SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 122
Descargar para leer sin conexión
พิมพครั้งแรก ธันวาคม 2559
จํานวนพิมพ 1,000 เลม
เขียนและเรียบเรียงโดย เครือขายสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน / 120 หนา
คณะทํางานโครงการ ศรีดา ตันทะอธิพานิช, ลัดดาวัลย หลักแกว, บุญฟา
ลิ้มวัฒนา, เกณิกา พงษวิรัช, วนัชพร แพสุขชื่น, สัญชัย
ยําสัน, คิด แกวคําชาติ, ชาล สรอยสุวรรณ,
ที่ปรึกษา วิเชียร ไชยบัง, ยงยุทธ วงศภิรมยศานดิ์, ประวิต เอรา
วรรณ, ชัชวาลย ทองดีเลิศ, วรพจน โอสถาภิรัตน,
พฤหัส พหลกุลบุตร, ไพบูลย โสภณสุวภาพ, ปุณพจน
ศรีเพ็ญจันทร, ศรัทธา ปลื้มสูงเนิน, เสาวนีย สังขาระ
บรรณาธิการ คิด แกวคําชาติ
ออกแบบรูปเลม อภิรัฐ วิทยสมบูรณ
ภาพประกอบ ชิดชนก หวงวงศศรี
ผูจัดพิมพ โครงการสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน
พิมพที่ มาตา การพิมพ จํากัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี
องคกรสนับสนุน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.)
โครงการผูนําเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา
ISBN 978-616-393-078-1
ราคา 120 บาท
เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาเด็กและเยาวชน
หองเรียนเดินได
การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นจากการ
ศึกษา การค้นพบแรงบันดาลใจแม้เป็นเพียง
จุดเล็กๆก็สามารถจุดประกายเป็นพลังอัน
ยิ่งใหญ่เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของคนได้   ถ้าเรา
เชื่อมั่นว่าคนแต่ละคนเกิดมามีศักยภาพและ
ความถนัดที่แตกต่างกันไฉนเลยต้องเอาคน
เหล่านั้นมากักขังความคิดและจินตนาการ
รวมกันไว้ที่จุดเล็กๆ ที่เรียกว่าสถานศึกษา
เพียงจุดเดียว
คำ�นำ�
3
ทุกที่มีความรู้ ทุกอณูมีการศึกษา มาร่วมเปิดโลกการ
เรียนรู้ไปกับเรา กับเรื่องราวการจัดการศึกษาที่หลากหลาย
รูปแบบ สอดคล้องกับชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรียน
เพื่อรู้ รู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเอง สังคม
โลกและจักรวาล เป็นการศึกษาแบบเชื่อมโยงตลอดชีวิต
ที่ “เรียนไม่รู้จบ” ผ่านห้องเรียนไม่มีประตู ความรู้ไม่มี
รั้วกัน
หนังสือ “Relearn ห้องเรียนเดินได้” ที่ท่านก�ำลังอ่าน
เล่มนี้ เป็นเพียงการถ่ายทอดประสบการณ์จากต้นแบบ
พื้นที่และกลุ่มคนเล็กๆ ที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง
ทางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ และประกาศต่อโลกไว้ว่านี่คือ
“หัวใจของการศึกษา”  อย่างแท้จริง
	
โครงการสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน
4
สารบัญ
แทนคำ�นิยม		 7
ภาคแรกมุมมองและรูปแบบการขับเคลื่อน
“ต้องค้นหาและสร้างสายตาร่วมกัน”
เจ้าสาวไม่กลัวฝน  	 : ตั้ม ดินสอสี	 13
คนเล็กคิดการใหญ่ต้องมีกลยุทธ์  	 : คิด ส.สืบสาน	 17
ภาคสองว่าด้วยเหตุและปัจจัยกับความนัยทางการศึกษา
โดยคิดแก้วคำ�ชาติ
สานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน  		 25
การศึกษา กับคุณค่าที่ขาดหายไป	 	 29
การศึกษาต้องเริ่มจากครรภ์มารดา ถึง เชิงตะกอน	 37
การศึกษาบนฐานชุมชน กับการค้นหาความหมายร่วม	 41
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวัดค่าที่ใคร?	 	 45
จุดคานงัดทางการศึกษา	 	 49
5
ภาคสามเรื่องเล่าเร้าพลัง
โรงเรียนนี้ไม่มีหลักสูตรส�ำเร็จรูปให้ 	 :	 Nao Saowanee 	 57
	 	 	 	 Sangkara
ห้องเรียนเดินได้เป็นหัวใจของการศึกษา   	 :	 แฟ้บ : รักษ์เขาชะเมา	 61
เรียนบนกระดานดิน	 :	 ครูบาจ๊อก ดอยผาส้ม	 66
กิน เล่น สนุก สุขจากการเรียนรู้ 	 :	 ป้าโก้ บ้านไร่	 69
การศึกษาอย่างเป็นประชาธิปไตย	 :	 ฟิล์ม ยังฟิล์ม 	 73
เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง 	 :	 วิไลลักษณ์ เยอเบาะ	 79
การศึกษาเพื่อการพัฒนาด้านใน 	 :	 คิด ส.สืบสาน เรียบเรียง	 84
การเรียนรู้ที่ทุกคนเป็นเจ้าของ 	 :	 กิ่งก้านใบ	 87
โรงเรียนสายน�้ำกับการเติบโตของหนุ่มสาว	 :	 เอ๋ กลุ่มเรียนรู้บางเพลย์	 91
การศึกษาไทยกับการสร้างโลกคนละโลก 	 :	 นายวัชระ เกตุชู	 99
ในโลกใบเดียวกัน  	
ห้องเรียนไม่ควรมีรั้ว ความรู้ไม่ควรมีก�ำแพง	 :	 ตั้ม กลุ่มดินสอสี	 105
ค�ำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน	 :	 ศูนย์การเรียน	 109
				โจ๊ะมาโลลือหล่า
เก็บเรื่องราวในชุมชน มาระคนใส่ตัวโน้ต	 :	 คิด ส.สืบสาน	 112
เลี้ยงเด็กแบบผักตลาด	 :	 ทีมการศึกษา 	 115
เขาอาจเปราะบางและไวต่อโรค	 	 โดยฐานชุมชน กลุ่มไม้ขีดไฟ
6
การสืบสานภูมิปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการศึกษาการเรียนรู้
หากไปอ่านความหมายของค�ำว่าการศึกษา การสืบสานวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่
ส�ำคัญมากของการศึกษา แต่ที่ผ่านมาการสืบสานวัฒนธรรมถูกผลักให้ออกจาก
ระบบการศึกษา ดังนั้น เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน ต้องท�ำให้มีมิติของ
การศึกษาแต่เป็นการศึกษาเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของชุมชน ย้อนมองกลับไปจะ
พบว่าระบบการศึกษาไทยพึ่งเริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ผ่านมาเมื่อ 100 กว่าปีมา
นี่เอง ซึ่งขณะนั้นการศึกษาที่เกิดขึ้นพยายามจะรวมชาติให้เป็นสยาม เพื่อต่อสู้
กับการล่าอาณานิคม เพราะฉะนั้นการรวมเป็นหนึ่งในยุคนั้นจึงมีความส�ำคัญ
	 แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีระบบโรงเรียนเกิดขึ้นเราก็มีการเรียนรู้มา
ก่อน ซึ่งการเรียนรู้บนฐานชุมชนชัดเจนมากก่อนที่จะมีระบบการศึกษา ซึ่ง
เป็นการศึกษาบนฐานครอบครัว การศึกษาบนฐานชุมชน การศึกษาในวัด การ
ศึกษาที่อยู่กับครูภูมิปัญญา ซึ่งระบบนี้เป็นระบบหลักก่อนมีระบบโรงเรียน และ
พอมีระบบโรงเรียนก็จะมีเป้าหมายของโรงเรียนที่ก�ำหนดโดยรัฐเข้ามาแทนที่
เช่น ยุคแรกที่รวมพลัง รวมอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง ศรีวิชัย ปัตตานีเข้าเป็น
หนึ่งเดียวเพื่อต่อสู่กับอานานิคม โดยมุ่งที่ให้ใช้ภาษาเดียวกันคือภาษาไทยและ
ตัดภาษาท้องถิ่นทั้งหมด เช่น ทางภาคเหนือค�ำภีร์ใบลาน ที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นของสูง
ของศักดิ์สิทธิและเป็นที่บันทึกองค์ความรู้ไว้มากมายก็ถูกทางการเอาไปเผาคน
เฒ่าคนแก่จึงพาเอาไปซ่อนตามถ�้ำ หรือใส่ไหฝังไว้ใต้ดิน
	 หลังจากนั้นเป้าหมายการศึกษาก็ปรับมาเป็นการผลิตคนเพื่อเข้าสู่ระบบ
ราชการ เรียกว่า ยุคไปเรียนเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน  ถัดมาเมื่อระบบราชการเต็ม
ก็มาสู่ ยุคการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการผลิตคนเพื่อป้อนโรงงาน หรือเข้าสู่บริษัท
               ห้องเรียนเดินได้
.........................................
แทนคำ�นิยม
เช่น เป็นนายแบงค์ นางแบงค์ หรือเข้าสู่โรงงานทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เป้า
หมายการศึกษาที่ถูกจัดขึ้นโดยระบบหลักเป็นการดึงเด็กออกจากชุมชน เพื่อไป
เป็นราชการ ไปอยู่โรงงาน บริษัทต่างๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ของระดับชาติ  เรา
จึงพบว่าเด็กเรียนหนังสือแล้วไม่กลับบ้าน เรียนหนังสือแล้วกลับบ้านไม่มีความ
สุข อยู่บ้านแล้วเกิดความทุกข์
	 กระบวนการของการศึกษาบนฐานชุมชนหลังจากที่เราพยายาม
เริ่มการสืบสานภูมิปัญญาพบว่ากระบวนการศึกษาของชุมชนแท้จริงแล้ว
คือกระบวนการสืบค้นหรือการเรียนรู้รากเหง้าของตัวเอง เรียนรู้ประวัติศาสตร์
เรียนรู้เรื่องวิถีวัฒนธรรม เรียนรู้เรื่องวิถีชีวิต ซึ่งวิถีชีวิตหมายถึง ความเชื่อ
ประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณี 12 เดือน การเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติใน
ชุมชน มีป่า เขา ดิน ทุ่งนา ห้วย หนอง คลอง บึง อาหาร  ซึ่งมีมากมายอยู่
ในชุมชน และเราเรียนรู้เรื่องปัจจัย 4 ในชุมชน คือเรื่องการพึ่งตนเอง ไม่ว่าจะ
เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการ
พึ่งตนเอง และที่ส�ำคัญเราเรียนรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง จึงมีค�ำว่า “พี่รู้
สองน้องรู้หนึ่ง” “พริกอยู่เฮือนเหนือเกลืออยู่เฮือนใต้” เป็นลักษณะของวิถีการ
ช่วยเหลือเกื้อกูลไปมาหาสู่กันสัมพันธ์แบบแนวราบ ไม่ใช่แนวอ�ำนาจแบบแนว
ดิ่ง เพราะฉะนั้นการศึกษาบนฐานชุมชนจึงมีความส�ำคัญ ถ้าเด็กออกจากชุมชน
หมด เด็กไม่ได้สืบสานภูมิปัญญาหรือเรียนรู้รากเหง้าของตนเองเลยจะท�ำให้
ชุมชนอ่อนแอ เพราะไม่มีผู้น�ำที่รักชุมชน ไม่มีใครภาคภูมิใจในชุมชน ไม่มีใคร
รู้เรื่องในชุมชนเลย เป้าหมายการศึกษาบนฐานชุมชนคือ หนึ่ง เราก�ำลังสร้าง
ผู้น�ำรุ่นใหม่ที่มีใจรักชุมชน มีความภาคภูมิใจในชุมชน มีความภาคภูมิใจในตัว
เอง สองเราจะมีคนที่มีลักษณะของการเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญา อนุรักษ์
องค์ความรู้ ต่อยอดองค์ความรู้ของชุมชน ซึ่งระบบการศึกษาหลักไม่เคยต่อ-
ยอดความรู้ของชุมชนเหล่านี้เลย แต่กระบวนการของเราต้องต่อยอดความรู้
ของชุมชนให้พัฒนาเพื่อรับใช้ชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคตให้ได้ และสาม ที่ส�ำคัญ
มากคือการพึ่งตนเอง มีลักษณะที่ไม่พึ่งคนอื่น ซึ่งชุมชนมีลักษณะของการพึ่ง
ตนเองและพึ่งซึ่งกันและกัน ไม่ใช่พึ่งตนเองแล้วเอาตัวรอดคนเดียว นัยยะนี้จึงมี
ความหมายอย่างยิ่งส�ำหรับการที่จะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ให้พึ่งตนเองได้ ให้
จัดการตนเองได้ และถ้าชุมชนเหล่านี้มีจ�ำนวนมากขึ้นมันจะส่งผลต่อสังคมใหญ่
ให้เป็นสังคมใหญ่ที่มีรากเหง้า มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่แข็งแรงและสามารถพึ่ง
ตนเองได้ สามารถจัดการตนเองได้ มันส�ำคัญมากเพราะว่าตอนนี้เราก�ำลังไหล
ตามอเมริกา ญี่ปุ่น จีน จนในที่สุดเราไม่มีที่ยืนไม่มีที่มั่นที่เป็นฐานของตัวเอง
เพราะฉะนั้นสังคมในอนาคตที่โลกเปิดกว้างไร้พรมแดนแบบนี้ เราจ�ำเป็นต้องมี
ฐานที่มั่นที่แข็งแรง ซึ่งต้องเริ่มจากชุมชนที่เป็นรากฝอยต่างๆแล้วเชื่อมร้อยกัน
เป็นสังคมใหญ่  
	 โดยที่ทางออกของโลกในสังคมใหญ่ในอนาคต คือ หลักคิดปรัชญาของ
ชุมชนนี่เองที่จะน�ำพาให้โลกอยู่รอดได้ เพราะวิธีคิดหลักปัจจุบันที่ผ่านระบบ
การศึกษาสมัยใหม่ คือ หนึ่ง เอาชนะธรรมชาติ แปรธรรมชาติให้เป็นเงิน ไม่มี
ทางที่ธรรมชาติที่มีในโลกใบนี้จะรองรับความต้องการของมนุษย์เมื่อแปรเป็น
เงินได้ทั้งหมด   สองการแข่งขันแบบเสรี ตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ ต่างคน
ต่างแข่งขันกัน มือใครยาวสาวได้สาวเอา ท�ำให้สังคมในอนาคตจะไม่สามารถอยู่
รอดได้ สาม สังคมที่เป็นสังคมบริโภคนิยม คือ ไม่พึ่งตนเองเลย ท�ำงานหาเงิน
แล้วไปพึ่งคนอื่น ซื้ออย่างเดียว ชีวิตอยู่ไม่รอด เพราะต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ
สังคมแบบนี้น่าจะไม่สามารถน�ำพาให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนหรือมีชีวิตที่มีความ
สุขในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นเราต้องกลับมาดูคุณค่าเดิมของเรา ไม่ใช่ว่าอยู่ที่
เดิม แต่คือเราต้องเรียนรู้ต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้คุณค่าเดิมมารับใช้ปัจจุบัน
ให้ได้หลักคิดคุณค่าเดิมคือการเคารพธรรมชาติอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
การอยู่ร่วมกันแบบพี่แบบน้องด้วยความรักด้วยความเมตตา ดูแลเกื้อกูลกันและ
พึ่งตนเอง ซึ่งลักษณะนี้น่าจะเป็นทางรอดของคนและทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่
อย่างยั่งยืน ท�ำให้โลกและชีวิตของคนเราอยู่ได้
9
สรุปคือ   กระบวนการศึกษาบนฐานชุมชนคือการเรียนรู้รากเหง้าของชีวิต
สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญา  และพัฒนาจิตวิญญาณที่เข้มแข็งของความเป็นมนุษย์
พัฒนาคนให้มีฐานที่มั่นคง มีความเข้มแข็ง น�ำมาสู่ความภาคภูมิใจในตัวเอง ซึ่ง
จะก่อเกิดพลังที่ส�ำคัญมาก คือ พลังแห่งการเรียนรู้ คนที่ใฝ่รู้จะไม่หยุดนิ่ง สังเกต
ว่าเวลาคนท�ำสิ่งเล็กๆส�ำเร็จแล้วเขาจะก้าวไปสู่สิ่งที่โตกว่าเสมอ แต่เมื่อถ้าท�ำสิ่ง
เล็กๆยังท�ำไม่ส�ำเร็จเขาจะไม่สามารถท�ำสิ่งที่ใหญ่ได้ กระบวนการที่คนค้นพบ
ตนเอง คนมีรากเหง้า มีความภาคภูมิใจตัวเองจะมีพลังในการเรียนรู้ทั้งการเรียน
รู้ในเชิงลึกของชีวิต ชุมชน และสังคม  และการเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของ
โลก ผู้น�ำที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะไม่เข้าใจรากเหง้าไม่เข้าใจการเปลี่ยน
แปลงสังคม ถ้าไม่เข้าใจสองอย่างนี้จะไม่สามารถเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงได้ เรา
เชื่อมั่นว่าการศึกษาบนฐานชุมชนนั้นจะสร้างผู้น�ำที่เข้าใจรากเหง้า เข้าใจเท่าทัน
การเปลี่ยนแปลง สามารถจัดการตนเองได้และสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
อย่างเกื้อกูล มีกัลยาณมิตร เขาจะสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ใหญ่ขึ้นได้ด้วย
อย่างเช่น ผู้ใหญ่อานนท์ ไชยรัตน์ เมื่อเริ่มรวมกลุ่มกัน มีการประสานเครือข่าย  
ปัจจุบันมีเครือข่าย 30 กลุ่ม ตอนหลังก็เริ่มได้แหนบทองค�ำ  สร้างการยอมรับ
ไปถึงระดับชาติ เริ่มมีผลงานเป็นผู้ใหญ่บ้านแหนบทองค�ำ  เพราะฉะนั้นก็เริ่มมี
การยอมรับระดับจังหวัด ไปเป็นครูภูมิปัญญาระดับจังหวัด อบจ.เชียงใหม่
มอบเกียรติบัตรให้ พลังของคุณภาพที่เกิดขึ้นในจุดเล็กๆในระดับชุมชนมันจะมี
แสงออร่าถ้าเราท�ำเชิงคุณภาพ มีความส�ำเร็จ จะมีคนเริ่มมาดู เริ่มบอกต่อซึ่ง
ประกายเหล่านี้ที่เราเรียกว่าฉายแสง เป็นการสร้างการมีตัวตนการมีพื้นที่ในสังคม
แม้เราจะอยู่ในชุมชนเล็กๆ หากได้แสดงพลังอย่างเต็มศักยภาพย่อมส่งแรงสะเทือน
ทั้งสังคม เพราะพลังทั้งโลกล้วนเชื่อมโยงกันหมดตั้งแต่ดอกหญ้าถึงดวงดาว
อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ
10
มุมมองและรูปแบบการขับเคลื่อน
“ต้องค้นหาและสร้างสายตาร่วมกัน”
ภาคแรก
เจ้าสาวไม่กลัวฝน
ครุ่นคิด เก็บตกจากการไปร่วมวงคุยการศึกษาบนฐานชุมชน
	 1. เครือข่ายแนวราบ
	 เราจ�ำเป็นต้องมีขบวนหรือไม่ มีเครือข่ายไปท�ำไม
เครือข่ายมีคุณสมบัติแบบไหน จะเคลื่อนขบวนไปอย่างไร
เป็นเครือข่ายในยุคใหม่ ไม่ใช่เครือข่ายเชิงประเด็น
ซึ่งเป็นแนวตั้งและเชิงเดี่ยว แต่เป็นเครือข่ายแนวราบ
ที่ผสมผสานความหลากหลายเข้ามาบูรณาการกัน
เครือข่ายแนวราบที่มาจากความหลากหลายจึงมี
บทบาทส�ำคัญในการสร้างการเรียนรู้ แบ่งปัน
และสื่อสาร ทั้งภายในกลุ่มเครือข่าย ชุมชน และ สังคม
13
การสื่อสารของเครือข่าย เป็นไปเพื่อสร้างการ “เรียนรู้เครื่องมือส�ำคัญ”
ในการ “เผยแพร่สร้างความเข้าใจ” ยอมรับ “แนวคิดใหม่ๆ” ที่มุ่งหวัง
จะสร้างการ “เปลี่ยนแปลง เสริมพลัง” ให้กับผู้คน ชุมชน แสวงหา
"ทางออก" ให้สังคมด้วยปัญญา หัวใจ การลงมือท�ำ และขยายผล
	 2. การเคลื่อนขบวน
	 เมื่อเป็นเครือข่าย จะเคลื่อนขบวนสื่อสารให้ได้ผล จ�ำเป็นต้อง
ค้นหาทิศทางที่ไปร่วมกัน แม้จะเดินคนละสาย แต่มุ่งหน้าไปยังทิศและ
ทางที่มองร่วมกัน คนท�ำงานเครือข่าย ขับเคลื่อนขบวน “ไม่ใช่ผู้ก�ำหนด
ทิศชี้เป้า” อย่างเดิมๆ แต่จะต้องชวนให้เพื่อนมิตร “ค้นหาและสร้าง
สายตา” ร่วมกัน “สายตาที่จะมองเห็นทิศทาง” ซึ่งก�ำหนดจากผู้เดิน
ทางอย่างมีส่วนร่วม ทิศทางส�ำคัญ แต่สายตาที่จะมองเห็นนั้นส�ำคัญ
กว่า จะเดินป่าปีนดอยล่องมหาสมุทรกว้าง ต้องหัดดูดาวเหนือให้เป็น
ไม่ใช่จิ้มนิ้วลงบนแผนที่กระดาษว่าจะไปตรงไหนอย่างเดียว การร่วม
ขบวนไม่ใช่การลงเรือล�ำเดียวกันในความหมายเดิมๆ หากแต่เป็นการ
ล่องล�ำน�้ำชีวิตของแต่ละบริบทที่คดเคี้ยวแตกต่างกันไปเพื่อลุถึงล�ำธาร
ใหญ่ที่เราจะได้พานพบกัน เพื่อแยกกันเป็นห้วยเล็กคลองน้อยไปสร้าง
ความชุ่มเย็นให้ผู้คนในที่อื่นๆ ต่อไป เรามาจากต่างที่ ถ้าเห็นทิศทาง
เดินไปด้วยกัน ควรมีเวลาให้พบกันบ้างเพื่อสร้างความหมายใหม่ๆ พบ
กันเพื่อจะได้แตกสายน�้ำความหมายใหม่ๆ นั้น ให้กลายเป็นล�ำธารไหล
รินไปในหนทางของตัวเองสู่ผู้คนอื่นๆ ที่ไม่เหมือนเดิม อีกครั้ง และอีก
ครั้งการร่วมและเคลื่อนขบวนของเครือข่ายมีความหมายเช่นนี้
14
3.กางร่มสื่อสาร
	 เครือข่ายแนวราบเคลื่อนขบวนไปด้วยสายตาสู่ทิศทางอย่างมี
ส่วนร่วมเพื่อ“สื่อสารความคิด”แสวงหาเพื่อนมิตรสร้างผลสะเทือนน�ำ
เสนอความหวังใหม่ๆ ในบริบทของการงานที่ผ่านการเรียนรู้ท่ามกลาง
ปฏิบัติการจริง ผ่านการปฏิบัติการจริงเพื่อการเรียนรู้ ครั้งแล้วครั้งเล่า
เป็นนักคิดเชิงปฏิบัติการและนักปฏิบัติการเชิงความคิดบนหนทางที่
เต็มไปด้วยอุปสรรคและความท้าทาย ประหนึ่งเดินไปกลางฝนพร�ำที่
บางคราก็กระหน�่ำเม็ดลงมาไม่ลืมหูลืมตา เราจึงชวนกัน “กางร่มสื่อสาร”
ทั้งของแต่ละคน และ “ร่มใหญ่ทางความคิด” ที่ทุกคนจะใช้พาตัวเอง
และขบวนเครือข่ายไปด้วยกัน ในทิศทางเดียวกัน “ร่มสื่อสาร” ค้นหา
“สาร”ที่จะ“สื่อ”ออกไปในแต่ละบริบทเป็น“ความหมาย”ที่จะบอก
กับสังคม ผ่านมุมมองคนท�ำงานในเรื่องราวต่างๆ เป็น “เรื่อง” ที่จะถูก
“เล่า” เป็น “ความคิด” ที่จะ “บอกต่อ” เป็น “ชีวิต” ที่จะ “สานต่อ”
ชีวิตอื่นๆ “ร่มสื่อสาร” เป็น “ที่ๆ คนซึ่งไม่กลัวฝนจะมาพบกัน
แล้วออกเดินทางไปด้วยกัน ในความคิดและทิศทางที่
เกิดจากสายตาร่วมกัน” ในโลกยุคใหม่ เราต่างท่วมท้น
ด้วย “ข้อมูล” มากมาย “ร่มสื่อสาร” ที่เรากางจึงต้อง
“สร้างความหมายใหม่” ให้สารของเรานั้น “พิเศษ”
พิเศษพอที่จะประทับในความทรงจ�ำ ท�ำให้ความรู้
ควบคู่ไปกับความรู้สึก ซึ่งต้องอาศัย “ความคิด
สร้างสรรค์ท�ำมือ” เพื่อคืนอ�ำนาจ “การสื่อสิ่งที่จะสาร”
ให้กลับมาอยู่ในมือคนเล็กคนน้อยและชุมชน หลุดพ้น
15
จากการครอบง�ำเรื่องเล่าและชุดวิธีคิดของกระแสหลักภายใต้อ�ำนาจ
ทั้งทุนและรัฐ เพื่อจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจะเรียนรู้จากการแบ่งปัน
แบ่งปันเพื่อเรียนรู้ เพื่อจะพบส่วนที่ขาด เพื่อจะเติมเต็มและไปข้างหน้า
เพื่อเป็น "พลังแห่งความหวัง" ส่งผ่านจากผู้คนถึงผู้คน ชุมชนถึงชุมชน
สร้าง "สังคมแห่งการอยู่ร่วม ที่เป็นสุข เป็นธรรม และยั่งยืน"
เป็นก�ำลังใจแด่ "เจ้าสาวที่ไม่กลัวฝน" ทุกท่านด้วยความรักและนับถือ
วรพจน์ โอสถาภิรัตน์
(พี่ตั้ม ดินสอสี)
16
คนเล็กคิดการใหญ่ต้องมีกลยุทธ์
	 การที่จะท�ำโครงการสานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน
ให้มีผลสะเทือน และเกิดกระแสให้คนตระหนักรู้หันมาสนใจไม่ใช่เรื่อง
ง่ายๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนมุมมองของคนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง
แนวคิดทางการศึกษา เพราะว่าคนเคยชินกับค�ำว่า
การศึกษาต้องอยู่ในโรงเรียน มีอาคารเรียน มีเสาธง
มีการจัดห้องเรียนเป็นห้องๆเข้าเรียนตามเกณฑ์
ตามอายุ มีครูสอนที่ใส่ชุดข้าราชการพร้อมวุฒิ
ปริญญาการันตีความสามารถยืนสอนอยู่หน้าห้อง
มีหนังสือเรียนเล่มหนาเป็นสื่อการเรียนการสอน
วางอยู่บนโต๊ะ ต้องไปโรงเรียนทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์
นอกเหนือจากนี้แล้ว ไม่ใช่การศึกษา
17
ดังนั้นการที่จะขับเคลื่อนกระท�ำการอะไรบางอย่างให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิด เพื่อให้ออกจาก
ความเคยชินเดิมๆไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่แน่! อาจจะเจอการสวนกลับ
เดี้ยงไม่เป็นท่าเลยก็เป็นได้ ดังนั้น จึงจ�ำเป็นต้องมีแผนการเพื่อเป็น
ยุทธศาสตร์ในการท�ำงาน ดังที่โจโฉ เคยกล่าวไว้ในเรื่องสามก๊กว่า
“วีรบุรุษที่คิดการใหญ่ ต้องมีแผนกลยุทธ์ มีสติปัญญายอดเยี่ยม มี
ปณิธานที่ยิ่งใหญ่” ฉะนั้น อาจารย์ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ หรือลุงชัชคน
เดิมของเรา จึงเสนอว่าคนเล็กคิดการใหญ่จ�ำเป็นต้องมีกลยุทธ์ พร้อม
กับเสนอแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของคุณหมอประเวศ วะสี
ราษฎรอาวุโสและปราชญ์แห่งสยาม เพื่อเป็นแนวทางการท�ำงานว่า
การที่จะขับเคลื่อนสิ่งที่ยากให้ไปสู่จุดหมายสูงสุดโดยกลุ่มคนจ�ำนวน
น้อยๆจ�ำเป็นต้องมีหลักการ 3 อย่าง คือ
พื้นที่นโยบาย
เครือข่าย
พื้นที่รูปธรรม
สื่อ
พื้นที่ทางสังคม
วิชาการ
18
1. พื้นที่รูปธรรม พวกเราต้องอธิบายเชิงประจักษ์ให้เห็นคุณภาพ
หรือคุณค่าทางการศึกษาจากพื้นที่ต้นแบบที่กระจายอยู่ทั่วไปมากมาย
ทั่วทุกภาคอย่างเป็นรูปธรรม ให้รู้ว่าสามารถท�ำได้จริง จับต้องได้ ไปดู
พื้นที่ได้ ไม่ใช่มีเฉพาะแนวคิดหรือทฤษฎีเท่านั้น ดังนั้น เราต้องถอด
องค์ความรู้ออกมาให้คนเข้าใจ เราต้องเคลื่อนด้วยข้อมูลองค์ความรู้
เพื่อน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
	 2. พื้นที่ทางสังคม   เมื่อเราได้ความรู้มาแล้ว จะท�ำอย่างไรให้
คนในสังคมเข้าถึงองค์ความรู้ที่เรามี เข้ามาเป็นภาคีร่วมเรียนรู้กับเรา
และสามารถหยิบจับเอาไปใช้ตามความต้องการได้เลย เพราะถ้าขาด
ความรู้ที่ถูกต้องและเข้าใจง่ายสังคมจะเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก
	 3. พื้นที่ทางนโยบาย ถ้าพวกเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือ
ปลดล็อคทางการศึกษาจริงๆ เราต้องเข้าถึงวงในให้ได้ เพื่อเปลี่ยนเชิง
อ�ำนาจหรือเชิงโครงสร้าง           จะต้องผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายและจัดสรร
งบประมาณมาสนับสนุนพื้นที่ให้ได้
	 แต่ข้าพเจ้าเสนอว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แค่สามเหลี่ยมเขยื้อน
ภูเขา ของคุณหมอประเวศ อาจจะยังไม่เพียงพอ หรือยังไม่ชัดเจน
ส�ำหรับการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าอาจจะซ่อน
ประเด็นที่ข้าพเจ้าก�ำลังกล่าวถึงนี้ไว้ภายในมุมใดมุม
หนึ่งแล้วก็ตาม ซึ่งข้าพเจ้าเห็นควรว่าจะต้องยก
ออกมาให้เห็นเป็นมุมรูปสามเหลี่ยมอีกวงหนึ่ง
อย่างชัดเจน คือ
	 4. พื้นที่สื่อ ทั้งสื่อส่วนตัว Social network
และสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างความสะเทือนและ
สร้างกระแสการสื่อสารกับสังคมให้รับรู้อีกช่องทางหนึ่ง     
19
5. พื้นที่เครือข่าย หรือจะเรียกพื้นที่ประชาสังคมก็ได้ เป็นกลไก
กลางในการบริหารงานเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่รูปธรรมให้เกิด
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กัน ซึ่งจ�ำเป็นมากที่แต่ละองค์กร
แต่ละกลุ่ม ที่มีแนวคิดหรือเป้าประสงค์ตรงกันจะต้องจับมือ สานพลัง
แลกเปลี่ยนขับเคลื่อนภารกิจร่วมกัน เพื่อให้มองเห็นข่ายการท�ำงาน
ภาพรวมที่กว้างขึ้น ท�ำให้เกิดแรงผลักดัน หรือพลังต่อรองที่เข้มแข็งขึ้น
	 6. พื้นที่ทางวิชาการ ทุกวันนี้การท�ำงานต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล
หรือองค์ความรู้ เป็นหลัก ซึ่งส่วนมากคนที่ท�ำงานฐานรากหรือขับเคลื่อน
ในพื้นที่รูปธรรมจะอ่อนเรื่องวิชาการ ว่าสิ่งที่ตนเองท�ำมานั้นมันมีคุณค่า
หรือมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ดังนั้นจะต้องมีฝ่ายวิชาการเพื่อจัดการ
ความรู้ มาช่วยถอดบทเรียน หนุนเสริมการท�ำงานและประเมินเสริม
พลัง ตลอดจนพิจารณาเชื่อมโยงสู่ระดับนโยบายด้วย   
	 จากแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของหมอประเวศเดิม เมื่อ
โดนสามเหลี่ยมอีกวงทับไขว้ลงไป กลายเป็น “ดาวเถื่อนเขยื้อนจักรวาล”
ของข้าพเจ้าทันที ดังนั้นโครงการสานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐานชุมชน
หรือการด�ำเนินโครงการอะไรก็ตามในปัจจุบันจะส�ำเร็จได้นั้น กลยุทธ์
การท�ำงานทั้งหกมุมนี้จะต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน ถ้าขาดหรืออ่อนมุม
ใดมุมหนึ่งก็คงไม่สู้ดีนัก เพราะจะท�ำให้ไปสู่เป้าหมายได้ยากขึ้น  
คิด แก้วค�ำชาติ
20
ว่าด้วยเหตุและปัจจัย
กับความนัยทางการศึกษา
โดย:คิดแก้วคำ�ชาติ
ภาคสอง
สานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน
	 “ ท�ำไมต้องสานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน”
	 เพราะความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยในหลายทศวรรษที่
ผ่านมา สะท้อนให้เห็นจากการที่ประเทศไทยลงทุนเพื่อการศึกษามาก
เป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการศึกษา
อยู่ในระดับต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของนานาชาติต่อเนื่อง
มานานเป็น 10 ปี ที่ส�ำคัญคือการศึกษาไทยไม่ได้
ตอบโจทย์ทางสังคมเหล่านี้
	 ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาต้องเป็นภายใต้กรอบ
คิดใหม่ คือ การปฏิรูปการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อคน
ทั้งมวล เพื่อประชาชนในประเทศไทยราว 70 ล้านคน
25
ดังนั้นการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อสัมมาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
คนทั้งมวลด้วยเหตุนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องปรับจากการเอาวิชาเป็น
ตัวตั้ง มาเป็นเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง แล้วชีวิตคือความหลากหลาย ปฏิรูป
การศึกษาต้องไปสู่ความหลากหลายที่สอดคล้องกับชีวิต ชีวิตของคน
ก็เช่นกันมีความหลากหลาย คนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะไม่เหมือนกัน
วัฒนธรรมของภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ไม่เหมือนกันเพราะสิ่ง
แวดล้อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาควรจะมีความหลากหลายให้
เหมาะสมกับความหลากหลายของผู้คน ซึ่งเป็นแนวคิดของการจัดการ
ศึกษาบนฐานชุมชน หรือใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการศึกษา
	 ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่าการศึกษาเพื่อสัมมาชีพ คือ จุดคานงัด
ของการแก้วิกฤตระบบการศึกษา และแก้วิกฤตของประเทศไปพร้อม ๆ
กัน สัมมาชีพ หมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น
ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ การศึกษาเพื่อ
สัมมาชีพจะปฏิรูปการเรียนรู้จากการท่องวิชาในห้องเรียน มาเป็นการ
เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงให้ได้ผลจริง ซึ่งเป็นการพัฒนาสติปัญญาและ
ทักษะโดยรอบด้าน เป็นการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมในพื้นที่อย่างกว้าง
ขวาง เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะลงมือท�ำอาชีพจริงๆ การ
หลุดพ้นจากความยากจนมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพเด็กและ
26
เยาวชนชน โดยทางทฤษฎีเรารู้ว่าท�ำอย่างไรเด็กและเยาวชนจะมี
คุณภาพ แต่เราติดที่พ่อแม่ยากจน ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก หรือต้องทอดทิ้ง
ลูกไปท�ำมาหากินที่อื่น การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่จะช่วยเรื่องคุณภาพ
เด็กและเยาวชน ดังนั้นการศึกษาเพื่อสัมมาชีพเต็มพื้นที่จะไปปรับ
ระบบการศึกษาทั้งหมดให้ดีขึ้น กล่าวคือ ถ้าเราแบ่งการศึกษาทั้งหมด
เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1) การศึกษาเพื่อสัมมาชีพ (2) การศึกษา
เพื่อวิชาการ (3) การศึกษาเพื่อวิชาชีพ โดยให้ทั้ง 3 เชื่อมต่อกัน การ
ศึกษาเพื่อสัมมาชีพเป็นสามัญศึกษา เพราะอาชีพเป็นสามัญของชีวิต
คนส่วนใหญ่จะศึกษาสายนี้ มีอาชีพ มีฝีมือ มีรายได้ สร้างเศรษฐกิจ
ทั้งส่วนตัว ทั้งของพื้นที่ และของชาติ คนส่วนใหญ่จะพึงพอใจชีวิต
ของตนเอง แต่ถ้าอยากเรียนรู้วิชาอะไรเป็นพิเศษ ก็เป็นการศึกษาเพื่อ
วิชาการ หรือ ข้อ (2) หรือถ้าอยากไปศึกษาเพื่อวิชาชีพ ตามข้อ (3) ต่อ
ไปก็ท�ำได้ การศึกษาเพื่อสัมมาชีพนี้จะใช้งบประมาณไม่มาก ดีไม่ดีอาจ
ท�ำเงินให้ระบบได้ด้วย รัฐจะประหยัดงบประมาณ และมีเงิน
ไปทุ่มเทกับงานวิชาการมากขึ้น
	 ดังนั้น กลุ่มผู้ผ่านการอบรมโครงการผู้น�ำเพื่อ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา รุ่นที่ 2 จึงรวมกลุ่ม
ผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาพัฒนาข้อเสนอแล้วจับมือ
27
กันด�ำเนิน “โครงการสานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐานชุมชน” เพื่อ
เชื่อมเครือข่ายองค์กรที่จัดการศึกษาบนฐานชุมชนมาร่วมเป็นพลัง
ต้นแบบในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยเปลี่ยนทัศนคติใหม่โดยเห็น
คุณค่าและผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน เพื่อพัฒนา
คุณภาพชีวิตและสัมมาชีพ เท่าเทียมกับการศึกษากระแสหลัก และ
กระจายอ�ำนาจการจัดการศึกษาให้กับหน่วยงานอื่นๆ ร่วมจัดการศึกษา
อย่างแท้จริง
28
การศึกษากับคุณค่าที่ขาดหายไป
	 “ยิ่งเรียนสูงเท่าไหร่ยิ่งห่างไกลฐานราก ยิ่งเรียนเก่งเท่าไหร่ยิ่ง
ออกห่างไกลจากชุมชนเท่านั้น”
	 คือประโยคทองของ อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสมาคมสภา
การศึกษาทางเลือกไทย ในนามที่ปรึกษาโครงการ
สานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐานชุมชน
ได้สะท้อนสภาพปัญหาการศึกษาของสังคมไทย
ในปัจจุบันร่วมกับกัลยาณมิตรอีกหลายท่าน
ผ่านวงคุยเสวนาที่ปรึกษา “โครงการสานพลังการ
ศึกษาบนฐานชุมชน” ณ ส�ำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
29
ค�ำพูดของ อ.ชัชวาลย์ หรือข้าพเจ้ามักจะเรียกสั้นๆ แบบคุ้นเคย
ว่า “ลุงชัช” เป็นประโยควลีหนึ่งที่สะกดใจตรึงอารมณ์ให้ข้าพเจ้าได้
หยุดครุ่นคิดถึงชีวิตนักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ มุ่ง
ผลิตพวกเขาออกมาราวกับโรงงานผลิตสินค้าโดยไม่รับผิดชอบชีวิตชีวา
ในอนาคตของพวกเขาเลยว่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งในแต่ละปีนั้นมีบัณฑิตที่
จบออกมาใหม่ประมาณสี่ถึงห้าแสนคนต่อปี คนจ�ำนวนมากมายเหล่า
นี้เขาจะไปท�ำงานที่ไหน ไปประกอบอาชีพอะไร ระบบราชการก็เปิดรับ
จ�ำนวนจ�ำกัด บริษัทก็เปิดรับเฉพาะทาง โรงงานอุตสาหกรรมก็นับวัน
จะเลิกจ้าง งานเฉพาะทางก็ไม่มีทักษะพื้นฐาน คิดไปแล้วปวดหัวกบาล
แทนจริงๆ นี่ยังไม่รวมถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่มีนวัตกรรมก้าวหน้า
สามารถผลิตเครื่องจักรมาท�ำงานแทนคนหรือผลิตหุ่นยนต์ที่ท�ำหน้าที่
ได้ดีและมีศักยภาพมากกว่ามนุษย์อีก    หวังว่าจะหอบปริญญากลับบ้าน
ทุ่งมุ่งสู่หนทางเกษตร เลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดปลูกเห็ดท�ำสวนก็หวั่นใจกลัวๆ
กล้าๆ เกรงคนจะนินทาเพราะพิษของค่านิยมเก่าก่อนที่สอนลูกให้เป็น
เจ้าคนนายคน ที่ส�ำคัญทักษะประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่มี ดังนั้นโอกาส
ของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษามาจะทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด หรือออกห่าง
ไกลครอบครัว ญาติพี่น้องจึงมีมาก เพราะต�ำแหน่งงานดังกล่าวไม่มี
บรรจุในชุมชน จึงต้องทนไปตายดาบหน้า หรือโอกาสที่คนจะตกงานใน
อนาคตอันใกล้จึงมีมากมายนัก
30
ลุงชัช ได้ขยายความให้เห็นสภาพปัญหาต่อไปอีกว่าสาเหตุเหล่านี้
ถ้าพิจารณาดีๆ แล้ว ล้วนเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาทางการศึกษาแทบ
ทั้งสิ้น เพราะการศึกษาในปัจจุบันมีหลายสิ่งที่ส�ำคัญขาดหายไป เช่น
กระบวนการจัดการศึกษาให้เด็กได้ค้นพบตัวเองหายไป มุ่งเน้นผล
สัมฤทธิ์ทางวิชาการมากเกินไป ขาดการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนและ
แนวทางปฏิบัติการเพื่อค้นหาความรู้ด้วยตนเองมีน้อย สอนให้แข่งขัน
เอาชนะกันเอาตัวรอดเพียงคนเดียว เป็นการศึกษาที่ลอกเลียนแบบ
ตะวันตก โดนออกแบบมาให้อยู่ในระบบรับใช้ตลาดแรงงานซึ่งเน้นการ
เป็นลูกจ้างเป็นหลัก ไม่ใส่ความเป็นวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นลง
ไป ละทิ้งภาคเกษตรกรรม ท�ำให้ไม่มีความรู้มาพัฒนาชุมชนตัวเอง จบ
แล้วทิ้งถิ่นฐานไม่คิดกลับบ้านมารับใช้ครอบครัว ชุมชน และสังคม ยิ่ง
เรียนสูงเท่าไหร่ยิ่งออกห่างไกลจากชุมชนมากเท่านั้น  
	 ซึ่งสอดคล้องกับ ดร.ชูพินิจ เกษมณี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
และที่ปรึกษาเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งทาง
โครงการฯได้เชิญมาเป็นที่ปรึกษาด้วย ได้สะท้อน
แนวคิดให้เห็นภาพย้อนหลังว่า การศึกษาสมัยก่อน
คนที่มีโอกาสได้เรียนระดับสูง ก็มีโอกาสเป็นเจ้าคน
นายคนจริง คือเรียนจบแล้วส่วนใหญ่ได้เป็นราชการ
31
เพราะคนที่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาระดับสูงมีน้อย พอมายุค
สมัย พ.ศ.2475เกิดสภาการศึกษาแต่รัฐยังรวมศูนย์อ�ำนาจทุกอย่างไว้
ที่ส่วนกลางการศึกษาก็ยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควรจะเป็น พอถึงยุคหลัง พ.ศ. 2504
เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมา ประเทศเริ่มเข้าสู่
วงจรอุบาศก์ ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมเริ่มหายไปไม่ได้รับความส�ำคัญ
รัฐบาลยึดประเทศตะวันตกเป็นแม่แบบโมเดลในการพัฒนา การผลิต
มุ่งเน้นสู่ระบบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อสนองภาคเศรษฐกิจเป็น
หลัก ซึ่งแต่ก่อนผลิตในครัวเรือนเพื่อบริโภคและความอยู่รอดเป็นหลัก
ความรู้ไม่คืนสู่ชนบทและไม่ต่อยอดจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายเหมือนเดิม
ผู้คนเริ่มทิ้งถิ่นทิ้งภาคเกษตร เพื่อไปท�ำงานหารายได้ในเมืองใหญ่หรือ
เมืองอุตสาหกรรม ระบบครอบครัวเริ่มแตกแยก จนมาถึงปี พ.ศ. 2540
เป็นยุคเศรษฐกิจตกต�่ำ คนกลับมาอาศัยภาคเกษตรอีกครั้ง
	 ข้าพเจ้าขอขยายความเสริมในช่วงนี้เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าใจเพิ่ม
เติมว่ายุคนี้เป็นยุคฟองสบู่แตกยุคต้มย�ำกุ้งหรือยุคIMF(Internation-
al Monetary Fund) ก็ว่ากันไปแล้วแต่ใครละเรียกกัน สถานการณ์ใน
ช่วงนี้คือ สินค้าราคาแพงสวนทางกันกับค่าของเงินราคาถูก ถ้าพูดให้
เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ มีเงิน 10 บาท อาจเหลือค่าเพียง 7-8 บาทเท่านั้น
32
ท�ำให้บรรดานักลงทุนนักเก็งก�ำไรหรือนักธุรกิจน้อยใหญ่ทั้งหลายที่
ลงทุนไปล้มละลายกันไปตามๆ กัน บางบริษัทปิดกิจการ บางโรงงาน
เลิกจ้างปล่อยลอยแพพนักงานกันถ้วนหน้า หลายคนหัวใจสลายถึงกับ
ฆ่าตัวตายก็มี แต่เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา พ่อค้าแม่ขายในตลาดสดยัง
คงสามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างสบายและมีผลกระทบจากภาวะ
เศรษฐกิจตกต�่ำน้อยสุด ผู้คนส่วนหนึ่งเห็นความส�ำคัญจึงหันกลับมา
อาศัยแนวทางภาคเกษตรอีกครั้งหนึ่ง เริ่มมองว่า “เงินทองเป็นของ
มายา ข้าวปลาเป็นของจริง” หลายองค์กรจึงมีกระแสเชิญชวนให้หัน
มามองชีวิตรูปแบบใหม่โดยเน้นการเอาความสุขมวลรวมประชาชาติ
เป็นตัวตั้ง หรือเรียกย่อๆ เป็นภาษาต่างชาติว่า GNH (Gross National
Happiness) แทนการเอาดัชนีตัวเลขรายได้จากเศรษฐกิจหรือปัจจัย
การผลิตสินค้าเป็นตัววัดความมั่นคงของชีวิตอย่าง GNP (Gross National
Product) ซึ่งเหมาเป็นภาพรวมไม่ได้เพราะรายได้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน
และไม่สอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชากร
	 แหม...หลงคุยเพลินพาท่านผู้อ่านออกนอกประเด็น
ไปไกลเลย เอ้า...เรียกสติกันหน่อย...กลับมา...กลับมา...
กลับมาเล่าเรื่องสถานการณ์การศึกษากันต่อ    
33
มาฟังสถานการณ์การศึกษาในมุมมองของผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง
อย่าง “เฮียก๋วย” หรือ พฤหัส พหลกุลบุตร ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการศึกษา
มูลนิธิสื่อชาวบ้าน หรือที่ทุกคนฟังคุ้นหูในนามกลุ่มละครมะขามป้อม
กันบ้าง ว่าคิดเช่นไร เฮียก๋วย คิดว่าการศึกษาที่จัดโดยภาครัฐมุ่ง
ควบคุมและบังคับผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบที่เขาอยากให้เป็น เป็น
ระบบที่ล้าหลัง โดยไม่ค�ำนึงถึงความแตกต่างด้านศักยภาพของผู้เรียน
ซึ่งแนวคิดแบบรัฐที่ว่านี้ท�ำงานล้มเหลว ไม่ทันการเปลี่ยนแปลง เด็ก
เรียนข้างนอกได้ความรู้มากกว่าเข้าไปเรียนในโรงเรียนเสียอีก ซึ่งต่าง
จากการศึกษาในรูปแบบของเรา คือการศึกษาบนฐานชุมชน เน้นการ
ปลดปล่อยศักยภาพความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนออกมาให้เข้าใจตนเอง
ดังนั้น เราจะท�ำอย่างไรถึงจะจับมือกันแล้วส่งเสียงดังๆ ให้คนได้รับรู้
ว่า นอกจากการศึกษากระแสหลักแล้ว ยังมีการศึกษารูปแบบอื่นๆ ให้
เลือกอีกหมายทาง  
	 กัลยาณมิตรท่านสุดท้ายนี้ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวถึง คงนอนตาย
ตาไม่หลับ คือ วรพจน์   โอสถาภิรัตน์ จากกลุ่มดินสอสี หรือที่คนใน
34
วงการกิจกรรมสร้างสรรค์เครือข่ายเด็กและเยาวชนกล่าวถึงอย่างคุ้น
ชินว่า “พี่ตั้มดินสอสี” เจ้าของแนวคิด “ห้องเรียนชุมชน” ภายใต้วาท-
กรรม“ห้องเรียนไม่มีประตูความรู้ไม่มีก�ำแพง”ได้เสนอแนวคิดสั้นๆว่า
เราต้องเชื่อมั่นว่าในชุมชนหนึ่งๆ นั้นมีความรู้หลากหลาย ทั้งเรื่องราว
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ชุมชน ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ผู้รู้
ปราชญ์ชาวบ้าน และสถานที่ส�ำคัญต่างๆ ทุกอย่างล้วนคู่ควรศึกษาทั้ง
นั้น จัดท�ำเป็นฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน เพราะทุกอย่างล้วนมีคุณค่า
เราจึงก�ำลังต่อสู้เรื่องคุณค่า เป็นคุณค่าที่ชุมชนยอมรับ ดังนั้นเราต้อง
เสนอการศึกษาบนฐานชุมชนเป็นการศึกษาทางหลักอีกช่องทางหนึ่ง
ไม่ใช่แค่การศึกษาทางเลือกเท่านั้น และที่ส�ำคัญชุมชนต้องยอมรับ
ยกย่องผู้ที่จบการศึกษาแล้วสามารถอยู่บ้านหรืออยู่ชุมชนตัวเองได้
ฉะนั้นจะท�ำอย่างไรให้คนในท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาเองได้?    
	 จากมุมมองของกัลยาณมิตรหลายท่านที่ข้าพเจ้า
ได้หยิบยกประเด็นใจความส�ำคัญเก็บมาเล่าให้ฟัง
เพียงเพื่อเป็นแนวทางตัวอย่างให้ผู้อ่านได้ครุ่นคิด
35
พินิจนึกตามมุมมองของตนเองต่อไปเท่านั้น และยังมีอาจารย์มาให้ค�ำ
ปรึกษาและเสนอมุมมองที่น่าสนใจให้ศึกษาอีกหลายท่านเพียงแต่ไม่ได้
ยกตัวอย่างหรือกล่าวถึง บทเรียนจากการแลกเปลี่ยนสนทนากันในครั้ง
นี้ท�ำให้ข้าพเจ้าและทีมงานมีความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหา
ทางด้านการศึกษากระจ่างขึ้นมาก และพร้อมที่จะสานพลังเครือข่าย
พื้นที่ต้นแบบร่วมกัน ขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างคุณค่าการศึกษาบน
ฐานชุมชน ต่อไป
36
การศึกษาต้องเริ่มจากครรภ์มารดา
ถึงเชิงตะกอน
	 อาจจะเป็นค�ำพูดที่แรงไป ถ้าข้าพเจ้าขึ้นต้นด้วยค�ำกล่าวที่ว่า “สิ่ง
ที่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากที่สุด คือ การศึกษา” เพราะการ
ศึกษาท�ำให้คนในสังคมไม่เท่าเทียมกัน ดูถูกเหยียดหยามกัน
แข่งขันเอาชนะกัน จัดระดับชนชั้นวรรณะทางความคิด
เช่น เรียงล�ำดับคนที่สอบได้คะแนนสูง-ต�่ำในห้องเรียน
หรือการแบ่งเกรดการเรียนเพื่อวัดระดับคน เป็นต้น
เมื่อจบออกไปแล้วยังไปเจอการละเมิดเกียรติศักดิ์ศรี
จากการจ้างท�ำหน้าที่และการงานของนายจ้างอีก
ทั้งที่มีวุฒิการศึกษาเดียวกัน  หรือบางมหาวิทยาลัย
รับสมัครนักศึกษาใหม่ที่ก�ำหนดว่า รับคนที่มี
37
ผลการเรียนอย่างต�่ำระดับเท่านั้นเท่านี้ขึ้นไปถึงจะมีสิทธิ์เข้าเรียนได้
สิ่งเหล่านี้ยิ่งท�ำให้เป็นเส้นแบ่งความไม่เท่าเทียมทางการศึกษามากยิ่ง
ขึ้นไปอีก และที่หนักยิ่งไปกว่านั้นคือ การศึกษาท�ำไมมีกรอบ มีก�ำแพง
กั้น มีเฉพาะในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น การสอน
ในชุมชน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทักษะสัมมาชีพ การเรียนรู้
ด้วยตนเองเป็นการศึกษาหรือไม่ หรือย่างไร?   
	 บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินชาวบ้าน นินทาว่ากล่าวกันว่า “ไอ้พวก
ไม่มีการศึกษา” ถ้าฟังพอผ่านๆหูอาจจะเข้าใจความหมายว่าหมายถึง
พวกที่ไม่มีความรู้ ไม่มีวุฒิการศึกษา หรือเรียนจบการศึกษาไม่สูงมาก
นัก แต่ถ้าคิดดูดีๆแล้วเขาหมายถึงผู้ไม่มีกริยามารยาทที่เหมาะสม หรือ
ไม่รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมต่างหาก เช่น คนทิ้งขยะไม่ถูกที่ คน
ขับรถย้อนศร คนท�ำอะไรไม่รู้กาลเทศะ คนท�ำตนไม่เป็นประโยชน์
หรือคนไม่ประกอบสัมมาอาชีพอะไรเลย ถึงแม้ว่าจริงๆ แล้วคนที่โดน
ว่ากล่าวนั้นอาจจะเรียนจบการศึกษาปริญญาเอก โท ตรี จัตวา หรือ
ไม่ได้จบอะไรมาก็เลยตาม ก็อาจเป็นคนที่ไม่มีการศึกษาได้ทั้งนั้นตาม
สถานการณ์ความหมายนี้
	 หรือมีค�ำโบราณกล่าวไว้ว่า “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด” แสดง
ถึงคนที่เรียนจบการศึกษาสูงๆมาแต่ท�ำอะไรไม่เป็นเอาตัวไม่รอดท�ำตัว
38
ไม่ดี ไม่มีหน้าที่การงาน สร้างภาระให้กับครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครอง
หรือท�ำตัวเป็นปัญหาต่อสังคมอยู่ก็มีมากมาย หรือว่าระดับการศึกษา
สูงหรือต�่ำไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความส�ำเร็จในชีวิต หรือความสามารถของ
ผู้คน หรือค�ำตอบเรื่องการศึกษาที่สังคมต้องการจริงๆแล้วอาจไม่ใช่คน
ที่มีการศึกษาสูง แต่เป็นคนที่ดี มีปัญญาต่างหาก
	 อ้าว......แล้วการศึกษาคืออะไร?
	 ข้าพเจ้าพยายามสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาความหมาย
ของค�ำว่าการศึกษาว่าหมายถึงอะไรกันแน่ พบว่ามีนักวิชาการหลาย
ท่าน จากหลายเว็บไซด์ได้ให้ความหมายไว้ต่างๆนานา มากมายหลาก
หลายทัศนะแตกต่างกันไป รวมทั้งมีการก�ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติด้วย แต่ที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า
ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด คือ การศึกษาในความหมายของเว็บไซด์
im2market.com ซึ่งเขียนไว้ว่า
	 “การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความ
เจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอด
ความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม
การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม
สังคม ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
39
เพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความ
รู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต สามารถอยู่
ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข”
	 ข้าพเจ้าชอบตรงที่ว่าการศึกษามันเรียนไม่รู้จบ มันสามารถเรียน
รู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและ
วัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต ซึ่งเว็บอื่นๆ ไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนใน
ส่วนนี้ ดังนั้น จะเห็นว่าการศึกษาไม่ได้เริ่มต้นหรือจบเพียงแค่ในโรงเรียน
หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มันเริ่มต้นจาก “ครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน”
เลยทีเดียว เพราะการศึกษาจริงๆ แล้วไม่ได้อยู่ในต�ำราเท่านั้น มันอยู่
ทุกหนทุกแห่ง เรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่  สามารถเรียนรู้ได้ตลอด
ชีวิต  เรียนแล้วรู้จักและเข้าใจตนเอง เรียนแล้วมีสัมมาอาชีพที่เลี้ยงตัว
เองได้ตามศักยภาพ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสังคมได้อย่างมีความ
สุขและภาคภูมิใจในรากเหง้า วิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรมของตนเอง
ไม่ใช่เรียนแล้วห่างไกลชุมชน เกิดความทุกข์ ดูถูกตนเอง   บ้านแตก
สาแหรกขาดกันไป
	
40
การศึกษาบนฐานชุมชน
กับการค้นหาความหมายร่วม
	 จากการขับเคลื่อนโครงการสานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐาน
ชุมชน และประสบการณ์ท�ำงานร่วมกับเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิ-
ปัญญา และท�ำให้รู้ว่าแนวคิดเรื่อง “การศึกษาบนฐานชุมชน”
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด มันมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
หลายพันหลายหมื่นปี เพียงแค่ว่าไม่มีใครเรียก
กระบวนการเหล่านั้นว่าการศึกษา และที่ส�ำคัญ
ไม่มีการบันทึกจัดเก็บไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
เพราะมันกลมกลืนกับวิถีความเป็นอยู่ แต่ถ้าหาก
เราพิจารณาดีๆ แล้วจะพบว่าการศึกษานั้นมีอยู่ทั่วไป
ทุกหนทุกแห่ง เป็นการศึกษาที่สอนให้คนเคารพ
41
ธรรมชาติ เคารพคน เคารพหลักธรรมค�ำสอนของผู้รู้หรือปราชญ์
ชาวบ้าน เป็นการศึกษาที่สอนให้ผู้คนสามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือ
เกื้อกูลกันได้ โดยกระบวนการศึกษานั้นเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ผ่าน
ประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในวิถีชีวิต ผ่านระยะเวลาและ
การพัฒนาที่ต่อเนื่อง จนตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า ส่งต่อความรู้
ในรูปแบบของวัฒนธรรมภูมิปัญญา ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคม ที่มีหลัก
คิด ปรัชญา ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับฐานทรัพยากรของแต่ละ
ท้องถิ่น ดังจะเห็นในรูปแบบขององค์ความรู้ ประเพณี พิธีกรรม
ที่สร้างพลังแห่งความเป็นชุมชนท้องถิ่นในการพึ่งตนเอง เพื่อร่วมกันแก้
ปัญหาชุมชน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับ
สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
	 ตามแนวคิดของ เครือข่ายสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน ซึ่งคัด
จากพื้นที่การท�ำงานต้นแบบสี่ภาค จ�ำนวนกว่า 20 องค์กร ได้ร่วมกัน
ให้ความหมายนิยามไว้ว่า   
	 “การศึกษาบนฐานชุมชน เป็นการศึกษาที่มีเนื้อหาหลักเป็นเรื่อง
ของชุมชน บูรณาการความรู้สมัยใหม่เข้ากับวัฒนธรรม สอดคล้องกับ
บริบทชุมชน โดยคนในชุมชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษา มีเป้าหมายเพื่อ
ชุมชนเป็นตัวตั้ง ความส�ำเร็จไม่ได้อยู่ที่วุฒิทางการศึกษา แต่อยู่ที่คุณค่า
42
ที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน และส่งผลกลับสู่ชุมชน อาทิ ความสามารถใน
การประกอบสัมมาชีพ การด�ำรงคุณค่าของรากเหง้า ทั้งด้านประวัติ-
ศาสตร์ วิถี วัฒนธรรม ทรัพยากร อยู่อย่างมีความสุขโดยเคารพ
ธรรมชาติ เคารพความเป็นมนุษย์ พึ่งพาตนเอง พึ่งพากันและกัน
และสร้างความเจริญให้กับชุมชนได้ อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
ของกระแสโลกในยุคโลกาภิวัตน์”
	 ซึ่งสอดคล้องกับค�ำนิยามของเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา
ที่ได้นิยามความหมายและรูปแบบของการศึกษาบนฐานชุมชนไว้ว่า   
	 “เป็นกระบวนการเรียนรู้รากเหง้าของตนเองผ่านประวัติศาสตร์
ชุมชน ฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีการท�ำมาหากิน ประเพณีพิธีกรรม
ในรอบปี และผู้รู้ภูมิปัญญาในชุมชน รวมทั้งการเรียนรู้ปัจจุบัน และ
เท่าทันโลกสมัยใหม่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งการฟัง
การวิเคราะห์ การฝึกอบรม การร่วมท�ำกิจกรรม การลงมือท�ำ การแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน เป็นต้น จนสามารถเลือกสรร
ความรู้ใหม่มาสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ชุมชน
และสังคมได้”
	 ดังนั้น การศึกษาบนฐานชุมชนก็คือการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาคน ชุมชนและสังคม เพื่อให้เข้าใจวิถีชีวิต
43
และจิตวิญญาณตนเอง เข้าใจองค์ประกอบของการอยู่ร่วมกันของระบบ
นิเวศน์วัฒนธรรมชุมชน อันจะน�ำไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่าง
รู้คุณค่า รู้รักษาและถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้  ทุกคนสามารถศึกษาได้ตาม
รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมตามศักยภาพและ
ความต้องการของแต่ละคน เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ตลอดภพ ตลอด
ชาติ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์จนถึงลมหายใจสุดท้ายของชีวิต เป็น
ความรู้ที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ สามารถยืดหยุ่นได้ตามสภาพ หนึ่งโจทย์
ค�ำถามอาจมีหลายค�ำตอบ หนึ่งค�ำตอบอาจมีหลายคุณค่าและวิธีการ
เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีและชีวิต ถึงแม้ค�ำตอบจะถูกหรือผิด
ก็ถือเป็นการเรียนรู้ ที่ส�ำคัญความรู้ต้องมีการพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ
ดังนั้นค�ำตอบเดิมอาจจะล้าสมัยค�ำตอบใหม่อาจจะเข้ามาแทนที่ก็ได้ถ้า
สภาพแวดล้อมหรือกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์
สามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา
44
ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวัดค่าที่ใคร?
	 ข้าพเจ้าจะยิ้มอย่างเย้ยหยัน เมื่อได้ยินครูหรือบุคลากรทางการ
ศึกษาบางท่านออกมาบ่นว่า “เด็กทุกวันนี้ไม่รู้เป็นอะไร อ่านก็ไม่ออก
เขียนก็ไม่ได้ บวกเลขก็ไม่เป็น” ข้าพเจ้าไม่ได้ดูถูกความ
เป็นครูหรอกครับ แต่เมื่อฟังแล้วหดหู่ใจอะไรบางอย่าง
แบบเด็กๆ เพราะค�ำบ่นเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงบทบาท
การท�ำงานของครูผู้สอนแทบทั้งสิ้น ข้าพเจ้าเคยเสนอ
ในเวทีประชุมประเด็นวาระว่าด้วยการศึกษา
เกือบทุกครั้งว่า เด็กทุกคนเกิดมาไม่ได้มีความรู้ติดตัว
มาโดยก�ำเนิดเหมือนเกิดแล้วได้สัญชาติ ถึงแม้ว่า
45
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้

Más contenido relacionado

Destacado

Entrevistaperiodistica1
Entrevistaperiodistica1Entrevistaperiodistica1
Entrevistaperiodistica1
cmartinezp
 
Equipamiento de aulas
Equipamiento de aulasEquipamiento de aulas
Equipamiento de aulas
laurona12
 
Semiótica de la Revista por Sara Bermea
Semiótica de la Revista por Sara BermeaSemiótica de la Revista por Sara Bermea
Semiótica de la Revista por Sara Bermea
Semioticadelaimagen
 

Destacado (17)

Twitter
TwitterTwitter
Twitter
 
Institutional presentation 3Q16
Institutional presentation 3Q16Institutional presentation 3Q16
Institutional presentation 3Q16
 
OSMC 2016 - Application Performance Management with Open-Source-Tooling by M...
OSMC 2016 -  Application Performance Management with Open-Source-Tooling by M...OSMC 2016 -  Application Performance Management with Open-Source-Tooling by M...
OSMC 2016 - Application Performance Management with Open-Source-Tooling by M...
 
As su'adaa expo 2016
As su'adaa expo 2016As su'adaa expo 2016
As su'adaa expo 2016
 
KRS
KRSKRS
KRS
 
Unter den linden
Unter den lindenUnter den linden
Unter den linden
 
Resume_sandeep
Resume_sandeepResume_sandeep
Resume_sandeep
 
H2fa1Melissa pp frankrijk
H2fa1Melissa pp frankrijkH2fa1Melissa pp frankrijk
H2fa1Melissa pp frankrijk
 
DERIVADAS, FUNCIONES Y VARIABLES EUROTEC
DERIVADAS, FUNCIONES Y VARIABLES EUROTECDERIVADAS, FUNCIONES Y VARIABLES EUROTEC
DERIVADAS, FUNCIONES Y VARIABLES EUROTEC
 
Entrevistaperiodistica1
Entrevistaperiodistica1Entrevistaperiodistica1
Entrevistaperiodistica1
 
Anderson valverde
Anderson valverdeAnderson valverde
Anderson valverde
 
Sociedad colonial-vida-cotidiana-lima
Sociedad colonial-vida-cotidiana-limaSociedad colonial-vida-cotidiana-lima
Sociedad colonial-vida-cotidiana-lima
 
Yaressi
YaressiYaressi
Yaressi
 
Equipamiento de aulas
Equipamiento de aulasEquipamiento de aulas
Equipamiento de aulas
 
Semiótica de la Revista por Sara Bermea
Semiótica de la Revista por Sara BermeaSemiótica de la Revista por Sara Bermea
Semiótica de la Revista por Sara Bermea
 
Elecciones Colombia 2011 Encuesta Alcaldía de Cali y Gobernación del Valle de...
Elecciones Colombia 2011 Encuesta Alcaldía de Cali y Gobernación del Valle de...Elecciones Colombia 2011 Encuesta Alcaldía de Cali y Gobernación del Valle de...
Elecciones Colombia 2011 Encuesta Alcaldía de Cali y Gobernación del Valle de...
 
only you
only youonly you
only you
 

Similar a ReLearn ห้องเรียนเดินได้

04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย
JulPcc CR
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
piyapornnok
 
16ภูมิปัญญาไทย
16ภูมิปัญญาไทย16ภูมิปัญญาไทย
16ภูมิปัญญาไทย
JulPcc CR
 
Saravit eMagazine 10/2557
Saravit eMagazine 10/2557Saravit eMagazine 10/2557
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
krunumc
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
Visanu Khumoun
 
การพัฒนาหลักสูตร ภาษาไทยB
การพัฒนาหลักสูตร  ภาษาไทยBการพัฒนาหลักสูตร  ภาษาไทยB
การพัฒนาหลักสูตร ภาษาไทยB
SOOREETA
 

Similar a ReLearn ห้องเรียนเดินได้ (20)

History
HistoryHistory
History
 
Support gen2
Support gen2Support gen2
Support gen2
 
04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย04ประวัติชนชาติไทย
04ประวัติชนชาติไทย
 
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1page
สไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1pageสไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1page
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-1page
 
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4page
สไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4pageสไลด์  นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4page
สไลด์ นักเรียนกับพระพุทธฯศาสดา+499+dltvsocp6+55t2soc p06 f21-4page
 
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ ประวัติครูบาอินก๋วน
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ  ประวัติครูบาอินก๋วนโครงงานการสืบค้นสารสนเทศ  ประวัติครูบาอินก๋วน
โครงงานการสืบค้นสารสนเทศ ประวัติครูบาอินก๋วน
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
 
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชนผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
ผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม: งานวิจัยวิทยาศาสตร์ในชุมชน
 
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdfธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
ธรรมบท ภาคที่ 1 แปลโดยพยัญชนะ ฉบับสองภาษา (ไทย-บาลี).pdf
 
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
โพธิยาลัย เดือน กุมภาพันธ์ 2555
 
16ภูมิปัญญาไทย
16ภูมิปัญญาไทย16ภูมิปัญญาไทย
16ภูมิปัญญาไทย
 
ศาสนาซิกส์
ศาสนาซิกส์ศาสนาซิกส์
ศาสนาซิกส์
 
Edu system
Edu systemEdu system
Edu system
 
Saravit eMagazine 10/2557
Saravit eMagazine 10/2557Saravit eMagazine 10/2557
Saravit eMagazine 10/2557
 
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
ประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทยประวัติวันภาษาไทย
ประวัติวันภาษาไทย
 
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์  และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
บทที่ 1 วิธีการทางประวัติศาสตร์ และการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบทคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ถอดความบางบท
 
การพัฒนาหลักสูตร ภาษาไทยB
การพัฒนาหลักสูตร  ภาษาไทยBการพัฒนาหลักสูตร  ภาษาไทยB
การพัฒนาหลักสูตร ภาษาไทยB
 
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงินเล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
 

Más de Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
Tum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
Tum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
Tum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
Tum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
Tum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
Tum Meng
 

Más de Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 

ReLearn ห้องเรียนเดินได้

  • 1.
  • 2.
  • 3. พิมพครั้งแรก ธันวาคม 2559 จํานวนพิมพ 1,000 เลม เขียนและเรียบเรียงโดย เครือขายสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน / 120 หนา คณะทํางานโครงการ ศรีดา ตันทะอธิพานิช, ลัดดาวัลย หลักแกว, บุญฟา ลิ้มวัฒนา, เกณิกา พงษวิรัช, วนัชพร แพสุขชื่น, สัญชัย ยําสัน, คิด แกวคําชาติ, ชาล สรอยสุวรรณ, ที่ปรึกษา วิเชียร ไชยบัง, ยงยุทธ วงศภิรมยศานดิ์, ประวิต เอรา วรรณ, ชัชวาลย ทองดีเลิศ, วรพจน โอสถาภิรัตน, พฤหัส พหลกุลบุตร, ไพบูลย โสภณสุวภาพ, ปุณพจน ศรีเพ็ญจันทร, ศรัทธา ปลื้มสูงเนิน, เสาวนีย สังขาระ บรรณาธิการ คิด แกวคําชาติ ออกแบบรูปเลม อภิรัฐ วิทยสมบูรณ ภาพประกอบ ชิดชนก หวงวงศศรี ผูจัดพิมพ โครงการสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน พิมพที่ มาตา การพิมพ จํากัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี องคกรสนับสนุน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ (สสส.) โครงการผูนําเพื่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ISBN 978-616-393-078-1 ราคา 120 บาท เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาเด็กและเยาวชน หองเรียนเดินได
  • 4. การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เริ่มต้นจากการ ศึกษา การค้นพบแรงบันดาลใจแม้เป็นเพียง จุดเล็กๆก็สามารถจุดประกายเป็นพลังอัน ยิ่งใหญ่เปลี่ยนเส้นทางชีวิตของคนได้ ถ้าเรา เชื่อมั่นว่าคนแต่ละคนเกิดมามีศักยภาพและ ความถนัดที่แตกต่างกันไฉนเลยต้องเอาคน เหล่านั้นมากักขังความคิดและจินตนาการ รวมกันไว้ที่จุดเล็กๆ ที่เรียกว่าสถานศึกษา เพียงจุดเดียว คำ�นำ� 3
  • 5. ทุกที่มีความรู้ ทุกอณูมีการศึกษา มาร่วมเปิดโลกการ เรียนรู้ไปกับเรา กับเรื่องราวการจัดการศึกษาที่หลากหลาย รูปแบบ สอดคล้องกับชีวิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เรียน เพื่อรู้ รู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเอง สังคม โลกและจักรวาล เป็นการศึกษาแบบเชื่อมโยงตลอดชีวิต ที่ “เรียนไม่รู้จบ” ผ่านห้องเรียนไม่มีประตู ความรู้ไม่มี รั้วกัน หนังสือ “Relearn ห้องเรียนเดินได้” ที่ท่านก�ำลังอ่าน เล่มนี้ เป็นเพียงการถ่ายทอดประสบการณ์จากต้นแบบ พื้นที่และกลุ่มคนเล็กๆ ที่พยายามสร้างการเปลี่ยนแปลง ทางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ และประกาศต่อโลกไว้ว่านี่คือ “หัวใจของการศึกษา” อย่างแท้จริง โครงการสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน 4
  • 6. สารบัญ แทนคำ�นิยม 7 ภาคแรกมุมมองและรูปแบบการขับเคลื่อน “ต้องค้นหาและสร้างสายตาร่วมกัน” เจ้าสาวไม่กลัวฝน : ตั้ม ดินสอสี 13 คนเล็กคิดการใหญ่ต้องมีกลยุทธ์ : คิด ส.สืบสาน 17 ภาคสองว่าด้วยเหตุและปัจจัยกับความนัยทางการศึกษา โดยคิดแก้วคำ�ชาติ สานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน 25 การศึกษา กับคุณค่าที่ขาดหายไป 29 การศึกษาต้องเริ่มจากครรภ์มารดา ถึง เชิงตะกอน 37 การศึกษาบนฐานชุมชน กับการค้นหาความหมายร่วม 41 ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวัดค่าที่ใคร? 45 จุดคานงัดทางการศึกษา 49 5
  • 7. ภาคสามเรื่องเล่าเร้าพลัง โรงเรียนนี้ไม่มีหลักสูตรส�ำเร็จรูปให้ : Nao Saowanee 57 Sangkara ห้องเรียนเดินได้เป็นหัวใจของการศึกษา : แฟ้บ : รักษ์เขาชะเมา 61 เรียนบนกระดานดิน : ครูบาจ๊อก ดอยผาส้ม 66 กิน เล่น สนุก สุขจากการเรียนรู้ : ป้าโก้ บ้านไร่ 69 การศึกษาอย่างเป็นประชาธิปไตย : ฟิล์ม ยังฟิล์ม 73 เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง : วิไลลักษณ์ เยอเบาะ 79 การศึกษาเพื่อการพัฒนาด้านใน : คิด ส.สืบสาน เรียบเรียง 84 การเรียนรู้ที่ทุกคนเป็นเจ้าของ : กิ่งก้านใบ 87 โรงเรียนสายน�้ำกับการเติบโตของหนุ่มสาว : เอ๋ กลุ่มเรียนรู้บางเพลย์ 91 การศึกษาไทยกับการสร้างโลกคนละโลก : นายวัชระ เกตุชู 99 ในโลกใบเดียวกัน ห้องเรียนไม่ควรมีรั้ว ความรู้ไม่ควรมีก�ำแพง : ตั้ม กลุ่มดินสอสี 105 ค�ำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน : ศูนย์การเรียน 109 โจ๊ะมาโลลือหล่า เก็บเรื่องราวในชุมชน มาระคนใส่ตัวโน้ต : คิด ส.สืบสาน 112 เลี้ยงเด็กแบบผักตลาด : ทีมการศึกษา 115 เขาอาจเปราะบางและไวต่อโรค โดยฐานชุมชน กลุ่มไม้ขีดไฟ 6
  • 8. การสืบสานภูมิปัญญาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการศึกษาการเรียนรู้ หากไปอ่านความหมายของค�ำว่าการศึกษา การสืบสานวัฒนธรรมเป็นเรื่องที่ ส�ำคัญมากของการศึกษา แต่ที่ผ่านมาการสืบสานวัฒนธรรมถูกผลักให้ออกจาก ระบบการศึกษา ดังนั้น เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน ต้องท�ำให้มีมิติของ การศึกษาแต่เป็นการศึกษาเรียนรู้ที่อยู่บนพื้นฐานของชุมชน ย้อนมองกลับไปจะ พบว่าระบบการศึกษาไทยพึ่งเริ่มเมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 ผ่านมาเมื่อ 100 กว่าปีมา นี่เอง ซึ่งขณะนั้นการศึกษาที่เกิดขึ้นพยายามจะรวมชาติให้เป็นสยาม เพื่อต่อสู้ กับการล่าอาณานิคม เพราะฉะนั้นการรวมเป็นหนึ่งในยุคนั้นจึงมีความส�ำคัญ แต่อย่างไรก็ตามก่อนที่จะมีระบบโรงเรียนเกิดขึ้นเราก็มีการเรียนรู้มา ก่อน ซึ่งการเรียนรู้บนฐานชุมชนชัดเจนมากก่อนที่จะมีระบบการศึกษา ซึ่ง เป็นการศึกษาบนฐานครอบครัว การศึกษาบนฐานชุมชน การศึกษาในวัด การ ศึกษาที่อยู่กับครูภูมิปัญญา ซึ่งระบบนี้เป็นระบบหลักก่อนมีระบบโรงเรียน และ พอมีระบบโรงเรียนก็จะมีเป้าหมายของโรงเรียนที่ก�ำหนดโดยรัฐเข้ามาแทนที่ เช่น ยุคแรกที่รวมพลัง รวมอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง ศรีวิชัย ปัตตานีเข้าเป็น หนึ่งเดียวเพื่อต่อสู่กับอานานิคม โดยมุ่งที่ให้ใช้ภาษาเดียวกันคือภาษาไทยและ ตัดภาษาท้องถิ่นทั้งหมด เช่น ทางภาคเหนือค�ำภีร์ใบลาน ที่ซึ่งเชื่อว่าเป็นของสูง ของศักดิ์สิทธิและเป็นที่บันทึกองค์ความรู้ไว้มากมายก็ถูกทางการเอาไปเผาคน เฒ่าคนแก่จึงพาเอาไปซ่อนตามถ�้ำ หรือใส่ไหฝังไว้ใต้ดิน หลังจากนั้นเป้าหมายการศึกษาก็ปรับมาเป็นการผลิตคนเพื่อเข้าสู่ระบบ ราชการ เรียกว่า ยุคไปเรียนเพื่อเป็นเจ้าคนนายคน ถัดมาเมื่อระบบราชการเต็ม ก็มาสู่ ยุคการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการผลิตคนเพื่อป้อนโรงงาน หรือเข้าสู่บริษัท ห้องเรียนเดินได้ ......................................... แทนคำ�นิยม
  • 9. เช่น เป็นนายแบงค์ นางแบงค์ หรือเข้าสู่โรงงานทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เป้า หมายการศึกษาที่ถูกจัดขึ้นโดยระบบหลักเป็นการดึงเด็กออกจากชุมชน เพื่อไป เป็นราชการ ไปอยู่โรงงาน บริษัทต่างๆ ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ของระดับชาติ เรา จึงพบว่าเด็กเรียนหนังสือแล้วไม่กลับบ้าน เรียนหนังสือแล้วกลับบ้านไม่มีความ สุข อยู่บ้านแล้วเกิดความทุกข์ กระบวนการของการศึกษาบนฐานชุมชนหลังจากที่เราพยายาม เริ่มการสืบสานภูมิปัญญาพบว่ากระบวนการศึกษาของชุมชนแท้จริงแล้ว คือกระบวนการสืบค้นหรือการเรียนรู้รากเหง้าของตัวเอง เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เรียนรู้เรื่องวิถีวัฒนธรรม เรียนรู้เรื่องวิถีชีวิต ซึ่งวิถีชีวิตหมายถึง ความเชื่อ ประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณี 12 เดือน การเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติใน ชุมชน มีป่า เขา ดิน ทุ่งนา ห้วย หนอง คลอง บึง อาหาร ซึ่งมีมากมายอยู่ ในชุมชน และเราเรียนรู้เรื่องปัจจัย 4 ในชุมชน คือเรื่องการพึ่งตนเอง ไม่ว่าจะ เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานของการ พึ่งตนเอง และที่ส�ำคัญเราเรียนรู้เรื่องการอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง จึงมีค�ำว่า “พี่รู้ สองน้องรู้หนึ่ง” “พริกอยู่เฮือนเหนือเกลืออยู่เฮือนใต้” เป็นลักษณะของวิถีการ ช่วยเหลือเกื้อกูลไปมาหาสู่กันสัมพันธ์แบบแนวราบ ไม่ใช่แนวอ�ำนาจแบบแนว ดิ่ง เพราะฉะนั้นการศึกษาบนฐานชุมชนจึงมีความส�ำคัญ ถ้าเด็กออกจากชุมชน หมด เด็กไม่ได้สืบสานภูมิปัญญาหรือเรียนรู้รากเหง้าของตนเองเลยจะท�ำให้ ชุมชนอ่อนแอ เพราะไม่มีผู้น�ำที่รักชุมชน ไม่มีใครภาคภูมิใจในชุมชน ไม่มีใคร รู้เรื่องในชุมชนเลย เป้าหมายการศึกษาบนฐานชุมชนคือ หนึ่ง เราก�ำลังสร้าง ผู้น�ำรุ่นใหม่ที่มีใจรักชุมชน มีความภาคภูมิใจในชุมชน มีความภาคภูมิใจในตัว เอง สองเราจะมีคนที่มีลักษณะของการเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญา อนุรักษ์ องค์ความรู้ ต่อยอดองค์ความรู้ของชุมชน ซึ่งระบบการศึกษาหลักไม่เคยต่อ- ยอดความรู้ของชุมชนเหล่านี้เลย แต่กระบวนการของเราต้องต่อยอดความรู้ ของชุมชนให้พัฒนาเพื่อรับใช้ชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคตให้ได้ และสาม ที่ส�ำคัญ
  • 10. มากคือการพึ่งตนเอง มีลักษณะที่ไม่พึ่งคนอื่น ซึ่งชุมชนมีลักษณะของการพึ่ง ตนเองและพึ่งซึ่งกันและกัน ไม่ใช่พึ่งตนเองแล้วเอาตัวรอดคนเดียว นัยยะนี้จึงมี ความหมายอย่างยิ่งส�ำหรับการที่จะพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง ให้พึ่งตนเองได้ ให้ จัดการตนเองได้ และถ้าชุมชนเหล่านี้มีจ�ำนวนมากขึ้นมันจะส่งผลต่อสังคมใหญ่ ให้เป็นสังคมใหญ่ที่มีรากเหง้า มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาที่แข็งแรงและสามารถพึ่ง ตนเองได้ สามารถจัดการตนเองได้ มันส�ำคัญมากเพราะว่าตอนนี้เราก�ำลังไหล ตามอเมริกา ญี่ปุ่น จีน จนในที่สุดเราไม่มีที่ยืนไม่มีที่มั่นที่เป็นฐานของตัวเอง เพราะฉะนั้นสังคมในอนาคตที่โลกเปิดกว้างไร้พรมแดนแบบนี้ เราจ�ำเป็นต้องมี ฐานที่มั่นที่แข็งแรง ซึ่งต้องเริ่มจากชุมชนที่เป็นรากฝอยต่างๆแล้วเชื่อมร้อยกัน เป็นสังคมใหญ่ โดยที่ทางออกของโลกในสังคมใหญ่ในอนาคต คือ หลักคิดปรัชญาของ ชุมชนนี่เองที่จะน�ำพาให้โลกอยู่รอดได้ เพราะวิธีคิดหลักปัจจุบันที่ผ่านระบบ การศึกษาสมัยใหม่ คือ หนึ่ง เอาชนะธรรมชาติ แปรธรรมชาติให้เป็นเงิน ไม่มี ทางที่ธรรมชาติที่มีในโลกใบนี้จะรองรับความต้องการของมนุษย์เมื่อแปรเป็น เงินได้ทั้งหมด สองการแข่งขันแบบเสรี ตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างอยู่ ต่างคน ต่างแข่งขันกัน มือใครยาวสาวได้สาวเอา ท�ำให้สังคมในอนาคตจะไม่สามารถอยู่ รอดได้ สาม สังคมที่เป็นสังคมบริโภคนิยม คือ ไม่พึ่งตนเองเลย ท�ำงานหาเงิน แล้วไปพึ่งคนอื่น ซื้ออย่างเดียว ชีวิตอยู่ไม่รอด เพราะต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ สังคมแบบนี้น่าจะไม่สามารถน�ำพาให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนหรือมีชีวิตที่มีความ สุขในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นเราต้องกลับมาดูคุณค่าเดิมของเรา ไม่ใช่ว่าอยู่ที่ เดิม แต่คือเราต้องเรียนรู้ต่อยอดและพัฒนาเพื่อให้คุณค่าเดิมมารับใช้ปัจจุบัน ให้ได้หลักคิดคุณค่าเดิมคือการเคารพธรรมชาติอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน การอยู่ร่วมกันแบบพี่แบบน้องด้วยความรักด้วยความเมตตา ดูแลเกื้อกูลกันและ พึ่งตนเอง ซึ่งลักษณะนี้น่าจะเป็นทางรอดของคนและทรัพยากรธรรมชาติให้อยู่ อย่างยั่งยืน ท�ำให้โลกและชีวิตของคนเราอยู่ได้ 9
  • 11. สรุปคือ กระบวนการศึกษาบนฐานชุมชนคือการเรียนรู้รากเหง้าของชีวิต สืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญา และพัฒนาจิตวิญญาณที่เข้มแข็งของความเป็นมนุษย์ พัฒนาคนให้มีฐานที่มั่นคง มีความเข้มแข็ง น�ำมาสู่ความภาคภูมิใจในตัวเอง ซึ่ง จะก่อเกิดพลังที่ส�ำคัญมาก คือ พลังแห่งการเรียนรู้ คนที่ใฝ่รู้จะไม่หยุดนิ่ง สังเกต ว่าเวลาคนท�ำสิ่งเล็กๆส�ำเร็จแล้วเขาจะก้าวไปสู่สิ่งที่โตกว่าเสมอ แต่เมื่อถ้าท�ำสิ่ง เล็กๆยังท�ำไม่ส�ำเร็จเขาจะไม่สามารถท�ำสิ่งที่ใหญ่ได้ กระบวนการที่คนค้นพบ ตนเอง คนมีรากเหง้า มีความภาคภูมิใจตัวเองจะมีพลังในการเรียนรู้ทั้งการเรียน รู้ในเชิงลึกของชีวิต ชุมชน และสังคม และการเรียนรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของ โลก ผู้น�ำที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะไม่เข้าใจรากเหง้าไม่เข้าใจการเปลี่ยน แปลงสังคม ถ้าไม่เข้าใจสองอย่างนี้จะไม่สามารถเป็นผู้น�ำการเปลี่ยนแปลงได้ เรา เชื่อมั่นว่าการศึกษาบนฐานชุมชนนั้นจะสร้างผู้น�ำที่เข้าใจรากเหง้า เข้าใจเท่าทัน การเปลี่ยนแปลง สามารถจัดการตนเองได้และสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างเกื้อกูล มีกัลยาณมิตร เขาจะสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ใหญ่ขึ้นได้ด้วย อย่างเช่น ผู้ใหญ่อานนท์ ไชยรัตน์ เมื่อเริ่มรวมกลุ่มกัน มีการประสานเครือข่าย ปัจจุบันมีเครือข่าย 30 กลุ่ม ตอนหลังก็เริ่มได้แหนบทองค�ำ สร้างการยอมรับ ไปถึงระดับชาติ เริ่มมีผลงานเป็นผู้ใหญ่บ้านแหนบทองค�ำ เพราะฉะนั้นก็เริ่มมี การยอมรับระดับจังหวัด ไปเป็นครูภูมิปัญญาระดับจังหวัด อบจ.เชียงใหม่ มอบเกียรติบัตรให้ พลังของคุณภาพที่เกิดขึ้นในจุดเล็กๆในระดับชุมชนมันจะมี แสงออร่าถ้าเราท�ำเชิงคุณภาพ มีความส�ำเร็จ จะมีคนเริ่มมาดู เริ่มบอกต่อซึ่ง ประกายเหล่านี้ที่เราเรียกว่าฉายแสง เป็นการสร้างการมีตัวตนการมีพื้นที่ในสังคม แม้เราจะอยู่ในชุมชนเล็กๆ หากได้แสดงพลังอย่างเต็มศักยภาพย่อมส่งแรงสะเทือน ทั้งสังคม เพราะพลังทั้งโลกล้วนเชื่อมโยงกันหมดตั้งแต่ดอกหญ้าถึงดวงดาว อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ 10
  • 13.
  • 14. เจ้าสาวไม่กลัวฝน ครุ่นคิด เก็บตกจากการไปร่วมวงคุยการศึกษาบนฐานชุมชน 1. เครือข่ายแนวราบ เราจ�ำเป็นต้องมีขบวนหรือไม่ มีเครือข่ายไปท�ำไม เครือข่ายมีคุณสมบัติแบบไหน จะเคลื่อนขบวนไปอย่างไร เป็นเครือข่ายในยุคใหม่ ไม่ใช่เครือข่ายเชิงประเด็น ซึ่งเป็นแนวตั้งและเชิงเดี่ยว แต่เป็นเครือข่ายแนวราบ ที่ผสมผสานความหลากหลายเข้ามาบูรณาการกัน เครือข่ายแนวราบที่มาจากความหลากหลายจึงมี บทบาทส�ำคัญในการสร้างการเรียนรู้ แบ่งปัน และสื่อสาร ทั้งภายในกลุ่มเครือข่าย ชุมชน และ สังคม 13
  • 15. การสื่อสารของเครือข่าย เป็นไปเพื่อสร้างการ “เรียนรู้เครื่องมือส�ำคัญ” ในการ “เผยแพร่สร้างความเข้าใจ” ยอมรับ “แนวคิดใหม่ๆ” ที่มุ่งหวัง จะสร้างการ “เปลี่ยนแปลง เสริมพลัง” ให้กับผู้คน ชุมชน แสวงหา "ทางออก" ให้สังคมด้วยปัญญา หัวใจ การลงมือท�ำ และขยายผล 2. การเคลื่อนขบวน เมื่อเป็นเครือข่าย จะเคลื่อนขบวนสื่อสารให้ได้ผล จ�ำเป็นต้อง ค้นหาทิศทางที่ไปร่วมกัน แม้จะเดินคนละสาย แต่มุ่งหน้าไปยังทิศและ ทางที่มองร่วมกัน คนท�ำงานเครือข่าย ขับเคลื่อนขบวน “ไม่ใช่ผู้ก�ำหนด ทิศชี้เป้า” อย่างเดิมๆ แต่จะต้องชวนให้เพื่อนมิตร “ค้นหาและสร้าง สายตา” ร่วมกัน “สายตาที่จะมองเห็นทิศทาง” ซึ่งก�ำหนดจากผู้เดิน ทางอย่างมีส่วนร่วม ทิศทางส�ำคัญ แต่สายตาที่จะมองเห็นนั้นส�ำคัญ กว่า จะเดินป่าปีนดอยล่องมหาสมุทรกว้าง ต้องหัดดูดาวเหนือให้เป็น ไม่ใช่จิ้มนิ้วลงบนแผนที่กระดาษว่าจะไปตรงไหนอย่างเดียว การร่วม ขบวนไม่ใช่การลงเรือล�ำเดียวกันในความหมายเดิมๆ หากแต่เป็นการ ล่องล�ำน�้ำชีวิตของแต่ละบริบทที่คดเคี้ยวแตกต่างกันไปเพื่อลุถึงล�ำธาร ใหญ่ที่เราจะได้พานพบกัน เพื่อแยกกันเป็นห้วยเล็กคลองน้อยไปสร้าง ความชุ่มเย็นให้ผู้คนในที่อื่นๆ ต่อไป เรามาจากต่างที่ ถ้าเห็นทิศทาง เดินไปด้วยกัน ควรมีเวลาให้พบกันบ้างเพื่อสร้างความหมายใหม่ๆ พบ กันเพื่อจะได้แตกสายน�้ำความหมายใหม่ๆ นั้น ให้กลายเป็นล�ำธารไหล รินไปในหนทางของตัวเองสู่ผู้คนอื่นๆ ที่ไม่เหมือนเดิม อีกครั้ง และอีก ครั้งการร่วมและเคลื่อนขบวนของเครือข่ายมีความหมายเช่นนี้ 14
  • 16. 3.กางร่มสื่อสาร เครือข่ายแนวราบเคลื่อนขบวนไปด้วยสายตาสู่ทิศทางอย่างมี ส่วนร่วมเพื่อ“สื่อสารความคิด”แสวงหาเพื่อนมิตรสร้างผลสะเทือนน�ำ เสนอความหวังใหม่ๆ ในบริบทของการงานที่ผ่านการเรียนรู้ท่ามกลาง ปฏิบัติการจริง ผ่านการปฏิบัติการจริงเพื่อการเรียนรู้ ครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นนักคิดเชิงปฏิบัติการและนักปฏิบัติการเชิงความคิดบนหนทางที่ เต็มไปด้วยอุปสรรคและความท้าทาย ประหนึ่งเดินไปกลางฝนพร�ำที่ บางคราก็กระหน�่ำเม็ดลงมาไม่ลืมหูลืมตา เราจึงชวนกัน “กางร่มสื่อสาร” ทั้งของแต่ละคน และ “ร่มใหญ่ทางความคิด” ที่ทุกคนจะใช้พาตัวเอง และขบวนเครือข่ายไปด้วยกัน ในทิศทางเดียวกัน “ร่มสื่อสาร” ค้นหา “สาร”ที่จะ“สื่อ”ออกไปในแต่ละบริบทเป็น“ความหมาย”ที่จะบอก กับสังคม ผ่านมุมมองคนท�ำงานในเรื่องราวต่างๆ เป็น “เรื่อง” ที่จะถูก “เล่า” เป็น “ความคิด” ที่จะ “บอกต่อ” เป็น “ชีวิต” ที่จะ “สานต่อ” ชีวิตอื่นๆ “ร่มสื่อสาร” เป็น “ที่ๆ คนซึ่งไม่กลัวฝนจะมาพบกัน แล้วออกเดินทางไปด้วยกัน ในความคิดและทิศทางที่ เกิดจากสายตาร่วมกัน” ในโลกยุคใหม่ เราต่างท่วมท้น ด้วย “ข้อมูล” มากมาย “ร่มสื่อสาร” ที่เรากางจึงต้อง “สร้างความหมายใหม่” ให้สารของเรานั้น “พิเศษ” พิเศษพอที่จะประทับในความทรงจ�ำ ท�ำให้ความรู้ ควบคู่ไปกับความรู้สึก ซึ่งต้องอาศัย “ความคิด สร้างสรรค์ท�ำมือ” เพื่อคืนอ�ำนาจ “การสื่อสิ่งที่จะสาร” ให้กลับมาอยู่ในมือคนเล็กคนน้อยและชุมชน หลุดพ้น 15
  • 17. จากการครอบง�ำเรื่องเล่าและชุดวิธีคิดของกระแสหลักภายใต้อ�ำนาจ ทั้งทุนและรัฐ เพื่อจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจะเรียนรู้จากการแบ่งปัน แบ่งปันเพื่อเรียนรู้ เพื่อจะพบส่วนที่ขาด เพื่อจะเติมเต็มและไปข้างหน้า เพื่อเป็น "พลังแห่งความหวัง" ส่งผ่านจากผู้คนถึงผู้คน ชุมชนถึงชุมชน สร้าง "สังคมแห่งการอยู่ร่วม ที่เป็นสุข เป็นธรรม และยั่งยืน" เป็นก�ำลังใจแด่ "เจ้าสาวที่ไม่กลัวฝน" ทุกท่านด้วยความรักและนับถือ วรพจน์ โอสถาภิรัตน์ (พี่ตั้ม ดินสอสี) 16
  • 18. คนเล็กคิดการใหญ่ต้องมีกลยุทธ์ การที่จะท�ำโครงการสานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน ให้มีผลสะเทือน และเกิดกระแสให้คนตระหนักรู้หันมาสนใจไม่ใช่เรื่อง ง่ายๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนมุมมองของคนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง แนวคิดทางการศึกษา เพราะว่าคนเคยชินกับค�ำว่า การศึกษาต้องอยู่ในโรงเรียน มีอาคารเรียน มีเสาธง มีการจัดห้องเรียนเป็นห้องๆเข้าเรียนตามเกณฑ์ ตามอายุ มีครูสอนที่ใส่ชุดข้าราชการพร้อมวุฒิ ปริญญาการันตีความสามารถยืนสอนอยู่หน้าห้อง มีหนังสือเรียนเล่มหนาเป็นสื่อการเรียนการสอน วางอยู่บนโต๊ะ ต้องไปโรงเรียนทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ นอกเหนือจากนี้แล้ว ไม่ใช่การศึกษา 17
  • 19. ดังนั้นการที่จะขับเคลื่อนกระท�ำการอะไรบางอย่างให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางแนวคิด เพื่อให้ออกจาก ความเคยชินเดิมๆไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไม่แน่! อาจจะเจอการสวนกลับ เดี้ยงไม่เป็นท่าเลยก็เป็นได้ ดังนั้น จึงจ�ำเป็นต้องมีแผนการเพื่อเป็น ยุทธศาสตร์ในการท�ำงาน ดังที่โจโฉ เคยกล่าวไว้ในเรื่องสามก๊กว่า “วีรบุรุษที่คิดการใหญ่ ต้องมีแผนกลยุทธ์ มีสติปัญญายอดเยี่ยม มี ปณิธานที่ยิ่งใหญ่” ฉะนั้น อาจารย์ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ หรือลุงชัชคน เดิมของเรา จึงเสนอว่าคนเล็กคิดการใหญ่จ�ำเป็นต้องมีกลยุทธ์ พร้อม กับเสนอแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของคุณหมอประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสและปราชญ์แห่งสยาม เพื่อเป็นแนวทางการท�ำงานว่า การที่จะขับเคลื่อนสิ่งที่ยากให้ไปสู่จุดหมายสูงสุดโดยกลุ่มคนจ�ำนวน น้อยๆจ�ำเป็นต้องมีหลักการ 3 อย่าง คือ พื้นที่นโยบาย เครือข่าย พื้นที่รูปธรรม สื่อ พื้นที่ทางสังคม วิชาการ 18
  • 20. 1. พื้นที่รูปธรรม พวกเราต้องอธิบายเชิงประจักษ์ให้เห็นคุณภาพ หรือคุณค่าทางการศึกษาจากพื้นที่ต้นแบบที่กระจายอยู่ทั่วไปมากมาย ทั่วทุกภาคอย่างเป็นรูปธรรม ให้รู้ว่าสามารถท�ำได้จริง จับต้องได้ ไปดู พื้นที่ได้ ไม่ใช่มีเฉพาะแนวคิดหรือทฤษฎีเท่านั้น ดังนั้น เราต้องถอด องค์ความรู้ออกมาให้คนเข้าใจ เราต้องเคลื่อนด้วยข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อน�ำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 2. พื้นที่ทางสังคม เมื่อเราได้ความรู้มาแล้ว จะท�ำอย่างไรให้ คนในสังคมเข้าถึงองค์ความรู้ที่เรามี เข้ามาเป็นภาคีร่วมเรียนรู้กับเรา และสามารถหยิบจับเอาไปใช้ตามความต้องการได้เลย เพราะถ้าขาด ความรู้ที่ถูกต้องและเข้าใจง่ายสังคมจะเคลื่อนหรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก 3. พื้นที่ทางนโยบาย ถ้าพวกเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงหรือ ปลดล็อคทางการศึกษาจริงๆ เราต้องเข้าถึงวงในให้ได้ เพื่อเปลี่ยนเชิง อ�ำนาจหรือเชิงโครงสร้าง จะต้องผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายและจัดสรร งบประมาณมาสนับสนุนพื้นที่ให้ได้ แต่ข้าพเจ้าเสนอว่า ในสภาวการณ์ปัจจุบัน แค่สามเหลี่ยมเขยื้อน ภูเขา ของคุณหมอประเวศ อาจจะยังไม่เพียงพอ หรือยังไม่ชัดเจน ส�ำหรับการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเท่าใดนัก ถึงแม้ว่าอาจจะซ่อน ประเด็นที่ข้าพเจ้าก�ำลังกล่าวถึงนี้ไว้ภายในมุมใดมุม หนึ่งแล้วก็ตาม ซึ่งข้าพเจ้าเห็นควรว่าจะต้องยก ออกมาให้เห็นเป็นมุมรูปสามเหลี่ยมอีกวงหนึ่ง อย่างชัดเจน คือ 4. พื้นที่สื่อ ทั้งสื่อส่วนตัว Social network และสื่อสารสาธารณะ เพื่อสร้างความสะเทือนและ สร้างกระแสการสื่อสารกับสังคมให้รับรู้อีกช่องทางหนึ่ง 19
  • 21. 5. พื้นที่เครือข่าย หรือจะเรียกพื้นที่ประชาสังคมก็ได้ เป็นกลไก กลางในการบริหารงานเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่รูปธรรมให้เกิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กัน ซึ่งจ�ำเป็นมากที่แต่ละองค์กร แต่ละกลุ่ม ที่มีแนวคิดหรือเป้าประสงค์ตรงกันจะต้องจับมือ สานพลัง แลกเปลี่ยนขับเคลื่อนภารกิจร่วมกัน เพื่อให้มองเห็นข่ายการท�ำงาน ภาพรวมที่กว้างขึ้น ท�ำให้เกิดแรงผลักดัน หรือพลังต่อรองที่เข้มแข็งขึ้น 6. พื้นที่ทางวิชาการ ทุกวันนี้การท�ำงานต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือองค์ความรู้ เป็นหลัก ซึ่งส่วนมากคนที่ท�ำงานฐานรากหรือขับเคลื่อน ในพื้นที่รูปธรรมจะอ่อนเรื่องวิชาการ ว่าสิ่งที่ตนเองท�ำมานั้นมันมีคุณค่า หรือมีประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร ดังนั้นจะต้องมีฝ่ายวิชาการเพื่อจัดการ ความรู้ มาช่วยถอดบทเรียน หนุนเสริมการท�ำงานและประเมินเสริม พลัง ตลอดจนพิจารณาเชื่อมโยงสู่ระดับนโยบายด้วย จากแนวคิด “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ของหมอประเวศเดิม เมื่อ โดนสามเหลี่ยมอีกวงทับไขว้ลงไป กลายเป็น “ดาวเถื่อนเขยื้อนจักรวาล” ของข้าพเจ้าทันที ดังนั้นโครงการสานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐานชุมชน หรือการด�ำเนินโครงการอะไรก็ตามในปัจจุบันจะส�ำเร็จได้นั้น กลยุทธ์ การท�ำงานทั้งหกมุมนี้จะต้องเคลื่อนไปพร้อมๆกัน ถ้าขาดหรืออ่อนมุม ใดมุมหนึ่งก็คงไม่สู้ดีนัก เพราะจะท�ำให้ไปสู่เป้าหมายได้ยากขึ้น คิด แก้วค�ำชาติ 20
  • 22.
  • 23.
  • 25.
  • 26. สานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน “ ท�ำไมต้องสานพลังเครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน” เพราะความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยในหลายทศวรรษที่ ผ่านมา สะท้อนให้เห็นจากการที่ประเทศไทยลงทุนเพื่อการศึกษามาก เป็นอันดับ 2 ของโลก แต่ผลสัมฤทธิ์และคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของนานาชาติต่อเนื่อง มานานเป็น 10 ปี ที่ส�ำคัญคือการศึกษาไทยไม่ได้ ตอบโจทย์ทางสังคมเหล่านี้ ดังนั้นการปฏิรูปการศึกษาต้องเป็นภายใต้กรอบ คิดใหม่ คือ การปฏิรูปการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อคน ทั้งมวล เพื่อประชาชนในประเทศไทยราว 70 ล้านคน 25
  • 27. ดังนั้นการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อสัมมาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของ คนทั้งมวลด้วยเหตุนี้การปฏิรูปการศึกษาต้องปรับจากการเอาวิชาเป็น ตัวตั้ง มาเป็นเอาชีวิตเป็นตัวตั้ง แล้วชีวิตคือความหลากหลาย ปฏิรูป การศึกษาต้องไปสู่ความหลากหลายที่สอดคล้องกับชีวิต ชีวิตของคน ก็เช่นกันมีความหลากหลาย คนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ก็จะไม่เหมือนกัน วัฒนธรรมของภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ ไม่เหมือนกันเพราะสิ่ง แวดล้อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นการศึกษาควรจะมีความหลากหลายให้ เหมาะสมกับความหลากหลายของผู้คน ซึ่งเป็นแนวคิดของการจัดการ ศึกษาบนฐานชุมชน หรือใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการศึกษา ศ.นพ.ประเวศ วะสี กล่าวว่าการศึกษาเพื่อสัมมาชีพ คือ จุดคานงัด ของการแก้วิกฤตระบบการศึกษา และแก้วิกฤตของประเทศไปพร้อม ๆ กัน สัมมาชีพ หมายถึง อาชีพที่ไม่เบียดเบียนตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ การศึกษาเพื่อ สัมมาชีพจะปฏิรูปการเรียนรู้จากการท่องวิชาในห้องเรียน มาเป็นการ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงให้ได้ผลจริง ซึ่งเป็นการพัฒนาสติปัญญาและ ทักษะโดยรอบด้าน เป็นการเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมในพื้นที่อย่างกว้าง ขวาง เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพราะลงมือท�ำอาชีพจริงๆ การ หลุดพ้นจากความยากจนมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพเด็กและ 26
  • 28. เยาวชนชน โดยทางทฤษฎีเรารู้ว่าท�ำอย่างไรเด็กและเยาวชนจะมี คุณภาพ แต่เราติดที่พ่อแม่ยากจน ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก หรือต้องทอดทิ้ง ลูกไปท�ำมาหากินที่อื่น การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่จะช่วยเรื่องคุณภาพ เด็กและเยาวชน ดังนั้นการศึกษาเพื่อสัมมาชีพเต็มพื้นที่จะไปปรับ ระบบการศึกษาทั้งหมดให้ดีขึ้น กล่าวคือ ถ้าเราแบ่งการศึกษาทั้งหมด เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ (1) การศึกษาเพื่อสัมมาชีพ (2) การศึกษา เพื่อวิชาการ (3) การศึกษาเพื่อวิชาชีพ โดยให้ทั้ง 3 เชื่อมต่อกัน การ ศึกษาเพื่อสัมมาชีพเป็นสามัญศึกษา เพราะอาชีพเป็นสามัญของชีวิต คนส่วนใหญ่จะศึกษาสายนี้ มีอาชีพ มีฝีมือ มีรายได้ สร้างเศรษฐกิจ ทั้งส่วนตัว ทั้งของพื้นที่ และของชาติ คนส่วนใหญ่จะพึงพอใจชีวิต ของตนเอง แต่ถ้าอยากเรียนรู้วิชาอะไรเป็นพิเศษ ก็เป็นการศึกษาเพื่อ วิชาการ หรือ ข้อ (2) หรือถ้าอยากไปศึกษาเพื่อวิชาชีพ ตามข้อ (3) ต่อ ไปก็ท�ำได้ การศึกษาเพื่อสัมมาชีพนี้จะใช้งบประมาณไม่มาก ดีไม่ดีอาจ ท�ำเงินให้ระบบได้ด้วย รัฐจะประหยัดงบประมาณ และมีเงิน ไปทุ่มเทกับงานวิชาการมากขึ้น ดังนั้น กลุ่มผู้ผ่านการอบรมโครงการผู้น�ำเพื่อ การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา รุ่นที่ 2 จึงรวมกลุ่ม ผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาพัฒนาข้อเสนอแล้วจับมือ 27
  • 29. กันด�ำเนิน “โครงการสานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐานชุมชน” เพื่อ เชื่อมเครือข่ายองค์กรที่จัดการศึกษาบนฐานชุมชนมาร่วมเป็นพลัง ต้นแบบในการขับเคลื่อนให้สังคมไทยเปลี่ยนทัศนคติใหม่โดยเห็น คุณค่าและผลสัมฤทธิ์ของการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน เพื่อพัฒนา คุณภาพชีวิตและสัมมาชีพ เท่าเทียมกับการศึกษากระแสหลัก และ กระจายอ�ำนาจการจัดการศึกษาให้กับหน่วยงานอื่นๆ ร่วมจัดการศึกษา อย่างแท้จริง 28
  • 30. การศึกษากับคุณค่าที่ขาดหายไป “ยิ่งเรียนสูงเท่าไหร่ยิ่งห่างไกลฐานราก ยิ่งเรียนเก่งเท่าไหร่ยิ่ง ออกห่างไกลจากชุมชนเท่านั้น” คือประโยคทองของ อ.ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ เลขาธิการสมาคมสภา การศึกษาทางเลือกไทย ในนามที่ปรึกษาโครงการ สานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐานชุมชน ได้สะท้อนสภาพปัญหาการศึกษาของสังคมไทย ในปัจจุบันร่วมกับกัลยาณมิตรอีกหลายท่าน ผ่านวงคุยเสวนาที่ปรึกษา “โครงการสานพลังการ ศึกษาบนฐานชุมชน” ณ ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 29
  • 31. ค�ำพูดของ อ.ชัชวาลย์ หรือข้าพเจ้ามักจะเรียกสั้นๆ แบบคุ้นเคย ว่า “ลุงชัช” เป็นประโยควลีหนึ่งที่สะกดใจตรึงอารมณ์ให้ข้าพเจ้าได้ หยุดครุ่นคิดถึงชีวิตนักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ มุ่ง ผลิตพวกเขาออกมาราวกับโรงงานผลิตสินค้าโดยไม่รับผิดชอบชีวิตชีวา ในอนาคตของพวกเขาเลยว่าจะเป็นเช่นไร ซึ่งในแต่ละปีนั้นมีบัณฑิตที่ จบออกมาใหม่ประมาณสี่ถึงห้าแสนคนต่อปี คนจ�ำนวนมากมายเหล่า นี้เขาจะไปท�ำงานที่ไหน ไปประกอบอาชีพอะไร ระบบราชการก็เปิดรับ จ�ำนวนจ�ำกัด บริษัทก็เปิดรับเฉพาะทาง โรงงานอุตสาหกรรมก็นับวัน จะเลิกจ้าง งานเฉพาะทางก็ไม่มีทักษะพื้นฐาน คิดไปแล้วปวดหัวกบาล แทนจริงๆ นี่ยังไม่รวมถึงเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่มีนวัตกรรมก้าวหน้า สามารถผลิตเครื่องจักรมาท�ำงานแทนคนหรือผลิตหุ่นยนต์ที่ท�ำหน้าที่ ได้ดีและมีศักยภาพมากกว่ามนุษย์อีก หวังว่าจะหอบปริญญากลับบ้าน ทุ่งมุ่งสู่หนทางเกษตร เลี้ยงไก่เลี้ยงเป็ดปลูกเห็ดท�ำสวนก็หวั่นใจกลัวๆ กล้าๆ เกรงคนจะนินทาเพราะพิษของค่านิยมเก่าก่อนที่สอนลูกให้เป็น เจ้าคนนายคน ที่ส�ำคัญทักษะประสบการณ์ส่วนตัวก็ไม่มี ดังนั้นโอกาส ของคนรุ่นใหม่ที่จบการศึกษามาจะทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด หรือออกห่าง ไกลครอบครัว ญาติพี่น้องจึงมีมาก เพราะต�ำแหน่งงานดังกล่าวไม่มี บรรจุในชุมชน จึงต้องทนไปตายดาบหน้า หรือโอกาสที่คนจะตกงานใน อนาคตอันใกล้จึงมีมากมายนัก 30
  • 32. ลุงชัช ได้ขยายความให้เห็นสภาพปัญหาต่อไปอีกว่าสาเหตุเหล่านี้ ถ้าพิจารณาดีๆ แล้ว ล้วนเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาทางการศึกษาแทบ ทั้งสิ้น เพราะการศึกษาในปัจจุบันมีหลายสิ่งที่ส�ำคัญขาดหายไป เช่น กระบวนการจัดการศึกษาให้เด็กได้ค้นพบตัวเองหายไป มุ่งเน้นผล สัมฤทธิ์ทางวิชาการมากเกินไป ขาดการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนและ แนวทางปฏิบัติการเพื่อค้นหาความรู้ด้วยตนเองมีน้อย สอนให้แข่งขัน เอาชนะกันเอาตัวรอดเพียงคนเดียว เป็นการศึกษาที่ลอกเลียนแบบ ตะวันตก โดนออกแบบมาให้อยู่ในระบบรับใช้ตลาดแรงงานซึ่งเน้นการ เป็นลูกจ้างเป็นหลัก ไม่ใส่ความเป็นวิถีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นลง ไป ละทิ้งภาคเกษตรกรรม ท�ำให้ไม่มีความรู้มาพัฒนาชุมชนตัวเอง จบ แล้วทิ้งถิ่นฐานไม่คิดกลับบ้านมารับใช้ครอบครัว ชุมชน และสังคม ยิ่ง เรียนสูงเท่าไหร่ยิ่งออกห่างไกลจากชุมชนมากเท่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับ ดร.ชูพินิจ เกษมณี จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และที่ปรึกษาเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ซึ่งทาง โครงการฯได้เชิญมาเป็นที่ปรึกษาด้วย ได้สะท้อน แนวคิดให้เห็นภาพย้อนหลังว่า การศึกษาสมัยก่อน คนที่มีโอกาสได้เรียนระดับสูง ก็มีโอกาสเป็นเจ้าคน นายคนจริง คือเรียนจบแล้วส่วนใหญ่ได้เป็นราชการ 31
  • 33. เพราะคนที่สามารถเข้าถึงระบบการศึกษาระดับสูงมีน้อย พอมายุค สมัย พ.ศ.2475เกิดสภาการศึกษาแต่รัฐยังรวมศูนย์อ�ำนาจทุกอย่างไว้ ที่ส่วนกลางการศึกษาก็ยังไม่ทั่วถึงเท่าที่ควรจะเป็น พอถึงยุคหลัง พ.ศ. 2504 เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้นมา ประเทศเริ่มเข้าสู่ วงจรอุบาศก์ ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิมเริ่มหายไปไม่ได้รับความส�ำคัญ รัฐบาลยึดประเทศตะวันตกเป็นแม่แบบโมเดลในการพัฒนา การผลิต มุ่งเน้นสู่ระบบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าเพื่อสนองภาคเศรษฐกิจเป็น หลัก ซึ่งแต่ก่อนผลิตในครัวเรือนเพื่อบริโภคและความอยู่รอดเป็นหลัก ความรู้ไม่คืนสู่ชนบทและไม่ต่อยอดจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายเหมือนเดิม ผู้คนเริ่มทิ้งถิ่นทิ้งภาคเกษตร เพื่อไปท�ำงานหารายได้ในเมืองใหญ่หรือ เมืองอุตสาหกรรม ระบบครอบครัวเริ่มแตกแยก จนมาถึงปี พ.ศ. 2540 เป็นยุคเศรษฐกิจตกต�่ำ คนกลับมาอาศัยภาคเกษตรอีกครั้ง ข้าพเจ้าขอขยายความเสริมในช่วงนี้เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าใจเพิ่ม เติมว่ายุคนี้เป็นยุคฟองสบู่แตกยุคต้มย�ำกุ้งหรือยุคIMF(Internation- al Monetary Fund) ก็ว่ากันไปแล้วแต่ใครละเรียกกัน สถานการณ์ใน ช่วงนี้คือ สินค้าราคาแพงสวนทางกันกับค่าของเงินราคาถูก ถ้าพูดให้ เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ มีเงิน 10 บาท อาจเหลือค่าเพียง 7-8 บาทเท่านั้น 32
  • 34. ท�ำให้บรรดานักลงทุนนักเก็งก�ำไรหรือนักธุรกิจน้อยใหญ่ทั้งหลายที่ ลงทุนไปล้มละลายกันไปตามๆ กัน บางบริษัทปิดกิจการ บางโรงงาน เลิกจ้างปล่อยลอยแพพนักงานกันถ้วนหน้า หลายคนหัวใจสลายถึงกับ ฆ่าตัวตายก็มี แต่เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา พ่อค้าแม่ขายในตลาดสดยัง คงสามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างสบายและมีผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจตกต�่ำน้อยสุด ผู้คนส่วนหนึ่งเห็นความส�ำคัญจึงหันกลับมา อาศัยแนวทางภาคเกษตรอีกครั้งหนึ่ง เริ่มมองว่า “เงินทองเป็นของ มายา ข้าวปลาเป็นของจริง” หลายองค์กรจึงมีกระแสเชิญชวนให้หัน มามองชีวิตรูปแบบใหม่โดยเน้นการเอาความสุขมวลรวมประชาชาติ เป็นตัวตั้ง หรือเรียกย่อๆ เป็นภาษาต่างชาติว่า GNH (Gross National Happiness) แทนการเอาดัชนีตัวเลขรายได้จากเศรษฐกิจหรือปัจจัย การผลิตสินค้าเป็นตัววัดความมั่นคงของชีวิตอย่าง GNP (Gross National Product) ซึ่งเหมาเป็นภาพรวมไม่ได้เพราะรายได้ของแต่ละคนไม่เท่ากัน และไม่สอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่ที่แท้จริงของประชากร แหม...หลงคุยเพลินพาท่านผู้อ่านออกนอกประเด็น ไปไกลเลย เอ้า...เรียกสติกันหน่อย...กลับมา...กลับมา... กลับมาเล่าเรื่องสถานการณ์การศึกษากันต่อ 33
  • 35. มาฟังสถานการณ์การศึกษาในมุมมองของผู้น�ำการเปลี่ยนแปลง อย่าง “เฮียก๋วย” หรือ พฤหัส พหลกุลบุตร ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการศึกษา มูลนิธิสื่อชาวบ้าน หรือที่ทุกคนฟังคุ้นหูในนามกลุ่มละครมะขามป้อม กันบ้าง ว่าคิดเช่นไร เฮียก๋วย คิดว่าการศึกษาที่จัดโดยภาครัฐมุ่ง ควบคุมและบังคับผู้เรียนให้เป็นไปตามกรอบที่เขาอยากให้เป็น เป็น ระบบที่ล้าหลัง โดยไม่ค�ำนึงถึงความแตกต่างด้านศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งแนวคิดแบบรัฐที่ว่านี้ท�ำงานล้มเหลว ไม่ทันการเปลี่ยนแปลง เด็ก เรียนข้างนอกได้ความรู้มากกว่าเข้าไปเรียนในโรงเรียนเสียอีก ซึ่งต่าง จากการศึกษาในรูปแบบของเรา คือการศึกษาบนฐานชุมชน เน้นการ ปลดปล่อยศักยภาพความเป็นมนุษย์ของผู้เรียนออกมาให้เข้าใจตนเอง ดังนั้น เราจะท�ำอย่างไรถึงจะจับมือกันแล้วส่งเสียงดังๆ ให้คนได้รับรู้ ว่า นอกจากการศึกษากระแสหลักแล้ว ยังมีการศึกษารูปแบบอื่นๆ ให้ เลือกอีกหมายทาง กัลยาณมิตรท่านสุดท้ายนี้ถ้าข้าพเจ้าไม่ได้กล่าวถึง คงนอนตาย ตาไม่หลับ คือ วรพจน์ โอสถาภิรัตน์ จากกลุ่มดินสอสี หรือที่คนใน 34
  • 36. วงการกิจกรรมสร้างสรรค์เครือข่ายเด็กและเยาวชนกล่าวถึงอย่างคุ้น ชินว่า “พี่ตั้มดินสอสี” เจ้าของแนวคิด “ห้องเรียนชุมชน” ภายใต้วาท- กรรม“ห้องเรียนไม่มีประตูความรู้ไม่มีก�ำแพง”ได้เสนอแนวคิดสั้นๆว่า เราต้องเชื่อมั่นว่าในชุมชนหนึ่งๆ นั้นมีความรู้หลากหลาย ทั้งเรื่องราว เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ชุมชน ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม ผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และสถานที่ส�ำคัญต่างๆ ทุกอย่างล้วนคู่ควรศึกษาทั้ง นั้น จัดท�ำเป็นฐานการเรียนรู้ภายในชุมชน เพราะทุกอย่างล้วนมีคุณค่า เราจึงก�ำลังต่อสู้เรื่องคุณค่า เป็นคุณค่าที่ชุมชนยอมรับ ดังนั้นเราต้อง เสนอการศึกษาบนฐานชุมชนเป็นการศึกษาทางหลักอีกช่องทางหนึ่ง ไม่ใช่แค่การศึกษาทางเลือกเท่านั้น และที่ส�ำคัญชุมชนต้องยอมรับ ยกย่องผู้ที่จบการศึกษาแล้วสามารถอยู่บ้านหรืออยู่ชุมชนตัวเองได้ ฉะนั้นจะท�ำอย่างไรให้คนในท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษาเองได้? จากมุมมองของกัลยาณมิตรหลายท่านที่ข้าพเจ้า ได้หยิบยกประเด็นใจความส�ำคัญเก็บมาเล่าให้ฟัง เพียงเพื่อเป็นแนวทางตัวอย่างให้ผู้อ่านได้ครุ่นคิด 35
  • 37. พินิจนึกตามมุมมองของตนเองต่อไปเท่านั้น และยังมีอาจารย์มาให้ค�ำ ปรึกษาและเสนอมุมมองที่น่าสนใจให้ศึกษาอีกหลายท่านเพียงแต่ไม่ได้ ยกตัวอย่างหรือกล่าวถึง บทเรียนจากการแลกเปลี่ยนสนทนากันในครั้ง นี้ท�ำให้ข้าพเจ้าและทีมงานมีความรู้ความเข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหา ทางด้านการศึกษากระจ่างขึ้นมาก และพร้อมที่จะสานพลังเครือข่าย พื้นที่ต้นแบบร่วมกัน ขับเคลื่อนโครงการเพื่อสร้างคุณค่าการศึกษาบน ฐานชุมชน ต่อไป 36
  • 38. การศึกษาต้องเริ่มจากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน อาจจะเป็นค�ำพูดที่แรงไป ถ้าข้าพเจ้าขึ้นต้นด้วยค�ำกล่าวที่ว่า “สิ่ง ที่ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากที่สุด คือ การศึกษา” เพราะการ ศึกษาท�ำให้คนในสังคมไม่เท่าเทียมกัน ดูถูกเหยียดหยามกัน แข่งขันเอาชนะกัน จัดระดับชนชั้นวรรณะทางความคิด เช่น เรียงล�ำดับคนที่สอบได้คะแนนสูง-ต�่ำในห้องเรียน หรือการแบ่งเกรดการเรียนเพื่อวัดระดับคน เป็นต้น เมื่อจบออกไปแล้วยังไปเจอการละเมิดเกียรติศักดิ์ศรี จากการจ้างท�ำหน้าที่และการงานของนายจ้างอีก ทั้งที่มีวุฒิการศึกษาเดียวกัน หรือบางมหาวิทยาลัย รับสมัครนักศึกษาใหม่ที่ก�ำหนดว่า รับคนที่มี 37
  • 39. ผลการเรียนอย่างต�่ำระดับเท่านั้นเท่านี้ขึ้นไปถึงจะมีสิทธิ์เข้าเรียนได้ สิ่งเหล่านี้ยิ่งท�ำให้เป็นเส้นแบ่งความไม่เท่าเทียมทางการศึกษามากยิ่ง ขึ้นไปอีก และที่หนักยิ่งไปกว่านั้นคือ การศึกษาท�ำไมมีกรอบ มีก�ำแพง กั้น มีเฉพาะในโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น การสอน ในชุมชน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม การพัฒนาทักษะสัมมาชีพ การเรียนรู้ ด้วยตนเองเป็นการศึกษาหรือไม่ หรือย่างไร? บ่อยครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินชาวบ้าน นินทาว่ากล่าวกันว่า “ไอ้พวก ไม่มีการศึกษา” ถ้าฟังพอผ่านๆหูอาจจะเข้าใจความหมายว่าหมายถึง พวกที่ไม่มีความรู้ ไม่มีวุฒิการศึกษา หรือเรียนจบการศึกษาไม่สูงมาก นัก แต่ถ้าคิดดูดีๆแล้วเขาหมายถึงผู้ไม่มีกริยามารยาทที่เหมาะสม หรือ ไม่รับผิดชอบต่อตนเองและสังคมต่างหาก เช่น คนทิ้งขยะไม่ถูกที่ คน ขับรถย้อนศร คนท�ำอะไรไม่รู้กาลเทศะ คนท�ำตนไม่เป็นประโยชน์ หรือคนไม่ประกอบสัมมาอาชีพอะไรเลย ถึงแม้ว่าจริงๆ แล้วคนที่โดน ว่ากล่าวนั้นอาจจะเรียนจบการศึกษาปริญญาเอก โท ตรี จัตวา หรือ ไม่ได้จบอะไรมาก็เลยตาม ก็อาจเป็นคนที่ไม่มีการศึกษาได้ทั้งนั้นตาม สถานการณ์ความหมายนี้ หรือมีค�ำโบราณกล่าวไว้ว่า “ความรู้ท่วมหัว เอาตัวไม่รอด” แสดง ถึงคนที่เรียนจบการศึกษาสูงๆมาแต่ท�ำอะไรไม่เป็นเอาตัวไม่รอดท�ำตัว 38
  • 40. ไม่ดี ไม่มีหน้าที่การงาน สร้างภาระให้กับครอบครัวพ่อแม่ผู้ปกครอง หรือท�ำตัวเป็นปัญหาต่อสังคมอยู่ก็มีมากมาย หรือว่าระดับการศึกษา สูงหรือต�่ำไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความส�ำเร็จในชีวิต หรือความสามารถของ ผู้คน หรือค�ำตอบเรื่องการศึกษาที่สังคมต้องการจริงๆแล้วอาจไม่ใช่คน ที่มีการศึกษาสูง แต่เป็นคนที่ดี มีปัญญาต่างหาก อ้าว......แล้วการศึกษาคืออะไร? ข้าพเจ้าพยายามสืบค้นผ่านอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาความหมาย ของค�ำว่าการศึกษาว่าหมายถึงอะไรกันแน่ พบว่ามีนักวิชาการหลาย ท่าน จากหลายเว็บไซด์ได้ให้ความหมายไว้ต่างๆนานา มากมายหลาก หลายทัศนะแตกต่างกันไป รวมทั้งมีการก�ำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติด้วย แต่ที่ผมอ่านแล้วรู้สึกว่า ครอบคลุมและสมบูรณ์ที่สุด คือ การศึกษาในความหมายของเว็บไซด์ im2market.com ซึ่งเขียนไว้ว่า “การศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อความ เจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอด ความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต 39
  • 41. เพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความ รู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต สามารถอยู่ ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ข้าพเจ้าชอบตรงที่ว่าการศึกษามันเรียนไม่รู้จบ มันสามารถเรียน รู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง ด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและ วัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต ซึ่งเว็บอื่นๆ ไม่ได้เขียนไว้อย่างชัดเจนใน ส่วนนี้ ดังนั้น จะเห็นว่าการศึกษาไม่ได้เริ่มต้นหรือจบเพียงแค่ในโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มันเริ่มต้นจาก “ครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” เลยทีเดียว เพราะการศึกษาจริงๆ แล้วไม่ได้อยู่ในต�ำราเท่านั้น มันอยู่ ทุกหนทุกแห่ง เรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ สามารถเรียนรู้ได้ตลอด ชีวิต เรียนแล้วรู้จักและเข้าใจตนเอง เรียนแล้วมีสัมมาอาชีพที่เลี้ยงตัว เองได้ตามศักยภาพ สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสังคมได้อย่างมีความ สุขและภาคภูมิใจในรากเหง้า วิถีชีวิต ชุมชน และวัฒนธรรมของตนเอง ไม่ใช่เรียนแล้วห่างไกลชุมชน เกิดความทุกข์ ดูถูกตนเอง บ้านแตก สาแหรกขาดกันไป 40
  • 42. การศึกษาบนฐานชุมชน กับการค้นหาความหมายร่วม จากการขับเคลื่อนโครงการสานพลังคุณค่าการศึกษาบนฐาน ชุมชน และประสบการณ์ท�ำงานร่วมกับเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิ- ปัญญา และท�ำให้รู้ว่าแนวคิดเรื่อง “การศึกษาบนฐานชุมชน” ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด มันมีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล หลายพันหลายหมื่นปี เพียงแค่ว่าไม่มีใครเรียก กระบวนการเหล่านั้นว่าการศึกษา และที่ส�ำคัญ ไม่มีการบันทึกจัดเก็บไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะมันกลมกลืนกับวิถีความเป็นอยู่ แต่ถ้าหาก เราพิจารณาดีๆ แล้วจะพบว่าการศึกษานั้นมีอยู่ทั่วไป ทุกหนทุกแห่ง เป็นการศึกษาที่สอนให้คนเคารพ 41
  • 43. ธรรมชาติ เคารพคน เคารพหลักธรรมค�ำสอนของผู้รู้หรือปราชญ์ ชาวบ้าน เป็นการศึกษาที่สอนให้ผู้คนสามารถพึ่งตนเองและช่วยเหลือ เกื้อกูลกันได้ โดยกระบวนการศึกษานั้นเป็นการเก็บเกี่ยวความรู้ผ่าน ประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติจริงในวิถีชีวิต ผ่านระยะเวลาและ การพัฒนาที่ต่อเนื่อง จนตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่า ส่งต่อความรู้ ในรูปแบบของวัฒนธรรมภูมิปัญญา ซึ่งเป็นต้นทุนทางสังคม ที่มีหลัก คิด ปรัชญา ที่มีความสัมพันธ์แนบแน่นกับฐานทรัพยากรของแต่ละ ท้องถิ่น ดังจะเห็นในรูปแบบขององค์ความรู้ ประเพณี พิธีกรรม ที่สร้างพลังแห่งความเป็นชุมชนท้องถิ่นในการพึ่งตนเอง เพื่อร่วมกันแก้ ปัญหาชุมชน วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับ สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตามแนวคิดของ เครือข่ายสานพลังการศึกษาบนฐานชุมชน ซึ่งคัด จากพื้นที่การท�ำงานต้นแบบสี่ภาค จ�ำนวนกว่า 20 องค์กร ได้ร่วมกัน ให้ความหมายนิยามไว้ว่า “การศึกษาบนฐานชุมชน เป็นการศึกษาที่มีเนื้อหาหลักเป็นเรื่อง ของชุมชน บูรณาการความรู้สมัยใหม่เข้ากับวัฒนธรรม สอดคล้องกับ บริบทชุมชน โดยคนในชุมชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษา มีเป้าหมายเพื่อ ชุมชนเป็นตัวตั้ง ความส�ำเร็จไม่ได้อยู่ที่วุฒิทางการศึกษา แต่อยู่ที่คุณค่า 42
  • 44. ที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน และส่งผลกลับสู่ชุมชน อาทิ ความสามารถใน การประกอบสัมมาชีพ การด�ำรงคุณค่าของรากเหง้า ทั้งด้านประวัติ- ศาสตร์ วิถี วัฒนธรรม ทรัพยากร อยู่อย่างมีความสุขโดยเคารพ ธรรมชาติ เคารพความเป็นมนุษย์ พึ่งพาตนเอง พึ่งพากันและกัน และสร้างความเจริญให้กับชุมชนได้ อย่างรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ของกระแสโลกในยุคโลกาภิวัตน์” ซึ่งสอดคล้องกับค�ำนิยามของเครือข่ายเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา ที่ได้นิยามความหมายและรูปแบบของการศึกษาบนฐานชุมชนไว้ว่า “เป็นกระบวนการเรียนรู้รากเหง้าของตนเองผ่านประวัติศาสตร์ ชุมชน ฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีการท�ำมาหากิน ประเพณีพิธีกรรม ในรอบปี และผู้รู้ภูมิปัญญาในชุมชน รวมทั้งการเรียนรู้ปัจจุบัน และ เท่าทันโลกสมัยใหม่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งการฟัง การวิเคราะห์ การฝึกอบรม การร่วมท�ำกิจกรรม การลงมือท�ำ การแลก เปลี่ยนเรียนรู้ สรุปบทเรียน เป็นต้น จนสามารถเลือกสรร ความรู้ใหม่มาสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง ชุมชน และสังคมได้” ดังนั้น การศึกษาบนฐานชุมชนก็คือการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคน ชุมชนและสังคม เพื่อให้เข้าใจวิถีชีวิต 43
  • 45. และจิตวิญญาณตนเอง เข้าใจองค์ประกอบของการอยู่ร่วมกันของระบบ นิเวศน์วัฒนธรรมชุมชน อันจะน�ำไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่าง รู้คุณค่า รู้รักษาและถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ ทุกคนสามารถศึกษาได้ตาม รูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมตามศักยภาพและ ความต้องการของแต่ละคน เป็นการศึกษาตลอดชีวิต ตลอดภพ ตลอด ชาติ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์จนถึงลมหายใจสุดท้ายของชีวิต เป็น ความรู้ที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ สามารถยืดหยุ่นได้ตามสภาพ หนึ่งโจทย์ ค�ำถามอาจมีหลายค�ำตอบ หนึ่งค�ำตอบอาจมีหลายคุณค่าและวิธีการ เป็นการศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีและชีวิต ถึงแม้ค�ำตอบจะถูกหรือผิด ก็ถือเป็นการเรียนรู้ ที่ส�ำคัญความรู้ต้องมีการพัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆ ดังนั้นค�ำตอบเดิมอาจจะล้าสมัยค�ำตอบใหม่อาจจะเข้ามาแทนที่ก็ได้ถ้า สภาพแวดล้อมหรือกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป เพราะเราเชื่อว่ามนุษย์ สามารถแสวงหาความรู้ และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา 44
  • 46. ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาวัดค่าที่ใคร? ข้าพเจ้าจะยิ้มอย่างเย้ยหยัน เมื่อได้ยินครูหรือบุคลากรทางการ ศึกษาบางท่านออกมาบ่นว่า “เด็กทุกวันนี้ไม่รู้เป็นอะไร อ่านก็ไม่ออก เขียนก็ไม่ได้ บวกเลขก็ไม่เป็น” ข้าพเจ้าไม่ได้ดูถูกความ เป็นครูหรอกครับ แต่เมื่อฟังแล้วหดหู่ใจอะไรบางอย่าง แบบเด็กๆ เพราะค�ำบ่นเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงบทบาท การท�ำงานของครูผู้สอนแทบทั้งสิ้น ข้าพเจ้าเคยเสนอ ในเวทีประชุมประเด็นวาระว่าด้วยการศึกษา เกือบทุกครั้งว่า เด็กทุกคนเกิดมาไม่ได้มีความรู้ติดตัว มาโดยก�ำเนิดเหมือนเกิดแล้วได้สัญชาติ ถึงแม้ว่า 45