SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 10
Descargar para leer sin conexión
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 1
การศึกษาต่อเนื่อง
รหัส 1002-1-000-007-07-2561
จำนวน 3.5 หน่วยกิตกำรศึกษำต่อเนื่อง
วันที่รับรอง: 2 สิงหำคม 2561
วันที่หมดอำยุ: 1 สิงหำคม 2562
การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์
(Medical Uses of Probiotic)
พิมพิกา กาญจนดาเกิง
ภ.บ., Ph.D. (Biopharmaceutical sciences)
ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ (intestinal microflora) มีควำมสำคัญต่อสุขภำพของมนุษย์ ทั้งระบบทำงเดินอำหำรและนอก
ระบบทำงเดินอำหำร จึงมีกำรใช้จุลินทรีย์มีชีวิตหรือจุลินทรีย์โพรไบโอติก (probiotic) อย่ำงแพร่หลำยเพื่อรักษำควำมผิดปกติ
ที่เกิดจำกกำรรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ โดยมีหลักฐำนทำงวิทยำศำสตร์ที่หนักแน่นได้แก่ โรคท้องเสียหรืออุจจำระร่วง
ในผู้ท่องเที่ยวเดินทำง (traveler’s diarrhea), ท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ (infectious diarrhea), อุจจำระร่วงจำกยำปฏิชีวนะ
(antibiotic-associated diarrhea, AAD) รวมทั้งอำกำรท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ Clostridium difficile, กลุ่มอำกำรลำไส้แปรปรวน
(irritable bowel syndrome, IBS), ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease, IBD) ส่วนโรคนอกระบบทำงเดินอำหำรที่มี
รำยงำนกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกอย่ำงมีประสิทธิภำพ ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ atopic dermatitis ในเด็กทำรก เป็นต้น
กลไกของจุลินทรีย์โพรไบโอติกนั้นมีหลำยระดับได้แก่ ระดับทั่วไป (widespread) ระดับชนิดของเชื้อ (species) และระดับสำยพันธุ์
(strain) โดยกลไกขั้นพื้นฐำน ได้แก่ กำรเพิ่มจำนวนเชื้อประจำถิ่น (colonization) กำรเกิดภำวะกีดกันแก่งแย่งกับเชื้อก่อโรค
(competitive exclusion of pathogens) กำรสร้ำงกรดไขมันสำยสั้น (production of short chain fatty acids) และที่สำคัญคือกำร
ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ (normalization of perturbed microbiota) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภำพจึงควรเลือกใช้
จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำยพันธุ์ที่เหมำะสมต่อควำมต้องกำร อีกทั้งยังควรคำนึงถึงประโยชน์และโทษที่อำจเกิดขึ้นจำกกำรใช้จุลินทรีย์
โพรไบโอติกในผู้ป่วยบำงประเภท สำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีกำรศึกษำรองรับมำกที่สุด ได้แก่ Saccharomyces boulardii และ
Lactobacillus rhamnosus GG (LGG)
คาสาคัญ
Probiotic, กลไกกำรออกฤทธิ์, ข้อบ่งใช้ทำงคลินิก, ระบบทำงเดินอำหำร, ผลต่อสุขภำพ
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 2
วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
หลังจำกอ่ำนบทควำมเสร็จสิ้นแล้ว ผู้อ่ำนมีควำมสำมำรถ
ดังนี้
1. ระบุควำมหมำยและชนิดของจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็น
จุลินทรีย์โพรไบโอติก
2. ระบุคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก และกำรศึกษำ
ทำงคลินิกสำหรับกำรใช้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อกำร
ป้องกันและรักษำโรคในทำงเดินอำหำรและนอกทำงเดิน
อำหำร
3. อธิบำยกลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก
4. บอกอำกำรไม่พึงประสงค์ ข้อห้ำมใช้ ข้อควรระวังที่เกิด
จำกผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกได้
บทนา
จุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่ำงกำยมนุษย์สำมำรถพบได้ใน
หลำยส่วนไม่ว่ำจะเป็นที่ผิวหนังช่องปำกทำงเดินหำยใจส่วนต้น
และระบบทำงเดินอำหำร เป็นต้น โดยพบว่ำจำนวนของ
จุลินทรีย์ประจำถิ่นที่พบในร่ำงกำยมีจำนวนเป็นหนึ่งล้ำนล้ำน
หรือ 1012
ตัว ซึ่งบริเวณที่มีจุลินทรีย์ประจำถิ่นหนำแน่นที่สุด
คือลำไส้ใหญ่ และมีควำมหลำกหลำยของสำยพันธุ์ของเชื้อ
จุลินทรีย์ประจำถิ่นมำกกว่ำ 300 ชนิด ประกอบไปด้วย
จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ที่เป็นกลำง และจุลินทรีย์ที่
ก่อให้เกิดโทษ โดยชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ประจำถิ่น
ในร่ำงกำยมนุษย์แต่ละคนจะมีควำมแตกต่ำงกันและสำมำรถ
เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลำตำมช่วงอำยุและปัจจัยแวดล้อม
เช่น กำรรับประทำนอำหำร สภำพภูมิศำสตร์ของที่อยู่อำศัย
สภำวะทำงสรีรวิทยำ และพันธุกรรม เป็นต้น เมื่อเกิดสภำวะ
ที่ทำให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นเสียสมดุลไปอำจส่งผลให้ร่ำงกำย
เกิดควำมผิดปกติหรือเกิดโรคขึ้นได้ กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก
เพื่อปรับสภำวะสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่น รวมทั้งประโยชน์
ในด้ำนอื่นๆ ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกจึงสำมำรถช่วยป้ องกัน
หรือทำให้อำกำรของโรคเหล่ำนั้นดีขึ้นได้
โพรไบโอติก จุลินทรีย์เพื่อสุขภาพ
ตำมคำจำกัดควำมขององค์กำรอำหำรและกำรเกษตร
แห่งสหประชำชำติร่วมกับองค์กำรอนำมัยโลก (Food and
Agriculture Organization of the United Nations and the World
Health Organization - FAO/WHO) จุลินทรีย์โพรไบโอติก
หมำยถึงจุลินทรีย์มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมำณที่เพียงพอจะ
ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภำพ กล่ำวคือผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก
ตำมคำจำกัดควำมนั้นรวมถึง ยำ อำหำรที่ใช้ทำงกำรแพทย์
อำหำรทั่วไป ผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยกำรรับประทำน อำหำรสัตว์
กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีกำรบ่งชี้ชนิดของเชื้อ ผลิตภัณฑ์เสริม
อำหำร และสูตรอำหำรสำหรับทำรก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ไม่จัดว่ำ
เป็นโพรไบโอติกตำมคำจำกัดควำมของ FAO/WHO เช่น
อำหำรหมักที่ไม่ได้มีกำรบ่งชี้ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่พบ
หรือกลุ่มเชื้อที่ไม่ได้บ่งชี้ที่ใช้ในกำรปลูกถ่ำยอุจจำระ เป็นต้น1
อย่ำงไรก็ตำม หำกคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภำพแล้ว ส่วน
ประกอบอื่นๆ ของเซลล์ก็มีบทบำทกับสุขภำพเช่นกัน ทำให้
นิยำมของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก อำจครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์
ที่ประกอบด้วยสำรออกฤทธิ์ทำงชีวภำพที่สร้ำงขึ้นจำกจุลินทรีย์
โพรไบโอติก หรืออำจเรียกผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ว่ำ probio-active2
เช่น ส่วนประกอบของเซลล์จุลินทรีย์ที่สำมำรถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน
กรดอินทรีย์ สำรปฏิชีวนะ เอนไซม์ต่ำงๆ วิตำมินสำรสื่อประสำท
ได้แก่ γ-aminobutyric acid (GABA) เป็นต้น3
สำหรับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกสำมำรถแบ่งเป็นกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกำรรักษำโรคเป็นยำ หรือใช้เพื่อกำรป้ องกัน
ในคนที่มีสุขภำพปกติ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอำหำร หรืออำหำร
เพื่อสุขภำพ ดังแสดงในตำรำงที่ 1
จำกกำรศึกษำก่อนหน้ำพบว่ำ กลุ่มของเชื้อจุลินทรีย์ที่
มีคุณสมบัติเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติก สำมำรถแบ่งได้เป็น 4
กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ Lactobacillus spp., Bifidobacterium spp.,
other lactic acid bacteria และ non-lactic acid bacteria
ดังแสดงในตำรำงที่ 2 โดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีคุณสมบัติ
ที่โดดเด่นและมีรำยงำนทำงคลินิกพบว่ำมีควำมสำมำรถลดกำร
เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบทำงเดินอำหำรได้ ได้แก่ Lactobacillus
rhamnosus GG (LGG), L. reuteri DSM 17938, L. reuteri
ATCC PTA 6475, L. plantarum 299v (DSM 9843),
L. acidophilus CL1285, L. casei LBC80R, Bifidobacterium
animalis subsp. lactis BB-12 และ B. lactic DN-1730104
นอกจำกนี้ในบำงกำรศึกษำแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภำพของ
ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลำยชนิด เช่น VSL#3
ประกอบด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกทั้งหมด 8 ชนิดได้แก่ L.
acidophilus, L. plantarum, L. paracasei, L. bulgaricus,
B. breve, B. infantis, B. Longum และ S. thermophiles
รวมจำนวน 225 ล้ำนล้ำนตัว ต่อ 2 แคปซูล เป็นต้น5
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 3
ตารางที่ 1 กำรแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก1,4
ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก การใช้ผลิตภัณฑ์ การกล่าวอ้าง
ผลิตภัณฑ์เสริมอำหำร
(dietary supplement)
สำมำรถใช้ใน
ประชำกรทั่วไป
 กำรกล่ำวอ้ำงทำงสุขภำพ (health claim) เช่น กระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบ
ไม่เฉพำะเจำะจงที่มีโดยธรรมชำติ (enhances natural resistance or
natural immunity)
 ใช้คำว่ำ “ประกอบด้วยจุลินทรีย์มีชีวิต” “ประกอบด้วยโพรไบโอติก”
 คำว่ำ “จุลินทรีย์มีชีวิต” ไม่ได้แสดงถึงประสิทธิภำพของจุลินทรีย์
โพรไบโอติก
 อำหำรหมักที่มีจุลินทรีย์มีชีวิตและมีหลักฐำนเพียงพออำจพิจำรณำเป็น
โพรไบโอติกได้ เช่น โยเกิร์ต
อำหำรหรือส่วนประกอบ
ในอำหำรเพื่อสุขภำพ
(food ingredient)
ยำ (drug) จำกัดกำรใช้เฉพำะ
ในผู้ป่วย
 กำรกล่ำวอ้ำงทำงกำรแพทย์ (medical claim) เช่น สำหรับกำรรักษำ
โรคท้องร่วง (for the treatment of diarrhea)
 ให้ระบุข้อบ่งใช้ในกำรรักษำที่มีควำมเฉพำะเจำะจง
ตารางที่ 2 จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก5-6
Lactobacillus spp. Bifidobacterium spp. Other lactic acid bacteria Non-lactic acid bacteria
L. acidophilus* B. adolescentis* Enterococcus faecalis Bacillus coagulans*
L. amylovorus B. animalis* Enterococcus faecium* Bacillus cereus var. toyoi
L. casei B. bifidum* Enterococcus durans* Escherichia coli strain nissle
L. crispatus* B. breve* Lactococcus lactis Propionibacterium
freudenreichii*L. delbrueckii subsp.
bulgaricus
B. infantis* Leuconostoc mesenteroides
L. gallinarum B. lactis* Pediococcus acidilactici Saccharomyces cerevisiae
subsp. Boulardii*
L. gasseri* B. longum* Sporolactobacillus inulinus
L. johnsonii* B. pseudolongum* Streptococcus thermophilus Staphylococcus sciuri*
L. paracasei*
L. plantarum
L. reuteri*
L. salavarius*
L. rhamnosus*
L. zeae*
*จุลินทรีย์ตำมที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ำยประกำศกระทรวงสำธำรณสุข จำนวน 23 เชื้อ โดยหำกเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่
นอกเหนือจำกที่กำหนดไว้ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ำต้องส่งมอบหลักฐำนแสดงผลกำรประเมินควำมปลอดภัย และคุณสมบัติกำร
เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติก
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 4
สำหรับคุณสมบัติของโพรไบโอติกที่สำคัญนั้น ได้แก่
ควำมสำมำรถในกำรทนต่อสภำวะกรดในกระเพำะอำหำร
(resistance to gastric acidity) ควำมสำมำรถในกำรทนต่อ
เกลือน้ำดี (bile salt resistance) ควำมสำมำรถในกำรเกำะติด
กับเซลล์ผิวเยื่อบุและเพิ่มจำนวน (adherence and colonization)
ควำมสำมำรถในกำรย่อยเกลือน้ำดีจำกฤทธิ์ของเอนไซม์ไฮโดรเลส
(bile salt hydrolase activity) และคุณสมบัติอื่นๆ เช่น กำร
สร้ำงสำร probio-active ต่ำงๆ ควำมสำมำรถในกำรเป็นปฏิปักษ์
กับเชื้อก่อโรค (pathogen) เป็นต้น ทั้งนี้ก่อนนำจุลินทรีย์
โพรไบโอติกมำใช้ประโยชน์ต้องมีกำรตรวจเอกลักษณ์ของสกุล
(genus) ชนิด (species) และสำยพันธุ์ (strain) อีกทั้งต้องมี
กำรประเมินควำมปลอดภัยและปฏิกิริยำของร่ำงกำยต่อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกด้วย6
ผลของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ7-10
จุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลต่อสุขภำพได้อย่ำงหลำก
หลำยและยังคงมีผลกำรศึกษำเกี่ยวกับกลไกกำรออกฤทธิ์ที่
คำดไว้ ไม่ว่ำจะเป็นจำกกำรทดสอบในหลอดทดลองหรือใน
สัตว์ทดลอง และกำรศึกษำในมนุษย์ โดยสำมำรถแบ่งตำม
หน้ำที่ที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลให้มีกำรเปลี่ยนแปลงใน
5 ด้ำนดังนี้
1. ด้านจุลชีพ (microbiological functionality)
จุดมุ่งหมำยหลักในกำรใช้จุลินทรีย์เพื่อกำรป้ องกันหรือ
รักษำโรค ก็เพื่อกำรปรับสมดุลหรือเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มี
ประโยชน์ในร่ำงกำย เพื่อที่จะลดผลเสียที่เกิดจำกกลุ่มเชื้อ
จุลินทรีย์ที่ก่อโรค หรือ เป็นโทษต่อสุภำพ โดยสำมำรถพิจำรณำ
ได้จำกกำรเข้ำครอบครองหรือแทนที่เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค
แบบ competitive exclusion หรือกำรเกิดสภำวะแก่งแย่ง
กล่ำวคือ โพรไบโอติกจะแย่งเข้ำแทนที่บริเวณ receptor หรือ
ตำแหน่งบริเวณเดียวกันกับเชื้อก่อโรค หรือเกิดกำรแย่ง
สำรอำหำรที่จำเป็นต่อกำรเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค เป็นต้น
นอกจำกนี้จุลินทรีย์โพรไบโอติกยังส่งผลควบคุมเชื้อก่อโรค
โดยต้ำนกำรเพิ่มจำนวนหรือเป็นปรปักษ์ต่อเชื้อฉวยโอกำส
(opportunistic microorganisms) ได้ เนื่องจำกมีกำรสร้ำง
สภำวะกรดและสำรออกฤทธิ์ยับยั้งกำรเจริญเติบโตซึ่งเป็น
metabolites ของโพรไบโอติกได้แก่ กรดไขมันสำยสั้น (short
chain fatty acids, SCFAs) และกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก
อีกทั้งจุลินทรีย์โพรไบโอติกบำงชนิดสำมำรถสร้ำงสำรปฏิชีวนะ
ที่เรียกว่ำ bacteriocins ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งและฆ่ำเชื้อได้ เป็นต้น
2. ด้านโภชนาการ (nutritional functionality)
นอกจำกจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะช่วยปรับสมดุลของ
จุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่ำงกำยแล้ว จุลินทรีย์โพรไบโอติก
บำงชนิดยังก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของสำรอำหำร เช่น
สำมำรถสังเครำะห์วิตำมินที่มนุษย์สำมำรถนำไปใช้ได้ ได้แก่
vitamin K, vitamin B12, pyridoxine, biotin, folate, nicotinic
acid และ thiamine เป็นต้น อีกทั้งจุลินทรีย์โพรไบโอติกยัง
สำมำรถสร้ำงเอนไซม์หรือสำรออกฤทธิ์ทำงชีวภำพอื่นๆ ที่มีผล
ต่อสภำวะโภชนำกำร เช่น เอนไซม์แลคเตส (lactase) ช่วยให้
ผู้ป่ วยที่มีภำวะแลคเตสไม่เพียงพอ (lactase insufficiency)
ให้มีอำกำรดีขึ้น หรือกำรเปลี่ยน phytoestrogen ที่ได้จำก
กำรรับประทำนอำหำรจำพวกถั่วเหลือง ไปเป็น active metabolite
ซึ่งให้ฤทธิ์ทำงชีวภำพที่แรงกว่ำ เป็นต้น
3. ด้านสรีรวิทยา (physiological functionality)
จำกกำรรวบรวมผลกำรศึกษำโดย Hamilton-Miller
(2004)8
พบว่ำกำรได้รับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลต่อกำร
เคลื่อนที่ของลำไส้ โดยเร่งระยะเวลำที่กำกอำหำรอยู่ในลำไส้
(GI transit time) ช่วยลดอำกำรท้องผูกในผู้สูงอำยุได้
นอกจำกนี้ยังพบว่ำจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถลดกำรเกิด
ก๊ำซในลำไส้ ลดอำกำรท้องอืด เพิ่มกำรดูดซึมสำรละลำยไอออน
ที่ลำไส้เล็กและลดพิษจำกกรดน้ำดี โดยกำรย่อยกรดน้ำดี
ด้วยเอนไซม์ bile salt hydrolase ส่งผลให้รบกวนกำรดูดซึม
คอเลสเตอรอลอีกด้วย 9
4. ด้านการลดสารพิษในลาไส้ (lowering toxic
compound)
จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถลดปริมำณสำรพิษ เช่น
พิษจำกเชื้อรำที่ปนเปื้ อนในอำหำร หรือสำรฆ่ำแมลงที่ตกค้ำง
ในลำไส้ได้ โดยกำรดูดซับสำรพิษโดยตรง เช่น กรณีของ
aflatoxin B1 ซึ่งตัวเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถดูดซึม
และย่อยสำร aflatoxin นี้ได้จำกกำรทดลองในหลอดทดลอง
(in vitro) หรือกำรลดกำรสร้ำงสำรพิษทำงอ้อม เช่น กรณีของ
สำรพิษ Shiga-toxin จำกเชื้อ Escherichia coli สำยพันธุ์
O157:H7 ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจำระร่วงรุนแรง ซึ่งจำกกำรศึกษำ
พบว่ำกรดอินทรีย์จำกจุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลรบกวน
และลดกำรสร้ำงสำรพิษนี้ได้
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 5
5. ด้านภูมิคุ้มกัน (immunological functionality)
ประโยชน์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในด้ำนภูมิคุ้มกันนั้น
เป็นที่ยอมรับกันว่ำ จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถกระตุ้นเซลล์
macrophage และ เพิ่มกำรสร้ำง IgA ที่ระบบทำงเดินอำหำร
ส่งผลต่อกำรหลั่ง cytokines ชนิดต่ำงๆ ได้ ผ่ำนระบบภูมิคุ้มกัน
ที่เยื่อเมือกหรือเยื่อบุ (mucosal immune response) นอกจำกนี้
จุลินทรีย์โพรไบโอติก ยังส่งผลต่อกำรทำงำนของ regulatory T
cellsซึ่งมีบทบำทสำคัญในกำรควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่ำงกำย
ทำให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นตัวเลือกเสริมที่มีควำมน่ำสนใจ
ในกำรรักษำโรคภูมิต้ำนตนเองหรือautoimmunediseaseได้ด้วย10
กลไลการออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก
จำกผลของจุลินทรีย์โพรไบโอติกต่อสุขภำพทั้ง 5 ด้ำน
จะเห็นว่ำ โพรไบโอติกสำมำรถใช้ในกำรรักษำและป้ องกัน
โรคหรือควำมผิดปกติต่ำงๆ รวมทั้งส่งเสริมสุขภำพที่ดีได้
ทั้งที่ระบบทำงเดินอำหำร (gastrointestinal (GI) tract) และ
นอกทำงเดินอำหำร (non-GI tract)11
โดยกลไกกำรออกฤทธิ์
ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถแบ่งเป็นระดับพื้นฐำน
(widespread) ระดับชนิดของเชื้อ (species-level) และ
ระดับสำยพันธุ์ (strain-level)1,12
ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 กลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก12
ถึงแม้ว่ำกลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก
ที่แท้จริง จะไม่ครอบคลุมจุลินทรีย์โพรไบโอติกได้ทุกสำยพันธุ์11
กลไกในกำรออกฤทธิ์ระดับพื้นฐำนถือเป็นคุณสมบัติทั่วไป
ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภำพได้1
นอกจำกที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกต้องไม่ก่อให้เกิดโรคและมี
ควำมปลอดภัยในกำรใช้แล้ว คุณสมบัติและกลไกกำรออกฤทธิ์
ที่สำคัญของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ได้แก่ ควำมสำมำรถใน
กำรยึดเกำะกับเยื่อมูก (mucus layer) เพื่อให้เพิ่มจำนวนใน
ร่ำงกำยได้ (colonization)6,11
ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่
ของกำรยับยั้งและเพิ่มจำนวนของเชื้อก่อโรค และในแง่ของกำร
ปรับสมดุลจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ นอกจำกนี้จุลินทรีย์
โพรไบโอติกยังสำมำรถช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial lining)
ที่ผนังลำไส้มีควำมแข็งแรงมำกขึ้น ผ่ำนกำรเกิด tight junction
และกำรกระตุ้นกำรผลิต mucin, IgA, defensin เป็นต้น
เมื่อจุลินทรีย์โพรไบโอติก เกิดกำรเจริญเติบโตภำยในลำไส้
ยังทำให้เกิดกำรหมักและผลิตภัณฑ์จำกกำรหมักที่เป็นประโยชน์
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 6
ต่อร่ำงกำย ไม่ว่ำจะเป็น กรดอินทรีย์ กรดไขมันสำยสั้น ซึ่งล้วน
มีผลประโยชน์ในเชิงชีวภำพทั้งสิ้น เช่น butyrate จัดเป็นแหล่ง
พลังงำนสำหรับเซลล์ผนังลำไส้ (colonocyte) ได้ อีกหนึ่งกลไก
ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ กำรปรับระบบ
ภูมิคุ้มกันของร่ำงกำย (immunomodulation) โดยมีผลต่อ
กำรสร้ำงและหลั่ง cytokines ชนิดต่ำงๆ และมีผลต่อกำรตอบ
สนองจำก T cells ชนิดต่ำงๆ ไม่ว่ำจะเป็น regulatory T cells
และ effector T helper cells นอกจำกนี้จุลินทรีย์โพรไบโอติก
ยังสำมำรถส่งผลต่ออวัยวะที่ระบบอื่น นอกเหนือจำกระบบ
ทำงเดินอำหำร โดยผ่ำนระบบภูมิคุ้มกัน และกำรผลิตสำร
สื่อประสำท ได้แก่ GABA หรือ serotonin เป็นต้น1,12
ข้อบ่งใช้ทางคลินิกที่เกี่ยวกับโรคในระบบ
ทางเดินอาหาร
ดังที่กล่ำวไว้ข้ำงต้น กลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์
โพรไบโอติกขึ้นกับชนิดและสำยพันธุ์ของเชื้อ ข้อบ่งใช้ที่
ได้ผลตำมกำรศึกษำทำงคลินิกที่เกี่ยวข้องกับโรคในระบบ
ทำงเดินอำหำร ดังแสดงในตำรำงที่ 311,13-14
1. อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea) ที่เกิด
จำกกำรติดเชื้อ เช่น E. coli, Shigella, Salmonella, Vibrio
เป็นต้น จัดเป็นโรคที่ทำให้เกิดกำรเสียชีวิตในเด็กเป็นลำดับ 2
รองจำก pneumonia กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก เช่น L.reuteri,
L. casei, LGG และ S. Boulardii เป็นหนึ่งในแนวทำงกำรรักษำ
อุจจำระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea) ในเด็ก โดย World
Gastroenterology Organisation (WGO) และ European Society
for Paediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition
(ESPGHAN) โดยถือว่ำมีหลักฐำนทำงวิชำกำรที่แน่นอน มี
ประสิทธิภำพและควำมปลอดภัย โดยลดควำมรุนแรงและ
ระยะเวลำกำรเกิดโรคได้ นอกจำกนี้กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก
ในโรคกระเพำะอำหำรและลำไส้อักเสบที่เกิดจำกเชื้อไวรัส
(viral gastroenteritis) ก็มีหลักฐำนและผลกำรศึกษำเป็นที่
แน่ชัดอีกด้วย13-15
2. โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วงในผู้ท่องเที่ยวเดินทาง
(traveler’s diarrhea) ประมำณ 50-80% เกิดจำกกำรติดเชื้อ
แบคทีเรีย นอกนั้นเกิดจำกเชื้อไวรัสและโปรโตซัว จัดเป็น
infectious diarrhea ชนิดหนึ่งโดยแบคทีเรียที่เป็นสำเหตุทั่วไป
ได้แก่เชื้อ E. coli ซึ่งผู้ป่วยอำจได้รับเชื้อผ่ำนทำงอำหำรหรือ
น้ำดื่มที่ปนเปื้ อนเชื้อ15
จำกกำรศึกษำของMcFarland16
โดย
รวบรวมผลกำรศึกษำทำงคลินิกช่วงปี 1977-2005 ทั้งหมด
940 กำรศึกษำ และใช้ 12 กำรศึกษำที่น่ำเชื่อถือ รวมจำนวน
ผู้เข้ำรับกำรทดสอบ 4,079 คน มำวิเครำะห์ข้อมูลแบบ
meta-analysis พบว่ำจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ใช้ในกำรศึกษำ
โดยเฉพำะเชื้อ S. boulardii และเชื้อผสม L. acidophilus กับ
B. bifidum มีประสิทธิภำพในกำรป้ องกันอุจจำระร่วงในผู้
ท่องเที่ยวเดินทำงได้อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ โดยผู้ที่ได้รับ
จุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีควำมเสี่ยงในกำรเกิดอุจจำระร่วง
จำกกำรเดินทำงลดลง 15% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยำหลอก
(relative risk = 0.85; ระดับควำมเชื่อมั่นที่ 95%, 0.79 –
0.91; ค่ำ p-value 0.001)
3. อุจจาระร่วงจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated
diarrhea, AAD) รวมทั้งอำกำรท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ
Clostridium difficile ที่เกิดจำกกำรใช้ยำปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์
กว้ำงต่อเนื่องเป็นระยะเวลำหนึ่ง ทำให้สมดุลของจุลินทรีย์
ประจำถิ่นที่ลำไส้เสียไป เกิดกำรเพิ่มจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์
ที่เป็นโทษต่อร่ำงกำย จำกกำรศึกษำทำงคลินิกจำนวนมำก
พบว่ำจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้ผลในทำงที่ดีในผู้ป่ วย AAD
จำกกำรรวบรวมผลกำรศึกษำทำงคลินิกแบบ randomized-
controlled trials จำนวน 34 กำรศึกษำ โดยมีผู้เข้ำร่วมกำร
ศึกษำทั้งหมด 4,138 คน และวิเครำะห์ meta-analysis ของ
Videlock และ Cremonini17
พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก
สำมำรถลดควำมเสี่ยงในกำรเกิด AAD เทียบกับยำหลอกได้
อย่ำงมีประสิทธิภำพ(relativerisk=0.53;ระดับควำมเชื่อมั่นที่
95%, 0.44-0.63) สอดคล้องกับที่ WGO และ ESPGHAN
ระบุกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก LGG และ S. boulardii
เป็นหนึ่งในแนวทำงกำรรักษำและป้ องกัน AAD ทั้งในเด็ก
และผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภำพและควำมปลอดภัย12-14
ส่วนอำกำรท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ Clostridium difficile
จำกกำรรวบรวมและวิเครำะห์แบบ meta-analysis ของ
McFarland18
พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถป้องกัน
กำรเกิด CCD ได้ อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ (relative risk =
0.59, ระดับควำมเชื่อมั่นที่ 95%, 0.41-0.85, ค่ำ p-value =
0.005) โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งผลกำรศึกษำของกำรใช้ S. boulardii
4. กลุ่มอาการลาไส้แปรปรวน (irritable bowel
syndrome, IBS) เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีผลต่อคุณภำพชีวิต
ยังไม่ทรำบสำเหตุแน่ชัด แต่คำดว่ำเกิดจำกกำรอักเสบของ
เยื่อบุผนังลำไส้และกำรเสียสมดุลของเชื้อประจำถิ่น และยัง
ไม่มียำรักษำเฉพำะโรคที่มีประสิทธิภำพเพียงพอ19
กำรใช้
จุลินทรีย์โพรไบโอติกในกำรรักษำหรือควบคุมอำกำร เช่น
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 7
อำกำรปวดท้อง ไม่สบำยท้อง แน่นท้อง พบว่ำมีประสิทธิภำพ
อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติเมื่อเทียบกับกำรใช้ยำหลอก โดย
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก B. infantis ให้ผลกำรศึกษำที่มี
ควำมแน่นอนมำกที่สุด20
5. ลาไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease, IBD)
เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจำกกำรอักเสบของลำไส้ใหญ่ ได้แก่ Crohn’s
disease, ulcerative colitis (UC), และ pouchitis ส่วนสำเหตุ
ของกำรเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทรำบแน่ชัด คำดว่ำเกิดจำกกำร
เสียสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ จำกกำรรวบรวมผล
กำรศึกษำทำงคลินิกที่มีควำมน่ำเชื่อถือ กำรรักษำด้วยจุลินทรีย์
โพรไบโอติก E. coli Nissle 1917 จัดเป็นกำรรักษำทำงเลือกที่มี
ประสิทธิภำพในกำรควบคุมอำกำรของโรค UCในผู้ใหญ่ แนะนำ
โดยองค์กร European Crohn’s and colitis organization (ECCO)
ส่วนผลกำรศึกษำในเด็ก พบว่ำข้อมูลยังไม่เพียงพอ แต่ก็มี
ข้อแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก VSL#3 เพื่อควบคุม
อำกำรได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ อย่ำงไรก็ตำม สำหรับ Crohn’s
disease และ pouchitis พบว่ำกำรศึกษำยังไม่เพียงพอ12-13,21
6. การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกร่วมในการรักษาการ
ติดเชื้อ Helicobacter pyroli ซึ่งเป็นสำเหตุหลักของกระเพำะ
อำหำรอักเสบเรื้อรังและแผลในกระเพำะอำหำรนั้น โดยกำร
รักษำมำตรฐำนจะใช้ proton-pump inhibitor ร่วมกับยำ
ปฏิชีวนะ 2 ชนิด ซึ่งอำกำรข้ำงเคียงจำกกำรใช้ยำปฏิชีวนะ
เช่น คลื่นไส้ อำเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ทำให้ผู้ป่ วยขำด
ควำมร่วมมือในกำรรักษำ จำกกำรรวบรวมผลกำรศึกษำโดย
Lesbros-Pantoflickova และคณะ22
พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์
โพรไบโอติกร่วมกับกำรใช้ยำสูตรมำตรฐำน สำมำรถเพิ่ม
ผลสำเร็จของกำรรักษำ (81% เทียบกับ 71% ในกลุ่มที่ใช้
สูตรยำมำตรฐำนเพียงอย่ำงเดียว; χ2 test: P=0.03) และ
ลดอำกำรข้ำงเคียงที่เกิดจำกกำรใช้ยำปฏิชีวนะ (23% เทียบกับ
46% ในกลุ่มที่ใช้สูตรยำมำตรฐำนเพียงอย่ำงเดียว; χ2 test:
P=0.04) ได้อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ โดยเชื้อจุลินทรีย์
โพรไบโอติกที่ให้ผลดีและมีหลักฐำนทำงวิชำกำรรองรับมำก
ที่สุดได้แก่ S. boulardii, L. reuteri และ LGG12,23
7. Lactose intolerance เป็นควำมผิดปกติจำกกำรไม่
สำมำรถย่อยน้ำตำล lactose เนื่องจำกเอนไซม์แลคเตสไม่
เพียงพอ (lactase insufficiency) ทำให้เกิดอำกำรไม่สบำยท้อง
ท้องอืด ปวดท้อง และท้องเสีย หำกได้รับน้ำตำลแลคโตสมำก
เกินไป ซึ่งน้ำตำลแลคโตสเป็นน้ำตำลที่มีอยู่ในนม กำรใช้
จุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือกำรรับประทำนผลิตภัณฑ์โพร
ไบโอติก ทั้งนมและโยเกิร์ต สำมำรลดอำกำรเหล่ำนี้ได้
เนื่องจำกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถสร้ำงเอนไซม์ β-
galactosidase หรือ lactase ที่ใช้ย่อย lactose ได้นั่นเอง และ
จุลินทรีย์โพรไบโอติกยังสำมำรถส่งผลต่อกำรเคลื่อนที่ของ
ลำไส้และ pH ในลำไส้ ซึ่งส่งผลดีต่ออำกำรของผู้ป่วยทั้งสิ้น12,24
สำหรับข้อบ่งใช้ทำงคลินิกที่เกี่ยวกับโรคหรือควำม
ผิดปกตินอกระบบทำงเดินอำหำร (non-GI illness) ที่มี
กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในกำรรักษำ ได้แก่
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ atopic dermatitis ซึ่งเป็น
โรคผื่นแพ้ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในเด็ก กลไกที่จุลินทรีย์
โพรไบโอติกส่งผลดีต่อโรค คำดว่ำเกิดจำกควำมสำมำรถใน
กำรปรับระบบภูมิคุ้มกัน (immunomodulatory effects) โดย
ผลกำรศึกษำทำงคลินิกพบว่ำกำรให้จุลินทรีย์โพรไบโอติก
LGG แก่หญิงตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงให้นมบุตร ทำให้ทำรกมี
ควำมเสี่ยงที่จะเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในช่วง 2 ปีแรกลดลง
อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ นอกจำกนี้ผลกำรศึกษำแสดงให้
เห็นว่ำทำรกซึ่งได้รับกำรวินิจฉัยว่ำเป็น eczema เมื่อได้รับ
จุลินทรีย์โพรไบโอติก LGG หรือ B. lactis เป็นระยะเวลำ 2
เดือน พบว่ำอำกำรผื่นแพ้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ
โพรไบโอติก (P=0.002)25
อย่ำงไรก็ตำม Boyle และคณะ26
ได้ทำกำรศึกษำรวบรวมงำนวิจัยทำงคลินิกจำนวน 12 งำนวิจัย
พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในกำรรักษำผื่นแพ้ผิวหนัง
ยังคงมีหลักฐำนไม่เพียงพอ ในแนวทำงกำรรักษำของ World
Allergy Organization หรือ WAO จึงมีกำรแนะนำให้ใช้เฉพำะ
ในผู้ที่มีควำมเสี่ยงสูงเท่ำนั้น11
นอกจำกนี้ยังมีกำรศึกษำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก
ในโรคหรือควำมผิดปกตินอกระบบทำงเดินอำหำร แต่ผล
กำรศึกษำยังไม่แน่นอน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับควำมผิดปกติ
ของภูมิคุ้มกันอื่นๆ กำรติดเชื้อบริเวณทำงเดินหำยใจ กำร
ติดเชื้อบริเวณทำงเดินปัสสำวะ ควำมผิดปกติทำงพฤติกรรม
และระบบประสำท โรคอ้วน กำรลดระดับคอเลสเตอรอล
ควำมดันโลหิตสูง เป็นต้น3,9,28-33
ข้อควรระวังและอาการข้างเคียง
ที่อาจพบได้7,11,27,34
ถึงแม้ว่ำกำรใช้โพรไบโอติกเพื่อกำรรักษำและป้ องกันโรค
จะมีกำรศึกษำในแง่ของควำมปลอดภัยแล้ว แต่ยังคงมีผล
ข้ำงเคียงที่มีควำมเป็ นไปได้ เช่น กำรถ่ำยทอดยีนดื้อยำ
(antibiotic resistance transfer) กำรกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่
พึงประสงค์ (immunologicaleffects)กำรเกิดพิษในทำงเดินอำหำร
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 8
(gastrointestinal toxicity) กำรหลุดเข้ำสู่กระแสเลือดหรือไป
ที่อวัยวะอื่น (transmigration) เป็นต้น ส่วนผลข้ำงเคียงที่เคยมี
กำรรำยงำน ได้แก่ กำรติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มหัวใจ
อักเสบ ฝีในช่องท้อง เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีกำรใช้อย่ำง
ระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือควำมผิดปกติ
ที่ลิ้นหัวใจ ทำรกมีประวัติคลอดก่อนกำหนดหรือมีควำมพิกำร
แต่กำเนิด ผู้ป่วยที่มีควำมผิดปกติที่ลำไส้ เช่น ภำวะลำไส้สั้น
ผู้ที่มีภำวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่ วยที่มีกำรใส่สำยสวน
ผู้สูงอำยุ ผู้ป่วยเบำหวำน ภูมิแพ้ ผู้ที่แพ้ยีสต์ เป็นต้น
สำหรับอำกำรข้ำงเคียงที่ไม่รุนแรงที่อำจพบได้บ่อย
จำกกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก ได้แก่ ท้องผูก ท้องอืด สะอึก
คลื่นไส้ กำรติดเชื้อ และผื่น
ตารางที่ 3 ข้อบ่งใช้ สำยพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติก และปริมำณที่ต้องใช้สำหรับโรคในระบบทำงเดินอำหำร11-14,23
ข้อบ่งใช้ สายพันธุ์จุลินทรีย์และขนาดที่ใช้
1. Acute infectious diarrhea
in infants and children
 LGG = 1010
CFU in 250 mL oral rehydration solution
 L. reuteri = 1010–11
CFU daily x 5 days
 S. boulardii = 250–750 mg x 5–6 days
2. Traveler’s diarrhea  LGG = 2 x 109
CFU daily start 2 days before departure and continue till return
 S. boulardii = 5 x 109– 10
CFU daily, start 5 days before departure
3. Antibiotic-associated
diarrhea (AAD)
 LGG = 6 x 109
CFU daily x 1–4 weeks
 S. boulardii = 4 x 109
CFU daily x 1–4 weeks
 L. acidophilus and L. bulgaricus = 2 x 109
CFU daily x 7 days
Clostridium difficile  2 x 1010
CFU daily x 4 weeks with vancomycin and/or metronidazole
4. Irritable bowel syndrome
(IBS)
 VSL#3 = 9 x 1011 CFU daily x 8 weeks
 Bifidobacterium infantis = 106-10
CFU daily x 4 weeks
 LGG = 8-9 x 109
CFU daily x 6 month
5. Ulcerative colitis (UC)  Escherichia coli Nissle 1917 = 5 x 1010
CFU twice daily until remission
 VSL#3 = 8 x 1012
bacteria twicw daily x 6 weeks with standard therapy
 S. boulardii = 250 mg 3 times daily x 4 weeks + mesalazime 1 g daily for 6 months
6. H. pyyroli eradication  S. boulardii = 500-1000 mg x 2-4 weeks along with triple therapy
 LGG = 6 x 109
twice daily (2 h after meal) for 14 days along with triple therapy
(Positive effect to side-effects and on overall treatment tolerability)
สรุป
ในปัจจุบันควำมรู้ด้ำนโพรไบโอติก รวมทั้งหลักฐำน
ทำงวิชำกำรที่แสดงถึงประสิทธิภำพและควำมปลอดภัยของ
โพรไบโอติก มีจำนวนเพิ่มมำกขึ้น และผู้บริโภคมีควำมสนใจ
ในกำรดูแลสุขภำพมำกขึ้น จึงมีผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก
วำงจำหน่ำยอย่ำงแพร่หลำย คุณประโยชน์ของจุลินทรีย์
โพรไบโอติกต่อร่ำงกำยมีมำกมำยหลำยด้ำน ครอบคลุมทั้งที่
ระบบทำงเดินอำหำรเอง และนอกระบบทำงเดินอำหำร หำก
พิจำรณำจำกคำจำกัดควำมของคำว่ำ “โพรไบโอติก” จะพบว่ำ
คำสำคัญ (keywords) มีอยู่ 3 ส่วน คือ 1. ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่
มีชีวิต 2. ต้องได้รับในปริมำณที่เพียงพอ และ 3. ต้องก่อให้
เกิดประโยชน์ต่อสุขภำพ ดังนั้นในกำรพัฒนำผลิตภัณฑ์ กำรให้
คำแนะนำ และกำรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ประสิทธิผล
สูงสุด จึงต้องคำนึงถึงสำมองค์ประกอบนี้เป็นสำคัญ
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 9
เอกสารอ้างอิง
1. Hill C, Guarner F, Reid G, Gibson GR, Merenstein
DJ, Pot B, et al. Expert consensus document. The
International Scientific Association for Probiotics
and Prebiotics consensus statement on the scope
and appropriate use of the term probiotic. Nat Rev
Gastroenterol Hepatol 2014; 11:506–14.
2. Naidu AS, Bidlack WR, Clemens RA. Probiotic
spectra of lactic acid bacteria (LAB). Crit Rev Food
Sci Nutr 1999; 39(1):13-126.
3. Upadrasta A, Sudha R. Probiotics and blood pressure:
current insights. Integr Blood Press Control 2016;
9:33-42.
4. Szajewska H, Konarska Z, Kołodziej M. Probiotic
bacterial and fungal strains: claims with evidence. Dig
Dis 2016; 34(3):251-9.
5. Holzapfel WH, Haberer P, Geisen R, Björkroth J,
Schillinger U. Taxonomy and important features of
probiotic microorganisms in food and nutrition. Am
J Clin Nutr 2001; 73(2 Suppl):365s-73s.
6. พระรำชบัญญัติอำหำร พ.ศ. 2522. ประกำศกระทรวง
สำธำรณสุข เรื่อง กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอำหำร,
รำชกิจจำนุเบกษำเล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 86ง. (ลง
วันที่ 27 มิถุนำยน พ.ศ. 2554)
7. Vandenplas Y, Huys G, Daube G. Probiotics: an
update. J Pediatr (Rio J) 2015; 91:6–21.
8. Hamilton-Miller JM. Probiotics and prebiotics in
the elderly. Postgrad Med J 2004; 80(946):447-51.
9. Kumar M, Nagpal R, Kumar R, Hemalatha R, Verma
V, Kumar A, et al. Cholesterol-lowering probiotics as
potential biotherapeutics for metabolic diseases. Exp
Diabetes Res 2012; doi:10.1155/2012/902917.
10. Dwivedi M, Kumar P, Laddha NC, Kemp EH.
Induction of regulatory T cells: a role for probiotics
and prebiotics to suppress autoimmunity. Autoimmun
Rev 2016; 15(4):379-92.
11. Islam SU. Clinical uses of probiotics. Medicine
2016; 95(5):e2658.
12. Sánchez B, Delgado S, Blanco-Mí guez A, Lourenç o
A, Gueimonde M, Margolles A. Probiotics, gut
microbiota, and their influence on host health and
disease. Mol Nutr Food Res 2017; 61(1): doi: 10.
1002/mnfr.201600240.
13. Floch MH. Recommendations for probiotic use in
humans-a 2014 update. Pharmaceuticals ( Basel)
2014; 7(10):999-1007.
14. Szajewska H, Skorka A, Dylag M. Meta-analysis:
Saccharomyces boulardii for treating acute diarrhoea in
children. Aliment Pharmacol 2007; 25(3): 257-64.
15. Farthing M, Salam MA, Lindberg G, Dite P,
Khalif I, Salazar-Lindo E, et al. Acute diarrhea
in adults and children a global perspective. J Clin
Gastroenterol 2013; 47(1):12-20.
16. McFarland LV. Meta-analysis of probiotics for the
prevention of traveler's diarrhea. Travel Med Infect
Dis 2007; 5(2):97-105.
17. Videlock EJ, Cremonini F. Meta-analysis: probiotics in
antibiotic-associated diarrhoea. Aliment Pharmacol
Ther 2012; 35(12):1355-69.
18. McFarland LV. Meta-analysis of probiotics for the
prevention of antibiotic associated diarrhea and
the treatment of Clostridium difficile disease. Am J
Gastroenterol 2006; 101:812–22.
19. Brenner DM, Moeller MJ, Chey WD, Schoenfeld
PS. The utility of probiotics in the treatment of
irritable bowel syndrome: a systematic review. Am
J Gastroenterol 2009; 104(4):1033-49.
20. Aragon G, Graham DB, Borum M, Doman DB.
Probiotic therapy for irritable bowel syndrome.
Gastroenterol Hepatol 2010; 6(1):39–44.
21. Turner D, Levine A, Escher JC, Griffiths AM,
Russell RK, Dignass A, et al. Management of
pediatric ulcerative colitis: joint ECCO and ESPGHAN
evidence-based consensus guidelines. J Pediatr
Gastroenterol Nutr 2012; 55:340-61.
สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 10
22. Lesbros-Pantoflickova D, Corthé sy-Theulaz I, Blum
AL. Helicobacter pylori and probiotics. J Nutr 2007;
137(3):812S-8S.
23. Homan M, Orel R. Are probiotics useful in
Helicobacter pylori eradication?.World J Gastroenterol
2015; 21(37):10644–53.
24. de Vrese M, Stegelmann A, Richter B, Fenselau S,
Laue C, Schrezenmeir J. Probiotics—compensation
for lactase insufficiency. Am J Clin Nutr 2001;
73(2):421s-9s.
25. Isolauri E, Arvola T, Sütas Y, Moilanen E,
Salminen S. Probiotics in the management of atopic
eczema. Clin Exp Allergy 2000; 30(11):1604-10.
26. Boyle R, Bath-Hextall FJ, Leonardi-Bee J,
Murrell DF, Tang ML. Probiotics for treating
eczema. Cochrane Db Syst Rev 2008; doi: 10.
1002/14651858.CD006135.pub2.
27. Farnworth ER.The evidence to support health claims
for probiotics. J Nutr 2008; 138(6):1250S-4S.
28. Dong JY, Szeto IM, Makinen K, Gao Q, Wang
J, Qin LQ, Zhao Y. Effect of probiotic fermented
milk on blood pressure: a meta-analysis of randomised
controlled trials. Br J Nutr 2013; 110:1188–94.
29. Wang Y, Li X, Ge T, Xiao Y, Liao Y, Cui Y,
et al. Probiotics for prevention and treatment of
respiratory tract infections in children: a systematic
review and meta-analysis of randomized controlled
trials. Medicine. 2016; 95(31):e4509. doi: 101
097/MD.0000000000004509.
30. Schwenger EM, Tejani AM, Loewen PS. Probiotics
for preventing urinary tract infections in adults and
children. Cochrane Database Syst Rev 2015; doi:
10.1002/14651858.CD008772.pub2.
31. Oriach CS, Robertson RC, Stanton C, Cryan JF. Food
for thought: the role of nutrition in the microbiota-
gut–brain axis. Clin Nutr Exp 2016; 6:25-38.
32. Begum PS, Madhavi G, Rajagopal S, Viswanath B,
Razak MA, Venkataratnamma V. Probiotics as
functional foods: potential effects on human health
and its impact on neurological diseases. Int J Nutr
Pharmacol Neurol Dis 2017; 7:23-33.
33. Kobyliak N, Conte C, Cammarota G, Haley AP,
Styriak I, Gaspar L, Fusek J, et. al. Probiotics in
prevention and treatment of obesity: a critical view.
Nutr Metab 2016; 13:14. doi:10.1186/s12986-
016-0067-0.
34. Snydman DR. The safety of probiotics. Clin Infect
Dis 2008; 46 Suppl 2:S104–S111.
-------------------------------------------

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthUtai Sukviwatsirikul
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)Aiman Sadeeyamu
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาsongsri
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalfreelance
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineAiman Sadeeyamu
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันUtai Sukviwatsirikul
 
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิดบทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิดPa'rig Prig
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...Dr.Suradet Chawadet
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำPrathan Somrith
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...Utai Sukviwatsirikul
 
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58Junee Sara
 
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)Utai Sukviwatsirikul
 
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ Utai Sukviwatsirikul
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมSurang Judistprasert
 

La actualidad más candente (20)

PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for HealthPROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
PROBIOTICS Alternative Microorganisms for Health
 
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
การใช้ยาในเด็ก (Drugs in Pediatrics)
 
Insulin
InsulinInsulin
Insulin
 
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษาPICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
PICO : ค้นข้อมูลอย่างไรให้ตรงประเด็นการรักษา
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
 
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscineความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
ความแตกต่างระหว่าง Drotaverine และ hyoscine
 
Antibiotic_1
Antibiotic_1 Antibiotic_1
Antibiotic_1
 
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบันยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
ยาสามัญประจำบ้านแผนปัจจุบัน
 
Cpg topical steroid usage
Cpg topical steroid usageCpg topical steroid usage
Cpg topical steroid usage
 
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิดบทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
บทที่ 6 ยาคุมกำเนิด
 
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
การประเมินสมรรถภาพในเชิงปฏิบัติ การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจาวันขั้นพื้นฐาน...
 
ประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำประเภทสารน้ำ
ประเภทสารน้ำ
 
Laboratory Testing
Laboratory TestingLaboratory Testing
Laboratory Testing
 
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง Handbook for hype...
 
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
ความรู้ทั่วไปเรื่องยา (ภญกนิษฐา) 19/6/58
 
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
GPP กับการจัดการเชิงคุณภาพ (Quality Management)
 
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
ร้านยาคุณภาพ โดย ชวิการ์ ทับบุญ
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
 
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรมจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
จรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม
 
GPP for community pharmacist
GPP for community pharmacistGPP for community pharmacist
GPP for community pharmacist
 

Similar a การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)

นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014Chuchai Sornchumni
 
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททpakpoomounhalekjit
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย2077842018
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย2077842018
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชWichai Likitponrak
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชdnavaroj
 
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาadriamycin
 
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdfมาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdfPaanSuthahathai
 
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...Thira Woratanarat
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553Postharvest Technology Innovation Center
 
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพweerabong
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์paifahnutya
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์0636830815
 
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพSubaidah Yunuh
 
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdfการเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdfVorawut Wongumpornpinit
 

Similar a การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic) (20)

Pp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormonePp tbio5lessonplanthormone
Pp tbio5lessonplanthormone
 
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
นโยบายด้านอาหาร ภูเก็ต 17 nov 2014
 
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททพยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
พยาธิวิทยาทททททททททททททททททททททททททททททททททททททททททท
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย
 
การดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรียการดื้อยาของแบคทีเรีย
การดื้อยาของแบคทีเรีย
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
 
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษาความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
ความคงตัวของเภสัชภัณฑ์และการเก็บรักษา
 
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdfมาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
มาตรฐานโรงพยาบาล Food Safety Hospital.pdf
 
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
ประสิทธิผลของการให้ข้อมูลด้านโภชนาการต่อพฤติกรรม การบริโภคอาหารของนักศึกษาในเ...
 
Flora improvement
Flora improvementFlora improvement
Flora improvement
 
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
Postharvest Newsletter ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2553
 
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
4 plantrespo plan
4 plantrespo plan4 plantrespo plan
4 plantrespo plan
 
33 37
33 3733 37
33 37
 
โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์โครงงานฉบับสมบูรณ์
โครงงานฉบับสมบูรณ์
 
M6 143 60_9
M6 143 60_9M6 143 60_9
M6 143 60_9
 
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
 
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdfการเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
การเพิ่มการบริโภค พืช ผัก ผลไม้ ฉบับปรับปรุง (2557).pdf
 

Más de Utai Sukviwatsirikul

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaUtai Sukviwatsirikul
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaUtai Sukviwatsirikul
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Utai Sukviwatsirikul
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Utai Sukviwatsirikul
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Utai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตUtai Sukviwatsirikul
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงUtai Sukviwatsirikul
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)Utai Sukviwatsirikul
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการUtai Sukviwatsirikul
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินUtai Sukviwatsirikul
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 

Más de Utai Sukviwatsirikul (20)

Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืนNanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
Nanoxร้านยาใช้สื่อ Social อย่างไร ให้ได้ยอดขาย…อย่างยั่งยืน
 
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันClinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
Clinical Guidance for Acute Pain Management เเนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน
 
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
แนวทางการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลต่อต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลัง ของร้านขายยา ...
 
Supply chain management
Supply chain managementSupply chain management
Supply chain management
 
Best practice in communication
Best practice in communicationBest practice in communication
Best practice in communication
 
Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554Basic communication skills 2554
Basic communication skills 2554
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoeaSaccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea
 
SME Handbook
SME HandbookSME Handbook
SME Handbook
 
Scientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLORScientific evidence of BIOFLOR
Scientific evidence of BIOFLOR
 
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee VaravithyaDrugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
Drugs Used in Acute Diarrhea Wandee Varavithya
 
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
Systematic review with meta-analysis: Saccharomyces boulardii in the preventi...
 
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
Meta-Analysis of Probiotics for the Prevention of Antibiotic Associated Diarr...
 
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
Saccharomyces boulardii in the prevention of antibiotic-associated diarrhoea ...
 
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไตแนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนทางไต
 
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
การประเมินโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
 
ความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไตความรู้เรื่องโรคไต
ความรู้เรื่องโรคไต
 
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
แนวทางการพัฒนาการตรวจรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๔)
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
 
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉินข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
ข้อเท็จจริงเรื่องยาคุมฉุกเฉิน
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 

การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic)

  • 1. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 1 การศึกษาต่อเนื่อง รหัส 1002-1-000-007-07-2561 จำนวน 3.5 หน่วยกิตกำรศึกษำต่อเนื่อง วันที่รับรอง: 2 สิงหำคม 2561 วันที่หมดอำยุ: 1 สิงหำคม 2562 การใช้โพรไบโอติกทางการแพทย์ (Medical Uses of Probiotic) พิมพิกา กาญจนดาเกิง ภ.บ., Ph.D. (Biopharmaceutical sciences) ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บทคัดย่อ จุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ (intestinal microflora) มีควำมสำคัญต่อสุขภำพของมนุษย์ ทั้งระบบทำงเดินอำหำรและนอก ระบบทำงเดินอำหำร จึงมีกำรใช้จุลินทรีย์มีชีวิตหรือจุลินทรีย์โพรไบโอติก (probiotic) อย่ำงแพร่หลำยเพื่อรักษำควำมผิดปกติ ที่เกิดจำกกำรรบกวนสมดุลจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ โดยมีหลักฐำนทำงวิทยำศำสตร์ที่หนักแน่นได้แก่ โรคท้องเสียหรืออุจจำระร่วง ในผู้ท่องเที่ยวเดินทำง (traveler’s diarrhea), ท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ (infectious diarrhea), อุจจำระร่วงจำกยำปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea, AAD) รวมทั้งอำกำรท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ Clostridium difficile, กลุ่มอำกำรลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome, IBS), ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease, IBD) ส่วนโรคนอกระบบทำงเดินอำหำรที่มี รำยงำนกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกอย่ำงมีประสิทธิภำพ ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ atopic dermatitis ในเด็กทำรก เป็นต้น กลไกของจุลินทรีย์โพรไบโอติกนั้นมีหลำยระดับได้แก่ ระดับทั่วไป (widespread) ระดับชนิดของเชื้อ (species) และระดับสำยพันธุ์ (strain) โดยกลไกขั้นพื้นฐำน ได้แก่ กำรเพิ่มจำนวนเชื้อประจำถิ่น (colonization) กำรเกิดภำวะกีดกันแก่งแย่งกับเชื้อก่อโรค (competitive exclusion of pathogens) กำรสร้ำงกรดไขมันสำยสั้น (production of short chain fatty acids) และที่สำคัญคือกำร ปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ (normalization of perturbed microbiota) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภำพจึงควรเลือกใช้ จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำยพันธุ์ที่เหมำะสมต่อควำมต้องกำร อีกทั้งยังควรคำนึงถึงประโยชน์และโทษที่อำจเกิดขึ้นจำกกำรใช้จุลินทรีย์ โพรไบโอติกในผู้ป่วยบำงประเภท สำหรับจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีกำรศึกษำรองรับมำกที่สุด ได้แก่ Saccharomyces boulardii และ Lactobacillus rhamnosus GG (LGG) คาสาคัญ Probiotic, กลไกกำรออกฤทธิ์, ข้อบ่งใช้ทำงคลินิก, ระบบทำงเดินอำหำร, ผลต่อสุขภำพ
  • 2. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 2 วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม หลังจำกอ่ำนบทควำมเสร็จสิ้นแล้ว ผู้อ่ำนมีควำมสำมำรถ ดังนี้ 1. ระบุควำมหมำยและชนิดของจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็น จุลินทรีย์โพรไบโอติก 2. ระบุคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก และกำรศึกษำ ทำงคลินิกสำหรับกำรใช้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกเพื่อกำร ป้องกันและรักษำโรคในทำงเดินอำหำรและนอกทำงเดิน อำหำร 3. อธิบำยกลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก 4. บอกอำกำรไม่พึงประสงค์ ข้อห้ำมใช้ ข้อควรระวังที่เกิด จำกผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกได้ บทนา จุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่ำงกำยมนุษย์สำมำรถพบได้ใน หลำยส่วนไม่ว่ำจะเป็นที่ผิวหนังช่องปำกทำงเดินหำยใจส่วนต้น และระบบทำงเดินอำหำร เป็นต้น โดยพบว่ำจำนวนของ จุลินทรีย์ประจำถิ่นที่พบในร่ำงกำยมีจำนวนเป็นหนึ่งล้ำนล้ำน หรือ 1012 ตัว ซึ่งบริเวณที่มีจุลินทรีย์ประจำถิ่นหนำแน่นที่สุด คือลำไส้ใหญ่ และมีควำมหลำกหลำยของสำยพันธุ์ของเชื้อ จุลินทรีย์ประจำถิ่นมำกกว่ำ 300 ชนิด ประกอบไปด้วย จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ จุลินทรีย์ที่เป็นกลำง และจุลินทรีย์ที่ ก่อให้เกิดโทษ โดยชนิดและจำนวนของจุลินทรีย์ประจำถิ่น ในร่ำงกำยมนุษย์แต่ละคนจะมีควำมแตกต่ำงกันและสำมำรถ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลำตำมช่วงอำยุและปัจจัยแวดล้อม เช่น กำรรับประทำนอำหำร สภำพภูมิศำสตร์ของที่อยู่อำศัย สภำวะทำงสรีรวิทยำ และพันธุกรรม เป็นต้น เมื่อเกิดสภำวะ ที่ทำให้จุลินทรีย์ประจำถิ่นเสียสมดุลไปอำจส่งผลให้ร่ำงกำย เกิดควำมผิดปกติหรือเกิดโรคขึ้นได้ กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อปรับสภำวะสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่น รวมทั้งประโยชน์ ในด้ำนอื่นๆ ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกจึงสำมำรถช่วยป้ องกัน หรือทำให้อำกำรของโรคเหล่ำนั้นดีขึ้นได้ โพรไบโอติก จุลินทรีย์เพื่อสุขภาพ ตำมคำจำกัดควำมขององค์กำรอำหำรและกำรเกษตร แห่งสหประชำชำติร่วมกับองค์กำรอนำมัยโลก (Food and Agriculture Organization of the United Nations and the World Health Organization - FAO/WHO) จุลินทรีย์โพรไบโอติก หมำยถึงจุลินทรีย์มีชีวิต ซึ่งเมื่อได้รับในปริมำณที่เพียงพอจะ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภำพ กล่ำวคือผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก ตำมคำจำกัดควำมนั้นรวมถึง ยำ อำหำรที่ใช้ทำงกำรแพทย์ อำหำรทั่วไป ผลิตภัณฑ์ที่ใช้โดยกำรรับประทำน อำหำรสัตว์ กลุ่มเชื้อจุลินทรีย์ที่มีกำรบ่งชี้ชนิดของเชื้อ ผลิตภัณฑ์เสริม อำหำร และสูตรอำหำรสำหรับทำรก ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ไม่จัดว่ำ เป็นโพรไบโอติกตำมคำจำกัดควำมของ FAO/WHO เช่น อำหำรหมักที่ไม่ได้มีกำรบ่งชี้ชนิดของเชื้อจุลินทรีย์ที่พบ หรือกลุ่มเชื้อที่ไม่ได้บ่งชี้ที่ใช้ในกำรปลูกถ่ำยอุจจำระ เป็นต้น1 อย่ำงไรก็ตำม หำกคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภำพแล้ว ส่วน ประกอบอื่นๆ ของเซลล์ก็มีบทบำทกับสุขภำพเช่นกัน ทำให้ นิยำมของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก อำจครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ ที่ประกอบด้วยสำรออกฤทธิ์ทำงชีวภำพที่สร้ำงขึ้นจำกจุลินทรีย์ โพรไบโอติก หรืออำจเรียกผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ว่ำ probio-active2 เช่น ส่วนประกอบของเซลล์จุลินทรีย์ที่สำมำรถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กรดอินทรีย์ สำรปฏิชีวนะ เอนไซม์ต่ำงๆ วิตำมินสำรสื่อประสำท ได้แก่ γ-aminobutyric acid (GABA) เป็นต้น3 สำหรับผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกสำมำรถแบ่งเป็นกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในกำรรักษำโรคเป็นยำ หรือใช้เพื่อกำรป้ องกัน ในคนที่มีสุขภำพปกติ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอำหำร หรืออำหำร เพื่อสุขภำพ ดังแสดงในตำรำงที่ 1 จำกกำรศึกษำก่อนหน้ำพบว่ำ กลุ่มของเชื้อจุลินทรีย์ที่ มีคุณสมบัติเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติก สำมำรถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ Lactobacillus spp., Bifidobacterium spp., other lactic acid bacteria และ non-lactic acid bacteria ดังแสดงในตำรำงที่ 2 โดยจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีคุณสมบัติ ที่โดดเด่นและมีรำยงำนทำงคลินิกพบว่ำมีควำมสำมำรถลดกำร เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบทำงเดินอำหำรได้ ได้แก่ Lactobacillus rhamnosus GG (LGG), L. reuteri DSM 17938, L. reuteri ATCC PTA 6475, L. plantarum 299v (DSM 9843), L. acidophilus CL1285, L. casei LBC80R, Bifidobacterium animalis subsp. lactis BB-12 และ B. lactic DN-1730104 นอกจำกนี้ในบำงกำรศึกษำแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภำพของ ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์หลำยชนิด เช่น VSL#3 ประกอบด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกทั้งหมด 8 ชนิดได้แก่ L. acidophilus, L. plantarum, L. paracasei, L. bulgaricus, B. breve, B. infantis, B. Longum และ S. thermophiles รวมจำนวน 225 ล้ำนล้ำนตัว ต่อ 2 แคปซูล เป็นต้น5
  • 3. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 3 ตารางที่ 1 กำรแบ่งประเภทผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก1,4 ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก การใช้ผลิตภัณฑ์ การกล่าวอ้าง ผลิตภัณฑ์เสริมอำหำร (dietary supplement) สำมำรถใช้ใน ประชำกรทั่วไป  กำรกล่ำวอ้ำงทำงสุขภำพ (health claim) เช่น กระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบ ไม่เฉพำะเจำะจงที่มีโดยธรรมชำติ (enhances natural resistance or natural immunity)  ใช้คำว่ำ “ประกอบด้วยจุลินทรีย์มีชีวิต” “ประกอบด้วยโพรไบโอติก”  คำว่ำ “จุลินทรีย์มีชีวิต” ไม่ได้แสดงถึงประสิทธิภำพของจุลินทรีย์ โพรไบโอติก  อำหำรหมักที่มีจุลินทรีย์มีชีวิตและมีหลักฐำนเพียงพออำจพิจำรณำเป็น โพรไบโอติกได้ เช่น โยเกิร์ต อำหำรหรือส่วนประกอบ ในอำหำรเพื่อสุขภำพ (food ingredient) ยำ (drug) จำกัดกำรใช้เฉพำะ ในผู้ป่วย  กำรกล่ำวอ้ำงทำงกำรแพทย์ (medical claim) เช่น สำหรับกำรรักษำ โรคท้องร่วง (for the treatment of diarrhea)  ให้ระบุข้อบ่งใช้ในกำรรักษำที่มีควำมเฉพำะเจำะจง ตารางที่ 2 จุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติก5-6 Lactobacillus spp. Bifidobacterium spp. Other lactic acid bacteria Non-lactic acid bacteria L. acidophilus* B. adolescentis* Enterococcus faecalis Bacillus coagulans* L. amylovorus B. animalis* Enterococcus faecium* Bacillus cereus var. toyoi L. casei B. bifidum* Enterococcus durans* Escherichia coli strain nissle L. crispatus* B. breve* Lactococcus lactis Propionibacterium freudenreichii*L. delbrueckii subsp. bulgaricus B. infantis* Leuconostoc mesenteroides L. gallinarum B. lactis* Pediococcus acidilactici Saccharomyces cerevisiae subsp. Boulardii* L. gasseri* B. longum* Sporolactobacillus inulinus L. johnsonii* B. pseudolongum* Streptococcus thermophilus Staphylococcus sciuri* L. paracasei* L. plantarum L. reuteri* L. salavarius* L. rhamnosus* L. zeae* *จุลินทรีย์ตำมที่กำหนดไว้ในบัญชีแนบท้ำยประกำศกระทรวงสำธำรณสุข จำนวน 23 เชื้อ โดยหำกเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ นอกเหนือจำกที่กำหนดไว้ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้ำต้องส่งมอบหลักฐำนแสดงผลกำรประเมินควำมปลอดภัย และคุณสมบัติกำร เป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติก
  • 4. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 4 สำหรับคุณสมบัติของโพรไบโอติกที่สำคัญนั้น ได้แก่ ควำมสำมำรถในกำรทนต่อสภำวะกรดในกระเพำะอำหำร (resistance to gastric acidity) ควำมสำมำรถในกำรทนต่อ เกลือน้ำดี (bile salt resistance) ควำมสำมำรถในกำรเกำะติด กับเซลล์ผิวเยื่อบุและเพิ่มจำนวน (adherence and colonization) ควำมสำมำรถในกำรย่อยเกลือน้ำดีจำกฤทธิ์ของเอนไซม์ไฮโดรเลส (bile salt hydrolase activity) และคุณสมบัติอื่นๆ เช่น กำร สร้ำงสำร probio-active ต่ำงๆ ควำมสำมำรถในกำรเป็นปฏิปักษ์ กับเชื้อก่อโรค (pathogen) เป็นต้น ทั้งนี้ก่อนนำจุลินทรีย์ โพรไบโอติกมำใช้ประโยชน์ต้องมีกำรตรวจเอกลักษณ์ของสกุล (genus) ชนิด (species) และสำยพันธุ์ (strain) อีกทั้งต้องมี กำรประเมินควำมปลอดภัยและปฏิกิริยำของร่ำงกำยต่อจุลินทรีย์ โพรไบโอติกด้วย6 ผลของโพรไบโอติกต่อสุขภาพ7-10 จุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลต่อสุขภำพได้อย่ำงหลำก หลำยและยังคงมีผลกำรศึกษำเกี่ยวกับกลไกกำรออกฤทธิ์ที่ คำดไว้ ไม่ว่ำจะเป็นจำกกำรทดสอบในหลอดทดลองหรือใน สัตว์ทดลอง และกำรศึกษำในมนุษย์ โดยสำมำรถแบ่งตำม หน้ำที่ที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลให้มีกำรเปลี่ยนแปลงใน 5 ด้ำนดังนี้ 1. ด้านจุลชีพ (microbiological functionality) จุดมุ่งหมำยหลักในกำรใช้จุลินทรีย์เพื่อกำรป้ องกันหรือ รักษำโรค ก็เพื่อกำรปรับสมดุลหรือเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ที่มี ประโยชน์ในร่ำงกำย เพื่อที่จะลดผลเสียที่เกิดจำกกลุ่มเชื้อ จุลินทรีย์ที่ก่อโรค หรือ เป็นโทษต่อสุภำพ โดยสำมำรถพิจำรณำ ได้จำกกำรเข้ำครอบครองหรือแทนที่เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค แบบ competitive exclusion หรือกำรเกิดสภำวะแก่งแย่ง กล่ำวคือ โพรไบโอติกจะแย่งเข้ำแทนที่บริเวณ receptor หรือ ตำแหน่งบริเวณเดียวกันกับเชื้อก่อโรค หรือเกิดกำรแย่ง สำรอำหำรที่จำเป็นต่อกำรเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค เป็นต้น นอกจำกนี้จุลินทรีย์โพรไบโอติกยังส่งผลควบคุมเชื้อก่อโรค โดยต้ำนกำรเพิ่มจำนวนหรือเป็นปรปักษ์ต่อเชื้อฉวยโอกำส (opportunistic microorganisms) ได้ เนื่องจำกมีกำรสร้ำง สภำวะกรดและสำรออกฤทธิ์ยับยั้งกำรเจริญเติบโตซึ่งเป็น metabolites ของโพรไบโอติกได้แก่ กรดไขมันสำยสั้น (short chain fatty acids, SCFAs) และกรดอินทรีย์ เช่น กรดแลคติก อีกทั้งจุลินทรีย์โพรไบโอติกบำงชนิดสำมำรถสร้ำงสำรปฏิชีวนะ ที่เรียกว่ำ bacteriocins ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งและฆ่ำเชื้อได้ เป็นต้น 2. ด้านโภชนาการ (nutritional functionality) นอกจำกจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะช่วยปรับสมดุลของ จุลินทรีย์ประจำถิ่นในร่ำงกำยแล้ว จุลินทรีย์โพรไบโอติก บำงชนิดยังก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่ของสำรอำหำร เช่น สำมำรถสังเครำะห์วิตำมินที่มนุษย์สำมำรถนำไปใช้ได้ ได้แก่ vitamin K, vitamin B12, pyridoxine, biotin, folate, nicotinic acid และ thiamine เป็นต้น อีกทั้งจุลินทรีย์โพรไบโอติกยัง สำมำรถสร้ำงเอนไซม์หรือสำรออกฤทธิ์ทำงชีวภำพอื่นๆ ที่มีผล ต่อสภำวะโภชนำกำร เช่น เอนไซม์แลคเตส (lactase) ช่วยให้ ผู้ป่ วยที่มีภำวะแลคเตสไม่เพียงพอ (lactase insufficiency) ให้มีอำกำรดีขึ้น หรือกำรเปลี่ยน phytoestrogen ที่ได้จำก กำรรับประทำนอำหำรจำพวกถั่วเหลือง ไปเป็น active metabolite ซึ่งให้ฤทธิ์ทำงชีวภำพที่แรงกว่ำ เป็นต้น 3. ด้านสรีรวิทยา (physiological functionality) จำกกำรรวบรวมผลกำรศึกษำโดย Hamilton-Miller (2004)8 พบว่ำกำรได้รับจุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลต่อกำร เคลื่อนที่ของลำไส้ โดยเร่งระยะเวลำที่กำกอำหำรอยู่ในลำไส้ (GI transit time) ช่วยลดอำกำรท้องผูกในผู้สูงอำยุได้ นอกจำกนี้ยังพบว่ำจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถลดกำรเกิด ก๊ำซในลำไส้ ลดอำกำรท้องอืด เพิ่มกำรดูดซึมสำรละลำยไอออน ที่ลำไส้เล็กและลดพิษจำกกรดน้ำดี โดยกำรย่อยกรดน้ำดี ด้วยเอนไซม์ bile salt hydrolase ส่งผลให้รบกวนกำรดูดซึม คอเลสเตอรอลอีกด้วย 9 4. ด้านการลดสารพิษในลาไส้ (lowering toxic compound) จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถลดปริมำณสำรพิษ เช่น พิษจำกเชื้อรำที่ปนเปื้ อนในอำหำร หรือสำรฆ่ำแมลงที่ตกค้ำง ในลำไส้ได้ โดยกำรดูดซับสำรพิษโดยตรง เช่น กรณีของ aflatoxin B1 ซึ่งตัวเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถดูดซึม และย่อยสำร aflatoxin นี้ได้จำกกำรทดลองในหลอดทดลอง (in vitro) หรือกำรลดกำรสร้ำงสำรพิษทำงอ้อม เช่น กรณีของ สำรพิษ Shiga-toxin จำกเชื้อ Escherichia coli สำยพันธุ์ O157:H7 ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจำระร่วงรุนแรง ซึ่งจำกกำรศึกษำ พบว่ำกรดอินทรีย์จำกจุลินทรีย์โพรไบโอติกส่งผลรบกวน และลดกำรสร้ำงสำรพิษนี้ได้
  • 5. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 5 5. ด้านภูมิคุ้มกัน (immunological functionality) ประโยชน์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกในด้ำนภูมิคุ้มกันนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่ำ จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถกระตุ้นเซลล์ macrophage และ เพิ่มกำรสร้ำง IgA ที่ระบบทำงเดินอำหำร ส่งผลต่อกำรหลั่ง cytokines ชนิดต่ำงๆ ได้ ผ่ำนระบบภูมิคุ้มกัน ที่เยื่อเมือกหรือเยื่อบุ (mucosal immune response) นอกจำกนี้ จุลินทรีย์โพรไบโอติก ยังส่งผลต่อกำรทำงำนของ regulatory T cellsซึ่งมีบทบำทสำคัญในกำรควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่ำงกำย ทำให้จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นตัวเลือกเสริมที่มีควำมน่ำสนใจ ในกำรรักษำโรคภูมิต้ำนตนเองหรือautoimmunediseaseได้ด้วย10 กลไลการออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก จำกผลของจุลินทรีย์โพรไบโอติกต่อสุขภำพทั้ง 5 ด้ำน จะเห็นว่ำ โพรไบโอติกสำมำรถใช้ในกำรรักษำและป้ องกัน โรคหรือควำมผิดปกติต่ำงๆ รวมทั้งส่งเสริมสุขภำพที่ดีได้ ทั้งที่ระบบทำงเดินอำหำร (gastrointestinal (GI) tract) และ นอกทำงเดินอำหำร (non-GI tract)11 โดยกลไกกำรออกฤทธิ์ ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถแบ่งเป็นระดับพื้นฐำน (widespread) ระดับชนิดของเชื้อ (species-level) และ ระดับสำยพันธุ์ (strain-level)1,12 ดังแสดงในรูปที่ 1 รูปที่ 1 กลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก12 ถึงแม้ว่ำกลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ที่แท้จริง จะไม่ครอบคลุมจุลินทรีย์โพรไบโอติกได้ทุกสำยพันธุ์11 กลไกในกำรออกฤทธิ์ระดับพื้นฐำนถือเป็นคุณสมบัติทั่วไป ของจุลินทรีย์โพรไบโอติก เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภำพได้1 นอกจำกที่จุลินทรีย์โพรไบโอติกต้องไม่ก่อให้เกิดโรคและมี ควำมปลอดภัยในกำรใช้แล้ว คุณสมบัติและกลไกกำรออกฤทธิ์ ที่สำคัญของจุลินทรีย์โพรไบโอติก ได้แก่ ควำมสำมำรถใน กำรยึดเกำะกับเยื่อมูก (mucus layer) เพื่อให้เพิ่มจำนวนใน ร่ำงกำยได้ (colonization)6,11 ซึ่งทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ ของกำรยับยั้งและเพิ่มจำนวนของเชื้อก่อโรค และในแง่ของกำร ปรับสมดุลจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ นอกจำกนี้จุลินทรีย์ โพรไบโอติกยังสำมำรถช่วยให้เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial lining) ที่ผนังลำไส้มีควำมแข็งแรงมำกขึ้น ผ่ำนกำรเกิด tight junction และกำรกระตุ้นกำรผลิต mucin, IgA, defensin เป็นต้น เมื่อจุลินทรีย์โพรไบโอติก เกิดกำรเจริญเติบโตภำยในลำไส้ ยังทำให้เกิดกำรหมักและผลิตภัณฑ์จำกกำรหมักที่เป็นประโยชน์
  • 6. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 6 ต่อร่ำงกำย ไม่ว่ำจะเป็น กรดอินทรีย์ กรดไขมันสำยสั้น ซึ่งล้วน มีผลประโยชน์ในเชิงชีวภำพทั้งสิ้น เช่น butyrate จัดเป็นแหล่ง พลังงำนสำหรับเซลล์ผนังลำไส้ (colonocyte) ได้ อีกหนึ่งกลไก ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่เป็นที่ยอมรับ ได้แก่ กำรปรับระบบ ภูมิคุ้มกันของร่ำงกำย (immunomodulation) โดยมีผลต่อ กำรสร้ำงและหลั่ง cytokines ชนิดต่ำงๆ และมีผลต่อกำรตอบ สนองจำก T cells ชนิดต่ำงๆ ไม่ว่ำจะเป็น regulatory T cells และ effector T helper cells นอกจำกนี้จุลินทรีย์โพรไบโอติก ยังสำมำรถส่งผลต่ออวัยวะที่ระบบอื่น นอกเหนือจำกระบบ ทำงเดินอำหำร โดยผ่ำนระบบภูมิคุ้มกัน และกำรผลิตสำร สื่อประสำท ได้แก่ GABA หรือ serotonin เป็นต้น1,12 ข้อบ่งใช้ทางคลินิกที่เกี่ยวกับโรคในระบบ ทางเดินอาหาร ดังที่กล่ำวไว้ข้ำงต้น กลไกกำรออกฤทธิ์ของจุลินทรีย์ โพรไบโอติกขึ้นกับชนิดและสำยพันธุ์ของเชื้อ ข้อบ่งใช้ที่ ได้ผลตำมกำรศึกษำทำงคลินิกที่เกี่ยวข้องกับโรคในระบบ ทำงเดินอำหำร ดังแสดงในตำรำงที่ 311,13-14 1. อุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea) ที่เกิด จำกกำรติดเชื้อ เช่น E. coli, Shigella, Salmonella, Vibrio เป็นต้น จัดเป็นโรคที่ทำให้เกิดกำรเสียชีวิตในเด็กเป็นลำดับ 2 รองจำก pneumonia กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก เช่น L.reuteri, L. casei, LGG และ S. Boulardii เป็นหนึ่งในแนวทำงกำรรักษำ อุจจำระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea) ในเด็ก โดย World Gastroenterology Organisation (WGO) และ European Society for Paediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition (ESPGHAN) โดยถือว่ำมีหลักฐำนทำงวิชำกำรที่แน่นอน มี ประสิทธิภำพและควำมปลอดภัย โดยลดควำมรุนแรงและ ระยะเวลำกำรเกิดโรคได้ นอกจำกนี้กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก ในโรคกระเพำะอำหำรและลำไส้อักเสบที่เกิดจำกเชื้อไวรัส (viral gastroenteritis) ก็มีหลักฐำนและผลกำรศึกษำเป็นที่ แน่ชัดอีกด้วย13-15 2. โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วงในผู้ท่องเที่ยวเดินทาง (traveler’s diarrhea) ประมำณ 50-80% เกิดจำกกำรติดเชื้อ แบคทีเรีย นอกนั้นเกิดจำกเชื้อไวรัสและโปรโตซัว จัดเป็น infectious diarrhea ชนิดหนึ่งโดยแบคทีเรียที่เป็นสำเหตุทั่วไป ได้แก่เชื้อ E. coli ซึ่งผู้ป่วยอำจได้รับเชื้อผ่ำนทำงอำหำรหรือ น้ำดื่มที่ปนเปื้ อนเชื้อ15 จำกกำรศึกษำของMcFarland16 โดย รวบรวมผลกำรศึกษำทำงคลินิกช่วงปี 1977-2005 ทั้งหมด 940 กำรศึกษำ และใช้ 12 กำรศึกษำที่น่ำเชื่อถือ รวมจำนวน ผู้เข้ำรับกำรทดสอบ 4,079 คน มำวิเครำะห์ข้อมูลแบบ meta-analysis พบว่ำจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ใช้ในกำรศึกษำ โดยเฉพำะเชื้อ S. boulardii และเชื้อผสม L. acidophilus กับ B. bifidum มีประสิทธิภำพในกำรป้ องกันอุจจำระร่วงในผู้ ท่องเที่ยวเดินทำงได้อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ โดยผู้ที่ได้รับ จุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีควำมเสี่ยงในกำรเกิดอุจจำระร่วง จำกกำรเดินทำงลดลง 15% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยำหลอก (relative risk = 0.85; ระดับควำมเชื่อมั่นที่ 95%, 0.79 – 0.91; ค่ำ p-value 0.001) 3. อุจจาระร่วงจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea, AAD) รวมทั้งอำกำรท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ Clostridium difficile ที่เกิดจำกกำรใช้ยำปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ กว้ำงต่อเนื่องเป็นระยะเวลำหนึ่ง ทำให้สมดุลของจุลินทรีย์ ประจำถิ่นที่ลำไส้เสียไป เกิดกำรเพิ่มจำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ ที่เป็นโทษต่อร่ำงกำย จำกกำรศึกษำทำงคลินิกจำนวนมำก พบว่ำจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้ผลในทำงที่ดีในผู้ป่ วย AAD จำกกำรรวบรวมผลกำรศึกษำทำงคลินิกแบบ randomized- controlled trials จำนวน 34 กำรศึกษำ โดยมีผู้เข้ำร่วมกำร ศึกษำทั้งหมด 4,138 คน และวิเครำะห์ meta-analysis ของ Videlock และ Cremonini17 พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก สำมำรถลดควำมเสี่ยงในกำรเกิด AAD เทียบกับยำหลอกได้ อย่ำงมีประสิทธิภำพ(relativerisk=0.53;ระดับควำมเชื่อมั่นที่ 95%, 0.44-0.63) สอดคล้องกับที่ WGO และ ESPGHAN ระบุกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก LGG และ S. boulardii เป็นหนึ่งในแนวทำงกำรรักษำและป้ องกัน AAD ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ที่มีประสิทธิภำพและควำมปลอดภัย12-14 ส่วนอำกำรท้องเสียจำกกำรติดเชื้อ Clostridium difficile จำกกำรรวบรวมและวิเครำะห์แบบ meta-analysis ของ McFarland18 พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถป้องกัน กำรเกิด CCD ได้ อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ (relative risk = 0.59, ระดับควำมเชื่อมั่นที่ 95%, 0.41-0.85, ค่ำ p-value = 0.005) โดยเฉพำะอย่ำงยิ่งผลกำรศึกษำของกำรใช้ S. boulardii 4. กลุ่มอาการลาไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome, IBS) เป็นโรคที่พบได้บ่อยและมีผลต่อคุณภำพชีวิต ยังไม่ทรำบสำเหตุแน่ชัด แต่คำดว่ำเกิดจำกกำรอักเสบของ เยื่อบุผนังลำไส้และกำรเสียสมดุลของเชื้อประจำถิ่น และยัง ไม่มียำรักษำเฉพำะโรคที่มีประสิทธิภำพเพียงพอ19 กำรใช้ จุลินทรีย์โพรไบโอติกในกำรรักษำหรือควบคุมอำกำร เช่น
  • 7. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 7 อำกำรปวดท้อง ไม่สบำยท้อง แน่นท้อง พบว่ำมีประสิทธิภำพ อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติเมื่อเทียบกับกำรใช้ยำหลอก โดย เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติก B. infantis ให้ผลกำรศึกษำที่มี ควำมแน่นอนมำกที่สุด20 5. ลาไส้อักเสบ (inflammatory bowel disease, IBD) เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจำกกำรอักเสบของลำไส้ใหญ่ ได้แก่ Crohn’s disease, ulcerative colitis (UC), และ pouchitis ส่วนสำเหตุ ของกำรเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทรำบแน่ชัด คำดว่ำเกิดจำกกำร เสียสมดุลของจุลินทรีย์ประจำถิ่นในลำไส้ จำกกำรรวบรวมผล กำรศึกษำทำงคลินิกที่มีควำมน่ำเชื่อถือ กำรรักษำด้วยจุลินทรีย์ โพรไบโอติก E. coli Nissle 1917 จัดเป็นกำรรักษำทำงเลือกที่มี ประสิทธิภำพในกำรควบคุมอำกำรของโรค UCในผู้ใหญ่ แนะนำ โดยองค์กร European Crohn’s and colitis organization (ECCO) ส่วนผลกำรศึกษำในเด็ก พบว่ำข้อมูลยังไม่เพียงพอ แต่ก็มี ข้อแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก VSL#3 เพื่อควบคุม อำกำรได้อย่ำงมีประสิทธิภำพ อย่ำงไรก็ตำม สำหรับ Crohn’s disease และ pouchitis พบว่ำกำรศึกษำยังไม่เพียงพอ12-13,21 6. การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกร่วมในการรักษาการ ติดเชื้อ Helicobacter pyroli ซึ่งเป็นสำเหตุหลักของกระเพำะ อำหำรอักเสบเรื้อรังและแผลในกระเพำะอำหำรนั้น โดยกำร รักษำมำตรฐำนจะใช้ proton-pump inhibitor ร่วมกับยำ ปฏิชีวนะ 2 ชนิด ซึ่งอำกำรข้ำงเคียงจำกกำรใช้ยำปฏิชีวนะ เช่น คลื่นไส้ อำเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ทำให้ผู้ป่ วยขำด ควำมร่วมมือในกำรรักษำ จำกกำรรวบรวมผลกำรศึกษำโดย Lesbros-Pantoflickova และคณะ22 พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์ โพรไบโอติกร่วมกับกำรใช้ยำสูตรมำตรฐำน สำมำรถเพิ่ม ผลสำเร็จของกำรรักษำ (81% เทียบกับ 71% ในกลุ่มที่ใช้ สูตรยำมำตรฐำนเพียงอย่ำงเดียว; χ2 test: P=0.03) และ ลดอำกำรข้ำงเคียงที่เกิดจำกกำรใช้ยำปฏิชีวนะ (23% เทียบกับ 46% ในกลุ่มที่ใช้สูตรยำมำตรฐำนเพียงอย่ำงเดียว; χ2 test: P=0.04) ได้อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ โดยเชื้อจุลินทรีย์ โพรไบโอติกที่ให้ผลดีและมีหลักฐำนทำงวิชำกำรรองรับมำก ที่สุดได้แก่ S. boulardii, L. reuteri และ LGG12,23 7. Lactose intolerance เป็นควำมผิดปกติจำกกำรไม่ สำมำรถย่อยน้ำตำล lactose เนื่องจำกเอนไซม์แลคเตสไม่ เพียงพอ (lactase insufficiency) ทำให้เกิดอำกำรไม่สบำยท้อง ท้องอืด ปวดท้อง และท้องเสีย หำกได้รับน้ำตำลแลคโตสมำก เกินไป ซึ่งน้ำตำลแลคโตสเป็นน้ำตำลที่มีอยู่ในนม กำรใช้ จุลินทรีย์โพรไบโอติกหรือกำรรับประทำนผลิตภัณฑ์โพร ไบโอติก ทั้งนมและโยเกิร์ต สำมำรลดอำกำรเหล่ำนี้ได้ เนื่องจำกจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำมำรถสร้ำงเอนไซม์ β- galactosidase หรือ lactase ที่ใช้ย่อย lactose ได้นั่นเอง และ จุลินทรีย์โพรไบโอติกยังสำมำรถส่งผลต่อกำรเคลื่อนที่ของ ลำไส้และ pH ในลำไส้ ซึ่งส่งผลดีต่ออำกำรของผู้ป่วยทั้งสิ้น12,24 สำหรับข้อบ่งใช้ทำงคลินิกที่เกี่ยวกับโรคหรือควำม ผิดปกตินอกระบบทำงเดินอำหำร (non-GI illness) ที่มี กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในกำรรักษำ ได้แก่ โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือ atopic dermatitis ซึ่งเป็น โรคผื่นแพ้ชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในเด็ก กลไกที่จุลินทรีย์ โพรไบโอติกส่งผลดีต่อโรค คำดว่ำเกิดจำกควำมสำมำรถใน กำรปรับระบบภูมิคุ้มกัน (immunomodulatory effects) โดย ผลกำรศึกษำทำงคลินิกพบว่ำกำรให้จุลินทรีย์โพรไบโอติก LGG แก่หญิงตั้งครรภ์ไปจนถึงช่วงให้นมบุตร ทำให้ทำรกมี ควำมเสี่ยงที่จะเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในช่วง 2 ปีแรกลดลง อย่ำงมีนัยสำคัญทำงสถิติ นอกจำกนี้ผลกำรศึกษำแสดงให้ เห็นว่ำทำรกซึ่งได้รับกำรวินิจฉัยว่ำเป็น eczema เมื่อได้รับ จุลินทรีย์โพรไบโอติก LGG หรือ B. lactis เป็นระยะเวลำ 2 เดือน พบว่ำอำกำรผื่นแพ้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ โพรไบโอติก (P=0.002)25 อย่ำงไรก็ตำม Boyle และคณะ26 ได้ทำกำรศึกษำรวบรวมงำนวิจัยทำงคลินิกจำนวน 12 งำนวิจัย พบว่ำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในกำรรักษำผื่นแพ้ผิวหนัง ยังคงมีหลักฐำนไม่เพียงพอ ในแนวทำงกำรรักษำของ World Allergy Organization หรือ WAO จึงมีกำรแนะนำให้ใช้เฉพำะ ในผู้ที่มีควำมเสี่ยงสูงเท่ำนั้น11 นอกจำกนี้ยังมีกำรศึกษำกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก ในโรคหรือควำมผิดปกตินอกระบบทำงเดินอำหำร แต่ผล กำรศึกษำยังไม่แน่นอน ได้แก่ โรคที่เกี่ยวกับควำมผิดปกติ ของภูมิคุ้มกันอื่นๆ กำรติดเชื้อบริเวณทำงเดินหำยใจ กำร ติดเชื้อบริเวณทำงเดินปัสสำวะ ควำมผิดปกติทำงพฤติกรรม และระบบประสำท โรคอ้วน กำรลดระดับคอเลสเตอรอล ควำมดันโลหิตสูง เป็นต้น3,9,28-33 ข้อควรระวังและอาการข้างเคียง ที่อาจพบได้7,11,27,34 ถึงแม้ว่ำกำรใช้โพรไบโอติกเพื่อกำรรักษำและป้ องกันโรค จะมีกำรศึกษำในแง่ของควำมปลอดภัยแล้ว แต่ยังคงมีผล ข้ำงเคียงที่มีควำมเป็ นไปได้ เช่น กำรถ่ำยทอดยีนดื้อยำ (antibiotic resistance transfer) กำรกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ไม่ พึงประสงค์ (immunologicaleffects)กำรเกิดพิษในทำงเดินอำหำร
  • 8. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 8 (gastrointestinal toxicity) กำรหลุดเข้ำสู่กระแสเลือดหรือไป ที่อวัยวะอื่น (transmigration) เป็นต้น ส่วนผลข้ำงเคียงที่เคยมี กำรรำยงำน ได้แก่ กำรติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อหุ้มหัวใจ อักเสบ ฝีในช่องท้อง เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีกำรใช้อย่ำง ระมัดระวังในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจหรือควำมผิดปกติ ที่ลิ้นหัวใจ ทำรกมีประวัติคลอดก่อนกำหนดหรือมีควำมพิกำร แต่กำเนิด ผู้ป่วยที่มีควำมผิดปกติที่ลำไส้ เช่น ภำวะลำไส้สั้น ผู้ที่มีภำวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่ วยที่มีกำรใส่สำยสวน ผู้สูงอำยุ ผู้ป่วยเบำหวำน ภูมิแพ้ ผู้ที่แพ้ยีสต์ เป็นต้น สำหรับอำกำรข้ำงเคียงที่ไม่รุนแรงที่อำจพบได้บ่อย จำกกำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติก ได้แก่ ท้องผูก ท้องอืด สะอึก คลื่นไส้ กำรติดเชื้อ และผื่น ตารางที่ 3 ข้อบ่งใช้ สำยพันธุ์จุลินทรีย์โพรไบโอติก และปริมำณที่ต้องใช้สำหรับโรคในระบบทำงเดินอำหำร11-14,23 ข้อบ่งใช้ สายพันธุ์จุลินทรีย์และขนาดที่ใช้ 1. Acute infectious diarrhea in infants and children  LGG = 1010 CFU in 250 mL oral rehydration solution  L. reuteri = 1010–11 CFU daily x 5 days  S. boulardii = 250–750 mg x 5–6 days 2. Traveler’s diarrhea  LGG = 2 x 109 CFU daily start 2 days before departure and continue till return  S. boulardii = 5 x 109– 10 CFU daily, start 5 days before departure 3. Antibiotic-associated diarrhea (AAD)  LGG = 6 x 109 CFU daily x 1–4 weeks  S. boulardii = 4 x 109 CFU daily x 1–4 weeks  L. acidophilus and L. bulgaricus = 2 x 109 CFU daily x 7 days Clostridium difficile  2 x 1010 CFU daily x 4 weeks with vancomycin and/or metronidazole 4. Irritable bowel syndrome (IBS)  VSL#3 = 9 x 1011 CFU daily x 8 weeks  Bifidobacterium infantis = 106-10 CFU daily x 4 weeks  LGG = 8-9 x 109 CFU daily x 6 month 5. Ulcerative colitis (UC)  Escherichia coli Nissle 1917 = 5 x 1010 CFU twice daily until remission  VSL#3 = 8 x 1012 bacteria twicw daily x 6 weeks with standard therapy  S. boulardii = 250 mg 3 times daily x 4 weeks + mesalazime 1 g daily for 6 months 6. H. pyyroli eradication  S. boulardii = 500-1000 mg x 2-4 weeks along with triple therapy  LGG = 6 x 109 twice daily (2 h after meal) for 14 days along with triple therapy (Positive effect to side-effects and on overall treatment tolerability) สรุป ในปัจจุบันควำมรู้ด้ำนโพรไบโอติก รวมทั้งหลักฐำน ทำงวิชำกำรที่แสดงถึงประสิทธิภำพและควำมปลอดภัยของ โพรไบโอติก มีจำนวนเพิ่มมำกขึ้น และผู้บริโภคมีควำมสนใจ ในกำรดูแลสุขภำพมำกขึ้น จึงมีผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก วำงจำหน่ำยอย่ำงแพร่หลำย คุณประโยชน์ของจุลินทรีย์ โพรไบโอติกต่อร่ำงกำยมีมำกมำยหลำยด้ำน ครอบคลุมทั้งที่ ระบบทำงเดินอำหำรเอง และนอกระบบทำงเดินอำหำร หำก พิจำรณำจำกคำจำกัดควำมของคำว่ำ “โพรไบโอติก” จะพบว่ำ คำสำคัญ (keywords) มีอยู่ 3 ส่วน คือ 1. ต้องเป็นจุลินทรีย์ที่ มีชีวิต 2. ต้องได้รับในปริมำณที่เพียงพอ และ 3. ต้องก่อให้ เกิดประโยชน์ต่อสุขภำพ ดังนั้นในกำรพัฒนำผลิตภัณฑ์ กำรให้ คำแนะนำ และกำรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ได้ประสิทธิผล สูงสุด จึงต้องคำนึงถึงสำมองค์ประกอบนี้เป็นสำคัญ
  • 9. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 9 เอกสารอ้างอิง 1. Hill C, Guarner F, Reid G, Gibson GR, Merenstein DJ, Pot B, et al. Expert consensus document. The International Scientific Association for Probiotics and Prebiotics consensus statement on the scope and appropriate use of the term probiotic. Nat Rev Gastroenterol Hepatol 2014; 11:506–14. 2. Naidu AS, Bidlack WR, Clemens RA. Probiotic spectra of lactic acid bacteria (LAB). Crit Rev Food Sci Nutr 1999; 39(1):13-126. 3. Upadrasta A, Sudha R. Probiotics and blood pressure: current insights. Integr Blood Press Control 2016; 9:33-42. 4. Szajewska H, Konarska Z, Kołodziej M. Probiotic bacterial and fungal strains: claims with evidence. Dig Dis 2016; 34(3):251-9. 5. Holzapfel WH, Haberer P, Geisen R, Björkroth J, Schillinger U. Taxonomy and important features of probiotic microorganisms in food and nutrition. Am J Clin Nutr 2001; 73(2 Suppl):365s-73s. 6. พระรำชบัญญัติอำหำร พ.ศ. 2522. ประกำศกระทรวง สำธำรณสุข เรื่อง กำรใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอำหำร, รำชกิจจำนุเบกษำเล่มที่ 128, ตอนพิเศษ 86ง. (ลง วันที่ 27 มิถุนำยน พ.ศ. 2554) 7. Vandenplas Y, Huys G, Daube G. Probiotics: an update. J Pediatr (Rio J) 2015; 91:6–21. 8. Hamilton-Miller JM. Probiotics and prebiotics in the elderly. Postgrad Med J 2004; 80(946):447-51. 9. Kumar M, Nagpal R, Kumar R, Hemalatha R, Verma V, Kumar A, et al. Cholesterol-lowering probiotics as potential biotherapeutics for metabolic diseases. Exp Diabetes Res 2012; doi:10.1155/2012/902917. 10. Dwivedi M, Kumar P, Laddha NC, Kemp EH. Induction of regulatory T cells: a role for probiotics and prebiotics to suppress autoimmunity. Autoimmun Rev 2016; 15(4):379-92. 11. Islam SU. Clinical uses of probiotics. Medicine 2016; 95(5):e2658. 12. Sánchez B, Delgado S, Blanco-Mí guez A, Lourenç o A, Gueimonde M, Margolles A. Probiotics, gut microbiota, and their influence on host health and disease. Mol Nutr Food Res 2017; 61(1): doi: 10. 1002/mnfr.201600240. 13. Floch MH. Recommendations for probiotic use in humans-a 2014 update. Pharmaceuticals ( Basel) 2014; 7(10):999-1007. 14. Szajewska H, Skorka A, Dylag M. Meta-analysis: Saccharomyces boulardii for treating acute diarrhoea in children. Aliment Pharmacol 2007; 25(3): 257-64. 15. Farthing M, Salam MA, Lindberg G, Dite P, Khalif I, Salazar-Lindo E, et al. Acute diarrhea in adults and children a global perspective. J Clin Gastroenterol 2013; 47(1):12-20. 16. McFarland LV. Meta-analysis of probiotics for the prevention of traveler's diarrhea. Travel Med Infect Dis 2007; 5(2):97-105. 17. Videlock EJ, Cremonini F. Meta-analysis: probiotics in antibiotic-associated diarrhoea. Aliment Pharmacol Ther 2012; 35(12):1355-69. 18. McFarland LV. Meta-analysis of probiotics for the prevention of antibiotic associated diarrhea and the treatment of Clostridium difficile disease. Am J Gastroenterol 2006; 101:812–22. 19. Brenner DM, Moeller MJ, Chey WD, Schoenfeld PS. The utility of probiotics in the treatment of irritable bowel syndrome: a systematic review. Am J Gastroenterol 2009; 104(4):1033-49. 20. Aragon G, Graham DB, Borum M, Doman DB. Probiotic therapy for irritable bowel syndrome. Gastroenterol Hepatol 2010; 6(1):39–44. 21. Turner D, Levine A, Escher JC, Griffiths AM, Russell RK, Dignass A, et al. Management of pediatric ulcerative colitis: joint ECCO and ESPGHAN evidence-based consensus guidelines. J Pediatr Gastroenterol Nutr 2012; 55:340-61.
  • 10. สารคลังข้อมูลยา ปี ที่ 19(3) ก.ค.-ก.ย. 2560 (ฉบับที่ 73) 10 22. Lesbros-Pantoflickova D, Corthé sy-Theulaz I, Blum AL. Helicobacter pylori and probiotics. J Nutr 2007; 137(3):812S-8S. 23. Homan M, Orel R. Are probiotics useful in Helicobacter pylori eradication?.World J Gastroenterol 2015; 21(37):10644–53. 24. de Vrese M, Stegelmann A, Richter B, Fenselau S, Laue C, Schrezenmeir J. Probiotics—compensation for lactase insufficiency. Am J Clin Nutr 2001; 73(2):421s-9s. 25. Isolauri E, Arvola T, Sütas Y, Moilanen E, Salminen S. Probiotics in the management of atopic eczema. Clin Exp Allergy 2000; 30(11):1604-10. 26. Boyle R, Bath-Hextall FJ, Leonardi-Bee J, Murrell DF, Tang ML. Probiotics for treating eczema. Cochrane Db Syst Rev 2008; doi: 10. 1002/14651858.CD006135.pub2. 27. Farnworth ER.The evidence to support health claims for probiotics. J Nutr 2008; 138(6):1250S-4S. 28. Dong JY, Szeto IM, Makinen K, Gao Q, Wang J, Qin LQ, Zhao Y. Effect of probiotic fermented milk on blood pressure: a meta-analysis of randomised controlled trials. Br J Nutr 2013; 110:1188–94. 29. Wang Y, Li X, Ge T, Xiao Y, Liao Y, Cui Y, et al. Probiotics for prevention and treatment of respiratory tract infections in children: a systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials. Medicine. 2016; 95(31):e4509. doi: 101 097/MD.0000000000004509. 30. Schwenger EM, Tejani AM, Loewen PS. Probiotics for preventing urinary tract infections in adults and children. Cochrane Database Syst Rev 2015; doi: 10.1002/14651858.CD008772.pub2. 31. Oriach CS, Robertson RC, Stanton C, Cryan JF. Food for thought: the role of nutrition in the microbiota- gut–brain axis. Clin Nutr Exp 2016; 6:25-38. 32. Begum PS, Madhavi G, Rajagopal S, Viswanath B, Razak MA, Venkataratnamma V. Probiotics as functional foods: potential effects on human health and its impact on neurological diseases. Int J Nutr Pharmacol Neurol Dis 2017; 7:23-33. 33. Kobyliak N, Conte C, Cammarota G, Haley AP, Styriak I, Gaspar L, Fusek J, et. al. Probiotics in prevention and treatment of obesity: a critical view. Nutr Metab 2016; 13:14. doi:10.1186/s12986- 016-0067-0. 34. Snydman DR. The safety of probiotics. Clin Infect Dis 2008; 46 Suppl 2:S104–S111. -------------------------------------------