้โครงการวิจัยนี้ หากมีการละเมิดเงื่อนไข สิทธิการอยู่อาศัยจะหมดลงทันที
ประการที่สี่ การสืบสิทธิ์การอยู่อาศัย จะใช้วิธีการสืบทอดแบบกฏหมายมรดก อย่างไรก็ตามหาก
ทายาทที่ได้รับสิทธิ์ มีการละเมิดเงื่อนไข (ตามประการที่สาม) สิทธิการอยู่อาศัยก็จะหมดลงเช่นเดียวกัน
ประการที่ห้า เพื่อให้โครงการดาเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการตั้ง “คณะกรรมการ
ดูแลโครงการ” ขึ้น โดยมีสัดส่วนของคณะกรรมการมาจาก 3 ส่วนคือ ชาวบ้านในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร
และ นักวิชาการจากภายนอก
แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬ
จากกรอบแนวคิดที่ตั้งไว้ ผสานกับเงื่อนไขทางกฏหมาย และ เงื่อนไขการอยู่อาศัยของชุมชนในพื้นที่ ได้
นามาซึ่งข้อสรุปของแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” โดย
สามารถสรุปเป็นวิสัยทัศน์และเป้าหมายในเชิงรูปธรรมได้ 3 ประการคือ
8
ดูรายละเอียดทั้งหมดของเกณฑ์การคัดเลือกผู้อยู่อาศัยใน ชาตรี ประกิตนนทการ และคณะ, โครงการวิจัยเพื่อจัดทา
แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ”, หน้า 7/2.
9
ดูรายละเอียด เรื่องเดียวกัน, หน้า 7/1-7/9.
10
ภาพจาลองสภาพหลังการปรับปรุงพื้นที่ ตามแผนที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอ
ประการที่หนึ่ง มุ่งสู่ความเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านไม้โบราณชานกาแพงพระนคร โดยมี
รูปธรรมของแผนคือ การรักษาบ้านไม้โบราณที่มีคุณค่าและรักษารูปแบบการจัดวางผังและการอยู่อาศัย
ของคนในพื้นที่ชานกาแพงพระนคร ซึ่งกล่าวได้ว่าหลงเหลืออย่างสมบูรณ์เพียงแห่งเดียวแล้วในกรุง
รัตนโกสินทร์
ประการที่สอง มุ่งสู่ความเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในท้องที่และบริเวณ
โดยรอบ โดยมีรูปธรรมของแผนคือ การพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชิวิต อาทิ พิพิธภัณฑ์
ประวัติศาสตร์ต้นกาเนิดลิเกสยาม พิพิธภัณฑ์สารพัดเก็บของคุณเฉลิมศักดิ์ รามโกมุท พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
บ้านไม้โบราณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นต้น โดยทั้งหมดจะกระจายอยู่
ในส่วนต่างๆ ของพื้นที่
ผังแสดงการใช้พื้นพื้นที่ป้อมมหากาฬภาพหลังการปรับปรุง
11
ท่าเรือ
ตรอกพระยาเพ็ชร
ฯ
ป้อมมหากาฬ
พิพิธภัณฑ์
ผังพื้นพื้นที่ป้อมมหากาฬภาพหลังการปรับปรุง แสดงตาแหน่งพิพิธภัณฑ์ 4 แห่ง
สะพานข้ามไปภูเขาทอง
ทัศนียภาพ บ้านไม้โบราณ ตรอกพระยาเพ็ชรฯ ภายในพื้นที่ป้อมมหากาฬ ภายหลังการปรับปรุง
บรรยากาศท่าเรือโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 และท่าเรือหางยาว ภายในป้อมมหากาฬ หลังการปรับปรุงตามแผน
แม่บทฯ
อาชีพที่สามารถส่งเสริมให้เป็นจุดขายของโครงการฯ ต่อไปในอนาคต
จากซ้าย เลี้ยงไก่ชน ปั้นฤาษีดินเผา ทากรงนก และ หลอมทอง
12
ประการที่สาม มุ่งสู่การเป็นพื้นที่พักผ่อนสาธารณะของคนเมือง โดยมีรูปธรรมของแผนคือ การ
เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะในพื้นที่ให้ได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากแต่เดิมที่มีเพียง
44% เป็น 63% และที่สาคัญ จะมุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็น “ลานกิจกรรม” ที่มีกิจกรรมหมุนเวียน
ต่อเนื่องตลอดเวลา มากกว่าการเป็นพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งทั่วไป ทั้งนี้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นจะอยู่ภายใต้การ
กากับดูแลร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและชุมชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่
แนวทางดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการระดมความคิดอย่างมีส่วนร่วมทั้งจาก ชาวบ้านในและ
นอกพื้นที่ นักวิชาการ ข้าราชการ และบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ผ่านเวทีประชาพิจารณ์
สาธารณะ เวทีชาวบ้าน เวทีสัมมนากลุ่มย่อย ตลอดจนการพูดคุยแลกเปลี่ยนอื่นๆ อีกมากมายไม่น้อยกว่า
30 ครั้งตลอดช่วงเวลาของการวิจัย
นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงกายภาพภายในพื้นที่และสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้น โดยในเชิงกายภาพ
จะมีการบูรณะปรับปรุงอาคารท่าเรือเก่าให้กลับมามีสภาพการใช้งานได้ดีอีกครั้ง ย้ายท่าเรือหางยาว
กลับมาที่บริเวณหัวป้อมมหากาฬ เพื่อให้มีผู้คนไหลเวียนเข้าออกพื้นที่มากขึ้น ปรับปรุงตรอกพระยาเพ็ชร
ฯ ให้กลายเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจของชุมชน และทาการสร้างสะพานไม้เชื่อมจากตรอกพระยาเพ็ชรฯ
ข้ามฟากไปสู่ภูเขาทอง ซึ่งจะทาให้เกิดการไหลเวียนและเชื่อมต่อของผู้คนและกิจกรรมจากภายนอกเข้า
มาสู่ภายในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
ส่วนลานกิจกรรมบริเวณหัวป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งผืนใหญ่ที่สุดของพื้นที่ จะพัฒนาให้
กลายเป็นพื้นที่ลานกิจกรรมของทั้งชุมชนและสังคมเมือง จะมีการสร้างกิจจกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี
“ลิเก” เป็นกิจกรรมหลักของพื้นที่ ทั้งนี้ ควรจะมีการประสานกับหน่วยงานทางวัฒนธรรมอื่นๆ เพื่อเข้า
มาร่วมสร้างกิจกรรมให้เกิดขึ้นด้วย
ทั้งหมดนี้จะทาให้ พื้นที่ป้อมมหากาฬ กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมกับแหล่งวัฒนธรรม
โดยรอบของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม ถนนราชดาเนิน พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า
วัดสระเกศ ฯลฯ
บทส่งท้าย
งานวิจัยชิ้นนี้คงเป็นได้เพียงก้าวแรกของการแก้ไขปัญหาพื้นที่เท่านั้น การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อม
มหากาฬยังคงต้องก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ซึ่งสั่งสมบ่มเพาะและหยั่งลึกมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ไม่ว่า
จะเป็นทัศนคติเรื่องการอนุรักษ์ที่ล้าสมัยและคับแคบ ปัญหาการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่นที่ส่งผลต่อ
พื้นที่ ความขัดแย้งภายในของหน่วยราชการ หรือแม้กระทั่งความขัดแย้งภายในของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่
ป้อมมหากาฬเองก็ตาม
อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยฯ มีความเห็นว่า ปัจจัยสาคัญที่จะนาไปสู่ความสาเร็จตามเป้าหมาย
ดังกล่าวได้อย่างแท้จริงต้องประกอบด้วย 2 ส่วนคือ หนึ่ง ความเข้มแข็งและตั้งมั่นอย่างจริงใจของชาวบ้าน
ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป้อมมหากาฬที่จะอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่นี้ภายใต้เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่วแน่ และ
สองคือ ความกล้าหาญของกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ ที่จะต้องผลักดันอย่างจริงจังจริงใจและ
เข้มแข็ง ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดที่ล้าสมัยซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้นาพาเมืองเก่าไปสู่การอนุรักษ์
และพัฒนาอย่างยั่งยืนและแท้จริง เพื่อให้อนาคตของพื้นที่แห่งนี้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและทา
ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง ซึ่งหากทาสาเร็จได้ พื้นที่ป้อมมหากาฬจะเป็นเสมือนต้นแบบ
สาคัญที่จะนาไปสู่ทิศทางใหม่ของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์แห่งอื่นๆ ในกรุง
รัตนโกสินทร์อีกมากมาย

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

การจัดทัพของอิเหนา
การจัดทัพของอิเหนาการจัดทัพของอิเหนา
การจัดทัพของอิเหนาenksodsoon
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)Kornfern Chayaboon
 
บทความ วิเคราะห์ เพลง
บทความ   วิเคราะห์ เพลงบทความ   วิเคราะห์ เพลง
บทความ วิเคราะห์ เพลงNiran Dankasai
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์Srinthip Chaiya
 
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นNattha Namm
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Sp'z Puifai
 
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยาPrincess Chulabhon's College Chonburi
 
1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น copy
1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น   copy1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น   copy
1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น copyKunlaya Kamwut
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1prayut2516
 
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นlek5899
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1Napatrapee Puttarat
 
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2Phonlawat Wichaya
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)mintmint2540
 
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์Penny Lighter
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีพัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนมChok Ke
 

La actualidad más candente (20)

การจัดทัพของอิเหนา
การจัดทัพของอิเหนาการจัดทัพของอิเหนา
การจัดทัพของอิเหนา
 
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง พัฒนาการทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยา
 
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
พินิจวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ตอน ศึกกุมภกรรณ(part 1)
 
บทความ วิเคราะห์ เพลง
บทความ   วิเคราะห์ เพลงบทความ   วิเคราะห์ เพลง
บทความ วิเคราะห์ เพลง
 
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
 
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยาใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง พัฒนาการทางสังคมสมัยอยุธยา
 
1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น copy
1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น   copy1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น   copy
1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น copy
 
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
ใบงาน วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.1
 
ลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialism
ลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialismลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialism
ลัทธิจักรวรรดินิยม Imperialism
 
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
โครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่น
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
 
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1
อารยธรรมเมโสโปเตเมีย1
 
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ ม.6.7(4,10)
 
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรีเอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
เอกสารประกอบการเรียน อาณาจักรธนบุรี
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนมโครงงานวิทยาศาสตร์  ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชุดโซฟาจากกระป๋องนม
 

Destacado

แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกrever39
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกrever39
 
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 okเอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 okPatpong Lohapibool
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอกDarunee Keawsod
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan LifeTum Meng
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกNoeyNoey
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกNoeyNoey
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกrever39
 

Destacado (10)

แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
 
ท่าวัง 58 pdf
ท่าวัง 58 pdfท่าวัง 58 pdf
ท่าวัง 58 pdf
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
 
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 okเอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
เอกลักษณ์ศิลปะวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น 55 ok
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญในบางกอก
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
ภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอกภูมิปัญญาบางกอก
ภูมิปัญญาบางกอก
 
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอกแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
แหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญในบางกอก
 

Más de Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยTum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทTum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนTum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าTum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นTum Meng
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองTum Meng
 
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraPLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraTum Meng
 

Más de Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraPLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
 

ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)

  • 1. 1 แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร …………………………………………. บทความนี้นาเสนอครั้งแรกในงานประชุมวิชาการนานาชาติ การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมทั้งถิ่นอย่างยั่งยืน ในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์ จัดโดย ICOMOS Thailand ณ โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ รอยัล จังหวัดอุดรธานี ระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน 2549 พื้นที่ป้อมมหากาฬ: จากปัญหาการอนุรักษ์สู่ปัญหาทางการเมือง พื้นที่ป้อมมหากาฬ เป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความขัดแย้งในเรื่องการอนุรักษ์และพัฒนามากที่สุด แห่งหนึ่งในยุคปัจจุบัน ความขัดแย้งที่ผ่านมาเป็นความขัดแย้งในระดับ “กรอบแนวคิด” ที่ต่างกันระหว่าง ภาครัฐและชาวบ้านในพื้นที่ ภาครัฐมุ่งปรับปรุงพื้นที่ตามกรอบแนวคิด แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และ พัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (สวนสาธารณะ) และเน้นการเปิดมุมมองสู่ โบราณสถานระดับชาติ โดยอาศัยอานาจตามข้อกฏหมายที่แข็งกระด้างเป็นเครื่องมือในการจัดการ ปัญหา1 ส่วนชาวบ้าน เน้นประเด็น “ความเป็นชุมชน” และ “สิทธิมนุษยชน” เพื่ออ้างสิทธิในการอยู่ อาศัย โดยมี “กระแสสังคม” เป็นเครื่องมือสาคัญในการต่อสู้และกดดันภาครัฐ ภายใต้ความช่วยเหลือของ นักวิชาการและองค์กร NGOs ต่างๆ ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีความพยายามหลายครั้งจากภาครัฐที่ จะเข้ามารื้อไล่ย้ายชุมชนทั้งหมดออกไป ซึ่งนามาสู่การตอบโต้ที่แข็งกร้าวจากชุมชน เช่น ปิดทางเข้าออก พื้นที่ป้อมมหากาฬ และร้องเรียนศาลปกครอง เป็นต้น จากความขัดแย้งทางความคิดในเรื่องการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ สถานการณ์ได้พัฒนาตัวเองไปสู่ระดับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมที่มี ความซับซ้อนมากขึ้น มากจนเสมือนว่าจะหาทางประนีประนอมกันไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการปิด ป้ายประกาศกาหนดการเข้ารื้อย้ายชุมชนอย่างเด็ดขาดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ นามาสู่ความตึงเครียดครั้งสาคัญบนพื้นที่แห่งนี้ อย่างไรก็ตาม ก่อนกาหนดเส้นตายดังกล่าวจะมาถึง ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ภายใต้แรงกดดัน ทางสังคมและการเมือง ก็ได้มีความพยายามในการปรับแนวคิดในการมองพื้นที่ป้อมมหากาฬใหม่ ซึ่ง แตกต่างจากแนวคิดของภาครัฐทุกหน่วยงานที่ผ่านมา จนนามาสู่การว่าจ้าง มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้ามา เพื่อทาวิจัยนาเสนอทิศทางใหม่ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ โดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ทาการ ลงนามข้อตกลงเบื้องต้นร่วมกับชุมชนเพื่อร่วมกันหาทางออกภายใต้คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยศิลากร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2549 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ “โครงการวิจัยเพื่อจัดทาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และ พัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ” 1 ข้อกฏหมายสาคัญที่เป็นเหตุผลหลักของภาครัฐในการเข้ามาจัดการพื้นที่คือ พระราชกฤษฎีกากาหนดเขตที่ดินใน บริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535
  • 2. 2 4 แนวคิดการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬที่ผ่านมา ปัญหาสาคัญของพื้นที่ป้อมมหากาฬที่ผ่านมา เป็นปัญหาในระดับ “กรอบแนวคิด” ที่มองการพัฒนาพื้นที่ ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้แตกต่างกัน สรุปได้อย่างกว้างๆ เป็น 4 แนวทางสาคัญ ดังต่อไปนี้ กรอบแนวคิดแบบกรุงเทพมหานคร (กรอบความคิดแบบภาครัฐ) เนื้อหาหลักๆ เป็นอันหนึ่งอัน เดียวกับแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ของ “คณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์” ประเด็นสาคัญคือ มุ่งอนุรักษ์และปรับปรุงพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ให้ย้อนกลับไปมีบรรยากาศในสมัย รัชกาลที่ 52 พร้อมๆ ไปกับความพยายามที่จะลดจานวนคนที่อยู่อาศัยภายในพื้นที่ (แต่กลับเน้นเพิ่ม ปริมาณนักท่องเที่ยว) ในขณะเดียวกันก็เน้นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (สวนสาธารณะ) ให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อ เปิดมุมมองโบราณสถานสาคัญ และเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจของชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งพื้นที่ป้อม มหากาฬได้ถูกออกแบบวางผังไว้เพื่อทาหน้าที่เป็นสวนสาธารณะขนาดเล็ก (pocket park) แม้ว่าเป้าหมายของแนวคิดนี้ถือว่ามีเจตนาดี แต่ก็มีจุดด้อยสาคัญคือ เป็นการพัฒนาพื้นที่เมือง แบบแช่แข็งความเปลี่ยนแปลง ละเลยความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์ที่ซ้อนทับอยู่บนพื้นที่เมืองอย่าง หลากหลาย มุ่งเน้นแต่รักษาโบราณสถานเป็นหลัก และไล่คนออกจากเมือง ซึ่งหากพิจารณาในกรอบ แนวคิดทางวิชาการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าในปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นแนวคิดที่ผิดพลาดและ เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็ยกเลิกวิธีการดังกล่าวไปเกือบจะหมดสิ้นแล้ว เพราะงานวิชาการปัจจุบันตระหนักดีว่า วิธีการข้างต้นนั้นขาดมุมมองในเชิงวิถีชีวิตของเมืองที่ต้องมี “คน” เป็นส่วนประกอบสาคัญ มิใช่มีแต่ สิ่งก่อสร้างที่แห้งแล้งไร้ชีวิตพียงอย่างเดียว กรอบแนวคิดแบบกรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนฐานที่มองว่าคนเป็นตัวปัญหาในการอนุรักษ์ โบราณสถานจนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งไม่ตอบสนองต่อข้อเท็จจริงทางวิชาการในโลกปัจจุบันอีกต่อไป การดึงดันตามแนวทางดังกล่าวที่คิดขึ้นมาตั้งแต่ 20-30 ปีก่อน ย่อมมีแต่จะนาพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ที่เต็ม ไปด้วยประวัติศาสตร์ที่มีชีวิต ไปสู่เมืองที่ไร้ชีวิต เมืองที่มากด้วยนักท่องเที่ยวตอนกลางวันแต่ร้างผู้คนตอน กลางคืน เมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวและซากอาคารแต่ปราศจากซึ่งวิญญาณของความเป็นเมืองเก่า 2 ดูรายละเอียดแนวคิดดังกล่าวใน “รื้อฟื้นชุมชนเก่า,” สารคดี ปีที่ 17 ฉบับที่ 204 (กุมภาพันธ์ 2545). ทัศนียภาพบริเวณป้อมมหากาฬและพื้นที่เกี่ยวเนื่องตามโครงการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุง รัตนโกสินทร์
  • 3. 3 กรอบแนวคิดแบบเน้นสิทธิชุมชน กรอบแนวคิดนี้มุ่งให้ความสาคัญไปที่วิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัย อยู่ในพื้นที่ มองความเข้มแข็งของชุมชนว่าเป็นสิ่งสาคัญ “ความเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง” เป็นคุณค่าในตัว ของมันเองโดยไม่จาเป็นต้องอ้างอิงคุณค่าอื่นใดอีก ชาวบ้าน (โดยเฉพาะคนจน) ควรจะมีสิทธิที่จะอยู่ อาศัยในพื้นที่ใจกลางเมืองได้ มองว่าผู้คนสามารถอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้โดยไม่จาเป็นต้องทาลายซึ่ง กันและกัน มองการพัฒนาพื้นที่แบบกรุงเทพมหานครว่าเป็นการลิดรอนและละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของ ความเป็นมนุษย์ ด้วยแนวคิดแบบนี้จึงนามาสู่การเสนอทางออกของพื้นที่ในลักษณะ Land sharing ที่ขอแบ่งปันพื้นที่ป้อม มหากาฬ 1 ไร่จากภาครัฐเพื่อจัดสร้างเป็นที่พักอาศัยของชาวบ้านในชุมชน3 จุดด้อยสาคัญของกรอบแนวคิดนี้คือ ความไม่สนใจในประวัติศาสตร์ของพื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์เท่าที่ควร แม้ว่า จะมีการหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาเสมือนให้ความสนใจอยู่บ้าง เช่น การให้ความสาคัญกับบ้านโบราณและอาชีพเชิง วัฒนธรรมภายในชุมชน แต่ก็มักผิวเผินหรือเป็นส่วนประกอบย่อยเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากภายหลังจากที่มีการรื้อบ้าน โบราณหนึ่งหลังลงไปในราวปี 2547 แนวโน้มท่าทีของชุมชนก็มีการปรับลดบทบาทความสาคัญในประเด็นเรื่องบ้าน โบราณลง แม้ว่าแนวคิดนี้จะมีมุมมองว่าคนสามารถอยู่ร่วมกับโบราณสถานอย่างเกื้อหนุนส่งเสริมกันและกันได้ แต่ก็ขาด รูปธรรมของแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน อีกทั้งบางสิ่งที่นาเสนอก็ขัดกับการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์และโบราณสถานเสียเอง อีกด้วย กรอบแนวคิดแบบนักประวัติศาสตร์/นักอนุรักษ์ กรอบแนวคิดนี้เน้นความสาคัญไปที่คุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้จากัดเงื่อนเวลาเพียงสมัยรัชกาลที่ 5 แบบแนวคิดแรก โดยให้ความสาคัญกับ ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อนและหลากหลายมากกว่า อาทิ ประวัติศาสตร์นอกระบบราชการ ประวัติศาสตร์ ชุมชน ประวัติศาสตร์ของคนเล็กคนน้อยในสังคม เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้ความสาคัญกับศิลปวัฒนธรรม ในทุกๆ ด้านไม่เฉพาะเพียงศิลปวัฒนธรรมแบบชนชั้นสูงเท่านั้น 3 ประวัติชุมชนป้อมมหากาฬ รวบรวมโดยคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์ชุมชนป้อมมหากาฬ (เอกสารอัดสาเนา). แนวคิด LAND SHARING ของชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬที่ผ่านมา
  • 4. 4 อย่างไรก็ตามกรอบแนวคิดดังกล่าวก็ยังไม่เคยได้รับการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริงแต่อย่างใด อาจจะเป็นเพราะจุดด้อยสาคัญของกรอบแนวคิดนี้คือ การนาเสนอแนวทางแบบนักวิชาการที่แม้ว่าจะดี แต่มักขาดกลุ่มบุคคลที่จะแปรเปลี่ยนแนวคิดดังกล่าวไปสู่รูปธรรมของการปฏิบัติที่ลงในรายละเอียดที่ ชัดเจนเป็นไปได้จริง อีกทั้งบางครั้งมุมมองเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ศิลปวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ก็โน้มนาไปในลักษณะอุดมคติมากเกินไป กรอบแนวคิดแบบนักออกแบบชุมชนเมือง กลุ่มนี้ เสมือนว่าควรเป็นกลุ่มที่ต้องรับภาระหน้าที่ ในการเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยตรง เป็นกลุ่มที่กล่าวอ้างและถือครองวิชาชีพทางด้านการพัฒนา เมืองมาโดยตลอด แนวทางมักเน้นการปรับปรุงสภาพกายภาพของพื้นที่ให้มีศักยภาพมากขึ้นในแง่การใช้ งาน ปรับปรุงสาธารณูปโภคสาธารณูปการ เน้นความสวยงามเป็นด้านหลัก จุดด้อยสาคัญของกลุ่มแนวคิดนี้คือ แม้จะเป็นนักออกแบบและนักวางผังชุมชนเมืองโดยตรง แต่ ส่วนมากของแนวทางที่ผ่านมา มักจะขาดพื้นฐานความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งของพื้นที่ของท้องถิ่น หรือแม้แต่ของประเทศไทยเอง การแก้ปัญหานิยมอ้างอิงกรอบวิธีคิดและทฤษฎีจากตาราวิชาการตะวันตก โดยขาดความเข้าใจในบริบทเฉพาะถิ่น เน้นเฉพาะมิติเชิงกายภาพและภาพลักษณ์ที่สวยงามเพียงอย่าง เดียว ดังนั้นรูปแบบและแนวทางออกในการพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬเท่าที่ผ่านมาของแนวทางนี้จึงยังดู เป็นอุดมคติสุดทางไปอีกแบบหนึ่งและยังไม่เคยเป็นที่ยอมรับนาไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังแต่อย่างใด ชุมชนบ้านไม้โบราณ: ข้อเสนอใหม่ต่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ จากการวิเคราะห์จุดด้อยจุดเด่นของกรอบแนวคิดที่ผ่านมาทั้งหมด คณะผู้วิจัยฯ ได้ทาการศึกษาหาทิศทาง ในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬรูปแบบใหม่โดยเน้น มิติทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และ วิถีชีวิตชุมชน มาผสมผสานกันเป็นแกนกลางของแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ ภายใต้แนวคิดเรื่อง ชุมชน บ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” สภาพทางกายภาพภายในชุมชนป้อมมหากาฬปัจจุบันจะถูกมองไปในลักษณะไม่สู้ดีนัก ตาม กรอบเกณฑ์มาตรฐานการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ที่เน้นความเจริญทางวัตถุประเภท ถนน ทางด่วน และ สวนสาธารณะที่ไม่มีคนใช้เป็นด้านหลัก แต่สิ่งหนึ่งที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สาคัญของ พื้นที่นี้คือ ความสืบเนื่องของ ความเป็น “ชุมชนบ้านไม้ชานกาแพงพระนคร” ที่อาจจะกล่าวได้ว่า สมบูรณ์มากที่สุดเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลืออยู่ภายในเกาะรัตนโกสินทร์ ซ้าย: แผนที่ป้อมมหากาฬ พื้นที่ชานกาแพงพระนครแห่งสุดท้าย สองภาพขวา: บ้านไม้โบราณภายในพื้นที่ชุมชน ป้อมมหากาฬ
  • 5. 5 ชุมชนป้อมมหากาฬ ตั้งอยู่บนพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า “ชานกาแพงพระนคร” (พื้นที่ ระหว่างกาแพงเมืองกาคูเมือง) พื้นที่ดังกล่าว เป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนอย่างหนาแน่นมาแต่ โบราณ และเป็นลักษณะของพื้นที่เมืองโบราณในอดีตที่สืบทอดต่อเนื่องมาโดยตลอด จนถึงการออกแบบ เมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ ลักษณะเฉพาะของชุมชนชานกาแพงพระนครเช่นนี้ ไม่หลงเหลือในเมืองแห่งใด อีกแล้ว ยกเว้นที่ป้อมมหากาฬแห่งนี้เท่านั้น นอกจากนี้ พื้นที่ป้อมมหากาฬ ยังคงหลงเหลือรูปแบบ บ้านเรือนเก่าแก่ ทั้งในยุคที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงการอยู่อาศัยในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ที่คนไทยยังอยู่เรือน ไทยใต้ถุนสูง จนมาถึงเรือนไม้ทรงฝรั่งปั้นหยาหรือเรือนแบบขนมปังขิงในสมัยรัชกาลที่ 5-7 ซึ่งสะท้อน รสนิยมแบบตะวันตกที่แพร่หลายในยุคดังกล่าว หรือแม้กระทั่งบ้านไม้ในยุคหลังจากนั้นที่มีอายุ 50 ปีลง มาจนกระทั่งถึงบ้านไม้ในสมัยปัจจุบัน ด้วยกายภาพของพื้นที่ที่อยู่ระหว่างกลางระหว่างคูเมืองกับกาแพงเมืองซึ่งมีทางเชื่อมออกสู่พื้นที่ ภายนอกได้จากช่องประตูเพียงสี่ช่องเท่านั้น แน่นอนย่อมทาให้ชุมชนแห่งนี้เป็นพื้นที่ปิดล้อมที่ถูกมองข้าม ไปจากการพัฒนาในเชิงกายภาพของพื้นที่เมืองที่เน้นแต่เชิงวัตถุไปได้ ซึ่งถือว่าเป็นโชคดี เพราะทาให้อย่าง น้อยก็เป็นการปกป้องให้ชุมชนป้อมมหากาฬยังคงดารงการอยู่อาศัยภายในบ้านไม้ทั้งแบบโบราณและ แบบร่วมสมัยชนิดที่ไม่จาเป็นต้องมีรั้วกาแพงมาแบ่งแยกครอบครัวได้ ไม่ว่าลักษณะดังกล่าวจะดีหรือไม่ก็ ตามในมุมมองของนักพัฒนาเมืองสมัยใหม่ แต่ในเชิงการอนุรักษ์แล้ว ชุมชนบ้านไม้ป้อมมหากาฬแห่งนี้ได้ ทาหน้าที่เสมือนกระจกที่สะท้อนให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของการอยู่อาศัยของคนไทยในอดีตจวบจน ปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้การอนุรักษ์รักษาชุมชนบ้านไม้ป้อมมหากาฬไว้ย่อมเป็นเสมือนการรักษา ประวัติศาสตร์การอยู่อาศัยของชาวบ้านที่สาคัญชิ้นหนึ่งของเกาะรัตนโกสินทร์เอาไว้ พื้นที่ดังกล่าวเป็น เสมือน “พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต” ที่จัดแสดงบ้านเรือนไม้โบราณและการอยู่อาศัยของคนไทยในช่วง ร้อยกว่าปีที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี และเป็น “แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม” ภายในพื้นที่เพียงไม่กี่ไร่ และด้วยกรอบแนวคิดดังกล่าวนี้ คณะวิจัยฯ เชื่อว่า โครงการชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ จะไม่เป็นเพียงพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่จืดชืดไร้ชีวิตเหมือนเช่นพิพิธภัณฑ์ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคมไทย แต่จะเป็น พิพิธภัณฑ์ต้นแบบที่มีชีวิต มีรากทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผนวกเข้ากับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของพื้นที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากมาย อาทิ การเป็นชุมชนต้นกาเนิดลิเกแห่งแรกในสยาม4 ชุมชนทาเครื่องดนตรีไทยมาแต่โบราณ ชุมชนศิลปหัตถกรรมต่างๆ เช่น กรงนก ฤาษีดัดตนดินเผา สาย รัดประคด เป็นต้น ก็จะทาให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนที่เกิดขึ้นจากชุมชน ดูแลด้วยชุมชน และมีความเป็นชุมชนอย่างแท้จริง5 4 ดูรายละเอียดใน สุรพล วิรุฬรักษ์, วิวัฒนาการนาฏยศิลป์ไทยในกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-2477 (กรุงเทพฯ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541). 5 รายละเอียดข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และ มรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ โปรดดูใน ชาตรี ประกิตนนทการ และคณะ, โครงการวิจัยเพื่อจัดทาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” (กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549), หน้า 3/1-3/27.
  • 6. 6 การสร้างความมีส่วนร่วม: หัวใจของการอนุรักษ์และพัฒนา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลสาเร็จของโครงการ คณะวิจัยฯ ให้ความสาคัญมากกับกระบวนการได้มาซึ่งทางออกของ งานวิจัย ซึ่งหัวใจของระเบียบวิธีวิจัยในงานชิ้นนี้ ได้เน้นไปที่กระบวนการ 3 ประการดังต่อไปนี้ ประการแรก ให้ความสาคัญกับ “บริบทเฉพาะของพื้นที่” มากกว่า “บริบทมาตรฐาน” เพื่อนามา สู่การดาเนินการในรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่ป้อมมหากาฬ มากกว่าที่จะดาเนินการในรูปแบบแบบ มาตรฐานทั่วไป อาทิ เรื่องสวนสาธารณะ คณะวิจัยฯ จะศึกษาบริบทเฉพาะของพื้นที่เพื่อให้ได้มาซึ่ง รูปแบบสวนสาธารณะที่เหมาะกับพื้นที่ป้อมมหากาฬ มากว่าการดาเนินการออกแบบสวนสาธารณะแบบ มาตรฐาน ประการสอง เน้นประสานการนาเสนอทางออกทั้งในแบบ “บนลงล่าง” (Top-down process) และ “ล่างขึ้นบน” (Bottom-up process) โดยในกระบวนการวิจัยจะรวบรวมความต้องการหรือนโยบาย จากภาครัฐที่มีต่อพื้นที่มาผสานกับความคิดของชาวบ้านในพื้นที่ จากนั้นนามาประมวลเข้าด้วยกันเพื่อ หาทางออกที่เหมาะสม ทั้งนี้จะเน้นการลงพื้นที่ภาคสนามและจัดเวทีการมีส่วนร่วมแบบกลุ่มย่อยเป็น สาคัญ ประการสาม เน้นการมีส่วนร่วมจากภาคประชาสังคม เพราะพื้นที่ป้อมมหากาฬไม่ใช่พื้นที่ของรัฐ หรือของชุมชนป้อมมหากาฬเท่านั้น แต่เป็นของสังคมโดยรวม โดยผ่านกระบวนการจัดเวทีประชาพิจารณ์ สาธารณะ กระบวนการดังกล่าวอยู่ภายใต้แนวคิดเรื่อง “การมีส่วนร่วม” อย่างกว้างขวางและจริงจัง ซึ่ง คณะวิจัยฯ ให้ความสาคัญในการมีส่วนร่วมของคน 3 กลุ่มหลัก คือ หนึ่ง ชาวบ้านชุมชนป้อมมหากาฬ ผู้ ได้รับผลกระทบโดยตรง สอง กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ และสาม ภาคประชาสังคมที่สนใจ ด้านการพัฒนาพื้นที่เมือง การมีส่วนร่วมในชุมชน คณะวิจัยฯ ได้เชิญตัวแทนชุมชนมาร่วมอยู่ในคณะทางาน ในการร่วมกัน วางแผนและออกแบบการทางานวิจัยโดยตลอด และในทุกขั้นตอนของการวิจัย ชาวบ้านทั้งหมดในพื้นที่ จะได้รับรู้และร่วมกันแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอผ่านเวทีประชุมร่วมกันในรูปแบบต่างๆ ไม่ต่ากว่า 30 ครั้ง การมีส่วนร่วมกับกรุงเทพมหานคร คณะวิจัยฯ ได้ทาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับข้าราชการ การเมืองและข้าราชการประจาของกรุงเทพมหานครโดยตลอด โดยดาเนินการใน 2 ลักษณะคือ หนึ่ง ผ่าน เวทีประชาพิจารณ์สาธารณะ และสอง ผ่านการประชุมกลุ่มย่อยระหว่างคณะวิจัยฯ กับระดับผู้บริหารของ กรุงเทพมหานคร และระดับข้าราชการประจาผู้ซึ่งทาหน้าที่ปฏิบัติการโดยตรง การมีส่วนร่วมกับภาคประชาสังคม คณะวิจัยฯ ได้เชิญนักนักวิชาการ นักกฎหมายอิสระ นักพัฒนาเอกชน เครือข่ายองค์กรชาวบ้าน เข้ามาร่วมในการให้ความเห็นต่อเนื้อหาการทางานและร่วมกัน จัดกระบวนการทางานในชุมชนเป็นระยะๆ ประเด็นข้อกฏหมาย ปัญหาสาคัญที่สร้างความกังวลแก่สังคมมากที่สุดคือ การทาตามแผนที่คณะวิจัยฯ นาเสนอ (ดูในห้อข้อ แผนแม่บทฯ) จะขัดต่อกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหากไม่สามารถคลี่ปมทางกฏหมายได้ ก็ไม่สามารถจะ ดาเนินการใดๆ ต่อไปได้เลย ซึ่งประเด็นนี้ คณะวิจัยฯ ได้ตั้งคณะทางานด้านกฎหมายขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่ง
  • 7. 7 ประกอบด้วยนักฏหมายและนักวิชาการทางกฎหมายหลายท่าน และจากการศึกษา สรุปได้ว่ามีข้อ กฎหมาย 3 ประการที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้6 ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดิน กรณีป้อมมหากาฬ มีเงื่อนกฎหมายที่สาคัญที่สุดคือ พระ ราชกฤษฎีกากาหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2535 ซึ่งจากการศึกษา สามารถตีความสถานะทางกฏหมายของพระราชกฤษฎีกา ฯ ได้เป็น 2 แนวทางคือ หนึ่ง ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมายเวนคืน และสอง มีสถานะเป็นกฏหมายเวนคืน แล้ว แนวทางแรก ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้มีบทบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 49 ว่า “.....การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ ......” ดังนั้นคณะวิจัยฯ มีความเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ พ.ศ. 2535 ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย เวนคืน เนื่องจาก การเวนคืนจะต้องออกเป็น “พระราชบัญญัติเวนคืน” เท่านั้น ซึ่งในกรณีพื้นที่ป้อม มหากาฬ เป็นเพียงการประกาศเพื่อกาหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะทาการเวนคืน มิใช้ “พระราชบัญญัติ” ที่มีสถานะทางกฏหมายแต่อย่างใด ที่สาคัญ คาจากัดความของคาว่า “เวนคืน” ใน มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 บัญญัติว่า “.....เวนคืน หมายความว่า บังคับเวนคืนที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น.....” ซึ่งหมายความว่า การเวนคืน จะต้อง เป็นการบังคับให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ โดยอาศัยผลของกฎหมาย แต่กรณีที่ดินภายในบริเวณป้อมมหากาฬ นี้ ที่ดินทุกแปลงล้วนตกเป็นของรัฐโดยการทาสัญญาซื้อขายปกติ มิใช่เป็นการบังคับเวนคืนให้ตกเป็นของ รัฐโดยการออกกฎหมายแต่อย่างใด ด้วยเหตุนี้ หากตีความตามแนวทางแรก ที่ดินภายในพื้นที่ป้อมมหากาฬ จึงไม่จาเป็นที่จะต้อง พัฒนาไปตามที่พระราชกฤาฎีกาฯ บอกไว้ กรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ สามารถพัฒนาที่ดิน ตามที่เห็นควรว่าเหมาะสมได้โดยอิสระ แนวทางที่สอง มีความเห็นว่า พระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ พ.ศ. 2535 มีสถานะเป็นกฎหมาย เวนคืนแล้ว ดังนั้นที่ดินที่ได้มาจึงถือเป็นการได้มาโดยการเวนคืน ซึ่งหากมองในมุมนี้ ประเด็นสาคัญคือ สิ่ง ที่คณะวิจัยฯ นาเสนอทั้งหมดจะต้องไม่ขัดกับวัตถุประสงค์ที่พระราชกฤษฎีกาฯ ระบุไว้ ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็น คือ หนึ่ง เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานสาคัญของชาติ และสอง เพื่อจัดทาเป็นสวนสาธารณะ ในประเด็นแรก เรื่องการอนุรักษ์ คณะทางานทางกฎหมายมีความเห็นว่า สิ่งที่คณะวิจัยฯ นาเสนอ ล้วนส่งเสริมการอนุรักษ์โบราณสถานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นความคิดเรื่องการอนุรักษ์บ้านไม้โบราณ และชุมชนชานกาแพงพระนครที่เหลือเพียงแห่งสุดท้าย หรือการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ความเป็น แหล่งกาเนิดลิเกแห่งแรก ซึ่งนอกจากจะไม่ได้เป็นการทาลายโบราณสถานแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ โบราณสถานสาคัญคือ ป้อมมหากาฬและกาแพงเมืองมีความสมบูรณ์ในแง่ประวัติศาสตร์มากขึ้น ในประเด็นที่สอง เรื่องจัดทาสวนสาธารณะ คณะทางานทางกฏหมายเห็นว่า ตามแผนแม่บทที่ คณะวิจัยฯ เสนอให้มีการอนุรักษ์บ้านไม้โบราณและชุมชนชานกาแพงพระนครไว้ โดยไม่ได้ทาเป็น สวนสาธารณะทั้งหมดนั้นสามารถทาได้ เนื่องจากเคยมีคาพิพากษาฎีกา เป็นบรรทัดฐานไว้ว่า ไม่ จาเป็นต้องใช้ที่ดินตามที่มีการระบุไว้ในพระราชบัญญัติเวนคืนทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้เพียงแต่ขอให้อยู่ใน 6 ดูรายละเอียดใน ชาตรี ประกิตนนทการ และคณะ, โครงการวิจัยเพื่อจัดทาแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ”, หน้า 5/1 – 5/4.
  • 8. 8 ลักษณะที่เสริมสร้างให้การใช้ที่ดินตามเป้าหมายการเวนคืนมีความเหมาะสมมากขึ้น7 ดังนั้น เมื่อย้อนกลับ มาดูแผนแม่บทฯ ที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอรูปแบบของสวนสาธารณะรูปแบบใหม่ โดยเป็นสวนสาธารณะที่ ทาหน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิตและมีชุมชนอยู่ร่วมด้วยนั้น รูปแบบดังกล่าว คณะทางานทาง กฎหมายเห็นว่า สามารถส่งเสริมคุณค่าทางประวัติศาสตร์และคุณค่าของสวนสาธารณะให้มีเพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการขัดแย้งกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2535 แต่อย่างใด ข้อกฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถาน หลายฝ่ายกังวลว่า โครงการที่คณะวิจัยฯ จะจัดทาขึ้นนั้นมี การรักษาอาคารบ้านไม้เอาไว้หลายหลังซึ่งอาจจะผิด พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ม.7 ทวิ ที่บัญญัติไว้ ว่า “.....ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารภายในเขตของโบราณสถานซึ่งอธิบดีได้ประกาศขึ้นทะเบียน เว้นแต่ จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบ.....ดี” แต่จากการศึกษาพบว่า กรณีที่จะเข้าองค์ประกอบตาม ม.7 ทวิ ต้องเป็นกรณีที่มีการกันเขตที่ดินโดยอธิบดีกรมศิลปากรและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เท่านั้น เช่น กรณีประตูเมืองเก่าบริเวณวัดบวรนิเวศ ที่มีการกันเขตชัดเจนออกมายังถนนสาธารณะ แต่ใน กรณีป้อมมหากาฬไม่ได้มีการกันเขตดังกล่าว โดยเป็นการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเฉพาะตัวป้อมและ กาแพงเมืองเท่านั้น ดังนั้นที่ดินบริเวณชานกาแพงพระนครป้อมมหากาฬและพื้นที่ชุมชนจึงไม่ใช่ที่ โบราณสถาน ไม่เข้าองค์ประกอบตาม ม.7 ทวิ แต่อย่างใด ข้อกฎหมายเกี่ยวกับที่สาธารณะ ประเด็นนี้มีความเกี่ยวข้องกับการที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอว่า พื้นที่ป้อมมหากาฬจาเป็นจะต้องมีชุมชนและคนอาศัยอยู่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดชุมชน ประวัติศาสตร์ชานกาแพงพระนครที่เหลือสมบูรณ์อยู่เพียงแห่งเดียว ซึ่งการดารงอยู่ของคนภายในพื้นที่ ทาให้เกิดข้อกังวลว่า ที่ดินพื้นที่ป้อมมหากาฬ กรุงเทพมหานครได้จัดซื้อ (หรือเวนคืน) มาเพื่อจัดทาเป็น สวนสาธารณะ ดังนั้น ที่ดินในบริเวณดังกล่าว จึงถือเป็น สาธารณะสมบัติของแผ่นดิน “สาหรับพลเมืองใช้ ประโยชน์ร่วมกัน” การให้บุคคลได้อยู่อาศัยในลักษณะถาวรย่อมไม่อาจทาได้ กรณีนี้คณะทางานทางกฏมายเห็นว่า กรุงเทพมหานครสามารถดาเนินการตามโครงการที่ คณะวิจัยฯ นาเสนอได้ โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขในประมวลกฎหมายที่ดิน กล่าวคือ กรุงเทพมหานคร สามารถเสนอกฎหมายเปลี่ยนสภาพ จากที่สาธารณะสมบัติของแผ่นดินประเภท “พลเมืองใช้ประโยชน์ ร่วมกัน” เป็นประเภท “สงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ” และดาเนินการตามโครงการนี้ ต่อไปได้ ภายใต้กรอบอานาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ในแนวทางแรก จากประเด็นทางกฎหมายทั้ง 3 ประการที่กล่าวมา สรุปปัญหาข้อกฎหมายได้ว่า โครงการชุมชน บ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” เป็นโครงการที่กรุงเทพมหานครสามารถดาเนินการได้ ภายใต้กรอบ อานาจหน้าที่ที่กฎหมายให้อานาจไว้ โดยไม่มีส่วนใดขัดต่อกฎหมายทั้งสิ้น 7 ดูใน คาพิพากษาฎีกาที่ 2032/2492 ซึ่งมีกรณีว่า มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินเพื่อทาถนน แต่เจ้าหน้าที่กลับ ทาส่วนหนึ่งเป็นถนนคอนกรีต และปราบพื้นที่ปลูกต้นไม้ ติดตั้งเสาไฟฟ้า ฯลฯ โดยไม่ได้ทาเป็นถนนทั้งหมด ซึ่งศาลฏี การได้พิพากษาว่า กรณีนี้ได้ใช้ที่ดินตามพระราชบัญญัติเวนคืนแล้ว
  • 9. 9 ใครมีสิทธิอยู่อาศัย: ปัญหาที่อ่อนไหวของพื้นที่ ประเด็นการอยู่อาศัยของคนภายในพื้นที่ เป็นปัญหาสาคัญและอ่อนไหวอย่างยิ่ง หากข้อเสนอไม่รัดกุมจะ นามาซึ่งปัญหาและความขัดแย้งที่อาจจะขยายตัวเป็นปัญหาทางการเมืองได้ ข้อมูลภายในพื้นที่ป้อมมหากาฬ ณ ปัจจุบัน มีผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น 270 คน คิดเป็น 71 ครอบครัว เป็นผู้หญิง 130 คน ผู้ชาย 140 คน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มแรก เป็นคนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ดั้งเดิมจาก รุ่นพ่อแม่ อายุการอยู่อาศัยมากกว่า 30 ปี มีจานวน 38 ครอบครัว กลุ่มสอง เป็นคนที่อยู่อาศัยระหว่าง 10 – 30 ปี มีจานวน 21 ครอบครัว กลุ่มสามคือ คนที่อยู่อาศัยใหม่มี 12 ครอบครัว อายุการอยู่อาศัยต่า กว่า 10 ปี จานวนบ้านทั้งหมดที่อยู่ในพื้นที่มี 47 หลังคาเรือน จาแนกเป็นเจ้าของบ้าน 22 หลังคาเรือน บ้านเช่าและผู้อาศัย 25 หลังคาเรือน จากการศึกษาได้นามาซึ่งข้อสรุปเกี่ยวกับสถานภาพและเกณฑ์การอยู่อาศัยของชุมชนในพื้นที่ได้ 5 ประการดังต่อไปนี้ ประการที่หนึ่ง สถานะของชาวบ้านทุกคนในปัจจุบันถือว่าเป็นผู้บุกรุก ไม่มีสิทธิในที่ดินและตัว บ้านแต่อย่างใดแล้ว แต่โครงการที่คณะวิจัยฯ นาเสนอนั้น มีสถานะเสมือนเป็นโครงการอนุรักษ์และ พัฒนารูปแบบใหม่ที่กรุงเทพมหานครจัดทาขึ้น โดยคานึงถึงประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม เป็น หัวใจหลักของพื้นที่ ทั้งนี้จะให้ความสาคัญแก่ชาวบ้านและชุมชน กรุงเทพมหานครจะอนุญาติให้มีการอยู่ อาศัยของชุมชนต่อไปได้ โดยถือว่าชุมชนเป็นส่วนสาคัญในการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่นี้ต่อไปในอนาคต ประการที่สอง เกณฑ์คัดเลือกคนเข้าร่วมโครงการ จะเน้นหัวใจสาคัญที่การเสียสละในการทา กิจกรรมต่างๆภายในพื้นที่ (ตามที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอไว้) โดยจะไม่ได้ให้ความสาคัญกับความยาวนาน ของการอยู่อาศัยแต่อย่างใด แต่เน้นไปที่ความรักในพื้นที่และความเสียสละเป็นสาคัญ ชาวบ้านเก่าแก่ใน พื้นที่ อาจจะไม่ได้รับการอนุญาติให้เข้าร่วมโครงการก็ได้ หากไม่ร่วมทากิจกรรมของชุมชนและไม่ร่วมทา กิจกรรมของโครงการ ที่สาคัญ ผู้มีสิทธิเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่ จะต้องไม่มีที่ดินและบ้านภายนอกพื้นที่ป้อม มหากาฬโดยเด็ดขาด8 ประการที่สาม สิทธิการอยู่อาศัยของคน จะไม่ใช่รูปแบบการเช่า แต่สิทธิการอยู่อาศัยจะขึ้นอยู่ กับการปฏิบัติตาม “เงื่อนไข” และ “ข้อบังคับองค์กรชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ” 9 ที่ได้จัดทาขึ้น ภายใต้โครงการวิจัยนี้ หากมีการละเมิดเงื่อนไข สิทธิการอยู่อาศัยจะหมดลงทันที ประการที่สี่ การสืบสิทธิ์การอยู่อาศัย จะใช้วิธีการสืบทอดแบบกฏหมายมรดก อย่างไรก็ตามหาก ทายาทที่ได้รับสิทธิ์ มีการละเมิดเงื่อนไข (ตามประการที่สาม) สิทธิการอยู่อาศัยก็จะหมดลงเช่นเดียวกัน ประการที่ห้า เพื่อให้โครงการดาเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะมีการตั้ง “คณะกรรมการ ดูแลโครงการ” ขึ้น โดยมีสัดส่วนของคณะกรรมการมาจาก 3 ส่วนคือ ชาวบ้านในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และ นักวิชาการจากภายนอก แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อมมหากาฬ จากกรอบแนวคิดที่ตั้งไว้ ผสานกับเงื่อนไขทางกฏหมาย และ เงื่อนไขการอยู่อาศัยของชุมชนในพื้นที่ ได้ นามาซึ่งข้อสรุปของแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ” โดย สามารถสรุปเป็นวิสัยทัศน์และเป้าหมายในเชิงรูปธรรมได้ 3 ประการคือ 8 ดูรายละเอียดทั้งหมดของเกณฑ์การคัดเลือกผู้อยู่อาศัยใน ชาตรี ประกิตนนทการ และคณะ, โครงการวิจัยเพื่อจัดทา แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ “ป้อมมหากาฬ”, หน้า 7/2. 9 ดูรายละเอียด เรื่องเดียวกัน, หน้า 7/1-7/9.
  • 10. 10 ภาพจาลองสภาพหลังการปรับปรุงพื้นที่ ตามแผนที่คณะวิจัยฯ ได้นาเสนอ ประการที่หนึ่ง มุ่งสู่ความเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านไม้โบราณชานกาแพงพระนคร โดยมี รูปธรรมของแผนคือ การรักษาบ้านไม้โบราณที่มีคุณค่าและรักษารูปแบบการจัดวางผังและการอยู่อาศัย ของคนในพื้นที่ชานกาแพงพระนคร ซึ่งกล่าวได้ว่าหลงเหลืออย่างสมบูรณ์เพียงแห่งเดียวแล้วในกรุง รัตนโกสินทร์ ประการที่สอง มุ่งสู่ความเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมในท้องที่และบริเวณ โดยรอบ โดยมีรูปธรรมของแผนคือ การพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชิวิต อาทิ พิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ต้นกาเนิดลิเกสยาม พิพิธภัณฑ์สารพัดเก็บของคุณเฉลิมศักดิ์ รามโกมุท พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง บ้านไม้โบราณ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นต้น โดยทั้งหมดจะกระจายอยู่ ในส่วนต่างๆ ของพื้นที่ ผังแสดงการใช้พื้นพื้นที่ป้อมมหากาฬภาพหลังการปรับปรุง
  • 11. 11 ท่าเรือ ตรอกพระยาเพ็ชร ฯ ป้อมมหากาฬ พิพิธภัณฑ์ ผังพื้นพื้นที่ป้อมมหากาฬภาพหลังการปรับปรุง แสดงตาแหน่งพิพิธภัณฑ์ 4 แห่ง สะพานข้ามไปภูเขาทอง ทัศนียภาพ บ้านไม้โบราณ ตรอกพระยาเพ็ชรฯ ภายในพื้นที่ป้อมมหากาฬ ภายหลังการปรับปรุง บรรยากาศท่าเรือโบราณสมัยรัชกาลที่ 6 และท่าเรือหางยาว ภายในป้อมมหากาฬ หลังการปรับปรุงตามแผน แม่บทฯ อาชีพที่สามารถส่งเสริมให้เป็นจุดขายของโครงการฯ ต่อไปในอนาคต จากซ้าย เลี้ยงไก่ชน ปั้นฤาษีดินเผา ทากรงนก และ หลอมทอง
  • 12. 12 ประการที่สาม มุ่งสู่การเป็นพื้นที่พักผ่อนสาธารณะของคนเมือง โดยมีรูปธรรมของแผนคือ การ เพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะในพื้นที่ให้ได้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ โดยมีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากแต่เดิมที่มีเพียง 44% เป็น 63% และที่สาคัญ จะมุ่งเน้นพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็น “ลานกิจกรรม” ที่มีกิจกรรมหมุนเวียน ต่อเนื่องตลอดเวลา มากกว่าการเป็นพื้นที่สีเขียวเปิดโล่งทั่วไป ทั้งนี้ กิจกรรมที่เกิดขึ้นจะอยู่ภายใต้การ กากับดูแลร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและชุมชนผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ แนวทางดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการระดมความคิดอย่างมีส่วนร่วมทั้งจาก ชาวบ้านในและ นอกพื้นที่ นักวิชาการ ข้าราชการ และบุคคลต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ผ่านเวทีประชาพิจารณ์ สาธารณะ เวทีชาวบ้าน เวทีสัมมนากลุ่มย่อย ตลอดจนการพูดคุยแลกเปลี่ยนอื่นๆ อีกมากมายไม่น้อยกว่า 30 ครั้งตลอดช่วงเวลาของการวิจัย นอกจากนี้ จะมีการปรับปรุงกายภาพภายในพื้นที่และสร้างกิจกรรมใหม่ๆ ขึ้น โดยในเชิงกายภาพ จะมีการบูรณะปรับปรุงอาคารท่าเรือเก่าให้กลับมามีสภาพการใช้งานได้ดีอีกครั้ง ย้ายท่าเรือหางยาว กลับมาที่บริเวณหัวป้อมมหากาฬ เพื่อให้มีผู้คนไหลเวียนเข้าออกพื้นที่มากขึ้น ปรับปรุงตรอกพระยาเพ็ชร ฯ ให้กลายเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจของชุมชน และทาการสร้างสะพานไม้เชื่อมจากตรอกพระยาเพ็ชรฯ ข้ามฟากไปสู่ภูเขาทอง ซึ่งจะทาให้เกิดการไหลเวียนและเชื่อมต่อของผู้คนและกิจกรรมจากภายนอกเข้า มาสู่ภายในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนลานกิจกรรมบริเวณหัวป้อมมหากาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่โล่งผืนใหญ่ที่สุดของพื้นที่ จะพัฒนาให้ กลายเป็นพื้นที่ลานกิจกรรมของทั้งชุมชนและสังคมเมือง จะมีการสร้างกิจจกรรมขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี “ลิเก” เป็นกิจกรรมหลักของพื้นที่ ทั้งนี้ ควรจะมีการประสานกับหน่วยงานทางวัฒนธรรมอื่นๆ เพื่อเข้า มาร่วมสร้างกิจกรรมให้เกิดขึ้นด้วย ทั้งหมดนี้จะทาให้ พื้นที่ป้อมมหากาฬ กลายเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เชื่อมกับแหล่งวัฒนธรรม โดยรอบของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม ถนนราชดาเนิน พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า วัดสระเกศ ฯลฯ บทส่งท้าย งานวิจัยชิ้นนี้คงเป็นได้เพียงก้าวแรกของการแก้ไขปัญหาพื้นที่เท่านั้น การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ป้อม มหากาฬยังคงต้องก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ซึ่งสั่งสมบ่มเพาะและหยั่งลึกมาอย่างยาวนานหลายสิบปี ไม่ว่า จะเป็นทัศนคติเรื่องการอนุรักษ์ที่ล้าสมัยและคับแคบ ปัญหาการเมืองทั้งระดับชาติและท้องถิ่นที่ส่งผลต่อ พื้นที่ ความขัดแย้งภายในของหน่วยราชการ หรือแม้กระทั่งความขัดแย้งภายในของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ ป้อมมหากาฬเองก็ตาม อย่างไรก็ตาม คณะวิจัยฯ มีความเห็นว่า ปัจจัยสาคัญที่จะนาไปสู่ความสาเร็จตามเป้าหมาย ดังกล่าวได้อย่างแท้จริงต้องประกอบด้วย 2 ส่วนคือ หนึ่ง ความเข้มแข็งและตั้งมั่นอย่างจริงใจของชาวบ้าน ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป้อมมหากาฬที่จะอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่นี้ภายใต้เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างแน่วแน่ และ สองคือ ความกล้าหาญของกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของพื้นที่ ที่จะต้องผลักดันอย่างจริงจังจริงใจและ เข้มแข็ง ไม่ยึดติดกับกรอบความคิดที่ล้าสมัยซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้นาพาเมืองเก่าไปสู่การอนุรักษ์ และพัฒนาอย่างยั่งยืนและแท้จริง เพื่อให้อนาคตของพื้นที่แห่งนี้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและทา ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้างอย่างแท้จริง ซึ่งหากทาสาเร็จได้ พื้นที่ป้อมมหากาฬจะเป็นเสมือนต้นแบบ สาคัญที่จะนาไปสู่ทิศทางใหม่ของการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนประวัติศาสตร์แห่งอื่นๆ ในกรุง รัตนโกสินทร์อีกมากมาย