SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 24
Descargar para leer sin conexión
- 1 -
รายงานข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
โดย นายทวี หนูทอง
ที่ปรึกษาด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครอง โครงการ CATSPA
บทนา
กองทุนเพื่อการอนุรักษ์ (Conservation Trust Fund: CTF) เป็นการดําเนินงานของภาค
ประชาคมหรือเอกชนเพื่อดําเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีการสนับสนุนเงินงบประมาณในด้าน
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่คุ้มครอง การบริหารกองทุนจะเป็นการ
ดําเนินงานในระยะยาวและดําเนินการอยู่ภายใต้กฎหมายที่กําหนดของภาครัฐของประเทศนั้นๆ เงิน
งบประมาณของกองทุนจะได้จากการสนับสนุนในการบริจาคของภาครัฐและภาคเอกชน รูปแบบการ
ดําเนินงานโครงการหรือขับเคลื่อนโครงการโดยองค์กรพัฒนาเอกชนหรือองค์กรพัฒนาที่ยั่งยืนหรือภาครัฐ
(เช่น หน่วยงานอุทยานแห่งชาติ)
กองทุนเพื่อการอนุรักษ์เป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนากิจกรรมงบประมาณ เพื่อการพัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาติที่นอกเหนือจากงบประมาณปกติของภาครัฐ มีบทบาทในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
ให้แก่สังคมที่มีกลไกสนับสนุนการใช้ประโยชน์ของชุมชนที่มีส่วนร่วม
แนวทางในการดําเนินงานของกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Fund: CTF) เพื่อที่จะ
ทําให้เกิดขึ้นและปฏิบัติได้จริง จะต้องมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเงินงบประมาณ
เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Fund: CTF) ได้มีการพัฒนาและนํามาใช้กันในหลายๆ
ประเทศแถบละตินอเมริกาและคาริบเบียน เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง
ชีวภาพในพื้นที่คุ้มครอง แหล่งเงินทุนสําหรับกองทุนอนุรักษ์ (CTF) จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
องค์กรนานาชาติ องค์กรอนุรักษ์และองค์กรพัฒนาเอกชน
คําว่า Trust เป็นคําศัพท์ทางกฎหมายจากประเทศอังกฤษ หมายถึง การจัดการกองทุนให้มี
ผลกําไรที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีคําว่า in trust เป็นการจัดการกองทุนในนามของ
บุคคลสําคัญต่างๆ ส่วนคําว่า Trust Fund เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีผู้บริหาร
ดําเนินการกองทุนที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีผู้บริหารดําเนินการกองทุนและ
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมกองทุน มีการกําหนดเวลาและนําผลกําไรไปใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์
จําต้องมีกฎหมายและกฎระเบียบหรือข้อบังคับควบคุมการดําเนินงานของกองทุน เช่น กองทุนอนุรักษ์
พลังงาน (Thailand Energy Conservation Fund (1992) ที่มีเป้ าหมายเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มีกฎหมายหรือ
กฎระเบียบข้อบังคับกองทุนโดยเฉพาะ
รูปแบบของกองทุนอนุรักษ์จะมีหลายรูปแบบ ที่มีการบริหารจัดการเงินงบประมาณเพื่อ
สนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ มีการระดมทุนเพื่อการดําเนินงานบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง การดําเนินงาน
- 2 -
ของกองทุนจะต้องไม่อยู่ในความควบคุมดูแลหรือดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐ สําหรับรูปแบบของ
กองทุนสามารถที่จะกําหนดและดําเนินการในรูปแบบต่างๆ และเรียกชื่อกองทุนอนุรักษ์ที่แตกต่างกัน เช่น
(1) Park Funds เป็นกองทุนอนุรักษ์อุทยาน ดําเนินการใช้กองทุนเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองและ
ระบบนิเวศ กองทุนแบบนี้ได้มีการดําเนินงานกันในหลายๆ ประเทศ (2) Green Funds กองทุนสีเขียว เป็น
กองทุนอนุรักษ์ที่ใช้ในการดําเนินการบริหารจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (3) Brown Funds
กองทุนสีนํ้าตาล เป็ นกองทุนอนุรักษ์ที่ใช้ในการดําเนินงานจัดการควบคุมมลพิษและของเสีย
(4) Endowment Funds เป็นกองทุนอนุรักษ์หรือทรัพย์สินที่ได้รับการบริจาคและนําผลกําไรไปใช้เพื่อ
สาธารณประโยชน์ (5) SinkingFunds เป็นกองทุนที่มีการกําหนดเวลาในระยะยาวเงินงบประมาณกองทุนจะ
ถูกใช้จนหมด และ (6) Revolving Funds เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากแหล่งต่างๆ
และนําไปลงทุนเพื่อหวังผลกําไร
ข้อดีข้อเสียของกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Funds)
ข้อดี ทําให้มีการจัดการพื้นที่คุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีแหล่งเงินงบประมาณที่ใช้ใน
การดําเนินงานการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก
ที่เป็ นแผนระยะยาว กองทุนอนุรักษ์จะเป็ นหน่วยงานเอกเทศ ตามนโยบายของรัฐที่ก่อให้เกิด
การมีส่วนร่วม
ข้อเสีย อาจจะมีความขัดแย้งทางด้านการเมือง นโยบาย การบริหาร กฎหมาย หรือข้อกําหนดใน
การใช้เงินกองทุนจํานวนมาก การให้ความสําคัญกับโครงการ การบริหารที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงในการ
ใช้เงินกองทุนที่อาจจะลดน้อยลง หากไม่ได้คํานึงถึงความสําคัญของสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติก็จะไม่เป็นไปตามเป้ าประสงค์
การดาเนินงานกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Funds)
กองทุนอนุรักษ์เป็นองค์กรอิสระ องค์กรภาคเอกชนจะต้องดําเนินการให้เป็นมาตรฐานและ
ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การดําเนินงานกองทุนอนุรักษ์ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพจึง
ได้พิจารณาถึงแนวทางการดําเนินสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 แนวทาง ดังนี้
1. หลักธรรมาภิบาล (Governance) ที่ประกอบด้วย องค์ประกอบ โครงสร้าง บุคลากร ความ
รับผิดชอบที่เป็นหลักฐานหรือเอกสารหรือข้อบังคับของกองทุน
2. การดําเนินงานจัดตั้งกองทุน (Operation) ที่ประกอบด้วยการกําหนดแผนยุทธศาสตร์
การระดมทุน การกําหนดใช้เงินกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐหรือ
องค์กรอื่นๆ
3. การบริหารกองทุน (Administration) เป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ดําเนินงาน
ตามระเบียบกองทุนภายใต้ความรับผิดชอบผู้บริหารกองทุนมืออาชีพ
- 3 -
4. การจัดการผลประโยชน์ (Asset Management) ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของแผน
ยุทธศาสตร์การดําเนินงานโดยเฉพาะความรับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน
5. การรายงาน การติดตามและประเมินผล (Reporting-Monitoring and Evaluation) เป็นการ
ดําเนินงานด้านการรายงาน การติดตามและการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนและผลงานการใช้
เงินกองทุน การกําหนดรูปแบบการรายงาน วิธีการ งบประมาณที่จะต้องใช้เพื่อการติดตามผลการดําเนินงาน
ที่มีประสิทธิภาพ
6. กระบวนการจัดหาทุน ( Resource Mobilization) ประกอบด้วยวิธีการจัดหาแหล่งทุนและ
การจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินงบประมาณของกองทุน เช่น การนําเอาค่าแทนคุณระบบนิเวศมาใช้ (Payments
for Ecosystem Services) ค่าชดเชย หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งแหล่งทุนและใช้ในการอนุรักษ์
ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่คุ้มครอง
นอกจากนี้การดําเนินงานกองทุนจะต้องพิจารณาถึงระยะเวลาของกิจกรรมของกองทุน
มาตรฐานการดําเนินงาน การสื่อสาร การจัดหาบุคลากรและอาสาสมัคร แนวทางทั้ง 6 ประการดังกล่าวแล้ว
จะได้แยกรายละเอียดการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
1. หลักธรรมาภิบาล (Governance)
1.1 ในเอกสารจะต้องมีการกําหนดการบริหารหรือหลักธรรมาภิบาลกองทุน จะต้องกําหนด
เป้าหมายในการใช้ประโยชน์ของกองทุนให้ชัดเจน
1.2 ในเอกสารจะมีส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารหรือหลักธรรมาภิบาล จะประกอบด้วยผู้บริหาร
กองทุน คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนที่มีความรู้ความชํานาญและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ
1.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องมีความตั้งใจในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตาม
เป้ าหมายด้านการอนุรักษ์และมีความรับผิดชอบอย่างเต็มใจ
1.4 คณะกรรมการบริหารกองทุนซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ มีหน้าที่ให้คําแนะนําและ
ดําเนินงานกองทุนอนุรักษ์หรือบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.5 การประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุน จะต้องมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ
สองครั้ง และผลการประชุมจะต้องมีการบันทึกผลและมติของที่ประชุม แล้วแจ้งเวียนให้ผู้เข้าประชุมทราบ
และพิจารณาทุกครั้ง
1.6 คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องมีความเข้าใจรับผิดชอบดูแลผลประโยชน์และให้
ความคุ้มครองตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กําหนดไว้
1.7 การแก้ไขปัญหาอุปสรรคตามนโยบายจะต้องนํามาพิจารณาวิเคราะห์ เพื่อการหลีกเลี่ยง
และการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน
1.8 คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องสรรหาหัวหน้าและผู้จัดการกองทุนให้ทําหน้าที่
บริหารกองทุนเต็มเวลา ดูแลกองทุน และจะต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของผู้จัดการกองทุนทุกปี
- 4 -
1.9 กองทุนอนุรักษ์จะต้องดําเนินการและได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับหรือข้อตกลงระหว่างกองทุนกับผู้สนับสนุนหรือผู้บริจาคให้กองทุน จะต้องมีหลักฐานการรับเงิน
เข้ากองทุนเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้สนับสนุนดังกล่าว
1.10 กองทุนอนุรักษ์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ที่รับรองว่ากองทุน
เป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล มีกฎหมายใช้บังคับที่ชัดเจนรวมถึงกองทุนลักษณะอื่น เช่น มูลนิธิหรือ
กลุ่มบริษัทหรือสมาคมที่ไม่หวังผลกําไรและไม่ต้องเสียภาษีหรือนําไปลดหย่อนภาษีเงินได้
2. แนวทางการดาเนินงานจัดตั้งกองทุน (Operations)
2.1 กองทุนอนุรักษ์จะต้องมีแผนยุทธศาสตร์และแผนการเงินที่มีการกําหนดถึงวิสัยทัศน์
รายละเอียดของเป้ าประสงค์และกิจกรรม
2.2 กองทุนอนุรักษ์เป็นองค์กรดําเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์ กิจกรรมของกองทุนจะต้อง
ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐทุกระดับที่สนับสนุนในการใช้บริการกองทุน
2.3 กองทุนอนุรักษ์จะต้องประสานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะ
เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางการเงิน รวมทั้งภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มสมาคม หน่วยงานวิจัยและ
สถาบันการศึกษา
2.4 เมื่อมีการใช้เงินกองทุนเพื่อกิจกรรม กองทุนจะต้องทําการประเมินผลผู้รับเงินกองทุน
ผู้รับเงินกองทุนจะต้องเสนอรายละเอียดข้อมูลและทําสัญญาร่วมกัน
2.5 กองทุนอนุรักษ์จะต้องมีกระบวนการพิจารณา คัดเลือกข้อเสนอรับทุนที่มีความสําคัญ
ภายในเวลาที่กําหนด
2.6 กองทุนจะต้องสรุปจัดทําเป็นสัญญาระหว่างกองทุนกับผู้รับเงินและสร้างความเข้าใจ
ร่วมกันในการใช้เงินกองทุน
2.7 กองทุนอนุรักษ์จะต้องให้ความสําคัญกับกิจกรรมที่ดําเนินการจากแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อการ
ระดมกองทุนที่เพิ่มขึ้น
2.8 การตรวจสอบความสามารถของผู้รับเงินกองทุนจะต้องเตรียมรายงาน ข้อเสนอแนะและ
กิจกรรมที่ปฏิบัติให้ชัดเจน
2.9 ผู้ขอรับเงินจากองทุนจะต้องดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีความ
โปร่งใส ตามกระบวนการ เช่น การซื้อสินค้า การใช้เงินในราคาประหยัดและเป็นไปตามกลไกของการตลาด
2.10 จะต้องคํานึงความรับผิดชอบตามมาตรฐาน การบริหารของผู้รับเงินทุนที่ใช้บริหาร
กองทุนโดยเสมอภาค
3. การบริหารกองทุน (Administration)
3.1 รายละเอียดของกองทุนจะต้องมีความชัดเจน โครงสร้างองค์กรและมีทรัพยากรที่สามารถ
ทําให้หัวหน้าผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานเจ้าหน้าที่กองทุนดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผล
- 5 -
3.2 การดําเนินงานด้านงบประมาณเพื่อจัดการจัดการจะต้องมีความโปร่งใส การใช้จ่าย
เงินกองทุนจะต้องได้รับการอนุมัติตามวัตถุประสงค์และผ่านการอนุมัติ มีการวิเคราะห์ของคณะ
กรรมการบริหารกองทุน
3.3 กองทุนสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนได้
3.4 มีการจัดทําและปรับปรุงคู่มือการดําเนินงานของกองทุนเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตาม
นโยบาย กระบวนการทํางานให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การบริหารกองทุนเป็นที่ทราบโดยทั่วกัน
3.5 ผู้บริหารกองทุนจะต้องจัดหาสถานที่ทํางาน วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกใน
การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเงินก็ต้องมีความโปร่งใสและเป็นไปตามกลไกของการตลาด
3.6 ผลการดําเนินงานของกองทุนในแต่ละปีจะต้องมีการตรวจสอบบัญชี โดยมีการแต่งตั้ง
ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องเป็นบุคคลภายนอกที่มีมาตรฐานวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
หรือมีวุฒิบัตรรองรับการตรวจสอบบัญชีจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง
4. การรายงาน การติดตามและประเมินผล (Report, Monitoring and Evaluation)
4.1 ผู้บริหารกองทุนจะต้องดําเนินการจัดทํารายงานแจ้งผลงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบใน
โอกาสต่างๆ
4.2 ข้อตกลงเรื่องทุนระหว่างกองทุนกับผู้สนับสนุนจะต้องมีการจัดเก็บเป็นข้อมูล หลักฐาน
กระบวนการ เวลาและการรายงานที่ชัดเจน
4.3 กองทุนจะต้องกําหนดเวลาในการจัดทํารายงานเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐหรือนาย
ทะเบียน ตามที่กองทุนขอจดทะเบียนระบุไว้ตามกฎหมาย
4.4 การติดตามและประเมินผลกองทุนตามกรอบงานจะต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และ
ยุทธศาสตร์ของกองทุนอนุรักษ์ในระดับชาติหรือนานาชาติ จะต้องมีตัวชี้วัดในเป้ าหมายและวัตถุประสงค์
4.5 กองทุนจะต้องกําหนดรูปแบบของรายงานการติดตามและประเมินผลที่ระบุถึงการจัดการ
ด้านการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารกองทุน
4.6 พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ดําเนินงานกองทุนและผู้รับผิดชอบเงินกองทุนจะต้องยินยอมให้มีการ
ตรวจสอบการใช้เงินกองทุน มีตัวชี้วัด และข้อกําหนดในสัญญาหรือแผนการติดตามผลต้องกําหนดให้ชัดเจน
4.7 กองทุนจะต้องกําหนดรูปแบบของการติดตามประเมินผลเพื่อการสนับสนุนที่มี
ประสิทธิภาพของการอนุรักษ์
4.8 กองทุนจะต้องสนับสนุนให้ผู้ที่ใช้เงินกองทุนกําหนดรูปแบบของการรายงานที่เหมาะสม
การกําหนดกรอบ ข้อมูลในการติดตามและประเมินผลเพื่อสนับสนุนผลที่ได้รับและผลลัพธ์ของโครงการ
4.9 พนักงานเจ้าหน้าที่ของกองทุนจะต้องจัดทํารายงานความก้าวหน้าของโครงการผู้รับ
เงินกองทุนตามผลลัพธ์และผลที่ได้รับเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน
- 6 -
5. การจัดการผู้ใช้ประโยชน์กองทุนอนุรักษ์ (Asset Management)
5.1 นโยบายการลงทุนของกองทุน จะต้องมีความชัดเจนมีการกําหนดหลักการของกองทุน
ด้านการจัดการผลประโยชน์
5.2 การลงทุนของกองทุนจะต้องมีการจัดการทําแนวทางโดยเฉพาะจะต้องมีผู้ชํานาญการ
เฉพาะเป็นผู้พิจารณา มีที่ปรึกษาด้านการเงินและผู้จัดการด้านการลงทุน
5.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนหรือคณะกรรมการเฉพาะ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการ
ด้านการลงทุน การบริหารจัดการหน่วยลงทุนให้เป็นปัจจุบัน
5.4 กองทุนอนุรักษ์จะต้องสงวนเงินต้นทุน (Endowment Capital) ไว้ให้คงที่เพื่ออนาคต
กองทุนที่มีความยั่งยืน
5.5 คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจจะเป็นผู้แทนการรับผิดชอบในการลงทุนของกองทุน
แต่จะต้องพิจารณาถึงนโยบาย แนวทางการลงทุน กระบวนการ การคัดเลือกที่ปรึกษาทางด้านการเงิน หรือ
ผู้จัดการการลงทุนและการรายงานผลการลงทุน
5.6 ในการดําเนินงานลงทุนของกองทุน คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องแต่งตั้งบุคคลที่มี
ความรู้ความชํานาญมีประสบการณ์ในด้านการลงทุน ด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ สมาชิกกองทุนจะต้อง
ได้รับให้เข้าร่วมการประชุมหรือฝึกอบรมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
5.7 ความสามารถในการลงทุน จะต้องวิเคราะห์ถึงประเภทของการลงทุน ทางเลือกในการ
ลงทุนของกองทุนที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ เช่น ภาคอุตสาหกรรม
5.8 การลงทุนของกองทุนจะต้องมีการทําสัญญาให้มีความชัดเจน มีวัตถุประสงค์ จํานวนเงิน
ลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของกองทุนอนุรักษ์
5.9 กองทุนจะต้องมีการทบทวนการดําเนินงานการลงทุนจากเงินกองทุนอนุรักษ์
6. การขับเคลื่อนด้านทรัพยากร (Resource Mobilization)
6.1 กองทุนมียุทธศาสตร์ที่หลากหลายทั้งระยะสั้นและระยะยาวในด้านการใช้เงินในหลายๆ
ช่องทาง ไม่ได้หวังผลที่ขึ้นอยู่กับแหล่งทุนหรือกระบวนการหาทุนแต่เพียงอย่างเดียว
6.2 กองทุนอนุรักษ์จะต้องพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และกิจกรรมในการจัดหาทุนในระยะยาว
6.3 กองทุนอนุรักษ์จะต้องมีนโยบายในการพิจารณาผู้สนับสนุนทางการเงินและมีสภาพคล่อง
ที่ยอมรับได้
6.4 กองทุนอนุรักษ์จะต้องวิเคราะห์และหาโอกาสสําหรับการใช้เงินกองทุนจากผู้สนับสนุน
ให้มีประสิทธิภาพ
6.5 คณะกรรมการบริหารและจัดการกองทุนจะต้องวิเคราะห์และการใช้เงินกองทุนทาง
การเงินแก่สถาบันเพื่อการดําเนินงานโครงการค่าแทนคุณระบบนิเวศ (PES), Fees, REDD+ การปรับปรุงภูมิ
ทัศน์ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค่าชดเชยและค่าปรับ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์
ของกองทุนอนุรักษ์
- 7 -
6.6 คณะกรรมการบริหารกองทุนและผู้จัดการกองทุนจะต้องหาแหล่งเงินสนับสนุนจาก
ภาครัฐ นักการเมืองกองทุนอื่นในระดับชาติหรือนานาชาติ
6.7 กองทุนอนุรักษ์จะต้องแสดงถึงบทบาทของกองทุนให้ผู้สนับสนุนการเงินในระยะยาวที่มี
เป้าหมายสนับสนุนการบริหารจัดการระบบพื้นที่คุ้มครอง หรือกิจกรรมหรือกรอบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ความต้องการในการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Funds)
ความต้องการในการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย
กฎระเบียบและข้อบังคับ ที่มีลักษณะการดําเนินงาน 4 ประการ คือ
1. จะต้องมีสัญญาการดําเนินงานในระยะยาว คือ อย่างน้อย 10-15 ปี
2. รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้ภาคเอกชนดําเนินงานแทนรัฐบาล โดยใช้กลไกภายใต้การ
ควบคุมของภาครัฐ
3. การทํางานเป็นระบบที่ร่วมกันในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน
4. จะต้องมีกฎหมายบริหารการเงินและมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือ
ของสาธารณชน
ถ้าหากว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองจะต้อง
เตรียมแผนการที่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ กฎหมาย ศักยภาพทางการเงิน กลไก ยุทธศาสตร์ และควรกําหนด
เป็นกองทุนที่สําคัญในระดับชาติ ซึ่งจะต้องพิจารณาถึง
1. มีการตัดสินใจว่าการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์เป็นนโยบายของพื้นที่คุ้มครองหรือไม่
2. กองทุนอนุรักษ์ที่จัดตั้งขึ้นใช้เพื่อการดําเนินงานพื้นที่คุ้มครองใช่หรือไม่
3. มีกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ใช้สําหรับพื้นที่คุ้มครองหรือไม่
4. หากไม่มีกฎหมายควบคุม รัฐบาลจะดําเนินการอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าแทนคุณ
ระบบนิเวศ (PES) ภาษี (Taxes) และค่าธรรมเนียม (Fees)
5. เงินกองทุนจะต้องมีการเสียภาษีหรือไม่
6. กําหนดให้มีการบริหารกองทุนที่มีความโปร่งใส
ในกรณีที่มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง
จะต้องพิจารณาถึง
1. จํานวนเงินกองทุนในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งกองทุน จะต้องกําหนดพื้นที่คุ้มครองว่า
เป็นพื้นที่ใดและจะใช้เงินงบประมาณลงทุนตั้งต้น 20-25%
2. อาจจะไม่จําเป็นต้องทําสัญญาหรือข้อตกลง (Commitment)
3. สนับสนุนกิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่คุ้มครอง
4. มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการกองทุนอนุรักษ์โดยตรง
- 8 -
5. การบริหารกองทุนอนุรักษ์ (CTF) ควรจะเป็นอิสระมีการบริหารจัดการที่โปร่งใสพนักงาน
เจ้าหน้าที่ควรมีหลักเกณฑ์ในการบริหารกองทุน มีหลักเกณฑ์ทางวิชาการที่ขอรับการสนับสนุนจาก
หน่วยงานภายนอก
6. จะต้องมีการสนับสนุนการฝึกอบรมและการสนับสนุนทางวิชาการ
7. หน่วยงานภาคีที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จะต้องสนับสนุนกองทุนอนุรักษ์ รวมทั้งการวางแผน
ยุทธศาสตร์ กิจกรรมการดําเนินงาน การหาแหล่งทุน การให้การศึกษาและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
กฎหมายที่เกี่ยวกับกองทุนอนุรักษ์ (CTF) ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 110-136 จะเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานมูลนิธิ
และสมาคม และมาตรา 78-109 เกี่ยวกับการจัดตั้งมูลนิธิและสมาคมที่เป็นเป้ าประสงค์ของกองทุนอนุรักษ์
(CTF) เพื่ออํานวยประโยชน์ทางด้านการช่วยเหลือศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ การศึกษา ผลประโยชน์ในการ
มีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนร่วมก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีข้อห้ามเรื่องผลประโยชน์จาก
กองทุนอนุรักษ์แก่บุคคล คณะกรรมการ พนักงานเจ้าหน้าที่ สมาชิกรับผลประโยชน์จากกองทุนและกิจกรรม
อื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย
ในการดําเนินการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) เพื่อให้การดําเนินงานถูกต้องกฎหมายจําเป็นต้อง
ศึกษา กฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะคือ มูลนิธิกับกองทุน สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังนี้
ตารางเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของมูลนิธิกับกองทุน
สาระสาคัญ มูลนิธิ กองทุน
1. ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลตามประมวล
แพ่งและพาณิชย์
ไม่ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล
2. ข้อบังคับ ข้อบังคับของมูลนิธิ ต้องระบุทรัพย์สินของ
มูลนิธิขณะจัดตั้ง
ไม่จําเป็นต้องระบุทรัพย์สินขณะตั้ง
กองทุน
3. คําขอจดทะเบียน คําขอจดทะเบียนมูลนิธิ ต้องระบุเจ้าของ
ทรัพย์สินและรายการทรัพย์สิน ที่อยู่และอาชีพ
ของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
ไม่จําเป็นต้องระบุ
4. การดําเนินกิจการ อยู่ภายใต้อํานาจตรวจตราและควบคุมของนาย
ทะเบียน ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับ
ของมูลนิธิ
คณะกรรมการอาจพิจารณาดําเนิน
กิจการตามความเหมาะสมได้
5. การจัดการทรัพย์สิน ต้องเป็ นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ใน
ข้อบังคับ
คณะ ก ร รม ก า รอา จพิ จา รณ า
ดําเนินการตามความเหมาะสม
6. การตรวจสอบควบคุม มีนายทะเบียนตรวจตราและควบคุมตาม
กฎหมาย
อาจตั้งบุคคลทําหน้าที่ผู้ตรวจสอบ
การดําเนินกิจการ
- 9 -
สาระสาคัญ มูลนิธิ กองทุน
7. รูปแบบการดําเนินงาน ต้องดําเนินงานตามกฎหมายและข้อบังคับอย่าง
เคร่งครัด
อาจยืดหยุ่นตามความเหมาะกับ
สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์
8. ความรวดเร็ว ต้องดําเนินงานตามกฎหมายและกฎหมายและ
ข้อบังคับ
อาจใช้มติเสียงส่วนใหญ่ของที่
ประชุมคณะกรรมการกองทุน
9. ความโปร่งใสในการ
ดําเนินงาน
มีการตรวจสอบควบคุมหลายขั้นตอน เ ป็ น ไ ป ต า ม แ น ว ท า ง ข อ ง
คณะกรรมการแต่ละชุด
10.มาตรการทางภาษี ได้รับการยกเว้นเสียภาษีโดยให้รัฐมนตรี
กระทรวงการคลังประกาศกําหนดให้เป็ น
องค์การสาธารณะ
ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย
11.ผู้บริจาคเงินเพื่อการกุศล
สาธารณะ
การบริจาคสามารถนําไปหักลดหย่อนภาษีได้
ไม่เกิน ร้อยละ 2 ของกําไรสุทธิ
ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้
ตัวอย่าง : กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนับสนุนพรรคการเมือง
โดยรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 บทเฉพาะกาล มาตรา 328 ได้บัญญัติให้กฎหมาย
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองจะต้องมีสาระสําคัญที่เกี่ยวกับการสนับสนุนพรรคการเมือง
โดยรัฐ ได้แก่ การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาสาขาพรรคโดยรัฐ รวมทั้งการสนับสนุนทางการเมืองหรือ
ประโยชน์อย่างอื่นแก่พรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 56
ได้กําหนดให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยให้อํานาจ
แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดําเนินงานของกองทุนเพื่อการพัฒนา
พรรคการเมือง เช่น ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินงานของกองทุน
เพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินตามจํานวนสมาชิกพรรคการเมือง
การกําหนดระยะเวลาการยื่นแผนงานและโครงการของพรรคการเมือง เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและ
ใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมืองและการดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่
คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กําหนดกรอบกการใช้จ่ายเงินของ
กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จะต้องใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
- 10 -
1. สนับสนุนการดําเนินกิจการของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองตามโครงการและ
แผนงานของแต่ละพรรคการเมือง โดยการสนับสนุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 แต่ไม่เกินร้อยละ 80 ของวงเงิน
รายจ่ายในแต่ละปี
2. การดําเนินการพัฒนาพรรคการเมืองของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
3. เป็นทุนในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมือง
4. การสนับสนุนค่าไปรษณียากร ค่าสาธารณูปโภค และด้านอื่นๆ แก่พรรคการเมือง
เพื่อดําเนินกิจการในทางการเมือง
5. การบริหารกองทุน
6. การอื่นๆ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด
รายได้ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
รายได้ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ประกอบด้วย
1. เงินที่ได้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี
2. เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541
3. เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541
4. เงินหรือทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับ โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า
ด้วยพรรคการเมือง พ..ศ. 2541
5. เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ..ศ. 2541
6. เงินหรือทรัพย์สินที่ผู้มอบให้เพื่อสมทบทุน
7. เงินดอกผลของกองทุน และ
8. เงินรายรับอื่น
คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
ในการดําเนินงานของกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองนั้น กฎหมายกําหนดให้คณะกรรมการ
การเลือกตั้งมีอํานาจและหน้าที่ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมือง และควบคุมดูแลการใช้จ่าย
เงิ นก อง ทุ น โดย ค ณ ะ ก รร ม ก า รก า รเลื อก ตั้ ง แต่ ง ตั้ ง ค ณ ะ ก รรม ก า รขึ้ นค ณ ะ หนึ่ ง
ทําหน้าที่แทนเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง” ประกอบด้วย
1. นายทะเบียนพรรคการเมือง ประธานกรรมการ
2. กรรมการการเลือกตั้ง 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย กรรมการ
3. ผู้แทนกระทรวงการคลัง 1 คน กรรมการ
- 11 -
4. ผู้แทนสํานักงบประมาณ 1 คน กรรมการ
5. ผู้แทนพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่เลือกกันเอง จํานวน 3 คน กรรมการ
6. ผู้แทนพรรคการเมืองซึ่งไม่มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งเลือกกันเอง จํานวน 1 คน กรรมการ
7. เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการและเลขานุการ
อานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองมีอํานาจหน้าที่ดังนี้
1) จัดสรรเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กองทุนเพื่อการพัฒนา
พรรคการเมือง
2) ควบคุม ดูแล การใช้จ่ายเงินของกองทุน
3) นําเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนไปหาดอกผล
4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพรรคการเมือง
5) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการ
บริหารกองทุน
6) ติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับการ
สนับสนุนจากกองทุน
7) รายงานผลการดําเนินการประจําปีให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ
8) แต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นในเรื่อง
ใดเรื่องหนึ่ง หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด
9) ออกระเบียบ ข้อกําหนด ประกาศ คําสั่ง หรือมติตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
เรื่องกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง และ
10) ดําเนินงานอื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง
มอบหมาย
การจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
กองทุนอนุรักษ์ (CTF) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ดําเนินการขับเคลื่อนโดยโครงการ
CATSPA เพื่อให้กองทุนเกิดขึ้นโดยมีภาคเอกชนดําเนินการ ซึ่งได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อค้นหา
กิจกรรมตามลําดับความสําคัญในการดําเนินงานของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์และหามาตรการจัดตั้ง
กองทุนเป็นมูลนิธิกองทุนอนุรักษ์ดอยอินทนนท์ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งคณะกรรมการภาคเอกชน
กําลังดําเนินการ ซึ่งมีแนวทางการดําเนินงานจัดตั้งและดําเนินงานมูลนิธิภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์
- 12 -
สมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ม.ท.) ได้พิจารณาเห็นว่าใน
ปัจจุบันมีผู้สนใจก่อตั้งมูลนิธิกันมาก แต่ยังไม่เข้าใจการดําเนินการจัดตั้งว่ามีขั้นตอนอย่างไร เมื่อได้รับอนุมัติ
ให้จัดตั้งและจะต้องดําเนินการอย่างไร จึงเห็นสมควรจัดทําคําแนะนําการจัดตั้งมูลนิธิและการดําเนินการของ
มูลนิธิขึ้น เพื่อให้เข้าใจโดยง่าย และเป็นการอํานวยความสะดวกในแนวทางปฏิบัติ
ความหมายของมูลนิธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิไว้ว่า
มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ
วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มา
แบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อ
ดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเองกล่าวโดยสรุป ความหมายของมูลนิธิตามข้อกฎหมายข้างต้นนี้
ให้ความสําคัญอยู่ที่ทรัพย์สินคือเป็นการนําเอาเงินสด และอสังหาริมทรัพย์มารวมกันเข้าเป็นกองทุน เพื่อทํา
กิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังจะเห็นได้จากหลักเกณฑ์ของการจัดตั้งมูลนิธิ ซึ่งทางราชการได้
กําหนดหลักการและจํานวนเงินทุน “ทุนทรัพย์เริ่มแรก” ที่นํามาจดทะเบียนไว้ดังนี้
ในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็น
ทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่า
ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท แต่ถ้ามูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา
ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบําบัดรักษา ค้นคว้า ป้ องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้ง
โดยหน่วยงานของรัฐได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็นกองทุนไม่ตํ่ากว่า 200,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สิน
อย่างอื่นจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า
200,000 บาท
การเตรียมการจัดตั้งมูลนิธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ได้กําหนดให้มูลนิธิ ต้องมีข้อบังคับและ
ต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดําเนินกิจการของมูลนิธิตาม
กฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ การก่อตั้งมูลนิธิ ต้องมีบุคคลหรือคณะบุคคลมารวมกันปรึกษาหารือ เพื่อ
ดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
- ทรัพย์สินที่จัดตั้งมูลนิธิ
- จัดทําข้อบังคับของมูลนิธิ
- กําหนดที่ตั้งของสํานักงานมูลนิธิ
- แต่งตั้งและกําหนดตําแหน่งกรรมการมูลนิธิ เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรม การ
เหรัญญิก เลขานุการ เป็นต้น
- 13 -
- แต่งตั้งบุคคลเพื่อมอบหมายให้ดําเนินการในเรื่องการยื่นเรื่องราวของมูลนิธิ เมื่อได้ประชุมกัน
กระทําตามข้อ 1-5 แล้ว ให้ผู้ได้รับมอบหมายจัดทําเอกสารเพื่อยื่นเรื่องขอจัดตั้งมูลนิธิจํานวน 4 ชุด ดังนี้
1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสําหรับมูลนิธิ
2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะมาเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน
3. ข้อบังคับของมูลนิธิ
4. หนังสือคํามั่นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม (1) ที่มีผลตาม
กฎหมาย
5. สําเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือจัดสรรทรัพย์สินสําหรับมูลนิธิ
ตาม (1) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม
- สําเนาภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรประจําตัวอื่นที่ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจออกให้และสําเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (1) และ (2) หรือหลักฐานอื่นที่
สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นท่อยู่ในทํานองเดียวกัน ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มี
หลักฐานตามที่กําหนด เช่น คนต่างด้าวหรือพระภิกษุ
- แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่ และที่ตั้งสํานักงานสาขาทั้งปวง (ถ้ามี) ***
- หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตามข้อ ***
- สําเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ
- หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าหน้าที่ดินและสําเนาโฉนดที่ดิน (กรณีที่ดินอยู่ใน
กองทุนที่จะจัดตั้งมูลนิธิ)
- อื่นๆ (ถ้ามี)
การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ
- ในเขตจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนมูลนิธิ
การยื่นเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้
 ในเขตจังหวัดอื่น
- ผู้ขอตั้งมูลนิธิ ต้องจัดทําเอกสารหลักฐาน (จํานวน 4 ชุด) เพื่อยื่นเรื่องคําร้องขอจดทะเบียน
จัดตั้งมูลนิธิต่อนายทะเบียนมูลนิธิ จังหวัด ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่ ที่สํานักงานใหญ่มูลนิธิตั้งขึ้น
- เมื่อนายอําเภอท้องที่ได้รับเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิจากผู้ขอแล้ว จะทําการตรวจสอบ/
สอบสวนผู้ที่จะเป็นกรรมการทุกคนว่ามีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์
ของมูลนิธิหรือไม่เมื่อทําการตรวจสอบ/สอบสวนเสร็จแล้วรวบรวมหลักฐานทั้งหมดไปยังจังหวัด
- เมื่อจังหวัดได้รับรับเรื่องแล้วหากพิจารณาเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเกี่ยวกับงานของ
สภาวัฒนธรรมแห่งชาติจังหวัดจะส่งคําขอจดทะเบียนดังกล่าวไปยังสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม
แห่งชาติ (สวช.) พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อน
- 14 -
- เมื่อ สวช. ได้ตอบอนุญาตให้จัดตั้งเป็นองค์การแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียน
มูลนิธิจังหวัดพิจารณาอนุญาตก็จะออกใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ (ม.น.3) และส่ง
ประกาศการอนุญาตให้ตั้งมูลนิธิไปยังสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วส่งเรื่อง
คืนไปยังอําเภอเพื่อแจ้งให้ผู้ขอมารับใบสําคัญฯ และชําระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง
 การขอจัดตั้งมูลนิธิ
ผู้มีความประสงค์จะทําการตั้งมูลนิธิจะต้องยื่น “คําร้องขอจดทะเบียนใบอนุญาตสมาคมหรือ
องค์การตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485” (แบบ วธ.1) ในการจัดตั้ง
มูลนิธิ พร้อมกับเอกสาร/หลักฐานประกอบอื่นๆ โดยยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
(กองเอกชนสัมพันธ์ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2247 0013 19)
สวช. เป็นหน่วยงานของรัฐทําหน้าที่พิจารณาอนุญาตการจัดตั้งสมาคม รวมทั้งพัฒนา และ
ประสานกับองค์กรเอกชนต่างๆ ตาม พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2486
มูลนิธิ หมายถึง องค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสังคมส่วนรวม โดยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา
และช่วยพัฒนาสังคมและประเทศ ซึ่งการดําเนินงานของมูลนิธิมิได้มีแสดงหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด
บุคคลหนึ่ง หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน
สวช. ได้ตระหนักและเห็นความจําเป็นที่จะอํานวยสะดวกและเป็นประโยชน์แก่ผู้ขอจัดตั้ง
มูลนิธิ จึงได้จัดทําเอกสาร 2 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด สําเนา 1 ชุด) เอกสารชุดหนึ่งๆ ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้
1. คําร้องขอจดทะเบียนอนุญาต (แบบ ว.ธ. 1)
2. ข้อบังคับมูลนิธิ
3. รายงานการประชุมผู้เริ่มการจัดตั้งมูลนิธิ
4. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งมูลนิธิและสําเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งมูลนิธิ
5. แผนที่ตั้งสํานักงานมูลนิธิ
6. หนังสือให้ใช้ชื่อ-ชื่อสกุล เป็นชื่อของมูลนิธิ (กรณีให้ใช้ชื่อ-สกุล) เป็นชื่อมูลนิธิ
7. บัญชีรายชื่อคณะกรรมการชุดแรกของมูลนิธิ
8. ประวัติของผู้เริ่มการจัดตั้งมูลนิธิพร้อมสําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการของผู้รับรอง
9. สําเนาบัตรประจําตัวและทะเบียนบ้านของผู้เริ่มการจัดตั้งมูลนิธิ
10. หนังสือรับรองสถานภาพทางการเงินของผู้ให้คํามั่นสัญญาจากธนาคาร โดยระบุชื่อผู้
อํานาจเบิกถอนเงินจากธนาคารด้วย
11. หนังสือคํามั่นสัญญาว่าจะยกทรัพย์สินให้แก่มูลนิธิ (ผู้ให้คํามั่นสัญญาต้องเป็นผู้มีอํานาจ
จ่ายเงินตามหนังสือรับรองการเงินจากธนาคาร
 การเสียภาษีเงินได้ของมูลนิธิหรือสมาคม
มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบการในประเทศไทยไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตาม
กฎหมายต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
- 15 -
โดยเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้จะต้องยืนรายการเสียภาษี
ตามแบบ ภ.ง.ด.55 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
1. รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่จะต้องเสียภาษีเงินได้
รายได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของมูลนิธิหรือสมาคม ได้แก่ รายได้จากการประกอบกิจการ
เช่น ค่าเช่ารายได้จากการจําหน่ายสินค้าและบริการ และรายได้จากทุน เช่น ดอกเบี้ย และเงินปันผล เป็นต้น
มูลนิธิหรือสมาคมจะต้องนํารายได้ดังกล่าวมาคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่
กฎหมายกําหนดโดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
2. รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
มูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่ได้รับการประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหือสถานสาธารณกุศล
ตามมาตรา 47(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนํารายได้ดังต่อไปนี้มาคํานวณภาษีเงินได้
นิติบุคคล ได้แก่
1. ค่าลงทะเบียนหรือค่าบํารุงที่ได้จากสมาชิก
2. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค
3. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการให้โดยเสน่หา
4. เงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนของมูลนิธิหรือสมาคม ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า
ด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทําของ หรือการให้บริการอื่นใดที่
โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน
- 16 -
ตราสาร
มูลนิธิกองทุนการอนุรักษ์ดอยอินทนนท์
หมวดที่ 1
ชื่อ เครื่องหมายและสานักงานที่ตั้ง
ข้อ 1 มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิกองทุนการอนุรักษ์ดอยอินทนนท์
เรียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Doi Intanon Conservation Trust Foundation
ข้อ 2 เครื่องหมายของมูลนิธิ คือ………………………………………………………………………………
และมีอักษรย่อว่า……………………………………………………………………………………….
ข้อ 3 สํานักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่เลขที่……………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………….……..
หมวดที่ 2
วัตถุประสงค์
ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของมูลนิธิมีดังนี้ คือ
4.1 สนับสนุนการดําเนินกิจการของดอยอินทนนท์ตามแผนยุทธศาสตร์
4.2 ใช้เป็นทุนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับดอยอินทนนท์
4.3 การอื่นๆ ที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด
หมวดที่ 3
ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน
ข้อ 5 ทรัพย์สินของมูลนิธิ มีทุนเริ่มแรก คือ เงินสดจํานวน........................................................................บาท
(..........................................................................................................)
ข้อ 6 มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยวิธีดังต่อไปนี้
6.1 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิ
ต้องรับผิดชอบในหนี้สิน หรือภาระติดพันอื่นใด
- 17 -
6.2 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้
6.3 ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินอันเป็นทุนของมูลนิธิ
หมวดที่ 4
คุณสมบัติและการพ้นจากตาแหน่งของกรรมการ
ข้อ 7 กรรมการของมูลนิธิ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
7.1 มีอายุไม่ตํ่ากว่า 25 ปีบริบูรณ์
7.2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถหรือบุคคลมีจิต
ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
7.3 ไม่เป็นผู้ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
7.4 ไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงเสื่อมเสียทางศีลธรรม
ข้อ 8 กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ
8.1 ถึงคราวออกตามวาระ
8.2 ตายหรือลาออก
8.3 ขาดคุณสมบัติตามตราสาร ข้อ 7
8.4 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนไม่เหมาะสมและคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออก โดยมี
คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการมูลนิธิที่เข้าประชุม
หมวดที่ 5
การดาเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 9 มูลนิธินี้ดําเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจํานวนไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 17 คน
ประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ เลขานุการมูลนิธิ เหรัญญิก และ
ตําแหน่งอื่นๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร
ข้อ 10 ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้เริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานของมูลนิธิ
ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นๆ ตามจํานวนที่เห็นสมควรตามตราสาร
ข้อ 11 วิธีการเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิ ให้ปฏิบัติมีดังนี้ ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดํารงตําแหน่งอยู่ เลือกตั้ง
ประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่นๆ ตามจํานวนที่เห็นสมควรตามตราสาร
- 18 -
ข้อ 12 กรรมการมูลนิธิอยู่ในตําแหน่งคราวละ 4 ปี
ข้อ 13 เพื่อให้การดําเนินงานมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อคณะกรรมการดําเนินงานของมูลนิธิได้
ปฏิบัติหน้าที่มาครบ 2 ปี (ครึ่งหนึ่งของวาระการดํารงตําแหน่ง) ให้มีการจับสลากออกไปหนึ่งในสองของ
จํานวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการดําเนินงานมูลนิธิครั้งแรก
ข้อ14 การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม
ข้อ 15 กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับเลือกเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก
ข้อ 16 ถ้าตําแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ แต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการ
มูลนิธิแทนตําแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ใดที่ได้รับการแต่งตั้งซ่อมอยู่ในตําแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน
หมวดที่ 6
อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 17 คณะกรรมการมูลนิธิมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและ
ภายใต้ข้อบังคับของตราสารนี้ ให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
17.1 กําหนดนโยบายของมูลนิธิและดําเนินการตามนโยบายนั้น
17.2 ควบคุมการใช้เงินและทรัพย์สินต่างๆ ของมูลนิธิ
17.3 เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงินและบัญชี งบดุลรายได้ รายจ่ายต่อกระทรวงมหาดไทย
17.4 ดําเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิและวัตถุประสงค์ของตราสารนี้
17.5 ตราระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินกิจการ การเงิน การบัญชีและทรัพย์สินของมูลนิธิ
17.6 แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ เพื่อดําเนินการเฉพาะ
อย่างของมูลนิธิภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ
17.7 แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
17.8 เชิญผู้ทรงเกรียติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ
17.9 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ
17.10 แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจํามูลนิธิ
- 19 -
ข้อ 18 ประธานกรรมการมูลนิธิมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้
18.1 เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
18.2 สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ
18.3 เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และในการทํานิติกรรมใดๆ ของมูลนิธิ
หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ตราสารและสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิและ
ในการอรรถคดีนั้น เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทําการแทนหรือกรรมการมูลนิธิ 2 คน
ได้ลงลายมือชื่อแล้วจึงเป็นอันใช้ได้
18.4 ปฏิบัติการอื่นๆ ตามตราสารและมติของคณะกรรมการมูลนิธิ
ข้อ 19 ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทําหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถ
ปฏิบัติหน้าที่ได้หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทําการแทน
ข้อ 20 ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุม
คราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสําหรับการประชุม
คราวนั้น
ข้อ 21 เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการและดําเนินการประจําของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป
รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคําสั่งของประธานกรรมการของมูลนิธิ และทํา
รายงานการประชุมตลอดจนรายงานกิจการ
ข้อ 22 เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
และเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด
ข้อ 23 สําหรับกรรมการตําแหน่งอื่นๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด โดยทําเป็นคําสั่งระบุ
อํานาจหน้าที่ให้ชัดเจน
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์

Más contenido relacionado

Destacado

แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...UNDP
 
นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗Auraphin Phetraksa
 
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in ThailandEcological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in ThailandUNDP
 
การศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าการศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าAuraphin Phetraksa
 
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติCarrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติUNDP
 
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทยUNDP
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศUNDP
 
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์UNDP
 
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองUNDP
 
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงินคู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงินUNDP
 
FSS book
FSS bookFSS book
FSS bookUNDP
 
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครองUNDP
 
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...UNDP
 

Destacado (15)

แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
 
นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗
 
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in ThailandEcological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
 
การศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าการศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่า
 
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติCarrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
 
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
 
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
 
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
 
The Value of Nature
The Value of NatureThe Value of Nature
The Value of Nature
 
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงินคู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
 
FSS book
FSS bookFSS book
FSS book
 
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
 
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
 
Carrying Capacity
Carrying CapacityCarrying Capacity
Carrying Capacity
 

Similar a แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์

การวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุนการวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุนUNDP
 
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณแนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณUNDP
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2reraisararat
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารNithimar Or
 
ภารหน้าที่
ภารหน้าที่ภารหน้าที่
ภารหน้าที่marena06008
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55Montree Jareeyanuwat
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55Montree Jareeyanuwat
 
โครงการบริหารการเงินวัด
โครงการบริหารการเงินวัด โครงการบริหารการเงินวัด
โครงการบริหารการเงินวัด Taraya Srivilas
 
คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้
คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้
คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้WeIvy View
 
กระบวนการงบประมาณ
กระบวนการงบประมาณกระบวนการงบประมาณ
กระบวนการงบประมาณAreeluk Ngankoh
 
Pa system plan
Pa system planPa system plan
Pa system planyah2527
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารNithimar Or
 

Similar a แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ (20)

การวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุนการวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
 
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณแนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
 
แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2แผนกลยุทธ 2
แผนกลยุทธ 2
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหาร
 
Action plan
Action planAction plan
Action plan
 
Thailand
ThailandThailand
Thailand
 
Money
MoneyMoney
Money
 
1148636319 1
1148636319 11148636319 1
1148636319 1
 
ภารหน้าที่
ภารหน้าที่ภารหน้าที่
ภารหน้าที่
 
1148636319 1
1148636319 11148636319 1
1148636319 1
 
1148636319 1
1148636319 11148636319 1
1148636319 1
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
 
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
รายงานจัดซื้อจัดจ้าง1 ตค 31 มี.ค55
 
Ch5
Ch5Ch5
Ch5
 
โครงการบริหารการเงินวัด
โครงการบริหารการเงินวัด โครงการบริหารการเงินวัด
โครงการบริหารการเงินวัด
 
คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้
คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้
คู่มือการบริหารสินทรัพย์และสิ่งของเครื่องใช้
 
กระบวนการงบประมาณ
กระบวนการงบประมาณกระบวนการงบประมาณ
กระบวนการงบประมาณ
 
Pa system plan
Pa system planPa system plan
Pa system plan
 
ตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหารตัวอย่างงานบริหาร
ตัวอย่างงานบริหาร
 
190828 royal council (5) sirirerk
190828 royal council (5) sirirerk190828 royal council (5) sirirerk
190828 royal council (5) sirirerk
 

Más de UNDP

Dance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdfDance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdfUNDP
 
Good personality
Good personalityGood personality
Good personalityUNDP
 
Self Massage#1
Self Massage#1Self Massage#1
Self Massage#1UNDP
 
Protected Area book
Protected Area bookProtected Area book
Protected Area bookUNDP
 
METT book
METT bookMETT book
METT bookUNDP
 
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองUNDP
 
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งUNDP
 
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม UNDP
 
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศแนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศUNDP
 
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการแนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการUNDP
 
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศการวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศUNDP
 
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายUNDP
 
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรUNDP
 
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) UNDP
 
5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก
5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก
5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออกUNDP
 
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่า
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่าแนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่า
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่าUNDP
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออกข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออกUNDP
 
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม UNDP
 
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METT
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METTเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METT
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METTUNDP
 

Más de UNDP (19)

Dance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdfDance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdf
 
Good personality
Good personalityGood personality
Good personality
 
Self Massage#1
Self Massage#1Self Massage#1
Self Massage#1
 
Protected Area book
Protected Area bookProtected Area book
Protected Area book
 
METT book
METT bookMETT book
METT book
 
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
 
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
 
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
 
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศแนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
 
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการแนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
 
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศการวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
 
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
 
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
 
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
 
5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก
5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก
5.3 แนวทางการออกแบบและการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก
 
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่า
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่าแนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่า
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยสำหรับสัตว์ป่า
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออกข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
 
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
 
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METT
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METTเครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METT
เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพ : METT
 

แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์

  • 1.
  • 2. - 1 - รายงานข้อเสนอแนะแนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ โดย นายทวี หนูทอง ที่ปรึกษาด้านการจัดการพื้นที่คุ้มครอง โครงการ CATSPA บทนา กองทุนเพื่อการอนุรักษ์ (Conservation Trust Fund: CTF) เป็นการดําเนินงานของภาค ประชาคมหรือเอกชนเพื่อดําเนินการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีการสนับสนุนเงินงบประมาณในด้าน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่คุ้มครอง การบริหารกองทุนจะเป็นการ ดําเนินงานในระยะยาวและดําเนินการอยู่ภายใต้กฎหมายที่กําหนดของภาครัฐของประเทศนั้นๆ เงิน งบประมาณของกองทุนจะได้จากการสนับสนุนในการบริจาคของภาครัฐและภาคเอกชน รูปแบบการ ดําเนินงานโครงการหรือขับเคลื่อนโครงการโดยองค์กรพัฒนาเอกชนหรือองค์กรพัฒนาที่ยั่งยืนหรือภาครัฐ (เช่น หน่วยงานอุทยานแห่งชาติ) กองทุนเพื่อการอนุรักษ์เป็นนวัตกรรมใหม่ในการพัฒนากิจกรรมงบประมาณ เพื่อการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติที่นอกเหนือจากงบประมาณปกติของภาครัฐ มีบทบาทในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้แก่สังคมที่มีกลไกสนับสนุนการใช้ประโยชน์ของชุมชนที่มีส่วนร่วม แนวทางในการดําเนินงานของกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Fund: CTF) เพื่อที่จะ ทําให้เกิดขึ้นและปฏิบัติได้จริง จะต้องมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนเงินงบประมาณ เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Fund: CTF) ได้มีการพัฒนาและนํามาใช้กันในหลายๆ ประเทศแถบละตินอเมริกาและคาริบเบียน เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพในพื้นที่คุ้มครอง แหล่งเงินทุนสําหรับกองทุนอนุรักษ์ (CTF) จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล องค์กรนานาชาติ องค์กรอนุรักษ์และองค์กรพัฒนาเอกชน คําว่า Trust เป็นคําศัพท์ทางกฎหมายจากประเทศอังกฤษ หมายถึง การจัดการกองทุนให้มี ผลกําไรที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้โดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีคําว่า in trust เป็นการจัดการกองทุนในนามของ บุคคลสําคัญต่างๆ ส่วนคําว่า Trust Fund เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีผู้บริหาร ดําเนินการกองทุนที่จัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จะต้องมีผู้บริหารดําเนินการกองทุนและ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมกองทุน มีการกําหนดเวลาและนําผลกําไรไปใช้ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ จําต้องมีกฎหมายและกฎระเบียบหรือข้อบังคับควบคุมการดําเนินงานของกองทุน เช่น กองทุนอนุรักษ์ พลังงาน (Thailand Energy Conservation Fund (1992) ที่มีเป้ าหมายเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มีกฎหมายหรือ กฎระเบียบข้อบังคับกองทุนโดยเฉพาะ รูปแบบของกองทุนอนุรักษ์จะมีหลายรูปแบบ ที่มีการบริหารจัดการเงินงบประมาณเพื่อ สนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์ มีการระดมทุนเพื่อการดําเนินงานบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง การดําเนินงาน
  • 3. - 2 - ของกองทุนจะต้องไม่อยู่ในความควบคุมดูแลหรือดําเนินการของหน่วยงานภาครัฐ สําหรับรูปแบบของ กองทุนสามารถที่จะกําหนดและดําเนินการในรูปแบบต่างๆ และเรียกชื่อกองทุนอนุรักษ์ที่แตกต่างกัน เช่น (1) Park Funds เป็นกองทุนอนุรักษ์อุทยาน ดําเนินการใช้กองทุนเพื่อการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองและ ระบบนิเวศ กองทุนแบบนี้ได้มีการดําเนินงานกันในหลายๆ ประเทศ (2) Green Funds กองทุนสีเขียว เป็น กองทุนอนุรักษ์ที่ใช้ในการดําเนินการบริหารจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ (3) Brown Funds กองทุนสีนํ้าตาล เป็ นกองทุนอนุรักษ์ที่ใช้ในการดําเนินงานจัดการควบคุมมลพิษและของเสีย (4) Endowment Funds เป็นกองทุนอนุรักษ์หรือทรัพย์สินที่ได้รับการบริจาคและนําผลกําไรไปใช้เพื่อ สาธารณประโยชน์ (5) SinkingFunds เป็นกองทุนที่มีการกําหนดเวลาในระยะยาวเงินงบประมาณกองทุนจะ ถูกใช้จนหมด และ (6) Revolving Funds เป็นกองทุนหมุนเวียนที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากแหล่งต่างๆ และนําไปลงทุนเพื่อหวังผลกําไร ข้อดีข้อเสียของกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Funds) ข้อดี ทําให้มีการจัดการพื้นที่คุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีแหล่งเงินงบประมาณที่ใช้ใน การดําเนินงานการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ที่เป็ นแผนระยะยาว กองทุนอนุรักษ์จะเป็ นหน่วยงานเอกเทศ ตามนโยบายของรัฐที่ก่อให้เกิด การมีส่วนร่วม ข้อเสีย อาจจะมีความขัดแย้งทางด้านการเมือง นโยบาย การบริหาร กฎหมาย หรือข้อกําหนดใน การใช้เงินกองทุนจํานวนมาก การให้ความสําคัญกับโครงการ การบริหารที่มีค่าใช้จ่ายสูง มีความเสี่ยงในการ ใช้เงินกองทุนที่อาจจะลดน้อยลง หากไม่ได้คํานึงถึงความสําคัญของสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติก็จะไม่เป็นไปตามเป้ าประสงค์ การดาเนินงานกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Funds) กองทุนอนุรักษ์เป็นองค์กรอิสระ องค์กรภาคเอกชนจะต้องดําเนินการให้เป็นมาตรฐานและ ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ การดําเนินงานกองทุนอนุรักษ์ให้มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพจึง ได้พิจารณาถึงแนวทางการดําเนินสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 แนวทาง ดังนี้ 1. หลักธรรมาภิบาล (Governance) ที่ประกอบด้วย องค์ประกอบ โครงสร้าง บุคลากร ความ รับผิดชอบที่เป็นหลักฐานหรือเอกสารหรือข้อบังคับของกองทุน 2. การดําเนินงานจัดตั้งกองทุน (Operation) ที่ประกอบด้วยการกําหนดแผนยุทธศาสตร์ การระดมทุน การกําหนดใช้เงินกองทุนที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐหรือ องค์กรอื่นๆ 3. การบริหารกองทุน (Administration) เป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ดําเนินงาน ตามระเบียบกองทุนภายใต้ความรับผิดชอบผู้บริหารกองทุนมืออาชีพ
  • 4. - 3 - 4. การจัดการผลประโยชน์ (Asset Management) ที่ประกอบด้วยองค์ประกอบของแผน ยุทธศาสตร์การดําเนินงานโดยเฉพาะความรับผิดชอบเกี่ยวกับการลงทุนของกองทุน 5. การรายงาน การติดตามและประเมินผล (Reporting-Monitoring and Evaluation) เป็นการ ดําเนินงานด้านการรายงาน การติดตามและการประเมินผลการดําเนินงานของกองทุนและผลงานการใช้ เงินกองทุน การกําหนดรูปแบบการรายงาน วิธีการ งบประมาณที่จะต้องใช้เพื่อการติดตามผลการดําเนินงาน ที่มีประสิทธิภาพ 6. กระบวนการจัดหาทุน ( Resource Mobilization) ประกอบด้วยวิธีการจัดหาแหล่งทุนและ การจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินงบประมาณของกองทุน เช่น การนําเอาค่าแทนคุณระบบนิเวศมาใช้ (Payments for Ecosystem Services) ค่าชดเชย หรือการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งแหล่งทุนและใช้ในการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่คุ้มครอง นอกจากนี้การดําเนินงานกองทุนจะต้องพิจารณาถึงระยะเวลาของกิจกรรมของกองทุน มาตรฐานการดําเนินงาน การสื่อสาร การจัดหาบุคลากรและอาสาสมัคร แนวทางทั้ง 6 ประการดังกล่าวแล้ว จะได้แยกรายละเอียดการดําเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 1. หลักธรรมาภิบาล (Governance) 1.1 ในเอกสารจะต้องมีการกําหนดการบริหารหรือหลักธรรมาภิบาลกองทุน จะต้องกําหนด เป้าหมายในการใช้ประโยชน์ของกองทุนให้ชัดเจน 1.2 ในเอกสารจะมีส่วนที่เกี่ยวกับการบริหารหรือหลักธรรมาภิบาล จะประกอบด้วยผู้บริหาร กองทุน คือ คณะกรรมการบริหารกองทุนที่มีความรู้ความชํานาญและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ 1.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องมีความตั้งใจในการบริหารกองทุนให้เป็นไปตาม เป้ าหมายด้านการอนุรักษ์และมีความรับผิดชอบอย่างเต็มใจ 1.4 คณะกรรมการบริหารกองทุนซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ มีหน้าที่ให้คําแนะนําและ ดําเนินงานกองทุนอนุรักษ์หรือบริหารกองทุนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 1.5 การประชุมของคณะกรรมการบริหารกองทุน จะต้องมีการประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ สองครั้ง และผลการประชุมจะต้องมีการบันทึกผลและมติของที่ประชุม แล้วแจ้งเวียนให้ผู้เข้าประชุมทราบ และพิจารณาทุกครั้ง 1.6 คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องมีความเข้าใจรับผิดชอบดูแลผลประโยชน์และให้ ความคุ้มครองตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กําหนดไว้ 1.7 การแก้ไขปัญหาอุปสรรคตามนโยบายจะต้องนํามาพิจารณาวิเคราะห์ เพื่อการหลีกเลี่ยง และการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อลดปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน 1.8 คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องสรรหาหัวหน้าและผู้จัดการกองทุนให้ทําหน้าที่ บริหารกองทุนเต็มเวลา ดูแลกองทุน และจะต้องมีการประเมินประสิทธิภาพของผู้จัดการกองทุนทุกปี
  • 5. - 4 - 1.9 กองทุนอนุรักษ์จะต้องดําเนินการและได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือข้อตกลงระหว่างกองทุนกับผู้สนับสนุนหรือผู้บริจาคให้กองทุน จะต้องมีหลักฐานการรับเงิน เข้ากองทุนเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่ผู้สนับสนุนดังกล่าว 1.10 กองทุนอนุรักษ์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของแต่ละประเทศ ที่รับรองว่ากองทุน เป็นองค์กรอิสระไม่ขึ้นอยู่กับรัฐบาล มีกฎหมายใช้บังคับที่ชัดเจนรวมถึงกองทุนลักษณะอื่น เช่น มูลนิธิหรือ กลุ่มบริษัทหรือสมาคมที่ไม่หวังผลกําไรและไม่ต้องเสียภาษีหรือนําไปลดหย่อนภาษีเงินได้ 2. แนวทางการดาเนินงานจัดตั้งกองทุน (Operations) 2.1 กองทุนอนุรักษ์จะต้องมีแผนยุทธศาสตร์และแผนการเงินที่มีการกําหนดถึงวิสัยทัศน์ รายละเอียดของเป้ าประสงค์และกิจกรรม 2.2 กองทุนอนุรักษ์เป็นองค์กรดําเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์ กิจกรรมของกองทุนจะต้อง ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐทุกระดับที่สนับสนุนในการใช้บริการกองทุน 2.3 กองทุนอนุรักษ์จะต้องประสานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งจะ เป็นหน่วยงานสนับสนุนทางการเงิน รวมทั้งภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มสมาคม หน่วยงานวิจัยและ สถาบันการศึกษา 2.4 เมื่อมีการใช้เงินกองทุนเพื่อกิจกรรม กองทุนจะต้องทําการประเมินผลผู้รับเงินกองทุน ผู้รับเงินกองทุนจะต้องเสนอรายละเอียดข้อมูลและทําสัญญาร่วมกัน 2.5 กองทุนอนุรักษ์จะต้องมีกระบวนการพิจารณา คัดเลือกข้อเสนอรับทุนที่มีความสําคัญ ภายในเวลาที่กําหนด 2.6 กองทุนจะต้องสรุปจัดทําเป็นสัญญาระหว่างกองทุนกับผู้รับเงินและสร้างความเข้าใจ ร่วมกันในการใช้เงินกองทุน 2.7 กองทุนอนุรักษ์จะต้องให้ความสําคัญกับกิจกรรมที่ดําเนินการจากแหล่งทุนอื่นๆ เพื่อการ ระดมกองทุนที่เพิ่มขึ้น 2.8 การตรวจสอบความสามารถของผู้รับเงินกองทุนจะต้องเตรียมรายงาน ข้อเสนอแนะและ กิจกรรมที่ปฏิบัติให้ชัดเจน 2.9 ผู้ขอรับเงินจากองทุนจะต้องดําเนินงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมีความ โปร่งใส ตามกระบวนการ เช่น การซื้อสินค้า การใช้เงินในราคาประหยัดและเป็นไปตามกลไกของการตลาด 2.10 จะต้องคํานึงความรับผิดชอบตามมาตรฐาน การบริหารของผู้รับเงินทุนที่ใช้บริหาร กองทุนโดยเสมอภาค 3. การบริหารกองทุน (Administration) 3.1 รายละเอียดของกองทุนจะต้องมีความชัดเจน โครงสร้างองค์กรและมีทรัพยากรที่สามารถ ทําให้หัวหน้าผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานเจ้าหน้าที่กองทุนดําเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล
  • 6. - 5 - 3.2 การดําเนินงานด้านงบประมาณเพื่อจัดการจัดการจะต้องมีความโปร่งใส การใช้จ่าย เงินกองทุนจะต้องได้รับการอนุมัติตามวัตถุประสงค์และผ่านการอนุมัติ มีการวิเคราะห์ของคณะ กรรมการบริหารกองทุน 3.3 กองทุนสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนได้ 3.4 มีการจัดทําและปรับปรุงคู่มือการดําเนินงานของกองทุนเพื่อให้การดําเนินงานเป็นไปตาม นโยบาย กระบวนการทํางานให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การบริหารกองทุนเป็นที่ทราบโดยทั่วกัน 3.5 ผู้บริหารกองทุนจะต้องจัดหาสถานที่ทํางาน วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกใน การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ การใช้จ่ายเงินก็ต้องมีความโปร่งใสและเป็นไปตามกลไกของการตลาด 3.6 ผลการดําเนินงานของกองทุนในแต่ละปีจะต้องมีการตรวจสอบบัญชี โดยมีการแต่งตั้ง ผู้ตรวจสอบบัญชีจะต้องเป็นบุคคลภายนอกที่มีมาตรฐานวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ หรือมีวุฒิบัตรรองรับการตรวจสอบบัญชีจากสถาบันที่เกี่ยวข้อง 4. การรายงาน การติดตามและประเมินผล (Report, Monitoring and Evaluation) 4.1 ผู้บริหารกองทุนจะต้องดําเนินการจัดทํารายงานแจ้งผลงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบใน โอกาสต่างๆ 4.2 ข้อตกลงเรื่องทุนระหว่างกองทุนกับผู้สนับสนุนจะต้องมีการจัดเก็บเป็นข้อมูล หลักฐาน กระบวนการ เวลาและการรายงานที่ชัดเจน 4.3 กองทุนจะต้องกําหนดเวลาในการจัดทํารายงานเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐหรือนาย ทะเบียน ตามที่กองทุนขอจดทะเบียนระบุไว้ตามกฎหมาย 4.4 การติดตามและประเมินผลกองทุนตามกรอบงานจะต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์และ ยุทธศาสตร์ของกองทุนอนุรักษ์ในระดับชาติหรือนานาชาติ จะต้องมีตัวชี้วัดในเป้ าหมายและวัตถุประสงค์ 4.5 กองทุนจะต้องกําหนดรูปแบบของรายงานการติดตามและประเมินผลที่ระบุถึงการจัดการ ด้านการเงินเพื่อประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการบริหารกองทุน 4.6 พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ดําเนินงานกองทุนและผู้รับผิดชอบเงินกองทุนจะต้องยินยอมให้มีการ ตรวจสอบการใช้เงินกองทุน มีตัวชี้วัด และข้อกําหนดในสัญญาหรือแผนการติดตามผลต้องกําหนดให้ชัดเจน 4.7 กองทุนจะต้องกําหนดรูปแบบของการติดตามประเมินผลเพื่อการสนับสนุนที่มี ประสิทธิภาพของการอนุรักษ์ 4.8 กองทุนจะต้องสนับสนุนให้ผู้ที่ใช้เงินกองทุนกําหนดรูปแบบของการรายงานที่เหมาะสม การกําหนดกรอบ ข้อมูลในการติดตามและประเมินผลเพื่อสนับสนุนผลที่ได้รับและผลลัพธ์ของโครงการ 4.9 พนักงานเจ้าหน้าที่ของกองทุนจะต้องจัดทํารายงานความก้าวหน้าของโครงการผู้รับ เงินกองทุนตามผลลัพธ์และผลที่ได้รับเสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุน
  • 7. - 6 - 5. การจัดการผู้ใช้ประโยชน์กองทุนอนุรักษ์ (Asset Management) 5.1 นโยบายการลงทุนของกองทุน จะต้องมีความชัดเจนมีการกําหนดหลักการของกองทุน ด้านการจัดการผลประโยชน์ 5.2 การลงทุนของกองทุนจะต้องมีการจัดการทําแนวทางโดยเฉพาะจะต้องมีผู้ชํานาญการ เฉพาะเป็นผู้พิจารณา มีที่ปรึกษาด้านการเงินและผู้จัดการด้านการลงทุน 5.3 คณะกรรมการบริหารกองทุนหรือคณะกรรมการเฉพาะ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการ ด้านการลงทุน การบริหารจัดการหน่วยลงทุนให้เป็นปัจจุบัน 5.4 กองทุนอนุรักษ์จะต้องสงวนเงินต้นทุน (Endowment Capital) ไว้ให้คงที่เพื่ออนาคต กองทุนที่มีความยั่งยืน 5.5 คณะกรรมการบริหารกองทุนอาจจะเป็นผู้แทนการรับผิดชอบในการลงทุนของกองทุน แต่จะต้องพิจารณาถึงนโยบาย แนวทางการลงทุน กระบวนการ การคัดเลือกที่ปรึกษาทางด้านการเงิน หรือ ผู้จัดการการลงทุนและการรายงานผลการลงทุน 5.6 ในการดําเนินงานลงทุนของกองทุน คณะกรรมการบริหารกองทุนจะต้องแต่งตั้งบุคคลที่มี ความรู้ความชํานาญมีประสบการณ์ในด้านการลงทุน ด้านธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ สมาชิกกองทุนจะต้อง ได้รับให้เข้าร่วมการประชุมหรือฝึกอบรมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 5.7 ความสามารถในการลงทุน จะต้องวิเคราะห์ถึงประเภทของการลงทุน ทางเลือกในการ ลงทุนของกองทุนที่มีความน่าเชื่อถือและมีคุณภาพ เช่น ภาคอุตสาหกรรม 5.8 การลงทุนของกองทุนจะต้องมีการทําสัญญาให้มีความชัดเจน มีวัตถุประสงค์ จํานวนเงิน ลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของกองทุนอนุรักษ์ 5.9 กองทุนจะต้องมีการทบทวนการดําเนินงานการลงทุนจากเงินกองทุนอนุรักษ์ 6. การขับเคลื่อนด้านทรัพยากร (Resource Mobilization) 6.1 กองทุนมียุทธศาสตร์ที่หลากหลายทั้งระยะสั้นและระยะยาวในด้านการใช้เงินในหลายๆ ช่องทาง ไม่ได้หวังผลที่ขึ้นอยู่กับแหล่งทุนหรือกระบวนการหาทุนแต่เพียงอย่างเดียว 6.2 กองทุนอนุรักษ์จะต้องพัฒนาแผนยุทธศาสตร์และกิจกรรมในการจัดหาทุนในระยะยาว 6.3 กองทุนอนุรักษ์จะต้องมีนโยบายในการพิจารณาผู้สนับสนุนทางการเงินและมีสภาพคล่อง ที่ยอมรับได้ 6.4 กองทุนอนุรักษ์จะต้องวิเคราะห์และหาโอกาสสําหรับการใช้เงินกองทุนจากผู้สนับสนุน ให้มีประสิทธิภาพ 6.5 คณะกรรมการบริหารและจัดการกองทุนจะต้องวิเคราะห์และการใช้เงินกองทุนทาง การเงินแก่สถาบันเพื่อการดําเนินงานโครงการค่าแทนคุณระบบนิเวศ (PES), Fees, REDD+ การปรับปรุงภูมิ ทัศน์ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ค่าชดเชยและค่าปรับ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ของกองทุนอนุรักษ์
  • 8. - 7 - 6.6 คณะกรรมการบริหารกองทุนและผู้จัดการกองทุนจะต้องหาแหล่งเงินสนับสนุนจาก ภาครัฐ นักการเมืองกองทุนอื่นในระดับชาติหรือนานาชาติ 6.7 กองทุนอนุรักษ์จะต้องแสดงถึงบทบาทของกองทุนให้ผู้สนับสนุนการเงินในระยะยาวที่มี เป้าหมายสนับสนุนการบริหารจัดการระบบพื้นที่คุ้มครอง หรือกิจกรรมหรือกรอบการจัดการสิ่งแวดล้อม ความต้องการในการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (Conservation Trust Funds) ความต้องการในการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) จะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับ ที่มีลักษณะการดําเนินงาน 4 ประการ คือ 1. จะต้องมีสัญญาการดําเนินงานในระยะยาว คือ อย่างน้อย 10-15 ปี 2. รัฐบาลจะต้องสนับสนุนให้ภาคเอกชนดําเนินงานแทนรัฐบาล โดยใช้กลไกภายใต้การ ควบคุมของภาครัฐ 3. การทํางานเป็นระบบที่ร่วมกันในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน 4. จะต้องมีกฎหมายบริหารการเงินและมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้เป็นที่เชื่อถือ ของสาธารณชน ถ้าหากว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) เพื่อการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครองจะต้อง เตรียมแผนการที่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐ กฎหมาย ศักยภาพทางการเงิน กลไก ยุทธศาสตร์ และควรกําหนด เป็นกองทุนที่สําคัญในระดับชาติ ซึ่งจะต้องพิจารณาถึง 1. มีการตัดสินใจว่าการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์เป็นนโยบายของพื้นที่คุ้มครองหรือไม่ 2. กองทุนอนุรักษ์ที่จัดตั้งขึ้นใช้เพื่อการดําเนินงานพื้นที่คุ้มครองใช่หรือไม่ 3. มีกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ใช้สําหรับพื้นที่คุ้มครองหรือไม่ 4. หากไม่มีกฎหมายควบคุม รัฐบาลจะดําเนินการอย่างไรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าแทนคุณ ระบบนิเวศ (PES) ภาษี (Taxes) และค่าธรรมเนียม (Fees) 5. เงินกองทุนจะต้องมีการเสียภาษีหรือไม่ 6. กําหนดให้มีการบริหารกองทุนที่มีความโปร่งใส ในกรณีที่มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการพื้นที่คุ้มครอง จะต้องพิจารณาถึง 1. จํานวนเงินกองทุนในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งกองทุน จะต้องกําหนดพื้นที่คุ้มครองว่า เป็นพื้นที่ใดและจะใช้เงินงบประมาณลงทุนตั้งต้น 20-25% 2. อาจจะไม่จําเป็นต้องทําสัญญาหรือข้อตกลง (Commitment) 3. สนับสนุนกิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่คุ้มครอง 4. มีหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารจัดการกองทุนอนุรักษ์โดยตรง
  • 9. - 8 - 5. การบริหารกองทุนอนุรักษ์ (CTF) ควรจะเป็นอิสระมีการบริหารจัดการที่โปร่งใสพนักงาน เจ้าหน้าที่ควรมีหลักเกณฑ์ในการบริหารกองทุน มีหลักเกณฑ์ทางวิชาการที่ขอรับการสนับสนุนจาก หน่วยงานภายนอก 6. จะต้องมีการสนับสนุนการฝึกอบรมและการสนับสนุนทางวิชาการ 7. หน่วยงานภาคีที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จะต้องสนับสนุนกองทุนอนุรักษ์ รวมทั้งการวางแผน ยุทธศาสตร์ กิจกรรมการดําเนินงาน การหาแหล่งทุน การให้การศึกษาและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน กฎหมายที่เกี่ยวกับกองทุนอนุรักษ์ (CTF) ภายใต้กฎหมายของประเทศไทย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 110-136 จะเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานมูลนิธิ และสมาคม และมาตรา 78-109 เกี่ยวกับการจัดตั้งมูลนิธิและสมาคมที่เป็นเป้ าประสงค์ของกองทุนอนุรักษ์ (CTF) เพื่ออํานวยประโยชน์ทางด้านการช่วยเหลือศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ การศึกษา ผลประโยชน์ในการ มีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนร่วมก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีข้อห้ามเรื่องผลประโยชน์จาก กองทุนอนุรักษ์แก่บุคคล คณะกรรมการ พนักงานเจ้าหน้าที่ สมาชิกรับผลประโยชน์จากกองทุนและกิจกรรม อื่นๆ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ในการดําเนินการจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) เพื่อให้การดําเนินงานถูกต้องกฎหมายจําเป็นต้อง ศึกษา กฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะคือ มูลนิธิกับกองทุน สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังนี้ ตารางเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของมูลนิธิกับกองทุน สาระสาคัญ มูลนิธิ กองทุน 1. ตามกฎหมาย ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคลตามประมวล แพ่งและพาณิชย์ ไม่ต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล 2. ข้อบังคับ ข้อบังคับของมูลนิธิ ต้องระบุทรัพย์สินของ มูลนิธิขณะจัดตั้ง ไม่จําเป็นต้องระบุทรัพย์สินขณะตั้ง กองทุน 3. คําขอจดทะเบียน คําขอจดทะเบียนมูลนิธิ ต้องระบุเจ้าของ ทรัพย์สินและรายการทรัพย์สิน ที่อยู่และอาชีพ ของผู้จะเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน ไม่จําเป็นต้องระบุ 4. การดําเนินกิจการ อยู่ภายใต้อํานาจตรวจตราและควบคุมของนาย ทะเบียน ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับ ของมูลนิธิ คณะกรรมการอาจพิจารณาดําเนิน กิจการตามความเหมาะสมได้ 5. การจัดการทรัพย์สิน ต้องเป็ นไปตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ใน ข้อบังคับ คณะ ก ร รม ก า รอา จพิ จา รณ า ดําเนินการตามความเหมาะสม 6. การตรวจสอบควบคุม มีนายทะเบียนตรวจตราและควบคุมตาม กฎหมาย อาจตั้งบุคคลทําหน้าที่ผู้ตรวจสอบ การดําเนินกิจการ
  • 10. - 9 - สาระสาคัญ มูลนิธิ กองทุน 7. รูปแบบการดําเนินงาน ต้องดําเนินงานตามกฎหมายและข้อบังคับอย่าง เคร่งครัด อาจยืดหยุ่นตามความเหมาะกับ สภาพแวดล้อมและเหตุการณ์ 8. ความรวดเร็ว ต้องดําเนินงานตามกฎหมายและกฎหมายและ ข้อบังคับ อาจใช้มติเสียงส่วนใหญ่ของที่ ประชุมคณะกรรมการกองทุน 9. ความโปร่งใสในการ ดําเนินงาน มีการตรวจสอบควบคุมหลายขั้นตอน เ ป็ น ไ ป ต า ม แ น ว ท า ง ข อ ง คณะกรรมการแต่ละชุด 10.มาตรการทางภาษี ได้รับการยกเว้นเสียภาษีโดยให้รัฐมนตรี กระทรวงการคลังประกาศกําหนดให้เป็ น องค์การสาธารณะ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมาย 11.ผู้บริจาคเงินเพื่อการกุศล สาธารณะ การบริจาคสามารถนําไปหักลดหย่อนภาษีได้ ไม่เกิน ร้อยละ 2 ของกําไรสุทธิ ไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ตัวอย่าง : กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนับสนุนพรรคการเมือง โดยรัฐ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 บทเฉพาะกาล มาตรา 328 ได้บัญญัติให้กฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองจะต้องมีสาระสําคัญที่เกี่ยวกับการสนับสนุนพรรคการเมือง โดยรัฐ ได้แก่ การสนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาสาขาพรรคโดยรัฐ รวมทั้งการสนับสนุนทางการเมืองหรือ ประโยชน์อย่างอื่นแก่พรรคการเมือง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 มาตรา 56 ได้กําหนดให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยให้อํานาจ แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการดําเนินงานของกองทุนเพื่อการพัฒนา พรรคการเมือง เช่น ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดําเนินงานของกองทุน เพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง หลักเกณฑ์การจัดสรรเงินตามจํานวนสมาชิกพรรคการเมือง การกําหนดระยะเวลาการยื่นแผนงานและโครงการของพรรคการเมือง เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและ ใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมืองและการดําเนินการอื่นใดเกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่ คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กําหนดกรอบกการใช้จ่ายเงินของ กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง จะต้องใช้จ่ายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังนี้
  • 11. - 10 - 1. สนับสนุนการดําเนินกิจการของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองตามโครงการและ แผนงานของแต่ละพรรคการเมือง โดยการสนับสนุนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 แต่ไม่เกินร้อยละ 80 ของวงเงิน รายจ่ายในแต่ละปี 2. การดําเนินการพัฒนาพรรคการเมืองของสํานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 3. เป็นทุนในการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมือง 4. การสนับสนุนค่าไปรษณียากร ค่าสาธารณูปโภค และด้านอื่นๆ แก่พรรคการเมือง เพื่อดําเนินกิจการในทางการเมือง 5. การบริหารกองทุน 6. การอื่นๆ ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกําหนด รายได้ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง รายได้ของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ประกอบด้วย 1. เงินที่ได้จากงบประมาณรายจ่ายประจําปี 2. เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 3. เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทําความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 4. เงินหรือทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับ โดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยพรรคการเมือง พ..ศ. 2541 5. เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน ตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ..ศ. 2541 6. เงินหรือทรัพย์สินที่ผู้มอบให้เพื่อสมทบทุน 7. เงินดอกผลของกองทุน และ 8. เงินรายรับอื่น คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง ในการดําเนินงานของกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองนั้น กฎหมายกําหนดให้คณะกรรมการ การเลือกตั้งมีอํานาจและหน้าที่ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมือง และควบคุมดูแลการใช้จ่าย เงิ นก อง ทุ น โดย ค ณ ะ ก รร ม ก า รก า รเลื อก ตั้ ง แต่ ง ตั้ ง ค ณ ะ ก รรม ก า รขึ้ นค ณ ะ หนึ่ ง ทําหน้าที่แทนเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง” ประกอบด้วย 1. นายทะเบียนพรรคการเมือง ประธานกรรมการ 2. กรรมการการเลือกตั้ง 1 คน ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมาย กรรมการ 3. ผู้แทนกระทรวงการคลัง 1 คน กรรมการ
  • 12. - 11 - 4. ผู้แทนสํานักงบประมาณ 1 คน กรรมการ 5. ผู้แทนพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เลือกกันเอง จํานวน 3 คน กรรมการ 6. ผู้แทนพรรคการเมืองซึ่งไม่มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเลือกกันเอง จํานวน 1 คน กรรมการ 7. เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการและเลขานุการ อานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง คณะกรรมการกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองมีอํานาจหน้าที่ดังนี้ 1) จัดสรรเงินกองทุน ตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง กองทุนเพื่อการพัฒนา พรรคการเมือง 2) ควบคุม ดูแล การใช้จ่ายเงินของกองทุน 3) นําเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนไปหาดอกผล 4) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพรรคการเมือง 5) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการ บริหารกองทุน 6) ติดตาม ประเมินผล ตรวจสอบ และประชาสัมพันธ์การปฏิบัติงานตามโครงการที่ได้รับการ สนับสนุนจากกองทุน 7) รายงานผลการดําเนินการประจําปีให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ 8) แต่งตั้งบุคคล คณะบุคคล หรือคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็นในเรื่อง ใดเรื่องหนึ่ง หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใด 9) ออกระเบียบ ข้อกําหนด ประกาศ คําสั่ง หรือมติตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่องกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง และ 10) ดําเนินงานอื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง มอบหมาย การจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์ (CTF) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ กองทุนอนุรักษ์ (CTF) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ดําเนินการขับเคลื่อนโดยโครงการ CATSPA เพื่อให้กองทุนเกิดขึ้นโดยมีภาคเอกชนดําเนินการ ซึ่งได้มีการประชุมกันหลายครั้งเพื่อค้นหา กิจกรรมตามลําดับความสําคัญในการดําเนินงานของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์และหามาตรการจัดตั้ง กองทุนเป็นมูลนิธิกองทุนอนุรักษ์ดอยอินทนนท์ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งคณะกรรมการภาคเอกชน กําลังดําเนินการ ซึ่งมีแนวทางการดําเนินงานจัดตั้งและดําเนินงานมูลนิธิภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์
  • 13. - 12 - สมาคมสันนิบาตมูลนิธิแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ส.ม.ท.) ได้พิจารณาเห็นว่าใน ปัจจุบันมีผู้สนใจก่อตั้งมูลนิธิกันมาก แต่ยังไม่เข้าใจการดําเนินการจัดตั้งว่ามีขั้นตอนอย่างไร เมื่อได้รับอนุมัติ ให้จัดตั้งและจะต้องดําเนินการอย่างไร จึงเห็นสมควรจัดทําคําแนะนําการจัดตั้งมูลนิธิและการดําเนินการของ มูลนิธิขึ้น เพื่อให้เข้าใจโดยง่าย และเป็นการอํานวยความสะดวกในแนวทางปฏิบัติ ความหมายของมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 110 ได้บัญญัติความหมายของมูลนิธิไว้ว่า มูลนิธิได้แก่ ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสําหรับวัตถุประสงค์ เพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์อย่างอื่นโดยมิได้มุ่งหาประโยชน์มา แบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิ ต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด นอกจากเพื่อ ดําเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเองกล่าวโดยสรุป ความหมายของมูลนิธิตามข้อกฎหมายข้างต้นนี้ ให้ความสําคัญอยู่ที่ทรัพย์สินคือเป็นการนําเอาเงินสด และอสังหาริมทรัพย์มารวมกันเข้าเป็นกองทุน เพื่อทํา กิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังจะเห็นได้จากหลักเกณฑ์ของการจัดตั้งมูลนิธิ ซึ่งทางราชการได้ กําหนดหลักการและจํานวนเงินทุน “ทุนทรัพย์เริ่มแรก” ที่นํามาจดทะเบียนไว้ดังนี้ ในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็น ทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่า ไม่น้อยกว่า 500,000 บาท แต่ถ้ามูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การกีฬา ศาสนา สาธารณภัย และเพื่อการบําบัดรักษา ค้นคว้า ป้ องกันผู้ป่วยจากยาเสพติด เอดส์ หรือมูลนิธิที่ก่อตั้ง โดยหน่วยงานของรัฐได้รับการผ่อนผันให้มีทรัพย์สินเป็นกองทุนไม่ตํ่ากว่า 200,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สิน อย่างอื่นจะต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท การเตรียมการจัดตั้งมูลนิธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 ได้กําหนดให้มูลนิธิ ต้องมีข้อบังคับและ ต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิ ประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย 3 คน เป็นผู้ดําเนินกิจการของมูลนิธิตาม กฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ การก่อตั้งมูลนิธิ ต้องมีบุคคลหรือคณะบุคคลมารวมกันปรึกษาหารือ เพื่อ ดําเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ - ทรัพย์สินที่จัดตั้งมูลนิธิ - จัดทําข้อบังคับของมูลนิธิ - กําหนดที่ตั้งของสํานักงานมูลนิธิ - แต่งตั้งและกําหนดตําแหน่งกรรมการมูลนิธิ เช่น ประธานกรรมการ รองประธานกรรม การ เหรัญญิก เลขานุการ เป็นต้น
  • 14. - 13 - - แต่งตั้งบุคคลเพื่อมอบหมายให้ดําเนินการในเรื่องการยื่นเรื่องราวของมูลนิธิ เมื่อได้ประชุมกัน กระทําตามข้อ 1-5 แล้ว ให้ผู้ได้รับมอบหมายจัดทําเอกสารเพื่อยื่นเรื่องขอจัดตั้งมูลนิธิจํานวน 4 ชุด ดังนี้ 1. รายชื่อเจ้าของทรัพย์สินและรายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสําหรับมูลนิธิ 2. รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะมาเป็นกรรมการของมูลนิธิทุกคน 3. ข้อบังคับของมูลนิธิ 4. หนังสือคํามั่นสัญญาว่าจะให้ทรัพย์สินแก่มูลนิธิของเจ้าของทรัพย์สินตาม (1) ที่มีผลตาม กฎหมาย 5. สําเนาพินัยกรรม ในกรณีที่การขอจดทะเบียนมูลนิธิหรือจัดสรรทรัพย์สินสําหรับมูลนิธิ ตาม (1) เกิดขึ้นโดยผลของพินัยกรรม - สําเนาภาพถ่ายบัตรประจําตัวประชาชนหรือบัตรประจําตัวอื่นที่ส่วนราชการหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจออกให้และสําเนาภาพถ่ายทะเบียนบ้านของบุคคลตาม (1) และ (2) หรือหลักฐานอื่นที่ สามารถแสดงสถานภาพของบุคคลและถิ่นท่อยู่ในทํานองเดียวกัน ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มี หลักฐานตามที่กําหนด เช่น คนต่างด้าวหรือพระภิกษุ - แผนผังโดยสังเขปแสดงที่ตั้งสํานักงานใหญ่ และที่ตั้งสํานักงานสาขาทั้งปวง (ถ้ามี) *** - หนังสืออนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองให้ใช้สถานที่ตามข้อ *** - สําเนารายงานการประชุมจัดตั้งมูลนิธิ - หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของเจ้าหน้าที่ดินและสําเนาโฉนดที่ดิน (กรณีที่ดินอยู่ใน กองทุนที่จะจัดตั้งมูลนิธิ) - อื่นๆ (ถ้ามี) การจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ - ในเขตจังหวัดอื่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนมูลนิธิ การยื่นเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้  ในเขตจังหวัดอื่น - ผู้ขอตั้งมูลนิธิ ต้องจัดทําเอกสารหลักฐาน (จํานวน 4 ชุด) เพื่อยื่นเรื่องคําร้องขอจดทะเบียน จัดตั้งมูลนิธิต่อนายทะเบียนมูลนิธิ จังหวัด ณ ที่ว่าการอําเภอท้องที่ ที่สํานักงานใหญ่มูลนิธิตั้งขึ้น - เมื่อนายอําเภอท้องที่ได้รับเรื่องขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิจากผู้ขอแล้ว จะทําการตรวจสอบ/ สอบสวนผู้ที่จะเป็นกรรมการทุกคนว่ามีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดําเนินการตามวัตถุประสงค์ ของมูลนิธิหรือไม่เมื่อทําการตรวจสอบ/สอบสวนเสร็จแล้วรวบรวมหลักฐานทั้งหมดไปยังจังหวัด - เมื่อจังหวัดได้รับรับเรื่องแล้วหากพิจารณาเห็นว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิเกี่ยวกับงานของ สภาวัฒนธรรมแห่งชาติจังหวัดจะส่งคําขอจดทะเบียนดังกล่าวไปยังสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม แห่งชาติ (สวช.) พิจารณาอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติก่อน
  • 15. - 14 - - เมื่อ สวช. ได้ตอบอนุญาตให้จัดตั้งเป็นองค์การแล้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะนายทะเบียน มูลนิธิจังหวัดพิจารณาอนุญาตก็จะออกใบสําคัญแสดงการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิ (ม.น.3) และส่ง ประกาศการอนุญาตให้ตั้งมูลนิธิไปยังสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วส่งเรื่อง คืนไปยังอําเภอเพื่อแจ้งให้ผู้ขอมารับใบสําคัญฯ และชําระค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวง  การขอจัดตั้งมูลนิธิ ผู้มีความประสงค์จะทําการตั้งมูลนิธิจะต้องยื่น “คําร้องขอจดทะเบียนใบอนุญาตสมาคมหรือ องค์การตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485” (แบบ วธ.1) ในการจัดตั้ง มูลนิธิ พร้อมกับเอกสาร/หลักฐานประกอบอื่นๆ โดยยื่นต่อสํานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กองเอกชนสัมพันธ์ ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 หมายเลขโทรศัพท์ 0 2247 0013 19) สวช. เป็นหน่วยงานของรัฐทําหน้าที่พิจารณาอนุญาตการจัดตั้งสมาคม รวมทั้งพัฒนา และ ประสานกับองค์กรเอกชนต่างๆ ตาม พ.ร.บ. วัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2486 มูลนิธิ หมายถึง องค์กรเอกชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสังคมส่วนรวม โดยมีบทบาทในการแก้ไขปัญหา และช่วยพัฒนาสังคมและประเทศ ซึ่งการดําเนินงานของมูลนิธิมิได้มีแสดงหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง หรือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน สวช. ได้ตระหนักและเห็นความจําเป็นที่จะอํานวยสะดวกและเป็นประโยชน์แก่ผู้ขอจัดตั้ง มูลนิธิ จึงได้จัดทําเอกสาร 2 ชุด (ต้นฉบับ 1 ชุด สําเนา 1 ชุด) เอกสารชุดหนึ่งๆ ประกอบด้วยเอกสาร ดังนี้ 1. คําร้องขอจดทะเบียนอนุญาต (แบบ ว.ธ. 1) 2. ข้อบังคับมูลนิธิ 3. รายงานการประชุมผู้เริ่มการจัดตั้งมูลนิธิ 4. หนังสืออนุญาตให้ใช้สถานที่ตั้งมูลนิธิและสําเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งมูลนิธิ 5. แผนที่ตั้งสํานักงานมูลนิธิ 6. หนังสือให้ใช้ชื่อ-ชื่อสกุล เป็นชื่อของมูลนิธิ (กรณีให้ใช้ชื่อ-สกุล) เป็นชื่อมูลนิธิ 7. บัญชีรายชื่อคณะกรรมการชุดแรกของมูลนิธิ 8. ประวัติของผู้เริ่มการจัดตั้งมูลนิธิพร้อมสําเนาบัตรประจําตัวข้าราชการของผู้รับรอง 9. สําเนาบัตรประจําตัวและทะเบียนบ้านของผู้เริ่มการจัดตั้งมูลนิธิ 10. หนังสือรับรองสถานภาพทางการเงินของผู้ให้คํามั่นสัญญาจากธนาคาร โดยระบุชื่อผู้ อํานาจเบิกถอนเงินจากธนาคารด้วย 11. หนังสือคํามั่นสัญญาว่าจะยกทรัพย์สินให้แก่มูลนิธิ (ผู้ให้คํามั่นสัญญาต้องเป็นผู้มีอํานาจ จ่ายเงินตามหนังสือรับรองการเงินจากธนาคาร  การเสียภาษีเงินได้ของมูลนิธิหรือสมาคม มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบการในประเทศไทยไม่ว่าจะจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตาม กฎหมายต่างประเทศมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
  • 16. - 15 - โดยเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้จะต้องยืนรายการเสียภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.55 ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี 1. รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ รายได้ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้ของมูลนิธิหรือสมาคม ได้แก่ รายได้จากการประกอบกิจการ เช่น ค่าเช่ารายได้จากการจําหน่ายสินค้าและบริการ และรายได้จากทุน เช่น ดอกเบี้ย และเงินปันผล เป็นต้น มูลนิธิหรือสมาคมจะต้องนํารายได้ดังกล่าวมาคํานวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราที่ กฎหมายกําหนดโดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 2. รายได้ของมูลนิธิหรือสมาคมที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ มูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่ได้รับการประกาศกําหนดให้เป็นองค์การหือสถานสาธารณกุศล ตามมาตรา 47(7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนํารายได้ดังต่อไปนี้มาคํานวณภาษีเงินได้ นิติบุคคล ได้แก่ 1. ค่าลงทะเบียนหรือค่าบํารุงที่ได้จากสมาชิก 2. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาค 3. เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการให้โดยเสน่หา 4. เงินได้จากกิจการโรงเรียนเอกชนของมูลนิธิหรือสมาคม ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า ด้วยโรงเรียนเอกชน แต่ไม่รวมถึงเงินได้จากการขายของ การรับจ้างทําของ หรือการให้บริการอื่นใดที่ โรงเรียนเอกชนซึ่งเป็นโรงเรียนประเภทอาชีวศึกษาได้รับจากผู้ซึ่งมิใช่นักเรียน
  • 17. - 16 - ตราสาร มูลนิธิกองทุนการอนุรักษ์ดอยอินทนนท์ หมวดที่ 1 ชื่อ เครื่องหมายและสานักงานที่ตั้ง ข้อ 1 มูลนิธินี้ชื่อว่า มูลนิธิกองทุนการอนุรักษ์ดอยอินทนนท์ เรียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Doi Intanon Conservation Trust Foundation ข้อ 2 เครื่องหมายของมูลนิธิ คือ……………………………………………………………………………… และมีอักษรย่อว่า………………………………………………………………………………………. ข้อ 3 สํานักงานของมูลนิธิตั้งอยู่ที่เลขที่…………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………….…….. หมวดที่ 2 วัตถุประสงค์ ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของมูลนิธิมีดังนี้ คือ 4.1 สนับสนุนการดําเนินกิจการของดอยอินทนนท์ตามแผนยุทธศาสตร์ 4.2 ใช้เป็นทุนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับดอยอินทนนท์ 4.3 การอื่นๆ ที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด หมวดที่ 3 ทุนทรัพย์ ทรัพย์สินและการได้มาซึ่งทรัพย์สิน ข้อ 5 ทรัพย์สินของมูลนิธิ มีทุนเริ่มแรก คือ เงินสดจํานวน........................................................................บาท (..........................................................................................................) ข้อ 6 มูลนิธิอาจได้มาซึ่งทรัพย์สิน โดยวิธีดังต่อไปนี้ 6.1 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้โดยพินัยกรรมหรือนิติกรรมอื่น โดยมิได้มีเงื่อนไขผูกพันให้มูลนิธิ ต้องรับผิดชอบในหนี้สิน หรือภาระติดพันอื่นใด
  • 18. - 17 - 6.2 เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคให้ 6.3 ดอกผลซึ่งเกิดจากทรัพย์สินอันเป็นทุนของมูลนิธิ หมวดที่ 4 คุณสมบัติและการพ้นจากตาแหน่งของกรรมการ ข้อ 7 กรรมการของมูลนิธิ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 7.1 มีอายุไม่ตํ่ากว่า 25 ปีบริบูรณ์ 7.2 ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถหรือบุคคลมีจิต ฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 7.3 ไม่เป็นผู้ต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก 7.4 ไม่เป็นผู้มีชื่อเสียงเสื่อมเสียทางศีลธรรม ข้อ 8 กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตําแหน่ง เมื่อ 8.1 ถึงคราวออกตามวาระ 8.2 ตายหรือลาออก 8.3 ขาดคุณสมบัติตามตราสาร ข้อ 7 8.4 เป็นผู้มีความประพฤติและปฏิบัติตนไม่เหมาะสมและคณะกรรมการมูลนิธิมีมติให้ออก โดยมี คะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการมูลนิธิที่เข้าประชุม หมวดที่ 5 การดาเนินงานของคณะกรรมการมูลนิธิ ข้อ 9 มูลนิธินี้ดําเนินการโดยคณะกรรมการมูลนิธิ มีจํานวนไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 17 คน ประกอบด้วย ประธานกรรมการมูลนิธิ รองประธานกรรมการมูลนิธิ เลขานุการมูลนิธิ เหรัญญิก และ ตําแหน่งอื่นๆ ตามแต่คณะกรรมการมูลนิธิจะเห็นสมควร ข้อ 10 ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการผู้เริ่มจัดตั้งมูลนิธิเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานของมูลนิธิ ขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยประธานกรรมการและกรรมการอื่นๆ ตามจํานวนที่เห็นสมควรตามตราสาร ข้อ 11 วิธีการเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิ ให้ปฏิบัติมีดังนี้ ให้คณะกรรมการมูลนิธิชุดที่ดํารงตําแหน่งอยู่ เลือกตั้ง ประธานกรรมการมูลนิธิและกรรมการอื่นๆ ตามจํานวนที่เห็นสมควรตามตราสาร
  • 19. - 18 - ข้อ 12 กรรมการมูลนิธิอยู่ในตําแหน่งคราวละ 4 ปี ข้อ 13 เพื่อให้การดําเนินงานมูลนิธิได้เป็นไปโดยติดต่อกัน เมื่อคณะกรรมการดําเนินงานของมูลนิธิได้ ปฏิบัติหน้าที่มาครบ 2 ปี (ครึ่งหนึ่งของวาระการดํารงตําแหน่ง) ให้มีการจับสลากออกไปหนึ่งในสองของ จํานวนกรรมการมูลนิธิที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการดําเนินงานมูลนิธิครั้งแรก ข้อ14 การเลือกตั้งคณะกรรมการมูลนิธิให้ถือเสียงข้างมากของที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิเป็นมติของที่ประชุม ข้อ 15 กรรมการมูลนิธิที่พ้นจากตําแหน่งตามวาระอาจได้รับเลือกเป็นกรรมการมูลนิธิได้อีก ข้อ 16 ถ้าตําแหน่งกรรมการมูลนิธิว่างลง ให้คณะกรรมการมูลนิธิที่เหลืออยู่ แต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการ มูลนิธิแทนตําแหน่งที่ว่าง กรรมการมูลนิธิผู้ใดที่ได้รับการแต่งตั้งซ่อมอยู่ในตําแหน่งเท่าวาระของผู้ที่ตนแทน หมวดที่ 6 อานาจหน้าที่ของคณะกรรมการมูลนิธิ ข้อ 17 คณะกรรมการมูลนิธิมีอํานาจหน้าที่ในการดําเนินกิจการของมูลนิธิ ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและ ภายใต้ข้อบังคับของตราสารนี้ ให้มีอํานาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 17.1 กําหนดนโยบายของมูลนิธิและดําเนินการตามนโยบายนั้น 17.2 ควบคุมการใช้เงินและทรัพย์สินต่างๆ ของมูลนิธิ 17.3 เสนอรายงานกิจการ รายงานการเงินและบัญชี งบดุลรายได้ รายจ่ายต่อกระทรวงมหาดไทย 17.4 ดําเนินการให้เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิและวัตถุประสงค์ของตราสารนี้ 17.5 ตราระเบียบเกี่ยวกับการดําเนินกิจการ การเงิน การบัญชีและทรัพย์สินของมูลนิธิ 17.6 แต่งตั้งหรือถอดถอนคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง หรือหลายคณะ เพื่อดําเนินการเฉพาะ อย่างของมูลนิธิภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการมูลนิธิ 17.7 แต่งตั้งผู้สอบบัญชี 17.8 เชิญผู้ทรงเกรียติเป็นผู้อุปถัมภ์มูลนิธิ 17.9 เชิญผู้ทรงคุณวุฒิเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการมูลนิธิ 17.10 แต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าหน้าที่ประจํามูลนิธิ
  • 20. - 19 - ข้อ 18 ประธานกรรมการมูลนิธิมีอํานาจหน้าที่ ดังนี้ 18.1 เป็นประธานของการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ 18.2 สั่งเรียกประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ 18.3 เป็นผู้แทนของมูลนิธิในการติดต่อกับบุคคลภายนอก และในการทํานิติกรรมใดๆ ของมูลนิธิ หรือการลงลายมือชื่อในเอกสาร ตราสารและสรรพหนังสืออันเป็นหลักฐานของมูลนิธิและ ในการอรรถคดีนั้น เมื่อประธานกรรมการมูลนิธิหรือผู้ทําการแทนหรือกรรมการมูลนิธิ 2 คน ได้ลงลายมือชื่อแล้วจึงเป็นอันใช้ได้ 18.4 ปฏิบัติการอื่นๆ ตามตราสารและมติของคณะกรรมการมูลนิธิ ข้อ 19 ให้รองประธานกรรมการมูลนิธิทําหน้าที่แทนประธานกรรมการมูลนิธิ เมื่อประธานไม่สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ได้หรือในกรณีที่ประธานมอบหมายให้ทําการแทน ข้อ 20 ถ้าประธานกรรมการมูลนิธิและรองประธานกรรมการมูลนิธิไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในการประชุม คราวหนึ่งคราวใดได้ ให้ที่ประชุมเลือกตั้งกรรมการมูลนิธิคนใดคนหนึ่งเป็นประธานสําหรับการประชุม คราวนั้น ข้อ 21 เลขานุการมูลนิธิมีหน้าที่ควบคุมกิจการและดําเนินการประจําของมูลนิธิ ติดต่อประสานงานทั่วไป รักษาระเบียบข้อบังคับของมูลนิธิ นัดประชุมกรรมการตามคําสั่งของประธานกรรมการของมูลนิธิ และทํา รายงานการประชุมตลอดจนรายงานกิจการ ข้อ 22 เหรัญญิกมีหน้าที่ควบคุมการเงิน ทรัพย์สินของมูลนิธิตลอดจนบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง และเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด ข้อ 23 สําหรับกรรมการตําแหน่งอื่นๆ ให้มีหน้าที่ตามที่คณะกรรมการมูลนิธิกําหนด โดยทําเป็นคําสั่งระบุ อํานาจหน้าที่ให้ชัดเจน