SlideShare una empresa de Scribd logo
1 de 18
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตรา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ลงนาม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถ
บพิตร
วันลงนาม 24 สิงหาคม 2550
ผู้ลงนาม
รับรอง
มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
วันลงนาม
รับรอง
24 สิงหาคม 2550
วันประกาศ 24 สิงหาคม 2550
(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/
หน้า 1)
วันเริ่มใช้ 24 สิงหาคม 2550
ท้องที่ใช้
ทั่วประเทศไทย
การร่าง
ชื่อร่าง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ผู้ยกร่าง
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
การแก้ไขเพิ่มเติม
• รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554
• รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554
การยกเลิก
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่
11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 (ยกเลิกบางส่วน)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ
ชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
เว็บไซต์
ดูเบื้องล่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการ
รัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง
ชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำาหนักจิตรลดา
รโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรม
ราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และ
มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็น
ชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ
ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่
เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
ผลการออกเสียงประชามติ
เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำาเนินไปบนความ
ร้อนแรงทางการเมือง มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งมีการ
วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช. ผูกขาดการ
สรรหาสมาชิก สสร. รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง
และให้นิรโทษกรรม คมช. เองที่ก่อรัฐประหาร
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ
ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำาสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่ม
เติมฉบับที่ 2 มาตรา 190)
วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญนี้สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระ
มหากษัตริย์[1]
เนื้อหา
[ซ่อน]
• 1 การแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ
• 2 แนวทางของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
• 3 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
• 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
• 5 ประเด็นข้อเรียกร้อง
• 6 ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับ 2540
• 7 การออกเสียงประชามติ
• 8 การประกาศใช้
o 8.1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
• 9 การแก้ไขเพิ่มเติม
• 10 อ้างอิง
• 11 ดูเพิ่ม
• 12 แหล่งข้อมูลอื่น
การแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ[แก้]
ดูบทความหลักที่: สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 สภาร่าง
รัฐธรรมนูญมีหน้าที่จัดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีขั้นตอนการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
• คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง สมัชชาแห่งชาติ จำานวน 2,000 คน (มาตรา 22)
• สมัชชาแห่งชาติ กรอง ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำานวน 200 คน โดยเลือกให้เสร็จ
ภายใน 7 วัน (มาตรา 22)
• คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กรอง ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จาก 200 คน เหลือ
100 คน (มาตรา 22)
• ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำานวน 25 คน สมัชชา
(มาตรา 25)
• คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยตรง อีกจำานวน 10 คน
(มาตรา 22)
ขั้นตอนการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ถูกต่อต้าน ทั้งจากกลุ่ม นักวิชาการ นักวิชาการที่เคยต่อ
ต้านรัฐบาลของพันตำารวจโท ทักษิณ ชินวัตร และ กลุ่มสิทธิมนุษยชนสากล[2][3][4][5][6]
แนวทางของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ[แก้]
พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้แนวทางกับสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
• ห้ามไม่ให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย
• ห้ามไม่ให้รัฐบาลทำาหน้าที่รักษาการในช่วงระหว่างการยุบสภาจนถึงการเลือกตั้ง
• แก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งด้วย แทนที่จะมาจากการเลือกตั้งเพียงวิธีเดียว
• อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น
• แก้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น[7]
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ[แก้]
สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้วางแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยยึดตามแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนข
อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ
นี้ 4 ประการ คือ
1. คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน
2. ลดการผูกขาดอำานาจรัฐ และเพิ่มอำานาจประชาชน
3. การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม
4. ทำาให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำางานอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[แก้]
ปกหนังสือร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีการแจกจ่ายตามบ้าน
• รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระตามหมวดต่างๆ ดังต่อไปนี้
• คำาปรารภ
• หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7)
• หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25)
• หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69)
• หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74)
• หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87)
• หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162)
• หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
• หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
• หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165)
• หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
• หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196)
• หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228)
• หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258)
• หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ (มาตรา 259-278)
• หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280)
• หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290)
• หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291)
• บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309)
ประเด็นข้อเรียกร้อง[แก้]
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ออกมาเรียกร้องในหลายประเด็น เช่น
• การแก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง แทนที่จะมาจากการเลือกตั้ง เดิมใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้ง สภาร่าง
รัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้มาจากการแต่งตั้งโดยกลุ่มทหารและข้าราชการ นาย วิชา มหาคุณ อดีตผู้
พิพากษา และกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้สนับสนุนการแต่ง
ตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยกล่าวว่า "เรารู้กันดีว่าการเลือกตั้งสว.เป็นเรื่องการเล่นตลกร้ายของตระกูล
นักการเมือง ทำาไมชาวบ้านถึงอยากให้เห็นประวัติศาสตร์ซำ้ารอย? ชาวบ้าน และโดยเฉพาะนักวิชาการ
ที่อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะก่อให้เกิด ประชาธิปไตยที่แท้จริง กำาลังคิดแบบฝันลอย การเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภาเป็นปัญหา สภา เหมือนที่เห็นกันในอดีต ดังนั้น ทำาไมชาวบ้านไม่อยากให้กลุ่มผู้
พิพากษาช่วยเลือกให้?"[8]
• การลดความมั่นคงของฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมือง เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความมั่นคง และระบบ
พรรคการเมืองเพิ่มความสำาคัญขึ้น[9][10]
สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้ฝ่ายบริหารและระบบ
พรรคการเมืองลดอำานาจเบ็ดเสร็จลง โดยทำาให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น อนุญาตให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น และไม่อนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน
สองสมัย[11][12]
• การไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติ โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัม
นิกาย และอีก 300 องค์กรได้รณรงค์ให้มีการบัญญัติคำาว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติ แต่ไม่
สำาเร็จ[13][14]
• การเรียกร้องให้เปลี่ยนนามประเทศไทยเป็นสยาม โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เพื่อให้สอดคล้องกับ
ความเป็นจริงทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อหลัก
การณ์ของความสมานฉันท์ ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ[15]
• การเรียกร้องเรื่องความเสมอภาคของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยกลุ่มเกย์ 10 องค์กร[16]
ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับ 2540[แก้]
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แตกต่างจากฉบับ พ.ศ. 2540 อยู่หลายประการ[17][18]
ดังจะเห็นว่ามีการถอดรื้อ
โครงสร้าง เช่น สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกวุฒิสภา การตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ องค์กรอิสระ อำานาจตุลาการ การเงินการคลังงบประมาณ ฯลฯ
รัฐธรรมนูญ 2540 ได้รับการกล่าวขานว่ามีความก้าวหน้าเนื่องจากนำาแนวคิดใหม่ ๆ ที่ลอกเลียนจาก
ต่างประเทศมาใช้ แต่เมื่อบังคับใช้จริงก็ดูจะไม่ค่อยสอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทย เพราะเกิดการฉ้อ
ราษฎร์บังหลวงขนาดใหญ่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางทั้งกรณีการฆ่าตัดตอน 2 พันศพ อุ้มฆ่า
แกนนำาภาคประชาชนที่ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในพื้นที่ เช่น กรณีของ สมชาย นีละไพจิตร นอกจากนี้
รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกวิจารณ์ว่าทำาให้ฝ่ายการเมืองเข้มแข็งเกินไปจนเกิดระบบผู้นำากึ่งประธานาธิบดี
รัฐธรรมนูญ 2550 จึงถูกวิจารณ์ว่ามีอคติต่อ "ระบอบทักษิณ" ที่มีคำาอธิบายว่าเป็นเผด็จการทุนนิยม ใช้อำานาจ
ผ่านพรรคการเมืองใหญ่ ทำาให้เกิดผู้นำาเดี่ยวที่สามารถใช้อำานาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ละเลยต่อเสียงปัญญา
ชนในสังคม สุดท้ายจึงสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยจนก่อตัวเป็นวิกฤตการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึง
มีข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นพฤติกรรมของระบอบทักษิณ เช่น ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้
แทนราษฎร การทำาเอฟทีเอต้องฟังความเห็นจากรัฐสภา เข้มงวดต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและจริยธรรมของ
นักการเมือง สร้างมาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น
จุดแข็งของรัฐธรรมนูญ 2550 คือบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐต้องจัดสวัสดิการ
ขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทุกชนชั้น ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพต้องได้รับการศึกษาทัดเทียมบุคคลอื่น ผู้ไร้ที่
อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้เพียงพอ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ให้สิทธิประชาชนได้รับหลักประกัน
และสวัสดิภาพในการทำางาน ให้สิทธิแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐในการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตน ที่
สำาคัญคือให้มีผลบังคับทันที ต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระบุข้อความท้ายมาตราต่างๆ ว่า "ทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ" หมวดที่ได้รับการบัญญัติขึ้นมาใหม่ เช่น "สิทธิชุมชน" ชุมชนสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อม
และทรัพยากรท้องถิ่นของตน หรือการกำาหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นหากโครงการก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือทรัพยากรธรรมชาติ หมวด "การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของ
ประชาชน" ให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย หรือถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบได้ง่ายขึ้น
ประชาชนมีโอกาสยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยตรง รวมถึงการ ให้รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายการจัดตั้งกองทุน
พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ
หมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มีสภาพบังคับให้รัฐต้องทำาซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ที่
จะทำาหรือไม่ก็ได้ เพิ่มเนื้อหามุ่งกระจายความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องทรัพย์สินของชาติ เช่น ปรับปรุง
ระบบการจัดเก็บภาษีอากร การปฏิรูปที่ดิน จัดให้มีการวางผังเมืองเพื่อให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึง
คุ้มครองสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไม่ให้เกิดการผูกขาด หรือ หากรัฐบาลจะทำาสนธิสัญญาที่มีผลต่อความ
มั่นคงทางสังคมหรือเศรษฐกิจ เช่น เอฟทีเอต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จุดเด่นอื่น ๆ คือ
มาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนที่เข้มแข็งขึ้น เช่น ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมถึงภรรยาและ
บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท กำาหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. ตลอดจนคู่สมรสและบุตร ห้ามรับ
หรือแทรกแซงสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม กำาหนดให้ ส.ส.
และ ส.ว. แสดงบัญชีทรัพย์สิน จากเดิมที่กำาหนดเฉพาะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และได้เพิ่มหมวด
"จริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ" สร้างกลไกควบคุมการใช้อำานาจให้เป็นไป
โดยสุจริตและเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงระบบตรวจสอบโดยรื้อที่มาองค์กรอิสระทั้งหมด ป้องกันไม่
ให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงกระบวนการสรรหาอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต
อย่างไรก็ตาม มีข้อท้วงติงในประเด็นโครงสร้างของสถาบันการเมือง เช่น ที่มาของ ส.ส. และ ส.ว. หรือ
การให้อำานาจฝ่ายตุลาการเข้ามาแก้ปัญหาฉ้อฉลทางการเมือง ด้วยการเพิ่มบทบาทในการคัดเลือกผู้ทำาหน้าที่
องค์กรอิสระ และร่วมสรรหา ส.ว. จำานวน 74 คน เป็นที่มาของข้อครหาว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำามาตยาธิป
ไตย ที่ให้อำานาจชนชั้นนำากับขุนนางผ่านทางวุฒิสภาและตุลาการเพื่อสร้างฐานอำานาจ แต่คำาชี้แจงอีกด้าน
กล่าวว่า สภาพวัฒนธรรมการเมืองไทยในปัจจุบัน การให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 100% โดยหวังว่าจะปลอด
จากการครอบงำาของพรรคการเมืองคงยังไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ ดังจะเห็นได้จากการเลือกตั้ง ส.ว. สองครั้งที่ผ่านมา
ซึ่งอยู่ในสภาพ "สภาผัวเมีย-สภาบริวาร" ขณะที่การสรรหา ส.ว.อาจได้ตัวแทนหลายสาขาอาชีพกว่า ทำาให้
การทำางานด้านนิติบัญญัติมีประสิทธิภาพ อีกประเด็นหนึ่งคือการเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง ส.ส. ไปใช้แบบแบ่งเขต
เรียงเบอร์ เป็นที่เกรงกันว่าจะทำาให้พรรคการเมืองอ่อนแอเพราะผู้สมัครในพรรคเดียวกันจะแย่งคะแนนกันเอง
และการทุ่มเงินซื้อเสียงจะมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบเขตเดียวคนเดียว โครงสร้างการเมืองใหม่ที่ลดการ
ผูกขาดอำานาจ มีมาตรการตรวจสอบมากมาย และให้สิทธิประชาชนฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญหากรัฐไม่ปฏิบัติ
ตามรัฐธรรมนูญ อาจส่งผลให้เสถียรภาพของรัฐบาลใหม่อ่อนแอลง แต่ผู้ร่างชี้แจงว่ากติกาเช่นว่านี้บังคับให้
รัฐบาลต้องตอบสนองประชาชน หากละเมิดต่อหลักรัฐธรรมนูญก็จะอยู่ลำาบาก
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 2550 ยังยกเลิกข้อห้ามไม่ให้ ส.ส. เป็นรัฐมนตรีที่เคยระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญ
2540 มาตรา 118 จึงทำาให้รัฐมนตรีอาจมาจาก ส.ส. ทั้งสองระบบโดยไม่ต้องมีการเลื่อนรายชื่อหรือจัดการ
เลือกตั้งใหม่[19]
การออกเสียงประชามติ[แก้]
ดูบทความหลักที่: การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
ร้อยละของผู้เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งตามจังหวัด
ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เปิดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ช่วงเวลา 8.00 น.ถึง 16.00 น. โดยใช้วิธีกากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือก
ตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว
ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะนำาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระ
ปรมาภิไธยแล้ว จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้
ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่าง
รัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จ
ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำาขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระ
ปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม
พ.ศ. 2550[20]
ผลการออกเสียง:
จำานวนผู้มาใช้สิทธิ 25,978,954 57.61%
จำานวนผู้ไม่มาใช้สิทธิ 19,114,001 42.39%
ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 45,092,955
การลงคะแนน:
บัตรที่นับเป็นคะแนน 25,474,747 98.06%
บัตรที่ไม่นับเป็นคะแนน (บัตรเสีย/การคืนบัตร/อื่น ๆ) 504,207 1.94%
รวม 25,978,954
การเห็นชอบและไม่เห็นชอบ:
เห็นชอบ 14,727,306 57.81%
ไม่เห็นชอบ 10,747,441 42.19%
รวม 25,474,747
การประกาศใช้[แก้]
วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามรับสนอง
พระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีนายนรนิติ เศรษฐ
บุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่
เลขาธิการ ส.ส.ร. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สนช. พร้อมด้วย
ข้าราชการระดับสูงของรัฐสภาเข้าร่วมในพิธี จากนั้นนายมีชัยพร้อมคณะเดินทางไปยังพระตำาหนักจิตรลดา
รโหฐาน เพื่อเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายร่าง รธน. เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงชมเชย ส.ส.ร.ว่าอุตสาหะร่าง รธน.จนเสร็จ เพราะยากมาก จากนั้นจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อ
ใช้บังคับเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่อไป ซึ่งสำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้เตรียมการไว้[21]
มีรายงานว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จัดทำาไว้ทั้งสิ้น 3 เล่ม[21]
หลังจากทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วจะนำาไป
เก็บไว้ 3 แห่งด้วยกัน ฉบับที่ทำาด้วยทองคำาแท้จะเก็บไว้ที่สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 2 เล่ม
ที่ทำาด้วยเงินกะไหล่ทอง เก็บไว้ที่สำานักราชเลขาธิการ และสำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
ขั้นตอนสำาคัญที่เกิดภายหลังทรงลงพระปรมาภิไธย คือ การประทับพระราชลัญจกร 4 องค์[21]
ประกอบ
ด้วย พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต พระราชลัญจกรหงสพิมาน และพระราชลัญจกร
พระครุฑพ่าห์ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีจำานวน 592 หน้า 2,368 บรรทัด มีนำ้าหนัก 7 กิโลกรัม และปกมีตรา
พระครุฑพ่าห์ติด พร้อมลงรักปิดทองทั้ง 6 ด้านตามโบราณราชประเพณี
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ[แก้]
ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ
พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ อันประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง
ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว., ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือก
ตั้ง (กกต.) ได้ประชุมนัดแรกเพื่อเลือกประธาน[21]
ผลปรากฏว่ามีการเสนอชื่อ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิก
สนช. และนายวิษณุ เครืองาม แต่นายวิษณุขอถอนตัว
ต่อมาที่ประชุมมีมติให้นายวิษณุ เป็นรองประธาน กมธ.คนที่ 1 นายสุจิต บุญบงการ เป็นรองประธาน
คนที่ 2 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. นายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นรองประธาน
คนที่ 3 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ส่วนนาย
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธาน คนที่ 4 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย
พรรคการเมือง โดยนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ เป็นเลขานุการ กมธ. นายเจษฎ์ โทณะวณิก เป็นรอง
เลขาฯ นายประพันธ์ คูณมี นายคำานูณ สิทธิสมาน และนายธงทอง จันทรางศุ เป็นโฆษก กมธ.
การแก้ไขเพิ่มเติม[แก้]
ดูบทความหลักที่: การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
หลังจากพรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำาจัดตั้งรัฐบาล ได้มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วน
ใหญ่เป็นการนำาเนื้อหาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กลับมาใช้ และมีการแก้ไข
เพิ่มเติมอีกหลายส่วน ซึ่งปรากฏว่าได้มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน[22]
โดยระบุว่าอาจนำาไปสู่วิกฤตทางการเมือง
เพราะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เป็นเหตุให้พันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตยออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านตั้งแต่วันที่25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ให้เรียกร้อง
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กลับมาบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจ
จานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 93-98[23]
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจ
จานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 190 เพียงมาตราเดียว[24]
"ข้อสอบเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ
เเห่งราชอาณาจักรไทย 2550"
หมวดที่ 1 บททั่วไป
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบบที่เท่าใด
ตอบ 18
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
ตอบ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
3. รัธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยกี่หมวด กี่มาตราฃ
ตอบ 15 หมวด 309 มาตรา
4. บุคคลใดเป็นผู้สนองพรบรมราชโองการในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ตอบ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
5. รัฐธรรมนูญที่จัดทำาใหม่นี้ มีหลักการสำาคัญอย่างไร
ตอบ ส่ง เสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้น สนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมในการปกครอง
และตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ อย่างเป็นรูปธรรม กำาหนดกลไกสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและ
ประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา สร้างเสริมสถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดย สุจริตเที่ยงธรรม และ
เหนือสิ่งอื่นใด คือ การเน้นยำ้าคุณค่าและความสำาคัญของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมาภิบาลอันเป็นหลักจรรโลงชาติ
6. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักการใด
ตอบ หลักนิติธรรม
7. หากไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดได้ ให้วินิจฉัยกรณีนั้นเป็นไปโดยใช้หลักการใด
ตอบประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
หมวด 2 พระมหากษัตริย์
8. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำานาจอธิปไตยผ่านองค์กรใดบ้าง
ตอบ รัฐสภา (นิติบัญญัติ) คณะรัฐมนตรี (บริหาร) และศาล (ตุลาการ)
9. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กล่าวถึงที่มาของอำานาจอธิปไตยไว้อย่างไร
ตอบ อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
10. องคมนตรีที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งมีจำานวนทั้งสิ้นกี่คน
ตอบ ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน (รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 19 คน)
11. บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำาแหน่ง
ตอบ ประธานรัฐสภา (มีข้อสังเกตว่าตำาแหน่งประธานรัฐสภา เป็นตำาแหน่งทางด้านนิติบัญญัติดังนั้นการดำาเนินการ
12. บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำาแหน่ง
ตอบ ประธานองคมนตรี
13. บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราช อัธยาศัย ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นเป็นผู้ดำารงตำาแหน่งดังนี้ สมาชิก
สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ
ศาลปกครอง กรรมการป้องและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำาแหน่งเงินเดือนประจำา พนักงาน
รัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ๆ
14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติพระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงอยู่ในฐานะองค์พระประมุขแล้ว ยังทรงเป็นอะไรอีก
บ้าง
ตอบ ทรงดำารงตำาแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นพระพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
15. ในเมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้หนึ่งเป็นผู้สำาเร็จ
ราชการแทนพระองค์และให้ใครเป็นผู้ลง นามรับสนองพระบรมราชโองการ
16. ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการ
แทนพระองค์ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น จะต้องดำาเนินการอย่างไร
ตอบ ให้องคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำารงตำาแหน่งผู้สำาเร็จ ราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความ
เห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งเป็นผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์
์์
17. ในหมวด 2 ที่เกี่วข้องกับการแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ หรือการอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นครองราชย์ ในกรณีที่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ ให้องค์กรใดทำาหน้าที่แทน
ตอบ วุฒิสภา
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
18. การใช้อำานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำานึงถึงสิ่งใดบ้าง
ตอบ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
19. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีอะไรบ้าง
ตอบ 1. สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
2. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
3. สิทธิในทรัพย์สิน
4. สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
5. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน
6 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา$ K# {8 K+ D' ^3 v
7. สิทธิและเสรีภาพในการได้รับบริการสาธารณสุขจากสวัสดิการจากรัฐ) f% u& c$ U! f7 N
8. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน
9. เสรีภาในการชุมนุมและสมาคม
10. สิทธิพิทักรัฐธรรมนูญ
20. บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ตอบ 1. การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำามิได้
2. การลงโทษตามคำาพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม
3. การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพจะกระทำามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายกำาหนด
21. บุคคลมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ตอบ 1. บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำาการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำานั้นบัญญัติเป็นความผิด-
2. โทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นหนักกว่าโทษที่กำาหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำาความผิด มิได้
3. ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด
4. ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำาความผิดมิได้
22. บุคคลมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ขั้นฟ้องร้อง และชั้นพิจารณาอย่างไร
ตอบ 1. สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
2. สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้ทราบข้อเท็จ
จริงและตรวจเอกสารอย่างพอเพียง การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับ
พิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้ทราบเหตุผล ประกอบคำาวินัจฉัย คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง
3. ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำาเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวด เร็ว และเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่าง
เพียงพอ การตอบสนองหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อย
ตัวชั่วคราว
4. ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย และพยานคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำาเป็นเหมาะสมจากรัฐ
23. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ตอบ 12 ปี
24. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลอายุเริ่มตั้งแต่เท่ามีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำานวยความสะกวดอันเป็น
สาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
ตอบ อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ
25. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลใดมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย
ไม่ เสียค่าใช้จ่าย
ตอบ ผู้ยากไร้
26. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจำากัดเสรีภาพจะกระทำามิได้ เว้นแต่
กรณีใดบ้าง
ตอบ กรณีที่เป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษา
ความเรียบร้อยทางศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบ อาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
27. บุคคลผู้เป็นทหาร ตำารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างองค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่จะมีการ จำากัดในเรื่องใด
ตอบ จำากัดไว้ในกฎหมายหรือที่ออกโดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือ
จริยธรรม
28. บุคคล ย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ
ราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่จะถูกจำากัดในกรณีใดบ้าง
ตอบ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน ส่วนได้เสียอันได้รับความคุ้มครองของบุคคล
อื่นหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล
29. กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำาสั่งยุบพรรคการเมืองอันเนื่องมาจากการกระทำาความ ผิดเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรค การเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำาความผิดเป็นระยะเวลาเท่าใด
ตอบ 5 ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำาสั่งดังกล่าว
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
30. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลมีหน้าที่อะไรบ้าง
ตอบ 1 . หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรม นุญ
นี้
2. หน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย
3. หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
4. หน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์
ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
31. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำาเนินการให้เป็น
ไปตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมอำานวย ความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนโดยอาศัยหลักการในการปฏิบัติหน้าที่
ตอบ หลักธรรมมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ข้อสอบถามถึงองค์ประกอบของหลักธรรมมาภิบาลว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่ หลัก
นิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
ระวัง ! อย่าสับสนกันเรื่องพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ได้แก่การบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อ
ไปนี้
(1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำาเป็น
(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับความอำานวยสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
(7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสมำ่าเสมอ
หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
32. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่า จะดำาเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน
ให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำารายงานแสดงผลการดำาเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อรัฐสภาปีละกี่ครั้ง
ตอบ ปีละ 1 ครั้ง
33. คณะรัฐมนตรีจัดทำาแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการ
บริหารราชการแผ่นดินซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเรื่องใด
ตอบ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
34. แนวนโยบายแห่งรัฐประกอบด้วยเรื่องใดบ้าง
ตอบ 1. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
2. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน
3. แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
4. แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม
5. แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
6. แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ
7. แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8. แนวนโยบายดานวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน
9. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
35. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐต้องดำาเนินการตามแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินอย่างไร
ตอบ (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งสริมการดำาเนินการ
ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำานึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำาคัญ
(2) จัดระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การ
พัฒนาประเทศ สนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบปนะมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่
(3) กระจายอำานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ ของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี
ส่วนร่วมในการดำาเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้ง
โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น'
(4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการ
ทำางาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็น
แนว ทางในการปฏิบัติราชการ
(5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำาและการบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และ
ตรวจสอบได้ โดยคำานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
(6) ดำาเนินการให้หน่วยงานทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับ การดำาเนินงานของรัฐตามกฎหมายของรัฐ ดำาเนินการอย่างเป็น
อิสระ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม
(7) จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระเพื่อติดตามสอดส่องให้ มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่าง
เคร่งครัด
(8) ดำาเนินการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่าง เหมาะสมการจัดทำาและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว
มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้
หมวด 6 รัฐสภา (มีข้อสังเกตว่าเป็นหมวดที่มีการนำาเนื้อหามาออกข้อสอบมากกว่า หมวดอื่น ๆ และมักจะมีการถามลวงในเรื่องขอตัวเลขเป็น
ประจำา
36. รัฐสภาประกอบด้วยองค์กรใดบ้าง
ตอบ สภาผู้แทนราษฎร (ปัจจุบัน คือ นายชัย ชิดชอบ)
38. บุคคลใดดำารงตำาแหน่งเป็นรองประธานรัฐสภา
ตอบ ประธานวุฒิสภา (ปัจจุบัน คือ นายประสพสุข บุญเดช)
39. ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน รัฐสภาได้ ใครทำา
หน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
ตอบ ประธานวุฒิสภา
40. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้แต่โดยคำา แนะนำา และยินยอมของใคร
ตอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
41. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำานวนกี่คน
ตอบ 480 คน (มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน และแบบสัดส่วน 80 คน ซึ่งมาจากการจัดแบ่งพื้นที่เลือกตั้งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดละ 10
คน )
42. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำานวนเท่าใดของจำานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่แต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานร
แห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของ สมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
ตอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
43. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีใด
ตอบ เลือกตั้งโดยตรงและลับ
44. ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำาให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึง 480 คน แต่มีจำานวนร้อยละเท่าใดของ
จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำานวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำานวน ส.ส. ทั้งหมด (ข้อสอบอาจถามจำานวนคน ต้องตอบว่าไม่น้อยกว่า 456 คน)
45. การคำานวณจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตเลือกตั้งและการกำาหนดเขตเลือกตั้ง มีวิธีการอย่างไร
ตอบ 1. ให้คำานวณเกณฑ์จำานวนต่อสมาชิก 1 คน โดยคำานวณจำานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุด ท้าย
ก่อนที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน
2. จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน
3. จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนให้จังหวัดนั้น ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คนทุกจำานวนราษฎรที่
ถึงเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน
4. การกำาหนดเขตเลือกตั้งให้ดำาเนินการโดยจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ไม่เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้า
จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำานวนสมาชิกสภาผู้
แทนราษฎร 3 คน
46. บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ 1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
2. มีอายุไม่ตำ่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง
3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง
4. กรณีที่มีถิ่นอยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราช
บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา
47. บุคคลประเภทใดบ้างที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
ตอบ (1) เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช
(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(3) ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) วิกลจริต หรือจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
48. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
ตอบ (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ตำ่ากว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่
มีการเลือกตั้งโดยทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 30 วัน
นับถึงวันเลือกตั้ง
(4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
(ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง
(ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
(ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่รับสมัครเลือกตั้งเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา
(ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
. M, y6 T' J* ? (5) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (4) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำาหนดถึง
จังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด 7
(6) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา
49. อายุของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีกำาหนดคราวละกี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง
ตอบ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง (และสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งเช่นกัน)
50. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของ ที่ประชุม
ร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการ
บริหารของพรรค การเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็น
สมาชิก
ตอบ ไม่น้อยกว่า 3 ใน 46
51. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดประชุมเกินจำานวนเท่าใดของจำานวนวันประชุมที่มีกำาหนดเวลาไม่น้อย กว่า
120 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร
ตอบ เกินกว่า 1 ใน 4
52. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรใหม่
เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำาหนดวันเลือกตั้งภายในกี่วันนับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลง
ตอบ 45 วัน
อาณาจักร 2550
อาณาจักร 2550
อาณาจักร 2550
อาณาจักร 2550

Más contenido relacionado

La actualidad más candente

สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองkroobannakakok
 
นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์
นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์
นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์MR-KRON
 
คำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้าน
คำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้านคำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้าน
คำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้านDanai Thongsin
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3thnaporn999
 
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่Palida Sookjai
 
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1pageพ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1pagePrachoom Rangkasikorn
 
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4pageพ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4pagePrachoom Rangkasikorn
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6AJ Por
 

La actualidad más candente (15)

สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
 
นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์
นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์
นโยบายรัฐบาล พลเอกประยุทธ์
 
คำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้าน
คำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้านคำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้าน
คำวินิจฉัยฉบับเต็มศาล รธน. พรบ. เงินกู้สองล้านล้าน
 
Human2.1
Human2.1Human2.1
Human2.1
 
ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3ระบอบประชาธิปไตย 3
ระบอบประชาธิปไตย 3
 
1
11
1
 
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
กระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
 
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1pageพ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-1page
 
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4pageพ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4page
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์+568+55t2his p04 f07-4page
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ฉบับลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559
 
Human2.1 1
Human2.1 1Human2.1 1
Human2.1 1
 
1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ1000 ถามตอบ
1000 ถามตอบ
 
Human rights in the the judicial process
Human rights in the the judicial processHuman rights in the the judicial process
Human rights in the the judicial process
 
M1 unit 2
M1 unit 2M1 unit 2
M1 unit 2
 
ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6ครั้งที่ 6
ครั้งที่ 6
 

Similar a อาณาจักร 2550

ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520Pandit Chan
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550Poramate Minsiri
 
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยเทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย
 
ความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติPalida Sookjai
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติWarinthorn Limpanakorn
 
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557ประพันธ์ เวารัมย์
 

Similar a อาณาจักร 2550 (11)

ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
 
Springer link
Springer linkSpringer link
Springer link
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
 
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อแนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  ถามตอบ 115  ข้อ
แนวข้อสอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ถามตอบ 115 ข้อ
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
 
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
 
ความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ความรู้เกี่ยวกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ
 
กำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติกำเนิดรัฐชาติ
กำเนิดรัฐชาติ
 
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
เอกสารประกอบการติวรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557
 
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
กฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550
 
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ
 

อาณาจักร 2550

  • 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ข้อมูลทั่วไป ผู้ตรา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ลงนาม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช สยามินทราธิราช บรมนาถ บพิตร วันลงนาม 24 สิงหาคม 2550 ผู้ลงนาม รับรอง มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) วันลงนาม รับรอง 24 สิงหาคม 2550 วันประกาศ 24 สิงหาคม 2550 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124/ตอนที่ 47 ก/ หน้า 1)
  • 2. วันเริ่มใช้ 24 สิงหาคม 2550 ท้องที่ใช้ ทั่วประเทศไทย การร่าง ชื่อร่าง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ผู้ยกร่าง สภาร่างรัฐธรรมนูญ การแก้ไขเพิ่มเติม • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2554 การยกเลิก ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 11/2557 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 (ยกเลิกบางส่วน) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับ ชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 เว็บไซต์ ดูเบื้องล่าง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย ฉบับที่ 18 ซึ่งจัดร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ในระหว่าง พ.ศ. 2549–2550 ภายหลังการ รัฐประหารในประเทศโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อคณะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่ง ชาติ (คมช.) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ณ พระตำาหนักจิตรลดา รโหฐาน กรุงเทพมหานคร มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้รับสนองพระบรม ราชโองการ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก หน้า 1 ในวันเดียวกันนั้น และ มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายทันที แทนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้เป็นกฎหมายไทยฉบับแรกที่เมื่อร่างเสร็จและได้รับความเห็น ชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ได้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ และจัดให้มีการลงประชามติเพื่อขอความเห็นชอบ
  • 3. ณ วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ผลปรากฏว่าผู้มาลงประชามติร้อยละ 57.81 เห็นชอบ และร้อยละ 42.19 ไม่ เห็นชอบ ประธาน สนช. จึงนำาขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงลงพระปรมาภิไธย ผลการออกเสียงประชามติ เนื่องจากความผันผวนทางการเมืองภายในประเทศ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงดำาเนินไปบนความ ร้อนแรงทางการเมือง มีการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้านร่างรัฐธรรมนูญ กับทั้งมีการ วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับขั้นตอนการร่าง เช่น ประชาชนไม่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง และคมช. ผูกขาดการ สรรหาสมาชิก สสร. รวมถึงเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของร่าง เช่น ให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบกึ่งหนึ่มาจากการแต่งตั้ง และให้นิรโทษกรรม คมช. เองที่ก่อรัฐประหาร รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมสองครั้งในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 ประเด็นที่แก้ไข คือ ระบบการเลือกตั้ง (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 มาตรา 93-98) และหลักเกณฑ์ในการทำาสนธิสัญญา (แก้ไขเพิ่ม เติมฉบับที่ 2 มาตรา 190) วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติให้รัฐธรรมนูญนี้สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด 2 พระ มหากษัตริย์[1] เนื้อหา [ซ่อน] • 1 การแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ • 2 แนวทางของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ • 3 เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ • 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 • 5 ประเด็นข้อเรียกร้อง • 6 ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับ 2540 • 7 การออกเสียงประชามติ • 8 การประกาศใช้ o 8.1 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ • 9 การแก้ไขเพิ่มเติม
  • 4. • 10 อ้างอิง • 11 ดูเพิ่ม • 12 แหล่งข้อมูลอื่น การแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ[แก้] ดูบทความหลักที่: สภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2549 สภาร่าง รัฐธรรมนูญมีหน้าที่จัดร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยมีขั้นตอนการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง สมัชชาแห่งชาติ จำานวน 2,000 คน (มาตรา 22) • สมัชชาแห่งชาติ กรอง ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำานวน 200 คน โดยเลือกให้เสร็จ ภายใน 7 วัน (มาตรา 22) • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ กรอง ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จาก 200 คน เหลือ 100 คน (มาตรา 22) • ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ กรอง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จำานวน 25 คน สมัชชา (มาตรา 25) • คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แต่งตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยตรง อีกจำานวน 10 คน (มาตรา 22) ขั้นตอนการแต่งตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้ถูกต่อต้าน ทั้งจากกลุ่ม นักวิชาการ นักวิชาการที่เคยต่อ ต้านรัฐบาลของพันตำารวจโท ทักษิณ ชินวัตร และ กลุ่มสิทธิมนุษยชนสากล[2][3][4][5][6] แนวทางของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ[แก้] พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ได้ให้แนวทางกับสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ • ห้ามไม่ให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกินสองสมัย • ห้ามไม่ให้รัฐบาลทำาหน้าที่รักษาการในช่วงระหว่างการยุบสภาจนถึงการเลือกตั้ง • แก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งด้วย แทนที่จะมาจากการเลือกตั้งเพียงวิธีเดียว • อนุญาตให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น • แก้ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น[7] เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ[แก้] สภาร่างรัฐธรรมนูญ ได้วางแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยยึดตามแนวทางและแก้ไขจุดอ่อนข อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ นี้ 4 ประการ คือ
  • 5. 1. คุ้มครอง ส่งเสริม ขยายสิทธิและเสรีภาพ ของประชาชน 2. ลดการผูกขาดอำานาจรัฐ และเพิ่มอำานาจประชาชน 3. การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม 4. ทำาให้องค์กรตรวจสอบมีความอิสระ เข้มแข็ง และทำางานอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550[แก้] ปกหนังสือร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีการแจกจ่ายตามบ้าน • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระตามหมวดต่างๆ ดังต่อไปนี้ • คำาปรารภ • หมวด 1 บททั่วไป (มาตรา 1-7) • หมวด 2 พระมหากษัตริย์ (มาตรา 8-25) • หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย (มาตรา 26-69) • หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย (มาตรา 70-74) • หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ (มาตรา 75-87) • หมวด 6 รัฐสภา (มาตรา 88-162) • หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165) • หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170)
  • 6. • หมวด 7 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน (มาตรา 163-165) • หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ (มาตรา 166-170) • หมวด 9 คณะรัฐมนตรี (มาตรา 171-196) • หมวด 10 ศาล (มาตรา 197-228) • หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ (มาตรา 229-258) • หมวด 12 การตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ (มาตรา 259-278) • หมวด 13 จริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (มาตรา 279-280) • หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น (มาตรา 281-290) • หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา 291) • บทเฉพาะกาล (มาตรา 292-309) ประเด็นข้อเรียกร้อง[แก้] ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีบุคคลและองค์กรต่าง ๆ ออกมาเรียกร้องในหลายประเด็น เช่น • การแก้ให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง แทนที่จะมาจากการเลือกตั้ง เดิมใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สมาชิกวุฒิสภา มาจากการเลือกตั้ง สภาร่าง รัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้มาจากการแต่งตั้งโดยกลุ่มทหารและข้าราชการ นาย วิชา มหาคุณ อดีตผู้ พิพากษา และกรรมการ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ได้สนับสนุนการแต่ง ตั้งสมาชิกวุฒิสภา โดยกล่าวว่า "เรารู้กันดีว่าการเลือกตั้งสว.เป็นเรื่องการเล่นตลกร้ายของตระกูล นักการเมือง ทำาไมชาวบ้านถึงอยากให้เห็นประวัติศาสตร์ซำ้ารอย? ชาวบ้าน และโดยเฉพาะนักวิชาการ ที่อยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะก่อให้เกิด ประชาธิปไตยที่แท้จริง กำาลังคิดแบบฝันลอย การเลือกตั้ง สมาชิกวุฒิสภาเป็นปัญหา สภา เหมือนที่เห็นกันในอดีต ดังนั้น ทำาไมชาวบ้านไม่อยากให้กลุ่มผู้ พิพากษาช่วยเลือกให้?"[8] • การลดความมั่นคงของฝ่ายบริหารและระบบพรรคการเมือง เดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราช อาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความมั่นคง และระบบ พรรคการเมืองเพิ่มความสำาคัญขึ้น[9][10] สภาร่างรัฐธรรมนูญได้แก้ไขให้ฝ่ายบริหารและระบบ พรรคการเมืองลดอำานาจเบ็ดเสร็จลง โดยทำาให้ยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ง่ายขึ้น อนุญาตให้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย้ายพรรคได้ง่ายขึ้น และไม่อนุญาตให้บุคคลใดมีสิทธิเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน สองสมัย[11][12] • การไม่บัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติ โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก, ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย, คณะสงฆ์อณัม นิกาย และอีก 300 องค์กรได้รณรงค์ให้มีการบัญญัติคำาว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติ แต่ไม่ สำาเร็จ[13][14]
  • 7. • การเรียกร้องให้เปลี่ยนนามประเทศไทยเป็นสยาม โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เพื่อให้สอดคล้องกับ ความเป็นจริงทางเชื้อชาติ ภาษาและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ตรงตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เพื่อหลัก การณ์ของความสมานฉันท์ ยอมรับในความหลากหลายทางเชื้อชาติ[15] • การเรียกร้องเรื่องความเสมอภาคของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศโดยกลุ่มเกย์ 10 องค์กร[16] ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญ 2550 กับ 2540[แก้] รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แตกต่างจากฉบับ พ.ศ. 2540 อยู่หลายประการ[17][18] ดังจะเห็นว่ามีการถอดรื้อ โครงสร้าง เช่น สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ องค์กรอิสระ อำานาจตุลาการ การเงินการคลังงบประมาณ ฯลฯ รัฐธรรมนูญ 2540 ได้รับการกล่าวขานว่ามีความก้าวหน้าเนื่องจากนำาแนวคิดใหม่ ๆ ที่ลอกเลียนจาก ต่างประเทศมาใช้ แต่เมื่อบังคับใช้จริงก็ดูจะไม่ค่อยสอดคล้องกับวัฒนธรรมการเมืองไทย เพราะเกิดการฉ้อ ราษฎร์บังหลวงขนาดใหญ่ การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางทั้งกรณีการฆ่าตัดตอน 2 พันศพ อุ้มฆ่า แกนนำาภาคประชาชนที่ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมในพื้นที่ เช่น กรณีของ สมชาย นีละไพจิตร นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 2540 ถูกวิจารณ์ว่าทำาให้ฝ่ายการเมืองเข้มแข็งเกินไปจนเกิดระบบผู้นำากึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญ 2550 จึงถูกวิจารณ์ว่ามีอคติต่อ "ระบอบทักษิณ" ที่มีคำาอธิบายว่าเป็นเผด็จการทุนนิยม ใช้อำานาจ ผ่านพรรคการเมืองใหญ่ ทำาให้เกิดผู้นำาเดี่ยวที่สามารถใช้อำานาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ละเลยต่อเสียงปัญญา ชนในสังคม สุดท้ายจึงสร้างปัญหาต่อระบอบประชาธิปไตยจนก่อตัวเป็นวิกฤตการเมือง รัฐธรรมนูญฉบับนี้จึง มีข้อห้ามต่าง ๆ ที่เป็นพฤติกรรมของระบอบทักษิณ เช่น ห้ามควบรวมพรรคการเมืองในระหว่างอายุของสภาผู้ แทนราษฎร การทำาเอฟทีเอต้องฟังความเห็นจากรัฐสภา เข้มงวดต่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและจริยธรรมของ นักการเมือง สร้างมาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น จุดแข็งของรัฐธรรมนูญ 2550 คือบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น รัฐต้องจัดสวัสดิการ ขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทุกชนชั้น ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ทุพพลภาพต้องได้รับการศึกษาทัดเทียมบุคคลอื่น ผู้ไร้ที่ อยู่อาศัย ผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้เพียงพอ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ ให้สิทธิประชาชนได้รับหลักประกัน และสวัสดิภาพในการทำางาน ให้สิทธิแก่ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐในการรวมกลุ่มเพื่อปกป้องสิทธิ์ของตน ที่ สำาคัญคือให้มีผลบังคับทันที ต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ระบุข้อความท้ายมาตราต่างๆ ว่า "ทั้งนี้ ตามที่ กฎหมายบัญญัติ" หมวดที่ได้รับการบัญญัติขึ้นมาใหม่ เช่น "สิทธิชุมชน" ชุมชนสามารถปกป้องสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรท้องถิ่นของตน หรือการกำาหนดให้รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความเห็นหากโครงการก่อให้เกิด ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตหรือทรัพยากรธรรมชาติ หมวด "การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของ ประชาชน" ให้ประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย หรือถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบได้ง่ายขึ้น ประชาชนมีโอกาสยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยตรง รวมถึงการ ให้รัฐต้องจัดให้มีกฎหมายการจัดตั้งกองทุน พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ฯลฯ หมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มีสภาพบังคับให้รัฐต้องทำาซึ่งต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ที่ จะทำาหรือไม่ก็ได้ เพิ่มเนื้อหามุ่งกระจายความเป็นธรรมในสังคม และปกป้องทรัพย์สินของชาติ เช่น ปรับปรุง ระบบการจัดเก็บภาษีอากร การปฏิรูปที่ดิน จัดให้มีการวางผังเมืองเพื่อให้เกษตรกรมีสิทธิในที่ดินอย่างทั่วถึง คุ้มครองสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานไม่ให้เกิดการผูกขาด หรือ หากรัฐบาลจะทำาสนธิสัญญาที่มีผลต่อความ มั่นคงทางสังคมหรือเศรษฐกิจ เช่น เอฟทีเอต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน จุดเด่นอื่น ๆ คือ มาตรการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนที่เข้มแข็งขึ้น เช่น ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี รวมถึงภรรยาและ บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท กำาหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. ตลอดจนคู่สมรสและบุตร ห้ามรับ หรือแทรกแซงสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม กำาหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. แสดงบัญชีทรัพย์สิน จากเดิมที่กำาหนดเฉพาะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และได้เพิ่มหมวด "จริยธรรมของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ" สร้างกลไกควบคุมการใช้อำานาจให้เป็นไป โดยสุจริตและเป็นธรรม นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงระบบตรวจสอบโดยรื้อที่มาองค์กรอิสระทั้งหมด ป้องกันไม่ ให้ฝ่ายการเมืองแทรกแซงกระบวนการสรรหาอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต อย่างไรก็ตาม มีข้อท้วงติงในประเด็นโครงสร้างของสถาบันการเมือง เช่น ที่มาของ ส.ส. และ ส.ว. หรือ การให้อำานาจฝ่ายตุลาการเข้ามาแก้ปัญหาฉ้อฉลทางการเมือง ด้วยการเพิ่มบทบาทในการคัดเลือกผู้ทำาหน้าที่ องค์กรอิสระ และร่วมสรรหา ส.ว. จำานวน 74 คน เป็นที่มาของข้อครหาว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับอำามาตยาธิป ไตย ที่ให้อำานาจชนชั้นนำากับขุนนางผ่านทางวุฒิสภาและตุลาการเพื่อสร้างฐานอำานาจ แต่คำาชี้แจงอีกด้าน กล่าวว่า สภาพวัฒนธรรมการเมืองไทยในปัจจุบัน การให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง 100% โดยหวังว่าจะปลอด จากการครอบงำาของพรรคการเมืองคงยังไม่เกิดขึ้นง่าย ๆ ดังจะเห็นได้จากการเลือกตั้ง ส.ว. สองครั้งที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในสภาพ "สภาผัวเมีย-สภาบริวาร" ขณะที่การสรรหา ส.ว.อาจได้ตัวแทนหลายสาขาอาชีพกว่า ทำาให้
  • 8. การทำางานด้านนิติบัญญัติมีประสิทธิภาพ อีกประเด็นหนึ่งคือการเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง ส.ส. ไปใช้แบบแบ่งเขต เรียงเบอร์ เป็นที่เกรงกันว่าจะทำาให้พรรคการเมืองอ่อนแอเพราะผู้สมัครในพรรคเดียวกันจะแย่งคะแนนกันเอง และการทุ่มเงินซื้อเสียงจะมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับระบบเขตเดียวคนเดียว โครงสร้างการเมืองใหม่ที่ลดการ ผูกขาดอำานาจ มีมาตรการตรวจสอบมากมาย และให้สิทธิประชาชนฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญหากรัฐไม่ปฏิบัติ ตามรัฐธรรมนูญ อาจส่งผลให้เสถียรภาพของรัฐบาลใหม่อ่อนแอลง แต่ผู้ร่างชี้แจงว่ากติกาเช่นว่านี้บังคับให้ รัฐบาลต้องตอบสนองประชาชน หากละเมิดต่อหลักรัฐธรรมนูญก็จะอยู่ลำาบาก นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 2550 ยังยกเลิกข้อห้ามไม่ให้ ส.ส. เป็นรัฐมนตรีที่เคยระบุไว้ใน รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 118 จึงทำาให้รัฐมนตรีอาจมาจาก ส.ส. ทั้งสองระบบโดยไม่ต้องมีการเลื่อนรายชื่อหรือจัดการ เลือกตั้งใหม่[19] การออกเสียงประชามติ[แก้] ดูบทความหลักที่: การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ร้อยละของผู้เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งตามจังหวัด ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ได้เปิดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ช่วงเวลา 8.00 น.ถึง 16.00 น. โดยใช้วิธีกากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือก ตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะนำาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระ ปรมาภิไธยแล้ว จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่าง รัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จ ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำาขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระ ปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550[20]
  • 9. ผลการออกเสียง: จำานวนผู้มาใช้สิทธิ 25,978,954 57.61% จำานวนผู้ไม่มาใช้สิทธิ 19,114,001 42.39% ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 45,092,955 การลงคะแนน: บัตรที่นับเป็นคะแนน 25,474,747 98.06% บัตรที่ไม่นับเป็นคะแนน (บัตรเสีย/การคืนบัตร/อื่น ๆ) 504,207 1.94% รวม 25,978,954 การเห็นชอบและไม่เห็นชอบ: เห็นชอบ 14,727,306 57.81% ไม่เห็นชอบ 10,747,441 42.19% รวม 25,474,747 การประกาศใช้[แก้] วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีนายนรนิติ เศรษฐ บุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่ เลขาธิการ ส.ส.ร. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สนช. พร้อมด้วย ข้าราชการระดับสูงของรัฐสภาเข้าร่วมในพิธี จากนั้นนายมีชัยพร้อมคณะเดินทางไปยังพระตำาหนักจิตรลดา รโหฐาน เพื่อเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายร่าง รธน. เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชมเชย ส.ส.ร.ว่าอุตสาหะร่าง รธน.จนเสร็จ เพราะยากมาก จากนั้นจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อ ใช้บังคับเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่อไป ซึ่งสำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้เตรียมการไว้[21] มีรายงานว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จัดทำาไว้ทั้งสิ้น 3 เล่ม[21] หลังจากทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วจะนำาไป เก็บไว้ 3 แห่งด้วยกัน ฉบับที่ทำาด้วยทองคำาแท้จะเก็บไว้ที่สำานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 2 เล่ม ที่ทำาด้วยเงินกะไหล่ทอง เก็บไว้ที่สำานักราชเลขาธิการ และสำานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
  • 10. ขั้นตอนสำาคัญที่เกิดภายหลังทรงลงพระปรมาภิไธย คือ การประทับพระราชลัญจกร 4 องค์[21] ประกอบ ด้วย พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต พระราชลัญจกรหงสพิมาน และพระราชลัญจกร พระครุฑพ่าห์ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีจำานวน 592 หน้า 2,368 บรรทัด มีนำ้าหนัก 7 กิโลกรัม และปกมีตรา พระครุฑพ่าห์ติด พร้อมลงรักปิดทองทั้ง 6 ด้านตามโบราณราชประเพณี พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ[แก้] ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญ พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ อันประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว., ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือก ตั้ง (กกต.) ได้ประชุมนัดแรกเพื่อเลือกประธาน[21] ผลปรากฏว่ามีการเสนอชื่อ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิก สนช. และนายวิษณุ เครืองาม แต่นายวิษณุขอถอนตัว ต่อมาที่ประชุมมีมติให้นายวิษณุ เป็นรองประธาน กมธ.คนที่ 1 นายสุจิต บุญบงการ เป็นรองประธาน คนที่ 2 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. นายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นรองประธาน คนที่ 3 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ส่วนนาย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธาน คนที่ 4 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย พรรคการเมือง โดยนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ เป็นเลขานุการ กมธ. นายเจษฎ์ โทณะวณิก เป็นรอง เลขาฯ นายประพันธ์ คูณมี นายคำานูณ สิทธิสมาน และนายธงทอง จันทรางศุ เป็นโฆษก กมธ. การแก้ไขเพิ่มเติม[แก้] ดูบทความหลักที่: การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หลังจากพรรคพลังประชาชนได้เป็นแกนนำาจัดตั้งรัฐบาล ได้มีความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วน ใหญ่เป็นการนำาเนื้อหาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กลับมาใช้ และมีการแก้ไข เพิ่มเติมอีกหลายส่วน ซึ่งปรากฏว่าได้มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน[22] โดยระบุว่าอาจนำาไปสู่วิกฤตทางการเมือง เพราะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง เป็นเหตุให้พันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยออกมาชุมนุมเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านตั้งแต่วันที่25 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ทั้งนี้ ให้เรียกร้อง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กลับมาบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจ จานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 93-98[23] 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๕๕๔ ประกาศในราชกิจ จานุเบกษาเมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554 โดยมีการแก้ไขมาตรา 190 เพียงมาตราเดียว[24]
  • 11. "ข้อสอบเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ เเห่งราชอาณาจักรไทย 2550" หมวดที่ 1 บททั่วไป 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบบที่เท่าใด ตอบ 18 2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด ตอบ วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 3. รัธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยกี่หมวด กี่มาตราฃ ตอบ 15 หมวด 309 มาตรา 4. บุคคลใดเป็นผู้สนองพรบรมราชโองการในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ตอบ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5. รัฐธรรมนูญที่จัดทำาใหม่นี้ มีหลักการสำาคัญอย่างไร ตอบ ส่ง เสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เป็นประจักษ์ชัดเจนยิ่งขึ้น สนับสนุนให้ประชาชนมีบทบาทและส่วนร่วมในการปกครอง และตรวจสอบการใช้อำานาจรัฐ อย่างเป็นรูปธรรม กำาหนดกลไกสถาบันทางการเมือง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและ ประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา สร้างเสริมสถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดย สุจริตเที่ยงธรรม และ เหนือสิ่งอื่นใด คือ การเน้นยำ้าคุณค่าและความสำาคัญของคุณธรรม จริยธรรม และธรรมมาภิบาลอันเป็นหลักจรรโลงชาติ 6. การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักการใด ตอบ หลักนิติธรรม 7. หากไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดได้ ให้วินิจฉัยกรณีนั้นเป็นไปโดยใช้หลักการใด ตอบประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมวด 2 พระมหากษัตริย์ 8. พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำานาจอธิปไตยผ่านองค์กรใดบ้าง ตอบ รัฐสภา (นิติบัญญัติ) คณะรัฐมนตรี (บริหาร) และศาล (ตุลาการ) 9. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กล่าวถึงที่มาของอำานาจอธิปไตยไว้อย่างไร ตอบ อำานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย 10. องคมนตรีที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งมีจำานวนทั้งสิ้นกี่คน ตอบ ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน (รวมกันทั้งหมดไม่เกิน 19 คน) 11. บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำาแหน่ง ตอบ ประธานรัฐสภา (มีข้อสังเกตว่าตำาแหน่งประธานรัฐสภา เป็นตำาแหน่งทางด้านนิติบัญญัติดังนั้นการดำาเนินการ 12. บุคคลใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีอื่น หรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำาแหน่ง ตอบ ประธานองคมนตรี 13. บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นองคมนตรีต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ตอบ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งตามพระราช อัธยาศัย ซึ่งบุคคลดังกล่าวต้องไม่เป็นเป็นผู้ดำารงตำาแหน่งดังนี้ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการ ศาลปกครอง กรรมการป้องและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการซึ่งมีตำาแหน่งเงินเดือนประจำา พนักงาน รัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ หรือสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง และต้องไม่แสดงการฝักใฝ่พรรคการเมืองใด ๆ 14. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 บัญญัติพระมหากษัตริย์นอกจากจะทรงอยู่ในฐานะองค์พระประมุขแล้ว ยังทรงเป็นอะไรอีก บ้าง ตอบ ทรงดำารงตำาแหน่งจอมทัพไทย ทรงเป็นพระพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก 15. ในเมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้หนึ่งเป็นผู้สำาเร็จ ราชการแทนพระองค์และให้ใครเป็นผู้ลง นามรับสนองพระบรมราชโองการ 16. ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการ แทนพระองค์ เพราะยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น จะต้องดำาเนินการอย่างไร ตอบ ให้องคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำารงตำาแหน่งผู้สำาเร็จ ราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความ เห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งเป็นผู้สำาเร็จราชการแทนพระองค์ ์์ 17. ในหมวด 2 ที่เกี่วข้องกับการแต่งตั้งผู้สำาเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์ หรือการอัญเชิญองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ขึ้นครองราชย์ ในกรณีที่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุหรือถูกยุบ ให้องค์กรใดทำาหน้าที่แทน ตอบ วุฒิสภา หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย 18. การใช้อำานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำานึงถึงสิ่งใดบ้าง ตอบ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ 19. สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีอะไรบ้าง ตอบ 1. สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล 2. สิทธิในกระบวนการยุติธรรม 3. สิทธิในทรัพย์สิน
  • 12. 4. สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ 5. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน 6 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา$ K# {8 K+ D' ^3 v 7. สิทธิและเสรีภาพในการได้รับบริการสาธารณสุขจากสวัสดิการจากรัฐ) f% u& c$ U! f7 N 8. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน 9. เสรีภาในการชุมนุมและสมาคม 10. สิทธิพิทักรัฐธรรมนูญ 20. บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ตอบ 1. การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำามิได้ 2. การลงโทษตามคำาพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม 3. การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพจะกระทำามิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายกำาหนด 21. บุคคลมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างไร ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ตอบ 1. บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำาการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำานั้นบัญญัติเป็นความผิด- 2. โทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นหนักกว่าโทษที่กำาหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำาความผิด มิได้ 3. ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำาเลยไม่มีความผิด 4. ก่อนมีคำาพิพากษาอันถึงที่สุดว่าบุคคลได้กระทำาความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำาความผิดมิได้ 22. บุคคลมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ชั้นสอบสวน ขั้นฟ้องร้อง และชั้นพิจารณาอย่างไร ตอบ 1. สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง 2. สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่อง การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้ทราบข้อเท็จ จริงและตรวจเอกสารอย่างพอเพียง การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับ พิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้ทราบเหตุผล ประกอบคำาวินัจฉัย คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง 3. ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำาเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวด เร็ว และเป็นธรรม มีโอกาสในการต่อสู้คดีอย่าง เพียงพอ การตอบสนองหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อย ตัวชั่วคราว 4. ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย และพยานคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำาเป็นเหมาะสมจากรัฐ 23. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตอบ 12 ปี 24. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลอายุเริ่มตั้งแต่เท่ามีสิทธิได้รับสวัสดิการ สิ่งอำานวยความสะกวดอันเป็น สาธารณะอย่างสมศักดิ์ศรี และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ ตอบ อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ 25. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลใดมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่ เสียค่าใช้จ่าย ตอบ ผู้ยากไร้ 26. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ การจำากัดเสรีภาพจะกระทำามิได้ เว้นแต่ กรณีใดบ้าง ตอบ กรณีที่เป็นประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษา ความเรียบร้อยทางศีลธรรมอันดีของประชาชนการจัดระเบียบการประกอบ อาชีพ การคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษา ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน 27. บุคคลผู้เป็นทหาร ตำารวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ และพนักงานหรือลูกจ้างองค์กรของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไปเว้นแต่จะมีการ จำากัดในเรื่องใด ตอบ จำากัดไว้ในกฎหมายหรือที่ออกโดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือ จริยธรรม 28. บุคคล ย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่จะถูกจำากัดในกรณีใดบ้าง ตอบ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน ส่วนได้เสียอันได้รับความคุ้มครองของบุคคล อื่นหรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล 29. กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำาสั่งยุบพรรคการเมืองอันเนื่องมาจากการกระทำาความ ผิดเกี่ยวกับสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรค การเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำาความผิดเป็นระยะเวลาเท่าใด ตอบ 5 ปี นับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำาสั่งดังกล่าว หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย 30. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลมีหน้าที่อะไรบ้าง ตอบ 1 . หน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขตามรัฐธรรม นุญ นี้ 2. หน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย 3. หน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 4. หน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ เสียภาษีอากร ช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ 31. บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำาเนินการให้เป็น ไปตามกฎหมายเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมอำานวย ความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนโดยอาศัยหลักการในการปฏิบัติหน้าที่
  • 13. ตอบ หลักธรรมมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ข้อสอบถามถึงองค์ประกอบของหลักธรรมมาภิบาลว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่ หลัก นิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ระวัง ! อย่าสับสนกันเรื่องพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี ได้แก่การบริหารเพื่อบรรลุเป้าหมายดังต่อ ไปนี้ (1) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน (2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ (3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ (4) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำาเป็น (5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ (6) ประชาชนได้รับความอำานวยสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ (7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสมำ่าเสมอ หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 32. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องชี้แจงต่อรัฐสภาให้ชัดแจ้งว่า จะดำาเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำารายงานแสดงผลการดำาเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคต่อรัฐสภาปีละกี่ครั้ง ตอบ ปีละ 1 ครั้ง 33. คณะรัฐมนตรีจัดทำาแผนบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการ บริหารราชการแผ่นดินซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเรื่องใด ตอบ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 34. แนวนโยบายแห่งรัฐประกอบด้วยเรื่องใดบ้าง ตอบ 1. แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ 2. แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 3. แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม 4. แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม 5. แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ 6. แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ 7. แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 8. แนวนโยบายดานวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน 9. แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน 35. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐต้องดำาเนินการตามแนวนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินอย่างไร ตอบ (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งสริมการดำาเนินการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำานึงถึงผลประโยชน์ ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำาคัญ (2) จัดระบบบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำานาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจนเหมาะสมแก่การ พัฒนาประเทศ สนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบปนะมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ (3) กระจายอำานาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการ ของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี ส่วนร่วมในการดำาเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้ง โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่น ให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำานึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น' (4) พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการ ทำางาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็น แนว ทางในการปฏิบัติราชการ (5) จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำาและการบริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และ ตรวจสอบได้ โดยคำานึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน (6) ดำาเนินการให้หน่วยงานทางกฎหมายที่มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับ การดำาเนินงานของรัฐตามกฎหมายของรัฐ ดำาเนินการอย่างเป็น อิสระ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม (7) จัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระเพื่อติดตามสอดส่องให้ มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่าง เคร่งครัด (8) ดำาเนินการให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับสิทธิประโยชน์อย่าง เหมาะสมการจัดทำาและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ หมวด 6 รัฐสภา (มีข้อสังเกตว่าเป็นหมวดที่มีการนำาเนื้อหามาออกข้อสอบมากกว่า หมวดอื่น ๆ และมักจะมีการถามลวงในเรื่องขอตัวเลขเป็น ประจำา 36. รัฐสภาประกอบด้วยองค์กรใดบ้าง ตอบ สภาผู้แทนราษฎร (ปัจจุบัน คือ นายชัย ชิดชอบ) 38. บุคคลใดดำารงตำาแหน่งเป็นรองประธานรัฐสภา ตอบ ประธานวุฒิสภา (ปัจจุบัน คือ นายประสพสุข บุญเดช) 39. ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน รัฐสภาได้ ใครทำา หน้าที่ประธานรัฐสภาแทน ตอบ ประธานวุฒิสภา 40. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้แต่โดยคำา แนะนำา และยินยอมของใคร ตอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • 14. 41. สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำานวนกี่คน ตอบ 480 คน (มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 400 คน และแบบสัดส่วน 80 คน ซึ่งมาจากการจัดแบ่งพื้นที่เลือกตั้งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัดละ 10 คน ) 42. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำานวนเท่าใดของจำานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่แต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานร แห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของ สมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง ตอบ ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 43. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยวิธีใด ตอบ เลือกตั้งโดยตรงและลับ 44. ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใด ๆ ทำาให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึง 480 คน แต่มีจำานวนร้อยละเท่าใดของ จำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำานวนนั้นประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร ตอบ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของจำานวน ส.ส. ทั้งหมด (ข้อสอบอาจถามจำานวนคน ต้องตอบว่าไม่น้อยกว่า 456 คน) 45. การคำานวณจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในแต่ละเขตเลือกตั้งและการกำาหนดเขตเลือกตั้ง มีวิธีการอย่างไร ตอบ 1. ให้คำานวณเกณฑ์จำานวนต่อสมาชิก 1 คน โดยคำานวณจำานวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุด ท้าย ก่อนที่มีการเลือกตั้ง เฉลี่ยด้วยจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 400 คน 2. จังหวัดใดมีราษฎรไม่ถึงเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน ให้จังหวัดนั้นมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ 1 คน 3. จังหวัดใดมีราษฎรเกินเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คนให้จังหวัดนั้น ให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มขึ้นอีก 1 คนทุกจำานวนราษฎรที่ ถึงเกณฑ์จำานวนราษฎรต่อสมาชิก 1 คน 4. การกำาหนดเขตเลือกตั้งให้ดำาเนินการโดยจังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้ไม่เกิน 3 คนให้แบ่งเขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง แต่ถ้า จังหวัดใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เกิน 3 คน ให้แบ่งเขตจังหวัดออกเป็นเขตเลือกตั้ง โดยจัดให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีจำานวนสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎร 3 คน 46. บุคคลที่มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ตอบ 1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี 2. มีอายุไม่ตำ่ากว่า 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง 3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง 4. กรณีที่มีถิ่นอยู่นอกราชอาณาจักรย่อมมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในพระราช บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และการได้มาซึ่งวุฒิสภา 47. บุคคลประเภทใดบ้างที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ตอบ (1) เป็นภิกษุสามเณร นักพรต หรือนักบวช (2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (3) ต้องคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำาสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (4) วิกลจริต หรือจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ 48. ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ตอบ (1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) มีอายุไม่ตำ่ากว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง (3) เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วันนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในกรณีที่ มีการเลือกตั้งโดยทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 30 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย (ก) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลา ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้ง (ข) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง (ค) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่รับสมัครเลือกตั้งเป็น เวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา (ง) เคยรับราชการหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี . M, y6 T' J* ? (5) ผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบสัดส่วนต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งตาม (4) ด้วย แต่ลักษณะดังกล่าวในกรณีใดที่กำาหนดถึง จังหวัด ให้หมายถึงกลุ่มจังหวัด 7 (6) คุณสมบัติอื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งวุฒิสภา 49. อายุของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีกำาหนดคราวละกี่ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ตอบ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง (และสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็เริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้งเช่นกัน) 50. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของ ที่ประชุม ร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการ บริหารของพรรค การเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็น สมาชิก ตอบ ไม่น้อยกว่า 3 ใน 46 51. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดประชุมเกินจำานวนเท่าใดของจำานวนวันประชุมที่มีกำาหนดเวลาไม่น้อย กว่า 120 วัน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร ตอบ เกินกว่า 1 ใน 4 52. เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง พระมหากษัตริย์จะได้ทรงตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรใหม่ เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งต้องกำาหนดวันเลือกตั้งภายในกี่วันนับแต่วันที่อายุของสภาผู้แทนราษฎร สิ้นสุดลง ตอบ 45 วัน