SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 20
Descargar para leer sin conexión
จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ
 ถึง นรม.หญิง นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
         และกัลยาณมิตร
    จาก “เชิง แก่นแก้ว”
  และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
     ว่าด้วย “สงคราม”
       และสันติภาพ
   ใน “สยามประเทศไทย”
       และ “กัมพูชา”

  Open Letters to Ms.Yingluck
  on Siam/Thailand and Cambodia
                by
         Cherng Kaenkeo
         Charnvit Kasetsiri
แบบปกและรูปเล่มโดย: DC| ชนิสรา โสกันต์
สารบัญ


จดหมายฉบับที่ 4
Royal Pardon for Vira and Ratri
เรื่องการสร้างสัมพันธไมตรีอันดี และการขอพระราชทานอภัยโทษ
26 สิงหาคม 2554/2011                                       4

จดหมายฉบับที่ 3
Turn the Demilitarized Battlefield into a Peace Zone
4 สิงหาคม 2554/2011                                        6

จดหมายฉบับที่ 2
A Letter to a Woman Premier from Nai Cherng Kaenkeo
จดหมายถึงว่าที่ นรม.หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว :
ว่าด้วย “อาเซียน” และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา
21 กรกฏาคม 2554/2011                                       9

จดหมายฉบับที่ 1
A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenkeo
จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว :
ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา
14 กุมภาพันธ์ 2554/2011                                    12
จดหมายฉบับที่ 4
         Royal Pardon for Vira and Ratri
                 26 สิงหาคม 2554/2011




เรื่อง   การสร้างสัมพันธไมตรีอันดี และการขอพระราชทานอภัยโทษ
เรียน 	 นรม.	หญิง	น.ส.	ยิ่งลักษณ์	ชินวัตร	และ	รมต.	กต.	
        (ผ่านกัลยาณมิตร และสื่อฯ)
อ้างถึง 	จดหมายเปิดผนึกลงวันที่	4 สิงหาคม 2554 (2011) ที่แนบมา
	        สืบเนื่องจากจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว	 ที่ผมได้เสนอเรียนต่อ
ท่าน	นรม.	หญิง	ในการดำาเนินวิเทโศบายเพื่อบ้านเมืองของเรา		โดย
ให้เน้นความสำาคัญในกรอบของ	“อาเซียน”	และ	“เปลี่ยนสนามรบ	ให้
เป็นเขตสันติภาพถาวร”	นั้น	ผมมีข้อเสนอเพิ่มเติม	ดังต่อไปนี้	คือ
1. ในการไปเยือนกลุ่มประเทศอาเซียนตามธรรมเนียมนั้น	 ขอให้จัด
   ลำาดับความสำาคัญ	โดยเน้นประเทศข้างเคียง	คือ	ลาว	และกัมพูชา	
   เป็นเบื้องต้น
2. ในการสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม	 และวาระของความเป็น
   สตรี	 (women’s	 agenda)	 ด้วยการไปเยือนแหล่งมรดกโลกของ
   ประเทศเพื่อนบ้านนั้น	 ผมขอเสนอให้ไปเยือน	 “ปราสาทสมบูรณ์
   ไพรกุก”	ที่กัมพูชากำาลังดำาเนินการบูรณะ	และเสนอเป็นมรดกโลก
   อีกแห่งหนึ่ง	และที่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ	กับวิทยาลัยกัมปงเฌอเตียล	ซึ่ง
   เป็นความร่วมมือและเปิดร่วมกันโดยสมเด็จพระเทพรัตนฯ	และสม
   เด็จฮุนเซ็น	เมื่อปี	พ.ศ.2548	(2005)
3. ในการไปเยือนกัมพูชานั้น 	 นอกจากจะเป็นไปเพื่อสร้าง	 “เขต

4 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
สันติภาพถาวร”	 ระหว่างประเทศของเราทั้งสองแล้ว	 ขอเสนอ
    ให้ปรึกษากับ	 ฯพณฯ	 สมเด็จฮุนเซ็น	 ในการเร่งรัดการดำาเนินคดี	
    และการหาลู่ทางในการขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระ
    ราชาธิบดีแห่งกัมพูชา	 ให้กับคุณวีระ	 สมความคิด	 และคุณราตรี	
    พิพฒนไพบูรณ์	ซึงถูกจองจำาและคุมขังมาตังแต่ปลายเดือนธันวาคม	
          ั                      ่                        ้
    ปี ที่ แ ล้ ว 	 ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ความสมานฉั น ท์ ร ะหว่ า งชาติ ใ นสุ ว รรณภู มิ -
    อาเซียน-อุษาคเนย์ของเรา
4.	 ในการไปเยือนดังกล่าวขอให้เน้นในการสร้าง	“ประชาคมอาเซียน”	
    ASEAN	Community	ที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี	พ.ศ.	2558	(2015)	
    ทั้งนี้เพื่อความเป็นปึกแผ่น	ความเจริญ	และสันติภาพของภูมิภาค
    ของเรา
5. ท้ายที่สุด	ในกรณีการไปเยือนประเทศลาวนั้น	ขอให้ใช้การ	“อู้คำา
   เมือง”	เป็นหลัก

                                                          ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
                                                             น เกาะสิงหปุระ




                                                               ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 5
จดหมายฉบับที่ 3
       Turn the Demilitarized Battlefield
               into a Peace Zone
                   4 สิงหาคม 2554/2011



เรียน	 นรม.	หญิงคนแรกของ	“สยามประเทศไทย”	
	      และ	ครม.	ชุดใหม่	(ผ่านกัลยาณมิตร	และสื่อมวลชน)
1. เนื่องในโอกาสที่	 ฯพณฯ	 เป็นสตรีคนแรกที่ดำารงตำาแหน่ง	 นรม.	
   ของประเทศ	ผมขอส่งความปรารถนาดีมายัง	“พณฯ”	และ	ครม.	
   ชุดใหม่
2. ต่ อ สถานการณ์ ก ารเมื อ ง	 (ที่ ) 	 เป็ น พิ ษ 	 และสภาพที่ เ สี่ ย งต่ อ	
   “สงครามที่คนอื่น	(อาจ)	ก่อ”	ขึ้นได้อีก	ผมหวังว่า	ฯพณฯ	นรม.	
   จะใช้ทงแรงกายแรงใจ	สติปญญา	รวมทังความเป็น	“หญิง”	ความ
          ั้                  ั                 ้
   เป็น	 “แม่”	 และความเป็น	 “ภริยา”ในการบริหารบ้านเมือง	 เพื่อ
   ประโยชน์สุขของประชามหาชน	 ตลอดจนเพื่อสันติสุขของมนุษย์	
   “ข้ามพรมแดน”	ใน	“ประชาคมอาเซียน”	อุษาคเนย์
3. ผมมีข้อเสนออีกครั้ง	ดังต่อไปนี้
         ก.	โปรดให้ความสำาคัญต่อ	“อาเซียน”	ในการดำาเนินนโยบาย
         ต่างประเทศและการทูตของไทย
         ข.	 โปรดสร้างสัมพันธไมตรีอันดี	 กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง	 โดย
         เฉพาะอย่างยิ่งกัมพูชา	ลาว	และ	พม่า
         ค.	โปรดไปเยี่ยมเยียน	และสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม
         เป็นหลัก	 โดยไปเยือนประเทศอาเซียนที่เคยมี	 หรือกำาลังจะมี
         ผู้นำาระดับชาติที่เป็นสตรี(สร้าง	Female	Premier’s	Agenda	
         not	Male)	

6 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
ง.	โปรดไปเยือนสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม	เช่น	บรม
       พุทโธ	(Borobudur)	มัสยิดอีสติกัล	(Istigal)	หรือโบสถ์บาร๊อค
       ฟิลิปปิน	(Philippine	Baroque	Church)	นาขั้นบันไดบานาเว	
       (Banawe	 Rice	 Terraces)	 มหาเจดีย์ชเวดากอง	 (Shwe	
       Dagon)	พุกาม	(Pagan)	ตลอดจนปราสาทวัดพู	(Vat	Phou)	
       ปราสาทนครวัด-นครธม	 (Angkor)	 ปราสาทจามปาหมี่เซิน	
       (Myson)	และ/หรือเมืองประวัตศาสตร์	เช่น	เว้	(Hue)	มะละกา	
                                    ิ
       (Melaka)	และปีนัง	(Pinang)
4.	 อนึ่ง	 ผมมีข้อเสนอเฉพาะหน้าที่ควรเร่งดำาเนินการกับกัมพูชา	 คือ
    โปรด	“เปลี่ยนเขตปลอดทหาร	ให้เป็นเขตสันติภาพถาวร”	Turn	
    the	Demilitarized	Battlefield	into	a	Permanent	Peace	Zone	
    ให้มีลักษณะเป็น“เขตแดนร่วม	-วัฒนธรรมร่วม”	shared	border-
    shared	heritage	ทั้งนี้เพื่อใช้สำาหรับกิจกรรมด้านวัฒนธรรม	ด้าน
    เศรษฐกิจ	และการทำามาหากิน	ที่ปลอดจากการเมือง	(อชาตินิยม)	
    เป็นพิษ	 ทำาให้	 “เขตแดน”	 เป็นสมบัติร่วมของ”ชาวบ้าน”	 ของ
    ประชามหาชนทั้งสองชาติสืบไปชั่วกัลปาวสาน
	       ขออวยพรให้	 ฯพณฯ	นรม.	หญิง	ประสบความสำาเร็จในการ
ทำางาน	“เพื่อชาติ	และราษฎรของสยามประเทศไทย

                                            ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
                                               น เกาะสิงหปุระ




                                                ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 7
Turn	the	Demilitarized	Battlefield	to	a	Peace	Zone	




8 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
จดหมายฉบับที่ 2
           A Letter to a Woman Premier
            from Nai Cherng Kaenkeo
                 21 กรกฎาคม 2554/2011
      จดหมายถึงว่าที่ นรม. หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว:
   ว่าด้วย “อาเซียน” และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา




ถึง	     ว่าที่	นรม.	หญิง	
	        (ผ่านกัลยาณมิตร	และสื่อมวลชน)
1. เนื่องในโอกาสที่จะถึง	 “วันแม่แห่งชาติ”	 ปีนี้	 และเนื่องในโอกาส
   ที่	 ฯพณฯ	จะเป็นสตรีคนแรกที่ดำารงตำาแหน่ง	นรม.	ของ	“สยาม
   ประเทศไทย”	ผมขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง	“ความรัก
   อันยิ่งใหญ่”	ขอ	“สันติภาพ”	จงบังเกิดมีต่อพี่น้องร่วมชาติของเรา	
   กับมนุษย์	“ข้ามพรมแดน”	ใน	“ประชาคมอาเซียน”	อุษาคเนย์
2. ต่ อ สถานการณ์ ก ารเมื อ ง	 (ที่ ) 	 เป็ น พิ ษ 	 และสภาพที่ เ สี่ ย งต่ อ	
   “สงครามที่คนอื่น	(อาจ)	ก่อ”	ขึ้นได้นั้น	ผมหวังว่า	ฯพณฯ	ว่าที่	
   นรม.	จะใช้ทั้งแรงกายแรงใจ	สติปัญญา	รวมทั้งความเป็น	“หญิง”	
   ความเป็น	“แม่”	และความเป็น	“ภริยา”	ในการบริหารบ้านเมือง
   เพือประโยชน์สขของประชามหาชนในชาติของเรา	และเพือสันติสข
       ่          ุ                                          ่              ุ
   ของมนุษย์	“ข้ามพรมแดน”	ใน	“ประชาคมอาเซียน”	อุษาคเนย์
3. ผมมีข้อเสนอ	ดังต่อไปนี้
         ก.	โปรดให้ความสำาคัญต่อ	“อาเซียน”	ในการดำาเนินนโยบาย
         ต่างประเทศและการทูตของไทย
         ข.	โปรดสร้างสัมพันธไมตรี	กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง	โดยเฉพาะ
         อย่างยิ่งกัมพูชา	ลาว	และพม่า

                                                         ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 9
ค.	โปรดไปเยี่ยมเยียน	และสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม
         เป็นหลัก	 โดยไปเยือนประเทศอาเซียนที่เคยมี	 หรือกำาลังจะมี
         ผู้นำาระดับชาติที่เป็นสตรี	
         ง.	โปรดไปเยือนสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม	เช่น	บรม
         พุทโธ	(Borobudur)	มัสยิดอีสติกัล	(Istigal)	หรือโบสถ์บาร๊อค
         ฟิลิปปิน	(Philippine	Baroque	Church)	นาขั้นบันไดบานาเว	
         (Banawe	 Rice	 Terraces)	 มหาเจดีย์ชเวดากอง	 (Shwe	
         Dagon)	พุกาม	(Pagan)	ตลอดจนปราสาทวัดพู	(Vat	Phou)	
         ปราสาทนครวัด-นครธม	 (Angkor)	 ปราสาทจามปาหมี่เซิน	
         (Myson)	และ/หรือเมืองประวัตศาสตร์	เช่น	เว้	(Hue)	มะละกา	
                                      ิ
         (Melaka)	และปีนัง	(Pinang)
4.	 อนึง	ผมมีขอเสนอเฉพาะกิจกับกัมพูชา	ดังนี	คือโปรด	“เปลียนเขต
       ่      ้                            ้             ่
    ปลอดทหาร	เป็นเขตสันติภาพถาวร”	(Turn	the	Demilitarized	
    into	a	permanent	Peace	Zone)	ตามแนวทางทั้งสองนี้	คือ	
         ก.	บทกวีประทับใจของสุจิตต์	วงษ์เทศ	ที่ว่า
                “ปราสาทพระวิหารสันติภาพ
                ทาบปราสาทสวรรค์สโมสร
                ศรีอุษาคเนย์นิรันดร
                ประชากรหรรษาประชาคม”
         ข.	คำาสั่งของ	ศาลโลก	กรุงเฮก	เมื่อวันที่	 18	กรกฎาคม	ที่
         กำาหนดให้มี	 “เขตปลอดทหาร”	 หรือ	 demilitarized	 zone	
         รอบๆ	 ตัวปราสาท	 ทั้งในเขตแดนของไทย	 และของกัมพูชา	
         โปรดร่วมกับประเทศเพือนบ้านในการนำาเอา	“เขตปลอดทหาร”	
                             ่
         นั้น	 มาแปลงเป็น	 “เขตสันติภาพถาวร”	 ให้มีลักษณะเป็น	
         “เขตแดนร่วม”	 หรือ	 shared	 border	 ทั้งนี้เพื่อกิจการด้าน
         วัฒนธรรม	เศรษฐกิจ	ที่ปลอดจากการเมือง	(ชาตินิยม)	เป็น
         พิษ	ทำาให้เขตแดนเป็นสมบัติร่วมของ	“ชาวบ้าน”	ของประชา
         มหาชนทั้งสองชาติสืบไปชั่วกัลปาวสาน

10 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
ขออวยพรให้	ฯพณฯ	ว่าที่	นรม.	หญิง	ประสบความสำาเร็จใน
การทำางาน	“เพื่อชาติ	และราษฎรของสยามประเทศไทย”	ครับ
                                           ด้วยความนับถือยิ่ง
                                              เชิง แก่นแก้ว
                                            น เกาะสิงหปุระ




PS: Make Love not War
with ASEAN Neighbors, especially Cambodia, Laos and Burma



                                           ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 11
จดหมายฉบับที่ 1
               A Letter to a Khunying
             from Nai Cherng Kaenkeo
                14 กุมภาพันธ์ 2554/2011
          จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว:
               ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา




ถึง      คุณหญิง	และกัลยาณมิตร
1. Happy	Valentine’s	Day	และขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวัน
   แห่ง	“ความรัก”	ขอ	“สันติภาพ”	จงบังเกิดต่อพี่น้องร่วมชาติของ
   เราใน	 “สยามประเทศไทย”	 กับมนุษยชาติ	 “ข้ามพรมแดน”	 ใน	
   “เขมรกัมพูชา”	ในลาว	ในอุษาคเนย์	และใน	“ประชาคมอาเซียน”
2. ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน	ทำาให้ผมนึกถึงข้อคิดข้อเขียนของ	
   อ.	ป๋วย	อึ๊งภากรณ์	อันเป็นที่รักเคารพของเรา	“จากครรภ์มารดา	
   ถึงเชิงตะกอน”	(From Womb to Tomb) ที่กล่าวไว้ว่า
            “เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ
            คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อนให้เกิดขึ้น
            ตายในสงครามกลางเมือง
            ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์
            ตายเพราะน้ำาหรืออากาศเป็นพิษ
            หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ”
3. ผมเชื่อว่า	 “การเมือง	 (ที่)	 เป็นพิษ”	 ในการเมืองภายในของบ้าน
   เมืองเรา	 ที่ลามปามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน	 จาก	 “สันติภาพ”	
   (Peace)	กำาลังกลายเป็น	“สงคราม”	(War)	จาก	“สนามการค้า”	
   (Market	Place)	กลับเปลี่ยนเป็น	“สนามรบ”	(Battlefield)	นั้น	
   ด้านหนึ่ง	 มาจากกิเลศและตัณหา	 จาก	 “โลภ-โกรธ-หลง”	 และ

12 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
อีกด้านหนึ่งมาจาก	“อวิชชา”	จาก	“อประวัติศาสตร์”	ขาดความ
    เคารพนับถือในสิ่งที่	 “บรรพชน-บรรพกษัตริย์”	 ของเราได้ทำาเอา
    ไว้	และขาดการเคารพกติการะเบียบของสังคมโลกที่เป็น	“สากล”	
    และเป็น	“อารยะ”
4.	 ปัญหาทีมาจากกิเลศและตัณหา	ว่าด้วย	“โลภ-โกรธ-หลง”	นัน	ก็คอ
           ่                                            ้   ื
         โลภ เพราะอยากได้	“ปราสาท”	กับ	“พื้นที่”
         โกรธ	เพราะไม่ได้	“ปราสาท”	กับ	“พื้นที่”	
         หลง เพราะคิดว่าอาจจะได้	“ปราสาท”	กับ	“พื้นที่”
5. ส่วนปัญหาที่เกิดจาก	“อวิชชา”	จาก	“อประวัติศาสตร์”	และจาก
   การขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่	“บรรพชน-บรรพกษัตริย์”	ของ
   เราได้ทำาไว้	 ก็คือเรื่อง	 “หนังสือสัญญา”	 ฉบับต่างๆ	 และแผนที่	
   11	 ระวาง	 (แผ่น)	 ที่	 “สยาม”	 Siam	 ของพระบาทสมเด็จพระ
   จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว	รัชกาลที่	5	กับ	เสนาบดีพระหัตถ์ซ้าย-ขวา
   ของท่าน	คือ	คือ	สมเด็จกรมเทววงศ์	(การต่างประเทศ)	และสมเด็จ
   กรมดำารงฯ	(มหาดไทย)	จำาต้องทำาและให้สัตยาบันไว้กับฝรั่งเศสไม่
   ว่าจะเป็นฉบับ	ค.ศ.	1893-1904-1907	(ตรงกับ	ร.ศ.	112,	122,	
   125	และตรงกับ	พ.ศ.	2436,	2447,	2450	ตามลำาดับ)	
6.	 รวมทั้งแผนที่	 11	 ระวาง	 (แผ่น	 ที่มักจะรู้จักกันในนามของ	 1:	
    200,000)	 ที่ขีดเส้นพรมแดนครอบคลุมดินแดนจากแม่น้ำาโขงตอน
    บน	 (แม่คอบ-เชียงล้อม)-น่าน-เทือกพนมดงรัก-ตลอดลงมาจนถึง
    เมืองตราด	 อันเป็นผลงานของ	 “คณะกรรมการเขตแดนผสม
    อินโดจีนและสยาม”	 (Commission	 de	 Delimitation	 entre	
    l’Indochine	et	Le	Siam)	และอัครราชทูตสยามประจำากรุงปารีส	
    (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์	 กฤดากร)	 ที่ทรงรับมาเป็นจำานวน	 50	 ชุด	
    และส่งกลับมากรุงเทพฯ	ถวายให้กับเสนาบดีการต่างประเทศ	คือ	
    สมเด็จกรมฯ	เทววงศ์	เมื่อวันที่	20	สิงหาคม	พ.ศ.	2451	(1908)	
7.	 การทีตองทำาหนังสือสัญญาต่างๆข้างต้น	การทีตองให้สตยาบัน	และ
         ่ ้                                 ่ ้    ั
    การที่ต้อง	“รับ”	แผนที่	 11	ระวาง	(แผ่น)	นั้นมา	ก็เป็นไปตาม
    ปรัชญาความเชือว่าด้วย	“ชาติ”	ของ	“ราชาชาตินยม”	หรือ	Royal	
                   ่                             ิ

                                                ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 13
Nationalism	ทีจะต้องรักษา	“เอกราช-อธิปไตย”	ของสยาม/Siam	
                    ่
    เอาไว้	 ต้องยอมรับว่าสยามมีพื้นที่หรือดินแดน	“จำากัด”	(limited	
    land)	 เป็นเพียง	 “รูปขวานทอง”	 และต้องยอมสละ	 “ส่วนเกิน”	
    หรือส่วนที่เป็น	“ประเทศราช-เมืองขึ้น”	ที่ไป	“ได้ดินแดน”	(ของ	
    “คนอื่น”	ของ	“เขมร-ลาว-มลายู”)	มา	ไม่ว่าจะเป็น	“เสียมราฐ-
    พระตะบอง-ศรีโสภณ-จำาปาศักดิ์-หลวงพระบาง-เชียงตุง-เมือง
    พาน”	ตลอดจน	“เคดะห์-ปลิส-กลันตัน-ตรังกานู”	(ที่ต้องยอมยก
    และแลกเปลี่ยนไปกับอังกฤษ	เมื่อปี	พ.ศ.	2452	หรือ	ค.ศ.	1909	
    ปลายรัชสมัย	“เสด็จพ่อ	ร.	5”)
8.	 แต่เมือเกิดการปฏิวตเปลียนแปลงการปกครอง	พ.ศ.	2475	(1932)	
          ่           ั ิ ่
    พวก	“ผู้นำาใหม่”	โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก	“เสนาอำามาตย์”	หรือ	
    “ปีกขวา”	 นักการเมืองสายทหารของ	 “คณะราษฎร”	 ก็เปลี่ยน
    ปรัชญาความเชื่อของตน	เปลี่ยนและ	“สร้างชาติ”	ตามแนวลัทธิ	
    “อำามาตยาเสนาชาตินยม”	หรือ	Military-Bureaucratic	Nation-
                         ิ
    alism	(แทน	“ราชาชาตินิยม”	Royal	Nationalsim)
         ลัทธิใหม่นี้	 เปลี่ยนนามประเทศจาก	 “ราชอาณาจักรสยาม”	
     จาก	Siam	เป็น	“ประเทศไทย”	เป็น	Thailand	พ.ศ.	2482	(1939)	
     รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้อง	“เพลงชาติ”	(แต่ไม่ได้เปลี่ยนทำานอง)	จาก
     ประโยคขึ้นต้นว่า	“อันสยาม	นามประเทืองว่าเมืองทอง.....”	เป็น	
     “ประเทศไทย	รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.....”	
          แล้วก็ปลุกระดมความ	“รักชาติ”	การ	“กู้ชาติ”	ดำาเนินการ
     ขยายดินแดนด้วยการ	“เรียกร้องดินแดน”	เพื่อให้	“ประเทศไทย”	
     เป็น	“มหาอานาจักรไทย”	(สะกดด้วย	น.	หนู	ตามตัวสะกดที่ถูก
     รัฐบาลให้เปลียนในสมัยนัน)	ดังนัน	“ประเทศไทย”	หรือ	Thailand	
                  ่         ้       ้
     ก็มีสภาพเป็น	expanded	land	หาใช่	 limited	land	อย่างของ	
     “ราชอาณาจักรสยาม”	หรือ	Siam	ไม่
9.	 ในปี	 พ.ศ.	 2484-85	 หลังการเปลี่ยนชื่อประเทศเพียง	 2	 ปี	 ก็
    เกิด	 “สงครามอินโดจีน”	 รัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม	 ก็ส่ง
    กำาลังของกองทัพบก-เรือ-อากาศ	 บุกเข้าไปยึดดินแดนต่างๆมาได้	

14 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
อาทิ	 เมืองเสียมราฐ	(เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า	“จังหวัดพิบูล
    สงคราม”)-ยึดพระตะบอง-ยึดศรีโสภณ-(และปราสาทพระวิหาร)-
    ยึดจำาปาศักดิ์	 (และปราสาทวัดพู)-ยึดไซยะบุรี	 (เอามาเปลี่ยนชื่อ
    เป็นไทยๆว่า	“จังหวัดลานช้าง”	สะกดโดยไม่มีไม้โท)
         รัฐบาลของจอมพล	ป.	พิบลสงคราม	“ประกาศสงคราม”	กับ
                                  ู
    อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ	 25	 มกราคม	 พ.ศ	 2485	 (1942)	
    และด้วยความช่วยเหลือของ	“พันธมิตรญี่ปุ่น	“	ก็ทำาการยึดเมือง
    พาน-เมืองเชียงตุง	(ในพม่า	เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า	“สหรัฐ
    ไทยเดิม”)	แถมญีปนยังมอบรัฐมลายู	เช่น	“เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน-
                      ่ ุ่
    ตรังกานู”	ให้มาอีก	รัฐบาลพิบลสงครามเอามาเปลียนชือเป็นไทยๆ
                                ู                  ่ ่
    ว่า	“สี่รัฐมาลัย”	
10. นีคอสภาพ	“อีรงตุงนัง”	และ	“มรดกทางประวัตศาสตร์”	ของสมัย
       ่ ื          ุ                           ิ
    สงครามโลกครั้งที่	2	ที่ประเทศชาติของเราเกือบถูกยึดเป็น	“เมือง
    ขึ้น”	และผู้นำาของ	“อำามาตยาเสนาธิปไตย”	หลายคนเกือบกลาย
    เป็น	“อาชญากรสงคราม”	ถูกจับประหารชีวิต	เมื่อมหามิตรญี่ปุ่น
    ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูแพ้สงครามไป	
          โชคดีที่มี	 ฯพณฯ	 ปรีดี	 พนมยงค์	 “ปีกซ้าย”	 ของ	 “คณะ
    ราษฎร”	ตั้ง	“ขบวนการเสรีไทย”	ทำาการใต้ดินขึ้นมา	“กู้ชาติ”	ไว้
    ได้	ทำาการ	“ประกาศสันติภาพ”	เมื่อ	16	สิงหาคม	2488	(1945)	
    นี่คือผลงานของ	 “บรรพชน-มหาบุรุษ”	 แต่ท่านปรีดี	 ก็ถูกกำาจัด
    ออกไปด้วย	 “การเมืองทราม-การเมืองเป็นพิษ”	 (ถูกกล่าวหาใส่
    ร้ายป้ายสีในกรณีสวรรคตอันมืดมนของในหลวงรัชกาลที่	 8	 เมื่อ	
    9	มิถุนายน	พ.ศ.	2489)	มีการ	“รัฐประหาร	พ.ศ.	2490”	โดย
    จอมพลผิน	ชุณหะวัณ	ที่นำา	“อำามาตยาเสนาธิปไตย”	ของจอมพล	
    ป.	พิบลสงครามกลับมา	และสืบทอดกันต่อๆมาโดยจอมพลสฤษดิ-
           ู                                                   ์
    ถนอม-ประภาส	ฯลฯ	และยังทรงอิทธิพลอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้	
11. จะเห็นได้ว่า	“อำามาตยาเสนาชาตินิยม”	ของสมัยจอมพล	ป.	พิบูล
    สงคราม	 ที่มีหลวงวิจิตรวาทการเป็น	 “มันสมอง”	 มีทีมงานจาก
    กรมศิลปากร	(นายธนิต	หรือ	นายกี	 อยู่โพธิ์-นายมานิต	วัลลิโภ

                                                ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 15
ดม	 หรือทีมงานของกรมโฆษณาการ	 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรม
    ประชาสัมพันธ์)	อย่างนายมั่น-นายคง	(นายสังข์	 พัธโนทัย)	ก็ส่ง
    มรดกตกทอดกันมายัง	“สฤษดิ-ถนอม-ประภาส”	ตลอดจนทางสาย
                                 ์
    ของนักการเมืองพลเรือนอย่าง	“เสนีย-คึกฤทธิ	ปราโมช-ควง	อภัย
                                       ์       ์
    วงศ์”	เรื่อยมาจนบัดนี้เป็นเวลากว่า	70	ปี	 จนถึงรุ่นของจำาลอง-
    สนธิ-โพธิรักษ์-สมปอง-อดุล-ศรีศักร	และรัฐบาลในปัจจุบัน	
12. นี่เป็น	“หลุมดำาทางการเมือง”	(Political	Black	Hole)	หรือ	“หีบ
    พยนต์-ผะอบนางโมรา”	(Pandora’s	Box)	ทีหากตกลงไปก็ยากทีจะ
                                               ่               ่
    ปีนป่ายขึนมาได้	หรือถ้าเปิดออกมา	(จะโดยตังใจหรือไม่ตงใจก็ตาม)	
               ้                                 ้      ั้
    ก็อาจถึงตายได้	คำาถามของเรา	ณ	บัดนี	ก็คอเรา	(หมายถึงคนส่วน
                                           ้ ื
    ใหญ่ของประเทศ	 นอก	 กทม.)	 จะรอดจาก	 “บ่วงกรรม”	 นี้ไปได้
    อย่างไร	เราจะทำาอย่างไรให้	“การเมืองเป็นพิษ”	หรือ	“การเมือง
    ทราม”	กลายเป็น	“การเมืองดี”	ทำาให้ประเทศชาติของเรารุ่งเรือง	
    มีศักดิ์มีศรี	 มีเกียรติภูมิในวงการระหว่างประเทศ	 เคารพกติกา
    ระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ	 ดำาเนินการที่เป็น	 “สากล”	
    และเป็น	“อารยะ”
          กัลยาณมิตร	และเพื่อนๆของผมในกลุ่ม	“สันติประชาธรรม”	
     ขอเสนอมายังคุณหญิงอีกครังหนึง	และขอให้ชวยนำาความไปเรียน
                                  ้ ่               ่
     ต่อ	 “บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวคุณหญิง	 ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน	 หรือเป็น
     ทหาร	ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำางาน	หรืออยู่ที่บ้าน”	ก็ตาม
          ขอให้เรามาช่วยกัน	“ปฏิบัติธรรม”	ละเสียซึ่งโลภ-โกรธ-หลง	
     ขจัด	“อวิชชา”	และ	“อประวัติศาสตร์”	ในขณะเดียวกัน	ก็ช่วย
     กันหลีกเลี่ยง	“สงคราม”	ช่วยกันแสวงหา	“สันติภาพ	“	ช่วยกัน
     ทำาให้	“สนามรบ”	กลับเป็น	“สนามการค้า”	อีกครั้ง
          ขอให้เรามาช่วยกัน	ทำาดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอุษาค
     เนย์-อาเซียน	ทีหลากหลายไปด้วยชาติพนธุ์	ระบบนิเวศ	ธรรมชาติ
                    ่                    ั
     และวัฒนธรรม	 จาก	 “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่	 ถึงพนมดงรัก	 จาก
     ปราสาทพนมรุง	ถึงปราสาทพระวิหาร	และปราสาทวัดพู	จรดแม่นา
                  ้                                          ้ำ
     โขงตอนกลาง	ณ	คอนพะเพ็ง-แก่งหลี่ผี”	กลายเป็น	“มรดกโลก

16 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
ข้ามเขตแดน” เพื่อ	 “ความรัก-สันติภาพ-สันติสุข-และอหิงสา”	
ของ	 “ประชาคมอาเซียน”	 ที่	 “ไร้พรมแดน”	 ให้จงได้	 (Asean	
Trans-Boundary	World	Heritage	Sites	from	Dong	Phyayen-
Khaoyai	to	Phnom	Dangrek-Prasat	Phnom	Rung/Preah	
Vihear/Vat	Phou	to	Khone	Papeng/Li	Phi	Falls	and	the	
Middle	Mekong	Basin)
      ทั้งนี้ทั้งนั้น	 ก็เพื่อ	 “ชาติ	 และราษฎรไทย”	 ของเรา	 เพื่อ
ประโยชน์ต่อส่วนรวม	โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน	
หลายพันหลายหมืนชีวต	ทีอยูตามแนวชายแดนกว่า	800	กิโลเมตร	
                       ่ ิ ่ ่
จากอุบลฯ	ศรีสะเกษ	จากสุรินทร์	บุรีรัมย์	จากสระแก้ว-จันทบุรี-
ถึงตราด	ผู้คนที่เป็นเพียงชาวบ้าน	แค่ชาวชนบท	ด้อยการศึกษา	
(ไม่มีแม้แต่ประกาศนียบัตรมัธยม	 โดยไม่ต้องพูดถึงระดับปริญญา
ตรี	อย่างเราๆท่านๆ	ในเมืองหลวง)	
      และก็ด้อยซึ่งโอกาส	ที่ต้องเผชิญต่อ	“สงคราม”	และสภาพ
ของบ้านแตกสาแหรกขาด	สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อ	ทำามาหากิน
ไม่ได้	ที่อยู่ทางฝั่งตะเข็บชายแดนของ	“สยามประเทศไทย”	ที่ร่วม
ชะตาและร่วมกรรมกับผูคนทีกเหมือนๆกัน	เป็นญาติพนองกัน	ร่วม
                            ้ ่ ็                ี่ ้
สายเลือดเดียว	 ทั้งยังร่วมวัฒนธรรม	 ร่วมภาษากันในฝั่งตะเข็บ
ชายแดนของ	“เขมรกัมพูชา”	จากสตุงแตรง	ถึงพระวิหาร	จาก
อุดรมีชย	ถึงบันทายมีชย	โพธิสตว์	และเกาะกง	ดังข้อเสนอต่อไปนี้
        ั                 ั       ั
1. ขอให้กองกำาลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม	 และความ
   อดกลั้น	 ยุติการสู้รบโดยทันที	 ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและ
   ทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของ	 ทั้ง
   สองฝ่าย
2. ขอให้ ถ อนกำ า ลั ง ทหารของทั้ ง สองฝ่ า ยออกจากพื้ น ที่ พิ พ าท
   อย่างเร่งด่วน	 เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดน
   ระหว่างกัน
3. ขอให้ยตเคลือนกำาลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอืนๆ	ทียงคงเป็น
         ุ ิ ่                               ่    ่ ั

                                                ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 17
ปัญหากันอยู	เพือหลีกเลียงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุด
                    ่ ่         ่
         อื่นๆตามแนวชายแดน
     4.	 ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน	 โดยเฉพาะ
         อย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร	 โดยผ่าน
         กลไกการเจรจาทวิภาคีซงมีอยูแล้ว	อันได้แก่คณะกรรมาธิการ
                                     ึ่     ่
         เขตแดนร่ ว มซึ่ ง ได้ จั ด ตั้ ง ตามบั น ทึ ก ความเข้ าใจแห่ ง ราช	
         อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา	 ลงวันที่	
         14	มิถุนายน	2543
     5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา	ยุติการนำาประเด็น
        ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง	
        ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ	 หรือการเมืองระหว่างประเทศ	
        อันจะทำาให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะ
        หาทางยุติลงได้

                                                     ด้วยความระลึกถึง
                                                         เชิง แก่นแก้ว
                                                              สิงหปุระ




PS: Make Love not War with ASEAN Neighbors, especially
Cambodia and Laos

18 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
For Peace - สันติภาพ
click: http://www.petitiononline.com/sc2011/petition.html
For Siam - สยาม
click: http://www.petitiononline.com/SIAM2008
http://www.petitiononline.com/siam2007
For Pridi-Phoonsuk - ปรีดี - พูนศุข
click: http://www.pridi-phoonsuk.org
For Puey - ป๋วย
click: http://www.puey-ungphakorn.org
For Textbooks - มูลนิธโครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
                      ิ
click: http://www.textbooksproject.org
http://www.textbooksproject.com
http://www.facebook.com/textbooksproject
For cK - ชว
click: http://www.charnvitkasetsiri.com

                                             ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 19
20 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ

Más contenido relacionado

Destacado

Destacado (20)

Reserva Espaço Cerâmica
Reserva Espaço CerâmicaReserva Espaço Cerâmica
Reserva Espaço Cerâmica
 
Jeka y dayiz 1
Jeka y dayiz 1Jeka y dayiz 1
Jeka y dayiz 1
 
Catalogo
CatalogoCatalogo
Catalogo
 
T-Rex
T-RexT-Rex
T-Rex
 
O uso das novas tecnologias da informação no
O uso das novas tecnologias da informação noO uso das novas tecnologias da informação no
O uso das novas tecnologias da informação no
 
Oracle
OracleOracle
Oracle
 
Conteúdo para Blogs
Conteúdo para BlogsConteúdo para Blogs
Conteúdo para Blogs
 
E Administració
E AdministracióE Administració
E Administració
 
Introdução Recursos Educacionais Abertos (REA)
Introdução Recursos Educacionais Abertos (REA)Introdução Recursos Educacionais Abertos (REA)
Introdução Recursos Educacionais Abertos (REA)
 
A cigarra-e-a-formiga
A cigarra-e-a-formigaA cigarra-e-a-formiga
A cigarra-e-a-formiga
 
Comentarios Al Decreto
Comentarios Al DecretoComentarios Al Decreto
Comentarios Al Decreto
 
Atmosfera Matteo Peretti
Atmosfera Matteo PerettiAtmosfera Matteo Peretti
Atmosfera Matteo Peretti
 
4.1.Vista Clasificador De Diapositiva
4.1.Vista Clasificador De Diapositiva4.1.Vista Clasificador De Diapositiva
4.1.Vista Clasificador De Diapositiva
 
Sebastião freitas lima
Sebastião freitas limaSebastião freitas lima
Sebastião freitas lima
 
La muerte de césar
La muerte de césarLa muerte de césar
La muerte de césar
 
Programa de Capacitación Docente en Aulas Virtuales
Programa de Capacitación Docente en Aulas VirtualesPrograma de Capacitación Docente en Aulas Virtuales
Programa de Capacitación Docente en Aulas Virtuales
 
Revolução russa 9º anos e 3º anos
Revolução russa 9º anos e 3º anosRevolução russa 9º anos e 3º anos
Revolução russa 9º anos e 3º anos
 
Arte
ArteArte
Arte
 
Presentac..[1]
Presentac..[1]Presentac..[1]
Presentac..[1]
 
Toi asi
Toi asiToi asi
Toi asi
 

Similar a Open letters to PM Yingluck

ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายChinnakorn Pawannay
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 
เล่มที่ 9 ชาวบ้านบางระจัน
เล่มที่ 9  ชาวบ้านบางระจันเล่มที่ 9  ชาวบ้านบางระจัน
เล่มที่ 9 ชาวบ้านบางระจันChoengchai Rattanachai
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมsupreedada
 
เล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญ
เล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญเล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญ
เล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญหรร 'ษๅ
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
พุทธทำนาย
พุทธทำนายพุทธทำนาย
พุทธทำนายAunkrublive
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถChoengchai Rattanachai
 
สี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินสี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินtommy
 

Similar a Open letters to PM Yingluck (15)

ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่ายธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
ธรรมราชาและเทวราชาในวรรณคดีลิลิตตะเลงพ่าย
 
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf
 
โคลนติดล้อ (สอน Ppt)[1]
โคลนติดล้อ (สอน Ppt)[1]โคลนติดล้อ (สอน Ppt)[1]
โคลนติดล้อ (สอน Ppt)[1]
 
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธีลังกากถา โดย ปิยเมธี
ลังกากถา โดย ปิยเมธี
 
เล่มที่ 9 ชาวบ้านบางระจัน
เล่มที่ 9  ชาวบ้านบางระจันเล่มที่ 9  ชาวบ้านบางระจัน
เล่มที่ 9 ชาวบ้านบางระจัน
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
Ppt16 (1)
Ppt16 (1)Ppt16 (1)
Ppt16 (1)
 
เล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญ
เล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญเล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญ
เล่มที่ 1 บ้านโนนเจริญ
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
Crma present1
Crma present1Crma present1
Crma present1
 
พุทธทำนาย
พุทธทำนายพุทธทำนาย
พุทธทำนาย
 
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเล่มที่ 6  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เล่มที่ 6 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
Crma present1
Crma present1Crma present1
Crma present1
 
สี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดินสี่แผ่นดิน
สี่แผ่นดิน
 

Open letters to PM Yingluck

  • 1. จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม.หญิง นส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และกัลยาณมิตร จาก “เชิง แก่นแก้ว” และ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ว่าด้วย “สงคราม” และสันติภาพ ใน “สยามประเทศไทย” และ “กัมพูชา” Open Letters to Ms.Yingluck on Siam/Thailand and Cambodia by Cherng Kaenkeo Charnvit Kasetsiri
  • 3. สารบัญ จดหมายฉบับที่ 4 Royal Pardon for Vira and Ratri เรื่องการสร้างสัมพันธไมตรีอันดี และการขอพระราชทานอภัยโทษ 26 สิงหาคม 2554/2011 4 จดหมายฉบับที่ 3 Turn the Demilitarized Battlefield into a Peace Zone 4 สิงหาคม 2554/2011 6 จดหมายฉบับที่ 2 A Letter to a Woman Premier from Nai Cherng Kaenkeo จดหมายถึงว่าที่ นรม.หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว : ว่าด้วย “อาเซียน” และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา 21 กรกฏาคม 2554/2011 9 จดหมายฉบับที่ 1 A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenkeo จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว : ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา 14 กุมภาพันธ์ 2554/2011 12
  • 4. จดหมายฉบับที่ 4 Royal Pardon for Vira and Ratri 26 สิงหาคม 2554/2011 เรื่อง การสร้างสัมพันธไมตรีอันดี และการขอพระราชทานอภัยโทษ เรียน นรม. หญิง น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ รมต. กต. (ผ่านกัลยาณมิตร และสื่อฯ) อ้างถึง จดหมายเปิดผนึกลงวันที่ 4 สิงหาคม 2554 (2011) ที่แนบมา สืบเนื่องจากจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว ที่ผมได้เสนอเรียนต่อ ท่าน นรม. หญิง ในการดำาเนินวิเทโศบายเพื่อบ้านเมืองของเรา โดย ให้เน้นความสำาคัญในกรอบของ “อาเซียน” และ “เปลี่ยนสนามรบ ให้ เป็นเขตสันติภาพถาวร” นั้น ผมมีข้อเสนอเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้ คือ 1. ในการไปเยือนกลุ่มประเทศอาเซียนตามธรรมเนียมนั้น ขอให้จัด ลำาดับความสำาคัญ โดยเน้นประเทศข้างเคียง คือ ลาว และกัมพูชา เป็นเบื้องต้น 2. ในการสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม และวาระของความเป็น สตรี (women’s agenda) ด้วยการไปเยือนแหล่งมรดกโลกของ ประเทศเพื่อนบ้านนั้น ผมขอเสนอให้ไปเยือน “ปราสาทสมบูรณ์ ไพรกุก” ที่กัมพูชากำาลังดำาเนินการบูรณะ และเสนอเป็นมรดกโลก อีกแห่งหนึ่ง และที่ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับวิทยาลัยกัมปงเฌอเตียล ซึ่ง เป็นความร่วมมือและเปิดร่วมกันโดยสมเด็จพระเทพรัตนฯ และสม เด็จฮุนเซ็น เมื่อปี พ.ศ.2548 (2005) 3. ในการไปเยือนกัมพูชานั้น นอกจากจะเป็นไปเพื่อสร้าง “เขต 4 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 5. สันติภาพถาวร” ระหว่างประเทศของเราทั้งสองแล้ว ขอเสนอ ให้ปรึกษากับ ฯพณฯ สมเด็จฮุนเซ็น ในการเร่งรัดการดำาเนินคดี และการหาลู่ทางในการขอพระราชทานอภัยโทษจากสมเด็จพระ ราชาธิบดีแห่งกัมพูชา ให้กับคุณวีระ สมความคิด และคุณราตรี พิพฒนไพบูรณ์ ซึงถูกจองจำาและคุมขังมาตังแต่ปลายเดือนธันวาคม ั ่ ้ ปี ที่ แ ล้ ว ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ความสมานฉั น ท์ ร ะหว่ า งชาติ ใ นสุ ว รรณภู มิ - อาเซียน-อุษาคเนย์ของเรา 4. ในการไปเยือนดังกล่าวขอให้เน้นในการสร้าง “ประชาคมอาเซียน” ASEAN Community ที่ตั้งเป้าหมายไว้ในปี พ.ศ. 2558 (2015) ทั้งนี้เพื่อความเป็นปึกแผ่น ความเจริญ และสันติภาพของภูมิภาค ของเรา 5. ท้ายที่สุด ในกรณีการไปเยือนประเทศลาวนั้น ขอให้ใช้การ “อู้คำา เมือง” เป็นหลัก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ น เกาะสิงหปุระ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 5
  • 6. จดหมายฉบับที่ 3 Turn the Demilitarized Battlefield into a Peace Zone 4 สิงหาคม 2554/2011 เรียน นรม. หญิงคนแรกของ “สยามประเทศไทย” และ ครม. ชุดใหม่ (ผ่านกัลยาณมิตร และสื่อมวลชน) 1. เนื่องในโอกาสที่ ฯพณฯ เป็นสตรีคนแรกที่ดำารงตำาแหน่ง นรม. ของประเทศ ผมขอส่งความปรารถนาดีมายัง “พณฯ” และ ครม. ชุดใหม่ 2. ต่ อ สถานการณ์ ก ารเมื อ ง (ที่ ) เป็ น พิ ษ และสภาพที่ เ สี่ ย งต่ อ “สงครามที่คนอื่น (อาจ) ก่อ” ขึ้นได้อีก ผมหวังว่า ฯพณฯ นรม. จะใช้ทงแรงกายแรงใจ สติปญญา รวมทังความเป็น “หญิง” ความ ั้ ั ้ เป็น “แม่” และความเป็น “ภริยา”ในการบริหารบ้านเมือง เพื่อ ประโยชน์สุขของประชามหาชน ตลอดจนเพื่อสันติสุขของมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์ 3. ผมมีข้อเสนออีกครั้ง ดังต่อไปนี้ ก. โปรดให้ความสำาคัญต่อ “อาเซียน” ในการดำาเนินนโยบาย ต่างประเทศและการทูตของไทย ข. โปรดสร้างสัมพันธไมตรีอันดี กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดย เฉพาะอย่างยิ่งกัมพูชา ลาว และ พม่า ค. โปรดไปเยี่ยมเยียน และสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม เป็นหลัก โดยไปเยือนประเทศอาเซียนที่เคยมี หรือกำาลังจะมี ผู้นำาระดับชาติที่เป็นสตรี(สร้าง Female Premier’s Agenda not Male) 6 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 7. ง. โปรดไปเยือนสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น บรม พุทโธ (Borobudur) มัสยิดอีสติกัล (Istigal) หรือโบสถ์บาร๊อค ฟิลิปปิน (Philippine Baroque Church) นาขั้นบันไดบานาเว (Banawe Rice Terraces) มหาเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon) พุกาม (Pagan) ตลอดจนปราสาทวัดพู (Vat Phou) ปราสาทนครวัด-นครธม (Angkor) ปราสาทจามปาหมี่เซิน (Myson) และ/หรือเมืองประวัตศาสตร์ เช่น เว้ (Hue) มะละกา ิ (Melaka) และปีนัง (Pinang) 4. อนึ่ง ผมมีข้อเสนอเฉพาะหน้าที่ควรเร่งดำาเนินการกับกัมพูชา คือ โปรด “เปลี่ยนเขตปลอดทหาร ให้เป็นเขตสันติภาพถาวร” Turn the Demilitarized Battlefield into a Permanent Peace Zone ให้มีลักษณะเป็น“เขตแดนร่วม -วัฒนธรรมร่วม” shared border- shared heritage ทั้งนี้เพื่อใช้สำาหรับกิจกรรมด้านวัฒนธรรม ด้าน เศรษฐกิจ และการทำามาหากิน ที่ปลอดจากการเมือง (อชาตินิยม) เป็นพิษ ทำาให้ “เขตแดน” เป็นสมบัติร่วมของ”ชาวบ้าน” ของ ประชามหาชนทั้งสองชาติสืบไปชั่วกัลปาวสาน ขออวยพรให้ ฯพณฯ นรม. หญิง ประสบความสำาเร็จในการ ทำางาน “เพื่อชาติ และราษฎรของสยามประเทศไทย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ น เกาะสิงหปุระ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 7
  • 9. จดหมายฉบับที่ 2 A Letter to a Woman Premier from Nai Cherng Kaenkeo 21 กรกฎาคม 2554/2011 จดหมายถึงว่าที่ นรม. หญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วย “อาเซียน” และสงครามกับสันติภาพไทย-กัมพูชา ถึง ว่าที่ นรม. หญิง (ผ่านกัลยาณมิตร และสื่อมวลชน) 1. เนื่องในโอกาสที่จะถึง “วันแม่แห่งชาติ” ปีนี้ และเนื่องในโอกาส ที่ ฯพณฯ จะเป็นสตรีคนแรกที่ดำารงตำาแหน่ง นรม. ของ “สยาม ประเทศไทย” ผมขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวันแห่ง “ความรัก อันยิ่งใหญ่” ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดมีต่อพี่น้องร่วมชาติของเรา กับมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์ 2. ต่ อ สถานการณ์ ก ารเมื อ ง (ที่ ) เป็ น พิ ษ และสภาพที่ เ สี่ ย งต่ อ “สงครามที่คนอื่น (อาจ) ก่อ” ขึ้นได้นั้น ผมหวังว่า ฯพณฯ ว่าที่ นรม. จะใช้ทั้งแรงกายแรงใจ สติปัญญา รวมทั้งความเป็น “หญิง” ความเป็น “แม่” และความเป็น “ภริยา” ในการบริหารบ้านเมือง เพือประโยชน์สขของประชามหาชนในชาติของเรา และเพือสันติสข ่ ุ ่ ุ ของมนุษย์ “ข้ามพรมแดน” ใน “ประชาคมอาเซียน” อุษาคเนย์ 3. ผมมีข้อเสนอ ดังต่อไปนี้ ก. โปรดให้ความสำาคัญต่อ “อาเซียน” ในการดำาเนินนโยบาย ต่างประเทศและการทูตของไทย ข. โปรดสร้างสัมพันธไมตรี กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกัมพูชา ลาว และพม่า ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 9
  • 10. ค. โปรดไปเยี่ยมเยียน และสร้างความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรม เป็นหลัก โดยไปเยือนประเทศอาเซียนที่เคยมี หรือกำาลังจะมี ผู้นำาระดับชาติที่เป็นสตรี ง. โปรดไปเยือนสถานที่ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น บรม พุทโธ (Borobudur) มัสยิดอีสติกัล (Istigal) หรือโบสถ์บาร๊อค ฟิลิปปิน (Philippine Baroque Church) นาขั้นบันไดบานาเว (Banawe Rice Terraces) มหาเจดีย์ชเวดากอง (Shwe Dagon) พุกาม (Pagan) ตลอดจนปราสาทวัดพู (Vat Phou) ปราสาทนครวัด-นครธม (Angkor) ปราสาทจามปาหมี่เซิน (Myson) และ/หรือเมืองประวัตศาสตร์ เช่น เว้ (Hue) มะละกา ิ (Melaka) และปีนัง (Pinang) 4. อนึง ผมมีขอเสนอเฉพาะกิจกับกัมพูชา ดังนี คือโปรด “เปลียนเขต ่ ้ ้ ่ ปลอดทหาร เป็นเขตสันติภาพถาวร” (Turn the Demilitarized into a permanent Peace Zone) ตามแนวทางทั้งสองนี้ คือ ก. บทกวีประทับใจของสุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ว่า “ปราสาทพระวิหารสันติภาพ ทาบปราสาทสวรรค์สโมสร ศรีอุษาคเนย์นิรันดร ประชากรหรรษาประชาคม” ข. คำาสั่งของ ศาลโลก กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ กำาหนดให้มี “เขตปลอดทหาร” หรือ demilitarized zone รอบๆ ตัวปราสาท ทั้งในเขตแดนของไทย และของกัมพูชา โปรดร่วมกับประเทศเพือนบ้านในการนำาเอา “เขตปลอดทหาร” ่ นั้น มาแปลงเป็น “เขตสันติภาพถาวร” ให้มีลักษณะเป็น “เขตแดนร่วม” หรือ shared border ทั้งนี้เพื่อกิจการด้าน วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ที่ปลอดจากการเมือง (ชาตินิยม) เป็น พิษ ทำาให้เขตแดนเป็นสมบัติร่วมของ “ชาวบ้าน” ของประชา มหาชนทั้งสองชาติสืบไปชั่วกัลปาวสาน 10 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 11. ขออวยพรให้ ฯพณฯ ว่าที่ นรม. หญิง ประสบความสำาเร็จใน การทำางาน “เพื่อชาติ และราษฎรของสยามประเทศไทย” ครับ ด้วยความนับถือยิ่ง เชิง แก่นแก้ว น เกาะสิงหปุระ PS: Make Love not War with ASEAN Neighbors, especially Cambodia, Laos and Burma ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 11
  • 12. จดหมายฉบับที่ 1 A Letter to a Khunying from Nai Cherng Kaenkeo 14 กุมภาพันธ์ 2554/2011 จดหมายถึงคุณหญิง จากนายเชิง แก่นแก้ว: ว่าด้วยสงครามไทย-กัมพูชา ถึง คุณหญิง และกัลยาณมิตร 1. Happy Valentine’s Day และขอส่งความปรารถนาดีเนื่องในวัน แห่ง “ความรัก” ขอ “สันติภาพ” จงบังเกิดต่อพี่น้องร่วมชาติของ เราใน “สยามประเทศไทย” กับมนุษยชาติ “ข้ามพรมแดน” ใน “เขมรกัมพูชา” ในลาว ในอุษาคเนย์ และใน “ประชาคมอาเซียน” 2. ต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ทำาให้ผมนึกถึงข้อคิดข้อเขียนของ อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อันเป็นที่รักเคารพของเรา “จากครรภ์มารดา ถึงเชิงตะกอน” (From Womb to Tomb) ที่กล่าวไว้ว่า “เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายอย่างโง่ๆ อย่างบ้าๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อนให้เกิดขึ้น ตายในสงครามกลางเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำาหรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ” 3. ผมเชื่อว่า “การเมือง (ที่) เป็นพิษ” ในการเมืองภายในของบ้าน เมืองเรา ที่ลามปามไปยังประเทศเพื่อนบ้าน จาก “สันติภาพ” (Peace) กำาลังกลายเป็น “สงคราม” (War) จาก “สนามการค้า” (Market Place) กลับเปลี่ยนเป็น “สนามรบ” (Battlefield) นั้น ด้านหนึ่ง มาจากกิเลศและตัณหา จาก “โลภ-โกรธ-หลง” และ 12 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 13. อีกด้านหนึ่งมาจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” ขาดความ เคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของเราได้ทำาเอา ไว้ และขาดการเคารพกติการะเบียบของสังคมโลกที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ” 4. ปัญหาทีมาจากกิเลศและตัณหา ว่าด้วย “โลภ-โกรธ-หลง” นัน ก็คอ ่ ้ ื โลภ เพราะอยากได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” โกรธ เพราะไม่ได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” หลง เพราะคิดว่าอาจจะได้ “ปราสาท” กับ “พื้นที่” 5. ส่วนปัญหาที่เกิดจาก “อวิชชา” จาก “อประวัติศาสตร์” และจาก การขาดความเคารพนับถือในสิ่งที่ “บรรพชน-บรรพกษัตริย์” ของ เราได้ทำาไว้ ก็คือเรื่อง “หนังสือสัญญา” ฉบับต่างๆ และแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) ที่ “สยาม” Siam ของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กับ เสนาบดีพระหัตถ์ซ้าย-ขวา ของท่าน คือ คือ สมเด็จกรมเทววงศ์ (การต่างประเทศ) และสมเด็จ กรมดำารงฯ (มหาดไทย) จำาต้องทำาและให้สัตยาบันไว้กับฝรั่งเศสไม่ ว่าจะเป็นฉบับ ค.ศ. 1893-1904-1907 (ตรงกับ ร.ศ. 112, 122, 125 และตรงกับ พ.ศ. 2436, 2447, 2450 ตามลำาดับ) 6. รวมทั้งแผนที่ 11 ระวาง (แผ่น ที่มักจะรู้จักกันในนามของ 1: 200,000) ที่ขีดเส้นพรมแดนครอบคลุมดินแดนจากแม่น้ำาโขงตอน บน (แม่คอบ-เชียงล้อม)-น่าน-เทือกพนมดงรัก-ตลอดลงมาจนถึง เมืองตราด อันเป็นผลงานของ “คณะกรรมการเขตแดนผสม อินโดจีนและสยาม” (Commission de Delimitation entre l’Indochine et Le Siam) และอัครราชทูตสยามประจำากรุงปารีส (หม่อมเจ้าจรูญศักดิ์ กฤดากร) ที่ทรงรับมาเป็นจำานวน 50 ชุด และส่งกลับมากรุงเทพฯ ถวายให้กับเสนาบดีการต่างประเทศ คือ สมเด็จกรมฯ เทววงศ์ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2451 (1908) 7. การทีตองทำาหนังสือสัญญาต่างๆข้างต้น การทีตองให้สตยาบัน และ ่ ้ ่ ้ ั การที่ต้อง “รับ” แผนที่ 11 ระวาง (แผ่น) นั้นมา ก็เป็นไปตาม ปรัชญาความเชือว่าด้วย “ชาติ” ของ “ราชาชาตินยม” หรือ Royal ่ ิ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 13
  • 14. Nationalism ทีจะต้องรักษา “เอกราช-อธิปไตย” ของสยาม/Siam ่ เอาไว้ ต้องยอมรับว่าสยามมีพื้นที่หรือดินแดน “จำากัด” (limited land) เป็นเพียง “รูปขวานทอง” และต้องยอมสละ “ส่วนเกิน” หรือส่วนที่เป็น “ประเทศราช-เมืองขึ้น” ที่ไป “ได้ดินแดน” (ของ “คนอื่น” ของ “เขมร-ลาว-มลายู”) มา ไม่ว่าจะเป็น “เสียมราฐ- พระตะบอง-ศรีโสภณ-จำาปาศักดิ์-หลวงพระบาง-เชียงตุง-เมือง พาน” ตลอดจน “เคดะห์-ปลิส-กลันตัน-ตรังกานู” (ที่ต้องยอมยก และแลกเปลี่ยนไปกับอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2452 หรือ ค.ศ. 1909 ปลายรัชสมัย “เสด็จพ่อ ร. 5”) 8. แต่เมือเกิดการปฏิวตเปลียนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 (1932) ่ ั ิ ่ พวก “ผู้นำาใหม่” โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวก “เสนาอำามาตย์” หรือ “ปีกขวา” นักการเมืองสายทหารของ “คณะราษฎร” ก็เปลี่ยน ปรัชญาความเชื่อของตน เปลี่ยนและ “สร้างชาติ” ตามแนวลัทธิ “อำามาตยาเสนาชาตินยม” หรือ Military-Bureaucratic Nation- ิ alism (แทน “ราชาชาตินิยม” Royal Nationalsim) ลัทธิใหม่นี้ เปลี่ยนนามประเทศจาก “ราชอาณาจักรสยาม” จาก Siam เป็น “ประเทศไทย” เป็น Thailand พ.ศ. 2482 (1939) รวมทั้งเปลี่ยนเนื้อร้อง “เพลงชาติ” (แต่ไม่ได้เปลี่ยนทำานอง) จาก ประโยคขึ้นต้นว่า “อันสยาม นามประเทืองว่าเมืองทอง.....” เป็น “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย.....” แล้วก็ปลุกระดมความ “รักชาติ” การ “กู้ชาติ” ดำาเนินการ ขยายดินแดนด้วยการ “เรียกร้องดินแดน” เพื่อให้ “ประเทศไทย” เป็น “มหาอานาจักรไทย” (สะกดด้วย น. หนู ตามตัวสะกดที่ถูก รัฐบาลให้เปลียนในสมัยนัน) ดังนัน “ประเทศไทย” หรือ Thailand ่ ้ ้ ก็มีสภาพเป็น expanded land หาใช่ limited land อย่างของ “ราชอาณาจักรสยาม” หรือ Siam ไม่ 9. ในปี พ.ศ. 2484-85 หลังการเปลี่ยนชื่อประเทศเพียง 2 ปี ก็ เกิด “สงครามอินโดจีน” รัฐบาลของหลวงพิบูลสงคราม ก็ส่ง กำาลังของกองทัพบก-เรือ-อากาศ บุกเข้าไปยึดดินแดนต่างๆมาได้ 14 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 15. อาทิ เมืองเสียมราฐ (เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “จังหวัดพิบูล สงคราม”)-ยึดพระตะบอง-ยึดศรีโสภณ-(และปราสาทพระวิหาร)- ยึดจำาปาศักดิ์ (และปราสาทวัดพู)-ยึดไซยะบุรี (เอามาเปลี่ยนชื่อ เป็นไทยๆว่า “จังหวัดลานช้าง” สะกดโดยไม่มีไม้โท) รัฐบาลของจอมพล ป. พิบลสงคราม “ประกาศสงคราม” กับ ู อังกฤษและสหรัฐอเมริกาเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ 2485 (1942) และด้วยความช่วยเหลือของ “พันธมิตรญี่ปุ่น “ ก็ทำาการยึดเมือง พาน-เมืองเชียงตุง (ในพม่า เอามาเปลี่ยนชื่อเป็นไทยๆว่า “สหรัฐ ไทยเดิม”) แถมญีปนยังมอบรัฐมลายู เช่น “เคดะห์-ปะลิส-กลันตัน- ่ ุ่ ตรังกานู” ให้มาอีก รัฐบาลพิบลสงครามเอามาเปลียนชือเป็นไทยๆ ู ่ ่ ว่า “สี่รัฐมาลัย” 10. นีคอสภาพ “อีรงตุงนัง” และ “มรดกทางประวัตศาสตร์” ของสมัย ่ ื ุ ิ สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศชาติของเราเกือบถูกยึดเป็น “เมือง ขึ้น” และผู้นำาของ “อำามาตยาเสนาธิปไตย” หลายคนเกือบกลาย เป็น “อาชญากรสงคราม” ถูกจับประหารชีวิต เมื่อมหามิตรญี่ปุ่น ถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูแพ้สงครามไป โชคดีที่มี ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ “ปีกซ้าย” ของ “คณะ ราษฎร” ตั้ง “ขบวนการเสรีไทย” ทำาการใต้ดินขึ้นมา “กู้ชาติ” ไว้ ได้ ทำาการ “ประกาศสันติภาพ” เมื่อ 16 สิงหาคม 2488 (1945) นี่คือผลงานของ “บรรพชน-มหาบุรุษ” แต่ท่านปรีดี ก็ถูกกำาจัด ออกไปด้วย “การเมืองทราม-การเมืองเป็นพิษ” (ถูกกล่าวหาใส่ ร้ายป้ายสีในกรณีสวรรคตอันมืดมนของในหลวงรัชกาลที่ 8 เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) มีการ “รัฐประหาร พ.ศ. 2490” โดย จอมพลผิน ชุณหะวัณ ที่นำา “อำามาตยาเสนาธิปไตย” ของจอมพล ป. พิบลสงครามกลับมา และสืบทอดกันต่อๆมาโดยจอมพลสฤษดิ- ู ์ ถนอม-ประภาส ฯลฯ และยังทรงอิทธิพลอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้ 11. จะเห็นได้ว่า “อำามาตยาเสนาชาตินิยม” ของสมัยจอมพล ป. พิบูล สงคราม ที่มีหลวงวิจิตรวาทการเป็น “มันสมอง” มีทีมงานจาก กรมศิลปากร (นายธนิต หรือ นายกี อยู่โพธิ์-นายมานิต วัลลิโภ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 15
  • 16. ดม หรือทีมงานของกรมโฆษณาการ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรม ประชาสัมพันธ์) อย่างนายมั่น-นายคง (นายสังข์ พัธโนทัย) ก็ส่ง มรดกตกทอดกันมายัง “สฤษดิ-ถนอม-ประภาส” ตลอดจนทางสาย ์ ของนักการเมืองพลเรือนอย่าง “เสนีย-คึกฤทธิ ปราโมช-ควง อภัย ์ ์ วงศ์” เรื่อยมาจนบัดนี้เป็นเวลากว่า 70 ปี จนถึงรุ่นของจำาลอง- สนธิ-โพธิรักษ์-สมปอง-อดุล-ศรีศักร และรัฐบาลในปัจจุบัน 12. นี่เป็น “หลุมดำาทางการเมือง” (Political Black Hole) หรือ “หีบ พยนต์-ผะอบนางโมรา” (Pandora’s Box) ทีหากตกลงไปก็ยากทีจะ ่ ่ ปีนป่ายขึนมาได้ หรือถ้าเปิดออกมา (จะโดยตังใจหรือไม่ตงใจก็ตาม) ้ ้ ั้ ก็อาจถึงตายได้ คำาถามของเรา ณ บัดนี ก็คอเรา (หมายถึงคนส่วน ้ ื ใหญ่ของประเทศ นอก กทม.) จะรอดจาก “บ่วงกรรม” นี้ไปได้ อย่างไร เราจะทำาอย่างไรให้ “การเมืองเป็นพิษ” หรือ “การเมือง ทราม” กลายเป็น “การเมืองดี” ทำาให้ประเทศชาติของเรารุ่งเรือง มีศักดิ์มีศรี มีเกียรติภูมิในวงการระหว่างประเทศ เคารพกติกา ระเบียบและกฎหมายระหว่างประเทศ ดำาเนินการที่เป็น “สากล” และเป็น “อารยะ” กัลยาณมิตร และเพื่อนๆของผมในกลุ่ม “สันติประชาธรรม” ขอเสนอมายังคุณหญิงอีกครังหนึง และขอให้ชวยนำาความไปเรียน ้ ่ ่ ต่อ “บุคคลที่อยู่ใกล้ตัวคุณหญิง ไม่ว่าจะเป็นพลเรือน หรือเป็น ทหาร ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำางาน หรืออยู่ที่บ้าน” ก็ตาม ขอให้เรามาช่วยกัน “ปฏิบัติธรรม” ละเสียซึ่งโลภ-โกรธ-หลง ขจัด “อวิชชา” และ “อประวัติศาสตร์” ในขณะเดียวกัน ก็ช่วย กันหลีกเลี่ยง “สงคราม” ช่วยกันแสวงหา “สันติภาพ “ ช่วยกัน ทำาให้ “สนามรบ” กลับเป็น “สนามการค้า” อีกครั้ง ขอให้เรามาช่วยกัน ทำาดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลของอุษาค เนย์-อาเซียน ทีหลากหลายไปด้วยชาติพนธุ์ ระบบนิเวศ ธรรมชาติ ่ ั และวัฒนธรรม จาก “ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ถึงพนมดงรัก จาก ปราสาทพนมรุง ถึงปราสาทพระวิหาร และปราสาทวัดพู จรดแม่นา ้ ้ำ โขงตอนกลาง ณ คอนพะเพ็ง-แก่งหลี่ผี” กลายเป็น “มรดกโลก 16 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 17. ข้ามเขตแดน” เพื่อ “ความรัก-สันติภาพ-สันติสุข-และอหิงสา” ของ “ประชาคมอาเซียน” ที่ “ไร้พรมแดน” ให้จงได้ (Asean Trans-Boundary World Heritage Sites from Dong Phyayen- Khaoyai to Phnom Dangrek-Prasat Phnom Rung/Preah Vihear/Vat Phou to Khone Papeng/Li Phi Falls and the Middle Mekong Basin) ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เพื่อ “ชาติ และราษฎรไทย” ของเรา เพื่อ ประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพ่อแม่พี่น้องลูกหลาน หลายพันหลายหมืนชีวต ทีอยูตามแนวชายแดนกว่า 800 กิโลเมตร ่ ิ ่ ่ จากอุบลฯ ศรีสะเกษ จากสุรินทร์ บุรีรัมย์ จากสระแก้ว-จันทบุรี- ถึงตราด ผู้คนที่เป็นเพียงชาวบ้าน แค่ชาวชนบท ด้อยการศึกษา (ไม่มีแม้แต่ประกาศนียบัตรมัธยม โดยไม่ต้องพูดถึงระดับปริญญา ตรี อย่างเราๆท่านๆ ในเมืองหลวง) และก็ด้อยซึ่งโอกาส ที่ต้องเผชิญต่อ “สงคราม” และสภาพ ของบ้านแตกสาแหรกขาด สูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อ ทำามาหากิน ไม่ได้ ที่อยู่ทางฝั่งตะเข็บชายแดนของ “สยามประเทศไทย” ที่ร่วม ชะตาและร่วมกรรมกับผูคนทีกเหมือนๆกัน เป็นญาติพนองกัน ร่วม ้ ่ ็ ี่ ้ สายเลือดเดียว ทั้งยังร่วมวัฒนธรรม ร่วมภาษากันในฝั่งตะเข็บ ชายแดนของ “เขมรกัมพูชา” จากสตุงแตรง ถึงพระวิหาร จาก อุดรมีชย ถึงบันทายมีชย โพธิสตว์ และเกาะกง ดังข้อเสนอต่อไปนี้ ั ั ั 1. ขอให้กองกำาลังของทั้งสองประเทศใช้ขันติธรรม และความ อดกลั้น ยุติการสู้รบโดยทันที ทั้งนี้เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตและ ทรัพย์สินของประชาชนและกองทัพตามชายแดนของ ทั้ง สองฝ่าย 2. ขอให้ ถ อนกำ า ลั ง ทหารของทั้ ง สองฝ่ า ยออกจากพื้ น ที่ พิ พ าท อย่างเร่งด่วน เพื่อลดการเผชิญหน้าทางทหารตามชายแดน ระหว่างกัน 3. ขอให้ยตเคลือนกำาลังทหารเข้าไปยังจุดพิพาทอืนๆ ทียงคงเป็น ุ ิ ่ ่ ่ ั ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 17
  • 18. ปัญหากันอยู เพือหลีกเลียงการปะทะมิให้ขยายตัวออกไปยังจุด ่ ่ ่ อื่นๆตามแนวชายแดน 4. ขอให้เร่งรัดการแก้ไขปัญหาพิพาทเรื่องเขตแดน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในพื้นที่พิพาทบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยผ่าน กลไกการเจรจาทวิภาคีซงมีอยูแล้ว อันได้แก่คณะกรรมาธิการ ึ่ ่ เขตแดนร่ ว มซึ่ ง ได้ จั ด ตั้ ง ตามบั น ทึ ก ความเข้ าใจแห่ ง ราช อาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2543 5. ขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่นในหลักการแห่งอหิงสา ยุติการนำาประเด็น ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ไม่ว่าการเมืองภายในประเทศ หรือการเมืองระหว่างประเทศ อันจะทำาให้ปัญหาบานปลายกลายเป็นชนวนสงครามที่ยากจะ หาทางยุติลงได้ ด้วยความระลึกถึง เชิง แก่นแก้ว สิงหปุระ PS: Make Love not War with ASEAN Neighbors, especially Cambodia and Laos 18 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ
  • 19. For Peace - สันติภาพ click: http://www.petitiononline.com/sc2011/petition.html For Siam - สยาม click: http://www.petitiononline.com/SIAM2008 http://www.petitiononline.com/siam2007 For Pridi-Phoonsuk - ปรีดี - พูนศุข click: http://www.pridi-phoonsuk.org For Puey - ป๋วย click: http://www.puey-ungphakorn.org For Textbooks - มูลนิธโครงการตำาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ิ click: http://www.textbooksproject.org http://www.textbooksproject.com http://www.facebook.com/textbooksproject For cK - ชว click: http://www.charnvitkasetsiri.com ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 19
  • 20. 20 จดหมายเปิดผนึก 4 ฉบับ ถึง นรม. หญิงฯ