SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 40
Descargar para leer sin conexión
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                     1

                            การจัดการภัยพิบติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย
                                           ั

                                         เอกสารส่วนที่ 1/3
                                 การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย
       นายอดุลย์ เบ็ญนุ้ย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
           นายพยอม รัตนมณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ
           ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงจังหวัดนราธิวาส
ความยาวประมาณ 1,067 กิโลเมตร โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2545 เปรียบเทียบกับ
ภาพถ่ายดาวเทียม Spot PAN Sharpened บันทึกข้อมูล ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 เพื่อหาอัตราการ
เปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยวิธีการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าชายฝั่งเกิด
การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการกัดเซาะความยาวประมาณ 138 กิโลเมตร (ร้อยละ 12.93) และเกิดการ
เปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวความยาวประมาณ 143 กิโลเมตร (ร้อยละ 13.41) ที่เหลือเป็นชายฝั่งคง
สภาพความยาวประมาณ 786 กิโลเมตร (ร้อยละ 73.66) โดยมีพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรวม
ทั้งหมด 40 พื้นที่ จัดอยู่ในระดับรุนแรง (มากกว่า 5 เมตร / ปี) จํานวน 14 พื้นที่ และจัดอยู่ในระดับปาน
กลาง (1-5 เมตร / ปี) จํานวน 26 พื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่มีการสะสมตัวมีจํานวน 44 พื้นที่ สาเหตุหลักของการ
เกิดปัญหากัดเซาะชายฝั่งคือ คลื่น ลมมรสุม การขาดความสมดุลของตะกอน และกิจกรรมของมนุษย์ เช่น
เขื่อนกันทรายและคลื่น มาตรการที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤติปัจจุบันนิยมใช้มาตรการแบบแข็ง เช่น
เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง กําแพงกันคลื่น รอดักทราย และตะกร้าหิน ซึ่งบางพื้นที่เกิดผลกระทบต่อบริเวณ
ข้างเคียง ส่วนมาตรการแบบอ่อนที่สามารถนํามาใช้แก้ปัญหาได้ในบางพื้นที่เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่
ข้างเคียง ได้แก่ การบูรณะหาดทราย การปลูกป่าชายเลน และการกําหนดระยะถอยร่น เป็นต้น




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                          2

Abstract
          The objective of this research is to study shoreline changes in the East Coast of
the Thai Southern Peninsular, from Chumpon to Narathiwat Provinces. The aerial
photographs taken in 2002 and Spot PAN Sharpened satellite photographs taken in 2006 -
2007 were used in shoreline monitoring. The rate of shoreline changes was evaluated by a
map overlaying technique in Geographic Information System (GIS). From the investigated
shoreline covering 1,067 km, it was found that there are 138 km (12.93%) confronted coastal
erosions, while 143 km (13.41%) erosions are in coastal accretion, and 786 km (73.66%)
erosions are in coastal stable zones. The coastal erosion zones can be categorized into 40
erosion hot spots which can be divided into 14 severe erosion sites (rate of retreat more
than 5 meter/year), and 26 moderate erosion sites (rate of retreat 1-5 meter/year). The
coastal accretion can be categorized into 44 sites. Causes of coastal erosion in each site are
different. The major causes are due to strong monsoon waves, lack of coastal sediment, and
human activities. General coastal protective measures can be employed using both hard
and soft solutions. Hard solutions are generally applied in critical erosion beaches. There are
various types of coastal structures, namely breakwaters, seawalls, groins and gabions. Soft
solutions are environmentally friendly measures to renovate erosion beaches. Sand
bypassing, coastal plantation, and defining setback are commonly used as a soft solution.




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                      3

1.     ที่มาของปัญหา
            การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบการกัดเซาะ (Erosional Coast)
และการสะสมตัว (Depositional Coast) โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการทั้งสาเหตุจากธรรมชาติและ
สาเหตุจากการกระทําของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งที่ส่งผล
กระทบต่อมนุษย์และถือเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง คือการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ เช่น ก่อให้เกิด
ความเสียหายของพื้นที่ และสูญเสียคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ไปอย่างถาวร เช่น ความเสียหายของ
โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค พื้นที่เกษตรกรรม ชายหาด และป่าชายเลน
เป็นต้น
            การศึกษาครั้งนี้มีแนวคิดในการนําข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1: 25,000
(และหรือ 1: 4,000) นํามาทําการซ้อนทับกับข้อมูลดาวเทียม SPOT PAN Sharpened บันทึกข้อมูล ปี
พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 เพือศึกษาเปรียบเทียบอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง และกําหนดเป็นเขตพื้นที่วิกฤติเสี่ยง
                               ่
ภัยที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งจัดทําฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
ซึ่งสามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อการวางแผน จัดการ แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคต และเพื่อเป็นโครงการศึกษานําร่องในการที่จะนําข้อมูลดาวเทียม THEOS ซึ่งถือเป็น
ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทยมาใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในปีต่อไป

2.     วัตถุประสงค์
         2.1 เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ทั้งในรูปแบบการกัด
เซาะ (Erosion Coast) และการสะสมตัว (Deposition Coast) และการคงสภาพ (Stable Coast) โดย
ประยุกต์ใช้ข้อมูลจากระบบภูมิสารสนเทศ

          2.2 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง โดยใช้วิธีการซ้อนทับ (Overlay
Technique) ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และกําหนดเขตพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ในขั้นวิกฤติเสี่ยงภัยที่ต้อง
ดําเนินการป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน

        2.3 จัดทําฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง เช่น พื้นที่กัด
เซาะชายฝั่ง การสะสมตัว โครงสร้างชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ

3.     ประโยชน์ทคาดว่าจะได้รับ
                ี่
           3.1 ทําให้ทราบว่าพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร จนถึงจังหวัดนราธิวาส บริเวณ
ใดมีการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในรูปแบบการกัดเซาะ การคงสภาพ การสะสมตัว รวมทั้งขนาดของพื้นที่ที่โดนกัด
เซาะ อัตราการกัดเซาะต่อปี และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะบริเวณใดที่จัดอยู่ในขั้นวิกฤติเสี่ยงภัย ที่ต้องแก้ไขปัญหา
อย่างเร่งด่วน



มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                             มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                               4

         3.2 เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม
โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สําคัญ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร จนถึง
จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเบื้องต้นในแต่ละพื้นที่

         3.3 ฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อเป็นแผนที่ฐาน
สําหรับการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกในปีต่อไป

4.     พื้นที่ศึกษา
          พื้นที่ทําการศึกษาวิจัย ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 6 จังหวัด ประกอบด้วย
จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส

5.     ระยะเวลาทําการวิจย
                        ั
          ระยะเวลาดําเนินโครงการ 12 เดือน (วันที่ 28 กันยายน 2550 – วันที่ 27 กันยายน 2551)

6.     วิธีดําเนินการวิจย
                        ั

6.1 วัสดุและอุปกรณ์
      1) แผนที่และภาพถ่าย
             - แผนที่ภูมิประเทศเชิงเลขมาตราส่วน 1:50,000 ลําดับชุด L 7018 กรมแผนที่ทหาร
             - แผนที่เชิงเลข อื่น ๆ เช่น เขตการปกครอง พิกัด หมู่บ้าน เส้นชั้นความสูง ถนน สถานที่
                สําคัญภูมิประเทศ สัณฐานชายฝั่ง สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา โครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่ง
             - แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1:25,000 กรมพัฒนาที่ดิน บันทึกข้อมูล
                ปี พ.ศ. 2545
             - ข้อมูลดาวเทียม SPOT PAN Sharpened บันทึกข้อมูลในปี พ.ศ. 2550-2551
     2 ) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ ฯลฯ
             - ไมโครคอมพิวเตอร์ (PC)
             - เครื่องมือรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน (GPS) รุ่น Garmin map 76 cs
             - เครื่อง Plotter
      3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software)
             - โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ ArcView, ArcGIS และ Intergraph
             - โปรแกรม Microsoft Excel, Microsoft Visual studio 6.0




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                   5

6.2 วิธีการวิจัย
       1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งระหว่างช่วง 5 ปี โดยใช้ข้อมูลเส้นขอบเขตชายฝั่ง จาก
ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2545 ซ้อนทับกับข้อมูลเส้นขอบชายฝั่งจากภาพถ่ายดาวเทียม SPOT PAN
Sharpened ปี พ.ศ. 2550-2551 โดยใช้วิธีการ OVERLAY ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และคํานวณ
อัตราการกัดเซาะชายฝั่ งโดยการหาระยะซ้อนทับในแนวตั้งฉากกับชายฝั่งหารด้วยระยะเวลาที่ใ ช้ในการ
เปรียบเทียบ (เช่น 2545 - 2550 = 5 ปี) ซึ่งการหาระยะซ้อนทับในแนวตั้งฉากทําได้โดยโดยใช้พื้นที่ที่โดน
กัดเซาะหารด้วยระยะทางที่โดนกัดเซาะในแต่ละบริเวณ (รูปที่ 1) ผลที่ได้จากการคํานวณหาอัตราการ
เปลี่ยนแปลงชายฝั่งดังกล่าว สามารถจําแนกลักษณะการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดโดยกรม
ทรัพยากรธรณี (สิน สินสกุลและคณะ, 2545) ดังนี้
          - ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะรุนแรง มีอัตราการกัดเซาะในระยะ > 5 เมตรต่อปี
           - ชายฝั่งทะเลที่มการกัดเซาะปานกลาง มีอัตราการกัดเซาะในระยะ 1-5 เมตรต่อปี
                               ี
           - ชายฝั่งทะเลที่มการสะสมตัว มีอตราการสะสมตัวในระยะ 1-5 เมตรต่อปี
                             ี             ั
          - ชายฝั่งทะเลที่คงสภาพ มีอตราการเปลี่ยนแปลง ± 1 เมตรต่อปี
                                     ั




                       รูปที่ 1 แสดงการคํานวณหาอัตราเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง

          2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ที่เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และกําหนดเป็น
พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multi Criteria Analysis : MCA) และ
การถ่วงน้ําหนัก (Weighing Factor) (Saaty., 1980) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจะจัดเรียงลําดับ
ความสําคัญของแต่ละพื้นที่ตามลําดับค่าคะแนนรวมของแต่ละปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล พื้นที่ใดมีค่า
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                           มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                       6

คะแนนสูงสุดถือว่าเป็นพื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยสูงสุดส่วนพื้นที่ที่มีคะแนนรวมรองลงมาถือเป็นพื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัย
ระดับรองลงมาตามลําดับ โดยมีข้นตอนดังนี้
                                ั
                        ก) กําหนดปัจจัยและให้ค่าคะแนน
                         ปัจจัยที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ขอมูล มีดังต่อไปนี้
                                                               ้
                        - ระดับความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งในแต่ละพื้นที่
                        - ผลกระทบต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดน         ิ
                     - มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีอยู่
                        - ความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง
                        - ความตระหนักของชุมชนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
                      ส่วนเกณฑ์การให้ค่าคะแนนในแต่ละปัจจัย กําหนดไว้ 3 - 5 ระดับ ซึ่งมีค่าคะแนน
ตั้งแต่ 1- 5 คะแนน คะแนนมากที่สุด คือ 5 หมายถึงเกิดผลกระทบสูงสุด ส่วนคะแนนต่ําสุด คือ 1
หมายถึงเกิดผลกระทบต่ําสุด ซึ่งค่าคะแนนในแต่ละปัจจัย แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ปัจจัยและค่าคะแนนที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่

                                                  ปัจจัย                                 คะแนน
      1. ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง
         1.1 กัดเซาะรุนแรง (> 5 เมตร/ปี)                                                   5
         1.2 กัดเซาะปานกลาง (1-5 เมตร/ปี)                                                  3
         1.3 ชายฝั่งคงสภาพ (+ - 1 เมตร/ปี)                                                 1
      2. การใช้ประโยชน์ท่ดิน
                         ี
         2.1 พื้นที่อยู่อาศัย/พาณิชยกรรม/สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ                           5
              ชายหาดสถานที่ท่องเที่ยว/โรงแรม/รีสอร์ท/อุตสาหกรรม
         2.2 พื้นที่เพาะเลี้ยง/เกษตรกรรม/ไม้ผล/ไม้ยืนต้น/พื้นที่อยู่อาศัย                  4
         2.3 พื้นที่หาดทราย/ป่าชายเลน/ป่าชายหาด/ป่าพรุ/ชะวากทะเล                           3
         2.4 ไม้พุมเตี้ย/ทุ่งหญ้า/พื้นที่โล่งว่าง/ที่ทิ้งร้าง                              2
      3. มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
         3.1 ไม่มีมาตรการป้องกันแก้ไข                                                      5
         3.2 อยู่ระหว่างการจัดทําโครงการ หรือดําเนินโครงการ                                4
         3.3 มีมาตรการป้องกันแก้ไขแต่ประสิทธิภาพต่ํา                                       3
         3.4 มีมาตรการป้องกันแก้ไขที่มีประสิทธิภาพปานกลาง                                  2
         3.5 มีมาตรการป้องกันแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ                                         1
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                             ร่วมกับ                  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                             7

ตารางที่ 1 (ต่อ)

                                               ปัจจัย                                                  คะแนน
    4. ความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะ
       4.1 เสียหายมาก ราคาที่ดินสูง พื้นที่ชุมชนหนาแน่น มีโครงสร้างพื้นฐาน
            สาธารณูปโภคดี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่สําคัญ                                         5
       4.2 เสียหายปานกลาง ราคาที่ดนปานกลาง ชุมชนไม่หนาแน่น โครงสร้างพื้นฐาน
                                    ิ
            สาธารณูปโภคปานกลาง ไม่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่สําคัญ                                 3
      4.3 เสียหายน้อย ราคาที่ดินต่ํา ไม่เป็นที่ชุมชน ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือสาธารณูปโภค                1
    5. ความตระหนักของชุมชนในปัญหาการกัดเซาะ
       5.1 ชุมชนมีความเดือดร้อนสูงและมีการยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังราชการ                                5
       5.2 ชุมชนมีความเดือดร้อนแต่ยังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม                                    4
       5.3 ชุมชนมีความเดือดร้อน ส่วนท้องถิ่นเข้าแก้ไขปัญหาชั่วคราว                                       3
       5.4 มีการศึกษาและมีแผนงานแก้ไขปัญหาแล้ว                                                           2
       5.5 มีโครงสร้างชายฝั่งเพื่อการแก้ปัญหาระยะยาว                                                     1


                    ข) กําหนดค่าน้ําหนักของแต่ละปัจจัย
                     ใช้วิธีการเปรียบเทียบความสําคัญของทั้ง 5 ปัจจัย แสดงในรูปของการถ่วงน้ําหนัก
(Weighing Factor) โดยมีหลักเกณฑ์ของการเปรียบเทียบดังนี้คือ
        - หากปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญมากกว่าปัจจัยในแนวนอนจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 1
        - หากปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญเท่ากับปัจจัยในแนวนอนจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 2
        - หากปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญน้อยกว่าปัจจัยในแนวนอนจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 3
        - หากปัจจัยแนวตั้งและแนวนอนเป็นปัจจัยเดียวกันจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 0 (ตารางที่ 2)




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                   ร่วมกับ                                    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                      8

ตารางที่ 2 ผลการคํานวณค่าน้ําหนักความสําคัญ (Weighing Factor) ของปัจจัยต่าง ๆ

                                                                                    คะแนน          ค่า
                           ปัจจัย                    (X1) (X2) (X3) (X4) (X5)        รวม       น้ําหนัก
    1. ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง (X1)            0    1    3    1    1            6       0.150
    2. การใช้ประโยชน์ที่ดิน (X2)                      3    0    3    1    3           10       0.250
    3. มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง
        (X3)                                             1    1    0    1      1       4       0.100
    4. ความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะ (X4)               3    3    3    0      3      12       0.300
    5. ความตระหนักของชุมชนในปัญหาการกัดเซาะ
        (X5)                                             3    1   3     1      0      8        0.200
                            รวม                          10   6   12    4      8      40       1.000

  ผลจากการการเปรียบเทียบแต่ละปัจจัย จะได้ค่าน้ําหนักความสําคัญ (Weighing Factor) ดังนี้
          - ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (X1) มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.200
          - การใช้ประโยชน์ที่ดิน (X2) มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.250
          - มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (X3) มีคาน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.150
                                                                  ่
          - ความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (X4) มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.250
          - ความตระหนักของชุมชนในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง(X5)มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.150
                          ค) จัดลําดับสําคัญความรุนแรงของพื้นที่

                       การจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ท่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คิดจาก
                                                         ี
ค่าคะแนนรวมของผลคูณระหว่างค่าน้ําหนักและค่าคะแนนในแต่ละปัจจัย ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ใน
รูปสมการ

                      F = 0.200X1 + 0.250X2 + 0.150X3 + 0.250X4 + 0.150X5
                               เมื่อ F = ค่าคะแนนรวม
                     0.200....150 = ค่าน้ําหนักปัจจัยที่ 1 ถึงปัจจัยที่ 5
                            X1 ......X5 = ค่าคะแนนปัจจัยที่ 1 ถึงปัจจัยที่ 5
                              จากสมการดังกล่าวค่าคะแนนรวมสูงสุด (F) ของผลคูณระหว่างค่าน้ําหนักและค่า
คะแนนในแต่ละปัจจัย จะมีคาเท่ากับ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลหากพื้นที่ใดที่มีคะแนนรวมเท่ากับ 5 ถือเป็น
                                   ่
พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยสูงสุดลําดับที่ 1 ส่วนพื้นที่ที่มีคะแนนรวมรองลงมา จัดเป็นพื้นที่วกฤติเสี่ยงภัยรองลงมา
                                                                                       ิ
ตามลําดับ




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                             มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                9

7.     ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

7.1 การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง
           ชายฝั่งบริเวณพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบการกัดเซาะและการสะสมตัว ซึ่งสามารถ
สรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และรูปที่ 2)

               จังหวัดชุมพร
                  ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดชุมพรความยาว 262 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ
การกัดเซาะจํานวน 6 พื้นที่ (รูปที่ 3 และรูปที่ 9) เป็นระยะทางยาวประมาณ 15.1 กิโลเมตร ซึ่งทั้งหมด
เกิดขึ้นในระดับปานกลาง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 5 พื้นที่ เป็นระยะทาง
ยาวประมาณ 45.0 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 201.9 กิโลเมตร เมื่อ
เปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สินสกุลและคณะ,
2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวระยะทางเพิ่มขึ้น และพื้นที่คง
สภาพมีระยะทางลดลง

                 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                   ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีความยาว 176 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงใน
รูปแบบการกัดเซาะจํานวน 5 พื้นที่ (รูปที่ 4 และรูปที่ 10) เป็นระยะทางยาวประมาณ 19.1 กิโลเมตร โดย
เกิดการกัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 1 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 12
พื้นที่ เป็นระยะทางยาวประมาณ 28.0 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ
128.9 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี
(สิน สินสกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมี
ระยะทางเพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางลดลง

                 จังหวัดนครศรีธรรมราช
                  ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชความยาว 257 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในรูปแบบการกัดเซาะจํานวน 9 พื้นที่ (รูปที่ 5 และรูปที่ 11) เป็นระยะทางยาวประมาณ 25.4 กิโลเมตร
โดยเกิดการกัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 2 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 8
พื้นที่ เป็นระยะทางยาวประมาณ 29.7 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ
201.9 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี
(สิน สินสกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมี
ระยะทางเพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางเพิ่มขึ้น




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                            10

                จังหวัดสงขลา
                   ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดสงขลาความยาว 162 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ
การกัดเซาะจํานวน 7 พื้นที่ (รูปที่ 6 และรูปที่ 12) เป็นระยะทางยาวประมาณ 23.4 กิโลเมตร โดยเกิดการ
กัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 4 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 3 พื้นที่ เป็น
ระยะทางยาวประมาณ 4.7               กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 133.9
กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สิน
สกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมีระยะทาง
ลดลง และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางเพิ่มขึ้น

                  จังหวัดปัตตานี
                     ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดปัตตานีความยาว 152 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ
การกัดเซาะจํานวน 8 พื้นที่ (รูปที่ 7 และรูปที่ 13) เป็นระยะทางยาวประมาณ 23.5 กิโลเมตร โดยเกิดการ
กัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 7 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 10 พื้นที่
เป็นระยะทางยาวประมาณ 24.8 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 103.8
กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สิน
สกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางเท่าเดิม พื้นที่สะสมตัวมีระยะทาง
เพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางลดลง

                  จังหวัดนราธิวาส
                     ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดนราธิวาสความยาว 59 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ
การกัดเซาะจํานวน 5 พื้นที่ (รูปที่ 8 และรูปที่ 14) เป็นระยะทางยาวประมาณ 10.8 กิโลเมตร โดยทั้งหมด
เกิดการกัดเซาะในระดับปานกลาง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 6 พื้นที่ เป็น
ระยะทางยาวประมาณ 32.4                กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 16.0
กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สิน
สกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมีระยะทาง
เพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางลดลงเล็กน้อย




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                      มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                    11

ตารางที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยปี 2550-2551

                                                                กัดเซาะชายฝั่ง
     จังหวัด         อําเภอ               หมู่บ้าน                                       สะสมตัว
                                                            รุนแรง      ปานกลาง
     จ.ชุมพร         อ.ปะทิว           หาดทุ่งวัวแล่น                  2.35 ม./ปี
                                     บ.ท่าแอต-บ.ทุ่งมหา                                 4.07 ม./ปี
                                   บ.บ่อเมา-บ.แหลมแท่น                                  2.27 ม./ปี
                     อ.เมือง             หาดทรายรี                     3.64 ม./ปี
                                   บ.สามเสียม-บ.ดอนนาว                                  4.77 ม./ปี
                                   บ.ปากมหาด-บ้านคอสน                                   2.36 ม./ปี
                     อ.สวี           บ.ท่าเข้-บ้านบ่อคา                                 6.14 ม./ปี
                     อ.หลังสวน           บ.หัวแหลม                     2.11 ม./ปี
                                           บ.คอเขา                     2.28 ม./ปี
                                          บ.บางมั่น                    2.82 ม./ปี
                     อ.ละแม            บ.ปากน้ําละแม                   3.30 ม./ปี
  จ.สุราษฎร์ธานี     อ.ท่าชนะ       บ.ปากน้ําท่ากระจาย                 3.80 ม./ปี       6.32 ม./ปี
                                        บ.ปากน้ํากิ่ว                  3.71 ม./ปี
                                      บ.ปากน้ําท่าม่วง                                  5.85 ม./ปี
                     อ.ไชยา               บ.ตะกรบ                      2.02 ม./ปี
                                           บ.บ่อคา                                      2.56 ม./ปี
                                       บ.แหลมทราย                                       5.04 ม./ปี
                                          บ.ไทรงาม                                     11.74 ม./ปี
                     อ.ท่าฉาง           บ.ธารน้ําร้อน                                  12.76 ม./ปี
                                      ปากคลองบางปิด                                    34.48 ม./ปี
                     อ.พุนพิน      บ.คลองกอ-บ.คลองราง                                  10.99 ม./ปี
                                          บ.บางไทร                                     18.54 ม./ปี
                                          บ.คลองสุข                                    8.42 ม./ปี
                                                            6.03 ม./
                     อ.ดอนสัก             บ.พอด                ปี                       2.80 ม./ปี
                                        บ.ท้องอ่าว                     2.24 ม./ปี
                                   บ.ทางข้าม-บ.บางน้ําจืด                               3.86 ม./ปี




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                     12

ตารางที่ 3 (ต่อ)
                                                                 กัดเซาะชายฝั่ง
     จังหวัด         อําเภอ               หมู่บ้าน                                         สะสมตัว
                                                             รุนแรง      ปานกลาง
จ.นครศรีธรรมราช      อ.สิชล                บ.เสาเภา                     2.29 ม./ปี
                                     บ.ทุ่งไสย-บ.ฝายท่า                                   5.78 ม./ปี
                                           บ.เสาเภา                                       3.45 ม./ปี
                     อ.ท่าศาลา              บ.เราะ                      2.68 ม./ปี
                                   บ.ด่านภาษี-บ้านสระบัว                3.16 ม./ปี
                                          บ.ปากดวด                                        3.95 ม./ปี
                                  บ.ท่าสูงบน-บ.ปากน้ําใหม่                                25.79 ม./ปี
                                                         6.17 ม./
                     อ.ปากพนัง บ.ปลายทราย-แหลมตะลุมพุก      ปี                            6.53 ม./ปี
                                 บ.เนินน้ําหัก-บ.ชายทะเล                2.23 ม./ปี
                                บ.เนินตาขํา-บ.มะขามเทศ                  2.41 ม./ปี
                                   บ.ท่าเข็น-บ.เกาะทัง                  2.64 ม./ปี
                                                         7.78 ม./
                                  บ.หน้าโกฏิ-บ.นําทรัพย์    ปี                            5.84 ม./ปี
                                        บ.ชายทะเล                                         3.42 ม./ปี
                     อ.หัวไทร    บ.เกาะเพชร-บ.หน้าศาล                   3.38 ม./ปี
                                       บ.แพรกเมือง                                        4.04 ม./ปี
                                                         9.72 ม./
     จ.สงขลา         อ.สิงหนคร       บ.หาดทรายแก้ว          ปี
                     อ.เมือง              บ.เก้าเส้ง                    4.41 ม./ปี
                                          บ.บ่ออิฐ                      2.48 ม./ปี
                                        หาดสมิหลา                                         7.53 ม./ปี
                     อ.จะนะ       บ.คูน้ํารอบ-บ.ปากบาง                  2.67 ม./ปี
                                                         8.37 ม./
                               บ.บ่อโซน-บ.ปากบางสะกอม       ปี
                                                         9.78 ม./
                     อ.เทพา           บ.ปากบางเทพา          ปี
                                บ.คลองประดู่ - บ.เกาะแล   10.32
                                            หนัง           ม./ปี
                                    บ.ปากบางสะกอม                                         16.35 ม./ปี
                                       บ.เกาะแลหนัง                                       19.61 ม./ปี


มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                    13


ตารางที่ 3 (ต่อ)

                                                                   กัดเซาะชายฝั่ง
      จังหวัด        อําเภอ                หมู่บ้าน                                 สะสมตัว
                                                                รุนแรง     ปานกลาง
                                                              11.02 ม./
     จ.ปัตตานี       อ.หนองจิก         บ.ตันหยงเปาว์               ปี
                                    บ.สายหมอ - บ.บะอิง        7.58 ม./ปี           9.24 ม./ปี
                                      บ.ปากบางตาวา            9.12 ม./ปี
                                        บ.บางราพา                                  6.77 ม./ปี
                                                                                   21.74 ม./
                     อ.เมือง             บ.รูสะมิแล                                    ปี
                                                                                   16.92 ม./
                                        บ.แหลมนก                                       ปี
                     อ.ยะหริ่ง   บ.ตะโละสะมิแล-บ.ปาตาบูดี     6.08 ม./ปี           7.63 ม./ปี
                                     บ.ปาตา - บ.ท่าพง         6.58 ม./ปี           6.38 ม./ปี
                     อ.ปานา
                     เระ           บ.คลองต่ํา - บ.ปะนาเระ     9.39 ม./ปี              5.53 ม./ปี
                                          บ.บางมะรวด                       3.82 ม./ปี 7.98 ม./ปี
                                           บ้านแฆแฆ                                   5.73 ม./ปี
                     อ.สายบุรี         บ้านบน - บ้านลุ่ม      8.40 ม./ปี
                                       บ้านบางเก่าทะเล                                7.64 ม./ปี
    จ.นราธิวาส       อ.เมือง       บ.โคกเคียน-หาดนราทัศน์                  3.44 ม./ปี 3.63 ม./ปี
                                 บ.บางมะนาว-บ.บูกิตอ่าว
                                 มะนาว                                     2.33 ม./ปี 3.32 ม./ปี
                                   บ.โคกเคียน-บ.โคกขี้เหล็ก                           3.62 ม./ปี
                     อ.ตากใบ            บ.สะปอม-บ.กูบู                     3.14 ม./ปี 1.74 ม./ปี
                                  บ.คลองตัน-บ.ปูลาเจ๊ะมูดอ                 3.05 ม./ปี 1.15 ม./ปี
                                      บ.เกาะยาว-บ.ตาบา                     3.45 ม./ปี 1.51 ม./ปี




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี                                                                                                                   17

ตารางที่ 4 สรุปการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ระหว่างปี 2545 และปี 2550-2551 (หน่วย : กิโลเมตร)
                                                    ชายฝั่งกัดเซาะ
                                                                                                       ชายฝั่งสะสมตัว                 ชายฝั่งคงสภาพ *
       จังหวัด                 รุนแรง               ปานกลาง                     รวม                                                                           รวม
                       ปี 2445     ปี 2550      ปี 2445     ปี 2550   ปี 2445         ปี 2550       ปี 2445          ปี 2550     ปี 2445         ปี 2550
                                                                         16.6           15.1          11.0             45.0       234.4
 1) ชุมพร                 _              _       16.6        15.1      (6.3%)          (5.8%)        (4.2%)          (17.2%)     (89.5%)      201.9 (77.1%)   262
                                                                         23.5           19.1           9.2             28.0       143.3
 2) สุราษฎร์ธานี          8             10.2     15.5         8.9     (13.4%)         (10.9%)         (5.2%)         (15.9%)     (81.4%)      128.9 (73.2%)   176
                                                                        110.5           25.4          14.0             29.7       132.5
 3) นครศรีธรรมราช        60             4.8      50.5        20.6     (43.0%)          (9.9%)        (5.4%)          (11.6%)     (51.6%)      201.9 (78.6%)   257
                                                                         37.0           23.4          31.5              4.7
 4) สงขลา                 4             18.6      33          4.8     (22.8%)         (14.4%)       (19.4%)           (2.9%)   93.5 (57.7%)   133.9 (82.7%)   162
                                                                         23.5           23.5           6.0             24.8       122.5
 5) ปัตตานี              11             22.6     12.5         0.9     (15.5%)         (15.5%)       (3.9%)           (16.3%)     (80.6%)      103.8 (68.3%)   152
                                                                         41.2           10.8           1.5             32.4
 6) นราธิวาส            25.2             _        16         10.8     (69.8%)         (18.3%)        (2.5%)          (54.9%)   16.3 (27.6%)   16.0 (27.1%)     59
         รวม            108.2           56.2    144.1       61.06     252.3           117.24         73.2            164.57       742.5          786.24       1,068
     เปอร์เซ็นต์                                                      23.62           10.98          6.85            15.41        69.52           73.61       100

หมายเหตุ : 1) * คํานวณโดยใช้ เส้นขอบชายฝั่งรวม - (พื้นที่ชายฝั่งกัดเซาะ + ชายฝั่งสะสมตัว)
             2) ข้อมูลปี 2550 คํานวณจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ส่วนข้อมูลปี 2545 ดัดแปลงจาก สิน สินสกุลและคณะ (2545)


มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                    ร่วมกับ                                 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                             18




                รูปที่ 2 แผนทีแสดงการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยปี 2550-2551
                              ่
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                       มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                  19




                                 รูปที่ 3 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.ชุมพร
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                  ร่วมกับ                           มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                    20




                            รูปที่ 4 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.สุราษฎร์ธานี
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                              มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                  21




                         รูปที่ 5 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.นครศรีธรรมราช
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                  22




                                 รูปที่ 6 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.สงขลา
มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                  ร่วมกับ                           มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี                                                                    23




                                                          รูปที่ 7 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.ปัตตานี

มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                  ร่วมกับ                               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี                                                                    24




                                                          รูปที่ 8 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.นราธิวาส

มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                  ร่วมกับ                               มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                               25




                ชายฝั่งหาดทุ่งวัวแล่น อ.ปะทิว                          ชายฝั่งหาดทรายรี อ.เมือง




              ชายฝั่งบ้านหัวแหลม อ.หลังสวน                               ชายฝั่งบ้านคอเขา อ.หลังสวน




                  ชายฝั่งบ้านบางมั่น อ.หลังสวน                ชายฝั่งบ้านปากน้ําละแม อ.ละแม

                            รูปที่ 9 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดชุมพร




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                  ร่วมกับ                        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                              26




                ชายฝั่งบ้านปากน้ําท่ากระจาย อ.ท่าชนะ          ชายฝั่งบ้านปากน้ํากิ่ว อ.ท่าชนะ




              ชายฝั่งบ้านตะกรบ อ.ไชยา                          ชายฝั่งบ้านพอด อ.ดอนสัก




            ชายฝั่งบ้านพอด อ.ดอนสัก                       ชายฝั่งบ้านท้องอ่าว อ.ดอนสัก

                       รูปที่ 10 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                              27




               ชายฝั่งบ้านเสาเภา อ.สิชล                        ชายฝังบ้านเราะ อ.ท่าศาลา
                                                                    ่




              ชายฝั่งบ้านสระบัว อ.ท่าศาลา                 ชายฝั่งบ้านแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง




            ชายฝั่งบ้านเนินน้ําหัก อ.ปากพนัง             ชายฝั่งบ้านมะขามเทศ อ.ปากพนัง




            ชายฝั่งบ้านเกาะทัง อ.ปากพนัง                  ชายฝั่งบริเวณบ้านหน้าโกฏิ อ.ปากพนัง

                      รูปที่ 11 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                        มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                               28




        ชายฝังหาดทรายแก้ว อ.สิงหนคร
             ่                                                ชายฝั่งชุมชนเก้าเส้ง อ.เมือง




          ชายฝั่งบ้านบ่ออิฐ อ.เมือง                              ชายฝั่งบ้านคูน้ํารอบ อ.จะนะ




        ชายฝั่งบ้านปากบางสะกอม อ.จะนะ                     ชายฝั่งบ้านปากบางเทพา อ.เทพา

                          รูปที่ 12 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดสงขลา




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                               29




              ชายฝั่งบ้านตันหยงเปาว์ อ.หนองจิก             ชายฝั่งบ้านสายหมอ อ.หนองจิก




              ชายฝั่งบ้านตะโล๊ะสมิแล อ.ยะหริ่ง              ชายฝั่งบ้านปากบางตาวา อ.หนองจิก




                ชายฝั่งบ้านปาตา อ.ยะหริ่ง                  ชายฝั่งบ้านคลองต่ํา อ.ปะนาเระ




                 ชายฝั่งบ้านบางมะรวด อ.ปะนาเระ               ชายฝั่งบ้านบน-บ้านลุ่ม

                       รูปที่ 13 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดปัตตานี




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                 ร่วมกับ                         มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี
                                   ิ                                                                   30




     ชายฝั่งบ้านโคกเคียน อ.เมือง                                   ชายฝั่งหาดนราทัศน์ อ.เมือง




      ชายฝั่งบ้านกูบู อ.ตากใบ                                ชายฝั่งบ้านคลองตัน อ.ตากใบ

                                 รูปที่ 14 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดนราธิวาส

7.2 พื้นที่วกฤติเสี่ยงภัย
            ิ

          ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ที่เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพื่อกําหนดเป็น
พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multi Criteria Analysis : MCA) เมื่อ
นําค่าคะแนนรวมของแต่ละพื้นที่ (6 จังหวัด 40 พื้นที่ ) มาจัดลําดับความสําคัญระดับภาค สามารถจัดลําดับ
พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยที่ต้องดําเนินแก้ไขปัญหาตามลําดับดังตารางที่ 5




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                  ร่วมกับ                           มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี                                                                                                                                                                                       31

ตารางที่ 5 แสดงลําดับของพื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย




                                                                   ค่าน้ําหนัก 1

                                                                                   ค่าคะแนน 1

                                                                                                 ค่าน้ําหนัก 2

                                                                                                                 ค่าคะแนน 2

                                                                                                                               ค่าน้ําหนัก 3

                                                                                                                                               ค่าคะแนน 3

                                                                                                                                                             ค่าน้ําหนัก 4

                                                                                                                                                                             ค่าคะแนน 4

                                                                                                                                                                                           ค่าน้ําหนัก 5

                                                                                                                                                                                                           ค่าคะแนน 5

                                                                                                                                                                                                                         คะแนนรวม
ลําดับ            พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง               จังหวัด
     1 บ้านพอด                                  จ.สุราษฎร์ธานี    0.150              5          0.250              5          0.100              5          0.300              5          0.200              5          5.000
     2 บ้านบน – บ้านลุ่ม                        จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              5          0.100              3          0.300              5          0.200              5          4.800
     3 บ้านปากบางเทพา                           จ.สงขลา           0.150              5          0.250              5          0.100              3          0.300              5          0.200              4          4.600
     4 บ้านบ่อโซน - บ้านปากบางสะกอม             จ.สงขลา           0.150              5          0.250              4          0.100              3          0.300              5          0.200              5          4.550
     5 หาดทุ่งวัวแล่น                           จ.ชุมพร           0.150              3          0.250              5          0.100              5          0.300              5          0.200              4          4.500
     6 บ้านตะโล๊ะสมิแล - บ้านปาตาบูดี           จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              3          0.100              4          0.300              5          0.200              5          4.400
     7 หาดทรายรี                                จ.ชุมพร           0.150              3          0.250              5          0.100              5          0.300              5          0.200              3          4.300
         บ้านด่านภาษี - บ้านสระบัว              จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              5          0.100              3          0.300              5          0.200              4          4.300
         หาดทรายแก้ว                            จ.สงขลา           0.150              5          0.250              5          0.100              4          0.300              5          0.200              2          4.300
         บ้านปาตา – บ้านท่าพง                   จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              3          0.100              5          0.300              5          0.200              4          4.300
     8 บ้านปลายทราย - แหลมตะลุมพุก              จ.นครศรีธรรมราช   0.150              5          0.250              5          0.100              5          0.300              3          0.200              4          4.200
     9 บ้านเก้าเส้ง                             จ.สงขลา           0.150              3          0.250              5          0.100              3          0.300              5          0.200              3          4.100
         บ้านคลองต่ํา - บ้านปะนาเระ             จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              3          0.100              3          0.300              5          0.200              4          4.100
   10 บ้านท้องอ่าว                              จ.สุราษฎร์ธานี    0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              5          0.200              3          4.050

มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                   ร่วมกับ                                            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี                                                                                                                                                                                       32

ตารางที่ 5 (ต่อ)




                                                                   ค่าน้ําหนัก 1

                                                                                   ค่าคะแนน 1

                                                                                                 ค่าน้ําหนัก 2

                                                                                                                 ค่าคะแนน 2

                                                                                                                               ค่าน้ําหนัก 3

                                                                                                                                               ค่าคะแนน 3

                                                                                                                                                             ค่าน้ําหนัก 4

                                                                                                                                                                             ค่าคะแนน 4

                                                                                                                                                                                           ค่าน้ําหนัก 5

                                                                                                                                                                                                           ค่าคะแนน 5

                                                                                                                                                                                                                         คะแนนรวม
ลําดับ              พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง             จังหวัด
   11 บ้านสายหมอ - บ้านบะอิง                    จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              5          0.100              2          0.300              3          0.200              4          3.900
   12 บ้านท่าเข็น - บ้านเกาะทัง                 จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              3          0.200              5          3.850
         บ้านตันหยงเปาว์                        จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              4          0.100              2          0.300              3          0.200              5          3.850
   13 บ้านปากน้ําท่ากระจาย                      จ.สุราษฎร์ธานี    0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              3          0.200              4          3.650
         บ้านเนินตาขํา - บ้านมะขามเทศ           จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              3          0.200              4          3.650
   14 บ้านเกาะเพชร - บ้านหน้าศาล                จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              5          0.100              2          0.300              5          0.200              1          3.600
   15 บ้านบางมะนาว-บ้านบูกิตอ่าวมะนาว           จ.นราธิวาส        0.150              3          0.250              5          0.100              3          0.300              3          0.200              3          3.500
   16 บ้านเนินน้ําหัก - บ้านชายทะเล             จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              3          0.200              3          3.450
   17 บ้านบ่ออิฐ                                จ.สงขลา           0.150              3          0.250              5          0.100              2          0.300              3          0.200              3          3.400
         บ้านปากน้ํากิ่ว                        จ.สุราษฎร์ธานี    0.150              3          0.250              3          0.100              5          0.300              3          0.200              4          3.400
   18 บ้านโคกเคียน-หาดนราทัศน์                  จ.นราธิวาส        0.150              3          0.250              4          0.100              2          0.300              5          0.200              1          3.350
         บ้านคูน้ํารอบ - บ้านปากบาง             จ.สงขลา           0.150              3          0.250              4          0.100              2          0.300              3          0.200              4          3.350
   19 บ้านหัวแหลม                               จ.ชุมพร           0.150              3          0.250              4          0.100              3          0.300              3          0.200              3          3.250
         บ้านเราะ                               จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              4          0.100              3          0.300              3          0.200              3          3.250

มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                   ร่วมกับ                                            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี                                                                                                                                                                                       33

ตารางที่ 5 (ต่อ)




                                                                   ค่าน้ําหนัก 1

                                                                                   ค่าคะแนน 1

                                                                                                 ค่าน้ําหนัก 2

                                                                                                                 ค่าคะแนน 2

                                                                                                                               ค่าน้ําหนัก 3

                                                                                                                                               ค่าคะแนน 3

                                                                                                                                                             ค่าน้ําหนัก 4

                                                                                                                                                                             ค่าคะแนน 4

                                                                                                                                                                                           ค่าน้ําหนัก 5

                                                                                                                                                                                                           ค่าคะแนน 5

                                                                                                                                                                                                                         คะแนนรวม
ลําดับ             พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง              จังหวัด
   20 บ้านบางมะรวด                              จ.ปัตตานี         0.150              3          0.250              3          0.100              3          0.300              3          0.200              4          3.200
   21 บ้านคลองตัน-บ้านปูลาเจ๊ะมูดอ              จ.นราธิวาส        0.150              3          0.250              3          0.100              2          0.300              5          0.200              1          3.100
   22 บ้านคอเขา                                 จ.ชุมพร           0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              1          0.200              4          3.050
         บ้านบางมั่น                            จ.ชุมพร           0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              1          0.200              4          3.050
         ปากน้ําละแม                            จ.ชุมพร           0.150              3          0.250              4          0.100              5          0.300              1          0.200              4          3.050
   23 บ้านหน้าโกฏิ - บ้านนําทรัพย์              จ.นครศรีธรรมราช   0.150              5          0.250              4          0.100              1          0.300              3          0.200              1          2.950
   24 บ้านตะกรบ                                 จ.สุราษฎร์ธานี    0.150              3          0.250              3          0.100              5          0.300              1          0.200              4          2.800
   25 บ้านเสาเภา                                จ.นครศรีธรรมราช   0.150              3          0.250              4          0.100              2          0.300              3          0.200              1          2.750
   26 บ้านคลองประดู่ - บ้านเกาะแลหนัง           จ.สงขลา           0.150              5          0.250              3          0.100              5          0.300              1          0.200              1          2.500
   27 บ้านปากบางตาวา                            จ.ปัตตานี         0.150              5          0.250              3          0.100              3          0.300              1          0.200              1          2.300
   28 บ้านสะปอม-บ้านกูบู                        จ.นราธิวาส        0.150              3          0.250              4          0.100              3          0.300              1          0.200              1          2.250
   29 บ้านเกาะยาว-บ้านตาบา                      จ.นราธิวาส        0.150              3          0.250              3          0.100              2          0.300              1          0.200              1          1.900




มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม                   ร่วมกับ                                            มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces
01 coastal erosion 6 provinces

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

รายงาน Ehia new
รายงาน Ehia new รายงาน Ehia new
รายงาน Ehia new Naname001
 
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์nasomyon13
 
แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...
แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...
แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...Singhanat Sangsehanat
 
การทำ Ehia (เหมืองแร่)
การทำ Ehia (เหมืองแร่)การทำ Ehia (เหมืองแร่)
การทำ Ehia (เหมืองแร่)AmPere Si Si
 
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) UNDP
 
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000Burapha University
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
 Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ... Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...nawaporn khamseanwong
 
Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.
Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.
Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.Naname001
 
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11aj_moo
 
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรา
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรารายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรา
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทราBurapha University
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...nawaporn khamseanwong
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา...
 Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา... Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา...nawaporn khamseanwong
 
แผนที่ ลูกโลก
แผนที่   ลูกโลกแผนที่   ลูกโลก
แผนที่ ลูกโลกthnaporn999
 
การหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑลการหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑลFURD_RSU
 
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรัง
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรังT-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรัง
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรังAuraphin Phetraksa
 
งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัยts02216345
 
แร่ธาตุ
แร่ธาตุแร่ธาตุ
แร่ธาตุbabyoam
 

La actualidad más candente (18)

รายงาน Ehia new
รายงาน Ehia new รายงาน Ehia new
รายงาน Ehia new
 
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
 
แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...
แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...
แผนแม่บทการจัดการเชิงพื้นที่ของการท่องเที่ยว เมืองเพชรบุรี และเส้นทางเลียบชาย...
 
การทำ Ehia (เหมืองแร่)
การทำ Ehia (เหมืองแร่)การทำ Ehia (เหมืองแร่)
การทำ Ehia (เหมืองแร่)
 
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
 
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
 Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ... Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานธุรการ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ...
 
Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.
Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.
Study the Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section 67.
 
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11ส่วนที่ 1   ข้อมูลพื้นฐาน 11
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 11
 
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรา
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรารายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรา
รายงานการใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงพื้นที่รายแปลง มาตราส่วน 1:4,000 จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจา...
 
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา...
 Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา... Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา...
Loadแนวข้อสอบ เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์ กรมประมง (กองโครงการอันเนื่องมาจากพระรา...
 
แผนที่ ลูกโลก
แผนที่   ลูกโลกแผนที่   ลูกโลก
แผนที่ ลูกโลก
 
หนังสือนำประถมมัธยม
หนังสือนำประถมมัธยมหนังสือนำประถมมัธยม
หนังสือนำประถมมัธยม
 
การหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑลการหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
การหาพื้นที่เหมาะสมจัดทำพื้นที่อยู่อาศัยรองรับชุมชนคูคลองกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
 
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรัง
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรังT-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรัง
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดตรัง
 
งานวิจัย
งานวิจัยงานวิจัย
งานวิจัย
 
แร่ธาตุ
แร่ธาตุแร่ธาตุ
แร่ธาตุ
 

Destacado

โครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtim
โครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtimโครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtim
โครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.NmtimKasetsart University
 
Location analytics: A New Dimension for your Applications
Location analytics: A New Dimension for your ApplicationsLocation analytics: A New Dimension for your Applications
Location analytics: A New Dimension for your ApplicationsEsri India
 
Week 1.2 course description 02 251-101
Week 1.2 course description 02 251-101 Week 1.2 course description 02 251-101
Week 1.2 course description 02 251-101 Naynui Cybernet
 
New paradigm for national mapping organization
New paradigm for national mapping organizationNew paradigm for national mapping organization
New paradigm for national mapping organizationEsri India
 
The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy
 The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy
The New Paradigm Towards Geo Enabled EconomyEsri India
 
How culture can make or break a company
How culture can make or break a companyHow culture can make or break a company
How culture can make or break a companyAkash Jauhari
 
Are Indian Stock driven by pure Sentiments
Are Indian Stock driven by pure SentimentsAre Indian Stock driven by pure Sentiments
Are Indian Stock driven by pure SentimentsAkash Jauhari
 
C-Si Module Manufacturers in India
C-Si Module Manufacturers in IndiaC-Si Module Manufacturers in India
C-Si Module Manufacturers in IndiaAkash Jauhari
 
Reading Topographic Maps
Reading Topographic MapsReading Topographic Maps
Reading Topographic Mapsduncanpatti
 
Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...
Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...
Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...Akash Jauhari
 
Resources & rivalry in Central asia
Resources & rivalry in Central asiaResources & rivalry in Central asia
Resources & rivalry in Central asiaAkash Jauhari
 
Day-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 Renewables
Day-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 RenewablesDay-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 Renewables
Day-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 RenewablesIPPAI
 
NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.
NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.
NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.John Reiser
 
Mapping the Human Environment
Mapping the Human EnvironmentMapping the Human Environment
Mapping the Human EnvironmentJohn Reiser
 
Carbon finance potential of renewable energy technologies in india
Carbon finance potential of renewable energy technologies in indiaCarbon finance potential of renewable energy technologies in india
Carbon finance potential of renewable energy technologies in indiaPallav Purohit
 
Saurabh project wind tunnel by saurabh
Saurabh project wind tunnel by saurabh  Saurabh project wind tunnel by saurabh
Saurabh project wind tunnel by saurabh EMAM RAZA KHAN
 
MBA GIS Solar Farm Feasibility Study
MBA GIS Solar Farm Feasibility StudyMBA GIS Solar Farm Feasibility Study
MBA GIS Solar Farm Feasibility StudyEian Ray
 
The PC Industry Wars
The PC Industry WarsThe PC Industry Wars
The PC Industry WarsAkash Jauhari
 

Destacado (19)

โครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtim
โครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtimโครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtim
โครงสร้าง ป้องกันและแก้ใขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทย S.Nmtim
 
Location analytics: A New Dimension for your Applications
Location analytics: A New Dimension for your ApplicationsLocation analytics: A New Dimension for your Applications
Location analytics: A New Dimension for your Applications
 
Week 1.2 course description 02 251-101
Week 1.2 course description 02 251-101 Week 1.2 course description 02 251-101
Week 1.2 course description 02 251-101
 
New paradigm for national mapping organization
New paradigm for national mapping organizationNew paradigm for national mapping organization
New paradigm for national mapping organization
 
The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy
 The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy
The New Paradigm Towards Geo Enabled Economy
 
How culture can make or break a company
How culture can make or break a companyHow culture can make or break a company
How culture can make or break a company
 
Are Indian Stock driven by pure Sentiments
Are Indian Stock driven by pure SentimentsAre Indian Stock driven by pure Sentiments
Are Indian Stock driven by pure Sentiments
 
C-Si Module Manufacturers in India
C-Si Module Manufacturers in IndiaC-Si Module Manufacturers in India
C-Si Module Manufacturers in India
 
Reading Topographic Maps
Reading Topographic MapsReading Topographic Maps
Reading Topographic Maps
 
Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...
Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...
Are indian stock market driven more by sentiments than fundamentals- A Resear...
 
Resources & rivalry in Central asia
Resources & rivalry in Central asiaResources & rivalry in Central asia
Resources & rivalry in Central asia
 
Day-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 Renewables
Day-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 RenewablesDay-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 Renewables
Day-4, Dr. Rahul Walalwalkar - Energy Storage 4 Renewables
 
Week 1.1 introduction
Week 1.1 introductionWeek 1.1 introduction
Week 1.1 introduction
 
NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.
NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.
NJ MAP: Building a different kind of GIS platform using open source tools.
 
Mapping the Human Environment
Mapping the Human EnvironmentMapping the Human Environment
Mapping the Human Environment
 
Carbon finance potential of renewable energy technologies in india
Carbon finance potential of renewable energy technologies in indiaCarbon finance potential of renewable energy technologies in india
Carbon finance potential of renewable energy technologies in india
 
Saurabh project wind tunnel by saurabh
Saurabh project wind tunnel by saurabh  Saurabh project wind tunnel by saurabh
Saurabh project wind tunnel by saurabh
 
MBA GIS Solar Farm Feasibility Study
MBA GIS Solar Farm Feasibility StudyMBA GIS Solar Farm Feasibility Study
MBA GIS Solar Farm Feasibility Study
 
The PC Industry Wars
The PC Industry WarsThe PC Industry Wars
The PC Industry Wars
 

Similar a 01 coastal erosion 6 provinces

ศูนย์ภูเก็ต
ศูนย์ภูเก็ตศูนย์ภูเก็ต
ศูนย์ภูเก็ตJaae Watcharapirak
 
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556สุพัชชา อักษรพันธ์
 
2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)saintja
 
การกัดเซาะชายหาด ๕๗
การกัดเซาะชายหาด ๕๗การกัดเซาะชายหาด ๕๗
การกัดเซาะชายหาด ๕๗Auraphin Phetraksa
 
ภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลายภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลายKroo Mngschool
 
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2nasomyon13
 
ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์krunimsocial
 
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ต
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ตT-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ต
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ตAuraphin Phetraksa
 
การขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่น
การขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่นการขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่น
การขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่นChingchai Humhong
 
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...Thira Woratanarat
 
Presentation SMMS Application
Presentation SMMS ApplicationPresentation SMMS Application
Presentation SMMS ApplicationSunt Uttayarath
 
การพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศการพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศdnavaroj
 
9789740329602
97897403296029789740329602
9789740329602CUPress
 
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furdโครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา FurdUkrit Chalermsan
 
1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์
1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์
1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์THAI HYDRA
 
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดAuraphin Phetraksa
 

Similar a 01 coastal erosion 6 provinces (20)

ศูนย์ภูเก็ต
ศูนย์ภูเก็ตศูนย์ภูเก็ต
ศูนย์ภูเก็ต
 
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
วารสารยางพารา ปีที่ 34 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2556
 
2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)2 remote sensing(ppt)
2 remote sensing(ppt)
 
การกัดเซาะชายหาด ๕๗
การกัดเซาะชายหาด ๕๗การกัดเซาะชายหาด ๕๗
การกัดเซาะชายหาด ๕๗
 
ภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลายภูมิศาสตร์มอปลาย
ภูมิศาสตร์มอปลาย
 
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2
เครื่องมือทางภูมิศาสตร์2
 
Wave 1
Wave 1Wave 1
Wave 1
 
SMMS ฝนหลวง
SMMS ฝนหลวงSMMS ฝนหลวง
SMMS ฝนหลวง
 
ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ใบความรู้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
 
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ต
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ตT-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ต
T-FERN ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดภูเก็ต
 
การขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่น
การขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่นการขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่น
การขับเคลื่อนเครือข่ายจัดทําและใช้ข้อมูลแผนที่จีไอเอสในระดับท้องถิ่น
 
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
กรณีศึกษา การรับรู้ผลกระทบและการจัดการวิกฤติน้ามันรั่วลงทะเล บริเวณอ่าวพร้าว ...
 
hazard_53
hazard_53hazard_53
hazard_53
 
SMMS Rainfall
SMMS  RainfallSMMS  Rainfall
SMMS Rainfall
 
Presentation SMMS Application
Presentation SMMS ApplicationPresentation SMMS Application
Presentation SMMS Application
 
การพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศการพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศ
 
9789740329602
97897403296029789740329602
9789740329602
 
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furdโครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
โครงการผลกระทบจากการขยายตัวของเมืองมหาวิทยาลัย วิติยา Furd
 
1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์
1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์
1 - เสวนาสมาคมอุทกวิทยา ดร ทองเปลว กองจันทร์
 
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
การเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด
 

Más de Kasetsart University

ไฟฟ้าพลังงานน้ำ Present
ไฟฟ้าพลังงานน้ำ Presentไฟฟ้าพลังงานน้ำ Present
ไฟฟ้าพลังงานน้ำ PresentKasetsart University
 
สรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KU
สรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KUสรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KU
สรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KUKasetsart University
 
การทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียว
การทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียวการทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียว
การทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียวKasetsart University
 
Hw assignments on flood routing update
Hw assignments on flood routing updateHw assignments on flood routing update
Hw assignments on flood routing updateKasetsart University
 
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...Kasetsart University
 
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบรายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบKasetsart University
 
Sieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisSieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisKasetsart University
 
Sieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisSieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisKasetsart University
 
Homework Ground water Eng.#3 S.Nimtim
Homework Ground water Eng.#3 S.NimtimHomework Ground water Eng.#3 S.Nimtim
Homework Ground water Eng.#3 S.NimtimKasetsart University
 
Sieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisSieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisKasetsart University
 

Más de Kasetsart University (20)

ไฟฟ้าพลังงานน้ำ Present
ไฟฟ้าพลังงานน้ำ Presentไฟฟ้าพลังงานน้ำ Present
ไฟฟ้าพลังงานน้ำ Present
 
สรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KU
สรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KUสรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KU
สรุปข้อมูลการศึกษาดูงานเพื่อการนำเสนอ วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ WE KU
 
Report stell2
Report stell2Report stell2
Report stell2
 
Soil triaxial data Group 1-3
Soil triaxial data Group 1-3 Soil triaxial data Group 1-3
Soil triaxial data Group 1-3
 
Triaxcial test
Triaxcial testTriaxcial test
Triaxcial test
 
การทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียว
การทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียวการทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียว
การทดสอบเพื่อหาค่าแรงอัดแกนเดียว
 
Calender2555
Calender2555Calender2555
Calender2555
 
Hw assignments on flood routing update
Hw assignments on flood routing updateHw assignments on flood routing update
Hw assignments on flood routing update
 
Applied hydrology
Applied hydrologyApplied hydrology
Applied hydrology
 
Applied hydrology nsn
Applied hydrology nsnApplied hydrology nsn
Applied hydrology nsn
 
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
รายงานผลการทดสอบมวลรวม ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรร...
 
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบรายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
รายงานผลการทดสอบซีเมนต์ ฉบับสมบูรณ์ วิชาปฏิบัติการวัสดุวิศวกรรมโยธา และการทดสอบ
 
Sieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisSieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysis
 
Compaction test
Compaction testCompaction test
Compaction test
 
Compaction test data sheet
Compaction test data sheetCompaction test data sheet
Compaction test data sheet
 
Sieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisSieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysis
 
Homework Ground water Eng.#3 S.Nimtim
Homework Ground water Eng.#3 S.NimtimHomework Ground water Eng.#3 S.Nimtim
Homework Ground water Eng.#3 S.Nimtim
 
Grain size analysis By S.Nimtim
Grain size analysis By S.NimtimGrain size analysis By S.Nimtim
Grain size analysis By S.Nimtim
 
Compaction Test By S.Nimtim
Compaction Test By S.NimtimCompaction Test By S.Nimtim
Compaction Test By S.Nimtim
 
Sieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysisSieve analysis and hydrometer analysis
Sieve analysis and hydrometer analysis
 

01 coastal erosion 6 provinces

  • 1. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 1 การจัดการภัยพิบติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย ั เอกสารส่วนที่ 1/3 การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย นายอดุลย์ เบ็ญนุ้ย สถานวิจัยสารสนเทศภูมิศาสตร์ คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายพยอม รัตนมณี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บทคัดย่อ ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงจังหวัดนราธิวาส ความยาวประมาณ 1,067 กิโลเมตร โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2545 เปรียบเทียบกับ ภาพถ่ายดาวเทียม Spot PAN Sharpened บันทึกข้อมูล ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 เพื่อหาอัตราการ เปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยวิธีการซ้อนทับข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าชายฝั่งเกิด การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการกัดเซาะความยาวประมาณ 138 กิโลเมตร (ร้อยละ 12.93) และเกิดการ เปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวความยาวประมาณ 143 กิโลเมตร (ร้อยละ 13.41) ที่เหลือเป็นชายฝั่งคง สภาพความยาวประมาณ 786 กิโลเมตร (ร้อยละ 73.66) โดยมีพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรวม ทั้งหมด 40 พื้นที่ จัดอยู่ในระดับรุนแรง (มากกว่า 5 เมตร / ปี) จํานวน 14 พื้นที่ และจัดอยู่ในระดับปาน กลาง (1-5 เมตร / ปี) จํานวน 26 พื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่มีการสะสมตัวมีจํานวน 44 พื้นที่ สาเหตุหลักของการ เกิดปัญหากัดเซาะชายฝั่งคือ คลื่น ลมมรสุม การขาดความสมดุลของตะกอน และกิจกรรมของมนุษย์ เช่น เขื่อนกันทรายและคลื่น มาตรการที่ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่วิกฤติปัจจุบันนิยมใช้มาตรการแบบแข็ง เช่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง กําแพงกันคลื่น รอดักทราย และตะกร้าหิน ซึ่งบางพื้นที่เกิดผลกระทบต่อบริเวณ ข้างเคียง ส่วนมาตรการแบบอ่อนที่สามารถนํามาใช้แก้ปัญหาได้ในบางพื้นที่เนื่องจากไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ ข้างเคียง ได้แก่ การบูรณะหาดทราย การปลูกป่าชายเลน และการกําหนดระยะถอยร่น เป็นต้น มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 2. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 2 Abstract The objective of this research is to study shoreline changes in the East Coast of the Thai Southern Peninsular, from Chumpon to Narathiwat Provinces. The aerial photographs taken in 2002 and Spot PAN Sharpened satellite photographs taken in 2006 - 2007 were used in shoreline monitoring. The rate of shoreline changes was evaluated by a map overlaying technique in Geographic Information System (GIS). From the investigated shoreline covering 1,067 km, it was found that there are 138 km (12.93%) confronted coastal erosions, while 143 km (13.41%) erosions are in coastal accretion, and 786 km (73.66%) erosions are in coastal stable zones. The coastal erosion zones can be categorized into 40 erosion hot spots which can be divided into 14 severe erosion sites (rate of retreat more than 5 meter/year), and 26 moderate erosion sites (rate of retreat 1-5 meter/year). The coastal accretion can be categorized into 44 sites. Causes of coastal erosion in each site are different. The major causes are due to strong monsoon waves, lack of coastal sediment, and human activities. General coastal protective measures can be employed using both hard and soft solutions. Hard solutions are generally applied in critical erosion beaches. There are various types of coastal structures, namely breakwaters, seawalls, groins and gabions. Soft solutions are environmentally friendly measures to renovate erosion beaches. Sand bypassing, coastal plantation, and defining setback are commonly used as a soft solution. มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 3. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 3 1. ที่มาของปัญหา การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบการกัดเซาะ (Erosional Coast) และการสะสมตัว (Depositional Coast) โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการทั้งสาเหตุจากธรรมชาติและ สาเหตุจากการกระทําของมนุษย์ ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งที่ส่งผล กระทบต่อมนุษย์และถือเป็นภัยธรรมชาติอย่างหนึ่ง คือการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ เช่น ก่อให้เกิด ความเสียหายของพื้นที่ และสูญเสียคุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ไปอย่างถาวร เช่น ความเสียหายของ โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค พื้นที่เกษตรกรรม ชายหาด และป่าชายเลน เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้มีแนวคิดในการนําข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1: 25,000 (และหรือ 1: 4,000) นํามาทําการซ้อนทับกับข้อมูลดาวเทียม SPOT PAN Sharpened บันทึกข้อมูล ปี พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 เพือศึกษาเปรียบเทียบอัตราการกัดเซาะชายฝั่ง และกําหนดเป็นเขตพื้นที่วิกฤติเสี่ยง ่ ภัยที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน รวมทั้งจัดทําฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ซึ่งสามารถนําไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อการวางแผน จัดการ แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคต และเพื่อเป็นโครงการศึกษานําร่องในการที่จะนําข้อมูลดาวเทียม THEOS ซึ่งถือเป็น ดาวเทียมสํารวจทรัพยากรดวงแรกของไทยมาใช้ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในปีต่อไป 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อศึกษาลักษณะการเปลี่ยนแปลงของแนวชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ทั้งในรูปแบบการกัด เซาะ (Erosion Coast) และการสะสมตัว (Deposition Coast) และการคงสภาพ (Stable Coast) โดย ประยุกต์ใช้ข้อมูลจากระบบภูมิสารสนเทศ 2.2 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาอัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง โดยใช้วิธีการซ้อนทับ (Overlay Technique) ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และกําหนดเขตพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ในขั้นวิกฤติเสี่ยงภัยที่ต้อง ดําเนินการป้องกันแก้ไขอย่างเร่งด่วน 2.3 จัดทําฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง เช่น พื้นที่กัด เซาะชายฝั่ง การสะสมตัว โครงสร้างชายฝั่ง และการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่าง ๆ 3. ประโยชน์ทคาดว่าจะได้รับ ี่ 3.1 ทําให้ทราบว่าพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร จนถึงจังหวัดนราธิวาส บริเวณ ใดมีการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในรูปแบบการกัดเซาะ การคงสภาพ การสะสมตัว รวมทั้งขนาดของพื้นที่ที่โดนกัด เซาะ อัตราการกัดเซาะต่อปี และพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะบริเวณใดที่จัดอยู่ในขั้นวิกฤติเสี่ยงภัย ที่ต้องแก้ไขปัญหา อย่างเร่งด่วน มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 4. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 4 3.2 เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค ที่อยู่อาศัย สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่สําคัญ ตั้งแต่จังหวัดชุมพร จนถึง จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเบื้องต้นในแต่ละพื้นที่ 3.3 ฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อเป็นแผนที่ฐาน สําหรับการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งของภาคใต้ฝั่งตะวันออกในปีต่อไป 4. พื้นที่ศึกษา พื้นที่ทําการศึกษาวิจัย ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส 5. ระยะเวลาทําการวิจย ั ระยะเวลาดําเนินโครงการ 12 เดือน (วันที่ 28 กันยายน 2550 – วันที่ 27 กันยายน 2551) 6. วิธีดําเนินการวิจย ั 6.1 วัสดุและอุปกรณ์ 1) แผนที่และภาพถ่าย - แผนที่ภูมิประเทศเชิงเลขมาตราส่วน 1:50,000 ลําดับชุด L 7018 กรมแผนที่ทหาร - แผนที่เชิงเลข อื่น ๆ เช่น เขตการปกครอง พิกัด หมู่บ้าน เส้นชั้นความสูง ถนน สถานที่ สําคัญภูมิประเทศ สัณฐานชายฝั่ง สมุทรศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา โครงสร้างวิศวกรรมชายฝั่ง - แผนที่ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1:25,000 กรมพัฒนาที่ดิน บันทึกข้อมูล ปี พ.ศ. 2545 - ข้อมูลดาวเทียม SPOT PAN Sharpened บันทึกข้อมูลในปี พ.ศ. 2550-2551 2 ) คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ ฯลฯ - ไมโครคอมพิวเตอร์ (PC) - เครื่องมือรับสัญญาณดาวเทียมภาคพื้นดิน (GPS) รุ่น Garmin map 76 cs - เครื่อง Plotter 3) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) - โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แก่ ArcView, ArcGIS และ Intergraph - โปรแกรม Microsoft Excel, Microsoft Visual studio 6.0 มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 5. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 5 6.2 วิธีการวิจัย 1) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งระหว่างช่วง 5 ปี โดยใช้ข้อมูลเส้นขอบเขตชายฝั่ง จาก ภาพถ่ายทางอากาศ ปี พ.ศ. 2545 ซ้อนทับกับข้อมูลเส้นขอบชายฝั่งจากภาพถ่ายดาวเทียม SPOT PAN Sharpened ปี พ.ศ. 2550-2551 โดยใช้วิธีการ OVERLAY ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และคํานวณ อัตราการกัดเซาะชายฝั่ งโดยการหาระยะซ้อนทับในแนวตั้งฉากกับชายฝั่งหารด้วยระยะเวลาที่ใ ช้ในการ เปรียบเทียบ (เช่น 2545 - 2550 = 5 ปี) ซึ่งการหาระยะซ้อนทับในแนวตั้งฉากทําได้โดยโดยใช้พื้นที่ที่โดน กัดเซาะหารด้วยระยะทางที่โดนกัดเซาะในแต่ละบริเวณ (รูปที่ 1) ผลที่ได้จากการคํานวณหาอัตราการ เปลี่ยนแปลงชายฝั่งดังกล่าว สามารถจําแนกลักษณะการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้ตามเกณฑ์ที่กําหนดโดยกรม ทรัพยากรธรณี (สิน สินสกุลและคณะ, 2545) ดังนี้ - ชายฝั่งทะเลที่มีการกัดเซาะรุนแรง มีอัตราการกัดเซาะในระยะ > 5 เมตรต่อปี - ชายฝั่งทะเลที่มการกัดเซาะปานกลาง มีอัตราการกัดเซาะในระยะ 1-5 เมตรต่อปี ี - ชายฝั่งทะเลที่มการสะสมตัว มีอตราการสะสมตัวในระยะ 1-5 เมตรต่อปี ี ั - ชายฝั่งทะเลที่คงสภาพ มีอตราการเปลี่ยนแปลง ± 1 เมตรต่อปี ั รูปที่ 1 แสดงการคํานวณหาอัตราเฉลี่ยการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง 2) วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ที่เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และกําหนดเป็น พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multi Criteria Analysis : MCA) และ การถ่วงน้ําหนัก (Weighing Factor) (Saaty., 1980) ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจะจัดเรียงลําดับ ความสําคัญของแต่ละพื้นที่ตามลําดับค่าคะแนนรวมของแต่ละปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล พื้นที่ใดมีค่า มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 6. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 6 คะแนนสูงสุดถือว่าเป็นพื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยสูงสุดส่วนพื้นที่ที่มีคะแนนรวมรองลงมาถือเป็นพื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัย ระดับรองลงมาตามลําดับ โดยมีข้นตอนดังนี้ ั ก) กําหนดปัจจัยและให้ค่าคะแนน ปัจจัยที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ขอมูล มีดังต่อไปนี้ ้ - ระดับความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งในแต่ละพื้นที่ - ผลกระทบต่อลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดน ิ - มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่มีอยู่ - ความเสียหายจากการกัดเซาะชายฝั่ง - ความตระหนักของชุมชนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ส่วนเกณฑ์การให้ค่าคะแนนในแต่ละปัจจัย กําหนดไว้ 3 - 5 ระดับ ซึ่งมีค่าคะแนน ตั้งแต่ 1- 5 คะแนน คะแนนมากที่สุด คือ 5 หมายถึงเกิดผลกระทบสูงสุด ส่วนคะแนนต่ําสุด คือ 1 หมายถึงเกิดผลกระทบต่ําสุด ซึ่งค่าคะแนนในแต่ละปัจจัย แสดงดังตารางที่ 1 ตารางที่ 1 ปัจจัยและค่าคะแนนที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ ปัจจัย คะแนน 1. ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง 1.1 กัดเซาะรุนแรง (> 5 เมตร/ปี) 5 1.2 กัดเซาะปานกลาง (1-5 เมตร/ปี) 3 1.3 ชายฝั่งคงสภาพ (+ - 1 เมตร/ปี) 1 2. การใช้ประโยชน์ท่ดิน ี 2.1 พื้นที่อยู่อาศัย/พาณิชยกรรม/สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 5 ชายหาดสถานที่ท่องเที่ยว/โรงแรม/รีสอร์ท/อุตสาหกรรม 2.2 พื้นที่เพาะเลี้ยง/เกษตรกรรม/ไม้ผล/ไม้ยืนต้น/พื้นที่อยู่อาศัย 4 2.3 พื้นที่หาดทราย/ป่าชายเลน/ป่าชายหาด/ป่าพรุ/ชะวากทะเล 3 2.4 ไม้พุมเตี้ย/ทุ่งหญ้า/พื้นที่โล่งว่าง/ที่ทิ้งร้าง 2 3. มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 3.1 ไม่มีมาตรการป้องกันแก้ไข 5 3.2 อยู่ระหว่างการจัดทําโครงการ หรือดําเนินโครงการ 4 3.3 มีมาตรการป้องกันแก้ไขแต่ประสิทธิภาพต่ํา 3 3.4 มีมาตรการป้องกันแก้ไขที่มีประสิทธิภาพปานกลาง 2 3.5 มีมาตรการป้องกันแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ 1 มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 7. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 7 ตารางที่ 1 (ต่อ) ปัจจัย คะแนน 4. ความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะ 4.1 เสียหายมาก ราคาที่ดินสูง พื้นที่ชุมชนหนาแน่น มีโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภคดี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่สําคัญ 5 4.2 เสียหายปานกลาง ราคาที่ดนปานกลาง ชุมชนไม่หนาแน่น โครงสร้างพื้นฐาน ิ สาธารณูปโภคปานกลาง ไม่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือสถานที่สําคัญ 3 4.3 เสียหายน้อย ราคาที่ดินต่ํา ไม่เป็นที่ชุมชน ไม่มีโครงสร้างพื้นฐานหรือสาธารณูปโภค 1 5. ความตระหนักของชุมชนในปัญหาการกัดเซาะ 5.1 ชุมชนมีความเดือดร้อนสูงและมีการยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังราชการ 5 5.2 ชุมชนมีความเดือดร้อนแต่ยังไม่มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม 4 5.3 ชุมชนมีความเดือดร้อน ส่วนท้องถิ่นเข้าแก้ไขปัญหาชั่วคราว 3 5.4 มีการศึกษาและมีแผนงานแก้ไขปัญหาแล้ว 2 5.5 มีโครงสร้างชายฝั่งเพื่อการแก้ปัญหาระยะยาว 1 ข) กําหนดค่าน้ําหนักของแต่ละปัจจัย ใช้วิธีการเปรียบเทียบความสําคัญของทั้ง 5 ปัจจัย แสดงในรูปของการถ่วงน้ําหนัก (Weighing Factor) โดยมีหลักเกณฑ์ของการเปรียบเทียบดังนี้คือ - หากปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญมากกว่าปัจจัยในแนวนอนจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 1 - หากปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญเท่ากับปัจจัยในแนวนอนจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 2 - หากปัจจัยในแนวตั้งมีความสําคัญน้อยกว่าปัจจัยในแนวนอนจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 3 - หากปัจจัยแนวตั้งและแนวนอนเป็นปัจจัยเดียวกันจะให้ค่าเปรียบเทียบเท่ากับ 0 (ตารางที่ 2) มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 8. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 8 ตารางที่ 2 ผลการคํานวณค่าน้ําหนักความสําคัญ (Weighing Factor) ของปัจจัยต่าง ๆ คะแนน ค่า ปัจจัย (X1) (X2) (X3) (X4) (X5) รวม น้ําหนัก 1. ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง (X1) 0 1 3 1 1 6 0.150 2. การใช้ประโยชน์ที่ดิน (X2) 3 0 3 1 3 10 0.250 3. มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (X3) 1 1 0 1 1 4 0.100 4. ความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะ (X4) 3 3 3 0 3 12 0.300 5. ความตระหนักของชุมชนในปัญหาการกัดเซาะ (X5) 3 1 3 1 0 8 0.200 รวม 10 6 12 4 8 40 1.000 ผลจากการการเปรียบเทียบแต่ละปัจจัย จะได้ค่าน้ําหนักความสําคัญ (Weighing Factor) ดังนี้ - ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (X1) มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.200 - การใช้ประโยชน์ที่ดิน (X2) มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.250 - มาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง (X3) มีคาน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.150 ่ - ความเสียหายเนื่องจากการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (X4) มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.250 - ความตระหนักของชุมชนในปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง(X5)มีค่าน้ําหนักความสําคัญเป็น 0.150 ค) จัดลําดับสําคัญความรุนแรงของพื้นที่ การจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ท่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง คิดจาก ี ค่าคะแนนรวมของผลคูณระหว่างค่าน้ําหนักและค่าคะแนนในแต่ละปัจจัย ซึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ใน รูปสมการ F = 0.200X1 + 0.250X2 + 0.150X3 + 0.250X4 + 0.150X5 เมื่อ F = ค่าคะแนนรวม 0.200....150 = ค่าน้ําหนักปัจจัยที่ 1 ถึงปัจจัยที่ 5 X1 ......X5 = ค่าคะแนนปัจจัยที่ 1 ถึงปัจจัยที่ 5 จากสมการดังกล่าวค่าคะแนนรวมสูงสุด (F) ของผลคูณระหว่างค่าน้ําหนักและค่า คะแนนในแต่ละปัจจัย จะมีคาเท่ากับ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลหากพื้นที่ใดที่มีคะแนนรวมเท่ากับ 5 ถือเป็น ่ พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยสูงสุดลําดับที่ 1 ส่วนพื้นที่ที่มีคะแนนรวมรองลงมา จัดเป็นพื้นที่วกฤติเสี่ยงภัยรองลงมา ิ ตามลําดับ มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 9. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 9 7. ผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 7.1 การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ชายฝั่งบริเวณพื้นที่ศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้งในรูปแบบการกัดเซาะและการสะสมตัว ซึ่งสามารถ สรุปได้ดังนี้ (ตารางที่ 3 และรูปที่ 2) จังหวัดชุมพร ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดชุมพรความยาว 262 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ การกัดเซาะจํานวน 6 พื้นที่ (รูปที่ 3 และรูปที่ 9) เป็นระยะทางยาวประมาณ 15.1 กิโลเมตร ซึ่งทั้งหมด เกิดขึ้นในระดับปานกลาง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 5 พื้นที่ เป็นระยะทาง ยาวประมาณ 45.0 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 201.9 กิโลเมตร เมื่อ เปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สินสกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวระยะทางเพิ่มขึ้น และพื้นที่คง สภาพมีระยะทางลดลง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดสุราษฎร์ธานีความยาว 176 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงใน รูปแบบการกัดเซาะจํานวน 5 พื้นที่ (รูปที่ 4 และรูปที่ 10) เป็นระยะทางยาวประมาณ 19.1 กิโลเมตร โดย เกิดการกัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 1 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 12 พื้นที่ เป็นระยะทางยาวประมาณ 28.0 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 128.9 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สินสกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมี ระยะทางเพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางลดลง จังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชความยาว 257 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลง ในรูปแบบการกัดเซาะจํานวน 9 พื้นที่ (รูปที่ 5 และรูปที่ 11) เป็นระยะทางยาวประมาณ 25.4 กิโลเมตร โดยเกิดการกัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 2 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 8 พื้นที่ เป็นระยะทางยาวประมาณ 29.7 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 201.9 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สินสกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมี ระยะทางเพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางเพิ่มขึ้น มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 10. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 10 จังหวัดสงขลา ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดสงขลาความยาว 162 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ การกัดเซาะจํานวน 7 พื้นที่ (รูปที่ 6 และรูปที่ 12) เป็นระยะทางยาวประมาณ 23.4 กิโลเมตร โดยเกิดการ กัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 4 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 3 พื้นที่ เป็น ระยะทางยาวประมาณ 4.7 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 133.9 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สิน สกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมีระยะทาง ลดลง และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางเพิ่มขึ้น จังหวัดปัตตานี ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดปัตตานีความยาว 152 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ การกัดเซาะจํานวน 8 พื้นที่ (รูปที่ 7 และรูปที่ 13) เป็นระยะทางยาวประมาณ 23.5 กิโลเมตร โดยเกิดการ กัดเซาะในระดับรุนแรงจํานวน 7 พื้นที่ และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 10 พื้นที่ เป็นระยะทางยาวประมาณ 24.8 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 103.8 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สิน สกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางเท่าเดิม พื้นที่สะสมตัวมีระยะทาง เพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางลดลง จังหวัดนราธิวาส ตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดนราธิวาสความยาว 59 กิโลเมตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ การกัดเซาะจํานวน 5 พื้นที่ (รูปที่ 8 และรูปที่ 14) เป็นระยะทางยาวประมาณ 10.8 กิโลเมตร โดยทั้งหมด เกิดการกัดเซาะในระดับปานกลาง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการสะสมตัวจํานวน 6 พื้นที่ เป็น ระยะทางยาวประมาณ 32.4 กิโลเมตร ส่วนที่เหลือเป็นชายฝั่งคงสภาพระยะทางยาวประมาณ 16.0 กิโลเมตร เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปี 2545 ของกรมทรัพยากรธรณี (สิน สิน สกุลและคณะ, 2545) (ตารางที่ 4) พบว่าพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางลดลง พื้นที่สะสมตัวมีระยะทาง เพิ่มขึ้น และพื้นที่คงสภาพมีระยะทางลดลงเล็กน้อย มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 11. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 11 ตารางที่ 3 แสดงการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยปี 2550-2551 กัดเซาะชายฝั่ง จังหวัด อําเภอ หมู่บ้าน สะสมตัว รุนแรง ปานกลาง จ.ชุมพร อ.ปะทิว หาดทุ่งวัวแล่น 2.35 ม./ปี บ.ท่าแอต-บ.ทุ่งมหา 4.07 ม./ปี บ.บ่อเมา-บ.แหลมแท่น 2.27 ม./ปี อ.เมือง หาดทรายรี 3.64 ม./ปี บ.สามเสียม-บ.ดอนนาว 4.77 ม./ปี บ.ปากมหาด-บ้านคอสน 2.36 ม./ปี อ.สวี บ.ท่าเข้-บ้านบ่อคา 6.14 ม./ปี อ.หลังสวน บ.หัวแหลม 2.11 ม./ปี บ.คอเขา 2.28 ม./ปี บ.บางมั่น 2.82 ม./ปี อ.ละแม บ.ปากน้ําละแม 3.30 ม./ปี จ.สุราษฎร์ธานี อ.ท่าชนะ บ.ปากน้ําท่ากระจาย 3.80 ม./ปี 6.32 ม./ปี บ.ปากน้ํากิ่ว 3.71 ม./ปี บ.ปากน้ําท่าม่วง 5.85 ม./ปี อ.ไชยา บ.ตะกรบ 2.02 ม./ปี บ.บ่อคา 2.56 ม./ปี บ.แหลมทราย 5.04 ม./ปี บ.ไทรงาม 11.74 ม./ปี อ.ท่าฉาง บ.ธารน้ําร้อน 12.76 ม./ปี ปากคลองบางปิด 34.48 ม./ปี อ.พุนพิน บ.คลองกอ-บ.คลองราง 10.99 ม./ปี บ.บางไทร 18.54 ม./ปี บ.คลองสุข 8.42 ม./ปี 6.03 ม./ อ.ดอนสัก บ.พอด ปี 2.80 ม./ปี บ.ท้องอ่าว 2.24 ม./ปี บ.ทางข้าม-บ.บางน้ําจืด 3.86 ม./ปี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 12. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 12 ตารางที่ 3 (ต่อ) กัดเซาะชายฝั่ง จังหวัด อําเภอ หมู่บ้าน สะสมตัว รุนแรง ปานกลาง จ.นครศรีธรรมราช อ.สิชล บ.เสาเภา 2.29 ม./ปี บ.ทุ่งไสย-บ.ฝายท่า 5.78 ม./ปี บ.เสาเภา 3.45 ม./ปี อ.ท่าศาลา บ.เราะ 2.68 ม./ปี บ.ด่านภาษี-บ้านสระบัว 3.16 ม./ปี บ.ปากดวด 3.95 ม./ปี บ.ท่าสูงบน-บ.ปากน้ําใหม่ 25.79 ม./ปี 6.17 ม./ อ.ปากพนัง บ.ปลายทราย-แหลมตะลุมพุก ปี 6.53 ม./ปี บ.เนินน้ําหัก-บ.ชายทะเล 2.23 ม./ปี บ.เนินตาขํา-บ.มะขามเทศ 2.41 ม./ปี บ.ท่าเข็น-บ.เกาะทัง 2.64 ม./ปี 7.78 ม./ บ.หน้าโกฏิ-บ.นําทรัพย์ ปี 5.84 ม./ปี บ.ชายทะเล 3.42 ม./ปี อ.หัวไทร บ.เกาะเพชร-บ.หน้าศาล 3.38 ม./ปี บ.แพรกเมือง 4.04 ม./ปี 9.72 ม./ จ.สงขลา อ.สิงหนคร บ.หาดทรายแก้ว ปี อ.เมือง บ.เก้าเส้ง 4.41 ม./ปี บ.บ่ออิฐ 2.48 ม./ปี หาดสมิหลา 7.53 ม./ปี อ.จะนะ บ.คูน้ํารอบ-บ.ปากบาง 2.67 ม./ปี 8.37 ม./ บ.บ่อโซน-บ.ปากบางสะกอม ปี 9.78 ม./ อ.เทพา บ.ปากบางเทพา ปี บ.คลองประดู่ - บ.เกาะแล 10.32 หนัง ม./ปี บ.ปากบางสะกอม 16.35 ม./ปี บ.เกาะแลหนัง 19.61 ม./ปี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 13. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 13 ตารางที่ 3 (ต่อ) กัดเซาะชายฝั่ง จังหวัด อําเภอ หมู่บ้าน สะสมตัว รุนแรง ปานกลาง 11.02 ม./ จ.ปัตตานี อ.หนองจิก บ.ตันหยงเปาว์ ปี บ.สายหมอ - บ.บะอิง 7.58 ม./ปี 9.24 ม./ปี บ.ปากบางตาวา 9.12 ม./ปี บ.บางราพา 6.77 ม./ปี 21.74 ม./ อ.เมือง บ.รูสะมิแล ปี 16.92 ม./ บ.แหลมนก ปี อ.ยะหริ่ง บ.ตะโละสะมิแล-บ.ปาตาบูดี 6.08 ม./ปี 7.63 ม./ปี บ.ปาตา - บ.ท่าพง 6.58 ม./ปี 6.38 ม./ปี อ.ปานา เระ บ.คลองต่ํา - บ.ปะนาเระ 9.39 ม./ปี 5.53 ม./ปี บ.บางมะรวด 3.82 ม./ปี 7.98 ม./ปี บ้านแฆแฆ 5.73 ม./ปี อ.สายบุรี บ้านบน - บ้านลุ่ม 8.40 ม./ปี บ้านบางเก่าทะเล 7.64 ม./ปี จ.นราธิวาส อ.เมือง บ.โคกเคียน-หาดนราทัศน์ 3.44 ม./ปี 3.63 ม./ปี บ.บางมะนาว-บ.บูกิตอ่าว มะนาว 2.33 ม./ปี 3.32 ม./ปี บ.โคกเคียน-บ.โคกขี้เหล็ก 3.62 ม./ปี อ.ตากใบ บ.สะปอม-บ.กูบู 3.14 ม./ปี 1.74 ม./ปี บ.คลองตัน-บ.ปูลาเจ๊ะมูดอ 3.05 ม./ปี 1.15 ม./ปี บ.เกาะยาว-บ.ตาบา 3.45 ม./ปี 1.51 ม./ปี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 14. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 17 ตารางที่ 4 สรุปการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ระหว่างปี 2545 และปี 2550-2551 (หน่วย : กิโลเมตร) ชายฝั่งกัดเซาะ ชายฝั่งสะสมตัว ชายฝั่งคงสภาพ * จังหวัด รุนแรง ปานกลาง รวม รวม ปี 2445 ปี 2550 ปี 2445 ปี 2550 ปี 2445 ปี 2550 ปี 2445 ปี 2550 ปี 2445 ปี 2550 16.6 15.1 11.0 45.0 234.4 1) ชุมพร _ _ 16.6 15.1 (6.3%) (5.8%) (4.2%) (17.2%) (89.5%) 201.9 (77.1%) 262 23.5 19.1 9.2 28.0 143.3 2) สุราษฎร์ธานี 8 10.2 15.5 8.9 (13.4%) (10.9%) (5.2%) (15.9%) (81.4%) 128.9 (73.2%) 176 110.5 25.4 14.0 29.7 132.5 3) นครศรีธรรมราช 60 4.8 50.5 20.6 (43.0%) (9.9%) (5.4%) (11.6%) (51.6%) 201.9 (78.6%) 257 37.0 23.4 31.5 4.7 4) สงขลา 4 18.6 33 4.8 (22.8%) (14.4%) (19.4%) (2.9%) 93.5 (57.7%) 133.9 (82.7%) 162 23.5 23.5 6.0 24.8 122.5 5) ปัตตานี 11 22.6 12.5 0.9 (15.5%) (15.5%) (3.9%) (16.3%) (80.6%) 103.8 (68.3%) 152 41.2 10.8 1.5 32.4 6) นราธิวาส 25.2 _ 16 10.8 (69.8%) (18.3%) (2.5%) (54.9%) 16.3 (27.6%) 16.0 (27.1%) 59 รวม 108.2 56.2 144.1 61.06 252.3 117.24 73.2 164.57 742.5 786.24 1,068 เปอร์เซ็นต์ 23.62 10.98 6.85 15.41 69.52 73.61 100 หมายเหตุ : 1) * คํานวณโดยใช้ เส้นขอบชายฝั่งรวม - (พื้นที่ชายฝั่งกัดเซาะ + ชายฝั่งสะสมตัว) 2) ข้อมูลปี 2550 คํานวณจากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ส่วนข้อมูลปี 2545 ดัดแปลงจาก สิน สินสกุลและคณะ (2545) มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 15. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 18 รูปที่ 2 แผนทีแสดงการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยปี 2550-2551 ่ มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 16. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 19 รูปที่ 3 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.ชุมพร มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 17. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 20 รูปที่ 4 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.สุราษฎร์ธานี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 18. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 21 รูปที่ 5 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.นครศรีธรรมราช มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 19. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 22 รูปที่ 6 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.สงขลา มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 20. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 23 รูปที่ 7 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.ปัตตานี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 21. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 24 รูปที่ 8 แสดงพื้นที่เปลี่ยนแปลงชายฝั่ง จ.นราธิวาส มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 22. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 25 ชายฝั่งหาดทุ่งวัวแล่น อ.ปะทิว ชายฝั่งหาดทรายรี อ.เมือง ชายฝั่งบ้านหัวแหลม อ.หลังสวน ชายฝั่งบ้านคอเขา อ.หลังสวน ชายฝั่งบ้านบางมั่น อ.หลังสวน ชายฝั่งบ้านปากน้ําละแม อ.ละแม รูปที่ 9 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดชุมพร มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 23. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 26 ชายฝั่งบ้านปากน้ําท่ากระจาย อ.ท่าชนะ ชายฝั่งบ้านปากน้ํากิ่ว อ.ท่าชนะ ชายฝั่งบ้านตะกรบ อ.ไชยา ชายฝั่งบ้านพอด อ.ดอนสัก ชายฝั่งบ้านพอด อ.ดอนสัก ชายฝั่งบ้านท้องอ่าว อ.ดอนสัก รูปที่ 10 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 24. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 27 ชายฝั่งบ้านเสาเภา อ.สิชล ชายฝังบ้านเราะ อ.ท่าศาลา ่ ชายฝั่งบ้านสระบัว อ.ท่าศาลา ชายฝั่งบ้านแหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง ชายฝั่งบ้านเนินน้ําหัก อ.ปากพนัง ชายฝั่งบ้านมะขามเทศ อ.ปากพนัง ชายฝั่งบ้านเกาะทัง อ.ปากพนัง ชายฝั่งบริเวณบ้านหน้าโกฏิ อ.ปากพนัง รูปที่ 11 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 25. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 28 ชายฝังหาดทรายแก้ว อ.สิงหนคร ่ ชายฝั่งชุมชนเก้าเส้ง อ.เมือง ชายฝั่งบ้านบ่ออิฐ อ.เมือง ชายฝั่งบ้านคูน้ํารอบ อ.จะนะ ชายฝั่งบ้านปากบางสะกอม อ.จะนะ ชายฝั่งบ้านปากบางเทพา อ.เทพา รูปที่ 12 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดสงขลา มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 26. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 29 ชายฝั่งบ้านตันหยงเปาว์ อ.หนองจิก ชายฝั่งบ้านสายหมอ อ.หนองจิก ชายฝั่งบ้านตะโล๊ะสมิแล อ.ยะหริ่ง ชายฝั่งบ้านปากบางตาวา อ.หนองจิก ชายฝั่งบ้านปาตา อ.ยะหริ่ง ชายฝั่งบ้านคลองต่ํา อ.ปะนาเระ ชายฝั่งบ้านบางมะรวด อ.ปะนาเระ ชายฝั่งบ้านบน-บ้านลุ่ม รูปที่ 13 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดปัตตานี มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 27. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัตครบ 60 ปี ิ 30 ชายฝั่งบ้านโคกเคียน อ.เมือง ชายฝั่งหาดนราทัศน์ อ.เมือง ชายฝั่งบ้านกูบู อ.ตากใบ ชายฝั่งบ้านคลองตัน อ.ตากใบ รูปที่ 14 สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณจังหวัดนราธิวาส 7.2 พื้นที่วกฤติเสี่ยงภัย ิ ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดลําดับความสําคัญของพื้นที่ที่เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพื่อกําหนดเป็น พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางเลือกแบบหลายปัจจัย (Multi Criteria Analysis : MCA) เมื่อ นําค่าคะแนนรวมของแต่ละพื้นที่ (6 จังหวัด 40 พื้นที่ ) มาจัดลําดับความสําคัญระดับภาค สามารถจัดลําดับ พื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยที่ต้องดําเนินแก้ไขปัญหาตามลําดับดังตารางที่ 5 มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 28. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 31 ตารางที่ 5 แสดงลําดับของพื้นที่วิกฤติเสี่ยงภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ค่าน้ําหนัก 1 ค่าคะแนน 1 ค่าน้ําหนัก 2 ค่าคะแนน 2 ค่าน้ําหนัก 3 ค่าคะแนน 3 ค่าน้ําหนัก 4 ค่าคะแนน 4 ค่าน้ําหนัก 5 ค่าคะแนน 5 คะแนนรวม ลําดับ พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง จังหวัด 1 บ้านพอด จ.สุราษฎร์ธานี 0.150 5 0.250 5 0.100 5 0.300 5 0.200 5 5.000 2 บ้านบน – บ้านลุ่ม จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 5 0.100 3 0.300 5 0.200 5 4.800 3 บ้านปากบางเทพา จ.สงขลา 0.150 5 0.250 5 0.100 3 0.300 5 0.200 4 4.600 4 บ้านบ่อโซน - บ้านปากบางสะกอม จ.สงขลา 0.150 5 0.250 4 0.100 3 0.300 5 0.200 5 4.550 5 หาดทุ่งวัวแล่น จ.ชุมพร 0.150 3 0.250 5 0.100 5 0.300 5 0.200 4 4.500 6 บ้านตะโล๊ะสมิแล - บ้านปาตาบูดี จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 3 0.100 4 0.300 5 0.200 5 4.400 7 หาดทรายรี จ.ชุมพร 0.150 3 0.250 5 0.100 5 0.300 5 0.200 3 4.300 บ้านด่านภาษี - บ้านสระบัว จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 5 0.100 3 0.300 5 0.200 4 4.300 หาดทรายแก้ว จ.สงขลา 0.150 5 0.250 5 0.100 4 0.300 5 0.200 2 4.300 บ้านปาตา – บ้านท่าพง จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 3 0.100 5 0.300 5 0.200 4 4.300 8 บ้านปลายทราย - แหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช 0.150 5 0.250 5 0.100 5 0.300 3 0.200 4 4.200 9 บ้านเก้าเส้ง จ.สงขลา 0.150 3 0.250 5 0.100 3 0.300 5 0.200 3 4.100 บ้านคลองต่ํา - บ้านปะนาเระ จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 3 0.100 3 0.300 5 0.200 4 4.100 10 บ้านท้องอ่าว จ.สุราษฎร์ธานี 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 5 0.200 3 4.050 มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 29. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 32 ตารางที่ 5 (ต่อ) ค่าน้ําหนัก 1 ค่าคะแนน 1 ค่าน้ําหนัก 2 ค่าคะแนน 2 ค่าน้ําหนัก 3 ค่าคะแนน 3 ค่าน้ําหนัก 4 ค่าคะแนน 4 ค่าน้ําหนัก 5 ค่าคะแนน 5 คะแนนรวม ลําดับ พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง จังหวัด 11 บ้านสายหมอ - บ้านบะอิง จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 5 0.100 2 0.300 3 0.200 4 3.900 12 บ้านท่าเข็น - บ้านเกาะทัง จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 3 0.200 5 3.850 บ้านตันหยงเปาว์ จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 4 0.100 2 0.300 3 0.200 5 3.850 13 บ้านปากน้ําท่ากระจาย จ.สุราษฎร์ธานี 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 3 0.200 4 3.650 บ้านเนินตาขํา - บ้านมะขามเทศ จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 3 0.200 4 3.650 14 บ้านเกาะเพชร - บ้านหน้าศาล จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 5 0.100 2 0.300 5 0.200 1 3.600 15 บ้านบางมะนาว-บ้านบูกิตอ่าวมะนาว จ.นราธิวาส 0.150 3 0.250 5 0.100 3 0.300 3 0.200 3 3.500 16 บ้านเนินน้ําหัก - บ้านชายทะเล จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 3 0.200 3 3.450 17 บ้านบ่ออิฐ จ.สงขลา 0.150 3 0.250 5 0.100 2 0.300 3 0.200 3 3.400 บ้านปากน้ํากิ่ว จ.สุราษฎร์ธานี 0.150 3 0.250 3 0.100 5 0.300 3 0.200 4 3.400 18 บ้านโคกเคียน-หาดนราทัศน์ จ.นราธิวาส 0.150 3 0.250 4 0.100 2 0.300 5 0.200 1 3.350 บ้านคูน้ํารอบ - บ้านปากบาง จ.สงขลา 0.150 3 0.250 4 0.100 2 0.300 3 0.200 4 3.350 19 บ้านหัวแหลม จ.ชุมพร 0.150 3 0.250 4 0.100 3 0.300 3 0.200 3 3.250 บ้านเราะ จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 4 0.100 3 0.300 3 0.200 3 3.250 มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 30. ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี 33 ตารางที่ 5 (ต่อ) ค่าน้ําหนัก 1 ค่าคะแนน 1 ค่าน้ําหนัก 2 ค่าคะแนน 2 ค่าน้ําหนัก 3 ค่าคะแนน 3 ค่าน้ําหนัก 4 ค่าคะแนน 4 ค่าน้ําหนัก 5 ค่าคะแนน 5 คะแนนรวม ลําดับ พื้นที่กัดเซาะชายฝั่ง จังหวัด 20 บ้านบางมะรวด จ.ปัตตานี 0.150 3 0.250 3 0.100 3 0.300 3 0.200 4 3.200 21 บ้านคลองตัน-บ้านปูลาเจ๊ะมูดอ จ.นราธิวาส 0.150 3 0.250 3 0.100 2 0.300 5 0.200 1 3.100 22 บ้านคอเขา จ.ชุมพร 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 1 0.200 4 3.050 บ้านบางมั่น จ.ชุมพร 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 1 0.200 4 3.050 ปากน้ําละแม จ.ชุมพร 0.150 3 0.250 4 0.100 5 0.300 1 0.200 4 3.050 23 บ้านหน้าโกฏิ - บ้านนําทรัพย์ จ.นครศรีธรรมราช 0.150 5 0.250 4 0.100 1 0.300 3 0.200 1 2.950 24 บ้านตะกรบ จ.สุราษฎร์ธานี 0.150 3 0.250 3 0.100 5 0.300 1 0.200 4 2.800 25 บ้านเสาเภา จ.นครศรีธรรมราช 0.150 3 0.250 4 0.100 2 0.300 3 0.200 1 2.750 26 บ้านคลองประดู่ - บ้านเกาะแลหนัง จ.สงขลา 0.150 5 0.250 3 0.100 5 0.300 1 0.200 1 2.500 27 บ้านปากบางตาวา จ.ปัตตานี 0.150 5 0.250 3 0.100 3 0.300 1 0.200 1 2.300 28 บ้านสะปอม-บ้านกูบู จ.นราธิวาส 0.150 3 0.250 4 0.100 3 0.300 1 0.200 1 2.250 29 บ้านเกาะยาว-บ้านตาบา จ.นราธิวาส 0.150 3 0.250 3 0.100 2 0.300 1 0.200 1 1.900 มูลนิธิศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์