SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 28
Descargar para leer sin conexión
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิธีมาตรฐานในการแปรรูป
วัตถุดิบสมุนไพรสำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการด้านสมุนไพร และผู้สนใจ โดยได้รับงบประมาณ
จากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ภายใต้โครงการ Lanna
Health Hub 2013 เนื้อหาประกอบด้วย การเก็บเกี่ยววัตถุดิบสมุนไพร การปฏิบัติการหลังการเก็บ
เกี่ยวและแปรรูปสมุนไพรต่าง ๆ 14 ชนิด การประเมินคุณภาพสมุนไพร การปนเปื้อนโลหะหนักใน
วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
ด้านวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่
คณะผู้จัดทำหวังว่าข้อมูลการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเกษตรกรและ
ผู้ประกอบการด้านสมุนไพร ในการนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานหากมีข้อบกพร่องอันใด
คณะผู้จัดทำขอน้อมรับและจะได้ปรับปรุงในครั้งต่อไป
คณะผู้จัดทำ
						 กรกฎาคม 2556
ก
รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพของเอเชีย (Medical
Hub of Asia) ในธุรกิจบริการการแพทย์และทันตกรรม ธุรกิจสปาและนวด ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพร
และธุรกิจการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจังหวัดเชียงใหม่ ตอบสนองนโยบายมาตั้งแต่
ปี 2547 โดยใช้ชื่อโครงการ Chiang Mai Health Hub และต่อมาได้ขยายเป็นกลุ่มจังหวัดภายใต้
ชื่อ โครงการ Lanna Health Hub ครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน
	 ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพร มี Supply Chainค่อนข้างยาวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
	 ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ สถานที่ เครือข่ายเกษตรกร และการเพาะปลูก ไทยใช้มาตรฐาน
GAP ได้แก่ การแปรรูปเบื้องต้น โรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP การประเมินคุณภาพ
ภายใต้ห้องปฎิบัติการและวิธีการมาตรฐาน การวิจัยทางคลินิค ได้แก่ การเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องเสริมสร้างจุดแข็งของการตลาด และการนำตลาดทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ ไทยแบ่งกลยุทธ์การดำเนินการเป็น 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 3 การ
ประชาสัมพันธ์และการตลาดซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายให้ทำเป็น
กลยุทธ์ที่ 1 และ 2 กลยุทธ์ที่ 3 มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพหลัก
การดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร
1. กลยุทธ์ที่ 1 : การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสมุนไพร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เชียงใหม่ ได้ดำเนินการดังนี้
1.1 การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสมุนไพรรวม
กลุ่มเป็นเครือข่ายต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ชมรมผู้ประกอบการโรงงานผลิตยาสมุนไพรเชียงใหม่
ชมรมผู้ประกอบเครื่องสำอางจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ (ดูแลโดยเกษตรจังหวัด)
เครือข่ายผู้ใช้ยาสมุนไพร ได้แก่ เครือข่ายหมอเมืองเชียงใหม่ สมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา
2. กลยุทธ์ที่ 2 : การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการดังนี้
2.1 การส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการพัฒนา
สมุนไพรครบวงจรตั้งแต่การคัดเลือกพันธ์ การเพาะปลูก จนถึงการสร้างโรงงานผลิตยาแผน
โบราณต้นแบบ การประเมินคุณภาพสมุนไพร และร้านจำหน่ายยาสมุนไพรต้นแบบ
	 2.2 การจัดตั้งคลินิคให้คำปรึกษาผู้ประกอบการสมุนไพรรายบุคคลด้านการผลิต
สมุนไพรมาตรฐาน GMP ด้านการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร และการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอาง
การตั้งตำรับเครื่องสำอาง และเทคนิคการแก้ไขปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์
	 2.3 การพัฒนาโรงงานผลิตยาสมุนไพรต้นแบบ ภาคเอกชน สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่
ได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการพัฒนา โดยให้นักวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มช. ดำเนินการ
สำรวจวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินงานของโรงงาน สูตรตำรับ วิธีการผลิต บรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน
และความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น และการนำผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานจากโรงงานผลิตยาสมุนไพร
ที่ได้มาตรฐานในกรุงเทพและจังหวัดต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา
ข ค
2.4 การจัดทำคู่มือแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร
เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกและนำวัตถุดิบสมุนไพร มาเข้ากระบวนการผลิตในโรงงาน
มีความสำคัญมาก เพราะจะสามารถลดปัญหาหลักที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ปัญหาด้านสิ่ง
ปนเปื้อนทางกายภาพ ปัญหาการปนเปื้อนทางเคมี โลหะหนัก ปัญหาด้านเชื้อจุลินทรีย์ปัญหา
ด้านสารสำคัญไม่ถูกต้องหรือไม่สูงพอ ดังนั้นจึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุข
จังหวัดเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
เขต 1 เชียงใหม่ ในการจัดทำคู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ใช้ในการเป็นแนวทางในการ
เก็บเกี่ยว การแปรรูปเบื้องต้น และการจัดการต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรดัง
ปรากฎในบทต่อไป
3. กลยุทธ์ที่ 3 การประชาสัมพันธ์และการตลาด
	 ดำเนินการโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ มีการเผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ผ่าน
สื่อต่าง ๆ ทั้งทางวารสาร ป้ายสนามบิน (Bill Board) การรับมอบผู้ประกอบการสมุนไพรที่ผ่าน
มาตรฐานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มาทำการบ่มเพาะให้เป็นธุรกิจที่มีมาตรฐาน
สูงขึ้นมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีความสามารถในด้านการค้าขายและการตลาดมากขึ้นโดย
การเข้าสู่ระบบ Chiang Mai Brand การดำเนินการจัดประชุมวิชาการสุขภาพนานาชาติต่อเนื่อง
6ครั้งและการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าด้านสุขภาพ ต่อเนื่อง 3 ครั้ง (Lanna Health
Fair) ส่งผลให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้โอกาส
ในการนำสินค้าและบริการสุขภาพมาแสดงในงานดังกล่าวนอกจากนี้ยังมีการนำผู้ประกอบการที่
มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นไปแสดงและจำหน่ายสินค้าสุขภาพในกรุงเทพฯและต่างประเทศเช่น งาน
ThailandTravel Mart งาน Thailand Tourism Festival งานแสดงสินค้าในประเทศจีน
ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ เป็นต้น
	 โดยสรุปแล้ว แม้ว่าการพัฒนาสมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนจะมี
ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มาก แต่เมื่อมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคการศึกษา มีการจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องหลายปี ก็สามารถคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ
สามารถพัฒนาสมุนไพรมาได้ในระดับหนึ่ง คาดว่าเมื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะต้นน้ำ คือ
เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรจะได้รับประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการกลางน้ำมีความต้อง
การวัตถุดิบสมุนไพร ที่มีคุณภาพ และปริมาณที่สูงมากขึ้นทุกปี ทั้งจะเป็นการลดการนำเข้าวัตถุ-
ดิบสมุนไพรจากต่างประเทศส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเองด้านยาสมุนไพรมากขึ้น
ง จ
ฉ ช
ช
	 การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรมาใช้ในการเตรียมยา พืชที่เก็บมาจะต้องมีปริมาณสารออกฤทธิ์เป็น
ไปตามข้อกำหนด ดังนั้นจะต้องมีการจัดการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว
ปริมาณสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัย
หนึ่งที่สำคัญ คือ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรซึ่งจะมีความแตกต่างกันใน
พืชสมุนไพรแต่ละชนิด และส่วนที่ใช้ของพืช เช่น
สมุนไพรประเภทรากหรือหัวหรือเหง้า ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโตใบและดอกร่วง
หมดหรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน
เปลือกรากหรือเปลือกต้น จะเก็บในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน
ใบหรือทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด ดอกโดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบานแต่
บางชนิดก็เก็บในช่วงดอกตูม
ผลและเมล็ดโดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่ แต่บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก ระยะเวลา
ที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวของพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างดังแสดงในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 แสดงระยะเวลาเก็บเกี่ยวของพืชสมุนไพรบางชนิด
2. วิธีการเก็บเกี่ยว
โดยทั่วไปวิธีการเก็บเกี่ยวส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำมาใช้ประโยชน์แบ่งออกตามส่วนที่ใช้ ดังนี้
1)	ประเภทรากหรือหัวหรือเหง้า การเก็บควรขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้รากหรือเหง้าที่สมบูรณ์
ไม่ถูกตัดหรือมีแผลจากอุปกรณ์ที่ใช้ขุดจากนั้นจึงตัดรากฝอยออก
2)	เปลือกรากหรือเปลือกต้น เก็บโดยการลอกเปลือกต้นหรือราก สำหรับการลอกเปลือกต้นอย่า
ลอกออกรอบทั้งต้นควรลอกออกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย หรือใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลม
ก็ได้เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการลำเลียงอาหารของพืชและไม่ควรลอกส่วนลำต้นใหญ่
ของต้น
3) ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น สำหรับใบเก็บโดยวิธีเด็ดหรือตัด ส่วนการเลือกเก็บใบแก่หรือใบไม่อ่อน
ไม่แก่เกินไป(ใบเพสลาด) ขึ้นกับชนิดของพืชที่ระบุให้เก็บ การเก็บทั้งต้นจะตัดเอาเฉพาะส่วนเหนือ
ดินขึ้นไป
4)	ประเภทดอกเก็บโดยวิธีเด็ดหรือตัดดอกตูม ดอกเริ่มบานหรือดอกแห้งตามกำหนด
5)	ประเภทผลและเมล็ดเก็บโดยใช้วิธีเด็ดหรือวิธีตัด โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้วแต่
บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก
เมื่อเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรออกจากแปลง
ปลูกหรือต้นพืชแล้วการปฏิบัติหลังการเก็บ-
เกี่ยวที่ถูกวิธีมีความสำคัญต่อคุณภาพของพืช
สมุนไพรที่ได้อย่างมาก ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติ
หลังการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดของพืชสมุน
ไพร และส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำไปใช้
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรโดย
ทั่วไปมีขั้นตอน ดังนี้
(1) การคัดแยกผลผลิต
ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรแล้ว
จะต้องคัดแยกสิ่งปลอมปนออกจากผลผลิต
สิ่งปนปลอมที่มักพบหรือปะปนมาและสามารถ
แยกออกด้วยสายตาได้แก่ หินดิน ทราย
ส่วนของพืชสมุนไพรที่มีรอยของแมลงหรือ
สัตว์กัดแทะ หรือส่วนของพืชที่เน่าเสียหรือ
มีเชื้อรขึ้น นอกจากนี้อาจพบส่วนอื่นของพืช
ที่ไม่ใช้หรือสมุนไพรอื่นที่คล้ายคลึงโดยทั่ว
ไปส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดินจะมีสิ่งปนเปื้อน
มากกว่าส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินจึงควรคัด
เลือกสิ่งปนปลอมเหล่านี้ออกให้หมดก่อนนำ
ไปทำความสะอาด
(2) การทำความสะอาด
	 หลังจากการคัดแยกสิ่งปลอมปนต่างๆ
ออกไปแล้ว นำพืชสมุนไพรมาทำความสะอาด
เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆเช่นฝุ่นละออง
เชื้อจุลินทรีย์ สารพิษตกค้างจำพวกโลหะ
อโลหะ ยาฆ่าแมลง และสารอะฟลาท็อกซิน
เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ส่วนของ
พืชบางชนิดไม่สามารถทำความสะอาดด้วย
น้ำ เช่น ดอก ผล และเมล็ดที่หลุดร่วงง่าย
อาจใช้ผ้าสะอาดเช็ดรากหรือลำต้นที่สะสม
อาหารหรือผลบางชนิดควรนึ่งหรือลวกน้ำร้อน
ก่อนทำให้แห้งจะทำให้เก็บรักษาได้นาน ป้อง
กันการเกิดเชื้อรา อีกทั้งความร้อนยังไปทำลาย
เอนไซม์ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการสลายสารใน
สมุนไพรได้ บางกรณีที่สารออกฤทธิ์สามารถ
ละลายน้ำได้ดี การล้างจะทำให้สูญเสียสาร
ออกฤทธิ์เหล่านั้นได้ เช่น สาหร่ายผมนาง
การล้างด้วยน้ำเพียงหนึ่งหรือสองครั้งจะทำ
ให้ปริมาณสารไอโอดีนในสาหร่ายลดลง
โดยเฉลี่ยร้อยละ 50 จึงไม่ควรแช่สมุนไพร
ในน้ำนาน ๆ สำหรับสมุนไพรแห้งจะเปราะ
หักและหลุดร่วงได้ง่าย การทำความสะอาด
ต้องระวังถ้าจำเป็นต้องล้างอาจใช้ภาชนะที่
มีตะแกรงกันสมุนไพรไหลลอยตามน้ำไป
(3) การตัดแต่งและลดขนาด
ก่อนจะนำพืชสมุนไพรไปทำให้แห้ง
จะต้องทำการตัดรากฝอยปอกเปลือกตัดส่วนที่
เน่าเสียมีโรคแมลงออกจากส่วนที่มีคุณภาพ
ดีสำหรับพืชสมุนไพรที่มีขนาดใหญ่หรือมีเนื้อ
แข็งต้องทำการตัดให้เล็กหรือบางลงเพื่อให้
แห้งง่ายและสะดวกในการเก็บรักษา เช่น
ก.การตากแห้งพืชสมุนไพรควรตากใน
ภาชนะโปร่งสะอาดควรป้องกันฝุ่นละอองและ
สัตว์ ควรตากในที่ร่ม การตากแดดควรมีลาน
ตากและยกให้สูงจากพื้นดิน มีหลังคาพลาสติก
คลุมไม่ตากแดดโดยตรง อาจใช้การปลูกเป็น
โรงไม้หลังคาเป็นตาข่ายหรือพลาสติกวาง
สมุนไพรบนแคร่หรือเสื่อ มีช่องระบายอากาศ
ด้านข้างเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและ ลมวิธีผึ่งใน
ที่ร่มเหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารระเหยง่าย
และควรคำนึงถึงสุขอนามัยให้มาก
ข.การอบแห้งพืชสมุนไพรจะใช้
อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบแตกต่างกัน
ไปตามส่วนของพืชสมุนไพรการใช้เครื่องอบ
แห้งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดเวลาและได้
สมุนไพรจำพวกรากหรือลำต้นใต้ดิน
เปลือกไม้เนื้อไม้ หรือผล ควรหั่นหรือฝานเป็น
ชิ้นบาง ๆ ก่อนทำให้แห้ง
(4) การทำให้แห้ง
พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้สดแล้ว ยังมีการ
นำมาทำให้แห้งเพื่อความสะดวกในการเก็บ
รักษา และการนำมาใช้ สมุนไพรที่มีความ
ชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย
และยังเร่งให้เกิดการสูญเสียสารออกฤทธิ์
ด้วย วิธีการทำแห้งทำโดยการตากแห้งหรือ
อบแห้งจนเหลือความชื้นในปริมาณที่เหมาะ
แก่การเก็บรักษาซึ่งโดยทั่วไปควรมีความชื้น
ไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งในการทำให้แห้งของสมุน
ไพรจะมีข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้
วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีแต่จะต้องมีการใช้ความ
ร้อนในการอบสมุนไพรให้เหมาะสมกับส่วน
ของสมุนไพรที่นำมาใช้ เช่น
•	 ดอกใบและพืชล้มลุก ใช้อุณหภูมิไม่
เกิน 55 องศาเซลเซียส
•	 เปลือก ราก และกิ่ง ใช้อุณหภูมิไม่
เกิน 65 องศาเซลเซียส
•	 ผลและเมล็ด ใช้อุณหภูมิ ไม่เกิน
80 องศาเซลเซียส
•	 สมุนไพรที่มีสารระเหยง่าย ใช้อุณหภูมิ
ไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส
•	 สมุนไพรที่มีไกลโคไซด์และอัลคาลอยด์
ใช้อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส เทคนิค
ในการอบสมุนไพรที่ถูกต้องมีดังนี้
•	 เกลี่ยสมุนไพรให้แผ่บางๆบนภาชนะถ้า
ซ้อนทับกันหนาทำให้เกิดความร้อนสมุนไพร
จะมีสีดำคุณภาพลดลง
•	 สมุนไพรที่เป็นดอกควรทำให้แห้งโดย
เร็วที่สุด เพื่อถนอมสีของดอกให้เหมือนเดิม
โดยวางให้กระจายบนกระดาษขาว
•	 ถ้าเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ควรผึ่งใน
ที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ดีหรือผึ่งแดดช่วงสั้น
เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ดอกไม้บางชนิด
อาจมัดรวมกันแขวนตากไว้บนราว ใบอาจ
ทำให้แห้งวิธีเดียวกับดอก ใบที่อุ้มน้ำไว้มาก
อาจเพิ่มความร้อนในการอบแห้งให้สูงกว่าปกติ
•	 ส่วนของพืชล้มลุกที่เป็นทั้งต้นถ้า ไม่
อุ้มน้ำมากอาจผูกมัดรวมเป็นกำแล้วตากแห้ง
•	 รากและลำต้นใต้ดิน เวลาที่ตากหรืออบ
แห้งในตู้ ควรหมั่นกลับสมุนไพรบ่อย ๆ
เพื่อป้องกันเชื้อรา
(5) การบดแร่ง
	 พืชสมุนไพรที่จะต้องนำมาบดเป็นผง
ละเอียด ควรอยู่ในสภาวะแห้งกรอบจึงจะบด
ได้ดี มีวิธีทดสอบความแห้งกรอบของพืช
สมุนไพรได้ง่าย ๆ คือ การลองหักสมุนไพรว่า
หักได้ง่ายหรือไม่ หรือลองป่นด้วยมือว่าเป็นผง
ได้ง่ายหรือไม่ สมุนไพรก่อนนำไปบดควรมีความ
ชื้นไม่เกินร้อยละ 5 การบดแร่งพืชสมุนไพรที่
ถูกวิธีนั้น ควรบดส่วนทั้งหมดของพืชสมุนไพร
โดยไม่ทิ้งส่วนที่ร่อนไม่ผ่านตะแกรงเนื่อง
จากส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรจะถูกบดเป็น
ผงได้ยากง่ายต่างกันและมักมีองค์ประกอบ
ทางเคมีแต่ละส่วนไม่เท่ากัน เช่น ฟ้าทะลายโจร
ใช้ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นยา แต่สารออกฤทธิ์
ประเภทแลกโตนจะมีอยู่ในส่วนใบมากกว่า
ลำต้น ถ้าหากเราเก็บแต่ละส่วนของสมุนไพร
ที่บดเป็นผงง่ายเท่านั้น จะทำให้ได้ผงยาที่มี
สารออกฤทธิ์ไม่สม่ำเสมอกันทุกครั้งวิธีแก้
ปัญหาอาจนำผงที่ไม่ผ่านแร่งไปบดรวมกับ
สมุนไพรรุ่นใหม่ที่มีจำนวนเท่ากับสมุนไพรรุ่น
แรกและบดจนเหลือผงยาที่ไม่ผ่านแร่งจำนวน
เท่ากับครั้งแรกจะทำให้ได้ผงยาที่มีสารออก
ฤทธิ์สม่ำเสมอกันทุกครั้งที่ บดเทคนิคการบด
สมุนไพรที่สำคัญ คือ ไม่ควรบดสมุนไพรแบบ
ต่อเนื่องโดยไม่ร่อนผงยาออกเป็นระยะๆ
เพราะจะทำให้ผงยาที่ละเอียดมากเกินต้อง
การและทำให้เกิดความร้อนระหว่างการบด
จะทำให้สารประกอบจำพวกน้ำมันที่มีอยู่ใน
ผงยาอัดกันแน่น ร่อนผ่านตะแกรงได้ยาก
การกำหนดขนาดของผงยาจะขึ้นอยู่กับรูป
แบบยาที่ต้องการ เครื่องมือผลิตและกระบวน
การผลิตเช่นผงยาที่จะนำไปบรรจุแคปซูล
หรือที่จะเตรียมเป็นยาเม็ดควรเป็นผงละเอียด
มาก โดยอย่างน้อยต้องผ่านตะแกรงขนาดเบอร์
60 ได้หมด
สมุนไพรที่นำไปสกัดด้วยวิธีชงขนาดของ
ผงยาจะขึ้นกับความแข็งของสมุนไพร
คุณสมบัติการละลายของสารออกฤทธิ์ใน
สมุนไพร วิธีการสกัด ระยะเวลาที่หมักน้ำยา
สกัดและความแรงของยา แต่ถ้าเป็นยาชงที่
บรรจุผงยาในถุงชาต้องแช่ละลายในน้าร้อน
หรือ น้ำเย็นก่อนรับประทาน ควรบดยาให้เข้า
เกณฑ์ คือ ผงยาจะต้องร่อนผ่านแร่งขนาด
เบอร์ 20 ได้หมด และผ่านแร่งขนาดเบอร์
60 ได้ไม่เกินร้อยละ40 เพราะหากเป็นผง
ละเอียดกว่านี้จะร่วงผ่านถุงชาออกมาได้ง่าย
(6) การบรรจุและเก็บรักษา
เมื่อพืชสมุนไพรแห้งสนิทแล้วจะเป็น
ขั้นตอนการเก็บรักษาซึ่งจะต้องมีการป้องกัน
ความชื้นที่เกิดกับพืช ป้องกันการเข้าทำลาย
ของแมลงเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งเป็น
องค์ประกอบสำคัญที่เร่งให้สมุนไพรเสื่อม
คุณภาพเร็วหลักการเก็บรักษาพืชสมุนไพรแห้ง
ควรปฏิบัติดังนี้
- ควรเก็บรักษาในที่สะอาดเย็นไม่อับชื้น
มีอากาศถ่ายเทได้ดีและไม่ถูกแสงแดด
- เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ป้องกันการ
ปนเปื้อนและแมลงเข้าทำลาย
- ควรแยกเก็บสมุนไพรแต่ละชนิดให้เป็น
สัดส่วนเป็นหมวดหมู่
- สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหรือที่มีสารระเหย
ต้องบรรจุในภาชนะ ที่ไม่ดูดกลิ่น
- ถ้าเป็นสมุนไพรที่ชื้นง่ายต้องหมั่นนำออก
ผึ่งแดดหรืออบแห้งทุก 2-3 เดือน
- ควรปิดฉลากแสดงรายละเอียดไว้ที่ภาชนะ
เช่นชื่อสมุนไพรวันเดือนปีที่เก็บ
- ไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 3 ปี เพราะ
สารสำคัญในสมุนไพรจะสูญเสียไปมากแล้ว
การเก็บรักษาพืชสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น
จะมีระยะเวลาการเก็บรักษาแตกต่างตาม
(7) การขนส่ง
การขนส่งควรทำอย่างระมัดระวัง
เพื่อไม่ให้พืชสมุนไพรช้ำหรือเสียหาย
ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งต้องเหมาะสม
กับชนิดของผลผลิต อุณหภูมิระหว่างการ
ขนส่งไม่ร้อนเกินไปหรือมีการซ้อนทับจนทำ
ให้คุณภาพของผลผลิตเสียหายและทำการ
ขนส่งให้ถึงผู้บริโภคหรือโรงงานเร็วที่สุด
ประเภทของพืชสมุนไพร ดังแสดงในตารางที่ 2
1. กระเจี๊ยบแดง
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 5-6 เดือนโดยจะเก็บเกี่ยวในช่วงประมาณเดือนธค.-
ม.ค. นำดอกกระเจี๊ยบแดง (ซึ่งจริง ๆ คือ กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกที่เจริญ) มากระทุ้งด้วยเหล็ก
ให้กลีบและกระเปาะหลุดออกจากกัน จากนั้นนำมาทำให้แห้งด้วยการตากแดด หรืออบ หากตาก
แดดให้ตากประมาณ 5-6 แดดจนแห้งสนิท
การแปรรูป
กระเจี๊ยบแห้งสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม(เช่น ชากระเจี๊ยบ ไวน์)และ
ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร (เช่นเยลลี่ แยม ไอศครีม ซอส) นอกจากนั้นยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี
ผสมอาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติของการให้สีธรรมชาติแทนสีที่ได้จากการสังเคราะห์
การแปรรูปชากระเจี๊ยบผงชงดื่ม
ผลผลิตกระเจี๊ยบแห้งที่รับซื้อจากเกษตรกรต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและตรวจวัดความชื้น
เพื่อคัดแยกเฉพาะกลีบเลี้ยงที่มีคุณภาพ ก่อนนำเข้าอบในตู้อบความร้อนที่อุณหภูมิ 50-60
องศาเซลเซียสนาน 4-5 ชม. ในส่วนของการแปรรูปชากระเจี๊ยบผง จะนำกระเจี๊ยบแห้งมาบดด้วย
เครื่องบดและร่อนด้วยเครื่องร่อน คัดเลือกขนาดตามเกณฑ์มาตรฐานชาสมุนไพร
จากนั้นจึงนำบรรจุซอง
อัตราแปรสภาพ
กระเจี๊ยบสดน้ำหนัก 10 กก.
ต่อกระเจี๊ยบแห้งน้ำหนัก 1 กก.
กระเจี๊ยบแห้งน้ำหนัก 1 กก.
ต่อกระเจี๊ยบผงน้ำหนัก 0.83 กก.
10 11
2. กวาวเครือขาว
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: หัวใต้ดิน
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
กวาวเครือขาวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่ง - 3 ปีขึ้นไป(หากปลูกโดย
การเพาะเมล็ด) แต่ถ้าปลูกด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป
โดยเกษตรกรนิยมขุดหัวกวาวเครือขาวในช่วงผลัดใบ (ฤดูแล้ง) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีสารสำคัญ
สะสมอยู่ในหัวมากที่สุด (ทั้งนี้ขนาด น้ำหนัก และปริมาณสารสำคัญมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน
สภาพแวดล้อมลักษณะการปลูก) และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวสดแล้ว ควรนำมาล้างทำความสะอาด
ฝานเป็นชิ้นบาง แล้วตากแดดประมาณ 3 วัน (ในขั้นตอนนี้ควรทำภายใน 3 - 4 วันเพื่อป้องกัน
ผลผลิตเน่าเสียหาย)
การแปรรูป
ปัจจุบันกวาวเครือขาวได้ถูกนำมาใช้เพื่อการแปรรูปอย่างหลากหลายและกว้างขวาง
ทั้งในและต่างประเทศ ในรูปของยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และใช้เป็นส่วนผสม
ในผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง (เช่นครีมพอกหน้าครีมบำรุงผิวหน้า)
3. ขมิ้น
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: เหง้าสด, แห้ง
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ขมิ้นชันควรเก็บในช่วงที่เจริญเติบโตเต็ม
ที่ อายุประมาณ9-11เดือนเพราะเหง้ามีความ
สมบูรณ์ สามารถเก็บรักษาเหง้าสดไว้ในสภาพ
ปกติได้นานและมีสารสำคัญมากเพียงพอ
โดยสังเกตจากลำต้นเหนือดินเริ่มเหี่ยวแห้งจน
แห้งสนิท จึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยวซึ่งจะอยู่ใน
ช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ ไม่ควรเก็บ
เกี่ยวในระยะที่เริ่มแตกหน่อเพราะทำให้มี
ปริมาณสารสำคัญต่ำ
การแปรรูป
หลังจากการเก็บเกี่ยว นำมาตัดแต่งราก
ล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดดินออก การแปร
รูปขมิ้นชันเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตซึ่งขึ้น
อยู่กับความต้องการของโรงงานแปรรูปที่
จะรับซื้อผลผลิตเพื่อเข้าสู่การผลิตในอุตสาหกรรม
แต่ละประเภทต่อไป ซึ่งการแปรรูปขั้นต้น
ได้แก่ การทำขมิ้นแห้ง การทำขมิ้นผง และ
การกลั่นน้ำมันหอมระเหยโดยแต่ละประเภท
มีรายละเอียดดังนี้
1) การทำขมิ้นชันแห้ง
นำเหง้าขมิ้นชันมาทำความสะอาดคัดแยก
หัวและแง่งออกจากกัน ตัดรากและส่วน
ต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการทิ้ง คัดเลือกส่วนที่
สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงนำมาล้าง
ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆครั้ง จากนั้น
นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ใส่ในภาชนะ
ที่มีรูโปร่งอย่าให้ทับซ้อนกัน นำไป
ตากแดดหมั่นกลับบ่อย ๆ ประมาณ 10-
20 นาทีต่อครั้ง จะทำให้ขมิ้นแห้งเร็วหรือ
หากมีตู้อบควรอบที่อุณหภูมิประมาณ 50
องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง หรือ
ตากแดด 3 วัน อบ 50 องศาเซลเซียส เป็น
เวลา 3 ชั่วโมง ในการทำแห้งโดยตากแดด
ที่ใช้เวลานานอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อ
จุลินทรีย์ได้และสีของขมิ้นแห้งจากการอบ
จะสม่ำเสมอกว่าการตากแดด ขมิ้นที่แห้ง
แล้วควรบรรจุในภาชนะที่สะอาดปิดให้
สนิทเก็บในที่แห้งและสะอาดหากยังไม่ได้
นำไปใช้ให้นำออกผึ่งในที่ร่มทุก 3-4 เดือน
และไม่ควรเก็บไว้นานเนื่องจากปริมาณ
น้ำมันหอมระเหยจะลดลงประมาณ 25 %
เมื่อเก็บไว้นาน 2 ปี
2) การทำขมิ้นชันผง
นำขมิ้นชันแห้งมาบดด้วยเครื่องบดหรือ
ด้วยการตำแล้วร่อนเอาเฉพาะผงขมิ้นนำมา
บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย ขมิ้นชันผงจะนำไปใช้
เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่นเครื่อง
สำอางลูกประคบผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด หรือ
ใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาโรคต่าง ๆ
เช่น ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร ใช้ลดอาการ
อักเสบ
อัตราแปรสภาพ :
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง เท่ากับ 6 ต่อ 1
12 13
4. คำฝอย
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: กลีบดอก
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ดอกคำฝอยมีระยะเวลาตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว
ประมาณ 4-6 เดือน โดยดอกหรือเกสรเก็บเมื่อต้น
มีอายุประมาณ 90-100 วัน (หรือสังเกตจาก
กลีบดอกมีสีแดงส้ม) ส่วนเมล็ดเก็บเมื่อต้นมี
อายุประมาณ 120-150 วัน ( หรือ 30 วัน
หลังจากดอกบาน) ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวทั้ง
ต้นหรือเฉพาะดอก จากนั้นนำกลีบดอกมา
ตากแห้งประมาณ 3 วัน หรือผึ่งลมประมาณ
7 วันเพื่อให้ได้กลีบดอกแห้ง
ผลผลิต : กลีบดอกสด 100-150 กก.ต่อไร่
(หรือดอกคำฝอยแห้ง 10-15 กก.ต่อไร่)
การแปรรูป
คำฝอยมีการนำมาใช้ทั้งในอุตสาหกรรม
ด้านอาหาร โดยการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเพื่อ
นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันปรุง
อาหาร มาการีน น้ำมันสลัด เนื่องจากพบว่าใน
เมล็ดมีปริมาณน้ำมันที่ประกอบไปด้วยกรด
ไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณมาก ส่วนกากที่เหลือ
จากการสกัดยังสามารถนำไปทำเป็นอาหาร
สัตว์หรือปุ๋ยได้ สำหรับผู้ประกอบการแปรรูป
ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น (กลุ่มแม่บ้าน, วิสาหกิจ
ชุมชน, โรงพยาบาล) ส่วนใหญ่จะแปรรูปจาก
กลีบดอกคำฝอยเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชงดื่ม
ได้แก่ ดอกคำฝอยแห้งบรรจุถุงชาดอกคำฝอย
เป็นต้น
อัตราแปรสภาพ
ดอกคำฝอยสดน้ำหนัก 10 กก.
ต่อดอกคำฝอยแห้งน้ำหนัก 1 กก.
ดอกคำฝอยแห้งน้ำหนัก 1 กก.
ต่อดอกคำฝอยผงน้ำหนัก 0.90 กก.
5. เจียวกู้หลาน (ปัญจขันธ์)
    ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ใบและเถา
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
	 เก็บเกี่ยวส่วนเหนือดินขึ้นมาประมาณ
23 ข้อ แล้วแยกส่วนใบก้านออกจากกัน
ล้างทำความสะอาดหลังจากนั้นนำมาตัด
เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 1 ซม.
การแปรรูป
นำปัญจขันธ์ที่ทำความสะอาดแล้วมาคั่ว
ด้วยไฟอ่อน แล้วอบที่อุณหภูมิ 40-60 องศา
เป็นเวลาประมาณ 4 ชม.
6. ตะไคร้หอม
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ใบสด
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ตะไคร้หอมเก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 6-8
เดือน อายุการให้ผลผลิต 2-3 ปี โดยตัดเอา
ส่วนใบซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน 25-30 เซนติเมตร
เพื่อให้ต้นที่เหลือแตกใบใหม่ได้เร็วขึ้น
เก็บเกี่ยวแต่ละครั้งให้ห่างกัน 3 เดือน ตัดได้
ปีละ 2-3 ครั้ง ใบที่ตัดมานำไปสกัดนํ้ามัน
หอมระเหยโดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ หรือกลั่น
ด้วยไอน้ำ
อัตราแปรสภาพ
ใบสด : นํ้ามันหอมระเหยเท่ากับ
1 ตัน : 1 ลิตร
14 15
7. บอระเพ็ด
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป
โดยเก็บเถาสดที่เจริญเต็ม ที่นำมาตาก
แดด 3-5 วัน จนแห้งสนิท จากนั้น
นำเถาแห้งมาหั่นเฉียงเป็นแว่น ๆ หนา
1-2 เซนติเมตรการตัดเถามาใช้ให้
เหลือเถาไว้ประมาณ 2-3 วา
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ
4-5 ต่อ : 1
8. พญายอ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ใบสด
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
	 เริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ6เดือนตัดต้น
เหนือผิวดิน 10 ซม. ล้างนํ้า 1-2 ครั้งผึ่งในที่
ร่มจนแห้งสนิท
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 4 ต่อ : 1
9. พริกไทย
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ผลแห้ง
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เก็บเมื่อผลสุก ผลพริกไทยช่อเดียวกันจะสุกเป็น
สีแดงไม่เท่า กันเมื่อพบว่ามีผลเริ่มสุกในช่อใดทำ
การเก็บช่อนั้นมาทั้งช่อ
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 3 :ต่อ 1
10. ไพล
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: เหง้า
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เหง้าไพลสามารถเก็บได้เมื่อมีอายุ 2-3 ปี เก็บ
ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนจะสังเกตเห็นต้น
ไพลแห้งและฟุบ ห้ามเก็บไพลขณะที่เริ่มแตกหน่อ
ใหม่เพราะจะทำให้ได้นํ้ามันไพลที่มีปริมาณและ
คุณภาพตํ่า
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : นํ้ามันหอมระเหยเท่ากับ
1 ตัน : 8-10 ลิตร
16 17
11. เพชรสังฆาต
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: เถาสด
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป
ใช้เถาหรือลำต้นสดทุกส่วน การตัดให้เหลือ
เถาไว้ 1-2 วา นำเถาไปหั่นแล้วอบให้แห้ง
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 6-7 : 1
12. ฟ้าทะลายโจร
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ทั้งต้น
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เก็บในช่วงเริ่มออกดอกอายุ 110-150 วัน
ใช้กรรไกรหรือเคียวเกี่ยวทั้งต้นให้เหลือตอสูง
ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปีหนึ่งเก็บเกี่ยว
ได้ 2-3 ครั้ง
การแปรรูป
ฟ้าทะลายโจรที่เก็บเกี่ยวแล้ว นำมาล้างนํ้า
ให้สะอาด ตากในที่ร่ม 5-7 วัน หรืออบที่
อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส จนแห้ง
สนิท บรรจุในถุงพลาสติกเก็บในบริเวณที่เย็น
และไม่โดนแสงแดด
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 4 : 1
13. มะแว้งเครือ
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ผลสด/แห้ง
การเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 8-10 เดือนเก็บผล
ในระยะเริ่มแก่แต่ยังไม่สุก สังเกตที่ผลเริ่มมีสีเหลืองส้ม
(ผลที่แก่เต็มที่จะมีสีส้มเข้ม)
การแปรรูป
นำผลที่เก็บมาล้างน้ำสะอาด ตากแดดเป็น
เวลา 3-5 วัน ให้แห้งสนิท หรืออบที่อุณหภูมิ
ประมาณ 50 องศาเซลเซียส จนแห้งสนิทบรรจุใน
ถุงพลาสติกเก็บในบริเวณที่เย็นและไม่โดนแสงแดด
อัตราแปรสภาพ
ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 3 : 1
14. ว่านหางจระเข้
ส่วนที่ใช้ประโยชน์: วุ้นในใบสด
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
เก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 8-12 เดือน โดยเก็บใบ
ล่างขึ้นไปสังเกตเนื้อวุ้นที่โคนใบด้านในเต็มและ
ลายที่ใบลบหมดแล้ว เก็บได้ปีละ 8 ครั้ง ระวัง
อย่าให้ใบว่านชํ้า
18 19
	 นุษย์เราใช้สมุนไพรในการรักษาอาการ
เจ็บป่วยมาเป็นเวลานาน ในอดีตผู้ใช้มักเก็บ
สมุนไพรตามป่าหรือมีการปลูกในบริเวณบ้าน
เพื่อใช้หรือนำมาแลกเปลี่ยนกันในระหว่างชุมชน
แต่เมื่อความต้องการสมุนไพรมีปริมาณมาก
ขึ้น บางชนิดเป็นสินค้าส่งออก มีความจำเป็น
ที่จะต้องสนองความต้องการของตลาด จึงมี
การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ทำให้คุณค่าของ
สมุนไพรในยุคปัจจุบันมีความผันแปรจาก
หลายปัจจัย ทำให้จำเป็นต้องศึกษาถึงคุณค่า
หรือคุณภาพของสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพร
ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทางยา คุณภาพของยา
สมุนไพรนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสารสำคัญ
ที่มีอยู่ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณภาพของ
สมุนไพรเปลี่ยนแปลงมีหลายประการ ได้แก่
สายพันธุ์ของพืชสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ
การปลูก การเก็บเกี่ยว เป็นต้น คุณภาพของ
ยาสมุนไพรที่เปลี่ยนแปลงส่งผลถึงคุณภาพ
ประสิทธิภาพของยาได้ จึงมีการกำหนดมาตร
ฐานของสมุนไพรขึ้น
การประเมินคุณภาพสมุนไพร หมายถึง การ
พิสูจน์ (identify) หรือ การตรวจสอบว่า
สมุนไพรนั้นเป็นชนิดที่ถูกต้องหรือไม่ มีสิ่ง
ปนปลอมหรือไม่ มีปริมาณสารสำคัญเท่าใด มี
คุณสมบัติอื่น ๆ ดีมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้โดย
พิจารณาจากค่าต่าง ๆ ที่หาได้ เช่น ความชื้น
สิ่งปนเปื้อน ปริมาณเถ้า ซึ่งในการตรวจสอบ
คุณภาพของสมุนไพรนั้นๆในแง่ของเอกลักษณ์
ความบริสุทธิ์ คุณสมบัติมีกระบวนการในการ
ตรวจสอบ ดังนี้
1. การตรวจสอบโดยใช้อวัยวะรับ
ความรู้สึก (organoleptic method)
คือ การใช้ประสาททั้งห้า รูปรสกลิ่น เสียง
สัมผัส ในการประเมิน วิธีนี้เป็นการตรวจ
สอบเบื้องต้นที่สำคัญ ซึ่งจะบอกลักษณะของ
พืชสมุนไพรในเบื้องต้นโดยเฉพาะรูปพรรณ
สัณฐานที่ปรากฏจะช่วยระบุชนิดพืชได้เนื่อง
จากพืชบางชนิดนั้นมีเอกลักษณ์ชัดเจน เช่น
จันทน์ 8 กลีบ มีรูปดาว 8 แฉก หรือโกฐกะ
กลิ้ง มีลักษณะคล้ายเม็กระดุมแบนๆ
20 21
นอกจากนั้น สีและลักษณะสังเกตภายนอก
รอยหักและสีภายในกลิ่นและรส ล้วนช่วยใน
การตรวจสอบชนิดพืช เช่น พืชบางชนิด
มีกลิ่นเฉพาะตัว ได้แก่ อบเชย เทียนข้าว
เปลือก ยี่หร่า มหาหิงคุ์ เป็นต้น
2. การตรวจสอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
(microscopic metod)
โดยอาศัยดูลักษณะเนื้อเยื่อเฉพาะ ดูขนาดและ
ปริมาณของสิ่งที่พบ เช่น เม็ดแป้ง ดูผลึกของ
สาร ตลอดจนหาค่าเฉพาะบางชนิดซึ่งการ
ตรวจสอบในวิธีนี้นอกจากจะช่วยตรวจเอก
ลักษณ์ของพืชแล้ว ยังช่วยตรวจสอบการ
ปนปลอมอีกด้วย
3. การประเมินคุณภาพทางชีววิทยา (bi-
ological method)
เป็นการทดสอบฤทธิ์ทางชีววิทยา โดยการ
ทดสอบกับสิ่งมีชีวิต อาจเป็นสัตว์ทดลอง หรือ
อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งที่ตัดออกมา เพื่อให้
ทราบฤทธิ์และความแรงของยาสมุนไพร
4. การประเมินคุณภาพทางเคมี (chemi-
cal method)
สมุนไพรมีสารองค์ประกอบทางเคมี ซึ่งเป็น
สารที่ทำให้เกิดฤทธิ์ในการรักษา ดังนั้นการ
ทดสอบทางเคมีจึงมีความสำคัญในการ
ควบคุมคุณภาพการตรวจสอบทาง
เคมี ตรวจสอบด้วยปฏิกริยาต่าง ๆ เช่น
ปฏิกิริยาการเกิดสี, iodine value ตลอดจน
การใช้เทคนิคทางโครมาโทกราฟี
สิ่งปนปลอมในเภสัชภัณฑ์ธรรมชาติ(adul-
terant in natural pharmacetuicals)
เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก อาจเกิดโดยการ
จงใจหรือไม่ก็ตาม การปนปอมทำให้คุณภาพ
ต่ำลง ซึ่งการปนปลอมที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับ
ชนิด ราคา ความต้องการของผู้บริโภค โดย
สิ่งที่ใช้ปนปลอมมักจะหาง่าย ราคาถูก และ
เป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับของแท้มากที่สุด ใน
การประเมินคุณภาพสมุนไพรนั้น จึงมีการ
ตรวจหาการปนปลอมหรือการตรวจหาความ
บริสุทธิ์ของสมุนไพร สามารถทำได้หลายวิธี
เช่น การหาสิ่งแปลกปลอม (foreign matter)
ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์การหา
ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด(acid-insol-
ubleash)การหาปริมาณองค์ประกอบสำคัญ
การหาปริมาณน้ำหรือความชื้นนอก
จากนั้นในการประเมินคุณภาพของสมุน
ไพรจะมีการตรวจสอบค่าคงที่ต่างๆโดยใน
การตรวจสอบจะต้องทำการสุ่มตัวอย่างที่
เป็นตัวแทนมาไม่ต่ำกว่า 3 ตัวอย่างต่อชนิด
เพื่อหาค่าเฉลี่ยในแต่ละตัวอย่าง นำตัวอย่าง
มาบดเป็นผงผ่านแร่งเบอร์ 20-40 ถ้าตัว
อย่างไม่สามารถทำเป็นผงได้ ให้ทำเป็นชิ้น
เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใส่ขวดสีชา ปิดสนิท
เก็บไว้วิเคราะห์ รายละเอียดในการตรวจสอบ
ค่าคงที่ต่าง ๆ มีดังนี้
5.	 ปริมาณสิ่งสกัด (extractive value)
เป็นการหาปริมาณสารสกัดที่ได้จากสมุนไพร
เมื่อใช้ตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ วิธีการนี้จะ
กำหนดไว้สำหรับสมุนไพรที่ไม่มีวิธีวิเคราะห์
ทางเคมีหรือชีววิทยาที่เหมาะสม สำหรับ
การเลือกตัวทำละลายจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ
ของสารองค์ประกอบสำคัญในสมุนไพรชนิด
นั้น ๆ
6.	 การวัดปริมาณน้ำมันระเหย (voltile
oil determination)
น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบสำคัญ
ที่พบได้ในพืชหลายชนิดโดยเฉพาะเครื่องเทศ
เช่น กะเพรา โหระพา กระวาน การกำหนด
ปริมาณน้ำมันหอมระเหยเป็นการควบคุม
สมุนไพรอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้วิธีการกลั่น
7.	 การวัดปริมาณน้ำในยาสมุนไพร
(moisture content)
เป็นการตรวจสอบปริมาณน้ำหรือความ
ชื้น ในพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบ
ซึ่งจะใช้วิธีการหาปริมาณความชื้นด้วยการ
อบแห้งไม่ได้ เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจะ
ออกมาพร้อมกับน้ำทำให้หาปริมาณน้ำที่แท้
จริงไม่ได้ ในกรณีนี้จึงต้องใช้วิธีการอื่น เช่น
ใช้วิธี Azeotropic distillation method
นอกจากนี้แล้วยังมีการทดสอบ อื่น ๆ
ที่เฉพาะสำหรับสมุนไพรในบางกลุ่ม ตาม
คุณสมบัติของสมุนไพรนั้น เช่น การหาความ
1.	 การหาน้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง
(loss on drying)
เป็นการควบคุมปริมาณความชื้นในตัวยา
สมุนไพรซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งนี้เนื่องจากความ
ชื้นจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์
ก่อให้เกิดการสลายตัวขององค์ประกอบ
สำคัญในสมุนไพรได้
2.	 ปริมาณเถ้ารวม (total ash)
เป็นเถ้าที่ได้หลังจากการเผาตัวยาที่
อุณหภูมิสูง(450-800ซ)ในปัจจุบันเถ้ารวม
ที่พบในพืชเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมี
ในการเพาะปลูก
3.	 ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด (acid
insoluble ash)
เป็นการหาปริมาณของเถ้าที่ไม่ละลายใน
กรดเกลือ สารเหล่านี้เป็นสิ่งปนปลอมประเภท
สารอนินทรีย์ได้แก่ดินทราย เป็นต้นสิ่งเหล่า
นี้มักปะปนมากับรากหรือเหง้า
4.	 ปริมาณเถ้าที่ละลายน้ำได้ (water
soluble ash)
เป็นค่าความแตกต่างระหว่างปริมาณ
ของปริมาณเถ้ารวมและเถ้าที่เหลือจาก
ต้มเถ้ารวมกับน้ำปริมาณเถ้าชนิดต่างๆของ
สมุนไพรแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ค่าเหล่า
นี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงคุณภาพ และความสะอาด
ของสมุนไพร รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปน
ปลอมสมุนไพร
22 23
1)	 ชื่อทางการเป็นภาษาอังกฤษ (official
English title)
ชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปในเภสัชตำรับของอังกฤษ
และอเมริกาเช่น U.S.P., B.P., N.F. และ B.P.C.
ตัวอย่างเช่นRhubarbU.S.P.หรือNutgallN.F.
2) ชื่อภาษาละติน (Latin title)
ชื่อนี้มักจะนำมาจากชื่อสกุล (genus) ของพืช
หรือสัตว์ที่เป็นต้นกำเนิดของยาสมุนไพรหรือ
ได้จากชื่อตัว(species)หรือทั้ง 2 อย่างหรือเป็น
ชื่อพ้อง (synonym) ที่เคยใช้กันมาก่อนเช่น
Cascara sagrada
3)	 แหล่งกำเนิดทางชีววิทยา (biological
origin)
หมายถึงชื่อวิทยาศาสตร์(scientificname)
ที่ให้ยาสมุนไพรนั้น อาจได้มาจากพืช (botani-
cal origin) หรือสัตว์ (zoological origin)
4)	 มาตรฐานคุณภาพและความบริสุทธิ์
หมายถึง คุณภาพและความบริสุทธิ์ตามมาตรฐาน
ที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดค่าของสิ่งเจือปน (im-
purity) ที่ไม่เป็นโทษ ว่าอยู่ในปริมาณไม่เกินขีด
กำหนดเท่าใด เช่น ค่าความชื้น (moisture),
อินทรีวัตถุแปลกปลอม (foreign organimatter),
เถ้าที่ไม่ละลายในกรด (acid insoluble ash)
ขม (bitter index)ในบอระเพ็ด หรือการ
ทดสอบการพองตัว (swelling index)
ในเม็ดแมงลัก บุก ค่าการพองตัว (swelling
index) เป็นการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติใน
การพองตัวของสมุนไพรที่มักประกอบด้วย
สารเมือก ที่พองตัวได้ในน้ำ เช่น เม็ดแมงลัก
เทียนเกล็ดหอย บุก สารในกลุ่มนี้มีประโยชน์
ในการนำมาใช้เป็นยาระบาย หรือใช้เป็นสาร
ช่วยแขวนตะกอน ค่าความขม (bitter in-
dex) สารองค์ประกอบในสมุนไพรบางชนิด
มีรสขมจัดซึ่งในการใช้ประโยชน์ในทางยาใช้
ฤทธิ์ของรสขมดังกล่าว เช่น ใช้เพื่อให้เกิด
ความอยากอาหารด้วยผลของการ
กระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะ
(bitter tonic)
ยาสมุนไพรที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็น
ยาสำเร็จรูป จะต้องผ่านการวิเคราะห์มาตรฐาน
เสียก่อนซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะถูกกำหนดไว้
ในแต่ละ monograph อย่างละเอียดในเภสัช
ตำรับยาสมุนไพร สมุนไพรแต่ละชนิดที่จะ
นำมาใช้เป็นยาได้จะต้องถูกกำหนด
ไว้เป็นมาตรฐานตามเภสัชตำรับของ
แต่ละประเทศ (National Pharmacopoeia)
เภสัชตำรับเหล่านี้มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยน
แปลงอยู่เสมอรายละเอียดที่สำคัญของยาสมุน
ไพรนั้น ๆ มีการจำแนกออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ
รายละเอียดต่าง ๆ เรียกเป็น Monograph
ซึ่งมีหัวข้อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
9) การบ่ม (curing)
เป็นวิธีการที่ทำให้แห้งช้าๆ เพื่อให้เอนไซม์ที่
มีอยู่ทำปฏิกิริยาขึ้น ตัวอย่างของสมุนไพรที่ต้อง
การบ่มเช่น Vanilla, Coca, Gentian
Tobacco เป็นต้น ในบางกรณี เช่น Cascara
sagrada เมื่อเก็บเปลือกไว้ 1 ปี ที่อุณหภูมิห้อง
แล้วนำไปใช้ irritant principle จะถูกทำลาย
ไปหมด
10)	สารสำคัญ (constituents)
ในยาสมุนไพรหนึ่งๆนั้นจะมีสารประกอบ
อยู่หลายชนิด บางชนิดก็เป็นสารออกฤทธิ์
(active constituents) ที่ทำให้เกิดผลทาง
ชีวภาพ ซึ่งสามารถใช้บำบัดรักษาโรค
11)	ประโยชน์ (uses)
หมายถึง ประโยชน์ หรือสรรพคุณในการบำบัด
โรคของยาสมุนไพรนั้น ๆ ว่าใช้บำบัดโรคอะไร
หรือทำให้เกิดภาวะต่อร่างกายอย่างไร
5)	 แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ (geographi-
cal sources หรือ habitat)
หมายถึง ถิ่นกำเนิดของยาสมุนไพรนั้น
6)	 การบรรยายลักษณะ (description)
เป็นการบรรยายถึง รูปร่าง ลักษณะของ
ยาสมุนไพรว่าเป็นส่วนใดของต้นไม้หรือสัตว์
รูปลักษณะภายนอก ภายใน ขนาด สี กลิ่นรส
อย่างไรอาจมีลักษณะทางจุลทรรศน์ที่เด่นชัดหรือ
วิธีการตรวจสอบ
7)	 วิธีการเก็บเกี่ยว (collection of crude
drugs)
เป็นวิธีการเก็บ และได้ยาสมุนไพรมา
8)	 การทำให้แห้ง (drying)
เพื่อขจัดความชื้นออกไปให้หมดเพื่อป้องกันการ
เปลี่ยนแปลงของสาสำคัญเนื่องจากเชื้อราหรือ
เอนไซม์ซึ่งอาจใช้วิธีผึ่งแดด (sun dry), ผึ่งในร่ม
(air dry) หรืออบในตู้อบ (artificial heat)
24 25
	 ปัจจุบันแนวโน้มของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพดังเช่นผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรได้กลับมาสู่ความสนใจ
ของผู้บริโภคอีกครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของกระแสโลก(Globalization)ในเรื่องการรักษาและดูแลสุขภาพ
ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติเพราะมีความเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัยหรือเกิดผล
ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน และจากการที่มีวิธีการรักษาพยาบาลด้วยการแพทย์ทางเลือก
ในโรงพยาบาลก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ทำให้มีความตื่นตัวในการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผน
ไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมุนไพรและการแพทย์
แผนไทย ทั้งนี้การปนเปื้อนโลหะหนักในสมุนไพรปัจจุบันก็พบได้มากขึ้น อาจเกิดจากการที่มีมลพิษ
จากทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้มีสารเคมีและโลหะหนักตกค้างสะสมในดินและน้ำ ซึ่ง
สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่สมุนไพรได้มากขึ้น โดยมีรายงานการปนเปื้อนของโลหะหนักในยาแผนโบราณ
บางชนิด ซึ่งโลหะหนักเหล่านั้นสามารถก่อให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้ ทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง และ
จากรายงานของสถาบันโรคผิวหนัง ในประเทศไทย พบว่า โรคพิษสารหนูส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่มี
ประวัติกินยาสมุนไพรหรือยาต้มแผนโบราณที่มีสารหนูผสม โดยมีผู้ป่วยด้วยโรคพิษสารหนูที่เกิดจากยา
รักษาโรค โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 10 ราย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการควบคุมคุณภาพ
ของยาจากสมุนไพรและยาแผนโบราณเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคยา
และได้รับยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหาร
และยาได้ประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อน
เชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก มีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศ
ทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 43 ง วันที่ 21 เมษายน 2547 โดยคำขอขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณทุกตำรับ
ต้องมีผลการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และมีแนวโน้มที่ต่อไปในอนาคตจะต้องใช้ผลการ
ตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนโลหะหนักประกอบการขึ้นทะเบียนด้วย
โลหะหนัก หมายถึง โลหะที่มีความหนาแน่นเกินกว่า 5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และสารหนู เป็นต้น สารพิษเหล่านี้เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงระดับ
หนึ่งก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็น ซึ่งผลของความเป็นพิษของโลหะหนักต่อกลไกระดับ
เซลล์มี5 แบบ คือ ทำให้เซลล์ตาย, เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของเซลล์,
เป็นตัวการทำให้เกิดมะเร็ง, เป็นตัวการทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม และทำความ
เสียหายต่อโครโมโซม ซึ่งเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม
บรรดาโลหะหนักเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกาย
โดยไม่รู้ตัวจากสิ่งแวดล้อม(ดินน้ำอากาศ)อาหาร
ยาจากสมุนไพรหรือจากข้าวของเครื่องใช้ในครัว-
เรือน สาเหตุของการปนเปื้อนมาจากธรรมชาติ
กระบวนการผลิต วัตถุดิบและการปนเปื้อนโดย
สารเคมีที่ถูกปล่อยเป็นของเสียออกมาจากโรงงาน
อุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ
คนเรามีโอกาสได้รับตะกั่วโดยตรงจากการกินอาหารน้ำดื่ม สัมผัสผิวหนังผ่านเครื่องสำอางที่ปนเปื้อนตะกั่ว
หรือหายใจเอาสารตะกั่วเจือปนเข้าไป กลุ่มผู้เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่ คนงานที่ทำเหมืองตะกั่ว
โรงงานผลิตแบตเตอรี่โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตสีโรงงานผลิต
สารพิษกำจัดศัตรูพืช และคนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่วหรือใกล้โรงงานที่มีการใช้สาร-
ตะกั่วเป็นวัตถุดิบ ตำรวจจราจร และคนที่อยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นเวลานาน เด็กอาจ
ได้รับสารตะกั่วจากการหยิบสิ่งที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าปาก หรือรับจากน้ำนมแม่ที่มีสารตะกั่ว
แม้แต่ทารกในครรภ์ก็สามารถรับสารตะกั่วจากมารดาได้ทางสายสะดือ สารตะกั่วมีพิษมากโดย
เฉพาะเด็ก ซึ่งอาจมีผลทำให้สมองพิการ ส่วนผู้ใหญ่อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหารและระบบ
ประสาทสำหรับอันตรายโดยทั่วไปนั้นทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นลง ทำให้เป็นโรคเลือดจาง และเป็น
อันตรายต่อระบบประสาทไต ทางเดินอาหารตับ และหัวใจ อาการโรคพิษตะกั่วเกิดได้กับหลายระบบ
ของร่างกายคือ ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง อาการสำคัญที่พบ คือสมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013
คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

สุขฯ ม.2 หน่วย 8
สุขฯ ม.2 หน่วย 8สุขฯ ม.2 หน่วย 8
สุขฯ ม.2 หน่วย 8
supap6259
 
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ทับทิม เจริญตา
 
หนังสือขอเขียนแบบโดม
หนังสือขอเขียนแบบโดมหนังสือขอเขียนแบบโดม
หนังสือขอเขียนแบบโดม
prakasit srisaard
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
A-NKR Ning
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
Sokoy_jj
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
Thongsawan Seeha
 
วิชา โลกศึกษา ปอ
วิชา  โลกศึกษา ปอวิชา  โลกศึกษา ปอ
วิชา โลกศึกษา ปอ
Kittayaporn Changpan
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
Nattakorn Sunkdon
 
รายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อน
รายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อนรายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อน
รายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อน
Suppakuk Clash
 
4สารบัญตารางวิจัย
4สารบัญตารางวิจัย4สารบัญตารางวิจัย
4สารบัญตารางวิจัย
krupornpana55
 

La actualidad más candente (20)

แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 8
สุขฯ ม.2 หน่วย 8สุขฯ ม.2 หน่วย 8
สุขฯ ม.2 หน่วย 8
 
Ku cookbook เมนูอร่อย อาหารลดโซเดียมเพื่อสุขภาพ
Ku cookbook เมนูอร่อย อาหารลดโซเดียมเพื่อสุขภาพKu cookbook เมนูอร่อย อาหารลดโซเดียมเพื่อสุขภาพ
Ku cookbook เมนูอร่อย อาหารลดโซเดียมเพื่อสุขภาพ
 
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแผน  บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
แผน บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 
กัมมันตรังสี
กัมมันตรังสีกัมมันตรังสี
กัมมันตรังสี
 
แบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงานแบบประเมินชิ้นงาน
แบบประเมินชิ้นงาน
 
หนังสือขอเขียนแบบโดม
หนังสือขอเขียนแบบโดมหนังสือขอเขียนแบบโดม
หนังสือขอเขียนแบบโดม
 
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพรโครงงานปลาร้าสมุนไพร
โครงงานปลาร้าสมุนไพร
 
ใบงานที่ 4.1 ม4
ใบงานที่ 4.1 ม4ใบงานที่ 4.1 ม4
ใบงานที่ 4.1 ม4
 
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
หัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบหัวกระดาษข้อสอบ
หัวกระดาษข้อสอบ
 
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิดคำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
คำกล่าวอวยพรวันคล้ายวันเกิด
 
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาประวัติศาสตร์ ม.1 หน่วยที่ 1
 
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
 
วิชา โลกศึกษา ปอ
วิชา  โลกศึกษา ปอวิชา  โลกศึกษา ปอ
วิชา โลกศึกษา ปอ
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissueตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
ตัวอย่างแผนธุรกิจPocket tissue
 
บทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการ
บทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการบทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการ
บทที่ 2 กลยุทธ์การปฏิบัติการ
 
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.รอบสี่
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.รอบสี่มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.รอบสี่
มาตรฐานและตัวบ่งชี้ สมศ.รอบสี่
 
รายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อน
รายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อนรายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อน
รายงาน การทำธุรกิจจำลอง แซนวิช อบร้อน
 
4สารบัญตารางวิจัย
4สารบัญตารางวิจัย4สารบัญตารางวิจัย
4สารบัญตารางวิจัย
 

Destacado

Ebooksint ตำรายาสมุนไพรไทย
Ebooksint ตำรายาสมุนไพรไทยEbooksint ตำรายาสมุนไพรไทย
Ebooksint ตำรายาสมุนไพรไทย
Rose Banioki
 
กุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิตกุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิต
Kanjana ZuZie NuNa
 
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาเครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
Jintana Somrit
 
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physicsBrandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
Nittaya Mitpothong
 
วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์
Tongsamut vorasan
 
สรจักร ศพข้างบ้าน
สรจักร   ศพข้างบ้านสรจักร   ศพข้างบ้าน
สรจักร ศพข้างบ้าน
sornblog2u
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
pui3327
 

Destacado (20)

Ebooksint ตำรายาสมุนไพรไทย
Ebooksint ตำรายาสมุนไพรไทยEbooksint ตำรายาสมุนไพรไทย
Ebooksint ตำรายาสมุนไพรไทย
 
หลักเกณ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง
หลักเกณ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางหลักเกณ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง
หลักเกณ์การพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอาง
 
คู่มือการพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางควบคุม
คู่มือการพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางควบคุมคู่มือการพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางควบคุม
คู่มือการพิจารณาการจดแจ้งเครื่องสำอางควบคุม
 
รายงานแลป สบู่(Soap) 2556
รายงานแลป สบู่(Soap) 2556รายงานแลป สบู่(Soap) 2556
รายงานแลป สบู่(Soap) 2556
 
Microsoft word กิจกรรม nasa exercise
Microsoft word   กิจกรรม nasa  exerciseMicrosoft word   กิจกรรม nasa  exercise
Microsoft word กิจกรรม nasa exercise
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 35
 
ภาคผนวก
ภาคผนวกภาคผนวก
ภาคผนวก
 
กุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิตกุหลาบประกาษิต
กุหลาบประกาษิต
 
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
อ่านการ์ตูนออนไลน์ Rave master 20
 
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐานเทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
เทคนิคการสอนโดยไอซีทีเป็นฐาน
 
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558
 
ทน
ทนทน
ทน
 
Stormy aries
Stormy ariesStormy aries
Stormy aries
 
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadiaข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
ข้างหลังภาพ Asma safa_nadia
 
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยาเครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
เครื่องดื่มทำลายฤทธิ์ยา
 
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขคู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
คู่มือโฆษณา ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
 
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physicsBrandssummercamp 2012 feb55_physics
Brandssummercamp 2012 feb55_physics
 
วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์วิเคราะห์วิจารณ์
วิเคราะห์วิจารณ์
 
สรจักร ศพข้างบ้าน
สรจักร   ศพข้างบ้านสรจักร   ศพข้างบ้าน
สรจักร ศพข้างบ้าน
 
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 

Similar a คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013

หนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี
หนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมีหนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี
หนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี
Utai Sukviwatsirikul
 
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพการพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
Utai Sukviwatsirikul
 
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
tanong2516
 
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)
tanong2516
 
อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3
Utai Sukviwatsirikul
 

Similar a คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013 (20)

Intro to sci
Intro to sciIntro to sci
Intro to sci
 
หนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี
หนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมีหนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี
หนังสือแนวปฏิบัติการจัดการของเสียทางการแพทย์ที่เป็นสารเคมี
 
Piyapan
PiyapanPiyapan
Piyapan
 
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
Report: Pesticide Levels in Blood (Thai)
 
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพการพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
การพัฒนาร้านยาเข้าสุ่ร้านยาคุณภาพ
 
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU PharmacyRational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
Rational Drug Use in Community Pharmacy: RDU Pharmacy
 
Rdu drug store 2560
Rdu drug store 2560Rdu drug store 2560
Rdu drug store 2560
 
Rdu book
Rdu bookRdu book
Rdu book
 
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552หลักสูตร 6  ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
หลักสูตร 6 ปี สาขาเภสัชศาสตร์ พ.ศ.2552
 
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
อบรม Srrt ชายแดนช่องจอม 5 กค 60
 
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
ยุทธศาสตร์วิชาชีพเภสัชกรรมการตลาด
 
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
คู่มือผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยา จากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาต...
 
คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งช...
คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งช...คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งช...
คู่มือการผลิตและประกันคุณภาพเภสัชตำรับโรงพยาบาลยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งช...
 
การส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555
การส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555การส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555
การส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลในร้านยาปี พ.ศ. 2555
 
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)
หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต พ.ศ.2552 (6ปี)
 
Rdu book
Rdu bookRdu book
Rdu book
 
MTM (JC 16/8/59)
MTM (JC 16/8/59)MTM (JC 16/8/59)
MTM (JC 16/8/59)
 
2560 project -1-1
2560 project -1-12560 project -1-1
2560 project -1-1
 
อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3อาหารสุขภาพ 3
อาหารสุขภาพ 3
 
Curri 02 11
Curri 02 11Curri 02 11
Curri 02 11
 

Más de Vorawut Wongumpornpinit

Más de Vorawut Wongumpornpinit (20)

ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ลิขสิทธิ์โดยกรมศิลปากร
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ลิขสิทธิ์โดยกรมศิลปากรตำราพระโอสถพระนารายณ์ ลิขสิทธิ์โดยกรมศิลปากร
ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ลิขสิทธิ์โดยกรมศิลปากร
 
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdfGrammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
Grammar Rules _ Speak Good English Movement.pdf
 
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdfบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร พ.ศ.2566.pdf
 
Psilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdfPsilocybin mushroom handbook.pdf
Psilocybin mushroom handbook.pdf
 
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdfโภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
โภชนศาสตร์ ในภูมิปัญญาไทย.pdf
 
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
ประกาศกรมฯ เรื่อง มาตรฐานการปลูกและการเก็บเกี่ยวที่ดีของพืชกัญชา (Thailand gu...
 
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdfแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570.pdf
 
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdfรายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
รายงานสุขภาพคนไทย-2566.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย ฉบับสมบูรณ์.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 2.pdf
 
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdfIUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
IUNS Country Policy Analysis Nutrition Impact of Agricul.pdf
 
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdfกลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
กลยุทธ์ ค้าปลีก สร้างความปลอดภัยอาหาร (2557).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคใต้ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2556).pdf
 
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdfวัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
วัฒนธรรมอาหารไทย - ภาคกลาง (2556).pdf
 
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
เวชกรรมไทยเบื้องต้น คู่มือมาตรฐานการฝึกอบรม สาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไท...
 
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdfการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุแบบบูรณาการ.pdf
 
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdfคู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
คู่มือเกณฑ์ชุมชนต้นแบบดูแลผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.pdf
 

คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรภายใต้โครงการ Lanna health hub 2013

  • 1.
  • 2.
  • 3. คู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วิธีมาตรฐานในการแปรรูป วัตถุดิบสมุนไพรสำหรับเกษตรกร ผู้ประกอบการด้านสมุนไพร และผู้สนใจ โดยได้รับงบประมาณ จากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ภายใต้โครงการ Lanna Health Hub 2013 เนื้อหาประกอบด้วย การเก็บเกี่ยววัตถุดิบสมุนไพร การปฏิบัติการหลังการเก็บ เกี่ยวและแปรรูปสมุนไพรต่าง ๆ 14 ชนิด การประเมินคุณภาพสมุนไพร การปนเปื้อนโลหะหนักใน วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร เชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ด้านวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ คณะผู้จัดทำหวังว่าข้อมูลการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ศึกษาเกษตรกรและ ผู้ประกอบการด้านสมุนไพร ในการนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีมาตรฐานหากมีข้อบกพร่องอันใด คณะผู้จัดทำขอน้อมรับและจะได้ปรับปรุงในครั้งต่อไป คณะผู้จัดทำ กรกฎาคม 2556 ก
  • 4. รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพของเอเชีย (Medical Hub of Asia) ในธุรกิจบริการการแพทย์และทันตกรรม ธุรกิจสปาและนวด ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพร และธุรกิจการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกจังหวัดเชียงใหม่ ตอบสนองนโยบายมาตั้งแต่ ปี 2547 โดยใช้ชื่อโครงการ Chiang Mai Health Hub และต่อมาได้ขยายเป็นกลุ่มจังหวัดภายใต้ ชื่อ โครงการ Lanna Health Hub ครอบคลุมจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ธุรกิจผลิตภัณฑ์สมุนไพร มี Supply Chainค่อนข้างยาวตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ได้แก่ การคัดเลือกพันธุ์ สถานที่ เครือข่ายเกษตรกร และการเพาะปลูก ไทยใช้มาตรฐาน GAP ได้แก่ การแปรรูปเบื้องต้น โรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน GMP การประเมินคุณภาพ ภายใต้ห้องปฎิบัติการและวิธีการมาตรฐาน การวิจัยทางคลินิค ได้แก่ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ที่ถูกต้องเสริมสร้างจุดแข็งของการตลาด และการนำตลาดทั้งภายในและ ภายนอกประเทศ ไทยแบ่งกลยุทธ์การดำเนินการเป็น 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 การเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 3 การ ประชาสัมพันธ์และการตลาดซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้รับมอบหมายให้ทำเป็น กลยุทธ์ที่ 1 และ 2 กลยุทธ์ที่ 3 มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพหลัก การดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1. กลยุทธ์ที่ 1 : การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสมุนไพร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เชียงใหม่ ได้ดำเนินการดังนี้ 1.1 การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสมุนไพรรวม กลุ่มเป็นเครือข่ายต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ชมรมผู้ประกอบการโรงงานผลิตยาสมุนไพรเชียงใหม่ ชมรมผู้ประกอบเครื่องสำอางจังหวัดเชียงใหม่ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ (ดูแลโดยเกษตรจังหวัด) เครือข่ายผู้ใช้ยาสมุนไพร ได้แก่ เครือข่ายหมอเมืองเชียงใหม่ สมาพันธ์การแพทย์แผนไทยล้านนา 2. กลยุทธ์ที่ 2 : การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้ดำเนินการดังนี้ 2.1 การส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการพัฒนา สมุนไพรครบวงจรตั้งแต่การคัดเลือกพันธ์ การเพาะปลูก จนถึงการสร้างโรงงานผลิตยาแผน โบราณต้นแบบ การประเมินคุณภาพสมุนไพร และร้านจำหน่ายยาสมุนไพรต้นแบบ 2.2 การจัดตั้งคลินิคให้คำปรึกษาผู้ประกอบการสมุนไพรรายบุคคลด้านการผลิต สมุนไพรมาตรฐาน GMP ด้านการขึ้นทะเบียนยาสมุนไพร และการขึ้นทะเบียนเครื่องสำอาง การตั้งตำรับเครื่องสำอาง และเทคนิคการแก้ไขปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์ 2.3 การพัฒนาโรงงานผลิตยาสมุนไพรต้นแบบ ภาคเอกชน สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ ได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีการพัฒนา โดยให้นักวิชาการจากคณะเภสัชศาสตร์ มช. ดำเนินการ สำรวจวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินงานของโรงงาน สูตรตำรับ วิธีการผลิต บรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น และการนำผู้ประกอบการไปศึกษาดูงานจากโรงงานผลิตยาสมุนไพร ที่ได้มาตรฐานในกรุงเทพและจังหวัดต่าง ๆ เพื่อนำมาเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา ข ค
  • 5. 2.4 การจัดทำคู่มือแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร เนื่องจากกระบวนการคัดเลือกและนำวัตถุดิบสมุนไพร มาเข้ากระบวนการผลิตในโรงงาน มีความสำคัญมาก เพราะจะสามารถลดปัญหาหลักที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ปัญหาด้านสิ่ง ปนเปื้อนทางกายภาพ ปัญหาการปนเปื้อนทางเคมี โลหะหนัก ปัญหาด้านเชื้อจุลินทรีย์ปัญหา ด้านสารสำคัญไม่ถูกต้องหรือไม่สูงพอ ดังนั้นจึงได้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดเชียงใหม่ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 1 เชียงใหม่ ในการจัดทำคู่มือการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ใช้ในการเป็นแนวทางในการ เก็บเกี่ยว การแปรรูปเบื้องต้น และการจัดการต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรดัง ปรากฎในบทต่อไป 3. กลยุทธ์ที่ 3 การประชาสัมพันธ์และการตลาด ดำเนินการโดยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ มีการเผยแพร่ข้อมูลประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่าง ๆ ทั้งทางวารสาร ป้ายสนามบิน (Bill Board) การรับมอบผู้ประกอบการสมุนไพรที่ผ่าน มาตรฐานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่มาทำการบ่มเพาะให้เป็นธุรกิจที่มีมาตรฐาน สูงขึ้นมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีความสามารถในด้านการค้าขายและการตลาดมากขึ้นโดย การเข้าสู่ระบบ Chiang Mai Brand การดำเนินการจัดประชุมวิชาการสุขภาพนานาชาติต่อเนื่อง 6ครั้งและการจัดงานแสดงและจำหน่ายสินค้าด้านสุขภาพ ต่อเนื่อง 3 ครั้ง (Lanna Health Fair) ส่งผลให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการ และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้โอกาส ในการนำสินค้าและบริการสุขภาพมาแสดงในงานดังกล่าวนอกจากนี้ยังมีการนำผู้ประกอบการที่ มีขีดความสามารถที่สูงขึ้นไปแสดงและจำหน่ายสินค้าสุขภาพในกรุงเทพฯและต่างประเทศเช่น งาน ThailandTravel Mart งาน Thailand Tourism Festival งานแสดงสินค้าในประเทศจีน ญี่ปุ่น พม่า สิงคโปร์ เป็นต้น โดยสรุปแล้ว แม้ว่าการพัฒนาสมุนไพรในจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบนจะมี ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ มาก แต่เมื่อมีความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา มีการจัดการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องหลายปี ก็สามารถคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ สามารถพัฒนาสมุนไพรมาได้ในระดับหนึ่ง คาดว่าเมื่อดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะต้นน้ำ คือ เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรจะได้รับประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการกลางน้ำมีความต้อง การวัตถุดิบสมุนไพร ที่มีคุณภาพ และปริมาณที่สูงมากขึ้นทุกปี ทั้งจะเป็นการลดการนำเข้าวัตถุ- ดิบสมุนไพรจากต่างประเทศส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตนเองด้านยาสมุนไพรมากขึ้น ง จ
  • 7. ช การเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรมาใช้ในการเตรียมยา พืชที่เก็บมาจะต้องมีปริมาณสารออกฤทธิ์เป็น ไปตามข้อกำหนด ดังนั้นจะต้องมีการจัดการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว ปริมาณสารออกฤทธิ์ในสมุนไพรจะมีปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ปัจจัย หนึ่งที่สำคัญ คือ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรซึ่งจะมีความแตกต่างกันใน พืชสมุนไพรแต่ละชนิด และส่วนที่ใช้ของพืช เช่น สมุนไพรประเภทรากหรือหัวหรือเหง้า ควรเก็บในช่วงที่พืชหยุดการเจริญเติบโตใบและดอกร่วง หมดหรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เปลือกรากหรือเปลือกต้น จะเก็บในช่วงระหว่างฤดูร้อนถึงฤดูฝน ใบหรือทั้งต้น ควรเก็บในช่วงที่พืชเจริญเติบโตมากที่สุด ดอกโดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบานแต่ บางชนิดก็เก็บในช่วงดอกตูม ผลและเมล็ดโดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่ แต่บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก ระยะเวลา ที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวของพืชสมุนไพรชนิดต่าง ๆ ตัวอย่างดังแสดงในตารางที่ 1 ตารางที่ 1 แสดงระยะเวลาเก็บเกี่ยวของพืชสมุนไพรบางชนิด
  • 8. 2. วิธีการเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปวิธีการเก็บเกี่ยวส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำมาใช้ประโยชน์แบ่งออกตามส่วนที่ใช้ ดังนี้ 1) ประเภทรากหรือหัวหรือเหง้า การเก็บควรขุดอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้รากหรือเหง้าที่สมบูรณ์ ไม่ถูกตัดหรือมีแผลจากอุปกรณ์ที่ใช้ขุดจากนั้นจึงตัดรากฝอยออก 2) เปลือกรากหรือเปลือกต้น เก็บโดยการลอกเปลือกต้นหรือราก สำหรับการลอกเปลือกต้นอย่า ลอกออกรอบทั้งต้นควรลอกออกจากส่วนกิ่งหรือแขนงย่อย หรือใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลม ก็ได้เพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนต่อระบบการลำเลียงอาหารของพืชและไม่ควรลอกส่วนลำต้นใหญ่ ของต้น 3) ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น สำหรับใบเก็บโดยวิธีเด็ดหรือตัด ส่วนการเลือกเก็บใบแก่หรือใบไม่อ่อน ไม่แก่เกินไป(ใบเพสลาด) ขึ้นกับชนิดของพืชที่ระบุให้เก็บ การเก็บทั้งต้นจะตัดเอาเฉพาะส่วนเหนือ ดินขึ้นไป 4) ประเภทดอกเก็บโดยวิธีเด็ดหรือตัดดอกตูม ดอกเริ่มบานหรือดอกแห้งตามกำหนด 5) ประเภทผลและเมล็ดเก็บโดยใช้วิธีเด็ดหรือวิธีตัด โดยทั่วไปมักเก็บตอนผลแก่เต็มที่แล้วแต่ บางชนิดจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สุก
  • 9. เมื่อเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรออกจากแปลง ปลูกหรือต้นพืชแล้วการปฏิบัติหลังการเก็บ- เกี่ยวที่ถูกวิธีมีความสำคัญต่อคุณภาพของพืช สมุนไพรที่ได้อย่างมาก ซึ่งขั้นตอนการปฏิบัติ หลังการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับชนิดของพืชสมุน ไพร และส่วนของพืชสมุนไพรที่จะนำไปใช้ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรโดย ทั่วไปมีขั้นตอน ดังนี้ (1) การคัดแยกผลผลิต ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรแล้ว จะต้องคัดแยกสิ่งปลอมปนออกจากผลผลิต สิ่งปนปลอมที่มักพบหรือปะปนมาและสามารถ แยกออกด้วยสายตาได้แก่ หินดิน ทราย ส่วนของพืชสมุนไพรที่มีรอยของแมลงหรือ สัตว์กัดแทะ หรือส่วนของพืชที่เน่าเสียหรือ มีเชื้อรขึ้น นอกจากนี้อาจพบส่วนอื่นของพืช ที่ไม่ใช้หรือสมุนไพรอื่นที่คล้ายคลึงโดยทั่ว ไปส่วนของพืชที่อยู่ใต้ดินจะมีสิ่งปนเปื้อน มากกว่าส่วนของพืชที่อยู่เหนือดินจึงควรคัด เลือกสิ่งปนปลอมเหล่านี้ออกให้หมดก่อนนำ ไปทำความสะอาด (2) การทำความสะอาด หลังจากการคัดแยกสิ่งปลอมปนต่างๆ ออกไปแล้ว นำพืชสมุนไพรมาทำความสะอาด เพื่อกำจัดสิ่งปนเปื้อนต่างๆเช่นฝุ่นละออง เชื้อจุลินทรีย์ สารพิษตกค้างจำพวกโลหะ อโลหะ ยาฆ่าแมลง และสารอะฟลาท็อกซิน เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ส่วนของ พืชบางชนิดไม่สามารถทำความสะอาดด้วย น้ำ เช่น ดอก ผล และเมล็ดที่หลุดร่วงง่าย อาจใช้ผ้าสะอาดเช็ดรากหรือลำต้นที่สะสม อาหารหรือผลบางชนิดควรนึ่งหรือลวกน้ำร้อน ก่อนทำให้แห้งจะทำให้เก็บรักษาได้นาน ป้อง กันการเกิดเชื้อรา อีกทั้งความร้อนยังไปทำลาย เอนไซม์ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดการสลายสารใน สมุนไพรได้ บางกรณีที่สารออกฤทธิ์สามารถ ละลายน้ำได้ดี การล้างจะทำให้สูญเสียสาร ออกฤทธิ์เหล่านั้นได้ เช่น สาหร่ายผมนาง การล้างด้วยน้ำเพียงหนึ่งหรือสองครั้งจะทำ ให้ปริมาณสารไอโอดีนในสาหร่ายลดลง โดยเฉลี่ยร้อยละ 50 จึงไม่ควรแช่สมุนไพร ในน้ำนาน ๆ สำหรับสมุนไพรแห้งจะเปราะ หักและหลุดร่วงได้ง่าย การทำความสะอาด ต้องระวังถ้าจำเป็นต้องล้างอาจใช้ภาชนะที่ มีตะแกรงกันสมุนไพรไหลลอยตามน้ำไป (3) การตัดแต่งและลดขนาด ก่อนจะนำพืชสมุนไพรไปทำให้แห้ง จะต้องทำการตัดรากฝอยปอกเปลือกตัดส่วนที่ เน่าเสียมีโรคแมลงออกจากส่วนที่มีคุณภาพ ดีสำหรับพืชสมุนไพรที่มีขนาดใหญ่หรือมีเนื้อ แข็งต้องทำการตัดให้เล็กหรือบางลงเพื่อให้ แห้งง่ายและสะดวกในการเก็บรักษา เช่น ก.การตากแห้งพืชสมุนไพรควรตากใน ภาชนะโปร่งสะอาดควรป้องกันฝุ่นละอองและ สัตว์ ควรตากในที่ร่ม การตากแดดควรมีลาน ตากและยกให้สูงจากพื้นดิน มีหลังคาพลาสติก คลุมไม่ตากแดดโดยตรง อาจใช้การปลูกเป็น โรงไม้หลังคาเป็นตาข่ายหรือพลาสติกวาง สมุนไพรบนแคร่หรือเสื่อ มีช่องระบายอากาศ ด้านข้างเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและ ลมวิธีผึ่งใน ที่ร่มเหมาะสำหรับสมุนไพรที่มีสารระเหยง่าย และควรคำนึงถึงสุขอนามัยให้มาก ข.การอบแห้งพืชสมุนไพรจะใช้ อุณหภูมิและระยะเวลาในการอบแตกต่างกัน ไปตามส่วนของพืชสมุนไพรการใช้เครื่องอบ แห้งเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดเวลาและได้ สมุนไพรจำพวกรากหรือลำต้นใต้ดิน เปลือกไม้เนื้อไม้ หรือผล ควรหั่นหรือฝานเป็น ชิ้นบาง ๆ ก่อนทำให้แห้ง (4) การทำให้แห้ง พืชสมุนไพรนอกจากจะใช้สดแล้ว ยังมีการ นำมาทำให้แห้งเพื่อความสะดวกในการเก็บ รักษา และการนำมาใช้ สมุนไพรที่มีความ ชื้นมากเกินไปจะทำให้เกิดเชื้อราและแบคทีเรีย และยังเร่งให้เกิดการสูญเสียสารออกฤทธิ์ ด้วย วิธีการทำแห้งทำโดยการตากแห้งหรือ อบแห้งจนเหลือความชื้นในปริมาณที่เหมาะ แก่การเก็บรักษาซึ่งโดยทั่วไปควรมีความชื้น ไม่เกินร้อยละ 10 ซึ่งในการทำให้แห้งของสมุน ไพรจะมีข้อควรระวังต่าง ๆ ดังนี้ วัตถุดิบที่มีคุณภาพดีแต่จะต้องมีการใช้ความ ร้อนในการอบสมุนไพรให้เหมาะสมกับส่วน ของสมุนไพรที่นำมาใช้ เช่น • ดอกใบและพืชล้มลุก ใช้อุณหภูมิไม่ เกิน 55 องศาเซลเซียส • เปลือก ราก และกิ่ง ใช้อุณหภูมิไม่ เกิน 65 องศาเซลเซียส • ผลและเมล็ด ใช้อุณหภูมิ ไม่เกิน 80 องศาเซลเซียส • สมุนไพรที่มีสารระเหยง่าย ใช้อุณหภูมิ ไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส • สมุนไพรที่มีไกลโคไซด์และอัลคาลอยด์ ใช้อุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส เทคนิค ในการอบสมุนไพรที่ถูกต้องมีดังนี้ • เกลี่ยสมุนไพรให้แผ่บางๆบนภาชนะถ้า ซ้อนทับกันหนาทำให้เกิดความร้อนสมุนไพร จะมีสีดำคุณภาพลดลง • สมุนไพรที่เป็นดอกควรทำให้แห้งโดย เร็วที่สุด เพื่อถนอมสีของดอกให้เหมือนเดิม โดยวางให้กระจายบนกระดาษขาว • ถ้าเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม ควรผึ่งใน ที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้ดีหรือผึ่งแดดช่วงสั้น เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ดอกไม้บางชนิด อาจมัดรวมกันแขวนตากไว้บนราว ใบอาจ ทำให้แห้งวิธีเดียวกับดอก ใบที่อุ้มน้ำไว้มาก อาจเพิ่มความร้อนในการอบแห้งให้สูงกว่าปกติ • ส่วนของพืชล้มลุกที่เป็นทั้งต้นถ้า ไม่ อุ้มน้ำมากอาจผูกมัดรวมเป็นกำแล้วตากแห้ง
  • 10. • รากและลำต้นใต้ดิน เวลาที่ตากหรืออบ แห้งในตู้ ควรหมั่นกลับสมุนไพรบ่อย ๆ เพื่อป้องกันเชื้อรา (5) การบดแร่ง พืชสมุนไพรที่จะต้องนำมาบดเป็นผง ละเอียด ควรอยู่ในสภาวะแห้งกรอบจึงจะบด ได้ดี มีวิธีทดสอบความแห้งกรอบของพืช สมุนไพรได้ง่าย ๆ คือ การลองหักสมุนไพรว่า หักได้ง่ายหรือไม่ หรือลองป่นด้วยมือว่าเป็นผง ได้ง่ายหรือไม่ สมุนไพรก่อนนำไปบดควรมีความ ชื้นไม่เกินร้อยละ 5 การบดแร่งพืชสมุนไพรที่ ถูกวิธีนั้น ควรบดส่วนทั้งหมดของพืชสมุนไพร โดยไม่ทิ้งส่วนที่ร่อนไม่ผ่านตะแกรงเนื่อง จากส่วนต่าง ๆ ของสมุนไพรจะถูกบดเป็น ผงได้ยากง่ายต่างกันและมักมีองค์ประกอบ ทางเคมีแต่ละส่วนไม่เท่ากัน เช่น ฟ้าทะลายโจร ใช้ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นยา แต่สารออกฤทธิ์ ประเภทแลกโตนจะมีอยู่ในส่วนใบมากกว่า ลำต้น ถ้าหากเราเก็บแต่ละส่วนของสมุนไพร ที่บดเป็นผงง่ายเท่านั้น จะทำให้ได้ผงยาที่มี สารออกฤทธิ์ไม่สม่ำเสมอกันทุกครั้งวิธีแก้ ปัญหาอาจนำผงที่ไม่ผ่านแร่งไปบดรวมกับ สมุนไพรรุ่นใหม่ที่มีจำนวนเท่ากับสมุนไพรรุ่น แรกและบดจนเหลือผงยาที่ไม่ผ่านแร่งจำนวน เท่ากับครั้งแรกจะทำให้ได้ผงยาที่มีสารออก ฤทธิ์สม่ำเสมอกันทุกครั้งที่ บดเทคนิคการบด สมุนไพรที่สำคัญ คือ ไม่ควรบดสมุนไพรแบบ ต่อเนื่องโดยไม่ร่อนผงยาออกเป็นระยะๆ เพราะจะทำให้ผงยาที่ละเอียดมากเกินต้อง การและทำให้เกิดความร้อนระหว่างการบด จะทำให้สารประกอบจำพวกน้ำมันที่มีอยู่ใน ผงยาอัดกันแน่น ร่อนผ่านตะแกรงได้ยาก การกำหนดขนาดของผงยาจะขึ้นอยู่กับรูป แบบยาที่ต้องการ เครื่องมือผลิตและกระบวน การผลิตเช่นผงยาที่จะนำไปบรรจุแคปซูล หรือที่จะเตรียมเป็นยาเม็ดควรเป็นผงละเอียด มาก โดยอย่างน้อยต้องผ่านตะแกรงขนาดเบอร์ 60 ได้หมด สมุนไพรที่นำไปสกัดด้วยวิธีชงขนาดของ ผงยาจะขึ้นกับความแข็งของสมุนไพร คุณสมบัติการละลายของสารออกฤทธิ์ใน สมุนไพร วิธีการสกัด ระยะเวลาที่หมักน้ำยา สกัดและความแรงของยา แต่ถ้าเป็นยาชงที่ บรรจุผงยาในถุงชาต้องแช่ละลายในน้าร้อน หรือ น้ำเย็นก่อนรับประทาน ควรบดยาให้เข้า เกณฑ์ คือ ผงยาจะต้องร่อนผ่านแร่งขนาด เบอร์ 20 ได้หมด และผ่านแร่งขนาดเบอร์ 60 ได้ไม่เกินร้อยละ40 เพราะหากเป็นผง ละเอียดกว่านี้จะร่วงผ่านถุงชาออกมาได้ง่าย (6) การบรรจุและเก็บรักษา เมื่อพืชสมุนไพรแห้งสนิทแล้วจะเป็น ขั้นตอนการเก็บรักษาซึ่งจะต้องมีการป้องกัน ความชื้นที่เกิดกับพืช ป้องกันการเข้าทำลาย ของแมลงเชื้อราและแบคทีเรีย ซึ่งเป็น องค์ประกอบสำคัญที่เร่งให้สมุนไพรเสื่อม คุณภาพเร็วหลักการเก็บรักษาพืชสมุนไพรแห้ง ควรปฏิบัติดังนี้ - ควรเก็บรักษาในที่สะอาดเย็นไม่อับชื้น มีอากาศถ่ายเทได้ดีและไม่ถูกแสงแดด - เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท ป้องกันการ ปนเปื้อนและแมลงเข้าทำลาย - ควรแยกเก็บสมุนไพรแต่ละชนิดให้เป็น สัดส่วนเป็นหมวดหมู่ - สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหรือที่มีสารระเหย ต้องบรรจุในภาชนะ ที่ไม่ดูดกลิ่น - ถ้าเป็นสมุนไพรที่ชื้นง่ายต้องหมั่นนำออก ผึ่งแดดหรืออบแห้งทุก 2-3 เดือน - ควรปิดฉลากแสดงรายละเอียดไว้ที่ภาชนะ เช่นชื่อสมุนไพรวันเดือนปีที่เก็บ - ไม่ควรเก็บนานเกินกว่า 3 ปี เพราะ สารสำคัญในสมุนไพรจะสูญเสียไปมากแล้ว การเก็บรักษาพืชสมุนไพรไว้ในที่แห้งและเย็น จะมีระยะเวลาการเก็บรักษาแตกต่างตาม (7) การขนส่ง การขนส่งควรทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้พืชสมุนไพรช้ำหรือเสียหาย ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งต้องเหมาะสม กับชนิดของผลผลิต อุณหภูมิระหว่างการ ขนส่งไม่ร้อนเกินไปหรือมีการซ้อนทับจนทำ ให้คุณภาพของผลผลิตเสียหายและทำการ ขนส่งให้ถึงผู้บริโภคหรือโรงงานเร็วที่สุด ประเภทของพืชสมุนไพร ดังแสดงในตารางที่ 2
  • 11. 1. กระเจี๊ยบแดง ส่วนที่ใช้ประโยชน์ : กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอก การเก็บเกี่ยวผลผลิต ระยะเวลาตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 5-6 เดือนโดยจะเก็บเกี่ยวในช่วงประมาณเดือนธค.- ม.ค. นำดอกกระเจี๊ยบแดง (ซึ่งจริง ๆ คือ กลีบเลี้ยงและกลีบรองดอกที่เจริญ) มากระทุ้งด้วยเหล็ก ให้กลีบและกระเปาะหลุดออกจากกัน จากนั้นนำมาทำให้แห้งด้วยการตากแดด หรืออบ หากตาก แดดให้ตากประมาณ 5-6 แดดจนแห้งสนิท การแปรรูป กระเจี๊ยบแห้งสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่ม(เช่น ชากระเจี๊ยบ ไวน์)และ ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร (เช่นเยลลี่ แยม ไอศครีม ซอส) นอกจากนั้นยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสี ผสมอาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติของการให้สีธรรมชาติแทนสีที่ได้จากการสังเคราะห์ การแปรรูปชากระเจี๊ยบผงชงดื่ม ผลผลิตกระเจี๊ยบแห้งที่รับซื้อจากเกษตรกรต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและตรวจวัดความชื้น เพื่อคัดแยกเฉพาะกลีบเลี้ยงที่มีคุณภาพ ก่อนนำเข้าอบในตู้อบความร้อนที่อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียสนาน 4-5 ชม. ในส่วนของการแปรรูปชากระเจี๊ยบผง จะนำกระเจี๊ยบแห้งมาบดด้วย เครื่องบดและร่อนด้วยเครื่องร่อน คัดเลือกขนาดตามเกณฑ์มาตรฐานชาสมุนไพร จากนั้นจึงนำบรรจุซอง อัตราแปรสภาพ กระเจี๊ยบสดน้ำหนัก 10 กก. ต่อกระเจี๊ยบแห้งน้ำหนัก 1 กก. กระเจี๊ยบแห้งน้ำหนัก 1 กก. ต่อกระเจี๊ยบผงน้ำหนัก 0.83 กก.
  • 12. 10 11 2. กวาวเครือขาว ส่วนที่ใช้ประโยชน์: หัวใต้ดิน การเก็บเกี่ยวผลผลิต กวาวเครือขาวสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่อมีอายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่ง - 3 ปีขึ้นไป(หากปลูกโดย การเพาะเมล็ด) แต่ถ้าปลูกด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่อายุ 4 ปีขึ้นไป โดยเกษตรกรนิยมขุดหัวกวาวเครือขาวในช่วงผลัดใบ (ฤดูแล้ง) เนื่องจากเป็นช่วงที่มีสารสำคัญ สะสมอยู่ในหัวมากที่สุด (ทั้งนี้ขนาด น้ำหนัก และปริมาณสารสำคัญมากน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน สภาพแวดล้อมลักษณะการปลูก) และเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวสดแล้ว ควรนำมาล้างทำความสะอาด ฝานเป็นชิ้นบาง แล้วตากแดดประมาณ 3 วัน (ในขั้นตอนนี้ควรทำภายใน 3 - 4 วันเพื่อป้องกัน ผลผลิตเน่าเสียหาย) การแปรรูป ปัจจุบันกวาวเครือขาวได้ถูกนำมาใช้เพื่อการแปรรูปอย่างหลากหลายและกว้างขวาง ทั้งในและต่างประเทศ ในรูปของยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และใช้เป็นส่วนผสม ในผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องสำอาง (เช่นครีมพอกหน้าครีมบำรุงผิวหน้า) 3. ขมิ้น ส่วนที่ใช้ประโยชน์: เหง้าสด, แห้ง การเก็บเกี่ยวผลผลิต ขมิ้นชันควรเก็บในช่วงที่เจริญเติบโตเต็ม ที่ อายุประมาณ9-11เดือนเพราะเหง้ามีความ สมบูรณ์ สามารถเก็บรักษาเหง้าสดไว้ในสภาพ ปกติได้นานและมีสารสำคัญมากเพียงพอ โดยสังเกตจากลำต้นเหนือดินเริ่มเหี่ยวแห้งจน แห้งสนิท จึงเริ่มทำการเก็บเกี่ยวซึ่งจะอยู่ใน ช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ ไม่ควรเก็บ เกี่ยวในระยะที่เริ่มแตกหน่อเพราะทำให้มี ปริมาณสารสำคัญต่ำ การแปรรูป หลังจากการเก็บเกี่ยว นำมาตัดแต่งราก ล้างทำความสะอาดเพื่อขจัดดินออก การแปร รูปขมิ้นชันเป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตซึ่งขึ้น อยู่กับความต้องการของโรงงานแปรรูปที่ จะรับซื้อผลผลิตเพื่อเข้าสู่การผลิตในอุตสาหกรรม แต่ละประเภทต่อไป ซึ่งการแปรรูปขั้นต้น ได้แก่ การทำขมิ้นแห้ง การทำขมิ้นผง และ การกลั่นน้ำมันหอมระเหยโดยแต่ละประเภท มีรายละเอียดดังนี้ 1) การทำขมิ้นชันแห้ง นำเหง้าขมิ้นชันมาทำความสะอาดคัดแยก หัวและแง่งออกจากกัน ตัดรากและส่วน ต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการทิ้ง คัดเลือกส่วนที่ สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลงนำมาล้าง ด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆครั้ง จากนั้น นำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ใส่ในภาชนะ ที่มีรูโปร่งอย่าให้ทับซ้อนกัน นำไป ตากแดดหมั่นกลับบ่อย ๆ ประมาณ 10- 20 นาทีต่อครั้ง จะทำให้ขมิ้นแห้งเร็วหรือ หากมีตู้อบควรอบที่อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8-12 ชั่วโมง หรือ ตากแดด 3 วัน อบ 50 องศาเซลเซียส เป็น เวลา 3 ชั่วโมง ในการทำแห้งโดยตากแดด ที่ใช้เวลานานอาจจะมีการปนเปื้อนเชื้อ จุลินทรีย์ได้และสีของขมิ้นแห้งจากการอบ จะสม่ำเสมอกว่าการตากแดด ขมิ้นที่แห้ง แล้วควรบรรจุในภาชนะที่สะอาดปิดให้ สนิทเก็บในที่แห้งและสะอาดหากยังไม่ได้ นำไปใช้ให้นำออกผึ่งในที่ร่มทุก 3-4 เดือน และไม่ควรเก็บไว้นานเนื่องจากปริมาณ น้ำมันหอมระเหยจะลดลงประมาณ 25 % เมื่อเก็บไว้นาน 2 ปี 2) การทำขมิ้นชันผง นำขมิ้นชันแห้งมาบดด้วยเครื่องบดหรือ ด้วยการตำแล้วร่อนเอาเฉพาะผงขมิ้นนำมา บรรจุถุงเพื่อจำหน่าย ขมิ้นชันผงจะนำไปใช้ เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่นเครื่อง สำอางลูกประคบผลิตภัณฑ์สุคนธบำบัด หรือ ใช้ในทางการแพทย์ในการรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร ใช้ลดอาการ อักเสบ อัตราแปรสภาพ : ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้ง เท่ากับ 6 ต่อ 1
  • 13. 12 13 4. คำฝอย ส่วนที่ใช้ประโยชน์: กลีบดอก การเก็บเกี่ยวผลผลิต ดอกคำฝอยมีระยะเวลาตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว ประมาณ 4-6 เดือน โดยดอกหรือเกสรเก็บเมื่อต้น มีอายุประมาณ 90-100 วัน (หรือสังเกตจาก กลีบดอกมีสีแดงส้ม) ส่วนเมล็ดเก็บเมื่อต้นมี อายุประมาณ 120-150 วัน ( หรือ 30 วัน หลังจากดอกบาน) ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวทั้ง ต้นหรือเฉพาะดอก จากนั้นนำกลีบดอกมา ตากแห้งประมาณ 3 วัน หรือผึ่งลมประมาณ 7 วันเพื่อให้ได้กลีบดอกแห้ง ผลผลิต : กลีบดอกสด 100-150 กก.ต่อไร่ (หรือดอกคำฝอยแห้ง 10-15 กก.ต่อไร่) การแปรรูป คำฝอยมีการนำมาใช้ทั้งในอุตสาหกรรม ด้านอาหาร โดยการสกัดน้ำมันจากเมล็ดเพื่อ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำมันปรุง อาหาร มาการีน น้ำมันสลัด เนื่องจากพบว่าใน เมล็ดมีปริมาณน้ำมันที่ประกอบไปด้วยกรด ไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณมาก ส่วนกากที่เหลือ จากการสกัดยังสามารถนำไปทำเป็นอาหาร สัตว์หรือปุ๋ยได้ สำหรับผู้ประกอบการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เบื้องต้น (กลุ่มแม่บ้าน, วิสาหกิจ ชุมชน, โรงพยาบาล) ส่วนใหญ่จะแปรรูปจาก กลีบดอกคำฝอยเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทชงดื่ม ได้แก่ ดอกคำฝอยแห้งบรรจุถุงชาดอกคำฝอย เป็นต้น อัตราแปรสภาพ ดอกคำฝอยสดน้ำหนัก 10 กก. ต่อดอกคำฝอยแห้งน้ำหนัก 1 กก. ดอกคำฝอยแห้งน้ำหนัก 1 กก. ต่อดอกคำฝอยผงน้ำหนัก 0.90 กก. 5. เจียวกู้หลาน (ปัญจขันธ์) ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ใบและเถา การเก็บเกี่ยวผลผลิต เก็บเกี่ยวส่วนเหนือดินขึ้นมาประมาณ 23 ข้อ แล้วแยกส่วนใบก้านออกจากกัน ล้างทำความสะอาดหลังจากนั้นนำมาตัด เป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 1 ซม. การแปรรูป นำปัญจขันธ์ที่ทำความสะอาดแล้วมาคั่ว ด้วยไฟอ่อน แล้วอบที่อุณหภูมิ 40-60 องศา เป็นเวลาประมาณ 4 ชม. 6. ตะไคร้หอม ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ใบสด การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตะไคร้หอมเก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 6-8 เดือน อายุการให้ผลผลิต 2-3 ปี โดยตัดเอา ส่วนใบซึ่งอยู่เหนือพื้นดิน 25-30 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นที่เหลือแตกใบใหม่ได้เร็วขึ้น เก็บเกี่ยวแต่ละครั้งให้ห่างกัน 3 เดือน ตัดได้ ปีละ 2-3 ครั้ง ใบที่ตัดมานำไปสกัดนํ้ามัน หอมระเหยโดยวิธีการกลั่นด้วยน้ำ หรือกลั่น ด้วยไอน้ำ อัตราแปรสภาพ ใบสด : นํ้ามันหอมระเหยเท่ากับ 1 ตัน : 1 ลิตร
  • 14. 14 15 7. บอระเพ็ด การเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 2 ปีขึ้นไป โดยเก็บเถาสดที่เจริญเต็ม ที่นำมาตาก แดด 3-5 วัน จนแห้งสนิท จากนั้น นำเถาแห้งมาหั่นเฉียงเป็นแว่น ๆ หนา 1-2 เซนติเมตรการตัดเถามาใช้ให้ เหลือเถาไว้ประมาณ 2-3 วา อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 4-5 ต่อ : 1 8. พญายอ ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ใบสด การเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่อายุ6เดือนตัดต้น เหนือผิวดิน 10 ซม. ล้างนํ้า 1-2 ครั้งผึ่งในที่ ร่มจนแห้งสนิท อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 4 ต่อ : 1 9. พริกไทย ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ผลแห้ง การเก็บเกี่ยวผลผลิต เก็บเมื่อผลสุก ผลพริกไทยช่อเดียวกันจะสุกเป็น สีแดงไม่เท่า กันเมื่อพบว่ามีผลเริ่มสุกในช่อใดทำ การเก็บช่อนั้นมาทั้งช่อ อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 3 :ต่อ 1 10. ไพล ส่วนที่ใช้ประโยชน์: เหง้า การเก็บเกี่ยวผลผลิต เหง้าไพลสามารถเก็บได้เมื่อมีอายุ 2-3 ปี เก็บ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนจะสังเกตเห็นต้น ไพลแห้งและฟุบ ห้ามเก็บไพลขณะที่เริ่มแตกหน่อ ใหม่เพราะจะทำให้ได้นํ้ามันไพลที่มีปริมาณและ คุณภาพตํ่า อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : นํ้ามันหอมระเหยเท่ากับ 1 ตัน : 8-10 ลิตร
  • 15. 16 17 11. เพชรสังฆาต ส่วนที่ใช้ประโยชน์: เถาสด การเก็บเกี่ยวผลผลิต เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป ใช้เถาหรือลำต้นสดทุกส่วน การตัดให้เหลือ เถาไว้ 1-2 วา นำเถาไปหั่นแล้วอบให้แห้ง อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 6-7 : 1 12. ฟ้าทะลายโจร ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ทั้งต้น การเก็บเกี่ยวผลผลิต เก็บในช่วงเริ่มออกดอกอายุ 110-150 วัน ใช้กรรไกรหรือเคียวเกี่ยวทั้งต้นให้เหลือตอสูง ประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปีหนึ่งเก็บเกี่ยว ได้ 2-3 ครั้ง การแปรรูป ฟ้าทะลายโจรที่เก็บเกี่ยวแล้ว นำมาล้างนํ้า ให้สะอาด ตากในที่ร่ม 5-7 วัน หรืออบที่ อุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส จนแห้ง สนิท บรรจุในถุงพลาสติกเก็บในบริเวณที่เย็น และไม่โดนแสงแดด อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 4 : 1 13. มะแว้งเครือ ส่วนที่ใช้ประโยชน์: ผลสด/แห้ง การเก็บเกี่ยว เริ่มเก็บผลผลิตได้เมื่ออายุ 8-10 เดือนเก็บผล ในระยะเริ่มแก่แต่ยังไม่สุก สังเกตที่ผลเริ่มมีสีเหลืองส้ม (ผลที่แก่เต็มที่จะมีสีส้มเข้ม) การแปรรูป นำผลที่เก็บมาล้างน้ำสะอาด ตากแดดเป็น เวลา 3-5 วัน ให้แห้งสนิท หรืออบที่อุณหภูมิ ประมาณ 50 องศาเซลเซียส จนแห้งสนิทบรรจุใน ถุงพลาสติกเก็บในบริเวณที่เย็นและไม่โดนแสงแดด อัตราแปรสภาพ ผลผลิตสด : ผลผลิตแห้งเท่ากับ 3 : 1 14. ว่านหางจระเข้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์: วุ้นในใบสด การเก็บเกี่ยวผลผลิต เก็บเกี่ยวได้หลังปลูก 8-12 เดือน โดยเก็บใบ ล่างขึ้นไปสังเกตเนื้อวุ้นที่โคนใบด้านในเต็มและ ลายที่ใบลบหมดแล้ว เก็บได้ปีละ 8 ครั้ง ระวัง อย่าให้ใบว่านชํ้า
  • 16. 18 19 นุษย์เราใช้สมุนไพรในการรักษาอาการ เจ็บป่วยมาเป็นเวลานาน ในอดีตผู้ใช้มักเก็บ สมุนไพรตามป่าหรือมีการปลูกในบริเวณบ้าน เพื่อใช้หรือนำมาแลกเปลี่ยนกันในระหว่างชุมชน แต่เมื่อความต้องการสมุนไพรมีปริมาณมาก ขึ้น บางชนิดเป็นสินค้าส่งออก มีความจำเป็น ที่จะต้องสนองความต้องการของตลาด จึงมี การเพาะปลูกและเก็บเกี่ยว ทำให้คุณค่าของ สมุนไพรในยุคปัจจุบันมีความผันแปรจาก หลายปัจจัย ทำให้จำเป็นต้องศึกษาถึงคุณค่า หรือคุณภาพของสมุนไพร โดยเฉพาะสมุนไพร ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบทางยา คุณภาพของยา สมุนไพรนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสารสำคัญ ที่มีอยู่ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้คุณภาพของ สมุนไพรเปลี่ยนแปลงมีหลายประการ ได้แก่ สายพันธุ์ของพืชสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ การปลูก การเก็บเกี่ยว เป็นต้น คุณภาพของ ยาสมุนไพรที่เปลี่ยนแปลงส่งผลถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพของยาได้ จึงมีการกำหนดมาตร ฐานของสมุนไพรขึ้น การประเมินคุณภาพสมุนไพร หมายถึง การ พิสูจน์ (identify) หรือ การตรวจสอบว่า สมุนไพรนั้นเป็นชนิดที่ถูกต้องหรือไม่ มีสิ่ง ปนปลอมหรือไม่ มีปริมาณสารสำคัญเท่าใด มี คุณสมบัติอื่น ๆ ดีมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้โดย พิจารณาจากค่าต่าง ๆ ที่หาได้ เช่น ความชื้น สิ่งปนเปื้อน ปริมาณเถ้า ซึ่งในการตรวจสอบ คุณภาพของสมุนไพรนั้นๆในแง่ของเอกลักษณ์ ความบริสุทธิ์ คุณสมบัติมีกระบวนการในการ ตรวจสอบ ดังนี้ 1. การตรวจสอบโดยใช้อวัยวะรับ ความรู้สึก (organoleptic method) คือ การใช้ประสาททั้งห้า รูปรสกลิ่น เสียง สัมผัส ในการประเมิน วิธีนี้เป็นการตรวจ สอบเบื้องต้นที่สำคัญ ซึ่งจะบอกลักษณะของ พืชสมุนไพรในเบื้องต้นโดยเฉพาะรูปพรรณ สัณฐานที่ปรากฏจะช่วยระบุชนิดพืชได้เนื่อง จากพืชบางชนิดนั้นมีเอกลักษณ์ชัดเจน เช่น จันทน์ 8 กลีบ มีรูปดาว 8 แฉก หรือโกฐกะ กลิ้ง มีลักษณะคล้ายเม็กระดุมแบนๆ
  • 17. 20 21 นอกจากนั้น สีและลักษณะสังเกตภายนอก รอยหักและสีภายในกลิ่นและรส ล้วนช่วยใน การตรวจสอบชนิดพืช เช่น พืชบางชนิด มีกลิ่นเฉพาะตัว ได้แก่ อบเชย เทียนข้าว เปลือก ยี่หร่า มหาหิงคุ์ เป็นต้น 2. การตรวจสอบโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (microscopic metod) โดยอาศัยดูลักษณะเนื้อเยื่อเฉพาะ ดูขนาดและ ปริมาณของสิ่งที่พบ เช่น เม็ดแป้ง ดูผลึกของ สาร ตลอดจนหาค่าเฉพาะบางชนิดซึ่งการ ตรวจสอบในวิธีนี้นอกจากจะช่วยตรวจเอก ลักษณ์ของพืชแล้ว ยังช่วยตรวจสอบการ ปนปลอมอีกด้วย 3. การประเมินคุณภาพทางชีววิทยา (bi- ological method) เป็นการทดสอบฤทธิ์ทางชีววิทยา โดยการ ทดสอบกับสิ่งมีชีวิต อาจเป็นสัตว์ทดลอง หรือ อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งที่ตัดออกมา เพื่อให้ ทราบฤทธิ์และความแรงของยาสมุนไพร 4. การประเมินคุณภาพทางเคมี (chemi- cal method) สมุนไพรมีสารองค์ประกอบทางเคมี ซึ่งเป็น สารที่ทำให้เกิดฤทธิ์ในการรักษา ดังนั้นการ ทดสอบทางเคมีจึงมีความสำคัญในการ ควบคุมคุณภาพการตรวจสอบทาง เคมี ตรวจสอบด้วยปฏิกริยาต่าง ๆ เช่น ปฏิกิริยาการเกิดสี, iodine value ตลอดจน การใช้เทคนิคทางโครมาโทกราฟี สิ่งปนปลอมในเภสัชภัณฑ์ธรรมชาติ(adul- terant in natural pharmacetuicals) เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก อาจเกิดโดยการ จงใจหรือไม่ก็ตาม การปนปอมทำให้คุณภาพ ต่ำลง ซึ่งการปนปลอมที่เกิดขึ้นนั้นขึ้นอยู่กับ ชนิด ราคา ความต้องการของผู้บริโภค โดย สิ่งที่ใช้ปนปลอมมักจะหาง่าย ราคาถูก และ เป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับของแท้มากที่สุด ใน การประเมินคุณภาพสมุนไพรนั้น จึงมีการ ตรวจหาการปนปลอมหรือการตรวจหาความ บริสุทธิ์ของสมุนไพร สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การหาสิ่งแปลกปลอม (foreign matter) ด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์การหา ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด(acid-insol- ubleash)การหาปริมาณองค์ประกอบสำคัญ การหาปริมาณน้ำหรือความชื้นนอก จากนั้นในการประเมินคุณภาพของสมุน ไพรจะมีการตรวจสอบค่าคงที่ต่างๆโดยใน การตรวจสอบจะต้องทำการสุ่มตัวอย่างที่ เป็นตัวแทนมาไม่ต่ำกว่า 3 ตัวอย่างต่อชนิด เพื่อหาค่าเฉลี่ยในแต่ละตัวอย่าง นำตัวอย่าง มาบดเป็นผงผ่านแร่งเบอร์ 20-40 ถ้าตัว อย่างไม่สามารถทำเป็นผงได้ ให้ทำเป็นชิ้น เล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ใส่ขวดสีชา ปิดสนิท เก็บไว้วิเคราะห์ รายละเอียดในการตรวจสอบ ค่าคงที่ต่าง ๆ มีดังนี้ 5. ปริมาณสิ่งสกัด (extractive value) เป็นการหาปริมาณสารสกัดที่ได้จากสมุนไพร เมื่อใช้ตัวทำละลายชนิดต่าง ๆ วิธีการนี้จะ กำหนดไว้สำหรับสมุนไพรที่ไม่มีวิธีวิเคราะห์ ทางเคมีหรือชีววิทยาที่เหมาะสม สำหรับ การเลือกตัวทำละลายจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ของสารองค์ประกอบสำคัญในสมุนไพรชนิด นั้น ๆ 6. การวัดปริมาณน้ำมันระเหย (voltile oil determination) น้ำมันหอมระเหยเป็นส่วนประกอบสำคัญ ที่พบได้ในพืชหลายชนิดโดยเฉพาะเครื่องเทศ เช่น กะเพรา โหระพา กระวาน การกำหนด ปริมาณน้ำมันหอมระเหยเป็นการควบคุม สมุนไพรอีกวิธีหนึ่ง โดยใช้วิธีการกลั่น 7. การวัดปริมาณน้ำในยาสมุนไพร (moisture content) เป็นการตรวจสอบปริมาณน้ำหรือความ ชื้น ในพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยเป็นองค์ประกอบ ซึ่งจะใช้วิธีการหาปริมาณความชื้นด้วยการ อบแห้งไม่ได้ เนื่องจากน้ำมันหอมระเหยจะ ออกมาพร้อมกับน้ำทำให้หาปริมาณน้ำที่แท้ จริงไม่ได้ ในกรณีนี้จึงต้องใช้วิธีการอื่น เช่น ใช้วิธี Azeotropic distillation method นอกจากนี้แล้วยังมีการทดสอบ อื่น ๆ ที่เฉพาะสำหรับสมุนไพรในบางกลุ่ม ตาม คุณสมบัติของสมุนไพรนั้น เช่น การหาความ 1. การหาน้ำหนักที่หายไปเมื่อทำให้แห้ง (loss on drying) เป็นการควบคุมปริมาณความชื้นในตัวยา สมุนไพรซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งนี้เนื่องจากความ ชื้นจะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ก่อให้เกิดการสลายตัวขององค์ประกอบ สำคัญในสมุนไพรได้ 2. ปริมาณเถ้ารวม (total ash) เป็นเถ้าที่ได้หลังจากการเผาตัวยาที่ อุณหภูมิสูง(450-800ซ)ในปัจจุบันเถ้ารวม ที่พบในพืชเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมี ในการเพาะปลูก 3. ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด (acid insoluble ash) เป็นการหาปริมาณของเถ้าที่ไม่ละลายใน กรดเกลือ สารเหล่านี้เป็นสิ่งปนปลอมประเภท สารอนินทรีย์ได้แก่ดินทราย เป็นต้นสิ่งเหล่า นี้มักปะปนมากับรากหรือเหง้า 4. ปริมาณเถ้าที่ละลายน้ำได้ (water soluble ash) เป็นค่าความแตกต่างระหว่างปริมาณ ของปริมาณเถ้ารวมและเถ้าที่เหลือจาก ต้มเถ้ารวมกับน้ำปริมาณเถ้าชนิดต่างๆของ สมุนไพรแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไป ค่าเหล่า นี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงคุณภาพ และความสะอาด ของสมุนไพร รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปน ปลอมสมุนไพร
  • 18. 22 23 1) ชื่อทางการเป็นภาษาอังกฤษ (official English title) ชื่อนี้เป็นชื่อที่ใช้ทั่วไปในเภสัชตำรับของอังกฤษ และอเมริกาเช่น U.S.P., B.P., N.F. และ B.P.C. ตัวอย่างเช่นRhubarbU.S.P.หรือNutgallN.F. 2) ชื่อภาษาละติน (Latin title) ชื่อนี้มักจะนำมาจากชื่อสกุล (genus) ของพืช หรือสัตว์ที่เป็นต้นกำเนิดของยาสมุนไพรหรือ ได้จากชื่อตัว(species)หรือทั้ง 2 อย่างหรือเป็น ชื่อพ้อง (synonym) ที่เคยใช้กันมาก่อนเช่น Cascara sagrada 3) แหล่งกำเนิดทางชีววิทยา (biological origin) หมายถึงชื่อวิทยาศาสตร์(scientificname) ที่ให้ยาสมุนไพรนั้น อาจได้มาจากพืช (botani- cal origin) หรือสัตว์ (zoological origin) 4) มาตรฐานคุณภาพและความบริสุทธิ์ หมายถึง คุณภาพและความบริสุทธิ์ตามมาตรฐาน ที่กำหนดไว้ เช่น กำหนดค่าของสิ่งเจือปน (im- purity) ที่ไม่เป็นโทษ ว่าอยู่ในปริมาณไม่เกินขีด กำหนดเท่าใด เช่น ค่าความชื้น (moisture), อินทรีวัตถุแปลกปลอม (foreign organimatter), เถ้าที่ไม่ละลายในกรด (acid insoluble ash) ขม (bitter index)ในบอระเพ็ด หรือการ ทดสอบการพองตัว (swelling index) ในเม็ดแมงลัก บุก ค่าการพองตัว (swelling index) เป็นการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติใน การพองตัวของสมุนไพรที่มักประกอบด้วย สารเมือก ที่พองตัวได้ในน้ำ เช่น เม็ดแมงลัก เทียนเกล็ดหอย บุก สารในกลุ่มนี้มีประโยชน์ ในการนำมาใช้เป็นยาระบาย หรือใช้เป็นสาร ช่วยแขวนตะกอน ค่าความขม (bitter in- dex) สารองค์ประกอบในสมุนไพรบางชนิด มีรสขมจัดซึ่งในการใช้ประโยชน์ในทางยาใช้ ฤทธิ์ของรสขมดังกล่าว เช่น ใช้เพื่อให้เกิด ความอยากอาหารด้วยผลของการ กระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะ (bitter tonic) ยาสมุนไพรที่จะเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็น ยาสำเร็จรูป จะต้องผ่านการวิเคราะห์มาตรฐาน เสียก่อนซึ่งมาตรฐานเหล่านี้จะถูกกำหนดไว้ ในแต่ละ monograph อย่างละเอียดในเภสัช ตำรับยาสมุนไพร สมุนไพรแต่ละชนิดที่จะ นำมาใช้เป็นยาได้จะต้องถูกกำหนด ไว้เป็นมาตรฐานตามเภสัชตำรับของ แต่ละประเทศ (National Pharmacopoeia) เภสัชตำรับเหล่านี้มีการแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยน แปลงอยู่เสมอรายละเอียดที่สำคัญของยาสมุน ไพรนั้น ๆ มีการจำแนกออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ รายละเอียดต่าง ๆ เรียกเป็น Monograph ซึ่งมีหัวข้อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 9) การบ่ม (curing) เป็นวิธีการที่ทำให้แห้งช้าๆ เพื่อให้เอนไซม์ที่ มีอยู่ทำปฏิกิริยาขึ้น ตัวอย่างของสมุนไพรที่ต้อง การบ่มเช่น Vanilla, Coca, Gentian Tobacco เป็นต้น ในบางกรณี เช่น Cascara sagrada เมื่อเก็บเปลือกไว้ 1 ปี ที่อุณหภูมิห้อง แล้วนำไปใช้ irritant principle จะถูกทำลาย ไปหมด 10) สารสำคัญ (constituents) ในยาสมุนไพรหนึ่งๆนั้นจะมีสารประกอบ อยู่หลายชนิด บางชนิดก็เป็นสารออกฤทธิ์ (active constituents) ที่ทำให้เกิดผลทาง ชีวภาพ ซึ่งสามารถใช้บำบัดรักษาโรค 11) ประโยชน์ (uses) หมายถึง ประโยชน์ หรือสรรพคุณในการบำบัด โรคของยาสมุนไพรนั้น ๆ ว่าใช้บำบัดโรคอะไร หรือทำให้เกิดภาวะต่อร่างกายอย่างไร 5) แหล่งกำเนิดทางภูมิศาสตร์ (geographi- cal sources หรือ habitat) หมายถึง ถิ่นกำเนิดของยาสมุนไพรนั้น 6) การบรรยายลักษณะ (description) เป็นการบรรยายถึง รูปร่าง ลักษณะของ ยาสมุนไพรว่าเป็นส่วนใดของต้นไม้หรือสัตว์ รูปลักษณะภายนอก ภายใน ขนาด สี กลิ่นรส อย่างไรอาจมีลักษณะทางจุลทรรศน์ที่เด่นชัดหรือ วิธีการตรวจสอบ 7) วิธีการเก็บเกี่ยว (collection of crude drugs) เป็นวิธีการเก็บ และได้ยาสมุนไพรมา 8) การทำให้แห้ง (drying) เพื่อขจัดความชื้นออกไปให้หมดเพื่อป้องกันการ เปลี่ยนแปลงของสาสำคัญเนื่องจากเชื้อราหรือ เอนไซม์ซึ่งอาจใช้วิธีผึ่งแดด (sun dry), ผึ่งในร่ม (air dry) หรืออบในตู้อบ (artificial heat)
  • 19. 24 25 ปัจจุบันแนวโน้มของผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพดังเช่นผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรได้กลับมาสู่ความสนใจ ของผู้บริโภคอีกครั้ง เนื่องจากอิทธิพลของกระแสโลก(Globalization)ในเรื่องการรักษาและดูแลสุขภาพ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติเพราะมีความเชื่อมั่นว่า ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาตินั้นมีความปลอดภัยหรือเกิดผล ข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์น้อยกว่ายาแผนปัจจุบัน และจากการที่มีวิธีการรักษาพยาบาลด้วยการแพทย์ทางเลือก ในโรงพยาบาลก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ทำให้มีความตื่นตัวในการใช้สมุนไพรและการแพทย์แผน ไทยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งรัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของสมุนไพรและการแพทย์ แผนไทย ทั้งนี้การปนเปื้อนโลหะหนักในสมุนไพรปัจจุบันก็พบได้มากขึ้น อาจเกิดจากการที่มีมลพิษ จากทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทำให้มีสารเคมีและโลหะหนักตกค้างสะสมในดินและน้ำ ซึ่ง สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่สมุนไพรได้มากขึ้น โดยมีรายงานการปนเปื้อนของโลหะหนักในยาแผนโบราณ บางชนิด ซึ่งโลหะหนักเหล่านั้นสามารถก่อให้เกิดพิษต่อผู้บริโภคได้ ทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง และ จากรายงานของสถาบันโรคผิวหนัง ในประเทศไทย พบว่า โรคพิษสารหนูส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยที่มี ประวัติกินยาสมุนไพรหรือยาต้มแผนโบราณที่มีสารหนูผสม โดยมีผู้ป่วยด้วยโรคพิษสารหนูที่เกิดจากยา รักษาโรค โดยเฉลี่ยปีละประมาณ 10 ราย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการควบคุมคุณภาพ ของยาจากสมุนไพรและยาแผนโบราณเหล่านี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยในการบริโภคยา และได้รับยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยาได้ประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนตำรับยาแผนโบราณเกี่ยวกับมาตรฐานการปนเปื้อน เชื้อจุลินทรีย์และโลหะหนัก มีผลใช้บังคับนับแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศ ทั่วไป เล่ม 121 ตอนพิเศษ 43 ง วันที่ 21 เมษายน 2547 โดยคำขอขึ้นทะเบียนยาแผนโบราณทุกตำรับ ต้องมีผลการตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และมีแนวโน้มที่ต่อไปในอนาคตจะต้องใช้ผลการ ตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนโลหะหนักประกอบการขึ้นทะเบียนด้วย โลหะหนัก หมายถึง โลหะที่มีความหนาแน่นเกินกว่า 5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และสารหนู เป็นต้น สารพิษเหล่านี้เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายจนถึงระดับ หนึ่งก็จะแสดงอาการออกมาให้เห็น ซึ่งผลของความเป็นพิษของโลหะหนักต่อกลไกระดับ เซลล์มี5 แบบ คือ ทำให้เซลล์ตาย, เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของเซลล์, เป็นตัวการทำให้เกิดมะเร็ง, เป็นตัวการทำให้เกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม และทำความ เสียหายต่อโครโมโซม ซึ่งเป็นปัจจัยทางพันธุกรรม บรรดาโลหะหนักเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่รู้ตัวจากสิ่งแวดล้อม(ดินน้ำอากาศ)อาหาร ยาจากสมุนไพรหรือจากข้าวของเครื่องใช้ในครัว- เรือน สาเหตุของการปนเปื้อนมาจากธรรมชาติ กระบวนการผลิต วัตถุดิบและการปนเปื้อนโดย สารเคมีที่ถูกปล่อยเป็นของเสียออกมาจากโรงงาน อุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ คนเรามีโอกาสได้รับตะกั่วโดยตรงจากการกินอาหารน้ำดื่ม สัมผัสผิวหนังผ่านเครื่องสำอางที่ปนเปื้อนตะกั่ว หรือหายใจเอาสารตะกั่วเจือปนเข้าไป กลุ่มผู้เสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว ได้แก่ คนงานที่ทำเหมืองตะกั่ว โรงงานผลิตแบตเตอรี่โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ โรงงานผลิตสีโรงงานผลิต สารพิษกำจัดศัตรูพืช และคนที่อาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่วหรือใกล้โรงงานที่มีการใช้สาร- ตะกั่วเป็นวัตถุดิบ ตำรวจจราจร และคนที่อยู่ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นเป็นเวลานาน เด็กอาจ ได้รับสารตะกั่วจากการหยิบสิ่งที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนเข้าปาก หรือรับจากน้ำนมแม่ที่มีสารตะกั่ว แม้แต่ทารกในครรภ์ก็สามารถรับสารตะกั่วจากมารดาได้ทางสายสะดือ สารตะกั่วมีพิษมากโดย เฉพาะเด็ก ซึ่งอาจมีผลทำให้สมองพิการ ส่วนผู้ใหญ่อาจมีผลต่อระบบทางเดินอาหารและระบบ ประสาทสำหรับอันตรายโดยทั่วไปนั้นทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นลง ทำให้เป็นโรคเลือดจาง และเป็น อันตรายต่อระบบประสาทไต ทางเดินอาหารตับ และหัวใจ อาการโรคพิษตะกั่วเกิดได้กับหลายระบบ ของร่างกายคือ ระบบประสาทส่วนกลางและสมอง อาการสำคัญที่พบ คือสมองเสื่อมจากพิษตะกั่ว